คลังเรื่องเด่น
-
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๗ -
จิตปรุงกิเลส กิเลสปรุงจิต" (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
.
"จิตปรุงกิเลส กิเลสปรุงจิต"
" .. กระผมได้อ่านประวัติการปฏิบัติธรรมของ หลวงปู่เมื่อสมัยเดินธุดงค์ว่า หลวงปู่เข้าใจเรื่องจิตได้ดีว่า "จิตปรุงกิเลส หรือว่ากิเลสปรุงจิต" ข้อนี้ หมายความว่าอย่างไร ..
หลวงปู่อธิบายว่า ..
"จิตปรุงกิเลส" คือการที่จิตบังคับให้กาย วาจา ใจกระทำสิ่งภายนอก ให้มี ให้เป็น ให้ดี ให้เลว ให้เกิดวิบากได้แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา
"ส่วนกิเลสปรุงจิต" คือการที่สิ่งภายนอก เข้ามาทำให้จิต เป็นไปตามอำนาจของมัน แล้วยึดว่ามีตัวมีตนอยู่ สำคัญผิดจากความเป็นจริง อยู่รํ่าไป ..
"หลวงปู่ฝากไว้"
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๗ -
เราปฏิบัติธรรมจนถึงระดับที่เอาชีวิตเข้าแลกแล้วหรือยัง ?
การสมาทานกรรมฐานของเรานั้นเป็นสัจจะอธิษฐานอย่างหนึ่ง เราสมาทานว่า “อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจัชชามิ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตนี้ต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
คำว่า มอบกายถวายชีวิต นั่นคือ แม้จะต้องตายลงไปในการปฏิบัติธรรม เราก็ยินดีที่จะเอาชีวิตเข้าแลก แต่อยากจะให้ทุกท่านลองสังเกตดูหรือถามใจตนเองว่า เท่าที่ผ่านมานั้น การปฏิบัติธรรมของเราอยู่ในระดับที่เอาชีวิตเข้าแลกหรือไม่ ? หรือว่าเมื่อยหน่อยก็เลิกแล้ว หรือว่าอึดอัดหายใจไม่ออกหน่อยก็เลิกแล้ว หรือเกิดอาการน้ำตาไหล ร่างกายโยกไปมา หรือดิ้นตึงตังโครมคราม กลัวขึ้นมาก็เลิกอีก
หรือรู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวแตก ตัวระเบิด ตัวลอยขึ้น เกิดความกลัวขึ้นมาก็เลิก ถ้าอย่างนั้น ที่เราให้สัจจะไว้ว่าเรามอบกายถวายชีวิตต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นการที่เราทั้งหลายเอ่ยแต่ปากเท่านั้น
แม้กระทั่งการรักษาศีลทุกสิกขาบทของเรา เราก็ต้องถามตนเองว่า ถ้ามีโอกาสฆ่าสัตว์ เรางดเว้นได้หรือไม่ ? มีโอกาสหยิบฉวยลักขโมยข้าวของของคนอื่น เรางดเว้นได้หรือไม่ ? มีโอกาสประพฤติผิดในกาม มีโอกาสในการโกหกหลอกลวงผู้อื่น มีโอกาสในการดื่มสุราเมรัย... -
"สำคัญอยู่ที่จิตใจอันเดียว" (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
"สำคัญอยู่ที่จิตใจอันเดียว"
" .. "ความดีอย่างอื่นนั้น ก็เปรียบเหมือนยอดไม้กิ่งไม้ใบไม้ ต้นไม้" ถ้าเราไม่ได้อบรมในทางจิตใจ เราก็จะได้รับความดี เสมอส่วนภายนอกเท่านั้น "หากภายในจิตเป็นของบริสุทธดี ภายนอกก็ย่อมดีไปตามกันหมด"
เช่น มือเราสะอาด เมื่อเราจับสิ่งใด ของเหล่านั้นก็ไม่เลอะ "แต่ถ้ามือเราสกปรก แม้จะไปจับผ้าที่สะอาด ผ้านั้นก็จะพลอยให้เสียไป ด้วยอำนาจแห่งความเปือนเปรอะของมือ" ฉะนั้น
"เมื่อจิตเศร้าหมองเสียอย่างเดียว มันเศร้าหมองไปหมดทั้งสิน แม้ทำความดี ศวามดีนั้นก็ยังเศร้าหมองอยู่" เพราะอำนาจสูงสุดในโลก ที่จะดี จะชั่ว จะสุข จะทุกข์ทั้งมวล "มันสำคัญอยู่ที่จิตใจอันเดียวเท่านั้น" .. "
พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์
(ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) -
หลวงพ่ออธิษฐาน
หลวงพ่ออธิษฐาน
ผู้ถาม : เวลาลูกมาปฏิบัติพระกรรมฐานที่บ้านสายลม เห็นคนนำถาดใส่เงินถวายหลวงพ่อ ลูกสงสัยว่าบางครั้งหลวงพ่อประนมมือหลับตา ไม่ทราบว่าหลวงพ่อพิจารณากรรมฐานอย่างไรครับ ?
หลวงพ่อ : ขอสงวนเป็นความลับนะ
ผู้ถาม : ปีใหม่ไม่เปิดเผยหรือครับ ?
หลวงพ่อ : เผยไม่ได้ราคามันแพง (หัวเราะ)
ไอ้นี่เขาโมทนานะ โมทนาด้วย ขอพรพระท่านด้วย ให้ช่วยสงเคราะห์ทุกคนที่เป็นเจ้าของ ให้ลูกหลานทุกคน ทุกคนที่เป็นเจ้าของของที่ส่งมาก็ดี ไม่ใช่เจ้าของก็ดี ทุกคนตั้งใจทำความดี แ ละขอให้พระช่วย ช่วยหลายๆแบบนะ
ผู้ถาม : ยังงั้นลูกหลานที่อยู่ใกล้ๆ ยกมือโมทนาก็พลอยได้รับด้วยซิครับ
หลวงพ่อ : ก็โมทนาด้วยก็ได้ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการโมทนา ใช่ไหม คือว่าให้พระท่านสงเคราะห์ ขอร้องท่าน
ในเมื่อท่านตั้งใจสงเคราะห์ เราประนมมือยอมรับ อันนี้ได้รับผลแน่นอน
***ถึงแม้เวลานี้เราดูคลิปวิดีโอเวลาหลวงพ่อรับสังฆทาน เราโมทนากับเขาเราก็ได้รับพรพระท่านด้วยเช่นกัน***
(จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 84 เดือนกุมภาพันธ์ 2531 หน้า 12) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๗ -
"เครื่องเศร้าหมองของจิต" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
.
"เครื่องเศร้าหมองของจิต"
" .. "กิเลสแปลว่า เครื่องเศร้าหมอง" ตรัสว่า "เป็นอาคันุกะ คือสิ่งที่จรมาอาศัย" เหมือนอย่างแขกคือผู้ที่มาหา "ไม่ใช่เจ้าของบ้านและที่เรียกว่าเครื่องเศร้าหมอง" ก็เพราะมาทำให้จิตใจที่ผุดผ่องอยู่โดยธรรมชาติต้องเศร้าหมอง "เหมือนอย่างผงธุลีที่ปลิวมาทำน้ำที่ใสสะอาดให้สกปรก"
เมื่อกิเลสไม่ใช่เป็นเจ้าของบ้าน "คือไม่ใช่ธาตุแท้หรือเนื้อแท้ของจิต เป็นเพียงสิ่งที่จรมาอาศัย" แม้จะอาศัยอยู่นานสักเท่าไร มาถือสิทธิครอบครองอย่างไร ก็คงไม่สามารถละลายธาตุแท้ของจิตได้ "ฉะนั้น จึงอาจขัดเกลาชำระจิตให้พ้นจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงได้" .."
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๗ -
"ถือธรรมเป็นที่พึ่ง" (หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี)
.
"ถือธรรมเป็นที่พึ่ง"
" .. "เราพุทธบริษัทควรจะเคารพอะไรให้เป็นหลักของใจ" จึงจะได้ชื่อว่าเรายึดถือหลักพุทธศาสนาเป็นเครื่องดำเนินในชีวิตประจำวันของเรา
"เบื้องต้นเราต้องเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม" เราทำกรรมอะไรไว้ด้วยกาย วาจา และใจ ในที่ใด ๆ มากหรือน้อยไว้แล้ว "ผลกรรมนั้นต้องตกมาเป็นของตัวอย่างแน่นอน" ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง คนอื่นจะมารับแทนไม่ได้
"เมื่อเชื่ออย่างนี้แล้วผู้นั้นไม่สามารถจะกระทำ กรรมอันเป็นบาปได้เด็ดขาด" จะทำ แต่กรรมที่เป็นบุญเป็นกุศลตลอดเวลา "ได้ชื่อว่าถือธรรมเป็นที่พึ่ง" .. "
"เทสรังสีอนุสรณ์"
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
(หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี) -
บนขายบ้านกับหลวงปู่ปาน
บนขายบ้านกับหลวงปู่ปาน
การบนนี่ในสมัยก่อนโน้น มีคนเขาปลูกบ้าน ดูจะเป็นหมู่บ้านเมืองทองหรืออะไรนี่แหละ
นานแล้วแหละ มันเกือบ 20 ปี แกขายไม่ออก
แกไปถาม บอกว่านี่แกไปหาหลวงปู่ปานก็แล้วกัน ไปตกลงกับท่านจะถวายหลัง
ละเท่าไหร่ ให้ท่านมีหุ้นส่วน
พอถามท่าน ท่านบอกว่า "คุณอย่าถาม มันเรื่องของคุณ ให้คุณสบายใจ 5 บาท 10 บาท ก็ได้"
ผลที่สุดไม่ช้าแกไปแก้บน แกไปบนไว้หลังละ 1,000 เราบอกไป 10 บาทหรือ 5 บาท หลังละพันเขาให้มากนะ หลวงพ่อปานท่านได้กำไรมากนะ
รวมแล้วแก้บน 2 หมื่นกว่า
ถามว่า คุณทำไมบนเท่าไร ไม่มากเกินไปหรือ แกบอกว่า ไม่มากครับ อันนี้
เป็นเรื่องของคุณ ฉันถามน่ะบนอะไร แป๊บเดียวไม่ยาก คือว่าถ้ากรณีจำเป็น ท่านช่วยเหลือ
มีคราวหนึ่งคนที่อยู่ด้านกบินทร์บุรี สมัยนั้น ผ.ก.ค.มาก แกขายที่เท่าไรก็ไม่ได้ ทีนี้มาบนหลวงพ่อปาน บนหลวงพ่อปานกลับไปได้ไม่กี่วัน ก็มีคนมาวางมัดจำ
วางมัดจำแล้วก็ปรากฏว่าไม่มาเอาทิ้งมัดจำ หนักๆเข้าแกก็ทนไม่ไหว
แกก็มาบอกว่าเขาไม่มาเอา บอกบนไม่ได้ต้องการอย่างนั้น นี่ต้องการขายได้จริงๆ กลับไปบนใหม่ บนขอให้ขายได้เร็วๆด้วย เพราะ ผ.ก.ค. มันเต็มมาก
แกก็ไปบนใหม่ได้... -
ซื้อปลา
ซื้อปลา
ผู้ถาม : ลูกสั่งแม่ค้าเอาปลาดุก "ที่หั่นแล้ว 3 กิโลนะ" เจตนาเป็นปกติธรรมดา ไม่ปรารถนาเบียดเบียนซึ่งกัน อย่างนี้ลูกจะต้องมีเวรมีกรรมหรือเปล่าเจ้าคะ
หลวงพ่อ : เขาหั่นไว้ก่อนหรือเปล่า
ผู้ถาม : ก็ เอ๋ สงสัย
หลวงพ่อ : แม่นแล้ว แบบยายชีกินปลา ไปเจอะไอ้ปลาช่อนตัวใหญ่ พุงโต มีไข่ คลำไปคลำมา
แม่ค้าถามว่าซื้อไหมล่ะ บอกว่าซื้อไม่ได้หรอกมันเป็น กินไม่ได้หรอกมันบาป
ก็เลยเดินหลีกไป พอกลับมาใหม่ไอ้ปลาตัวนั้นตายพอดีเรียบร้อย
ถ้าเขาหั่นเป็นชิ้นๆอยู่แล้วไม่เป็นไร ถ้าไม่มีเขาเอาปลาเป็นมาหั่นแน่
หรือเห็นปลาตายบอกนี่หั่นเป็นชิ้นๆด้วยนะ จะเอาปลาตัวนี้แหละ อย่างนี้ไม่เป็นไร
ถ้ามีแค่ปลาเป็นแล้วทำแบบยายชี เขาถือว่าทำนิมิตให้ปลาตาย
ผู้ถาม : เอ๊ะ หลวงพ่อหากเราถามว่าปลาตายๆมีขายหรือเปล่า แล้วก็เดินผ่านเลย
หลวงพ่อ : สบายมาก พวกเดียวกันนั่นแหละ มีที่หวังได้แน่นอน คือ สัญชีพนรก สบาย
(จากธัมมวิโมกข์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 66 หน้า 131-132) -
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภวันตุเม
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภวันตุเม
หลวงพ่อ : ความจริง คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ใช้กันอยู่นี่ เวลาขายของเขาพรมของตั้งแต่ตอนเช้า ถ้าตั้งร้านก็จะพรมหน้าร้านตั้งแต่ตอนเช้าตรู่
อาจารย์ยกทรง : น้ำมนต์ทำตอนกลางคืนหรือฮะ
หลวงพ่อ : ตอนล้างหน้า ทำตอนนั้นนะ หยิบน้ำจะมาล้างหน้า ก็เสกด้วยคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย เสกแล้วก็พอล้างหน้าเสร็จก็น้ำพรมๆ ว่าไปด้วยนะ
แล้วเคยทำกัน น้ำหนักของเพิ่ม น้ำหนักนี่ไม่ได้โกง ไม่ได้เอาทรายใส่ แต่น้ำหนักนี่เพิ่ม เขาไปใช้ก็ไม่ขาด นี่เขาลองกันมาแล้วนะ คาถามหาลาภ เป็นคาถาเสกพระวัดพนัญเชิง
วันนั้นเที่ยวมา ไปๆมาๆ ไปโผล่ที่วัดพนัญเชิง นานแล้ว หลายปี 10 ปี 20 ปีกว่า แล้วก็ไปดูว่าที่เลือกพระองค์นี้ ทำไมคนจึงบูชามาก ก็เลยมีภาพปรากฏ นี่ภาพเก่าก็หายแล้วเหลือพระองค์หนึ่งหน้าตักประมาณ 4 ศอก
ท่านบอกว่าวัดนี้เขาเรียก พระนางเชิญ ไม่ใช่ พนัญเชิง
ถามว่าเพราะอะไร ก็พระองค์นี้เศรษฐีนีเขาจับเชิญ สร้างขึ้นมา เชิญขึ้นมา แล้วก็เจ้าอาวาสวัดนั้นรูปร่างผอมๆ ดำๆ นั่งเสกด้วยคาถาบทนี้อยู่ 3 ปี วัดนั้นจึงมีลาภมาก
แล้วต่อมา สมเด็จโต หรือใครก็ไม่ทราบ ไปสร้างครอบใหญ่โตทีเดียว
ถามว่าเสกด้วยคาถาอะไร... -
หลวงปู่ปานจะลงมาตรัสในกัปนี้
หลวงปู่ปานจะลงมาตรัสในกัปนี้
ผู้ถาม : หลวงพ่อเจ้าคะ หลวงปู่ปาน มีพระธาตุไหมคะ
หลวงพ่อ : ไม่มี..มีแต่กระดูก
ผู้ถาม : มีกระดูกหรือคะ
หลวงพ่อ : มีกระดูก
ผู้ถาม : กระดูกของท่านเก็บไว้ที่ไหน
หลวงพ่อ : เก็บไว้ที่วัดน่ะสิ เอามาได้รึ ทำไมต้องไหว้กระดูกล่ะ ไหว้รูปท่านก็ถึง นึกถึงตัวท่านนะ ท่านเป็นเทวดาอยู่ชั้นดุสิต
ผู้ถาม : เจ้าค่ะ
หลวงพ่อ : รอที่จะลงมาบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 3 รองจาก พระศรีอาริย์
ผู้ถาม : อย่างนั้นพระองค์เดียวกันใช่ไหมเจ้าคะ หลวงปู่ที่เป็นช้าง
หลวงพ่อ : ไม่ๆ หลวงปู่ปานเป็นพระเจ้าปเสนทิโกศล
ผู้ถาม : พระเจ้าปเสนทิโกศล
หลวงพ่อ : เมืองนี้ชื่อ ปเสนทิโกศล เหมือนกันหมด เมืองนี้พระราชาชื่อเดียวกันหมด พระราชินีชื่อ มัลลิกาเทวี เหมือนกันหมด
ผู้ถาม : องค์เดียวกัน
หลวงพ่อ : องค์ไหนๆอะไรอีกล่ะ ชื่อเดียวกันทุกคน เราต้องดูองค์ไหน ถ้าสมัยนั้นเขาเรียก มหาโกศล
(จากหนังสือ รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 10 หน้า 500) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๗ -
"ควรเจริญเมตตากรุณาทุกวันคืน" (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
.
"ควรเจริญเมตตากรุณาทุกวันคืน"
" .. "คนมาเจริญเมตตากรุณาอยู่ทุกวันทุกคืนไป" พิจารณาดูตัวเองและพิจารณาดูคนอื่น "สัตว์อื่นให้เห็นเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด" ทั้งที่เป็นบัณฑิต ทั้งที่เป็นคนพาล "ท่านทั้งที่เกิดใน ตระกูลสูง เกิดในตระกูลตํ่า" ไม่เป็นของแปลก
เมื่อพิจารณาลงไปแล้วว่า "ทุกคนเกิดมาแล้ว ความแก่ก็บีบคั้นเข้าไป" ร่างกายทรุดโทรมไป "เหมือนกันจะเป็นคนรํ่ารวยมั่งมี จะเป็นเศรษฐี เป็นพระราชามหากษัตริย์" ก็ไม่มีอำนาจ อะไร ที่จะมาปิดร่างกายนี้ที่ชำรุดทรุดโทรมไดไม่มีเลย
ทั้งคนจน ทั้งคนรวย "ทั้งคนมีเกียรติยศชื่อเสียง มีเหมือนกันหมด เมื่ออยู่นานไป ร่างกายก็ทรุดโทรมไปโรคภัยก็เบียดเบียนไป" ผลสุดท้าย หมดเวร หมดกรรมแล้ว ก็ต้องแตกตายท่าลายขันธ์ลงไป
ฉะนั้น "เมื่อเพ่งพิจารณาตัวเองออกไป ถึงบุคคลอื่นและสัตว์อื่นแล้ว" จึงเห็นได้ว่าเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน "เราควรจะเห็นใจซึ่งกันและกัน ควรจะสงสารกัน"
ถ้าเราพอที่จะมีปัญญา ช่วยเหลือ"ใครตกทุกข์ได้ยากลำบาก เราก็ช่วยไปเท่าที่จะช่วยได้" ถ้าหากใจมันน้อมลงไปอย่างนี้แล้ว "มันก็ไม่คิดที่จะเบียดเบียนใครแล้ว... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๗ -
สมาธิภาวนา ๔ ประการ | สมาธิสูตร
สมาธิภาวนา ๔ ประการ | สมาธิสูตร
****************************************
มูลนิธิอุทยานธรรมสร้างและเผยแผ่พระไตรปิฎกเสียงสมจริงและวีดิทัศน์ต่าง ๆ เป็นธรรมทานแก่ทุกสรรพจิตในสากลโลก เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ถวายแด่พระศาสนา ท่านที่ประสงค์จะเผยแผ่สื่อธรรมต่อเป็นธรรมทาน สามารถเผยแผ่ได้ตามประสงค์โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใด เพียงกรุณาอ้างถึงที่มา (มูลนิธิอุทยานธรรม) ตามหลักสากล เพื่อความเจริญงอกงามและประโยชน์สุขของผู้เผยแผ่เองทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า หากท่านผู้ใดประสงค์จะเผยแผ่เพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ทางการค้า มูลนิธิฯ ขอสงวนสิทธิ์โดยชอบตามกฎแห่งกรรมและกฎแห่งธรรม
มูลนิธิอุทยานธรรม Website : http://www.uttayarndham.org -
ความจริงของผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อเป็น"พระโพธิสัตว์" (พระอรหันต์ 4 ประเภท) : หลวงปู่สรวง ปริสุทฺโธ
ความจริงของผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อเป็น"พระโพธิสัตว์" (พระอรหันต์ 4 ประเภท) : หลวงปู่สรวง ปริสุทฺโธ -
"ปัจจุบันอย่างไร อนาคตอย่างนั้น" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
.
"ปัจจุบันอย่างไร อนาคตอย่างนั้น"
" .. เรามีบุญก็มีเดี๋ยวนี้ เรามีกรรมมีกุศลก็มีเดี๋ยวนี้ "เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีต อนาคต" อนาคตคนเรานั้นจะไปอยู่ตรงไหนเราก็รู้ไม่ได้ "อดีตนั้นล่วงมาแล้ว เราก็เลยมาแล้ว เวลานี้เราก็ต้องดูในปัจจุบันนี้" ท่านบอกว่าอย่างนี้
"ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร อนาคตก็เป็นอย่างนั้น" ที่เราทั้งหลายพากันรู้จักว่าการทำบุญการกุศลนั้นมันไม่ได้อยู่ในต้นไม้ภูเขาเหล่ากอ ไม่ได้อยู่ในฟ้าอากาศ ท่านบอกไว้ว่า "กามาวจรํ กุสลํ จิตตํ อุปปนฺนํ โหติ" "จิตเรานี้แหละเป็นตัวกุศล อกุศล" ตัวบุญนั้นเป็นอย่างไร ก็ตัวของเราที่นั่งอยู่นี้แหละ
ลักษณะของบุญนั้น "ได้แก่ใจของเราดี ใจของเรามีความสุข ใจของเรามีความสบาย ใจของเรามีความเยือกเย็น" ก็นี่เวลานี้ใจของเราสบายหรือยัง พากันตรวจดูซิ ต่างคนต่างฟังเทศน์อย่าไปฟังแต่เสียง ต้องฟังถึงรูปธรรมนามธรรมของเรา
"การฟังและการปฏิบัติ" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร ๓ กันยายน ๒๕๑๑
ม.ร.ว. ส่งศรี เกตุสิงห์ ถอดจากแถบบันทึกเสียง -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๗ -
ข่าวชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน (พระอาจารย์เล็ก) เดือนมีนาคม ๒๕๖๗
ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
เครือข่ายชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน
ขอรวบรวมข่าวกิจกรรมการดำเนินงานของ
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. (พระอาจารย์เล็ก)
เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
เพื่อให้ทุกท่านได้โมทนาบุญในการทำงานของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
และเพื่อให้ทุกท่านได้ศึกษารูปแบบการดำเนินงานของพระอาจารย์
ซึ่งท่านเป็นต้นแบบการทำงานของ ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
ข่าวการดำเนินงาน เดือนมีนาคม ๒๕๖๗ -
บันทึกการเดินทาง "ซาปา ณ เวียดนาม"
บันทึกการเดินทาง "ซาปา ณ เวียดนาม"
วันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
เวลา ๐๓.๕๐ น. พบกันที่ อาคาร ๑ ประตู ๑ สนามบินนานาชาติดอนเมือง
รูปหมู่เมื่อพร้อมหน้า
เช็คอินแบบกลุ่มใหญ่มากกกก..!
เช็คเดี่ยวไม่ได้เพราะว่าเป็นตั๋วกลุ่ม
เช็คอินช่องพิเศษเฉพาะหลวงตา..!
ได้ตั๋วแล้วไปทางออกสายการบินระหว่างประเทศ
เจอพี่สาวที่แสนดีซึ่งคบหากันมา ๔๐ กว่าปี
ผ่านเครื่องเอ๊กซเรย์มาจัดกระเป๋าด้านใน
ไปรอที่ทางออกขึ้นเครื่องหมายเลข ๔
ระหว่างรอขึ้นเครื่องก็สะสม "เสบียงบุญ" ไปเรื่อย
เวลา ๐๖.๒๕ น. เรียกขึ้นเครื่อง
ต่อรถบัสไปขึ้นเครื่อง
อยู่ท้ายสนามบินเลย
ไม่บอกเลขที่นั่ง เพราะว่ามีคนจะเอาไปเล่นหวย..!
"เสบียงบุญ" ชุดสุดท้ายก่อนเครื่องขึ้น -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ -
การภาวนามีแต่กำไร ไม่มีขาดทุน
เมื่อลืมตาตื่นขึ้นมา สิ่งแรกเลยก็คือนึกถึงพระและลมหายใจเข้าออก เมื่อภาพพระและสมาธิทรงตัวแล้ว ก็เริ่มภาวนาคาถาต่าง ๆ ตามความเคยชินที่ฝึกฝนมา เช่น อิติปิโสฯ ๓ ห้อง พระคาถาชินบัญชร เป็นต้น
สมัยที่ยังเป็นวัยรุ่น ศึกษาตัวบทพระคาถาต่าง ๆ จากครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง เอาไว้มาก สิ่งที่หลวงพ่อท่านสอนและจดจำขึ้นใจก็คือ เมื่อจะเปลี่ยนคาถาใหม่ ต้องทบทวนคาถาเก่าให้คล่องตัวเสียก่อน คำว่า คล่องตัว ในที่นี้ก็คือ เมื่อกำหนดใจภาวนาแล้ว ต้องเกิดผลตามคาถานั้น ๆ
จึงต้องมีการภาวนาทบทวนพระคาถาแต่ละบท เมื่อมีมาก ๆ เข้า ก็ต้องจัดเป็นชุดการภาวนาเฉพาะของตนเอง เช่น การเริ่มต้นด้วย อิติปิโสฯ ๓ ห้อง ๓ จบ พระคาถาชินบัญชร ๗ จบ พระคาถาบารมี ๓๐ ทัศ ๑๐ จบ เป็นต้น
ทำให้กำหนดเวลาได้คร่าว ๆ ว่า ในช่วงนี้ของวันเราภาวนาไปถึงพระคาถาไหนแล้ว ถ้าหากว่าหลงลืมก็สามารถนึกได้ว่า ในระยะเวลานี้เราจะภาวนาถึงพระคาถาบทนี้ ถ้าภาวนาไปแล้วกี่จบ เกิดหลงลืมจำไม่ได้ ก็จะขึ้นต้นใหม่ที่จบแรกเสมอ เมื่อโดนบ่อย ๆ เข้าก็เข็ด ต้องเอาสติเข้าไปกำหนดจดจำ ไม่อย่างนั้นแล้วถ้าต้องเริ่มต้นใหม่อยู่เรื่อย ก็จะเหนื่อยมาก... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ -
เทศน์วันมาฆบูชา วันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗
เทศน์วันมาฆบูชา วันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนันติฯ
ณ บัดนี้ อาตภาพรับหน้าที่แสดงพระธรรมเทศนาในมาฆปูชากถา เพื่อเป็นเครื่องโสรจสรงองคศรัทธาบารมีของบรรดาทานิสสราธนบดีทั้งหลาย ที่พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันมาฆบูชา ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้
ญาติโยมทั้งหลาย..อันว่าวันมาฆบูชาก็ดี หรือว่าวันพระอื่น ๆ ก็ตาม เป็นวันที่เราทั้งหลายจักได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ทำบุญใส่บาตร สมาทานศีล และเจริญพระกรรมฐานกัน ตั้งแต่โบราณก็กําหนดกันมาดังนี้
เหตุที่เป็นเช่นนั้นจะต้องกล่าวไปถึงว่า คนเราเกิดมาในโลกนี้นั้นตกอยู่ภายใต้อํานาจของธรรมชาติต่าง ๆ อย่างเช่นว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ธรรมชาติทั้งหลายเหล่านี้มีการแปรปรวนไปตามปกติ มีการดึงดูดกันในระหว่างดวงดาวต่าง ๆ มีการหนุนเสริมกันและหักล้างกันของธาตุต่าง ๆ เป็นต้น
หน้า 21 ของ 412