ไม่ใช่นะครับที่มักกล่าวว่า “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    การสำรวมอินทรีสังวร..ดูผัสสะที่มากระทบทางอายตนะทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นรูปมากระทบทางทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย เกิดเป็นสัญญา สังขารปรุงแต่งที่จิต จิตเกิดเวทนาสุข และทุกข์ เพราะรู้ไม่เท่าทัน...สิ่งที่มากระทบ สำคัญยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์..

    ประคองจิตให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสติ โดยมีธรรมเป็นเครื่องรักษาจิตใจ
    สติจึงจะตั้งมั่น.. สมาธิจึงจะไม่หวั่นไหว...มีกำลังของจิตในการพิจารณาธรรม

    การทำสมาธิ ถ้าสติไม่ตั้งมั่น จิตใจวอกแวก..ฟุ้งซ่าน..
    ไม่มีปัญญา..รู้ว่าจิตส่งออก..เป็นสมุทัย..นั่นละ..มิจฉาสมาธิ

    ปล่อยให้จิตอ่อนปวกเปลียก สติไหลออกไปข้างนอก จิตใจฟุ้งซ่าน....
    ควบคุมจิตใจไม่ได้..ปล่อยไปตามธรรมชาติ..กิเลสมันก็สวมเขาเราเข้าให้..
    ไม่เกิดอรรถเกิดธรรม มีแต่กิเลสล้วนๆ..สำคัญผิดว่า..จิตเกิด-ดับ หลงอารมณ์
    ที่แท้..กิเลสบังคับบัญชาทำงานอยู่ในหัวใจไม่รู้ตัว..
    นั่นแหละ..กิเลสมันสวมรอยหลอกลวงเรา..ว่าเป็นปัญญา...

    สุตะปัญญา จินตปัญญา ฆ่ากิเลสไม่ได้...ต้องภาวนามยปัญญาเท่านั้น..ที่กิเลสมันกลัวหัวหด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2009
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คุณวิสุทโธ......

    ขันธ์ กับ จิต แยกกันได้หรือไม่ !?

    ขันธ์ส่วนขันธ์ จิตส่วนจิต เคยได้ยินไหม ...หากไม่เคยได้ยิน ให้ลองนึกถึง
    สภาวะที่สุดของปลายทางการศึกษาให้หนัก เรากำลังทำอะไรให้แจ้งกัน !

    ไอ้ที่สงบ หรือ ฝุ้งซ่านนั่น มันส่วนขันธ์5

    หากแยกจิต หาใจเจอ(หลวงปู่เทสก์) ใจมันจะออกมาตั้งมั่นรู้ การตั้งมั่น
    รู้นั่นแหละใจ นั่นแหละจิตที่มีสัมมาสมาธิ มีมรรคสัมปยุต เมื่อจิตมันตั้งมั่น
    อยู่ ขันธ์จะสงบ(สมถะ) หรือขันธ์มันจะกระเพื่อมสั่นไหว(กิเลส) ก็เรื่องของ
    ขันธ์เรื่องของการสนองสมมติสัจจ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับจิตที่มีความเป็นปรมัตถ์

    ขันธ์ที่มันสงบมีฌาณ จะกี่ฌาณก็แล้วแต่ ก็เรื่องของขันธ์ ไม่ใช่เรื่องของใจ
    หากไม่มีใจ ใจไม่เกิด ก็แปลว่า จิตมันฝุ้งซ่านเข้าไปจับมั่นถือมั่นขันธ์5ที่กำลัง
    สงบเป็นตัวเป็นตนไปซะนี่ จิตมั่นเคลื่อนออกไปแล้ว จับเป็นดวงเดียวเห็นดวง
    เดียวมั่นเลยนั่นแหละมิจฉาสมาธิ จิตเคลื่อนแล้วดูไม่ออก เกิดภพชาติแล้วด็ไม่
    เป็น กิเลสปราณีตกัดหัวแล้ว...ก็เสร็จ เป็นได้แค่พรหม

    นี่เห็นพูดถึงการถอดจิต เคยถอดจิตไหม เคยไหมที่กำลังเห็นว่าจิตที่ถอดออก
    ไปกำลังหมดกำลัง จิตกำลังจะเคลื่อน ถ้าไม่สังเกตเอาแต่ยึดมั่นจิตที่กำลังส่ง
    ออกนอกเป็นตน ก็ไม่รูจักการแบ่งจิตกลับมาเติมความสงบที่ฐานกาย เพื่อที่จะ
    ไม่ต้องกลับ และถ้าไม่เคยทำอย่างนั้นก็เอาแต่ยึดว่าจิตมีดวงเดียว แบบนั้นจะ
    ไปทำมาหากินอะไรได้ นี่ถ้าหากไม่ยึดมั่นถือมั่นแบบนั่นนะ จะบอกให้ว่าอย่า
    ว่าแต่ถอดออกไปเดินเพียงดวงเดียวเลย จะถอดออกไปกี่ดวงทำไมจะทำไม่ได้
    และแต่ละดวงทำหน้าที่ต่างกันทำไมจะทำไม่ได้ !
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2009
  3. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ขออนุญาตตอบ ระหว่างพี่ธรรมภูตยังไม่มา

    ถ้าพูดถึง อสังขตธาตุ อสังขตธรรม คือ
    สิ่งซึ่งไร้จากเหตุปัจจัย คือ สิ่งนั้นไม่มีเหตุปัจจัยอะไรๆ ทำให้เกิดขึ้น

    อ่านที่นี่ค่ะ อสังขตธรรม โดย หลวงปู่เปรม เปมงฺกโร


    พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ทรงเข้าฌานใดๆอยู่อีกหรือเปล่า
    ต้องอ่านดูใน จูฬสุญญตสูตร

    [๓๓๔] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์
    แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว

    ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วย สุญญตวิหารธรรม

    (smile) ถ้าอ่านแล้ว ยังไม่รู้คำตอบ ก็เชิญพี่ธรรมภูตตอบให้น้องๆเอาเองละกัน
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ล้อเล่นหน่าคุณพี่ธรรมสวนัง ถ้าพี่เล็งเห็นคำว่า เราอยู่มาก เป็นประเด็น ก็แปลว่า
    มีบางจังหวะที่ไม่ได้ครอง(อยู่น้อย) สุญญตาวิหาร กระนั้นเหรอ แล้วส่วนที่ไม่ได้
    ครอง สุญญตาวิหาร นั้นคุณพี่เห็นอย่างไร ตอนนั้นไม่ปรากฏนิพพานเหรอ
     
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ใช้จิต สร้างสติ แล้วใช้สติ ดูจิต

    ดูจิต ฟุ้งซ่าน หดหู่ วิตก กระสับการส่าย เศร้าหมอง เมื่อเห็นได้ประมาณนี้ ก็พิจารณาไปที่ส่วนประกอบจิต คือ นามขันธ์ รูปขันธ์ เห็นดังนี้ก็พิจารณาไปหาที่เหตุ

    จะดูจิต จะดูกาย จะดูเวทนา มันก็ลงในขันธ์ห้าทั้งสิ้น ลงในกายใจทั้งสิ้น จะดูอันไหนมันก็ได้เหมือนกัน มันก็ไล่วนอยู่ที่กายใจนี้

    หากเพียรจริง จิตไร้กำลัง มันพยายามดูรูปนามนี่ ดูเท่าไรมันก็ไม่เห็น นอกจะไม่เห็นแล้ว มันก็เข้าสมาธิเอง ในทางกลับกันหากสมาธิดี กำลังพอเหมาะ มันก็ไล่ตามรูปนามได้อย่างเท่าทัน ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2009
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ถูกต้องแล้ว ที่คุณ เอกวีร์ กล่าวมา แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ ทัสนะนั้น มันอยู่ที่ความจริงแล้วเราต้องยอมรับว่า
    1 พระอริยเจ้าที่ไม่ใช่ อรหัตตผลบุคคล รวมถึงปุถุชนทุกคน จิตยังกระเพื่อมได้เสมอตราบใดที่ยังครอง ขันธ์ นี้ จริงหรือไม่
    2 เมื่อจิตยังกระเพื่อมได้ เพราะว่าอะไร เพราะว่า ไม่เท่าทัน และ ไม่สามารถยับยั้งอวิชชา ใน สังโยชน์ตามส่วนของตนได้
    ทำให้เกิดอะไร ทำให้จิตต้องหวั่นไหวกระเพื่อมไปทุกทีที่ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ไปกระทบกับเชื้อ
    3 เมื่อจิตกระเพื่อมแล้ว ทำอย่างไร ให้สงบลงไป หรือ ทำอย่างไร จะพอมีกำลังต้านทานไม่ให้ สังโยชน์เหล่านั้นกระเพื่อมตัวได้ง่าย
    ก็ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ต้องเป็นตัวคอยอบรมเสมอ นี่คือ การแก้ไขที่ต้นทาง ไม่ใช่ว่า มันเกิดแล้วดูเฉยๆ เดี๋ยวมันก็ดับ
    ก็ กำลัง ฌาณ นั้นแหละ ที่คอยทำให้ สิ่งที่เรายังละไม่ได้นั้นสงบตัวลงไป และ ตั้งมั่นยืนนาน ก็ ศีลนั้นแหละที่เป็นตัวล้อมกรอบและเป็นตัววัดว่า เรายังปกติ และตั้งมั่นอยู่ ทีนี้ เมื่อ เราตั้งมั่นแล้ว จึงต้องใช้ ปัญญาขุดคุ้ยว่า สาเหตุจริงๆ ของการเกิดสังโยชน์นั้นมายังไงกันแน่ สายแห่ง ปฏิจสมุบบาท นั้นมันโยงมาอย่างไรในใจตน
    ตรงนี้ ต้องมีใครสักคนมาตอบ สิ่งที่ผมพูดมา 3 ข้อนี้ว่าจริงหรือไม่ ยอมรับกับธรรมนี้หรือไม่ ไม่ใช่ว่า เอาแต่ทัสนะ เราต้องมองตามสภาพความเป็นจริงว่า มันมีพฤติกรรมของจิตแบบนั้นอยู่ ตราบใดที่ยังไม่ได้ อรหัตตผล
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แบบนี้เรียกว่า การทำให้เกิดปัญญา ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ใช่ไหมคะ
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คำว่า สุญญตาวิหาร ก็ต้องใช้กำลัง สมาธิ และปัญญา อบรมให้มาก และ ต้องประคองจิตจนมี ฌาณ ระดับหนึ่งจึงจะนำไปสู่ สุญญตาวิหารได้

    และ ต้องยอมรับด้วยว่า ปุถุชน และ พระอริยะบุคคล ย่อมมีจิตที่ขาดฌาณได้ เพราะว่า เมื่อ ราคะมา โทสะมา มานะมา อุทธัจจะมา ก็ย่อมถึงจุดที่ ไม่ใช่สภาวะฌาณ ดังนั้นแล้ว การจะอบรมใจเพื่อให้ ครอง สุญญตาวิหารนั้น จึงต้องมีกำลังฌาณ เป็นเครื่องหนุน เป็นกำลังให้พระอริยะ ให้ปุถุชน เพื่อที่จะเดินไปสู่จุดหมายได้ และ ถึงแม้ว่าไปไม่ถึง ขาดสิ้นชีวิตไปก่อน ย่อมได้สุคติภูมิ

    แต่หากว่า เอาแต่ทัสนะ มันจะไม่มีกำลังเลย และทุกคนก็ใช่ว่า จะได้ทัสนะนั้นโดยง่ายเสมอเหมือนกันทุกคน

    ความพากเพียร ด้วยการใช้ สติ สมาธิ ปัญญา จึงสำคัญมาก ในการสอดส่ายหาธรรมอันยิ่งขึ้นไป ดัง ในมหาสติปัฎฐานสูตรที่ ให้หา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม

    ไม่ใช่ ว่า ดูเฉยๆ เพื่อให้จิตวิ่งลงสู่ การดับไปเอง การดับไปเองที่เห็นกันนั้น แม้ดับในสิ่งที่เรามอง ก็ใช่ว่าดับไปทั้งหมด
    มันเห็นเท่าไร มันก็ได้เท่านั้น ผมว่า คนดื้อด้านที่สุด คือ พวกติดทัสนะนี่แหละ เถียงคอเป็นเอ็น
    ปัญหา ก็มีอีกว่า ถ้าไม่อุตริ มาสอนคนอื่นเขาแบบผิดๆ ก็คงไม่มีใครอยากจะเอื้อมมือไป ดึงพวกคุณหรอก
     
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ตอบว่าสมาธิ จำเป็นอย่างมาก ทั้งอยู่ในส่วนจะเข้าวิปัสสนา และในส่วนเสริมพลัง เสริมในยามวิปัสสนาไม่สามารถแทงได้ตลอด ตลอดจนใช่เป็นธรรมคู่ข่ม ต้าน กิเลสร้อยแปด

    สมาธิขาดไม่ได้ และเกินไปก็ไม่ดี ^-^
     
  10. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ไม่รู้เรียกอะไร ไม่กล้าใช้คำว่า "ปัญญา" เอาไว้ตัดกิเลสในส่วนแต่ละฐานะได้ก่อน ค่อยเรียกมีปัญญาข้ามสงสารวัฎในแต่ละฐานะ ^-^
     
  11. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ความโง่นั้นไม่ผิด ผิดที่เอาความโง่นั้นไปเผื่อแผ่ผู้อื่น...
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ถ้าจะเอาวิปัสสนาอย่างเดียวแทงได้ตลอด ถ้าใครสามารถทำได้ ก็ไม่ใช่ว่าเค้าผู้นั้นไม่เคยทำสมาธิ แต่น่าจะทำ น่าจะสะสม น่าจะอบรม มาอย่างดีแล้ว ^-^
     
  13. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อ้างอิง:
    <table width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ k.kwan [​IMG]
    แบบนี้เรียกว่า การทำให้เกิดปัญญา ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ใช่ไหมคะ
    </td> </tr> </tbody></table>
    ไม่รู้เรียกอะไร ไม่กล้าใช้คำว่า "ปัญญา" เอาไว้ตัดกิเลสในส่วนแต่ละฐานะได้ก่อน ค่อยเรียกมีปัญญาข้ามสงสารวัฎในแต่ละฐานะ ^-^

    ๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

    ตอบพี่ขวัญอีกที ถ้าดูจิต เห็นความไม่นิ่ง เห็นความดิ้นร้นแล้ว ค้นคว้าต่อให้มันได้ความละเอียด ค้นในส่วนประกอบของจิต ไปหาเหตุทุกข์ที่แท้ได้ แล้วปล่อยตรงนี้มันก็พ้นเป็นส่วน ๆ

    แต่ถ้า ดูเฉย อย่างหลายท่านเข้าใจ หมายถึง ดูจิต พอเห็นอะไร เห็นฟุ้งซ่านก็ อ๋อ .. อนันตา ปล่อยมัน เห็นโกรธหน่อย ก็ อ๋อ... อนิจจัง เห็น..ว่าง ๆ .. หน่อยก็ ... อ๋อ .. อนัตตา
    ถ้าทำแบบนี้ไม่สาวต่อ มันก็คือ ๆ กับความปรุงแต่ง คือ ๆ กับการกำหนดภพ.. ในสมาธิ( ของพวกกลัวติดสมาธิ)นั่น ถ้าทำแบบนี้ จะอีกกี่อ๋อ มันก็ไม่พ้น เดี๋ยวมันก็เกิดอีก ^-^
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตอบข้อ2. จิตยังกระเพื่อมได้ เพราะว่าอะไร
    เพราะ ว่า จิตรับรู้สภาพธรรม(กุศล+อกุศล)ที่มากระทบ แล้วใจไม่เป็นกลาง
    จิตยังหลงไปเกิด ยินดี ยินร้าย เพราะ ใจ มีความปรุงแต่ง

    ตอบข้อ3. จิตกระเพื่อมแล้ว ทำอย่างไร
    ดูจิตกระเพื่อม ด้วยความอดทน ดูใจที่มีความรู้สึกยินดี ยินร้าย ด้วยความอดทน
    ไม่แทรกแซง เพื่อจะได้เห็นการทำงานของใจ ตามจริง (อยู่ที่ใจไม่ได้ล้นมาเป็น
    การกระทำทางกาย) ถ้าได้เห็น ยินดี ยินร้าย
    เนืองๆ ต่อไป ใจจะเป็นกลางขึ้นมาได้ คือ เหตุผลที่ใจรู้เฉยๆ เพื่อฝึกใจให้
    อดทน ต่อการกระเพื่อมของจิต ตรงนี้ถ้าทำเนืองๆ ก็ได้กำลังใจเพิ่มขึ้น(สมถะ)
    เหมือนกินพริก ตอนแรกกินได้แต่เผ็ดน้อย พอกินเป็นประจำมันก็ทนเผ็ดได้
    มากขึ้น และเพราะทำในภาวะมีสติรู้สึกตัว ใจจึงรู้ว่าว่าทนเผ็ดได้มากขึ้นและรู้ว่า
    มันเผ็ดมากขึ้นด้วย (ถ้าเป็นภาวะขาดสติใจมันทนเผ็ดได้มากขึ้นแต่ไม่รู้ว่าเผ็ด
    ตรงนี้มันทำให้คนกินเผ็ดอยู่แต่ไม่รู้ตัวว่าเผ็ด)

    คนที่จิตกระเพื่อมแล้วรู้ตัวว่าจิตกระเพื่อม เรียกว่ามีสติ ภาวนาอยู่เนืองๆ
    เพื่อสะสมสัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา ก็มี

    คนที่จิตไม่กระเพื่อม เพราะอะไรก็แล้วแต่ แต่ยังไม่ได้บรรลุอรหันตผล แล้ว
    ยังไม่รู้ตัวอีกด้วยว่าจิตนั้นยังกระเพื่อมอยู่ เพราะจิตไม่กระเพื่อมให้เห็น ก็มี

    คนที่จิตไม่กระเพื่อม เพราะอะไรก็แล้วแต่ แต่ยังไม่ได้บรรลุอรหันตผล แล้ว
    ยังรู้ตัวว่าจิตนั้นยังกระเพื่อมอยู่ ก็มี

    จิตกระเพื่อม หรือ จิตไม่กระเพื่อม ไม่ใช่มรรค
    แต่ จิตกระเพื่อมรู้ว่าจิตกระเพื่อม จิตไม่กระเพื่อมรู้ว่าจิตไม่กระเพื่อม เป็นมรรค
    ตามความเข้าใจของเรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2009
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ของคนอื่นก็ไม่รู้นะ ว่าเขาเข้าใจคำว่าดูเฉย เป็นอย่างไร
    แต่พี่ หมายถึง ดูทุกข์ ด้วยความอดทน
    ทุกข์มันเกิดที่ขันธ์ ที่สังขาร ที่ใจ ก็ดูด้วยความอดทน เพื่อให้เห็นทุกข์
    ตอนนี้เห็นทุกข์ ใจมันก็ดิ้นทนไม่ค่อยได้ ก็พยายามอดทนไม่ทิ้งตรงนี้
    ใจมันอดไปคิดไม่ได้หรอก ตอนนี้ก็ทำได้เท่านี้ ต่อไปถ้าทนได้มากขึ้น
    ก็จะรู้ทุกข์ได้มากขึ้น รู้ทุกข์ได้ละเอียดขึ้น ทำให้ใจลดการคิดลงไป
    รู้ทุกข์มากขึ้น ก็มีเวลาไปคิดน้อยลง สำหรับพี่มันเป็นอย่างนี้นะ
    ถ้ารู้ทุกข์ แล้ว อ๋อ... มันก็หลงไปกับ อ๋อ... แล้ว
    เราหัดรู้ทุกข์ แล้วดูใจมันเป็นยังไง ก็รู้มันไปยังงั้น
    ยังทำได้ไม่ค่อยถูก แต่พยายามจะเดินให้ตรงทางนี้อยู่

    เรื่องสมาธิ สติ พี่ว่ามนุษย์ ทุกคนมีติดตัวสะสมกันมาแล้วทั้งนั้น
    ระดับ ขณิกะสมาธิ ก็มีสติ อดทนต่อสภาวะได้ระดับหนึ่ง
    ถ้ารู้ทุกข์ ได้ถูกวิธี การไปทำสมาธิเพิ่มก็จะเสริมกันได้ดียิ่งขึ้น
    ถ้ามีสติอ่านหนังสือได้แล้วเข้าใจ ท่องสวดมนต์ได้แบบรู้ตัว ก็หัดรู้ทุกข์ได้ทุกคน ถ้ารู้วิธีใช้งานสติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2009
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็ยังชี้กันคนละจุด อย่าลืมว่า จิตที่สงบ ที่ว่าง ที่ได้จากสมถะ นั่นเราก็เอามาดู

    หากไม่เข้าใจตรงนี้ ก็จะคิดว่า เรามีสติที่ธรรมดา ระลึกรู้ดูความว่างไม่ได้

    ดูจิตนั้นดูได้ยิ่งกว่าความว่าง จึงทำให้รู้ถ้วนในความว่างทุกชนิด

    ก็ถ้าเราเอาความว่างมาดูได้แปลว่าอะไร ก็แปลว่า ฌาณมันเกิดอยู่ที่พื้นจิต
    แล้วเราก็มีสมาธิจิตแยกออกมาดูอีกส่วนหนึ่ง

    ก็ในเมื่อเรากำลังดูความว่าง ไม่มีกิเลสใดๆปรากฏ ก็ความว่างนั่นแหละกิเลส
    ที่ปรากฏ หากไม่ดูก็ไม่มีทางรู้เหตุของกิเลสที่ทำให้เกิดการยึดมั่นความว่างนั้น

    ต่อให้ภาวนาจนเห็นนิพพาน ก็ต้องยกนิพพานขึ้นเป็นสิ่งที่ถูกรู้ เพื่อไม่ให้ยึดติด

    เพราะหากยึดติดความว่างที่เป็นนิพพาน ก็ก่อภพเรียบร้อยไปแล้ว

    แล้วอะไรหละที่จะต้องไปสาวหา ไม่ต้องไปสาวหาอะไรแล้ว ใครบ้าไปสาวหาเหตุ
    ในกรณีการเกิดนิพพานอีกก็ประหลาดแล้ว หยุดอยู่ที่รู้นั่นแหละพอดี

    ต้นสายถึงปลายทาง ก็มีแต่ รู้ลูกเดียว ซึ่งก็คือกิจในอริยสัจจ รู้ทุกขสัจจ
     
  17. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    หากภาวนาจนเห็นนิพพานแล้ว ยังจะมีการยกขึ้นยกลงอีกหรือครับ?

    นิพพานกับความว่างเป็นอันเดียวกันหรือครับ?

    แล้วตลอดสายของการปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนถึงปลายทาง ท่านให้รู้ลูกเดียว ไม่ต้องทำอย่างอื่นกันแล้วหรือครับ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2009
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้<TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 6 คน ( เป็นสมาชิก 5 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>วิษณุ12*, วิมุตติ, jinny95, nooy09, หลินจิ่นเฉิง </TD></TR></TBODY></TABLE>มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 6 คน ( เป็นสมาชิก 5 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>วิษณุ12*, วิมุตติ, jinny95, nooy09, หลินจิ่นเฉิง </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เธอทำให้ฉัน นึกถึงเหมือนตอน 14 (เสกโลโซ)เอ๊ะ ร้องผิดหรือถูก
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    แต่ถ้า ดูเฉย อย่างหลายท่านเข้าใจ หมายถึง ดูจิต พอเห็นอะไร เห็นฟุ้งซ่านก็ อ๋อ .. อนันตา ปล่อยมัน เห็นโกรธหน่อย ก็ อ๋อ... อนิจจัง เห็น..ว่าง ๆ .. หน่อยก็ ... อ๋อ .. อนัตตา
    ถ้าทำแบบนี้ไม่สาวต่อ
    ....หากตามรู้ความฟุ้งซ่านไปบ่อยๆ จนมันจำสภาวะได้ มันก็เหมือนกับกระเทาะออกไปทีละนิด แต่สำคัญที่ว่า เมื่อเกิดฟุ้ง กำลังสมถะ (ความสงบ)ที่ให้พลังจิต ในการดูความฟุ้งนั้น มันต้องดูความฟุ้งซ่านต่อไปเนืองๆ ไม่ใช่ว่าตามรู้ ตามดู แต่ไม่ตลอด
    ไม่ตลอดนั้นหมายความว่า วันนี้เราฟุ้ง แล้วตามรู้ไป แต่พออีกวัน ฟุ้งอีก ไม่ตามรู้ แต่ไหลไปกลับฟุ้งซ่าน ก็จะไม่เป็นผล
    ...ผลจะเกิดรู้ทันฟุ้งซ่านได้ ก็ต้อง ตามรู้บ่อยๆ สำคัญตรงนี้
    ...ที่ต้องเพียรตามรู้สภาวะนั้น จนชำนาญ เมื่อมันเกิดฟุ้งซ่าน สติจะไประลึกได้แล้วจะรู้สึกตัวทันที จึงเป็นการกระเทาะ นิวรณ์ไปในตัวโดยปริยาย


    มันก็คือ ๆ กับความปรุงแต่ง คือ ๆ กับการกำหนดภพ.. ในสมาธิ( ของพวกกลัวติดสมาธิ)นั่น ถ้าทำแบบนี้ จะอีกกี่อ๋อ มันก็ไม่พ้น เดี๋ยวมันก็เกิดอีก ....มันย่อมเกิดอยู่แล้วเพราะเป็นธรรมชาติของจิตที่จะรับอารมณ์ แต่การอบรมสติ การตามรู้ให้ได้บ่อยๆ จึงทำให้รู้สึกตัวเท่าทันสภาวะอารมณ์นั้นๆ ที่ปรากฏได้.....เมื่อรู้เท่าทันสภาวะอารมณ์ที่ปรากฏได้บ่อยๆ ถี่ๆ จิต ย่อมตั่งมั่น รู้ ไม่ไหลไปตามอารมณ์(กิเลส)ที่เกิดขึ้น และเริ่มเป็นเองโดยอัตโนมัติ และตั่งมั่น ที่จะรู้อารมณ์ ที่เกิดตลอดสาย โดยไม่หลีกหนีอารมณ์นั้น เรียกว่า จิตตั่งมั่น
     
  20. nooy09

    nooy09 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +3
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เอกวีร์ [​IMG]
    ต่อให้ภาวนาจนเห็นนิพพาน ก็ต้องยกนิพพานขึ้นเป็นสิ่งที่ถูกรู้ เพื่อไม่ให้ยึดติด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>หากภาวนาจนเห็นนิพพานแล้ว ยังจะมีการยกขึ้นยกลงอีกหรือครับ?


    ในตรงนี้ ที่รู้สึกถึงนิพพาน จะแค่แว๊บเดียวของจิต หากยึดนิพพานคือ มีความอยากให้นิพพานอยู่ตลอด มันเป็นตัณหาผลักดัน ทำให้อยากประคองนิพพานอยู่ นั่นแหล่ะ กิเลศ เพราะสภาวะที่ไปเห็นนิพพานก็เป็นไตรลักษณ์เช่นกัน แค่แว๊บเดียวของจิต เพราะผู้รู้ที่เข้าไปรู้สึกนั้น ก็เป็นไตรลักษณ์เช่นกัน เห็นนิพพานบ่อย ๆ ถี่ ๆ เข้าก็เข้าทางเท่านั้นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...