ไม่ใช่นะครับที่มักกล่าวว่า “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ทำอย่างกับ ทนายโจร ซักจำเลย พยายามถามให้มันขัดกันให้ได้
    และ ถามเพื่อให้ จำเลย ตอบให้เข้าทางตน

    คุณธรรมภูต กล่าวมาดีแล้ว ไม่เห็นต้องอธิบายอะไรมาก
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ตามสะบายนะท่านขันธ์
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ การดูอยู่เฉยๆโดยไม่แทรกแซงนั้น
    เป็นการดูความสกปรกหมักหมมเพิ่มพูนขึ้นทุกวัน
    มีดีอยู่ตรงที่ว่า อบรมวิธีนี้บ่อยๆเนืองๆแล้ว

    ทำให้ฉลาดแบบเฉโก รู้อารมณ์เร็วขึ้นแต่ไม่รู้วิธีละ
    เหมือนใช้วิธีขึ้นป้ายเขียนว่า “ที่เห็นอยู่นี่คือสิ่งสะอาด”
    เป็นการหลอกตัวเองไปวันๆเท่านั้นครับ

    ส่วนตามรู้ตามเห็นนั้น เป็นการตามรู้ตามเห็นอาการของจิตว่าสงบหรือกระสับกระส่ายอยู่
    เมื่อมีอารมณ์เข้ามากระทบ พอจิตเริ่มไหวตัว
    ก็รีบสลัดออกได้อย่างทันท่วงทีกลับมาสู่ความสงบตั้งมั่นครับ ไม่ให้หมักหมมไว้ครับ

    ;aa24
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ขอบคุณอาจานขันธ์ครับ
    ถ้าไม่ตอบไป ผู้ใหม่อยู่จะไขว้เขวได้ครับว่า
    เลี่ยงที่จะไม่ตอบครับ ขอบคุณที่เป็นห่วงครับ

    อารมณ์อะไรมา จิตมันรู้อยู่ตลอดแหละครับว่ามีอารมณ์อะไรมา
    แต่มันไม่รับเข้ามาปรุงแต่งให้เกิดเวทนา ไม่ใช่ไม่รู้อะไรเลยครับ

    ส่วนการดูจิตเฉยๆนั้น ความจริงแล้วมันรับอารมณ์เข้าปรุงแต่งเรียบร้อยแล้ว(ดูอาการของจิต)
    เพียงรู้ดูมันเกิด-ดับไปเอง ได้แต่บอกตัวเองว่าให้ดูเฉยๆ
    ถ้ารู้เฉยๆ ตามความเป็นจริงแล้ว จิตต้องไม่รับอารมณ์
    แต่นี่เป็นการรับอารมณ์แล้ว จึงรู้ว่ามันเกิดขึ้น เห็นมันตั้งอยู่ แล้วดับไปตามเวลา

    ยังกล้าพูดแบบเต็มปากอีกหรือว่าดูจิตเฉยๆ เป็นการสกดจิตตัวเองว่า "ดูเฉยๆ"
    ถ้าจิตดู(จิตดูนะครับ)เฉยๆตามความเป็นจริงแล้ว กิเลสจะอยู่ส่วนกิเลส จิตจะอยู่ส่วนจิต
    ไม่ข้องแวะกันและกันหรอกครับ ผมถึงได้ย้ำนักย้ำหนาว่า
    ดูจิตแบบติดความคิด เมื่อติดความคิดแล้ว
    ก็ปรุงแต่งให้เป็นความคิดที่ดีเป็นกุศล
    ผมจึงได้บอกว่าเป็นการ "ติดดีในดี" ไม่ใช่ความดีที่เกิดจากการละกิเลสได้ครับ

    ;aa24
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณได้ฐานที่ตั้งของสติแล้วหรือครับ???
    ถึงกล้าพูดว่ากำหนดรู้ได้เดี๋ยวนี้
    ที่คุณพูดว่ากำหนดรู้ได้เดี๋ยวนี้ในการดูจิตนั้น
    เป็นการกำหนดรู้ต่อเมื่อจิตรับอารมณ์เข้ามาแล้ว

    ย่อมแตกต่างกับการกำหนดรู้เดี๋ยวนี้ในฐานที่ตั้งของสติ(สติปัฏฐาน)
    เพราะการกำหนดรู้ในฐานที่ตั้งสตินั้น
    จิตจะสงบตั้งมั่นได้ในทันทีครับ ต้องอ่านข้างบนประกอบครับ

    ;aa24


     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณพูดมานั้นใช่การละเหตุที่ไหนครับ???
    ให้ดู “ราคะ โทษะ โมหะ ที่มันเกิดขึ้น”
    มันเกิดขึ้นแล้วนี้เป็นผลแล้วครับไม่ใช่หตุ

    อย่าคิดเองสิครับ ต้องรู้เห็นตามความเป็นจริงครับ
    ที่คุณพูดนั้นเป็นการเห็นทุกข์ ไม่ใช่กำหนดรู้ทุกข์

    ที่คุณว่าชำนาญนั้น เป็นความชำนาญแบบเฉโก
    โดยเปลี่ยนจากการเห็นทุกข์
    มาเห็นในสิ่งที่ไม่ทุกข์ที่กำหนดขึ้นเองว่า ดูจิตเฉญๆในขณะนั้น

    เป็นเพียงการเปลี่ยนอารมณ์หนึ่งสู่อารณ์หนึ่งเท่านั้น
    แล้วเมื่อไหร่ละครับ ถึงจะขจัดมลทินให้หมดไปได้


    ;aa24
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <o:p> </o:p>
    ครับ เรื่องความเชื่อความศรัทธานั้น ห้ามกันไม่ได้หรอกครับ
    แต่ความจริงก็คือความจริง<o:p></o:p>
    ของแบบนี้ เราสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
    เพราะตนนั่นแหล่ะเป็นที่พึ่งแห่งตน<o:p></o:p>

    อย่ายกความเชื่อถือให้ใครไปง่ายๆครับ
    ถ้ายังไม่ได้ลงมือพิสูจน์เอง โอกาสมีมาหาเราไม่บ่อยนักนะครับ

    ;aa24
     
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    คนเรานี่ถ้ามันไม่รู้เสียบ้าง มันก็รู้จักขวนขวาย หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอนะ แต่ถ้าคิดว่าตัวเองนี่มันรู้ไปเสียหมดทุกเรื่อง อ๋อรู้แล้ว อ๋อมันอย่างงี้ อ๋อเชื่อสิฉันรู้ ถ้าเป็นแบบนี้มันจะไม่แสวงหาความรู้เพิ่มเอานะ

    ผมไม่รู้ ยังไม่รู้อยู่มาก ^-^
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานนิฯครับ คุณถามผมมานั้นว่า
    “พี่ภูตประสบสภาวะ จิตแยกออกจากกายแล้วใช่ไหมครับ”

    ผมก็จำได้ว่าเคยตอบไปตามมารยาทไว้ว่า
    “ไม่มีอะไรจะได้ ไม่มีอะไรจะไม่ได้ครับ”

    ส่วนเรื่องฌานนั้น คุณอย่างคิดเองเออเองสิครับ
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นเรื่องขันธ์
    แต่สัมมาสตินั้น เป็นมรรค(ทางเดินของจิต)
    สัญญา คือความจำได้หมายรู้
    สัมมาสติ คือการระลึกรู้ชอบ

    คุณพยายามโยงมันให้เป็นเรื่องเดียวกันนั้น ไม่ถูกต้องครับ
    ต้องยอมความเป็นจริงสิครับว่า เมื่อเวทนาดับ สัญญาดับ
    สังขารหยุดปรุง วิญญาณหยุดรับ ต้องมีสัมมาสติระลึกรู้ชอบอยู่ใช่มั้ยครับ???

    ถ้าขาดสติ เข้าฌานไม่ได้หรอกครับ
    จิตมีสติตั้งมั่นไม่หวั่นหวั่นเป็นคุณลักษณะของฌาน
    คุณอย่าพยายามโยงให้เข้าทางตัวเองเลยครับ

    มันจะทำให้ภาพลักษณ์คุณที่ดูไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่

    สติเป็นคุณลักษณะของจิต เป็นมรรค ไม่ใช่ตัวสัญญาครับ
    ที่ว่าสติต้องอาศัยสัญญา(สัญญาในการที่จะปล่อย)นะใช่ แต่ในช่วงแรกเท่านั้น
    เมื่อคล่องแคล่ว ชำนิชำนาญแล้วก็ไม่ต้องอาศัยสัญญาอีกแล้วครับ

    คุณเองก็รู้ดี เพราะถูกสั่งสอนมาแบบนี้
    คุณก็ยังพยายามสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นอีก
    เพื่อลดความหน้าเชื่อของอีกฝ่ายลงเท่านั้น
    ขอเตือนว่าอย่าทำเลยครับ จะเป็นบาปกรรมที่ติดตามตัวนะครับ

    ปล.เรื่องที่คุณพยายามสร้างให้เห็นว่าการปฏิบัตินั้น
    เป็นเรื่องเลวร้ายไม่ควรทำนั้น
    คุณควรหันมาดูกรรมที่ตามอยู่บ้างนะครับ อย่ามัวแต่ดูจิตเฉยๆ

    ;aa24
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จินที่รัก รู้มากรู้น้อย ไม่ใช่สาระสำคัญครับ
    รู้มากจะยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ
    สาระสำคัญอยู่ที่ว่า รู้ถูก หรือ รู้ผิด

    รู้ถูก คือ รู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    รู้ผิด คือ ไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง (รู้ แต่ไม่รู้จัก...ไม่ใช่ไม่รู้)

    โดยเฉพาะ รู้เรื่องจิตกับสติผิดๆ ติดความคิด
    เห็นทุกข์ไม่รู้จักทุกข์
    เห็นเหตุแต่ละเหตุไม่เป็น
    ไม่เดินตามอริยมรรค ๘
    แต่จะเดินตามมรรคที่คิดขึ้นเองว่าเป็นทางเอก
    แล้วจะประจักษ์แจ้งนิโรธที่จิตได้อย่างไร ???

    ;aa24
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็พิจารณาหน่อยละกันนะ

    หาก สติ สามารถเกิดได้โดยไม่ต้องอาศัย ปัจจัยการ เหตุ และ ผลแล้ว
    พี่ภูติก็กำลังประกาศ อสังขตธาตุ ชนิดใหม่ขึ้นมา ....อันนี้ก็ว่ากันไป

    ประเด็นนี้ก็ยกไป ถือว่าพี่ภูติได้แสดงวาทะแล้ว

    * * * *

    คราวนี้ผมมีคำถามใหม่ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ก็คือถึงนิพพานแล้ว

    ถามว่า พระพุทธองค์ต้องเข้าฌาณใดๆอยู่อีกหรือเปล่า เพื่อที่จะเห็นนิพพาน

    ถ้าตอบว่าต้องเข้า ต้องเข้าฌาณไหน ... 1 ?

    ถ้าตอบว่าไม่ต้องเข้า ก็จะถามว่าตอนปรินิพพาน ต้องเข้าฌาณใดอีกไหม ... 2 ?
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอบคุณอาจานขันธ์ครับ
    ถ้าไม่ตอบไป ผู้ใหม่อยู่จะไขว้เขวได้ครับว่า
    เลี่ยงที่จะไม่ตอบครับ ขอบคุณที่เป็นห่วงครับ
    ....ขอบคุณครับที่ตอบผม


    อารมณ์อะไรมา จิตมันรู้อยู่ตลอดแหละครับว่ามีอารมณ์อะไรมา
    แต่มันไม่รับเข้ามาปรุงแต่งให้เกิดเวทนา ไม่ใช่ไม่รู้อะไรเลยครับ.......แสดงว่ามันไม่สามารถ เกิดเวทนาได้ใช่ไหมครับ ไม่สามารถรู้ถึง สุข ทุกข์ เฉยๆ ได้เลยใช่ไหมครับที่พี่ภูตกล่าวไว้ว่ามีอารมณ์อะไรมาแต่ไม่รับเข้ามาปรุงแต่งให้เกิดเวทนาได้ถ้าบุคคลที่ไม่เกิดเวทนาเลยจะเรียกว่าคนไร้ความรู้สึกหรือเปล่าครับในภาษาบ้านๆ

    ส่วนการดูจิตเฉยๆนั้น ความจริงแล้วมันรับอารมณ์เข้าปรุงแต่งเรียบร้อยแล้ว(ดูอาการของจิต)
    ......นั่นล่ะครับแรกๆก็ฝึกดูอารมณ์ที่มันเกิดขึ้นนี่ล่ะครับ เช่น ผัสสะที่มันกระทบตามอายตนะแล้วรวมลงที่เวทนา...การฝึกตามรู้เฉยๆนี้มันไม่ได้แค่ว่าจะละเหตุได้เดี๋ยวนั้น มั้นก็ต้อง ตามรู้เฉยๆไปเรื่อยๆ บ่อยๆเนืองๆจนมันจำสภาวะได้ มันจะรู้สึกตัวได้เองเมื่อสภาวะนั้นเข้ามาปรากฏ ต้องอบรมจนชำนาญ


    เพียงรู้ดูมันเกิด-ดับไปเอง ได้แต่บอกตัวเองว่าให้ดูเฉยๆ
    .......ใช่แล้วก็ดูมันอย่างนั้นล่ะเมื่อมันเข้าขั้นเป็นเองมันจะเห็นลงไตรลักษณ์เหมือนกัน ดูอย่างไม่แทรกแทรงอารมณ์ ดูไปตรงๆที่สภาวะนั้นตามความเป็นจริง

    ถ้ารู้เฉยๆ ตามความเป็นจริงแล้ว จิตต้องไม่รับอารมณ์
    .....เข้าใจผิดแล้วครับ ที่ว่ารู้เฉยๆนี่ว่าจิตต้องไม่รับอารมณ์ ไม่งั้นจะเรียกว่าดูเฉยๆเหรอครับ จิตรับอารมณ์ หรือไม่รับอารมณ์ ก็ตามรู้เฉยๆ เท่านั้นเอง

    แต่นี่เป็นการรับอารมณ์แล้ว จึงรู้ว่ามันเกิดขึ้น เห็นมันตั้งอยู่ แล้วดับไปตามเวลา....ในการฝึกนั้นมันก็ตามรู้เฉยๆได้ตามสภาวะที่มันเกิดขึ้น เมื่อมันมีความคล่องตัว มีความชำนาญมากขึ้น มันก็จะไวขึ้น จะรู้สึกตัวได้เร็วขึ้นตามความเป็นจริง


    ยังกล้าพูดแบบเต็มปากอีกหรือว่าดูจิตเฉยๆ เป็นการสกดจิตตัวเองว่า "ดูเฉยๆ" ...... การ ดูเฉยๆ ที่พี่ภูต ว่ามานี้ มันย่อมเรียกว่า สะกดจิตแน่ๆ เพราะมันไปคอยจ้องที่จะดู ไม่ได้ดูเฉยๆแบบตามรู้ ตามดูครับ

    ถ้าจิตดู(จิตดูนะครับ)เฉยๆตามความเป็นจริงแล้ว กิเลสจะอยู่ส่วนกิเลส จิตจะอยู่ส่วนจิต
    ไม่ข้องแวะกันและกันหรอกครับ ผมถึงได้ย้ำนักย้ำหนาว่า
    ......สำหรับแรกๆการฝึกจะยังไม่เห็นอย่างนั้นหรอกครับ ต้องอาศัยการอบรมให้มากครับ

    ดูจิตแบบติดความคิด เมื่อติดความคิดแล้ว
    ก็ปรุงแต่งให้เป็นความคิดที่ดีเป็นกุศล
    ผมจึงได้บอกว่าเป็นการ "ติดดีในดี" ไม่ใช่ความดีที่เกิดจากการละกิเลสได้ครับ....เออ่านแล้วงง...ผมงงที่ว่า ไม่ใช่ความดีที่เกิดจากการละกิเลสได้ อธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ....

     
  13. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    .....เข้าใจผิดแล้วครับ ที่ว่ารู้เฉยๆนี่ว่าจิตต้องไม่รับอารมณ์ ไม่งั้นจะเรียกว่าดูเฉยๆเหรอครับ จิตรับอารมณ์ หรือไม่รับอารมณ์ ก็ตามรู้เฉยๆ เท่านั้นเอง

    การดูจิต รู้อาการของจิต ตามรู้ตามดูเฉยๆ..
    ทำแค่นี้หรือครับ..เหมือนสูตรสำเร็จเลย..
    แล้วจะละวางอุปทานขันธ์ 5 ได้อย่างไร..ช่วยอธิบายหน่อย..
    แล้วข้อธรรม โพธิปักขยธรรม 37 อยู่ในส่วนไหนของการดูจิต ..
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    คุณพูดมานั้นใช่การละเหตุที่ไหนครับ???
    ให้ดู “ราคะ โทษะ โมหะ ที่มันเกิดขึ้น”
    มันเกิดขึ้นแล้วนี้เป็นผลแล้วครับไม่ใช่หตุ
    เอ... ราคะ โทษะ โมหะ เป็นเหตุครับ ผลที่ตามมาคือเกิดทุกข์ครับ คือ เห็น สิ่งของ เกิดอยากได้ แต่ไม่ได้ ก็เกิดทุกข์ตามมา ราคะโทษะ โมหะ เป็นกิเลสตัณหา เรียกว่า สมุทัย ซึ่งพระพุทธเจ้าก็บอกแล้วว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ มันไม่ขัดกลับพระพุทธเจ้าเหรอครับพี่ภูต


    อย่าคิดเองสิครับ ต้องรู้เห็นตามความเป็นจริงครับ
    ที่คุณพูดนั้นเป็นการเห็นทุกข์ ไม่ใช่กำหนดรู้ทุกข์
    ....แล้วพี่ภูตกำหนดรู้ทุกข์อย่างไรเหรอครับ

    ที่คุณว่าชำนาญนั้น เป็นความชำนาญแบบเฉโก
    ....อย่าด่วนตัดสินซี้ว่าเฉโก
    โดยเปลี่ยนจากการเห็นทุกข์
    มาเห็นในสิ่งที่ไม่ทุกข์ที่กำหนดขึ้นเองว่า ดูจิตเฉญๆในขณะนั้น

    เป็นเพียงการเปลี่ยนอารมณ์หนึ่งสู่อารณ์หนึ่งเท่านั้น
    แล้วเมื่อไหร่ละครับ ถึงจะขจัดมลทินให้หมดไปได้
    .....การเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามจริงไปในแต่ละวันที่เกิดขึ้น เมื่อเห็นตามจริงแล้วก็สามารถรวมลงไตรลักษณ์ได้เหมือนกัน ว่าวันนึงๆ เรามีอารมณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา
     
  15. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    ช่วยตอบหน่อย..จะได้กระจ่างแจ้งในเรื่อง การดูจิต
    ตอบไม่ได้ ไปให้อาจารย์ช่วยตอบก็ได้..
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    การดูจิต รู้อาการของจิต ตามรู้ตามดูเฉยๆ..
    ทำแค่นี้หรือครับ..เหมือนสูตรสำเร็จเลย..
    ลองดูซิครับ การดูจิต ไม่ใช่ว่าไม่ทำกรรมฐาน ไม่รักษาศีล
    การจะดูจิตได้นั้นเบื้องต้น ต้องทำกรรมฐานเอาไว้ซัก 1อย่าง ที่ตัวเองถนัด...ผู้ฝึกดูจิตนี้ส่วนมากล้วนเคยทำสมถะกันมาทั้งนั้นและเวลาคุยกัน ส่วนใหญ่ไปคุยตรงสภาวะกัน ไม่ค่อยคุยกันเรื่อง สมถะเท่าไร เพราะอาศัยสมถะ เพื่อพักจิตจึงไม่เน้นในการทำฌานสูงๆ


    แล้วจะละวางอุปทานขันธ์ 5 ได้อย่างไร..ช่วยอธิบายหน่อย..

    การจะละวางอุปาทานขันธ์ 5นั้น ไม่ยากเลย เพียง พี่วิสุทโธเปิดใจที่จะศึกษาวิธีการซักนิด หากไม่มองด้วยอคติ ถือซะว่าลองดูเล่นๆ แต่ต้องศึกษาวิธีการดูให้เข้าใจ ถ้าผมจะอธิบายพี่ วิสุทโธก็อาจจะยังไม่เชื่อ ก็จะยิ่งไปกันใหญ่ไม่จบสิ้น ต้องลองดูก่อนลองไปอ่าน วิธีการที่ละเอียด ตามลิ้งนี้ได้ครับ ดูจิต...ด้วยความรู้สึกตัว


    แล้วข้อธรรม โพธิปักขยธรรม 37 อยู่ในส่วนไหนของการดูจิต .
    เมื่อเข้าใจวิธีการดีแล้วย่อมเข้าใจว่า ควรจะทำอะไรตรงไหนเมื่อไร สำคัญตรงวิธีการนี่ล่ะครับ

    การดูจิตก็ต้องตั้งอยู่ในศีล เป็นเบื้องต้น ย่อมดำเนินตาม มรรคมีองค์ 8 ซึ่งมันก็รวมอยู่ ใน
    โพธิปักขิยธรรม 37 อยู่แล้ว
    การจะไปดูจิต แรกๆจะไม่สามารถดูได้ตรงๆ ต้องดูไปเป็นขั้นๆ บางคนอาศัยกายก่อน บางคนอาศัยเวทนา บางคนอาศัยจิต ซึ่งมันก็เป็นขั้นเป็นตอนไป
    ที่ว่าการดูเฉยๆ นี่ จะแนะบอกกัน ตามสภาวะที่ปรากฏ แต่ก็ต้องตามรู้เฉยๆ ตามดูเฉยๆ โดยไม่ขาดเหมือนกัน ถึงบอกว่า ต้องเข้าใจวิธีการ ตามลิ้งที่ผมให้ไปจะบอกอย่างละเอียด หากไม่มีอคติก็ลองศึกษาดูครับ เมื่อศึกษาวิธีการที่เข้าใจแล้ว ก็ลองทำตามดู แล้วค่อยมาคุยกันก็ได้ครับ
     
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ช่วยตอบหน่อย..จะได้กระจ่างแจ้งในเรื่อง การดูจิต
    ตอบไม่ได้ ไปให้อาจารย์ช่วยตอบก็ได้
    ....ผมตอบได้เท่าที่ผมทราบนะครับ

    พี่วิสุทโธ จะกระจ่างแจ้งในเรื่องการดูจิตนั้น พี่วิสุทโธต้องลองฝึกเองด้วยครับ ถึงจะกระจ่างแจ้ง เพราะผมบอกไปก็จะเกิดการเถียงกันเปล่าๆหากยังไม่ลองดู

    ในการดูจิตในชีวิตประจำวันนั้น เป็นตัววัดง่ายๆ โดยอาศัย ผัสสะที่มากระทบตามอายตนะทั้ง 12 เป็นเครื่องดู แรก ๆก็ลองฝึกสังเกตุดูว่า เมื่อพี่วิสุทโธ เกิด การกระทบ มีตากระทบรูปเป็นต้น เกิดอารมณ์ ยินดี ยินร้ายไหม หรือเฉยๆ มัน ก็ฝึก ตามรู้ผ่านๆ เรียกว่ารู้เฉยๆ นั่นล่ะ ตามรู้อารมณ์ ที่เกิดขึ้น แต่ต้องฝึกตามรู้ให้ได้บ่อยๆนะครับ แล้วก็อย่าคอยจ้องเพ่งที่จะตามรู้

    ง่ายๆเลย เวลาพี่วิสุทโธ อ่านกระทู้บอร์ดนี้แล้วเกิด ชอบใจ ไม่ชอบใจ ลองหันไปมองสังเกตุดูตัวเองว่า เวลาเราชอบ ใจเราเป็นอย่างไร ฝึกดูแบบผ่านๆ หรือไม่ชอบใจ ใจเราเป็นอย่างไร เห็นราคะ โทษะ โมหะ ที่เกิดจากตัวเองไหม
    อ่านกระทู้ผมแล้วเกิด หมั่นไส้ ไม่ชอบใจ ก็ลองชำเรืองดูตัวเอง ลองแบบนี้ล่ะครับ
    อันนี้เป็นการฝึกง่ายๆ แต่ต้องลองสังเกตุดูครับ ต้องดูไปเรื่อยๆนะครับ จนมันชำนิชำนาญ แต่คนฝึกใหม่ๆจะไม่เข้าใจวิธีการ อาจทำให้หลงไปเพ่ง จ้องเพื่อ คอยดูเฉยๆได้
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะต้องมีองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติมาเพื่ออะไร
    ในเมื่อไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องปฏิบัติสัมมาสมาธิเพื่อขจัดกิเลสกันอีกแล้ว
    ปฏิเสธการที่ต้องมานั่งหลังขดหลังแข็ง เพื่อฝึกฝนอบรมจิต


    ทั้งๆที่เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้มีพละกำลังในการต่อสู้กับกิเลส
    ที่มีมากมายรอบด้าน โดยใช้หลักอริยสัจจ์ ๔ นั้น ต้องกำหนดรู้ทุกข์(กิเลส)

    การกำหนดรู้ นี้ ผมฟังแล้วแปลตามภาษาไทยที่เรียนมา ก็เข้าใจว่า เราสามารถกำหนดได้เดี๋ยวนี้ เมื่อกำหนดรู้ได้เดี๋ยวนี้ แล้วจะมาปฏิบัติทำไม เมื่อกำหนดได้แล้ว
    แต่อีกทางที่เข้าใจ การกำหนดรู้ บ่อยๆ ก็เพื่อให้จดจำสภาวะได้ ที่เกิดขึ้นตามเป็นจริง แรกๆจะใช้กำหนด จนชำนิชำนาญจนเป็นเองมันจะกำหนดละของมันเองเมื่อมันกำหนดรู้ได้โดยพ้นเจตนาผมเข้าใขอย่างนั้นครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    คุณได้ฐานที่ตั้งของสติแล้วหรือครับ???
    ถึงกล้าพูดว่ากำหนดรู้ได้เดี๋ยวนี้
    .....ผมถึงได้ถามไปนะครับว่า คำว่ากำหนดรู้มันกำหนดได้เดี๋ยวนี้ไหม
    ก็แสดงว่า มันไม่สามารถกำหนดรู้ได้เดี๋ยวนั้นต้องอาศัยการอบรมจนมันเป็นเองใช่หรือเปล่าครับเรียกได้ว่ามันกำหนดเองหรือเปล่าครับ

    ที่คุณพูดว่ากำหนดรู้ได้เดี๋ยวนี้ในการดูจิตนั้น
    เป็นการกำหนดรู้ต่อเมื่อจิตรับอารมณ์เข้ามาแล้ว
    ตรงนี้ในความเข้าใจของผมการกำหนดรู้เมื่อจิตรับอารมณ์เข้ามาแล้วก็ถูกแล้วนี่ครับ แต่ก็ต้องกำหนดบ่อยๆ จนมันเป็นเอง
    หรือเรียกอีกอย่างว่า ตามรู้เฉยๆสำหรับความเข้าใจของผมเมื่อจิตรับอารมณ์ แต่ต้องตามรู้ไปเรื่อยๆ จนมันเป็นเอง

    ย่อมแตกต่างกับการกำหนดรู้เดี๋ยวนี้ในฐานที่ตั้งของสติ(สติปัฏฐาน)
    เพราะการกำหนดรู้ในฐานที่ตั้งสตินั้น
    จิตจะสงบตั้งมั่นได้ในทันทีครับ ต้องอ่านข้างบนประกอบครับ
    .....ใช่แล้วครับผมก้เข้าใจว่าเมื่อมันเกิดขึ้นที่การกำหนดรู้ในฐานสติแล้วก็แสดงว่ามันอบรมมามากแล้วจึงเริ่มเป็นเองแล้วจึงแตกต่างในการฝึกแรกๆ ที่ยังไม่เป็นเอง

     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241

    อันนี้ผมตอบให้ได้นะ

    ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่า เรากำลังทำฌาณให้เกิด

    การทำ ฌาณให้เกิด ก็คือ ต้องทำให้ สติ เกิด

    เมื่อทำให้ สติ เกิดแล้ว ก็ต้องให้มันตั้งมั่น ถึงจะเรียกว่า มีสมาธิ

    เมื่อมี สมาธิ แล้ว ก็จะต้องไม่แส่ส่ายหายไป ก็จะเกิด ปัญญา

    ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ คิดว่าจะเป็น Basic ที่คุณก็ทราบ

    * * * *

    แต่เงื่อนไขของการดูจิตคือ เราจะไม่ประคองจิตตั้งแต่แรก พูดตรงๆก็
    คือต้องปล่อยให้จิตมันอิสระอยู่ ซึ่งธรรมชาติมันจะต้องฝุ้ง คนที่ไม่
    เคยทำสมถะมาก่อนเลย ก็ฝุ้งสุดๆ แต่ถ้าทำมาบ้างก็จะ ฝุ้งน้อยลงตาม
    กำลังชุ่มชื่น ( พระท่านจึงว่า ให้ทำสมาธิพอชุ่มชื่นก็ออกมาพิจารณาได้เลย )

    หากเทียบ พวกฝุ้งสุดๆ ไม่เคยทำสมาธิเลย แล้วเกิด สติ เกิด สมาธิ และ ฌาณ
    ได้ ก็จะตรงกลุ่มที่ 4 ที่พระอานนท์กล่าวถึง ตัวอย่างของคนพวกนี้คือ คนที่
    ทำงานหนักแต่มีความสุข คนที่เกิดปัญหาหนักแต่ใจสู้ พวกหนีไฟไหม้แต่คอย
    ช่วยก็มีสิทธิเห็น ฌาณจิตแบบนี้ แต่ถ้าไม่เคยสดับธรรม ก็ไม่รู้ มรรค

    คราวนี้ ต้องไม่ลืมว่า เราจะปล่อยฝุ้ง ปล่อยให้จิตฝุ้ง ถอยจากสมาธิไม่จับ
    ไม่ประคองไว้ ก็เพื่อให้มันกุ๊กกิ๊ก ทันทีที่มันกุ๊กกิ๊กแส่ส่าย เราจะอาศัย
    ความรู้สึกเข้าจับ รู้สึกอะไรก็รู้ตามนั้น โดยไม่จำเป็นต้องรู้ว่าอะไร เพราะไม่
    ว่าอะไรก็เรียกว่า จิตมันเสพขันธ์5ทั้งนั้น จึงดูได้หมด สำนวน TBoon ใช้
    คำว่า จิตเกิด

    ส่วนคนที่ฝุ้งซ่านสุดๆ ไม่เคยทำฌาณเลย จะไม่เห็นสภาวะอาการจิตที่ไหล
    (วิญญาณ) แต่จะเห็นเป็นสังขารธรรม หรือภพชาติไปเลย ก็คือ เห็นกิเลส
    ที่สมมติชื่อได้

    ทีนี้เรามีหลักอยู่ว่า ห้ามบริกรรมอีก หากบริกรรมอีก เรากำลังทำให้จิตมัน
    ฝุ้งไปเป็นรอบใหม่ ดังนั้น เราจะไม่บริกรรม ไม่ตรึก ไม่ก่อวิตก วิจาร เราจะ
    อาศัยการระลึกรู้ตามที่มันเกิดตามความเป็นจริงของจิตที่กระทบผัสสะอยู่เท่านั้น

    เมื่อทำแบบนี้เรื่อยๆ เนืองๆ จิตมันจะรู้ว่ามันต้องทำอะไร เรียกว่า มันอบรมได้

    ดังนั้น เมื่อความสั่นไหวชนิดเดิม ไม่ว่าจะเป็นอาการอะไร หากมีเหตุปัจจัย
    เดิมมันจะจำได้ ทันทีที่จำได้ จะรู้ชัดขึ้นมาในใจ เกิด สติ ก็คราวนี้เอง
    สำนวนเราจึงเรียกว่า สติเกิดเอง เพราะเราไม่ได้จงใจเพ่งจ้องให้มันเกิด แต่
    มันกลับตั้งสติระลึกรู้อุปกิเลสได้

    พอรู้เห็น สติ ที่เกิดในลักษณะนี้ สติที่เกิดจากความฝุ้งซ่านแล้วมันโพล่งเอง
    ตื่นเอง เบิกบานเอง เราก็จะเพียรแบบนี้ไปเนืองๆ เริ่มสู่บท อิทธิบาท

    เมื่อเริ่มอิทธิบาท สติ มันก็เกิดขึ้นเนืองๆ ความต่อเนื่องของสติชนิดนี้
    เมื่อมันเกิดเนืองๆ ก็แปลว่า มันตั้งมั่น เกิดสมาธิ แต่เป็น ขณิกสมาธิ
    ถึงตรงนี้ก็จะให้ ปิติ ปัสสัทธิ หมุนวนให้เกิดอิทธิบาท4 อ้อ ส่วนใหญ่
    สติมันจะจำสภาวะอุกศลได้เป็นหลักในช่วงต้นๆ จึงเกิดสัมมัปทาน4

    เราก็เพียรแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนมันต่อเนื่อง พอต่อเนื่องเราก็เรียกว่า
    เกิด สัมมาสมาธิ พอสัมมาสมาธิเกิดด้วยสภาวะอย่างนี้ เอโกธิภาวะ
    เกิดด้วยการไม่จงใจเลย มันจึงมีกุศลสูง ทำให้อกุศลจิตแทรกไม่ได้
    และให้ ปิติ สุข ที่ไม่เกิดนิมิต จึงเรียกว่าไม่เกิดอามิส

    เราก็เพียรระลึกรู้ไปอีก มาถึงตรงนี้ก็จะต้องมาระลึกรู้การปรุงกุศลแทน
    แล้ว เพราะอกุศลหยาบๆแทรกไม่ได้แล้ว (สุขวิปัสสโกเกิดแค่ผู้นั้น:ปัสสัทธิ
    โพชฌงค์)

    จึงต้องมาระลึกสภาวะของกุศล หรือ การปรุงกุศล ดังนั้น เมื่อนักภาวนา
    ดูจิตมาถึงช่วงนี้ ก็จะหยิบจิตที่แอบไปทำสมถะนั่นแหละ เอามารู้เอามาดู
    ( โดนจะอาศัยองค์ฌาณที่เกิด เอามาดู ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ปิติ สุข นิมิต อุคหนิมิต-สำหรับคนที่มีวาสนา : คนไม่มีวาสนาก็ดู งง ให้รู้ว่า งง แค่นั้นก็แจ่ม )
    เพราะมองจิตที่ทำสมถะเป็นจิตปรุงแต่งกุศลฝ่ายดี แต่เราเอามาดูเพื่อถอด
    ถอนการยึดมั่น เราถอดถอนการยึดมั่นเท่านั้น ไม่ได้แปลว่าไม่ทำสมถะ
    นักสมถะก็จะเข้าใจนักดูจิตผิดก็ด้วยประการฉะนี้ ( จะเห็นว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    สัมมาทั้งหลาย จะทยอยเกิด และ ต่างจาก สมถะสมาธิ ปิติสมาธิ สุขสมาธิ ฯ )

    เราก็จะดูไปเนืองๆ ก็จะรู้ว่า จิตปรุงชั่วก็ดี ปรุงกุศลก็ดี ก็ล้วนคือ อาหาร
    ของจิต จิตมันหิวอารมณ์มันจึงเสพชั่วบ้าง เสพดีบ้าง เสพสงบบ้าง เราก็เห็นแบบนี้
    เนืองๆจนยอมรับว่า จิตนั้นแหละตัวทุกข์ เมื่อนั้นก็จะเกิดการเห็นอริยสัจจ
    เกิดการปล่อยวางการยึดถือจิต(จะปล่อยวางการยึดถือกายไปด้วย) ทำ
    ให้ ละสักกายทิฏฐิ สำเร็จ ด้วยเวลาอันสั้น มีผลเร็ว ทั้งหมดทำในสภาวะ
    ที่จิตอยู่ในภูมิของมนุษย์ ( หากมันเข้าสู่ภูมิพรหมจะถูกระลึกรู้และรำงับ --
    อย่าลืมว่า เรามี สัมมาสมาธิเป็นที่พื่งอีกชนิดแล้ว สมาธิที่ให้อุคนิมิต ฤทธ์
    จึงไม่ปรากฏอีก และถ้าจิตจะมาทำสมถะ มันก็จะไปเข้าอรูปฌาณ คนที่
    เจริญอานาปานสติ จึงมีผลดี เพราะผลิกกลับไปจากอรูปฌาณไปรูปฌาณได้ )

    ย้ำอีกครั้งหนึ่ง สมาธิในพุทธศาสนาต้องไม่ให้ภพ ไม่ก่อภพ ถึงจะออกจาก
    ภพชาติ ซึ่งจะต่างจากสมาธิแบบชาวบ้าน ที่ทำแล้วก่อภพก่อชาติเสมอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...