ให้จำไว้ว่าไม่ว่ากายหรือจิตก็ไม่ใช่ของเรา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 7 กรกฎาคม 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุดมทนาด้วยพี่ขวัญ
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เพราะกำลังปัญญาและวิปัสสนาผมยังมีไม่มากพอจะมองเห็นครับ เป็นจริงตามนั้น เพราะ คำว่า รูปนาม แท้ที่จริงก็มาจากขันธ์ทั้ง๕ แค่รู้สึกว่าอย่างน้อยสิ่งที่ควรมองเห็นก็ต้องมองเห็นไม่ใช่หรือครับ
    ขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงที่ช่วยกันรักษาพระศาสนาเอาไว้ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อนุโมทนาครับ ผมแค่ยกตัวอย่างครับว่า ทั้งหมดก็แค่หวังว่าเราผู้ใฝ่ในธรรมทุกคนควรจะมองเห็นสิ่งเหล่านั้นได้ด้วยตนเองครับ ขอบคุณมากครับ และขอประโยชน์ทั้งหลายจงมีแด่ผู้ ฟัง และอ่าน ธรรมและนำไปปฏิบัติ ครับ สาธุ
     
  4. ANGKOR

    ANGKOR สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +19
    หลวงปู่เทสก์ท่านอธิบายไว้ว่า อนัตตา นั้นหมายถึงสิ่งนั้นไม่สามารถควบคุมได้ครับ ท่านบอกว่า มันก็เป็นสิ่งที่มีอยู่ไม่ใช่มันไม่มี แต่มันควบคุณไม่ได้ดั่งใจ

    เปรียบขันธ์ห้าของเรา ถามว่ามีตัวตนหรือไม่ ขอตอบว่า มันก็มีตัวมีตนอยู่นั่นแหละ แต่มันควบคุมไม่ได้ ถ้าเป็นของเรา เราต้องควบคุมได้ แต่นี่มันไม่สามารถบังคับบัญชาได้ มันจึงเป็นอนัตตา คือควบคุมไม่ได้ครับ
     
  5. ANGKOR

    ANGKOR สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +19
    ผมเองรู้สึกเป็นห่วงและปรารถนาดีกันท่านจริงนะครับ

    เพราะความคิดปรามาสพระรัตนไตรที่ท่านมีอยู่นั้น ผมเกรงว่าถ้าถึงเวลาที่ท่านมีความสามารถยกระดับจิตของท่านเข้าสู่ภูมิอริยบุคคลแล้ว ท่านจะต้องมาติดตรงที่ต้องขอขมาพระรัตนไตรจนกว่าภูมิธรรมของท่านจะบริสุทธิ์พอนะครับ
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เทศนาบางส่วนของหนังสือ วิธีสร้างบุญบารมี โดย
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

    กายคตานุสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่เมื่อได้พิจารณาไปแล้ว
    ก็จะเห็นความสกปรกโสโครกของร่างกายจนรู้แจ้งเป็นจริงว่า
    ไม่น่ารัก ไม่น่าใคร่ จึงเป็นกรรมฐานที่มีอำนาจทำลายราคะกิเลส
    และเมื่อได้รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวมากๆเข้า

    จิตก็จะมีกำลังและเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกาย
    ทั้งของตนเองและทั้งผู้อื่น จึงเป็นการง่ายที่ "นิพพิทาญาณ"จะเกิดขึ้น
    และเมื่อได้เกิดขึ้นแล้ว จนมีญาณทัสสนะเห็นแจ้งอาการพระไตรลักษณ์ว่า

    ร่างกายเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขาแต่อย่างไร
    จิตก็จะน้อมไปสู่ "สังขารุเปกขาญาณ" ซึ่งมีอารมณ์อันวางเฉย
    ไม่ยินดียินร้ายในร่างกาย และคลายกำหนัดในรูปนามขันธ์๕ เรียกว่า

    จิตปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์๕ ซึ่งจะนำไปสู่การละ "สักกายะทิฐิ"
    อันเป็นการละความเห็นผิดในร่างกายนี้เสียได้

    ;aa24
     
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่านทั้งหลายครับอนุโมทนาบุญในครั้งนี้ด้วยครับ
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ขึ้นชื่อว่ากิริยาจิตแล้วล้วนปรุงแต่งทั้งสิ้น
    แต่ของท่านพระอรหันต์นั้น
    ท่านปรุงด้วยเมตตาล้วนๆที่ไม่มีอามีส แม้สักนิด
    ขึ้นชื่อว่าจิตส่งออก ไม่ปรุงเป็นไม่มี
    ท่านเหล่านั้นอยู่โดยมากด้วยสูญญตะวิหารธรรมครับ

    ;aa24
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค
    มหากิริยาจิต

    มหากิริยาจิต เป็นจิตที่ทำให้สำเร็จในการคิด การทำ การพูด ของพระอรหันต์ทั้งหลายผู้สิ้นกิเลสทั้งปวงโดยสิ้นเชิงแล้ว การคิด การทำ การพูดเหล่านั้นจึงไม่ก่อให้เกิดผลในอนาคตอีก เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายท่านสิ้นกิเลสแล้ว ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก การที่ท่านยังไม่นิพพานนั้นก็เพื่อสงเคราะห์เป็นเนื้อนาบุญให้ผู้มีกุสลได้ทำบุญและได้ฟังธรรม ซึ่งพระอรหันต์ท่านถือเป็นหน้าที่สงเคราะห์สัตว์โลกเท่านั้น ผลที่ท่านทำไปก็ไม่เป็นบุญเป็นกุสลต่อไป

    มหากุสลนั้น ถ้าเกิดกับบุคคลอื่นที่มิใช่พระอรหันต์ ก็เรียกว่า มหากุสลจิต แต่ถ้าเกิดกับพระอรหันต์โดยเฉพาะแล้ว เรียกว่า มหากิริยาจิต

    ที่เรียกว่า มหากุสลจิต เพราะต้องให้ผลในภายหน้า แต่ที่เรียกว่า มหากิริยาจิต เพราะเป็นจิตที่ปราศจากผลในอนาคต

    มหากิริยาจิต มีจำนวนเท่ากับมหากุสลจิต คือ ๘ ดวง ได้แก่

    ดวงที่ ๑ โสมนัสสสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง อสังขาริกัง

    มหากิริยาดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๒ โสมนัสสสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง สสังขาริกัง

    มหากิริยาดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๓ โสมนัสสสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง อสังขาริกัง

    มหากิริยาดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๔ โสมนัสสสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง สสังขาริกัง

    มหากิริยาดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๕ อุเปกขาสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง อสังขาริกัง

    มหากิริยาดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๖ อุเปกขาสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง สสังขาริกัง

    มหากิริยาดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๗ อุเปกขาสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง อสังขาริกัง

    มหากิริยาดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นอสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๘ อุเปกขาสหคตัง ญาณวิปปยุตตัง สสังขาริกัง

    มหากิริยาดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นสสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง


     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <BIG><BIG>ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค</BIG></BIG>
    กามาวจรโสภณสังคหนัย

    ในกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวงนั้น มีสังคหะรวม ๑๒ นัย ดังนี้ คือ

    มหากุสล ๘ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๔ นัย คือ ๓๘, ๓๗, ๓๗, ๓๖

    มหากิริยา ๘ ดวง " " ๔ นัย คือ ๓๕, ๓๔, ๓๔, ๓๓

    มหาวิบาก ๘ ดวง " " ๔ นัย คือ ๓๓, ๓๒, ๓๒, ๓๑

    นัยที่ ๑ มหากุสล คู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ ที่เป็นญาณสัมปยุตต ทั้งคู่ มีเจตสิกประกอบ ๓๘ ดวง เต็มที่ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๕

    นัยที่ ๒ มหากุสล คู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ ซึ่งเป็นญาณวิปปยุตตทั้งคู่ มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก)

    นัยที่ ๓ มหากุสล คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ ซึ่งเป็นอุเบกขาทั้งคู่ มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๕

    นัยที่ ๔ มหากุสล คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ ซึ่งทั้งคู่เป็นอุเบกขาด้วยเป็นญาณวิปปยุตตด้วย มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญา)

    นัยที่ ๕ มหากิริยาคู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)

    นัยที่ ๖ มหากิริยาคู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตี ๓ ปัญญา ๑)
    [​IMG]
    นัยที่ ๗ มหากิริยา คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตี)

    นัยที่ ๘ มหากิริยา คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตี ปัญญา)

    นัยที่ ๙ มหาวิบาก คู่ที่ ๑ คือดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา)

    นัยที่ ๑๐ มหาวิบาก คู่ที่ ๒ คือดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง คืออัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา และปัญญา)

    นัยที่ ๑๑ มหาวิบาก คู่ที่ ๓ คือดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา)

    นัยที่ ๑๒ มหาวิบาก คู่ที่ ๔ คือดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๓๑ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ) โสภณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตี อัปปมัญญา และปัญญา)


     
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ครับผมก้เห็นเช่นนั้นล่ะครับตรงนั้นเป็นส่วนของการตีความผมยกพุทธพจไห้อ่านเฉยๆ
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อนุโมทนา สาธุครับ
     
  13. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ธรรมภูติอ่านมั่งไหม :p
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อย่างนี้เลยครับท่าน

    อนุโมทนาครับ <-------
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ในรูปของพุทธวจนะนั้น แยกไว้ชัดเจน
    ระหว่างวิญญาณขันธ์(รับรู้)และวิญญาณธาตุ(ธาตุรู้)

    พุทธวจนะนั้นกล่าวถึงวิญญาณขันธ์ เป็นหนึ่งในขันธ์๕
    ส่วนวิญญาณธาตุนั้น ซึ่งป็นธาตุรู้จัดอยู่ในอสังขตธรรมธาตุครับ

    ;aa24
     
  16. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    คำว่าวิญญาณขันธ์ คือนามของตัวรับรู้ กับ วิญญาณธาตุ หรือ ธาตุรู้ ส่วนวิญญาณธาตุเป็นตัวความรู้สึกหรืออารมณ์ที่ได้หรือเปล่าครับ

    คำว่า ธาตุ แปลว่า ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ธาตุในที่นี้มีอยู่ ๑๘ คือ
    ๑. ธาตุคือตา (จักขุธาตุ)
    ๒. ธาตุคือหู (โสตธาตุ)
    ๓. ธาตุคือจมูก (ฆานธาตุ)
    ๔. ธาตุคือลิ้น (ชิวหาธาตุ)
    ๕. ธาตุคือกาย (กายธาตุ)
    ๖. ธาตุคือใจ (มโนธาตุ)
    ๗. ธาตุคือรูป (รูปธาตุ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา)
    ๘. ธาตุคือเสียง (สัททธาตุ)
    ๙. ธาตุคือกลิ่น (คันธธาตุ)
    ๑๐. ธาตุคือรส (รสธาตุ)
    ๑๑. ธาตุคือสิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย (โผฏฐัพพธาตุ)
    ๑๒. ธาตุคือสิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ (ธัมมธาตุ)
    ๑๓. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางจมูก (ฆานวิญญาณธาตุ)
    ๑๔. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางตา (จักขุวิญญาณธาตุ)
    ๑๕. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางกาย (กายวิญญาณธาตุ)
    ๑๖. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางหู (โสตวิญญาณธาตุ)
    ๑๗. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณธาตุ)
    ๑๘. ธาตุนี้ความรู้อารมณ์ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุ)

    ๑-๕ นี้เป็นรูป
    ๖ เป็นนาม
    ๗-๑๑ เป็นรูป
    ๑๒ เป็นทั้งรูปทั้งนาม
    ๑๓-๑๘ เป็นนาม
     
  17. center-in-center

    center-in-center เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,717
    ป๋มเองมีข้อเตือนใจให้ตัวป๋มเองว่า
    "เมื่อเรายิ่งมีความรู้ธรรมมาก ตัวเราควรเล็กลง(มานะทิฏฐิ)"
    ซึ่งแตกต่างกับ ความรู้ทางโลกๆ เพราะ ความรู้ทางโลกนั้น คนส่วนใหญ่
    "เมื่อมีความรู้ทางโลกมาก ตัวมักใหญ่ขึ้นตามไปด้วย (มานะทิฏฐิ)"

    ...............เมี๊ยว..........
     
  18. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500

    เพื่อเตือนตนหรือทุกคนครับที่กำลังสนทนากันอยู่ครับ แค่อยากรู้ครับเพราะผ่านมาก็นานแล้วและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทัศนะคติกันก็มากแล้วจนตอนนี้ เชื่อว่าสิ่งที่ท่านกล่าวมานั้นเหมือนจะเกินจริงไปหน่อยครับ เพราะการนำความไม่เข้าใจใหม่มาเริ่มก็เป็นการชี้แจงแถลงไขของแต่ละท่าน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นอีกมากมาย รวมทั้งตัวกระผมและผมเชื่อว่า ท่านทั้งหลายคงไม่นำสิ่งที่ไม่มีสาระและไม่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นมากล่าวอย่างแน่นอน ไม่เป็นมิฉฉาทิฐิแน่นอนครับ ผมเชื่อมั่นในตัวของท่านทั้งหลายครับ
    ขอบพระคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2009
  19. center-in-center

    center-in-center เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,717
    ป๋มไม่ได้อยู่ในฐานะที่เตือนใครได้งับ....^ ^
     
  20. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ผมก็ยังแปลกใจและสงสัยอย่างเป็นจริงเป็นจังอยู่ดีว่า อริยะบุคคล หรือ พระอริยะสงฆ์ เนี่ยเวลาเขาบรรลุธรรมเนี่ย นอกจากกำลังของสมาธิแล้ว ยังมีกำลังของการวิปัสสนา เรียกวิปัสสนาญาณ มีทั้งหมด ๑๖ ผมแปลกใจว่าพระท่าน หลวงปู่ทุกท่าน ท่านทำผ่านในคราวเดียวเลยเหรอครับ ไม่หยุดที่พระโสดาบัน หรือ ที่พระสกิทาคามี หรือ พระอนาคามี รวดเดียวได้อรหัตผลเลยเหรอครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...