ให้จำไว้ว่าไม่ว่ากายหรือจิตก็ไม่ใช่ของเรา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 7 กรกฎาคม 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อนุโมทนาครับ เพราะเห็นว่าควรจึงทำไม่ได้มีจิตคิดอกุศลกับใคร เพราะจิตแท้จริงนั้น เป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เป็นตัวเป็นตนอะไร ไม่ใช่ของเรา แต่มีอำนาจบันดาลให้ทุกข์ก็ได้ สุขก็ได้ เพราะเราเปิดช่องทางให้กิเลสเข้าคลอบงำ และเพื่อการลด ละ การยึดมั่นถือมั่น จึงต้องมองเห็นสภาพอันเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงก่อนครับ ผมอยู่ฝ่ายสมถะ ยังไม่ก้าวสู่ฝ่ายวิปัสสนาแต่รู้ว่าควรจะเดินไปทางไหน ทางไหนไม่ใช่ทางที่ควรเดินครับ
    ขอบพระคุณสำหรับคำชี้แนะครับ
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ผมจะขอหยิบยกบางส่วนของประวัติหลวงปู่ดูลย์ขึ้นมาดังนี้

    การปฏิบัติธรรม ณ ป่าท่าคันโท ของพระอาจารย์ดูลย์ในพรรษานั้น
    แม้จะเผชิญกับมรณภัยสักเพียงไร แต่ด้วยความเพียรและความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ไม่ลดละ
    ทำให้ผลแห่งการปฏิบัติของท่านในพรรษานั้นเป็นที่น่าพอใจยิ่งนัก
    กล่าวคือขณะที่พระอาจารย์ดูลย์นั่งภาวนา ซึ่งเริ่มตั้งแต่หัวค่ำไปจนดึกสงัด
    จิตของท่านค่อย ๆ หยั่งลงสู่ความสงบ เกิดความปีติชุ่มชื่น

    จากนั้นได้เกิดนิมิตที่ชัดเจนมาก คือท่านได้เห็นองค์พระพุทธรูปปรากฏขึ้นในตัวของท่าน
    เมื่อท่านพิจารณาดูนิมิตนั้นต่อไปก็จะเห็นอยู่อย่างนั้น
    แม้กระทั่งท่านออกจากสมาธิแล้วนิมิตนั้นก็ยังติดตาท่านอยู่
    จนในเวลาเช้าที่ท่านออกบิณฑบาตนิมิตก็ยังปรากฏอยู่เช่นนั้น
    ท่านจึงสังเกตไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้บอกผู้ใด

    ขณะที่เดินทางกลับจากบิณฑบาตวันต่อมาก่อนที่นิมิตจะหายไป
    ท่านได้พิจารณาดูตนเอง ก็ได้ปรากฏเห็นชัดเจนว่าเป็นโครงกระดูกทุกส่วนสัด
    จึงมีความรู้สึกไม่อยากฉันอาหาร ได้อาศัยความเอิบอิ่มของสมาธิจิตทำความเพียรต่อไป

    และเมื่อพิจารณาต่อไปก็เห็นว่า ประกอบด้วยธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นั่นเอง
    ท่านจึงทำความเพียรต่อไป แต่ปรากฏว่านิมิตนั้นได้หายไปแล้ว
    ครั้นเมื่อท่านออกจากสมาธิแล้ว อาการของโรคไข้มาลาเรียที่เป็นอยู่ก็หายไปหมดสิ้น

    หลังจากนั้นพระอาจารย์ดูลย์รีบเร่งทำความเพียรต่อไปอีก
    โดยเดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้าง สลับกันไปตลอดวันตลอดคืนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและหิวโหย
    ด้วยอาศัยความอิ่มเอิบแห่งจิตที่เป็นสมาธินั่นเอง

    เมื่อท่านกระทำความเพียรจนจิตสงบได้เป็นสมาธิแล้ว
    ก็บังเกิดแสงแห่งพระธรรมปรากฏแก่จิตของท่านอย่างแจ่มแจ้ง
    จนกระทั่งท่านสามารถที่จะแยกจิตกับกิเลสออกจากกันได้
    รู้ชัดว่าอะไรคือจิต อะไรคือกิเลส จิตปรุงกิเลส หรือกิเลสปรุงจิต
    และเข้าใจสภาพของจิตที่แท้จริงได้


    ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังรู้อย่างแจ่มแจ้งด้วยว่ากิเลสส่วนไหนละได้แล้ว
    และส่วนไหนยังละไม่ได้บ้าง และเมื่อท่านเล่าให้พระอาจารย์สิงห์ฟัง
    พระอาจารย์สิงห์กล่าวว่าพระอาจารย์ดูลย์ได้ปฏิบัติมาถูกทางแล้ว และอนุโมทนาสาธุด้วย

    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2009
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เมื่อจิตไม่มีการปรุงแต่งใดๆสิ่งนั้นยังเรียกว่าจิตอีกไหม ลองตอบดูนะครับ ท่านทั้งหลาย ช่วยตอบกันมาเลย ท่านผู้มีความรู้ทั้งหลาย ไม่ต้องอาศัยบารมีครูบาอาจารย์หรอกครับ ท่านสอนมาทั้งหมดดีแล้วผมศึกษามาบ้างแล้วครับ
     
  4. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137

    ปัญหาที่ ๒ ถามลักษณะสิ่งที่มีภาวะอย่างเดียวกัน
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    " ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าอาจแยกธรรมที่รวมเป็นอันเดียวกันเหล่านี้ ให้รู้ว่าต่างกันว่า อันนี้เป็น ผัสสะ อันนี้เป็น เวทนา อันนี้เป็น สัญญา อันนี้เป็น เจตนา อันนี้เป็น วิตก อันนี้เป็น วิจาร ได้หรือไม่?"
    " ไม่อาจ ขอถวายพระพร "
    " ขอนิมนต์อุปมาด้วย "
    " ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนพ่อครัวของพระราชา เมื่อจะตกแต่งเครื่องเสวยก็ใส่เครื่องปรุงต่างๆ คือ นมส้ม เกลือ ขิง ผักชี พริก และสิ่งอื่น ๆ ลงไป ถ้าพระราชาตรัสสั่งว่า
    " เจ้าจงแยกเอารสนมส้มมาให้เรา จงแยกเอารสเกลือ รสขิง รสหวา รสเปรี้ยว มาให้เราทีละอย่าง ๆ "
    พ่อครัวนั้นอาจแยกเอารสที่รวมกันอยู่เหล่านั้นมาถวายพระราชาว่า นี้เป็นรสเปรี้ยว นี้เป็นรสเค็ม นี้เป็นรสขม นี้เป็นรสเผ็ด นี้เป็นรสฝาด ได้หรือไม่ ? "
    " ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า ก็แต่ว่าเขาอาจรู้ได้ตามลักษณะของรสแต่ละรส"
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ วิตก วิจาร รวมกันเข้าแล้ว อาตมภาพก็ไม่อาจแยกออกให้รู้ได้แต่ละอย่าง ก็แต่ว่าอาจให้เข้าใจได้ตามลักษณะแห่งธรรมเป็นอย่าง ๆ "
    " ขอถวายพระพร เกลือ เป็นของจะต้องรู้ด้วย ตา ใช่ไหม? "
    " ใช่ พระผู้เป็นเจ้า "
    " ขอมหาบพิตรจงจำคำนี้ไว้ให้ดีนะ "
    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น เกลือ เป็นของรู้ด้วย ลิ้น อย่างนั้นหรือ ? "
    " อย่างนั้น มหาบพิตร "
    " ถ้าบุคคลรู้จักเกลือทั้งหมดด้วยลิ้นเหตุไฉนจึงบรรทุกเกลือมาด้วยเกวียน ควรบรรทุกมาเฉพาะความเค็มเท่านั้นไม่ใช่หรือ ? "
    " ไม่อาจบรรทุกมาแต่ความเค็มเท่านั้นได้ เพราะว่าของเหล่านี้เป็นของรวมกัน ส่วนความเค็มบุคคลอาจชั่งได้ด้วยตาชั่งหรือไม่มหาบพิตร? "
    " อาจชั่งได้ พระผู้เป็นเจ้า "
    " มหาบพิตร จงจำคำนี้ไว้ให้ดีว่า บุคคลอาจชั่งความเค็มได้ด้วยตาชั่ง"
    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าว่าบุคคลไม่อาจชั่งความเค็มได้ด้วยตาชั่งอย่างนั้นหรือ? "
    " อย่างนั้น มหาบพิตร "
    " ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน "
    สรุปความ​
    วิญญาณทั้ง ๕ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
    กายวิญญาณ คือความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จะต้องมี มโนวิญญาณ คือความรู้สึกทางใจเข้าร่วมด้วย จึงจะสำเร็จประโยชน์ในการเห็น การฟัง การดม การลิ้นรส และการสัมผัส เป็นต้น
    เมื่อวิญญาณทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อน เช่น จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณ ก็เกิดในที่นั้น เพราะอาศัย จักขุ กับ รูป
    ธรรมทั้งหลายมี ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ วิตก วิจาร มนสิการ ได้เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกัน แต่มีลักษณะต่างกัน ดังนี้
    ผัสสะ มีลักษณะ กระทบกัน เช่น จักขุ กับ รูป เรียกว่า จักขุวิญญาณ เป็นต้น
    เวทนา มีลักษณะ เสวยอารมณ์ คือทำให้รู้สึกมีความสุข มีความทุกข์ หรือ รู้สึกเฉย ๆ เป็นต้น
    สัญญา มีลักษณะ จำ เช่นเมื่อตาเห็นรูปก็จำได้ว่า มีสีสันวรรณะเป็นประการใด
    เจตนา มีลักษณะ จงใจ หรือ ประชุมแห่งการตกแต่ง หมายถึงมุ่งกระทำความดีหรือความชั่วด้วยความจงใจ
    วิญญาณ อันนี้ไม่ใช่วิญญาณที่มาถือกำเนิดในครรภ์ แต่ในที่นี้ท่านหมายถึง รู้ ในฎีกามิลินท์ท่านหมายถึง ประสาท เหมือนกัน
    วิตก มีลักษณะ ประกบแน่น หมายถึงการที่จิตตรึกอารมณ์
    วิจาร มีลักษณะ ลูบคลำไปตามวิตก คือจิตเคล้าอารมณ์ หรือจิตตรอง หรือพิจารณาอารมณ์ที่ตรึกนั้น
    วิตก กับ วิจาร ท่านอธิบายมีความหมายคล้ายกัน คือ วิตก เหมือนกับคนเคาะระฆัง เมื่อมีเสียงดังกังวานครวญครางขึ้นท่านเรียกว่า วิจาร ได้แก่อารมณ์คิดพิจารณานั้นเอง
    มนสิการ มีลักษณะ นึก ในข้อนี้ท่านไม่ได้ยกอุปมา เพราะได้เคยอุปมาให้พระเจ้ามิลินท์ได้ทราบไว้แล้ว
    รวมความว่า การที่จะเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสได้นั้น ไม่ใช่ อัพภันตรชีพ ( สิ่งที่เป็นอยู่ในภายในกายนี้)เป็น " เวทคู " คือเป็นผู้รับรู้ แต่การที่จะมีความรู้สึกได้ เพราะอาศัย วิญญาณ ต่างหาก และวิญญาณทั้ง ๕ นี้ย่อมไหลไปสู่ มโนวิญญาณ เหมือนกับน้ำไหลไปสู่ที่ลุ่มฉะนั้น
    แต่ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยกัน อันมี ผัสสะ เป็นต้นนั้น ท่านไม่สามารถจะแยกออกมาได้ว่า อันนี้เป็นผัสสะ อันนี้เป็นเวทนาหรือ อันนี้เป็นสัญญา เปรียบเหมือนเครื่องแกงที่ผสมกันหมดแล้ว รสชาติของมันปรากฏอยู่ตามลักษณะของมัน แต่จะแยกออกมาไม่ได้
    คำเปรียบเทียบของพระนาคเสนเรื่องนี้เหมาะสมมาก คือเมื่อเครื่องแกงผสมเป็นน้ำแกงแล้ว เมื่อเราตักออกมาช้อนหนึ่งชิมดูย่อมมีรสเครื่องแกงทุกอย่างผสมอยู่ แต่จะแยกออกมาหาได้ไม่ แต่เราพอบอกได้ว่า ความเผ็ดเป็นรสของพริก ความเค็มเป็นรสของเกลือ ความเปรี้ยวเป็นรสของน้ำส้มหรือมะนาว และความหวานเป็นรสของน้ำตาล เป็นต้น อนึ่ง เหมือนกับการบรรทุกเกลือ แต่จะไม่บรรทุกความเค็มมาด้วย หรือจะชั่งเฉพาะเกลือ แต่ไม่ชั่งความเค็มด้วยนั้นไม่สามารถจะกระทำได้ เพราะของเหล่านี้เป็นของรวมกันฉันใด ธรรมทั้งหลายอันมี ผัสสะ เป็นต้น ได้ปรากฏชัดตามลักษณะของตน แต่จะแยกออกมาแต่ละอย่าง ๆ มิได้เช่นกันฉันนั้น
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    "จิตไม่มีการปรุงแต่งใดๆสิ่งนั้นยังเรียกว่าจิตอีกไหม"

    เราก็ยังเรียกว่าจิต อยู่ดี คนอื่นจะเรียกยังไง ก็อยู่ที่นิยามของตน

    ถ้าเป็นพระอรหันต์ จิตที่ไม่มีการปรุงแต่ง ท่านเรียกว่า มหากิริยาจิต
    เป็นจิตที่เกิดประกอบกับเจตสิกประเภทหนึ่ง
    ที่เกิดจากมรรคจิต ผลจิต จาก อรหัตมรรค อรหัตผล (ซึ่งเป็นอย่าง
    ไรก็ยังไม่รู้นะ ได้ยินมาแล้วเข้าใจว่าเป็นอย่างนี้) จิตประเภทนี้ จะไม่เกาะเกี่ยวกับขันธ์
    ก็เลยไม่ยึดขันธ์ จึงเรียกว่าเป็น กิริยาจิต เท่านั้น

    ถ้าเป็นบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ แล้วบอกว่า จิตไม่มีการปรุงแต่ง มันก็คงมีอีกแบบ
    แต่ไม่ใช่กิริยาจิตแบบ พระอรหันต์ เพราะ ไม่มีเจตสิกประเภทที่เกิดในพระอรหันต์ บางที
    ก็มีคนกล่าวไว้ว่า มันหมายจะเหมือนๆ แต่ไม่เหมือน สิ่งเหล่านี้เลียนแบบไม่ได้ ต้องเกิด
    ขึ้นจริงในตนเองเท่านั้น มีมรรคจิต ผลจิต เกิดจริง ถึงจะเรียกว่าของจริง ไม่ใช่ของลวง
     
  6. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    สรุปความให้เข้าใจด้วยครับ ผมไม่แน่ใจครับ ว่าจะสัมพันธ์กันได้อย่างไร กับที่ผมกล่าวถามไป โฟกัสอีกหน่อยครับ ตกลงจะแยกได้หรือแยกไม่ได้หมายถึงกายกับจิต ไม่แยกก็ได้ แต่เป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา เมื่อไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
     
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สรุปนะครับแบบไม่แสดงนะ เรียกว่าจิตครับ
     
  8. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    แบบแสดงเดี่ยวจะยกไห้กำลังยุ่งอยู่ครับ
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ไม่มีใครเป็นพระอรหันต์หรอกครับในที่นี้ เพียงแต่วัตถุประสงค์คือ มันเป็นของเราจริงๆหรือ เมื่อมันไม่มีการปรุงแต่ง สมมุติ ใดๆก็ไม่เกิด ไม่ได้หมายความว่าไม่มี เราเลยเรียกว่า อนัตตา รึเปล่า ซึ่งมันก็จริงว่าทำไมเรารู้เพราะขณะที่เรารู้ ก็เกิดการปรุงแต่งเช่นกัน เพียงแค่ทำให้เข้าใจความหมายนั้นโดยการสมมุติ
    มรรคจิต คือ จิตที่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของธรรมพิจารณาเห็น อริยะสัจย์ โดยเที่ยงแท้ เกิดเป็น ผลจิต ก็จริงนี่ครับ ผมไม่ได้หมายความว่าผมได้ สิ่งเหล่านั้นเพียงแต่ผมกำลังจะบอกว่ามันควรจะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่าครับ เรื่อง ของ รูป กับ นาม สิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกชนพึงพิจารณาครับ ไม่มีใครชี้ให้ใครเห็นได้ครับ
    ขอบคุณครับ
     
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ไม่มีใครชี้ให้ใครเห็นได้ เหตุที่ชี้แล้วไม่เห้นก้เพราะ บารมีของคนนั้นเองยังไม่พอ

    ปัญญาที่จะโยนิโสมนสิการนั้นยังไม่พอ จะมีสิ่งกั้นขวาง ดั่งเส้นผมบังภูเขา

    จิตไม่มีการปรุงแต่งใดๆสิ่งนั้นยังเรียกว่าจิตอีกไหม

    จิตเป็น ส่วนของนาม รูปอันเป็นกายประกอปจากธาตุทั้ง4 เอาแค่ตรงนี้คนฟังท่าไม่เห็นจริงก้ได้แค่จำจำว่ามันมีธาตุ4เป็นนั่นเป็นนี่แต่ไม่เกิดปัญญาในความเข้าใจว่าเป็นอย่างไรและไม่เห็นจริง
    ส่วนของนามนั้นคือจิต จิต จิตนี้มี2ส่วน จิต+เจตสิก
    ส่วนของเจตสิก เป็นส่วนของเวทนา สันยา สังขาร 3สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จิต เป็นตัวรู้
    ส่วนของจิต นั้นคือวิญญาน วิญญานเป็นธาตุรู้

    ๕. วิญญาณขันธ์ ความรู้แจ้งในอารมณ์ พอที่จะกล่าวแสดงในแบบทางโลกให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นได้ว่า หมายถึงกองหรือหมวดหมู่ของระบบประสาททั้งปวงนั่นเอง กล่าวคือ วิญญาณมีหน้าที่ ในการรับรู้ คือรู้แจ้งในอารมณ์คืออายตนะภายนอกทั้งหลายที่จรหรือเกิดการกระทบนั้น ก็คือเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ดั่งระบบประสาทในการสื่อสารหรือถ่ายทอดข้อมูลต่างๆของชีวิตคือระหว่างขันธ์ต่างๆทั้ง ๕ กล่าวคือ ขันธ์ต่างๆล้วนมีการเชื่อมสื่อสารประสานสัมพันธ์หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างขันธ์ด้วยกัน และทั้งต่อเหล่าอายตนะภายนอกทั้งหลายที่จรมากระทบด้วย ก็ด้วยอาศัยวิญญาณนี้นี่เอง

    และทั้งหมดนั้นคือ จิต และ จิตนั้นเกิดร่วมด้วยกัน ทั้งหมด มิได้แยกเกิด เมื่อมีเวทนา ก้มี จิตในส่วนของวิญญานเป็นตัวรู้ มโนวิญญาน มีสันยา จดจำ มีสังขารธรรม จิตเกิดขึ้นพร้อมกันจะแยกว่าสิ่งนี้เกิดสิ่งนั้นไม่เกิดไม่ได้ รวมเป็นจิตปรุงแต่งขึ้น

    จิตที่ปรุงแต่งขึ้น หรือ อุปทานจิต

    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    (การเกิดขึ้นของทุกข์)
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

     
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน


    เมื่อจิต ปรุงแต่งขึ้น ด้วย เวทนา ตัณหา อันมีเหตุมาจากอวิชา เมื่อยังมีอวิชายังไงจิตย่อมปรุงแต่งขึ้น เมื่ออวิชาดับจิต จึงไม่ปรุงแต่งด้วย ตัณหา อุปทาน

    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    (การดับไปแห่งทุกข์)
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว
    จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:

     
  12. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จิตไม่มีการปรุงแต่งใดๆสิ่งนั้นยังเรียกว่าจิตอีกไหม

    จิตที่ไม่ปรุงแต่งนั้นคือจิต ที่หลุดพ้น จากอวิชา แต่จิตนั้นเป็น สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของ เวทนา สันยา สังขาร วิญญาน เท่านั้น หากไม่ประกอบด้วยอวิชา จิต ก้ไม่ถูกชักจูง จึงเป็นจิต ที่บริสุท มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแต่ ไม่หลง ไม่หลง ในอวิชา
    เป็นจิต ที่ ตื่น และรู้ และเบิกบาน

    ทำไมชอบยกจิตพระอรหันต์มาพูด ทั้งๆที่สิ่งเหล่านี้ความเข้าใจแต่ละคนย่อมยังไม่ถึงที่สุดกันอยู่คับ
     
  13. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    คุนตอบผมบ้างดีกว่า ส่วนของสัญญา นั้น เป็นอย่างไรมีอาการอย่างไร ดับอย่างไร เกิดอย่างไร เพราะเหตุใดเป็นปัจจัย
     
  14. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    บางคนนั้น มีความไม่รู้ด้วยอวิชาบังไว้ ไม่รุ้ในขันธื ไม่เคยเห็นจริง

    เมื่อปติบัติ จิตแยกจากกาย คำนี้ ใครเป็นผู้เห็น ถามกันมาได้ จิตที่แยกจากกาย ไม่ได้มีจิตอีกดวงเห็น แต่เป็นเพราะแสงแห่งปัญญาที่ส่องไห้เรารู้ว่า จิตและกายยนั้น รวมกันอยู่แต่จิงๆๆแล้วมันประกอบกันขึ้น และท่าเรา เห็นอีก ว่าจิตนั้น เป็นนามธรรมที่ประกอบกันขึ้นระหว่าง วิญญาน สันยา สังขาร เวทนา ก้เพราะปัญญา นั้นเกิด จึงได้รู้ และเห็น

    อันปัญญานั้นมีลักษณะเหมือนแสงที่ส่อง ด้วยประการชนี้
     
  15. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    หากยังไม่เห็น ก้คือปัญญายังไม่เกิด จงอย่าเชื่อว่าทำอย่างนี้ๆๆๆแล้วจะหลุดพ้น จงใช้ปัญญา พิจารนา มนสิการ

    ๓. สีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นถือมั่นในศีล(ข้อบังคับ)และวัตร(ข้อปฏิบัติ)แบบผิดๆ, ความถือมั่นในข้อบังคับและข้อปฏิบัติโดยสักแต่ว่าทําตามๆกันมาอย่างงมงาย อันเกิดจากการไม่เข้าใจในธรรม(สภาวธรรม)ตามความเป็นจริง แต่ปฏิบัติเป็นไปตามความเชื่อ ความยึด หรือตามประเพณีที่สืบทอดกันต่อๆมา โดยขาดปัญญาพิจารณาเนื่องด้วยอธิโมกข์ เช่น เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตรข้อปฏิบัติแต่ฝ่ายเดียวก็พอเพียงแล้วในการปฏิบัติธรรม, การทำบุญเพื่อหวังผล หรือเพื่อไปสวรรค์ นิพพาน แต่อย่างเดียวก็พอเพียงแล้ว, การถือศีลอย่างเคร่งครัดแต่ฝ่ายเดียวแล้วจะบรรลุมรรคผล, คล้องพระเพื่อให้เกิดโชคลาภ คงกระพันชาตรี, การปฏิบัติแต่สมถสมาธิอย่างเดียว แล้วจะเกิดปัญญาเข้าใจธรรมหรือได้มรรคผลขึ้นมาได้เอง, การทรมานตนในการปฏิบัติ, การอ้อนวอนบูชา, การบนบาน, การบูชายัญ, การยึดมั่นใน อัตตา เจตภูต หรือแม้แต่ปฏิสนธิวิญญาณ ฯลฯ.
    สีลัพพตปรามาส จึงรวมถึง ความยึดมั่นถือว่า บุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร คือถือว่าเพียงประพฤติศีลและวัตรให้เคร่งครัดก็พอที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญาก็ตาม ถือศีลและวัตรที่งมงายหรืออย่างงมงายก็ตาม
    ความถือศีลพรต โดยสักว่า ทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เข้าใจความหมายและความมุ่งหมายที่แท้จริง
    ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่า จะมีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้ อันล่วงธรรมดาวิสัย(หรือธรรมชาติ)

    ดังในกรณีของ การบูชา การอ้อนวอน การบนบาน การบูชายัญ อันมีมาแต่โบราณกาล แท้จริงแล้วเป็นการไปยึดไปถือบูชาในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ใดๆ อันยิ่งใหญ่เพราะความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ที่ตนไม่รู้ไม่เข้าใจได้อย่างแท้จริงด้วยอวิชชา ดังนั้นเมื่อไม่สามารถควบคุม,บังคับหรือกำจัดปัดเป่าในบางสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมหรือตามธรรมชาตินั่นเองที่พึงต้องเกิดขึ้นและเป็นไปเป็นธรรมดาไม่เป็นอื่นไปได้ อันเป็นไปตามสัญชาตญาณความกลัวขั้นพื้นฐานของสรรพสัตว์และปุถุชนทั้งปวงผู้ยังไม่มีวิชชานั่นเอง ด้วยเหตุดังนี้ แต่ครั้งโบราณกาลเพราะอวิชชาความไม่รู้นี่เอง เมื่อมีความกลัวเกรงสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่และไม่รู้ว่าจะทำวิธีกำจัดปัดเป่าในทุกข์เหล่าใดเหล่านั้นที่เกิดขึ้นได้อย่างไร จึงมีการคิดปรุงแต่งหาวิธีการต่างๆ เพื่อกำจัดปัดเป่าหรือดับทุกข์จากความเกรงกลัวในสิ่งเหล่านั้น จึงได้มีคิดค้น เช่น การเริ่มบูชาในสภาวธรรมหรือธรรมชาติต่างๆตามที่คิดปรุง,คิดแต่งไปเอาเองว่า มีกําลังเหนือ หรือความสามารถเหนือกว่าตนหรือพวกตน หรือเกิดการคิดนึกปรุงแต่งไปเองว่า คงต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดๆที่สามารถช่วยเหลือเกื้อหนุนให้พ้นทุกข์หรือสำเร็จได้ดังใจปรารถนาที่ต้องการ(ตัณหา) ดังนั้นตั้งแต่โบราณกาลก็เริ่มมีการอ้อนวอนบูชาในสิ่งที่คิดปรุงแต่งขึ้น ดังเช่นในจอมปลวก ดิน ฟ้าอากาศ ภูเขาไฟ ต่างๆ ฯลฯ. ถ้าบังเอิญสำเร็จได้ตามปรารถนาเพราะบังเอิญเป็นไปตามธรรมหรือเหตุปัจจัย(ธรรมชาติ)เอง ก็เกิดการยึดถือในสิ่งหรือพิธีการนั้นๆว่า สามารถแก้ไข หรือกำจัดปัดเป่าได้ด้วยอธิโมกข์ และยังพัฒนาไปเรื่อยๆตามวิวัฒนา การปรุงแต่ง ความเชื่อ และการถ่ายทอดสืบต่อกันมาอย่างอธิโมกข์ด้วยอวิชชา จนเติบโตพัฒนาเป็น ผี..สิ่งศักสิทธิ์..เทพเจ้าต่างๆหลายร้อยหลายพันองค์มานับพันๆปี..เทวดา..อินทร์..พรหม..ยม..ยักษ์ ฯลฯ. และพระเจ้าในที่สุด แม้แต่พระพุทธเจ้า (หมายถึงไปยึดพระองค์เป็นดั่งพระเจ้าเพื่อสวดอ้อนวอนขอสิ่งต่างๆ, แท้ที่จริงควรเคารพนับถือพระองค์ท่านในฐานะเป็นองค์พระบรมศาสดา เคารพบูชาพระองค์ท่านโดยการปฏิบัติตามคําสอนหรือพระธรรมของพระองค์เป็นแก่น อันพระองค์ท่านทรงสรรเสริญว่าเป็นการปฏิบัติบูชา อันมีอานิสงส์ยิ่งกว่าอามิสบูชา), จริงๆแล้วล้วนเป็นการอุปโลกของจิต และเป็นไปตามลําดับขั้นตอนของการวิวัฒนาการของความเจริญ ก็เพื่อยึดถือเป็นขวัญ เป็นกําลังใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิตในบางสิ่งบางอย่างที่ตนเองไม่เข้าใจและไม่สามารถควบคุมบังคับหรือกำจัดได้ด้วยตนเอง จึงมีความกลัว หรือด้วยจุดประสงค์ในอันที่จะสนองความต้องการของตนให้สัมฤทธิผล จึงเกิดการคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆว่าคงมีอำนาจหรือพลังบางอย่างในสิ่งต่างๆเหล่านั้น ตามที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้ปรุงแต่งขึ้นมา ตามคำเล่าลือ, ตามที่ตนเองยึดถือ หรืออุปโลกปรุงแต่ง หรือสืบทอดกันมาโดยไม่รู้ตัวเหล่านั้น ด้วยความยึดความเข้าใจด้วยอวิชชาว่า ยิ่งใหญ่เหนือตน คงจะช่วยเหลือเกื้อหนุนได้ ก็ล้วนเพื่อหวังผลให้ช่วยเหลือต่างๆนาๆเพื่อให้เกิดความสัมฤทธ์ผลสมปรารถนาในบางสิ่ง หรือกำจัดปัดเป่าสิ่งต่างๆที่เกินอำนาจของตนที่จะกำจัดได้ด้วยตนเอง, อันก็มีคุณประโยชน์ในแง่สังคมวิทยาเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน คือ ก่อให้เกิดความมั่นใจเป็นที่ยึดเหนี่ยวให้คลายทุกข์ได้ในระดับหนึ่ง และเกิดความเชื่อ, การยึดถือ, การนับถือในสิ่งๆเดียวกัน จึงเป็นจุดศูนย์กลางที่ยึดเหนี่ยวของสังคมนั้นๆ อันยังผลให้เกิดความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในพวกพ้องความเชื่อเดียวกัน ในระดับหนึ่ง แล้วยึดถือและปลูกฝังกันสืบต่อๆมา...ฯลฯ, แต่ถ้าพูดกันอย่างตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์)ในทางพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องนั้น จัดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นไปอย่างอวิชชา เพราะความไม่เข้าใจในธรรมหรือสภาวธรรม ดังเช่น ความเป็นเหตุปัจจัย ฯ. อันทําให้ไม่สามารถที่จะทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์หรือจางคลายจากทุกข์ได้ตามควรฐานะแห่งตนได้อย่างแท้จริง คือไม่เป็นไปในแนวทางเพื่อการดับภพ ดับชาติ อันเป็นบรมสุข กลับเป็นการสร้างภพ สร้างชาติ เพื่อการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว
    พระพุทธพจน์ที่ตรัสแสดง สีลัพพตปรามาส
    ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต ไม่ถือความฝัน ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว ครอบงํากิเลสที่ผูกสัตว์ไว้ในภพ อันประดุจคูกั้นเสียได้ ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก (ขุ.ชา. ๒๗/๘๗/๒๘)
    ถ้าแม้นบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบนํ้า(ชําระบาป) กบ เต่า นาค จรเข้ และสัตว์เหล่าอื่นที่เที่ยวไปในแม่นํ้า ก็จะพากันไปสู่สวรรค์แน่นอน.......(กล่าวต่อในอีกมุมมองหนึ่งอันน่าพิจารณายิ่งว่า) ถ้าแม่นํ้าเหล่านี้พึงนําบาปที่ท่านทําไว้แล้วในกาลก่อนไปได้ไซร้ (ดังนั้น)แม่นํ้าเหล่านี้ก็พึงนําบุญของท่านไปได้ด้วย(เช่นกัน) (ขุ.เถรี.๒๖/๔๖๖/๔๗๓)
    บุคคลประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นได้ชื่อว่า เป็นฤกษ์ดี เป็นมงคลดี เป็นเช้าดี อรุณดี เป็นขณะดี ยามดี และ(นับได้ว่า)เป็นอันได้ทําบูชาดีแล้วในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย แม้กายกรรมของเขา(นั้น)ก็เป็นสิทธิโชค วจีกรรมก็เป็นสิทธิโชค มโนกรรมก็เป็นสิทธิโชค ประณิธานของเขาก็(ย่อมต้อง)เป็นสิทธิโชค ครั้นกระทํากรรม(การกระทําใดๆ)ทั้งหลายที่เป็นสิทธิโชคแล้ว เขาย่อมได้ประสบแต่ผลที่มุ่งหมายอันเป็นสิทธิโชค (สุปุพพัณหสูตร)
    ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลา ผู้คอยนับฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทําอะไรได้ (หรือโดยพิจารณาว่า ไปเปลี่ยนแปลงดวงดาวได้หรือ? แต่เปลี่ยนแปลงโดยการทำเหตุให้ดีหรือถูกต้อง จึงเป็นปัจจัยในสิ่งที่ดีหรือเป็นไปได้ ) (ขุ.ชา ๒๗/๔๙/๑๖ )
    เรื่องของวิญญาณ และการเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อการถอดถอนสีลัพพตปรามาส
     
  16. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ที่ผมต้องยกมาไห้อ่านเยอะๆๆเพราะอยากไห้อ่านจากธรรมไห้ได้ศึกษา
    ไม่อยากมาตีความให้ เพราะคุณยังเห็นไม่ครบ แสงแห่งปัญญา ยังส่องจิตไม่ทั่ว
     
  17. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จิตไม่มีการปรุงแต่งใดๆสิ่งนั้นยังเรียกว่าจิตอีกไหม

    และสรุป จริงๆ คำนี้ต้องบอกว่า ขันธ์ ในส่วนจิต นั้นไม่มีตัวตนเป็นอนัตตาครับ

    ท่ายังไม่เข้าใจไตรลักษณ์ ที่แท้จริง ตรงนี้ก้ฝึกดูไปเรื่อยๆครับเด่วเห็นเอง การเห็นนี้คือปัญญาเกิด อวิชาดับ ปัญญาจบกิจกิจหนึ่ง ยังไม่ใช่อาสวะ นะ อย่าหลงในอุปกิเลสต่อ
     
  18. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เหตุที่ยังเห็นว่า จิต เป้นอย่างนี้อย่างนั้น ยังไม่รู้จักว่า ขันธื นี้ประกอบกันขึ้นจาก สิ่งใด ไม่เกิดปัยญา เข้าใจในเรื่องจิต และกาย ก้เพราะ ยังไม่มีปัยญา ใน ...

    ๑. สักกายทิฏฐิ - สักกาย มีความหมายว่า กายแห่งตน,เรื่องของกายตน, ส่วนทิฎฐิ มีความหมายว่า ความคิด,ความเห็น,ความเชื่อ ในที่นี้มีความหมายว่าความเห็นผิดเชื่อผิด อันเป็นปรกติของปุถุชนด้วยอวิชชาอันย่อมมีมาแต่การถือกำเนิดเป็นธรรมดา กล่าวคือ จึงย่อมมี สักกายทิฏฐิ ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดหรือความเห็นความเข้าใจหรือความเชื่อในเรื่องกายว่าเป็นตัวตน หรือเป็นของตัวของตนอย่างแท้จริง(สักกายสมุทัย)โดยไม่รู้ตัวเป็นไปโดยธรรมหรือธรรมชาติ, ความเห็นว่าเป็นตัวของตน จึงเป็นเหตุให้ถือตัวตน เช่น เห็นรูปว่าเป็นตน เห็นเวทนาว่าเป็นของตน กล่าวคือ เพราะย่อมยังไม่มีความเข้าใจอย่างมีสติสัมปชัญญะในความเป็นเหตุเป็นปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้เท่านั้นของสังขาร จึงไม่เคยรู้ ไม่เคยระลึก ไม่เคยพิจารณา จึงย่อมไม่มีเครื่องรู้เครื่องระลึกเครื่องเตือนสติ จึงไม่เกิดสัมมาปัญญาหรือญาณอย่างน้อมยอมรับว่า ตัวตนหรือรูปกายของตนนั้นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอย่างแท้จริง สักแต่ว่าเกิดมาแต่การประชุมปรุงแต่งกันขึ้นของเหตุปัจจัยของธาตุ๔ หรือชีวิต(ชีวิตินทรีย์)ที่มีร่างกายตัวตนก็สักแต่ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕ หรือเบญจขันธ์ หรือสังขารร่างกายล้วนเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ เหมือนดังสังขารทั้งปวงที่ต่างล้วนต้องเกิดมาแต่การที่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยกัน หรือประชุมปรุงแต่งกันขึ้นมาเพียงชั่วสักระยะหนึ่ง จึงล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่อย่างแปรปรวน แล้วดับไปเป็นธรรมดา ไม่เป็นอื่นไปได้ จึงล้วนเป็นอนัตตา คือไม่มีตัวมีตนอย่างเป็นแก่นแท้จริง เมื่อไม่มีตัวตนจึงย่อมไม่ใช่ของตัวของตน หรือของใครๆได้อย่างแท้จริง แต่ด้วยอวิชชาดังนั้นจึงมีความคิดความเห็นอย่างยึดมั่นยึดถือโดยไม่รู้ตัวอยู่ภายในอยู่ตลอดเวลาใน รูปขันธ์(กายตน) ตลอดจนในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ว่าเป็นตัวตนของตนหรือเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของตนอย่างเชื่อมั่นหรือรุนแรงตามที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่ทารกโดยสัญชาตญาณ(ความรู้ที่มาแต่การเกิดเป็นธรรมดา)โดยไม่รู้ตัวหรืออวิชชา, เพราะความไม่รู้และไม่รู้เท่าทันว่าตัวตนหรือกาย(รูปขันธ์)ก็สักแต่ว่าประกอบด้วยเหตุปัจจัยของธาตุทั้ง ๔ หรือชีวิตก็เป็นเพียงเหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕ จึงเป็นสังขาร จึงย่อมมีความไม่เที่ยง(อนิจจัง) และคงทนอยู่ไม่ได้(ทุกขัง) เป็นอนัตตาที่ไม่ใช่ตัวใช่ตนของเราอย่างแท้จริง เป็นเพียงมวลหรือก้อนของเหตุปัจจัยคือธาตุ ๔ ที่ประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยกันขึ้น จึงขึ้นอยู่กับธาตุ ๔ ไม่ขึ้นอยู่กับตัวตนที่หมายถึงเราหรือของเราแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นมายาจิตหลอกล่อให้เห็นว่าเป็นเราหรือเป็นของเรา ทั้งๆที่เป็นหรือเกิดแต่เหตุปัจจัย จึงขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยทั้งสิ้น, และไม่รู้และไม่รู้เท่าทันอีกว่า เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ หรือขันธ์ที่เหลือทั้ง ๔ ก็เช่นเดียวกัน ต่างก็ล้วนเป็นเพียงสังขารเช่นกันทั้งสิ้น จึงเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกัน จึงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปเช่นกัน ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่เป็นตัวตนของตน หรือเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของตนอย่างแท้จริง ดังนี้เป็นต้น จึงไม่มีเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ให้เกิดนิพพิทา ให้คลายความยึด, ความอยาก, ความกังวลหรือความหลงใหลในกายสังขารตน หรือขันธ์ ๕ อันเป็นที่หวงแหนยิ่งเหนือสิ่งใดโดยไม่รู้ตัว อันเป็นบ่อเกิดของอุปาทาน - ความยึดมั่นพึงพอใจในตัวตนหรือของตนด้วยกิเลสในขั้นต้นของปุถุชนทั่งปวงโดยทั่วไป
    การเจริญวิปัสสนาเพื่อถอดถอนสักกายทิฏฐิย่อมต้องอาศัยพื้นฐานจากการพิจารณาหรือโยนิโสมนสิการในความเป็นเหตุปัจจัยให้เห็นอย่างแจ่มแจ้ง ดังจากอิทัปปัจจยตา, ปฏิจจสมุปบันธรรม(อันพึงเกิดขึ้นจากการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง), ขันธ์ ๕(การเห็นการเป็นเหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕ หรือกระบวนธรรมของขันธ์ ๕), พระไตรลักษณ์ ฯลฯ. อันพึงเจริญตามจริต สติ ปัญญา ฯ. เพียงแต่ว่าต้องเป็นไปในลักษณะของการเจริญวิปัสสนาด้วยปัญญาอย่างจริงจัง ให้เห็นเข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผล จนเห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยในที่สุดนั่นเอง

    <APPLET height=322 archive=AnFade.jar width=300 code=AnFade.class>

    Please download Java(tm).</APPLET>
    </P> เมื่อไม่รู้ ไม่เข้าใจถึงกายและตัวตน เป็นเพียงสมมติสัจจะ ที่แม้อาจถือว่าจริงแต่ก็จริงเพียงระดับหนึ่งหรือจริงเพียงชั่วระยะหนึ่ง ที่ล้วนเกิดมาแต่เหตุปัจจัย จึงเป็นเพียงสังขารชนิดหนึ่งภายใต้พระไตรลักษณ์ จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนอย่างเป็นแก่นแกนแท้จริง, กล่าวคือไม่เข้าใจความเป็นเหตุปัจจัยหรือปฏิจจสมุปบันธรรม จึงไม่เข้าใจสังขาร(สิ่งปรุงแต่งในพระไตรลักษณ์) ๑ จึงไม่เข้าใจพระไตรลักษณ์และอนัตตา๑ จึงย่อมไม่สามารถนำไปน้อมนึกคิดพิจารณาให้เกิดปัญญาญาณอย่างแจ่มแจ้งตามจริงหรือปรมัตถ์ได้ในสักกายนิโรธ
     
  19. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    คนที่จะเห็น ธรรม ของท่านนี้ นั้น ต้องมองด้วยปัญญามากๆๆเลย เป็น ธรรมที่ลึกซึ้งมากจริง แม้การอทิบายยังยาก แต่หากมีปัญญาจะสามารถเข้าใจได้

    อาตมัน ใช้หลายๆๆยูสเซอร์หรือเล่นกันหลายคนครับ
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ที่เราอธิบายไว้ มีเจตนาบอกว่า
    จิตที่ไม่ปรุงแต่งของจริงก็มี เรียกว่า กิริยาจิตของพระอรหันต์
    จิตที่คิดว่าไม่ปรุงแต่ง ซึ่งเป็นของลวงก็มี
    จิตที่ตกแต่งให้นิ่งจนดูเหมือนไม่ปรุงแต่ง ซึ่งเป็นของลวงก็มี

    ดังนั้นในความเห็นของเรา จิตที่ไม่ปรุงแต่งมีแต่ในพระอรหันต์เท่านั้น
    คือต้องเห็นไตรลักษณ์ญาณ จนเกิดรู้แจ้งอริยสัจ4 จึงเกิดมรรคจิต ผลจิต
    ที่เป็นเจตสิกชนิดพิเศษ

    ไม่ได้หมายถึงว่าคุณเก่ง มีหรือไม่มี มรรคจิตผลจิต นะ
    เราก็เป็นปุถุชน ก็รู้ฐานะตนว่า ไม่สามารถดัดแปลง ตกแต่งหรือทำอะไร
    เพื่อให้จิตไม่เกิดปรุงแต่ง เพราะจะทำอะไร มันก็ของปลอมทั้งสิ้น ทำความรู้สึก
    เฉยๆ ทำความรู้สึกไม่คิด ไม่นึก ทำความไม่ปรุงแต่ง ทำอะไรต่างนาๆ ถ้าเรายัง
    ไม่ใช่พระอรหันต์ มันก็เป็นแค่ของตกแต่งเอา เป็นของปลอม เป็นของทำให้
    เหมือนไม่มีการปรุงแต่งได้เท่านั้น แม้แต่การคิดว่า จิตไม่ใช่ของเรา กายไม่ใช่
    ของเรา ถ้าทำความรู้สึกหรือคิดไปอย่างเดียว คิดให้เห็นพระไตรลักษณ์
    หรือทำให้เห็นพระไตรลักษณ์ แต่ใจมันไม่เห็นไม่รู้สึกด้วย มันก็ไม่เกิดมรรคจิต
    ผลจิต ตามจริง ไม่เกิดโภณเจตสิกขึ้นในจิต ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ
    ละสังโยชน์ เรียกว่าไม่มีไตรลักษณญาณเกิดที่ใจตน จิตไม่ได้เดินอริยมรรค
    เพราะเราคิดอย่างนี้ เราจึงหยุดทำทุกอย่าง เหลือแค่ปฏิบัติภาวนาเจริญสติ
    ดูจิต ดูใจ ดูกาย เพื่อพิจารณาพระไตรลักษณ์ ให้ใจเห็นพระไตรลักษณ์ เนืองๆ
    ไปในทางเดียวจนกว่าใจจะยอมรับและเห็นด้วยใจเอง โดยพ้นเจตนาจากเราจะ
    ไปบังคับใจให้เดินไปในทางที่เราควบคุมออกคำสั่ง

    แม้แต่คำว่า อัตตา อนัตตา ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะคิดตีความให้แตกฉาน แต่เป็น
    เรื่องที่ใจจะทำการพิจารณาโดยแยบคาย จนรู้และเข้าใจด้วยใจ ไม่ใช่ด้วยเรา

    ของบางอย่างมันเหมือนเล่นกล ความรู้ในพระพุทธศาสนาต้องศึกษาโดยความ
    พิจารณาที่แยบคาย ไม่ใช่ของที่จะรู้ได้ด้วยเราตรงๆ บางอย่างตั้งหน้าตั้งตา
    อ่านธรรมะ มันก็ไหลจากตาไปเข้าสมองปรุงเป็นความคิด ไม่ได้ไหลลงสู่ใจ
    มันก็ไม่ได้อะไร ได้แต่เป็นคิดค้างอยู่ที่เรา ที่ความจำของเรา ไม่ได้ประโยชน์
    ไม่ได้ไหลเข้าสู่ใจ ถ้าธรรมไหลเข้าสู่ใจได้ จะมีอาการ ปิติ สุข ขนลุก บางทีก็
    น้ำตาไหล หรืออื่นๆ แล้วแต่อาการใจที่แสดงออกจากการรับรู้ธรรม แล้วธรรม
    มะนั้น จะอยู่ในใจ รอเวลาผุดขึ้นมาเมื่อมีอะไรไปกระทบ มันก็กระเทือนออก
    มา แต่ต้องสังเกตโดยแยบคายว่า สิ่งที่เกิดเหล่านี้ เราไม่ได้สั่ง ไม่ได้ตั้งใจ
    ให้มันเกิด มันเป็นของที่เกิดเองจากธรรมชาติที่ดำรงเป็นเรา เราเป็นแค่ทาง
    ผ่านของใจ และรู้สภาพของใจ เท่านั้น ถ้าเราไปทำอย่างอื่นนอกเหนือจาก
    รู้ มันก็คือเราทำ เรารู้ ไม่ใช่ใจทำ ใจรู้ (เฉพาะปุถุชนนะที่เป็นอย่างนี้ เพราะ
    เราถอดมาจากสภาวะที่เราเป็นอยู่) และเราก็หมายถึงความคิดเท่านั้น ส่วนใจ
    นั้น เป็นส่วนที่เราไปรู้ อีกที มันอยู่คนละส่วน แต่เรารู้ได้ทั้ง2ส่วน ถ้าพิจารณา
    โดยความแยบคาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...