เพียง๙๙บาทร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐม ถวายวัดถ้ำพระ แม่ฮ่องสอน

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 23 ธันวาคม 2013.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    อนุโมทนาครับ
     
  2. ชมพูอุษมัน

    ชมพูอุษมัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,285
    ค่าพลัง:
    +7,342
    ร่วทำบุญสร้างสมเด็จองค์ปฐม ถวายวัดถ้ำพระ แม่ฮ่องสอน 100 บาทค่ะ โอนเข้าบัญชีแล้วค่ะ
     
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
  4. อิฟ

    อิฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    310
    ค่าพลัง:
    +1,044
  5. อิฟ

    อิฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    310
    ค่าพลัง:
    +1,044
  6. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    พึ่งหายป่วยเชิญร่วมบุญครับ
     
  7. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    หลักการดำรงชีพ เพื่อประโยชน์สุขในวันนี้
    [​IMG]
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการ เหล่านี้
    เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กุลบุตร
    ในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรม).

    ๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-

    (๑) ความขยันในอาชีพ (อุฏฐานสัมปทา)
    (๒) การรักษาทรัพย์ (อารักขสัมปทา)
    (๓) ความมีมิตรดี (กัลยาณมิตตตา)
    (๔) การดำรงชีวิตสม่ำเสมอ (สมชีวิตา)

    ความขยันในอาชีพ

    พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความขยันในอาชีพ (อุฏฐานสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?
    พ๎ยัคฆปชัชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ สำเร็จการเป็นอยู่

    ด้วยการลุกขึ้นกระทำการงาน คือด้วยกสิกรรม หรือวานิชกรรม

    โครักขกรรม อาชีพผู้ถืออาวุธ อาชีพราชบุรุษ หรือด้วย
    ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ในอาชีพนั้นๆ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
    ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยการสอดส่องในอุบายนั้นๆ
    สามารถกระทำ สามารถจัดให้กระทำ.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความขยันในอาชีพ.

    การรักษาทรัพย์

    พ๎ยัคฆปัชชะ ! การรักษาทรัพย์ (อารักขสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้, โภคทรัพย์
    อันกุลบุตรหาได้มาด้วยความเพียร เป็นเครื่องลุกขึ้น
    รวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็น
    โภคทรัพย์ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม, เขารักษา
    คุ้มครองอย่างเต็มที่ ด้วยหวังว่า “อย่างไรเสียพระราชา
    จะไม่ริบทรัพย์ของเราไป โจรจะไม่ปล้นเอาไป ไฟจะไม่ไหม้
    นํ้าจะไม่พัดพาไป ทายาทอันไม่รักใครเล่า จะไม่ยื้อแย่งเอาไป” ดังนี้.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า การรักษาทรัพย์.

    ความมีมิตรดี

    พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความมีมิตรดี (กัลยาณมิตตตา) เป็นอย่างไรเล่า ?

    พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ อยู่อาศัย
    ในบ้านหรือนิคมใด, ถ้ามีบุคคลใดๆ ในบ้านหรือนิคมนั้น
    เป็นคหบดีหรือบุตรคหบดีก็ดี เป็นคนหนุ่ม
    ที่เจริญด้วยศีลหรือเป็นคนแก่ที่เจริญด้วยศีลก็ดี ล้วนแต่ถึงพร้อมด้วย
    ศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ ถึงพร้อม
    ด้วยปัญญา อยู่แล้วไซร้,

    กุลบุตรนั้นก็ดำรงตนร่วมพูดจาร่วม สากัจฉาร่วม กับชนเหล่านั้น.
    เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยศรัทธาโดยอนุรูป แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา.
    เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยศีลโดยอนุรูป แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
    เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยจาคะโดยอนุรูป แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ.
    เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยปัญญาโดยอนุรูป แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา อยู่ในที่นั้นๆ.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความมีมิตรดี.

    การดำรงชีวิตสม่ำเสมอ

    พ๎ยัคฆปัชชะ ! การดำรงชีวิตสม่ำเสมอ (สมชีวิตา) เป็นอย่างไรเล่า ?
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ รู้จักความ
    ได้มาแหง่ โภคทรัพย์รู้จักความสิ้นไปแห่ง โภคทรัพย์แล้ว
    ดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไมฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก
    โดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่าย
    ของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.

    พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนคนถือตาชั่ง หรือ
    ลูกมือของเขา ยกตาชั่งขึ้นแล้ว ก็รู้ว่า “ยังขาดอยู่เท่านี้
    หรือเกินไปแล้วเท่านี้” ดังนี้ฉันใด; กุลบุตรนี้ ก็ฉันนั้น :
    เขารู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่ง
    โภคทรัพย์แล้ว ดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก
    ไม่ฝืดเคืองนัก โดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย
    และรายจ่ายของเราจักไมท่วมมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้”
    ดังนี้.

    พ๎ยัคฆปัชชะ ! ถ้ากุลบุตรนี้เป็นผู้มีรายได้น้อย
    แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือยแล้วไซร้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า
    กุลบุตรนี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ (อย่างสุรุ่ยสุร่าย) เหมือนคนกิน
    ผลมะเดื่อ ฉันใดก็ฉันนั้น.

    พ๎ยัคฆปัชชะ ! แต่ถ้ากุลบุตร เป็นผู้มีรายได้
    มหาศาล แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นแล้วไซร้ ก็
    จะมีผู้กล่าวว่า กุลบุตรนี้จักตายอดตายอยากอย่างคนอนาถา.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อใด กุลบุตรนี้ รู้จักความได้มา
    แห่งโภคทรัพย์รู้จักความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์แล้วดำรง
    ชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก โดย
    มีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเรา
    จักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้;

    พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า การดำรงชีวิตสม่ำเสมอ.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล
    เป็นธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
    ของกุลบุตร ในทิฏฐธรรม.

    อฎฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.
    - See more at: http://www.พุทธคุณ.net/#sthash.h0i6mE88.dpuf
     
  8. winaiwon

    winaiwon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +6,577
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ ๆ ๆ

    ร่วมบุญสร้างสมเด็จองค์ปฐมเพื่อถวายแด่ วัดถ้ำพระ จ.แม่ฮ่องสอน

    Funds Transfer - Confirmation
    Your transfer has been completed1-2-3
    This transfer has been processed.
    Transfer Service
    Bank Reference No.
    63593981
    Date
    18 Jan 2014
    Time
    20:08:23 Bangkok, Thailand (GMT +7:00)
    Transfer From:
    Account Name
    อริย์วงค์
    Date to Deduct Funds
    18 Jan 2014
    Transfer To:
    Account
    SCB 0384312810
    Account Name
    PHUCHIT SURA / คุณภูชิชย์ สุรรัตน์ เพื่อสร้างฯ
    Date to Receive Funds
    18 Jan 2014
    Amount
    100.00
    Fee
    25.00
    Reference
    สร้างสมเด็จองค์ปฐมถวายวัดถ้ำพระฯ
     
  9. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    อนุโมทนาบุญครับ
     
  10. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
  11. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
  12. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
  13. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    พระพุทธเจ้าเล่าเรื่องการกำเนิดและวิวัฒนาการของโลก

    [​IMG]

    สูตรว่าด้วยสิ่งที่เลิศ หรือที่เป็นต้นเดิม (รวมที่มาดั้งเดิมของโลก)

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพารามใกล้กรุงสาวัตถี สมัยนั้นสามเณรชื่อ วาเสฏฐและภารัทวาชะ (เดิมนับถือศาสนาอื่น) อยู่ปริวาส (อบรม) ในภิกษุทั้งหลาย ปรารถนาความเป็นภิกษุชวนกันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้กำลังจงกรมอยู่ในที่แจ้งเพื่อฟังธรรม พระผู้มีพระภาคตรัสว่าพวกท่านมีชาติเป็นพราหมณ์ มีสกุลเป็นพราหมณ์ ออกบวชพวกพราหมณ์เป็นบุตรของพรหม เกิดจากปากพรหม เป็นพรหมทายาท พวกท่านละวรรณะอันประเสริฐ ไปเข้าสู่วรรณะเลว คือ พวกสมณะศรีษะโล้น ซึ่งเป็นพวกไพร่ พวกดำ พวกเกิดจากเท้าของพระพรหม ซึ่งเป็นการไม่ดี ไม่สมควรเลยพระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์พวกนั้นลืมตน เกิดจากองค์กำเนิดของพราหมณีแท้ๆ ยังกล่าวว่าประเสริฐสุด เกิดจากปากพรหม เป็นต้น ซึ่งเป็นการกล่าวตู่พระพรหมและพูดปด

    แล้วตรัสเรื่องมนุษย์ ๔ วรรณะ ที่ทำชั่วดีได้อย่างเดียวกัน และเรื่องที่พระเจ้าปเสนทิโกศล (ผู้เป็นกษัตริย์) แต่ปฏิบัติต่อพระองค์ ซึ่งพวกพราหมณ์ถือว่าเป็นพวกดำ (เพราะปลงศรีษะออกบวช) อย่างเต็มไปด้วยความเคารพ

    ครั้นแล้วตรัส (เป็นเชิงปลอบใจ หรือให้หลักการใหม่) ว่า ท่านทั้งหลายมาบวชจากโคตรจากสกุลต่างๆ เมื่อมีผู้ถามว่า เป็นใคร ก็จงกล่าวตอบว่าพวกเราเป็นสมณะศากยบุตร ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นในตถาคต ผู้นั้นย่อมควรที่จะกล่าวว่า เราเป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดจากธรรม อันธรรมสร้างเป็นธรรมทายาท (ผู้รับมรดกธรรม) ทั้งนี้เพราะคำว่า ธัมมกาย(กายธรรม) พรหมกาย (กายพรหม) และผู้เป็นธรรม ผู้เป็นพรหมนี้เป็นชื่อของตถาคต

    (เป็นการแก้ข้อด่าของพวกพราหมณ์ โดยสร้างหลักการใหม่ให้พวกมาบวชจากทุกวรรณะได้ชื่อว่ามีกำเนิดใหม่ที่ไม่แพ้พวกพราหมณ์)

    ครั้นแล้วตรัสเรื่อง สมัยหนึ่งโลกหมุนเวียนไปสู่ความพินาศ สัตว์ทั้งหลายไปเกิดในชั้นอาภัสสรพรหมกันโดยมาก เมื่อโลกหมุนกลับ (คือเกิดใหม่ภายหลังพินาศ) สัตว์เหล่านั้นก็จุติมาสู่โลกนี้ เป็นผู้เกิดขึ้นจากใจกินปีติเป็นภักษา (ยังมีอำนาจฌานอยู่) มีแสงสว่างในตัวไปได้ในอากาศ (เช่นเดียวกับเมื่อเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม)

    อาหารชั้นแรก

    แล้วเกิดมีรสดิน (หรือเรียกว่าง้วนดิน) อันสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รสสัตว์ทั้งหลายเอานิ้วจิ้มง้วนดินลิ้มรสดูก็ชอบใจ เลยหมดแสงสว่างในตัว เมื่อแสงสว่างหายไป ก็มีพระจันทร์ พระอาทิตย์ มีดาวนักษัตร มีคืนวัน มีเดือนมีกึ่งเดือน มีฤดู และปี เมื่อกินง้วนดินเป็นอาหาร กายก็หยาบกระด้างความทรามของผิวพรรณก็ปรากฏ พวกมีผิวพรรณดี ก็ดูหมิ่นพวกมีผิวพรรณทราม เพราะดูหมิ่นผู้อื่นเรื่องผิวพรรณ เพราะความถือตัวและดูหมิ่นผู้อื่นง้วนดินก็หายไป ต่างก็พากันบ่นเสียดาย แล้วก็เกิดสะเก็ดดินที่สมบูรณ์ด้วยสีกลิ่นและรสขึ้นแทนใช้เป็นอาหารได้ แต่เมื่อกินเข้าไปแล้วร่างกายก็หยาบกระด้างยิ่งขึ้น ความทรามของผิวพรรณก็ปรากฏชัดขึ้น เกิดการดูหมิ่น ถือตัว เพราะเหตุผิวพรรณนั้นมากขึ้น สะเก็ดดินก็หายไป เกิดเถาไม้สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรสขึ้นแทน ใช้กินเป็นอาหารได้ ความหยาบกระด้างของกาย และความทรามของผิวพรรณก็ปรากฏมากขึ้น เกิดการดูหมิ่น ถือตัว เพราะเหตุผิวพรรณนั้นมากขึ้นเถาไม้ก็หายไป ข้าวสาลี ไม่มีเปลือก มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสารก็เกิดขึ้นแทนใช้เป็นอาหารได้ ข้าวนี้เก็บเย็นเช้าก็แก่แทนที่ขึ้นมาอีก ไม่ปรากฏพร่องไปเลย ความหยาบกระด้างของกาย ความทรามของผิวพรรณก็ปรากฏมากขึ้น

    เพศหญิงเพศชาย

    จึงปรากฏเพศหญิงเพศชาย เมื่อต่างเพศเพ่งกันแลกันเกินขอบเขตก็เกิดความกำหนัดเร่าร้อนและเสพเมถุนธรรมต่อหน้าคนทั้งหลาย เป็นที่รังเกียจและพากันเอาสิ่งของขว้างปา เพราะสมัยนั้นถือว่าการเสพเมถุนเป็นอธรรมเช่นกับที่สมัยนี้ถือว่าเป็นธรรม (ถูกต้อง) ต่อมาจึงรู้จักสร้างบ้านเรือน ปกปิดซ่อนเร้น

    การสะสมอาหาร

    ต่อมามีผู้เกียจคร้านที่จะนำข้าวสาลีมาตอนเช้าเพื่ออาหารเช้า นำมาตอนเย็นเพื่ออาหารเย็น จึงนำมาครั้งเดียวให้พอทั้งเช้าทั้งเย็น ต่อมาก็นำมาครั้งเดียวให้พอสำหรับ ๒ วัน ๔ วัน ๘ วัน มีการสะสมอาหาร จึงเกิดมีเปลือกห่อหุ้มข้าวสารที่ถอนแล้วก็ไม่งอกขึ้นมาแทน ปรากฏความพร่อง (เป็นตอนๆที่ถูกถอนไป) มนุษย์เหล่านั้นจึงประชุมกันปรารภความเสื่อมลงโดยลำดับแล้วมีการแบ่งข้าวสาลีกำหนดเขต (เป็นของคนนั้นคนนี้)

    อกุศลธรรมเกิดขึ้น กษัตริย์เกิดขึ้น

    ต่อมาบางคนรักษาส่วนตน ขโมยของคนอื่นมาบริโภค เมื่อถูกจับได้ก็เพียงแต่สั่งสอนกันไม่ให้ทำอีก เขาก็รับคำ ต่อมาขโมยอีก ถูกจับได้ถึงครั้งที่ ๓ ก็สั่งสอนเช่นเดิมอีก แต่บางคนก็ลงโทษ ตบด้วยมือขว้างด้วยก้อนหินตีด้วยไม้ เขาจึงประชุมกันปรารภว่า การลักทรัพย์ การติเตียน การพูดปด การจับท่อนไม้เกิดขึ้น ควรจะแต่งตั้งคนขึ้นให้ทำหน้าที่ติคนที่ควรติ ขับไล่คนที่ควรขับไล่ โดยพวกเราจะแบ่งส่วนข้าวสาลีให้ จึงเลือกคนที่งดงามมีศักดิ์ใหญ่แต่งตั้งเป็นหัวหน้า เพื่อปกครองคน (ติและขับไล่คนที่ทำผิด) คำว่า “มหาสมมต” (ผู้ที่มหาชนแต่งตั้ง) กษัตริย์ (ผู้เป็นใหญ่แห่งนา) ราชา (ผู้ทำความอิ่มใจสุขใจแก่ผู้อื่น) จึงเกิดขึ้น กษัตริย์ก็เกิดขึ้นจากคนพวกนั้น มิใช่พวกอื่นจากคนเสมอกัน มิใช่คนไม่เสมอกัน เกิดขึ้นโดยธรรม มิใช่เกิดขึ้นโดยอธรรม

    เกิดพราหมณ์ แพศย์ ศูทร

    ยังมีคนบางกลุ่มออกบวชมุ่งลอยธรรมที่ชั่วเป็นอกุศล จึงมีนามว่าพราหมณ์ (ผู้ลอยบาป), สร้างกุฎีหญ้าขึ้น เพ่งในกุฎีนั้น จึงมีนามว่า ฌายกะ(ผู้เพ่ง); บางคนไปอยู่รอบหมู่บ้านรอบนิคม แต่งตำรา (อรรถกถาว่า แต่งพระเวทและสอนให้ผู้อื่นสวดสาธยาย) คนจึงกล่าวว่า ไม่เพ่ง นามว่า อัชฌายกะ(ผู้ไม่เพ่ง) จึงเกิดขึ้น เดิมหมายความเลว แต่บัดนี้หมายความดี (อัชฌายกะปัจจุบันนี้แปลว่า ผู้สาธยาย)

    ยังมีคนบางกลุ่ม ถือการเสพเมถุนธรรม อาศัยการล่าสัตว์เลี้ยงชีวิตจึงมีชื่อว่าศูทร (พระไตรปิฎกฉบับไทยตกหาย ข้อความวรรคนี้ทั้งวรรค จึงต้องแปลตามฝรั่ง อรรถกถาอธิบายคำว่า สุทท (ศูทร) ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า ลุทท(นายพราน) หรือ ขุทท (งานเล็กๆน้อยๆ) เป็นเชิงว่าพวกแพศย์ คือผู้ทำงานสำคัญแต่พวกศูทรทำงานเล็กๆน้อยๆ ที่เข้าใจกันทั่วไป คือศูทรเป็นพวกคนงานหรือคนรับใช้)

    ครั้นแล้วตรัสสรุปว่า ทั้งพราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็เกิดจากพวกคนพวกนั้น มิใช่เกิดจากคนพวกอื่น เกิดจากคนที่เสมอกัน มิใช่เกิดจากคนที่ไม่เสมอกัน เกิดขึ้นโดยธรรม มิใช่เกิดขึ้นโดยอธรรม (แสดงว่าการแบ่งชั้นวรรณะนั้น ในชั้นเดิมมิได้มาจากหลักการอื่น นอกจากการแบ่งงานหรือแบ่งหน้าที่กันตามความสมัครใจ แล้วก็ไม่ใช่ว่าใครวิเศษกว่าใครมาแต่ต้น แท้จริงก็คนชั้นเดียวกันมาแต่เดิม ทั้งนี้เป็นการทำลายทิฏฐิมานะ ช่วยให้ลดการดูหมิ่นกันแลกันเป็นการปฏิเสธหลักการของพราหมณ์ที่ว่าใครเกิดจากส่วนไหนของพระพรหมซึ่งสูงต่ำกว่ากัน)

    สมณมณฑล

    แล้วตรัสต่อไปว่า มีสมัยซึ่งบุคคลในวรรณะทั้งสี่มีกษัตริย์ เป็นต้นไม่พอใจธรรมะของตน ออกบวชไม่ครองเรือน จึงเกิดสมณมณฑลหรือคณะของสมณะขึ้น จากคณะทั้งสี่ คือ เกิดจากคนเหล่านั้น มิใช่เกิดจากคนพวกอื่น เกิดจากคนที่เสมอกัน มิใช่เกิดจากคนที่ไม่เสมอกัน เกิดขึ้นโดยธรรมมิใช่เกิดขึ้นโดยอธรรม (อันนี้เป็นการพิสูจน์อีกว่า คนชั้นสมณะที่พวกพราหมณ์ดูหมิ่นอย่างยิ่งนั้น ก็เกิดจากวรรณะทั้งสี่ ซึ่งมีมูลเดิมมาด้วยกัน ไม่ใช่ใครสูงต่ำกว่ากัน)

    การได้รับผลเสมอกัน

    ครั้นแล้วตรัสสรุปว่า ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และสมณะถ้าประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ มีความเห็นผิด ประกอบกรรมซึ่งเกิดจากความเห็นผิด เมื่อตายไปก็จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนกัน ถ้าตรงกันข้าม คือประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ มีความเห็นชอบประกอบกรรมซึ่งเกิดจากความเห็นชอบ เมื่อตายไปก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกันหรือถ้าทำทั้งสองอย่าง (คือชั่วก็ทำ ดีก็ทำ) ก็จะได้รับทั้งสุขทั้งทุกข์เหมือนกัน

    อนึ่ง วรรณะทั้งสี่นี้ ถ้าสำรวมกาย วาจา ใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ ประการ ก็จะปรินิพพานได้ในปัจจุบันเหมือนกัน

    และวรรณะทั้งสี่เหล่านี้ ผู้ใดเป็นภิกษุ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพหมดกิจ ปลงภาระ หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นก็นับว่าเป็นยอดแห่งวรรณะเหล่านั้นโดยธรรม มิใช่โดยอธรรมเพราะธรรมะเป็นสิ่งประเสริฐสุดในหมู่ชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต

    ในที่สุดตรัสย้ำถึงภาษิตของสนังกุมารพรหมและของพระองค์ที่ตรงกันว่า “กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้ถือโคตร แต่ผู้ใดมีวิชชา(ความรู้) จรณะ (ความประพฤติ) ผู้นั้นเป็น ผู้ประเสริฐสุดในเทวดาและมนุษย์”

    (หมายเหตุ : พระสูตรนี้ มีลีลาแสดงความเป็นมาของโลก แต่แสดงแล้ว ก็ยกธรรมะเป็นจุดสูงสุดในเทวดาและมนุษย์ วรรณะทั้งสี่ก็มาจากคนพวกเดียวกัน ไม่มีใครวิเศษกว่ากัน แต่ภายหลังคนเข้าใจผิดดูหมิ่นกันไปเองการแสดงเรื่องความเป็นมาของโลก อาจวินิจฉัยได้เป็น ๒ ประการ คือประการแรกเป็นการเอาหลักของศาสนาพราหมณ์มาเล่า แต่อธิบายหรือตีความเสียใหม่ให้เข้ารูปเข้ารอยกับคติธรรมทางพระพุทธศาสนา อันชี้ให้เห็นว่าพราหมณ์เข้าใจของเก่าผิด จึงหลงยกตัวเองว่าประเสริฐ อีกอย่างหนึ่งเป็นการเล่าโดยมิได้อิงคติของพราหมณ์ โดยถือเป็นของพระพุทธศาสนาแท้ๆ ก็แปลกดีเหมือนกัน เพราะถ้าเทียบส่วนใหญ่กับส่วนเล็กในทางวิทยาศาสตร์แล้วปรมาณูที่มีโปรตอนเป็นศูนย์กลาง มีอีเล็กตรอนเป็นตัววิ่งวน รวมทั้งมีนิวตรอนเป็นส่วนประกอบด้วยนั้น มีลักษณะใกล้เคียงกับสุริยะระบบ ซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (PLANETS) เช่นโลกเรา และดาวพระศุกร์ พระเสาร์ เป็นต้น วนรอบคล้ายอีเล็กตรอน มีบางโอกาสที่ปรมาณูอาจถูกแยก ถูกทำลาย เพราะเหตุภายนอก เช่น ที่นักวิทยาศาสตร์จัดทำฉันใดสุริยะระบบ หรือ SOLAR SYSTEM ก็เช่นเดียวกัน อาจถูกทำลายหรือสลายตัวแล้วเกิดใหม่ได้เพราะมีระบบสุริยะอื่นเข้ามาใกล้หรือมีเหตุอื่นเกิดขึ้น ในการเกิดก็เช่นเดียว เมื่อทำลายได้ก็อาจรวมตัวได้ในเมื่อธาตุไฮโดรเยนกับออกซิเจน รวมตัวกันเป็นน้ำ พวกฝุ่นผงที่แหลกก็เข้ามารวมตัวกับน้ำได้และแข้นแข็งขึ้นในที่สุด เป็นเรื่องเสนอชวนให้คิดแต่มิได้ชวนให้ติดในเกร็ด เพราะสาระสำคัญอยู่ที่การถือธรรมะเป็นใหญ่ เป็นหลักของสังคมทุกชั้น)
    - See more at: http://www.พุทธคุณ.net/#sthash.V2DNVS3r.dpuf
     
  14. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    การตอบแทนคุณมารดาบิดาอย่างสูงสุด
    [​IMG]
    ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้งสอง.
    ท่านทั้งสองนั้นคือใคร ? คือ

    ๑. มารดา
    ๒. บิดา

    ภิกษุทั้งหลาย !
    บุตรพึงประคับประคองมารดา ด้วยบ่าข้างหนึ่ง
    พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง
    เขามีอายุมีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสอง
    นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบนํ้าและการดัด
    และท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสอง
    ของเขานั่นแหละ.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    การกระทำอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่า อันบุตรทำแล้ว
    หรือทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดาเลย.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดา บิดาในราชสมบัติ
    อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่
    อันมีรัตนะ ๗ ประการ มากหลายเช่นนี้

    การกระทำกิจอย่างนั้น
    ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้ว

    แก่มารดาบิดาเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
    เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยงแสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย.

    ส่วนบุตรคนใด
    ยังมารดาบิดา ผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในสัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา).
    ยังมารดาบิดา ผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในสีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล).
    ยังมารดาบิดา ผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค).
    ยังมารดาบิดา ทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา).

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล
    การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่า
    อันบุตรนั้นทำแล้ว และ ทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา.

    ทุก. อํ. ๒๐/๗๘/๒๗๘.
    - See more at: http://www.พุทธคุณ.net/#sthash.iNvPeBrG.dpuf
     
  15. อิฟ

    อิฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    310
    ค่าพลัง:
    +1,044
  16. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    “ศาสนาตั้งอยู่ที่ใด ตั้งอยู่ที่ใจ”
    [​IMG]
    ถ้าหาก “ไม่มีกิเลส” ก็ “ไม่มีพระพุทธเจ้า” หรอก
    เมื่อมีกิเลสจึงค่อยมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา

    จึงควรเพิกถอนกิเลสนั้นออกจากใจ พระพุทธเจ้าเกิดที่นั่น
    “พุทธะ” ความเป็นจริง ไม่ใช่ “พุทธะ” เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร

    เมื่อเกิดความรู้ขึ้นมาทีแรกเขาถึงเรียกว่า “พุทธะ”
    ชาวโลกเขาเรียกว่า “พุทธะ”

    มันมีหลายเรื่องหลายชื่อ “พระชินสีห์ พระศากยมุนี พระโคดมบรมครูฯ”
    อะไรต่าง ๆ หลายเรื่อง เรื่องพระเจ้าสิทธัตถะเดิมก็เลยหายไป

    เพราะความ “ตรัสรู้” อันนั้นนั่นเอง เบิกบานขึ้นมาจาก
    ใจแล้วก็ให้นามสมัญญาไปต่าง ๆ นานา

    แต่พระพุทธะเจ้าท่านทรงเรียกว่า “เราคถาคต” ไม่ได้
    เรียกอื่นไกลตามสมมติบัญญัติที่โลกเขาเรียกพระองค์

    แท้ที่จริง “พุทธะ ก็เกิดที่ใจ เกิดจากใจ”
    เพราะการปฏิบัติบำบัดเรื่องต่าง ๆ ออกจากใจ
    ทำให้ผ่องใส สะอาด ชำระให้หมดจดจากใจ

    เหตุนั้น “ใจ” จึงเป็นของสำคัญที่สุด ถ้าปฏิบัติ “เข้าถึงใจ” เมื่อไร
    จึงจะ “เห็นใจ” เมื่อนั้น เป็น “พุทธะ” เมื่อนั้น

    ถ้า “ไม่ถึงใจ” แล้วยัง “ไม่ถึงพุทธะ” หรอก เอาละ ..

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    - See more at: http://www.พุทธคุณ.net/#sthash.QvTXvNm0.dpuf
     
  17. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    อนุโมทนาบุญ เชิญร่วมบุญครับ
     
  18. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    เชิญร่วมบุญ มีผู้ส่งพระมาร่วมบุญ ก็จะนำมาลงให้เย็นนี้ครับ
     
  19. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
  20. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    [​IMG]คุณแจ๊กส่งลูกอมพระสังกัจจายน์หลวงปุ่เรืองมาให้ร่วมบุญครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...