เชิญเข้าร่วมสนทนาพิเศษเรื่อง มิติ ความฝัน ชาติภพ จิตวิญญาณ โดย @โนวา อนาลัย@ [Writer]

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย mead, 8 สิงหาคม 2007.

  1. โมกลา

    โมกลา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +24
    1.เป้าหมายของการทำสมาธิคืออะไร
    การทำสมาธิคือการพยายามรวมใจให้เป็นหนึ่ง
    รวมใจให้เป็นหนึ่งเพื่ออะไร ก็เพื่อให้ใจมีพลังในการค้นหาธรรมชาติแห่งความเป็นจริง
    ปกติจิตเรามักแตกซ่านกระจัดกระจายจนไม่มีพลังพอที่จะนำมาใช้งานได้
    เรานำพลังแห่งจิตมาใช้งานสิ่งใด คำตอบคือ ค้นหาความเป็นอิสระแห่งความปรารถนา
    อิสระแห่งความปรารถนาคือ แก่นแท้ของจิตวิญญาณ
    เพราะความเป็นแก่นแท้ นี่เอง จึงทำให้เราไม่สามารถมองหาได้ทั่วไป เราต้องทำอะไรเป็นพิเศษกว่าปกติ จึงจะค้นหาได้พบ
    คิดว่าทุกคนที่หันมาฝึกสมาธิ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม แต่ลึกๆแล้วเป็นการเรียกร้องของตัวตนภายใน ให้เข้ามาหาทำความรู้จักตัวตนที่แ้จริงของตัวเอง
    น้ำที่เคลื่อนไหวไม่นิ่ง เราย่อมไม่สามารถมองเห็นตะกอนที่ตกค้าง ไม่เห็นสิ่งที่อยู่ภายในน้ำได้ ถ้าอยากรู้ว่าในน้ำนั้นมีสิ่งใดอยู่บ้าง วิธีที่ธรรมชาติที่สุด คือรอให้นำ้นิ่งแล้วมองเข้าไปใหม่ ย่อมเห็นอะไรได้ต่างจากการเห็นครั้งแรกเป็นแน่
    การทำสมาธิก็เหมือนการพยายามทำให้น้ำนิ่ง เพื่อให้เรามองเห็นความเป็นจริงของสิ่งที่อยู่ภายในน้ำ แล้วยังสามารถนำน้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ตั้งใจ

    2 อุปสรรคขวางกั้นไม่ให้บรรลุเป้าหมายได้คืออะไร
    อุปสรรคคือความเชื่อของเราเอง เรามีความเชื่อหรือไม่ว่าเราจะทำได้สำเร็จในชาติภพนี้
    ถ้าเราเชื่อด้วยใจจริง ย่อมจะนำเราไปสู่เป้าหมายได้อย่างแน่นอน

    3 เราจะกำจัดอุปสรรคนั้นได้อย่างไร
    อุปสรรคคือความเชื่อ กำจัดอุปสรรคก็คือการเปลี่ยนความเชื่อ เชื่อว่าเราทำได้ เราเกิดมาเพื่อต้องทำสิ่งนี้ ใช้ความมุ่งมั่น จดจ่อให้เต็มที่ เราต้องทำสำเร็จอย่างแน่นอน
    ท่านอาจารย์อนาลัย สอนพวกเราว่า
    เราจดจ่อสิ่งใด เราย่อมได้สิ่งนั้น ไม่มีอย่างอื่น
     
  2. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,116
    ค่าพลัง:
    +62,425
    แต่ละท่านมีมุมมองที่ลึกซึ้งกันทุกคนเลยครับ
    เพื่อนๆมาตอบคำถามนี้เพิ่มอีกนะครับ จะช่วยขยายมุมมองให้กว้างออกไปยิ่งขึ้นครับ***

    1. เป้าหมายของการทำสมาธิที่แท้จริงนั้น คืออะไร ?
    เมื่อก่อนเห็นคุรุทั้งหลายท่านทำสมาธิแต่ก็ไม่เข้าใจกระจ่างว่าทำเช่นนั้นเพื่ออะไร
    จนมาทราบภายหลังว่าเป็น"เทคนิค"การเชื่อมโยงตัวตนภายในวิธีหนึ่ง เพื่อสืบค้นเกี่ยวกับชีวิตและจิตวิญญาณเพื่อกลับคืนไปเป็นส่วนของทั้งหมด เป็นอิสระจากระยะทาง-ช่องว่าง-กาลเวลา จนกระทั่งเกิดความสมดุลย์+ละเอียดลุ่มลึก ด้วยมุมมองของจิตวิญญาณในระบบเครือข่ายได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดครับ

    2. อุปสรรคที่จะขวางกั้นไม่ให้เราบรรลุเป้าหมายนั้นได้ คืออะไร ?
    อุปสรรคคงเกิดจากความไม่ตั้งใจ โลเล ไม่มั่นใจ และทางเลือกมีหลากหลายทางวิธีจนอาจสับสน แต่เชื่อว่าความเชื่อจากประสบการณ์ทั้งหมดจะหล่อหลอมจนเกิดทิศทางเฉพาะกับตนเองได้ครับ

    3. เราจะกำจัดอุปสรรคเหล่านั้นได้อย่างไร ?
    การปรับเปลื่ยนแก้ไขขอบกพร่องหรือข้อสงสัยที่เป็นอุปสรรคต่างๆนั้นสามารถทำได้ ด้วยการตั้งกำลังใจให้ถูกต้อง หาความรู้ที่สามารถเปลื่ยนความเชื่อ-ทัศนคติ พร้อมกับมุมมองที่เป็นด้านบวก มองปัญหาอย่างเข้าใจให้ทะลุปรุโปร่ง จนจัดการกับอุปสรรคทั้งหลายออกไป ด้วยสติปัญญาของจิตวิญญาณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2008
  3. VeggieGuy

    VeggieGuy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    3,942
    ค่าพลัง:
    +4,262
    ตอบคำถาม

    1. การทำสมาธิ แท้จริงน่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนการจดจ่อของเราจากการจดจ่อภายนอกเข้าสู่การจดจ่อภายในซึ่งเป็นฐานที่ตั้งเดิมของความเป็นธรรมชาติพุทธะ (จิตเดิมแท้) หรือความเป็นพระเจ้า เป้าหมายที่แท้จริงก็เพื่อให้แรงสั่นสะเทือนของเราเป็นหนึ่งเดียวกันกับแรงสั่นสะเทือนของจักรวาลหรือเอกภพ และท้ายสุดแล้วก็ไม่มีสิ่งที่เป็นสมาธิอีกต่อไป (เพราะอยู่ในสมาธิตลอดเวลาโดยไม่ส่งกลิ่นให้ใครรู้)

    2. อุปสรรคที่ปิดกั้นเป้าหมายดังกล่าว ก็คงหนีไม่พ้น "นิวรณ์ 5" ได้แก่
    -กามฉันทนิวรณ์ ได้แก่ ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ
    -พยาปาทนิวรณ์ ได้แก่ ความขุ่นเคืองใจ
    -ถีนมิทธนิวรณ์ ได้แก่ ความท้อถอย หดหู่ และความซบเซาง่วงเหงา
    -อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน และความรำคาญใจ
    -วิจิกิจฉานิวรณ์ ได้แก่ ความสงสัยไม่แน่ใจในสภาพธรรม และในเหตุและผลของสภาพธรรม
    3. การกำจัดอุปสรรคดังกล่าว คงต้องใช้ "สติ" เป็นตัวกำกับครับ
     
  4. เด็กโชว์พาว

    เด็กโชว์พาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,082
    ค่าพลัง:
    +470
    ที่คุณVegieGuy เอามาลงก็ถือว่าเค้าเขียนเรื่องระดับการพัฒนาไว้ได้ดีเลยทีเดียวน่ะครับ
    1. ตอบ นั่งแล้วสบายใจ แก้เครียด มีความสุข นอกจากนั้นก็อยากได้ญาณ อภิญญาต่างๆ อยากให้ประสาทสัมผัสที่6ของตนชัดขึ้น อยากฝันแม่น และอยากสัมผัสกับความมหัศจรรย์ที่อยู่ในจิตของตัวเอง
    2. ตอบ อุปสรรคของผมคือขี้เกียจครับ นั่งได้ไม่นาน พอขี้เกียจก็เลิกอ่ะครับ หรือไม่ก็ชอบตรวจสอบว่าจิตตัวเองไม่นิ่ง หรือไม่ก็ปวดเมื่อยเลยออก หรือไม่ก็เวลาจิตรวมพอภวังค์ลึกขึ้นเริ่มหวาดกลัวจนต้องออก
    3. ตอบ ก็คิดว่าคงไม่ต้องจริงจังอะไรมาก พอถึงเวลาก็คงจะได้ญาณได้อภิญญาที่ตัวเองหวังไว้เอาเอง และการที่เรารู้สึกมากด้วยความรักมันก็สามารถกำจัดอุปสรรคในการทำสมาธิทำให้จิตเรารวมไวขึ้นได้พร้อมกับขจัดความหวาดกลัวที่อยู่ในใจเราและสามารถนั่งต่อไปได้
     
  5. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    คำถามเกี่ยวกับสมาธิคราวนี้ อาจจะตอบยาวหน่อยเพราะว่าตั้งแต่รู้จักกับการทำสมาธิจนมาถึงเดี๋ยวนี้ มุมมองในเรื่องสมาธิก็ีมีมุมมอง/ความเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น ดังนั้นบางทีคำอธิบายอาจจะยาวหน่อย

    1. เป้าหมายของการทำสมาธิที่แท้จริงนั้น คืออะไร ?
    เป้าหมายในการทำสมาธิตอนแรกเลยจากการที่ได้เริ่มมาศึกษา ก็คิดว่าเป็นการทำให้ใจเราไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้ใจสงบ หนึ่งล่ะ และอีกหนึ่งก็คือทำให้ได้ฤทธิ์ทางจิต เช่น เห็นวิญญาณ, ติดต่อกับวิญญาณได้, ตาทิพย์, หูทิพย์, พลังจิตขยับสิ่งของ และอะไรทั้งหลายแหล่ที่เกี่ยวกับพลังจิต

    แต่พอมาถึงตอนนี้ก็เข้าใจเรื่องสมาธิมาขึ้นและก็เริ่มพอจะเข้าใจกับการฝึกสติก็เริ่มสับสนนิดหน่อยกับการฝึกสติ(อ้าว แป่ว)

    การทำสมาธิมีหลายรูปแบบ จะนั่งทำสมาธิตามรูปแบบก็ได้ แต่ว่าถ้าไม่นั่งจะทำตอนนอนก็ได้ จะเดินก็ได้(จงกรม-ถือว่าเป็นการฝึกสมาธิใช่มั๊ยครับถ้าเข้าใจไม่ผิด) หรือแม้กระทั่งฝึกสมาธิด้วยการวาดภาพหรือเล่นดนตรีอย่างเทคนิคของพี่นักเขียน

    ส่วนการฝึกสติ ก็คือการมีสติรู้เท่าทันอาการหรือร่างกายของเรา(ใช่ไหมครับ ใช่สิ) ซึ่งการเดินจงกรมส่วนนึงก็เป็นการได้ฝึกสติเหมือนกัน ซึ่งการที่จะรู้เท่าทันอาการหรือร่างกายของเราได้นั้น ก็ต้องใช้สมาธิมาเพ่ง ถ้าสมาธิหลุดหรือไปสนใจเรื่องอื่นก็จะหลุดจากการเพ่งไปที่กายของเรา เค้าถึงได้เรียกว่าเพ่งสติ

    ดังนั้นแล้วจึงเกิดคำถามขึ้นในใจว่า อ้าวแล้วอย่างนี้ การทำสมาธิ(แบบที่เค้าทำกันที่ว่านั่งสมาธิทำใจให้สงบ) กับการเพ่งสติจะ่ต่างกันตรงไหนเนี่ย เพราะต่างก็ต้องเพ่งไปที่สิ่งๆ เดียวเหมือนกัน แต่อาจจะต่างกันตรงที่ว่าการเพ่งสติไม่ต้องเพ่งมากเหมือนทำสมาธิ คือมีเหมือนกันสมาธิแต่น้อยกว่าการนั่งทำสมาธิเพราะการเพ่งสติเราจะทำตอนที่เราทำอากัปกิริยาต่างๆ ไปด้วย ถ้าเพ่งไปมากเราก็จะไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ควบไปได้ เช่น พิมพ์งานไป จับลมหายใจไป

    และการทำสมาธินั้นก็สามารถทำได้ทุกกิจกรรม จะเป็นการยิงปืน หรือยิงธนูก็ยังเป็นการฝึกสมาธิไปด้วย เพราะเป็นการเพ่งจิตไปยังจุดๆ เดียวคือเป้าที่เราเล็งไว้ หรือจะเป็นการตีกอล์ฟก็ได้ จริงๆ ก็คือ กิจกรรมอะไรก็ได้ที่เราต้องเพ่งจิตไปยังสิ่งๆ นั้นสิ่งเดียวก็เป็นการฝึกสมาธิหมดแหล่ะ การระบายสีโดยที่เราต้องระวังสีไม่ได้เลอะออกนอกเขตที่เรากะไว้ จังหวะที่เราลงพู่กันนั้น เราก็ต้องใช้สมาธิในการบังคับพู่กันดีๆ ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ก็เป็นการฝึกสมาธิเหมือนกัน

    ดังนั้นแล้วมาตอนนี้จึงมาคิดว่าการนั่งสมาธิแบบทางพุทธที่หัดๆ นั่งกันนั้น ก็คือการเพ่งไปยังความว่างหรืออารมณ์ว่างหรือเปล่า เพราะการฝึกสมาธิแบบอื่นจิตเราจะอยู่กับสิ่งที่เราเพ่งตลอด จะไม่รู้สึกว่าตัวหายไปอย่างการทำสมาธิในศาสนาพุทธ และเนื่องจากว่าการทำสมาธิแบบนี้ เมื่อทำไปเรื่อยๆ ก็จะรู้สึกสงบ รู้สึกนิ่ง และรู้สึกว่าประสาทสัมผัสทางกายจะน้อยลงไปเรื่อยๆ ลมหายใจก็ละเอียดลงเรื่อยๆ ก็เลยมาคิดว่า เป้าหมายของการทำสมาธิในศาสนาพุทธคือการจับอารมณ์ว่าง หรือเปล่า?

    เมื่อจิตนิ่งลงไปเรื่อยๆ จิตก็ค่อยๆ ละร่างกาย ไปอยู่กับอารมณ์เดิมของจิต ทำให้คนที่ทำได้จนคล่อง สามารถเอาความสามารถของจิตมาใช้ได้โดยง่าย และเมื่อทำไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ ก็จะกลับไปยังสภาพเดิมของจิตขึ้นเรื่อยๆ แบบที่เรียงกันเป็นณานระดับต่างๆ นั่นแหล่ะครับ

    2. อุปสรรคที่จะขวางกั้นไม่ให้เราบรรลุเป้าหมายนั้นได้ คืออะไร ?
    ความคิดที่ฟุ้งซ่าน, ความขี้เกียจ(แง่ม อันใหญ่เลย) แต่จริงๆ แล้วคิดว่่าจะฝึกตอนไหนก็ได้นะ ไม่ใช่ว่าจะต้องนั่งสมาธินิ่งอย่างเดียว อาจจะทำตอนที่ทำงานก็ได้โดยเพ่งความคิดไปกับงานอย่างเดียวโดยไม่ให้ความคิดอื่นเข้ามาแทรก แต่การฝึกสมาธิแบบนี้ก็จะไม่ได้เท่ากับการนั่งสมาธิ เพราะเป็นการเพ่งออกไปภายนอก เราจำเป็นต้องรู้ตัวอยู่เสมอ พูดง่ายๆ ตรงๆ ว่าจะบอกว่าขี้เกียจก็เป็นข้ออ้างอยู่เหมือนกัน(อ้าว แป่ว)

    ในบางเรื่องก็ยังไม่รู้ว่าจะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสมาธิได้อย่างไรดี เช่นความฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้น แรกๆ ของการทำสมาธิ เมื่อคิดฟุ้งซ่านไปเรื่องโน้นเรื่องนี้ เมื่อนึกขึ้นได้ ก็พยายามจะไม่นึก แต่ก็ได้เคยอ่านเจอมาว่าให้ปล่อยให้คิดไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปห้ามมัน เดี๋ยวมันก็หายไปเอง อย่าไปฝืน ถ้าไม่มีอะไรแนะนำก็คงจะทำแบบเดิมไปเรื่อยๆ ในการแก้ปัญหา ซึ่งมันอาจจะเป็นวิธีที่ผิด ทำให้เกิดสมาธิช้าก็ได้

    3. เราจะกำจัดอุปสรรคเหล่านั้นได้อย่างไร ?
    ก็ต้องมุ่งมั่นกับการฝึกสมาธิให้มากกว่านี้ สรุปความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น
    และก็ศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้มากขึ้นเมื่อเกิดข้อติดขัดอะไรจะได้แก้ได้ตรงจุด นะเอย นะเอย

    ปล. โพสแล้วมาดูที่เขียน เขียนยาวมากกก ไม่น่าเชื่อจะเขียนได้ยาวขนาดนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2008
  6. ธรรมจิตต์

    ธรรมจิตต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +419
    ;aa22
    ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำของคุณพี่นักเขียนครับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จากคำถามของคุณพี่นักเขียนข้าพขอตอบตามทัศนะส่วนตัวของข้าพเจ้าดังนี้

    <O:p</O:pข้อ1. เป้าหมายของการทำสมาธิที่แท้จริงนั้นคืออไร?<O:p</O:p
    สำหรับข้าพเจ้าแล้วเป้าหมายในตอนแรกๆของการทำสมาธิก็ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไรนัก เช่นต้องการให้จิดสงบ ต้องการให้มีสติสัมปชัญญะหรือสมาธิดีขึ้น อยากมีดวงตาเห็นธรรม เป็นต้น โดยแฝงด้วยความอยากรู้อยากเห็นในความความเชื่อและสิ่งที่ครูบาอาจารย์ต่างๆได้สั่งสอนไว้หรือบอกต่อๆกันมา แต่หลังจากที่ได้ทำสมาธิมาเรื่อยๆเป้าหมายของข้าพเจ้าก็เริ่มเปลี่ยนไป เพราะเริ่มเข้าใจในสัจจธรรม ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้ความยึดติดในกายสังขารหรือตัวตนภายนอกลดลง เริ่มเข้าใจในเรื่องของตัวตนภายในและจิตวิญญาณมากขึ้น (โดยเฉพาะหลังจากที่ได้อ่านหนังสือของ อ.โนวา อนาลัย และการที่ได้เข้ามาศึกษาในห้องนี้) จากการที่ข้าพเจ้าทำสมาธิไปด้วยและศึกษาเรื่องของจิตวิญญาณไปด้วยทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าทั้งสองเรื่องนี้มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก
     
  7. brotherpray

    brotherpray เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +177
    ผมขอ อยากทราบวิธีการฝีกสมาธิ เพื่อขยายสติสัมปชัญญะ ที่ได้ผลครับ
    แล้วการฝึกสมาธิตามวิถีพุทธะ มีอะไรบ้างครับ
    ขอบคุณครับ
     
  8. ธรรมจิตต์

    ธรรมจิตต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +419
    สวัสดีครับคุณBrotherpray
    ลองไปที่หน้าแรก หมวดฝึกสมาธิ-กรรมฐาน ดูก็ได้นะครับ
     
  9. ธรรมจิตต์

    ธรรมจิตต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +419
    ทำไมเงียบจังเลย...สงสัยว่าวันนี้โรงเรียนจะหยุดให้ดูหนังสือสอบ

    ข้าพเจ้าเลยมามาเก้ออยู่คนเดียว
     
  10. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    เรียนคุณธรรมจิตต์ ผมมีสอบวันนี้ฮะ แห่ะๆ
     
  11. kindred

    kindred เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,753
    ค่าพลัง:
    +5,897
    อย่าเพิ่งน้อยใจไปนะคะ เผอิญหลายๆท่าน งานเข้า ติดภาระกัน เดี๋ยวก็มาค่ะ
    ยังไงแวะไปนั่งเล่น ที่สนามเด็กเล่น หลังโรงเรียนก่อนก็ได้ค่ะ
    ที่นี่ค่ะ ความฝันกับวิถีแห่งจิตวิญญาณ ;aa21
     
  12. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    ผมว่าขั้นแรกฝึกอานาปานสติ หรือจับลมหายใจตัวเองก็ก่อนก็น่าจะได้นะฮะ
     
  13. ธรรมจิตต์

    ธรรมจิตต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +419
    ขอบคุณครับคุณเดรด...ไปรอตั้งนานแล้วไม่เห็นมีใครเลย นอกจากคุณน้องZipperคนเดียว...ขอกลับบ้านไปนั่งสมาธิก่อนดีกว่า

    บ๊าย บาย ครับ
     
  14. เซลล์

    เซลล์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +310
    ขอให้ผ่านฉลุยเลยนะครับ คุณ zip
    คุณธรรมจิตต์หนีไปนั่งสมาธิซะแล้ว อิอิ
    เพื่อนหลายๆคนติดภาระกิจ อาจจะว่างไม่ตรงกัน
    แต่ก็ยังเข้ามาหาความรู้ และคุยกันอยู่เรื่อยๆครับ
    หัวหน้าห้องเราตอนนี้งานเข้า มีหลานๆมาเยี่ยมเยือน เดี๋ยวก็คงเข้ามากันครับ

    ;welcome2
     
  15. nova_analai

    nova_analai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    809
    ค่าพลัง:
    +7,489
    ประมวลคำตอบ 1. เป้าหมายของการทำสมาธิ

    แม้ว่าพี่นักเขียนจะเป็นผู้ตั้งคำถาม 3 ข้อนี้ แต่ก็ไม่ได้กำหนดคำตอบที่ถูกต้องไว้อย่างจำกัด ในทางตรงกันข้าม พี่นักเขียนคาดหวังว่า จะได้รับคำตอบที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะช่วยให้เราแต่ละคนสามารถขยายมุมมองและความเข้าใจอันจำกัดของเราออกไปได้อีกไม่น้อย

    ในที่นี้ บางท่านก็ตอบคำถามโดยอาศัยคำนิยามหรือคำจำกัดความจากศาสนา จากแหล่งข้อมูลอื่นๆที่แต่ละท่านได้อ่าน หรือได้ยิน ได้ฟังมา หรือได้ปฏิบัติตาม บางท่านก็ตอบคำถามจากมุมมอง และความปรารถนาส่วนบุคคล ซึ่งตั้งอยู่บนความเชื่อทางศาสนาบ้าง จากความสนใจใฝ่รู้ส่วนบุคคลบ้าง และบางท่านก็ตอบคำถามจากประสบการณ์ส่วนตน

    ประมวลคำตอบ สำหรับคำถามที่ 1. เป้าหมายของการทำสมาธิที่แท้จริงนั้น คืออะไร ?
    คุณน้อง Kindred : เพื่อฝึกฝนให้มีสติสัมปชัญญะ ที่คมชัด ในทุกขณะ

    คุณน้อง cottonn : เพื่อให้มีสติสัปชัญญะอยู่ตลอดเวลาค่ะ เมื่อจิตใจจดจ่อมีสมาธิ สิ่งที่ทำก็จะสำเร็จและมีคุณภาพ

    คุณเซลล์ : ทำความรู้จักตัวตนแท้ๆของตนเอง เหมือนฟื้นความทรงจำที่เราหลงลืมไปและนำตัวตนแท้ๆออกมาแสดง

    คุณน้อง sarissa : ...เวลาผ่านไปๆ กลับไม่มีเป้าหมายอย่างน่าแปลกใจ เพียงรับรู้ เรียนรู้ ทุกสิ่งคือสิ่งที่มันเป็นเช่นนั้นและเป็นเช่นนี้ ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่คิดที่จะค้นหาถึงหนทางที่จะทำได้ดีขึ้น นานขึ้น หรืออื่นใด....ค่อนข้างที่ตัวเองขาดเป้าหมายแต่ไม่ไร้แรงจูงใจค่ะ หวั่นๆเหมือนกันว่านี่คือการหยุดนิ่งของการหลงและไม่พัฒนาต่อหรือเปล่า แต่ชีวิตและจิตวิญญาณคงจะมีหนทางของตัวเองมังคะ เราหยุดถ้าเขาจะไป เราก็คงไม่อาจขัดขวางการเดินทางของเขาได้

    คุณน้อง soul2006 : เพื่อให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงว่ากายและใจนี้มีเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่สามารถยึดถืออะไรได้เลย ไม่มีอะไรที่แน่นอน จะได้ละวางสติสัมปชัญญะภายนอกที่ใช้กับกาย เพื่อจะได้มีใจที่เป็นกลางไม่อคติ และจะได้เข้าถึงสติสัมปชัญญะภายใน จะได้เข้าใจตัวเองแล้วก็สามารถจะเข้าใจผู้อื่น

    คุณน้อง โมกมาลา : รวมใจให้เป็นหนึ่ง เพื่อให้ใจมีพลังในการค้นหาธรรมชาติแห่งความเป็นจริง

    คุณ mead : เพื่อสืบค้นเกี่ยวกับชีวิตและจิตวิญญาณ เพื่อกลับคืนไปเป็นส่วนของทั้งหมด เป็นอิสระจากระยะทาง-ช่องว่าง-กาลเวลา จนกระทั่งเกิดความสมดุลย์+ละเอียดลุ่มลึก ด้วยมุมมองของจิตวิญญาณในระบบเครือข่ายได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดครับ

    คุณ VeggieGuy : แท้จริงน่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนการจดจ่อของเราจากการจดจ่อภายนอกเข้าสู่การจดจ่อภายในซึ่งเป็นฐานที่ตั้งเดิมของความเป็นธรรมชาติพุทธะ (จิตเดิมแท้) หรือความเป็นพระเจ้า เป้าหมายที่แท้จริงก็เพื่อให้แรงสั่นสะเทือนของเราเป็นหนึ่งเดียวกันกับแรงสั่นสะเทือนของจักรวาลหรือเอกภพ และท้ายสุดแล้วก็ไม่มีสิ่งที่เป็นสมาธิอีกต่อไป

    คุณ เด็กโชว์พาว : นั่งแล้วสบายใจ แก้เครียด มีความสุข นอกจากนั้นก็อยากได้ญาณ อภิญญาต่างๆ อยากให้ประสาทสัมผัสที่6ของตนชัดขึ้น อยากฝันแม่น และอยากสัมผัสกับความมหัศจรรย์ที่อยู่ในจิตของตัวเอง

    คุณ Eistein zipper : เป้าหมายในการทำสมาธิตอนแรกเลยจากการที่ได้เริ่มมาศึกษา ก็คิดว่าเป็นการทำให้ใจเราไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้ใจสงบ หนึ่งล่ะ และอีกหนึ่งก็คือทำให้ได้ฤทธิ์ทางจิต เช่น เห็นวิญญาณ, ติดต่อกับวิญญาณได้, ตาทิพย์, หูทิพย์, พลังจิตขยับสิ่งของ และอะไรทั้งหลายแหล่ที่เกี่ยวกับพลังจิต.... เป้าหมายของการทำสมาธิในศาสนาพุทธคือการจับอารมณ์ว่าง หรือเปล่า?

    คุณธรรมจิตต์ : เป้าหมายที่แท้จริงในการทำสมาธิของข้าพเจ้า (ในปัจจุบันนี้) ก็คือต้องการเข้าถึงตัวตนภายในและโลกของจิตวิญญาณให้มากที่สุด เพื่อค้นหาสัจจธรรมหรือความเป็นจริงของธรรมชาติของชาติภพและจิตวิญญาณอันจะนำปสู่การเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต


    พี่นักเขียน : เป้าหมายแรกเริ่มของพี่นักเขียน คือ การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี เมื่อบรรลุผลสำเร็จในการรักษาโรคให้ตนเองได้ในทิศทางที่พอใจ และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่นได้เสมอๆ จนกลายเป็นนิสัยที่พอใจแล้ว พี่นักเขียนก็ตั้งเป้าหมายใหม่ว่า อยากจะบรรลุผลสำเร็จในการเรียนรู้ถึงภาวะจิตของตนเอง เพื่อที่จะค้นให้พบพรสวรรค์ แรงบันดาลใจ และความสามารถที่ยังไม่เคยนำออกมาใช้ เมืื่อบรรลุผลสำเร็จได้ในทิศทางที่พอใจแล้ว พี่นักเขียนก็ตั้งเป้าหมายใหม่ว่า อยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของจิตวิญญาณ และการเป็นบุคคลตัวตน และอยากสัมผัสรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองยังไม่รู้ โดยไม่ได้คาดหวังว่า จะเผชิญกับอะไร ตามทฤษฏีทางศาสนา ทุกเป้าหมายของพี่นักเขียนอาจจะวนกลับมาอีกได้เสมอ สุดแท้แต่ว่าช่วงหนึ่งๆของชีวิตจะเผชิญกับอะไร และประสบการณ์ ณ จุดนั้นๆ ทำให้ต้องจดจ่อกับอะไรเป็นพิเศษ

    คุณน้อง sarissa : กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า เวลาผ่านไปๆ กลับไม่มีเป้าหมายอย่างน่าแปลกใจ เพียงรับรู้ เรียนรู้ ทุกสิ่ง....

    พี่นักเขียนจำเป็นต้องหยิบยกเอาคำตอบของคุณน้อง sarissa : ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่กล่าวว่า หวั่นๆเหมือนกันว่า นี่คือการหยุดนิ่งของการหลงและไม่พัฒนาต่อหรือเปล่า เพราะเป็นประเด็นสำคัญ ที่มีผลต่อพัฒนาการของเรา

    ช่วงหนึ่งของชีวิตที่พี่นักเขียนฝึกปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ก็พบว่าตนเองรู้สึกเช่นนั้น และเป็นจุดผกผันที่ทำให้ต้องถามตนเองว่า เราดูเสมือนจะหยุดนิ่งไม่พัฒนาเพราะอะไร? ในที่สุดก็ค้นพบว่า ตนเองพอใจกับการหยุดนิ่งและสงบดี โดยไม่ได้สนใจที่จะเผชิญกับอะไรที่แตกต่างไปจากนั้น ภาวะดังกล่าวทำให้พี่นักเขียนไม่ตั้งคำถาม และไม่ทำอะไรกับความสงสัย ทั้งที่ก็ไม่ได้รับคำตอบ หรือปราศจากข้อสงสัยหรือข้อข้องใจ และเป็นภาวะที่เป็นไปยาวนาน - แรมปี จนกระทั่งความสงสัยและความสนใจใฝ่รู้มีมาก จนเหนือความพอใจในความสงบและหยุดนิ่ง ทำให้คิดว่า จะต้องทำบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างไป ในการฝึกสมาธิ

    คุณน้อง sarissa : กล่าวต่ออีกว่า แต่ชีวิตและจิตวิญญาณคงจะมีหนทางของตัวเองมังคะ เราหยุดถ้าเขาจะไป เราก็คงไม่อาจขัดขวางการเดินทางของเขาได้

    พี่นักเขียนหวังว่า คุณน้อง sarissa จะเข้าใจได้ในประเด็นสำคัญที่ว่า จิตวิญญาณไม่ได้แปลกแยกไปจากร่างกายเนื้อหนังของเรา หากเรามองเห็นร่างกายเนื้อหนัง-เป็นเรา มองเห็นจิตวิญญาณ-เป็นเขา และเชื่อว่าจิตวิญญาณเดินทางหรือพัฒนาตามเส้นทางที่แปลกแยกไปจากตัวตนอันเป็นกายภาพของเรา เราก็จะตกอยู่ในภาวะไร้พลังอำนาจ หรือตกอยู่ในภาวะที่แปลกแยกไปจากจิตวิญญาณ และไม่สามารถควบคุมมันได้ เพียงเพราะเราเชื่อว่า เราควบคุมมันไม่ได้ หรือเชื่อว่า มันไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของเรา จิตวิญญาณจึงดูเสมือนหยุดนิ่ง เพราะมันรอคอยให้เราใช้ความใฝ่รู้ ใช้ความปรารถนาที่จะเรียนรู้ ใช้เจตนาและความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ เพื่อเปลี่ยนวิถีการจดจ่อไปสู่ข้อมูลความรู้เหล่านั้น เพราะจิตวิญญาณ คือพลังงานที่เต็มไปด้วยข้อมูลความรู้และความทรงจำข้ามชาติภพ ที่พร้อมจะพุ่งไปหลอมรวม หรือรับเอาข้อมูลความรู้อื่นๆ ที่คล้องจองกับการจดจ่อ ความปรารถนา เจตนาและความมุ่งมั่นของเรา เพื่อการแปลงสภาวะต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุดอยู่เสมอ

    คุณ เด็กโชว์พาว ตอบอย่างเปิดใจว่า อยากได้ญาณ อภิญญาต่างๆ อยากให้ประสาทสัมผัสที่6ของตนชัดขึ้น อยากฝันแม่น และอยากสัมผัสกับความมหัศจรรย์ที่อยู่ในจิตของตัวเอง

    ความอยากได้ เป็นสิ่งที่หลายคนอาจข้องใจ เพราะเรามักได้ยินได้ฟังมาเสมอๆว่า ความอยากได้เป็นกิเลส ซึ่งดูเสมือนจะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความดี ความสงบที่เรามุ่งหวังจะได้จากสมาธิ และอาจารย์สอนสมาธิจำนวนไม่น้อยก็มักตักเตือนลูกศิษย์ว่า อย่าอยากได้ญาณ หรือ อภิญญา เพราะจะทำให้เอาไม่ได้ เป็นไม่ได้ ทำไม่ได้

    ประเด็นนี้ พี่นักเขียนมีความเชื่อว่า เราควรจะค้นให้พบความปรารถนาและเจตนาของตนเองก่อนเป็นสิ่งแรก หากพบความปรารถนาและเจตนาในทิศทางที่เป็นคุณต่อตนเองและผู้อื่น เราจะพบว่า ความอยากนั้นๆไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเลย ในทางตรงกันข้าม ความอยากนั้นจะเป็นพลังผลักดันสำคัญที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้อย่างแน่นอนที่สุด หากปราศจากความอยาก เราย่อมไปไม่ถึง และไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะขาดพลังผลักดัน

    ตามพระคัมภีร์ของพุทธศาสนา ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า อภิญญาญาณ มีคุณสมบัติที่ป้องปกตนเอง หรือ foolproof ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่ปราศจากความปรารถนาและเจตนาที่ดี จะเกิดปัญญาญาณไม่ได้ และจะเข้าถึงอภิญญาญาณไม่ได้โดยปริยาย เราจะพบธรรมชาติความเป็นจริงข้อนี้ได้เสมอว่า ผู้ที่ปรารถนาจะตั้งตนเป็นผู้รู้ ผู้ตอบคำถาม และตั้งตนเป็นผู้ที่เหนือมนุษย์ ด้วยหวังลาภ ยศ สรรเสริญ ฯลฯ เพื่อประโยชน์สุขของตนเอง จะเข้าไม่ถึงหรือใช้การอภิญญาญาณของเขาไม่ได้โดยปริยาย

    ท่านอาจารย์อนาลัยก็ได้กล่าวไว้ว่า ประสาทสัมผัสที่หก หรือประสาทสัมผัสภายใน เป็นสิ่งที่จะใช้การได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจในคุณสมบัติของมันได้อย่างลึกซึ้งเท่านั้น หากปราศจากความเข้าใจ เราก็จะใช้งานมันไม่ได้โดยปริยาย ยกตัวอย่างเช่น ประสาทสัมผัสภายในเช่น-การร่วมรู้สึก

    หากเราปราศจากความเข้าใจในการเป็นบุคคลตัวตนเรา-เขา อันปราศจากการแบ่งแยก เราจะเข้าไม่ถึงความรักอันปราศจากเงื่อนไข เราก็ไม่สามารถจะร่วมรู้สึกกับผู้ใดได้อย่างลุ่มลึก เพราะเราเข้าไม่ถึงอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของเขา เราก็จะใช้ประสาทสัมผัสภายในชนิดนี้ไม่ได้โดยปริยาย

    การรู้การณ์ล่วงหน้า การอ่านใจผู้อื่นได้ ฯลฯ กลายเป็นสิ่งที่ปราศจากความหมาย เพราะหากเราสามารถร่วมรู้สึกกับผู้อื่นได้อย่างแท้จริง เราก็หมดความปรารถนาที่จะต้องล่วงรู้สิ่งที่ผู้อื่นคิดหรือทำลับหลังเรา เพราะเพียงแค่เราได้เผชิญหน้าเขา เราก็จะเข้าใจและหยั่งรู้ถึงอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของเขาได้ เข้าใจเขาได้อย่างลุ่มลึก เห็นใจเขา หรือ ให้อภัยเขา โดยไม่ต้องคิดป้องกัน ต่อต้าน หรือต่อสู้เขาด้วยการหาหนทางที่จะล่วงรู้ในสิ่งที่เขาไม่ได้บอกเราตามตรง การร่วมรู้สึก ทำให้เราเป็นเขา เขาเป็นเรา เราจึงล่วงรู้การณ์ล่วงหน้า หรืออ่านใจผู้อื่นได้ว่า เขาจะทำอย่างไรต่อไป หรือเขาจะตอบสนองไปในทิศทางใด

    จากคำตอบข้อแรกที่พี่นักเขียนนำมาประมวลนี้ พวกเราคงจะมองเห็นได้ว่า ความเป็นเอกลักษณ์ของเรา หรือบุคลิกภาพของเราสะท้อนไปสู่การคิด และการกระทำของเราเสมอๆ แม้แต่เป้าหมายของการทำสมาธิ ก็ย่อมจะสะท้อนให้เรามองเห็นเอกลักษณ์และบุคลิกภาพของตนเองได้ไม่มากก็น้อย เพราะไม่ว่าเราแต่ละคนจะคิดหรือทำสิ่งใด มันย่อมเกิดจากบุคลิกภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความใฝ่รู้ของเรา ในทิศทางอันเป็นเอกลักษณ์ของเราเสมอ

    แต่บุคลิกภาพของเราก็ไม่ใช่สิ่งที่คงที่ มันเป็นสิ่งที่จะพัฒนาต่อไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งหมายความว่า เป้าหมายของเราแต่ละคน ก็จะขยายตัวต่อไปอีกเป็นเงาตามตัว ผู้ที่ทำสมาธิมายาวนาน จะมองเห็นได้ง่ายว่า เป้าหมายของตนเองเปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือขยายตัวออกไปเรื่อยๆ พร้อมกันกับที่บุคลิกภาพของเราพัฒนาและปรับเปลี่ยนต่อไป

    พี่นักเขียนไม่มีความเชื่อในระดับ หรือการพัฒนาแบบเป็นเส้นตรงจากต่ำไปสูง แต่เชื่อว่าเป้าหมายของการทำสมาธิของเราแต่ละคน พุ่งออกจากศูนย์กลางไปสู่ทิศทางต่างๆที่เราปรารถนา ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆของชีวิต ไม่ว่าเป้าหมายนั้นๆจะดูเสมือนเล็กจิบจ้อย ยิ่งใหญ่ หรือเรียกในนัยของระดับชั้นว่าต่ำต้อย หรือสูงส่งเพียงใดก็ตาม ทุกเป้าหมายของเรา เป็นการเติมเต็มภาพรวมร่วมกัน เพราะจิตวิญญาณของเราอยู่ ณ ศูนย์กลางอันเป็นหนึ่งเดียว

    การบรรลุเป้าหมายของเราแต่ละคน เปรียบเสมือนการปีนเขาแต่ละลูก ซึ่งจะทำให้จิตวิญญาณรวมได้เผชิญกับการปีนเขาทุกลูก หรือเผชิญกับความท้าทายทุกรูปแบบเพื่อเติมเต็มช่องว่างแห่งประสบการณ์อันหลากหลาย พูดถึงตรงนี้ ทำให้พี่นักเขียนนึกถึงเพลง Climb Every Mountain ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่สะท้อนให้เราเห็นถึงเป้าหมายของจิตวิญญาณ ผู้มาแสวงหาประสบการณ์ในมิติของมนุษย์
    [​IMG]
    Climb ev'ry mountain
    Search high and low
    Follow ev'ry by-way
    Every path you know
    Climb ev'ry mountain
    Ford ev'ry stream
    Follow ev'ry rainbow
    'Till you find your dream
    A dream that will need
    All the love you can give
    Everyday of your life
    For as long as you live
    Climb ev'ry mountain
    Ford ev'ry stream
    Follow ev'ry rainbow
    'Till you find your dream
    A dream that will need
    All the love you can give
    Everyday of your life
    For as long as you live
    Climb ev'ry mountain
    Ford ev'ry stream
    Follow ev'ry rainbow
    'Till you find your dream

    หากเราแต่ละคนคือผู้ที่ปีนเขาคนละลูก จิตวิญญาณรวมของเราก็คือผู้ที่ปีนเขาทุกลูก ดัง Lyric ของเพลงนี้

    พี่นักเขียนเชื่อว่า สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเราแต่ละคน ไม่ใช่การไปถึงจุดหมายปลายทางที่เป็นเลิศ-ยิ่งใหญ่สูงส่ง และหยุดนิ่ง ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องทำหรือพัฒนาต่อไปอีก หากแต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ กระบวนการ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเราแต่ละคน ระหว่างที่เรามุ่งไปสู่เป้าหมายแต่ละเป้าหมาย ซึ่งจะผันแปรต่อไปเสมือนเป้าหมายย่อยๆ ที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายต่อๆไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด เสมือนการปีนเขาทุกลูก เพื่อเผชิญกับความท้าทายทุกรูปแบบ ที่จะเติมเต็มช่องว่างแห่งประสบการณ์ของชีิวิตได้อย่างเต็มเปี่ยมทุกทิศทาง การสนับสนันช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันของเรา เป็นเสมือนรากฐานท่ี่จะทำให้เราแต่ละคนพุ่งออกจากศูนย์กลางอันเป็นหนึ่งเดียวนี้ได้อย่างกว้างไกล(rose)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2008
  16. nova_analai

    nova_analai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    809
    ค่าพลัง:
    +7,489
    ประมวลคำตอบ 2. อุปสรรคที่จะขวางกั้นไม่ให้เราบรรลุเป้าหมาย

    ประมวลคำตอบ สำหรับคำถามที่ 2. อุปสรรคที่จะขวางกั้นไม่ให้เราบรรลุเป้าหมายนั้นได้ คืออะไร ?

    คุณน้อง Kindred : ความเชื่อที่ไม่สนับสนุน เป้าหมายนี้

    คุณน้อง cottonn : ต้องรุ้สาเหตุของจิตใจที่ขาดสติและสมาธิ ไม่ได้จดจ่อต่อสิ่งที่กระทำ อาจเกิดจากความขัดแย้งกันภายในจิตใจทำให้คิดเรื่องอื่นๆอ่ะค่ะ สิ่งที่ทำก็ไม่สำเร็จ หรืออาจด้อยคุณภาพ ถ้ารู้สาเหตุก็จะแก้ปัญหาได้ค่ะ

    คุณเซลล์ : การไม่ค้นหาคำตอบ จากภายในของตนเอง

    คุณน้อง sarissa : การไม่ทำตามที่ตั้งใจไว้ได้

    คุณน้อง soul2006 : เพียรไม่พอ บางทีก็ตึงเกินไป เคร่งเกินไป ไม่มีความพอดีในการเจริญสติค่ะ

    คุณน้อง โมกมาลา : อุปสรรคคือความเชื่อของเราเอง

    คุณ mead : ความไม่ตั้งใจ โลเล ไม่มั่นใจ และทางเลือกมีหลากหลายทางวิธีจนอาจสับสน

    คุณ VeggieGuy : -กามฉันทนิวรณ์ ได้แก่ ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ
    -พยาปาทนิวรณ์ ได้แก่ ความขุ่นเคืองใจ
    -ถีนมิทธนิวรณ์ ได้แก่ ความท้อถอย หดหู่ และความซบเซาง่วงเหงา
    -อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน และความรำคาญใจ
    -วิจิกิจฉานิวรณ์ ได้แก่ ความสงสัยไม่แน่ใจในสภาพธรรม และในเหตุและผลของสภาพธรรม

    คุณ เด็กโชว์พาว : อุปสรรคของผมคือขี้เกียจครับ

    คุณ Eistein zipper : ความคิดที่ฟุ้งซ่าน, ความขี้เกียจ(แง่ม อันใหญ่เลย)

    คุณธรรมจิตต์ : ความเชื่อทางโลกกายภาย และสิ่งที่มากระทบทางอายตนะทั้งหก ที่ทำให้เราขาดความต่อเนื่องในการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง หรือทำให้เราบรรลุเป้าหมายช้าลง


    พี่นักเขียน : อุปสรรคสำหรับพี่นักเขียนคือ ความเชื่อใน-ความรับผิดชอบและหน้าที่มากมาย ที่มักทำให้ใช้เหตุผล มากกว่าที่จะยอมใช้สัญชาติญาณ และความปรารถนาที่คล้องจองกับความปรารถนาของจิตวิญญาณ ทำให้เกิดการผัดผ่อน หรือชะลอเวลาที่จะทำบางสิ่งบางอย่างให้บรรลุเป้าหมาย

    ข้อนี้ พวกเราตอบคำถามได้ตรงประเด็นกว่าข้อแรกเป็นอันมาก
    เราต่างก็มองเห็นและตระหนักได้ถึงอุปสรรคได้ชัดเจนกว่าเป้าหมาย เพราะส่ิงสำคัญยิ่งสำหรับการทำสมาธิที่พี่นักเขียนได้กล่าวไว้ข้อ 1. สำหรับเราแต่ละคนคือ กระบวนการหรือขั้นตอนที่จะทำให้เราไปสู่เป้าหมาย เราต่างก็เผชิญกับกระบวนการ ขั้นตอน และจดจ่อกับมันได้ชัดเจน เพราะกระบวนการและขั้นตอน รวมถึงอุปสรรคทั้งหลาย คือปัจจุบันของเรา เป้าหมายเป็นสิ่งที่อยู่ในอนาคตที่เราอาจเชื่อว่า เรายังมองไม่เห็น เราจึงมีเป้าหมายที่ไม่ชัดเจนเท่ากับอุปสรรค


    พวกเราคงมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า อุปสรรคทั้งหลายที่พวกเรากล่าวถึง ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดจากตนเองทั้งสิ้น เราล้วนเป็นผู้สร้างอุปสรรคเหล่านี้ขึ้นมาด้วยความคิดและการกระทำของตนเอง ดังนั้นการแก้ไขหรือขจัดอุปสรรคเหล่านี้ จึงไม่ใช่สิ่งที่นอกเหนือความสามารถของเราเลย การมองเห็นและตระหนักได้ในอุปสรรค เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อมองเห็นและตระหนักได้แล้ว เราก็ควรจะมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไข ปรับเปลี่ยน และขจัดอุปสรรคเหล่านี้ เพราะมิฉะนั้นแล้ว การมองเห็นและตระหนักได้ในอุปสรรคเหล่านั้นก็หมดความหมาย

    ความเชื่อเป็นสิ่งที่แก้ไขหรือปรับเปลี่ยนได้ด้วยการสำรวจความเชื่อนั้นๆ-จากหลายมุมมอง
    ความเกียจคร้านเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ ด้วยการสร้างวินัยให้กับตนเอง หากพบว่าตนเองนั่งสมาธิบ้าง ไม่นั่งบ้าง เราก็ต้องสร้างวินัยให้ตนเองด้วยการกำหนดให้ตนเองใช้เวลาฝึกปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน เป็นเวลาเท่าๆกัน โดยกำหนดเวลาที่-เป็นไปได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน โดยไม่มีภาระกิจอื่นๆมาขัดขวาง

    พี่นักเขียนมักจะแนะนำให้นักเรียนทำสมาธิก่อนนอน แม้บางคนจะบอกว่าไม่ได้นอนคนเดียว ไม่มีความเป็นส่วนตัวพอ แต่แท้จริงแล้ว การฝึกสมาธิอยู่ที่จิต ไม่ได้อยู่ที่ท่านั่ง นอน เราทำสมาธิได้แม้เวลานอน โดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ว่าเรากำลังทำสมาธิ โดยธรรมชาติ โดยสามัญสำนึก และ โดยน้ำใจแล้ว หากเราเข้านอน ผู้อื่นก็ไม่รบกวนหรือส่งเสียงที่จะรบกวนผู้ที่ดูเสมือนจะนอนหลับ หรือกำลังจะหลับอยู่แล้ว

    ดังนั้นการสร้างเวลาให้ตนเองได้ทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอทุกคืนก่อนนอน จึงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเราต้องเขานอนอยู่แล้วทุกคืน ข้ออ้างที่ว่า ไม่มีเวลาจะทำสมาธิ หรือ ไม่มีความเป็นส่วนตัวพอ จึงตกไปโดยปริยายค่ะ

    พี่นักเขียนมีความเชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
    และเชื่อในคำสอนตามคัมภีร์ Bible ที่ว่า God helps only those who help themselves.

    [​IMG]
    คำสอนนี้ น่าจะเป็นข้อคิดให้กับเราท่านทั้งหลายว่า การแสวงหาสิ่งที่จะทำให้เราแปลกเปลี่ยน หรือพัฒนาก้าวหน้าทางด้านจิตวิญญาณจากนอกตัวตนของเรานั้น เป็นสิ่งที่ปราศจากความหมาย และทำให้เราเสียเวลามากมายไปกับสิ่งที่ไม่อาจช่วยเราได้เลย แต่มันก็มีเสน่ห์ยวนใจคนจำนวนมาก เพราะการแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก เป็นสิ่งที่หากเอาได้จริง-มันก็ดูเสมือนว่าเป็นของง่าย ไม่ต้องใช้ความพากเพียร ไม่ต้องเสียเวลากับการสร้างวินัยที่จะทำให้เป็นไปได้อย่างสม่ำเสมอ และพัฒนาทีละก้าวด้วยตนเอง

    คำสอนทั้งสองนี้ทำให้พี่นักเขียนมีความเชื่อต่อไปอีกว่า จิตวิญญาณทั้งหลายที่มาถือกำเนิดเป็นร่างกายเนื้อหนัง ย่อมมีความสามารถที่จะพัฒนาก้าวหน้าได้เสมอเหมือนกันหมด ไม่เช่นนั้นแล้วศาสดาของโลกทั้งหลาย ในทุกศาสนาคงจะสอนเราว่า ให้ผู้ที่มีโอกาสพัฒนาได้น้อยกว่า พึ่งพาผู้อื่นที่พัฒนาได้มากกว่า โดยไม่ต้องพึ่งตนเอง

    การพึ่งตนเอง จะทำให้เราค้นพบความสามารถมากมายในตนเอง และจะทำให้เรามีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นโดยปริยาย เพราะไม่มีจิตวิญญาณหน่วยย่อยใดๆ ขัดขวางการพัฒนาของจิตวิญญาณหน่วยอื่น แต่ปรารถนาที่จะสนับสนุนช่วยเหลือเกื้อกูล ด้วยความรักเสมอ ดังนั้นจิตวิญญาณที่พึ่งพาตนเอง จะค้นพบความแกร่งและความพร้อมที่จะช่วยเหลืออเกื้อกูลจิตวิญญาอื่นๆอย่างเป็นธรรมชาติ(rose)(rose)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2008
  17. nova_analai

    nova_analai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    809
    ค่าพลัง:
    +7,489
    ประมวลคำตอบ 3. เราจะกำจัดอุปสรรคได้อย่างไร ?

    ประมวลคำตอบ สำหรับคำถามที่ 3. เราจะกำจัดอุปสรรคเหล่านั้นได้อย่างไร ?

    คุณน้อง Kindred : เปลี่ยนความเชื่อเหล่านี้ ด้วยการพิจารณา ถึงผลของมัน

    คุณน้อง cottonn : สิ่งสำคัญคือมองให้ออกว่าอะไรคือปัญหามากกว่าค่ะ เพราะบางคนอาจมองข้ามปัญหานั้นไปทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้นะค่ะสาเหตุก็จะแก้ปัญหาได้ค่ะ

    คุณเซลล์ : สร้างสติสังเกตการณ์ให้มีความว่องไว ให้มีพลัง จากการเฝ้าดูพฤติกรรม อย่างเต็มที่ เต็มใจ อย่างต่อเนื่อง ทั้งยามตื่น ยามหลับ
    โดยไม่ตัดสิน เพื่อให้เห็นความจริงแท้ๆ ว่าอะไรเป็นแค่ความเชื่อ ที่ทำให้เราไม่รู้จักตนเอง และวางมันลงครับ

    คุณน้อง sarissa : อุปสรรคที่ว่าข้างต้นคือตัวเอง คงต้องวางแผนกำจัดตัวเองละมังคะ พูดเล่นค่ะ เพราะตัวเอง ดังนั้นคงฝึกฝนต่อไปให้ทุกนาทีแห่งลมหายใจคือการฝึกสมาธิของตัวเอง ให้ตัวเองเป็นประสบการณ์ของตัวเอง ระลึกตัวตนเสมอทุกลมหายใจเข้าออกให้ได้ รักทุกนาทีของชีวิตที่มีอยู่

    คุณน้อง soul2006 : ต้องพยายามฝึกฝน เฝ้าเจริญสติค่ะ

    คุณน้อง โมกมาลา : กำจัดอุปสรรคก็คือการเปลี่ยนความเชื่อ เชื่อว่าเราทำได้ เราเกิดมาเพื่อต้องทำสิ่งนี้ ใช้ความมุ่งมั่น จดจ่อให้เต็มที่ เราต้องทำสำเร็จอย่างแน่นอน
    ท่านอาจารย์อนาลัย สอนพวกเราว่า
    เราจดจ่อสิ่งใด เราย่อมได้สิ่งนั้น ไม่มีอย่างอื่น

    คุณ mead : ด้วยการตั้งกำลังใจให้ถูกต้อง หาความรู้ที่สามารถเปลื่ยนความเชื่อ-ทัศนคติ พร้อมกับมุมมองที่เป็นด้านบวก มองปัญหาอย่างเข้าใจให้ทะลุปรุโปร่ง จนจัดการกับอุปสรรคทั้งหลายออกไป ด้วยสติปัญญาของจิตวิญญาณครับ

    คุณ VeggieGuy : การกำจัดอุปสรรคดังกล่าว คงต้องใช้ "สติ" เป็นตัวกำกับครับ

    คุณ เด็กโชว์พาว : ก็คิดว่าคงไม่ต้องจริงจังอะไรมาก พอถึงเวลาก็คงจะได้ญาณได้อภิญญาที่ตัวเองหวังไว้เอาเอง และการที่เรารู้สึกมากด้วยความรักมันก็สามารถกำจัดอุปสรรคในการทำสมาธิทำให้จิตเรารวมไวขึ้นได้พร้อมกับขจัดความหวาดกลัวที่อยู่ในใจเราและสามารถนั่งต่อไปได้

    คุณ Eistein zipper : ต้องมุ่งมั่นกับการฝึกสมาธิให้มากกว่านี้ สรุปความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น และก็ศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้มากขึ้นเมื่อเกิดข้อติดขัดอะไรจะได้แก้ได้ตรงจุด

    คุณธรรมจิตต์ : ต้องอาศัยความเพียรพยายามและการเอาจริงเอาจังในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อให้เป็นความรู้ และการปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงทั้งในเรื่องของสมาธิและจิตวิญญาณ


    พี่นักเขียน : สำรวจความเชื่อของตนเอง และใช้ความเพียรในวันนี้อย่างดีที่สุดและสม่ำเสมอ

    ข้อนี้ พวกเราตอบคำถามได้ตรงประเด็น และตอบคำถามดียิ่งกว่าสองข้อแรกเป็นอันมาก ทำให้พี่นักเขียนได้เรียนรู้คำตอบดีๆมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง จากมุมมองของน้องๆทุกคน ต้องขอขอบคุณทุกคนเป็นอันมากค่ะที่สละเวลามาตอบคำถาม

    น่าคิดไหมคะว่า เราต่างก็มองเห็นและตระหนักได้ถึงอุปสรรคได้ชัดเจนกว่าเป้าหมาย และเราต่างก็รู้ถึงวิธีการขจัดอุปสรรคทั้งหมดได้อย่างทะลุปรุโปร่งเสียยิ่งกว่ารู้จักอุปสรรคของตนเองเสียอีก และบางคนก็ยังมองเห็นไปถึงอุปสรรคของผู้อื่นอีกด้วย

    ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นบทพิสูจน์ให้เราตระหนักถึงธรรมชาติความเป็นจริงที่ท่านอาจารย์อนาลัยได้กล่าวถึงเสมอๆว่า
    เธอทั้งหลายสร้างโลกแห่งความเป็นจริงด้วยความเชื่อของตนเอง เพราะเราต่างก็รู้เกมส์ชีวิตที่ตนเองสร้างขึ้น ตั้งแต่เป้าหมาย อุปสรรค และการกำจัดอุปสรรคเหล่านั้น แม้ว่าเราอาจจะหลงลืมเป้าหมาย หรือเป้าหมายอาจจะเลือนราง แต่อุปสรรคและความท้าทายทั้งหลาย คือ เกมส์ชีวิต

    การขจัดอุปสรรค เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อจิตวิญญาณที่มาถือกำเนิดเป็นร่างกายเนื้อหนัง เพราะจิตวิญญาณสร้างเกมส์ชีวิตนี้ขึ้นมาพร้อมด้วยเป้าหมาย ความท้าทายและอุปสรรคทั้งหลายที่จิตวิญญาณเลือกไว้ล่วงหน้า ความสำเร็จของจิตวิญญาณ ในการพัฒนาก้าวหน้า จึงหมายถึงการแก้โจทย์ หรือกำจัดอุปสรรคทั้งหลายเหล่านั้นได้

    ดังคำกล่าวของ Booker Washington ที่ว่า ความสำเร็จทั้งหลายไม่ใช่เป็นสิ่งที่วัดได้จากจุดสูงสุดในชีวิตที่เราไปถึง หากแต่เป็นสิ่งที่วัดได้จากความสามารถที่เราฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลาย

    [​IMG](rose)(rose)(rose)
     
  18. ธรรมจิตต์

    ธรรมจิตต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +419
    ก่อนอื่นข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณคุณพี่นักเขียนมากครับที่ให้ความกระจ่างในคำตอบของพวกเรา...ดีใจจังนึกว่าต้องมาสอบซ่อมซะแล้วววว!<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ดูๆแล้วก็เหมือนกับแนวทางของพระพุทธองค์เลยนะครับ ก่อนอื่นต้องรู้ว่าอะไรคือทุกข์ แล้วค้นหาว่าทุกข์มีเหตุมาจากอะไรหรืออะไรเป็นเหตุแห่งทุกข์ แล้วจึงค่อยหาทางดับทุกข์<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    พอสอบผ่านแล้วตอนนี้รู้สึกเครื่องร้อนอยากอ่าน"วิธีการฝึกสมาธิของพี่นักเขียน"เร็วๆจัง<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เพื่อนๆว่ายังงัยครับ?<o:p></o:p>
     
  19. เซลล์

    เซลล์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +310
    ขอบคุณครับพี่นักเขียน หากเรามองย้อนจากข้อ 3 ไปข้อ 2 และข้อ 1
    ทำให้เห็นเป้าหมายชัดเจนขึ้น ที่มีจุดร่วมกันตรงที่ว่า เป็นการแก้โจทย์ที่เราต่างสร้างกันไว้ครับ เหมือนนักผจญภัยที่ตามหาสมบัติอยู่เลย อิอิ

    เมื่อคืนฝันไปว่า ไปงานเลี้ยงรุ่น ที่ไม่ว่าอายุจะเท่าไร มางานนี้ก็ต้องแต่งชุดนักเรียนกันมา ทุกคนมาด้วยความสนุกสนานที่จะได้มาพบปะพูดคุยกัน

    แต่ละคนมาจากคนละที่ ทั้งจากป่าลึก จากที่ไกลแสนไกล ส่วนใหญ่จะมากันเป็นกลุ่ม ก่อนที่จะมางานเลี้ยงรุ่น ทุกคนรู้จักกันอย่างดี สนิทสนม เหมือนเป็นคนๆเดียวกัน

    แต่พอมาถึงงาน ได้มาพบเจอกัน บางคนก็จำกันได้ แต่บางคนก็ลืมกันซะสนิทเลย

    เครื่องร้อนรออยู่นานแล้วครับคุณธรรมจิตต์ อิอิ
     
  20. ธรรมจิตต์

    ธรรมจิตต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +419

    สงสัยเมื่อวานคุณเดรดพูดถึงสนามเด็กเล่นหลังโรงเรียนกระมังครับ เลยทำให้คุณเซลล์จินตนาการถึงอดีตตอนที่ยังเป็นนักเรียนอยู่ หรือไม่ก็นึกถึงเพื่อนๆที่เคยเรียนด้วยกันมา

    สองสามวันมานี้ข้าพเจ้าฝันถึงบุคคลในที่ทำงาน แล้วพอเช้ามาต้องเจอคนที่ฝันถึงเป็นคนแรกทุกที...แปลกดีเหมือนกันนะครับ

    ถ้าเครื่องร้อนทั้งคู่สงสัยเราคงต้องไปวิ่งแข่งกันในสนามเด็กเล่นของคุณเดรดก่อนดีกว่าครับ พอเหนื่อยเราก็ไปทานไอติมโบราณที่ใช้มีดตัดเป็นก้อนๆแล้วเอาไม้เสียบถือกันดีกว่าคุณเซลล์ อย่าลืมลอกกระดาษที่พันอยู่ออกด้วยนะครับ...ว่าแต่ว่าคุณเซลล์ชอบทานรสอะไร ส่วนของข้าพเจ้าขอเป็นรสทุเรียนครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...