เชิญร่วมอนุรักษ์พระกรุครับ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 10 พฤศจิกายน 2011.

  1. chailert

    chailert สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +5
    คุณยาสุดยอดทุกโพสต์ครับ:cool::cool::cool:
     
  2. chailert

    chailert สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณมากครับ
     
  3. yamie

    yamie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1,640
    ค่าพลัง:
    +1,520
    เออ หนะ ท่านคือใครเจ้าคะ รู้จักกันส่วนตัวหรือเปล่าคะ มาชมกันเอง :z12เดี๋ยวเจอข้อหาหน้าม้านะคะนั่น เดี๋ยวพี่ธรรมพลเก็บค่าโฆษณาในพื้นที่จะยุ่งนะเนี่ย
     
  4. yamie

    yamie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1,640
    ค่าพลัง:
    +1,520
    เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ สำหรับภาพมุมมองส่องขยาย

    ยาคิดว่าน่าจะเกิดจากการแกว่งโลหะในขบวนการสร้าง หรือ ขบวนการหลอมพระ เพื่อให้เกิดรอยคลื่นที่พื้นผิว ให้ผู้ที่ไม่ชำนาญมองดูเป็นร่องรอยของเกล็ดกระดี่ หรือ ทำเพื่อให้ผิวเรียบตึง อะไรประมาณนี้หรือหรือเปล่าคะ ( ถ้าความคิดเห็นพี่ๆและเพื่อนๆตรงตามความคิดเห็นของยา ยาขออนุญาติก๊อปปี้ภาพ เพื่อนำไปเปรียบเทียบเพื่อการศึกษานะคะ กำลังหาข้อมูลของเก๊และแท้ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพอยู่คะ ) แต่หากผิดพลาดต้องขออภัยด้วยนะคะ ด้วยความเคารพ

    ---- ยาสร้างบอร์ดและขยายภาพเนื้อหาความเก่าของพระ โลหะบางชนิด ที่ยาพอเข้าใจ สร้างบอร์ดความรู้ แบบขยายส่องดูเนื้อจะได้เข้าใจกันแบบชัดๆ แฟนยาบอกว่า แกว่งเท้าหาเสี้ยนนะนั่น จะไปขัดผลประโยชน์ของผู้อื่น เป็นภัยเข้าหาตนเอง แฟนยาเขาทักท้วงยาไว้ แต่ยาก็ตอบแฟนไปว่า ยาสร้างบอร์ดความรู้ ของยาที่ยาเสียค่าเช่า เพื่อต้องการให้ผู้ศึกษาค้นคว้าได้มองเห็นภาพอย่างเข้าใจ ถึงแม้เนื้อหาจะไม่คลอบคลุมทั้งหมด หรือ ชัดเจนทุกเรื่อง แต่ยาก็พยายามจะให้ผู้สนใจศึกษาได้มองเห็นภาพเบื้องต้น เพราะ ยาเองจากคนที่ไม่มีพื้นฐานความรู้เลยว่า พระเก่าเป็นแบบไหนยังไง เนื้ออะไรเก่าแบบไหนยังไงก็ไม่ทราบ ค้นคว้าที่กลูเกิล ก็มีแต่ภาพรวมที่ไกลตา จะส่องเนื้อหาและรายละเอียดเพื่อความเข้าใจก็ทำได้ยาก แล้วอะไรหรือเรียกว่าเก่า แล้ว สนิมตีนกา สนิมหยก เป็นไงนะ แล้ว เก่าแห้งๆผิวโลหะ ยังไง เกล็ดกระดี่เป็นแบบไหน สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานย่อมมองไม่เห็นภาพ มีแต่จินตนาการ คลำท้องช้างไปเรื่อยๆ การนำเสนอข้อมูลของยาแม้เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของความรู้ ยาเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อผู้ที่ไม่รู้ไม่มีพื้นฐาน สร้างความเข้าใจได้ระดับนึง ถึงจะไม่มากก็ตาม ยาไม่ใช่คนเก่ง ยาไม่ใช่เซียนพระ แต่ความรู้ที่มี และ การค้นคว้า และ ความเข้าใจในบางเรื่อง ยายินดีเปิดเผย และ สร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเพื่อบุคลอื่นๆ ซึ่งมันไม่มากพอที่จะให้โรงงานพระเก๊ล่มจมหรอกคะ เพราะ โรงงานพระผลิตพระเก๊ไม่รู้กี่หมื่นกี่พัน แบบ พันชนิด พันประเภท ยาถามตรงๆว่า ผู้เช่าหาสะสมพระ มีสักกี่คนที่แสวงหาความรู้ ศึกษาก่อนสะสม หมื่นคนพบกี่คน ดังนั้น จำนวนหมื่นคนนั้น จะเจอกระทู้ชี้แนะ และ หาคำตอบเนื้อหาสาระเกี่ยวกับพระเครื่องเก่า เป็นพื้นฐานความรู้กี่คน และ คนที่ไม่สนใจศึกษาเลยกี่คน ดังนั้น ไม่ว่าการนำเสนอแบบไหน หากบุคคลที่สาม ผู้เช่าซื้อไม่มีการค้นคว้า ก็ไม่ถือว่าทำให้เกิดความเสียหายต่อโรงงานพระเก๊ ถึงแม้จะมีการศึกษาเบื้องต้น แต่จะมีสักกี่คนที่ค้นคว้าหาคำตอบแบบจริงจัง และก็นั่น ยาเชื่อว่าไม่ทำให้โรงงานพระเก๊ถึงกับขายพระปลอมไม่ออก เพราะ บุคคลที่เช่าซื้อในจำนวนหมื่นคนยังมีอยู่มากคะ แล้วจะบอกว่ายาไปขัดแข้งขัดขาใครนั้น ยาว่าไม่น่าจะเป็นสาเหตุใหญ่ โดยเฉพาะบุคคลๆหนึ่งที่โนเนม ความเชื่อถือยังมีไม่มากนัก จึงทำให้การนำเสนอไม่เต็มร้อยในข้อมูล ( ยาก็โต้ตอบแฟนไปแบบนั้น ) แฟนบอกว่า ชอบเถียงข้างๆคูๆ อย่าคิดว่าคนอื่นจะต้องคิดแบบเรา การอยู่เฉยๆไม่ทำอะไรเลยจะส่งผลดีกว่านะคิดไหม ( ยาโต้กลับไปว่า ) เอ้า ถ้าความรู้เรามี ไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อการศึกษา เพื่อชนรุ่นหลัง แล้วเราจะเรียนรู้เพื่ออะไร วัฒนธรรมก็จะถูกกลืนหายความจริงเท็จ หาความเข้าใจกันไม่ได้ เพราะ ความรู้ไม่มีการถ่ายทอด ถ้าเราเห็นแก่ตัวแบบนี้ ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น พี่คิดเอาเองสิ แล้วย้อนกลับไปอีกว่า พี่ๆ พี่เห็นไหมลูกสนัขข้างบ้านยังไม่ลืม ฝนตกหนัก ยาวานข้างบ้านถัดไปช่วยดูให้ แต่บอกว่าคงไม่เป็นไร ลูกสนุขเกิดไม่ทันอาทิตย์ อยู่ในเบาะที่ชุ่มน้ำ เจ้าของบ้านไม่อยู่ ถามว่าจะให้นิ่งเฉยๆโดยที่มนุษย์ถกเถียง หรือ คิดว่าธุระไม่ใช่ แล้วผลจะเกิดอะไรขึ้นหละ ลูกสุนัขตาดำๆไม่รู้เรื่อง ต้องมารับกรรมเพียงเพราะมนุษย์มีความคิดที่เห็นแก่ตัวว่า ธุระไม่ใช่งั้นหรือ ( สรุปยาปีนป่ายกำแพงบ้านข้าง ข้ามรั้วแหลมๆ ไปช่วยเจ้าสี่ตัวที่ยังไม่ลืมตาออกจากเบาะน้ำที่ชุ่มโชก ด้วยสายฝนที่ตกลงมาใส่เป็นเวลาเกือบสามชั่วโมง ) ถ้าเราไม่เสียสละเพียงน้อยนิด สิ่งรอบตัวเราจะดูสวยงามหรือคะ ดังนั้น สิ่งที่เราทำลงไป เราไม่ได้ทำลายหรือทำให้โรงงานพระปลอมต้องเ๊งแน่ เพราะ เราเป็นแค่มดตัวเล็กๆและไม่น่าจะสำคัญพอให้เขาลดตัวลงมายุ่งกับเราหรอกคะ ( แฟนทำหน้าดุ แล้วบอกว่า เอออ เอาเหอะ อยากทำอะไรก็ทำ เถียงได้เรื่อยหละเรา )
     
  5. yamie

    yamie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1,640
    ค่าพลัง:
    +1,520
    สวัสดีเช้าวันใหม่คะ ทุกๆท่าน

    ขอนอกเรื่องพระกรุนิดนึงนะคะ มาดูคำถามที่คุณ jaturong สอบถาม และ หาคำตอบร่วมกันนะคะ ในการพิจารณาพระเนื้อโลหะ และ หลักการสังเกตุ ก่อนอื่นยาต้องขอออกตัวก่อนว่า ข้อมูลที่ยาโพสนั้น คือความเข้าใจของยาจะถูกต้องหรือไม่ ยายินดีรับฟังคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญและเพื่อนสมาชิกบอร์ด เพื่อความเข้าใจยิ่งๆขึ้น และ หากผิดพลาดประการใดยาขอต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้ด้วยคะ

    ขออนุญาติลงภาพขยายใหญ่ๆศึกษาเนื้อหานะคะ
    [​IMG]

    วิเคราะห์จากภาพ จะสังเกตุเห็นเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน พื้นผิวโลหะมีลักษณะที่เป็นคลื่น แต่หากสังเกตุดีๆจะเห็นว่า เนื้อพระด้านบนมีความแตกต่างกันอยู่มาก คือ การทับซ้อนผิวที่ซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลาหมอ และ รอยด่างของสีเนื้อพระที่ไม่สม่ำเสมอกันทั้งองค์ สังเกตุจากภาพด้านล่างอีกมุมมองนึงนะคะ จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ( สีอาจจะเพี้ยนไปบ้างแต่เน้นความเข้าใจลักษณะโครงสร้างของเกล็ดกระดี่ )

    [​IMG]
    [​IMG]


    หลายๆท่านอาจดูด้วยภาพและเข้าใจว่ามีลักษณะเป็นคลื่นผิว แต่แท้จริงๆแล้ว หากได้ส่องด้วยตาตนเองจะเห็นเส้นของตาเล็กๆและละเอียด เหมือนเส้นด้ายที่วิ่งไขว้กันไป จนทำให้เราดูเหมือนกับว่าพระมีพื้นผิวที่เป็นคลื่น เหมือนคลื่นทะเล

    ดูตัวอย่างภาพ ( สีเพี้ยนเนื่องจากการถ่ายคนละทีและคนละพื้นที่แสงสว่าง)

    [​IMG]

    สิ่งที่ควรรู้ พระมีสีพื้นผิวเกล็ดที่ไม่สม่ำเสมอกันทั้งองค์ และรายละเอียดที่มีรูปร่างเกล็ดที่ไม่เหมือนกัน ใหญ่บ้างเล็กบ้าง และ ที่สำคัญพระเนื้อโลหะที่มีอายุ จะคุณลักษณะพิเศษในการดูดซับน้ำได้ดีเยี่ยม ซึ่งสามารถทดสอบได้ง่าย โดยการนำน้ำมาหยดใส่ที่องค์พระ และ ลองสังเกตุการดูดซับน้ำที่แห้งไปในพื้นผิว โลหะเก่ามีความแห้งสนิท จะดูดซึมน้ำเข้าสู่พื้นผิวได้เร็วและมีความเหือดแห้งได้เร็วมาก

    สำหรับพระองค์นี้มีความแห้งตัวเร็วมากไม่ถึงสองนาที น้ำก็หายหมด
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    ปล.ภาพไม่ได้กำหนดขนาดอาจทำให้ดูไม่เรียบร้อย ต้องขออภัยด้วยนะคะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0096-vert.jpg
      IMG_0096-vert.jpg
      ขนาดไฟล์:
      629.7 KB
      เปิดดู:
      680
    • IMG_0176.JPG
      IMG_0176.JPG
      ขนาดไฟล์:
      276.4 KB
      เปิดดู:
      1,095
    • IMG_0145.JPG
      IMG_0145.JPG
      ขนาดไฟล์:
      266.3 KB
      เปิดดู:
      992
    • IMG_0113.JPG
      IMG_0113.JPG
      ขนาดไฟล์:
      639.2 KB
      เปิดดู:
      751
    • IMG_0264.JPG
      IMG_0264.JPG
      ขนาดไฟล์:
      475.6 KB
      เปิดดู:
      641
    • IMG_0257.JPG
      IMG_0257.JPG
      ขนาดไฟล์:
      408.8 KB
      เปิดดู:
      627
    • IMG_0269.JPG
      IMG_0269.JPG
      ขนาดไฟล์:
      472.5 KB
      เปิดดู:
      657
    • IMG_0256.JPG
      IMG_0256.JPG
      ขนาดไฟล์:
      325.4 KB
      เปิดดู:
      644
  6. jaturong_tun

    jaturong_tun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +2,473
    ขอบคุณครับ ผมอ่านเพลินเลย รบกวนคุณยาช่วยหาภาพของผิวโลหะมีการแกว่งโลหะเพื่อเปรียบเทียบกับองค์ของผม (เป็นวิทยาทานครับ) ลองหามาเปรียบเทียบทั้งพระปลอม พระแท้ (ผมหาไม่พบ) แต่ก็ไม่พบผิวแบบนี้ สงสัยว่า โมลทำด้วยอะไร และการแกว่งตัวของโลหะด้วยวิธีใด ขอบคุณครับ:cool::cool:
     
  7. neungpanu

    neungpanu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +18
    ขอบคุณครับสวยพอได้ไหมครับ พิมพ์ไหนพอจะทราบไหมครับ ใช่พิมพ์อกยืดไหมครับหรือว่าไรครับ ปล.ถึงหัลกแสนหรือเปล่าครับสำหรับการเช่า
    ขอบคุณครับ
     
  8. DHAMMAPHOL

    DHAMMAPHOL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,744
    ค่าพลัง:
    +2,105
    "ผมขอตอบตามตรงว่าผม ไม่แม่นพิมพ์ ครับส่วนเรื่องราคาเช่า/บุชาผมคิดว่า ราคาคงสูง เพราะเป็นพิมพ์ที่ นิยมที่สุด ครับ"
     
  9. yamie

    yamie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1,640
    ค่าพลัง:
    +1,520
    สวัสดีคะ คุณ jaturong
    การแสดงความคิดเห็นอย่างที่ยาบอกไว้ด้านบน ยาไม่สามารถรู้ได้หมดเสียทุกเรื่องรู้และเข้าใจเพียงบางอย่าง และ อีกหลายอย่างที่ยาต้องเรียนรู้ ซึ่งยาคิดว่าคุณ jaturong อาจจะทราบกรรมวิธีการหล่อพระได้ดีกว่ายา จะให้ยาอธิบายรายละเอียดปลีกย่อยนั้น ยาคงไม่สามารถตอบได้เพราะความรู้ที่มียังไม่มากพอ หากตอบไปแบบผิดๆจะทำให้ทุกคนหลงทางกันได้ ทางที่ดียาคงต้องไปรบกวนพี่ปั้นพระ หรือ พี่stoes ช่วยเข้ามาชี้แนะ และ ให้คำตอบเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องดีกว่าคะ หลักวิชาการของพี่ๆแน่นกว่าความรู้ของยาเยอะ และ แม่นยำ ยาเองจะได้เรียนรู้ศึกษาไปพร้อมๆกับเพื่อนๆสมาชิกบอร์ด ว่าโลหะแบบนี้เกิดจากอะไรกันแน่
     
  10. neungpanu

    neungpanu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +18
     
  11. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ผมไม่ได้เก่งอย่างที่คุณยาคิดหรอกครับ
    เพียงแต่ว่าผมทราบวิธีการหล่อโบราณ เดี๋ยวไปขอรื้อกระทู้เก่ามาให้จะดีกว่า
     
  12. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ผิวที่เกิดไม่ได้ใช้พิมพ์อะไร มีอย่างเดียวปั้นหุ้นเทียนขึ้นมา
    แล้วก็ทาด้วยดินขี้วัว แต่สมัยใหม่ทาด้วยดินหรั่ง
    เมื่อมีการเทของเหลวที่เป็นเนื้อโลหะผสมร้อน ๆ ลงไปในเบ้าแล้ว ความร้อนนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อวัสดุที่ห่อหุ้มได้ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้<O:p</O:p
    1.ทำให้เกิดฟองอากาศขึ้นมาได้ เพราะของเหลวนั้นเดือดอยู่ครับ<O:p</O:p
    2.ทำให้วัสดุที่ห่อหุ้มเกิดการขยายตัวหรือหดตัวด้วยความร้อนและความเย็นครับ<O:p</O:p
    3.ทำให้วัสดุที่ห่อหุ้มมีการหลุดร่อนและถูกยึดติดอยู่กับส่วนผสมของเนื้อโลหะได้ครับ

    ส่วนผิวมะระที่ผมรู้จักนั้นจริง ๆ นั้น
    ก็มีพระหล่อโบราณชินราชอินโดจีน 2485
    พิมพ์ต้อสร้างโดยช่างชาวจีน ผมสันนิฐานว่า
    ที่เกิดผิวมะระสูงบ้างต่ำบ้างเกิดจากตัวหุ้มหุ่น
    นุ่มจนเกินไปไม่แน่นพอเมื่อเทโลหะร้อน ๆ ลงไป
    จึงเกิดลักษณะของพื้นผิวพระที่ไม่เรียบพอ
    จึงเป็นที่มาของผิวมะระ ไม่ทราบว่าพอใจหรือเปล่าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2012
  13. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    จากลิ้งค์ http://palungjit.org/threads/อยากรู...**รูปหล่อ-และ-พระกริ่ง**เบื้องต้นครับ.299588/

    ขอตอบคุณอินโนเซนต์ก่อนเกรงว่าจะไม่มีเวลาตั้งกระทู้ใหม่
    ไว้ผมขอเรียบเรียงและว่างจะนำมาลงให้ นำมาจากเว็บแล้วผมจะเพิ่มเติมข้อมูล

    อีกในความคิดเห็นต่อล่างเลย

    การหล่อแบบโบราณ<O[​IMG]</O[​IMG]
    เป็นวิธีการที่ใช้ในการสร้างรูปหล่อ และเหรียญหล่อโบราณ มากมายในพระเครื่องต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศ เช่น รูปหล่อ-เหรียญหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิต รุ่นแรก, รูปหล่อหลวงพ่อเดิม เป็นต้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    ขั้นตอนการหล่อแบบโบราณ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้<O[​IMG]</O[​IMG]
    1) การขึ้นดินหุ่น คือการแกะหุ่นดินตามรูปพรรณสัณฐานที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาหล่อเป็นองค์พระต้องการ พระที่ได้ครั้งแรกนี้เรียกว่า “แกนหุ่นดิน” หรือต้นแบบ<O[​IMG]</O[​IMG]
    2) เข้ารูปขี้ผึ้ง เมื่อได้แกนหุ่นที่หล่อเรียบร้อยแล้ว จะนำขี้ผึ้งมาพอกองค์พระ แกะตกแต่งรายละเอียดด้วยเสนียด (ไม้ทองเหลืองปลายแบน) ความจริงเรื่องไม้เสนียดช่างที่หล่อพระองค์เล็กสมัยก่อนมีกันทุกคนเป็นไม้เสนียดจริง ๆ เป็นไม้เนื้อแข็งใช้ตกแต่งหุ้นเทียนเพื่อความสวยงาม ที่เรียกไม้เสนียด
    เป็นเคล็ดเพื่อกันเสนึยดจันไร กันคนว่ากล่าวไปในทางไม่ดี เพราะเวลาทำงานย่อมมีผิดพลาดได้
    จนเป็นที่พอใจก็จะได้รูปขี้ผึ้งองค์พระที่ต้องการจะให้เป็นในลักษณะอากัปกิริยาต่างๆ ตลอดจนลวดลายตามความประสงค์ของผู้แกะแบบ<O[​IMG]</O[​IMG]
    3) พอกดินขี้วัว เมื่อได้รูปขี้ผึ้งแล้วก็นำดินขี้วัว (นำขี้วัวมาคั้นน้ำผสมกับดินเหนียวและทรายให้ข้นจับตัวกันเหนี่ยวแน่น) ทำไม่จึงเป็นดินขึ้วัว เพราะดินขี้วัว มีเอ็นไซด์ซึ่งมีคุณสมบัติเมื่อเวลาพอกหุนและสุ่มไฟแล้วหุ้นมักจะไม่แตกเพราะมีความเหนียวทนทาน พอกให้ทั่วองค์พระหุ่นขี้ผึ้ง แล้วเจาะรูตรงปลายเพื่อให้ขี้ผึ้งไหลออกมาเมื่อถูกความร้อนสูง<O[​IMG]</O[​IMG]
    4) เทสารละลาย นำโลหะผสมที่หลอมละลายรวมกันเข้าที่แล้ว เทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ความร้อนจะทำให้ขี้ผึ้งละลายออกมาจากรูที่เจาะไว้เรียกว่า “การสำรอกขี้ผึ้ง” ตรงนี้การสำรอกหุ้นที่ใช้วิธีที่อธิบายแบบนี้
    ผมไม่ได้เรียนรู้แบบว่าเทแล้วให้ขึ้ผึ้งออกมามีแต่สุ่มหุ่นด้วยความร้อนก่อน และต้องใช้ความร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำแล้วค่อยเพิ่มความร้อนให้สูงในตอนท้ายเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในหุ้นและให้หุ่นค่อย ๆ ขยายตัวครับ และไล่เทียนที่อยู่ในหุ่น โลหะผสมจะเข้าแทนที่ขี้ผึ้งได้รูปองค์พระที่ต้องการ แต่ผมว่าวิธีที่ผมอธิบายจะดีกว่า<O[​IMG]</O[​IMG]
    5) การทุบเบ้าทิ้ง เมื่อกระบวนการต่างๆที่ผ่านมาสำเร็จด้วยดีแล้ว พอโลหะจับกันแข็งตัวและเย็นดีแล้ว ก็จะมีการทุบเบ้าดินที่หุ้มองค์พระไว้ออกให้หมด ดังนั้น จึงมีการเรียกพระหล่อโบราณว่า “พระพิมพ์เบ้าทุบ”<O[​IMG]</O[​IMG]
    พระหล่อโบราณที่ได้ ส่วนมากจะขาดความละเอียดของเส้นรูปพรรณเค้าหน้า และร่างกายเนื่องด้วยเครื่องมือแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโบราณ ขาดศักยภาพกระทำการ อีกทั้งโลหะผสมขาดการชั่งตวงวัด และควบคุม รวมถึงความร้อนที่สม่ำเสมอทั่วถึง ทำให้องค์พระขาดความคมชัด หากแต่ธรรมชาติของดินพอกหุ่นและความไม่พอดีของอัตราส่วนโลหะผสม ก็นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระหล่อโบราณ
    ที่ยากแก่การปลอมแปลง ตรงนี้จริงครับพระหล่อโบราณทำยากกว่าพระฉีดเยอะดินขี้เบ้าที่ติดอยู่กับเนื้อโลหะเมื่อได้รับความร้อน เกิดการหลอมรวมกินตัว ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของวรรณะตามซอกองค์พระ ก็ถือเป็นไม้ตายในการพิจารณาพระเก่า ให้ต่างจากพระใหม่ได้อีกประการหนึ่ง

    การเพิ่มเติมมิได้แสดงการลบหลู่ใด ๆ ทั้งสิ้นครับแต่เป็นแง่มุมหนึ่งให้ได้เข้าใจกันครับ<O[​IMG]</O[​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  14. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    การหล่อชนิดเนื้อโลหะต่าง ๆ

    1) นวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่างๆ 9 ชนิด มาหลอมรวมกัน นวโลหะที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสมได้แก่ พระในกลุ่ม พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มีสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศน์ ประกอบไปด้วย<O[​IMG]</O[​IMG]
    ชิน น้ำหนัก 1 บาท (1บาท = 15.2 กรัม)<O[​IMG]</O[​IMG]
    จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)<O[​IMG]</O[​IMG]
    เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท<O[​IMG]</O[​IMG]
    บริสุทธิ์ น้ำหนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)<O[​IMG]</O[​IMG]
    ปรอท น้ำหนัก 5 บาท<O[​IMG]</O[​IMG]
    สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท<O[​IMG]</O[​IMG]
    ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท<O[​IMG]</O[​IMG]
    เงิน น้ำหนัก 8 บาท<O[​IMG]</O[​IMG]
    ทองคำ น้ำหนัก 9 บาท<O[​IMG]</O[​IMG]
    นำโลหะทั้ง 9 นี้ มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง <O[​IMG]</O[​IMG]
    2) สัตตะโลหะ หมายถึง โลหะผสม 7 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, จ้าวน้ำเงิน, บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตะโลหะก็จะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่นๆ เป็นต้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    3) เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม 5 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, และทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากก็จะเป็นเหล็ก<O[​IMG]</O[​IMG]
    4) ทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆซึ่งเนโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    5) บรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสมระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่น โดยยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่บรอนซ์<O[​IMG]</O[​IMG]
    6) เมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆหลายชนิด อาทิเช่น เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน<O[​IMG]</O[​IMG]
    7) เมษสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสม เมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า “การเล่นแร่แปรธาตุ” นับเป็นโลหะที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวมจะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆไปด้วย สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ประกอบด้วยแร่ธาตุ 4 ชนิดคือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท<O[​IMG]</O[​IMG]
    8) สัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ<O[​IMG]</O[​IMG]
    9) ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    โลหะผสมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และพระเครื่อง อาจจะมีนอกเหนือจากนี้บ้างตามความสะดวกและความเชื่อในการสร้าง แต่ไม่เป็นที่รู้จักนิยมแพร่หลายเช่นที่กล่าวมา <O[​IMG]</O[​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  15. yamie

    yamie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1,640
    ค่าพลัง:
    +1,520
    ขอบพระคุณคะพี่สโตร์ เอ ไม่รู้พี่จะแวะมาอีกไหมนะคะ ยาว่าจะถามต่ออีกนิดนึงคะ จากภาพที่วงกลมไว้ เนื้อพระมีสีน้ำตาลเข้ม เกิดจากาเหตุใดคะ และ การแยกแยะขี้เบ้า เราสามารถนำมาจำแนกความเก่าและใหม่ของพระในยุคนั้นได้ใช่ไหมคะ เช่นขี้เบ้าเป็นผงสีขาวเหมือนผงปูน ก็เป็นพระยุคใหม่ เกจิสร้างกัน แต่หากเป็นดินขี้วัวพอก คือ พระเก่าของคนยุคก่อนๆใช่ไหมคะ

    [​IMG]

    [​IMG]

    ปล. แล้วพระคุณ jatu..... ถือว่าเป็นเนื้อพระที่เกิดจากขบวนการหลอมและดินขี้วัวที่พอกด้านนอกและหุ่นเทียน (ดินขี้เบ้าที่ติดอยู่กับเนื้อโลหะเมื่อได้รับความร้อน เกิดการหลอมรวมกินตัว ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของวรรณะตามซอกองค์พระ ก็ถือเป็นไม้ตายในการพิจารณาพระเก่า) คัดลอกเนื้อหามาเลยนะคะ ดังนั้น วรรณะผิวแบบพระของคุณ jatu ถือว่าเกิดจากดินพอกหลอมตัวกินในเนื้อพระหรือเปล่าคะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0007.JPG
      IMG_0007.JPG
      ขนาดไฟล์:
      294.2 KB
      เปิดดู:
      864
    • IMG_0024.JPG
      IMG_0024.JPG
      ขนาดไฟล์:
      439.8 KB
      เปิดดู:
      759
  16. yamie

    yamie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1,640
    ค่าพลัง:
    +1,520
    ต้องขอโทษที่รบกวน พี่ stoes หลายรอบคะ เมื่อวานอ่านเร็วเลยไม่เห็นข้อความคำตอบนี้ เพิ่งเปิดเจอคะ ขอบคุณมากคะที่ช่วยชี้แนะให้กระจ่าง ยายังคิดอยู่เลยว่าสงสัยยาต้องหาโรงงานหล่อพระไปขอเป็นลูกศิษย์ ศึกษาวิธีหล่อพระซะหน่อยแล้ว หรือไม่ก็ ไปขอศึกษาจากชาวบ้านที่มีอาชีพหล่อพระ ยาจะได้เข้าใจอะไรได้มากขึ้น มองเห็นภาพได้ชัดเจน อ่านแต่ตำรา เข้าใจยากจริงๆมองไม่เห็นภาพ เหอเหอเหอ
     
  17. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    การหล่อพระแบบโบราณ สายวัดสุทัศน์

    การหล่อแบบโบราณ<O[​IMG]</O[​IMG]
    เป็นวิธีการที่ใช้ในการสร้างรูปหล่อ และเหรียญหล่อโบราณ มากมายในพระเครื่องต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศ เช่น รูปหล่อ-เหรียญหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิต รุ่นแรก, รูปหล่อหลวงพ่อเดิม เป็นต้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    ขั้นตอนการหล่อแบบโบราณ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้<O[​IMG]</O[​IMG]
    1) การขึ้นดินหุ่น คือการแกะหุ่นดินตามรูปพรรณสัณฐานที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาหล่อเป็นองค์พระต้องการ พระที่ได้ครั้งแรกนี้เรียกว่า “แกนหุ่นดิน” หรือต้นแบบ<O[​IMG]</O[​IMG]
    2) เข้ารูปขี้ผึ้ง เมื่อได้แกนหุ่นที่หล่อเรียบร้อยแล้ว จะนำขี้ผึ้งมาพอกองค์พระ แกะตกแต่งรายละเอียดด้วยเสนียด (ไม้ทองเหลืองปลายแบน) ความจริงเรื่องไม้เสนียดช่างที่หล่อพระองค์เล็กสมัยก่อนมีกันทุกคนเป็นไม้เสนียดจริง ๆ เป็นไม้เนื้อแข็งใช้ตกแต่งหุ้นเทียนเพื่อความสวยงาม ที่เรียกไม้เสนียด
    เป็นเคล็ดเพื่อกันเสนึยดจันไร กันคนว่ากล่าวไปในทางไม่ดี เพราะเวลาทำงานย่อมมีผิดพลาดได้
    จนเป็นที่พอใจก็จะได้รูปขี้ผึ้งองค์พระที่ต้องการจะให้เป็นในลักษณะอากัปกิริยาต่างๆ ตลอดจนลวดลายตามความประสงค์ของผู้แกะแบบ<O[​IMG]</O[​IMG]
    3) พอกดินขี้วัว เมื่อได้รูปขี้ผึ้งแล้วก็นำดินขี้วัว (นำขี้วัวมาคั้นน้ำผสมกับดินเหนียวและทรายให้ข้นจับตัวกันเหนี่ยวแน่น) ทำไม่จึงเป็นดินขึ้วัว เพราะดินขี้วัว มีเอ็นไซด์ซึ่งมีคุณสมบัติเมื่อเวลาพอกหุนและสุ่มไฟแล้วหุ้นมักจะไม่แตกเพราะมีความเหนียวทนทาน พอกให้ทั่วองค์พระหุ่นขี้ผึ้ง แล้วเจาะรูตรงปลายเพื่อให้ขี้ผึ้งไหลออกมาเมื่อถูกความร้อนสูง<O[​IMG]</O[​IMG]
    4) เทสารละลาย นำโลหะผสมที่หลอมละลายรวมกันเข้าที่แล้ว เทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ความร้อนจะทำให้ขี้ผึ้งละลายออกมาจากรูที่เจาะไว้เรียกว่า “การสำรอกขี้ผึ้ง” ตรงนี้การสำรอกหุ้นที่ใช้วิธีที่อธิบายแบบนี้
    ผมไม่ได้เรียนรู้แบบว่าเทแล้วให้ขึ้ผึ้งออกมามีแต่สุ่มหุ่นด้วยความร้อนก่อน และต้องใช้ความร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำแล้วค่อยเพิ่มความร้อนให้สูงในตอนท้ายเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในหุ้นและให้หุ่นค่อย ๆ ขยายตัวครับ และไล่เทียนที่อยู่ในหุ่น โลหะผสมจะเข้าแทนที่ขี้ผึ้งได้รูปองค์พระที่ต้องการ แต่ผมว่าวิธีที่ผมอธิบายจะดีกว่า<O[​IMG]</O[​IMG]
    5) การทุบเบ้าทิ้ง เมื่อกระบวนการต่างๆที่ผ่านมาสำเร็จด้วยดีแล้ว พอโลหะจับกันแข็งตัวและเย็นดีแล้ว ก็จะมีการทุบเบ้าดินที่หุ้มองค์พระไว้ออกให้หมด ดังนั้น จึงมีการเรียกพระหล่อโบราณว่า “พระพิมพ์เบ้าทุบ”<O[​IMG]</O[​IMG]
    พระหล่อโบราณที่ได้ ส่วนมากจะขาดความละเอียดของเส้นรูปพรรณเค้าหน้า และร่างกายเนื่องด้วยเครื่องมือแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโบราณ ขาดศักยภาพกระทำการ อีกทั้งโลหะผสมขาดการชั่งตวงวัด และควบคุม รวมถึงความร้อนที่สม่ำเสมอทั่วถึง ทำให้องค์พระขาดความคมชัด หากแต่ธรรมชาติของดินพอกหุ่นและความไม่พอดีของอัตราส่วนโลหะผสม ก็นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระหล่อโบราณ
    ที่ยากแก่การปลอมแปลง ตรงนี้จริงครับพระหล่อโบราณทำยากกว่าพระฉีดเยอะดินขี้เบ้าที่ติดอยู่กับเนื้อโลหะเมื่อได้รับความร้อน เกิดการหลอมรวมกินตัว ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของวรรณะตามซอกองค์พระ ก็ถือเป็นไม้ตายในการพิจารณาพระเก่า ให้ต่างจากพระใหม่ได้อีกประการหนึ่ง

    การเพิ่มเติมมิได้แสดงการลบหลู่ใด ๆ ทั้งสิ้นครับแต่เป็นแง่มุมหนึ่งให้ได้เข้าใจกันครับ<O[​IMG]</O[​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  18. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เนื้อพระมีสีน้ำตาลเกิดจากคราบเบ้าเปลี่ยนสีเมื่อถูกเหงื่อจากมือเรา
    เพราะมือเรามีกรดเกลือจึงเปลี่ยนสี จุดหนึ่ง
    ส่วนโลหะเนื้อใน ถ้าเป็นทองเหลือง ผิวนอกก่อนถึงเนื้อในคือสีทอง
    ผ่านสีทองก็เป็นสีทองเหลืองธรรมดา แต่เมื่อถูกเหงื่อก็เปลี่ยนสี
    ตามแต่เนื่อโลหะนั้นทองเหลืองที่มีส่วนผสมอะไรมาก อย่างไรก็เหลืองนำ

    ส่วนโลหะที่เนื้อใน เป็นทองแดง ผิวนอกก่อนถึงเนื้อในคือสีแดงผิวไฟ
    เนื้อเมื่อถูกเหงือจะแดงค้ำ หรือถ้าคุณยานึกไม่ออกก็ไปที่ร้านเหล็กขอดูทองแดงผิวกลับแล้วก็จะเห็นภาพเอง

    ส่วนโลหะที่เนื่อใน เป็นเงิน ผิวนอกก่อนถึงเนื้อในคือสีเงินที่สว่างมาก
    เนื้อเมื่อถูกเหงื่อจะกลับดำ มีสีเดียวที่ไม่เปลี่ยนตามเหงื่อคือเนื้อทองคำ

    คำถามที่สอง....
    การแยกแยะขี้เบ้า เราสามารถนำมาจำแนกความเก่าและใหม่ของพระในยุคนั้นได้ใช่ไหมคะ เช่นขี้เบ้าเป็นผงสีขาวเหมือนผงปูน ก็เป็นพระยุคใหม่ เกจิสร้างกัน แต่หากเป็นดินขี้วัวพอก คือ พระเก่าของคนยุคก่อนๆใช่ไหมคะ ....

    ย่อมเป็นเช่นนั้นเสมอ ต่อเมื่อเป็นพระใหม่ที่ช่างประสงค์จะสร้างตามแบบฉบับโบราณได้นำดินขี้วัวทา
    และสร้างตามแบบฉบับของการหล่อโบราณแล้วอย่างไรพระนั้นก็ใหม่
    ให้พิจารณา พิมพ์และศิลปควบคู่ไปด้วยดีกว่าคุณยา
    และพระเก่าจริง ๆ บางองค์ก็ไม่หลงเหลือในสิ่งที่ว่านั้นแล้ว
    เว้นแต่จะสร้างใหม่แล้วจงใจเหลือสิ่งเหล่านี้ไว้
     
  19. yamie

    yamie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1,640
    ค่าพลัง:
    +1,520
    ขอบคุณคะ พี่ stoes
    ได้ความรู้เยอะแยะเลย หายข้องใจไปเปราะนึง ส่วนที่เหรอต้องสืบค้นต่อ สร้างความเข้าใจในตัวเองอีกระดับนึง ขอบพระคุณคะสำหรับคำชี้แนะและความรู้ต่างๆที่มอบให้นะคะ :cool:
     
  20. DHAMMAPHOL

    DHAMMAPHOL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,744
    ค่าพลัง:
    +2,105
    "กระทู้ส่วนรวมครับคุณยา ผมไม่ใช่เจ้าของกระทู้ครับ"
     

แชร์หน้านี้

Loading...