เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. super car

    super car เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +200

    ขอบพระคุณมากๆค่ะ :cool:
     
  2. dooddd

    dooddd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +4,855
    สอบถามครับ

    คือความคิด การระลึก การนึกถึง
    มีทั้งที่มีเจตนา กับไม่เจตนา ใช่หรือเปล่าครับ

    ผมเลือกศัพท์ที่จะถามจะอธิบายไม่ถูก คร่าวๆประมาณนี้ละกันครับ ขอบคุณครับ
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ความคิด การระลึก การนึก ต่างๆเหล่านี้ เกิดขึ้นจากใจ ยังทำให้มีการแสดงออกทางกาย และวาจา
    ฉะนั้นเจตนาจึงเป็นตัวกรรม ที่เคยได้ยินว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นั่นแหละ
    เจตนาจึงเกิดกับจิตทุกประเภททั้งที่เป็นกุศลจิต อกุศลจิต หรือ กิริยาจิต
    ซึ่งตรงกับพุทธพจ์ว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺยา กมฺมํ กาเย วาจาย มนสา
    ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ภิกษุทั้งหลาย เรา(ตถาคต)กล่าวว่าเจตนานั่นแหละ เป็นกรรม
    เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำโดยทางกาย ทางวาจา และใจ

    และเราก็อาจจะได้ยินคำว่าไม่มีเจตนา เช่นว่า ไม่มีเจตนาที่จะเหยียบสัตว์ให้ตาย
    ตรงนี้จะเห็นได้ว่าไม่มีเจตนาจริงๆ เพราะเรามีเจตนาที่จะเดิน แต่ไม่มีเจตนาที่จะเหยีบสัตว์ให้ตาย
    ฉะนั้นการเดินมีเจตนาอยู่จึงเป็นกรรม

    เอาลิ้งค์มาให้อ่านน่าสนใจครับ ต้องกดตรงเครื่องหมาย (+) ตัวอักษรขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่ออ่าน อยู่ข้างบนครับ
    http://122.155.190.19/puthakun/download/books/%E0%B8%AD.%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%20%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81.pdf
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 สิงหาคม 2012
  4. dooddd

    dooddd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +4,855
    เอ๋ แล้วที่ผมเจอนี้อะไรหว่า หรือว่าเป็นแค่อุปทาน

    ยกตัวอย่างเช่น

    เวลาสวดมนต์บูชาพระ นึกภาพเป็นผมกราบพระอยู่ มันมีอีกกระแสความคิดหนึ่งซึ่งผมคุมไม่ได้ พยายามปรามาศพระ (แต่กดไว้ได้)

    บางทีฟังเพลงแล้วติดหู มันก็มีกระแสความคิดหนึ่ง ร้องด๊ะไปเรื่อย ผมทำอะไรมันก็ร้องเพลงนั้นอยู่นั้น (ในความคิดนะ) ผมก็ทำเรื่องราวของผมไป มันก็ร้องเพลงไป

    ก็มีอะไรทำนองนี้อีกบ้างอ่ะครับ

    ซึ่งกระแสหนึ่งผมกระทำโดยเจตนาแน่นอน อีกหนึ่งนี้ผมไม่ได้ยุ่งอะไรเลย มันเป็นของมันแบบนั้นเอง
    แต่บางทีไอที่ผมว่ามันทำโดยไม่เจตนา บางทีตัวผมไปร่วมกะเค้าบ้างก็มี แบบเผลอตามไป อย่างงั้น

    แต่ถ้างั้น สิ่งที่ผมว่ามานี้คืออุปทานหรือครับ ขอช่วยหน่อยจ่ะ
     
  5. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741


    คุณต้องฝึกสติ ให้ทันความคิด คือก่อนเราลงมือกระทำอะไรทุกครั้ง มันจะมีความคิด
    ผุดขึ้นมาก่อน ถ้ามีสติเกิดทันความคิด เราเรียกว่า อโมหสัมปชัญญะ
    (ฟังมาจากพระท่านสอนค่ะ)

    เราคิดว่า คุณต้องหมั่นฝึกสติให้ทันความคิด เช่น คุณคันที่ขา
    คุณกำหนดรู้ทุกข์ที่เกิดจากการคัน คุณคิดจะเกา .....นี่แหล่ะคุณต้องจับ
    ตัวคิดตัวนี้ให้ได้ทันก่อนมือจะเคลื่อนไปเกา แล้วตามทันด้วยว่าจิตสั่งมือ
    ซ้ายหรือขวาไปเกา เพราะฉะนั้น การเคลื่อนมือไปเกาของคุณ คุณเห็น
    ปัจจุบันขณะเกา

    อันดับแรกคือ หมั่นระลึกสติให้ได้ให้มากในแต่ละวันก่อน ที่สำคัญถ้าสติ
    ยังระลึกได้ไม่มากในแต่ละวัน กำลังไม่มากพอ สติเกิดมากในแต่ละวัน
    ก็เหมือนมีดที่คม เฉือดอะไรก็ขาด การที่เราไม่ทันความคิด เพราะเราขาด
    การใส่ใจ คือขาดสตินั่นเอง
    แม้ขณะที่จิตนิ่ง ก็มีสติมาระลึกรู้ นิ่งก็ให้รู้
    เมื่อสติระลึกได้ อภิชฌาและโทรมนัส ก็ไม่อาศัยเกิดที่จิต

    การมีสติเกิดระลึกทันความคิด อภิชฌาและโทรมนัส ก็ไม่เกิดค่ะ

    ดังนั้นเอาจิตมางานกุศลให้มากค่ะ เช่นระลึกสติให้ได้เยอะๆ ในแต่ละวัน
    และงานอะไรก็ได้ให้ใจเกิดกุศลค่ะ

    และฝึกให้ทันความคิดก่อนทำสิ่งต่างๆ เช่น จะดื่มน้ำ...มันจะต้องความคิดจะผุดขึ้นก่อนใช่มั้ยคะ
    เวลาความคิดจะปรามาสเกิด สติมันจะทันกัน
    หากไม่ทันปรามาสไปแล้ว จะทุกข์ ก็มีสติกำหนดรู้ทุกข์
    และขอขมาพระรัตนตรัยตามไปเลยค่ะ
     
  6. dooddd

    dooddd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +4,855
    น่าจะใช่ครับ ขอดู ขอสังเกต ขอลองทำ ก่อนนะครับ
     
  7. dooddd

    dooddd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +4,855
    ขอถามเพิ่มครับ

    สติ คือจิตหรือเปล่าครับ

    หรือว่า สติ คือ ตัวรู้สัมผัสจากอาตนะทั้ง๖ หรือคือตัวอาตนะเลย

    แล้วคำว่า จิต คืออะไรกันแน่???? อ่านจากหน้าแรกแล้วแตกย่อยเยอะเกินไป เลยสงสัยครับ

    เริ่มหลงทางเองซะแล้ว เหะๆ
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สติ คือจิตหรือเปล่าครับ
    สติ เป็นเจตสิก ไม่ใช่จิตครับ

    หรือว่า สติ คือ ตัวรู้สัมผัสจากอาตนะทั้ง๖ หรือคือตัวอาตนะเลย
    สติ เป็นตัวระลึกรู้ตรงผัสสะ สติมิใช่อายตนะใดๆทั้งสิ้น

    แล้วคำว่า จิต คืออะไรกันแน่???? อ่านจากหน้าแรกแล้วแตกย่อยเยอะเกินไป เลยสงสัยครับ
    จิต เป็นธรรมชาติรู้อารมณ์ ???? อ่านหน้าแรกแล้วเข้าใจก็จะไม่สงสัยครับ

    เริ่มหลงทางเองซะแล้ว เหะๆ<!-- google_ad_section_end -->
    หลงแน่ครับถ้าขาดการศึกษาที่ถูกต้อง
     
  9. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    <center>พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    </center> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="50" width="600"><tbody><tr><td>
    [280] บุพนิมิตแห่งมรรค 7 (ธรรมที่เป็นเครื่องหมายบ่งบอกล่วงหน้าว่า มรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐจะเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ดุจแสงอรุณเป็นบุพนิมิตของการที่ดวงอาทิตย์จะอุทัย, แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดี, รุ่งอรุณของการศึกษา - a foregoing sign for the arising of the Noble Eightfold Path; precursor of the Noble Path; harbinger of a good life or of the life of learning)
    1. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร, มีมิตรดี, คบหาคนที่เป็นแหล่งแห่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี - good company; having a good friend; association with a good and wise person)
    2. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล, การทำศีลให้ถึงพร้อม, ตั้งตนอยู่ในวินัยและมีความประพฤติทั่วไปดีงาม - perfection of morality; accomplishment in discipline and moral conduct)
    3. ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ, การทำฉันทะให้ถึงพร้อม, ความใฝ่ใจอยากจะทำกิจหน้าที่และสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ดีงาม, ความใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ - perfection of aspiration; accomplishment in constructive desire)
    4. อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยตนที่ฝึกดีแล้ว, การทำตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของผู้ที่พัฒนาแล้วให้สมบูรณ์ ทั้งด้านกาย ศีล จิต และปัญญา [ที่จะเป็น ภาวิตัตต์ คือผู้มีตนอันได้พัฒนาแล้ว] - perfection of oneself; accomplishment in self that has been well trained; dedicating oneself to training for the realization one's full human potential; self-actualization)
    5. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ, การทำทิฏฐิให้ถึงพร้อม, การตั้งอยู่ในหลักความคิดความเชื่อถือที่ถูกต้องดีงามมีเหตุผล เช่น ถือหลักความเป็นไปตามเหตุปัจจัย - perfection of view; accomplishment in view; to be established in good and reasoned principles of thought and belief)
    6. อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท, การทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม - perfection of heedfulness; accomplishment in diligence)
    7. โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ, การทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อม, ความฉลาดคิดแยบคายให้เห็นความจริงและหาประโยชน์ได้ - perfection of wise reflection; accomplishment in systematic attention)

    เมื่อใดธรรมที่เป็นบุพนิมิต 7 ประการนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดมีในบุคคลแล้ว เมื่อนั้นย่อมเป็นอันหวังได้ว่าเขาจักเจริญ พัฒนา ทำให้มาก ซึ่งมรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐ คือจักดำเนินก้าวไปในมัชฌิมาปฏิปทา


    ดู
    [34] ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2, [293] มรรคมีองค์ 8.

    <table class="ref" width="100%"><tbody><tr valign="top"><td width="50%">S.V.30-31.
    Vbh.277
    </td><td>สํ.ม. 19/130-136/36</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  10. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ในการศึกษาพระอภิธรรม ในการอ่านพระสูตรแล้วเข้าใจได้ ไม่ว่ามากน้อยแค่ไหน
    ในการคบกัลยาณมิตรที่ประเสริฐด้วยคุณธรรมและให้ปัญญาแก่เรา
    การปฏิบัติธรรม การไม่มุสา การเผยแผ่ธรรม การฟังธรรม
    ล้วนแล้วแต่นำมาอธิษฐานบารมี โดยอธิษฐานให้เป็น
    พลวปัจจัยให้เกิดปัญญาญาณทั้งชาตินี้และชาติหน้า
    ตลอดชาติอย่างยิ่งจนถึงความพ้นทุกข์ คือมรรคผลนิพพาน

    ในเรื่องของปัจจัยนั้น การอธิษฐานเช่นนี้เป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย
    มีอานิสงค์มาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2012
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD id=postmessage_169 class=t_f>
    องค์ธรรมขององค์มรรค 8 ที่ในเจตสิก 52
    ..........[​IMG]
    ผัสสะ. เวทนา. สัญญา. เจตนา. เอกัคคตา. ชีวิตินทรีย์. มนสิการ.
    วิตก. วิจาร. อธิโมกข์. วิริยะ. ปีติ. ฉันทะ.

    โมหะ. อหิริกะ. อโนตตัปปะ . อุทธัจจะ.
    โลภะ. ทิฏฐิ. มานะ
    โทสะ. อิสสา. มัจฉริยะ. กุกกุจจะ..
    ถีนะ. มิทธะ.
    วิจิกิจฉา.
    สัทธา. สติ. หิริ. โอตตัปปะ. อโลภะ. อโทสะ. .....ตัตรมัชฌัตตตา.
    ................................................................กายปัสสัทธิ. .....จิตตปัสสัทธิ​
    สัมมาวาจา. สัมมากัมมันตะ. สัมมาอาชีวะ..................กายลหุตา........ จิตตลหุตา.
    ................................................................กายมุทุตา.........จิตตมุทุตา
    กรุณา. มุทิตา................................................กายกัมมัญญตา....จิตตกัมมัญตา​
    ................................................................กายปาคุญญตา....จิตตปาคุญญตา
    ปัญญา........................................................กายุชุกตา. ........จิตตอุชุกตา.....
    ..................................................................... . ... ..

    องค์มรรค 8

    1.ปัญญา = สัมมาทิฏฐิ
    2.วิตก= สัมมาสังกัปปะ

    3.สัมมาวาจา=สัมมาวาจา
    4.สัมมากัมมันตะ= สัมมากัมมันตะ
    5.สัมมาอาชีวะ = สัมมาอาชีวะ

    6.วิริยะ= สัมมาวายามะ
    7.สติ = สัมมาสติ
    8.เอกัคคตา=สัมมาสมาธิ

    1,2, ปัญญา
    3,4,5, ศีล
    6,7,8, สมาธิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 สิงหาคม 2012
  12. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    พระครูเกษมธรรมทัต (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)

    หนังสือทางสายนิพพาน ตอนบัญญัติ ปรมัตถ์ รูปนาม และการกำหนดปรมัตถ์ (ตอนที่11) ต่อจาก22-8-55

    ~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*

    ฉะนั้น สิ่งที่เป็นปรมัตถ์ทางตา ก็คือ สี กับตา เป็นรูป การเห็นเป็นนาม ส่วนเข้าไปรู้ว่านี่เป็นแจกัน เป็นดอกไม้ไม่ใช่การเห็นแล้ว ไม่ใช่การเห็นแจกันไม่ใช่การเห็<wbr>นดอกไม้ เห็นแจกันไม่ได้ เห็นดอกไม้ไม่ได้ สิ่งที่เห็นทางตา จะเห็นเพียงสีต่างๆ สลับกันอยู่แต่ที่มันรู้ว่าเป็น<wbr>แจกัน เป็นดอกไม้ คือ การนึกรู้ไม่ใช่การเห็น เป็นจิตที่เกิด ขึ้นที่ หทยวัตถุ มันจะไปนึกประมวล อาศัยความจำ คือถ้าเราไม่รู้มาก่อนว่านี่เขา<wbr>เรียก ว่าแจกัน เขาเรียกว่าดอกไม้ เราก็นึกถึงชื่อมันไม่ได้ เราก็แค่เห็นรูปร่าง ไม่รู้ว่ามันชื่ออะไร แต่เราเคยฟังมาแล้วว่า เขาเรียกว่าแจกัน เขาเรียกว่าดอกไม้ ดอกอะไร ชื่ออะไร มันจำไว้ได้ พอเห็นสีเหล่านี้ สัญญามันจำ ก็ประมวลรู้ว่านี่ชื่อแจกัน นี่ดอกไม้ ฉะนั้นในขณะที่รู้ว่าเป็นแจกัน เป็นดอกไม้ ขณะนั้นจิตมีอารมณ์เป็นบัญญัติ แต่ในขณะที่จิตมีอารมณ์เป็นบัญั<wbr>ตินั้น ในขณะนั้น ก็มีปรมัตถ์เกิดขึ้นปรมัตถ์ที่เ<wbr>กิดขึ้นนั้นก็คือสภาพจิตทางใจตั<wbr>วที่ เข้าไปรู้ว่า นี่คือแจกัน นี่คือดอกไม้ ตัวที่ไปรู้ว่าแจกัน ดอกไม้ คือจิต เป็นนามธรรม เป็นปรมัตถ์ ฉะนั้น ในขณะที่รู้ว่าเป็นแจกัน สิ่งที่เป็นปรมัตถ์ก็คือตัวจิต ทางใจคือตัวนึกตัวประมวล ถ้าสติเกิดขึ้นมาที่จะรู้ปรมัตถ<wbr>์มันจะรู้ขึ้นมาที่ใจสติมันรู้ท<wbr>ี่ใจ ในขณะที่เห็น สัมผัสสี ถ้าสติเกิดขึ้นก็กำหนดสีกำหนดสส<wbr>ภาพ เห็น พอมันเกิดรู้ไปว่าเป็นแจกัน เป็นดอกไม้เป็นคน สัตว์ สิ่งของอะไร ขณะนั้นปรมัตถธรรมคือ จิตกำลังคิดนึก สติก็ต้องรู้มาที่จิต พอรู้มาที่จิต สภาพการรู้เป็นดอกไม้บัญญํติเปล<wbr>ี่ยนไป อารมณ์มันเปลี่ยนไป อารมณ์มันเปลี่ยนมารู้ที่จิต ไม่ใช่รู้ดอกไม้ แจกัน มารู้ที่จิต มันก็เข้าทางสติมารู้ที่ปรมัตถ์<wbr> ไม่ใช่รู้บัญญัติ อันนี้เป็นทางหนึ่ง วิธีการหนึ่ง ทางอื่นๆ ก็เหมือนกัน

    ทางหู สิ่งที่เป็นปรมัตถ์ก็คือเสียงกั<wbr>บสภาพ ได้ยิน เสียงก็เป็นคลื่นปรมาณู ผ่านมากระทบกับประสาทหู ประสาทหูเป็นรูปเป็นฝ่ายรับ เสียงเป็นรูปเป็นฝ่ายกระทบ พอกระทบกันแล้วมันก็เกิดวิญญาณ เกิดความรับรู้ขึ้น วิญญาณหรือจิตที่เกิดทางหู เรียกว่า โสตวิญญาณจิต คือ สภาพได้ยิน ฉะนั้นเสียงเป็นรูป ได้ยินเป็นนาม เสียงกับได้ยินมันคนละอย่าง เสียงเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ได้ยินเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ฉะนั้น ขณะได้ยินเสียงถ้าสติระลึกรู้ก็<wbr>จะกำหนดสภาพได้ยินได้ถูก แต่ก็ขอเสนอไว้ว่า กำหนดมาที่สภาพการได้ยิน เพราะถ้ากำหนดไปที่เสียงมันมักจ<wbr>ะไป สู่สมมุติบัญญัติง่าย จะไปนึกว่าเสียงนั้นเสียงใคร เสียงคน เสียงสุนัข เสียงแมว เสียงนก เสียงเรือ นั่นเป็นสมมุติบัญญัติอารมณ์ แต่ถ้าเรากำหนดสภาพได้ยิน ได้ยินมันก็ตัดสมมุติบัญญัติออก<wbr>ไปก็คือ เป็นปรมัตถ์ ทีนี้ถ้ามันเลยไปแล้วล่ะ เราบังคับไม่ได้ บังคับจะไม่ให้มันเลยไปรู้ว่าเป<wbr>็นเสียงคนเสียงสัตว์ เราบังคับไม่ได้เลย เพราะความไวของจิต พอมันไปรู้ว่าเป็นเสียงคนเสียงส<wbr>ัตว์ มีความหมายอย่างนั้นๆ แสดงว่าขณะนั้นอะไรกำลังปรากฏปร<wbr>มัตถ์ อะไรกำลังปรากฏ ก็คือทางใจกำลังปรากฏ ไม่ใช่จิตทางหูแล้ว จิตทางใจมันรับช่วงมาทางใจ ไปรับรู้เป็นเรื่องราวต่างๆ ความหมายของเสียงนั้น ถ้าสติเกิดขึ้น สติจะต้องกำหนดปรมัตถ์ตามหลักกา<wbr>รของ พุทธศาสนา ก็ต้องกำหนดที่ใจ ในขณะแรกได้สินเสียงกำหนดที่หู ได้ยินๆ แต่มันเลยไปรู้ว่าเสียงคน เสียงสัตว์ กำหนดมาที่ใจ ใจคิดนึกไปถึงบัญญัติก็ให้กำหนด<wbr>มาที่ใจ ก็จะตัดอารมณ์บัญญัติออกไป

    หนังสือทางสายนิพพาน ตอนบัญญัติ ปรมัตถ์ รูปนาม และการกำหนดปรมัตถ์ (ตอนที่11)
    โพสโดย Admin/Porntip Kob Kaewkasikam



     
  13. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704


    เป็นบทที่ควรท่องจำสำหรับนักศึกษาชั้นมหาเอก (อภิธรรมบัณฑิต)


    เป็นคัมภีร์ที่ ๗
    มหาปัฏฐานมีความสำคัญยิ่งเป็นฐานที่ตั้งของความรู้ทั้งหมด.
    พระอภิธรรมพระพุทธองค์ท่านได้ตรัสรู้แล้วก็ได้นำมาพิจารณาอีกครั้งถึง ๗ วัน เป็นที่เบิกบานพระทัย รัศมีแผ่ซ่านไปทั่วพระวรกาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 สิงหาคม 2012
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ความรู้เล็กๆน้อยๆ เป็นเหตุให้มีความรู้มาก การนับตัวเลขเป็นภาษาบาลี
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    ๑. เอก,ปฐม, ๒. ทฺวิ, เทฺว, ๓. ติ, ๔. จตุ, ๕. ปญฺจ,
    ๖. ฉ, ๗. สตฺต, ๘. อฎฺฐ, ๙. นว, ๑๐. ทส,
    ๑๑. เอกทส, ๑๒. ทฺวาทส, พารส, ๑๓. เตรส, ๑๔. จตุทฺทส, จุทฺทส, ๑๕. ปนฺนรส, ปญฺจทส,
    ๑๖. โสฬส, ๑๗. สตฺตรส, ๑๘. อฏฺฐารส ๑๙. เอกูนวีสติ, อูนวีส, ๒๐. วีสติ, วีส,
    ๒๑. เอกวีสติ, ๒๒. ทฺวาวีสติ, พาวีสติ, ๒๓. เตวีสติ, ๒๔. จตุวีสติ, ๒๕. ปญฺจวีสติ,
    ๒๖. ฉพฺพีสติ, ๒๗. สตฺตวีสติ, ๒๘. อฏฺฐวีสติ. ๒๙. เอกูนตฺตึส, อูนตฺตึส, ๓๐. ตึส, ตึสติ,
    ๓๑. เอกตฺตึส, ๓๒. ทฺวตฺตึส, พตฺตึส, ๓๓. เตตฺตึส, ๓๔. จตุตฺตึส, ๓๕. ปญฺจตฺตึส,
    ๓๖. ฉตฺตึส, ๓๗. สตฺตตฺตึส, ๓๘. อฏฺฐตฺตึส, ๓๙. เอกูนจตฺตาฬีส, อูนจตฺตาฬีส, ๔๐. จตฺตาฬีส, ตาฬีส,
    ๔๑. เอกจตฺตาฬีส, ๔๒. เทฺวจตฺตาฬีส, ๔๓. เตจตฺตาฬีส, ๔๔. จตุจตฺตาฬีส, ๔๕. ปญฺจจตฺตาฬีส,
    ๔๖. ฉจตฺตาฬีส, ๔๗.สตฺตจตฺตาฬีส, ๔๘. อฏฺฐจตฺตาฬีส, ๔๙. เอกูนปญฺญาส, อูนปญฺญาส, ๕๐. ปญฺญาส, ปณฺณาส ​
    ๖๐. สฏฺฐี, ๗๐. สตฺสติ, ๘๐. อสีติ, ๙๐. นวุติ, ๑๐๐. สตํ, ๑.๐๐๐. สหสฺสํ, ๑๐.๐๐๐ ทสสหสฺสํ, ๑.๐๐.๐๐๐ สตสหสฺสํ, ลกฺขํ,
    ล้าน. ทสสตสหสฺสํ, โกฏิ. โฏฏิ,(=๑๐ล้าน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 สิงหาคม 2012
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ๑. เอก,ปฐม, อ่าน ว่า เอ-กะ (ปะฐะมะ)
    ๒. ทฺวิ, เทฺว, อ่านว่า ทะวิ ทะเว
    ๓. ติ, อ่านว่า ติ หรือบางทีใช้ ติ-กะ
    ๔. จตุ, อ่านว่า จะตุ
    ๕. ปญฺจ, อ่านว่า ปัน-จะ
    ๖. ฉ, อ่านว่า ฉะ หรือบางทีใช้ ฉะ-ระ(ฉฬ)
    ๗. สตฺต, อ่านว่า สัด-ตะ
    ๘. อฎฺฐ, อ่านว่า อัด-ถะ
    ๙. นว, อ่านว่า นะวะ หรือ บางทีใช้ นะ-วะ-กะ
    ๑๐. ทส, อ่านว่า ทะสะ
    ๑๑. เอกทส, อ่านว่า เอ-กะ-ทะ-สะ
    ๑๒. ทฺวาทส, พารส, อ่านว่า ทะวาทะสะ
    ๑๓. เตรส, อ่านว่า เต-ระ-สะ หรือ ตะ-เร-สะ


    ๑๔. จตุทฺทส, จุทฺทส, อ่านว่า จะ-ตุด-ทะ-สะ
    ๑๕. ปนฺนรส, ปญฺจทส, อ่านว่า ปัน-นะ-ระ-สะ ปัน-จะ-ทะ-สะ
    ๑๖. โสฬส, อ่านว่า โส-ระ-สะ (โส-ฬะ-สะ)
    ๑๗. สตฺตรส, อ่านว่า สัด-ตะ-ระ-สะ
    ๑๘. อฏฺฐารส อ่านว่า อะ-ตะ-ถา-ระ-สะ(อะ-ฏะ-ถา-ระ-สะ)
    ๑๙. เอกูนวีสติ, อูนวีส, อ่านว่า เอ-กู-นะ-วี-สะ-ติ (อู-นะ-วี-สะ)
    ๒๐. วีสติ, วีส, อ่านว่า วี-สะ-ติ
    ๒๑. เอกวีสติ, อ่านว่า เอ-กะ-วี-สะ-ติ



    ๒๒. ทฺวาวีสติ, พาวีสติ, อ่านว่า ทะ-วา-วี-สะ-ติ ( พา-วี-สะ-ติ )
    ๒๓. เตวีสติ, อ่านว่า เต-วี-สะ-ติ
    ๒๔. จตุวีสติ, อ่านว่า จะ-ตุ-วี-สะ-ติ
    ๒๕. ปญฺจวีสติ, อ่านว่า ปัน-จะ-วี-สะ-ติ
    ๒๖. ฉพฺพีสติ, อ่านว่า ฉับ-พี-สะ-ติ (ฉัพ-พี-สะ-ติ)
    ๒๗. สตฺตวีสติ, อ่านว่า สัด-ตะ-วี-สะ-ติ (สัต-ตะ-วี-สะ-ติ)
    ๒๘. อฏฺฺิฺฺฺิิิิิิิฐวีสติ. อ่านว่า อัดถะวีสะติ (อัฎ-ฐะ-วี-สะ-ติ)
    ๒๙. เอกูนตฺตึส, อูนตฺตึส, อ่านว่า เอ-กู-นัด-ตรึง-สะ (เอ-กู-นัต-ตรึง-สะ)
    (อู-นัต-ตรึง-สะ)


    ๓๐. ตึส, ตึสติ, อ่านว่า ตรึง-สะ ( ตรึง-สะ-ติ )
    ๓๑. เอกตฺตึส, อ่านว่า (เอ-กัต-ตรึง-สะ)
    ๓๒. ทฺวตฺตึส, พตฺตึส, อ่านว่า(ทะ-วัต-ตรึง-สะ)(พัต-ตรึง-สะ)
    ๓๓. เตตฺตึส, อ่านว่า (ตะ-เต-ตรึง-สะ)
    ๓๔. จตุตฺตึส, อ่านว่า จะ-ตุต-ตรึง-สะ
    ๓๕. ปญฺจตฺตึส, อ่านว่า ปัน-จะ-ตุ-ตรึง-สะ
    ๓๖. ฉตฺตึส, อ่านว่า ฉัต-ตรึง-สะ
    ๓๗. สตฺตตฺตึส, อ่านว่า สัต-ตัต-ตรึง-สะ(สัด-ตัด-ตรึง-สะ)
    ๓๘. อฏฺฐตฺตึส, อ่านว่า (อัด -ทัด -ตรึง-สะ) (อัฎ-ฐัต-ตรึง-สะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 สิงหาคม 2012
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ๓๙. เอกูนจตฺตาฬีส, อูนจตฺตาฬีส, อ่านว่า เอกูนะจัตตารีสะ(เอ-กู-นะ-จัด-ตา-รี-สะ)
    ๔๐. จตฺตาฬีส, ตาฬีส, อ่านว่า จัตตารีสะ(จัต-ตา-ฬี-สะ)
    ๔๑. เอกจตฺตาฬีส, อ่านว่า เอกะจัดตารีสะ(เอ-กะ-จัด-ตา-ฬี-สะ)
    ๔๒. เทฺวจตฺตาฬีส, อ่านว่า ทะ-เว-จัต-ตา-ฬี-สะ(ทะ-เว-จัด-ตา-รี-สะ)
    ๔๓. เตจตฺตาฬีส, อ่านว่า เต-จัต-ตา-ฬี-สะ(เต-จัด-ตา-รี-สะ)
    ๔๔. จตุจตฺตาฬีส, อ่านว่า จะ-ตุ-จัต-ตา-ฬี-สะ(จะ-ตุ-จัด-ตา-รี-สะ)
    ๔๕. ปญฺจจตฺตาฬีส, อ่านว่า ปัญ-จะ-จัต-ตา-ฬี-สะ(ปัน-จะ-จัด-ตา-รี-สะ)
    ๔๖. ฉจตฺตาฬีส, อ่านว่า ฉะจัตตาฬีสะ (ฉะ-จัด-ตา-รี-สะ)
    ๔๗.สตฺตจตฺตาฬีส, อ่านว่า สัต-ตะ-จัต-ตา-ฬี-สะ(สัด-ตะ-จัด-ตา-รี-สะ)
    ๔๘. อฏฺฐจตฺตาฬีส, อ่านว่า อัฎ-ฐะ-จัต-ตา-ฬี-สะ(อัด-ถะ-จัด-ตา-รี-สะ)
    ๔๙. เอกูนปญฺญาส, อูนปญฺญาส,
    อ่านว่า เอกูนะปัญญาสะ (เอ-กู-นะ-ปัน-ยา-สะ) อู-นะ-ปัญ-ญา-สะ(อู-นะ-ปัน-ยา-สะ)

    ๕๐. ปญฺญาส, ปณฺณาส อ่านว่า ปัญ-ญา-สะ(ปัน-นา-สะ)
    ๖๐. สฏฺฐี, อ่านว่า สัฎ-ฐี(สัด-ถี)
    ๗๐. สตฺสติ, อ่านว่า สัต-สะ-ติ(สัด-สะ-ติ)
    ๘๐. อสีติ,อ่านว่า อะ-สี-ติ
    ๙๐. นวุติ, อ่านว่า นะวุ-ติ บางทีใช้ นะวะติ
    ๑๐๐. สตํ, อ่านว่า สะตัง
    ๑.๐๐๐. สหสฺสํ, อ่านว่า สะ-หัส-สัง
    ๑๐.๐๐๐ ทสสหสฺสํ, อ่านว่า ทะ-สะ-สะ-หัส-สัง
    ๑.๐๐.๐๐๐ สตสหสฺสํ, ลกฺขํ, อ่านว่า สะ-ตะ-สะ-หัส-สัง(ละ-กุ-ขัง)
    ล้าน. ทสสตสหสฺสํ, โกฏิ. โฏฏิ,(=๑๐ล้าน) อ่านว่า ทะ-สะ-สะ-ตะ-สะ-หัส-สัง
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอบคุณปราบเทวดาครับ ที่ช่วยขยายเป็นภาษาไทย
    ผมเองไม่ได้เรียนภาษาบาลีมาครับ
    เห็นในหนังสือสอนภาษาบาลีก็คัดลอดเอามาเผื่อมีประโยชน์กับผู้สนใจบ้างครับ
     
  19. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD id=postmessage_168 class=t_f>
    องค์ธรรมของกิเลส 10 ที่ในเจตสิก 52
    ..........[​IMG]
    ผัสสะ. เวทนา. สัญญา. เจตนา. เอกัคคตา. ชีวิตินทรีย์. มนสิการ.
    วิตก. วิจาร. อธิโมกข์. วิริยะ. ปีติ. ฉันทะ.

    โมหะ. อหิริกะ. อโนตตัปปะ . อุทธัจจะ.
    โลภะ. ทิฏฐิ. มานะ
    โทสะ. อิสสา. มัจฉริยะ. กุกกุจจะ..
    ถีนะ. มิทธะ.
    วิจิกิจฉา.

    สัทธา. สติ. หิริ. โอตตัปปะ. อโลภะ. อโทสะ. .......ตัตรมัชฌัตตตา.
    ........................................... .................กายปัสสัทธิ. ......จิตตปัสสัทธิ
    สัมมาวาจา. สัมมากัมมันตะ. สัมมาอาชีวะ................กายลหุตา.......... จิตตลหุตา.
    .............................................................กายมุทุตา...........จิตตมุทุตา
    กรุณา. มุทิตา.............................................กายกัมมัญญตา....จิตตกัมมัญตา​
    .............................................................กายปาคุญญตา....จิตตปาคุญญตา
    ปัญญา.....................................................กายุชุกตา. ..........จิตตอุชุกตา..
    ...

    1.โมหะ 2. อหิริกะ 3. อโนตตัปปะ 4. อุทธัจจะ
    5. โลภะ 6. ทิฏฐิ 7. มานะ
    8. โทสะ
    9. ถีนะ
    10. วิจิกิจฉา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 สิงหาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...