อานิสงส์ไม่มีประมาณ ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างบันไดขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาท วัดลำจังหัน

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย tanakorn_ss, 5 มกราคม 2012.

  1. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อ้างอิง ข้อความจาก email sstanakorn@gmail.com

    พี่วราภรณ์ ศรีจันทร์ โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ชื่อพระพิเชศ จำนวน2000บาท เพื่อสร้างบันไดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 เวลาประมาณ12.00น.
    ได้โทรหาหลวงพ่อแล้วว่าจองขั้นที่ 19 ไว้ โดยให้สลักชื่อ ทองหล่อ-สงวน การเสถียร ด้านหนึ่ง และ วราภรณ์ ศรีจันทร์ - บุพการี อีกด้านหนึ่ง

    ไม่ทราบยังทำได้อยู่หรือเปล่า หลวงพ่อบอกได้ ให้ติดต่อบอกกับคุณธนกรเลย พี่เลยโอนเงินเข้า ต้องขออภัยส่งเงินทำบุญล่าช้ามาก ถ้าขั้นที่19 ไม่ได้ก็ขั้นไหนก็ได้ค่ะ

    และจะโอนเงินร่วมทำบุญทอดผ้าป่าอีกครั้งอาทิตย์หน้านะค่ะ
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ขอน้อมอนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านทั้งหมดทั้งมวลนะครับ ขออำนาจคุณศักดิ์สิทธิ์แห่งคุณพระรัตนตรัยและอำนาจครูบาอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวเนื่องในรอยพระพุทธบาทณ.วัดลำจังหัน แห่งนี้ และขอให้บุญนี้จงคุ้มครองรักษาอำนวยชัยป็นเหตุปัจจัยให้ท่านและผู้เกี่ยวเนื่องได้พ้นทุกข์ มีความสุข และสำเร็จที่ดีงามในทุกๆด้านนะครับ สาธุครับ..


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pay in_NEW.jpg
      pay in_NEW.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      51
  2. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747

    อัปเดทรายชื่อเจ้าภาพร่วมบุญสร้างบันได

    [​IMG]



    เรียนเจ้าภาพทุกๆท่านที่ร่วมทำบุญสร้างบันไดครั้งนี้ จะทำมากทำน้อยถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง กรุณาแจ้งชื่อ-นามสกุลจริงไว้ในเว็บบอร์ดนี้หรือPM หรือจะส่งมาทางเมล์
    ซึ่งจะขอนุญาตเก็บรายชื่อทุกท่านไว้ หากมีเจ้าภาพสร้างบันไดและมีเจ้าภาพสร้างวิหารหรือมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทจนครบแล้ว
    จะขึ้นทำเนียบจารึกชื่อผู้ร่วมบุญทุกๆท่านไว้บนยอดเขาแห่งนี้ไว้เพื่อเป็นที่ระลึกนะครับ
     
  3. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ทำไมพยายาม "ทำความดี" "ทำบุญ ให้ทาน" แต่ยังไม่เห็นผล?


    ถาม : ทำไมพยายามทำความดีทำบุญให้ทานในปัจจุบันแต่ยังไม่เห็นผล

    ตอบ : การทำความดีต้องทำให้ถึงใจ ให้ใจดีมีเมตตากรุณาจึงจะเป็นการทำบุญ เป็นการทำความดีอย่างแท้จริง การไปวัดทำบุญ การบวชเข้าพิธีอุปสมบทถือเป็นเรื่องภายนอก ที่สำคัญกว่าคือภายในจิตใจต้องเป็นบุญเป็นกุศล มีเมตตากรุณาจึงจะเป็นการทำความดีด้วยใจที่ดี เมื่อทำความดีด้วยใจที่ดีแล้วอานิสงส์ก็เห็นได้ในปัจจุบันคือความสุขใจ สบายใจ อย่างน้อยก็ไม่เกิดลังเลสงสัย เกิดคำถามว่า "ทำไมพยายามทำความดี ทำบุญทำทานในปัจจุบันแต่ยังไม่เห็นผล" แบบนี้

    อย่าง ไรก็ตาม การที่คนจำนวนมากรู้สึกว่าทำความดีแต่ยังไม่เห็นผลนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะกำลังประสบกับวิบากกรรมจากกรรมเก่าในอดีตหรือในชาติ ก่อน ๆ ซึ่งเป็นธรรมดาของวัฏสงสาร อย่าว่าแต่คนธรรมดาสามัญเลย แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเสื่อมลาภเสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เช่นกัน แต่พระองค์ทรงตั้งมั่นอยู่ในความดี ใจดีมีเมตตาตลอด ได้ลาภ-เสื่อมลาภ ได้ยศ-เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา สุข-ทุกข์ เป็นโลกธรรม 8 ที่ไม่แน่นอน ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งสำคัญกว่าสำหรับคุณภาพชีวิตก็คือ "ทำใจได้" และ "มีกำลังใจ" เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรมว่าทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว และหมั่นทำความดีต่อไป

    เรา อาจมีสงสัยว่าทำไมบางคนทำชั่วแต่ได้ดี เช่น คนปล้นธนาคารหรือนักการเมืองที่ทุจริตในหน้าที่ทำไมรวยล้นฟ้า สามารถเสวยสุขได้ในปัจจุบัน ขอให้เข้าใจว่ากรรมชั่วนั้นยังไม่แสดงผลในทันทีก็ได้ ส่วนที่เขาร่ำรวยอยู่นี้เป็นผลของกรรมดีในอดีตมากกว่า อย่างไรก็ดี เชื่อได้ว่าชีวิตบั้นปลายของเขาอาจจะไม่เป็นอย่างนี้ก็ได้ เมื่อกรรมชั่วออกผลแล้วไม่มีใครช่วยได้

    ยก ตัวอย่างกรณีของพระโมคคัลลานะที่ถูกโจร 500 คนลอบฆ่า เมื่อเห็นโจรมาก็อธิษฐานหายตัวบ้าง แปลงกายเป็นแมลงวันบ้าง เป็นอย่างนี้อยู่หลายครั้งจนเกิดความสงสัยว่าเหตุใดโจรเหล่านี้จึงคิดปอง ร้ายตน เมื่อพิจารณาดูพบว่าท่านมีวิบากกรรมที่ในอดีตชาติหนึ่งเคยฆ่าพ่อแม่ ซึ่งกรรมดังกล่าวได้ตามมาเห็นในชาตินี้

    นอก จากเรื่องกรรมเก่ากรรมใหม่แล้วเราต้องรู้จักปล่อยวางในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ต้องคิดให้ได้ว่ามีลาภก็มีเสื่อมลาภ เมื่อมียศก็มีเสื่อมยศ เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา เมื่อมีสุขก็ต้องมีทุกข์ ของพวกนี้ไม่แน่นอน ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นไม่ให้ใส่ใจ ของพวกนี้ก็เหมือนกับลมฟ้าอากาศ ไป ๆ มา ๆ ของมันอยู่อย่างนั้น ให้พิจารณาอยู่อย่างนั้น

    ให้ พิจารณาดูตัวเองทั้งความคิด คำพูด การกระทำ ให้เป็นศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ยินดียินร้าย ยกจิตให้อยู่เหนือปัญหา หมั่นสร้างกรรมดี หมั่นสร้างบารมี

    ถ้า ยังมีทุกข์อยู่ก็ต้องตั้งใจปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ถ้าเราทำสิ่งที่ถูกต้องเราก็ไม่ต้องกลัวอะไร ให้เชื่อมั่นว่าเราจะมีชีวิตที่ดีขึ้น

    นอก จากนี้ให้ฝึกสร้าง "กำลังใจ" ให้ตัวเองโดยให้เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรม "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" แต่ทำอย่างไรจึงจะสร้างกำลังใจเพื่อสร้างกรรมที่ดี เหตุที่ดีได้


    แนวทางในการสร้างกำลังใจคือ

    1. แสวงหากัลยาณมิตร ได้แก่ ครูบาอาจารย์ เพื่อน หนังสือธรรมะ เช่น "ทุกข์เพราะคิดผิด" ให้ลองอ่านดู มีโยมท่านหนึ่งอ่านหนังสือเล่มดังกล่าวทุกวัน แต่ไม่ใช่อ่านเฉย ๆ ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาคิดตามไปด้วย


    2. พิจารณา "โยนิโสมนสิการ" คือ การคิด คิด คิด คิด คิดให้ดี คิดให้ถูก เพื่อสร้างศรัทธา (ความเชื่อมั่น) วิริยะ (ความขยันหมั่นเพียร) สติ (การระลึกได้) สมาธิ (การตั่งจิตให้มั่น) ปัญญา (ความรอบรู้)



    คัดจากหนังสือ "โชคดีที่ได้รู้" โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

    https://www.facebook.com/aj.mitsuo
     
  4. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    คุณพี่วราภรณ์ ศรีจันทร์ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพผ้าป่า โอนเข้าบัญชีชื่อพระพิเชศฯ จำนวน 2,000 บาท โอนเข้าสาขาที่ทำการ เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 8 เมษายน ตอนเย็น

    กราบอนุโมทนาบุญพี่วราภรณ์ด้วยครับ
     
  5. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2556 ได้โอนเงินเพื่อร่วมบุญเป็นเจ้าภาพผ้าป่า 2000 บาท
     
  6. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ขอเชิญชมภาพ อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนยอดเขา

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]




     
  7. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อัปเดทต่อ ภาพชาวบ้านพร้อมคณะสงฆ์ร่วมทำพิธีบวงสรวงพระ​


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


     
  8. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ขอเชิญคลิกชม วิดีโอ อัญเชิญพระขึ้นบนยอดเขา เพื่อประดิษฐานไกล้รอยพระบาท
    ณ.วัดลำจังหัน(ธ)

    วิดีโอ0002 - YouTube

    วิดีโอ0004 - YouTube



    เรียนเจ้าภาพทุกท่าน จำนวนขั้นบันได แต่เดิมนั้นได้คาดการณ์ไว้ที่ 400 ขั้นโดยใช้งบประมาณ 800,000บาท แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยเอื้ออำนวยในการจัดสร้างซึ่งอาจจะต้องสร้างบันไดเพิ่มอีกเป็น 720 ขั้น เป็นงบประมาณ 1,500,000 บาท และปัจจุบันนี้ทางวัดได้นำปัจจัยที่เจ้าภาพได้ร่วมบริจาคสร้างบันไดไปแล้ว 89 ขั้น


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    ครูบาพิเชศ
    เบอร์ติดต่อ: 0861051776
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2013
  9. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [FONT=&quot] อานิสงส์การกราบไหว้บูชารอยพระพุทธบาท[/FONT][FONT=&quot],พระพุทธหัตถ์และพระบรมสารีริกธาตุ [/FONT]

    "[FONT=&quot]บุคคลใด คือคฤหัสถ์หรือนักบวชทั้งหลาย[/FONT] [FONT=&quot]ทั้งหญิงทั้งชายได้มีใจบังเกิดความศรัทธาเลื่อมใส[/FONT] [FONT=&quot]ในการคัดลอกตำนานเรื่องนี้[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยตนเองก็ดีได้มีจิตรำลึกคิดถึงเรื่องราวของตำนานก็ดี[/FONT] [FONT=&quot]ได้สักการะบูชาด้วยสิ่งของต่างๆเป็นต้นว่า ข้าวตอก ดอกไม้ ข้าว[/FONT] [FONT=&quot]ปลาอาหารแก้วแหวนเงินทอง ธูปเทียน ฉัตรเงินฉัตรทองและธง[/FONT]
    [FONT=&quot]ด้วยความเคารพอย่างยิ่งก็ดี[/FONT] [FONT=&quot]ได้จดจำเรื่องราวของตำนานไว้ก็ดีได้บอกเล่าให้ท่านผู้อื่นฟังก็ดี[/FONT] [FONT=&quot]ได้แสดงความเคารพด้วยกาย ด้วยวาจา[/FONT] [FONT=&quot]และด้วยใจก็ดีได้เทศน์ให้คนและเทวดาทั้งหลายฟังก็ดีเมื่อเทศน์หรือเมื่อฟัง[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยความเคารพเกิดความเลื่อมใสยินดีในพระ พุทธบาทและพระบรมธาตุ[/FONT] [FONT=&quot]ที่พระพุทธเข้าทรงพระมหากรุณาธิคุณเสด็จไปเผยแผ่และทรงเหยียบรอยพระพุทธบาท[/FONT] [FONT=&quot]และประดิษฐานพระบรมธาตุไว้[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อครั้งพระยังทรงพระชนม์อยู่ก็ดีและเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไป[/FONT] [FONT=&quot]แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]พระอรหันตสาวกทั้งหลายได้อัญเชิญพระบรมธาตุไปประดิษฐานไว้เพื่อเป็นที่[/FONT] [FONT=&quot]สักการะบูชาของคนและเทวดาทั้งหลายก็ดี[/FONT] [FONT=&quot]บุคคลชายหญิงคฤหัสถ์และนักบวชทั้งหลายนั้นก็จะได้ผลานิสงส์เป็นอันมาก[/FONT] [FONT=&quot]จนไม่อาจที่จะกำหนดนับได้ ท่านทั้งหลายที่กระทำดังกล่าวมา[/FONT] [FONT=&quot]ได้ชื่อว่าเป็น"อวินิปาตบุคคล"คือบุคคลที่ไม่มีโอกาสได้ไปเกิดในอบายภูมิ[/FONT] [FONT=&quot]ทั้งสี่มีแต่จะพุ่งดิ่งตรงต่อพระนิพพานเพราะบุคคลผู้นั้นเสมอดังได้รู้ได้[/FONT] [FONT=&quot]เห็นและได้ปฏิบัติอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา[/FONT]

    [FONT=&quot]ประการหนึ่งเสมอดังได้พูดได้คุยได้ ถามปัญหาซึ่งพระพุทธเจ้าทุกวันทุกเวลา[/FONT]
    [FONT=&quot]ประการหนึ่งเสมอดังได้เดินตามหลังพระพุทธเจ้าทุกบาท[/FONT]
    [FONT=&quot]ทุกก้าว[/FONT]
    [FONT=&quot]ประการหนึ่งเสมอดังได้ปลูกสร้างพระเจดีย์พระวิหารอันเป็นที่สำราญของพระบาทและ พระธาตุเจ้าทั้งหลายที่ได้กล่าวมาทุกแห่ง[/FONT]
    [FONT=&quot]ประการหนึ่งเสมอดังได้บำเพ็ญกุศลส่วนบุญด้วยปากด้วยกาย และด้วยใจทุกเวลา[/FONT]

    [FONT=&quot]ด้วยเดชแห่งผลานิสงส์ดังนี้จะอุปถัมภ์ค้ำชูอุดหนุนให้ตั้งอยู่ในทางสัมมาปฏิบัติประกอบด้วยยศศักดิ์ชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ เป็นผู้ ฉลาดมีญาณปัญญายิ่งกว่าคนทั้งหลาย ภัยอันตรายต่างๆ ก็ดี โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็ดีอุบาทว์และศัตรูต่างๆ ก็ดี ย่อมระงับดับหายไป[/FONT] [FONT=&quot]จะสัมฤทธิ์สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สิ่งของเงิน ทองข้าวเปลือกข้าวสาร ทั้งปศุสัตว์ จักอุดมด้วยฤทธิ์เดชยิ่งนัก จะประสบสุขในชาตินี้และชาติต่อๆ ไป ยิ่งกว่าคนและเทวดาทั้งหลายหากมีบุญสมภารมากก็จะได้ถึงพระนิพพานในศาสนาของพระพุทธเจ้าโคตมะนั้นแน่นอน[/FONT]

    [FONT=&quot]แม้นว่าบุญสมภารยังไม่บริบูรณ์เต็มที่ยังจะต้องท่องเที่ยวเวียนวนอยู่ในวัฏฏสงสารจะไม่ได้ไปเกิดในอบายภูมิทั้งสี่แม้แต่ครั้งเดียวจะได้เห็นพระศรีอาริยเมตไตรย และจะได้มรรคผลในศาสนาของพระองค์อย่างเที่ยงแท้แน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย ดังนี้แลฯ "[/FONT]

    [FONT=&quot]อ้างอิงจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก[/FONT]
    ��¾�оط��ҷ����ʡŪ�ٷ�ջ
     
  10. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ข้อพิจารณา ว่าด้วยเรื่องกฐิน

    [​IMG]

    ๑. กฐิน หมายถึงผ้าพิเศษที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพุทธานุญาตเฉพาะกฐินกาล เป็นกาลทาน ในปีหนึ่งมีเขตกฐินเพียง ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วันออกพรรษา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตามศัพท์ กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับตัดจีวร ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียก สังฆกรรมอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพุทธานุญาตแก่พระภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ ๕ รูป ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในวัดเดียวกัน และเป็นผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส (๓ เดือน) ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยไม่ขาดพรรษาเพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของพระภิกษุสงฆ์ โดยพระภิกษุสงฆ์พร้อมใจกันมอบผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน (ไตรจีวร : สบง จีวร สังฆาฏิ) ที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้มีคุณสมบัติสมควรแก่การรับผ้ากฐินผืนนั้น พระภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ควรเป็นภิกษุผู้รู้ธรรม ๘ ประการ มีบุพพกรณ์ เป็นต้น ได้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เป็นผู้ดำเนินการกรานกฐินในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเจ้าภาพถวายผ้ากฐินสำเร็จรูปก็ตาม พระภิกษุผู้เป็นองค์ครองกฐินจะต้องมีคุณสมบัติอันสมควรนี้ และเมื่อทำผ้าจีวรได้สำเร็จแล้ว จะต้องประกาศให้คณะสงฆ์รับทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อคณะสงฆ์อนุโมทนาแล้ว พระภิกษุองค์ครองจึงจะมีสิทธิในผ้ากฐินนั้น และพระภิกษุในวัดทุกรูปมีสิทธิได้รับอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ ตามพระพุทธานุญาต

    ๒. พระพุทธานุญาตเรื่องกฐิน กฐินเป็นพระพุทธานุญาตพิเศษกว่าเรื่องอื่นๆ เช่นการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือการถวายน้ำปานะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงประทานอนุญาต เมื่อมีผู้ศรัทธามาทูลขอพระพุทธานุญาต เรื่องถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายน้ำปานะ แต่เรื่องกฐินไม่มีผู้ใดมาทูลขอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระพุทธานุญาตด้วยพระองค์เอง

    ๓. พระพุทธประสงค์เรื่องกฐิน
    พุทธประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงพุทธานุญาตให้พระภิกษุกรานกฐินนั้น คือ
    ๑) เพื่อให้พระภิกษุได้พักผ่อน พอพื้นดินแห้งสมควรแก่การเดินทาง
    ๒) เพื่อสงเคราะห์ ให้พระภิกษุได้เปลี่ยนผ้าครอง
    ๓) เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่สงฆ์ ได้ช่วยกันตัดเย็บจีวรเป็นผ้ากฐิน
    ๔) เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ ได้รับอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ

    ๔. จีวร หมายถึง ผ้าทุกชนิดที่ชนทั้งหลายถวาย ไม่ว่าจะเป็นกาลจีวรก็ดี อกาลจีวรก็ดี อัจเจกจีวรก็ดี วัสสิกสาฏิกาก็ดี ผ้านิสีทนะก็ดี ผ้าปูลาดก็ดี ผ้าเช็ดหน้าก็ดี (ฯลฯ)
    ถ้าเป็นผ้า ๓ ผืน เรียกว่าไตรจีวร (จีวร ๓ ผืน)
    ถ้าเป็นผ้า ๒ ผืน เรียกว่าไทวจีวร (จีวร ๒ ผืน)
    ไตรจีวรคือ อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าทาบคลุมกันหนาว) ในความหมายโดยทั่วไป เข้าใจกันว่า จีวร คืออุตตราสงค์ (ผ้าห่ม)
    จากพระวินัยปิฎกมหาวรรค จีวรขันธกะ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม ๗/๙๑ น. ๒๖๔ ความว่า : พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพุทธานุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ จีวรทำด้วยเปลือกไม้ ๑ จีวรทำด้วยฝ้าย ๑ จีวรทำด้วยไหม ๑ จีวรทำด้วยขนสัตว์ ๑ จีวรทำด้วยป่าน ๑ จีวรทำด้วยของเจือกัน ๑ (จากวัสดุ ๕ ชนิดมาปนกัน)
    จีวร นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระพุทธานุญาตให้ตัดอย่างคันนาชาวมคธ ดังมีเรื่องกล่าไว้ในพระวินัยปิฎกมหาวรรค จีวรขันธกะ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม ๗/๙๑ น. ๒๗๕ ความว่าครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ เสด็จพุทธดำเนินไปทางทักขิณาคีรีชนบท ได้ทอดพระเนตรเห็นคันนาของชาวมคธสวยงาม มีจังหวะเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงตรัสถามพระอานนทเถระว่า สามารถตัดจีวรของพระภิกษุให้เหมือนนาของชาวมคธได้หรือไม่ พระเถระทูลสนองว่า สามารถตัดได้และได้ตัดเป็นตัวอย่างสำหรับพระภิกษุหลายรูปไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโปรดและสรรเสริญพระอานนทเถระว่าเป็นผู้ฉลาด เป็นคนเจ้าปัญญา ทรงอนุญาตให้ใช้จีวรตัด และใช้แบบที่พระอานนทเถระถวายเป็นตัวอย่าง เป็นต้นมา

    ๕. การประชุมทำผ้ากฐินในครั้งพุทธกาล เป็นการประชุมใหญ่มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ ว่า : ครั้งเมื่อพระอนุรุทธเถระ ได้ผ้าบังสุกุลมา จะทำจีวรเปลี่ยนผ้าครองสำรับเก่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ เสด็จเป็นประธานในวันนั้นพร้อมพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พร้อมพระอสีติมหาสาวกร่วมประชุมช่วยทำ พระมหากัสสปะเถระนั่งอยู่ต้นผ้า พระมหาสารีบุตรเถระนั่งอยู่ท่ามกลาง พระอานนทเถระนั่งอยู่ปลายผ้า พระภิกษุสงฆ์ช่วยกันกรอด้าย พระบรมศาสดาทรงสนเข็ม พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นผู้อุดหนุนกิจการทั้งปวง แสดงถึงพลังความสามัคคีของพระภิกษุสงฆ์ อันเป็นพระพุทธประสงค์ในการทำผ้ากฐิน

    ๖. กฐินเป็นกาลทาน ใน ๑ ปี มีเขตกฐิน เพียง ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วันออกพรรษา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ถ้าพ้นเขตกฐินแล้ว แม้จะไปทอดกฐินก็ไม่เป็นกฐิน ไม่ได้อานิสงส์กฐิน จะได้แต่เป็นอานิสงส์ของสังฆทาน หรือผ้าบังสกุล

    ๗. พระภิกษุองค์ครองผ้ากฐิน ควรเป็นภิกษุผู้ได้รับการอุปสมบทด้วย "ญัตติจตุตถกรรม" โดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย ด้วยกล่าวขออุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์และคณะสงฆ์ต่อหน้าพระประธานองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าภายในพระอุโบสถ ด้วยคำกล่าว "อุกาสะ วันทามิ ภันเต..." อันมีเหตุมาแต่สมัยพุทธกาล (ดังเรื่องพระราธพราหมณ์ ข้อ ๒๖)

    ๘. พระภิกษุองค์ครองผ้ากฐิน จะต้องเป็นผู้รู้ธรรม ๘ ประการ คือ
    ๑) รู้จักบุพพกรณ์(บุพพกิจ) ๒) รู้จักถอนไตรจีวร ๓) รู้จักอธิษฐานไตรจีวร ๔) รู้จักกรานกฐิน ๕) รู้จักมาติกา ๖) รู้จักปลิโพธ กังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน ๗) รู้จักการเดาะกฐิน ๘) รู้จักอานิสงส์กฐิน แล้วจึงกรานกฐิน หากภิกษุองค์ครองไม่รู้ธรรม ๘ ประการ อานิสงส์ก็น้อยลงตามลำดับ หรือไม่ควรเป็นผู้รับผ้า (เป็นเรื่องของสงฆ์ที่จะต้องรู้และศึกษาวิธีในการกรานกฐิน) เมื่อเป็นผ้าสำเร็จรูปแล้ว ภิกษุองค์ครองต้องประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์อนุโมทนาแล้ว จะได้รับอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ ขยายยาวออกไปถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ (ปกติพระภิกษุได้รับอานิสงส์พรรษา มีกำหนด ๑ เดือน แม้จะไม่ได้กรานกฐิน)

    ๙. พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นปกตัตตะภิกษุ คือเป็นพระภิกษุปกติไม่ต้องโทษ ไม่ต้องอาบัติ พระภิกษุที่ต้องอาบัติข้อใดข้อหนึ่งควรปฏิบัติดังนี้ สำหรับ ครุกาบัติ (อาบัติหนัก : ปาราชิก สังฆาทิเสส) ถ้าภิกษุต้องอาบัติปาราชิกควรลาสิกขาบทจากความเป็นภิกษุทันที ส่วนภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสควรเข้าปริวาสกรรมทันที ส่วนลหุกาบัติ (อาบัติเบา) สามารถปลงอาบัติได้ พระภิกษุควรปลงอาบัติทุกวัน เพื่อพ้นจากอาบัติ และบริสุทธิ์ พร้อมในการปฏิบัติธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงป้องกันพุทธสาวกของพระพุทธองค์ โดยทรงพุทธานุญาตให้ปลงอาบัติ เปิดเผยความผิด การปลงอาบัติมีพลานิสงส์มาก ทำให้กลับมาเป็นปกตัตตะภิกษุได้ตามเดิม

    ๑๐. สังฆราชี วัดใดหากพระภิกษุในวัดเดียวกันทะเลาะกัน โกรธ ไม่พูดจากัน ขัดใจกัน เป็นสังฆราชี (ความร้าวรานของสงฆ์) เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พระภิกษุทุกรูปจะต้องประชุมกันเพื่อทำสังฆกรรมที่เรียกว่า มหาปวารณา คำว่า "มหา" มีความหมายลึกซึ้งตั้งแต่ มหากุศลในกามาวจร มหากุศลในรูปาวจร มหากุศลในอรูปาวจร และมหากุศลในโลกุตตระ เมื่อกระทำกุศลถูกต้องตามพระธรรมวินัยจิตสามารถดำเนินเข้าสู่กระแส มัคค ผล นิพพาน ได้ แต่ถ้าละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอกุศลจิต ก็มี "มหานรก" เป็นที่รองรับ วันมหาปวารณาเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์สามารถว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน ตามหลักธรรมของพระธรรมวินัย มีการบอกกล่าวความขัดใจ ความไม่พอใจความโกรธซึ่งกันและกันได้ และจะมีการงดโทษหรือยกโทษให้แก่กันและกัน หากวัดใดยังมีพระภิกษุที่ยังไม่คืนดีต่อกัน ยังโกรธกัน ไม่พูดดีต่อกัน วัดนั้นไม่มีสิทธิ์รับกฐิน เพราะจะเป็นกฐินเดาะ ไม่ได้อานิสงส์กฐิน

    ๑๑. ผ้าจำนำพรรษา ถ้าวัดใดมีพระภิกษุไม่ครบ ๕ รูป จะไม่มีสิทธิ์รับผ้ากฐิน แต่จะมีสิทธิ์รับผ้าจำนำพรรษา (ผ้าจำนำพรรษา คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือน (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ในวัดนั้นๆ ได้ทุกรูป (๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป ๑ รูป) ภายในเขตจีวรกาล (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) ภิกษุเข้าพรรษาหลัง (แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) ไม่มีสิทธิ์รับผ้ากฐิน และผ้าจำนำพรรษา ทายกผู้ฉลาดตั้งเจตนาถวายผ้ากฐินและผ้าจำนำพรรษาแก่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปในวัด จึงจะได้อานิสงส์มาก ถ้าพระภิกษุไม่ครบ ๕ รูป แม้จะนิมนต์พระภิกษุมาจากวัดอื่น เพื่อให้ทำสังฆกรรมครบ ๕ รูป ก็ไม่เป็นกฐิน อย่างนี้เป็นบาปมหันต์ ส่วนสังฆกรรมอื่นสามารถนิมนต์พระภิกษุมาจากวัดอื่นได้ เช่นการบรรพชาอุปสมบท สังฆกรรมอุโบสถหรือการสวดอัพภานเพื่อพระภิกษุที่ต้องสังฆาทิเสส ซึ่งต้องใช้พระภิกษุ ๒๐ รูป เป็นต้น

    ๑๒. กฐินไม่ใช่เงินทอง กฐิน หมายถึง ผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน (สบง จีวร หรือสังฆาฏิ) ไม่ได้หมายถึง เงินหรือทอง (ตามที่เข้าใจกันเป็นส่วนมากในปัจจุบัน)

    ๑๓. การจองกฐิน เป็นเรื่องบุคคลใดบุคคลหนึ่งดำเนินการ บุคคลหมายถึง ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา (ที่ไม่ได้อยู่จำพรรษาวัดนั้น) เทวดา อุบาสก อุบาสิกา สามารถนำกฐินไปทอดได้ เริ่มตั้งแต่การถามเจ้าอาวาสของวัดว่า วัดของท่านมีผู้จองกฐินแล้วหรือยัง ถ้าท่านบอกว่า ยังไม่มีใครมาจองกฐิน ก็ถามอีกว่าท่านต้องการกฐินหรือต้องการเงิน ถ้าท่านบอกว่าต้องการเงิน เพราะยังมีสิ่งก่อสร้างอีกมากมาย เราก็ไม่ไปทอด หรือถ้าท่านตอบว่าต้องการทั้งกฐินและเงิน เราก็ไม่ไปทอด เพราะกฐินนั้นเดาะไม่เป็นกฐิน ถึงนำกฐินไปทอด ก็ไม่ได้อานิสงส์กฐิน แต่ถ้าเจ้าอาวาสบอกว่าต้องการกฐินแสดงว่าเจ้าอาวาสรู้พระวินัย เราก็สามารถทอดกฐินวัดนี้ได้ เพราะการทอดกฐินก็เพื่ออานิสงส์ของพระภิกษุสงฆ์ และแจ้งข่าวให้ทราบทั่วกัน ถ้าเป็นวัดหลวง ต้องได้รับพระราชทานเสียก่อน จึงจะจองได้

    ๑๔. การบอกบุญกฐิน โดยแจ้งวัตถุประสงค์ว่า เชิญร่วมบุญกฐินเพื่อสร้างศาสนวัตถุ ศาสนสถานต่างๆ เช่นสร้างเจดีย์ โบสถ์ วิหาร ศาลา หอระฆัง หอฉัน เมรุ โรงครัว ห้องสุขา ฯลฯ หรือเพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เช่น เพื่อช่วยคนพิการ คนชรา เด็กอนาถา สร้างโรงเรียน เป็นต้น กฐินนั้นจะเดาะตั้งแต่เริ่มตั้งบุพพเจตนาเพราะหวังจะได้เงินทอง ปรารถนาจะได้เงินเข้าวัดมากๆ เพื่อสร้างสิ่งเหล่านี้ จิตที่ทำงานจะเป็นจิตโลภะ หรือการทำกฐินเป็นกองๆ แจ้งว่ากองละเท่านั้นเท่านี้ ก็เช่นกัน กฐินเป็นเรื่องผ้ากฐิน ไม่มีเป็นกองๆ เป็นเงินทอง ล้วนแต่เป็นเรื่องโลภะจิตทำงาน กฐินเดาะตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ได้อานิสงส์กฐิน แต่ถ้าเป็นเจตนาเพื่อซื้อเครื่องกฐิน สามารถทำได้

    ๑๕. การแจ้งข่าวกฐิน ให้สาธุชนทั้งหลายรับทราบ ควรทำใบแจ้งการทอดกฐิน พร้อมกำหนดการโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับเรื่องการสร้างวิหารทานใดๆ ถ้าวัดนั้นมีเจ้าภาพสร้างวิหารทานด้วย ควรทำใบแจ้งต่างหาก แยกออกจากใบกฐิน เพราะพิธีการทอดกฐินก็เป็นเรื่องของกฐินโดยเฉพาะ เมื่อเสร็จพิธีทอดกฐินแล้ว จึงจะแจ้งข่าวเรื่องการสร้างมหาทานอื่นๆ ต่อไป

    ๑๖. การประกาศขอกฐิน โดยพระภิกษุในวัดรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางวาจาโดยตรง หรือโฆษณาทางสื่อต่างๆ เช่นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ให้มาทอดกฐินที่วัดของตน ๆ กฐินนั้นเดาะไม่เป็นกฐินเพราะผิดพระวินัย

    ๑๗. การถวายผ้ากฐิน ต้องเกิดด้วยศรัทธาของทายกเอง ไม่ใช่พระภิกษุในวัดไปพูดแย้มพรายหรือพูดเลียบเคียงให้ถวาย ห้ามใช้ผ้าที่ไม่เป็นสิทธิ์ เช่น ผ้าที่ขอยืมเขามาทอด ไม่ใช้ผ้าที่ได้มาโดยอาการมิชอบ เช่นการทำนิมิตหรือพูดเลียบเคียง ไม่ใช้ผ้าที่เป็นสันนิธิ คือผ้าที่ทายกมาทอดแล้วพระภิกษุเก็บไว้ค้างคืน ไม่ใช้ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ คือผ้าที่พระภิกษุเสียสละ เพราะต้องโทษตามพระวินัยบัญญัติ

    ๑๘. ผ้ากฐินตามพระวินัยควรเป็น "ผ้าขาว" ทำจากเปลือกไม้ ฝ้าย ไหม ป่าน ขนสัตว์ หรือผ้าผสมกัน ไม่ว่าจะเป็นผ้าใหม่ ผ้าเทียมใหม่ ผ้าเก่า ผ้าเปื้อนฝุ่น ผ้าทิ้งตามตลาด อย่างใดอย่างหนึ่งก็ใช้ได้ (ปัจจุบันใช้จีวรสำเร็จรูป) เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพุทธานุญาตให้การทอดกฐินนั้นเป็นสังฆกรรม คือการงานของสงฆ์ให้ตั้งญัตติทุติยกรรม มอบให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นผู้สมควรและสามารถในการนี้ ผู้รู้จักธรรม ๘ ประการ มีบุพพกรณ์เป็นต้น ผู้ดำเนินการกรานกฐิน ทำผ้าให้สำเร็จภายในวันนั้น ด้วยความร่วมมือของพระภิกษุทุกรูปในวัดนั้น ก่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองกันตามพระพุทธประสงค์

    ๑๙. ผ้าขัณฑ์ ผ้าไตร ๓ ผืน ไม่ว่าจะเป็นผืนใดผืนหนึ่ง (สบง จีวร หรือสังฆาฏิ) จะต้องเป็นผ้าขัณฑ์ (ขัณฑ์ = ตอน ท่อน ส่วน ชิ้น เช่น จีวรมีขัณฑ์ ๕ คือมีผ้า ๕ ชิ้น มาเย็บติดกันเป็นผ้าผืนเดียวกัน)

    ๒๐. ไตรจีวรสำเร็จรูป เจ้าภาพกฐินที่ซื้อไตรจีวรสำเร็จรูป ต้องตรวจสอบว่า ผ้าสังฆาฏิ จีวร สบง เป็นผ้ามีขัณฑ์ทั้ง ๓ ผืนหรือไม่ ถ้าไม่ครบต้องหาให้ครบ และตรวจสอบผ้าทั้ง ๓ ผืน ว่าต้องเป็นผ้าที่มีการตัดก่อนแล้วจึงเย็บ หากไม่ตัดผ้า แต่มีการพับผ้าแล้วเย็บ จะไม่เป็นกฐินไม่ได้อานิสงส์กฐิน

    ๒๑. วัดที่จะรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุในวัดเดียวกันครบ ๕ รูป (เป็นอย่างน้อย) จำพรรษาครบ ๓ เดือนโดยไม่ขาดพรรษา จึงจะกรานกฐิณได้ (ภิกษุที่ขาดพรรษาหรือเข้าปัจฉิมพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ไม่ควรรับการกรานกฐิน) ถ้าพระภิกษุในอารามนั้นไม่ครบคณะสงฆ์ ๕ รูป ถ้ามีสามเณรอายุครบอุปสมบทได้ (๒๐ ปี) จำพรรษาในอารามนั้น อุปสมบททันในเดือน ๑๑ และเดือน ๑๒ ข้างขึ้น ๑-๒-๓-๔ รูป ก็ดี ให้พอครบคณะสงฆ์ ๕ รูป สามารถรับกฐินและได้อานิสงส์กฐิน

    ๒๒. เจ้าภาพที่ปรารถนาจะทอดกฐินหลายวัด โดยนัดพระภิกษุวัดนั้นๆ มาประชุมรับผ้ากฐิน ณ วัดใดวัดหนึ่งในวันเดียวกันนั้น ไม่สามารถกระทำได้ เพราะผิดพระวินัย เจ้าภาพต้องนำกฐินไปทอดเฉพาะวัดแต่ละวัดเท่านั้น (ในสมัยก่อน ถ้ามีผู้นำผ้าไปทอดหลายๆคน ท่านผู้ใดนำผ้าไตรกฐินเข้าเขตวัดก่อน ผ้าของท่านผู้นั้นจะเป็นผ้ากฐินทันที)

    ๒๓. กฐินตกค้าง ต้องไม่มีเจ้าภาพจองจริงๆ ไม่ใช่มาประกาศบอกข่าวล่วงหน้ากันเป็นเดือนๆอย่างนี้ไม่เรียกว่า กฐินตกค้าง เพราะกฐินตกค้างที่แท้จริงต้องใกล้วารกาลที่จะหมดกาลเวลาของ กฐินจริงๆ หมดเขตกฐิน (ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒) วัดนั้นๆ ไม่มีผู้จองไปทอดกฐินจึงจะเป็นกฐินตกค้าง ไม่ใช่ประกาศแจ้งว่าเป็นกฐินตกค้างล่วงหน้ากันนานๆ และมีเป็นจำนวนมากวัดอย่างในปัจจุบัน

    *เหตุที่ไม่มีผู้จองกฐิน เนื่องมากจากความเข้าใจผิดว่า การทอดกฐินจะต้องใช้เงินทองจำนวนมาก กฐิน กลายเป็นหมายถึง เงินทองต้องหาเงินให้วัดเป็นจำนวนมากๆจึงจะทำ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง เนื่องจากการปลูกฝังความเข้าใจผิดนี้ มีต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนาน ถ้าได้อ่านสิกขาในพระพุทธธรรมคำสอนแล้วจะรู้ว่า กฐิน หมายถึง ผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน (สบง จีวร สังฆาฏิ) ไม่ใช่หมายถึงเงินทอง ดังนั้น เมื่อเกิดความเข้าใจผิด ทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าไปทอดกฐิน เพราะไม่สามารถจะหาเงินทองจำนวนมากๆ มาถวายวัดได้ จะเห็นว่ามีวัดเป็นจำนวนมากที่ไม่มีผู้จองกฐิน ทำให้พระภิกษุขาดอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ

    ถ้าพุทธศาสนิกชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องกฐิน วัดในประเทศไทย ๓๐,๐๐๐ กว่าวัด ถ้ามีพระภิกษุครบ ๕ รูป จำพรรษาครบ ๓ เดือนในแต่ละวัด ก็จะสามารถรับกฐินได้ เพราะกฐินคือผ้า ไม่ใช่เงินทอง ซึ่งทายก ทายิกา ของแต่ละวัดก็สามารถที่จะหาผ้ากฐินผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน มาทอดได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทองจำนวนมาก จะทำให้เจ้าภาพและพระภิกษุได้รับอานิสงส์ของกฐิน ส่วนการทำบุญสังฆทานวิหารทานอื่นๆ สามารถทำได้ในโอกาสต่อไป

    ๒๔. เจ้าภาพกฐินต้องไม่จัดเลี้ยงสุราเมรัยน้ำเมาทั้งหลาย เจ้าภาพกฐินต้องไม่ฆ่าสัตว์ มาทำเป็นอาหารเลี้ยงกันในงานบุญ เจ้าภาพกฐินต้องไม่มีอารมณ์โกรธฉุนเฉียว ดุด่าว่ากล่าวบุคคลอื่น ถ้ามีเหตุการณ์ดังกล่าว กฐินจะกลายเป็น กฐินบูด กฐินเน่า กฐินเศร้าหมอง ไม่เป็นที่อนุโมทนาของเทพพรหมเทวาและมนุษย์ทั้งหลาย

    ดังนั้น เจ้าภาพกฐินต้องตั้งใจ น้อมใจ ให้กุศลจิตขึ้นมาทำงานอยู่เสมอ มีเจตนาทาน ที่พร้อมไปในกุศลทั้ง ๓ ประการ คือ

    ๑) บุพพเจตนา เจตนาก่อนการะทำเต็มไปด้วยกุศล อธิษฐานธรรม เป็นไปในมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑

    ๒) มุญจเจตนา (มุญจนเจตนา) เจตนาขณะกำลังกระทำ เต็มไปด้วยกุศล อธิษฐานธรรม เป็นไปในมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑

    ๓) อปรเจตนา (อปราปรเจตนา) เจตนาหลังกระทำแล้ว เต็มไปด้วยกุศล อธิษฐานธรรม เป็นไปในมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑

    งานบุญกฐินของท่านเจ้าภาพจะเต็มไปด้วยมหากุศล เป็นที่อนุโมทนาของเทพพรหมเทวา และมนุษย์ทั้งหลาย


    ๒๕. โทษของการทอดกฐิน โดยละเมิดพระธรรมวินัย ทำให้เจ้าภาพกฐินไม่ได้รับอานิสงส์อันประเสริฐในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ สำหรับมวลหมู่มนุษย์ การทำกฐินผิดพระธรรมวินัย เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด เป็นอกุศลจิต นำไปเก็บที่ดวงจิต อุเปกขาสหคตัง สันตีรณจิตตัง อสังขาริกัง กามาวจร อกุสลวิปากจิตตัง (ซึ่งเป็นวิบากจิตที่เก็บผลจากการทำอกุศล (โลภะ ๘ โทสะ ๒ โมหะ ๒) เมื่อจุติแล้วไปปฏิสนธิในอบายภูมิ สำหรับคฤหัสถ์ จุติแล้วปฏิสนธิจิต นำไปมหานรกขุม ๗ (มหาตาปนนรก) รับผลกรรมในนรกขุมนี้ยาวนานครึ่งอันตรกัปสำหรับพระภิกษุ การทอดกฐินผิดพระธรรมวินัย อย่างเบา ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรืออย่างหนัก ต้องอาบัติปาราชิก จุติแล้วปฏิสนธิจิตนำไป มหานรกขุม ๘ (อเวจีมหานรก) รับผลกรรมในนรกขุมนี้ยาวนาน หนึ่งอันตรกัป

    ๒๖. อสัทธรรมภิกษุ พระภิกษุในวัดใด ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า เจริญธรรมในสำนักของพระพุทธองค์ ไม่ได้สิกขาพระพุทธธรรมคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่กระทำตนเป็นเกจิอาจารย์ ปลุกเสก สักเลข สักยันต์ ลงอาคม ทำเครื่องลางของขลัง อยู่ยงคงกระพัน เป็นหมอดู โชคชะตาราศี เป็นหมอทำนายทายทัก เป็นหมอดูดวงต่างๆ แก้เวร แก้กรรม สะเดาะเคราะห์ สะเดาะโศก สะเดาะโรค สะเดาะภัยทั้งหลาย ทำเล่ห์เสน่ห์ยาแฝด เป็นร่างทรงต่างๆ ตั้งศาลบวงสรวง ภูติผีปีศาจ วิชาไสยศาสตร์ทั้งปวง ล้วนไม่ใช่พุทธสาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า สมควรที่จะลาสิกขาบท ออกไปจากความเป็นพระภิกษุ ไปอยู่เป็นคฤหัสถ์ ประกอบอาชีพตามความถนัดของตนต่อไป (เหมือน ภิกษุพม่าหากเข้าข่ายอสัทธรรม จะลาสิกขาบทไปเป็นฤษี ฯลฯ)

    พุทธสาวก คือผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า เจริญธรรมในสำนักของพระพุทธองค์ สิกขาในพระพุทธธรรม คำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เพื่อให้ถึงกระแสนวโลกุตตรธรรมเจ้า ๙ ประการ (มัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑) พระภิกษุได้อุปสมบทด้วย "อุกาสะ วันทามิ ภันเต..." มาตั้งแต่สมัย พุทธกาล (จากคาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ น. ๒๘๖ - ๒๘๙) ความว่า : พระบรมศาสดาปรารภเรื่องพระราธะ ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารว่า ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ ราธพราหมณ์ เป็นคนตกยากอยู่ในกรุงสาวัตถี อาศัยเลี้ยงชีพอยู่ในสำนักภิกษุทั้งหลาย ช่วยดายหญ้า กวาดบริเวณและรับใช้ภิกษุ เป็นต้น ภิกษุทั้งหลายสงเคราะห์แล้ว แต่ไม่ปรารถนาจะให้บวช พระบรมศาสดาทอดข่ายพระญาณตรวจดูสัตว์โลก ทรงทราบว่า ราธพราหมณ์จักได้เป็นพระอรหันต์* (แสดงถึงบุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจุตูปปาตญาณของพระพุทธเจ้า) จึงเสด็จไปสู่สำนักของพราหมณ์ ตรัสถามทราบความว่า ภิกษุเหล่านั้นสงเคราะห์เพียงอาหาร แต่ไม่อนุเคราะห์ให้บวช พระศาสดามีรับสั่งประชุมสงฆ์ ตรัสถามว่า


    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามพระภิกษุเหล่านั้นว่า

    พระบรมศาสดา : " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีใครที่ระลึกถึงคุณของพราหมณ์นี้ได้บ้าง"
    พระมหาสารีบุตรเถระ : " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาต
    อยู่ในกรุงราชคฤห์ พราหมณ์ผู้นี้เคยถวายภิกษาอันเป็น
    ส่วนของตน แก่ข้าพระองค์ทัพพีหนึ่ง ข้าพระองค์ระลึก
    ถึงคุณของพราหมณ์นี้ได้ พระพุทธเจ้าข้า"
    พระบรมศาสดา : " ดูก่อนสารีบุตร การที่เธอจะเปลื้องพราหมณ์ผู้มีอุปการคุณนี้
    ออกจากทุกข์ ไม่ควรหรือ"
    พระมหาสารีบุตรเถระ : " ดีละ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักให้ราธะบวช"

    พระมหาสารีบุตรเถระ จึงอุปสมบท ราธพราหมณ์ ด้วย "ญัตติจตุตถกรรม" เป็นภิกษุองค์แรก เมื่อบวชแล้ว พระราธะเป็นผู้ว่าง่ายปฏิบัติตามคำพระอุปัชฌาย์พร่ำสอนอยู่ ๒-๓ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล พระบรมศาสดาตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

    "ราธะผู้นี้เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายของตถาคต ผู้มีปฏิภาณ"
    ภิกษุทั้งหลายกล่าวสรรเสริญพระมหาสารีบุตรเถระว่า เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที ระลึกถึงอุปการะสักว่าภิกษาทัพพีเดียว อนุเคราะห์ให้พราหมณ์ราธะผู้ตกยากได้บวช สรรเสริญพระราธะว่า แม้พระราธะก็เป็นผู้อดทนต่อโอวาท ย่อมได้ท่านผู้ควรแก่การให้โอวาทเช่นกัน

    พระราธะกล่าวขออุปสมบทด้วย "อุกาสะ วันทามิ ภันเต..." ในที่นี้ภันเต หมายถึง พระมหาสารีบุตรเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์การอุปสมบทแบบ "อุกาสะ วันทามิ ภันเต..." จึงมีเหตุมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล และพระภิกษุในสมัยปัจจุบัน ได้กล่าวขอบรรพชาอุปสมบทต่อหน้าพระพุทธปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ และคณะสงฆ์ว่าจะขอทำพระนิพพานให้แจ้ง เป็นการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ซึ่งเป็นหน้าที่ที่แท้จริงของพุทธสาวก ในองค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า


    เครื่องกฐินที่สำคัญ คือ อัฏฐบริขาร ๘
    ได้แก่ : ไตรจีวร (สบง จีวร สังฆาฏิ) ประคดเอว บาตร มีดโกน เข็ม (รวมถึงกล่องเข็ม) ด้าย เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)

    ที่มา:http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentkatin/qq-/2010-04-04-01-13-53
     
  11. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อัปเดทภาพงานบุญกฐินประจำปี

    ทอด ณ.วัด ลำจังหัน (ธ) ต.สามแยก อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
    วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน 2556


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2013
  12. sindhus

    sindhus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    2,522
    ค่าพลัง:
    +8,430
    ขอร่วมบุญสร้างบันไดขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาท ณ.วัดลำจังหัน จ.เพชรบูรณ์
    โอน 50 บาท เข้าบัญชี ธ.กรุงไทย พระพิเชศ อนุตตโร


    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยนะครับ
     
  13. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747

    สาธุ ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ
     
  14. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    โมทนา สาธุ
    ในบุญกุศลทุกอย่าง
    ที่ทุกท่านได้ทำที่วัดแห่งนี้ด้วยครับ
     
  15. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    ผมมาช้าไป ไม่ได้ร่วมบุญเลย ขอกราบอนุโมทนาบุญกับทุกบุญและทุกท่านในบุญสร้างบรรไดด้วยนะครับ
     
  16. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อนุโมทนาบุญด้วยเช่นกันนะครับ
     
  17. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อนุโมทนาบุญด้วยเช่นกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2013
  18. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อนุโมทนาบุญด้วยเช่นกันครับ
     
  19. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    โมทนาบุญด้วยนะครับ ยังไม่ปิดรับบริจาคนะครับ เพราะว่ายังต้องใช้งบประมาณอีกเป็นจำนวนมากตามที่ได้ระบุไว้ข้างต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2013
  20. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สรุปรายนามเจ้าภาพสร้างบันได
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]



    เป้าหมายการสร้างบันไดประมาณ 720 ขั้น

    ปัจจุบันสร้างไปแล้ว 89 ขั้น ใช้งบประมาณไปแล้ว 178,000 บาท

    ยังขาดอีก 611 ขั้น ซึ่งต้องใช้งบประมาณอีก 1,322,000 บาท
    มียอดเงินคงเหลือในบัญชีประมาณ 61,555.59 บาท (ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยงานบุญกฐินวัด ปี 2556)





    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    ท่านครูบาพิเชศ อนุตตโร
    เบอร์ติดต่อ: 086-105-1776

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...