อะไรคือธาตุมูลฐาน (Fundamental) ของสรรพสิ่ง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Chayutt, 18 สิงหาคม 2008.

  1. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    เอ ประโยคนี้มันคล้ายๆ กับคำถามที่ว่า....

    "ถ้าต้นไม้ล้มในป่าซึ่งไร้ผู้คน มันจะมีเสียงมั๊ย ?"

    ซึ่งไอน์สไตน์ เจ้าของทฤษฎีสัมพัทธภาพ และนีลส์ โบร์ หนึ่งในผู้ริเริ่มพัฒนาทฤษฎีควอนตัม เคยถกเถียงกัน

    ไอน์สไตน์ : ต้นไม้ล้มมันก็ต้องมีเสียงไม่ว่าจะมีคนไปฟังมันหรือไม่ก็ตาม ถ้าโลกนี้ไม่มีมนุษย์ ดวงจันทร์มันก็อยู่ของมันอยู่ตรงนั้น ภูเขา น้ำตก ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็มีของมันมาอยู่แล้ว

    นีลส์ โบร์ : ต้นไม้ที่ล้มในป่าลึกไม่มีเสียง เพราะในป่าลึกไม่มีคน เนื่องด้วยหากไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นมา โลกและจักรวาลอย่างที่เราเห็นก็จะไม่มี ทั้งหมดนี้เกิดจากการสรรค์สร้างของจิตมนุษย์ และไปยึดถือว่ามันมีอยู่ เป็นอยู่จริง

    ประเด็นนี้เห็นว่าในหนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" ก็มีเขียนถึงเหมือนกัน (ไม่เคยอ่านแต่เห็นคนเค้าว่ามา)

    ไปเห็นคำตอบของคนนี้แล้วชอบใจเลยขอยกมาล่ะกัน
    <hr>
    ต้นไม้ล้มในป่า ไม่มีเสียง แต่น่าจะมีสิ่งที่ทำให้มนุษย์ได้ยินได้เมื่อเข้าไปอยู่ใกล้ ๆ
    ในขอบเขตที่พอเหมาะ

    หูของเราไม่ใช่เครื่องวัดเสียง เพราะมันมีความไม่แน่นอน เสียงจึงเปลี่ยนไปตามหู
    แต่สิ่งที่ทำให้เกิดเสียงนั้น ไม่ได้เปลี่ยนไปตามหูเหมือนเสียง เราสามารถวัดสิ่งนั้นได้
    โดยไม่ใช้หู เมื่อวัดแล้ว เราสามารถใช้ตาดูผลของการวัดได้ เราจึงรู้ว่าสิ่งนั้นมี
    ส่วนเสียงนั้น จะมีก็เมื่อไม่สิ่งรับสิ่งกำเนิดเสียงเท่านั้น

    บางสิ่ง ถูกแปรเปลี่ยนเพื่อให้ได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส ได้ลิ้มรส ได้สูดดม
    บางที เสียงจากทิศเหนือ ต้นกำเนิดอาจจะไม่ได้มาจากทิศเหนือ
    รสหวาน อาจจะไม่ใช่รสหวานของมนุษย์ทุกคน
    สีเขียว อาจจะเป็นเพียงสีเขียวของเหล่ามนุษย์บนโลก (สัตว์บางชนิดเห็นเพียงภาพขาวดำ)

    แท้จริงแล้ว "ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นของมันอย่างนั้น" เพียงมีมนุษย์ มีเครื่องรับขึ้นในจักรวาล
    ทุกสิ่งเหล่านั้นจึงเกิดเป็นตัวเป็นตนขึ้น ทั้งที่แท้จริงแล้วอาจจะไม่มีอะไรเลยก็ได้

    "ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นของมันอย่างนั้น" มนุษย์จะสามารถรู้สิ่งนั้นได้โดยนำเครื่องมือต่าง ๆ
    ที่มีความแม่นยำ และไม่ปรุงแต่ง ไปวัดสิ่งนั้น เช่น ปรอท โวลมิเตอร์ ไม้บรรทัด ตาชั่ง แล้ว
    รับรู้ผลของการวัดได้โดยจักษุ

    ดังนั้นแล้ว ต้นไม้ล้มไม่มีเสียง แต่มีสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงจนมนุษย์สามารถรับรู้ได้

    ปล. ต้นไม้อาจจะไม่ใช่สีเขียว แต่มันก็เป็นต้นไม้ (โอ คิดมากแล้วเรา)

    จากคุณ : กัลลอร์ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2008
  2. นิรันตรพินทุ

    นิรันตรพินทุ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +10
    ไล่อ่้านดู
    กระทู้นี้อัดแน่นด้วยวิชาการดีจริง

    ขออภัยที่ไม่ได้แวะเข้ามานาน ขาดช่วงไปซะแล้ว....
     
  3. Veerasak_Chai

    Veerasak_Chai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +184
    ธาตุมูลฐานแห่งสรรพสิ่ง

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    ชอบภาพข้างบนนี้จังเลยครับ

    เดี๋ยวว่างๆผมจะมาต่อกระทู้นี้ให้จบนะครับ
     
  5. Veerasak_Chai

    Veerasak_Chai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +184
    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    มาต่อเรื่องวิชาการกันดีกว่านะครับ

    ตอนต่อจากนี้ไปอาจจะอ่านเข้าใจยากซักหน่อย
    สำหรับตาสี ตาสา ยายมี ยายมา อย่างผมและบางท่าน
    ที่ไม่ได้เป็นคนในวงการฟิสิกส์หนะนะครับ

    แต่ก็เอาเถอะ ผมอ่านไปแปลไป (ผิดบ้าง ถูกบ้างก็ขออภัยนะครับ)
    ก็ต้องฝืนใจเอามาลงให้อ่านกัน เพราะนี่จะเข้สู่เรื่องอะไรที่แปลกๆมากขึ้นๆแล้วครับ

    ทนอ่านเอาหน่อยนะครับ

    เพราะว่ามันมาถึงรอยต่อระหว่างความไม่มีตัวตน (พลังงาน)
    กับความเป็นสสารแล้วหละครับ...


    เนี่ย เห็นไหม แม้แต่ในวงการฟิสิกส์เองยังต้องยอมรับกันเลยนะเนี่ย

    ;aa20
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  7. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน?
    แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม (Strong)

    <hr><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
    เพื่อที่จะอธิบายว่ามีอะไรเกิดขึ้นภายในนิวเคลียส
    พวกเราจำเป็นต้องทำความรู้จักกับควาร์กที่รวมตัวกัน
    เกิดเป็นโปรตอนและนิวตรอนขึ้นมาเสียก่อน

    ควาร์กเป็นอนุภาคที่มีประจุแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ และพวกมันก็ยังมีประจุสี (color charge)
    ที่แตกต่างกันไป แรงที่เกิดขึ้นระหว่างประจุสีของอนุภาคเหล่านี้
    มีความแข็งแรงมาก ดังนั้นพวกเราจึงตั้งชื่อให้มันว่า “แรงเข้ม” (Strong force)

    (บางเอกสารก็เรียก “แรงนิวเคลียร์” หรือ “แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม”
    แต่ภาษาอังกฤษคือ Strong force -ผู้แปล)


    <o>[​IMG][​IMG]</o>

    แรงนิวเคลียร์อย่างเข้มนี้ คือแรงที่ยึดเหนี่ยวควาร์กเอาไว้ด้วยกัน
    เพื่อรวมตัวอยู่ในรูปแบบของเฮดรอน (hadrons) ดังนั้นอนุภาคขนส่งแรงของมัน
    จึงถูกเรียกชื่อว่า “กลูออน”(gluons) เพราะว่าพวกมันทำหน้าที่เหมือนเป็นกาว
    ที่ติดอนุภาคควาร์กเอาไว้ให้อยู่ด้วยกัน

    [​IMG]

    ประจุสี (Color charge) มีความแตกต่างจาก
    ประจุแม่เหล็กไฟฟ้า อนุภาคกลูออนก็มีประจุสีของมันเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกประหลาด
    ไม่เหมือนกับโฟตอนเลย เพราะว่าโฟตอนไม่มีประจุแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่
    และในขณะที่ควาร์กทั้งหลาย ต่างก็มีประจุสีอยู่ แต่อนุภาคที่เกิดจาก
    การรวมกันขึ้นมาของควาร์กเหล่านี้ กลับไม่มีประจุสีอยู่เลย
    คือผลรวมของประจุสีของควาร์ก ที่รวมตัวกันเป็นอนุภาคนั้นๆขึ้นมา
    จะกลายเป็นกลางทางสี (color neutral).

    ด้วยเหตุนี้เอง แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม จึงมีบทบาทเฉพาะกับอนุภาคระดับของควาร์กเท่านั้น

    นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงไม่สังเกตเห็นแรงนิวเคลียร์อย่างเข้มนี้ในชีวิตประจำวันของเรา.<o></o>


    .......................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  8. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน? ประจุสี (Color Charge)

    <hr>
    [​IMG]

    ควาร์กและกลูออนเป็นอนุภาคที่มีประจุสี การทำปฏิกิริยากันของอนุภาคที่มีประจุสี
    ก็คล้ายๆกับการทำปฏิกิริยากันของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้านั่นเอง นั่นคืออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า
    จะแลกเปลี่ยนโฟตอนในปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งกันและกัน ส่วนอนุภาคที่มีประจุสี
    ก็จะแลกเปลี่ยนกลูออนในปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างเข้มกันเมื่อควาร์กสองอนุภาคมาอยู่ใกล้ๆกัน
    พวกมันจะแลกเปลี่ยนกลูออนกันทำให้เกิดสนามแรง-สี (color force field) ที่มีความเข้มมากขึ้นมา
    ซึ่งทำให้ควาร์กเกาะกันอยู่ได้ สนามแรงดังกล่าวนี้จะมีความเข้มมากขึ้นเมื่อควาร์กยิ่งอยู่ห่างกันมากขึ้น
    ควาร์กจะเปลี่ยนประจุสีอย่างคงที่เมื่อมันเกิดการแลกเปลี่ยนกลูออนกับควาร์กอื่น.

    ประจุสีทำงานอย่างไร (How does color charge work?)

    [​IMG]



    <center></center>
    ประจุสีมีอยู่ 3 ชนิด และยังมีประจุสีตรงข้าม (anticolor charge หรือ complementary color chage) อยู่อีก 3 ชนิด
    ควาร์กแต่ละชนิดจะมีประจุสีชนิดใดชนิดหนึ่งใน 3 ชนิดนี้ ส่วนแอนตี้ควาร์ก ก็จะมีประจุสีตรงข้าม
    อยู่ชนิดใดชนิดหนึ่งใน 3 ชนิดนี้เช่นเดียวกันเช่นเดียวกับการผสมกันของแสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน
    ซึ่งจะทำให้ได้แสงขาวขึ้นมา ในอนุภาคพวกแบริออนก็เหมือนกัน ถ้าประจุสีแดง เขียว และน้ำเงินมารวมกัน
    ก็จะได้ประจุสีที่เป็นกลาง (ไม่มีสี) ส่วนในพวกอนุภาคที่เป็นแอนตี้แบริออน
    การรวมกันของประจุสีตรงข้ามกับสีแดง (antired), ตรงข้ามสีเขียว (antigreen)
    และตรงข้ามสีน้ำเงิน (antiblue) ก็จะทำให้ได้สีที่เป็นกลางด้วยเช่นเดียวกัน
    อนุภาคพวกเมซอนมีประจุสีที่เป็นกลางก็เพราะว่าพวกมันประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุสีคู่ตรงข้ามกันพอดี
    เช่น ประจุสีแดง และประจุสีตรงข้ามสีแดง (red and antired) เป็นต้

    [​IMG]

    เพราะว่าทุกๆครั้งที่มีการการคายและดูดกลืนกลูออนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสีเสมอ
    และด้วยความที่สีเหล่านี้ ก็เป็นค่าที่มีการอนุรักษ์ด้วย ดังนั้นกลูออนจึงเป็นอะไรที่ประกอบขึ้นจาก
    ประจุสีและประจุสีตรงข้ามอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ซึ่งตามหลักความน่าจะเป็นแล้ว 3 ชนิดของประจุสี
    และอีก 3 ชนิดของประจุสีตรงข้าม ถ้านำมาจับคู่กันจนครบแล้ว ก็น่าจะได้จำนวนคู่ถึง 9 คู่ นั่นคือ
    ควรจะได้กลูออนที่มีประจุแตกต่างกันถึง 9 แบบ แต่ว่าในความเป็นจริงแล้วมันมีเพียง 8 ชนิดเท่านั้นเอง
    ซึ่งเรายังหาคำอธิบายที่ฟังแล้วเข้าท่าไม่ได้.

    ข้อควรระวัง (Important Disclaimer):<o></o>

    คำว่าประจุสี (Color charge) นี้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับแสงสีที่เรามองเห็น
    มันเป็นแค่ชื่อเรียกเพื่อความสะดวกในการนำไปคำนวณทางคณิตศาสตร์
    ที่นักฟิสิกส์ตั้งขึ้นจากการสังเกตเกี่ยวกับควาร์กที่อยู่ในอนุภาคพวกเฮดรอนเท่านั้นเอง.

    ........................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  9. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    การจำกัดของควาร์ก (Quark Confinement)<o></o>

    <hr>[​IMG]

    อนุภาคที่มีประจุสีไม่สามารถที่จะพบแบบอยู่เดี่ยวๆได้ เพราะเหตุนี้เองอนุภาคควาร์กที่มีประจุสี
    จึงถูกจำกัดให้อยู่รวมกลุ่มกับอนุภาคควาร์กอื่นๆ (เรียกว่าอนุภาคเฮดรอน) ซึ่งผลรวมของการอยู่รวมกลุ่มกันนี้
    จะทำให้ได้ประจุสีที่เป็นกลางพอดี.

    การพัฒนาของทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐานของปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างเข้มนี้ สะท้อนให้เห็นว่า
    ควาร์กสามารถรวมกันเป็นแบริออน (ประกอบขึ้นจากอนุภาคควาร์ก 3 อนุภาค)
    และเมซอน (ประกอบขึ้นจากควาร์กและแอนตี้ควาร์กอย่างละ 1 อนุภาค) ได้เท่านั้น
    ไม่สามารถที่จะรวมกันกลายเป็นอนุภาคที่มีควาร์กจำนวนต่างไปจากนี้ได้ เช่น 4 อนุภาค เป็นต้น
    ดังนั้น ตอนนี้พวกเราจึงเข้าใจแล้วว่าทำไมแบริออน (มีสีที่ต่างกันอยู่ 3 สี) และเมซอน (มีสีและสีตรงข้าม)
    จึงมีสีที่เป็นกลาง (color-neutral) และด้วยเหตุนี้อนุภาคอะไรก็ตามที่ประกอบขึ้นด้วยควาร์ก 2 หรือ 4 อนุภาค
    ที่ไม่ทำให้ผลรวมของสีเป็นกลางได้จึงไม่เคยถูกค้นพบเลย.


    สนามแรง-สี (Color-Force Field)<o></o>

    [​IMG]

    ควาร์กที่อยู่ในอนุภาคเฮดรอนมีพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนกลูออนกันอย่างรุนแรง
    ซึ่งนักฟิสิกส์เรียกมันว่าเป็นสนามแรง-สี (color-force field) ซึ่งประกอบไปด้วยกลูออน
    ที่ยึดเหนี่ยวกลุ่มของควาร์กเอาไว้ด้วยกัน.

    ถ้ามีอนุภาคควาร์กอนุภาคใดค่อยๆถูกดึงออกมาจากกลุ่มของมันที่ยึดเกาะกันอยู่
    สนามแรง-สีระหว่างควาร์กที่ถูกดึงออกมากับควาร์กอื่นๆนี้ก็จะยิ่งยืดขยายออกมากขึ้น
    และด้วยการทำเช่นนั้น ก็จะเป็นการยิ่งเพิ่มพลังงานเข้าไปในสนามนี้มากขึ้นเท่านั้น
    จนเมื่อถึงจุดๆหนึ่ง สนามแรง-สีนี้ก็จะแตกออกกลายเป็นควาร์กและแอนตี้ควาร์กคู่ใหม่
    เพื่อให้พลังงานถูกอนุรักษ์ไว้ เพราะว่าพลังงานของสนามแรง-สีจะถูกอนุรักษ์
    กลายไปเป็นมวลของควาร์กคู่ใหม่นี้แทน และสนามแรง-สีนี้ก็จะเกิดการผ่อนคลายลง
    กลับมาสู่สภาวะที่ปราศจากการยืดอีกต่อไป.




    <center>[​IMG] </center><center></center>ควาร์กไม่สามารถอยู่แบบเดี่ยวๆได้
    เพราะว่าแรงสีของมันจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อมันถูกดึงแยกออกมา.



    ............................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  10. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    ควาร์กปลดปล่อยกลูออน (Quarks Emit Gluons)<o></o>

    <hr>ประจุสีจะต้องถูกอนุรักษ์เสมอ.<o></o>


    เมื่อควาร์กปลดปล่อยหรือดูดกลืนกลูออนเข้าไป สีของควาร์กต้องเปลี่ยนแปลงไปเสมอเพื่ออนุรักษ์ประจุสีไว้
    ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าควาร์กสีแดงเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำเงิน และปลดปล่อยกลูออนสีแดง/สีตรงข้ามสีน้ำเงินออกมา
    ผลรวมของสียังคงเป็นสีแดงอยู่เช่นเดิม เพราะว่าหลังจากการปลดปล่อยกลูออนแล้ว
    ควาร์กสีน้ำเงินจะถูกหักล้างด้วยกลูออนสีตรงข้ามสีน้ำเงินพอดี ดังนั้นผลรวมของสีของกลูออนจึงยังคงเป็นสีแดงอยู่เช่นเดิม.
    <center>[​IMG] </center>อนุภาคควาร์กในอนุภาคเฮดรอนใดๆ มีการปลดปล่อยและดูดกลืนกลูออนกันอยู่เสมอๆ
    ดังนั้นมันจึงไม่มีทางเลยที่จะสังเกตได้ว่าสีของอนุภาคควาร์กอนุภาคใดเป็นสีอะไร

    ภายในอนุภาคเฮดรอน แม้ว่าสีของควาร์กสองอนุภาคที่กำลังแลกเปลี่ยนกลูออนกัน
    เพื่อรักษาระบบการยึดเกาะกันเอาไว้อยู่นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ผลรวมของสี ก็จะเป็นสีที่เป็นกลางอยู่เสมอ.


    ...............................................................................................<o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  11. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    อนุพันธุ์ของแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม (Residual Strong Force)<HR><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
    ตอนนี้เราก็ทราบกันแล้วว่าแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม (strong force) คือสิ่งที่ทำให้ควาร์กเกาะอยู่ด้วยกันได้
    เพราะว่าควาร์กมีประจุสี (color charge)

    แต่นี่ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมนิวเคลียสถึงเกาะอยู่ด้วยกันได้ เพราะว่าอนุภาคโปรตอนที่มีประจุบวก
    ย่อมจะผลักซึ่งกันและกันด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงทั้งโปรตอนและนิวตรอนต่างก็มีสีที่เป็นกลาง (color-neutral).

    ถ้าเช่นนั้น แล้วอะไรหละที่ทำให้นิวเคลียสเกาะติดกันอยู่ได้ ?

    คำตอบแบบสั้นๆก็คือ ก็เพราะว่ามันมีแรงนิวเคลียอย่างเข้มยึดเอาไว้ไง (strong force)
    เราคงไม่ตั้งชื่อมันว่า Strong force โดยไร้ความหมายหรอกนะ หมายความว่า strong force
    ของควาร์กทั้งหลายที่อยู่ในโปรตอนหนึ่ง กับของควาร์กที่อยู่ในอีกโปรตอนตัวหนึ่ง
    มันแข็งแรงมากพอที่จะเอาชนะแรงผลักของแรงแม่เหล็กไฟฟ้าได้เลยทีเดียว.



    <CENTER>[​IMG] </CENTER><CENTER> </CENTER>ดังนั้นเราจึงเรียกมันว่าอนุพันธุ์ของปฏิกิริยาอย่างเข้ม (residual strong interaction)
    และสิ่งนี้เองที่ยึดติดนิวเคลียสเอาไว้ด้วยกัน.


    ................................................................... <!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- End page content --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2008
  12. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน (Weak)


    <hr><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
    [​IMG]
    [​IMG]

    ควาร์กมีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด ส่วนเลปตอนก็มีอยู่ 6 ชนิดด้วยเช่นเดียวกัน แต่สสารที่คงตัวส่วนใหญ่
    ในเอกภพดูเหมือนจะประกอบขึ้นมาจากควาร์กที่มีมวลน้อยที่สุดเพียง 2 ชนิด (ควาร์กขึ้น และควาร์กลง,
    up quark and down quark) และจากเลปตอนที่มีมวลน้อยที่สุดซึ่งมีประจุ (อิเล็กตรอน)
    และจากนิวตริโนเท่านั้นเอง. ปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างอ่อน (Weak interactions)
    เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการสลายตัวของควาร์กและเลปตอนที่มีมวลมาก ไปสู่ควาร์กและเลปตอนที่มีมวลน้อยกว่า

    มีเรื่องที่แปลกประหลาดมากเกี่ยวกับการสลายตัวของอนุภาคมูลฐาน เพราะว่าเราพบว่าอนุภาคนั้นจะหายไป
    แล้วปรากฏว่ามีอนุภาคชนิดอื่น 2 ชนิดหรือมากกว่าขึ้นแทนที่ แม้ว่ามวลโดยรวมและพลังงาน
    จะยังคงถูกอนุรักษ์ไว้ให้เท่าเดิมอยู่ก็ตาม แต่บางทีมวลของอนุภาคตั้งต้นก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจลน์
    ส่วนอนุภาคที่เกิดขึ้นใหม่ก็มักจะมีมวลน้อยกว่าอนุภาคที่สลายตัวมาเป็นมันเสมอ.<o></o>

    สสารที่คงตัวทั้งหลายที่อยู่รอบๆตัวเรา คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากควาร์กและเลปตอนที่มีขนาดเล็กที่สุด
    และไม่สามารถที่จะสลายตัวต่อไปได้อีกแล้ว.
    .
    [​IMG]

    เมื่อควาร์กและเลปตอนเปลี่ยนชนิดไป (ตัวอย่างเช่นมิวออนเปลี่ยนไปเป็นอิเล็กตรอน เป็นต้น)
    เราจะเรียกมันว่าเปลี่ยน Flavor ไป ซึ่งทุกๆการเปลี่ยนของ flavor เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างอ่อน

    อนุภาคขนส่งแรงของปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างอ่อนคือ อนุภาค W+, W-, และ Z
    ซึ่งอนุภาค W ทั้งหลายเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าส่วนอนุภาค Z เป็นอนุภาคที่เป็นกลาง.
    <o></o>
    แบบจำลองมาตรฐานได้รวมปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้ากับปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างอ่อนเข้าด้วยกันได้แล้ว

    เรียกชื่อใหม่ว่าปฏิกิริยาelectroweak.

    ...........................................................................<!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- End page content --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  13. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    Electroweak<hr>


    <center>[​IMG]</center>[​IMG]

    ในแบบจำลองมาตรฐานปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้ากับปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างอ่อนได้ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นelectroweak.
    ก่อนหน้านี้ นักฟิสิกส์มีความเชื่อมานานแล้วว่า แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อนน่าจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแรงแม่เหล็กไฟฟ้า.<o></o>

    แล้วในที่สุดพวกเขาก็ได้ค้นพบว่าสำหรับระยะห่างสั้นๆ (ประมาณ 10<sup>-18</sup>เมตร)
    ความแข็งแรงของปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างอ่อนมีมากพอๆกับความแข็งแรงของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
    หรือพูดอีกอย่างก็คือ สำหรับระยะห่างมากกว่านั้น 30 เท่า (ประมาณ3x10<sup>-17</sup>เมตร)
    ความแข็งแรงของปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างอ่อนจะเป็น 1 ใน 10,000 เท่าของปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้า
    ระยะห่างระหว่างอนุภาคควาร์กที่อยู่ภายในโปรตอนหรือในนิวตรอนโดยปกติแล้วจะอยู่ประมาณ 10<sup>-15</sup>เมตร
    ซึ่งสำหรับระยะห่างขนาดนี้แล้ว แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อนนี้ถือว่าขี้ประติ๋วมาก.<o></o>

    นักฟิสิกส์สรุปว่า จริงๆแล้วแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อนและแรงแม่เหล็กไฟฟ้ามีรากฐานของความแข็งแรงพอๆกัน
    เพราะว่าความแข็งแรงของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่อย่างมาก กับทั้งมวลของอนุภาคขนส่งแรง
    และกับระยะห่างของการเกิดปฏิกิริยา ดังนั้นที่เราตรวจพบว่าความแข็งแรงของปฏิกิริยาทั้ง 2 ชนิดนี้
    มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ก็เพราะว่า มันมีความแตกต่างระหว่างมวลของอนุภาค W และ Z
    กับมวลของโฟตอนเป็นอย่างมาก เพราะอนุภาค W และ Z เป็นอนุภาคที่มีมวลมาก
    ส่วนโฟตอนนั้นไม่มีมวลอย่างที่เราทราบกันมานานแล้วนั่นเอง.<o></o>

    .....................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  14. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน? แรงโน้มถ่วง (Gravity)

    <HR><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->


    [​IMG]


    แรงโน้มถ่วงนี่ มันเป็นยังไง ?

    [​IMG]

    แรงโน้มถ่วงนี่ก็มีความแปลกประหลาดอยู่อีกเหมือนกัน แน่นอนหละมันคือหนึ่งในปฏิกิริยาพื้นฐานทั้งหลาย
    แต่ในแบบจำลองมาตรฐานนั้น ไม่สามารถที่จะอธิบายเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงได้อย่างน่าพอใจนัก

    และนี่แหละคือปัญหาใหญ่อีกข้อหนึ่งของนักฟิสิกส์ที่ยังหาคำตอบไม่ได้มาจนเดี๋ยวนี้.

    มิหนำซ้ำ อนุภาคขนส่งแรงของแรงโน้มถ่วงก็ยังไม่มีใครค้นพบซะอีก อนุภาคขนส่งแรงที่ว่านั้น
    ก็ได้แต่พยากรณ์ถึงความมีอยู่ของมันเอาไว้เท่านั้นเอง และก็หวังกันว่าสักวันคงจะค้นพบ

    และเราอาจจะเรียกมันว่า “กราวิตอน” (graviton).

    แต่ว่าก็ยังโชคดี ที่ผลกระทบของแรงโน้มถ่วงที่มีต่อสภาวะทางกายภาพของอนุภาคส่วนใหญ่นั้น
    มีน้อยนิดมากๆ เมื่อเทียบกับแรงชนิดอื่นๆอีก 3 ชนิดที่เหลือ

    ดังนั้นในทางทฤษฎีและในการทดลองต่างๆ จึงไม่ต้องนำแรงโน้มถ่วงมาร่วมในการคำนวณด้วยได้
    ดังนั้น แบบจำลองมาตรฐานจึงทำงานได้โดยที่ไม่ต้องอธิบายเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงเลย.

    ..............................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2009
  15. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน?
    บทสรุปของปฏิกิริยา (Interaction Summary)
    <hr><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->


    <table width="100%" border="0" cellpadding="3" cellspacing="3"><tbody><tr><td width="50%" valign="top">นี่คือบทสรุปเกี่ยวกับปฏิกิริยาต่างๆ รวมถึงอนุภาคขนส่งแรงของพวกมัน
    และอนุภาคอะไรบ้างที่ได้รับผลกระทบจากปฏิกิริยาแต่ละชนิด:



    <center>
    [​IMG]

    </center><link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Arial Unicode MS"; panose-1:2 11 6 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1 -369098753 63 0 4129279 0;} @font-face {font-family:"\@Arial Unicode MS"; panose-1:2 11 6 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1 -369098753 63 0 4129279 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; font-family:Arial; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Arial Unicode MS"; color:darkblue;} h2 {mso-style-next:Normal; margin-top:12.0pt; margin-right:0cm; margin-bottom:3.0pt; margin-left:0cm; mso-pagination:widow-orphan; page-break-after:avoid; mso-outline-level:2; font-size:14.0pt; mso-bidi-font-size:16.0pt; font-family:Arial; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; color:darkblue; font-style:italic;} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} table.MsoTableGrid {mso-style-name:"Table Grid"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; border:solid windowtext 1.0pt; mso-border-alt:solid windowtext .5pt; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-border-insideh:.5pt solid windowtext; mso-border-insidev:.5pt solid windowtext; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> <table class="MsoTableGrid" style="border: medium none ; border-collapse: collapse;" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr style=""> <td style="border: 1pt solid windowtext; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.2pt;" width="128" align="center" valign="top"> <o></o>

    </td> <td style="border-style: solid solid solid none; border-color: windowtext windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: 1pt 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.2pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]แรงโน้มถ่วง[/FONT]<o></o>
    </td> <td style="border-style: solid solid solid none; border-color: windowtext windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: 1pt 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.25pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน[/FONT]<o></o>

    </td> <td style="border-style: solid solid solid none; border-color: windowtext windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: 1pt 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.25pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]แรงแม่เหล็กไฟฟ้า[/FONT]<o></o>

    </td> <td style="border-style: solid solid solid none; border-color: windowtext windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: 1pt 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.25pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม[/FONT]<o></o>
    </td> </tr> <tr style=""> <td style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext; border-width: medium 1pt 1pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.2pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]อนุภาคขนส่งแรง[/FONT]<o></o>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.2pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]กราวิตอน (ยังค้นไม่พบ)[/FONT]<o></o>

    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.25pt;" width="128" align="center" valign="top"> W+,W-,Z0<o></o>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.25pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]โฟตอน<o></o>[/FONT]

    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.25pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]กลูออน[/FONT]<o></o>
    </td> </tr> <tr style=""> <td style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext; border-width: medium 1pt 1pt; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.2pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]ทำปฏิกิริยากับ[/FONT]<o></o>

    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.2pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]ทั้งหมด[/FONT]<o></o>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.25pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]ควาร์ก และ เลปตอน[/FONT]<o></o>
    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.25pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]ควาร์ก และเลปตอนที่มีประจุ และ [/FONT]W+,W-<o></o>

    </td> <td style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color windowtext windowtext -moz-use-text-color; border-width: medium 1pt 1pt medium; padding: 0cm 5.4pt; width: 96.25pt;" width="128" align="center" valign="top"> [FONT=&quot]ควาร์กและกลูออน<o></o>[/FONT]
    </td> </tr> </tbody></table> </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009
  16. นิรันตรพินทุ

    นิรันตรพินทุ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +10
    ล่าสุด
    แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน แรงแม่เหล็กไฟฟ้า และแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม
    เคยได้ยินว่า รวมกันได้แล้วนี่ครับ(ด้วยสมการฟิสิกส์ของเขา)

    แต่แรงโน้มถ่วง กลับแทบไม่รู้จักเลย (เลยเป็นที่มาของหนังสือ เดอะซีเคร็ต)

    แรงนิวเคลีัยร์อ่อน กับแรงแม่เหล็กไฟฟ้า รวมกันเป็น แรงแม่เหล็กนิวเคลียร์อ่อน(Electroweak)
    เป็นที่ยอมรับกันตั้งแต่โนเบลปี 1999
    จนป่านนี้เรายังปรับแบบเรียนไม่ทันอยู่เลย...
     
  17. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    เดี๋ยวจะมาต่อกระทู้นี้ให้จบนะครับ
    เพราะว่าเนื้อหาเหล่านี้ เป็นความรู้พื้นฐาน
    ที่จะนำไปสู่เนื้อหาที่ลึกซึ้ง ซับซ้อน และ ละเอียดอ่อน มากขึ้นไปอีก
    ซึ่งผมจะนำมาโพสต์ให้อ่านกันในกระทู้ถัดไปของผม

    ซึ่งรับรองว่า ต้องบอกว่า "โอ้..พระเจ้าจอร์จ" มันยอดมาก

    ใครที่มีความสนใจทางด้านจิตวิญญาณ และด้านวิทยาศาสตร์
    ตลอดจนผู้ที่กำลังแสวงหาสัจธรรมของชีวิต และจักรวาลทั้งหลาย
    สมควรที่จะต้องมาอ่านกระทู้นี้ให้จบก่อน แล้วถึงจะอ่านกระทู้ถัดไปของผมเข้าใจหนะนะครับ

    แต่ตอนนี้ก็ขอดันไว้ก่อน เพราะต้องใช้เวลาแปลอีกนานพอสมควรครับ

    ..............................
     
  18. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    เนื้อหาในกระทู้นี้ ที่โพสต์ไปแล้วทั้งหมดนั้น
    ยังไม่ถึงครึ่งของเนื้อหาทั้งหมดที่ต้องการจะโพสต์เลยนะครับ

    ....................................
     
  19. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588
    ท่านChayutt มีนิสัยซ้อกแซ้กค้นหา แบบนี้ เป็นนิสัยพวกพุทธภูมิ(พวกเกิดบ่อย)ล้วนๆ เหอๆ คงจะสนุกไม่เบาเลยนะครับ อีกสักพักคงจะเหนื่อยหรือเปล่า พอถึงจุดๆนึง ท่านChayuttจะต้องหันซ้ายหันขวา ว่า"อ้าว...ทำไมมันไม่เห็นมีอะไรว่ะ(ว่างเปล่า)" ถอดถอนหายใจว่า"เลิกๆๆ" 555


    ข้อมูลแน่นดี โมทนาสาธุครับ
     
  20. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน?
    กลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics)
    <hr><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --> <!-- Page content goes here --> <!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --> <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Arial Unicode MS"; panose-1:2 11 6 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1 -369098753 63 0 4129279 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} @font-face {font-family:"\@Arial Unicode MS"; panose-1:2 11 6 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1 -369098753 63 0 4129279 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; font-family:Arial; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Arial Unicode MS"; color:darkblue;} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> มีสิ่งที่น่าประหลาดใจในวงการวิทยาศาสตร์ยุคใหม่อยู่อย่างหนึ่ง ก็คือ
    อะตอมและอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมทั้งหลาย มันจะแสดงพฤติกรรมไม่เหมือนกับ
    อะไรที่เรารู้ๆเห็นๆกันอยู่ในชีวิตประจำวัน พวกมันไม่ได้เป็นลูกบอลขนาดเล็กที่เด้งไปมาได้อย่างเดียว
    แต่พวกมันมีคุณสมบัติต่างๆของคลื่นด้วย

    ในทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐานสามารถคำนวณหาค่าคุณสมบัติ และปฏิกิริยาทั้งหมดของพวกมันที่สามารถมองเห็นได้ได้
    แต่สัญชาตญาณการรับรู้ปกติของมนุษย์เราจะไม่สามารถนำมาใช้กับอนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้ได้

    [​IMG] [​IMG]
    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Arial Unicode MS"; panose-1:2 11 6 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1 -369098753 63 0 4129279 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} @font-face {font-family:"\@Arial Unicode MS"; panose-1:2 11 6 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1 -369098753 63 0 4129279 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; font-family:Arial; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Arial Unicode MS"; color:darkblue;} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->

    นักฟิสิกส์ได้นิยามศัพท์คำว่า “ควอนตัม” ขึ้นมาใช้ ซึ่งหมายถึง “การแตกออกเป็นส่วนย่อยๆ”
    เพื่อใช้อธิบายลักษณะทางกายภาพของอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆ นี่เป็นเพราะว่า
    พวกมันมีคุณสมบัติต่างๆที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง เช่น คุณจะพบว่าประจุไฟฟ้า
    จะมีค่าเป็นตัวเลขจำนวนเต็มที่เป็นจำนวนเท่าของของประจุอิเล็กตรอนเท่านั้น
    (หรือ ±1/3 และ ±2/3 สำหรับควาร์ก)

    กลศาสตร์ควอนตัมคือศาสตร์ที่ใช้อธิบายปฏิกิริยาต่างๆของอนุภาค

    <link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Arial Unicode MS"; panose-1:2 11 6 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1 -369098753 63 0 4129279 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} @font-face {font-family:"\@Arial Unicode MS"; panose-1:2 11 6 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:128; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1 -369098753 63 0 4129279 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; font-family:Arial; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Arial Unicode MS"; color:darkblue;} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->ตัวอย่างเล็กน้อยของตัวเลขควอนตัมที่สำคัญๆของบางอนุภาคได้แก่:

    1). ค่าประจุไฟฟ้า (Electric charge)
    : ควาร์ก อาจจะมีค่าประจุอิเล็กตรอน ±2/3 หรือ ±1/3
    แต่ว่าพวกมันจะรวมกันกับเฉพาะควาร์ก ที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ของประจุไฟฟ้ารวม
    เป็นตัวเลขจำนวนเต็มเท่านั้น อนุภาคอื่นๆนอกเหนือจากควาร์ก
    มีประจุไฟฟ้าเป็นตัวเลขจำนวนเต็มหมดทุกตัวแล้ว


    2). ประจุสี (Color charge)
    : ควาร์กแต่ละตัวจะมีประจุสี สีใดสีหนึ่งใน 3 สี

    ส่วนกลูออนจะมีประจุสีที่ตรงกันข้ามสีใดสีหนึ่งอยู่ 1 ใน 8
    ส่วนอนุภาคชนิดอื่นๆจะมีประจุสีเป็นกลาง

    3).เฟลเวอร์ (Flavor)
    :คือสิ่งที่ทำให้ควาร์ก (และเลปตอน) ทั้งหลาย มีความแตกต่างกัน


    4). สปิน (Spin)
    : คือสิ่งที่แปลกประหลาดมากอีกอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นปริมาณทางฟิสิกส์ที่สำคัญ

    วัตถุขนาดใหญ่เช่นดาวเคราะห์หรือลูกหิน อาจจะมีโมเมนตัมเชิงมุมและสนามแม่เหล็กค่าหนึ่งๆ

    จากการหมุนของพวกมัน


    และเพราะว่าอนุภาคก็มีโมเมนตัมเชิงมุมและโมเมนต์แม่เหล็กขนาดเล็กของมันเอง

    นักฟิสิกส์จึงเรียกคุณสมบัตินี้ของอนุภาคว่า “สปิน” ซึ่งคำๆนี้เป็นคำที่ทำให้เข้าใจความหมายผิดไปได้
    เพราะว่าความจริงแล้วอนุภาคต่างๆมันไม่ได้กำลังหมุนอยู่


    สปินมีค่าเป็น 0, ½, 1, 3/2 (คูณด้วยค่าคงที่ของพลังค์ –Planck’s Constant,
    [​IMG]) และอื่นๆ
    ค่าคงที่ของพลังค์ –Planck’s Constant,
    [​IMG]

    สปิน คือค่าโมเมนตัมเชิงมุมภายในของอนุภาค มีหน่วยเป็นพลังค์


    ซึ่ง
    [​IMG]= 1.055 x 10-34 J s. นี่เรียกว่า ค่าคงที่ของพลังค์.

    ..................................................... <!--[if gte vml 1]><v:shapetype id="_x0000_t75" coordsize="21600,21600" o:spt="75" o:preferrelative="t" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" filled="f" stroked="f"> <v:stroke joinstyle="miter"/> <v:formulas> <v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"/> <v:f eqn="sum @0 1 0"/> <v:f eqn="sum 0 0 @1"/> <v:f eqn="prod @2 1 2"/> <v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"/> <v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"/> <v:f eqn="sum @0 0 1"/> <v:f eqn="prod @6 1 2"/> <v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"/> <v:f eqn="sum @8 21600 0"/> <v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"/> <v:f eqn="sum @10 21600 0"/> </v:formulas> <v:path o:extrusionok="f" gradientshapeok="t" o:connecttype="rect"/> <o:lock v:ext="edit" aspectratio="t"/> </v:shapetype><v:shape id="_x0000_i1025" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:22.5pt; height:24pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://pdg.web.cern.ch/pdg/particleadventure/frameless/images/hbar_big.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]--> <!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1026" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:22.5pt;height:24pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://pdg.web.cern.ch/pdg/particleadventure/frameless/images/hbar_big.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]--> <!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1027" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:22.5pt;height:24pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://pdg.web.cern.ch/pdg/particleadventure/frameless/images/hbar_big.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]--> <!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1028" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:22.5pt;height:24pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://pdg.web.cern.ch/pdg/particleadventure/frameless/images/hbar_big.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]-->​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...