อย่าเอา ศาสนา มาเพื่อ การเมือง???

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย yutkanlaya, 8 กันยายน 2007.

  1. เด็กเมื่อวานซืน

    เด็กเมื่อวานซืน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ประเด็นเรื่องการใช้กฏหมายบังคับ ผมก็ได้ตอบไปแล้วครับว่า มันเป็นมาตรฐานที่เขาใช้กันทั่วโลก (ยังไม่เกี่ยวกับเรื่องของศาสนานะครับ) เพราะเป็นมาตรฐานกลางที่ใช้ควบคุมประชาชนที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์
    ถึงคุณจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม มันเป็นมาตรฐานกลางครับ เพราะก็ไม่มีใครมาชี้แจงได้ว่า คนนี้มีศีลธรรม จริยธรรมดีแค่ไหน ดังนั้นมาตรฐานกลางก็ต้องมีมาควบคุมเพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข

    ส่วนที่คุณบอกว่ามันไม่พอ ผมก็ได้ชี้แจงไปว่า เพราะการบังคับใช้กฏหมาย และ จิตสำนึกของคนในประเทศนั้น ๆ ต่อกฏหมายมันมีมากน้อยแค่ไหน เหตุผลนี้ต่างหากหละครับ ที่ทำให้กฏหมายต้องร่างกันใหม่เรื่อย ๆ

    และ ที่คุณคะนิ้งบอกว่า มันไม่สอดคล้องกับหลักเหตุผลนั้น ก็ต้องขอตอบว่า ก็เพราะคนเราไม่มีจิตสำนึกต่อกฏหมายนั่นเองครับ แสดงว่า ประชาชนนั้น ๆ ก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอ
    เพราะอะไร


    เพราะกฏหมายนั้นตรามาเพื่อควบคุม คนในประเทศนั้น ๆ โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติศาสนา ชนชั้น
    ถ้าคนในประเทศนั้น ๆ มีเหตุผล และจิตสำนึกเพียงพอ และมีการบังคับใช้กฏหมายให้เข้มงวดด้วยแล้ว
    กฏหมายนั้นจะศักดิสิทธิ์ ยุติธรรม เที่ยงธรรม แน่นอนครับ


    ซึ่งสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน ก็ต้องอยู่ใต้กฏหมายเดียวกัน อย่างไม่มีข้อยกเว้น ตามหลักนิติรัฐ
    ประเด็นนี้ คุณคะนิ้งก็แย้งว่า แล้วถ้ามี พรบ.ความมั่นคงหละ จะคอยเป็น เกสตาโป คอยตรวจสอบแม้แต่การส่งเมล์

    เหตุการณ์ตรงนี้ ผมก็ต้องถามกลับว่า แล้วมันเกิดมาจากอะไรหละครับ ?
    ก็เพราะคนเราไม่รู้จักหน้าที่ของตัวเองตามกฏหมายใช่ไหม?

    อย่างไรเสีย คุณเป็นคนในอาณัติปกครองของ รัฐะ นี้ คุณก็มีหน้าที่ต้องทำตามกฏหมาย (รัฐธรรมนูญเขียนไว้ ) ถึงแม้กฏหมายมันจะริดรอนสิทธิและเสรีภาพ แต่ถามว่า ถ้าไม่มีเหตุผลแล้วอยู่ดี ๆ เขาจะริดรอนสิทธิทำไมหละครับ

    ฝ่ายคนออกกฏหมาย ก็ หวังประโยชน์ส่วนตน กลัวเกรงเรื่องต่าง ๆ เพราะฐานอำนาจของตัวเองใช่หรือไม่ ?

    ฝ่ายคนที่โดนผลกระทบ ก็รู้สึกไม่พอใจว่าตัวเองโดนลดสิทธิต่าง ๆ นา ๆ ซึ่งถ้าคุณไม่ไปมีเรื่องกับคนออกกฏหมาย ปัญหาตรงนี้มันก็ไม่เกิด (พูดกลาง ๆนะครับ ไม่ได้บอกว่า คนสร้างกฏหมายดีที่สุดไม่ผิดเลย)

    แต่คุณก็มีสิทธิจะใช้ในการแก้ปัญหาตรงนี้ได้เหมือนกัน ระบบศาลก็มีอยู่ กฏหมายก็ไม่ใช่จะปิดประตูตายไม่ให้คุณใช้สิทธิของตัวเองเลย ไม่ใช่ว่าอะไร ๆ ก็ ยึดหลัก อาริยะขัดขืน ที่เขาบอก ๆ กัน

    แบบนี้ ก็แสดงว่า คุณก็ไม่เคารพกฏหมาย คุณก็มีข้ออ้างต่าง ๆ นานา ก็เพราะผลประโยชน์ส่วนตนโดนลดลงไป

    ซึ่งมันก็จะไปเข้าทางที่ผมบอกว่า อยู่ที่จิตสำนึก และเหตุผลของคนในประเทศนั้น ๆ

    ถ้าคุณบริสุทธิ์จริง คุณก็ไปต่อสู้ในศาลสิครับ หาหลักฐานมาหักล้างกัน ไม่ใช่เออะอะไร ก็สิทธิเสรีภาพ สิทธิเสรีภาพ แต่คุณไม่สนใจ หลักนิติรัฐเลยสักนิด แบบนี้จะมีกฏหมายไว้ทำไมหละครับ ?



    --------------------------------------------------
     
  2. เด็กเมื่อวานซืน

    เด็กเมื่อวานซืน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +1,222

    ขอโทษนะครับที่ต้องแยกประเด็น คราวนี้จะมาว่าต่อถึง กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาครับ

    ที่คุณคะนิ้งบอกมาว่า ผมยังยืนยันว่า คำสอนของพระพุทธศาสนาดีที่สุด และ ควรใช้เป็นกฏหมาย

    ประเด็นนี้ตอบได้ว่า เมื่อผมเปรียบเทียบ ปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ กับ หลักในทางพระพุทธศาสนาอย่างที่บอกไป ผมก็ชี้แจงให้เห็นเป็นข้อ ๆ เลยว่า ถ้าคุณมีศีล 5 ประจำใจแล้ว ประพฤติทุกวัน ผลที่ได้มันก็เหมือนกับ คุณไม่ได้ทำผิดกฏหมายเลย

    จากนั้น คุณคะนิ้งก็เริ่มโยงว่า อ้าว แล้วถ้าคนศาสนาอื่นหละเขาจะน้อยใจไหม ก็มาดูกันต่อไปครับ

    การวิเคราะห์กฏหมายซึ่งผมก็ได้บอกไปอีกเหมือนกันว่า รากฐานของกฏหมายทั่วโลกมาจากศาสนา ของไทยเอง ประวัติศาสตร์ที่จดบันทึกไว้ ในรูปแบบการปกครองก่อน ๆ ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมานานแล้ว
    พึ่งมายกเลิกไป เมื่อ พ.ศ.2475 นี่เอง

    ดังนั้น พื้นฐานของกฏหมาย และ ศีลธรรมของประเทศไทย จึงอยู่ในกรอบของ วิถีคิดทางพระพุทธศาสนาอย่างไม่ต้องสงสัย

    ซึ่ง

    ถ้าดูบริบทในสมัยโบราณ ประเทศสยามก็ไม่ได้มีแค่ คนนับถือพุทธเท่านั้น ชาวต่างชาติ ที่มาตั้งรกรากปักหลักฐาน ในดินแดนสยามนี้ ก็มีทั้ง คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ คนเหล่านี้ก็ต้องอยู่ภายใต้กฏหมายการปกครองเดียวกันทั้งอาณาจักร ซึ่งที่ผ่านมา ก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร แม้ว่าจะไม่มีประชาธิปไตยก็ตาม

    และกฏหมายไม่ได้ตราเพื่อเอาใจคนนับถือพุทธมากกว่าศาสนาอื่น ไม่ได้ลงโทษคนพุทธน้อยกว่าคนศาสนาอื่นเหมือนกันครับ กฏหมายก็คือกฏหมาย มีความยุติธรรมให้เท่าเทียมกัน

    แม้แต่ในปัจจุบัน กฏหมายของไทย (ไม่ว่าจะอิงกับศาสนาใดก็ตาม) ก็ไม่ได้ให้สิทธิคนนับถือศาสนาไหน มากกว่ากันเป็นพิเศษเหมือนกันครับ

    แม้แต่กฏหมายของอังกฤษ หรือ อเมริกา ที่มี คริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ ก็เหมือนกัน ไม่ได้จำกัดสิทธิว่า คุณเป็นพุทธ หรือ คุณเป็นคริสต์ เหมือนกันครับ
    ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อหลายปีก่อน นักฟุตบอลที่เป็นคริสต์ของทีมลีดส์ยูไนเต็ด ไปทำร้าย นักศึกษาชาวเอเชียที่เป็นอิสลาม ถามว่า เขามีการลดหย่อนผ่อนโทษ นักฟุตบอลลีดที่เป็นคริสต์หรือไม่ครับ ?

    นี่หละครับเหตุผลทางโลกเห็นกันชัด ๆ ที่คุณอยากจะฟัง อย่างที่ผมบอกไปครับ กฏหมายจะศักดิสิทธิ ได้ ต้องมาจากจิตสำนึก และ เหตุผลของคนในชาติครับ


    อีกประการในเมื่อหลักศาสนาต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน ห้ามทำเลวเหมือน ๆ กัน คุณจะไปกลัวทำไมหละครับ กับกฏหมายที่ร่างขึ้นมาต่อให้เป็น หลักของพุทธเป็นกลางที่สุดศาสนาหนึ่งไม่เป็นรองใคร (ไม่อยากเขียนว่าดีที่สุด เดี๋ยวจะรับไม่ได้อีก)
    เพราะอย่างที่ผมบอกไป ว่าไม่ได้บอกว่า ให้สิทธิคนพุทธมากกว่าคนศาสนาอื่น เพราะการบังคับใช้ยังคงบังคับเหมือนกัน ทุกเชื้อชาติ และ ศาสนา (ยกเว้น 3 จังหวัดใต้ที่ไม่พอใจ อยากจะใช้กฏหมายอิสลามต่างหาก แบ่งแยกกันเข้าไปอีกน่ากลัวกว่าตั้งเยอะครับ )


    ที่ ๆ กลัวกันโดยส่วนมาก เอาความรู้สึกมาจับประเด็น มากกว่าเอาเหตุผลมาจับครับ
     
  3. เด็กเมื่อวานซืน

    เด็กเมื่อวานซืน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +1,222
    มันก็มีทั้งดีและไม่ดีครับ

    ศาสนาพุทธ ที่หายไปจากอินเดียก็โดนแนวนี้เหมือนกันครับ ทาง ฮินดู ไปอ้างว่า พระพุทธเจ้าเป็นปางอวตาร ปางหนึ่งของ พระนารายณ์ (อ่านได้ ใน นารายณ์สิบปาง เป็นวรรณคดีครับ ภาษาไทย)

    พอคนพุทธในอินเดีย ไม่รู้คำสอน ก็เออดี ดีไป ดีมา ชาวพุทธก็เริ่มสับสน สรุป จะนับถืออะไรก็พอ ๆ กัน

    สมมติสงฆ์เห็นว่า (ตอนนั้นอินเดียมหายานเริ่มเยอะ) น่าจะปรับคำสอนบางอย่างได้ ทีนี้ ก็เละสิครับ
    ปรับไปปรับมา ปรับจนเหมือนฮินดูเข้าไปทุกที สุดท้ายก็ไม่เหลือครับ ฮินดูก็เริ่มกลืนไปเรื่อย ๆ

    หลักทางพุทธแท้ ๆ ก็หายไปเรื่อย ๆ


    เทียบกับ ปัจจุบัน สถานการณ์น้อง ๆ เหมือนกันครับ คนพุทธในไทย ยึดถือปฏิบัติศีล 5 ได้มากน้อยแค่ไหน ?

    ดูกระแส จตุคามก็ได้ ไม่ใช่เรื่องไม่ดีนะครับ แต่เป็นกระแสที่ทำผิด ๆ
    เพราะหลักทางพระพุทธศาสนา ก็มีเรื่องของ เทวตานุสสติกรรมฐาน ให้ระลึกถึง ความดีของเทวดา ว่า ท่านมี หิริ หรือความละอายชั่ว โอตัปปะ หรือ กลัวผลของความชั่วเหล่านั้น จึงจะเป็นเทวดาได้

    แต่คนพุทธในไทย ไม่ได้มองถึงตรงนั้น มองแค่เป็นกระแสของขลัง นักวิชาเกินต่าง ๆ ก็มาประนามว่า ไปผิดทางแล้ว ไม่ใช่พุทธแท้ ประณามได้ครับ แต่คุณก็ต้องบอกวิธีแก้ด้วยสิครับว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป จะแก้แบบไหน นี่ก็ไม่บอกกัน เพราะอะไร ก็เพราะนักวิชาการเหล่านั้น ไม่ได้ศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาหนะสิครับ

    ขนาดเป็นนักวิชาการ แล้วบอกนับถือพระพุทธศาสนา ยังไม่รู้จักหาวิธีมาสอนเลยครับ ได้แค่บ่นด่าวิจารณ์เท่านั้นเอง

    อีกกระแสหนึ่ง ในเมื่อยังกินเหล้ายังกะกินน้ำเปล่า ในเมื่อยังนิยมค่านิยมผิด ๆ ต่าง ๆ คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมนะครับ ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ จะเป็นอย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2007
  4. เด็กเมื่อวานซืน

    เด็กเมื่อวานซืน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ไม่ต้องกลัวจนถึงขั้น Paranoid หรอกครับ เดี๋ยวนี้สื่อที่จะให้เข้าถึงพระธรรมมีเยอะครับ บน Internet นี่ก็มีเยอะครับ ทั้ง พระไตรปิฏกเอง (เวปลานธรรม ลองดูได้)
    หรือแม้แต่ คำสอนของ หลวงปู่ หลวงพ่อทั้งหลายก็มีตั้งเยอะครับ มีทั้งให้อ่าน และ Load มาฟัง
    ถ้าคุณคะนิ้งไม่แน่ใจ ก็ศึกษาก่อนก็ได้ครับ

    ที่พูดเนี่ย เพราะมีประสบการณ์ส่วนตัวมาแล้ว เจอคนที่หลงผิดสอนผม จนผมหลงผิดมานานแล้ว พาคนเข้ารกเข้าพงไปก็ไม่น้อย กว่าจะกลับตัวได้ มันลำบาก ต้องตามแก้ไขให้คนเหล่านั้นเข้าใจเสียใหม่อยู่นานเหมือนกัน ถึงได้บอกไปครับ ว่ามันน่ากลัวมาก


    ส่วนเรื่องจะมองว่าผมมองโลกและยึดติดอะไรหรือไม่ มองแต่มุมเดียวหรือเปล่า
    อันนี้ แล้วแต่จะคิดครับ

    ผมขอฝากไว้ในบทสรรเสริญพระธรรมคุณครับ อย่างที่เอามาลงไว้ให้อ่านกัน

    พระพุทธองค์ทรงเชิญเข้ามาพิสูจน์คำสอนของพระองค์ครับ ท่านใดเป็นวิญญูชน อยากจะรู้จริง ๆ ว่า พระพุทธศาสนาดีแค่ไหน ประเสริฐแค่ไหน ก็ขอเชิญครับ ท่านต้องลงมือทำเอง ถึงจะรู้ครับ
    ของแบบนี้บอกไปก็ไม่เชื่อกันอยู่ดี

    แต่แน่ ๆ ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก ก็ยังยกย่องพระพุทธศาสนาครับ น่าคิดนะครับ
    คนระดับ ไอน์สไตน์เนี่ย แกเป็นยิวเสียด้วยซ้ำไป ยังมายกย่องพระพุทธศาสนาได้ แสดงว่า แกก็คงจะต้องมองเห็นส่วนดีของพระพุทธศาสนาครับ

    ฝากไว้แค่นี้ครับ
     
  5. Khaning

    Khaning เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +197
    ถ้าคุณกลับไปอ่านข้อความที่ดิฉันโพสท์ไว้ใหม่จะพบว่า ดิฉันไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการทางกฎหมาย แต่เห็นว่ามาตรการนี้อย่างเดียวไม่พอ ทำไมถึงไม่พอรู้มั๊ยคะ? คุณพูดถึงจิตสำนึกหรือความเคารพที่คนมีต่อกฎหมาย คุณคิดว่าจิตสำนึกนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร คนเราพอเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ พบว่าตัวอยู่ภายใต้กฎหมายหนึ่ง ก็จะเคารพกฎหมายนั้นโดยอัตโนมัติ และเป็นเช่นนั้นตลอดไปงั้นหรือคะ เป็นไปได้มั๊ยและควรมั๊ยที่บางคนจะเกิดสงสัยความเป็นธรรมของกฎหมายที่ใช้ปกครองตัวขึ้นมา (เช่นที่บุคคลเพศที่สามสงสัยว่ากฎหมายนำหน้าชื่อไม่เป็นธรรมเพราะเลือกปฏิบัติ) และเรียกร้องให้สังคมเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นสำหรับพวกเขา? คุณอาจคิดว่าคนเหล่านี้ไม่มีจิตสำนึกที่เคารพในกฎหมายและพยายามจะบิดเบือนกฎหมายให้เป็นไปตามความต้องการส่วนตัว แทนที่จะคิดถึงประโยชน์โดยรวมของสังคม แต่สังคมมิได้ประกอบขึ้นจากพลเมืองแต่ละคนหรอกหรือคะ? ถ้าคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งเป็นทุกข์เพราะกฎหมายที่ใช้อยู่ สังคมไม่ควรทบทวนตัวเองหรือคะว่า จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้มั๊ยเพื่อให้ทุกคนมีสุขเสมอหน้ากัน
    ดังนั้น การจะเรียกร้องให้คนมีจิตสำนึกต่อกฎหมาย กฎหมายเองก็ต้องหมั่นพิสูจน์ตัวเองด้วยว่าให้ความสำคัญกับชีวิตของทุกคนภายใต้กฎหมายนั้นอย่างเท่าเทียมกันก่อน กล่าวอีกนัยหนึ่ง กฎหมายต้องเป็นธรรมก่อนค่ะ จิตสำนึกต่อกฎหมายถึงจะเกิดขึ้นมาได้
    ส่วนจะทำอย่างไรกฎหมายของเราจึงจะเป็นธรรมได้นั้น ดิฉันยอมรับว่าเป็นคำถามที่เกินสติปัญญาของดิฉัน ตรงนี้คุณอาจเสนอก็ได้ว่าทำให้ทุกคนมีหลักศีลธรรมประจำใจแบบพุทธศาสนาสิ ทุกคนจะได้คิดอะไรคล้ายๆ กัน มุ่งหวังอะไรคล้ายๆ กัน และจึงแสวงหาและบรรลุอะไรคล้ายๆ กัน จะได้ไม่เกิดปัญหาว่าถ้าคนหนึ่งได้ อีกคนหนึ่งต้องเสีย นั่นก็อาจเป็นทางออกหนึ่งค่ะ แต่ต้องเป็นทางออกที่ตามมาหลังจากขบคิดถึงปัญหาเรื่องกฎหมายในกรอบของทางโลกก่อน ไม่ใช่มาถึงก็จะเอาพุทธศาสนาเลย อย่าลืมนะคะว่าสังคมนี้มีทั้งคนที่เลื่อมใสพุทธและไม่เลื่อมใสศาสนา (พุทธหรือศาสนาใดๆ) อยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องคิดถึงเหตุผลที่คนพวกหลังยอมรับได้ด้วยค่ะ
     
  6. Khaning

    Khaning เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +197
    ต้องระวังนิดหนึ่งค่ะ ดิฉันไม่ได้เกรงว่าคนศาสนาอื่นจะน้อยใจค่ะ น้อยใจเป็นความรู้สึก และดิฉันไม่เห็นด้วยอยู่แล้วที่จะใช้ความรู้สึกมาเป็นเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจทางการเมือง ไม่งั้นจะพูดให้ระวังเรื่องอคติทำไม อคติไม่ใช่ความรู้สึกทางลบแบบที่เห็นของตัวเองดีและของคนอื่นเลวหรอกหรือคะ? ดิฉันก็เห็นเหมือนคุณว่า กฎหมายจะศักดิ์สิทธิ์ได้ คนต้องมีจิตสำนึกที่เคารพในกฎหมายก่อน แต่ดิฉันถามว่า แล้วทำอย่างไรคนจะมีจิตสำนึกที่เคารพกฎหมายได้? ถ้าตอบว่าก็เพราะกฎหมายมันศักดิ์สิทธิ์น่ะสิ ประเด็นนี้ก็คงไม่ไปถึงไหนหรอกค่ะ วนเป็นไก่กับไข่ใครเกิดก่อนกันอยู่นั่นแหล่ะ ดิฉันว่าเราน่าจะมองอย่างสร้างสรรค์แทนว่า ในเมื่อคุณศรัทธาในศาสนาของคุณและอยากนำหลักคำสอนของศาสนามาใช้เป็นกฎหมาย คนอื่นเขาก็อยากเหมือนกัน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือ ใช้กฎหมายของทางโลกนั่นแหล่ะค่ะ (เหมือนเชื่อคนกลางน่ะค่ะ) จะได้ไม่ต้องขัดเคืองใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย ส่วนคุณจะตีความว่ากฎหมายของทางโลกตรงกับของศาสนาพุทธคุณก็ทำได้ ขณะเดียวกันก็เปิดช่องให้อีกฝ่ายเค้าทำได้เหมือนกันด้วย ทุกฝ่ายจะได้เคารพกฎหมายอย่างเต็มอกเต็มใจได้ไงคะ
    เรื่องนี้ก็เพียงแค่คุณเข้าใจว่าความชอบธรรม (หรือที่คุณชอบเรียกว่าจิตสำนึกของคนต่อกฎหมาย) มันมีเรื่องที่มามาเกี่ยวด้วย ไม่ใช่แค่เนื้อหาอย่างเดียวค่ะ
     
  7. Khaning

    Khaning เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +197
    ดิฉันไม่ค่อยรู้ที่ไอน์สไตน์กล่าวถึงพุทธศาสนาเท่าไหร่ แต่ที่พอทราบคือชาว ตะวันตกที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับคริสต์ศาสนาที่บังคับให้เชื่อพระเจ้า และไม่ยอมให้ศึกษาค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ เพราะถือว่าเป็นการอวดดีและไม่นับถือพระเจ้า (ซึ่งแปลกเพราะจริงๆ ถ้าเชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลก ยิ่งค้นคว้าและรู้มากขึ้นเกี่ยวกับธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างก็เท่ากับจะยิ่งรู้จักองค์พระผู้สร้างมากขึ้น แต่เรื่องนี้ช่างเค้าเถอะค่ะ) และไอน์สไตน์เองก็เคยกล่าวไว้ชัดเจนว่า ถ้ามีพระเจ้าจริง พระเจ้าของเขาต้องเป็นแบบที่ Baruck Spinoza นักปรัชญาเหตุผลนิยมศตวรรษที่ 17 กล่าวไว้ว่า Deus sive natura คือ พระเจ้าก็คือสิ่งเดียวกับธรรมชาติ ถ้ามองในแง่นี้ ก็คือไอน์สไตน์ไม่อยากถูกพรากโอกาสแสวงหาความรู้ไปเพียงเพราะคำขู่เรื่องพระเจ้า ดังนั้น ดิฉันจึงคิดว่าส่วนหนึ่งที่ไอน์สไตน์ชอบพระพุทธศาสนาก็เพราะเป็นศาสนาที่สนับสนุนให้เขาสามารถค้นคว้าแสวงหาเพื่อทำความรู้จักกับธรรม ชาติอันยิ่งใหญ่และน่าพิศวงได้ดีกว่าคริสตศาสนาซึ่งห้ามเรื่องนี้ค่ะ ส่วนที่ว่าเขาจะซาบซึ้งกับคำสอนของพุทธศาสนาด้วยหรือไม่นั้น ดิฉันไม่ทราบเพราะอ่านมาน้อย แต่ถึงเป็นเช่นนั้นจริงก็ไม่แปลก เพราะหนังสือ Ethics ที่ Spinoza ที่เขาชอบเขียน ก็มีหลายส่วนที่คล้ายแนวคิดของพุทธศาสนา (เช่นเรื่องการรู้เท่าทันกิเลสและจิต) เพียงแต่ยังจัดอยู่ในขั้นประถมเท่านั้นถ้าเทียบกับแนวคิดของพุทธฯ ทั้งหมด เพราะยังติดกับตัวตนและไม่เสนอทางหลุดพ้น
    แต่ไม่ว่าความชอบส่วนตัวของไอน์สไตน์จะเป็นเช่นไร นั่นก็เรื่องของเขานะคะในความคิดของดิฉัน ไอน์สไตน์เองก็คงมีเหตุผลของเขาเอง และเหตุผลที่เขากล่าวออกมาจะเป็นสิ่งเดียวกับที่เขาคิดจริงๆ รึเปล่าเราก็ไม่อาจแน่ใจได้
    ก็อย่างที่บอกนั่นแหล่ะค่ะ ชีวิตส่วนตัวก็เรื่องหนึ่ง คำตอบสำหรับคนทั้งสังคมก็อีกเรื่อง ในชีวิตส่วนตัว คุณใช้เหตุผลได้อย่างอิสระ แต่ในชีวิตสาธารณะ คงทำแบบเดียวกันไม่ได้ ไอน์สไตน์ก็ไอน์สไตน์เถอะค่ะ ถ้าจะมาเที่ยวบังคับใช้ศีล ธรรมของศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นกฎหมายเอากับคนศาสนาอื่นๆ ที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน เขาก็ต้องสามารถให้เหตุผลที่คนเหล่านั้นยอมรับได้ก่อนอยู่ดีค่ะ
    ดังนั้น สรุปก็คือ เหตุผลทางโลกจะดีหรือไม่ดิฉันไม่รู้ แต่เหตุผลชนิดนี้แหล่ะค่ะที่ทำให้คนเราอยู่ร่วมโลกกันได้ทั้งที่มีความแตกต่างมากๆ ระหว่างกันอยู่
    สุดท้ายนี้ ไม่มีอะไรจะพูดแล้วค่ะ ขอพอแค่นี้แล้วกัน ตัวดิฉันเองจะนำสิ่งที่คุณกล่าวในกระทู้นี้ไปคิด หมั่นสำรวจอคติของตัวเอง และหมั่นศึกษาธรรมะของพระพุทธองค์ เพื่อที่ซักวันนึงดิฉันอาจเข้าใจสิ่งที่คุณกล่าวได้ดีกว่าในตอนนี้และมีปัญญาแตกฉานในพระธรรมมากขึ้นค่ะ
     
  8. เด็กเมื่อวานซืน

    เด็กเมื่อวานซืน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +1,222

    ที่ว่ากฏหมายไม่เป็นธรรมตรงไหนหละครับ ?

    เอาง่าย ๆ ตัวอย่างที่น่าจะเข้าประเด็นนี้ของคุณคะนิ้งเรื่องสิทธิเสรีภาพ

    CASE STUDY กรณีชาวไทยบนพื้นที่สูง(ชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ ) ที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
    ที่มีปัญหาร้องเรียนการใช้สิทธิว่า พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติจากข้าราชการ
    ทำให้พวกเขา ตกสำรวจไม่มีสิทธิ

    ถ้าเจ้าหน้าที่มีจิตสำนึกว่า ต้องปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเต็มที่ พิสูจน์สัญชาติให้เสร็จอย่างเรียบร้อยและเป็นธรรม ทุกอย่างมันก็คงไม่มีปัญหา

    นี่นายอำเภอขนาดมีข่าวดัง ๆ ก็ยังกลัวเสียหน้า ไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ให้เรียบร้อยตามหน้าที่ ที่กฏหมายระบุไว้เลยครับ จนต้องให้ศาลปกครองสั่งนั่นถึงจะทำ มันเพราะอะไร ?

    ข้าราชการไทย มีจิตสำนึกเคารพกฏหมายหรือเปล่า ?
    ข้าราชการไทย มีจิตสำนึกเคารพหน้าที่ของตำแหน่งตัวเอง ที่กฏหมายระบุไว้ไหม ?

    ปัญหาของ CASE นี้มันเกิดมาจากกฏหมายหรือ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ราชการในระบบราชการไทยหละครับ ?

    ในอีกด้านหนึ่ง
    ถ้าเกิดมีการแก้กฏหมายนี้ เพื่อความเป็นธรรมของ พี่น้องชาวไทยบนพื้นที่สูง ย่อมดีแน่ ๆ


    แต่
    แล้วถ้า ข้าราชการไทย(เหมือนเดิมอีกนั่นแหละ) เอาโควต้าตรงนี้ไปสวมรอยให้กับ คนต่างชาติ เช่น พม่า ลาว เขมร ที่หลบหนีเข้าเมืองหละครับ ? อะไรจะเกิดขึ้น ? (มี Caseแบบนี้แน่ ๆ ครับ 100 %)

    แล้วพี่น้องคนไทยที่ไม่ได้สิทธิเดิมนั่น จะได้สิทธิเป็นคนไทยอย่างที่เขาต้องการหรือเปล่าหละครับ ?



    โดยความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้แก้อะไรหรอกครับ ตามความเป็นจริง แค่ รัฐมนตรี หรือ แค่ อธิบดีกรม หรือ ข้าราชการระดับสูง สั่งมา นายอำเภอก็ทำได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องแก้กฏหมายด้วยซ้ำไป ขึ้นอยู่กับว่า นโยบายพรรคการเมืองรัฐบาลตอนนั้นจะเป็นอย่างไรครับ

    เรื่องนิสัยข้าราชการไทย ทำงานแบบเช้าชามเย็นชามนี่

    ร.5 ก็ทรงนิพนธ์ถึงไว้เหมือนกันครับ พระองค์ทรงบอกว่า สมัยก่อนเนี่ย ข้าราชการไทย ที่เป็นระดับเจ้าคนนายคนเนี่ย ถึงกับนั่งทำงานอยู่กับบ้านเลยนะครับ ข้าราชการชั้นผู้น้อยต้องเอาหนังสือไปให้เซ็นต์รับรองถึงบ้านเจ้านายเลยก็มี

    บางวัน มาทำงานสาย ๆ บ่าย ๆ กลับก็มี นี่หละครับ มันเป็นนิสัยฝักรากลึกกันมานมนานแล้วครับ

    ถามว่า กฏหมายที่ลงโทษข้าราชการหลังยาวพวกนี้มีไหม ?
    มีครับ แต่ไม่เคยได้รับการปฏิบัติจริงจัง (ก็น่าจะรู้ ๆ กันอยู่ผมคงไม่ต้องอธิบายมาก )

    อย่างนี้ ยังจะบอกว่า กฏหมายไม่ให้ความเป็นธรรมหรือเปล่าครับ ?

    แบบนี้ การปฏิบัติตามกฏหมาย และ จิตสำนึกต่อกฏหมาย มีมากน้อยแค่ไหนครับ ?

    ------------------------------------------------------------------
    แล้วถ้าจะโยงเรื่อง จิตสำนึกของ ข้าราชการไทย เข้ากับหลักศาสนาก็ได้ครับ
    ข้าราชการที่ ไม่ยอมทำตามหน้าที่ตามกฏหมาย เช่น สวมรอยคนต่างด้าว พม่า เขมร ลาว เป็นคนไทย ก็เท่ากับ พวกนี้ ฉ้อโกงประเทศชาติ มันก็ผิดศีลอยู่ดีใช่หรือไม่ครับ ?

    โบราณมีสุภาษิตว่า ฉ้อราษฏร์ บังหลวง ผมว่าตรงตัวที่สุดครับ
     
  9. เด็กเมื่อวานซืน

    เด็กเมื่อวานซืน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +1,222

    ผมก็บอกแล้วนี่ครับ ว่า รากฐานของกฏหมายทั่วโลก มันมาจากหลักศาสนา จะศาสนาไหนก็แล้วแต่ (ไม่มีทางหนีพ้นหรอกครับ)
    ตรงนี้ มันคือ FACT ครับ ส่วนใครจะยอมรับไม่ยอมรับ จะเต็มอกเต็มใจหรือไม่ นั่นเป็นเรื่องของตัวบุคคลครับ และ จิตสำนึก

    และก็อย่างที่บอกไปว่า กฏหมายไม่เคยเลือกปฏิบัติต่อคนที่นับถือศาสนาต่างกัน หรือ ต่างเผ่าพันธุ์
    ถ้าคุณทำผิด คุณต้องได้รับการลงโทษครับ


    ---------------------------------------

    ถ้าดูตามประวัติศาสตร์ไทย เรื่องกฏหมายไทย (ต่อให้มาจากรากฐานทางพระพุทธศาสนาก็ตาม) ไม่เคยเลือกปฏิบัติต่อคนนับถือพุทธมากกว่า ศาสนาอื่นครับ

    ถ้าจะดูตัวอย่างเรื่อง การแบ่ง กฏหมายตามศาสนานี่ มีตัวอย่างมาแล้วครับ

    เช่น การปกครองแขกทั้ง 7 หัวเมือง (ก็คือ บริเวณ 3 จังหวัดใต้ที่มีปัญหากันนี่แหละตอนนี้อะครับ)


    รายละเอียดคร่าว ๆ ที่ ทาง สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้มีดังนี้

    ๑). วิธีปกครองเมืองทั้งเจ็ดเป็นอย่างที่เรียกกันว่า "กินเมือง" เจ้าเมืองจะทำอย่างไรก็ได้ สุดแต่อย่าขัดขืนคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเท่านั้น

    ๒). ภาษีอากรยังเก็บอย่างโบราณก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ยกตัวอย่างเช่นเก็บค่านาด้วยเอาจำนวนโคสำหรับใช้ไถนาเป็นเกณฑ์เก็บภาษี โคคู่ละเท่านั้นๆ ไม่ต้องรังวัดเนื้อนา (วิธีนี้เป็นมูลที่เรียกว่า "นาคู่โค" ) ภาษีอย่างอื่นก็ให้จีนรับผูกขาดไปเก็บ ใช้ทั้งวิธีชักส่วนสินค้าและวิธีให้ซื้อขายได้แต่เจ้าภาษี

    ๓). การปกครองราษฎรในท้องที่ก็แล้วแต่เจ้าเมืองจะตั้งใครเป็นนายตำบล และจะต้องการใช้แรงงานเมื่อใด หรือให้ราษฎรหาสิ่งของอย่างไรให้เมื่อใด ก็เกณฑ์ตามใจเจ้าเมือง

    ๔). การชำระตัดสินความอยู่ในอำนาจ "โต๊ะกาลี" คืออาจารย์ทางฝ่ายศาสนาเป็นผู้ชำระตัดสินตามกฎหมายอิสลาม มีเมืองหนองจิกเมืองเดียวที่ใช้กฎหมายไทยเพราะเจ้าเมืองเป็นไทยมาหลายชั่วคนแล้ว


    รายละเอียดทั้งหมดอ่านจาก
    http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/05/K4409228/K4409228.html


    แต่ถึง ขนาดตามใจขนาดนี้ ให้มีศาลศาสนาด้วยก็ตาม ก็ยัง เกิดกรณี ดุซงญอ (รายละเอียดลองหาอ่านดูครับ ) อยู่ดี

    ปัญหามันเกิดมาจาก การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ข้าราชการ ที่พยายาม ใช้กฏหมายไปในทางที่ผิด เอารัดเอาเปรียบคนในพื้นที่ จนทำให้เกิดการลุกฮือก่อความไม่สงบขึ้นมา จนส่งผลมาจนถึงทุกวันนี้

    จะเห็นได้ว่า กฏหมายแทบไม่มีผลอะไรเลย ถ้าผู้บังคับใช้ และ ผู้ที่อยู่ภายใต้กฏหมาย ให้ความเคารพ และมีจิตสำนึก ต่อกฏหมายเพียงพอครับ


    ----------------------------

    ถ้าจะมองแบบเปรียบเทียบอีกอย่าง (ให้คิดเล่น ๆ ครับไม่ต้องตอบ)

    ประเทศไหนในโลกนี้ ที่ยอมให้มีศาลศาสนาต่างหากมั่งหละครับ ?

    เมืองคริสต์ก็ไม่เห็นมีศาลศาสนา อย่าง อังกฤษ หรือ อเมริกา หรือ ออสเตรเลีย คนอิสลามทำผิดก็ยังต้องมาขึ้นศาลของคนคริสต์ ผู้พิพากษา ตุลาการ หรือ แม้แต่ อัยการ ก็คนคริสต์

    เหมือนกัน ถ้าไปอยู่เมืองแขก คนคริสต์ทำผิด ก็ต้องใช้กฏหมายอิสลาม อย่างเช่น กรณี คนอังกฤษไปติดคุกที่จอร์แดน(ถ้าผมจำไม่ผิด) เมื่อ10-20 ปีก่อน

    เช่นกัน ไปอยู่ ซาอุดิอารเบีย คนไทยก็ยังโดนแขวนคอเลยครับ เพราะนำยาเสพย์ติดเข้าประเทศเขา


    แต่เมืองไทย เมืองพุทธ ยังยอมให้มี ศาลศาสนาอื่นได้!
    ใครใจกว้างกว่ากันครับ นี่มองแง่ดีนะ

    แต่ถ้ามองโลกในแง่ของการปกครอง ระบบนิติรัฐของประเทศไทยเป็นอย่างไรครับ ?
    มีประสิิทธิภาพแค่ไหน ?


    แล้วถามว่า คนไทยเคารพ และ มีจิตสำนึกต่อกฏหมายแค่ไหนกันครับ ?
     
  10. เด็กเมื่อวานซืน

    เด็กเมื่อวานซืน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +1,222

    ที่บอกมานี่หละครับ คือความใจกว้างของพระพุทธศาสนา ที่คุณคะนิ้งถามผมมานานนั่นหละครับ

    ท่านเจ้าคุณรูปหนึ่ง ที่เป็นเจ้าอาวาสวัดไทยกุสินารา ประเทศอินเดีย ท่านเคยกล่าวไว้ว่า
    เวลามีคนต่างชาติจะมาขอบวช ท่านก็ยังไม่ให้บวชทันที ให้ลองมาถือศีลก่อน โดยเขายังไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา
    ถ้าพอใจ และ ยอมรับได้ ก็ค่อยมาบวชต่อไป


    คนไทยชอบทำตัวใกล้เกลือกินด่างครับ ของดี ๆ มีอยู่กับตัวไม่ค่อยสนใจ (ผมเขียนโดยภาพรวมนะครับ ไม่ได้เจาะจง หรือนินทาเปรียบเทียบใครนะครับ )

    เพราะว่า เมื่อเกิดมา บิดามารดา ก็หวังดี (หรืออาจจะขี้เกียจคิดมาก) ก็บอกนายอำเภอซะว่า ลูกนับถือพุทธ (ตามบิดามารดาที่เป็นพุทธ)

    เมื่อเด็กเกิดมา ถ้าพ่อแม่ ดูแลดี เป็นคนพุทธจริง ๆ ไม่ใช่พุทธตามทะเบียนบ้าน เขาก็ย่อมซึมซับเอาพระธรรมมาดูแลตัวเอง และ คนรอบข้าง และสังคมให้ดีได้

    แต่ส่วนใหญ่ปัจจุบัน พ่อแม่ก็เป็นแค่พุทธตามทะเบียนบ้าน หรือ อาจจะเป็นพุทธจริง ๆ แต่ความเข้าใจในเรื่องของ ศีลธรรม หลักการปฏิบัติยังน้อยอยู่ (เพราะขี้เกียจ ฯลฯ)

    มันก็เลยทำให้สังคมพุทธไทยเป็นแบบนี้ เมื่อไม่ปฏิบัติไม่รู้อะไร (ศีล,สมาธิ ไม่เคยทำ) จะเอาแต่ธรรมะส่วนยอดเลย ที่ว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา มันก็เลยกลายเป็นแค่สัญญา ความจำได้เท่านั้น ปากก็พูดไป แต่ใจจะเป็นอย่างนั้นจริง ๆ หรือไม่ คำตอบคงเห็นกันได้เป็นปกติ ในสภาพสังคมไทยปัจจุบันดีครับ จึงไม่แปลกอะไร ถ้าคนไทยพุทธส่วนมากจะรู้จักพระพุทธศาสนาไม่มากไปกว่าแค่เรื่องว่า ต้องไปทำบุญ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีนะครับ)

    การรักษาศีลก็รู้ แต่ไม่ยอมทำกัน(ยิ่งมาเจอสิ่งเร้าต่าง ๆ โฆษณายั่วยวนต่าง ๆ ยิ่งไปกันใหญ่) ยิ่งปฏิบัติสมาธินี่ลืมไปได้เลย

    วัฒนธรรมของไทย ที่รับจากศาสนาพุทธมา ทำให้เกิดผลดีต่อคนไทยคือ เราเป็นคนง่าย ๆ หยวน ๆ สบาย ๆ

    ....แต่...

    เราก็รับเอาทางพุทธมาไม่หมดเหมือนกัน เมื่อไม่รับมาให้หมด สภาพประเทศไทยก็เลย หยวน ๆ อย่างทุกวันนี้หละครับ

    เมื่อไรที่เราเจอวัฒนธรรมอื่นที่แข็งกว่า เราก็จะไหลไปทางนั้น สุดท้ายประเทศไทยก็ถึงได้เป็นอย่างทุกวันนี้อย่างไรหละครับ


    ผมก็ขอสรุปจบเหมือนกันครับ เพราะเขียนไปเขียนมาคิดว่า ชาวบ้านคงรำคาญที่จะอ่านเหมือนกันครับ

    ขอให้คุณคะนิ้งได้เจริญก้าวหน้าในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่ง ๆขึ้นไปครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...