หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม" ราเชนทร์ สิมะสุนทร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 12 ธันวาคม 2014.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๕๗ ธรรม


    ในส่วนธรรมานุปัสสนา สติหรือสติปัฎฐานในหมวด ธรรม นั้น เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราย้อนกลับมาพิจารณาถึง "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นเราอันคือขันธ์ทั้งห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และการยึดมั่นถือมั่นเป็นจิตปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนเป็นเราเกิดขึ้น" ว่าธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นมาต่างๆ ด้วยการยึดมั่นถือมั่นนั้น ว่านี่คือ “ อัตตาตัวตนแห่งเรา ” แต่แท้ที่จริงนั้นธรรมทั้งปวงมันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ได้ไม่นาน แล้วธรรมทั้งปวงนั้นก็ต้องเปลี่ยนสภาพไปเพราะมันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ตามสภาพธรรมชาติ ธรรมทั้งปวงมันเป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่ สามารถคงอยู่ในคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆได้ในขณะที่เข้าไปยึดความเป็นมัน ในขณะนั้น ธรรมทั้งปวงย่อมแปรผันไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้นเพราะฉะนั้นจึงไม่มี ธรรมใดๆที่จะคงอยู่ในสภาพของมันเองอยู่อย่างนั้นได้ตลอดไป การพิจารณาธรรมเป็นอุบายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เพื่อให้เราละจากทิฐิความ เห็นที่เป็นธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นมาต่างๆ ด้วยการยึดมั่นถือมั่นนั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” และให้เราเห็นถึงธรรมทั้งปวงนี้แท้จริงหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่ตามความ เป็นจริงตามธรรมชาตินั้นธรรมทั้งปวงย่อมเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านสอนให้เห็นถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงโดยใช้การพิจารณา ธรรมเป็นบาทฐานด้วยการพึงพิจารณาถึงความเป็นจริงว่าธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้น มาต่างๆ ด้วยการยึดมั่นถือมั่นนั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและพึงพิจารณาเห็นถึง ความเป็นจริงว่าธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นมาต่างๆ ด้วยการยึดมั่นถือมั่นนั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นมันเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและให้พึงพิจารณาด้วยว่าใน ความเป็นขันธ์ทั้งห้าอันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นสิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่แปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนหาความเป็น ตัวตนที่แท้จริงไม่ แท้จริงมันย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความ เป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น และพระพุทธองค์มีพุทธประสงค์ให้น้อมนำธรรมภายนอกที่พึงเห็นจากบุคคลอื่นเข้า มาพิจารณาให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงเช่นเดียวกัน เป็นการพิจารณาธรรมในธรรมโดยการพิจารณาธรรมภายในคือธรรมเราเองและธรรมภายนอก คือธรรมของบุคคลอื่นที่พึงเห็น


    การพิจารณาธรรมเป็นบาทฐานจึงย่อม ได้ความเป็นจริงปรากฏขึ้นมาว่าแท้ที่จริง "ทุกสรรพสิ่ง" ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯย่อมทำหน้าที่ตามสภาพธรรมชาติของมัน อยู่อย่างนั้น


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row1"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]




    บทที่ ๕๘ พื้นที่สีแดงก่อนเกิดมิคสัญญี


    โลกที่ฉันใช้เท้ายืนเหยียบมันอยู่ทำไมถึงมีแต่ความร้อนระอุเป็นดั่งทะเลทราย
    สภาพของผู้คนทั่วไปในยุคนี้ล้วนแต่ดำรงชีวิตด้วยความทุกข์ยากตกระกำลำบาก
    ต้นไม้ใบหญ้าก็เหี่ยวเฉาไม่อุดมสมบูรณ์ฟ้าฝนไม่ตกมาหลายปีแล้ว
    ครอบครัวของเราต้องเร่ร่อนอยู่ไม่เป็นที่เพราะความขาดแคลนน้ำ
    การย้ายถิ่นฐานเป็นเรื่องปกติในชีวิตของฉันเท่าที่ฉันจำได้
    หาก เราได้หยุดอยู่เป็นที่นานๆ แสดงว่าที่นั่นพอจะมีแหล่งน้ำให้เราอาศัยดื่มกินบ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การอยู่ร่วมกับครอบครัวอื่นๆได้ก็แสดงว่าครอบครัวนั้นมีความเป็นมิตร
    ไม่ข่มเหงเบียดเบียนทำร้ายครอบครัวเรา
    แต่ที่ผ่านมาพ่อและแม่ไม่เคยไว้ใจใคร
    ครอบครัวของเราเคยถูกปล้นเอาทรัพย์สินที่พอจะมีค่าไปเสียเกือบทั้งหมด
    ในทุกย่างก้าวที่ชีวิตได้พยายามจะก้าวต่อไป
    มันเต็มไปด้วยอุปสรรคมีแต่ภยันตรายอยู่รอบด้าน
    ชีวิตที่ได้เกิดมามันเหมือนถูกขีดเส้นทางให้ต้องมาใช้กรรมวิบากในชาตินี้โดยเฉพาะ
    แม่บอกฉันว่าเราต้องมีความอดทนเพราะผู้คนในยุคนี้ได้ถูกสาปมาให้มีแต่บาปเวร
    แม่เคยวิงวอนให้เทวดาโปรดมีความเมตตาช่วยเหลือผู้ยากไร้หลายชีวิตในครอบครัวของเรา
    แต่ก็ไม่มีแม้แต่สักมือเดียวของคนอยู่บนฟ้า
    ที่จะยื่นมือลงมาตามคำร้องขอวิงวอน
    ปีนี้ฉันมีอายุย่างเข้าสิบปีและถูกจับแต่งงานกับน้องสาวของฉันเองที่เกิดคลานตามกันมา
    แม่ได้บอกในเชิงบังคับว่าการที่ได้พี่น้องกันเองเป็นคู่ครองเป็นเรื่องปกติ
    และเป็นความปลอดภัยของครอบครัวที่ไม่ต้องเสี่ยงต่อการติดต่อกับคนภายนอก
    ฉันรู้ว่าชีวิตของฉันอาจอยู่ได้ไม่นานจึงต้องรีบแต่งงานมีครอบครัวเสียแต่ในตอนนี้
    มนุษย์ในยุคนี้มีอายุไม่ถึงสามสิบปีก็หนีหายล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว
    หากเจ็บป่วยหนักขึ้นมาก็จะมีความตายมายืนรออยู่ตรงหน้าไม่รอดแทบทุกรายไป
    ปีนี้เป็นปีที่แล้งเอามากๆอาหารการกินก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก
    ได้กินหนึ่งมื้อและต้องอดไปอีกหลายมื้อตามปริมาณอาหารอันน้อยนิดที่เหลืออยู่
    เมล็ดพืชพันธุ์ที่เก็บไว้เมื่อปีที่แล้วเพื่อจะนำมาเพาะปลูกเป็นอาหารในปีนี้
    ก็ฝ่อมีเชื้อราขึ้นเต็มไปหมด
    เพราะความดิ้นรนเพื่อให้มีลมหายใจอยู่ในวันนี้ให้ได้
    พ่อจึงต้องออกไปหาอาหารตั้งแต่เช้าและกลับมามือเปล่า
    ในมือของพ่อมีแต่เพียงต้นหญ้ากับแก้กำใหญ่ที่พ่อถกเอามาจากข้างทาง
    พ่อบอกว่าเราต้องเอาหญ้าพวกนี้มาต้มเพื่อกินน้ำ
    และต้องกินมันทั้งหมดเพื่อให้มีใยอาหารไปหล่อเลี้ยงกระเพาะ
    ความหน้ามือตาลายเพราะอดอาหารมานาน
    ทำให้วันนี้เราฝืนที่จะต้องกินอาหาร
    ที่เราไม่เคยคิดว่าจะต้องกินมันมาก่อน




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row1"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๕๙ นีวรณบรรพ

    นิวรณ์ คือ ภาวะธรรมที่เกิดขึ้นและเป็นธรรมอันเข้ามาปิดกั้นขัดขวางให้เราไม่มีสติปัญญา ในการพิจารณาเห็นถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติได้มีอยู่ ๕ ชนิด คือ
    ๑.กามฉันท์ คือ ความพึงพอใจความติดใจหลงใหลในกามคุณทั้งหลาย
    ๒.พยาบาท คือ ความไม่พอใจจากความไม่ได้สมดังปรารถนา
    ๓.ถีน มิทธะ คือ ความห่อเหี่ยว ท้อแท้ หมดหวัง และเศร้าซึม ง่วงเหงาหาวนอน เป็นเหตุให้หมด อาลัยความเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ปล่อยปละละเลยไปตามยถากรรม

    ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน อึดอัดกลัดกลุ้ม ความรำคาญใจ ความวิตกกังวล ทำให้เกิดความเครียด ความหงุดหงิด

    ๕.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ความไม่แน่ใจ

    ใน ส่วนธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้านั้น เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราย้อนกลับมาพิจารณาถึง "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นเราอันคือขันธ์ทั้งห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และการยึดมั่นถือมั่นเป็นจิตปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนเป็นเราเกิดขึ้น" ว่าธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้าที่เกิดขึ้นมาต่างๆ นิวรณ์ธรรมทั้งห้านั้นว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” แต่แท้ที่จริงนั้นธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้ามันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นแล้วตั้ง อยู่ได้ไม่นานแล้วธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้านั้นก็ต้องเปลี่ยนสภาพไปเพราะมัน มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ ธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้ามันเป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้ แน่นอนไม่สามารถคงอยู่ในคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆได้ในขณะที่เข้าไปยึด ความเป็นมันในขณะนั้น ธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้าย่อมแปรผันไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้นเพราะ ฉะนั้นจึงไม่มีธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้าที่จะคงอยู่ในสภาพของมันเองอยู่อย่าง นั้นได้ตลอดไป การพิจารณาธรรมเป็นอุบายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เพื่อให้เราละจากทิฐิความ เห็นที่เป็นธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้าที่เกิดขึ้นมาต่างๆ ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” และให้เราเห็นถึงธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้านี้แท้จริงหาความมีตัวตนที่แท้จริง ไม่ตามความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้นธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้าย่อมเป็นธรรมชาติ แห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านสอนให้เห็นถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงโดยใช้การพิจารณา ธรรมเป็นบาทฐานด้วยการพึงพิจารณาถึงความเป็นจริงว่าธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้า ที่เกิดขึ้นมาต่างๆนั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและพึงพิจารณาเห็นถึง ความเป็นจริงว่าธรรมอันคือนิวรณ์ทั้งห้าที่เกิดขึ้นมาต่างๆนั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นมันเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและให้พึงพิจารณาด้วยว่าใน ความเป็นขันธ์ทั้งห้าอันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นสิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่แปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนหาความเป็น ตัวตนที่แท้จริงไม่ แท้จริงมันย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความ เป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น และพระพุทธองค์มีพุทธประสงค์ให้น้อมนำธรรมภายนอกที่พึงเห็นจากบุคคลอื่นเข้า มาพิจารณาให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงเช่นเดียวกัน เป็นการพิจารณาธรรมในธรรมโดยการพิจารณาธรรมภายในคือธรรมเราเองและธรรมภายนอก คือธรรมของบุคคลอื่นที่พึงเห็น


    การพิจารณาธรรมเป็นบาทฐานจึงย่อม ได้ความเป็นจริงปรากฏขึ้นมาว่าแท้ที่จริง "ทุกสรรพสิ่ง" ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯย่อมทำหน้าที่ตามสภาพธรรมชาติของมัน อยู่อย่างนั้น



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  4. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๖๐ จิตวิญญาณแห่งเมตไตรย


    ครั้งนั้นองค์เมตไตรยได้เสวยศิริราชสมบัติในเมืองอินทปัตต์มหานครทรงพระนาม ว่าบรมสังขจักร มีแก้ว ๗ ประการ อยู่มาในกาลวันหนึ่งพระเจ้าสังขจักรเสด็จทรงนั่งอยู่ภายใต้เศวตฉัตรมีพระทัย ปรารถนาว่าผู้ใดมาบอกข่าวว่าพระพุทธรัตนะพระธรรมรัตนะพระสังฆรัตนะ บังเกิดมีแล้วพระองค์จะสละศิริราชสมบัติบรมจักรพระราชทานให้แก่บุคคลผู้นั้น แล้วพระองค์ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ในกาลนั้นยังมีกุลบุตรเข็ญใจผู้หนึ่งไปบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในพระพุทธศาสนา ด้วยมารดาของสามเณรเป็นทาสทาสีอยู่ในตระกูลหนึ่งสามเณรนั้นคิดแสวงหาทรัพย์ จะไปให้แก่มารดาให้พ้นจากทาสทาสีจึงเที่ยวไปโดยลำดับจนถึงกรุงอินทปัตต์มหา นคร ฝูงมหาชนชาวพระนครไม่รู้จักว่าสามเณรเป็นอย่างไรครั้นเห็นเข้าก็สงสัยว่า เป็นมหายักษ์ก็พากันจับไม้ไล่ทุบตีสามเณรฯ สามเณรนั้นก็กลัววิ่งหนีมหาชนเข้าไปจนถึงพระราชวังไปยืนอยู่ตรงพระพักตร์ของ พระองค์ พระองค์จึงตรัสถามว่ามาณพนี้มีนามชื่อใด เจ้าสามเณรกราบทูลว่าอาตมภาพมีนามว่าสามเณร จึงตรัสถามว่าสามเณรนั้นด้วยเหตุดังฤา สามเณรจึงทูลว่าข้าพเจ้ามีนามว่าสามเณรนั้นด้วยเหตุว่าข้าพเจ้ามิได้กระทำ บาปในภายนอกแล้วตั้งอยู่ภายในแห่งกุศลเหตุดังนั้นจึงมีนามว่าสามเณร พระองค์ก็ทรงตรัสถามว่า นามกรของท่านนั้นบุคคลผู้ใดให้แก่ท่าน สามเณรจึงทูลว่าพระอาจารย์ของข้าพเจ้าให้แก่ข้าพเจ้า พระองค์จึงตรัสถามว่าอาจารย์ของท่านนั้นชื่อดังฤา สามเณรจึงทูลว่าอาจารย์ของอาตมามีนามว่าภิกษุ จึงทรงตรัสถามต่อไปว่าพระอาจารย์ของท่านนั้นมีนามว่าภิกษุนั้นด้วยเหตุดังฤา สามเณรจึงทูลว่าอาจารย์ของข้าพเจ้านั้นชื่อรัตนะเป็นแก้วอันหาค่ามิได้

    ครั้นทรงสดับว่าพระสังฆรัตนะในพระพุทธศาสนาหาได้เป็นอันยากยิ่งนักพระองค์ก็ มีความชื่นชมยินดีหาที่จะอุปมามิได้คำนึงอยู่ในพระราชหฤทัยว่าจะเสด็จลงจาก อาสน์ไปนมัสการเจ้าสามเณรที่ใกล้ ด้วยความปิติกายของพระองค์ก็ลอยไปตกลงตรงหน้าเจ้าสามเณร เดชะที่พระองค์มีพระราชหฤทัยเลื่อมใสในพระสังฆรัตนะดอกประทุมชาติก็บังเกิด ผุดขึ้นรองรับพระองค์ไว้มิได้เป็นอันตรายจึงถวายนมัสการเจ้าสามเณรโดย เบญจางคประดิษฐ์แล้วจึงตรัสถามเจ้าสามเณรต่อไปว่าพระสังฆรัตนะอาจารย์ของ ท่านนั้นบุคคลผู้ใดให้นามกร เจ้าสามเณรก็ทูลว่าอาจารย์ของข้าพเจ้านั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์โปรดประทานให้นามว่าพระสังฆรัตนะแก่อาจารย์ของข้าพเจ้า

    เมื่อสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ผู้ทรงอุตสาหะในพระศาสนาได้ทรงฟังสามเณรออกวาจา ว่า องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วพระองค์ก็ถึงวิสัญญีภาพลงอยู่กับที่ ครั้นพระองค์ได้พระสติขึ้นมา จึงตรัสถามสามเณรอีกว่า ดูก่อนเจ้าสามเณรผู้เจริญบัดนี้องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จยับยั้งอยู่ในที่ ดังฤา สามเณรจึงทูลว่าสมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้าเสด็จยับยั้งอยู่ในบุพพารามวิหาร อันมีอยู่ในอุตตรทิศแต่กรุงอินทปัตต์มหานครนี้ไปไกลกันมีประมาณ ๑๖ โยชน์ ได้ทรงฟังสามเณรแจ้งความว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าบังเกิดแล้วในโลกจึงตรัสว่าดู ก่อนสามเณรผิว่าองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าเสด็จอยู่ในฐานทิศใดเราก็จะไปใน ประเทศทิศนั้นฯ


    สมเด็จพระเจ้าสังขจักรบรมบพิตรผู้ประเสริฐหาความเอื้อเฟื้อในศิริราชสมบัติ บรมจักรของพระองค์มิได้ด้วยมีพระทัยนั้นผูกพันอยู่ในการที่จะได้พบเห็นองค์ สมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นที่ยิ่งอย่างอุกฤษฏ์ก็กระทำการราชาภิเษกเจ้าสามเณร นั้นให้สึกออกเสวยศิริราชสมบัติแทนพระองค์ เป็นพระยาอันประเสริฐ ครั้นกระทำการราชาภิเษกเจ้าสามเณรแล้วก็เสด็จออกแต่พระองค์เดียวโดยอุตตราภิ มุขมีพระทัยเฉพาะต่ออุตตรทิศตั้งพระทัยไปสู่บุพพารามวิหารอันเป็นที่ประทับ แห่งองค์สมเด็จสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้า


    สมเด็จบรมสังขจักรจอมทวีปเป็นสุขมาลชาติพระสรีรกายนั้นละเอียดอ่อนเป็นอันดี เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปตามมรรคาหนทางแต่พระบาทเปล่าเวลาวันเดียวพระบาท ทั้ง ๒ ข้างก็ภินทนาการแตกออกจนพระโลหิตไหลตามฝ่าพระบาททั้ง ๒ เมื่อพระบาททั้ง ๒ ทำลายจะเดินไปมิได้แล้ว ในกาลนั้นพระองค์ก็ลงนั่งคุกเข่าคลานไปทีละน้อยค่อยคมนาการไปตามหนทางที่ เจ้าสามเณรชี้แจงบอกมานั้นจะได้ละความเพียรเสียหามิได้ ครั้นล่วงไปถึง ๔ วันพระหัตถ์ซ้ายขวาและพระชงฆ์ทั้ง ๒ ข้างนั้นก็แตกช้ำโลหิตไหลออกมาจะคลุกคลานไปก็มิได้ให้เจ็บปวดแสนสาหัสเห็น ขัดสนพระทัยนักแล้วถึงกระนั้นพระองค์จะได้คิดท้อถอยย้อนรอยกลับคืนมาหามิได้ อาตมาต้องไปให้ถึงสำนักองค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้าให้จงได้ ครั้นพระองค์คุกคลานไปมิได้แล้วก็ลงพังพาบไถลไปแต่ทีละน้อยด้วยพระอุระของ พระองค์ประกอบไปด้วยทุกขเวทนาเหลือที่จะอดกลั้นพระองค์ยึดหน่วงเอาพระ พุทธคุณของสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ด้วยพระเจตนาจะใคร่พบเห็นพระผู้เป็น อธิบดีอันใหญ่ยิ่งแล้วก็ทรงอดกลั้นซึ่งทุกขเวทนานั้นเสียหาเอื้อเฟื้ออาลัย ในร่างกายของพระองค์ไม่ฯ


    ครั้งนั้นสมเด็จสัพพัญญูผู้ประเสริฐพระองค์ทรงพระมหากรุณาเล็งดูสัตว์โลก ทั้งหลายด้วยสัพพัญญุตาญาณก็รู้แจ้งเห็นด้วยกำลังความเพียรแห่งบรมสังขจักร นั้นเป็นอุกฤษฏ์ยิ่งโดยวิเศษ แล้วก็มิใช่อื่นมิใช่ไกลเป็นหน่อพุทธางกูรพุทธพงศ์อันเดียวกันกับพระตถาคต สมควรที่พระตถาคตจักเสด็จไปสู่ที่ใกล้แห่งบรมสังขจักรเมื่อพระองค์ทรงพระ ดำริแล้วก็เสด็จพระพุทธดำเนินมาด้วยพระศิริวิลาสเป็นอันงามแล้วพระองค์กระทำ อิทธิฤทธิ์นิรมิตพระบวรกายของพระองค์ให้อันตรธานสูญหายกลับกลายเป็นมาณพ หนุ่มน้อยขึ้นขับรถทวนมรรคามาเฉพาะหน้าแห่งสมเด็จบรมสังขจักรนั้น แล้วพระพุทธสัพพัญญูเจ้าจึงร้องถามไปว่าผู้ใดมานอนอยู่กลางทางขวางหน้ารถเรา จงหลีกไปเสียเราจะขับรถไปฯฝ่ายพระบรมโพธิสัตว์จึงตรัสตอบพระพุทธฎีกาว่า ดูก่อนนายสารถีผู้ขับรถท่านจะมาขับเราไปให้พ้นจากหนทางนั้นด้วยเหตุดังฤาตัว เราผู้รู้จักคุณสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ยิ่งนักชอบแต่นายสารถีจะยั้งรถ ของท่านให้หลีกเราเสียจึงจะสมควรถ้าท่านไม่หลีกก็ให้ท่านขับรถไปเหนือหลัง เราเถิดซึ่งจะให้เราหลีกนั้นเราหาหลีกไม่ แล้วจึงมีพระพุทธฎีกาว่าถ้าแหละท่านจะไปยังสำนักพระพุทธเจ้าแล้วจงมาขึ้นรถ ไปกับเราเถิด เราจะพาท่านไปให้ถึงสำนักสมเด็จพระพุทธเจ้าให้สมดังความปรารถนา พระจอมขัตติยาจึงตอบว่าถ้าท่านเอ็นดูกรุณาแก่เราเราก็มีความยินดีสาธุ อนุโมทนาด้วยท่าน ว่าแล้วหน่อพระพิชิตมารก็อุตสาหะดำรงทรงพระกายขึ้นสู่รถแห่งสมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หันหน้ารถไปตามมรรคาพาพระยาสังขจักรไป


    ครั้นถึงกึ่งกลางมรรคาหนทางแล้วสมเด็จพระอมรินทราธิราชสักกเทวราชกับองค์ดวง สุชาดาอสูรกัญญาผู้เป็นอัครมเหสีนั้นนำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์กับทั้งน้ำ ทิพย์ลงมาจำแลงเพศเป็นบุรุษยืนอยู่ตรงหน้ารถแล้วร้องว่า ดูก่อนนายสารถีผู้เจริญเอ๋ยท่านอยากข้าวน้ำโภชนาหารหรือ เราจะให้ เมื่อโกสีย์อมรินทราธิราชกับนางสุชาดาอสูรกัญญากล่าวดังนั้นสมเด็จพระ สัพพัญญูเจ้าซึ่งแปลงเพศเป็นนายสารถีขับรถจึงว่า มาณพผู้เจริญบุรษทุพลภาพผู้หนึ่งมาในรถด้วยเรามีความลำบากเวทนานักท่านจะให้ ข้าวน้ำโภชนาหารแก่เราก็ให้เถิดเราจะได้ให้แก่บุรุษทุพลภาพนั้นบริโภค ท้าวโกสีย์อมรินทร์กับนางสุชาดาอสูรกัญญาก็ให้ข้าวน้ำโภชนาหารอันเป็นทิพย์ แก่องค์สมเด็จพระมหาบุรุษสัทธรรมสารถีผู้ประเสริฐพระองค์ก็ประธานให้แก่พระ บรมโพธิสัตว์บรมสังขจักรเสวยข้าวน้ำโภชนาหารอันเป็นทิพย์ครั้นพระองค์เสวย อิ่มหนำสำเร็จแล้วด้วยเดชะข้าวน้ำโภชนาหารอันเป็นทิพย์อุปัทวโทมนัส ทุกขเวทนาในสรีรกายก็อันตรธานหายพระองค์ก็มีสรีรกายเป็นสุขเสมอเหมือนแต่ ก่อน


    องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็พาพระยาสังขจักรไปใกล้บุพพารามวิหารแล้วพระองค์ก็ นิสีทนาการนั่งบนพระบวรพุทธอาสน์ในพระวิหาร ส่วนสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ก็เสด็จลงจากรถเข้าไปสู่บุพพารามวิหารทอดพระเนตร แลไปได้ทัศนาการเห็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าผู้ประกอบไปด้วยทวัตติงสมหาบุรุษ ลักษณะอสีตยานุพยัญชนะประดับทั้งพระพุทธะรัศมีอันโอภาสสว่างรุ่งเรืองออกจาก พระวรกายอันเสด็จทรงนั่งอยู่ในที่นั้นพระองค์ก็ทรงวิสัญญีภาพลงตรงพระพักตร์ แห่งสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคด้วยความโสมนัสสาการเกิดความปิติยินดีหาที่สุดมิ ได้ ส่วนสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่าดูก่อนมหาบุรุษราชผู้เป็น อภิชาตชายอันประเสริฐพระตถาคตเสด็จอยู่ในที่นี้แล้ว


    ครั้งนั้นสมเด็จพระบรมสังขจักรก็ได้ซึ่งอัสสาสประสาทเกิดความยินดีชื่นชมก้ม เศียรเกล้า คลานเข้าไปในสำนักสมเด็จพระพุทธองค์เจ้าเสด็จนั่งยังที่อันสมควรแล้วจึงยก พระกรขึ้นประนมบังคมเหนือศิโรตม์กระทำอภิวาทนมัสการกราบทูลว่า ภนฺเต ภควา ข้าแต่สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าบัดนี้ข้าพระบาทถึงสำนักพระองค์เจ้าแล้วขอจงทรง พระกรุณาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระพุทธเจ้า โปรดตรัสแสดงพระธรรมเทศนาอันอุดมให้ข้าพระบาทฟังในกาลบัดนี้ฯ


    ปางนั้นสมเด็จพระชินศรีจึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาโปรดแก่พระยาสังขจักร เมื่อพระองค์ได้ทรงสดับพระสัทธรรมเทศนาบทหนึ่งสิ้นเนื้อความลงแล้วก็ทูลห้าม สมเด็จพระพุทธเจ้าว่าขอพระองค์จงหยุดพระธรรมเทศนาเสียเถิดอย่าทรงสำแดงต่อไป เลยฯ พระองค์จึงกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าเกล้ากระหม่อมฉันได้สดับฟังพระสัทธรรมของพระองค์ในกาลบัดนี้ พระองค์ทรงพระมหากรุณาตรัสพระสัทธรรมเทศนาสำแดงพระนิพพานอันเดียวเป็นที่สุด พระสัทธรรมอยู่แล้วข้าพระพุทธเจ้าจะตัดเศียรเกล้าอันเป็นที่สุดแห่งสรีรกาย แห่งข้าพเจ้าออกกระทำสักการบูชาพระสัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระพุทธองค์ก่อน ตรัสดังนั้นแล้วพระเจ้าสังขจักรผู้มีอัธยาศัยอันยิ่งจึงทรงอธิษฐานขอให้เล็บ ของพระองค์คมดังพระแสงดาบเด็ดซึ่งพระศอให้ขาดแล้ววางไว้บนฝ่าพระหัตถ์ตั้ง ปณิธานความปรารถนาออกพระโอษฐ์ตรัสด้วยวาจาว่า ภนฺเต ภควา ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงศิริเป็นที่เฉลิมโลกเชิญพระองค์เสด็จเข้าสู่เมืองแก้ว อันเกษมสานต์ คือพระอมตมหานิพพานอันสำราญก่อนข้าพระบาทเถิดข้าพระบาทจะขอตามเสด็จไปสู่พระ นิพพานอันสำราญต่อภายหลังด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายเศียรเกล้าบูชาพระ สัทธรรมเทศนาของพระองค์ในกาลบัดนี้ ในที่สุดขาดพระวาจาปณิธานปรารถนาลงพระบรมโพธิสัตว์ก็จุติจิตต์สิ้นชีวิตไป บังเกิดในดุสิตาสวรรค์เทวโลกฯ


    ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เมตไตรยเจ้าได้ตรัสเป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธ เจ้าแล้วจึงมีพระองค์สูงได้ ๘๘ ศอกด้วยผลทานที่เด็ดพระเศียรกระทำสักการบูชาพระสัทธรรมพระองค์ทรงพระรัศมี สิ้นทั้งกลางวันกลางคืนมิได้ขาดนั้นด้วยผลอานิสงส์ที่พระองค์ทรงอุตสาหไปใน มรรคาหนทางปรารถนาจะพบเห็นสมเด็จพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตไหลออกจากพระบาทและ พระชงฆ์ พระหัตถ์พระอุระของพระองค์เมื่อเป็นบรมสังขจักรนั้นฯ อนึ่ง พระพุทธรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านตลอดไปเบื้องบนจนถึงพรหมโลกเบื้องต่ำตลอดลงไป จนถึงมหาอเวจีนรกด้วยผลอานิสงส์ที่พระองค์เด็ดพระเศียรออกกระทำสักการบูชา พระสัทธรรมโลหิตไหลออกจากพระเศียร อนึ่ง ในพระศาสนาเมตไตรยเจ้าบังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์นึกได้สำเร็จความปรารถนานั้น ด้วยผลอานิสงส์ที่พระองค์เสด็จไปตามมรรคหนทางจะใคร่พบองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ถ้วนถึง ๗ วันเป็นกำหนด จึงได้ประสพพบปะฯ




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  5. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๖๑ ขันธบรรพ

    ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาในความเป็นเราที่เพียงแต่ได้อาศัยไปในการ ดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นไปในความเป็นปกติของธรรมชาติที่แท้จริง

    ๑.รูป คือ รูปกายอันมีอวัยวะ ๓๒ ประการ
    ๒.เวทนา คือ ความรู้สึกทั้งหลาย
    ๓.สัญญา คือ ความจำได้รู้ได้ถึงความเป็นสิ่งต่างๆ
    ๔.สังขาร คือ ความปรุงแต่งไปในความหมายต่างๆ
    ๕.วิญญาณ คือ การรับรู้สิ่งที่เข้ามาทางอายตนะ

    ใน ส่วนธรรมอันคือขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราย้อนกลับมาพิจารณาถึง "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นเราอันคือขันธ์ทั้งห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ " ว่าธรรมอันคือขันธ์ทั้งที่เกิดขึ้นมานั้นแท้ที่จริงนั้นขันธ์ทั้งห้ามันก็ ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ได้ไม่นานแล้วขันธ์ทั้งห้านั้นก็ต้องเปลี่ยน สภาพไปเพราะมันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่สามารถคงอยู่ใน คุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆได้ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมแปรผันไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้นเพราะฉะนั้นจึงไม่มีขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่จะคงอยู่ในสภาพของมันเองอยู่อย่างนั้นได้ตลอดไป การพิจารณาธรรมเป็นอุบายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เพื่อให้เราละจากทิฐิความ เห็นที่ยังเห็นว่ามีขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้นอยู่และให้เราเห็นถึงขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้แท้จริงหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่ตามความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้นขันธ์ ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่ อย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านสอนให้เห็นถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงโดยใช้การพิจารณา ธรรมเป็นบาทฐานด้วยการพึงพิจารณาถึงความเป็นจริงว่าขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นมานั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน และพระพุทธองค์มีพุทธประสงค์ให้น้อมนำธรรมภายนอกที่พึงเห็นจากบุคคลอื่นเข้า มาพิจารณาให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงเช่นเดียวกัน เป็นการพิจารณาธรรมในธรรมโดยการพิจารณาธรรมภายในคือธรรมเราเองและธรรมภายนอก คือธรรมของบุคคลอื่นที่พึงเห็น


    การพิจารณาธรรมเป็นบาทฐานจึงย่อม ได้ความเป็นจริงปรากฏขึ้นมาว่าแท้ที่จริง "ทุกสรรพสิ่ง" ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯย่อมทำหน้าที่ตามสภาพธรรมชาติของมัน อยู่อย่างนั้น




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  6. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๖๒ ข้าวมื้อเย็นที่พระประโทน


    ฉันต้องใช้ความอดทนกัดฟันเดินหางานตั้งแต่เช้ายันเย็น
    ข้าวยังไม่ตกถึงท้องเลยสักเม็ดเดียว
    ร่างกายมันมีอาการอ่อนล้าโรยแรงเพราะแสบท้องและหิวเอามากๆ
    บริษัทต่างๆได้แต่รับใบสมัครงานไว้แล้วแต่จะเรียกมาสัมภาษณ์ภายหลัง
    พนักงานฝ่ายบุคคลที่บริษัทนั้นต่างก็พูดให้คนสมัครงานเช่นฉันแทบหมดกำลังใจ
    เพราะในยามเศรษฐกิจตกสะเก็ดแบบนี้มีคนมาสมัครงานในที่เดียวกันเป็นจำนวนหลายร้อยคน
    ในตำแหน่งงานที่เปิดรับพนักงานแค่สองถึงสามคน
    เพราะพิษค่าเงินบาทเมื่อ 2539 ปีที่แล้วทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกพังพินาศ
    ไทยต้องตกเป็นลูกหนี้ธนาคารโลกเพราะยืมเงินดอลลาร์มาโปะค่าเงินบาทให้แข็งขึ้น
    ทุกประเทศต่างตราหน้าไทยว่าเป็นประเทศที่ล้มละลายไปแล้ว
    ไม่มีใครอยากมาลงทุนในประเทศไทยอีกต่อไป
    ธนาคารต่างๆและบริษัทห้างร้านล้วนแต่มีนโยบายเอาพนักงานออกเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
    ประเทศไทยล้มละลายมันทำให้ชีวิตของฉันต้องล้มละลายไปด้วย
    สำนักงานทนายความของฉันต้องปิดตัวลงเพราะหาเงินไม่ทันใช้หนี้ที่กู้ยืมเขามา
    วันที่ฉันหมดเนื้อหมดตัวมันทำให้ฉันต้องไปยืนอยู่ที่สนามหลวงเพียงลำพัง
    คลำดูเงินในกระเป๋ามีเหรียญอยู่เพียงยี่สิบบาท
    ยามที่ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใครมันทำให้ฉันรู้สึกได้ว่า
    ทำไมฉันถึงไม่มีญาติพี่น้องที่จะพึ่งพาได้บ้าง
    ทำไมตอนนี้ชีวิตของฉันเหลือเพียงแต่ตัวฉันคนเดียว
    แต่แล้วฟ้าก็ยังมีความปราณีที่ช่วยกระตุ้นเตือนความทรงจำว่าเรายังมีเพื่อนรัก
    การที่ได้มาหลบอาศัยอยู่กับเพื่อนที่นครปฐมมันทำให้ฉันต้องมีความอดทนมากๆ
    เงินที่เพื่อนหยิบยื่นมาให้ก็เป็นเพียงค่ารถจากนครปฐมมากรุงเทพฯเพื่อหางานให้ได้โดยเร็ววัน
    ยังจำได้อย่างติดตาตรึงใจเลยว่าหลังจากที่ได้งานทำที่บริษัททนายแห่งหนึ่งแล้ว
    ความที่ไม่มีเงินมาทำงานต้องประหยัดเงินด้วยการรีบตื่นและเดินด้วยเท้าตั้งแต่ตีสามครึ่ง
    ต้องเดินในความมืดที่อาศัยแสงไฟจากเสาไฟฟ้าข้างถนนเป็นระยะทางเกือบสี่กิโลทุกวัน
    เป็นระยะทางตั้งแต่บ้านสามควายเผือกมาถึงท่ารถเมล์ที่องค์พระปฐมเจดีย์
    และตอนเย็นของทุกวันก็จะต้องลงรถที่พระประโทนเพื่อเดินลัดกลับเข้าบ้าน
    แต่วันนี้เป็นวันที่น้ำตามันแทบจะไหลออกมาโดยไม่อายใคร
    เพราะก่อนที่จะลงรถมีคนใจดีนั่งข้างๆมาจากกรุงเทพฯชวนคุย
    คุยไปคุยมาก็เผลอบอกความจริงเขาไปว่าตอนนี้ชีวิตกำลังตกอับมาอยู่ที่นครปฐมแห่งนี้
    ทำงานเป็นทนายที่กรุงเทพแต่งตัวอย่างดีแต่กลับไม่มีเงินในกระเป๋าเลย
    ฉันเลยสารภาพกับพี่คนดีคนนั้นไปว่า
    "ผมต้องอดข้าวทุกวันเพื่อประหยัดเงินและเก็บไว้เป็นค่ารถไปทำงาน"
    "วันนี้ผมก็ยังไม่ได้กินข้าวเลย"
    พลันที่พูดจบชายคนนั้นก็มีความเมตตาสงสารชักชวนคนแปลกหน้าอย่างฉัน
    ไปทานข้าวเย็นที่บ้านของเขาโดยพี่เขากำชับว่าอย่าคิดอะไรมาก
    วันนั้นเดินคอตกลงรถเมล์ด้วยความสิ้นหวังในชีวิต
    และเหลือบหน้าไปดูองค์เจดีย์แห่งวัดพระประโทน
    และอธิษฐานในใจว่าขอบคุณบุญกรรมที่ยังมีอยู่วันนี้เราไม่อดข้าวแล้ว
    ความหิวไม่เข้าใครออกใครมันทำให้ฉันต้องเดินตามพี่คนนั้นเข้าไปที่บ้านอย่างคนไม่มีศักดิ์ศรี
    บ้านเป็นบ้านเช่าหลังเล็กๆพี่เขาอยู่กับลูกกับเมียอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาแลดูอบอุ่น
    ถึงพี่เขาจะจนเป็นเพียงลูกจ้างที่ขายแรงงานได้เงินแค่พอมาซื้อข้าวสารและกับข้าวไปวันๆ
    แต่พี่เขากลับรวยน้ำใจชักชวนฉันมาทานข้าวเย็นด้วยในวันนี้
    ฉันรู้สึกอายได้แต่นั่งก้มหน้าและรีบตักข้าวใส่ปากประทังความหิว
    ที่ประทุขึ้นมาเมื่อเห็นข้าวร้อนๆและกับข้าวหลายอย่างวางอยู่ตรงหน้า
    พี่เขาคะยั้นคะยอให้ฉันกินถึงสองจานฉันกินจนลืมความทุกข์ยากของชีวิตไปชั่วขณะหนึ่ง
    ก่อนกลับฉันเต็มใจยกมือไหว้พี่คนนั้นด้วยคำขอบคุณในน้ำใจที่มีอย่างมากมาย
    หลังจากวันนั้นจนถึงวันนี้เวลาได้ล่วงเลยผ่านมาเกือบจะยี่สิบปีแล้ว
    ฉันยังไม่ลืมข้าวเย็นมื้อเดียวและความมีน้ำใจของคนๆหนึ่งที่พระประโทนนั้นเลย
    ฉันได้แต่ตั้งสัจจะวาจาไว้ว่าถ้าหากฉันมีโอกาสในกาลใดกาลหนึ่งในภพชาติข้างหน้า
    ก็ขอให้ฉันได้มีโอกาสได้ตอบแทนพระคุณข้าวมื้อนั้นบ้าง
    ฉันจะทำให้พี่เจ้าของข้าวคนนั้นมีชีวิตที่ไม่ตกต่ำเหมือนเช่นชีวิตของฉันที่ผ่านมา




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การ ให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  7. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๖๓ อายตนบรรพ

    สังโยชน์คือกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะความยึด มั่นถือมั่นในความเป็นขันธ์ทั้งห้าด้วยอาศัยเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะ ซึ่งคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ สังโยชน์มี ๑๐ ประการเป็นกิเลสที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์เป็นธรรมที่มัดสรรพสัตว์ไว้กับ ทุกข์
    ๑. สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นของเรา เป็นว่ามีตัวตน ยึดกายของตน ยึดความคิดเห็นต่างๆเป็นตน
    ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ความเคลือบแคลงในธรรมทั้งปวง มีความสงสัยเพราะไม่รู้
    ๓.สีลัพพตปรามาส ความยึดถือศีลถือพรตอย่างงมงายและคิดว่าเป็นหนทางที่จะทำให้หลุดพ้น
    ๔.กามราคะ ความกำหนัดยินดีใน กามคุณ ๕
    ๑.รูป
    ๒.เสียง
    ๓.กลิ่น
    ๔.รส
    ๕.โผฏฐัพพะ
    ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งทางใจ ทำให้ไม่พอใจ ความขัดใจ หงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ
    ๖.รูปราคะ ติดใจใน รูปธรรม (สิ่งที่มีรูป) ติดใจในอารมณ์แห่ง รูปฌาน ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์)
    ๗.อรูปราคะ ติดใจใน อรูปธรรม ติดใจในอารมณ์แห่ง อรูปฌาน ๔ (ฌานที่มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์)
    ๘.มานะ ความถือตนโดยความรู้สึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา
    ๙.อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่าน จิตส่าย ใจวอกแวก
    ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้แจ้ง

    ใน ส่วนธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ นั้น เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราย้อนกลับมาพิจารณาถึง " สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นเราอันคือขันธ์ทั้งห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และการยึดมั่นถือมั่นเป็นจิตปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนเป็นเราเกิดขึ้น " ว่าสังโยชน์คือกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นขันธ์ทั้ง ห้าด้วยอาศัยเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะซึ่งคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ นั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” แต่แท้ที่จริงนั้นสังโยชน์คือกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นใน ความเป็นขันธ์ทั้งห้าด้วยอาศัยเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะซึ่งคืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖ มันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ได้ไม่นานแล้วสังโยชน์คือกิเลสที่เกิด ขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นขันธ์ทั้งห้าด้วยอาศัยเหตุปัจจัยที่ เข้ามาทางอายตนะซึ่งคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ นั้นก็ต้องเปลี่ยนสภาพไปเพราะมันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ สังโยชน์คือกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นขันธ์ทั้งห้า ด้วยอาศัยเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะซึ่งคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ มันเป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่สามารถคงอยู่ใน คุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆได้ในขณะที่เข้าไปยึดความเป็นมันในขณะนั้น สังโยชน์คือกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นขันธ์ทั้งห้า ด้วยอาศัยเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะซึ่งคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ย่อมแปรผันไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้นเพราะฉะนั้นจึงไม่มีสังโยชน์คือ กิเลสที่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นขันธ์ทั้งห้าด้วยอาศัย เหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะซึ่งคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ใดๆที่จะคงอยู่ในสภาพของมันเองอยู่อย่างนั้นได้ตลอดไป การพิจารณาธรรมเป็นอุบายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เพื่อให้เราละจากทิฐิความ เห็นที่เป็นสังโยชน์คือกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นในความเป็น ขันธ์ทั้งห้าด้วยอาศัยเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะซึ่งคืออายตนะภายในและ ภายนอก ๖ นั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” และให้เราเห็นถึงสังโยชน์คือกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นในความ เป็นขันธ์ทั้งห้าด้วยอาศัยเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะซึ่งคืออายตนะภายใน และภายนอก ๖ นี้แท้จริงหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่ตามความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้น สังโยชน์คือกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นขันธ์ทั้งห้า ด้วยอาศัยเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะซึ่งคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ย่อมเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่ อย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านสอนให้เห็นถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงโดยใช้การพิจารณา ธรรมเป็นบาทฐานด้วยการพึงพิจารณาถึงความเป็นจริงว่าสังโยชน์คือกิเลสที่เกิด ขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นขันธ์ทั้งห้าด้วยอาศัยเหตุปัจจัยที่ เข้ามาทางอายตนะซึ่งคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ นั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและพึงพิจารณาเห็นถึง ความเป็นจริงว่าสังโยชน์คือกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นในความ เป็นขันธ์ทั้งห้าด้วยอาศัยเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะซึ่งคืออายตนะภายใน และภายนอก ๖ นั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นมันเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและให้พึงพิจารณาด้วยว่าใน ความเป็นขันธ์ทั้งห้าอันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นสิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่แปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนหาความเป็น ตัวตนที่แท้จริงไม่ แท้จริงมันย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความ เป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น และพระพุทธองค์มีพุทธประสงค์ให้น้อมนำธรรมภายนอกที่พึงเห็นจากบุคคลอื่นเข้า มาพิจารณาให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงเช่นเดียวกัน เป็นการพิจารณาธรรมในธรรมโดยการพิจารณาธรรมภายในคือธรรมเราเองและธรรมภายนอก คือธรรมของบุคคลอื่นที่พึงเห็น


    การพิจารณาธรรมเป็นบาทฐานจึงย่อม ได้ความเป็นจริงปรากฏขึ้นมาว่าแท้ที่จริง "ทุกสรรพสิ่ง" ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯย่อมทำหน้าที่ตามสภาพธรรมชาติของมัน อยู่อย่างนั้น



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  8. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๖๔ ประเทศไทย


    บ้านเมืองเมื่อสมัยก่อนยังไม่ได้ถูกรวบรวมเป็นรัฐนามว่าประเทศไทยเหมือนปัจจุบันนี้
    ในอดีตที่ผ่านมาชาวไทยได้อาศัยรวมกันอยู่ในชุมชนของตนเอง
    และมีผู้นำกลุ่มซึ่งบุคคลเหล่านี้ต่างก็ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองบริวารของตน
    เมืองที่เก่าแก่และสืบค้นได้เพราะมีพยานหลักฐานว่าเป็นชุมชนโบราณคือ เมืองศรีวิชัย
    ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองสุราษฎร์ธานีและเมืองนครศรีธรรมราช
    ส่วนหัวเมืองที่เก่าแก่ที่สุดทางภาคเหนือก็คือเมืองท่าเหนือหรืออุตรดิตถ์
    ซึ่งเมืองนี้เป็นประตูด่านแรกของการค้าขายและการเดินทางคมนาคมทางน้ำ
    โดยมีชุมชนปรากฏอยู่ที่เมืองฝางหรือบ้านฝางในปัจจุบัน
    เป็นท่าน้ำที่มีความสำคัญเพื่อขนสินค้าขึ้นและลงเรือไปขายต่อยังที่อื่น
    ส่วนเมืองสองแควหรือพิษณุโลกก็เป็นชุมชนเก่าพอๆกับเมืองแห่งพระปฐมเจดีย์
    สองแควเป็นเส้นทางที่พ่อค้าแม่ขายจากทางทิศใต้ได้เดินทางผ่านและแวะพักผ่อน
    ก่อนที่จะเดินทางต่อเพื่อไปขายสินค้าถึงเมืองเหนือจนเลยไปถึงดินแดนแห่งสิบสองปันนาที่อยู่ในประเทศจีน
    เส้นทางค้าขายเส้นนี้เป็นเส้นทางที่พวกพ่อค้าใช้เดินทางมาตั้งแต่โบราณกาล
    จึงอาจเรียกได้ว่าเป็น "silk road" หรือเส้นทางสายไหมอันเก่าแก่ของคนป่าซึ่งเป็นคนไทยที่เคยอยู่ในแถบนี้
    ก็เพราะการเดินทางไปมาเพื่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาอย่างเนิ่นนาน
    ชุมชนในแถบนี้จึงมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและมีการใช้ภาษาที่มีสำเนียงและความหมายที่คล้ายคลึงกันอย่างมาก
    ไม่ แปลกใจเลยที่ประเพณีรดน้ำดำหัวในวันสงกรานต์ของไทยนั้นไปปรากฏอยู่ที่เมือง ไตสิบสองปันนาด้วยจนถึงทุกวันนี้และคนที่นี่ก็พูดภาษาไทยด้วย
    แต่เมืองที่เก่าแก่ที่สุดก็คือเมืองนครปฐมที่มีพระปฐมเจดีย์โดยมีหลักฐานบ่งบอกได้ว่า
    มีการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในยุคแรกๆที่พระเถระชาวอินเดียสองรูป
    ได้นำเอาคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาเข้ามาเป็นครั้งแรกในแถบสุวรรณภูมิ
    โดยปรากฏหลักฐานเป็นกงล้อธรรมจักรมีกวางหมอบ
    ซึ่งเป็นศิลปะยุคแรกๆหลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236
    ในสมัยนั้นดินแดนประเทศไทยยังเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนประชากรก็ยังมีน้อย
    แต่เขมรโบราณหรือขอมยังคงเป็นเมืองที่มีความรุ่งเรืองมั่งคั่งนับตั้งแต่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามายังแถบนี้
    พวกคนไทยในตอนนั้นยังเป็นชุมชนเล็กๆอยู่กันแบบกระจัดกระจาย
    ช่วงที่เมืองขอมสร้างนครวัดนครธมยังปรากฏหลักฐานว่าคนป่าซึ่งเป็นคนไทยในสมัยนั้น
    ไปเป็นแรงงานเพื่อช่วยสร้างสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์นี้
    ถึงแม้ขอมจะแผ่อิทธิพลเข้ามายังไทยจนถึงเมืองลพบุรีจนรุ่งเรืองและเป็นศูนย์กลางแห่งการค้า
    แต่แล้วเมื่อชุมชนของชาวไทยได้เจริญเติบโตขึ้นมีประชากรมากขึ้น
    พระพุทธศาสนาก็เริ่มมีบทบาทเข้ามาเป็นศาสนาหลักของคนแถบนี้จนทำให้ขอมเสื่อมอำนาจลง
    เพราะคนไทยส่วนใหญ่หันมาศรัทธาในคำสอนอันแท้จริงของพระพุทธเจ้า
    ด้วยปรากฏว่าชุมชนของคนอู่ทองและคนอยุธยาได้เริ่มสร้างวัดวาอาราม
    และเป็นการสร้างขึ้นด้วยความงดงามทางด้านศิลปะที่มีความโดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
    ทางด้านเมืองสุโขทัยก็เริ่มรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจของพวกตน
    ถึงแม้ตอนแรกๆในการสร้างเมืองสุโขทัยขอมยังมีบทบาทในสังคมแห่งนี้
    แต่แล้วเมื่อพระพุทธศาสนาได้เริ่มแผ่ขยายไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ
    เมืองสุโขทัยซึ่งนำโดยกษัตริย์ในสมัยนั้นก็ได้มีการสร้างอักษรตัวหนังสือเป็นของตนเอง
    และได้มีการแต่งหนังสือทางด้านพระพุทธศาสนาเล่มแรกขึ้นมาเรียกว่า "ไตรภูมิพระร่วง"
    สุโขทัยในสมัยนั้นรุ่งเรืองมากจนกระทั่งมีอิทธิพลมาถึงชุมชนของชาวอู่ทองสุพรรณบุรี
    มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน
    และมีความสัมพันธ์ทางด้านสาโลหิตโดยกษัตริย์ทั้งสองเมืองต่างก็มีความใกล้ชิดเป็นพระญาติกัน
    ต่อมาสุโขทัยได้หมดอำนาจลงชุมชนชาวอู่ทองได้รุ่งเรืองขึ้นแทน
    และย้ายถิ่นฐานพวกตนมาตั้งเมืองหลวงที่อยุธยาจนเป็นเมืองใหญ่ในสมัยนั้น
    ต่อมา ชาวอยุธยา ชาวพิษณุโลกสุโขทัย และทางปักษ์ใต้เมืองนครศรีธรรมราช
    ต่างก็เต็มใจเรียกพวกตนว่า "เราคือคนไทย" โดยมีเมืองอยุธยาเป็นพระนครหลวง
    แต่การปกครองในสมัยนั้นก็ยังไม่มีความเป็นปึกแผ่นเหมือนความเป็นรัฐในสมัยนี้
    กษัตริย์ในยุคนั้นปกครองบ้านเมืองของใครของมัน
    และต่างก็มีกฎหมายข้อบังคับและจารีตประเพณีเป็นของตนเอง
    เพียงแต่หัวเมืองที่อ่อนแอกว่าจะต้องส่งส่วยเป็นบรรณาการมาสู่เมืองหลวงในทุกปี
    หากปีไหนตั้งใจไม่ส่งและไม่ได้แจ้งข้อขัดข้องก็ถือว่าได้กระด้างกระเดื่องขึ้น
    จนต้องมีการยกทัพมาปราบปรามกันอยู่เสมอๆ
    จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเริ่มรวมตัวกันเป็นชุมชนใหญ่และเรียกตัวเองว่าเป็น "คนไทย" นั้น
    ก็เริ่มนับมาแต่การก่อตั้งเมืองสุโขทัยและเราเป็นอิสระจากขอมได้แล้ว
    และจนกระทั่งอยุธยาได้เป็นเมืองที่ใหญ่และเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคนั้น
    ถือได้ว่าเป็นความมีโชควาสนาของคนไทยที่บรรพบุรุษได้สร้างบ้านแปลงเมือง
    จนมีศิลปวัฒนธรรมและจารีตประเพณีเป็นของตนเอง
    และเพราะด้วยเหตุแห่งการรวบรวมประชากรและอาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ร่วมกันในครั้งเริ่มแรกนั้น
    พวกเราชาวไทยมีความโชคดีอย่างมากๆที่เป็นความประจวบเหมาะ
    เพราะพระพุทธศาสนาได้เข้ามาในแถบสุวรรณภูมิในกาลก่อนหน้านี้แล้วพอดี
    การเริ่มต้นของสังคมไทยจึงเป็นการเริ่มต้นที่มี "พระพุทธศาสนา"
    เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจของชนชาวไทยมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที
    จนอาจกล่าวได้ว่าสังคมไทยเป็น "สังคมแห่งสัมมาทิฐิ"
    มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งชุมชนเป็นของตนเอง
    จึงถือได้ว่าประเทศไทยได้กำเนิดเกิดขึ้นมาเพื่อเป็น "แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง"
    แห่งพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
    จึงขอให้ชาวไทยทั้งหลายจงมีความภาคภูมิใจในแผ่นดินที่ตนได้เกิดมาและอาศัยอยู่
    ว่าผืนแผ่นดินนี้เป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์เคยได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า
    ศาสนาของท่านจักจะเจริญรุ่งเรืองในแถบสวรรณภูมิคือประเทศไทยของเรานี้
    และมาบัดนี้ไทยได้กลายเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาของโลกไปแล้ว
    นี่คือบุญและวาสนาบารมีของพวกเราชาวไทยทุกคน




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  9. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๖๕ โพชฌงคบรรพ

    โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ

    1.สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้
    2.ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
    3.วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
    4.ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
    5.ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
    6.สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
    7.อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง


    โพ ชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดเป็นธรรมที่นำมาพิจารณาเพื่อให้ได้ความจริงตามธรรมชาติของ ทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯ โพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดเป็นธรรมที่เป็นไปเองตามภาวะแห่งธรรมนั้นๆของตัวมันเอง ที่เป็นไปตามความเป็นปกติของธรรมชาติเพราะเหตุแห่งการเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ ที่เราสามารถมีสัมมาสติพึงระลึกได้ถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติของทุกสรรพ สิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น แต่ความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั้นมันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความ เป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วโดยปราศจากเหตุและปัจจัยทำให้มัน เกิดขึ้นมาได้ การที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดเป็นภาวะธรรมขึ้นมาแล้วเข้า ใจว่าธรรมชาติที่แท้จริงจะเกิดขึ้นมาได้ธรรมชาติที่แท้จริงจะมีความบริบูรณ์ เต็มเปี่ยมขึ้นมาได้เพราะเหตุแห่งธรรมเหล่านี้ มันจึงกลายเป็นภาวะธรรมแห่งโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดที่เป็นสิ่งๆที่เป็นอัตตาตัว ตนขึ้นมา

    ในส่วนธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดนั้น เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราย้อนกลับมาพิจารณาถึง "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นเราอันคือขันธ์ทั้งห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และการยึดมั่นถือมั่นเป็นจิตปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนเป็นเราเกิดขึ้น" ว่าธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดนั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” แต่แท้ที่จริงนั้นธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดมันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ได้ไม่นานแล้วธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดนั้นก็ต้องเปลี่ยนสภาพไป เพราะมันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ ธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดมันเป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยง แท้แน่นอนไม่สามารถคงอยู่ในคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆได้ในขณะที่เข้าไป ยึดความเป็นมันในขณะนั้น ธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดย่อมแปรผันไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้นเพราะ ฉะนั้นจึงไม่มีธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดใดๆที่จะคงอยู่ในสภาพของมัน เองอยู่อย่างนั้นได้ตลอดไป การพิจารณาธรรมเป็นอุบายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เพื่อให้เราละจากทิฐิความ เห็นที่เป็นธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดนั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” และให้เราเห็นถึงธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดนี้แท้จริงหาความมีตัวตนที่แท้ จริงไม่ตามความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้นธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดย่อมเป็น ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านสอนให้เห็นถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงโดยใช้การพิจารณา ธรรมเป็นบาทฐานด้วยการพึงพิจารณาถึงความเป็นจริงว่าธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้ง เจ็ดนั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและพึงพิจารณาเห็นถึง ความเป็นจริงว่าธรรมคือโพชฌงค์ธรรมทั้งเจ็ดนั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นมันเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและให้พึงพิจารณาด้วยว่าใน ความเป็นขันธ์ทั้งห้าอันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นสิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่แปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนหาความเป็น ตัวตนที่แท้จริงไม่แท้จริงมันย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น และพระพุทธองค์มีพุทธประสงค์ให้น้อมนำธรรมภายนอกที่พึงเห็นจากบุคคลอื่นเข้า มาพิจารณาให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงเช่นเดียวกัน เป็นการพิจารณาธรรมในธรรมโดยการพิจารณาธรรมภายในคือธรรมเราเองและธรรมภายนอก คือธรรมของบุคคลอื่นที่พึงเห็น

    การพิจารณาธรรมเป็นบาทฐานจึงย่อมได้ ความเป็นจริงปรากฏขึ้นมาว่าแท้ที่จริง "ทุกสรรพสิ่ง" ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯย่อมทำหน้าที่ตามสภาพธรรมชาติของมัน อยู่อย่างนั้น




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  10. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๖๖ บุญของเราชาวศิวิไลซ์ทั้งหลาย

    ข้าวทิพย์ของข้าพเจ้า
    ขาวดั่งดอกบัว
    ยกขึ้นเหนือหัว
    ถวายแด่พระสงฆ์
    จิตใจจำนง
    มุ่งตรงต่อพระนิพพาน
    ขอให้ถึงเมืองแก้ว
    ขอให้แคล้วบ่วงมาร
    ขอให้ได้พบศาสนาพระศรีอาริย์
    ในอนาคตกาลด้วยเทอญ

    ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะวาจาอันคือ "ความตั้งใจมั่น" ของข้าพเจ้าว่า
    ด้วยบุญแห่งข้าพเจ้าที่ทำบุญด้วยข้าวทิพย์ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
    ต่อพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนี้
    ด้วยผลแห่งบุญนั้นและประกอบไปด้วยผลบุญแห่งคุณงามความดี
    อันเป็นกุศลธรรมที่ข้าพเจ้าได้ตั้งใจมั่นเพียรทำมาโดยตลอดในทุกภพทุกชาติที่ผ่านมา
    ด้วยผลบุญอันบริสุทธิ์ทั้งหลายเหล่านี้
    ข้าพเจ้าขอให้ได้ไปเกิดในยุคศาสนาแห่งเมตไตรย
    ขอให้ได้พบเมืองแก้วขอให้แคล้วบ่วงมาร
    ขอให้ถึงพระนิพพานด้วยองค์แห่งเมตไตรยนั้นด้วยเทอญ
    ขอให้คำตั้งสัจจะวาจานี้เป็นจริงทุกประการด้วยเทอญ.

    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  11. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๖๗ สัจจบรรพ

    อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ มีอยู่สี่ประการ คือ
    1.ทุกข์ คือ ภาวะธรรมที่ปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิตต่างๆเป็นสภาพที่ทนได้ยาก เป็นภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นสภาพที่บีบคั้น
    2.ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    3.ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ การพิจารณาถึงความเป็นจริงของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯ และมันเป็นธรรมชาติของทุกสรรพที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนของมันอยู่อย่างนั้น
    4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ หนทางปฏิบัติตามธรรมอันคือธรรมชาติที่นำไปสู่ความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ

    อริยสัจ ทั้งสี่เป็นธรรมที่นำมาพิจารณาเพื่อให้ได้ความจริงตามธรรมชาติของทุกสรรพ สิ่งที่ว่างเปล่าฯ อริยสัจทั้งสี่เป็นธรรมที่มีคุณลักษณะในความเป็นตัวมันเองเพราะเหตุแห่งการ เจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ที่สามารถมีสัมมาสติพึงระลึกได้ถึงความเป็นจริงของ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่ อย่างนั้น แต่ความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั้นมันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความ เป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วโดยปราศจากเหตุและปัจจัยทำให้มัน เกิดขึ้นมาได้ การที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นอริยสัจทั้งสี่เป็นภาวะธรรมขึ้นมาแล้วเข้าใจว่า ธรรมชาติที่แท้จริงจะเกิดขึ้นมาได้ธรรมชาติที่แท้จริงจะมีความบริบูรณ์เต็ม เปี่ยมขึ้นมาได้เพราะเหตุแห่งธรรมเหล่านี้ มันจึงกลายเป็นภาวะธรรมแห่งอริยสัจทั้งสี่ที่เป็นสิ่งๆที่เป็นอัตตาตัวตน ขึ้นมา
    ในส่วนธรรมคืออริยสัจทั้งสี่นั้น เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราย้อนกลับมาพิจารณาถึง "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นเราอันคือขันธ์ทั้งห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และการยึดมั่นถือมั่นเป็นจิตปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนเป็นเราเกิดขึ้น" ว่าธรรมคืออริยสัจทั้งสี่นั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” แต่แท้ที่จริงนั้นธรรมคืออริยสัจทั้งสี่มันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นแล้วตั้ง อยู่ได้ไม่นานแล้วธรรมคืออริยสัจทั้งสี่นั้นก็ต้องเปลี่ยนสภาพไปเพราะมันมี ความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ ธรรมคืออริยสัจทั้งสี่มันเป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้ แน่นอนไม่สามารถคงอยู่ในคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆได้ในขณะที่เข้าไปยึด ความเป็นมันในขณะนั้น ธรรมคืออริยสัจทั้งสี่ย่อมแปรผันไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้นเพราะฉะนั้น จึงไม่มีธรรมคืออริยสัจทั้งสี่ใดๆที่จะคงอยู่ในสภาพของมันเองอยู่อย่างนั้น ได้ตลอดไป การพิจารณาธรรมเป็นอุบายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เพื่อให้เราละจากทิฐิความ เห็นที่เป็นธรรมคืออริยสัจทั้งสี่นั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” และให้เราเห็นถึงธรรมคืออริยสัจทั้งสี่นี้แท้จริงหาความมีตัวตนที่แท้จริง ไม่ตามความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้นธรรมคืออริยสัจทั้งสี่ย่อมเป็นธรรมชาติ แห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านสอนให้เห็นถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงโดยใช้การพิจารณา ธรรมเป็นบาทฐานด้วยการพึงพิจารณาถึงความเป็นจริงว่าธรรมคืออริยสัจทั้งสี่ นั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและพึงพิจารณาเห็นถึง ความเป็นจริงว่าธรรมคืออริยสัจทั้งสี่นั้น ว่านี่คือ “อัตตาตัวตนแห่งเรา ” นั้นมันเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและให้พึงพิจารณาด้วยว่าใน ความเป็นขันธ์ทั้งห้าอันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นสิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่แปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนหาความเป็น ตัวตนที่แท้จริงไม่แท้จริงมันย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น และพระพุทธองค์มีพุทธประสงค์ให้น้อมนำธรรมภายนอกที่พึงเห็นจากบุคคลอื่นเข้า มาพิจารณาให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงเช่นเดียวกัน เป็นการพิจารณาธรรมในธรรมโดยการพิจารณาธรรมภายในคือธรรมเราเองและธรรมภายนอก คือธรรมของบุคคลอื่นที่พึงเห็น

    การพิจารณาธรรมเป็นบาทฐานจึงย่อมได้ ความเป็นจริงปรากฏขึ้นมาว่าแท้ที่จริง "ทุกสรรพสิ่ง" ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯย่อมทำหน้าที่ตามสภาพธรรมชาติของมัน อยู่อย่างนั้น




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  12. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๖๘ ปณิธาน


    สิ้นสุดกรรมวิสัย ดาวดึงส์
    จุติลงจากไตรตรึงส์ เมืองฟ้า
    กระจายกรรมลุถึง ธรรมรส
    จิตเดิมแท้สักกะ ธรรมชาติ บริบูรณ์

    เวลาผันกาลผ่านไม่เคยหยุด
    ถึงที่สุดแห่งธรรมกันถ้วนหน้า
    เจอกันอีกครั้ง ณ สุธรรมาศาลา
    ขึ้นเทศนาสอนธรรมประจำวัน

    สู่บ้านเราบ้านเก่า สรวงสวรรค์
    ตระการตาผกาพรรณ ทิพย์บุปผา
    จะสถิตย์อยู่ชั่วนิรันดร์ ใต้ร่มเงา ปาริชาติ
    กลับไปโปรยทานธรรมะ ธาตุนิพ พาน เฮย

    ร่วมใจศิษย์สร้างสรรค์ยุคกรรมใหม่
    ศิวิไลซ์เมตไตรยศาสนา
    ช่วยเก็บงานดาวดึงส์ดุสิตา
    ปรารถนาทุกดวงจิตเข้านิพพาน





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  13. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๖๙ สติสัมโพชฌงค์

    เมื่อรู้ว่าทุก สรรพสิ่งย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและ คุณสมบัติเดิมแห่งมัน ทุกสรรพสิ่งจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดใน ขณะนั้น ทุกสรรพสิ่งจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น


    เมื่อรู้ว่าจิตที่เกิด ขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวดกาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นอัตตาตัวตนในภาวะนั้นๆจิตนี้มันก็คือ สิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ใน คุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้า ไปยึดในขณะนั้น จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น


    เมื่อรู้ว่าจิต ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวดกาย เวทนา จิต ธรรม มันเกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และรู้ว่าขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นมันก็คือสิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่ นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดในขณะนั้น ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น


    เมื่อรู้เช่นนี้แล้วความเป็นจริงตาม ธรรมชาติย่อมปรากฏขึ้นมาว่าธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่งย่อมคือความ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและการที่สามารถมีสติระลึกได้ ถึงความที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นซึ่งหมายถึงธรรมชาติมันได้ทำหน้าที่ในความเป็น ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนตาม ปกติของมันอยู่อย่างนั้นมันจึงเป็นไปเพื่อให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความบริบูรณ์แห่งการเจริญสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  14. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๗๐ ท้องทุ่งนาพ่อเคน

    เมื่อปี พ.ศ. 2544 เป็นปีที่ชีวิตของฉันลำบากที่สุดเพราะต้องเร่ร่อนเดินทางเพื่อหาที่อยู่ให้กับตนเอง
    ด้วยความที่เป็นเพียงพระนวกะมีอายุพรรษาแค่สี่พรรษาเท่านั้น
    การต้องธุดงค์เดินทางจาริกอย่างไม่มีจุดหมายทำให้พระใหม่อย่างฉันเกิดความกังวลใจอย่างมาก
    แต่โชคดีที่มีเพื่อนพระได้แนะนำวัดร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดยโสธรให้ฉันได้ไปพักจำพรรษาอยู่
    เส้นทางลูกรังเล็กๆที่คลุกไปด้วยฝุ่นทรายสีแดงเป็นทางคดเคี้ยวไปตามทุ่งนาหลายกิโลกว่าจะพาฉันไปถึงวัดแห่งนี้
    บ้านค้อน้อยเป็นบ้านที่พึ่งแยกตัวออกมาจากบ้านหัวงัว อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
    ในอดีตหมู่บ้านนี้เป็นเพียงท้องไร่ท้องนาและชาวบ้านหัวงัวได้ออกมาทำไร่ทำนาและอาศัยอยู่ชั่วคราวในฤดูไถหว่าน
    ไปๆมาๆชาวนาทั้งหลายก็เริ่มสร้างบ้านเรือนและมีชาวบ้านที่บ้านหัวงัวมาอาศัยอยู่กันมากขึ้น
    จนกระทั่งประชากรที่หมู่บ้านน้อยๆแห่งนี้เริ่มมากขึ้นจากสองสามหลังคาเรือนจนกลายเป็นห้าสิบหลังคาเรือนในปัจจุบันนี้
    ถึงแม้ที่นี่ชาวบ้านจะมีฐานะยากจนแต่ทุกคนก็ยังมีศรัทธาในการทำบุญทำทาน
    ชาว บ้านทุกคนร่วมใจยกพื้นที่สาธารณะซึ่งเป็นเขตป่าช้าดอนปู่ตาของหมู่บ้านและมี หนองน้ำเก่าแก่ที่ชื่อ "คำบักเล" ให้เป็นผืนดินเพื่อสร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้น
    "วัดป่าธรรมานุสรณ์" วัดของหมู่บ้านนี้เองที่ฉันได้ตัดสินใจมาจำพรรษาในปีนี้เพราะความขาดแคลนเรื่องที่อยู่
    แต่พอฉันมาเห็นสภาพของวัดนี้แล้วก็รู้สึกดีใจมากที่วาระแห่งกรรมได้หอบหิ้วฉันมาทิ้งไว้ที่นี่
    หนอง น้ำคำบักเลซึ่งมีศาลากลางน้ำและฉันได้ใช้เป็นที่พักอาศัยนั้นในฤดูหนาวก็จะ มีฝูงนกเป็ดน้ำหลายร้อยตัวได้บินมาลงเล่นเพื่อดำน้ำหาปลากิน
    นกเป็ดน้ำพวกนี้ไม่ได้เป็นนกที่อยู่ที่นี่แต่พวกมันเป็นนกที่บินอพยพหนีความหนาวเย็นมาจากไซบีเรีย
    คำบักเลเต็มไปด้วยบัวหลวงที่ขึ้นอยู่ไปทั่วบึงแห่งนี้:
    ที่นี่มันทำให้ฉันอดทนและรู้จักคำว่า "ยากลำบาก" อย่างแท้จริง
    มีชาวบ้านไม่กี่หลังคาเรือนที่หมั่นมาทำบุญจังหันทุกเช้า
    แต่ก็มีพ่อออกหลายคนที่ยังแวะเวียนมาคุยเป็นเพื่อนด้วยอยู่เสมอๆทำให้ฉันอบอุ่นขึ้นในความรู้สึกว่าชาวบ้านไม่ได้ทอดทิ้ง
    หนึ่งในนั้นก็มีพ่อเคนและแม่พะยอมซึ่งมีที่นาอยู่เขตหลังวัดและสองคนผัวเมียนี้ก็มาทำบุญที่วัดอยู่เสมอๆไม่เคยขาด
    ต่อมาฉันก็ได้จากที่นั่นมาหลายปีจนกระทั่งได้กลับไปแวะเวียนเยี่ยมญาติโยมที่นั่นอีกครั้ง
    วัดได้เปลี่ยนแปลงไปมากชาวบ้านได้สร้างศาลาหลังใหม่ขึ้นมา
    แต่การกลับมาเยี่ยมญาติโยมครั้งนี้ฉันไม่ได้เข้าพักที่วัดเพราะถูกพ่อเคนนิมนต์ให้ไปปักกลดอยู่ที่ทุ่งนาของแก
    ฉันมาตรงกับฤดูเกี่ยวข้าวเสร็จและพ่อเคนแม่พะยอมกำลังลงงานฟาดข้าวกันอยู่พอดี
    ฉันได้ปักกลดอยู่ตรงลานข้าวของพ่อเคน
    ทุ่งนาของพ่อเคนเป็นทุ่งนาที่ห่างถนนต้องเดินลัดเลาะผ่านนาของคนอื่นหลายทุ่งกว่าจะเดินไปถึง
    ทุ่งนาแห่งนี้ฉันเคยมานอนค้างอ้างแรมกับผืนนาที่เหลือแต่ตอฟางมาหลายครั้งแล้ว
    นอนโดยไม่ต้องมีกลดมากางใช้คันนาเป็นหมอนหนุนและมีเพียงจีวรผืนเดียวที่ห่มกาย
    ฉันเคยมานอนดูท้องฟ้าในยามค่ำคืนและมองดูพระจันทร์ของฉันที่นี่
    ธรรมชาติที่บ้านนอกแห่งนี้มีเพียงลมหนาวและเสียงจิ้งหรีดกบเขียดผสานเสียงร้องแข่งกัน
    พวกมันร้องขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าฉันไม่ได้นอนอยู่บนผืนนาแห่งนี้ตามลำพัง
    พ่อเคนได้อาราธนาให้ปักกลดอยู่ที่นี่สามวันก่อนที่ฉันจะจาริกเดินทางกลับปักษ์ใต้ที่กระบี่
    หลังจากที่พ่อเคนได้ถวายภัตตาหารเช้าแล้วพ่อเคนและแม่ยอมก็จะลงลานข้าวเพื่อนวดและตีเอาเมล็ดข้าวไปขาย
    กลาง คืนก็จะมีชาวบ้านหลายคนที่เคยมาวัดและร่วมปฏิบัติธรรมกับฉันด้วยตั้งแต่ ครั้งในอดีตมาเยี่ยมและนั่งฟังธรรมที่ฉันเต็มใจเทศนาให้ฟังทุกคืน
    ฉันได้แต่เตือนชาวบ้านให้ตั้งจิตใจของตนไว้ให้มั่นในคุณงามความดีที่พวกเขาเคยทำมา
    และได้เทศนาชี้หนทางแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น
    อุปสรรคที่เกิดขึ้นอยู่เสมอๆเพราะชาวบ้านได้ปฏิบัติธรรมกันแบบผิดๆมานาน
    ชาวบ้านที่มาฟังธรรมทุกคนล้วนแต่ไม่รู้จักความหมายของธรรมชาติที่แท้จริงซึ่งเป็นหัวใจหลักของคำสอนพระพุทธศาสนา
    สามราตรีที่ได้พักอยู่ที่นี่ฉันก็ได้แต่เทศนาเรื่องธรรมชาตินี้เพียงอย่างเดียว
    เพื่อให้ญาติโยมทั้งหลายคลายออกจากความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวงและมุ่งตรงต่อความเป็นธรรมชาติที่จะพาให้หลุดพ้นได้อย่างแท้จริง
    ถึงแม้ชาวบ้านจะเข้าไม่ถึงธรรมชาตินี้ก็ตาม
    แต่ฉันยังมีความอุ่นใจได้บ้างว่าทุกคนยังมีใจที่ใฝ่ในบุญกุศล
    ทุกคนยังหมั่นรักษาศีลและตั้งใจมาทำบุญตลอดเพื่อทำจิตของตนให้ปกติไม่ตกไปสู่ที่ชั่ว
    ก่อนจากลาก็ได้สั่งพ่อเคนและแม่พะยอมให้ใส่ใจในการปฏิบัติภาวนาตามความเป็นธรรมชาติให้มากๆ
    อย่าปล่อยจิตใจของตนให้เลื่อนลอยไปสู่ความมีความเป็นตัวตนให้มากนัก
    ขอให้ตกผลึกในชีวิตของตนให้มากๆว่า
    "ชีวิตที่แท้จริงก็มีแต่เพียงเท่านี้"





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  15. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๗๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

    เมื่อรู้ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมมีความ แปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ทุกสรรพสิ่งจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดใน ขณะนั้น ทุกสรรพสิ่งจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น

    เมื่อรู้ว่าจิตที่เกิดขึ้นใน ขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวดกาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นอัตตาตัวตนในภาวะนั้นๆจิตนี้มันก็คือ สิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ใน คุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้า ไปยึดในขณะนั้น จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



    เมื่อรู้ว่า จิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวด กาย เวทนา จิต ธรรม มันเกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และรู้ว่าขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นมันก็คือสิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่ นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดในขณะนั้น ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น

    เมื่อรู้เช่นนี้แล้วเราย่อมวินิจฉัยเพื่อ สืบค้นแยกแยะคัดกรองได้ถึงสภาพความเป็นธรรมทั้งปวงและย่อมรู้ได้ว่าธรรม เหล่าใดคือภาวะธรรมอันปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตเป็นอัตตาตัวตนและย่อมรู้ได้ว่า ความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้นแท้ที่จริงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งย่อมคือความ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น

    เมื่อ รู้เช่นนี้แล้วความเป็นจริงตามธรรมชาติย่อมปรากฏขึ้นมาว่าธรรมชาติที่แท้ จริงย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและการที่ ธรรมชาติมันได้ทำหน้าที่ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนตามปกติของมันอยู่อย่างนั้นมันจึงเป็นไป เพื่อให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความบริบูรณ์แห่งการเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  16. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๗๒ มิคสัญญี


    ท้องฟ้าได้มีสีแดงก่ำดังสีเลือดแดงฉานมันเป็นอย่างนี้มาหลายวันแล้ว
    เหมือนเป็นลางร้ายมาเตือนว่าจะมีเรื่องร้ายแรงเกิดขึ้นในเร็ววันนี้
    หลังจากนั้นเพียงแค่ไม่กี่วันฉันและครอบครัวได้หลบลี้หนีภัยจากพวกคนอันธพาลทั้งหลาย
    เพราะความแล้งมานานจึงทำให้ไม่มีอาหารและผู้คนได้ล้มตายไปต่อหน้าต่อตาเป็นจำนวนมาก
    ความโหยหิวทำให้คนเริ่มจับอาวุธเท่าที่จะหามาได้เข้าทำการเข่นฆ่าเพื่อล่าเอาเนื้อคนมากิน
    ฉันเกือบถูกจับไปฆ่าเพราะพรางตัวไม่ดีแต่โชคดีที่หนีรอดมาได้อย่างหวุดหวิด
    ฉันเห็นผู้คนที่อ่อนแอไม่มีปัญญาต่อสู้กับพวกกลุ่มคนที่มีกำลังเหนือกว่าพวกเขาถูกลากไปฆ่า
    ได้แต่นึกสลดสังเวชใจว่าทำไมคนถึงต้องกินเนื้อคนด้วยกัน
    ฉันคิดไปเองว่ามันคงมีคนไม่กี่คนที่มีจิตวิปลาสบ้าไปแล้วที่เที่ยวจับเอาคนด้วยกันเองมากิน
    ผู้คนในยุคนี้ทำไมทำบาปทำกรรมหนักโดยไม่เกรงกลัวต่อผลแห่งกรรมที่ตนจะได้รับ
    ฉันทำไมต้องมาเกิดในยุคที่มีแต่คนมีใจเยี่ยงสัตว์นรกนี้ด้วย
    แต่แล้วฉันก็คิดผิดไปเพราะฉันมองไปทางไหนก็มีแต่กลุ่มคนที่ไล่ล่าฆ่าฟันกันเองแทบทั้งหมด
    เส้นทางที่ฉันจะต้องหลบหนีไปก็มองอะไรแทบไม่เห็นเพราะท้องฟ้าปิดมืดคล้ำแทบไม่มีแสงสว่างนำทางฉันไม่รู้เลยว่านี่คือกลางคืนหรือกลางวัน
    ถ้ำแห่งนั้นที่ฉันจะไปมันอยู่กลางป่าฉันเคยหลบไปพักอาศัยและขุดหาหัวกลอยมากินเมื่อเดือนที่แล้ว
    ทุกย่างก้าวมีแต่ภยันตรายมองเห็นแต่กองเลือดและกลิ่นคาวจากซากศพ
    เมียฉันได้พลัดหลงไปและรู้สึกเป็นห่วงเธอเอามากๆได้แต่นึกในใจว่าให้เธอได้รอดชีวิตและพบเจอกับฉันอีกครั้ง
    ฉัน ได้ซ่อนซุ่มตัวมาสามวันแล้วหนทางจากที่นี่ไปถึงถ้ำแห่งนั้นเป็นระยะทางไม่ ถึงสิบกิโลแต่เหมือนว่ามันอยู่ไกลสุดขอบฟ้าจากสถานที่ที่ฉันได้หลบตัวซ่อน อยู่
    การขยับตัวไปทีละก้าวเพื่อไม่ให้นักไล่ล่าได้มองเห็นมันเป็นเรื่องที่น่าหวาดกลัวและลำบากยากยิ่ง
    แล้ววันที่เจ็ดฉันก็ประสพความสำเร็จฉันมาถึงที่ถ้ำแห่งนี้แล้ว
    น้ำตาของลูกผู้ชายอย่างฉันต้องไหลพรั่งพรูออกมาเมื่อฉันได้เจอเมียรักมาหลบอยู่ที่นี่ด้วยความปลอดภัย
    กอดที่แน่นๆและไม่อยากปล่อยมือออกของเราทั้งสองคนมันทำให้เรารู้ว่าชีวิตที่เหลืออยู่ของเราทั้งสองนั้นมันมีค่ามากน้อยแค่ไหน
    ในเย็นวันนั้นได้มีผู้คนมาสมทบรวมตัวกันอยู่ในถ้ำแห่งนี้หลายชีวิต
    ทุกคนต่างก็ตกอยู่ในความหวาดผวาและต่างก็เล่าถึงเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวที่เกิดขึ้น
    พ่อเฒ่าอายุสามสิบปีที่รอดชีวิตต่างก็บอกว่าตอนนี้ผู้คนได้ฆ่ากันล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว
    ข้างนอกมีแต่ศากศพชิ้นเนื้อที่กระจัดกระจายและกลิ่นคาวเลือดคละคลุ้ง
    ทุกคนได้แต่ร้องไห้และได้แต่บอกซึ่งกันและกันว่าพวกเราเป็นผู้โชคดีที่เหลือรอดอยู่แต่เพียงเท่านี้
    หลังจากที่ทุกคนตั้งสติได้ก็ได้นั่งล้อมกันเป็นวงและปรึกษาพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
    เราทุกคนต่างก็มีความสำนึกในบาปบุญคุณโทษมีความสำนึกในความเป็นมนุษย์ของตน
    เราทุกคนได้สำนึกในตอนนี้แล้วว่าเพราะเราไม่เคยรักษาบุญกุศลแห่งกรรมใดๆไว้ในจิตใจของพวกเราเลย
    เราต่างก็ใช้ชีวิตด้วยแรงแห่งตัณหาอุปาทานความทะยานอยากอันไม่มีประมาณหาความสิ้นสุดมิได้
    ต่อแต่นี้ไปพวกเราทุกคนที่รอดชีวิตต่างก็มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะเริ่มต้นรักษาจิตใจของตนให้ดีที่สุด
    จะงดเว้นต่อการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นพวกเราจะช่วยกันสร้างสังคมของพวกเราขึ้นมาใหม่เราจะพยายามดำรงชีวิตให้ไปในทิศทางที่ถูกที่ควร
    ผู้ใหญ่ก็ควรทำตัวให้ดีเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่คนรุ่นหลังๆเป็นเสาหลักให้แก่คนรุ่นต่อไป
    ทุกคนจะต้องมีความรักความเมตตามีความปรารถนาดีต่อกันอยู่ตลอดไป
    ใครมีความขาดตกบกพร่องก็ต้องช่วยเหลือจุนเจือให้มีความเท่าเทียมเสมอกันในความเป็นอยู่ทั้งหลาย
    พวกเราได้ตั้งสัจจะวาจาร่วมกันในคืนวันนั้นก่อนที่จะพากันออกมาจากถ้ำเพื่อพากันไปสร้างหมู่บ้านเป็นของพวกเราเอง
    หลายเดือนต่อมาพวกเราพยายามหาเมล็ดพันธุ์พืชเท่าที่พวกเราจะกินมันได้มาเพาะปลูก
    ฉันนึกถึงเถากลอยที่เลื้อยขึ้นอยู่หน้าถ้ำที่ฉันและเมียรักได้พากันมาขุดหัวกลอยเพื่อเอาไปกินกันในวันนั้น
    เพราะกลอยมันจึงทำให้ฉันได้รอดชีวิตและได้มาเจอเมียรักของฉันที่นี่หลังจากที่พลัดพากจากกันไปอาทิตย์หนึ่งเต็มๆ
    หลังบ้านของฉันจึงเต็มไปด้วยกลอยป่านานาพันธุ์เท่าที่ฉันจะเสาะแสวงหามาปลูกได้




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  17. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๗๓ วิริยสัมโพชฌงค์

    เมื่อรู้ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมมีความแปร ผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ทุกสรรพสิ่งจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดใน ขณะนั้น ทุกสรรพสิ่งจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



    เมื่อรู้ว่าจิตที่ เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวดกาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นอัตตาตัวตนในภาวะนั้นๆจิตนี้มันก็คือ สิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ใน คุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้า ไปยึดในขณะนั้น จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



    เมื่อรู้ว่า จิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวด กาย เวทนา จิต ธรรม มันเกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และรู้ว่าขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นมันก็คือสิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่ นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดในขณะนั้น ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น

    เมื่อรู้เช่นนี้แล้วความเป็นจริงตาม ธรรมชาติย่อมปรากฏขึ้นมาว่าธรรมชาติที่แท้จริงย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและการที่ธรรมชาติมันได้ทำหน้าที่ในความเป็น ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนตาม ปกติของมันอยู่อย่างนั้นมันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่ "ความเป็นอัตตาตัวตนไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพ สิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้" ได้อยู่แล้วและการที่ธรรมชาติมันได้ทำหน้าที่ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพ สิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนตามปกติของมันอยู่อย่าง นั้นมันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่ "เป็นการละทิ้งสลัดออกซึ่งเหตุปัจจัยอันเป็นการยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งเป็น อัตตาตัวตน" ได้อยู่แล้วและการที่ธรรมชาติมันได้ทำหน้าที่ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพ สิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนตามปกติของมันอยู่อย่าง นั้นมันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่แสดงว่า "ทุกสรรพสิ่งนั้นมันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯของมันอยู่อย่าง นั้นอยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้อยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้อยู่แล้ว" และการที่ธรรมชาติมันได้ทำหน้าที่ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนตามปกติของมันอยู่อย่างนั้นมันคือ ความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่มันเป็น "ความบริบูรณ์พร้อมเต็มเปี่ยมในความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น" อยู่แล้ว การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันได้ทำหน้าที่ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนตามปกติของมันอยู่อย่างนั้นมัน จึงเป็นไปเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความบริบูรณ์แห่งการเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  18. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๗๔ สวัสดียุคเมตไตรย


    โลกก็ยังคงหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ตามความเป็นไปของมันอยู่ตามปกติ
    แต่โลกใบนี้เคยมีเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้นมากมายจนกลายเป็นตำนานเล่าขานอย่างไม่รู้จบสิ้น
    หากเปรียบเทียบโลกใบนี้เป็นคนก็คงเป็นคนเฒ่าคนแก่ที่มีอายุมากๆผ่านร้อนผ่านหนาวในประสบการณ์ชีวิตของตนมาอย่างมากมาย
    นับ ตั้งแต่เกิดโลกและจักรวาลแห่งนี้ขึ้นมาโลกใบนี้ก็เคยถึงความเจริญและตกต่ำ ถึงความเสื่อมเพราะเหตุในความเป็นไปของระดับจิตวิญญาณมนุษย์
    มาบัดนี้โลกก็ได้จวนเจียนมาถึงวาระใกล้ปิดฉากตัวเองไปสู่ความสูญสิ้นอีกครั้งหนึ่ง
    เมื่อหมดสิ้นศาสนาแห่งพุทธโคดมและผ่านเรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้นเพราะวาระแห่งกรรมวิบากนั้น
    มันก็เหมือนลมพายุฝนที่ตกกระหน่ำลงมาอย่างหนักจนสรรพสัตว์แทบมอดม้วยมรณะ
    เมื่อคนไม่มีความสำนึกในความเป็นคน
    ธรรมชาติก็เลยลืมทำหน้าที่แห่งตนเองไปชั่วขณะหนึ่ง
    สรรพสัตว์ที่ได้ล้มหายตายจากเมื่อปลายศาสนาที่แล้วเป็นจำนวนมากมายนั้น
    ถือว่าเป็นบาปเคราะห์ที่เกิดขึ้นและต้องก้มหน้ารับกันไปเพราะเหตุแห่งความประมาทของตน
    เมื่อมนุษย์เริ่มมีความสำนึกได้ว่าตนยังมีความเป็นมนุษย์อยู่และไม่ควรประมาท
    พลังแห่งความตั้งใจอย่างแรงกล้าของคนกลุ่มนั้น
    มันทำให้โลกใบนี้กลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
    หลังจากที่มนุษย์ได้ฆ่าฟันกันเองจนชีวิตปลิดปลิวไปเหมือนใบไม้ร่วง
    เลือดแห่งความชั่วช้าสามานย์ของสัตว์ที่ได้ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ที่มีแต่ความใฝ่ต่ำ
    ได้หลั่งชโลมจนเจิ่งนองไปทั่วท้องปฐพี
    เมื่อมันตกต่ำจนถึงที่สุดและไม่มีอะไรที่จะเลวร้ายยิ่งไปกว่านี้
    จิตวิญญาณแห่งเมตไตรยที่เคยตั้งสัจจะวาจาไว้ในครั้งนั้น
    ก็จึงได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในเขตบุญของระบบกรรมวิสัยแห่งตน
    ท้องฟ้าได้เริ่มกระจ่างใส
    จิตใจของคนก็เริ่มสว่าง สะอาด สงบ ขึ้น
    ธรรมธาตุ แห่งเมตไตรยทุกธรรมธาตุเริ่มทำหน้าที่ของตนได้อย่างตรงต่อความเป็นจริงใน ฐานะที่พวกตนได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีใจสูงและประเสริฐยิ่ง
    ฟ้าหลังฝนเป็นท้องฟ้าที่ยังดูครึมๆแต่กลับมีบรรยากาศที่สดใส
    เป็นผืนฟ้าที่ระคนไปด้วยกลิ่นกรุ่นไอดินที่ระเหยขึ้นมาจากผืนแผ่นดินแม่
    คนโบราณได้เคยกล่าวไว้ว่าฟ้าหลังฝนย่อมมีความใสกระจ่างอยู่เสมอ
    ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ชีวิตของพวกตนมาโดยตลอดสิบหกอสงไขยเวลานับแต่สังขจักรพรรดิได้ตั้งสัจจะวาจาไว้
    มันคงทำให้ท้องฟ้าแห่งผืนแผ่นดินเมตไตรยเป็นท้องฟ้าที่ปกคลุมชีวิตมนุษย์ทุกชีวิตให้มีแต่ความร่มเย็นผาสุก
    ขอให้ประสบการณ์สุดท้ายที่จะบังเกิดขึ้นแก่โลกใบนี้มันจงเป็นเรื่องราวที่น่าจดจำตลอดไป
    สายลมแห่งความหนาวเย็นที่กำลังเริ่มพัดผ่านมายังโลกนี้
    มันเป็นสายลมลูกสุดท้ายก่อนที่โลกจะปิดตัวเองลงอีกครั้งหนึ่ง
    มันคงเป็นสายลมที่จะพัดเอาความเย็นกายเย็นใจมาสู่มวลหมู่มนุษยชาติกลุ่มสุดท้าย
    ให้ ได้พักพิงบนโลกใบนี้ได้ด้วยบุญบารมีแห่งความเป็นมนุษย์ที่มีความสามารถอย่าง เต็มเปี่ยมของพวกตน สวัสดียุคเมตไตรย










    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  19. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๗๕ ปีติสัมโพชฌงค์

    เมื่อรู้ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมมีความแปร ผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ทุกสรรพสิ่งจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดใน ขณะนั้น ทุกสรรพสิ่งจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



    เมื่อรู้ว่าจิตที่ เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวดกาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นอัตตาตัวตนในภาวะนั้นๆจิตนี้มันก็คือ สิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ใน คุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้า ไปยึดในขณะนั้น จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



    เมื่อรู้ว่า จิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวด กาย เวทนา จิต ธรรม มันเกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และรู้ว่าขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นมันก็คือสิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่ นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดในขณะนั้น ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



    เมื่อรู้เช่นนี้แล้วความเป็นจริง ตามธรรมชาติย่อมปรากฏขึ้นมาว่าธรรมชาติที่แท้จริงย่อมคือความว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและความอิ่มกายอิ่มใจความแช่มชื่นใจก็ย่อม ปรากฏขึ้นด้วยเพราะเหตุแห่งการละทิ้งสลัดออกซึ่งภาวะธรรมที่ปรุงแต่งทั้งปวง ได้และการที่ธรรมชาติมันได้ทำหน้าที่ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนตามปกติของมันอยู่อย่างนั้นมัน จึงเป็นไปเพื่อให้ปีติสัมโพชฌงค์ (ความอิ่มกายอิ่มใจความแช่มชื่นใจ) ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความบริบูรณ์แห่งการเจริญปีติสัมโพชฌงค์(ความอิ่มกายอิ่มใจความแช่ม ชื่นใจ) ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  20. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๗๖ ข้าวในอำพัน


    เมล็ดข้าวที่เก็บสะสมมาในอำพันอันเก่าแก่ของฉัน
    มันเป็นเมล็ดข้าวตั้งแต่คราวที่ฉันได้ลงมาปลูกในแปลงนาเมื่อห้าพันปีที่แล้วก่อนเกิดมิคสัญญี
    มันเป็นข้าวที่ฉันเคยตั้งใจไว้ว่า
    ฉันจะปลูกข้าวพันธุ์นี้ตลอดไปในทุกๆฤดูและจะคัดเลือกเมล็ดพันธุ์เก็บไว้เป็นรุ่นสู่รุ่น
    ตั้งความหวังไว้ว่าข้าวสายพันธุ์นี้มันจะพัฒนาตัวมันเองไปสู่ข้าวที่มีคุณภาพมากๆ
    และฉันตั้งใจไว้อย่างจริงๆจังๆว่าฉันจะลงมาปลูกข้าวจนกว่าข้าวนี้มันจะกลายเป็นต้นข้าวทิพย์ในสักวันหนึ่ง
    แต่แล้วเมื่อฝนฟ้าไม่ตกมาเลยนับแต่เริ่มเข้าเขตพื้นที่สีแดงเมื่อจิตวิญญาณของมนุษย์ได้ตกต่ำลงมาเป็นอย่างมาก
    ฉัน ยังคิดไปเองเลยว่ามันแล้งมามากเกือบพันปีจนเหมือนว่าไฟประลัยกัลป์มันคงจะ เริ่มมาเยือนแผดผลาญโลกใบนี้จนไม่อาจเกิดยุคเมตไตรยขึ้นมาได้
    ฤดูสุดท้ายแห่งการไถหว่านและเก็บเกี่ยวนี้มันจึงทำให้ฉันต้องตั้งใจอย่างมากเพื่อคัดเลือกเมล็ดพันธุ์
    และออกหาอำพันในป่าลึกเท่าที่ฉันจะเสาะหาได้บนโลกใบนี้เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวชุดสุดท้ายนี้เอาไว้ให้ได้นานที่สุด
    ด้วยญาณล่วงหน้ามันบ่งบอกว่ามนุษย์จะเริ่มฆ่าฟันกันเองจนแทบจะสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ในเร็ววันนี้
    และต่อมาเมื่อมนุษย์ต้นตระกูลเผ่าพันธุ์เมตไตรยได้รอดชีวิตและเริ่มสร้างสังคมใหม่ของพวกตนขึ้นมา
    พวกเขาจึงเป็นแรงบันดาลใจอย่างมากที่ทำให้ฉันต้องลงมาเป็นชาวนาอีกครั้ง
    พื้นที่ของโลกเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงหลังจากที่ฝนเริ่มตกมากขึ้น
    ต้นไม้ใบหญ้าระบัดแตกใบอ่อนพื้นแผ่นดินเริ่มมีความชุ่มชื้นขึ้น
    พืช หลายพันธุ์ที่ถูกกลบไว้ใต้ผืนดินแบบลืมเลือนมาหลายพันปีมันก็เริ่มแตกหน่อ และทแยงยอดอ่อนของมันขึ้นมาเหนือพื้นประดุจชีวิตใหม่ที่พึ่งเริ่มต้น
    เพราะที่ผ่านมามนุษย์ไม่มีใครเคยรู้จักพืชพันธุ์ข้าวนี้เลย
    ทุกคนผ่านชีวิตที่ทุกข์ระทมขมขื่นด้วยความอดอยากหิวโหยมานานประทังชีวิตด้วยการกินหญ้าและรากไม้แต่เพียงเท่านั้น
    ข้าว อ้อย น้ำผึ้ง นมสด เนยข้น ซึ่งเป็นอาหารสามัญและมนุษย์ในยุคที่แล้วยังเคยได้ลิ้มรสชาติกันอยู่เสมอๆ มันก็ได้สูญหายไปจากโลกใบนี้มานานมากแล้ว
    ดอกไม้และต้นไม้หลายชนิดได้อันตรธานหายไปพร้อมกับกาลเวลาที่พาความเสื่อมโทรมมาเยือน
    ฉันจึงต้องเตรียมคำตอบอย่างละเอียดไว้ให้แก่เกษตรกรหน้าใหม่แห่งยุคนี้ว่าข้าวคือพันธุ์พืชชนิดอะไร
    และคงมีความจำเป็นต้องเปิดโรงเรียนสอนการปลูกข้าวตามธรรมชาติที่ฉันได้เรียนรู้มาตั้งแต่สมัยศาสนาพุทธโคดม
    ข้าวที่อยู่ในยางอำพันซึ่งมีจำนวนไม่มากนักจึงถูกแกะออกมาด้วยความระมัดระวัง
    และเตรียมพร้อมลงแปลงนาที่เตรียมหน้าดินไว้อย่างดีที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
    หวังไว้แต่เพียงว่าผลผลิตข้าวรุ่นแรกนี้จะมีปริมาณเพียงพอแก่การแจกจ่ายครบในทุกครัวเรือน




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     

แชร์หน้านี้

Loading...