หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม" ราเชนทร์ สิมะสุนทร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 12 ธันวาคม 2014.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๑๗ สังคมธรรมาธิปไตยแห่งกุรุนิคม


    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ
    ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

    เหตุ ที่องค์พระศาสดามีวาระกรรมได้ตรัสธรรมสติปัฏฐาน ๔ ไว้ที่กุรุชนบทจนทำให้สังคมชาวกุรุมีความนิยมน้อมนำธรรมสติปัฏฐานมาภาวนา ปฏิบัติไปตามความเป็นธรรมชาติแห่งธรรมเพื่อยังความเจริญก้าวหน้าและความสุข อันแท้จริงมาสู่ชีวิตและสังคมของพวกตน เพราะเป็นกรรมครั้งแต่ในอดีตสมัยที่ตถาคตเจ้ายังทรงดำเนินไปในเส้นทางแห่ง การเวียนว่ายตายเกิดในชาติหนึ่งพระองค์ท่านเคยเกิดเป็น "จักรพรรดิ" ชื่อ พระเจ้ามันธาตุ และท่านทรงปกครองโลกในมหาทวีปทั้งสี่มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารท่านมี บุญญาธิการอย่างมากล้นเพราะเหตุบุญที่สั่งสมในอดีตได้ทำมาไว้ดีแล้ว จึงทำให้พระเจ้ามันธาตุมาเกิดเป็นมนุษย์ในยุคที่มนุษย์มีอายุยืนถึง "อสงไขยปี" การที่พระเจ้ามันธาตุได้เคยประกอบกุศลกรรมตั้งใจรักษาศีลและสละทรัพย์สมบัติ ของตนให้เป็นทานแก่บุคคลอื่นโดยไม่เลือกฐานะ "การให้" ที่เกิดจากใจที่ไม่มีเงื่อนไขและเป็นการให้โดยไม่มีประมาณ "ธาตุแห่งการให้โดยแท้จริง" จึงปรากฏแก่พระเจ้ามันธาตุในชาตินี้ บุญแห่งท่านอันเกิดจากการสละสมบัติตนให้เป็นทานอย่างดีแล้วจึงทำให้ท่านมี บุญฤทธิ์พระเจ้ามันธาตุนั้นทรงประกอบด้วยรัตนะ ๗ และอิทธิฤทธิ์ ๔ ในเวลาที่พระองค์ทรงคู้พระหัตถ์ซ้ายปรบด้วยพระหัตถ์ขวาฝนรัตนะ ๗ ก็ตกลงมาประมาณเข่าดุจเมฆฝนทิพย์ในอากาศ เมื่อพระองค์ครองราชสมบัติในฐานะองค์จักรพรรดิมานานจึงก่อให้เกิดความเบื่อ หน่ายในสมบัติแห่งโลกมนุษย์อำมาตย์ของพระองค์จึงออกความเห็นว่าในเทวโลกยัง เป็นสถานที่รื่นรมย์และน่าไปอยู่ไปเที่ยวชมพระเจ้ามันธาตุได้ฟังเช่นนั้นจึง จึงทรงพุ่งจักรรัตนะไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาพร้อมด้วยบริวาร ลำดับนั้นท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทรงถือดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพกระทำการต้อนรับนำพระ เจ้ามันธาตุนั้นไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาได้ถวายราชสมบัติในเทวโลก เมื่อพระเจ้ามันธาตุนั้นห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ครองราชสมบัติอยู่ใน ชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นกาลเวลาล่วงไปช้านานพระองค์จึงทรงเบื่อหน่ายเทวโลก ชั้นจาตุมมหาราชิกาจึงมีความดำริที่จะไปอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่อไป แต่ในขณะที่พระองค์กำลังจะออกจากสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาก็ได้มีมนุษย์ที่ อาศัยอยู่ในสามทวีปซึ่งเป็นเขตแดนของสวรรค์ชั้นนี้คือ บุพพวิเทหทวีป อมรโคยานทวีปและอุดรกุรุทวีป เป็นจำนวนมากมีความศรัทธาต่อความมีบุญญาธิการของจักรพรรดิมันธาตุมนุษย์ เหล่านี้จึงขอตามพระเจ้ามันธาตุมาเที่ยวยังโลกมนุษย์ด้วย เมื่อพระเจ้ามันธาตุได้พาบริวารตนรวมทั้งมนุษย์ทั้งสามทวีปกลับมายังโลก มนุษย์แล้วท่านจึงพุ่งจักรแก้วไปสู่เทวโลกในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ลำดับ นั้น ท้าวสักกเทวราช (อดีตชาติคือมฆมานพแห่งหมู่บ้านอจลคาม) ทรงถือดอกไม้และของหอมทิพย์ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพทรงทำการต้อนรับรับพระเจ้า มันธาตุนั้น ท้าวสักกะทรงนำพระเจ้ามันธาตุไปยังภพดาวดึงส์ทรงทำเทวดาให้เป็น ๒ ส่วนทรงแบ่งเทวราชสมบัติของพระองค์กึ่งหนึ่งถวายพระเจ้ามันธาตุตั้งแต่นั้น มา พระราชา ๒ พระองค์ทรงครองราชสมบัติในภพดาวดึงส์นั้นเมื่อกาลเวลาล่วงไปด้วยประการอย่าง นี้ท้าวสักกะทรงให้พระชนมายุสั้นไปสามโกฏิหกหมื่นปีก็จุติ ท้าวสักกะพระองค์อื่นก็มาบังเกิดแทน แม้ท้าวสักกะพระองค์นั้นก็ครองราชสมบัติในเทวโลกแล้วก็จุติไปโดยสิ้นพระชนมา ยุโดยอุบายนี้ท้าวสักกะถึง ๓๖ พระองค์จุติไปแล้วส่วนพระเจ้ามันธาตุยังคงครองราชสมบัติในเทวโลกโดยร่างกาย ของมนุษย์นั่นเอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุแห่งการได้มาซึ่งมนุษย์สมบัตินั้นต่างจากเทวโลก สมบัติ ความที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงส่งเป็นปกติในความเป็นธรรมชาติแห่งคุณ ความดีของตนบุญจึงดลบันดาลให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตตนเองได้ถึงอสงไขยปีซึ่ง เป็นเวลานานมากกว่าอายุของเทวดาผู้เป็นใหญ่แห่งสรวงสวรรค์หลายเท่า จนกาลต่อมาอายุสังขารของพระเจ้ามันธาตุจึงเสื่อมไปความชราก็เบียดเบียน พระองค์ก็ธรรมดาร่างกายมนุษย์ย่อมไม่แตกดับในเทวโลกลำดับนั้นพระเจ้ามันธาตุ จึงพลัดจากเทวโลกตกลงในพระราชอุทยานของพระองค์เองในโลกมนุษย์ ก่อนที่พระเจ้ามันธาตุจะสิ้นพระชนม์มนุษย์ในทั้งสามทวีปซึ่งเป็นพวกที่ ตามพระองค์มาเที่ยวที่มนุษย์โลกครั้งที่พระเจ้ามันธาตุออกมาจากสวรรค์ชั้นจา ตุมมหาราชิกาในคราวก่อนโน้นก็ได้มากราบทูลว่าพวกตนไม่สามารถเดินทางกลับสู่ ดินแดนทวีปแห่งตนได้เพราะพระองค์ใกล้สิ้นพระชนม์และจักรแก้วก็ไม่สามารถ เคลื่อนที่ได้อีกเพราะความเป็นสมบัติเฉพาะตัวของจักรพรรดินั้นจึงไม่มีใคร สามารถพาจักรแก้วนำทางกลับสู่สวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาได้สักคนเดียว เมื่อพระองค์ได้ฟังดังนั้นก่อนสิ้นใจพระเจ้ามันธาตุจึงอนุญาตให้มนุษย์ทั้ง สามทวีปที่เคยตามพระองค์มาสามารถตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในโลกมนุษย์ได้ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาถิ่นที่มีคนมาจากบุพพวิเทหทวีปอาศัยอยู่ได้นาม ว่า วิเทหรัฐ ตามชื่อเก่านั้นเอง ถิ่นที่มีคนมาจากอมรโคยานทวีปอาศัยอยู่ได้นามว่า อปรันตชนบท ถิ่นที่มีคนมาจากอุดรกุรุทวีปอาศัยอยู่ได้นามว่า กุรุรัฐ

    กุรุรัฐ หรือนิคมชาวกุรุนี้เองเป็นถิ่นฐานที่มนุษย์ในหมู่บ้านนี้เป็นผู้ที่เคยอยู่ ในอุดรกุรุทวีปมาก่อนและตามพระเจ้ามันธาตุมาสู่โลกมนุษย์เป็นจำนวนมากและไม่ ได้กลับไปบ้านเมืองเก่าของตนอีกเลย เมื่อในกาลบัดนี้พระเจ้ามันธาตุได้กลับมาเกิดเป็นองค์พระพระศาสดาด้วยเหตุ ปัจจัยแห่งกรรมดีอันคือความศรัทธาอย่างมากของชาวอุดรกุรุทวีปที่มีต่อบุญ แห่งพระเจ้ามันธาตุในความเป็นมนุษย์สมบัติจนได้เป็นพระจักรพรรดิในครั้งแต่ เก่าก่อนนั้นส่งผลทำให้ในชาตินี้พระพุทธองค์จึงต้องทรงเสด็จมาแสดงธรรมโปรด ชาวเมืองกุรุซึ่งเป็นบริวารเก่าของพระองค์เองครั้งแต่ในอดีตกาลตามวาระแห่ง กรรมนั้นและผลบุญอันเกิดจากความศรัทธาที่ชาวอุดรกุรุทวีปมีต่อพระเจ้ามัน ธาตุจักรพรรดิในครั้งนั้นจึงทำให้ชาวกุรุในวันนี้มีความศรัทธาต่อคำสอนของ พระองค์ท่านในฐานะที่ได้เกิดมาเป็น "พระพุทธเจ้า" ในชาตินี้และสามารถนำเอาธรรมอันแท้จริงนั้นมาสู่สังคมภายในหมู่บ้านของพวกตน ได้จนกระทั่งกาลต่อมาธรรมอันคือสติปัฏฐานทั้งสี่จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถี ชีวิตของชุมชนชาวกุรุรัฐนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ชาวกุรุนับได้ว่าเป็นกลุ่มมนุษย์ผู้มีบุญที่เคยได้สร้างบุญกุศลร่วมกับพระ พุทธองค์มาอย่างยาวนานบุญเก่าอันมากล้นนั้นจึงทำให้ชาวกุรุเป็นมนุษย์ผู้มี ปัญญาสามารถรับฟังธรรมสติปัฏฐานซึ่งเป็นธรรมที่แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้อย่าง ลงตัวมีความหมายข้ออรรถข้อธรรมที่ครบถ้วนและลึกซึ้ง ผู้คนในสังคมนี้ไม่ว่าจะเป็นนักบวชหรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้ที่เต็มใจเข้าถึงความเป็นไตรสรณคมน์ยึดเอามาเป็นที่พึ่งแห่งชีวิตตนและ ประชาชนชาวกุรุทั่วไปไม่ว่าจะอยู่ในวรรณะใดก็ตามมนุษย์แห่งสังคมชาวกุรุนี้ ล้วนแต่ได้นำสติปัฏฐานเอามาเป็น "ธรรมอันคือที่พึ่งแห่งตน" กันอย่างถ้วนหน้า ชาวกุรุทั้งหลายมีความเต็มใจที่จะช่วยกันพัฒนาสร้างสรรค์สังคมของตนเองขึ้น มาให้มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านจิตวิญญาณด้วยการช่วยกันตักเตือนชาวกุรุ ด้วยกันเองสำหรับผู้ที่ยังไม่นำธรรมสติปัฏฐานมาภาวนาด้วยการกล่าวตักเตือน ให้เพื่อนมนุษย์ผู้นั้นจงยังความไม่ประมาทให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตตนด้วยการเร่ง รีบหมั่นศึกษาพิจารณาธรรมอันคือสติปัฏฐานทั้งสี่โดยเร็ว การร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวของชาวกุรุนิคมจึงทำให้มนุษย์ในหมู่บ้านนี้ทุกคน ล้วนแต่มีความสามารถปฏิบัติธรรมตามธรรมชาติอันที่ตนได้เห็นแล้วในสติปัฏฐาน ธรรมนั้น ไม่ว่าผู้คนในหมู่บ้านนี้จะอยู่ส่วนไหนและกำลังประกอบกิจกรรมการงานอะไรทุก คนก็ล้วนแต่เจริญสติของตนให้อยู่ในความเป็นธรรมชาติอันแท้จริงอยู่อย่างสม่ำ เสมอเป็นนิจ สังคมของชาวกุรุในวันนี้จึงจัดได้ว่าเป็นสังคมของมนุษย์ผู้มีความสามารถดำรง ชีวิตพวกตนอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างสมความภาคภูมิที่พวกตนได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ผู้มีบุญประเสริฐยิ่งแล้ว

    ในกลียุคนี้สังคมของมนุษย์ทั่วไปล้วนแต่มี ทิฐิไม่ดีงามผู้คนในสังคมล้วนแต่ยังความประมาทให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตของตนเอง ทั้งสิ้นผู้คนทั้งหลายกลับกลายเป็นมนุษย์ผู้ที่ฝึกตนเองได้อยากเป็นผู้ที่ ขาดสติปัญญานำพาชีวิตตนให้พบเจอแต่ความเดือดร้อนอยู่เนืองๆผู้คนส่วนใหญ่ใน ยุคนี้เป็นมนุษย์ผู้ไร้ศีลธรรมเป็นมนุษย์ผู้มีใจต่ำตกอยู่ในสภาพแห่งความ ชั่ว แต่ชาวกุรุทั้งหลายกลับมีความสามารถต่างช่วยกันสร้างสังคมของตนเองให้ดีขึ้น มาจนเป็นสังคมที่น่าอยู่ จึงอาจกล่าวได้ว่าในชุมชนของชาวกุรุนั้นเป็นชุมชุนที่อยู่ร่วมกันด้วยระบบ ที่ปกครองกันเองด้วยการน้อมนำเอาธรรมอันคือสติปัฏฐานมาเป็นข้อวัตรปฏิบัติใน วิถีชีวิตของพวกตนจนเกิดเป็นการยอมรับของผู้คนทั้งหลายในสังคมนั้น ธรรมชาติอันแท้จริงคือธรรมซึ่งต่อมากลายเป็น "จารีต" ให้มนุษย์ในนิคมชาวกุรุได้ยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดีงามและสืบต่อกันมายังชน รุ่นหลังในสังคมแห่งตนได้ ธรรมอันคือคุณธรรมที่เป็นบาทฐานให้มนุษย์ในสังคมนี้ได้พัฒนาจิตใจตนเองจึง เป็นเหตุให้มนุษย์ในสังคมนี้อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกมีความเสมอภาคในรสแห่ง ธรรมที่ตนได้รับกันอย่างถ้วนหน้า สังคมของชาวกุรุนิคมจึงเป็นสังคมที่ดำเนินชีวิตของพวกตนร่วมกันในความที่มี ธรรมเป็นใหญ่จึงเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันในความที่เป็น "สังคมแห่งธรรมาธิปไตย" นั้น สังคมธรรมาธิปไตยซึ่งคือสังคมที่ยอมรับเอาธรรมอันแท้จริงมาเป็นหลักในการ ดำเนินชีวิตของกลุ่มตนเองจึงเป็นสังคมที่สามารถพัฒนาคุณภาพความเป็นมนุษย์ใน สังคมนั้นให้มีความเจริญสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณจนกระทั่งสังคมธรรมาธิปไตย แห่งชาวกุรุนิคมนี้ก็จะกลายเป็นสังคมในอุดมคติได้ในท้ายที่สุด



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๑๘ มิตรภาพสองฝั่งโขง

    ครั้งแต่โบราณโขงเป็นแม่น้ำที่ทำหน้าที่เพียงไหลผ่านแผ่นดินสองฝั่งแต่เพียงเท่านั้น
    แผ่นดินทั้งสองในอดีตมิได้ถูกแบ่งแยกเพราะความเป็นรัฐเหมือนปัจจุบันนี้
    ความแปลกแยกในความเป็นหมู่เหล่าระหว่างไทยลาวยังไม่ปรากฏ
    การเดินทางข้ามไปมาบนแม่น้ำสายนี้ตั้งแต่เก่าก่อนเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตของผู้คนแถบนี้
    ลาวและภูมิภาคอีสานในอดีตยังเป็นแค่ชุมชนเล็กๆเป็นบ้านป่าเมืองเยิง
    จะมีความเจริญก็เพียงแค่กลุ่มบ้านเชียงกลุ่มโคราชและเมืองโคตรบูรฝั่งสุวรรณเขต
    การติดต่อกันของผู้คนในสังคมยุคนั้นก็เป็นไปเพื่อการแลกเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้
    และเป็นเหตุผลเดียวที่ทำให้เกิดมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
    ในกาลต่อมาจึงทำให้ชุมชนแถบนี้มีวัฒนธรรมจารีตประเพณีที่คล้ายคลึงกัน
    จนทำให้ผู้คนแถบนี้มีความนับถือกันอย่างมากว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันมาโดยตลอด
    ในอดีตชุมชนต่างๆได้พึ่งพิงอาศัยกันด้วยความมีน้ำใจของผู้คนในชุมชน
    เพราะความที่ยังมีจิตใจที่เมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันในยุคนั้น
    จึงสามารถทำให้ชุมชนแถบนี้ดำรงวิถีชีวิตของตนในสังคมด้วยความผาสุก
    จวบจนกระทั่งพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามายังแถบลุ่มแม่น้ำโขง
    บรมสารีริกธาตุได้ถูกบรรจุและสร้างขึ้นด้วยความศรัทธายิ่งของผู้คนในแถบนี้ทั้งสองฝั่ง
    "ธาตุพนม" สัญลักษณ์ของความเป็นจิตวิญญาณแห่งความเป็นพุทธะ
    จึงกลายเป็นศูนย์กลางที่สามารถรวบรวมจิตใจของคนไทยและคนฝั่งลาว
    เข้าไว้ด้วยกันด้วยความเป็นหนึ่งเดียว
    ในฐานะต่างก็เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีเรื่อยมาตราบจนถึงทุกวันนี้
    ถึงแม้ในวันนี้น้ำโขงจะเป็นเครื่องกั้นบ่งบอกถึงการปันเขตแดนระหว่างสองประเทศ
    ทำให้การข้ามไปมาติดต่อกันระหว่างคนทั้งสองฝั่งเป็นไปด้วยความลำบากยากยิ่ง
    แต่เมื่อคราวถึงวันเพ็ญเดือนสามซึ่งเป็นฤดูกาลแห่งงานไหว้พระธาตุพนมในทุกๆปี
    เราจะเห็นศรัทธาที่ต่างหลั่งไหลมาอย่างล้นหลามจากทุกทิศของประชาชนทั้งสองประเทศ
    ธาตุพนมในวันนี้ได้ขึ้นอยู่กับฝั่งไทยตามข้อตกลงกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
    แต่มันหาเป็นอุปสรรคแก่ชาวลาวไม่
    พวกเขาก็ยังสามารถข้ามฝั่งโขงเข้ามาเพื่อกราบไหว้พระธาตุพนม
    เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตตนเองและครอบครัว
    เป็นการได้ข้ามฝั่งเข้ามาอย่างอิสรเสรีในวาระพิเศษแห่งเทศกาลบุญใหญ่นี้
    ด้วยน้ำใจของคนไทยทั้งประเทศ
    ที่เปิดโอกาสให้ในฐานะที่เป็นชาวพุทธด้วยกัน


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]



    บทที่ ๑๙ สติปัฏฐานธรรม


    สติปัฏฐาน ธรรม หมายถึง ความมีธรรมซึ่งคือ "ความมีสติอย่างถูกต้อง" เป็นที่ตั้งเพื่อระลึกถึงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมาย แห่งความเป็นตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เพื่อเป็นพุทธประสงค์ให้ความเป็นธรรมชนิด นี้เป็น "หลักธรรมอันแท้จริง" ให้เราสามารถพิจารณาถึงความหมายแห่งธรรมได้อย่างตรงและถูกต้องต่อความเป็น จริงและสามารถดำเนินไปในความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว


    ธรรม ที่ตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้ในสติปัฏฐานนั้นเป็นธรรมที่พระองค์ได้ตรัสแบ่งธรรม ทั้งหลายทั้งปวงออกเป็นหมวดเป็นหมู่ไว้ถึงสี่หมวด ธรรมทั้งสี่หมวดหมู่ซึ่งคือ กาย เวทนา จิตและธรรมนั้นเป็นธรรมที่เราสามารถหยิบยกธรรมเพียงหมวดใดหมวดหนึ่งเท่านั้น ขึ้นมาพิจารณา "เพื่อให้เห็นถึง" ความหมายของธรรมชาติที่แท้จริงที่มันคงความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมที่ทำให้เราเกิดความเข้าใจที่แท้จริงและสามารถพิจารณาแยกแยะได้ว่า ธรรมชนิดไหนคือธรรมอันเกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา และธรรมชนิดไหนคือธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความ เป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อสามารถเข้าใจในความหมายแห่งธรรมทั้งปวงได้แล้วธรรมซึ่งคือสติปัฏฐาน ทั้งสี่นี้จึงเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เราในฐานะที่เกิดมาเป็น มนุษย์ควรดำเนินไปบนเส้นทางธรรมชาติอันแท้จริงซึ่งทำให้เราสามารถก้าวพ้นออก มาจากความทุกข์ทั้งปวงได้ด้วยการ "พึงมีสติระลึกถึงธรรม" ที่มันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่ อย่างนั้น เป็น "สัมมาสติ" ที่ทำให้เราสามารถระลึกถึงธรรมชาติที่แท้จริงที่เราได้เลือกคัดสรรไว้อย่าง ดีแล้วว่าธรรมอันคือธรรมชาติชนิดนี้มันเป็นธรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์อันสูง สุดเกิดขึ้นแก่ชีวิตของเราเองได้

    ธรรมทั้งสี่คือ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นธรรมที่ตถาคตมิได้แบ่งแยกไว้เพื่อจุดมุ่งหมายใดมุ่งหมายหนึ่งแต่ธรรม ทั้งสี่นั้นก็ล้วนเป็นธรรมที่สามารถให้เราพิจารณาได้ถึงความเป็นธรรมชาติที่ แท้จริงที่มันปรากฏอยู่ในทุกหมวดหมู่แห่งธรรมนั้นอยู่แล้ว พระพุทธองค์เพียงทรงแบ่งธรรมทั้งปวงนั้นออกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ตรงต่อจริต ของผู้ที่ใคร่เข้ามาศึกษาธรรมอันคือสติปัฏฐานนี้แต่เพียงเท่านั้น แต่ความรู้ที่ปรากฏมาทั้งหมดในธรรมสติปัฏฐานนี้มันล้วนแต่เป็นความรู้ที่แท้ จริงในทุกส่วนที่สามารถปลดเปลื้องความไม่รู้ซึ่งคือ "อวิชชา" แห่งเราออกไปได้เสียทั้งหมดและสามารถทำให้เราได้ตระหนักอย่างชัดแจ้งถึงความ หมายแห่งธรรมนั้นได้อย่างตรงต่อความเป็นจริงและนำมาซึ่งการมีสติที่พึงระลึก ถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงนั้นได้อย่างถูกต้องครบถ้วน


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  4. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๒๐ แผ่นดินอีสาน


    บักหำลูกนางวานเด็กน้อยวัยสิบขวบปีเดินถือหนังสะติ๊กลัดเลาะไปตามทุ่งนาท้ายบ้าน
    ในกระเป๋ากางเกงเต็มไปด้วยกระสุนที่ปั้นด้วยดินเหนียวสีแดงตุงอยู่ทั้งสองข้าง
    คันนาที่ยังพอมีผักกะแยงแย้มกลีบดอกสีม่วงขึ้นอยู่ประปรายในหน้าแล้งนี้
    มันเรียงรายติดต่อกันเป็นถนนเล็กๆ
    พาเด็กขี้ดื้อเดินจนถึงราวป่าบนโคกซึ่งอยู่อีกฝากฝั่งหนึ่งของหมู่บ้าน
    ยามฤดูแล้งมาเยือนมันทำให้ผืนดินถิ่นอีสานร้อนระอุเหมือนคนที่กำลังจะขาดใจ
    ดินทรายที่แห้งแตกระแหงออกจากกันจนเป็นแผ่นกระบิดิน
    มันทำให้ใจของคนอีสานห่อเหี่ยวตามไปด้วย
    ในฤดูทำนาหน้าฝนของทุกปีก็ยังพอมีปลาค้อปลาเข็งในบ่อสระบัวข้างนาข้าว
    นำมาปิ้งกินกันทุกมื้อ แต่ยามนี้น้ำมันขอดลงจนเห็นแต่ก้นบ่อ
    มันจึงบ่ค่อยมีแนวกินมันอึดอยาก
    หอยที่ถูกดินโคลนฝังไว้ตั้งแต่ปีมะโว้
    ก็จะถูกชาวนาผู้จนยากขุดขึ้นมากินในหน้าแล้งอยู่เป็นประจำ
    ยามที่อาทิตย์สาดแสงส่องลงมาบนผืนโลกแบบไม่เกรงใจมนุษย์หน้าไหนในเดือนเมษา
    มันจึงมีแดดร้อนจัด
    ในตอนเช้าของหน้าร้อนแบบนี้
    ทำให้ฝูงกะปอมคลานออกมาอาบแดดเกาะอยู่ตามต้นกุงทั่วไป
    แกงอ่อมกะปอมป่าเป็นเมนูอาหารเด็ดเลิศหรูของชาวอีสานและคนฝั่งลาว
    แต่มันทำให้พวกผู้ดีตีนแดงตะแคงตีนเดินที่อยู่ในเมืองกรุงต้องเบือนหน้าหนี
    เย็นวันนั้นบักหำเดินกลับเข้าหมู่บ้านพร้อมกับกะปอมคอแดงพวงใหญ่หลายตัวที่อยู่ในมือ
    การเร่ขายกะปอมที่ยิงมาได้ให้หมดในราคาตัวละสิบบาทยี่สิบบาท
    เป็นเรื่องง่ายดายในหมู่บ้านนี้
    อีสานแล้งมาแต่ดนเติบมันทำให้พวกกุลาพ่อค้าแม่ขายชาวเมืองมะละแหม่งเข็ดขยาด
    ในอดีตชาวพม่าต่างถิ่นพวกนี้จะขนสินค้าจากบ้านเมืองตนมาขายยังแอ่งโคราช
    พวกนี้ขายสินค้าเพื่อแลกกับครั่งแดงที่ชาวอีสานไปเลาะหาเก็บตามป่าโคก
    ความไม่ชำนาญทางทำให้พวกพ่อค้ากุลาเดินหลงทางไปในทะเลทรายแห่งอีสาน
    ที่กินพื้นที่ถึงสองล้านไร่ตั้งแต่แถบอีสานตอนกลางถึงตอนใต้
    มันโล่งและเวิ้งว้างสุดลูกหูลูกตาไร้บ้านเรือนผู้คนเพราะความแล้งจัดของพื้นที่
    น้ำตาของชาวกุลาที่ร่ำไห้ไหลออกมาเพราะความหวาดกลัว
    และกำลังจะอดตายในถิ่นทุรกันดารนี้
    มันจึงเป็นตำนานเล่าขานเรียกดินแดนที่ราบสูงนี้ว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้"
    แต่วันนี้น้ำตาของชาวกุลาได้เหือดแห้งหายไปตามกาลเวลา
    คงมีแต่รอยยิ้มของชาวนาในถิ่นอีสานนี้ที่ยังลืมตาอ้าปากได้พออิ่มท้อง
    เพราะข้าวหอมมะลิที่ปลูกแถวทุ่งกุลาเป็นที่ขึ้นชื่อดังไปทั่วโลก
    ประชากรหลายประเทศนิยมรับประทาน
    เพราะข้าวที่นุ่มไม่แข็งเกินไปกินกันด้วยความอิ่มเอมในรสชาติ
    พื้นที่แถบนี้เกินกว่าครึ่งที่เป็นจำนวนล้านกว่าไร่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิและปลูกต้นยูคาฯ
    ความเขียวของทุ่งนาและความครึ้มของป่ายูคาลิปตัส
    ทำให้ชาวอีสานภาคภูมิใจและเรียกบ้านตัวเองว่า "อีสานเขียว"
    ข้าขอก้มกราบ "แม่" ธรณีที่ยังมีความเมตตาอุ้มชูเลี้ยงดูลูกๆชาวอีสานให้อยู่รอด
    ข้าให้คำสัญญาต่อ "แม่" ว่าจะไม่ทิ้งบ้านเรือนถิ่นอีสานไปไหน
    ตราบจนวาระสุดท้ายที่ดินผืนนี้จะกลบหน้าลูกไป




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  5. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๒๑ ความเปลี่ยนแปลง


    ทุกสรรพ สิ่งบนโลกใบนี้ย่อมเป็นทุกๆสิ่งอันเป็น "ตัวตน" มีความหมายไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งในมุมมองความเข้าใจจากความเป็นเราในฐานะ ที่เป็นมนุษย์ เป็นทุกๆสิ่งที่มันเป็นเหตุและปัจจัยเข้ามาทางทวารทั้งหกอันคือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ และสามารถรับรู้ได้ในความที่เราเป็นมนุษย์นั้นและเข้าใจไปว่านี่คือชีวิตและ โลกของเราที่ได้อาศัยดำรงชีวิตอยู่ ก็ด้วยพฤติกรรมแห่งการเข้าไปยึดถือ "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมา" ในความเป็นเราซึ่งคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และได้ยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นเรานั้นมันกลายเป็น "เรา" ในความหมายที่เป็น "อัตตาตัวตน" และในความหมายแห่งความเป็น "เรา" ในความเป็นอัตตาตัวตนนั้นมันก็ย่อมประกอบไปด้วยความเป็นเราเขาและสิ่งอื่นๆ ที่เข้ามาทางทวารทั้งหกนั้นด้วย ความหมายทั้งเราและสิ่งอื่นๆในความเป็นตัวตนนั้นก็คือ "จิตที่ปรุงแต่ง" ของเราเองอันเกิดจากความเข้าใจที่เราเข้าไปยึดว่าสิ่งๆนั้นมันเป็นสิ่งๆ หนึ่งที่มีคุณลักษณะและคุณสมบัติแบบนี้ๆอย่างนี้ๆ ตามที่เราเข้าใจในความเป็นอัตตาตัวตนของมันในขณะนั้นแห่งการที่เราได้เข้าไป ยึด

    แต่โดยความเป็นจริงตาม "ธรรมชาติ" ของทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ย่อมไม่สามารถคงคุณลักษณะและคุณสมบัติแบบเดิมๆร้อย เปอร์เซ็นต์ของมันแบบไม่ผิดเพี้ยนเอาไว้ได้ ทุกสรรพสิ่งย่อมมีความเปลี่ยนแปลงผิดแผกไปจากคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมของ มันซึ่งมันเคยเป็นแบบนี้ๆอย่างนี้ๆอยู่ตลอดเวลา ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าจะมีสิ่งใดสักสิ่งหนึ่งที่สามารถคงคุณลักษณะและ คุณสมบัติของความเป็นมันอยู่อย่างนั้นได้คงที่อยู่ตลอดเวลาทุกสรรพสิ่งย่อม ตกอยู่ในลักษณะเปลี่ยนแปลงจากคุณลักษณะและคุณสมบัติหนึ่งไปสู่ความเป็น คุณลักษณะและคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งอยู่เสมอๆ เช่น ความใหม่ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปสู่ ความเก่า ความเต็มเปี่ยม ย่อมเปลี่ยนแปลงไปสู่ ความพร่อง ความเป็นแบบนี้ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปสู่ ความเป็นแบบอื่น ฯลฯ ความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่เที่ยงแท้แน่นอนในความเป็นแบบเดิมๆของสิ่งๆนั้น มันก็รวมถึง "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมา" ในความเป็นเราซึ่งคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นด้วย "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมา" ในความเป็นเราซึ่งคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า "ขันธ์ทั้งห้า" นั้นและรวมทั้งความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นใน "ขันธ์ทั้งห้า" เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาอันทำให้เกิดการมีเรามีเขาและมีสิ่งต่างๆเกิดขึ้น ในความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนในจิตนั้น ขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้และจิตที่ปรุงแต่งขึ้นก็ย่อมเป็นสิ่งๆหนึ่งเช่นกันที่ มีความเปลี่ยนแปลงผิดแผกไปจากคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมของมันและไม่สามารถ คงความเป็นมันในแบบๆนั้นได้อยู่ตลอดเวลา



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  6. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๒๒ ความงามหน้าแล้ง



    แรงงานทุกคนในครอบครัวรวมทั้งเพื่อนบ้านหลายคนที่มีน้ำใจ
    ต่างก็มาช่วยกันหาบข้าวที่เกี่ยวได้มาขึ้นไว้บนลานข้าว
    การฟาดข้าวใช้เวลานานถึงสองสามอาทิตย์
    จึงสามารถขนเมล็ดข้าวใส่เกวียนลากกลับไปที่หมู่บ้าน
    เกวียนเที่ยวสุดท้ายกำลังลากล้อผ่านท้องนาที่พึ่งเริ่มร้าง
    ทุ่งข้าวซึ่งเมื่อสามเดือนที่แล้วยังแลดูเขียวชอุ่มเต็มท้องทุ่ง
    ต้นข้าวได้แข่งกันออกรวงข้าวสีเหลืองทองจนทำให้ชาวนาหายเหนื่อยจากการทำนา
    แต่ภาพแห่งความอุดมสมบูรณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็หายไปเพราะการเก็บเกี่ยวผลผลิต
    มันทำให้ผืนนาที่เคยสวยงามซึ่งเต็มไปด้วยกอข้าวกอใหญ่
    กลับเหลือแต่ตอฟางข้าวที่ยืนตายแห้งเหี่ยวเฉาเต็มไปทั่วท้องทุ่ง
    วันนี้มันจึงเป็นวันสุดท้ายและอาจจะไม่ได้กลับมาที่ท้องนานี้อีกนาน
    แต่ความงามของท้องทุ่งมันมิได้มีเฉพาะฤดูกาลแห่งการทำนาเท่านั้น
    ถึงแม้ว่าฤดูหนาวที่มาเยือนในปลายปีหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
    มันจะทำให้เกิดความรู้สึกถึงความเงียบเหงาอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว
    มีแต่เพียงสายลมเท่านั้นที่ได้พัดผ่านไปในความเวิ้งว้างของท้องทุ่ง
    แต่อีกไม่นานทุ่งนาร้างแห่งนี้ก็จะกลับมามีชีวิตและชีวาอีกครั้งหนึ่ง
    ต้นจานที่ขึ้นอยู่ตามท้องนาด้วยความไม่ตั้งใจในความสรรค์สร้างของธรรมชาติ
    มันก็พร้อมที่จะผลิตดอกสีแสดส้มของมันบานออกมายั่วยวนให้ชาวนาหลงใหล
    และเมื่อถึงคราหน้าแล้งมาเยือนชาวนาบ้านนอกอย่างเราก็จะจูงวัวจูงควายเป็นฝูง
    ออกมาชมความงดงามความมีเสน่ห์ของท้องทุ่งนี้อีกครั้ง
    การเอาเท้าไขว่ห้างนอนเอนหลังบนท้องทุ่งนาที่เต็มไปด้วยดอกจานที่ร่วงหล่นเกลื่อนกระจาย
    มันคือความสุขที่หาไม่ได้อีกแล้วในวิถีชีวิตของคนชาวเมืองกรุงที่มีแต่ความสับสนวุ่นวาย
    เสียงเพลงหมอลำ "อดีตรักริมโขง" จากวิทยุที่อยู่ข้างกายฉัน
    ดังแว่วเข้ามาในหูที่ฟังอย่างพร่าเลือนไม่ค่อยชัด
    เพราะสมองของฉันมันไม่ค่อยจะสั่งการแล้ว
    ลมที่พัดเอื่อยๆอยู่กลางทุ่งทำให้ฉันกำลังจะหลับไป
    เพื่อหนีอากาศร้อนอบอ้าวของบ่ายวันนี้



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  7. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๒๓ สัมมาทิฐิ


    ก็ในราตรีแห่ง การที่จะได้ตรัสรู้นั้นครั้งเมื่อ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ได้กลับใจเลิกทรมานตนด้วยความเข้าใจผิดว่าการกระทำประพฤติข้อวัตรด้วยการ บำเพ็ญทุกรกิริยาจะเป็นหนทางทำให้พ้นทุกข์แต่แท้ที่จริงเป็นเพียงศีลพรต ปรามาสคือข้อวัตรที่เต็มไปด้วยความงมงายในมิจฉาทิฐิแห่งตน ณ ปฐมยามแห่งราตรีในวันตรัสรู้ “เจ้าชายสิทธัตถะ” จึงหันมาทำจิตให้สงบนิ่งปราศจากความปรุงแต่งวุ่นวายในเรื่องต่างๆด้วยการ เจริญอานาปานสติเข้าถึง "ภาวะอัตตา" อันละเอียดประณีตในองค์ฌาน 4 และด้วยเหตุปัจจัยที่ได้สั่งสมมาดีแล้วในทุกภพชาติที่ผ่านมาที่จะทำให้ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ท่านได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจึงทำให้ท่านเข้าไปรับรู้ถึงเรื่องราวใน อดีตชาติของตนเองที่ตนเคยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่เป็นสิ่งเพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นตัวตนของท่านที่ทำให้ท่านต้องเวียนว่าย ตายเกิดในอดีตชาตินับครั้งไม่ถ้วน การระลึกถึงอดีตชาติแห่งตนเองได้นั้นเรียกว่า “ปุพเพนิวาสนุสติญาณ” ซึ่งเป็นความรู้อันเกิดจากเหตุที่สามารถระลึกถึงขันธ์ทั้งห้าที่เคยได้อาศัย อยู่ในอดีตด้วยความยึดมั่นถือมั่นนั้น

    ครั้งล่วงเข้าเวลามัชฌิมยาม ในราตรีแห่งการตรัสรู้ “เจ้าชายสิทธัตถะ” เข้าไปรับรู้ถึงเรื่องราวการจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ทำให้ท่านเห็นสัตว์ทั้งหลายนั้นต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆตามผล แห่งกรรมซึ่งเป็นการรับรู้ว่าบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต่างได้ยึดมั่นถือมั่น ในขันธ์ทั้งห้าของตนแล้วต่างก็ได้กระทำกรรมในแต่ละภพแต่ละชาติและกรรมนั้น ได้ส่งผลให้สัตว์ทั้งหลายต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆไม่ว่าจะเป็น สวรรค์ พรหม โลกมนุษย์ และภูมิสัตว์นรกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การเข้าไประลึกรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ซึ่งคือ "จุตูปปาตญาณ" ได้ทำให้ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ได้มีความรู้เกี่ยวกับระบบกรรมวิสัยของมวลหมู่สรรพสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้อง กันเป็นกลุ่มๆต่อกันในแต่ละส่วนซึ่งมีรายละเอียดเนื้อหาทางกรรมแตกต่างกันไป และมันมีเหตุปัจจัยที่เกี่ยวพันกันในฐานะ "เพราะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้" ในเชิงยุ่งเหยิงซับซ้อนเหมือนหญ้าปล้องที่พันกันอยู่อย่างนั้น

    ด้วย บารมีแห่งความเป็น "เจ้าชายสิทธัตถะ" ที่ได้เคยสั่งสมในทุกภพทุกชาติที่ผ่านมาบนเส้นทางแห่งคุณงามความดีแห่งตน ตลอดระยะเวลาสี่อสงไขยนั้นทำให้บรมมหาโพธิสัตว์ดวงนี้สามารถดำเนินชีวิต อาศัยอยู่ในสังคมแห่งตนเองได้ด้วยจิตวิญญาณที่ตนนั้นได้อบรมบ่มนิสัยมาอย่าง ดีแล้วในทุกด้าน จิตวิญญาณอันสูงส่งซึ่งประกอบไปด้วยคุณความดีทั้งหลายที่ได้ประกอบมานั้นจึง ทำให้ในวันตรัสรู้นี้ "เจ้าชายสิทธัตถะ" จึงมีปัญญาอย่างเต็มเปี่ยมแท้จริงเป็นปัญญาที่เคยอบรมมาแล้วในทุกด้านและ เป็นปัญญาที่มีกำลังอย่างมากเพราะเป็นปัญญาที่ได้อบรมมาอย่างถึงที่สุดใน ทุกๆคุณสมบัติของความเป็น "ธาตุแห่งปัญญา" นั้น ในปัจฉิมยามแห่งราตรีตรัสรู้ "เจ้าชายสิทธัตถะ" จึงใช้ความมีปัญญาแห่งตนเข้าไปวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ตนเข้าไประลึกรู้ได้ทั้ง หมด ด้วยกำลังแห่งธาตุปัญญาอันมากล้นนั้นจึงทำให้ท่านสามารถแยกแยะคัดกรองทุก สรรพสิ่งอันคือธรรมหรือภาวะทั้งปวงให้เป็นไปตามความเข้าใจของท่านและปัญญา อันคือความเข้าใจที่ทำให้วิเคราะห์ได้ตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติของท่าน จึงทำให้ท่านได้รู้ถึงความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่งว่า "มันมีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่ทุกขณะ" ไม่สามารถคงความเป็นคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆอย่างครบถ้วนของมันไว้ได้ อยู่ตลอดเวลา เมื่อธรรมทั้งปวงย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้ในความเป็นมันนั้นได้เลยแม้ สักขณะหนึ่งความเป็นอัตตาตัวตนในสิ่งๆนั้นมันจึงหาใช่ความเป็นตัวตนที่แท้ จริงไม่แท้ที่จริงมันย่อมคือ "ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น อยู่แล้วตามสภาพของมัน"

    เมื่อท่านสามารถวิเคราะห์ได้ถึงที่สุดแห่ง ความเป็นจริงเช่นนี้ได้แล้ว ท่านจึงน้อมเอาความเป็นจริงซึ่งคือธรรมแห่งธรรมชาตินั้นมาเปรียบเทียบกับ ความที่เป็นอัตตาตัวตนของท่านเองว่าแท้ที่จริงแล้วร่างกายของคนเรานั้นมัน ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นเพียงแค่การประกอบเข้าด้วยกันของความเป็นขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ แต่เพียงเท่านั้นและเพราะความไม่รู้ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงจึงทำให้ เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้านั้นเป็นจิตขึ้นมา ซึ่งจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมานั้นมันเป็นตัวแทนในความหมายแห่งความเป็นเราเป็น เขาเป็นสิ่งอื่นๆในสภาพจิตของเราที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมานั่นเอง เมื่อจิตของเรามันก็เป็นสิ่งๆหนึ่งที่ไม่สามารถคงตัวคงที่อยู่ในคุณลักษณะ และคุณสมบัติเดิมๆของมันอยู่อย่างนั้นได้แม้ชั่วขณะหนึ่งเช่นกันจิตนี้ย่อม มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้และไม่สามารถเป็นจิตในสภาพแบบนั้นได้อยู่ตลอดไปใน ความหมายในความเข้าใจแห่งความปรุงแต่งเป็นจิตขึ้นในขณะที่ได้เข้าไปยึดมั่น ถือมั่นนั้นเอง เมื่อมีความมุ่งหมายให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปในทิศทางแห่งความต้องการแต่สิ่ง นั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่ทุกขณะจึงเกิดภาวะแห่งความผิดหวังไม่สมดังใจ จึงกลายเป็น "ความทุกข์" ขึ้นมา

    ความทุกข์เกิดขึ้นได้เพราะเหตุแห่ง การเข้าไปยึดสิ่งที่เป็นเพียงแค่การประกอบกันเข้ามาเป็นขันธ์ทั้งห้านั้นให้ กลายเป็นจิตปรุงแต่งขึ้นเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา เหตุแห่งการเข้าไปยึดเพราะความไม่รู้ถึงธรรมชาติที่แท้จริงที่มันย่อมมีแต่ ความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นมันจึงเป็น "สมุทัย" ซึ่งหมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

    เพราะความเป็นเราซึ่งหมายถึงจิตต่างๆที่ถูก ปรุงแต่งขึ้นมานั้นมันก็ย่อมเป็นสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันหรือแม้กระทั่ง สิ่งที่เป็นเพียงแค่การประกอบขึ้นมาเป็นเราอันคือขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ถึงแม้ว่าจะมีการเข้าไปยึดมั่นหรือยังไม่เข้าไปยึดมั่นก็ตามขันธ์ทั้งห้านี้ ก็ล้วนถือว่าเป็นสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันอยู่ตลอดเวลาไม่สามารถคงตัวอยู่ ในคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆของมันได้อยู่อย่างนั้นตลอดไป เมื่อ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ได้พิจารณาถึงธรรมชาติแห่งความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่งแม้กระทั้งความเป็น ท่านเองในความเป็นจิตหรือในความเป็นขันธ์ทั้งห้าของท่านนั้นจึงทำให้ท่าน เกิดความเข้าใจอย่างรู้แจ้งในทุกส่วนว่าแท้จริงทุกสรรพสิ่งมันมีแต่ความแปร ผันไม่เที่ยงแท้และมันจึงกลายเป็นความหมายแห่ง "ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน อยู่อย่างนั้น" เมื่อ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ได้รู้ความเป็นจริงอันถึงที่สุดของความเป็นธรรมชาตินี้แล้วในฐานะแห่งความ เป็นมหาบัณฑิตของท่าน ท่านจึงมีความสามารถพึงระลึกได้ถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่มันว่าง เปล่าของมันอยู่อย่างนั้นแต่ถ่ายเดียวและไม่ใส่ใจในสภาพธรรมอันคือความปรุง แต่งทั้งปวงอีกต่อไปและส่งผลให้ท่านได้กลายเป็นเนื้อหาเดียวกันสภาพเดียวกัน กับธรรมชาติที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนอยู่อย่างนั้นได้ อย่างกลมกลืนไม่มีความแตกต่าง การที่ความเป็นตัวตนได้ดับสนิทไปไม่มีเหลือจึงเป็นความหมายแห่ง "นิโรธ" ซึ่งหมายถึงความดับไปแห่งธรรมทั้งปวงที่เป็นธรรมอันคือความที่ถูกปรุงแต่ง ขึ้นด้วยความยึดมั่นถือมั่น

    เมื่อ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ได้นั่งทบทวนถึงที่มาของความเป็นจริงแห่งธรรมชาติอันทำให้ท่านได้เป็นส่วน หนึ่งอันหาความแตกต่างมิได้ในความเป็นธรรมชาตินั้นท่านจึงได้รู้ถึงเหตุอัน คือธรรมต่างๆทั้งแปดส่วนที่เป็นปัจจัยอย่างพร้อมเพรียงกันทำให้ท่านสามารถ ดำเนินมาสู่ธรรมซึ่งคือธรรมชาติที่แท้จริงนี้ได้ หนทางอันประกอบไปด้วยธรรมทั้งแปดส่วนนั้นก็คือ "มรรค"

    ด้วย "สัพพัญญู" อันคือความรอบรู้ในความเป็นจริงของความเป็นไปในทุกสรรพสิ่งและสามารถแก้ไข ปัญหาอันทำให้ออกจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ซึ่งเป็นสัจจะแห่งธรรมอันยิ่งใหญ่คือ "อริยสัจทั้ง ๔ " อันประกอบไปด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั้นจึงทำให้มี "พระพุทธเจ้า" ทรงอุบัติเกิดขึ้นในราตรีแห่งการที่ได้ตรัสรู้ภายใต้ควงโพธิ์นั้นเอง



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  8. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๒๔ กบน้อยบนใบบัว

    ย่ามเป้สะพายที่เป็นผ้าดิบลายสองถูกเย็บขึ้นเป็นถุงผ้าใบใหญ่
    มัน ถูกบรรจุสิ่งของต่างๆไว้ไม่ว่าจะเป็นบาตรที่มีขนาดใหญ่ถึงเก้านิ้วและกลด เหล็กที่พับซุกไว้ข้างย่าม และภายในบาตรเองก็เต็มไปด้วยผ้าสบงผ้าอาบน้ำผ้าเช็ดตัวมีดโกนกล่องสบู่และ มุ้งกลด
    มันเป็นสัมภาระที่พระธุดงค์อย่างฉันต้องหอบหิ้วมันไปตลอดทางด้วยน้ำหนักไม่ต่ำกว่ายี่สิบกิโลกรัม
    ของทั้งหมดนี้มันคือความจำเป็นที่ต้องขนไปด้วยเพราะการจาริกไปแบบไม่มีจุดหมายปลายทาง
    บาตรเอาไว้เป็นภาชนะขอข้าวชาวบ้านกินเพียงเพื่ออิ่มในมื้อเดียวตอนเช้า
    กลดและมุ้งกลดก็เอาไว้เป็นบ้านชั่วคราวที่อาศัยจำวัดพักผ่อนในสถานที่ที่เท้าของตนได้พาย่างก้าวมาถึงแบบทุลักทุเลในแต่ละวัน
    สิ่งของเท่าที่จำเป็นเพียงไม่กี่อย่างเท่านี้แต่ก็พาให้เรานึกท้อใจในความหนักของมัน
    บางทีอยากจะสละสิ่งของเหล่านี้ออกไปบ้างเมื่อไม่สามารถลากสังขารของตนให้ก้าวไปข้างหน้าได้
    การไปอย่างไม่มีจุดหมายก็เป็นความเพลิดเพลินและลืมบางสิ่งบางอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราไปได้ในช่วงเวลาหนึ่ง
    หลังฤดูออกพรรษาปีนี้ฉันได้ออกมาเดินธุดงค์ทางอีสาน
    นั่งรถไฟมาจากปักษ์ใต้และต่อมายังภาคอีสานลงรถไฟที่ลำปลายมาศเมืองบุรีรัมย์แล้วเดินจาริกต่อไปแบบไร้ทิศทาง
    คันนาที่ฉันพยายามเดินก้าวขาออกไปข้างหน้าด้วยความมั่นคงเพราะแรงกดของน้ำหนักย่ามที่สะพายอยู่บนบ่า
    มันเลยแลดูเป็นคันนาที่เล็กและคับแคบเกินไปจนเดินแทบไม่สะดวกเมื่อเทียบกับความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงเที่ยง
    ฉันพึ่งเดินตัดลัดทุ่งเพื่อไม่เข้าไปในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ๆ
    เพราะมีฝูงหมาหลายตัวในหมู่บ้านนี้มาเห่ากระโชกพระแปลกหน้าที่พวกมันไม่เคยเห็น
    การหลบหลีกผู้คนมันทำให้เรามีโอกาสได้พิจารณาถึงภาวะธรรมแห่งจิตใจเราไปตลอดทางแห่งการจาริก
    การเดินออกมาตามทุ่งนาที่โล่งแถบนี้มันมีแต่ความเวิ้งว้างแทบจะมองไม่เห็นบ้านเรือนผู้คนเลย
    พบ สองตายายที่ออกมาอยู่กลางนาและไม่ยอมกลับเข้าไปอยู่ที่หมู่บ้านในปลายฤดู เก็บเกี่ยวข้าวในปีนี้ แกบอกว่าต้องเดินตรงต่อไปเรื่อยๆอีกหกกิโลถึงจะเจอหมู่บ้าน
    เมื่อฉันได้คำตอบมันแทบทำให้ฉันเข่าทรุดเพราะตอนนี้ก็ปาเข้าไปเกือบสามโมงเย็นแล้ว
    ฉันต้องแข็งใจเดินต่อไปข้างหน้าด้วยระยะทางหกกิโลภายในสองชั่วโมงและแถมยังเป็นทางคดเคี้ยวที่ต้องเดินลัดเลาะไปตามคันนาแต่ละผืน
    ด้วยหัวใจที่เหนื่อยล้าและไม่รู้จะต่อรองอะไรกับใครมันทำให้ฉันต้องก้มหน้าและรีบจ้ำเดินเพราะกลัวจะมืดค่ำเสียก่อน
    แต่เมื่อมาถึงกลางทางพบสระบัวที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวกลางทุ่งนา
    ความสวยงามของบัวสายที่ชูช่อดอกอวดสายตาคนต่างถิ่นแดนไกลอย่างฉัน
    มันทำให้ฉันตัดสินใจปักกลดกลางทุ่งนาในเย็นของวันนี้เพราะความงามตามธรรมชาติที่ได้พบเห็น
    มันคงเป็นสระบัวที่เจ้าของนาเขาได้ขุดและเลี้ยงปลาเอาไว้กินยามเกี่ยวข้าว
    กลดถูกกางออกและแขวนไว้กับต้นมะสังที่แผ่กิ่งก้านแกร็นๆของมันออกไปอย่างไม่เต็มใจเพราะความแล้งของที่นี่
    เมื่อจัดที่จัดทางเสร็จจึงรู้ว่ามีกบตัวน้อยตัวหนึ่งนอนอยู่นิ่งๆบนใบบัวใบใหญ่ที่แผ่ใบของมันทับซ้อนเรียงรายกันอยู่กลางสระ
    เพราะ ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ภายในบริเวณสระแห่งนี้ซึ่งมีอยู่ที่เดียวท่าม กลางความแล้งร้างของผืนนาที่พึ่งถูกเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
    มันจึงให้ทุกชีวิตที่อยู่ในนาทุ่งนี้ได้หนีร้อนเข้ามาอาศัยความเย็นของผืนน้ำแห่งนี้
    เจ้ากบน้อยมันคงนอนอยู่บนใบบัวมาตั้งแต่ก่อนที่ฉันจะได้ก้าวย่างเข้ามา ณ ที่แห่งนี้
    และมันก็คงจ้องมองฉันอยู่นิ่งๆไม่ไหวติงจนกระทั่งฉันได้กางกลดเสร็จ
    วันนี้ฉันได้กบน้อยตัวนี้เป็นครูสอนธรรมะฉัน
    กบน้อยตัวนี้มันได้บอกฉันว่าถึงแม้ธาตุขันธ์ของฉันจะเหนื่อยหนักเพราะการเดินทาง
    แต่เพราะความที่ใจเรามีความเย็นในธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
    ไม่สัดส่ายไปในความร้อนรุ่มแห่งการปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนตามตัณหาอุปาทานแห่งตน
    เมื่อเราพบเจอความเย็นที่แท้จริงตามธรรมชาตินี้แล้วเราก็ไม่ควรจะปล่อยใจให้เถลไถลออกไปที่อื่นอีก ฉันจึงบอกกับตนเองในเย็นวันนั้นว่า
    ฉันควรทำใจให้นิ่งเหมือนกบตัวนี้ที่มันอยู่กับความเย็นกายเย็นใจของมันบนใบบัวนั้นโดยไม่ใส่ใจอะไรกับใคร
    เย็นวันนั้นฉันค่อยๆย่อตัวนั่งลงบนผ้ารองนั่งอาสนะด้วยความเงียบงัน
    และจ้องมองดูครูของฉันที่อยู่บนใบบัวอยู่อย่างนั้น
    จวบจนราตรีอันมืดมิดได้เข้ามาเยือนท้องทุ่งนาแห่งนี้
    คืนนี้จึงมีเพียงฉัน เจ้ากบน้อยและแสงสว่างจากแท่งเทียนที่ฉันจุดพรางไว้ในที่กำบัง
    ทั้งสองสรรพสัตว์นี้ต่างก็นั่งมองดูชีวิตอันสงบแห่งตน
    ท่ามกลางความวิเวกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  9. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๒๕ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน


    สติ ปัฏฐานธรรมเป็นธรรมที่เป็นความปกติตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน การปฏิบัติธรรมตามความเป็นปกติของธรรมชาตินั้นด้วยการ "พิจารณาธรรมทั้งปวงและพึงมีสติระลึกถึงความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" ถือเป็นการปฏิบัติธรรมที่ตรงต่อความเป็นจริงตามพุทธประสงค์และมิได้ถือว่า เหตุแห่งการที่ได้ปฏิบัติธรรมอย่างนี้เป็น "เหตุปัจจัย" ที่ทำให้ธรรมชาติที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน "เกิดขึ้น" เพราะธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนนี้ มันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้วด้วยความเป็นธรรมชาติของมันนั่นเองเป็นความมี อยู่ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นโดยที่มิได้เป็นธรรมชาติอันถือได้ว่า เป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น มันเป็นธรรมชาติที่มิได้ "เกิดเป็นธรรมชาติขึ้นเพราะได้อาศัยเหตุและปัจจัยแต่อย่างหนึ่งอย่างไร" เลย การพิจารณาธรรมเป็นเพียงแต่การทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริง แห่งธรรมชาติว่าแท้ที่จริงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งนี้มันคือความว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นซึ่งเป็นธรรมชาติของมัน อยู่แล้ว เป็นการพิจารณาเพื่อให้รู้ถึงความเป็นธรรมชาติที่มันเป็นของมันอยู่แล้วแบบ นี้เสมอมา เพราะฉะนั้นธรรมชาติจึงเป็นของมันแบบนี้อยู่แล้วมันจึงมิได้เกิดขึ้นเป็น สภาวะธรรมเพราะเหตุและปัจจัยจากการที่เราได้พิจารณาธรรมแต่อย่างใด เมื่อรู้แล้วว่าธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่งนั้นคืออะไรเราก็พึงมีสติ ระลึกถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติที่มันเป็นแบบนี้ของมันอยู่แล้วตาม ธรรมชาตินั้น

    เพราะธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมาย แห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันคงความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น "ความเป็นเช่นนั้นเองของธรรมชาติ" จึงเป็นธรรมชาติที่มิได้อาศัยความพรั่งพร้อมที่ประกอบไปด้วยความเป็นเหตุและ ผลแล้วธรรมชาตินี้จึงเกิดขึ้นได้ ก็เพราะธรรมชาติมันก็เป็นเช่นนั้นในความเป็นธรรมชาติของมันเองอยู่อย่างนั้น อยู่แล้วมันจึงปราศจากเหตุและปัจจัยใดๆมาตกแต่งเพื่อแสดงถึงคุณลักษณะในความ เป็นธรรมชาติของมันได้อีกเลย มันจึงเป็นธรรมชาติที่มิใช่ภาวะที่มีหรือไม่มี มิใช่ภาวะที่เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น มิใช่ภาวะต้องปรากฏหรือไม่ปรากฏ

    สติ ปัฏฐานธรรมเป็นธรรมที่ทำให้เราสามารถมีปัญญาพึงพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ อย่างแท้จริงถึงความเป็นธรรมทั้งปวงเพื่อ "สลัดออก" ซึ่งธรรมที่มีสภาพปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนทั้งหลายด้วยการพึงระลึกได้ถึงความ เป็นปกติของธรรมอันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตน ความหมายแห่งการสลัดออกจากธรรมที่มีสภาพความปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนได้แล้ว นั้นจึงถือได้ว่ามันคือ "ความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความ เป็นอัตตาตัวตน" อยู่แล้วเช่นกัน การสลัดออกจากภาวะธรรมอันมีความหมายตรงกันข้ามนี้คือจากภาวะธรรมอันคือความ ปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนไปสู่ความเป็นปกติของธรรมอันคือธรรมชาติของทุกสรรพ สิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้มันก็เป็นเพียงการยืนยันว่าธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนี้มันมีอยู่มาก่อนแล้วตั้งแต่ แรกเริ่มเดิมทีตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงแห่งมันแต่เพียงเท่านั้น แต่ความเป็นธรรมชาตินี้แห่งสติปัฏฐานธรรมมันมิได้เป็นสภาวะธรรมอันคือการ ต้องมีอยู่โดยสภาวะหรือไม่มีอยู่โดยสภาวะและมันก็มิได้หมายถึงเป็นธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นมาได้เพราะอาศัยเหตุและปัจจัยใดๆทั้งสิ้นรวมทั้งเหตุและปัจจัย จากการสลัดออกจากธรรมซึ่งคือธรรมที่มีความหมายตรงข้ามกัน ก็เพราะธรรมชาตินี้มันก็เป็นเช่นนั้นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตามความ หมายที่แท้จริงแห่งมันมาตั้งแต่เก่าก่อนและก็จะเป็นเช่นนี้ตลอดไปอยู่อย่าง นั้น การสลัดออกก็เป็นไปเพื่อความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงของมันอยู่ อย่างนั้นแต่เพียงเท่านั้น



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  10. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๒๖ ดอกบัวจิตวิญญาณแห่งพุทธะ


    ประสบการณ์ในชีวิตที่ผ่านการเรียนรู้บนเส้นทางธรรมแห่งธรรมชาติ
    มันทำให้ในวันนี้ชีวิตได้ตกผลึกถึงที่สุดแห่งความเป็นจริง ณ "ภูแห่งสัจจะ"
    ก็ความเป็นมนุษย์นั่นเองที่พยายามประคับประคองชีวิตของตนให้อยู่กับความสุขที่แท้จริง
    เป็นความสุขที่ตนเองได้เลือกสิ่งดีๆให้กับชีวิตของตนไว้แล้ว
    เป็นการเลือกโดยใช้ปัญญาคือความสามารถที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ไว้ให้แก่สัตว์มนุษย์โดยเฉพาะ
    เป็นการพิจารณาเพื่อไตร่ตรองและเลือกเฟ้นสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ชีวิตของตน
    และมนุษย์ยังมีความสามารถปรับปรุงพัฒนาความเป็นตนเองให้ดียิ่งขึ้นไป
    ด้วยศิลปะแห่งความเป็นมนุษย์ผู้มีหัวใจแห่งความเป็นบัณฑิตนั้น
    เป็น ศิลปะที่เกิดจากความสามารถของตนเองเพื่อแยกแยะคัดสรรบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ ดีออกไปด้วยการสลัดออกสิ่งที่ไม่ดีและไม่ต้องการนั้นออกไปจากชีวิตตนอย่าง ไม่มีเยื่อใย
    ด้วยการพึงพิจารณาเห็นโทษที่ตนจะได้รับ
    และพึงฝึกการมีสติเพื่อระลึกถึงบางสิ่งบางอย่างที่ตนได้เลือกไว้ดีแล้วและสิ่งๆนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของตนแต่ถ่ายเดียว
    เป็นศิลปะแห่งการปรับปรุงจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของตนให้เกิดความบริบูรณ์พร้อมจนกลายเป็นจิตวิญญาณแห่งความเป็นพุทธะได้ในที่สุด
    เมื่อประสพความสำเร็จในการนำสิ่งที่ดีที่สุดมาสู่ความเป็นชีวิตของตนได้
    มนุษย์ทั้งหลายจึงเริ่มต้นแบ่งปันสิ่งดีๆซึ่งเป็นความปรารถนาดีเหล่านี้ให้กับผู้คนรอบข้าง
    ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจึงบ่งบอกได้ว่ามนุษย์มิได้อยู่อย่างโดดเดียวเดียวดายบนโลกใบนี้
    มนุษย์ จึงดำรงชีวิตของตนอยู่กับหมู่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นสังคมที่ต่างก็ได้พึ่ง พิงอาศัยซึ่งกันและกัน ความปรารถนาดี คุณงามความดีทั้งหลาย ปฏิสัมพันธ์แห่งการคบหากันในฐานะที่ต่างคนต่างก็เป็นบัณฑิต การแบ่งปัน การพึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกัน ความมีศรัทธา ความมีอุดมคติอันสูงส่งร่วมกัน การดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสุขที่แท้จริงบนปัจจัยขั้นพื้นฐานทั้งสี่ ความมีมิตรไมตรีให้แก่กันเสมอมา ความมีเมตตากรุณาต่อบรรดาสรรพสัตว์ การปรับปรุงตนเองให้ไปสู่ความหลุดพ้นทั้งปวงได้และความเป็นธรรมชาติแห่ง พุทธะนั้น สิ่งดีๆทั้งหลายเหล่านี้ย่อมปรากฏอยู่ในสังคมมนุษย์ตลอดไปตราบเท่าที่มนุษย์ ทุกคนต่างก็ยังมีความสำนึกในความเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงและยังเห็นว่าชีวิตที่ ตนได้เกิดมานั้นมันยังเป็นชีวิตที่มีคุณค่าและมีความประเสริฐมากมายอย่าง ยิ่ง
    ก็เพราะมนุษย์มีหัวใจที่พิเศษมนุษย์ทุกคนจึงมีสัญชาตญาณแห่งความมีเลือดนักสู้เป็นผู้ที่ไม่ยอมแพ้แก่อะไรง่ายๆ
    มนุษย์ทุกคนจึงมีความสามารถที่จะสร้างแรงบันดาลใจเพื่อก่อคติที่ดีให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตตนเอง
    เป็นอุดมคติอันเป็นเข็มทิศนำพาชีวิตตนให้พ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวงได้
    ในคืนวันนั้นความที่ได้ตกผลึกถึงความมีคุณค่ายิ่งใหญ่ในภูมิปัญญาของความเป็นมวลหมู่มนุษยชาติ
    ณ ราตรีนั้นเองที่เชิงเขาภูแห่งสัจจะ
    พระพุทธเจ้าทั้งปวงจึงได้หยิบยื่น "ดอกบัวจิตวิญญาณแห่งพุทธะ"
    ให้แก่สักกเทวราช(มฆมานพ)




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  11. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๒๗ การปฏิบัติธรรมตามสติปัฏฐาน

    การพิจารณาธรรมเพื่อขจัด ความทุกข์ซึ่งคือภาวะธรรมปรุงแต่งทั้งปวงเพื่อดำเนินไปสู่ความเป็นปกติของ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนซึ่ง เรียกว่าการปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐานทั้งสี่นั้นมีดังต่อไปนี้

    ๑. ก็เพราะทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมไม่สามารถคงอยู่ในคุณสมบัติหรือคุณลักษณะแบบ เดิมๆของมันได้อยู่ตลอดเวลามันมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางใดทางหนึ่งอยู่เสมอ ไม่สามารถคงตัวอยู่ในสภาพเดิมๆซึ่งเป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของมันทั้งหมด เท่าที่ปรากฏในขณะที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นและเข้าใจว่ามันคือสิ่งนี้ๆและ เป็นแบบนี้ๆ ทุกสรรพสิ่งจึง "อนิจจัง" มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนอยู่ตลอดเวลา

    ๒.เมื่อทุกสรรพสิ่งย่อม ไม่เที่ยงแท้แน่นอนในความเป็นสิ่งๆนั้นของมัน ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของสิ่งๆนั้นจึงย่อมไม่เป็นจริงตามนั้นและ ไม่มีอยู่จริง เพราะฉะนั้นทุกสรรพสิ่งจึงย่อมเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว

    ๓.เมื่อ ทราบถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันเป็นเช่นนั้นของมัน เองอยู่อย่างนั้นที่มันเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมาย แห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เราก็ควรนำหลักธรรมดังกล่าวข้างต้นมาพิจารณาเปรียบเทียบในความเป็นเราที่มี พฤติกรรมทางจิตที่ชอบปรุงแต่งยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นจิตต่างๆและมันก็คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้น ก็ความเป็นเรานั้นแท้จริงมันหามีตัวตนไม่ ก็เพราะความเป็นเรานั้นมันเป็นสิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาด้วยความเป็น ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ และขันธ์ทั้งหมดเหล่านี้ก็เป็นสิ่งๆหนึ่งเช่นกันที่มีความแปรผันอยู่ตลอด เวลาขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนอยู่อย่างนั้น ถึงแม้เราจะมีอวิชชาคือความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าจน กลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมา จิตต่างๆที่เกิดขึ้นเพราะเหตุและปัจจัยแห่งความที่เข้าไปยึดนั้นมันก็ย่อมคง อยู่ในความเป็นของมันเองแบบนั้นไม่ได้ เมื่อแท้ที่จริงจิตของเราย่อมแปรผันมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจิตนั้น จึงหาเป็นจิตที่มีความหมายแห่งอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นไม่ จิตต่างๆที่เราปรุงแต่งขึ้นเพราะความเข้าไปยึดขันธ์ทั้งห้าจึงย่อมเป็นเพียง ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมัน อยู่อย่างนั้นเช่นกัน มันจึงเป็นการพิจารณาเพื่อให้ได้ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงว่า "ทุกสรรพสิ่งซึ่งรวมทั้งความเป็นจิตความเป็นขันธ์ทั้งห้าของเรานั้นมันย่อม เป็นแต่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนอยู่อย่างนั้น"

    ๔.สติปัฏฐานธรรมเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสถึง ธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงที่มันเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น เป็นการตรัสธรรมเพื่อให้พิจารณาถึงความเป็นอัตตาตัวตนแห่งเราและขจัดเสีย ซึ่งความเป็นอัตตาเหล่านี้ด้วยการพิจารณาถึงความไม่เที่ยงแท้ เมื่อเข้าใจความเป็นจริงเช่นนี้แล้วธรรมชาติที่แท้จริงจึงย่อมปรากฏตามความ เข้าใจแห่งเราในขณะนั้นด้วย พระพุทธองค์ได้ตรัสธรรมอันคือสติปัฏฐานไว้ถึงสี่หมวดคือ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้นเป็นการตรัสธรรมไว้ตรงต่อจริตต่างๆของนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายเพื่อให้ พิจารณาถึงความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนของธรรมทั้งปวงเหล่านี้ ก็เป็นธรรมดาที่ความเป็นเราทั้งหลายย่อมเคยสั่งสมอนุสัยซึ่งคือพฤติกรรมทาง จิตแตกต่างกันไปก็ในเมื่อชอบปรุงแต่งเป็นจิตไปอย่างไรในความหมายใดเมื่อเรา มีความเข้าใจในความหมายแห่งธรรมทั้งปวงแล้วเราก็ย่อมเห็นจิตและย่อมเห็นความ ไม่เที่ยงแท้ของความเป็นจิตชนิดนั้นก่อนซึ่งเป็นจริตของนักปฏิบัติคนนั้นที่ ชอบปรุงแต่งจิตไปในลักษณะนั้นๆนั่นเอง การตรัสธรรมไว้ทั้งสี่หมวดจึงมิใช่การตรัสไว้เพื่อให้เราเข้าไปพิจารณาธรรม ให้ครบทั้งหมดทั้งสี่หมวดและเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องครบ ถ้วน เพราะความเป็นจริงการที่เรามีความเข้าใจแล้วว่าทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมไม่ เที่ยงหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่และทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมคือความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและการที่เราพิจารณาเห็นจิตที่เราปรุง แต่งขึ้นไปในทางใดทางหนึ่งตามจริตที่เราชอบปรุงอยู่อย่างนั้นในขณะนั้นแห่ง การเริ่มต้นปฏิบัติธรรมและเราย่อมเห็นจิตชนิดนี้ก่อนจิตอื่นๆ (ไม่ว่าจะเป็นจิตที่ชอบปรุงแต่งไปในทางความเป็นตัวตนแห่งกายเราอันคือหมวด กาย ไม่ว่าจะเป็นจิตที่ชอบปรุงแต่งไปในทุกๆทางที่เกิดและจิตนั้นเป็นจิตที่ปรุง แต่งขึ้นด้วยเวทนาความรู้สึกต่างๆอันคือหมวดเวทนา ไม่ว่าจะเป็นจิตที่ชอบปรุงแต่งไปกลายเป็นจิตต่างๆอันคือหมวดจิตและไม่ว่าจะ เป็นจิตที่ชอบปรุงแต่งไปในภาวะธรรมต่างๆอันคือหมวดธรรม) มันก็ย่อมทำให้เรารู้ว่าจิตชนิดนี้เป็นจิตที่เราปรุงแต่งขึ้นตามจริตนิสัย แห่งเราเพราะความที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น และเราก็ย่อมพิจารณาได้เช่นกันว่าจิตที่ปรุงแต่งขึ้นดังกล่าวและขันธ์ทั้ง ห้านั้นย่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอนมีความแปรผันไปหาความเป็นอัตตาตัวตนเป็นสิ่งๆ นั้นได้อย่างแท้จริงไม่ เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นจริงเหล่านี้มันจึงย่อมมีความหมายถึงจิตที่ปรุง แต่งขึ้นมาและขันธ์ทั้งห้ารวมถึงทุกสรรพสิ่งนั้นมันย่อมคือธรรมชาติแห่งความ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วไปในตัว ด้วยเช่นกัน

    ๕.การพิจารณาถึงความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนของจิตของ ขันธ์ทั้งห้าของเราก็เป็นการพิจารณาเพื่อขจัดความไม่เข้าใจต่อความเป็นจริง ว่าจิตที่เราปรุงแต่งขึ้นและขันธ์ทั้งห้านั้นสิ่งทั้งหมดเหล่านี้ย่อมหาใช่ ความเป็นตัวตนที่แท้จริงได้ ความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้ย่อมว่างเปล่าและทุกสรรพสิ่งทั้งภายในและภายนอก แห่งเราก็ย่อมล้วนแต่คือความว่างเปล่าด้วยเช่นกัน การพิจารณาอย่างนี้เพื่อให้ได้ความเป็นจริงตรงกับความเป็นธรรมชาติที่มันมี อยู่แล้วคือทุกสรรพสิ่งย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นมันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่าง นั้น การพิจารณาว่าจิตของตนและขันธ์ทั้งห้าแห่งตนเป็นของไม่เที่ยงนั้นจึงเป็นการ พิจารณาเพียงเพื่อให้ตรงต่อความเป็นจริงเท่านั้นที่ว่า "ความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่งนั้นคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่แล้ว" มันจึงเป็นการพิจารณา "เพื่อให้ตรงต่อ" ความหมายแห่งธรรมชาติที่มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นแต่เพียงเท่า นั้น แต่มิใช่การพิจารณาเพื่อให้ธรรมชาตินี้ "มันเกิดขึ้นเป็นสภาวะธรรม" เพราะเหตุแห่งการพิจารณานี้แต่อย่างไร เพราะฉะนั้นธรรมชาติที่มันว่างเปล่าและมันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่าง นั้นมันจึงมิได้เกิดขึ้นมาเพราะใครมาทำให้มันเกิดขึ้นได้ ธรรมชาติที่มันเป็นของมันเองอยู่แล้วมันเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นจริงที่ เป็นความบริบูรณ์พร้อมอยู่แล้วในความเป็นธรรมชาตินั้นเองโดยไม่มีส่วนพร่อง ไปในความหมายอื่นได้อีก เพราะฉะนั้นการเข้าใจผิดด้วยการหมั่นหยิบยกธรรมทั้งหมดเท่าที่ตนเองจะพึงทำ ได้ขึ้นมาพิจารณาแล้วยังเข้าใจไปอีกว่าการกระทำเช่นนี้จะยังให้ธรรมชาติเกิด ขึ้นและเป็นการปฏิบัติไปบนความเพียรของตนเองเช่นนี้ไปเรื่อยๆแล้วมันจะมีผล ทำให้ธรรมชาตินั้นมันบริบูรณ์ขึ้นมาในสักวันหนึ่งเพราะการปฏิบัติธรรมใน ลักษณะเช่นนี้เรื่อยไป การที่เราเข้าใจผิดเช่นนี้มันไม่ใช่เป็นการปฏิบัติธรรมตามความเป็นจริงแห่ง ธรรมชาติที่ตรงต่อพุทธประสงค์ที่พระองค์ได้ตรัสธรรมอันคือสติปัฏฐานทั้งสี่ ไว้แต่มันเป็นเพียง "จิตที่เราปรุงแต่งไปในการปฏิบัติธรรมผิดๆของเราเท่านั้น" การพิจารณาธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงต่อความเป็นจริงของธรรมชาติที่มัน ว่างเปล่าเป็นการพิจารณาเพื่อให้เราเกิดความเข้าใจในสภาพความเป็นจริงแห่ง ธรรมชาติที่มันว่างเปล่าอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วโดยตัวมันเอง เมื่อเกิดความเข้าใจและรู้จักความเป็นจริงของธรรมชาตินี้แล้วโดยหมดความ ลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวงและไม่หลงไปในทิศทางอื่นๆอีก มันจึงเป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่ทำให้สามารถระลึกถึงความเป็นธรรมชาติแห่ง มันได้อยู่ทุกขณะเป็นการระลึกชอบที่ทำให้สามารถเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความ เป็นธรรมชาติที่มันบริบูรณ์พร้อมในความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัว ตนของมันอยู่อย่างนั้น ความที่เป็นหนึ่งเดียวได้แล้วกับความเป็นปกติในธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนที่มันเป็นความบริบูรณ์ในสภาพแห่งมัน นั้นอยู่แล้วถือได้ว่าเป็นการระลึกที่ถูกต้องตามหลักแห่งสติปัฏฐานที่พระ พุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้แล้วทุกประการ


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  12. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๒๘ ถอนวัชพืช

    ต้นข้าวได้ชูช่อและใบอวดความเขียวงามของมันอยู่เต็มท้องทุ่ง
    มันเป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงการใกล้จากลาแห่งวสันต์ฤดู
    ความชุ่มฉ่ำแห่งสายฝนที่เทลงมาทำให้ข้าวเริ่มตั้งท้อง
    การไม่ดูแลเอาใจใส่ในบางโอกาสของชาวนาทั้งหลาย
    ทำให้วัชพืชซึ่งเป็นส่วนเกินของระบบนิเวศน์ท้องไร่ท้องนา
    เติบโตขึ้นอย่างมากมายจนมองแลดูไม่เห็นต้นข้าว
    แต่ฉันเป็นชาวนาและเป็นผู้ปลูกข้าวมาตลอดชั่วชีวิตของฉัน
    ฉันรู้ว่าธรรมชาติที่แท้จริงมันคือความหมายอะไร
    การลงแปลงนาเพื่อถอนวัชพืชด้วยสัมมาสติ
    อันคือการระลึกรู้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติ
    มือที่ดึงถอนต้นหญ้าเปรียบเหมือนสติที่คงมั่น
    ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น
    หญ้าที่ถูกถอนด้วยน้ำมือแห่งธรรมชาติ
    มันทำให้นาแปลงนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยเมล็ดข้าวแห่งพุทธะ
    ที่พร้อมดาหน้าจะออกมาเป็นรวงสีทองในกาลอนาคต



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  13. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๒๙ สัมมาสติ



    การที่สามารถดำเนินไปตามความเป็น ปกติของธรรมชาติด้วยความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นโดยไม่มีความแตกต่างและไม่ ผิดเพี้ยนในเนื้อหาความเป็นธรรมชาติและการที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าฯนั้นมันได้ทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นก็ถือได้ว่าเป็น "สัมมาสติ" คือการระลึกชอบแล้ว เป็นการระลึกได้ถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นและเป็นการระลึกถูก ต้องตามหลักสติปัฏฐานทั้งสี่

    การที่นักศึกษามีความพยายามเข้าไปจับ ฉวยจับกุมธรรมแห่งสติขึ้นมาพิจารณาและมีความเข้าใจผิดต่อไปอีกว่าการฝึกสติ ให้ดีขึ้นนั้นต้องหมั้นฝึกฝนซึ่งประกอบด้วยอุบายต่างๆและคิดว่ากำลังแห่งสติ อันเกิดจากการฝึกฝนนี้จะเป็นเหตุปัจจัยให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าฯนั้นมีความบริบูรณ์เต็มเปี่ยมไม่ขาดพร่องและเป็นเหตุให้นิพพานเกิด ขึ้นได้และนักศึกษาเหล่านี้ต่างก็มีความเพียรพยายามในทุกวิถีทางเพื่อให้ กำลังแห่งสตินี้เกิดขึ้นและเต็มบริบูรณ์ด้วยความเข้าใจแห่งตน แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเพียงแต่ "จิตที่ปรุงแต่งไปในการฝึกฝนธรรมแห่งสติ" และเป็น "จิตที่ปรุงแต่งไปในความมีสติตามความเข้าใจแห่งตน" แต่เพียงเท่านั้น มันจึงเป็นเพียงแค่การใช้จิตแสวงหาจิตและมิใช่สัมมาสติแต่อย่างไร

    ก็ เพราะความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯมันสามารถดำเนินไปด้วย ความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันอยู่แล้วนั้นมันจึงมีความหมายถึงการมี สติระลึกถึงความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความ เป็นตัวตนได้อย่างนั้นอยู่แล้วเช่นกัน กำลังแห่งสติที่แท้จริงตามสติปัฏฐานทั้งสี่นั้นหมายถึงการที่สามารถดำเนินไป ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯได้อยู่อย่างนั้น อยู่แล้วตลอดเวลา การที่ปล่อยให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความ เป็นอัตตาตัวตนมันได้ทำหน้าที่แห่งมันตามสภาพธรรมชาตินั้นมันจึงเป็นกำลัง แห่งสติที่แท้จริงอันจะทำให้มีความคล่องแคล่วไม่ติดขัดอยู่อย่างนั้นด้วย ความเป็นอิสระเด็ดขาดพ้นจากภาวะความปรุงแต่งทั้งปวงได้




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  14. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๓๐ ปักษ์ใต้

    รถไฟท้องถิ่นขบวนชุมพร-ชุมทางหาดใหญ่ได้พาชีวิตฉันเดินทางลงมาสู่ปักษ์ใต้เป็นครั้งแรก
    เพราะความที่ฉันเป็นคนภาคกลางและไม่มีโอกาสได้มาเที่ยวทางถิ่นนี้เลย
    รถไฟหวานเย็นขบวนนี้ซึ่งต้องจอดทุกสถานีได้พาให้ฉันตื่นตาตื่นใจไปกับทิวทัศน์รอบข้าง
    ภาพปักษ์ใต้ในความทรงจำของฉันมันมีแต่ภูเขาทะเลและมโนราห์ที่แต่งตัวแปลกๆแต่สวยงาม
    รูปภาพของสวนยางพาราที่ฉันชอบและเคยเอามาห่อปกหนังสือสมัยเรียนชั้นมัธยมปลาย
    วันนี้มันได้ปรากฏขึ้นมาเป็นสวนยางจริงๆแก่สายตาของฉันที่สามารถมองเห็นได้ทั่วไปในขณะที่รถไฟได้แล่นผ่าน
    การเดินทางที่ไม่รู้ว่าข้างหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้นเพราะจุดหมายปลายทางที่จะไปนั้นฉันไม่รู้จักใครเลย
    กับความแปลกตาเพลินใจในสิ่งที่ตนเองพึ่งเคยเห็นความเป็นธรรมชาติของภาคใต้
    มัน เป็นความรู้สึกที่ขัดแย้งกันอย่างบอกไม่ถูกทั้งในความกังวลใจและในความสุข ที่ได้มาเยือนทางใต้ที่มันเกิดขึ้นพร้อมกันตลอดเวลาแห่งการเดินทางในครั้ง นี้
    เขาอกทะลุซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุงตั้งทะมึนยืนรอฉันอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามสถานีรถไฟ
    ฉันได้สะพายถุงย่ามขนาดใหญ่ที่ใส่บาตรและกลดลงรถไฟที่จุดหมายปลายทางพัทลุงนี้


    พัทลุงเป็นจังหวัดเล็กๆที่เงียบสงบและเป็นที่ตั้งของวัดที่ฉันจะมาจำพรรษาอยู่ที่บ้านนาวง กิ่งอำเภอศรีนครินทร์
    มัน เป็นก้าวแรกของฉันที่พึ่งได้เริ่มต้นเดินบนเส้นทางธรรมและฉันต้องปรับตัวอีก มากมายต่อข้อวัตรปฏิบัติที่เป็นกฎระเบียบของวัดป่าที่นี่
    วัดมีอาณาเขตบริเวณกว้างขวางเป็นธรรมชาติที่ร่มรื่นมีถ้ำน้อยใหญ่และมีลำธารไหลผ่านทะลุภูเขาจากอีกฝากหนึ่งมายังอีกฝากหนึ่ง
    แกงที่เผ็ดร้อนในรสชาติเพราะใส่ขมิ้นและพริกมากเกินไปมันไม่คุ้นเคยกับลิ้นของคนภาคกลาง
    แต่มันก็ทำให้เจริญอาหารพร้อมกับผักที่กินแกล้มกับแกงไม่ว่าจะเป็นใบทำมัง ใบมันปู ฝักสะตอ ลูกเหรียงและลูกเนียง
    ซึ่งมันเป็นบรรดาผักเหนาะที่ชาวบ้านเขาเสาะหามาถวายมันเป็นผักที่หาได้ง่ายขึ้นตามท้องถิ่นทั่วไปของภูมิภาคนี้
    ภาคใต้มีลูกหมากมากและฉันก็เริ่มทำตัวเป็นหลวงตาที่ต้องกินหมากอยู่เป็นประจำ
    เป็นหมากที่สามารถขอกับชาวบ้านได้ทุกหลังคาเรือนเพราะทางนี้เขานิยมปลูกเอาลูกหมากไปขายเพื่อทำเป็นสีแดงชาด
    หมาก คำแรกในชีวิตที่กินแบบไม่ใส่ปูนแต่กินกับใบพลูเถื่อนที่เลื้อยขึ้นอยู่ข้างๆ กุฏิมันทำให้ฉันมือไม้อ่อนมีเหงื่อออกซึมเหมือนคนจะเป็นลมเพราะโดนหมากยัน
    อากาศ ตอนเช้าของที่นี่ในทุกๆวันทำให้รู้สึกสดชื่นและปลอดโปร่งเพราะมันยังครึ้ม เต็มไปด้วยป่าไม้ที่แน่นหนาแย่งกันโตขึ้นมีลำต้นสูงชะลูดเพื่อรับแดดซึ่งมัน เป็นป่าดงดิบแถบร้อนชื้น
    เวลาบิณฑบาตที่ต้องเดินขึ้นควนภูเขาหลายลูกและ ต้องเดินเข้าไปในสวนยางลึกๆเป็นระยะทางที่ไกลในแต่ละหัวเช้ามันจึงทำให้ไม่ ค่อยรู้สึกเหนื่อย
    ฉันชอบปักษ์ใต้ที่นี่เพราะสวยงามกว่าทางบ้านฉันแต่ก็ยังรู้สึกเหงา
    การเก็บตัวอยู่กรรมฐานที่กุฏิแต่เพียงลำพังผู้เดียวซึ่งอยู่ท่ามกลางสวนเงาะลองกองและทุเรียนป่าที่ทางวัดปลูกไว้
    มันทำให้ฉันได้ตกผลึกในชีวิตและสามารถเรียนรู้ปล่อยวางความเป็นตัวตนของตนเองมากขึ้น
    พระ อาจารย์ท่านสอนแต่เพียงว่าให้ใช้ชีวิตอยู่ไปแบบนั้นตามความสุขที่พึงมีตาม อัตภาพในฐานะนักบวช คำสอนของอาจารย์ที่ดูเรียบง่ายแต่ต้องใช้ปัญญาอย่างมากมายเพื่อพิจารณาและ เข้าถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตแห่งตนนั้น
    มันก็ยังคงดูสับสนและวุ่นวายในหัวใจของพระใหม่เช่นฉันที่ใจมันยังคงเรียกร้องถึงสิ่งนี้สิ่งนั้นอยู่ตลอดเวลา
    ฉันได้เดินทางออกจากปักษ์ใต้มาก็หลายครั้งโดยจาริกไปอยู่ทางภาคอื่นๆบ้าง
    แต่เพราะเหมือนโดนมนต์มัดใจจึงต้องแวะเวียนกลับมาเยือนทางใต้นี้อยู่เสมอๆ
    ในท้ายที่สุดจึงต้องมาอยู่อย่างยาวนานเกินสิบปีที่ "วัดถ้ำเสือวิปัสสนา" จังหวัดกระบี่
    ถ้ำเสือแห่งนี้นี่เองที่ฉันได้รู้แจ้งถึงธรรมชาติแห่งพุทธะ




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  15. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๓๑ สัมมาสมาธิ


    เพราะเหตุแห่ง การระลึกได้ตรงต่อความเป็นจริงของธรรมชาติและธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันได้ทำหน้าที่ในความเป็นธรรมชาติ ของมันเองอยู่อย่างนั้นได้อย่างปกติไม่แปรผันไปในความหมายอื่นและเป็นความ ปกติที่ทำให้ธรรมชาติมันมีความเป็นอิสระเด็ดขาดในความหมายที่แท้จริงแห่งมัน ได้จึงเป็น "สัมมาสมาธิ" ความตั้งมั่นชอบ

    การที่นักศึกษามีความ พยายามเข้าไปจับฉวยจับกุมธรรมแห่งสมาธิอันเกิดจากการเข้าไปทำฌานขึ้นมา พิจารณาและมีความเข้าใจผิดต่อไปอีกว่าการฝึกสมาธิให้ดีขึ้นนั้นต้องหมั้น ฝึกฝนซึ่งประกอบด้วยอุบายต่างๆและคิดว่ากำลังแห่งสมาธิอันเกิดจากการฝึกฝน นี้จะเป็นเหตุปัจจัยให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้นมีความ บริบูรณ์เต็มเปี่ยมไม่ขาดพร่องและเป็นเหตุให้นิพพานเกิดขึ้นได้และนักศึกษา เหล่านี้ต่างก็มีความเพียรพยายามในทุกวิถีทางเพื่อให้กำลังแห่งสมาธินี้เกิด ขึ้นและเต็มบริบูรณ์ด้วยความเข้าใจแห่งตน แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเพียงแต่ "จิตที่ปรุงแต่งไปในการฝึกฝนธรรมแห่งสมาธิ" และเป็น "จิตที่ปรุงแต่งไปในความมีสมาธิตามความเข้าใจแห่งตน" แต่เพียงเท่านั้น มันจึงเป็นเพียงแค่การใช้จิตแสวงหาจิตและมิใช่สัมมาสมาธิแต่อย่างไร


    แต่ การที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเรื่องการทำกรรมฐานแห่งฌานทั้งหลายไว้ในธรรมตาม หมวดต่างๆในพระไตรปิฎกหรือแม้กระทั่งในสติปัฏฐานเองก็ตาม พระองค์มีพุทธประสงค์เพียงแค่ให้เราละทิ้งจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตต่างๆ และจิตนั้นเป็นอุปสรรคมาขวางกั้นทำให้ไม่สามารถพิจารณาได้ถึงความเป็น ธรรมชาติที่แท้จริงได้ด้วยอุบายการเข้าไปทำฌานเพื่อให้จิตที่ปรุงแต่งขึ้น และเป็นอุปสรรคนั้นสงบระงับลงชั่วคราวและมีสมาธิตั้งมั่นในองค์ภาวนาอย่างไร อย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดจิตอันประณีตในฌานนั้นๆ โดยถือว่าเป็นการปรับปรุงจิตที่วุ่นวายซึ่งเป็นจิตที่ยึดมั่นถือมั่นใน นิวรณ์ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกีดขวางกางกั้นมิให้เรามีสติปัญญาในการ พิจารณาความเป็นจริงตามธรรมชาติได้กลับมาสู่ความเป็นจิตที่ปกติอีกครั้ง หนึ่งที่มีความสงบระงับพอที่จะมีสติปัญญาสามารถพิจารณาถึงเหตุและผลของ ธรรมชาติที่แท้จริงให้ปรากฏขึ้นตามสภาพธรรมชาติแห่งมัน เหตุผลที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องการทำฌานก็มีแต่เพียงเท่านี้และมิได้ตรัสไว้ เพื่อเหตุผลอื่นๆ

    ก็เพราะความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันสามารถดำเนินไปด้วยความเป็นปกติ ตามสภาพธรรมชาติแห่งมันอยู่แล้วนั้นมันจึงมีความหมายถึงการมีความตั้งมั่นใน ความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้นอยู่แล้วเช่นกัน กำลังแห่งสมาธิหรือความตั้งมั่นที่แท้จริงตามสติปัฏฐานทั้งสี่นั้นหมายถึง การที่สามารถดำเนินไปตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าฯได้อยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตลอดเวลา การที่ปล่อยให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็น อัตตาตัวตนได้ทำหน้าที่แห่งมันตามสภาพธรรมชาตินั้นมันจึงเป็นความคล่องแคล่ว ไม่ติดขัดอยู่อย่างนั้นและไม่แปรผันไปในความหมายอื่นมันจึงเป็นกำลังแห่ง สมาธิที่แท้จริงอันจะทำให้มีความเป็นอิสระเด็ดขาดพ้นจากภาวะความปรุงแต่ง ทั้งปวงได้



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  16. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๓๒ หัวหน้าครอบครัว

    สายลมแห่งเหมันต์ฤดูได้พัดมาเยือนจนทำให้หน้าเกี่ยวข้าวปีนี้หนาวจับใจ
    เมื่อคืนผู้เฒ่าอยู่เถียงนาข้างๆได้เอาว่าวธนูขึ้นต้อนรับลมหนาว
    เสียงอื๊ดอืดอืดอื๊ดมันดังแทรกเข้ามาในผ้าผวยของฉัน
    ใบตาลที่แปะกับตัวว่าวเมื่อมันโดนลมบนพัดผ่านมันจึงส่งเสียงดังตลอดทั้งคืน
    ความเหนื่อยล้าที่เกี่ยวข้าวมาตลอดทั้งวันมันทำให้ฉันแทบหมดแรง
    ข้าวที่ปลูกไว้ปีนี้ให้ผลดีรวงข้าวเป็นรวงใหญ่สีทองเมล็ดข้าวดูสมบูรณ์
    เป็นเพราะฉันเริ่มใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่พระอาจารย์แห่งวัดป่าหมู่บ้านข้างๆ
    ท่านมีเมตตาให้ฉันไปเข้าอบรมการปลูกข้าวด้วยวิธีกรรมตามธรรมชาติที่วัดของท่าน
    และฉันได้ลองกลับมาทำปุ๋ยอินทรีย์เองที่บ้านและทดลองใส่ปุ๋ยในนาปีนี้
    เมื่อผลผลิตออกมามากเป็นที่พอใจการเอาข้าวขึ้นลานจึงน่าจะต้องใช้เวลาอยู่นาน
    ม่านตามันกำลังปิดลงเพราะความอ่อนระโหยโรยแรง
    แต่ก็พลันสะดุ้งตื่นเพราะเจ้าแดงตื่นขึ้นมาร้องไห้จ้าลั่นกลางดึก
    จนแม่มันต้องรีบลุกเอาขวดนมที่เตรียมชงไว้แล้วป้อนใส่ปาก
    การพึ่งมีลูกน้อยและต้องหอบกระเตงเอามาลงนาด้วยในยามฤดูเกี่ยวข้าวนี้
    จึงเป็นเรื่องที่ลำบากยากยิ่ง
    วันนี้แม่ไอ้แดงต้องวิ่งไปที่เถียงนาอยู่บ่อยครั้งเพราะลูกร้องไห้กวนไม่หยุด
    ไปๆมาๆฉันต้องก้มหน้าเกี่ยวข้าวอยู่คนเดียว
    และเพลินไปกับการที่ได้ฟังเสียงกล่อมลูกของเมียรัก
    เพราะเราทั้งสองคนพึ่งมีลูกด้วยกันเป็นคนแรก
    ฉันแอบอดยิ้มไม่ได้ที่ได้ยินเสียงเมียกล่อมเจ้าตัวเล็กดังลั่นไปทั่วท้องทุ่ง
    และไม่รู้เลยว่าเมียฉันได้เอาเพลงกล่อมลูกมาจากไหนและร้องเป็นตั้งแต่เมื่อไร
    แต่เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงที่บ่งบอกได้ถึงความรักอย่างมากมายที่แม่มีต่อลูก
    น้ำเสียงที่พยายามกล่อมให้ลูกหลับนั้นเป็นน้ำเสียงที่ดูอาทรอบอุ่นมีพลัง
    วันนี้ทำให้ฉันรู้ได้ว่าเพราะความรักของพ่อและแม่อย่างแท้จริง
    จึงทำให้ลูกๆทุกคนบนโลกใบนี้ได้เติบใหญ่เป็นมนุษย์มนาขึ้นมา
    เหงื่อที่ไหลรินหยาดราดรดลงบนผืนแผ่นดินของหัวหน้าครอบครัว
    อันเกิดจากการตรากตรำทำงานหนักเพื่อหาเงินมาเลี้ยงลูกน้อย
    มันคือตัวแทนแห่งจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์
    ที่ได้พยายามทำหน้าที่ของตน
    ประคับประคองครอบครัวตนเองให้อยู่รอดได้


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  17. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๓๓ สัมมาวายาโม


    การที่สามารถ ดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนได้อยู่อย่างนั้นตามสภาพแห่งธรรมชาติที่มันเป็น เช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ถือว่าเป็น "สัมมาวายาโม" คือความเพียรพยายามชอบ เป็นความเพียรพยายามชอบอันแท้จริงที่จะทำให้เกิดความกลมกลืนกลายเป็นหนึ่ง เดียวโดยไม่มีข้อแตกต่างในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้น เอง
    ก็เพราะ "การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันสามารถดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติ ของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" มันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่ความเป็นอัตตาตัวตนไม่สามารถเกิดขึ้น มาได้ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้ได้อยู่แล้ว
    ก็ เพราะ "การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันสามารถดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติ ของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" มันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่เป็นการละทิ้งสลัดออกซึ่งเหตุปัจจัย อันเป็นการยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนได้อยู่แล้ว
    ก็เพราะ "การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันสามารถดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติ ของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" มันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่แสดงว่าทุกสรรพสิ่งนั้นมันคือธรรมชาติ ของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้อยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้อยู่แล้ว
    ก็เพราะ "การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันสามารถดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติ ของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" มันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่มันเป็นความบริบูรณ์พร้อมเต็มเปี่ยมใน ความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว

    ก็เพราะ "การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันสามารถดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติ ของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" มันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่เป็นสิ่งยืนยันแสดงได้ถึงความที่อัตตา ตัวตนไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในความเป็นธรรมชาตินี้ความที่ได้ละทิ้งสลัดออก ซึ่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นแล้วความที่ธรรมชาตินี้มันก็เป็นของมันอยู่อย่าง นี้และความที่ธรรมชาตินี้มันก็เป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่มันเป็นธรรมชาติที่ บริบูรณ์เต็มเปี่ยมของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการที่นักศึกษาละทิ้งความเพียรพยายามโดยชอบซึ่งเป็นหลักธรรมแห่ง ธรรมชาติหลักเดียวอันจะทำให้สามารถดำเนินไปตามความเป็นปกติของธรรมชาติของ ทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้นได้แล้วหันไปแสวงหาหลักธรรมอันคือหลักเกณฑ์ อื่นๆซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของนักศึกษาเองว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้นมันจะทำ ให้ความเป็นธรรมชาตินี้เกิดขึ้นมาได้และมันจะนำมาซึ่งความบริบูรณ์เต็ม เปี่ยมมีความเต็มรอบแห่งธรรมชาติเกิดขึ้นและเรียกตรงนั้นว่านิพพาน แล้วนักศึกษาก็เริ่มแสวงหาธรรมต่างๆอันมิใช่ความเป็นธรรมชาติที่มันเป็นเช่น นั้นของมันเองอยู่แล้วและเริ่มกระทำซึ่งความเป็นธรรมต่างๆเหล่านั้นให้เกิด ขึ้นตามความสามารถของนักศึกษาเองและมีความเข้าใจว่าสักวันหนึ่งธรรมที่ได้ทำ ขึ้นมันจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นิพพานเกิดขึ้นสักวันหนึ่งในการข้างหน้า สิ่งเหล่านี้ถือว่ามิใช่ความเพียรพยายามโดยชอบแต่มันเป็นเพียงแค่ความปรุง แต่งจิตไปในการแสวงหาธรรมอื่นๆอันมิใช่ธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริง




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  18. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๓๔ ยายกับหลาน


    รถเมล์ปรับอากาศชั้นหนึ่งสายเขมราฐ-กรุงเทพฯ
    ได้เคลื่อนตัวออกจากตัวเมืองเขมราฐเมื่อห้าโมงเย็นของวันนี้
    ภาพที่ยายกับแม่ได้มายืนส่งขึ้นรถ
    กำลังพร่าเลือนรางจางหายด้วยระยะทางที่กำลังห่างออกไปเพราะความเร็วของรถ
    ฉันเป็นเด็กบ้านนอกคอกนาเติบโตมากับท้องทุ่ง
    แห่งอำเภอชายแดนที่ติดแม่น้ำโขงของจังหวัดอุบลราชธานี
    พ่อและแม่ของฉันแยกทางกันตั้งแต่ฉันยังเล็กมากจำความไม่ได้
    ฉันโตมาในท่ามกลางความไม่พร้อมหน้าพร้อมตาของครอบครัว
    แม่ทิ้งฉันไว้ให้ยายเลี้ยงและหนีเข้าไปทำงานที่กรุงเทพฯ
    ส่วนพ่อได้บวชเป็นพระตั้งแต่เลิกกับแม่
    ฉันพอจำความได้ว่าในแต่ละปีพ่อจะมาเยี่ยมหาครั้งหนึ่ง
    แต่มันก็เป็นเพียงระยะเวลาที่สั้นนักแล้วพ่อก็จากไป
    ส่วนแม่นั้นต่อมาสามารถสอบเป็นข้าราชการตัวเล็กๆ
    และย้ายกลับมาอยู่บ้านเมื่อฉันโตเป็นหนุ่มเรียนมอปลายแล้ว
    คงมีแต่ยายเท่านั้นที่เลี้ยงฉันมา
    และให้ความอบอุ่นเสมอเหมือนว่าเป็นแม่ของฉันอีกคนหนึ่ง
    ครอบครัวของฉันมีฐานะยากจน
    ยายเป็นเพียงชาวนาและเป็นแม่ค้าขายของตามตลาดนัด
    ความยากจนมันสอนให้ฉันอดทนและตั้งใจเรียนหนังสือ
    เพื่ออนาคตของตนเองและครอบครัวที่ดีกว่านี้
    หกปีสำหรับความมีวินัยในการอ่านหนังสือในช่วงชั้นเรียนมอต้นและมอปลาย
    มาวันนี้ความฝันของฉันก็กลายเป็นจริงขึ้นมา
    ฉันสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ จุฬา กรุงเทพฯ
    รถเมล์คันนี้กำลังพาฉันมุ่งเข้าสู่เมืองหลวง
    เพื่อตามหาฝันที่ฉันหวังไว้ให้เป็นจริงขึ้นมาได้
    ฉันได้แต่บอกตัวเองว่าฉันจะทำหน้าที่ของฉันในวันนี้ให้ดีที่สุดเท่าที่ฉันจะทำได้




    รถเมล์ปรับอากาศชั้นหนึ่งสายเขมราฐ-กรุงเทพฯ
    ได้เคลื่อนตัวออกจากตัวเมืองเขมราฐเมื่อห้าโมงเย็นของวันนี้
    ภาพของหลานที่ฉันและแม่ของมันได้มายืนส่งขึ้นรถ
    กำลังพร่าเลือนรางจางหายด้วยระยะทางที่กำลังห่างออกไปเพราะความเร็วของรถ
    ฉันเป็นชาวนาเติบโตมาในถิ่นทุรกันดารอำเภอเล็กๆแห่งเขมราฐนี้
    สามีได้ตายหนีจากไปทำให้ฉันเป็นแม่ม่ายมาหลายปี
    อีนางมันแต่งงานและก็ป๊ะทิ่มผัวทิ้งหลายชายตัวเล็กๆไว้ให้ฉันเลี้ยง
    บักหำมันเป็นเด็กกำพร้าพ่อแต่ฉันก็พยายามเลี้ยงดูมันมาจนมันเติบใหญ่
    ถึงฉันจะมีฐานะยากจนแต่ก็ไม่เคยให้หลานต้องอดต้องอยาก
    ฉันพยายามดิ้นรนหาทุนมาค้าขายออกไปขายของตามตลาดนัด
    พอได้เงินมาซื้อข้าวกับข้าว
    เงินที่ได้จากการทำนาขายข้าวในแต่ละปี
    ก็ต้องเก็บออมไว้เพื่อส่งให้หลานเรียนในชั้นสูงๆต่อไปเพื่ออนาคตของมัน
    ปีนี้บักหำมันโตเป็นหนุ่มและต้องเข้าไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ
    มาวันนี้รู้สึกใจหายที่หลานชายได้ห่างเหินถูกพรากจากอกไป
    ด้วยการศึกษาและอนาคตที่ดีกว่าที่เมืองหลวง
    ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่ฉันและแม่มันต้องส่งเสียให้
    ทำให้ฉันต้องประหยัดและเก็บออมเงินที่ได้มาให้มากกว่านี้
    อีกสี่ปีที่ฉันต้องกัดฟันส่งหลานเรียนให้จบ
    กับกระดาษปริญญาแผ่นเดียวที่การันตีอนาคตของเขาเองนั้น
    ถึงฉันจะลำบากลำบนแต่ก็ไม่เคยปริปากบ่นให้ใครๆฟัง
    เพราะฉันรู้ว่าชีวิตของฉันต้องยืนหยัดอยู่ให้ได้
    "เพื่อความหวังและอนาคตของใครบางคน"
    ฉันได้แต่รำพึงในใจว่า
    ขอให้หลานตั้งใจเรียนให้จบและเป็นคนดีที่สังคมยอมรับ







    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  19. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๓๕ มหาสติปัฏฐานสูตร



    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัย หนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานหนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ


    กายานุปัสสนา

    อานาปานบรรพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า
    สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาวเมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
    เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    อิริยาปถบรรพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือเธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างไรๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น
    อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    สัมปชัญญบรรพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
    กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    ปฏิกูลมนสิการบรรพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปาก สองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    ธาตุมนสิการบรรพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดย
    ความ เป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    นวสีวถิกาบรรพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่าถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย
    นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้นเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่งกระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย
    มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง
    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ




    เวทนานุปัสสนา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ
    เสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ



    จิตตานุปัสสนา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้างพิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ




    ธัมมานุปัสสนา


    นีวรณบรรพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ของเรา อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยกามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการ ใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อม
    รู้ชัดประการนั้น ด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่
    เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว
    จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเราหรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ



    ขันธบรรพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ
    แห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ


    อายตนบรรพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูปและรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่งสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่
    ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วย ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ...ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อยู่ ฯ


    โพชฌงคบรรพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่งเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯอีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา
    สัมโพชฌงค์ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
    ความ เสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ


    สัจจบรรพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็นทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิดความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ
    ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ
    ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลายความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
    ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างไรอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างไรอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าโสกะ ฯ
    ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญกิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างไรอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างไรอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
    ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
    ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
    ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้นภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างไรอย่างหนึ่งผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่าง ไรอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
    ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ
    ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็
    เป็นทุกข์ ฯ
    ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็
    เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ฯ
    ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใดอันมีความเกิดอีกประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิดย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ
    รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตกเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหนเมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนาโผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจารเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉนนี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ
    สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
    สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่าสัมมาวาจา ฯ
    สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ
    สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ
    สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ
    สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ
    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขเธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯ

    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้างย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น
    ธรรมในธรรมอยู่ ฯ




    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างไรอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างไรอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างไรอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างไรอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน
    ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างไรอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ

    จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  20. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๓๖ วิถีชีวิตแห่งลำโขง

    สายน้ำได้ไหล่บ่ามาจากทางเหนือจนน่ากลัวในช่วงท้ายฤดูของน้ำหลากนี้
    สายน้ำที่เหมือนจะดูรีบเร่งพาตัวมันเองให้ล่องไหลผ่านสายตาของฉันไปไวๆ
    มันคือแม่น้ำโขงที่เปรียบเสมือนสายเลือดขนาดใหญ่ที่ได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน
    ที่อาศัยอยู่ตามแถบลุ่มแม่น้ำนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว
    โขงมีส่วนสำคัญที่ทำให้มนุษย์ในแถบลุ่มน้ำนี้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมา
    วัดที่ฉันได้เข้ามาอยู่นี้เป็นวัดที่ติดริมโขงของอำเภอสังคมจังหวัดหนองคาย
    หลังจากออกพรรษาแล้วฉันได้มีโอกาสเดินทางจาริกมาถึงที่นี่
    เป็นเพราะรู้จักสนิทกันดีกับเจ้าอาวาสวัดนี้เราเจอกันเมื่องานปริวาสกรรมปีกลาย
    ด้วยความคุ้นเคยจึงทำให้ฉันมีโอกาสได้เลือกกุฏิที่ติดริมโขงเพื่อเข้าอาศัยอยู่ตามใจชอบ
    โขงเป็นสายน้ำที่สวยและมีเสน่ห์เฉพาะตัว
    ตำนานเกี่ยวกับพญานาคในน้ำโขงยิ่งเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้กับแม่น้ำสายนี้
    ยิ่งในยามค่ำคืนเดือนเพ็ญลำน้ำโขงจะสวยงามเด่นเป็นพิเศษ
    ดวงจันทร์เพ็ญที่ได้สาดแสงส่องลงมายังผืนน้ำที่พลิ้วเป็นระลอกคลื่น
    เงาจันทร์ที่สะท้อนขึ้นมาบนผิวน้ำและมันปรากฏอยู่กึ่งกลางลำน้ำนั้น
    แลดูเหมือนมันจะตรึงให้ทั้งสองฝั่งไทยลาวแนบเข้าหาเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน
    ฉันได้ผูกเปลนอนที่ใต้ต้นมะม่วงสองต้นที่ยังไม่โตมากนักมันขึ้นอยู่หน้ากุฏิติดริมตลิ่ง
    ยามค่ำคืนจะมองเห็นชาวประมงจุดตะเกียงเจ้าพายุออกหาปลาโดยเฉพาะทางฝั่งโน้น
    แสงตะเกียงที่ริบหรี่เพราะมองเห็นอยู่ไกลมันส่องแสงวับแวมไปมา
    แสงไฟที่พรางอยู่กับที่มันบอกถึงความใจเย็นของนักหาปลาที่กำลังวางเหยื่อบนราวเบ็ด
    ฉันไม่เคยข้ามไปฝั่งทางโน้นมาก่อนเลยเพราะไม่รู้จักใครที่เมืองลาว
    จะข้ามไปก็โดนแต่คำขู่ของเพื่อนพระว่าต้องระวังให้ดีในการข้ามไปฝั่งโน้น
    เพราะจะโดนเจ้าหน้าที่ทางโน้นจับขังคุกขี้ไก่และจะโดนจับสึก
    แต่ภาพที่ฉันได้ยลโฉมอยู่ทุกวันคือฝั่งทางโน้นยังมีความเป็นธรรมชาติมีภูเขา
    เป็นป่าเป็นเขาทึบอย่างหนาแน่นและยังมองเห็นหมู่บ้านเล็กๆที่ติดอยู่ริมโขง
    ชาวบ้านฝั่งทางโน้นนิยมปลูกใบยาสูบสามารถเห็นได้ทั่วตลอดริมตลิ่งฝั่งโขง
    ฉันคิดว่าที่นั่นชาวบ้านคงใช้ชีวิตด้วยวิถีแห่งความสงบและเป็นไปอย่างเรียบง่าย
    ที่มันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติแห่งบ้านเมืองเขาที่ยังคงปรากฏมองเห็นได้จากคนฝั่งไทย
    บ้านเมืองของเขามันตรึงตาตรึงใจให้ฉันร่ำๆจะข้ามไปเที่ยวที่ฝั่งลาวให้ได้ภายในเร็วๆนี้
    ความเข้มงวดของระบบปกครองฝั่งโน้นมิอาจห้ามใจฉันได้อีกต่อไปแล้ว



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     

แชร์หน้านี้

Loading...