สรรพคุณสมุนไพรไทย 200 ชนิด

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 พฤศจิกายน 2013.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อาเจียน : พระจันทร์ครึ่งซีก

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lobelia chinensis Lour.

    วงศ์ : Campanulaceae

    ชื่ออื่น : บัวครึ่งซีก (ชัยนาท)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นขนาดเล็ก ตามข้อมีรากออก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ชูส่วนยอดขึ้น มียางสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 0.2-0.6 ซม. ยาว 1-2 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบตัด ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตื้นเกือบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบสั้นมาก ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีม่วงอ่อน กลีบเลี้ยงสีเขียวอมม่วง มี 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดดอกแยกผ่าออก ทำให้กลีบดอกเรียงเพียงด้านเดียว หลอดดอกด้านนอกมีขนสีขาว ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้

    ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด ขณะที่ดอกกำลังบาน

    สรรพคุณ :
    ลดไข้ แก้หอบหืด บำรุงปอด แก้อาเจียนเป็นเลือด วัณโรค ปอดพิการอักเสบ ทอนซิลอักเสบ เจ็บคอ ตาแดง ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อักเสบ บิด ขับปัสสาวะ (เพื่อลดอาการบวมจากไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้ในเลือดและดีซ่าน) ยาแก้มะเร็ง กระเพาะอาหาร หรือที่ทวารหนัก แก้ข้ออักเสบ เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ฝี แผลเปื่อย บาดแผล กลากเกลื้อน ผื่นคัน และแก้คัดจมูก หรือโรคแพ้ เนื่องจากการใช้ยา เข้ารากย่อม
    ข้อห้ามใช้
    ห้ามใช้ในคนที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อุจจาระหยาบเหลว (จีนเรียก ม้ามพร่อง)
    ตำรับยาและวิธีใช้

    แก้อาเจียนเป็นเลือด ใช้ต้นสดตำผสมกับสุราเล็กน้อย รับประทาน

    ท้องเสีย ใช้ต้นสด 15- 30 กรัม (1 กำมือ) ต้มน้ำดื่ม

    ทอนซิลอักเสบ ใช้ต้นสดตำให้ละเอียด ปั้นเป็นก้อนขนาดไข่ไก่ ใส่ในถ้วย เติมเหล้าเข้าไป 90 ซีซี. ผสมให้เข้ากัน คั้นเอาน้ำแบ่งอม 3 ครั้งๆ ละ 10-20 นาที แล้วบ้วนทิ้ง

    บิด ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มน้ำ เติมน้ำตาลแดงดื่ม

    บวมน้ำ (เพราะไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้) ใช้ต้นสด 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    ดีซ่าน ขัดเบา บวมน้ำ ใช้ต้นสด 30 กรัม ผสมกับรากหญ้าคา ( Imperata cylindrica Beauv ) 30 กรัม ต้มน้ำใส่น้ำตาลทราย แบ่งกิน 2 ครั้ง เช้า-เย็น

    เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ใช้ต้นสด 60 กรัม น้ำ 180 ซีซี. ต้มให้เหลือ 90 ซีซี. กรองเอาน้ำเก็บไว้ นำกากที่เหลือไปต้มอีกครั้งตามอัตราส่วนเดิม นำน้ำกรองครั้งที่ 2 รวมกับครั้งแรก ให้เหลือ 60 ซีซี. เทใส่ขวดเก็บไว้ เวลาใช้เอาสำลีชุบน้ำยา ปิดบริเวณที่ปวดบวม

    ฝี แผลเปื่อย ผิวหนังอักเสบ ใช้ต้นสดพอประมาณ ใส่เกลือเล็กน้อย ตำให้แหลก พอกบริเวณที่เป็น

    เต้านมอักเสบ ใช้ต้นสด ตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็น

    ตาแดง ใช้ต้นสดจำนวนพอสมควร ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกบนหนังตา เอาผ้าก็อตที่สะอาดปิด เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง

    สารเคมี : สารสำคัญคือ Lobeline, Flavone และ Inulin
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อาเจียน : มะกล่ำต้น

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adenanthera pavonina L.

    ชื่อสามัญ : Red Wood, Coral Woood

    วงศ์ : Mimosaceae

    ชื่ออื่น : มะโหกแดง (ภาคเหนือ) มะหัวแดง มะแดง มะก้ำต้น มะกล่ำตาช้าง ไฟ (ใต้) ปี้จั่น

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง ใบ เป็นใบประกอบซ้อน มีใบย่อย 3-4 คู่ ใบย่อยเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 5-9 คู่ รูปกลมรีเสมอกันทั้งใบ ขนาดเท่าหัวแม่มือ สีเขียวเข้ม มักออกที่ปลายกิ่ง ดอก ออกช่อสีเหลือง ผล กลมยาวบิด เมื่อแก่แตกออกเห็นเมล็ดสีแดงสดกลมแป้น มีชนิดเมล็ดเล็กและชนิดโต

    ส่วนที่ใช้ : ราก เมล็ด ใบ

    สรรพคุณ :

    ราก - รสเปรี้ยวเล็กน้อย แก้ทางเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน แก้หืดไอ และพิษฝี

    เมล็ด, ใบ - แก้ริดสีดวงทวารหนัก

    เมล็ดใน - เป็นยาเบื่อพยาธิ และเบื่อไส้เดือนได้ดี ถ้าผสมกับยาอื่นที่ทำให้ระบายด้วยแล้ว ก็จะได้ประโยชน์ทั้งเบื่อไส้เดือน และระบายออกมาด้วย
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อาเจียน : ยอบ้าน

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia L.

    ชื่อสามัญ : Indian Mulberry

    วงศ์ : Rubiaceae

    ชื่ออื่น : ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ผลดิบ ผลสุก

    สรรพคุณ :

    ใบ - มีวิตามินเอ 40,000 กว่ายูนิตสากลต่อ 100 กรัม มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา หัวใจ คั้นน้ำทาแก้โรคเก๊าท์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือคั้นน้ำสระผมฆ่าเหา แก้กระษัย ใช้ใบปรุงเป็นอาหาร แก้ท้องร่วง

    ราก - ใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย ใช้สกัดสีออกมา เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยผสมส่วนของเกลือต่างๆ สามารถเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งสีเดิมของรากจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมตามส่วนด้วยเกลือ อาจจะได้สีแดง ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น

    ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก - จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ กระเพาะอาหาร แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน

    ผลดิบ - ต้มน้ำรับประทานกับรากผักชี แก้อาการอาเจียนของหญิงมีครรภ์

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    นำผลยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ใช้ครั้งละ 1 กำมือ (10-15 กรัม) ต้มหรือชงกับน้ำ เอาน้ำที่จิบทีละน้อย และบ่อยๆ ครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มครั้งเดียว
    สารเคมี : ผลยอนั้นมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อาเจียน : ว่านกาบหอย

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tradescantia spathacea Stearn

    ชื่อสามัญ : Oyster plant , White flowered tradescantia

    วงศ์ : Commelinaceae

    ชื่ออื่น : กาบหอยแครง ว่านหอยแครง (กรุงเทพฯ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 20-45 ซม. ลำต้นอวบใหญ่ แตกใบรอบเป็นกอ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงซ้อนเป็นวงรอบ รูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียว ท้องใบสีม่วงแดง เนื้อใบหนา ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยใบประดับสีม่วงปนเขียว รูปหัวใจคล้ายหอยแครง มี 2 กาบ โคนกาบทั้งสองประกบเกยซ้อนและโอยหุ้มดอกสีขาว ดอกสีขาวเล็กอยู่รวมเป็นกระจุก กลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่ สีขาว แผ่นกลีบหนา เกสรเพศผู้มี 6 อัน ผล รูปรี กว้าง 2.5-3 มม. ยาว 3.5 มม. มีขนเล็กน้อย ผลแก่แตกออกเป็น 3 ซีก เมล็ดเล็ก

    ส่วนที่ใช้ : ใช้ใบสด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ และดอก เมื่อเก็บดอกที่โตเต็มที่ แล้วตากแห้ง หรืออบด้วยไอน้ำ 10 นาที แล้วจึงนำไปตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้

    สรรพคุณ :

    ใบ - แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ อาเจียนเป็นโลหิต แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจากพลัดตกจากที่สูงหรือหกล้มฟาดถูกของแข็ง แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด

    ดอก - รสชุ่มเย็น ต้มกับเนื้อหมูรับประทาน ใช้ขับเสมหะ แก้ไอแห้งๆ แก้อาเจียนเป็นโลหิต เลือดกำเดาออก ห้ามเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ไอเป็นเลือด แก้บิดถ่ายเป็นเลือด

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ใบ ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 15- 30 กรัม ใช้ภายนอก โดยการตำพอก

    ดอก ใช้ดอกแห้งหนัก 10- 15 กรัม หรือ ดอกสด หนัก 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

    ตำรับยา :

    แก้ไอ ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจากพลัดตกจากที่สูง หรือหกล้มฟาดถูกของแข็ง
    ใช้ใบสด 3 ใบ ต้มน้ำผสมน้ำตาลกรวดเล็กน้อยดื่ม

    แก้หวัด ไอ มีเสมหะปนเลือด เลือดกำเดาออก บิดจากแบคทีเรีย
    ใช้ดอกแห้ง 20-30 ดอก ต้มน้ำดื่ม
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับปัสสาวะ : กระเจี๊ยบแดง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.

    ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle

    วงศ์ : Malvaceae

    ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว สูง 1-2 เมตร เปลือกต้นเรียบ ลำต้นและกิ่งสีม่วงแดง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบหยักเว้าลึก 3-5 แฉก แต่ละแฉกกว้าง 0.5-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ก้านใบยาว 4-15 ซม. ดอก ออกเดี่ยวตามซอกใบ มีริ้วประดับสีแดง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก สีแดงเข้ม อวบน้ำ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง ตรงกลางดอกสีม่วงแดง เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผล รูปไข่ สีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง ติดทนขนาดใหญ่รองรับอยู่จนผลแก่ ผลแห้งแตกได้ เมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก

    ส่วนที่ใช้ : กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล ใบ ดอก ผล เมล็ด

    สรรพคุณ :

    กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
    1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
    2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแรงแต่อย่างใด
    3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
    4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งแรงได้ดี
    5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
    6. ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
    7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
    8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่

    ใบ - มีรสเปรี้ยว แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก

    ดอก - แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

    ผล - ลดไขมันในเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ

    เมล็ด - รสเมา บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
    นอกจากนี้ ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในสำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้วยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
    สารเคมี : สารเคมีที่สำคัญใน ดอก พบ Protocatechuic acid. hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin

    คุณค่าด้านอาหาร
    น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
    น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับปัสสาวะ : กวาวต้น หรือ ทองกวาว

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub

    ชื่อพ้อง : Butea frondosa Wild.

    ชื่อสามัญ : Flame of the Forest, Bastard Teak

    วงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae

    ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร) ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
    ส่วนที่ใช้ : ดอก ยาง ใบ เมล็ด

    สรรพคุณ :

    ดอก
    - รับประทานเป็นยาถอนพิษไข้ แก้กระหายน้ำ
    - ผสมเป็นยาหยอดตา แก้เจ็บตา ฝ้าฟาง
    - เป็นยาขับปัสสาวะ สมานแผลปากเปื่อย แก้พิษฝี

    ยาง - ใช้แก้ท้องร่วง

    ใบ
    - ตำพอกฝี และสิว แก้ปวด ถอนพิษ
    - แก้ท้องขึ้น ขับพยาธิ แก้ริดสีดวง

    เมล็ด
    - ขับไส้เดือน
    - บดผสมน้ำมะนาว ทาแก้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและแสบร้อน

    ข้อควรระวัง : เนื่องจากหลักฐานทางด้านความเป็นพิษมีน้อย จึงควรที่จะได้ระมัดระวังในการใช้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ
    ด้านฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีรายงาน 2 ฉบับคือ

    รายงานผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง ผู้วิจัยพบว่า ถ้าใช้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ในขนาดตั้งแต่ 3.2 มก./กก./วัน ขึ้นไปมีผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง

    รายงานเรื่องการสกัดแยกสารไดโซบิวตริน (Isobutrin) และ บิวตริน (Butrin) ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันอันตรายต่อตับเนื่องจากสารพิษ ได้แก่ คาร์บอน เตทตร้าคลอไรด์ และ กาแลคโตซามีน ได้

    สารเคมี - สารเคมีที่พบในดอกทองกวาว คือ Pongamin (Karanin), Kaempferol, ?-sitosterol, Glabrin, Glabrosaponin, Stearic acid, Palmitic acid, Butrin, Isobutrin coreopsin, Isocoreopsin, Sulfurein monospermoside และ Isomonospermoside สารที่พบส่วนใหญ่คือสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสีดอกทองกวาว มีสารที่มีรสหวานคือ glabrin.
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับปัสสาวะ : ตะไคร้

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.

    ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine

    วงศ์ : Poaceae (Gramineae)

    ชื่ออื่น : จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
    ส่วนที่ใช้ :

    ทั้งต้น เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บไว้ใช้

    ราก เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สด ใบสด

    สรรพคุณ :

    ทั้งต้น
    1. รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
    2. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
    3. ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
    4. แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
    5. แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
    6. แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด

    ราก
    1. แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
    2. บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
    3. รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา

    ใบสด - มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

    ต้น - มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
    -ใช้ลำต้นแก่ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร
    - นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ ต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 3 วัน จะหายปวดท้อง

    แก้อาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม)
    - ใช้ต้นแก่สด วันละ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม , แห้งหนัก 20- 30 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
    - ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไปอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นชาดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

    คุณค่าทางด้านอาหาร :
    ตะไคร้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และยังมีวิตามินเอ รวมอยู่ด้วย

    สารเคมี :
    ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 % Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ Methylheptenol
    ราก - มี อัลคาลอยด์ 0.3%
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับปัสสาวะ : ทานตะวัน

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus L.

    ชื่อสามัญ : Sunflower.

    วงศ์ : Asteraceae (Compositae)

    ชื่ออื่น : บัวตอง (ภาคเหนือ) ชอนตะวัน (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
    ส่วนที่ใช้ : แกนต้น ใบ ดอก ฐานรองดอก เมล็ด เปลือกเมล็ด ราก

    สรรพคุณ :

    แกนต้น - ขับปัสสาวะ แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นขาว ไอกรน แผลมีเลือดออก

    ดอก - ขับลม ทำให้ตาสว่าง แก้วิงเวียน หน้าบวม บีบมดลูก

    ใบ, ดอก - แก้หลอดลมอักเสบ

    ฐานรองดอก - แก้อาการปวดหัว ตาลาย ปวดฟัน ปวดท้อง โรคกระเพาะ ปวดประจำเดือน ฝีบวม

    เมล็ด - แก้บิด มูกเลือด ขับหนองใน ฝีฝักบัว ขับปัสสาวะ เสมหะ แก้ไอ แก้ไข้หวัด

    เปลือกเมล็ด - แก้อาการหูอื้อ

    ราก - แก้อาการปวดท้อง แน่นหน้าอก ฟกช้ำ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ

    ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    1. แก้อาการปวดหัว ตาลาย ใช้ฐานรองดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25- 30 กรัม นำมาตุ๋น กับไข่ 1 ฟอง รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
    2. แก้อาการช่วยขับปัสสาวะขุ่นขาว และขับปัสสาวะ ให้ใช้แกนกลางลำต้น ยาวประมาณ 60 ซม. (หรือประมาณ 15 กรัม ) และรากต้นจุ้ยขึ้งฉ่ายราว 60 กรัม ใช้ต้มคั้นเอาน้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน
    3. แก้อาการปวดท้องโรคกระเพาะ และปวดท้องน้อยก่อนหรือระยะที่เป็นรอบเดือน ให้ใช้ฐานรองดอก 1 อัน หรือประมาณ 30- 60 กรัม และกระเพาะหมู 1 อัน แล้วใส่น้ำตาลทรายแดง ประมาณ 30 กรัม ต้มกรองเอาน้ำรับประทาน
    4. แก้อาการมูกโลหิต ให้ใช้เม็ดประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ต้มน้ำนานราว 60 นาที แล้วใช้ดื่ม
    5. ช่วยลดความดันโลหิต ให้ใช้ใบสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม ) และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม ) นำมาต้มเอาน้ำรับประทาน
    6. แก้อาการปวดฟัน ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25 กรัม นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือใช้ฐานรองดอก 1 อัน พร้อมรากเกากี้ นำมาตุ๋นกับไข่รับประทาน
    7. โรคไอกรน ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำตาล ทรายขาว ชงด้วยน้ำร้อนรับประทาน
    8. แก้อาการไอ ให้ใช้เมล็ดคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มกิน
    9. แก้อาการหูอื้อ ให้ใช้เปลือกเมล็ดประมาณ 10- 15 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
    10. ขับพยาธิไส้เดือน ให้ใช้รากสดประมาณ 30 กรัม เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ต้มน้ำรับประทาน
    11. แผลที่มีเลือดไหล ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียดแล้วนำมาพอก บริเวณแผล

    สารเคมี : สารเคมีในใบ ถ้านำมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ (0.2%) มีฤทธิ์สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของพารามีเซียม (paramecium) และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus aureus แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อ แบคทีเรีย Bacillus coli และนอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาต้านโรคมาลาเรีย และช่วยเสริมฤทธิ์ยาควินิน
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับปัสสาวะ : สามสิบ

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asparagus racemosus Willd.

    วงศ์ : Asparagaceae

    ชื่ออื่น : จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ) เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักชีช้าง (หนองคาย) ผักหนาม (นครราชสีมา) พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สามร้อยราก (กาญจนบุรี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย ปีนป่ายขึ้นที่ต้นไม้ข้างเคียงด้วยหนาม หนามเปลี่ยนมาจากใบเกล็ดบริเวณข้อ หนามโค้งกลับ ยาว1-4 มม. ลำต้นสีขาวแกมเหลือง ต้นกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 มม. ปีนป่ายขึ้นได้สูงถึง 5 เมตร แตก แขนงเป็นเถาห่างๆ บริเวณข้อมีกิ่งแตกแขนงแบบรอบข้อและกิ่งนี้เปลี่ยนเป็นสีเขียวลักษณะแบน รูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1 มม. ยาว 0.5-2.5 มม. ปลายแหลม ทำหน้าที่แทนใบ (cladophyll) ลำต้นผิวเรียบ ลื่นเป็นมัน ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ ใบเป็นเกล็ด รูปสามเหลี่ยม ฐานกว้าง0.5-4 มม. ยาว 1-4 มม. ใบเกล็ดมี อายุสั้นๆต่อมาแข็งขึ้นและเปลี่ยนเป็นหนามโค้งกลับ(recurved) ดอก ดอกช่อ raceme เกิดที่ซอกกิ่ง (cladophyll) ก้านช่อดอกยาว 3-15 มม. ดอกย่อย เส้นผ่าศูนย์ กลางดอกบาน 3-4 มม. ก้านดอกย่อยยาว 2-3 มม. กลีบ (tepals) 6 กลีบ สีขาว แยกกันเป็น 2 วง วงนอก 3 กลีบ วง ใน 3 กลีบ กลีบกว้าง 0.5-1 มม. ยาว 2.5-3.5 มม. กลีบรูปขอบขนาน ปลายกลีบมน ขอบเรียบ เกสรเพศผู้ จำนวน 6 อัน มาก เรียงตัวตรงข้ามกับกลีบ ก้านชูอับเรณูยาวขนานกับกลีบ ก้านชูอับเรณูลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ สีขาวแกมเหลือง ยาว 2-2.5 มม. อับเรณูสีน้ำตาลอ่อน ยาว 0.3-0.5 มม. เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary สีเขียวแกมเหลือง ลักษณะทรงกลม 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางรังไข่ 1-1.5 มม. ก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน ยาว 0.5 มม. ยอดเกสรตัวเมีย แยกเป็น 3 แฉก ผลและเมล็ด ผลสด berry สีแดง หรือแดงงอมม่วง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 มม.

    ส่วนที่ใช้ : ราก

    สรรพคุณ :
    มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ หล่อลื่นและกระตุ้น
    มีรสเย็น หวานชุ่ม บำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับปอดให้เกิดกำลังเป็นปกติ

    วิธีใช้ :
    นำรากมา ต้ม, เชื่อม หรือทำแช่อิ่ม รับประทานเป็นอาหาร กรอบดีมาก
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับปัสสาวะ : สับปะรด

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (L.) Merr.

    ชื่อสามัญ : Pineapple

    วงศ์ : Bromeliaceae

    ชื่ออื่น : แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลสบปร สูง 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนถี่ ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำ

    ส่วนที่ใช้ : ราก หนาม ใบสด ผลดิบ ผลสุก ไส้กลางสับปะรด เปลือก จุก แขนง ยอดอ่อนสับปะรด

    สรรพคุณ :

    ราก - แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ

    หนาม - แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ

    ใบสด - เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย

    ผลดิบ - ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู

    ผลสุก - ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ

    ไส้กลางสับปะรด - แก้ขัดเบา

    เปลือก - ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี

    จุก - ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว

    แขนง - แก้โรคนิ่ว

    ยอดอ่อนสับปะรด - แก้นิ่ว

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
    คุณค่าด้านอาหาร : สับปะรด รับประทานเป็นผลไม้ มีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
    สารเคมี :

    เหง้า มี Protein

    ลำต้น มี Bromelain, Peroxidase, Amylase, Proteinase

    ใบ มี Hemicellulose, Bromelain, Campestanol

    ผล มี Acetaldehyde, Ethyl acetate, Acetone

    น้ำมันหอมระเหย มี Isobutanol.
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับปัสสาวะ : สมอพิเภก

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.

    ชื่อสามัญ : Beleric myrobalan

    วงศ์ : Combretaceae

    ชื่ออื่น : ลัน (เชียงราย) สมอแหน (กลาง) แหน แหนขาว แหนต้น (เหนือ) สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำๆ ด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายๆ กิ่ง ทรงใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 9-15 ซม. ยาว 13-19 ซม. โคนใบสอบมาสู่ก้านใบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบผายกว้าง ปลายสุดจะหยัดคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี 6-10 คู่ เส้นใบแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆ คลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4-6 ซม. บริเวณกึ่งกลางก้านจะมีต่อมหรือตุ่มหูด หนึ่งคู่ ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ แบบหางกระรอก ที่ง่ามใบหรือรอยแผลใบตามกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง ช่อยาว 10-15 ซม. ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามปลายๆ ช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อ กลีบฐานดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทั้งหมดมีขนทั่วไป เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงซ้อนกันอยู่สองแถว รังไข่ ค่อนข้างแป้น ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ผล กลมหรือกลมรีๆ แข็ง ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกรวมกันเป็นพวงโตๆ

    ส่วนที่ใช้ : ผลอ่อน ผลแก่ เมล็ดใน ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก

    สรรพคุณ :

    ผลอ่อน - มีรสเปรี้ยว แก้ไข้ แก้ลม เป็นยาระบาย ยาถ่าย

    ผลแก่ - มีรสฝาด แก้โรคในตา บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน

    เมล็ดใน - แก้บิด บิดมูกเลือด

    ใบ - แก้บาดแผล

    ดอก - แก้โรคในตา

    เปลือกต้น - ต้มขับปัสสาวะ

    แก่น - แก้ริดสีดวงพรวก

    ราก - แก้โลหิต อันทำให้ร้อน

    ขนาดและปริมาณที่ใช้ :

    ขับปัสสาวะ - ใช้เปลือก ต้น ต้มรับประทาน ขับปัสสาวะ

    เป็นยาระบาย ยาถ่าย - ใช้ผลโตแต่ยังไม่แก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว

    เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค) - ใช้ผลแก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับปัสสาวะ : หญ้าหนวดแมว

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.

    ชื่อพ้อง : O. grandiflorus Bold.

    ชื่อสามัญ : Java tea, Kidney Tea Plant, Cat's Whiskers

    วงศ์ : Lamiaceae ( Labiatae)

    ชื่ออื่น : บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์) พยับเมฆ (กรุงเทพฯ) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม สูง 0.3-0.8 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกตรงปลายยอด มี 2 พันธุ์ ชนิดดอกสีขาวอมม่วงอ่อน กับพันธุ์ดอกสีฟ้า บานจากล่างขึ้นข้างบน เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก

    ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ใบและต้นขนาดกลางไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป

    สรรพคุณ :

    ราก - ขับปัสสาวะ

    ทั้งต้น - แก้โรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระษัย รักษาโรคปวดตามสันหลัง และบั้นเอว รักษาโรคนิ่ว รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ

    ใบ - รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำขับกรดยูริคแอซิดจากไต

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ขับปัสสาวะ
    1. ใช้กิ่งกับใบหญ้าหนวดแมว ขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ล้างสะอาด นำมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง นำมา 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1 ขวดน้ำปลา (750 ซีซี.) เหมือนกันชงชา ดื่มต่างน้ำตลอดวัน รับประทานนาน 1-6 เดือน

    2. ใช้ต้นกับใบวันละ 1 กอบมือ (สด 90- 120 กรัม แห้ง 40- 50 กรัม ) ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 ซีซี.) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

    ข้อควรระวัง - คนที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะมีสารโปตัสเซียมสูงมาก ถ้าไตไม่ปกติ จะไม่สามารถขับโปตัสเซียมออกมาได้ ซึ่งทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรง

    การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
    หญ้าหนวดแมวมีโปรแตสเซียมสูงประมาณร้อยละ 0.7-0.8 มี Glycoside ที่มีรสขม ชื่อ orthsiphonin นอกจากนี้ก็พบว่ามี essential (0.2-0.6%) saponin alkaloid, organic acid และ fatty oil อีกด้วย จากรายงานพบว่ามีสารขับปัสสาวะได้ ยาที่ชงจากใบใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับไตได้หลายชนิดด้วยกัน ใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น โรคไตอักเสบ

    ** โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์ วีรสิงห์ เมืองมั่น และคณะ พบว่าได้ใช้ยาชงจากหญ้าหนวดแมว 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี. ดื่มต่างน้ำในคนไข้ 27 คน พบว่าทำให้ปัสสาวะคล่องและใส อาการปวดนิ่วลดลงได้และนิ่วขนาดเล็กลง และหลุดออกมาได้เอง มีผู้ป่วยร้อยละ 40 ผู้ป่วยหายจากปวดนิ่วร้อยละ 20 กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานเรื่องพิษเฉียบพลันว่าไม่มีพิษ

    สารเคมี :
    ต้น มี Hederagenin, Beta-Sitosterol, Ursolic acid
    ใบ มี Glycolic acid, Potassium Salt Orthosiphonoside, Tannin, Flavone Organic acid และน้ำมันหอมระเหย
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับปัสสาวะ : อ้อยแดง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saccharum officinarum L.

    ชื่อสามัญ : Sugar cane

    วงศ์ : Poaceae (Gramineae)

    ชื่ออื่น : อ้อย อ้อยขม อ้อยดำ (ภาคกลาง) กะที (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
    ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ต้น น้ำอ้อย ผิวของต้นอ้อย มี wax

    สรรพคุณ :

    ทั้งต้น - แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้โรคนิ่ว แก้ไอ
    ต้น - แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะเหนียว ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ ในอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลือง แก้ช้ำใน รักษาโรคไซนัส
    น้ำอ้อย - รักษาโรคนิ่ว บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ แก้เสมหะ แก้หืด ไอ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร เจริญธาตุ
    ผิวของต้นอ้อย มี wax เอามาทำยา และเครื่องสำอาง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา
    ใช้ลำตันทั้งสดและแห้งขออ้อยแดง วันละ 1 กำมือ (สด 70-90 กรัม แห้ง หนัก 30-40 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น

    อ้อยแดงมีฤทธิ์ในทางขับปัสสาวะได้ในหนูขาว กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่า อ้อยแดงไม่มีพิษเฉียบพลัน

    สารเคมี :
    ราก มี Nitrogenase
    ต้น มี Alcohols, Phenolic esters and ethers Alkaloids, Amino acids, Asparagine
    น้ำอ้อย มี Cacium , Potassium, Magnesium, Phosphorus, Sulfur
    ใบ มี 5, 7-Dimethyl-apigenin-4-O-B-D-glycosideส่วน
    ดอก พบ 5-0-Methyl apigenin
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับน้ำนม : กุ๋ยช่าย

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium tuberosum Rottl. ex Spreng

    ชื่อสามัญ : Chinese Chives, Leek

    วงศ์ : Liliaceae (Alliaceae)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 ซม. โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ยาว 40-45 ซม. โดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ยาวประมาณ 5 มม. โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลม กว้างยาวประมาณ 4 มม. ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล แบน ขรุขระ

    ส่วนที่ใช้ : เมล็ด ต้น และใบสด

    สรรพคุณ :

    เมล็ด
    - เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ให้ตายได้
    - รับประทานขับพยาธิเส้นด้ายหรือแซ่ม้า
    - รับประทานกับสุราเป็นยาขับโลหิตประจำเดือนที่เป็นลิ่มเป็นก้อนได้ดี

    ต้นและใบสด
    - เป็นยาเพิ่ม และขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด
    - ใช้รับปะทานเป็นอาหาร
    - ใช้ฆ่าเชื้อ (Antiseptic)
    - แก้โรคนิ่ว และหนองในได้ดี

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    เมล็ด
    - เผาไฟเอาควันรมเข้าในรูหู เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ให้ตายได้
    - บางจังหวัดใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันยางชุบสำลีอุดฟันที่เป็นรูทิ้งไว้ 1-2 วัน เป็นยาฆ่าแมลงที่กินอยู่ในรูฟันให้ตายได้

    ต้นและใบสด
    - ใช้จำนวนไม่จำกัดแกงเลียงรับประทานบ่อย ขับน้ำนมหลังคลอด
    - ใช้ต้นและใบสด ตำให้ละเอียดผสมกับสุราใส่สารส้มเล็กน้อย กรองเอาน้ำรับประทาน 1 ถ้วยขา แก้โรคนิ่ว และหนองใน
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับน้ำนม : กล้วยน้ำว้า

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa ABB cv. Kluai 'Namwa'

    ชื่อสามัญ : Banana

    วงศ์ : Musaceae

    ชื่ออื่น : กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยใต้ (เชียงใหม่, เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 3.5 เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง ผล รูปรี ยาว 11-13 ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ

    ส่วนที่ใช้ : หัวปลี เนื้อกล้วยน้ำว้าดิบ หรือห่าม กล้วยน้ำว้าสุกงอม ราก ต้น ใบ ยางจากใบ

    สรรพคุณ :

    ราก - แก้ขัดเบา

    ต้น - ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน

    ใบ - รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด

    ยางจากใบ - ห้ามเลือด สมานแผล

    ผล - รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง

    กล้วยน้ำว้าดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย

    กล้วยน้ำว้าสุกงอม - เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด

    หัวปลี - (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ขับน้ำนม - ใช้หัวปลีแกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ

    แก้ท้องเดินท้องเสีย
    ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ใน 4-5 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 3-4 ครั้ง

    สรรพคุณเด่น :

    แก้โรคกระเพาะ ท้องผูก
    1. แก้โรคกระเพาะ - นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยกักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน

    2. แก้ท้องผูก - ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด

    3. แก้ท้องเดิน - ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน

    สารเคมีที่พบ :

    หัวปลี มีธาตุเหล็กมาก

    หัวปลี และราก มี Triterpene หรือ Steroid
    ผลกล้วย ทุกชนิดประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ (โดยเฉพาะแคลเซียม เหล็ก และโปรแตสเซียมในกล้วยหอมมีมาก) วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมี Serotonin Noradrenaline และ Dopamine

    ผลดิบ มีแป้ง Tannin acid, Gallic acid และ Pectin มาก

    กล้วยหอมสุก ให้กลิ่น และรสของ Amyl acetate, Amylbutyrate Acetaldehyde, Ethyl alcohol และ Methyl alcohol

    น้ำยาง มี Pelargonidin, Cyanidin, Delphinidin Palonidin Petunidin และ Malvidin

    ประโยชน์ทางยาของกล้วยหอม
    กล้วยหอมเป็นผลไม้ รสหวาน เย็น ไม่มีพิษ สารอาหารที่สำคัญๆ ในกล้วยหอม ได้แก่ แป้ง โปรตีน ไขมัน น้ำตาล วิตามินหลายชนิด จัดเป็นผลไม้บำรุงร่างกายดี นอกจากนี้กล้วยหอมยังสามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น เป็นยาทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้กระหาย ถอนพิษ นอกจากนี้ยังพบว่า มีฤทธิ์รักษาตามตำรับยา ดังนี้

    รักษาความดันโลหิตสูง - เอาเปลือกกล้วยหอมสด 30-60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าเอาปลีกล้วยต้มรับประทานเป็นประจำ จะช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้

    รักษาริดสีดวงทวาร แก้ท้องผูก - รับประทานกล้วยหอมสุกตอนเช้า ขณะท้องว่างวันละ 1-2 ผล ทุกวัน

    รักษามือเท้าแตก - เอากล้วยหอมที่สุกเต็มที่ เจาะรูเล็กๆ ที่ปลายข้างหนึ่ง แล้วบีบเอากล้วยออกมาทาที่เท้าแตก ทิ้งไว้หลายชั่วโมง จึงล้างออก จะรู้สึกดีขึ้น
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับน้ำนม : กระทือ

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet (L.) Smith.

    วงศ์ : Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ

    ส่วนที่ใช้ : เหง้าสด

    สรรพคุณ : บำรุงและขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด บิด ปวดมวนในท้อง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ราก - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก

    เหง้า
    - บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง
    - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ
    - แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ
    - ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร
    - เป็นยาบำรุงกำลัง
    - แก้ฝี

    ต้น
    - แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส
    - แก้ไข้

    ใบ
    - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ
    - แก้เบาเป็นโลหิต

    ดอก
    - แก้ไข้เรื้อรัง
    - ผอมแห้ง ผอมเหลือง
    - บำรุงธาตุ แก้ลม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิด
    โดยใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ
    บางท้องถิ่นใช้หัวกระทือประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ

    กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย

    สารเคมี :
    Afzelin, Camphene, Caryophyllene
    น้ำมันหอมระเหยมี Zerumbone, Zerumbone Oxide
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาขับน้ำนม : ละหุ่ง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ricinus communis L.

    ชื่อสามัญ : Castor Bean

    วงศ์ : Euphorbiaceae

    ชื่ออื่น : มะโห่ง, มะโห่งหิน (ภาคเหนือ), ปี่มั้ว (จีน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร ใบเดี่ยว รูปผ่ามือกว้างและยาว 15-30 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู เปลือกเมล็ดสีน้ำตาล มีหลายชนิด ขึ้นกับพันธุ์ละหุ่ง

    ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก น้ำมันจากเมล็ด

    สรรพคุณ :

    ใบ - เป็นยาขับน้ำนม แก้เลือดพิการ

    ราก - แก้พิษไข้เซื่องซึม และเป็นยาสมานด้วย

    น้ำมันจากเมล็ด - ใช้เป็นยาระบายในเด็ก น้ำมันหล่อลื่น เครื่องจักร ใช้ทำสบู่ ใช้เป็นอาหารสัตว์ และใช้ทำสีโป๊รถ

    โปรตีนจากละหุ่ง -ส่วนหนึ่งของโปรตีนไรซีน ซึ่งเป็นพิษคือ dgA สามารถจับกับ Antibody ของไวรัสเอดส์ เมื่อพบเซลล์ที่มีไวรัส จะปล่อย Ricin ซึ่งทำให้ไปยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส โดยที่มีผลต่อเซลล์ปกติเพียง 1/1,000 ของเซลล์ที่มีไวรัส และไม่มีผลต่อ Daudi Cell ด้วยความสามารถในการเลือกจับเฉพาะเซลล์ที่มีไวรัส

    ** การค้นพบนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการพบยาที่ป้องกัน หรือเลื่อนเวลาในการเกิดโรคเอดส์
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ : ขี้เหล็ก

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby

    ชื่อสามัญ : Cassod tree, Thai copper pod

    วงศ์ : Leguminosae - ceasalpinioideae

    ชื่ออื่น : ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง, สุราษฎร์ธานี) ผักจี้ลี้ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) แมะขี้แหละพะโด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มลายู-ปัตตานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 13-19 ใบ รูปรี กว้าง 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ปลายใบเว้าตื้นๆ โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบร่วมสีน้ำตาลแดง ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลม มี 3- 4 กลีบ ปลายมน กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. เกสรเพศผู้มีหลายอัน ผล เป็นฝักแบนยาว กว้าง 1.3 ซม. ยาว 15-23 ซม. หนา สีน้ำตาล เมล็ดมีหลายเมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : ดอก ราก ลำต้นและกิ่ง ทั้งต้น เปลือกต้น แก่น ใบ ฝัก เปลือกฝัก ใบแก่

    สรรพคุณ :

    ดอก
    - รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย
    - รักษาหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ
    - รักษารังแค ขับพยาธิ

    ราก - รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บขา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง

    ลำต้นและกิ่ง - เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขา

    ทั้งต้น - แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน

    เปลือกต้น - รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัย ใช้เป็นยาระบาย

    แก่น
    - รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคหนองใน ใช้เป็นยาระบาย
    - รักษาวัณโรค รักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร

    ใบ
    - รักษาโรคบิด โรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง
    - รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย
    - รักษาอาการนอนไม่หลับ

    ฝัก - แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง

    เปลือกฝัก - แก้เส้นเอ็นพิการ

    ใบแก่ - ใช้ทำปุ๋ยหมัก

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    แก้อาการนอนไม่หลับ กังวล เบื่ออาหาร
    ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า (ใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก) ดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชา ก่อนนอน

    แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย
    ใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นขนาดประมาณ 2 องคุลี ใช้ 3-4 ชิ้น ใช้ใบอ่อนหรือแก่ต้มกับน้ำ 1-1½ ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มเมื่อตื่นนอนเช้า หรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว

    สารเคมี :
    เปลือก แก่นและใบ มี anthraquinone glycoside เช่น rhein, aloe-emodin, Chrysophanol และ Sennoside ดอกมีสารพวก chromone ชื่อ Barakol และสารขมชื่อ cassiamin
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ : ชุมเห็ดไทย

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna tora (L.) Roxb. ชื่อพ้อง : Cassia tora L.

    ชื่อสามัญ : Foetid Cassia

    วงศ์ : Leguminosae - Caecalpinoideae

    ชื่ออื่น : กิเกีย, หน่อปะหน่าเหน่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; ชุมเห็ดควาย, ชุมเห็ดไทย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง); พรมดาน (สุโขทัย); ลับมือน้อย (ภาคเหนือ); หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มอายุหลายปี ทรงพุ่มตั้งตรง ต้นสูงประมาณ 105.83-132.65 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.3-17.4 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลแดง ไม่มีขน ใบเรียงตัวแบบขนนกปลายคู่ (even–pinnate) ใบย่อยรูปไข่กลับ (obovate) โคนใบแหลม ปลายใบแหลมแบบติ่งหนาม (mucronate) ขนาดใบยาว 4.27-5.17 เซนติเมตร กว้าง 2.19-2.69 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2.71-3.99 เซนติเมตร ไม่มีขน ผิวใบสีเขียวเข้ม นุ่ม (tender) หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย (ciliate) ใบมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย หูใบ (stipule) แบบเข็มแหลม (filiform) สีเขียว 2 อัน ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์-มิถุนายน ดอกออกที่ซอกใบ เป็นกระจุก ดอกเดี่ยวมีก้านช่อดอกออกจากจุดเดียวกัน ช่อดอกยาว 2.71-4.03 เซนติเมตร มี 1-3 ดอกต่อช่อ ดอกสีเหลืองอมส้ม มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลืองมีขนครุยตามขอบ อับเรณู (anther) สีเหลืองอมน้ำตาล ฝักรูปขอบขนานแบน (oblong) ฝักยาว 11.83-14.91 เซนติเมตร กว้าง 0.3-0.4 เซนติเมตร

    ส่วนที่ใช้ : เมล็ด ทั้งต้น ใบ และ ผล

    สรรพคุณ :
    เมล็ด - ทำให้ง่วงนอนและหลับได้ดี แก้กระษัย ขับปัสสาวะพิการได้ดี เป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคผิวหนัง

    ทั้งต้น - ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับพยาธิในท้องเด็ก รับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ และแก้ไอ แก้เสมหะ แก้หืด คุดทะราด

    ใบ - เป็นยาระบาย

    ผล - แก้ฟกบวม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ทำให้ง่วงนอน และนอนหลับได้ดี

    ใช้เมล็ดชุมเห็ดไทย คั่วให้ดำเกรียมเหมือนเมล็ดกาแฟ แล้วทำเป็นผง ชงน้ำร้อนอย่างปรุงกาแฟ ดื่มหอมชุ่มชื่นใจดี ไม่ทำให้หัวใจสั่น ให้คนไข้ดื่มต่างน้ำ
    เป็นยาระบายอ่อนๆ

    ใช้ใบหรือทั้งต้น ประมาณ 1 กำมือ 15- 3 กรัม เมล็ด 1 หยิบมือ 5- 10 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมกระวาน 2 ผล เพื่อกลบรสเหม็นเขียวและเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้า ส่วนเมล็ดคั่วให้เหลือง ใช้ชงเป็นน้ำชาดื่ม

    สารเคมี :
    เมล็ด พบ anthraquinone, emodin chrysarobin, chrysophanic acid-9-anthrone, chrysophanol Rhein aloe-emodin
    น้ำมันจากเมล็ด พบ linoleic acid, oleic acid, palmitic acid, stearic acid
    ใบ พบ chrysophanic acid, emodin และ 1, 68, -trihydroxy-3 methl anthraquinone
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ : พวงชมพูดอกขาว

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antigonon leptopus Hook & Arn.

    ชื่อสามัญ : Chain of love, Confederate Vine, Coral vine
    วงศ์ : Polygonaceae

    ชื่ออื่น : ชมพูพวง (กรุงเทพฯ) พวงนาค (ภาคกลาง) หงอนนาค (ปัตตานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยพาดพัน ลำต้นเล็ก สีเขียว มีมือสำหรับเกาะยึด ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เห็นเส้นใบชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ดอกสีชมพู ที่พบสีขาวมีบ้าง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายแหลม ผล เป็นผลแห้ง รูปสามเหลี่ยม

    ส่วนที่ใช้ : ราก และเถา

    สรรพคุณ : เป็นยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เถา 1 กำมือ หรือราก 1/2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 3 ช้อนแกง ก่อนนอน
     

แชร์หน้านี้

Loading...