สรรพคุณสมุนไพรไทย 200 ชนิด

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 พฤศจิกายน 2013.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : ประคำดีควาย

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sapindus emarginatus Wall.

    ชื่อสามัญ : Soap Nut Tree

    วงศ์ : Sapindaceae

    ชื่ออื่น : มะคำดีควาย

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2-4 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศ อยู่ต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบ ก้านช่อดอกมีขนปกคลุม ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบ หรือมีรอยย่นที่ผลบ้าง ผลสดสีเขียว เมล็ดเดี่ยว

    ส่วนที่ใช้ : ผลแก่ และตากแดดจนแห้ง ใบ ราก ต้น เปลือก ดอก เมล็ด

    สรรพคุณ :

    ผลแก่ - แก้ไข้ ดับพิษร้อนภายใน ดับพิษทุกอย่าง แก้ไข้แก้เลือด แก้หอบเนื่องจากปอดชื้น ปอดบวม แก้กาฬ แก้โรคผิวหนัง แก้พิษตานซาง แก้เสลดสุมฝีอันเปื่อยพัง แก้จุดกาฬ ผลผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคตัวร้อนนอนไม่หลับ นอนสะดุ้งผวา แก้สลบ แก้พิษ หัด สุกใส แก้ฝีเกลื่อน แก้ปากเปื่อย แก้สารพัดพิษ สรพัดกาฬ แก้ไข้จับเซื่องซึม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สารพัดไข้ทั้งปวง

    ใบ - แก้พิษกาฬ ดับพิษกาฬ

    ราก
    - แก้ริดสีดวงมองคร่อ แก้หืด
    - รากผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้แก้ฝีในท้อง

    ต้น - แก้ลมคลื่นเหียน

    เปลือกต้น
    - แก้กระษัย แก้พิษร้อน แก้พิษไข้
    - เปลือกต้นผสมในตำรับยากับสมุนไพรอื่นใช้แก้ฝีหัวคว่ำ ฝีอักเสบ

    ดอก - แก้พิษ เม็ดผื่นคัน

    เมล็ด - แก้โรคผิวหนัง

    วิธีใช้และปริมาณ :
    ผลประคำดีควาย สุมให้เป็นถ่าน แล้วปรุงเป็นยารบประทาน
    ผลประคำดีควาย ใช้รักษาชันนะตุหัวเด็กได้ ผลต้มแล้วเกิดฟอง สุมหัวเด็กแก้หวัด แก้รังแค ใช้ซักผ้าและสระผมได้
    โดยเอาผลประมาณ 5 ผล ทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ทาที่หนังศีรษะ ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย (ระวังอย่าให้เข้าตา จะทำให้แสบตา)

    สารสำคัญ คือ
    Quercetin, Quercetin -3 - a - A- arabofuranoside, ß - Sitosterol, Emarginatoside, O - Methyl-Saponin, Sapindus - Saponin
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : ประยงค์

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaia odorata Lour

    วงศ์ : Meliaceae

    ชื่ออื่น : ขะยง ขะยม พะยงค์ ยม (ภาคเหนือ) ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง) หอมไกล (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกต้นเรียบ สีเทา ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ก้านใบแผ่ออกเป็นปีก ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นรูปทรงกลมไม่บาน ผล รูปทรงกลมรี ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเหลืองอ่อน ผลสุกสีแดง เมล็ดเดี่ยว สีน้ำตาล

    ส่วนที่ใช้ : ดอก ก้าน และใบ

    สรรพคุณ :

    ดอก - ช่วยเร่งการคลอด แก้อาการเมาค้าง ฟอกปอด ทำให้หูตาสว่าง แก้ร้อนดับกระหาย อึดอัดแน่นหน้าอก ไอ วิงเวียนศีรษะ ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง

    ก้านและใบ - แก้แผลบวมฟกช้ำ จากการหกล้ม หรือถูกระทบกระแทก ฝีมีหนองทั้งหลาย

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ดอก หรือก้านและใบ แห้ง 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก เคี่ยวให้ข้น ใช้ทาแผลบวมฟกช้ำ

    ข้อห้ามใช้ - หญิงมีครรภ์ห้ามดื่ม
    สารเคมีที่พบ
    ใบ มี Aglaiol, Aglaiondiol, (24 S) - Aglaitriol (24 R) - Aglaitriol, อัลคาลอยด์ Odoratine และ Odoratinol
    การเก็บมาใช้
    ช่อดอกและใบ เก็บในฤดูร้อน ตอนออกดอก ตากแห้งแยกเก็บไว้ใช้
    หมายเหตุ :
    เป็นไม้ที่เหมาะที่จะปลูกเป็นรั้ว ดอกมีกลิ่นหอม แต่โตชา

    ดอกแห้ง - ใช้อบเสื้อผ้า บุหรี่ และแต่งกลิ่นใบชา

    รากและใบ
    - ในฟิลิปปินส์ ใช้ต้มเป็นยาบำรุงร่างกาย
    - แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก แก้ไข้และอาการชัก

    ยาชงจากดอก - ใช้ดื่มแบบน้ำชา เป็นยาเย็น แก้ไข้ พุพอง

    ราก - ในไทยใช้เป็นยาทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : ปลาไหลเผือก

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma longifolia Jack

    วงศ์ : Simaroubaceae

    ชื่ออื่น : คะนาง ขะนาง ไหลเผือก (ตราด) ตุงสอ แฮพันชั้น (ภาคเหนือ) หยิกปอถอง หยิกไม่ถึง เอียนดอย (ภาคอีสาน) เพียก (ภาคใต้) กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี) ตรึงบาดาล (ปัตตานี) ตุวุเบ๊าะมิง ดูวุวอมิง (มลายู-นราธิวาส)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ ออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายยอด ใบย่อยมี 7-8 คู่ รูปใบหอกหรือรูปรี กว้าง 1.5-6.5 ซม. ยาว 5-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบ ดอกสีม่วงแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ รูปไข่มีขน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านช่อดอกสีแดง ผล รูปกลมรี กว้าง 0.5-1.2 ซม. ยาว 1-1.7 ซม. ออกเป็นพวง ผิวเรียบ ผลสดสีเขียว สุกเป็นสีแดง เมล็ดเดี่ยว

    ส่วนที่ใช้ : รากปลาไหลเผือก

    สรรพคุณ :

    รากปลาไหลเผือก - รสขมจัด เบื่อเมาเล็กน้อย ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษต่างๆ ใช้เป็นยาแก้ไข้ ตัดไข้ทุกชนิด ใช้ผสมยาจันทลิ้นลา* ใช้เป็นยาตัดไข้ ใช้รับประทานแก้วัณโรคในระยะบวมขึ้น

    * ยาจันทลิ้นลา เป็นยาตำรับโบราณ ใช้รักษไข้ แก้อาการชัก
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : ฝ้ายแดง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gossypium arboreum L.

    ชื่อสามัญ : Ceylon Cotton , Chinese Cotton , Tree Cotton

    วงศ์ : Malvaceae

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2.5-3.5 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลแดง ใบ ใบเดี่ยวออกเวียนสลับ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ขอบหยักลึก 3-7 แฉก ปลายแหลมหรือมน โคนเว้า ก้านใบและเส้นใบสีแดงคล้ำ ดอก สีแดงเข้ม หรือ สีเหลืองอ่อน กลางดอกสีม่วงแดง ออกเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ใบประดับ 3 ใบ รูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก ๕ กลีบ เกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรตัวเมีย ปลายเกสรตัวเมียแยกเป็น 5 แฉก ผล กลม หัวท้ายแหลม เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดค่อนข้าง กลมสีเขียว จำนวนมากคลุมด้วยขนยาวสีขาว

    ส่วนที่ใช้ : เปลือกราก ใบ

    สรรพคุณ :

    เปลือกราก - บดเป็นผง ชงน้ำเดือดดื่มช่วยขับปัสสาวะ บีบมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา

    ใบ - ปรุงเป็นยารับประทานแก้ไข้ ขับเหงื่อ จำพวกยาเขียว และเป็นยาเด็ก แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : พิมเสนต้น

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pogostemon cablin (Blanco) Benth.
    ชื่อพ้อง : P. patchouli Pellet var. suavis Hook f.

    ชื่อสามัญ : Patchouli

    วงศ์ : Labiatae

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-75 ซม. ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 7-10 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวประม่วง ผลแห้ง ไม่แตก

    ส่วนที่ใช้ : ใบ

    สรรพคุณ :

    ใบ - ปรุงเป็นยาเย็น ถอนพิษร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ทำให้ความร้อนในร่างกายลดลง โดยมากมักปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ และยาหอมก็เข้าใบพิมเสนต้นนี้
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : มะปราง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bouea macrophylla Griffith

    ชื่อสามัญ : Marian Plum , Plum Mango

    วงศ์ : Anacardiaceae

    ชื่ออื่น : ปราง (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น มีทรงต้นค่อนข้างแหลม มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบต้นโต มีขนาดสูง 15-30 เซนติเมตร มีรากแก้วแข็งแรง ใบ มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมาก ใบเรียว ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง ดอก มะปรางจะมีดอกเป็นช่อ เกิดบริเวณปลายกิ่งแขนง ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน) ดอกบานจะมีสีเหลือง ในไทยออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผล มีลักษณะทรงกลมรูปไข่และกลม ปลายเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งมีผล 1-15 ผล ผลดิบมีสีเขียวอ่อน-เขียวเข้มตามอายุของผล ผลสุกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม เนื้อสีเหลืองแดงส้มออกแดงแล้วแต่ชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน-อมหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยว-เปรี้ยวจัด เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนผิวของกะลาเมล็ดมีลักษณะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดทั้งสีขาวและสีชมพูอมม่วง รสขมฝาดและขม ลักษณะเมล็ดคล้ายเมล็ดมะม่วง หนึ่งเมล็ดเพาะกล้าได้ 1 ต้น

    ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ น้ำจากต้น

    สรรพคุณ :

    ราก - แก้ไข้กลับ ถอนพิษสำแดง

    ใบ - ยาพอกแก้ปวดศีรษะ

    น้ำจากต้น - ยาอมกลั้วคอ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : ย่านาง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra (Colebr.) Diels

    ชื่อสามัญ : Bamboo grass

    วงศ์ : Menispermaceae

    ชื่ออื่น : จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ

    ส่วนที่ใช้ : รากแห้ง

    สรรพคุณ :

    รากแห้ง - แก้ไข้ทุกชนิด

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ (15 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง

    สารเคมี :
    รากมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ tilacorine, tiacorinine, nortiliacorinine A, tiliacotinine 2 - N - Oxide, และ tiliandrine, tetraandrine, D - isochondrodendrine (isoberberine)
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : ลูกใต้ใบ

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : phyllanthus amarus Schum & Thonn.

    ชื่อสามัญ : Egg Woman

    วงศ์ : Euphorbiaceae

    ชื่ออื่น : มะขามป้อมดิน หญ้าใต้ใบ หญ้าใต้ใบขาว

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 10 - 60 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 - 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.40 X 1.00 เซนติเมตร ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซนติเมตร ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.10 เซนติเมตร

    ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด

    สรรพคุณ :
    เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ขับปัสสาวะ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    นำต้นสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว

    สารเคมี : Potassium, phyllanthin, hypophyllanthin
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : สะเดา (สะเดาไทย)

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton

    ชื่อสามัญ : Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine

    วงศ์ : Meliaceae

    ชื่ออื่น : สะเลียม (ภาคเหนือ) กะเดา (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี

    ส่วนที่ใช้ : ดอกช่อดอก ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด

    สรรพคุณ :

    ดอก ยอดอ่อน - แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี

    ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ

    เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด

    ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย

    กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ

    ยาง - ดับพิษร้อน

    แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ

    ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก

    ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ

    ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ

    เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง

    น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    เป็นยาขมเจริญอาหาร
    ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว

    ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
    สะเดาให้สารสกัดชื่อ Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย

    สารเคมี :
    ผล มีสารขมชื่อ bakayanin
    ช่อดอก มีสารพวกไกลโคไซด์ ชื่อ nimbasterin 0.005% และน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5% นอกนั้นพบ nimbecetin, nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม
    เมล็ด มีน้ำมันขมชื่อ margosic acid 45% หรือบางที่เรียก Nim Oil และสารขมชื่อ nimbin, nimbidin
    Nim Oil มี nimbidin เป็นส่วนมากและเป็นตัวออกฤทธิ์มีกำมะถันอยู่ด้วย
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : สะเดาอินเดีย

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. var. indica

    ชื่อสามัญ : Neem

    วงศ์ : Meliaceae

    ชื่ออื่น : ควินิน (ทั่วไป)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 8-12 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ รูปรี โคนใบเบี้ยว ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบมน โคนเรียว ผล เป็นผลสด รูปกลมรี ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีเหลือง เมล็ดเดี่ยว

    ส่วนที่ใช้ : เปลือก ต้น ใบสด

    สรรพคุณ :
    เป็นยาแก้ไข้มาเลเรีย หรือไข้จับสั่น ไข้ประจำฤดูได้ดี

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ใช้เปลือกสด 1 ฝ่ามือ หรือใบสด 2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า-เย็น จนกว่าจะหายไข้
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ : กฤษณา

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte

    ชื่อสามัญ : Eagle wood

    วงศ์ : Thymelaeaceae

    ชื่ออื่น : ไม้หอม (ภาคตะวันออก)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 18-30 เมตร เปลือกสีเทา แตกเป็นร่องยาวตื้นๆ ตามกิ่งอ่อนมีขนสีขาวปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-11 ซม. โคนใบมน ปลายใบเป็นติ่งแหลม แผ่นใบค่อนข้างหนา เรียบเกลี้ยง สีเขียว มีขนประปรายตามเส้นใบด้านล่าง ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 0.2-0.7 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก ติดทน กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน ผล รูปกลมรี มีเส้นแคบตามยาวของผล ผิวขรุขระเป็นลายสีเขียว มีขนละเอียดสั้นคล้ายกำมะหยี่ พอแก่แตกอ้าออก เมล็ดกลมรี สีน้ำตาลเข้ม มี 1-2 เมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ แก่น และชัน

    สรรพคุณ :

    เนื้อไม้
    - รสขม หอม เป็นยาบำรุงหัวใจ (คือมีอาการหน้าเขียวตาเขียว)
    - ช่วยตับ ปอด ให้เป็นปกติ แพทย์ตามชนบทใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลมหน้ามืดวิงเวียน ผสมเครื่องหอมทุกชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม เช่น ธูปหอม น้ำอบไทย
    - สุมศีรษะ แก้ลมทรางสำหรับเด็ก รับประทานให้ชุ่มชื่นหัวใจ กฤษณาชนิด Aquilaria agallocha ใช้เนื้อไม้เป็นยารักษาโรคปวดข้อ

    น้ำมันจากเมล็ด - รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังได้

    วิธีใช้ :
    เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ รวมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น เกษรทั้ง 5 และอื่นๆ
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ : กันเกรา

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea fragrans Roxb.

    วงศ์ : Gentianaceae

    ชื่ออื่น : มันปลา (ภาคเหนือ,อีสาน) ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้) ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล พอต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน หนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปรี กว้าง 4+6 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ พอเริ่มบานเป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่เป็นสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายแฉกแหลม เกสรเพศผู้ยาวติดกับกลีบดอก เกสรเพศเมียยาวมี 1 อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว พอสุกเป็นสีแดง เมล็ดเล็ก สีน้ำตาลไหม้

    ส่วนที่ใช้ : แก่น

    สรรพคุณ :
    แก่น - รสมัน เฝื่อน ฝาดขม บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ไข้จับสั่น แก้หืดไอ ริดสีดวง ท้องมานลงท้อง มูกเลือด แน่นหน้าอก บำรุงม้าม แก้เลือดพิการ ขับลม
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ : จันทน์เกศ

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Myristica fragrans Houtt.

    ชื่อสามัญ : Nutmeg tree

    วงศ์ : Myristicaceae

    ชื่ออื่น : จันทน์บ้าน (เงี้ยว-ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 5-18 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีเทาอมดำ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เป็นมัน ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ออกเป็นช่อตามซอกใบ สีเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท ปลายแยกออกเป็น 3 แฉก ไม่มีกลีบดอก ผล รูปทรงค่อนข้างกลม ผิวเรียบ สีเหลืองนวล พอแก่แตกอ้าออกเป็น 2 ซีก เห็นรก หุ้มเมล็ดสีแดง เมล็ดสีน้ำตาลมี 1 เมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : ผล ดอก แก่น ราก และเมล็ด

    สรรพคุณ :

    ผล - ให้ Myristica Oil ซึ่งเป็น Volatile Oil ประกอบด้วย Myristiein และ Safrole ซึ่งเป็นตัวแต่งกลิ่น และขับลม

    ดอก - ใช้เป็นเครื่องเทศ และขับลม

    แก่น - แก้ไข้ บำรุงตับ ปอด

    ราก - ขับลม แต่งกลิ่น เครื่องเทศ เจริญอาหาร

    เมล็ด - ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ เป็นเครื่องเทศ เจริญอาหาร

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    รกและเมล็ดขนาด 0.5 กรัม หรือประมาณ 1-2 เมล็ด หรือใช้รก 4 อัน ป่นรก หรือเมล็ดให้เป็นผงละเอียด ชงน้ำครั้งเดียว รับประทานวันละ 2 ครั้ง 2-3 วัน
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ : จันทน์ลูกหอม

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros decandra Lour.

    วงศ์ : Ebenaceae

    ชื่ออื่น : จันอิน จันโอ จันขาว จันลูกหอม อิน (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลแข้มอมเทา กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม กิ่งก้านเหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 7-10 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันลื่น สีเขียวเข้ม ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ส่วนดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยว ดอกสีขาวนวล กลีบดอกเชื่อมติดกันสั้นๆ ผล รูปกลมแป้นเรียกว่า ลูกจัน ไม่มีเมล็ด ผลกลม เรียกว่า อิน มีเมล็ด ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม รับประทานได้ ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดทน

    ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ ผล

    สรรพคุณ :

    เนื้อไม้ - มีรสขม หวาน ทำให้เกิดปัญญา บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ไข้ แก้ปอดตับพิการ แก้ดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เหงื่อตกหน้า ขับพยาธิ

    ผล - ผลสุกสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม มีรสหวานและฝาดเล็กน้อย รับประทานกับน้ำกะทิสดเป็นอาหาร
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ : โด่ไม่รู้ล้ม

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elephantopus scaber L.

    ชื่อสามัญ : Prickly-leaved elephant's foot

    วงศ์ : Asteraceae

    ชื่ออื่น : หนาดผา เคยโป้ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปราบ หญ้าสามสิบสองหาบ หญ้าไฟนกคุ้ม (ภาคเหนือ) ตะชีโกวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย) คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ) หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงสั้นอยู่ในระดับพื้นผิวดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนกันแน่นที่โคนต้น รูปขอบขนาน กว้าง 2-6 ซม.ยาว 10-25 ซม. ปลายใบและโคนใบมน แผ่นใบมีขนสากมือ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบสีขาวหนา ดอก ออกเป็นช่อแบบแขนงที่ปลายยอด มีใบประดับ 2 ใบ ดอกสีม่วง กลีบดอกเรียวยาว ปลายกลีบดอกแหลม โคนเชื่อมติดกัน ก้านช่อดอกเหนี่ยวเมื่อโดนเหยียบก้านช่อดอกจะตั้งขึ้นมาใหม่เหมือนเดิม เกสรเพศผู้เป็นเส้นตรงมีอับเรณูสีม่วง ผล รูปทรงกลม มีสัน 10 สัน ผิวมีขนนุ่มปกคลุม

    ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด

    สรรพคุณ :
    มีรสขื่น แก้ปัสสาวะ และบำรุงความกำหนัด มีรสกร่อย จืด ขื่นเล็กน้อย รับประทานทำให้เกิดกษัยแต่มีกำลัง ทั้งต้นต้มรับประทานต่างน้ำ แก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาเลเรียดี ใช้ต้มรับประทานแก้ไอ สำหรับสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ บางตำรากล่าวว่า แก้กษัย บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับไส้เดือน แก้กามโรค แก้อักเสบ ห้ามเลือดกำเดา แก้ดีซ่าน นิ่ว บิด เหน็บชา ท้องมาน ฝีฝักบัว
    ข้อห้ามใช้ :
    ห้ามใช้ในผู้หญิงท้อง และผู้ที่อาการกลัวหนาว แขนขาเย็น ไม่กระหายน้ำ ชอบดื่มของร้อน ปวดท้อง ท้องร่วง ปัสสาวะและปริมาณมาก มีชั้นฝ้าบนลิ้นขาวและหนา

    [​IMG]
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ : มะตูม

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb.

    ชื่อสามัญ : Bael

    วงศ์ : Rutaceae

    ชื่ออื่น : มะปิน (ภาคเหนือ) กระทันตาเถร ตุ่มเต้ง ตูม (ปัตตานี) มะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10 - 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบปลาย รูปไข่ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-14 ซม. ปลายใบแหลม แผ่นใบบางเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบย่อยใบปลายจะยาวกว่าใบที่คู่กัน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปไข่กลับยาว ด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวนวล มีน้ำเมือก มีกลิ่นหอม ผล รูปรีกลมหรือยาว ผิวเรียบเกลี้ยง เปลือกหนา แข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อในสีส้มปนเหลือง นิ่ม เมล็ดมีจำนวนมาก

    ส่วนที่ใช้ : ผลโตเต็มที่ ผลแก่จัด ผลสุก ผลอ่อน ใบ ราก

    สรรพคุณ :

    ผลโตเต็มที่ - ฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงรับประทาน แก้ท้องเดิน ท้องเสีย ท้องร่วง โรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก

    ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก - น้ำมาเชื่อมรับประทานต่างขนมหวาน จะมีกลิ่นหอม และรสชวนรับประทาน บำรุงกำลัง รักษาธาตุ ขับลม

    ผลสุก - รับประทานต่างผลไม้ เป็นยาระบายท้อง และยาประจำธาตุของผู้สูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำ

    ใบ - ใส่แกงบวช เพื่อแต่งกลิ่น

    ราก - แก้หืด หอบ แก้ไอ แก้ไข้ ขับลม แก้มุตกิต

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ใช้ผลโตเต็มที่ ฝานตากแห้ง คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่ม ใช้ 2-3 ชิ้น ชงน้ำเดือดความแรง 1 ใน 10 ดื่มแทนน้ำชา หรือชงด้วยน้ำเดือด 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว

    สารเคมี :
    ผลมะตูม ประกอบด้วยสารที่มีลักษณะเป็นเมือกๆ คือ mucilage, pectin, tannin, volatile oil และสารที่มีรสขม
    ใบ มี aegeline (steroidal alkaloid) aeglenine, coumarin
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ : มะพร้าว

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera L. var. nucifera

    ชื่อสามัญ : Coconut

    วงศ์ : Palmae

    ชื่ออื่น : ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 20-30 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5- ซม. ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส

    ส่วนที่ใช้ :

    เปลือกผล - ผลแก่ปอกเปลือกตากแห้งเก็บไว้ใช้

    กะลา - ตากแห้ง หรือเผาเป็นถ่าน บดเป็นผงเก็บไว้ใช้ โดยเผากะลาให้ลุกโชน เอากะลามัง หรือกระทะเหล็กครอบไม่ให้อากาศเข้าได้ จนไฟดับหมดแล้วปล่อยไว้ให้เย็น เปิดภาชนะเหล็กที่ครอบไว้ออก จะได้ถ่านจากกะลามะพร้าว นำไปบดเป็นผง เก็บไว้ในขวดปิดสนิท เก็บไว้ใช้ และที่ก้นภาชนะเหล็กมีน้ำมันเหนียวสีน้ำตาล ขูดเก็บไว้ใช้ เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้ดี

    เนื้อมะพร้าว - เนื้อมะพร้าว (ติดกับกะลา) มีสีขาว ใช้สด หรือหั่นฝอย ใส่น้ำเคี่ยว เอาน้ำมันมะพร้าวเก็บไว้ใช้ หรือตากแห้ง บีบและเคี่ยวเอาน้ำมันเก็บไว้ใช้ น้ำมันใหม่ๆ จะมีกลิ่นหอม น้ำมันมะพร้าวในที่อุ่นจะเหลวใส ในที่เย็นจะข้นขาวคล้ายเนยแข็ง มีกลิ่นเฉพาะตัว

    น้ำ - น้ำมะพร้าว อ่อน และน้ำมะพร้าวแก่ใช้สด

    ราก - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี

    ดอก - ใช้สด

    เปลือกต้น - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี

    สารสีน้ำตาล - ที่ออกมาย้อยแข็งอยู่ใต้ใบ เก็บไว้ใช้

    สรรพคุณ :

    เปลือกผล - รสฝาดขม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน

    กะลา - แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก

    ถ่านจากกะลา - รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ

    น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา - ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน

    เนื้อมะพร้าว - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ

    น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว - ใช้ทาแก้กลาก และบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด หรือถูกความร้อน และใช้ผสมทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ นอกจากที่ยังใช้เป็นอาหาร ทาแก้ผิวหนัง แห้ง แตกเป็นขุย และชนิดที่บริสุทธิ์มากๆ ใช้เป็นตัวทำลายในยาฉีดได้

    น้ำมะพร้าว - รสชุ่ม หวานสุขุม ไม่มีพิษ แก้กระหาย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในยามจำเป็น น้ำมะพร้าวอ่อนอายุประมาณ 7 เดือน อาจใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดแก้ภาวะการเสียน้ำได้

    ราก - รสฝาด หวาน ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ท้องเสีย ต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ

    เปลือกต้น - เผาเป็นเถ้า ใช้ทาแก้หิด และสีฟันแก้ปวดฟัน

    สารสีน้ำตาล - ไหลออกมาแข็งตัวที่ใต้ใบ ใช้ห้ามเลือดได้ดี

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    มะพร้าวเก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน ทาแก้ปวดเมื่อย และขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลได้
    ใช้น้ำมะพร้าว มาปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมานาน วิธีใช้ทำได้โดย การนำเอาน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วย คนจนเข้ากันดี แล้วทาที่แผลบ่อยๆ
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อาเจียน : กะเพรา

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.

    ชื่อพ้อง : Ocimum tenuiflorum L.

    ชื่อสามัญ : Holy basil, Sacred Basil

    วงศ์ : Lamiaceae (Labiatae)

    ชื่ออื่น : กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย (ภาคอีสาน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่

    ส่วนที่ใช้ : ใบ และยอดกะเพราแดง ทั้งสดและแห้ง ทั้งต้น

    สรรพคุณ :
    แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)
    ใช้แก้อาการท้องอืดเฟ้อ แน่จุกเสียดและปวดท้อง
    แก้ไอและขับเหงื่อ
    ขับพยาธิ
    ขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด
    ลดไข้
    เป็นยาอายุวัฒนะ
    เป็นยารักษาหูด กลากเกลื้อน ต้านเชื้อรา
    เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่ หรือฆ่ายุง
    เป็นสมุนไพร ไล่แมลงวันทอง
    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    แก้คลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)
    อาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
    ใช้กะเพราทั้ง 5 ทั้งสด หรือ แห้ง ชงน้ำดื่ม รับประทาน
    เด็กอ่อน ใช้ใบสด 3-4 ใบ
    ผู้ใหญ่ ใบแห้ง 1 กำมือ, 4 กรัม ผงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 2 ช้อนแกง ใบสด 25 กรัม
    ภายนอก เด็กอ่อน ใบสด 10 ใบ

    วิธีใช้ :
    ยาภายใน
    เด็กอ่อน - ใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลม และถ่ายขี้เทา
    ผู้ใหญ่ - ใช้ใบกะเพราแห้ง ชงกับน้ำดื่ม เป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผง ให้ชงกับน้ำรับประ
    คนโบราณใช้ใบกะเพราสดแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทาน ช่วยขับลม บำรุงธาตุ
    ยายภายนอก
    ใช้ใบสดทาบริเวณท้องเด็กอ่อน จะลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้
    กะเพรามี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และ กะเพราแดง กะเพราแดงมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราขาว ในทางยานิยมใช้กะเพราแดง แต่ถ้าประกอบอาหารมักใช้กะเพราขาว

    ยาเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด
    ใช้ใบกะเพราสด 1 กำมือ แกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ

    เป็นยารักษากลากเกลื้อน
    ใช้ใบสด 15-20 ใบ ตำหรือขยี้ให้น้ำออกมา ใช้ทาถูตรงบริเวณที่เป็นกลาก ทาวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย

    เป็นยารักษาหูด
    ใช้ใบกะเพราแดงสด ขยี้ทาตรงหัวหูด เข้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด

    ข้อควรระวัง :
    น้ำยางที่ใช้สำหรับกัดหูดนี้เป็นพิษมาก ดังนั้นควรใช้ด้วยความระวัง
    - อย่าให้เข้าตา
    - ให้กัดเฉพาะตรงที่เป็นหูด อย่าให้ยางถูกเนื้อดี ถ้าถูกเนื้อดี เนื้อดีจะเน่าเปื่อย ซึ่งรักษาให้หายได้ยาก

    เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่หรือฆ่ายุง
    ใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด 1 กิ่งใหญ่ ๆ เอาใบมารขยี้ แล้ววางไว้ใกล้ๆ ตัว จะช่วยไล่ยุงได้ และยังสามารถไล่แมลงได้ด้วย น้ำมันกะเพรา เอาใบสดมากลั่น จะได้น้ำมันกะเพรา ซึ่งมีคุณสมบัติไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสดๆ

    เป็นสมุนไพรไล่แมลงวันทอง
    ใช้น้ำมันที่กลั่นจากใบสด ตามความเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยนี้ไปล่อแมลง จะทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้

    สารเคมี :
    ในใบพบ Apigenin, Ocimol, Linalool , Essential Oil, Chavibetal
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อาเจียน : ขิง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe

    ชื่อสามัญ : Ginger

    วงศ์ : Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวล มีกลิ่นเฉพาะ จะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ใบประดับเรียงเวียนสลับสีเขียวอ่อน ดอกสีเหลืองแกมเขียว ผล เป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. เป็น 3 พู เมล็ดหลายเมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด ต้น ใบ ดอก ผล


    สรรพคุณ :

    เหง้าแก่สด
    - ยาแก้อาเจียน
    - ยาขมเจริญอาหาร
    - ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    - แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
    - สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี
    - มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร
    - แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก
    - ลดความดันโลหิต

    ต้น - ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน

    ใบ - แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่วแก้เบาขัด แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา ขับลมในลำไส้

    ดอก - ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด

    ผล - แก้ไข้

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ยาแก้อาเจียน
    ใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่ม
    นำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม

    ยาขมเจริญอาหาร
    ใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัม
    ผงแห้งชงกับน้ำดื่ม เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ

    แก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดและปวดท้อง
    - น้ำกระสายขิง น้ำขิง 30 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 500 ซีซี ชงแช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
    - ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย
    - ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำมาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ
    - ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม

    แก้ไอและขับเสมหะ
    ใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

    ลดความดันโลหิต
    ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน

    สารเคมี
    เหง้า พบ Gingerol Zingiberene, Zingiberone Zingiberonol, Shogoal, Fenchone, Camphene Cineol Citronellol
    ใน น้ำมันหอมระเหย พบสาร Bisabolene, Zingiberone Zingiberol, Zingiberene, Limonene, Citronellol Gingerol, Camphene, Borneol, Cineol
    ทั้งต้น พบ 5 - (1) - 6 - Gingerol
    ใบ พบ Shikimic acid
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กลุ่มยาแก้อาเจียน : ปีกแมลงสาบ หรือ ก้ามปูหลุด

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tradescantia zebrina Loudon ( Zebrina pendula Schnizl.)

    วงศ์ : Commelinaceae

    ชื่ออื่น : ก้ามปูหลุด (กรุงเทพฯ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก แตกแขนงมาก ลำต้นทอดราบไปตามพื้นและชูส่วนปลายกิ่งสูง 10-30 ซม. ลำต้นอวบสีเขียวหรือเขียวประม่วงจนถึงม่วงลายเขียว มีข้อและปล้องชัด ใบเดี่ยว เรียงสลับ กาบใบเป็นปลอกหุ้มรอบข้อสูงประมาณ 1 ซม. ที่กาบใบมีลายเส้นสีม่วงเป็นแนวตามความยาวและมีขน ใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. ปลายแหลม โคนมน เบี้ยว ขอบเรียบ สีม่วงและมีขนประปราย เส้นกลางใบสีม่วง แผ่นใบด้านบนสีเขียวสลับแถบสีเงินและประสีม่วง ด้านล่างสีม่วงหรือม่วงสลับเขียว ช่อดอกสั้น ออกที่ยอด มีใบประดับใหญ่ 2 ใบ ซึ่งมีขนาดไม่เท่ากันประกบหุ้มช่อดอกอ่อนไว้ ดอกจะทยอยบานโผล่เหนือใบประดับ ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1 ซม. ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยงสีขาว บาง โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 4 มม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก มีขน กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดเรียวสีขาว ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ 3 กลีบ กว้าง 4-5 มม. ยาว 6-8 มม. กลีบด้านบนสีม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูอับเรณูสีขาว มีขนยาวสีม่วง อับเรณูสีนวล รังไข่เล็ก ก้านเกสรเพศเมียเรียว ยอดเกสรเพศเมียมี 3 แฉก ผลเล็กมาก

    ส่วนที่ใช้ : เก็บทั้งต้นสด ล้างสะอาด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้

    สรรพคุณ :
    ทั้งต้นรสชุ่ม เย็นจัด มีพิษ ใช้แก้อาเจียนเป็นโลหิต หนองใน ตกขาว บิด ฝีอักเสบ สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทาน ก้านและใบมี Calcium oxalate, Gum

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ใช้ทั้งต้นแห้งหนัก 15- 30 กรัม (สดใช้ 60- 90 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มหรือคั้นเอาน้ำดื่ม

    แก้ไอเป็นเลือด
    ใช้ต้นสด 60- 90 กรัม ต้มกับปอดหมูหนัก 120 กรัม ผสมน้ำต้มให้เหลือ 1 ชาม ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง

    แก้โรคหนองใน
    ใช้ต้นสด 60- 120 กรัม ใส่น้ำต้มให้เหลือ 1 ถ้วย ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง

    แก้สตรีมีตกขาวมาก
    ใช้ต้นสด 60- 120 กรัม น้ำตาลกรวด 30 กรัม ต่าฉ่าย (Mytilum crassitesta Lischke) 30 กรัม ผสมน้ำต้มให้เหลือครึ่งชาม ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง

    แก้บิดเรื้อรัง
    ใช้กาบหุ้มดอกสดหนัก 150 กรัม ข้าวสารคั่วจนเกรียม (เริ่มไหม้) 30 กรัม ต้มน้ำแบ่งดื่มเป็น 3 ครั้ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...