สรรพคุณสมุนไพรไทย 200 ชนิด

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 พฤศจิกายน 2013.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ : มังคุด

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia mangostana L.

    ชื่อสามัญ : Mangosteen

    วงศ์ : Guttiferae

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10 - 12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6 - 11 ซม. ยาว 15 - 25 ซม. เนื้อใบหนา และค่อนข้างเหนียว คล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ท้องใบสีอ่อน ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศ หรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม

    ส่วนที่ใช้ : เปลือกผลแห้ง

    สรรพคุณ :
    1. รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้
    2. ยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน
    3. ยาแก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูก และอาจมีเลือดด้วย) เป็นยาคุมธาตุ
    4. เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า รักษาบาดแผล
    5. รสฝาด สมานแผล ใช้ชะล้างบาดแผล แก้แผลเปื่อย แผลเป็นหนอง ยาฟอกแผลกลาย ทาแผลพุพอง

    วิธีและปริมาณที่ใช้
    1. รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้
    ใช้เปลือกมังคุดครึ่งผล (ประมาณ 4-5 กรัม) ต้มกับน้ำ ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว

    ถ้าเป็นยาดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา
    2. ยาแก้อาการท้องเดิน ท้องร่วง

    ใช้เปลือกผลมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำปูนใส หรือฝนกับน้ำรับประทาน ใช้เปลือกต้มน้ำให้เด็กรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ทุก 4 ชั่วโมง

    3. ยาแก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกและอาจมีเลือดด้วย)
    ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ ½ ผล (4 กรัม) ย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้ว หรือบดเป็นผง ละลายน้ำสุก รับประทานทุก 2 ชั่วโมง

    4. เป็นยารักษาแผลน้ำกัดเท้า และแผลพุพอง แผลเน่าเปื่อย
    เปลือกผลสด หรือแห้ง ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ๆ พอควร ทาแผลน้ำกัดเท้า วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย ทาแผลพุพอง แผลเปื่อยเน่า

    ข้อควรระวัง
    ก่อนที่จะใช้ยาทาที่บริเวณน้ำกัดเท้า ควรที่จะ
    1. ล้างเท้าฟอกสบู่ให้สะอาด
    2. เช็ดให้แห้ง
    3. ถ้ามีแอลกอฮอล์เช็ดแผล ควรเช็ดก่อนจึงทายา

    คุณค่าด้านอาหาร
    มังคุดประกอบด้วย แร่ธาตุ และวิตามินหลายชนิดที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย

    สารเคมี
    Chrysanthemin, Xanthone, Garcinone A, Garcinone B, Gartanin, Mangostin, Kolanone
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : จิก

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia acutangula (L.) Garetn.

    ชื่อสามัญ : Indian oak

    วงศ์ : Barringtoniaceae

    ชื่ออื่น : กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ(หนองคาย), จิกนา(ภาคใต้), ตอง(ภาคเหนือ), มุ่ยลาย

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้น เป็นปุ่มปมและเป็นพู ผลัดใบ ชอบขึ้นริมน้ำ ใบ เดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ผิวใบมัน ใบออกสลับถี่ตามปลายยอด รูปใบยาวเหมือนรูปใบหอก หรือรูปไข่กลับ ใบยาว 30 เซนติเมตร ขอบใบจักถี่ ก้นใบสีแดง สั้นมาก ดอก ช่อ สีแดงห้อยลง บานจากโคนลงไปทางปลาย ช่อดอกยาว 30-40 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ และจะคงติดอยู่จนเป็นผล เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก มีสีชมพูถึงสีแดง ผล ยาวรีเป็นเหลี่ยม มีสันตามยาวของผล 4 สัน ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่

    ส่วนที่ใช้ : ราก น้ำจากใบ เปลือก ผล

    สรรพคุณ :

    ราก - ยาระบายอ่อน ๆ และใช้แทนควินินได้

    น้ำจากใบ - แก้ท้องเสีย

    เปลือก - ทาแก้แมลงกัดต่อย พอกแผล

    ผล - แก้ไอ ขับเสมหะ
    - แก้หวัด หืด
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : ชะเอมไทย

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth.

    วงศ์ : Leguminosae - Mimosoideae

    ชื่ออื่น : ชะเอมป่า (กลาง) ตาลอ้อย (ตราด) เพาะซูโพ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ย่านงาย (ตรัง) ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ) อ้อยช้าง (สงขลา,นราธิวาส)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถารอเลื้อย ลำต้น กิ่งก้านมีหนามแหลมสั้น เปลือกต้นมีรอยแตกตามขวางลำต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีดอก 2 แบบ ดอกสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเล็ก เกสรเพศผู้ยาว ผล เป็นฝักแบน ผิวเรียบ ฝักอ่อนสีเขียว พอแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออก

    ส่วนที่ใช้ : ราก เนื้อไม้

    สรรพคุณ :

    ราก - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ใช้แทนชะเอมเทศ

    เนื้อไม้ - บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ แก้โรคในคอ

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    แก้ไอขับเสมหะ

    ใช้รากยาว 2-4 นิ้ว ต้มน้ำรับประทาน เช้า-เย็น ถ้าไม่ทุเทา รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : ปีบ

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis L.f.

    ชื่อสามัญ : Cork Tree , Indian Cork

    วงศ์ : BIGNONIACEAE

    ชื่ออื่น : กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ) เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกมีสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ รากเกิดเป็นหน่อ เจริญเป็นต้นใหม่ได้ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น กว้าง 13-20 ซม. ยาว 16-26 ซม. ก้านใบยาว 3.5-6 ซม. ตัวใบประกอบด้วยแกนกกกลางยาว 13-19 ซม. มีใบย่อย 4-6 คู่ ใบย่อย 4-6 คู่ กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 4-5 ซม. มีรูปร่างเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบหยักเป็นซี่หยาบ ปลายเรียวแหลม เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ดอกเป็นดอกช่อกระขุกแยกแขนง ยาว 10-25 ซม. ดอกย่อยประกอบด้วย กลีบเลี้ยง มีสีเขียว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 0.5 ซม. เชื่อมกันเป็นรูประฆังปลายตัด กลีบดอกมีสีขาว กลิ่นหอม กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 6-10 ซม. เชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร แยกเป็น 5 แฉก 3 แฉกรูปขอบขนาน 2 แฉกล่างค่อนข้างแหลม เกสรเพศผู้มีจำนวน 4 อัน สองคู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงเกลีบ ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม ผล เป็นผลแห้งแตก ลักษณะแบนยาวขอบขนาน มีเนื้อ เมล็ดมีจำนวนมา เป็นแผ่นบางมีปีก

    ส่วนที่ใช้ : ราก ดอก ใบ

    สรรพคุณ :
    เป็นพืชที่นำมาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด ในตำรายาไทย เช่น

    ราก - บำรุงปอด รักษาวัณโรค อาการหอบหืด

    ดอก - ใช้รักษาอาการหอบหืด ไซนัสอักเสบ เพิ่มการหลั่งน้ำดี (cholagogue) เพิ่มรสชาติ นำดอกปีบแห้ง ผสมยาสูบมามวนเป็นบุหรี่ สำหรับสูบสูด เพื่อรักษาอาการหอบหืด

    ใบ - ใช้มวนบุหรี่สูบแทนฝิ่น ขยายหลอดลม ใช้รักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน

    วิธีและปริมาณที่ใช้
    แก้หอบหืด ใช้ดอกแห้ง 6-7 ดอก มวนเป็นบุหรี่สูบ
    นักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการสกัดส่วนต่าง ๆ ของปีบ เพื่อหาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ในการรักษา ตรวจพบสาร Scutellarein และ Scutellarein-5-galactoside จากดอกปีบ ต่อมาตรวจพบว่าในใบ มีสาร hispidulin

    ในผล พบ acetyl oleanolic acid

    ในดอก มีสาร Scutellarein, hispidulin และ Scutellarein-5-galactoside

    ในราก พบสาร hentriacontane, lapachol, hentria contanol-1, B-stosterol และ paulownin

    ในส่วนของแก่นไม้และเปลือกของต้น พบสาร B-stosterol นำมาสก้ดออกจากดอกปีบแห้งโดยนำสารสกัดด้วย methanol มาแยกลำดับส่วนด้วย ปีโตรเลียมอีเธอร์ คลอโรฟอร์ม บิวธานอล และน้ำ นำส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์ม จะมีฤทธิ์ขยายหลอดลมในขณะที่ส่วนสกัด Butanol และน้ำ จะมีฤทธิ์ทำให้หลอดลมหดตัว และพบว่าส่วนสกัดแยกส่วนด้วย Butanol จากสารสกัดด้วยน้ำ มีฤทธิ์ขยายหลอดลม จากการศึกษานี้ จึงเชื้อว่า hispidulin มีบทบาทสำคัญในการขยายหลอดลม ซึ่งขณะนี้กำลังมีผู้วิจัยศึกษาถึงฤทธิ์ ขยายหลอดลมในร่างกายของสัตว์ทดลอง

    สำหรับการศึกษาในด้านความปลอดภัย ของการใช้ดอกปีบในการรักษา ได้ศึกษาพิษเฉียบพลัน (acute) และกึ่งเฉียบพลัน (Subacute toxicity) อย่างไรก็ตาม การที่จะอธิบายได้ว่าผลที่เกิดขึ้นนี้ จากสารสกัดตัวใดนั้น ยังให้คำตอบไม่ได้ ต้องศึกษาสาระสำคัญแยกกันไป แม้ว่า hispidulin จะเป็นสาระสำคัญตัวหนึ่งที่แยกได้จากส่วนของคลอโรฟอร์ม พบว่าสาร hispidulin ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์มนั้น จะปรากฏอยู่ประมาณ 0.364% W/W ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาพิษของ hispidulin ที่แยกให้บริสุทธิ์ แล้วจึงจะให้คำตอบที่ชัดเจนและถูกต้อง

    การศึกษาฤทธิ์อื่น ๆ ของสาร hispidulin และสารอื่น ๆ ที่แยกได้จากปีบ ควรที่ได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมตลอดจนกลไกที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์นั้นเพื่อประเมินศักยภาพของปีบ ในการนำมาใช้ในการรักษาหอบหืดในอนาคต
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ แก้หืด : ไพล

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber montanum (Koenig.) Link ex Dietr.
    ชื่อพ้อง : Zingiber cassumunar Roxb.

    วงศ์ : Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) มิ้นสะล่าง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ซึ่งประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งรูปกลม

    ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด ต้น ใบ ดอก

    สรรพคุณ :

    เหง้า
    - เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    - แก้บิด ท้องเดิน ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกบวม แก้ผื่นคัน
    - เป็นยารักษาหืด
    - เป็นยากันเล็บถอด
    - ใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอด

    น้ำคั้นจากเหง้า - รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อย

    หัว - ช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้มุตกิตระดูขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน

    ดอก - ขับโลหิตกระจายเลือดเสีย

    ต้น - แก้ธาตุพิการ แก้อุจาระพิการ

    ใบ - แก้ไข้ ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เมื่อย

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    แก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม
    ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½ ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่ม

    รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
    ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ด ขัด ยอก
    ใช้เหง้าไพล ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและบวมฟกช้ำ เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็นของ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา)

    แก้บิด ท้องเสีย
    ใช้เหง้าไพลสด 4-5 แว่น ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน

    เป็นยารักษาหืด
    ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น

    เป็นยาแก้เล็บถอด
    ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง

    ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น และเป็นยาช่วยสมานแผลด้วย
    ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เนื่องจากไพลมี่น้ำมันหอมระเหย
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : มะแว้งเครือ

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum L.

    วงศ์ : Solanaceae

    ชื่ออื่น : มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ ) แขว้งเควีย (ตาก)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นกลม สีเขียวเป็นมัน มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ สีเขียวเป็นมัน แผ่นใบล่างมีหนามตามเส้นใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก ย่น ปลายแหลม โคนเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้สีเหลืองมี 5 อัน ผล รูปทรงกลม ขนาด 0.5 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวมีลายขาว ผลสุกสีแดงใส เมล็ดแบน มีจำนวนมาก

    ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ต้น ใบ ผลสดแก่โตเต็มที่ แต่ยังไม่สุก

    สรรพคุณ :

    ราก - แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา แก้ไอ แก้ขับเสมหะให้ตก แก้หืด ขับปัสสาวะ แก้ไข้สันนิบาต บำรุงธาตุ แก้น้ำลายเหนียว กระหายน้ำ แก้วัณโรค

    ทั้งต้น - ขับเหงื่อ แก้ไอ แก้หืด ขับปัสสาวะ

    ต้น - แก้หญิงท้องขึ้นในขณะมีครรภ์ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กระทุ้งพิษไข้ ขับปัสสาวะ

    ใบ - บำรุงธาตุ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว

    ผลสด - แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน บำรุงดี แก้น้ำลายเหนียว บำรุงเลือด แก้โลหิตออกทางทวารหนักทวารเบา

    วิธีและปริมาณที่ใช้
    แก้ไอ แก้โรคหืดหอบ ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร

    เอาผลมะแว้งเครือสดๆ 5-6 ผล นำมาเคี้ยวกลืน เฉพาะน้ำจนหมดรสขม แล้วคายกากทิ้งเสีย บำบัดอาการไอได้ผลชงัด

    ใช้ผลสดๆ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำ ใส่เกลือ จิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ

    รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด
    ใช้ผลมะแว้ง โตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหาร เป็นผักจิ้มน้ำพริก

    สารเคมี :
    ใบ มี Tomatid - 5 - en -3- ß - ol
    ดอก มี Alkaloids, Cellulose, Pectins Unidentified organic acid Lignins, Unidentified saponins
    ผล มี Enzyme oxidase, Vitamin A ค่อนข้างสูง
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : มะแว้งต้น

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum indicum L.

    วงศ์ : Solanaceae

    ชื่ออื่น : มะแคว้ง มะแคว้งขม มะแคว้งคม มะแคว้งดำ (ภาคเหนือ) แว้งคม (สงขลา, สุราษฎร์ธานี) สะกั้งแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากแฮ้งคง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล ยอดอ่อนและต้นอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบหยักเว้า แผ่นใบสีเขียว มีขนนุ่ม ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งหรือซอกใบ ดอกย่อยมี 5-10 ดอก ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉกแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นรูปกรวย ผล รูปทรงกลม ขนาด 1 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวไม่มีลาย ผลสุกสีส้ม เมล็ดแบนจำนวนมาก

    ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ใบ ผล

    สรรพคุณ :

    ราก - แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา

    ทั้งต้น - แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา

    ใบ - บำรุงธาตุ แก้วัณโรค แก้ไอ

    ผล - บำรุงน้ำดี รักษาโรคเบาหวาน แก้ไอ แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้คอแห้ง ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางไต และกระเพาะปัสสาวะ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ไอ และแก้โรคหอบหืด
    ใช้มะแว้งต้น ผลแก่
    ในเด็ก ใช้ 2-3 ผล ใช้เป็นน้ำกระสายยา กวาดแก้ไอ ขับเสมหะ
    ผู้ใหญ่ ใช้ 10-20 ผล รับประทาน เคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ รับประทานบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น

    ใช้ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน
    ใช้มะแว้งต้นโตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก

    สารเคมี :
    สาร Solasodine จะพบได้ในส่วน ผล ใบ และต้น นอกจากนี้ในใบและผลยังพบ Solanine , Solanidine Beta-sitosterol และ Diogenin

    คุณค่าทางด้านอาหาร :
    ลูกมะแว้งต้น ใช้เป็นผักได้ แต่นิยมน้อยกว่ามะแว้งเครือ ลูกมะแว้งต้นมีวิตามินเอ ค่อนข้างสูง
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : มะกรูด

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.

    ชื่อสามัญ : Leech lime, Mauritus papeda

    วงศ์ : Rutaceae

    ชื่ออื่น : มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ ผล ผิวจากผล

    สรรพคุณ :

    ราก - กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ

    ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย

    ผล, น้ำคั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด

    ผิวจากผล
    - ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น
    - เป็นยาบำรุงหัวใจ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะ
    ฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้อนแกง เติมการบูร หรือ พิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 ถึง 2 ครั้ง แต่ถ้ายังไม่ค่อยทุเลา จะรับประทานติดต่อกัน 2-3 สะรก็ได้

    ใช้สระผมทำให้ผมสะอาดชุ่มชื้น เป็นเงางาม ดกดำ ผมลื่นด้วย
    โดยผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จแล้ว เอามะกรูดสระซ้ำ ใช้มะกรูดยีไปบนผม น้ำมะกรูดเป็นกรด จะทำให้ผมสะอาด แล้วล้างผมให้สมุนไพรออกไปให้หมด หรือใช้มะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าซีกใช้สระผม จะรักษาชันนะตุ ทำให้ผมสะอาดเป็นมัน
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : มะดัน

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia schomburgkiana Pierre.

    วงศ์ : Clusiaceae (Guttiferae)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 ซม. ยาว 9 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบลื่น สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.5-1 ศทซ ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก 3-6 ดอก ตามซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายกลีบดอกมน ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 10-12 อัน ผล รูปรีปลายแหลม ผิวเรียบสีเขียว เป็นมันลื่น มีรสเปรี้ยว เมล็ดมี 3-4 เมล็ด ติดกัน

    ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ผล

    สรรพคุณ :

    ใบและราก
    - เป็นยาดอกเปรี้ยวเค็ม และปรุงเป็นยาต้ม รับประทานแก้กระษัย แก้ระดูเสีย ขับฟอกโลหิต
    - เป็นยาระบายอ่อนๆ
    - เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี

    ผล
    - เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี
    - เป็นอาหาร
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : มะขามป้อม

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L.

    ชื่อสามัญ : Emblic myrablan, Malacca tree

    วงศ์ : Euphorbiaceae

    ชื่ออื่น : กำทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

    ส่วนที่ใช้ : น้ำจากผล ผลโตเต็มที่

    สรรพคุณ :

    น้ำจากผล - แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

    ผล - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ผลโตเต็มที่ จำนวนไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : มะนาว

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia (Christm.) Swingle

    ชื่อสามัญ : Common lime

    วงศ์ : Rutaceae

    ชื่ออื่น : ส้มมะนาว มะลิว (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามแหลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลปนเทา ใบ เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยใบเดียว รูปไข่หรือรูปรียาว กว้าง 3-5 ซม. ยาว4-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนมีปีกแคบๆ ขอบใบหยัก แผ่นใบมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ตามผิวใบ ดอก ออกเป็นช่อสั้น 5-7 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 4-5 กลีบ หลุดร่วงง่าย ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม พอแก่เป็นสีเหลือง ข้างในแบ่งเป็นห้องแบบรัศมี มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มี 10-15 เมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : น้ำมะนาว (น้ำคั้นจากผล) ราก ใบ ดอก ผล เมล็ด

    สรรพคุณ :

    น้ำมะนาว - แก้โรคลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน) ทำอาหาร ขับเสมหะ ฟอกโลหิต ทำให้ผิวนุ่มนวล แก้ซาง บำรุงเสียง บำรุงโลหิต ขับระดู แก้เล็บขบ แก้ขาลาย จิบแก้ไอ ดับกลิ่นเหล้า ฆ่าพยาธิในท้อง รักษาผม ขับลม รักษาลมพิษ แก้ริดสีดวง แก้ระดูขาว แก้พิษยางน่อง แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ

    ราก - กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ ถอนพิษไข้ กลับไข้ซ้ำ

    ใบ - ฟอกโลหิต แก้ตับทรุด

    ดอก - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ ) แก้ไอ ขับเสมหะ

    ผล - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง ทาแก้ผิวแห้งตกสะเก็ด แก้สิวฝ้า แก้ส้นเท้าแตก แก้ไอ รักษาแผลจากแมลงมีพิษ

    เมล็ด - แก้พิษตานซาง แก้หายใจขัด แก้ไข้ขับเสมหะ แก้พิษฝีภายใน

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ยาแก้ไอขับเสมหะ
    น้ำในผลที่โตเต็มที่ น้ำมะนาว 2-3 ช้อนแกง, เมล็ดมะนาว 10-20 เมล็ด นำน้ำมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย จิบ จะช่วยทำให้เสมหะถูกขับออก และเสียงดี ถ้าเป็นเมล็ดมะนาวนำไปคั่วให้เหลือง บดให้ละเอียด เติมพิมเสน 2-5 เกล็ด ชงน้ำร้อนรับประทาน เป็นยาขับเสมหะ

    ยาป้องกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด)
    ใช้น้ำจากผลที่แก่จัดไม่จำกัด เติมเกลือ น้ำตาล น้ำแข็ง ใช้เป็นเครื่องดื่ม หรือจะใส่ในอาหาร ก็ได้ผลเช่นกัน

    ยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
    ใช้น้ำจากผล ครึ่งช้อนชา หรือ 1/4 ช้อนแกง แผลถูกมีดบาด เลือดไม่หยุด บีบน้ำมะนาวลงไป 3-4 หยด เลือดจะหยุด

    สารเคมี :
    ใบ มี Alcohols, Aldehydes, Elements, Terpenoids, Citral
    ผล มี 1 - Alanine, γ - Amino butyric acid, 1 - Glutamic acid
    เมล็ด มี Glyceride Oil
    น้ำมันหอมระเหย มี P - Dimethyl - a - Styrene, Terpinolene
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : มะอึก

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum stramonifolium Jacq.

    วงศ์ : Solanaceae

    ชื่ออื่น : มะเขือปู่ มะปู่ (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ทุกส่วนมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่กว้าง กว้าง 15-25 ซม. ยาว 20-30 ซม. โคนใบเว้าหรือตัด ขอบใบหยักเว้าเป็นพู แผ่นใบสีเขียว มีขนทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลือง เป็นเส้นรวมเป็นยอดแหลม ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.8-2 ซม. ผิวมีขนยาวหนาแน่น ผลสุกสีเหลืองแกมน้ำตาล เมล็ดแบน มีจำนวนมาก

    ส่วนที่ใช้ : ผล ใบ ราก เมล็ด

    สรรพคุณ :

    ผล - เป็นอาหาร กัดฟอกเสมหะ แก้ไอ

    ใบ - เป็นยาพอก แก้คัน

    ราก - แก้ปวด แก้ไข้ พอกแก้คัน

    เมล็ด - แก้ปวดฟัน (โดยเผาสูดดมควันเข้าไป)
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : ลำโพงดอกขาว

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Datura metel L.

    ชื่อสามัญ : Apple of Peru, Green Thorn Apple, Hindu Datura, Metel, Thorn Apple

    วงศ์ : Solanaceae

    ชื่ออื่น : มะเขือบ้า, มั่งโต๊ะโล๊ะ, ละอังกะ, เลี๊ยก

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นซี่ห่างกัน แผ่นใบสีเขียว ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาวคึ่งหนึ่งของความยาวดอก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายบานเป็นรูปแตร ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเขียว ผิวเป็นตุ่มหนาม ผลแห้งแตกได้ เมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก

    ส่วนที่ใช้ : ใบแห้ง ดอกแห้ง ยอดอ่อน ช่อดอก

    สรรพคุณ :
    ยารักษาโรคหืด คลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ (antispasmodic) anticholinergic activity

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ใบแห้ง 1-3 ใบ มวนบุหรี่สูบ

    ดอกแห้ง 1 ดอก มวนบุหรี่สูบ
    ใบขนาดที่ใช้ 100-250 มิลลิกรัม liquid extract (0.25% alkaloids) ขนาดที่ใช้ 0.06-0.2 มล. ทิงเจอร์ (มีแอลกอฮอล์ 0.25%) ขนาดที่ใช้ 0.3-2 มล.

    สารเคมี - มี hyoscine 0.25-0.55 % และ hyoscyamine
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ : หนุมานประสานกาย

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schefflera leucantha R. Vig.

    วงศ์ : Araliaceae

    ชื่ออื่น : -

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 6-8 ใบ รูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาวนวล ผล เป็นผลมีเนื้อ รูปทรงกลม ขนาดเล็ก

    ส่วนที่ใช้ : ใบสด

    สรรพคุณ :

    รักษาโรคหืด โรคแพ้อากาศ ขับเสมหะ

    รักษาโรคหลอดลมอักเสบ

    รักษาวัณโรคปอด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด

    ตำพอกแผลห้ามเลือด ห้ามเลือด

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    รักษาโรคหืด แพ้อากาศ ขับเสมหะ และโรคหลอดลมอักเสบ
    ใช้ใบสดเล็กๆ 9 ใบ ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น เป็นเวลา 49 วัน หืดควรจะหาย

    ยาแก้อาเจียนเป็นเลือด
    ใช้ใบสด 12 ใบย่อย ตำคั้นน้ำ 2 ถ้วยตะไล รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ติดต่อกัน 5-7 วัน

    ใช้รักษาวัณโรค
    ใช้เหมือนวิธีที่ 1 ติดต่อกัน 60 วัน แล้ว x-ray ดู ปอดจะหาย แล้วให้รับประทานต่อมาอีกระยะหนึ่ง

    สารเคมี :
    พบ Oleic acid, butulinic acid, D - glucose, D - Xylose, L - rhamnose
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : แคดอกขาว แคดอกแดง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora (L.) Desv.

    ชื่อสามัญ : Agasta, Sesban, Vegetable humming bird

    วงศ์ : Leguminosae - Papilionoideae

    ชื่ออื่น : แค แคบ้านดอกแดง แคขาว (ภาคกลาง) แคแดง (เชียงใหม่)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ดอก ใบสด ยอดอ่อน

    สรรพคุณ :

    เปลือก
    - ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
    - แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
    - ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล

    ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)
    ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้

    ใบสด
    - รับประทานใบแคทำให้ระบาย
    - ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
    ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

    แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
    - ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
    - ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : ท้าวยายม่อม ( ต้น )

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum petasites (Lour.) S.Moore

    วงศ์ : Labiatae

    ชื่ออื่น : กาซะลอง จรดพระธรณี ดอกคาน (ยะลา) ท้าวยายม่อมป่า (อุยลราชธานี) ปิ้งขม ปิ้งหลวง (ภาคเหนือ) พญารากเดียว (ภาคใต้) พญาเล็งจ้อน เล็งจ้อนใต้ (เชียงใหม่) พมพี (อุดรธานี) พวกวอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) พินที (เลย) โพพิ่ง (ราชบุรี) ไม้เท้าฤๅษี (ภาคเหนือ,ภาคใต้) หญ้าลิ้นจ้อน (ประจวบคีรีขันธ์)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้านสาขา ลำต้นโตเท่านิ้วมือ สูงประมาณ 4-5 เมตร มีรากเดี่ยวพุ่งตรงลึก ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว รูปหอกเล็กเรียวยาว 6-7 นิ้ว ปลายและโคนแหลม สีเขียว ออกตามข้อตรงกันข้ามเป็นคู่ๆ สลับทางกันเป็นพุ่มที่กลางต้นถึงปลาย ดอก ช่อเล็กๆ ออกเป็นช่อชั้นๆ ที่ปลายยอดเหมือนฉัตร ดอกคล้ายดอกปีบสีขาว มีจานรองดอก 5 แฉก สีแดง ผล กลมเท่าลูกเถาคัน

    ส่วนที่ใช้ : ราก

    สรรพคุณ :

    ราก
    - เป็นยาแก้พิษไข้ พิษกาฬ ลดความร้อนในร่างกาย
    - กระทุ้งพิษไข้หวัด เป็นยาขับพิษไข้ทุกชนิด
    - เป็นยาแก้แพ้ อักเสบ ปวดบวม พิษฝี
    - แมลงสัตว์กัดต่อย
    - แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อาเจียน หืดไอ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    เป็นยาแก้พิษไข้ พิษกาฬ ลดความร้อนในร่างกาย กระทุ้งพิษไข้หวัด
    นำราก 1 ราก มาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำฝน หรือเหล้าโรง คั้นเอาน้ำรับประทาน

    แก้อาการแพ้ อักเสบ ปวดบวม
    นำกากมาพอกที่ปากแผล ถอนพิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : ท้าวยายม่อม ( หัว )

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze

    วงศ์ : Taccaceae

    ชื่ออื่น : ไม้เท้าฤๅษี (ภาคกลาง) สิงโตดำ (กรุงเทพฯ) บุกรอ (ตราด)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวเป็นแป้ง กลมหรือรี ใบรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก แต่ละแฉกเป็นใบประกอบหลายแฉกย่อย ใบรูปฝ่ามือกว้างได้ 120 ซม. ยาว ได้ 70 ซม. ก้านใบยาว 20-170 ซม. รวมกาบใบ ช่อดอกมี 1-2 ช่อ ยาวได้ถึง 170 ซม. แต่ละช่อมี 20-40 ดอก แผ่นกลีบประดับมี 4-12 อัน เรียง 2 วง กลีบขนาดเกือบเท่าๆ กับ รูปไข่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก สีเขียวเข้ม ยาว 2.5-10 ซม. กลีบประดับรูปเส้นด้ายมี 20-40 อัน สีเขียวขาวอมม่วง ยาว 10-25 ซม. ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบรวม 6 กลีบ เรียง 2 วง วงนอกรูปรีหรือรูปใบหอก ยาว 0.4-0.7 ซม. วงในรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน ปลายแผ่เป็นแผ่น ก้านเกสรเพศเมียสั้น ปลายเกสรแยกเป็น 3 แฉก ผลมีเนื้อหลายเมล็ด เกือบกลมหรือทรงรี ห้อยลง เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1.5-2.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก

    ส่วนที่ใช้ : หัว

    สรรพคุณ :
    หัวที่ใช้ทำเป็นแป้งได้ เรียกว่า William's arrow root แป้งเท้ายายม่อมเป็นอาหารอย่างดีสำหรับคนไข้ที่เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ให้คนไข้รับประทานดี เกิดกำลังและชุ่มชื่นหัวใจ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ใช่แป้งละลายน้ำดิบ ใส่น้ำตาลกรวด ตั้งไฟกวนจนสุก ให้คนไข้รับประทาน
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : ว่านธรณีสาร

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus pulcher Wall. ex Müll.Arg.

    วงศ์ : Euphorbiaceae

    ชื่ออื่น : เสนียด (กรุงเทพฯ) กระทืบยอบ (ชุมพร) ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์) ก้างปลาดิน ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช) คดทราย (สงขลา) ก้างปลาแดง ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี) รุรี (สตูล) ก้างปลา (นราธิวาส)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีรอยแผลใบชัดเจน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 0.8-1.3 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ ดอกเพศเมียออกตามซอกใบในส่วนของก้านใบ ดอกห้อยลง กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนติดกัน สีม่วงแดง ปลายแหลม ปลายเป็นสีเขียว ขอบจักเป็นฝอย ผล รูปทรงกลม สีน้ำตาลอ่อน

    ส่วนที่ใช้ : ใบแห้ง

    สรรพคุณ :

    ใบแห้ง
    - ป่นเป็นผง ผสมกับพิมเสนดีพอควร
    - ใช้กวาดคอเด็ก แก้เด็กตัวร้อน แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี และขับลมในลำไส้
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : บอระเพ็ด

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f.& Thomson

    วงศ์ : Menispermaceae

    ชื่ออื่น : ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน (สระบุรี) หางหนู (สระบุรี,อุบลราชธานี) จุ่งจิง เครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลมมีขนาดใหญ่เป็นปุ่มปม สีเทาอมดำ มีรสขม เปลือกลอกออกได้ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาว 8-10 ซม. ดอก ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ดอกสีเขียวอมเหลือง มีขนาดเล็กมาก ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเหลืองหรือสีแดง

    ส่วนที่ใช้ : ราก ต้น ใบ ดอก ผล ส่วนทั้ง 5 เถาสด

    สรรพคุณ :

    ราก
    - แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น
    - ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
    - เจริญอาหาร

    ต้น
    - แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้เหนือ
    - บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
    - แก้อาการแทรกซ้อน ขณะที่เป็นไข้ทรพิษ
    - แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ
    - แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สะอึก แก้พิษฝีดาษ
    - เป็นยาขมเจริญอาหาร
    - เป็นยาอายุวัฒนะ

    ใบ
    - แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้จับสั่น
    - ขับพยาธิ แก้ปวดฝี
    - บำรุงธาตุ
    - ยาลดความร้อน
    - ทำให้ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น
    - รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
    - ช่วยให้เสียงไพเราะ
    - แก้โลหิตคั่งในสมอง
    - เป็นยาอายุวัฒนะ

    ดอก
    - ฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู

    ผล
    - แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ไข้พิษ
    - แก้สะอึก และสมุฎฐานกำเริบ

    ส่วนทั้ง 5
    บำบัดรักษาโรค ดังนี้
    - เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก ฝีมุตกิต แก้ร้อนใน รักษาโรคเบาหวาน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ เลือดลม แก้ไข้จับสั่น

    วิธีการและปริมาณที่ใช้ :
    ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้

    อาการไข้ ลดความร้อน
    - ใช้เถาแก่สด หรือต้นสด ครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
    - หรือใช้เถาสด ดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ของยาที่เตรียมแล้ว

    เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร เมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
    โดยใช่ขนาดและวิธีการเช่นเดียวกับใช้แก้ไข้

    สารเคมี : ประกอบด้วยแคลคาลอยด์หลายชนิด เช่น Picroretine, berberine นอกจากนี้ยังประกอบด้วย colonbin, tintotuberide, N - trans - feruloyltyramine, N - cisferuloytyramine, phytosterol, methylpentose
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน : ประทัดใหญ่ ประทัดจีน

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Quassia amara L.

    ชื่อสามัญ : Stave-wood, Sironum wood

    วงศ์ : Simaroubaceae

    ชื่ออื่น : ปิง ประทัด (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1.5-3 เมตร แตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มเตี้ย เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 5 ใบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบรวมสีแดงมีครีบแผ่ออกทั้งสองข้าง ใบอ่อนสีแดง ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีแดงสด กลีบดอกไม่บานจะหุ้มเกสรอยู่เป็นรูปกรวยคว่ำ ก้านช่อดอกสีแดง ผล เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปไข่กลับ สีแดงคล้ำ

    ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ เนื้อไม้ เปลือก

    สรรพคุณ :

    ราก - มีรสขมจัด ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ได้ดี

    ใบ - ทาผิวหนัง แก้คัน

    เปลือกและเนื้อไม้ - เป็นยาบำรุงน้ำย่อย ทำให้เกิดอยากรับประทานอาหาร

    เนื้อไม้ - นำมาสกัดเป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายสำหรับเด็ก

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ใช้เป็นยาแก้ไข้มาเลเรีย
    ต้มเนื้อไม้ประทัดจีน (ประทัดใหญ่) 4 กรัม ด้วยน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น

    ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร และเป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย
    ใช้เนื้อไม้ 0.5 กรัม ประมาณ 4-5 ชิ้น ชงน้ำเดือด 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งเดียว
     

แชร์หน้านี้

Loading...