สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    ทานบารมีนี้อย่าได้ขาด
    ถ้าหากขาดทานบารมีแล้ว
    จะสร้างบารมีอย่างอื่น
    มันก็ไม่สะดวก

    หลวงปู่สด วัดปากน้ำ
    ได้สร้างทานบารมี
    มาตั้งแต่บวช

    สมัยย้ายอยู่วัดเชตุพนวิมลมังคลารามใหม่ๆ (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) ได้ออกบิณฑบาต ท่านขาดแคลนเรื่อง
    อาหารหวานคาวขบฉันเนื่องจากพระในเขตพระนครมาก ท่านไปอยู่ใหม่ญาติโยมไม่คุ้นหน้าจึงไม่ค่อยมีคนใส่บาตร
    ครั้งนั้นท่านบิณฑบาต ไม่ได้ภัตตาหารขบฉันมา ๒ วัน อาศัยฉันน้ำประทังเวทนาความหิว
    รุ่งขึ้นในวันที่ ๓ หลวงพ่อได้ออกบิณฑบาตตามปกติ ได้ข้าว ๑ ปั้นกับกล้วยหนึ่งผล ด้วยความหิวไม่ได้ ฉันข้าวมา ๒ วัน เมื่อกลับจากบิณฑบาต ตั้งใจที่จะลงมือขบฉัน
    พอดีเหลือบไปเห็นสุนัขแม่ลูกอ่อน ผอมโซทีเดียว
    ท่านก็คิดในใจว่า “มันคงหิวเช่นเดียวกับ
    ที่เรากำลังหิว“ จึงแบ่งปันอาหารที่ได้
    มาในวันนั้นอย่างละครึ่ง คือ ข้าวครึ่งปั้นกับกล้วยครึ่งผล แล้วก็อธิษฐานจิตว่า
    “ในวันนี้ เราก็ถึงที่สุดแห่งความหิว สุนัขแม่ลูกอ่อน
    ก็ถึงที่สุดในความหิวที่สุดต่อที่สุดมาเจอกัน
    เราจึงได้สร้างมหาทานบารมี
    ขออานุภาพแห่งมหาทานบารมีนี้ จงอย่าได้อดอยากยากจนอีกต่อไปเลย”
    อานิสงส์หลวงพ่อสร้างมหาทานครั้งยิ่งใหญ่ด้วยจิตมีเมตตา
    ทำให้หลังจากวันนั้น ท่านบิณฑบาตได้ภัตตาหาร
    อุดมสมบูรณ์ และต่อมาเมื่อมาอยู่วัดปากน้ำได้เลี้ยงพระภิกษุสามเณร๕๐๐-๖๐๐ รูป และอุบาสิกาอีก๑๐๐-๒๐๐ คน ได้อย่างไม่อดอยาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ จนกระทั่งถึงปัจจุบันได้อย่างน่าอัศจรรย์


    a_RGXhnlxeIjbF3GWeLzp1RyT5OIeo6XJXH1QovPzunvyLKjjD_fhYksTroFAxX0KQbqnADn&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    การรวมใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายนั้น
    ยังช่วยให้รู้เห็นเป็นไปโดยแม่นยำ
    และกว้างขวาง•

    7~5/10
    อนึ่ง การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้ มีลักษณะเป็นแบบที่ใช้เจโตสมาธิเป็นบาท คือ สมาธิที่ประดับด้วยอภิญญาหรือวิชชา 3

    ถ้าบรรลุมรรค ผล นิพพาน โดยวิธีนี้ ก็เรียกว่า หลุดพ้นโดยทางเจโตวิมุตติ

    ในระหว่างที่ปฏิบัติ แต่ยังไม่ถึงขั้นบรรลุมรรค ผล ก็ยังจะได้ความสามารถในทางสมาธิ ยังประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม ให้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติเป็นอันมาก ดังที่ได้เคยกล่าวมาบ้างแล้วในคราวต้นๆ

    นอกจากนี้ ผู้ประสงค์จะเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ก็สามารถจะเจริญได้โดยสะดวก เพราะการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้ มีสติปัฏฐาน 4 อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ สามารถจะยกเอากายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนาทั้ง ณ ภายในและภายนอกขึ้นพิจารณาได้เสมอ เป็นทางให้บรรลุผลทางปัญญา เป็นผลพลอยได้อีกด้วย จึงมิต้องวิตกกังวลว่า การเจริญภาวนาธรรมตามแนวนี้ จะเป็นแต่ขั้นสมถะ ไม่มีวิปัสสนาแต่อย่างใด

    ต่อปัญหาที่ว่า การเจริญสมถะหรือวิปัสสนากรรมฐานนี้ จะให้ผลเป็นคุณหรือเป็นโทษนั้น

    ใคร่ขอเรียนว่า ไม่ว่าท่านจะปฎิบัติตามแนวใดก็ตาม ถ้าหากปฏิบัติถูกวิธี ก็ให้ผลเป็นคุณแต่ถ่ายเดียว

    และยืนยันได้ดังที่ได้เคยยกตัวอย่างมาแล้วในคราวต้นๆว่า การเจริญภาวนาธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนววิชชาธรรมกายนี้ ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต คือสามารถช่วยป้องกันและระงับความฟุ้งซ่านของจิตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

    นอกจากนี้ กรรมวิธีที่ให้รวมใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายนั้น ยังช่วยให้รู้เห็นเป็นไปโดยแม่นยำและกว้างขวาง ดีกว่าการเอาใจไปจรดหรือหยุดไว้ ณ ที่อื่น เพราะสามารถจะขยายการรู้เห็นออกไปในรัศมีเท่าเทียมกัน และในมิติเดิมทุกประการ จึงไม่มีการเห็นนิมิตหลอก หรือนิมิตแปลกๆที่น่ากลัวเหมือนวิธีอื่น ที่ส่งใจออกไปนอกตัว

    และประการที่สำคัญ ก็คือว่า การพิจารณาหรือตรวจตรา เพื่อให้รู้เห็นสิ่งใดๆ ณ ที่ศูนย์กลางกายนั้น ย่อมปลอดภัยกว่าการส่งใจไปนอกตัว อุปมาดั่งการฉายภาพยนตร์ ดูภายในบ้านของตัวเอง ย่อมไม่ต้องเสี่ยงภัย เหมือนกับการไปดูภาพยนตร์ตามโรงต่างๆภายนอกบ้าน

    นี้คือจุดเด่น ที่สำคัญยิ่งของวิชชาธรรมกาย

    ขอจงตระหนักเสมอไปว่า การรวมใจหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายนั้น มีอานุภาพสูง

    เมื่อท่านเข้าใจดีแล้ว ก็อย่าได้กังวลใจหรือลังเลสงสัย เพราะนั่นเป็นกิเลสของสมาธิ เมื่อวางใจให้เป็นกลางเสียได้ ความลังเลสงสัยก็ไม่มี จิตใจก็อ่อนโยน สามารถสงบเป็นสมาธิได้ง่าย เป็นทางแห่งปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงต่อไป.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    CVtJdnnbO12eHChi_SeSNDEqlqdpwwFh9jorp-QbFvE891AEhkut7tDVV2U86ffPLHpkU8Jj&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg




    *************************************************************
    กำหนดบริกรรมนิมิต เป็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปแก้วใส และนึกให้นิมิตนั้นสว่างด้วย พร้อมด้วยบริกรรมภาวนา ว่า "สัมมาอะระหัง" ประคองนิมิตนั้นไว้ ณ ที่ศูนย์กลางกาย •

    7~6/10
    เมื่อได้กล่าวถึงอุปกิเลสของสมาธิข้อแรก คือ วิจิกิจฉา หมายถึง ความลังเลสงสัยแล้ว ก็จะได้กล่าวถึงอุปกิเลสข้ออื่นๆต่อไป รวมทั้งวิธีแก้ไข เพื่อกำจัดอุปกิเลสด้วย

    อุปกิเลสข้อที่ 2
    คือ อมนสิการ ซึ่งหมายถึง ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี ว่าแนวทางปฏิบัติมีอย่างไร

    สำหรับผู้ที่เพิ่งเจริญภาวนาธรรมใหม่ๆ จึงควรสังเกตและจดจำอารมณ์ ในขณะที่ใจหยุดนิ่งถูกส่วนเพียงชั่วคราว เพื่อพยายามเข้าสู่อารมณ์นั้นอีกให้บ่อยๆและนานๆ เพื่อให้สมาธิแน่นแฟ้น และจิตมีพลังดี สามารถทรงฌานได้ดียิ่งขึ้น

    อุปกิเลสข้อที่ 3
    ถีนมิทธะ คือ ความท้อแท้ เซื่องซึม หรือง่วงนอน

    นี้เป็นอุปสรรคอันสำคัญยิ่ง ต่อการเจริญภาวนาธรรม เพราะฉะนั้น ผู้ฝึกปฏิบัติจึงควรมีสติ พิจารณาให้รู้เท่าทันในอารมณ์ อย่าให้ความง่วงเหงาซึมเซาเข้าครอบงำได้

    ในสมัยพุทธกาล ก็เคยมีปรากฏว่า เมื่อพระโมคคัลลานะได้บวชพร้อมกับพระสารีบุตรแล้ว พอวันที่ 7 นับแต่วันบวชมา ก็ได้ไปบำเพ็ญเพียรจริญภาวนาธรรม ณ ที่กัลลวามุตตคาม แขวงมคธ และปรากฎว่า พระโมคคัลลานะได้เกิดถีนมิทธะ คือความง่วงอย่างรุนแรง จนระงับใจไว้ไม่อยู่ ถึงกับสัปหงกทีเดียว

    ครั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงทราบ จึงได้เสด็จไปทรงแสดงธรรมถึงวิธีระงับความง่วง 8 วิธีด้วยกัน คือ

    1) จงพยายามจดจำ สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้มาก จะหายง่วง

    2) ถ้ายังไม่หาย ควรนึกถึงบทเรียนที่ได้ร่ำเรียนมาให้มาก

    3) ถ้ายังไม่หาย ให้ท่องบทเรียนที่ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดารให้มาก

    4) ถ้ายังไม่หาย ให้ยอนหูทั้งสอง และลูบตัวด้วยฝ่ามือ

    5) ถ้ายังไม่หาย ให้ลุกขึ้นยืน เอาน้ำลูบหน้า แล้วแหงนดูทิศ ดูดาว

    6) ถ้ายังไม่หาย ให้นึกถึงแสงสว่างที่เจิดจ้าให้มาก ทำใจให้รู้สึกเหมือนกลางวัน

    7) ถ้ายังไม่หาย ให้ลุกขึ้น แล้วเดินจงกรม (คือเดินไปเดินมา)

    8) ถ้ายังไม่หาย (ก็มีทางเดียว) ก็ให้นอนด้วยความมีสติ

    พระโมคคัลลานะซึ่งได้สำเร็จโสดาเป็นพื้นฐานทางจิตใจอยู่แล้ว แต่ครั้งที่ได้ฟังหัวข้อธรรมเพียงสั้นๆ แต่กินใจลึกซึ้งจากพระสารีบุตร ซึ่งได้รับฟังมาจากพระอัสสชิอีกต่อหนึ่ง ก่อนที่จะได้เฝ้าพระพุทธเจ้าและบวช เมื่อมาได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสเทศนากล่อมเกลาจิตใจโดยพิสดารในคราวนี้อีก ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ในคืนนั้นเอง

    เพราะฉะนั้น ผู้เจริญภาวนาธรรมทั้งหลายก็ดี นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือผู้ปฏิบัติงานทั้งหลายก็ดี หากจะได้มีสติรู้เท่าทันในอุปกิเลสของสมาธิ โดยเฉพาะความง่วงหรือถีนมิทธะนี้ แล้วจดจำวิธีระงับความง่วงที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอนไว้ไปใช้ ก็จะได้ผลในการปฎิบัติธรรม การศึกษาเล่าเรียน และกิจการงานเป็นอันมาก

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเจริญภาวนาธรรมตามแนววิชชาธรรมกาย หากผู้ปฏิบัติจะได้กำหนดบริกรรมนิมิต เป็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปแก้วใส และนึกให้นิมิตนั้นสว่างด้วย พร้อมด้วยบริกรรมภาวนา ว่า "สัมมาอะระหัง" ประคองนิมิตนั้นไว้ ณ ที่ศูนย์กลางกายแล้ว ก็จะเป็นเครื่องบรรเทา หรือระงับความง่วงได้มาก และช่วยให้การเจริญภาวนาธรรมก้าวหน้าเร็วขึ้น.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    MoGCZXJyMYhUybO-U6xNeXy2lqc4KsAy6_A2Vz0ZVYHVaZH1Gv1BDB2Wyew776rl6vAgT3IR&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg




    **************************************************************

    ให้ความเห็นนั้นกลับเข้าข้างใน
    พร้อมกับรวมใจให้หยุดนิ่ง
    อยู่ ณ ที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 ไว้เสมอ•

    7~7/10
    ต่อไปเป็นอุปกิเลสข้อที่ 4
    ฉัมภิตัตตะ คือ ความสะดุ้งหวาดกลัว

    บางครั้งในขณะที่เจริญภาวนาอยู่ ผู้ปฏิบัติอาจจะรู้สึกหวาดกลัวขึ้นมาเอง โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้สมาธิเคลื่อนได้เหมือนกัน จึงควรมีสติไตร่ตรองหาสาเหตุว่า เรากลัวอะไร เมื่อไม่เห็นมีสาเหตุที่แท้จริงอะไรเกิดขึ้น ความสะดุ้งหวาดกลัวทั้งหลาย ก็จะหายไปเอง

    อนึ่ง ไม่ว่าผู้เจริญภาวนาจะเห็นภาพนิมิตใด ถ้ามิใช่เห็น ณ ที่ศูนย์กลางกายแล้ว ก็ให้พยายามเหลือบตากกลับขึ้นข้างบน เพื่อให้ความเห็นกลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้ความเห็นนั้นกลับเข้าข้างใน พร้อมกับรวมใจให้หยุดนิ่งอยู่ ณ ที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 ไว้เสมอ มีที่หมายเป็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม พยายามแตะใจเบาๆไปที่นั่น กลางของกลางๆๆๆไว้เรื่อย ไม่ช้านิมิตที่เคยเห็นอยู่ที่อื่นนั้น ก็จะมาปรากฏขึ้นที่ศูนย์กลางกายเอง

    ถ้าเห็นนิมิตเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกายแล้ว ก็น้อมใจหยุดในหยุดลงไปที่ศูนย์กลางนิมิตนั้นอีก กลางของกลางๆๆๆไปเรื่อยๆ ไม่ถอยหลังกลับ

    ถ้าท่านดำเนินไปอย่างนี้แล้ว ก็จะไม่มีนิมิตลวงมาปรากฏให้เห็นแต่อย่างใด จึงไม่ต้องวิตกกังวล สะดุ้งหวาดกลัวสิ่งใดๆทั้งสิ้น

    และโดยวิธีเข้ากลางของกลางๆๆอย่างนี้ ผู้เจริญภาวนาธรรมหรือสมาธิ กลับจะได้เห็นกายในกาย ธรรมในธรรม ที่ละเอียดประณีต ใสสะอาดบริสุทธิ์ เย็นตาเย็นใจดีเสียอีก

    และก็จะได้พบกับความสุขชนิดที่เรียกว่า "สุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบ คือ ใจหยุดใจนิ่ง ไม่มี"

    อุปกิเลสข้อที่ 5
    อุพพิละ คือ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี

    มักจะเกิดขึ้นสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ที่เพิ่งจะเคยได้เห็นนิมิตที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างมากๆ ก็เกิดความปิติยินดีอย่างล้นพ้น ทำให้สมาธิเคลื่อนไปได้อีกเหมือนกัน

    ภาพนิมิตที่เห็น ก็จะจางหายไป
    ฉะนั้น จึงควรมีสติรู้เท่าทัน อุปกิเลสในข้อนี้ด้วย

    กล่าวคือ เมื่อเห็นภาพนิมิตเกิดขึ้น ก็ควรพิจารณาว่า นั่นเป็นสิ่งธรรมดา และพึงระงับใจที่ตื่นเต้นนั้นเสีย

    วางใจนิ่งๆ ไปที่ศูนย์กลางกาย ซึ่งอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับ ศูนย์กลางนิมิตนั่นแหละ

    ไม่ช้าภาพนิมิตที่เห็น ก็จะค่อยๆชัดขึ้นๆมาเอง แล้วก็ให้น้อมใจเข้ากลางของกลางๆๆไปเรื่อยๆดังที่เคยกล่าวมาแล้ว.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    v4rYel6VrEHS3v7MlPtonadAoG8-sA5pw5UsILEuQnUhBwqZlA6OPh-Pdz2HjjvmVBpJuxdx&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg








    **************************************************************************
    ต้องวางภารกิจทางกายหมดทั้งสิ้นไว้ก่อนชั่วคราวในขณะเจริญภาวนาธรรม เพื่อให้ใจพร้อมที่จะสามารถหยุดสงบเป็นสมาธิได้ง่ายเสียก่อน•

    7~8/10
    อุปกิเลสข้อที่ 6
    ทุฏฐุลละ ความไม่สงบกาย หากกายไม่สงบ ใจก็หยุดยาก

    ประการแรก ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องละเว้นการกระทำด้วยกาย

    กายทุจริต ได้แก่ การเบียดเบียนหรือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักฉ้อ และการประพฤติผิดในกามโดยเด็ดขาด

    พร้อมด้วยละเว้นจากมโนทุจริต คิดมิชอบ

    และวจีทุจริต ได้แก่ การพูดเท็จ พูดส่อเสียด ยุให้รำตำให้รั่ว พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระเสียอีกด้วย

    และประการที่สำคัญที่สุด สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มเจริญภาวนาใหม่ๆ ควรจะต้องวางภารกิจทางกายหมดทั้งสิ้นไว้ก่อนชั่วคราวในขณะเจริญภาวนาธรรม เพื่อให้ใจพร้อมที่จะสามารถหยุดสงบเป็นสมาธิได้ง่ายเสียก่อน แล้วจึงค่อยลงมือปฏิบัติธรรม

    เมื่อรู้แนวทางที่พอสมควรแล้ว จึงค่อยฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในทุกอิริยาบถ คือในขณะเดิน ยืน นั่ง และนอนตามควรแก่กรณี

    แต่ก็ไม่ควรกระทำในขณะที่กายกำลังปฏิบัติงาน อันเป็นการเสี่ยงต่ออันตราย เช่นในขณะที่กำลังขับรถ หรืออยู่ในที่สูงที่อาจจะพลาดพลั้งได้ง่าย เพราะนอกจากใจไม่สามารถที่จะเป็นสมาธิได้แล้ว ยังอาจเกิดอันตรายได้อีกด้วย

    อุปกิเลสข้อที่ 7
    อัจจารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป ย่อมทำให้ร่างกายไม่สงบ เพราะเกิดความปวดเมื่อย หรืออ่อนเพลียจนเกินไป จิตใจก็จะพลอยไม่สงบไปด้วย

    และยิ่งรู้สึกว่า จะเป็นสมาธิไม่ได้ ก็ยิ่งทำให้จิตใจหงุดหงิดฟุ้งซ่าน หรือท้อแท้หดหู่ใจหนักขึ้น ใจก็ยิ่งถอนจากสมาธิ

    เพราะฉะนั้น จึงควรให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ เหมาะที่จะสามารถเป็นสมาธิได้เสียก่อน

    อุปกิเลสข้อที่ 8 อติลีนวิริยะ ความเพียรหย่อนเกินไป

    ย่อมเกิดความเครียดคร้าน ขาดความอดทน จิตใจก็หดหู่ไม่กระปรี้กระเปร่า การปฏิบัติธรรมก็ไม่ได้ผลหรือเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร

    ฉะนั้น สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มปฎิบัติธรรมใหม่ๆ จึงควรฝืนกายและใจ ให้อดทนในการเจริญภาวนาให้มากขึ้นทีละน้อยๆ ให้ได้ระดับที่พอเหมาะ ที่ควรจะพึ่งปฏิบัติได้ แต่ไม่ควรจะเร่งหักโหมร่างกายของตนเองจนเกินพอดีไป.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    7V_KjcXxjfBbK20R-dvDdICHFKItltCIKNnmWLoAQBrBXMTOu7fT0FpdNECQiwlJ1hJVpbZd&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    10~4/36

    สำหรับผู้ที่ล่วงสิกขาบทข้อที่ ๑ ย่อมต้องได้รับผลกรรมตามสนองให้เป็นผู้มีอายุสั้น ขี้โรคหรือพิการต่างๆ รายที่ประกอบกรรมปาณาติบาตไว้หนัก ก็อาจจะได้รับผลกรรมทันตาเห็นในชาตินี้

    แล้วยังจะติดตามให้ผลต่อไปในภพหน้าอีกด้วยหลายภพหลายชาตินัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประทุษร้ายต่อผู้มีพระคุณหรือผู้บริสุทธิ์ เป็นต้นว่า การประทุษร้ายหรือฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ หรือแม้แต่เจตนากระทำให้พระวรกายของพระพุทธเจ้าห้อเลือดขึ้นไป เหล่านี้ ย่อมได้รับผลกรรมที่หนักและรวดเร็วที่สุด เรียกว่า อนันตริยกรรม

    กล่าวคือ เมื่อสิ้นชีวิตลงย่อมเข้าถึงอบาย ที่จะต้องได้รับความทุกข์ความทรมานอย่างหนักที่สุด เช่น อเวจีนรกหรือโลกันตนรก ซึ่งอยู่นอกภพสามออกไป แม้ว่าตนจะเคยได้ประกอบกุศลกรรมไว้บ้างตั้งแต่เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะต้องรับผลกรรมดังที่ได้กล่าวนี้ก่อน ดังตัวอย่างที่เถรเทวทัต ซึ่งได้เจตนาประทุษร้ายพระพุทธเจ้า เป็นต้น

    เรื่องวิบากกรรมหรือการรับผลกรรมจากการประกอบกรรมดี หรือที่เรียกว่า กุศลกรรมก็ดี จากการประกอบกรรมชั่ว หรือที่เรียกว่า อกุศลกรรมก็ดี เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ธรรมชาติทั้งสิ้น มิได้มีใครที่ไหนเป็นผู้ตั้งกฏเกณฑ์ไว้เลย และก็ไม่มีใครที่ไหน จะยกเว้นหรือชำระล้างได้อีกเช่นกัน

    พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่า
    สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
    แปลความว่า
    ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นสิ่งเฉพาะตน ผู้หนึ่งจะยังความบริสุทธิ์ให้อีกผู้หนึ่งมิได้

    และว่า
    ยาทิสํ วปฺปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ
    กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ

    แปลความว่า
    หว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
    ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี
    ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว

    สำหรับผู้มีศีลสังวรในข้องดเว้นจากการฆ่าหรือเบียดเบียนสัตว์ที่มีชีวิต ย่อมได้รับผลให้เป็นผู้มีอายุยืน มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยลงและมีพลานามัยสมบูรณ์

    พระพุทธองค์เป็นแต่เพียงได้ค้นพบความจริงของธรรมชาติ ตามสภาพที่เป็นจริง จึงได้สั่งสอนให้เวไนยสรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้ตระหนักถึงโทษภัยของการประกอบกรรมชั่วดังกล่าวแล้ว งดเว้นการกระทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจเสีย เพื่อจะต้องมิได้รับผลกรรมชั่วนั้นอีกต่อไปในอนาคต แล้วให้ตั้งใจประพฤติดีด้วยกาย วาจา และใจ เพื่อให้ได้รับผลดีจากกุศลกรรมนั้น และให้หมั่นชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมตามสภาพที่เป็นจริงต่อไป.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525


    eyHhmvONLFQv4yoxUnZf5a_zG4YaUsIF4niiKP2US_31KOUvfqwYOcVuGfcs3FdvjTZElEXU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    10~1/36

    ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึง ความหมายหรือเงื่อนไขขององค์ศีล เพื่อให้มีหลักพิจารณาว่า ศีลที่ตนรักษาอยู่นั้น จะขาดด้วยลักษณะใดบ้าง จะด่าง จะพร้อย ไปด้วยลักษณะใดบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติมิให้ผิดศีลขึ้นได้

    พร้อมทั้ง จะได้กล่าวถึงเหตุผลที่บุคคลพึงต้องรักษาศีล และอานิสงส์หรือคุณของการรักษาศีลอีกด้วย โดยจะแยกกล่าวเป็นข้อๆไป ดังต่อไปนี้

    ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี
    หมายถึง เจตนางดเว้นจากการทำให้สัตว์มีปราณ คือ ลมหายใจตายไป สิกขาบทข้อนี้ ประกอบด้วยองค์ศีล หรือเงื่อนไขอยู่ ๕ ข้อด้วยกัน คือ

    ๑ . ปาโณ สัตว์ที่ฆ่าเป็นสัตว์ที่มีปราณ คือยังมีลมหายใจอยู่ ในที่นี้จึงหมายถึง ตั้งแต่สัตว์เดรัจฉานทุกประเภท จนถึงเทวดา มนุษย์ แม้แต่ตัวเราเอง ท่านก็ห้ามฆ่าทั้งนั้น

    และที่ว่ามีปราณ หรือลมหายใจนั้น ย่อมกินความถึง ทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งแม้ว่า ปอดจะยังมิได้ทำงานหายใจ แต่เด็กทารก ก็ยังมีปราณหล่อเลี้ยงอยู่ ในลักษณะเดียวกันกับพระอริยเจ้าตั้งแต่ชั้นพระอนาคามีขึ้นไป กำลังเข้า “สัญญาเวทยิตนิโรธ” จึงนับว่าเป็นสัตว์ที่มีชีวิต

    ๒. ปาณสญฺญิตา ผู้ฆ่านั้น รู้ว่าสัตว์นั้นมีลมหายใจ เป็นต้นว่า รู้ว่าสัตว์นั้น เพียงแต่สลบอยู่ ยังไม่ตาย ก็ฆ่าโดยเจตนา จะให้ตายไป ดังนี้เป็นต้น แต่สัตว์นั้น มีอาการประดุจตาย บุคคลเข้าใจว่า สัตว์นั้นตายแล้ว จึงเอามาประกอบอาหาร ดังนี้ ก็ไม่นับว่า ได้เจตนาล่วงสิกขาบทนี้

    ๓. วธกจิตฺตํ มีความตั้งใจจะฆ่าให้ตาย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะจงใจฆ่าเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่าโดยกริยาใดๆก็ตาม ถ้าได้ทำสำเร็จ ก็เป็นอันนับว่า ได้ล่วงสิกขาบทนี้ และในความหมายอย่างละเอียดยังกินความถึง ยินดีที่ผู้อื่นกระทำการล่วงสิกขาบทด้วย

    อนึ่ง ในความหมายอย่างละเอียด สิกขาบทนี้ยังกินความรวมถึงการทรมานสัตว์ผจญภัยให้เดือดร้อน ทำให้พิการ ทำให้ขาดอิสรภาพด้วยการกักขัง หรือทำให้หมดหวังในชีวิตอีกด้วย

    เป็นต้นว่า ต้มหม้อน้ำไว้ให้เดือด เอาไม้เล็กๆวางพาดอยู่บนปากหม้อนั้น แล้วจับปูมาวางไว้ที่ปลายไม้ข้างหนึ่งเพื่อให้ปูไต่ไปยังปลายไม้อีกข้างหนึ่ง เมื่อปูถูกบังคับให้ไต่ไปตามไม้เล็กๆเช่นนั้น ก็พลาดตกลงไปในหม้อน้ำที่ต้มไว้เดือดอยู่ ดังนี้ บรรดาพวกหัวหมอ ก็มักจะถือเป็นข้ออ้างว่า ตนไม่ได้ฆ่าปู แต่ปูมันไต่ไม้ไม่ดีเอง จึงตกลงไปในหม้อน้ำเดือดเอง มิหนำซ้ำ พอเห็นปูบางตัว พยายามไต่ข้ามพ้นไปได้อย่างปลอดภัยแล้ว ก็จับให้มันมาตั้งต้นใหม่ไต่ต่อไปอีก จนปูพลาดตกลงไปจนได้

    เหล่านี้ก็นับว่า ล่วงสิกขาบทข้อนี้ทั้งสิ้น เพราะแท้ที่จริงก็คือ เจตนาจะฆ่าปู ต้มปูกินนั่นเอง และนับตั้งแต่จับปูมากักขัง บังคับให้มันไต่ไปตามไม้เล็กๆเป็นการทำให้มันขาดอิสรภาพและหมดหวังในชีวิต มันไม่มีทางเลือก จึงต้องตายดังนี้ ก็นับเป็นกิริยาอันล่วงสิกขาบทนี้

    การวางกับดักสัตว์ก็ดี การตกปลาก็ดี การทอดแห ใช้ลอบหรือไซดักปลาก็ดี หากเจตนาจะกระทำเพื่อฆ่า หรือเบียดเบียนสัตว์มีชีวิต ก็เป็นเจตนาล่วงสิกขาบทนี้ทั้งสิ้น

    นอกจากนี้ แม้จะเจตนาฆ่าหรือเบียดเบียนชีวิตสัตว์ เพื่อพิธีกรรมศาสนาใดๆก็ตาม เช่นเพื่อไหว้เจ้า เพื่อบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าองค์ใดก็ตาม ก็ไม่มีข้อยกเว้นจากการล่วงสิกขาบทข้อนี้ทั้งสิ้น และจะต้องได้รับวิบากกรรมจากการล่วงสิกขาบทนี้ เพราะชีวิตใครๆก็ย่อมหวงแหน ผู้ถูกฆ่า จึงต้องจองเวรจองกรรมต่อๆกันไปไม่มีที่สิ้นสุด เว้นไว้แต่จะเป็นพระอริยเจ้าขั้นสูง จึงเป็นผู้ไม่จองเวรผู้อื่น ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีการรบราฆ่าฟันกันไม่หยุดหย่อน อันล้วนแต่เป็นเวรจากปาณาติบาตทั้งสิ้น.

    zBi1szCHpIenuR4V-y4uRiaQs0X_idIYdnoFBa2wAOeC9-6bqLGv0EILJ4rMaPZgx2Oe48pI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    ๔. อุปกฺกโม พยายามฆ่าสัตว์นั้นโดยที่สุด แม้จะพยายามเพียงเอื้อมมือไปฆ่าเท่านั้น ก็จัดเป็นพยายามเหมือนกัน ดังตัวอย่างเรื่องการจับปูให้ไต่ไปบนไม้เล็กๆ บนหม้อที่ต้มน้ำไว้จนเดือด พอปูไต่ผ่านไปได้โดยปลอดภัยแล้ว ก็จับมาวางไว้ที่ปลายไม้ให้มันไต่ไปใหม่อีก ลงท้ายก็พลาดตกลงไปตายจนได้ อย่างนี้เรียกว่า พยายามจะฆ่าให้สัตว์ตาย

    ๕. เตน มรณํ สัตว์นั้นสิ้นลมหายใจไปด้วยความพยายามนั้น

    เมื่อเข้าเกณฑ์ ๕ ข้อนี้แล้ว ก็เป็นอันนับว่า ได้ล่วงสิกขาบทนี้ และใคร่จะขอย้ำอีกว่า ในความหมายอย่างหยาบ ก็หมายถึงการฆ่าให้สัตว์มีปราณตาย ในความหมายอย่างกลางและละเอียด ก็หมายความรวมไปถึง การเบียดเบียนชีวิตสัตว์ แม้แต่จะไม่ถึงตายก็ตาม

    เป็นต้นว่า การทรมานสัตว์ การผจญสัตว์ให้เดือดร้อน ทำให้พิการ ทำให้ขาดอิสรภาพโดยการกักขัง หรือทำให้หมดหวังในชีวิตด้วยประการต่างๆอีกด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเจตนากระทำด้วยตนเอง ใช้ให้ผู้อื่นกระทำ หรือยินดีที่ผู้อื่นกระทำการล่วงสิกขาบทดังกล่าว

    เหตุผลที่ท่านห้ามฆ่าหรือเบียดเบียนสัตว์ที่มีชีวิตนี้ ก็เพราะว่า ชีวิตของใครๆก็ย่อมรักและหวงแหน แม้แต่ตัวผู้กระทำผิดศีลนั่นเองแหละ ไม่ว่าจะกระทำไปด้วยความคึกคะนองหรือมีจิตใจเหี้ยมโหดเพียงใดก็ตาม พอถึงตาตนเองจะถูกกระทำเช่นนั้นบ้าง ก็เห็นกลัวเจ็บกลัวตายกันจนตาเหลือกตาลานด้วยกันทั้งนั้น เรารักชีวิตและปรารถนาความสุข เกลียดความทุกข์อย่างไร ผู้อื่นก็ย่อมจะรักชีวิตตน รักความสุข และเกลียดความทุกข์อย่างไร ผู้อื่นก็ย่อมจะรักชีวิตตน รักความสุข และเกลียดความทุกข์เช่นเดียวกัน

    เพราะเหตุนั้น ผู้ที่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น จึงนับเป็นบุคคลที่ขาดเมตตา ไร้ความปรานีต่อเพื่อนร่วมโลก แสดงถึงความเป็นผู้มีจิตใจเหี้ยมโหดทารุณ และเห็นแก่ตัวอย่างยิ่ง ท่านจึงจัดสิกขาบทนี้ไว้เป็นอันดับแรก.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525


    co1MFIKJ8U5TVF0VodsuUXtvKkMbKb1kOVmYC2iNjdfVNyrrzOM-ecsrL1GW2Y266gKsEieu&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    เห็นดวงแกว่งลอยไปมา ?
    างครั้งเห็นดวงแกว่งลอยไปด้านซ้ายบ้างด้านขวาบ้าง หรือวิ่งเป็นวงบ้าง จะทำอย่างไร เพราะรู้สึกปวดหัว ?

    ตอบ:

    ขณะปฏิบัติภาวนาอยู่เช่นนั้น ให้เหลือบตากลับขึ้นนิดๆ พร้อมกับกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกาย นิ่งๆ เข้าไว้ ไม่ต้องใช้ใจบังคับดวงที่แกว่งนั้น ดวงจะเลื่อนไปไหนก็ช่าง อย่าตาม อย่าเสียดาย



    คงให้รวมใจหยุดนิ่งๆ คือนึกให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกายไว้ให้มั่น กลางของกลางเข้าไว้ จะใช้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” ณ จุดเล็กใสนั้นช่วยด้วยก็ได้

    ไม่ช้าใจจะหยุดนิ่ง และก็ปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มขึ้นมาเอง

    ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ขณะปฏิบัติภาวนา อย่าบังคับใจที่จะให้เห็นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกร็งและปวดศีรษะ ให้ผ่อนใจพอดีๆ แล้วจะค่อยๆ เห็นชัดเอง.
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    กำหนดทั้งแสงสว่างและรูป
    ในลักษณะอาโลกกสิณ
    เพื่อให้เกิดญาณทัสนะ •

    7~2/10
    ยังมีปรากฏ ในพระสูตรที่ 11 ในอังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต หน้า 311 ข้อ 161 อีกด้วยว่า

    ในสมัยที่พระผู้มีพระภาค ได้เสด็จประทับอยู่ที่ตำบล คยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเล่าเรื่องที่พระองค์ได้ทรงรู้เรื่องเทวดา ด้วยการเห็นแสงสว่างภายใน ในสมัยที่พระองค์ยังมิได้ตรัสรู้ และยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ให้พระภิกษุทั้งหลายฟังว่า

    ภิกษุทั้งหลาย ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า

    ถ้าเราจะพึ่งกำหนดเห็นแสงสว่างด้วย เห็นรูปทั้งหลายด้วย ได้เจรจาไต่ถามกับเทวดาเหล่านั้นด้วย และรู้ด้วยว่า เทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายนั้นๆ...

    จุติจากที่นี้แล้ว ไปอุบัติในที่นั้นด้วยวิบากของกรรมนั้นๆ รู้ว่าเทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยทุกข์และสุขอย่างนี้....

    รู้ว่าเทวดาเหล่านี้ มีอายุยืนเท่านี้ ดำรงอยู่นานเท่านี้.....

    รู้ว่าเราเคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้หรือไม่ดังนี้แล้ว

    ข้อนั้นจักเป็นญาณทัสนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นของเรา(ฉะนั้น) สมัยต่อมา เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรส่งจิตไปอยู่ ก็รู้ได้ตลอดถึงเรื่องราวเหล่านี้

    ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่ญาณทัสนะอันรอบรู้ในเรื่องเทวดา ซึ่งมีปริวัฏแปดอย่างนี้ของเรา ยังไม่บริสุทธิ์ดีแล้ว ตราบนั้น เราก็ไม่ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกนี้ ในเทวโลก ในมารโลกและพรหมโลก ในหมู่สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

    และญาณทัสนะได้เกิดขึ้นแก่เราด้วยว่า ความหลุดพ้นแห่งจิตของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ต่อไปนี้ ภพใหม่เป็นไม่มีอีก

    กล่าวโดยสรุป พระพุทธองค์ได้ทรงปรารภถึงความไม่ประมาท และมีความเพียรเจริญภาวนาธรรม โดยการกำหนดทั้งแสงสว่างและรูป ในลักษณะอาโลกกสิณ เพื่อให้เกิดญาณทัสนะ และสามารถรู้เห็นเรื่องราวของเทวดามาตั้งแต่ที่พระองค์ยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ และได้ทรงทราบถึงอุปกิเลสของสมาธิ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสตอบแก่พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ และพระกิมพิละ ที่ได้ทูลถามพระพุทธองค์ ในขณะที่ได้เสด็จประทับอยู่ ณ เมืองโกสัมพีดังกล่าว.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525


    BXEznRjkYQnNIIqpnJ3086ge88S07nXfw86uYYlPzA92Uf5_RaiNFBkuG0l_BSY5hPaKElxT&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    •ให้บริกรรมภาวนาในใจว่า
    "สัมมาอะระหังๆๆๆๆ"
    ตรึกนึกถึงดวงที่ใส ใจอยู่ในกลางดวงที่ใส•

    5~3/3(จบ)
    การฝึกเจริญภาวนาธรรมตามแนวนี้ สามารถช่วยให้จิตใจสงบ หยุดนิ่งได้ง่าย เพราะมีอุบายผูกใจไว้กับ การบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กัน เพื่อประคองใจไว้ให้อยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ซัดส่ายแกว่งไกวไปที่อื่น คือช่วยรวมความเห็น จำ คิด รู้ให้มาหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย อันเป็นที่ตั้งถาวรของใจ เป็นเอกกัคคตารมณ์ได้ง่าย

    เมื่อจิตถูกใช้ให้บริกรรมภาวนาว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" และถูกประคองให้เข้ามาอยู่เสีย ทีในบริกรรมนิมิตหนักเข้า ก็จะค่อยๆเชื่องและสงบลง แล้วผู้ปฏิบัติจะค่อยๆเห็นนิมิตปรากฎชัดขึ้น และเห็นได้นานขึ้นด้วยใจ เรียกว่า อุคคหนิมิต

    เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ก็ให้หยุดบริกรรมภาวนาเสีย เพราะถ้าขืนให้ใจทำงานอีกต่อไป ก็จะหยุดไม่ได้สนิท จึงให้เลิกบริกรรมภาวนา เพียงแต่คอยประคองใจให้หยุดได้หยุดอยู่กลางนิมิตที่ใสนั่นแหละ

    กลางของกลางๆๆนิ่งแน่นเข้าไป พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเป็นอารมณ์เดียวแล้ว ก็เป็นได้เห็นปฏิภาคนิมิตทีเดียว เป็นดวงใสแจ่มบังเกิดขึ้น ใสบริสุทธิ์ดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว สว่างดังดาวประกายพรึก สามารถจะนึกขยายให้โตขึ้น หรือนึกย่อให้เล็กลงก็ได้ สมาธิขั้นนี้ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ

    เมื่อผู้เจริญภาวนาสามารถกระทำใจให้ถึงขั้นนี้ล่ะก็ เข้ากลางของกลางเรื่อยไป ความเย็นตาเย็นใจก็บังเกิดขึ้น อย่างชนิดที่ไม่เคยได้พบมาก่อน ทีนี้แหละ ได้รู้ซึ้งถึงถึงแก่นใจด้วยตนเองที่ว่า "นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ สุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบ คือใจหยุดใจนิ่ง ไม่มี" นั้นเป็นอย่างไร

    เมื่อจิตเป็นขึ้นแล้วอย่างนี้ ประสงค์จะหลับเมื่อใด ก็สามารถหลับได้โดยง่ายด้วยใจอันสงบเป็นและเป็นสุข จึงเหมาะอย่างยิ่งกับสาธุชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีภาระหน้าที่การงานเคร่งเครียดมามากตลอดทั้งวัน สามารถช่วยให้จิตใจได้รับการพักผ่อนอย่างถูกวิธี ช่วยระงับความฟุ้งซ่าน วิตกกังวล ที่เรียกว่า อุทธัจจะ กุกกุจจะ ได้เป็นอย่างดี ทำให้สุขภาพจิตใจดี และพลอยเป็นผลให้สุขภาพกายดีงามไปด้วย

    เมื่อได้เข้าใจดีอย่างดีแล้ว ก็จงหมั่นปฏิบัติทุกครั้ง ที่มีโอกาสว่างจากภารกิจการงาน ฝึกปฏิบัติได้ทุกอิริยาบท ไม่ว่าในขณะยืน เดิน นั่งและนอน หรือจะหลับตาหรือลืมตาก็ได้ เพียงแต่ให้บริกรรมภาวนาในใจว่า "สัมมาอะระหังๆๆๆๆ"ตรึกนึกถึงดวงที่ใส ใจอยู่ในกลางดวงที่ใสเท่านั้น เพื่อให้จิตเป็นเร็วขึ้น อย่าท้อถอยทอดทิ้งเสีย คุณอนันต์จริงๆ.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525


    DaWtWegykhLlBawZF5JnrO0BhXnEVwMUBaZ-AGY2oJkg6hQRzqN2ul5gsiQJhqp8LNev-N8a&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    •สมถะหรือสมาธิ ก็เพื่อทำใจให้หยุด•

    5~1/3
    ในตอนนี้ จะได้กล่าวถึง คุณค่าของการเจริญภาวนาธรรมตามแนววิชชาธรรมกายนี้ว่า มีคุณค่าแก่ผู้ปฏิบัติหลายประการ

    พระเดชพระคุณ พระภาวนาโกศลเถระ (วีระ คณุตฺตโม) ได้อธิบายความหมายของการเจริญภาวนาธรรมโดยย่อๆว่า

    แบ่งออกเป็นสองขั้น คือ สมถะกับวิปัสสนา หรือที่เรียกว่า สมาธิกับปัญญา

    ทั้งนี้ โดยมีศีลเป็นพื้นฐานของการปฎิบัติ และพระเดชพระคุณท่าน ก็ได้กล่าวถึง อานิสงส์รวบยอดของการเจริญภาวนาธรรมว่า

    สมถะหรือสมาธิ ก็เพื่อทำใจให้หยุด ให้นิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว เมื่อใจหยุดใจนิ่งได้แล้ว นิวรณ์ธรรมทั้งหลาย เป็นต้นว่า ความกำหนัดยินดีในกามคุณทั้งห้า คือในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ก็หมดไป ใจก็ใสสะอาดบริสุทธิ์ ควรแก่งานวิปัสสนาให้เกิดปัญญา รู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริง สามารถกำจัดอวิชชา อันเป็นรากเหง้าของตัณหา อุปาทาน และทุกข์ให้หมดไป

    นี้เป็นทางมรรค ผล นิพพาน อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของการปฎิบัติธรรมตามแนวทางของพระพุทธศาสนา.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525


    EtZyoFcUaHzE4cCyiTwwhgsbWB8mUgW_IMGZcn3UGO5BGqcM9lTU40g4_Ut7O4CJtg7gr2jf&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    การฝึกเจริญภาวนาจะต้องมีครูคุมหรือไม่ ❓

    ✅ตอบ : การปฏิบัติธรรมอันได้แก่การรักษาศีลและเจริญภาวนา เพื่อให้เกิดสมาธิและปัญญา อันจะสามารถให้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส ตัณหา อุปาทาน เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายตามแนวทางพระพุทธศาสนานั้น มีหลักสำคัญอยู่ว่า

    ✅ครูเป็นแต่เพียงผู้ชี้แนวทางให้ ส่วนการศึกษาและฝึกปฏิบัติใหับังเกิดผลดีแก่ตนเองนั้น ตกเป็นหน้าที่ของผู้เป็นศิษย์จะต้องเพียรศึกษาและฝึกปฏิบัติใหัรู้เอง เห็นเอง แล้วก็เป็นผู้ได้รับผลเองทั้งสิ้น ดังพระบาลีพุทธภาษิตว่า

    อกฺขาโต โว มยา มคฺโค อญฺญาย สลฺลสตฺถนํ
    ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา
    ทางอันเรารู้ชัดว่าเป็นที่สลัดเสียซึ่งลูกศร (คือราคะ) ได้บอกแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ความเพียรอันท่านทั้งหลายต้องทำเอง พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกทางให้.
    และดังพระบาลีพุทธภาษิตว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน นั่นเอง

    ✅เมื่อท่านทั้งหลายได้รับคำแนะนำจากครูอาจารย์ ไม่ว่าจะโดยทางใด เช่นว่าได้รับคำแนะนำสั่งสอนโดยตรงจากท่าน หรือได้รับฟังจากรายการวิทยุโทรทัศน์ หรือได้อ่านจากคำอธิบายในหนังสือธรรมปฏิบัติ หรือจากตำรับตำราที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นเผยแพร่แล้ว

    ✅ก็เพียรศึกษา ทำความเข้าใจคำอธิบายและคำสั่งสอนนั้น แล้วก็ตั้งใจฝึกฝนปฏิบัติด้วยตนเอง ที่ไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับครูหรืออาจารย์ ขอแต่เพียงว่า เมื่อเกิดความสงสัยในวิธีปฏิบัติข้อใด ก็ให้รีบจดหมายหรือไปสอบถามที่ครูอาจารย์ได้เลย หรือเมื่อปฏิบัติได้ผลก้าวหน้าประการใด ก็รายงานผลการปฏิบัตินั้นให้ทราบ เพื่อจะได้ให้คำแนะนำแก้ไขวิธีปฏิบัติในขั้นสูงต่อไปอีก ให้ได้รับผลดียิ่งๆ ขึ้นไป

    ✅ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนา และสาวกของพระองค์ได้ช่วยเผยแพร่ประกาศพระศาสนาไปทุกทิศนั้น เมื่อศิษย์ได้รับคำแนะนำสั่งสอนจากพระองค์หรือสาวกของพระองค์แล้ว ก็จะต้องไปฝีกปฏิบัติเองโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับพระองค์หรือพระอุปัชฌาย์หรือครูอาจารย์แต่ประการใด

    ✅ต่อเมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในแนวทางปฏิบัติ ก็มาขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากพระองค์หรือพระอุปัชฌาย์อาจารย์ แล้วแต่กรณี ก็ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างนี้ จนตราบเท่าทุกวันนี้

    ✅อย่างไรก็ตาม อาตมาก็ยอมรับว่า การที่ศิษย์มีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติอยู่ใกล้ชิดกับครูอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเริ่มต้นนั้น ทำให้ศิษย์มีกำลังใจและได้รับความอบอุ่นใจมากกว่าการฝึกปฏิบัติที่อยู่ห่างไกลจากครูอาจารย์ และไม่ได้เห็นหน้าค่าตากันเลยเป็นธรรมดา แต่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่อยู่ห่างไกล และไม่มีโอกาสได้รับคำชี้แจงแนะนำแนวทางปฏิบัติโดยละเอียดเช่นนี้ ก็ไม่เสียผล

    ✅ขอแต่ให้ทุกท่านตั้งใจศึกษาและฝึกปฏิบัติด้วยอิทธิบาทธรรม คือด้วยใจรักในธรรม ขื่อว่า ฉันทะ ประกอบด้วยความเพียรพยายามต่อไปเรื่อยๆๆ ไม่ย่อท้อ ชื่อว่า วิริยะ ให้มีใจจดจ่ออยู่กับธรรมปฏิบัติอยู่เสมอ ทุกอิริยาบถก็ให้จรดใจอยู่ ณ ศูนย์กลางกายอยู่เสมอ

    ✅ผู้ที่เห็นดวงธรรมแล้ว ก็ให้เห็นใสละเอียดอยู่เสมอ ผู้ที่ถึงธรรมกายแล้วก็ให้พยายามรวมใจอยู่ ณ ศูนย์กลางกายอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุดอยู่เสมอ ชื่อว่า จิตตะ แล้วก็หมั่นพิจารณาในเหตุ สังเกตในผลของการปฏิบัติ ดูให้เป็นไปในทางที่ตรงตามที่ครูอาจารย์ได้สั่งสอน ตามพระธรรมอันพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ขื่อว่า วิมังสา รวมสี่ประการนี้แล้ว การปฏิบัติจะมีผลดีขึ้นเรื่อยๆ เอง

    ✅อีกประการหนึ่ง การเจริญภาวนานี้ จิตของผู้เจริญภาวนาจะมีอานุภาพสูงยิ่ง ตามระดับคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ จนอาจกล่าวได้ว่า

    ✅"เมื่อท่านสาธุชนผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย น้อมใจลงไปหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายและบริกรรมภาวนาว่า "สัมมาอะระหัง" เมื่อใด กระแสจิตของบุรพาจารย์ผู้เป็นต้นวิชชา อันมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นต้น แม้มรณภาพไปแล้ว กับของศิษย์ย่อมจะถึงกันในทันที เพราะอยู่ในสายธาตุธรรมเดียวกัน กระแสจิตจึงเชื่อมถึงกันโดยอัตโนมัติ"

    ✅ด้วยเหตุนี้ การกระทำพิธียกครูจึงเห็นว่าไม่จำเป็น และอาตมาก็ยังไม่เคยได้ยินว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติให้กระทำเข่นนั้นอีกด้วย

    ✅อนึ่ง พึงตระหนักว่า บรมครูที่สูงที่สุดนั้น ก็คือ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระอริยสงฆ์ ซึ่งก็หมายถึง พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ และมีความหมายถึง "ธรรมกาย" ซึ่งมีอยู่ในศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของทุกท่านนั่นเอง

    ✅พระพุทธองค์ได้เคยตรัสกับพระวักกลิ ซึ่งคอยเฝ้าติดตามชมพระสิริโฉมกายเนื้อของพระองค์ท่านอยู่เสมอ ว่า "โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสติ" แปลความว่า "ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา (ตถาคต)" และว่า "ธมฺมกาโย (อหํ) อิติปิ" แปลความว่า "เรา (ตถาคต) คือ ธรรมกาย"

    ✅เพราะฉะนั้นพระบรมครูก็อยู่ในตัวเราทุกคนนั่นเอง จงหมั่นทำใจให้หยุดให้นิ่งแล้วก็จะเห็นดวงปฐมมรรค เมื่อถึงดวงปฐมมรรคแล้ว ก็พยายามรวมใจให้หยุดให้นิ่ง หยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดเรื่อยไป ก็จะถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แล้วก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม และกายอรูปพรหม แล้วก็จะถึง "ธรรมกาย"

    ✅ก็ให้ดำเนินไปในแบบเดิม คือดับหยาบไปหาละเอียด หยุดในหยุดเรื่อยไป ก็จะถึงธรรมกายที่ละเอียดๆ ก็ให้ดำเนินไปจนสุดละเอียด ก็จะถึงพระบรมครู คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ ได้ด้วยตนเอง นั่นแหละจึงจะได้ชื่อว่าอยู่ใกล้ครูที่สุด ได้บูชาครูอย่างยอดเยี่ยมที่สุด ยิ่งกว่าอามิสบูชาเสียอีก

    ✅แต่แม้กระนั้น ก็ไม่พึงละเว้นจาก การรำลึกถึง คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี หรือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า และคุณบิดามารดา คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ และผู้มีพระคุณทั้งหลายอีกด้วย เพราะการรำลึกถึงและเคารพบูชาท่านผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นการปฏิบัติอันเป็นมงคลยิ่งอย่างหนึ่งทีเดียว

    ✅กล่าวโดยสรุป การเจริญภาวนานั้น หากมีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติอยู่ใกล้ชิดกับครูอาจารย์ก็เป็นการดี แต่ถ้าอยู่ใกล้ชิดกับครูอาจารย์แล้วไม่กระตือรือร้น หรือสนใจที่จะรับคำแนะนำสั่งสอนไปปฏิบัติอย่างจริงจังก็ไร้ผล

    ✅ส่วนผู้ที่อยู่ห่างไกลครูอาจารย์ หากได้พยายามศึกษารับฟังคำแนะนำสั่งสอน เอาไปฝึกปฏิบัติด้วยอิทธิบาทธรรม อันมี ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ก็ย่อมได้ผลดี และได้ผลที่แข็งแกร่งมั่นคงอีกด้วย เพราะถึงอย่างไร ครูก็มีหน้าที่แต่เพียงเป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้เท่านั้นส่วนการปฏิบัติให้ได้ผล ผู้เป็นศิษย์ก็จะต้องไปฝึกปฏิบัติให้ได้รู้เอง เห็นเอง และเป็นผู้ได้ผลเอง

    ✅และการประกอบพิธียกครู จึงไม่จำเป็น แต่การระลึกถึงและเคารพในคุณพระศรีรัตนตรัย คุณบิดามารดา คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ และผู้มีพระคุณนั้น จัดว่าเป็นมงคลยิ่ง และการปฏิบัติบูชาก็ยังนับว่าเป็นเลิศกว่าการบูชาอื่นใด นี่หมายเอาการปฏิบัติตามพระธรรมอันพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว จึงจัดว่าประเสริฐกว่าการบูชาอื่นใดทั้งสิ้น..."

    ตอบปัญหาธรรม
    โดย พระเทพญาณมงคล
    (หลวงป๋า เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

    TFBJGiyejqFkV17NAYaqAQzA9IBuAUIb2MldPTvKsLkJcrpyZ_4c8PX_5JNSmujbaQEKDyeZ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    นิพพานถอดกาย และ นิพพานเป็น

    โดย หลวงป๋า

    “พระพุทธเจ้า” ที่บำเพ็ญบารมีบรรลุเร็วด้วยปัญญา (พระปัญญาธิกะพุทธเจ้า)
    ต้องบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยแสนมหากัปป์
    ที่บำเพ็ญบารมีสูงกว่านี้ ๘ อสงไขยแสนมหากัปป์ (พระสัทธาธิกะพุทธเจ้า)
    และยังมีที่บำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขยแสนมหากัปป์ (พระวิริยาธิกะพุทธเจ้า) เช่น พระศรีอาริยเมตไตรย

    ขึ้นอยู่ที่ว่า ท่านปรารถนาที่จะเป็น “พระสัพพัญญูพุทธเจ้า” ในฐานะอะไร หรือ ด้วยคุณธรรมไหน

    คุณธรรม...จริง ๆ รวมกันหมดแหละ
    แต่ “เน้นหนักที่ปัญญา” ก็ ๔ อสงไขยแสนมหากัปป์
    “เน้นหนักที่ศรัทธา” ก็ ๘ อสงไขยแสนมหากัปป์
    “เน้นหนักที่ความเพียร” ซึ่งคลุมหมดทั้งศรัทธาและปัญญา ก็ ๑๖ อสงไขยแสนมหากัปป์

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ โปรดสัตว์แล้ว...ก็จะ “ดับขันธ์” คือ กายเนื้อแตกทำลาย เข้าสู่ “ปรินิพพาน” ด้วย “ธรรมกายพระนิพพาน” ที่บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระองค์... สถิตอยู่ใน (อายตนะ) นิพพาน

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร) ได้ค้นพบต่อไปว่า
    นิพพานนี้เป็น “นิพพานถอดกาย” (ถอดเบญจขันธ์) คือ “นิพพานของธรรมกาย” ซึ่งกายเนื้อแตกทำลาย จึงชื่อว่า ดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานด้วย... “ธรรมกาย” พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ของ พระพุทธเจ้า
    หรือด้วย... “ธรรมกาย” พระอรหัต ของ พระอรหันต์

    แต่ก่อนหน้านี้ พระพุทธเจ้า...ก่อน ๆ นั้น บำเพ็ญบารมีมากยิ่งกว่านี้อีก จนพระวรกาย ธาตุธรรม “เห็น จำ คิด รู้” ... ใสบริสุทธิ์ เป็นแก้ว เข้านิพพาน “ทั้งกายเนื้อ” ทุกกาย ... สุดกายหยาบ กายละเอียด
    สถิตอยู่ใน (อายตนะ) นิพพานเป็น นี่เข้าสู่พระนิพพานด้วย “กายเนื้อ” คือ ใสเป็นแก้ว เมื่อสำเร็จแล้ว ... ใสเป็นแก้วไปหมด พระนิพพานที่ว่านี้ ชื่อว่า “พระนิพพานเป็น”

    ผู้ที่ปฏิบัติธรรมถึง พระนิพพานเป็น จะพบพระพุทธเจ้าที่ชื่อว่า “พระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม” มีพระวรกายใหญ่ มีพระรัศมีมากและบริสุทธิ์ สมบูรณ์ บริบูรณ์ ด้วยบุญศักดิ์สิทธ์ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์
    อำนาจ สิทธิ สิทธิเฉียบขาด ฯลฯ มีพุทธานุภาพมาก
    สามารถช่วยสัตว์โลกได้นับประมาณไม่ได้ เรียกว่า แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล

    เมื่อมีพระพุทธเจ้าอย่างนี้ มาตรัสรู้แต่ละองค์ พร้อมด้วย...พระอนุพุทธะ

    หรือจะเรียกว่า “ต้นธาตุ” พร้อมด้วย “กลางธาตุ” สามารถจะช่วยสัตว์โลกได้เป็นแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาลรื้อสัตว์ขนสัตว์ แม้แต่มดแม้แต่ปลวก...ก็ไม่เหลือ เพราะ...อายุของท่านยืน...นั่นประการหนึ่ง

    ด้วยบุญศักดิ์สิทธ์ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ สิทธิเฉียบขาด ฯลฯ ของท่าน...อีกอย่างหนึ่ง

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่บำเพ็ญบารมีอยู่ในสายธาตุธรรม…ที่เคยบำเพ็ญบารมีมาแล้ว จึงเข้ามาสู่ในสายธาตุธรรม...ที่เมื่อเจริญแก่กล้าแล้ว จะสมบูรณ์ บริบูรณ์ ด้วยบุญศักดิ์สิทธ์ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ ฯลฯ ดังกล่าวตามระดับภูมิธรรม...ที่ปฏิบัติได้

    “ภาคมาร” เขาก็บำเพ็ญตรงกันข้าม คอยขัดขวาง สอดละเอียดมาในธาตุธรรม “เห็น จำ คิด รู้” ของสัตว์ให้บำเพ็ญบารมี...น้อยลง ๆ แล้วก็บรรลุ มรรค ผล นิพพาน ที่ช่วยสัตว์โลกได้น้อยลง ๆ ตามลำดับเหมือนกัน

    แต่ไม่ได้หมายความว่า...เมื่อเป็น “พระพุทธเจ้า” แล้ว ... “มาร” จะทำอะไรท่านได้

    “มาร” ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะ (พระพุทธเจ้า) เป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน ... ที่บริสุทธ์แล้ว แต่ว่า บุญศักดิ์สิทธ์ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ สิทธิเฉียบขาด ฯลฯ ก็เป็นไปตามระดับบารมี...ที่แต่ละพระองค์ได้บำเพ็ญมา แปลว่า ทรงสามารถช่วยสัตว์โลกได้...ตามระดับบารมีของแต่ละพระองค์

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้นำธรรมของพระพุทธเจ้า มาให้แก่พวกเราทั้งหลาย ถ้าใครปฏิบัติ เข้าถึง รู้เห็น และเป็น ก็จะเข้าใจ และเห็นแนวทาง...ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านว่าไว้

    แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า...ทุกคนจะเข้ามาสู่ครรลองในธาตุธรรมที่ปฏิบัตินี้ ด้วยกันทุกผู้ทุกนาม...ก็หามิได้ ขึ้นอยู่ที่ “บุญบารมี” ของแต่ละคน ที่จะบำเพ็ญบารมีไปสู่ ... “พระนิพพานถอดกาย” หรือ จะเข้าสู่ ... “พระนิพพานเป็น”

    เมื่อเราปฏิบัติลึกเข้าไปแล้ว...จะเข้าใจ จะเห็นถ่องแท้ว่า “ภาคมาร” เขามีอิทธิพลต่อ สัตว์โลก
    แต่...ไม่มีอิทธิพลต่อ “ภาคพระ” เขามีอิทธิพลเฉพาะต่อ สัตว์โลก เพราะ สัตว์โลก...เขามีส่วนสำคัญปรุงแต่งขึ้นมา

    “ฝ่ายบุญ” ปรุงแต่งไหม ?
    มีส่วนปรุงด้วย แต่ปรุงแต่งในระดับ “โลกียะ”
    อันเป็นฐานให้ถึง “โลกุตตรธรรม”
    แล้วแต่ใครจะถูกปรุงในระดับไหน
    แล้วแต่ส่วนผสมของ “พระ” และ “มาร” ที่ปรุงกัน

    ตรงนี้...ฟังให้ดี
    ไม่ใช่ว่า “มาร” มีอำนาจเหนือ “พระ”
    แต่ว่า “มาร” มีอำนาจเหนือ สัตว์โลก ... เพราะเขาปรุง ส่วนใหญ่...เป็นฝีมือของเขา

    ตั้งแต่เกิดมานี่ เกิดมาด้วยอำนาจของ “ตัณหา” แท้ ๆ นะ กรรม เป็นเขตให้มาเกิดในภพภูมิไหน (ตามกรรมดี กรรมชั่ว) ตัณหา เป็นเชื้อให้มาเกิดในภพภูมินั้น ... นี่มันของเขาทั้งนั้นนะ ใครก็ตามที่ไม่ว่าจะถูกปรุงแต่งด้วยมารระดับไหน ชื่อว่า “สังขาร”

    ถ้ามี “ทุนเดิม” หรือ “ปุพเพกตปุญญตา”
    เป็น บุญ บารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี ... อยู่ในธาตุธรรม “เห็น จำ คิด รู้” ... ติดตัวมาด้วยมากเพียงไร

    และ บุญบารมีนั้น...ส่องสว่างในธาตุธรรม “เห็น จำ คิด รู้” คือ “ใจ”

    ให้...คิดถูก รู้ถูก เห็นถูก พูดถูก มากกว่า...คิดผิด รู้ผิด เห็นผิด ทำผิด นำผู้อื่นผิด ๆ ก็ย่อมดำเนินชีวิตไป ในแนวทางที่เป็นบุญ เป็นกุศล มี ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ... เพียงนั้น นั่นคือ บุญบารมีเดิม ... ส่งมาร่วมกับ บุญบารมีที่บำเพ็ญขึ้นใหม่

    ใครมีบุญ มีบารมี ... ที่บำเพ็ญมาโดยชอบแล้ว
    ธาตุธรรม “เห็น จำ คิด รู้” ... สะอาดบริสุทธิ์แล้ว
    จะนำชีวิตของเรา ให้ไปสู่ครรลองแห่งธรรมปฏิบัติ...ที่ไปสู่ มรรค ผล นิพพาน
    ไม่เบี้ยว ไม่บูด ไม่หลงทาง

    ถ้าใครทำถูกต้องอย่างที่ “หลวงพ่อวัดปากน้ำ” ทำแล้วจะสามารถ รู้เห็น ได้ชัดเจน และจะรู้ลู่ทาง ในการประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อจะเจริญ “บุญบารมี” ... ให้เจริญได้เร็ว

    ต่อแต่นี้ไป...ก็ตั้งใจประกอบการบุญการกุศล
    อย่าละ อย่าวาง จงทำบ่อย ๆ เนือง ๆ
    ทั้ง ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล
    เพื่อให้ถึง...ธรรมที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    เพื่อ “บำเพ็ญบารมี” ... ให้เต็มทั้ง ๑๐ ประการ ให้สมบูรณ์

    *** เรียบเรียงบางตอนจาก
    นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๒๓
    มกราคม – มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕

    ที่มา
    https://www.dhammakaya.org/forum/index.php/topic,900.0.html

    ?temp_hash=f2abfb43d75155f532f93d2ce1503b12.gif
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 18kaya.gif
      18kaya.gif
      ขนาดไฟล์:
      23 KB
      เปิดดู:
      145
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    ไม่ว่าท่านจะถึงธรรมกายแล้วหรือไม่
    ให้พยายามรวมใจหยุด
    ณ ที่ศูนย์กลางกายอยู่เสมอ เมื่อมีโอกาส•


    4~11/11(จบ)
    ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียดนี้ ยังจัดอยู่ในขั้นสมถะ เพราะสามารถจะรู้เห็นได้เพียง เรื่องราวของภพ 3 เท่านั้น

    ต่อเมื่อถึงกายธรรม ตั้งแต่กายธรรมโคตรภูจนถึงกายอรหัต จึงเป็นขั้นวิปัสสนาภูมิ

    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว ไม่ว่าท่านจะถึงธรรมกายแล้วหรือไม่ ให้พยายามรวมใจหยุด ณ ที่ศูนย์กลางกายอยู่เสมอ เมื่อมีโอกาส

    สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้รวมใจทุกกายให้อยู่ ณ ศูนย์กลางกายอรหัตที่ละเอียๆ องค์ที่สุดละเอียดอยู่เสมอ ทุกอิริยาบถทีเดียว

    จะเจริญภาวนาธรรมก็ดี ไหว้พระสวดมนต์ก็ดี จะอุทิศส่วนกุศลหรือแผ่เมตตาก็ดี ตลอดจนอธิษฐานปรารถนาสิ่งใดๆ ที่ชอบก็ดี

    ให้รวมใจหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายนั้นเสมอ แล้วก็จะเห็นผลด้วยตนเอง

    ก่อนจะจบการเจริญภาวนา ขณะที่ทุกท่านรวมใจหยุดลงไปที่ศูนย์กลางกายอยู่

    ก็ขอให้ทุกท่านระลึกถึงบุญบารมีที่ ได้เคยสร้างสมอบรมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ให้มารวมอยู่ ณ ที่ศูนย์กลางกายนี้แหล่ะ

    แล้วตั้งใจบูชาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้าและคุณพระสงฆ์พระเจ้า ทั้งในอดีต ในปัจจุบัน และในอนาคต ทุกๆพระองค์

    ตลอดจน พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า และอุทิศผ่านไปยังคุณบิดามารดา คุณครูอุปัชฌาย์ อาจารย์และญาติพี่น้องทั้งหลาย

    ตลอดจน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

    และผู้รักษาประเทศชาติ ทั้งพลเรือน ทหาร และตำรวจ ผู้รักษาพระพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ให้กับเพื่อนร่วมโลกอื่นทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์

    ขอให้กุศลผลบุญนี้ จงช่วยประคับประคองท่านและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้มีปัญญาได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นสัมมาทิฏฐิแต่ฝ่ายเดียวให้สิ้นอาสวะกิเลส ตัณหา อุปทาน และบรรลุมรรค ผล นิพพาน

    และขอจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ทุกข์กายทุกข์ใจเลย และขอจงรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายเถิด.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    Cr.Line : ธัมมกาโย อิติปิ

    Qk7Ki7wqJgEEoRSgAb9_3EjFu4NV-0_4y7C5G8iu7wVQoZGoBQkg8kJEiThLen5ffUDj3XDJ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    10~8/36

    บัดนี้ จะได้กล่าวถึงศีลข้อที่ ๒ ต่อไป
    คือ อทินฺนาทานา เวรมณี ซึ่งหมายถึง เจตนางดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้

    ลักษณะขององค์ศีลข้อนี้มีดังต่อไปนี้
    ๑. ปรปริคฺคหิตํ ของที่ลักนั้นมีเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือของสาธารณะส่วนรวม เป็นต้นว่า ทรัพย์สินของชาติ ของพระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ นับตั้งแต่ของที่มีราคาสูงที่สุด จนถึงราคาต่ำสุด หรือไม่มีราคาค่างวดเลย คือแม้แต่หญ้าเส้นเดียว หรือก้อนดินก้อนหนึ่ง เป็นต้น

    ๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา ผู้ลักก็รู้ว่า ของนั้นมีเจ้าของ

    ๓. เถยฺยจิตฺตํ มีความจงใจลัก

    ๔. อุปกฺกโม พยายามลักของนั้น โดยที่สุดแม้เพียงเอื้อมมือไปหยิบเอาเท่านั้น

    ๕. เตน หรณํ นำของนั้นมาได้ ด้วยความพยายามนั้น

    กล่าวโดยสรุป ก็คือ การถือเอาของของผู้อื่นโดยพละการ โดยที่ผู้เป็นเจ้าของมิได้ยกให้หรืออนุญาตให้ ด้วยอาการอย่างขโมย เช่น ปล้น จี้ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ตู่ ตระบัด ปลอมแปลง ลักลอบ ยักยอก เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำการเองหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำ ก็นับเป็นการล่วงสิกขาบทข้อนี้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมขั้นสูงๆหรือพระอริยบุคคล ท่านกจะไม่ยินดีที่ผู้อื่นกระทำการล่วงสิกขาบทนั้นอีกด้วย

    สิกขาบทข้อนี้ ท่านห้ามไว้เพื่อให้ทุกคนเคารพกรรมสิทธิ์ในสมบัติของกันและกัน ให้รู้จักทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน สมบัติของใครๆก็รักและหวงแหน ไม่อยากจะให้สูญไป จึงเฝ้าคุ้มครองรักษาไว้ เมื่อเกิดความสูญเสียไป เพราะถูกลักหรือปล้นสะดม ยักยอกเอาไป ก็ย่อมเกิดความเสียดายกลายเป็นทุกข์ ท่านจึงห้ามไว้ เพื่อให้เคารพกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น

    ผู้รักษาศีลข้อนี้เป็นประจำ จะเป็นเหตุให้เป็นผู้มีสมบัติมาก รักษาสมบัติไว้ได้เป็นอันดี ทรัพย์สมบัติไม่เป็นอันตรายด้วยภัยต่างๆ

    แต่ผู้ที่ล่วงสิกขาบทนี้ จะได้รับผลต่อไปในอนาคต คือ จะกลับกลายเป็นคนยากจนข้นแค้น ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่หรือทำมาหาได้ ก็จะวิบัติสูญหายหรือถูกทำลายด้วยภัยต่างๆ เช่น ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย หรือภัยจากสงคราม เป็นต้น เมื่อสิ้นชีวิตลง ย่อมจะต้องเข้าถึงอบายหรือทุคติอีกด้วย.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525


    E6ItsQVggcSJnOgmfQ7UQFAIWa4lesOpXnddlXFMlZFEabeW7e65DLm-CDUYNSH8JEfgYUXq&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    อุบายแก้คนอิจฉาริษยา สำเร็จด้วยการให้


    ...บุคคลคนหนึ่งคนใดโกรธเคืองด่าว่าเรา เราก็หาอุบายแก้ไข ค่อยๆให้เขาเถอะ คนที่เคยด่าพ่อ ด่าแม่ คนอิจฉาริษยา นั่นแหละ ให้เสีย พอเขาเชื่อง พอเขาเลื่อมใส เราจะใช้เขาทำอะไร เขาทำเอาทั้งนั้นแหละ นี่สำเร็จด้วยการให้ นี่แหละเป็นข้อสำคัญนัก โลกจะจงรักภักดีซึ่งกันและกันก็เพราะอาศัยให้ซึ่งกันและกัน...

    คัดลอกบางส่วนจาก
    พระธรรมเทศนา เรื่อง สังคหวัตถุ
    เทศน์เมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๔๙๖
    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    0IT5ojGRVwA1ND_eVNMiRBJLDvdYpOYIKimbFFZNlJL0AEFwLR05JYxQ6h8lAdYeRs_3FMdZ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    พระพุทธองค์ทรงเปล่งพระอุทานเย้ยตัณหา ในคืนวันเพ็ญวิสาขมาส

    "...อวิชชาเท่านั้นเป็นตัวการสำคัญ ถ้าดับอวิชชาได้อย่างเดียว อื่นๆ ดับเรียบหมด

    เพราะอวิชชาเหมือนต้นไฟ แต่ถ้ายังดับอวิชชาไม่ได้แล้ว ก็ไม่มีหวังว่าอย่างอื่นจะดับได้ ที่หมายสำคัญในคำสอนของพระองค์จึงอยู่ที่ว่า ให้ผู้ปฏิบัติเพียรหาทางกำจัดอวิชชาเสีย จึงจะพ้นจากห้วงลึก คือวัฏฏสงสารได้

    อเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ ในขณะเมื่อแสงทองเรื่อเรืองแข่งแสงเงินขึ้นมายังขอบฟ้าเบื้องบูรพา อันเป็นสัญญาณว่าดวงอาทิตย์เตรียมทำหน้าที่จะส่องโลกอยู่แล้ว เป็นเวลาที่อากาศยะเยือกเย็นสดชื่น ส่งให้เราหวนไประลึกถึงเวลารุ่งอรุณแห่งวันเพ็ญวิสาขมาส

    อันเป็นวันที่พระบรมโลกนาถอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น เราจะแลเห็นโอภาสรัศมีอันรุ่งโรจน์ยิ่งกว่าแสงทองนั้นร้อยเท่าพันทวี ช่วงโชติอยู่ภายใต้โพธิพฤกษ์อันมหาศาล ใบเขียวชอุ่มรับกับรัศมีอันเหลืองอร่ามอยู่ภายใต้นั้น ในใจกลางแห่งรัศมีอันช่วงโชติชัชวาลอยู่นั้น

    มิใช่อื่นไกล คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ประทับพริ้มอยู่ด้วยพระอาการชื่นบานพระหฤทัยที่ได้เสวยวิมุตติสุข อันเป็นผลแห่งการที่พระองค์ได้ทรงประกอบพระมหาปธานวิริยะมาเป็นเวลาช้านาน จึงได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สมดังพระหฤทัยประสงค์

    พระองค์จึงทรงเปล่งพระอุทานเย้ยตัณหาว่า อเนกชาติ สํสารํ ดังที่ได้ยกขึ้นกล่าวไว้ข้างต้นนั้น ซึ่งแปลใจความเป็นสยามภาษาว่า “เราสืบเสาะหาตัวช่างไม้ผู้สร้างปราสาทมานานแล้ว เมื่อเรายังหาไม่พบ เราต้องท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร เวียนว่ายตายเกิดอยู่แทบจะนับชาติไม่ถ้วน

    การเกิดนำความทุกข์มาให้เราแล้วๆ เล่าๆ ไม่รู้จักจบสิ้น นี่แน่ะท่านนายช่างไม้กล่าวคือตัณหา บัดนี้เราเจอะตัวท่านแล้วละ ท่านหมดโอกาสที่จะมาสร้างปราสาทคืออัตภาพร่างกายเราต่อไปได้อีกแล้ว กระดูกซี่โครงท่านกล่าวคือกิเลส เราหักเสียกรอบหมดแล้ว มิหนำซ้ำยอดปราสาทกล่าวคืออวิชชา เราก็รื้อทำลายหมดสิ้นแล้ว

    จิตของเราปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว เราถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว” พระอุทานนั้นมีข้อความเป็นบุคคลาธิษฐานสั้นๆ แต่มีอรรถรสลึกซึ้งน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ที่แปล คหกูฏํ ว่ายอดปราสาท ก็เพื่อความเหมาะสมที่พระองค์เป็นกษัตริย์ เพราะบ้านเรือนของพระมหากษัตริย์ เรียกกันว่า ปราสาทราชฐาน พระอุทานนั้นมีข้อความชัดเจนแล้ว มิจำต้องอธิบาย..."

    คัดลอกบางส่วนจาก
    พระธรรมเทศนา เรื่อง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
    เทศน์เมื่อ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ – ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    kSroWoihIwpQvg59dMLD7iDuPRnoum9nmuCFVMbyihFMFUDTW-gEk-6lBv5SfzzpdIaTA2x-&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    10~11/36

    จะได้กล่าวถึงศีลข้อที่ ๓ ต่อไป คือ
    กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี
    ซึ่งหมายถึง การเจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

    ศีลข้อนี้มีองค์ ๔ หรือประกอบด้วยเงื่อนไข ๔ ประการด้วยกัน คือ

    ๑. อคมนียวัตถุ คือเป็นบุคคลที่ไม่ควรล่วงละเมิด ๒๐ จำพวกด้วยกัน ได้แก่ ชาย-หญิงที่ทีภรรยาหรือสามีแล้ว หรือชายหญิงที่มีจารีตห้าม เช่น นักบวช ภิกษุ สามเณร แม่ชี เป็นต้น เมื่อล่วงละเมิดชายหญิงเหล่านี้ ก็จัดเป็นกาเมสุมิจฉาจาร ส่วนผู้ที่อิสระแก่ตัว ก็ไม่จัดเป็นการล่วงสิกขาบทนี้

    ๒. ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ จงใจจะเสพในบุคคลนั้น

    ๓. เสวนปฺปโยโค มีความพยายามในการเสพ

    และ ๔. มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติอธิวาสนํ ให้อวัยวะเพศถึงกัน

    ที่ท่านห้ามไว้เช่นนี้ ก็ด้วยหวังจะป้องกันความแตกร้าวในหมู่มนุษย์ ให้ทุกคนมีความไว้วางใจในกันและกัน ให้ภรรยาสามีปรองดองกันด้วยดี ไม่มีปากมีเสียงและการแตกร้าวกันขึ้น เพราะต่างระแวงหึงหวงกันด้วยเรื่องนี้ อันเป็นเหตุให้หมดความสันติสุขในชีวิต

    และเป็นการป้องกันมิให้มัวเมาอยู่แต่ในกามกิเลส จิตใจต้องจมดิ่งอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยค คือ หาแต่ความสุขจนลืมคิดถึงความทุกข์อันจะตามมาในอนาคต เพราะเมื่อใจหมกมุ่นอยู่แต่ในกามสุขอยู่เช่นนี้ การที่จะชักพาใจให้ดำเนินไปสู่ทางแห่งความดี ความสงบสุขนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก อุปมาดั่งไม้ที่แช่น้ำเปียกชื้นอยู่ ย่อมสีกันให้เกิดไฟได้ยาก

    เงื่อนไขขององค์ศีลที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นเงื่อนไขอย่างหยาบ แต่สำหรับท่านที่ประสงค์ที่จะปฏิบัติธรรม เพื่อความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ เพื่อความสงบสุขยิ่งๆขึ้นไปอีก ท่านก็จะรักษาศีลข้อนี้ในระดับหรือขั้นกลางและสูงหรือละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก

    เป็นต้นว่า ท่านที่มีครอบครัวแล้ว ก็มีความสันโดษในคู่ครองของตน ไม่ล่วงประเวณีกับชายหรือหญิงอื่น แม้ชายหรือหญิงนั้นจะมีอิสระแก่ตัวก็ตาม และยิ่งกับผู้ที่ไม่มีอิสระแก่ตัว เช่น ชายหญิงที่มีภรรยาหรือสามีแล้วก็ดี หรือกับชายหญิงที่มีจารีตห้ามไว้แล้วก็ดี ก็ไม่ล่วงละเมิดแม้แต่ใจกระดิกคิดที่จะเสพ

    นอกจากท่านจะไม่กระทำผิดเอง ท่านยังไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำผิด และไม่ยินดียินร้ายที่ผู้อื่นกระทำผิดโดยประการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอีกด้วย เพราะโทษอันเกิดแต่ความผิดแม้จะเพียงเล็กน้อย เช่น ใจกระดิกคิดจะเสพ ก็เป็นเหตุให้ใจไม่สงบเสียแล้วและมัวหมอง จึงยากที่จะกระทำใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ และหยุดเป็นสมาธิที่แนบแน่นดีได้ ทำให้การเห็นอรรถเห็นธรรม ยังไม่เที่ยงแท้ การเจริญปัญญาไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ท่านเห็นโทษภัยแม้การล่วงละเมิดเพียงเล็กน้อยเหล่านั้นได้ชัดแจ้ง ท่านจึงเลิกละเสีย.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525



    Ia5-B2YzFhzXPZYcskYZQMRYqGe2XvdcHOxTVs44nETLro08SxR0aBpVRR83eL6nheoKvWla&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,026
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,572
    จากอิสลาม เข้าถึงพุทธ ที่สุดละเอียด

    ประสบการณ์ผู้ปฏิบัติธรรม



    เดิมทีข้าพเจ้าไม่ได้นับถือศาสนาพุทธมาก่อน ไม่เคยศรัทธา ไม่เคยคิดว่าพระพุทธเจ้ามีจริง โดยเฉพาะเรื่องการทำสมาธิ ก็คิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เรียกว่า ถ้าเอ่ยกันถึงคำว่า “พุทธ” จะมีความรู้สึกว่าไม่ชอบเอาเสียจริงๆ

    ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเคยได้รับคำสั่งสอนจากผู้ใหญ่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตัวตน มีแต่เพียงคำสอนซึ่งเป็นพระคัมภีร์ แต่ถ้าพระพุทธเจ้ามีจริงก็ตายไปนานแล้ว ใครจะรู้ได้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ฉะนั้นการกราบไหว้บูชารูปปั้นนั้น มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเอง แล้วก็โมเมเอาว่านี่แหละคือพระพุทธเจ้า บูชากันไปบูชากันมา ดีไม่ดีกลายเป็นพวกผีไม่มีญาติเข้าไปสิง จะกลับให้โทษเสียอีก หรือถ้าบูชาไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้คนในครอบครัวมีอันเป็นไป

    แล้วเรื่องการทำสมาธิอีกอย่าง อย่าให้นั่งเด็ดขาด จะทำให้เป็นบ้าไปเลยก็ได้ เพราะเมื่อนั่งๆ ไป จะต้องเห็นผีสางต่างๆ นานา ที่ผู้ใหญ่ท่านกล่าวเช่นนี้เพราะรู้ว่าเด็กๆ ทุกคนย่อมกลัวผีเป็นธรรมดา เรียกว่าอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ เขาจะต้องต่อต้านทุกเรื่องไป

    ที่ว่าไม่ได้นับถือพุทธ คือบิดาเป็นคริสตัง มารดาเป็นมุสลิม แต่บิดาเสียไปในขณะที่มารดาตั้งท้องข้าพเจ้าได้ 2-3 เดือน ดังนั้นข้าพเจ้าจึงนับถืออิสลามตามแม่ ซึ่งแน่นอนที่สุด ในครอบครัวชาวมุสลิมเขาจะเคร่งครัดในศาสนามาก การวางตัวในสังคมก็มีขีดจำกัดไปเสียทุกอย่าง แต่แล้วข้าพเจ้าก็ได้สามีเป็นชาวพุทธ แถมยังชอบและสนใจในเรื่องปฏิบัติธรรมเสียอีก

    วันหนึ่งสามีของข้าพเจ้าได้ซื้อหนังสือที่กล่าวถึง “ธรรมกาย” ของหลวงพ่อสด ซึ่งมีวางขายตามร้านหนังสือทั่วไปมาอ่าน อ่านแล้วก็คุยกันตามประสาสามี-ภรรยา เรามีความเห็นว่า เท่าที่ได้อ่านและถามๆ คนอื่นดู ก็รู้สึกว่า ธรรมกายนั้นถ้าจะปฏิบัติไม่ใช่ของง่ายๆ เคยมีคนเขาบอกว่า ที่ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) เขามีสอนอยู่ จะชวนข้าพเจ้าไป ก็บอกแล้วว่าไม่ชอบวิชานี้ เราไม่ไป เขาก็ [จึง] ไม่ไป เป็นอันจบ

    หลังจากนั้นไม่นาน ข้าพเจ้าได้ฝันว่า หลวงปู่ทวดท่านมาชวนว่า ให้จับมือท่านไว้ จะพาไปพบ“หลวงพ่อสด” ที่พระนิพพาน ในฝันว่าลอยไปอย่างสบายเลย คำแรกที่หลวงพ่อสดท่านพูดกับข้าพเจ้าก็คือ “เราชื่อสด จะมาฝึกธรรมกายไหม ?” ในฝันก็ตอบท่านไปว่า “ไม่ฝึก” เพราะเคยอ่านหนังสือเลยรู้สึกยาก ท่านก็ไม่พูดอะไร ทำหน้าเฉยๆ เมื่อตื่นขึ้นก็เล่าให้สามีฟัง เขารีบบอกทันทีว่าเป็นนิมิตที่ดี ในที่สุดก็ขัดคำชวนที่จะไปวัดสระเกศไม่ได้ เรื่องวัดเรื่องวาก็ไม่เคยจะรู้ธรรมเนียมเท่าไรนัก รับศีลก็ไม่เป็น ต้องเอาหนังสือของวัดมาดูเวลาที่เขารับศีล วุ่นวายอยู่เป็นเดือน แม้แต่ปัจจุบัน การสวดมนต์ทำวัตรก็ยังไม่ค่อยเป็นเท่าไรนัก อาศัยฟังบ่อยๆ ก็ชักชินหู

    การฝึกปฏิบัติธรรมในวันแรก ก็แยกกลุ่ม วิทยากรเขาแนะนำให้กำหนดดวงแก้วกลมใส ประมาณเท่าฟองไข่แดงของไก่ เริ่มจากช่องจมูกซ้าย ว่า “สัมมาอะระหังๆๆ” แล้วเลื่อนดวงแก้วไปตามฐานต่างๆ จนถึงฐานที่ 7 เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ให้จรดใจนิ่งไว้ตรงกลางดวงแก้วกลมใสนั้น แล้วกำหนดจุดเล็กใสขึ้นที่ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส เขาให้ทำอะไรก็ทำตามไป ไม่ได้คิดอะไร ครั้นเมื่อนิ่งถูกส่วนเข้า วิชชาก็เริ่มเดิน* [คำว่า “เดิน” ในที่นี้ หมายถึง “เจริญ” กล่าวคือ เจริญภาวนาหรือเจริญวิชชา] จากดวงปฐมมรรคเข้าสู่กายธรรม กายในกาย ณ ภายใน เริ่มโตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ ตายแล้ว อะไรกันนี่ ! จิตใจเริ่มสับสน เมื่อใจไม่จรดศูนย์ วิชชาก็หยุดเดิน* เมื่อคลายจากสมาธิ วิทยากรถามว่า เห็นดวงแก้วแจ่มใสไหม ? เลยตอบว่า “แจ่มใสดีค่ะ"

    อาทิตย์ต่อมาก็ได้ 18 กาย กับพระวิทยากร จึงรู้ว่า เป็นอย่างที่เราทำได้ถึงในคราวก่อน เลยเสียท่าไปแล้ว เมื่อพระท่านสอนเสร็จ ก็มีการซักถามกันพอสมควร ว่าทำไมกายพระคือเรานั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ท่านก็ให้ความกระจ่างดี จึงเริ่มเข้าใจขึ้นบ้างแล้ว ทีนี้ชักเริ่มสนุก แต่ยังคิดไม่ถึงว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรต่อไปอีก เพียงแต่พระวิทยากรท่านว่า ต่อไปนี้อย่าให้เสียท่าอีกนะ ให้ปล่อยใจหยุดนิ่งไปตามญาณวิถี ในที่สุดก็ได้ต่อวิชชาชั้นสูงกับหลวงพ่อเสริมชัย แต่ก่อนที่จะได้ฝึกกับท่าน ได้ทำสมาธิ เดิน 18 กาย ซ้อนสับทับทวีที่บ้าน ก่อนจะคลายจากสมาธิ ก็หยุดตรึกนิ่งไปที่จุดสุดท้ายของการเข้าถึง รู้ เห็น และเป็น ตามที่พระวิทยากรท่านสอน ก็มีเสียงก้องกังวานขึ้นว่า “วันข้างหน้าจะต้องพบกับอาจารย์ที่มีสายสัมพันธ์กันในอดีต เขาผู้นี้จะรู้แจ้งเห็นจริงทุกอย่าง และจะเป็นผู้ให้วิชชาทั้งหมดแก่เรา"

    ต่อมาจึงได้รับการฝึกเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงกับหลวงป๋า [หมายถึง พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ซึ่งผู้เขียนมีความเคารพเสมือนบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางธรรม] ในการฝึกวิชชาชั้นสูง นับตั้งแต่เริ่มพิสดารกาย เป็นเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ฯลฯ คำสอนต่างๆ ของหลวงป๋าในวิชชาชั้นสูงนั้นไม่เคยได้ยินมาก่อน ดังนั้นเมื่อเจริญภาวนาเสร็จแต่ละครั้ง ต้องคอยถามว่าจุดนี้เป็นอย่างนี้ อย่างนั้นใช่ไหม ? ตามปกติเป็นคนไม่ค่อยกล้า แต่ก็กลัวจะทำผิดจากวิชชาของท่าน จึงจำเป็นต้องรายงานผลการปฏิบัติให้ท่านทราบตลอดเวลา ประกอบกับหลวงป๋าท่านมีเมตตา เอาใจใส่กับลูกศิษย์ ในที่สุดก็เข้าถึงต้นธาตุต้นธรรม ... เราทำผิดท่านก็ไม่เคยว่า ยิ่งทำให้เรามีกำลังใจและเกิดความอบอุ่น

    อยู่มาวันหนึ่ง หลวงป๋าท่านเรียกมานั่งข้างหน้าเพื่อแนะนำวิธีปฏิบัติ ... ก็พอดีศาลาข้างๆ มีงานศพเป็นคนจีน หูเราก็บังเอิญได้ยินเป็นเสียงสวดมนต์ ไปแวบคิดว่าสวดอย่างนี้เขาเรียกว่าสวดกงเต็กหรือเปล่า ? เสียงหลวงป๋าพูดทันที “ให้มานั่งสมาธิ ไม่ใช่มาคิดนอกเรื่อง” ไม่ใช่ครั้งนี้ที่ท่านคอยเตือน ตลอดเวลาที่เจริญภาวนากับท่าน จะได้ยินคำเตือนเสมอ เมื่อจิตไม่ตกศูนย์ นี่แสดงว่าตลอดเวลาท่านจะคอยประคับประคองจิตของเราให้หยุดให้นิ่งอยู่ตลอดเวลา ในเรื่องของวิชชา ท่านไม่เคยหวงใคร รับได้เท่าไร ตามสภาพภูมิธรรม ท่านก็เปิดให้หมด

    ในที่สุดเราก็สามารถเข้าถึงพระนิพพานในพระนิพพาน เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วนของต้นๆ ... ได้รู้ซึ้งถึงพลังและอานุภาพของธรรมกาย โดยการมุ่งเข้าสู่เขตธาตุเขตธรรมต่อๆ ไปเป็นทับทวี โดยไม่ถอยหลังกลับ ... หลวงพ่อสดก็ผุดขึ้นพร้อมกับเสียงก้องกังวานมาทันทีว่า “ตนนั้นต้องทำให้วิชชาธรรมกายให้เป็นวิชชาที่ไม่ตาย ความหมายก็คือ ให้ทำวิชชาเป็นอยู่ตลอดเวลา และต้องเผยแพร่ต่อๆ ไปด้วย ข้อสำคัญ ต้องรวมธาตุธรรมของศาสนาทุกศาสนา ทุกสี ทุกสาย ทุกกาย ทุกองค์ ทุกวงศ์ มากลั่น และละลายธาตุธรรมนั้น ดับอธิษฐานถอนปาฏิหาริย์จนหมดธาตุธรรมภาคดำและกลางๆ และให้เป็นแต่ธรรมกายที่เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน ไม่มีคำว่า สี สาย นิกาย ฯลฯ ต่อไป ตั้งแต่มนุษย์โลกขึ้นไปจนถึงจักรวาลในจักรวาลต่อๆ ไป จนทำให้ธรรมกายนั้นยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ แต่จงจำไว้ จำทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นวิชชารบหรือการสะสางธาตุธรรม ฯลฯ จะต้องใช้เมตตาพรหมวิหารเป็นที่ตั้ง อย่าทำด้วยความรุนแรง (ด้วยกิเลส) และขาดสติ แล้วจะประสบผลสำเร็จ"

    ดังนั้นเมื่อต้องทำวิชชารบกับมารทีไร ถ้าจิตคิดว่าต้องเอาชนะให้ได้ เสียงของหลวงพ่อสดจะดังก้องขึ้นมาทันทีว่า“จงใช้เมตตาเป็นที่ตั้ง ทำเช่นนั้นไม่ถูก” จิตที่กล้าแข็งก็เริ่มอ่อนโยนลงทันที ใจก็คิดว่า การที่ต้องทำเช่นนี้เป็นเพราะหน้าที่ ไม่ใช่ด้วยความอาฆาต ก็น่าแปลก ฝ่ายมารเขาจะเริ่มถอยวิชชาของเขาออกไปทีละน้อย แต่เราต้องคิดเสมอว่าต้องไม่ประมาท โดยเราต้องทำวิชชาให้นำหน้าเขาอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะถูกภาคมารเขาสอดเข้ามาในสุดละเอียดของเราได้

    ฝึกเดินวิชชาอยู่ประมาณเดือนเศษ ก็มีการอบรมพระกัมมัฏฐานที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ในเดือนธันวาคม หลวงป๋าก็ชวนให้ไปที่ดำเนินสะดวก เมื่อไปถึงที่นั่น ก็ไปยืนอยู่ข้างๆ ศาลาอเนกประสงค์ หันหน้าไปทางซ้ายมือ เป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่รอบเกาะ รู้สึกว่าลมเย็นสบายดี จึงยืนทำวิชชาเข้าสุดละเอียดไปเรื่อยๆ เมื่อหยุดตรึกนิ่งก็เห็นแสงสว่างพุ่งขึ้นมาจากกลางบ่อนั้น จึงสอบถามคนที่นั่นว่า ตรงนั้นเขาจะสร้างอะไรหรือ ? ต่อไปบริเวณเกาะนั้นจะเป็นวิหารธรรมกาย ต่อไปเมื่อเป็นวัด จะยกฐานะขึ้นไปอุโบสถ พอรู้เช่นนั้น ความรู้สึกตื้นตันอย่างบอกไม่ถูกเกิดขึ้น ก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุไรเหมือนกัน

    ในการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระสงฆ์ (รุ่นที่ 11) คราวนั้นหลวงป๋าท่านเมตตาอนุญาตให้เป็นวิทยากรสอนโยมเป็นครั้งแรก พูดก็ไม่เป็น ยังเขินๆ อยู่ ไม่รู้จะทำอย่างไร รู้สึกกลัวไปเสียหมด ทีกลัวเพราะว่า กลัวจะพูดไม่เข้าใจ แล้วก็กลัวเขาจะว่า สอนเขาแล้วตัวเองรู้หรือเปล่าว่าเขาเห็นจริงหรือไม่ หันไปหันมา ไม่รู้จะทำอย่างไร เลยเข้าไปในธาตุธรรมของหลวงพ่อสด สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นท่านเลย ก็น่าแปลก ความประหม่าหายไปหมด กลับมีพลังอะไรไม่รู้เกิดขึ้น คือมีความคิดว่าจะต้องทำตัวเราให้ใส สักครู่เป็นการตั้งสติไปในตัว พอเริ่มสอน ระหว่างที่พูดก็เอาธาตุธรรมของแต่ละคนมาซ้อนในที่สุดละเอียดของเรา ตอนนั้นมีลูกศิษย์อยู่ 4-5 คนเห็นจะได้ ก็เห็นทันทีว่าแต่ละคนเขาทำได้แค่ไหน สอนเสร็จคลายจากสมาธิ ก็ยังไม่เชื่อตัวเองอีก จึงทดสอบตัวเอง โดยการสอบถามทีละคนตามสภาพภูมิธรรมของแต่ละคน ปรากฏว่าถูกต้องหมด ก็เกรงว่า นี่เราทำอะไรโดยพลการหรือเปล่าหนอ ? จึงรีบกราบเรียนหลวงป๋า ท่านกลับไม่ว่าอะไร แถมยังแนะนำเคล็ดลับวิชชาครูเพิ่มให้อีก แล้วยังสอนให้เดินเครื่องธาตุเครื่องธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้ผู้ที่ทำวิชชาฝืดๆ เพื่อที่เขาจะได้เดินวิชชาอย่างแจ่มใสโดยตลอดอีกด้วย ความรู้ในเรื่องวิชชาเริ่มได้รับจากท่านเป็นระยะๆ อย่างไม่เคยหวงวิชชาเลย บุญคุณอันนี้ใหญ่หลวงนัก เกินกว่าจะบรรยายออกมาด้วยคำพูดได้

    ทีนี้ ขอย้อนกล่าวถึงสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ทุกครั้งที่มีการอบรมเยาวชนก็ดี อบรมพระก็ดี จะเห็นเหล่าเทวดา นางฟ้า พรหม อรูปพรหม เต็มท้องฟ้าไปหมด เรียกว่า สว่างไสวไปทั่วทั้งสถาบันเลย เขาคงมาเป็นกำลังใจอนุโมทนากับเหล่าพุทธบริษัทที่มาอบรมกันตลอดเวลา สำหรับตัวข้าพเจ้านั้นมีพญานาคองค์มหึมาคอยอำนวยความสะดวกให้ คือพอเริ่มนั่งสมาธิทีไร จะเป็นการสอนหรือทำวิชชาก็ดี เขาจะมาขดเป็นอาสนะเหมือนปางนาคปรกให้เราสบายดีอีกด้วย นี่ที่สถาบันฯ นะ ต่อพอกลับกรุงเทพฯ เขาไม่ยอมตามมาด้วยหรอก น่าเสียดาย เพราะเวลาเขาให้เรานั่ง รู้สึกสบายบอกไม่ถูก จึงกราบเรียนเล่าให้หลวงป๋าฟัง ท่านบอกว่าเป็นของประจำอยู่ที่สถาบัน ช่วยดูแลสถาบันฯ ของเรา ก็ไม่น่าแปลกอะไรนี่ เพราะตลอดเวลาที่ทำวิชชากับท่าน จะเห็นประจำอยู่แล้ว ว่าพลังและอำนาจของบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ของท่านมหาศาลขนาดไหน ใครอยากรู้ลองแอบดูเอาเอง ถ้าจิตเข้าถึงต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดและเป็นสายธาตุธรรมเดียวกันคือสายขาว ก็จะเห็นตามที่เป็นจริงได้ ท่านคงไม่ว่าอะไรหรอก เพราะเป็นเรื่องของวิชชา แต่อย่าลืมนะ ก่อนจะทำอะไรควรนึกขอขมาท่านเสียก่อนด้วย เพราะครูบาอาจารย์เป็นของสูง

    เมื่อตัวเองนี้ได้เข้าถึง รู้ เห็น และเป็น เช่นนี้แล้ว ก็รู้สึกเป็นห่วงท่านทั้งหลายที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อย่ามัวเสียเวลาอันมีค่าของชีวิตเลย เพราะทุกลมหายใจเข้าออกนั้นมีค่าเสียเหลือเกิน มาปฏิบัติธรรมกันเถอะ ไม่มีอะไรยากเกินกำลังของมนุษย์เราเลย ถ้าท่านตั้งใจจะปฏิบัติธรรม รักษาศีลอย่างน้อยศีล 5 เราไม่บกพร่อง ก็พ้นจากอเวจีมหานรกได้แล้ว ส่วนการปฏิบัติธรรมในแนวของธรรมกายก็ไม่ยากเลย เพียงแต่ขอให้ “หยุด” ตัวเดียวเท่านั้น ที่ว่ายากนั่นก็เพราะเราไม่หยุดจริงนั่งเอง ถ้าจิตของเราหยุดนิ่งจริงแล้ว การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนั้นจะรู้ได้ทันทีว่า วิชชาไม่มีสิ้นสุด คือเราจะเข้าไปในที่สุดละเอียดขององค์ต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดได้เรื่อยๆ ถ้าท่านทำได้จะรู้สึกว่าการเจริญภาวนานั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อหน่ายเลย เพราะท่านสามารถค้นพบข้อมูลหรือสิ่งใหม่ๆ ได้อยู่ตลอดเวลา เป็นการเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติทั้งฝ่ายพระและฝ่ายมารในตัวเรานี้แหละได้ดี อย่างที่ท่านไม่เคยได้รู้เห็นมาก่อนเลย เป็นธรรมวิจยะ ให้สามารถแยกธาตุธรรมภาคพระ (ธรรมขาว) ภาคมาร (ธรรมดำ) ภายในตัวเราเองได้ แล้วเก็บธาตุธรรมภาคมาร (ธรรมดำ) เสีย ให้เหลือแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของฝ่ายพระ (ธรรมขาว) เป็นเราได้ มีผลให้กาย วาจา ใจ ของเราสะอาดบริสุทธิ์ ตรงกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ให้ละชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ประกอบแต่กรรมดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ และตรงกับพระพุทธวจนะที่ว่า กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตพึงละธรรมดำเสีย พึงยังธรรมขาวให้เจริญ [สํ.มหา.19/28] เพราะว่าการเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนฝ่ายพระหรือธรรมขาวนั้น ให้เป็นสุขด้วยความสงบดีนัก.

    จีราภา เศวตนันท์
    วิทยากรสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย



    ?temp_hash=87903b78d672c4ed996f9557dc84b14f.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...