เสียงธรรม 'รู้ทุกข์ บรรลุธรรม' / พระอาจารย์ชยสาโร

ในห้อง 'ธรรมเทศนาทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 30 กันยายน 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พิธีบำเพ็ญกุศลสำหรับ คุณจูน ชิเวอร์ตัน โยมแม่ท่านเจ้าคุณอาจารย์พระธรรมพัชรญาณมุนี

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    3 hours ago
    พิธีบำเพ็ญกุศลสำหรับ คุณจูน ชิเวอร์ตัน โยมแม่ท่านเจ้าคุณอาจารย์พระธรรมพัชรญาณมุนี วันอาทิตย์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น.

     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ธรรมละนิด : ความสามัคคี

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    เราจะสร้างความสามัคคีในกลุ่มคนที่มีความเห็นต่างหรือขัดแย้งกันได้อย่างไร? ความแตกแยกมันมักจะเกิดในหมู่คณะหรือว่าในกลุ่มทำงาน มันก็จะมี หนึ่งเพราะตัณหา อยากได้ อยากมี อยากเป็น สอง เพราะความยึดมั่นถือมั่นในความคิดความเห็น หรือว่าเพราะทิฐิมานะ ซึ่งเราต้องระมัดระวัง

    ในการที่จะป้องกันปัญหาก็ไม่ใช่เรื่องอื่นไกล ก็เป็นเรื่องของ ศีล สมาธิ ปัญญา เริ่มต้นด้วยการกระทำต่อกันและกันด้วยความเคารพ ด้วยความเรียบร้อยด้วยความสำรวม และเรื่องการพูดการแสดงออกก็ให้เป็นสุภาษิต พูดความจริง เป็นประโยชน์ ถูกกาลเทศะ พูดด้วยความหวังดี พูดอย่างสุภาพอ่อนน้อม แล้วก็ระมัดระวังเรื่องมิจฉาวาจา โดยเฉพาะการนินทาลับหลัง อันนี้จะเป็นตัวร้ายมาก
    ก่อนจะกล่าวถึงคนอื่นที่ไม่ได้อยู่ต่อหน้า ก็ควรจะถามตัวเองว่า ถ้าเขาอยู่ตรงนี้จะพูดไหมคำนี้ จะกล้าพูดต่อหน้าไหม แล้วถ้าไม่กล้าพูดต่อหน้าต้องถามตัวเองต่อว่า แล้วพูดทำไม เพื่ออะไร
    บางทีมันก็จำเป็นจะต้องกล่าวถึงความไม่ดีหรือพูดเรื่องคนอื่นในสิ่งที่ไม่ดีก็ได้ แต่เราก็ต้องมีความชัดเจน ความมั่นใจว่าพูดด้วยความหวังดี ถ้าพูดด้วยความต้องการจะยกตนข่มท่าน หรือจะสร้างความแตกแยกในรูปใดรูปหนึ่ง อันนี้ว่า ไม่สมควรพูดอย่างยิ่ง
    ในขณะเดียวกันการที่เราจะปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพนับถือ จะพูดกันด้วยปิยะวาจา วาจาที่น่ารักน่าฟัง มันก็ขึ้นอยู่กับจิตใจเราด้วย การที่เราฝึกสติให้รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง ในการที่เราเจริญเมตตาภาวนา ในการเจริญความอดทน ที่สำคัญก็มีปัญญาคอยเรียนรู้เรื่องเหตุปัจจัยของความเจริญ เหตุปัจจัยของความเสื่อม เราก็ถือว่าการทำงานยังสมานสามัคคี นั่นก็เป็นเป้าหมายสำคัญของการทำงาน นอกเหนือจากผลงานที่วัดได้ หรือที่เป็นผลผลิตที่สำคัญข้อหนึ่งที่วัดไม่ได้ ก็คือความรู้สึกต่อกันและกันอยู่ในกลุ่มทำงาน
    พระอาจารย์ชยสาโร

     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ธรรมละนิด : ต่างศาสนา

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Sep 5, 2022
    เราจะสามารถอยู่ร่วมกันกับเพื่อนต่างศาสนาได้อย่างไรโดยไม่รู้สึกขัดแย้ง?

    ก็ไม่เห็นจะเป็นปัญหาอะไร เพราะว่าเราถือว่าเราทุกคนเป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้นับถือศาสนาอะไรก็แล้วแต่ ที่จริงดูประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ก่อนหน้านี้ความสามัคคีในสังคมไทยนี่เป็นที่น่าชื่นชม อย่างพระผู้ใหญ่เล่าถึงสมัยก่อนในปักษ์ใต้ ชาวพุทธ ชาวอิสลามนี่สมานสามัคคีกันดีมาก เวลาชาวพุทธจะสร้างโบสถ์ เพื่อนชาวอิสลามมาช่วยกันสร้าง เวลาจะสร้างมัสยิด ชาวพุทธก็ช่วยกันสร้าง ไม่ถือว่าศาสนาเป็นเรื่องใหญ่ แล้วเอกลักษณ์ของพุทธศาสนาเรา ให้ในการที่เราไม่ถือว่า การขึ้นสวรรค์หลังตาย ขึ้นอยู่กับความเชื่อในคัมภีร์ แต่เราเชื่อว่าการขึ้นสวรรค์ ขึ้นอยู่กับคุณงามความดี ฉะนั้นถ้าชาวพุทธแต่ไม่มีคุณงามความดีอยู่ในตัว ก็ไม่ขึ้นสวรรค์เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นชาวคริสต์ ชาวอิสลาม แล้วก็ไม่มีศาสนา แต่ถ้าเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์สุจริต เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เขาก็มีสิทธิ์ขึ้นสวรรค์ได้เหมือนกัน ในเมื่อชาวพุทธเราไม่มีอุดมการณ์ในการที่จะบังคับหรือที่จะชักชวนให้คนที่นับถือศาสนาอื่นหันมาเป็นพุทธ พุทธเราก็อยู่กับใครก็ได้ เราก็ไม่เป็นปัญหา แต่เขาจะเป็นปัญหากับเรานี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ต้องเตือนทุกคน ถ้าเราเป็นพุทธแล้ว เราควรจะรักศาสนาของตัวเอง อย่าเพิ่งทิ้งศาสนาของตัวเองง่ายๆ ทุกวันนี้ถ้าคนไทยชาวพุทธไปแต่งงานกับคนต่างศาสนา ส่วนมากจะทิ้งศาสนาตัวเอง ซึ่งอาตมาไม่เห็นด้วยในข้อนี้นัก อาตมาว่าถ้ารักกันได้ เราก็น่าจะอยู่ด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน เคารพในศาสนาและความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้ ฉะนั้นในความเมตตาต่อกัน ความเคารพต่อกันและกัน การคำนึงถึงสิ่งที่เหมือนกันมากกว่าสิ่งที่แตกต่างกัน ก็ถือว่าเป็นหลักที่เราจะอยู่ร่วมกันได้
    พระอาจารย์ชยสาโร
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    อัศวินเขียว / พระธรรมเทศนาพระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ

    hiphoplanla
    Mar 5, 2013
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ถ่ายทอดสด : พระธรรมเทศนา 'โกหกใหญ่' บ้านบุญวันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๕

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    ถ่ายทอดสด : บ้านบุญวันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๕ ณ บ้านบุญ ปากช่อง นครราชสีมา
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ธรรมละนิด : พระกับเพลง

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Sep 19, 2022
    ทำไมพระถึงไม่ควรฟังเพลง?

    ก็มีเหตุผลหลายประการ ประการแรกก็คือ เวลา คือพระเป็นผู้ที่ต้องมุ่งมั่นต่อการศึกษา การปฏิบัติ การเผยแผ่ธรรม เพราะฉะนั้นกิจกรรมอันไหนที่ไม่เหมาะกับสมณะ ไม่เหมาะกับผู้ที่ออกจากโลกเพื่อความเจริญทางธรรม เราก็ไม่ควรจะยุ่งเกี่ยว เพราะถือว่าเป็นการเสียเวลา สอง สมณะหรือว่านักบวชเป็นผู้ที่มีหน้าที่พิสูจน์ให้โยมเห็นว่า ถึงแม้ว่าจะไม่มีความสุขกับสิ่งบันเทิงต่างๆ ก็ยังมีความสุขได้นะ ความสุขที่เกิดจากปฏิบัติธรรม การศึกษาและการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นคำพูดของพระท่านจะมีน้ำหนัก ในเมื่อท่านเองก็ทำเป็นตัวอย่าง แต่ถ้าท่านก็ โอย...ไม่ต้องฟังเพลงก็ได้ ไม่ต้องไปเสียเวลา แต่ท่านเองก็ชอบฟัง คำพูดของท่านก็คงไม่มีน้ำหนักเท่าไร ทีนี้ในการปฏิบัติเราแบ่งความสุขออกเป็น ๒ ประเภท เรียกว่า อามิสสุข กับ นิรามิสสุข อามิสสะ แปลว่า อามิส คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ได้ความสุขจากการเห็นสิ่งสวยงาม การได้ฟังเพลงอันไพเราะ เป็นต้น อันนี้เรียกว่าได้ความสุขเพราะอามิส เพราะรูปเป็นอามิส เพราะเสียงเป็นอามิส แต่ถ้าเราปฏิบัติธรรม เราฝึกจิตให้พ้นจากสิ่งเศร้าหมองในจิตใจ จิตใจพ้นจากนิวรณ์ ความสุขอีกแบบหนึ่งเกิดขึ้น ไม่ใช่ความสุขจากการสัมผัสสิ่งนอกตัว แต่ความสุขที่เป็นธรรมชาติของจิตที่พ้นจากนิวรณ์ พ้นจากกิเลส ถึงจะชั่วคราวก็ตาม เพราะฉะนั้นในการที่จะเข้าถึงความสุขประเภทนี้ เราก็ต้องยอมสละความสุขทางเนื้อหนัง ความสุขประเภทอามิสสุขบ้าง ฉะนั้นการที่ไม่ฟังเพลง ไม่หาความบันเทิงต่างๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้พระได้สำรวม ได้เสียสละความหลงใหลทางโลก เพื่อจะเข้าสู่หลักธรรม
    พระอาจารย์ชยสาโร
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ธรรมละนิด : ระลึกถึงความดีก่อนตาย

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Oct 3, 2022
    เคยได้ยินว่า ก่อนตายให้ระลึกถึงความดีที่เคยทำไว้ แล้วจิตใจเราจะได้เป็นสุข หากขณะจะตายนั้น เราจำความดีที่เคยทำไม่ได้ ฉะนั้นแล้วเราควรหัดระลึกถึงความดีเช่นไร เพื่อก่อนตายจะจำได้?

    ทุกอย่างนี้ก่อนตายวาระสุดท้าย มันจะอยู่ที่เราเคยคิดอะไรบ้างในอดีต เพราะฉะนั้นการจะระลึกอยู่ในคุณงามความดีที่เคยทำไว้นั้น ก็อยู่ที่ว่าเราเคยทำบ่อยๆ ตั้งแต่ยังไม่ป่วย ตั้งแต่ยังไม่แก่ และตั้งแต่ยังไม่ถึงเวลาจะจากโลกนี้ไป ก็ควรจะพิจารณาอย่างนี้ ระลึกอย่างนี้ทุกวันๆๆ จนกลายเป็นนิสัย
    ก็ดูความแตกต่างระหว่างคนปฏิบัติธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม อายุมากขึ้นความแตกต่างก็จะชัดขึ้นมาก แล้วผู้ที่ปฏิบัติธรรมได้นาน ได้ทำคุณงามความดี ความทรงจำความคิดต่างๆ นี้มันจะงาม เพราะฝึกให้งาม ฝึกปล่อยวางสิ่งที่เป็นอกุศลเป็นประจำหลายปี หลายสิบปี มันกลายเป็นเรื่องง่าย เป็นเรื่องธรรมดา
    แต่ผู้ที่ไม่เคยฝึกพออายุมากมีความเจ็บปวด มีความทรมานอย่างนั้น ทรมานอย่างนี้ มีนั่นมีนี่ จิตใจก็หงุดหงิดรำคาญ ฟุ้งซ่านวุ่นวาย แล้วก็ถึงเวลาอายุแค่นี้จะฝึกจิต จะปล่อยวางนี้มันไม่ค่อยมีแรง แล้วก็ทำไม่เป็น
    การปฏิบัติจึงควรจะรีบ ควรจะทำตั้งแต่ตอนนี้เลย เพื่อสร้างฐานว่าความตายจะมาเมื่อไรเราก็มีความรู้สึกว่าพร้อม
    พระอาจารย์ชยสาโร
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ปฏิบัติธรรมครู | ตอน ๑/๒๒ : ปฐมโอวาท .. ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕

    ปฏิบัติธรรมครู | ตอน ๒/๒๒ : ทำวัตร นำสมาธิภาวนา ..๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕

    ปฏิบัติธรรมครู | ตอน ๓/๒๒ : นำสมาธิ-จงกรมภาวนา และ ชั่วโมงปริยัติ.. ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕

    ปฏิบัติธรรมครู | ตอน ๔/๒๒ : ปุจฉา-วิสัชนา

    ปฏิบัติธรรมครู | ตอน ๕/๒๒ : พระธรรมเทศนา..

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    กำหนดการเพิ่มเติม ดูรายละเอียดได้ที่ https://bit.ly/3C6gVsE

    * บุคคลภายนอกเปิดให้ร่วมปฏิบัติเฉพาะทางออนไลน์ ไม่เปิดให้เข้าร่วมในสถานที่
    จัดโดย มูลนิธิปัญญาประทีป โรงเรียนปัญญาประทีป โรงเรียนทอสี

     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ธรรมละนิด : สวดมนต์ก่อนปฏิบัติ

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Oct 10, 2022
    ก่อนการเจริญภาวนาที่ถูกต้อง เราควรสวดมนต์ไหว้พระก่อนหรือไม่ หรือว่าเมื่ออยากปฏิบัติก็นั่งสมาธิได้เลย?

    การไหว้พระ การสวดมนต์ ก็เป็นการปฏิบัติธรรมเช่นเดียวกัน ไม่ใช่ว่าไหว้พระ สวดมนต์ก่อนปฏิบัติ ประโยชน์ของการไหว้พระ สวดมนต์ ก็คือการที่เรามีกิจกรรมที่ทำให้มีความเปลี่ยนแปลงหรือมีความรู้สึกออกจากโลก ออกจากความวุ่นวาย ออกจากภาระหน้าที่อะไรต่างๆ เข้ามาสู่พระธรรม เป็นกุศโลบายที่จะเปลี่ยนอารมณ์ แล้วการไหว้พระด้วยสติ การสวดมนต์ด้วยสติเป็นการเตรียมจิตที่ดี ก่อนที่จะเข้าสู่การเจริญสมาธิภาวนา การไหว้พระ การสวดมนต์ในหมู่คณะ ถ้าอยู่ในกลุ่มเพื่อนหรืออยู่ที่วัด ก็มีส่วนสำคัญในการสร้างความรู้สึกสมานสามัคคีกัน ถ้าอยู่คนเดียวเวลาจำกัดก็แล้วแต่จริตนิสัย บางคนสวดมนต์จิตใจจะเบิกบาน จิตใจจะปล่อยวางความคิดฟุ้งซ่านวุ่นวายได้ง่าย ก็เป็นกุศโลบายที่สำคัญ สำหรับบางคนก็ไม่ถูกจริตกับการทำวัตรสวดมนต์เท่าไร ก็ทำได้เฉยๆ ไม่รู้สึกอะไรมาก ก็ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องทำมาก ทำน้อยๆ มันก็อยู่ที่เวลาเราด้วย อยู่ที่จิตใจ จริตนิสัยเราด้วย แต่การไหว้พระและการสวดมนต์สั้นๆ สองนาทีสามนาที มันไม่ได้ใช้เวลาอะไรมาก แต่ว่าเป็นการเตรียมหรือการเริ่มการปฏิบัติธรรมในรูปแบบที่สวยงาม
    พระอาจารย์ชยสาโร
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ธรรมละนิด : ความเพียร

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Oct 17, 2022
    ทำอย่างไรถึงจะมีความเพียร และตั้งใจมั่น อดทน ไม่พ่ายแพ้ต่อความสบาย?

    ความเพียรเป็นผลของศรัทธาและฉันทะ แล้วก็ความต้องการให้ชีวิตเจริญงอกงาม ความเชื่อมั่นว่าในการเวียนว่ายตายเกิดนี้ การเกิดเป็นมนุษย์เป็นโอกาสทองที่จะละบาป บำเพ็ญกุศล ชำระจิตใจของตนให้ขาวสะอาด ชีวิตเราจะมีคุณค่า มีความหมายก็ด้วยการปฏิบัติธรรม การหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็เป็นความสุขระดับหนึ่งแต่ว่ามันผิวเผินมาก แล้วการที่โรคที่ระบาดที่สุดในปัจจุบันจะไม่ใช่โควิด ก็เป็นโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าสำคัญที่สุดเพราะคนไม่มีเป้าหมายชีวิตที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของจิตใจ ใช้ชีวิตวิ่งหาความสุขแบบผิวเผินมากก็จิตหลักลอย มันก็ทำให้เกิดมีความผิดปกติทางจิตใจมากมาย ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ สิ่งที่จำเป็น สิ่งที่จะนำไปสู่ความรู้สึกภาคภูมิใจในชีวิต ความรู้สึกว่าชีวิตมีความหมายได้ คือเราต้องคิดพิจารณาในลักษณะที่ทำให้เกิดกำลังใจ ถ้าขาดฉันทะ เกิดความเห็นชอบเกิดขาดศรัทธาในความเป็นมนุษย์ของเราแล้ว มันก็อยู่เป็นวันๆ ก็เสียเวลาเป็นประจำ เพราะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนที่ดีกว่า เพราะฉะนั้นความเพียร ความพยายาม ความอดทน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น เมื่อเรามีอุดมการณ์ในการฝึกตน
    พระอาจารย์ชยสาโร
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ธรรมละนิด : สัมมาอาชีวะ

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Oct 24, 2022
    ทำธุรกิจอย่างไรจึงถือว่าเป็นสัมมาอาชีวะ และการประกอบสัมมาอาชีวะรวยได้ไหม?

    คือสัมมาอาชีวะ อันนี้เริ่มตั้งแต่มาตรฐานต่ำสุดคือ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร ไม่ทำธุรกิจในทางที่เป็นผลร้ายต่อสังคม หรือธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ถ้าจะให้ดีกว่านั้นก็คือ ให้เป็นอาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ถ้าการประกอบอาชีพอย่างเป็นหมอ เป็นพยาบาล เป็นครู เป็นต้น ถือว่าเป็นสัมมาอาชีพ เพราะเป็นงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เพื่อระงับทุกข์ของประชาชนโดยตรง อาชีพอย่างอื่น อาจจะได้ผลในทางดีที่น่าชื่นชม แต่เหมือนจะเป็นผลพลอยได้ มันไม่ได้อยู่ที่ตัวอาชีพเอง แต่โดยสรุปแล้วว่า ถ้าอาชีพใดที่ไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียในสังคม แต่มันเป็นไปเพื่อการทำให้สังคมดีขึ้น อันนี้เราน่าจะยกย่องว่าเป็นสัมมาอาชีวะระดับยอด แต่ถ้าเป็นการทำธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยเจ้านายให้ความเป็นธรรมกับลูกน้อง แล้วก็พยายามทำด้วยความตั้งอกตั้งใจ ทำงานด้วยการเสียสละ ด้วยความขยันหมั่นเพียร ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมได้เหมือนกัน เรื่องจะรวยหรือไม่รวยนี่ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายอย่าง แต่อาจจะบอกได้ว่า ความรวย ถ้ามองทางเงินทางทอง ไม่ถือว่ามันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวพุทธ ชาวพุทธเราไม่รังเกียจนะ ความร่ำรวยนี่ไม่รังเกียจ แต่หมายถึงว่า เอาความร่ำรวยเอาเงินเอาทองเป็นเครื่องวัดความสำเร็จในอาชีพ รวยนี่ถือว่าผลพลอยได้มากกว่า
    พระอาจารย์ชยสาโร
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    2565.10.28 สถานีปราโมทย์ โดย พระอาจารย์ชยสาโร

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Nov 2, 2022
    พระธรรมเทศนา พิธีทอดผ้ากฐินสามัคคี โดย พระอาจารย์ชยสาโร ณ วัดป่าเมตตาคีรี ภักดีชุมพล ชัยภูมิ วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๕
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ธรรมละนิด : ทำอย่างไรให้หายโกรธ

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Nov 7, 2022
    มีวิธีฝึกอย่างไรให้หายโกรธเร็วขึ้น?

    เราต้องเห็นโทษของความโกรธ จนรู้สึกละอายรู้สึกกลัว ในการที่จะปล่อยจิตให้โกรธ ในเมื่อเราไม่พอใจกับบุคคลหรือสิ่งที่เกิดขึ้น เราต้องฝึกทั้งทางพฤติกรรม จิตใจ และปัญญาพร้อมๆ กัน พฤติกรรมก็คือโกรธเท่าไรเราไม่แสดงออกทางกาย ทางวาจา ให้เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น เพราะนั่นก็จะเป็นกรรม แล้วก็จะสร้างปัญหาในอนาคตมาก ทางจิตใจเราต้องพัฒนาคุณธรรม ที่เป็นปฏิปักษ์ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับความโกรธ เช่น ความอดทน เมตตา และสติ แล้วทางด้านปัญญาต้องเปลี่ยนความคิด เราโกรธก็ต้องมีความคิดผิดอยู่เบื้องหลัง ถ้าไม่แก้ที่ความคิดผิด ถ้าไม่แก้ที่ตัณหา ไม่แก้ที่กิเลสอยู่ในใจ ความโกรธมันก็จะเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ถ้าเราเห็นสิ่งทั้งหลายว่า เออ...เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย สิ่งทั้งหลายไม่เป็นไปตามความต้องการของเรา เราเห็นว่าเพราะเราอยากได้อะไรสักอย่าง เราก็ไม่ได้สิ่งนั้น เราก็จึงโกรธ
    พระอาจารย์ชยสาโร
     

แชร์หน้านี้

Loading...