รู้ทันวิบากกรรม (มีหลายตอน)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย pimmarka, 22 พฤศจิกายน 2011.

  1. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    โอวาท ๔ ท่านเหลี่ยวฝาน

    โอวาท ๔ ท่านเหลี่ยวฝาน

    เรื่องราวที่ท่านเหลี่ยวฝานได้สอนลูกไว้ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ทุกท่าน ได้มีความหวังกับชีวิต มีเป้าหมายในการสร้างความดี พร้อมทั้งรู้จักวิธี แก้ไขความผิดพลาด เพื่อสร้างอนาคตที่สดใสบน พื้นฐานของความอ่อนน้อมถ่อมตน แล้วชีวิตจะดีขึ้น

    โอวาท ๔ ท่านเหลี่ยวฝาน

    ๑. การสร้างอนาคต
    ๒. วิธีแก้ไขความผิดพลาด
    ๓. วิธีสร้างความดี
    ๔. ความถ่อมตน

    ได้ดูหนัง เรื่อง โอวาท ๔ ท่านเหลี่ยวฝาน เป็นเรื่องที่ท่านสอน หนังดีมีสาระ
    แนะนำให้ดูที่นี้ ท่านเหลี่ยวฝาน - YouTube

    ขอเพียงท่านเพียรทำความดี สามารถเปลื่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้

    ขอบคุณที่แวะมาอ่านดู สาธุ อนุโมทนามิ ขอท่านจงมีกำลังใจเข้มแข็งในการสร้างความดีอยู่เสมอ :cool:


    ..........................................................................................

    ประวัติของท่าน เหลี่ยวฝาน

    ท่านเหลี่ยวฝานเป็นชาวเจียงหนาน (กังหนำ) อายุ ๔๓๓ ปีในปีนี้ หากท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านสอบจิ้นซื่อได้ และเข้ารับราชการเมื่ออายุ ๓๗ ปี คนสมัยก่อน มีเวลาร่ำเรียนมากกว่าพวกเราสมัยนี้ ท่านจึงมีความรู้กว้างขวาง ลึกซึ้งยิ่งนัก เชี่ยวชาญในวิชาการเกือบทุกแขนง นอกจากพุทธธรรมที่ท่านสนใจมาก จนสามารถเข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้แล้ว

    ท่านยังเป็นนักปราชญ์ ในทางอักษรศาสตร์ โบราณคดี คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ อุทกศาสตร์ ธรณีวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ปรัชญา ฯลฯ แม้ยุทธศาสตร์ ท่านก็ช่ำชอง สามารถใช้ปัญญาเอาชนะโจรสลัดญี่ปุ่น ที่โจมตีท่านในขณะปฏิบัติการทางทหารที่ชายแดน ได้อย่างงดงาม ตำแหน่ง หน้าที่ราชการของท่านนั้น ดำรงทั้งฝ่ายบุ๋นและฝ่ายบู๊ ซึ่งน้อยคนนัก จักมีความสามารถเช่นนี้ เมื่อท่านถึงแก่อนิจกรรม

    แม้จะเป็นเวลาที่มิได้รับราชการแล้ว ฮ่องเต้ก็ยังทรงระลึกถึง คุณงามความดีของท่านอยู่ จึงทรงสถาปนายศ และทรงประกาศเกียรติคุณของท่าน ให้ปรากฏไปทั่วแผ่นดินท่านไม่หวงแหน หรือกลัวจะหลุดจากตำแหน่งหน้าที่ ในราชการ ใครทำให้ประเทศชาติเสื่อมเสียเกียรติภูมิ ใครใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม ใครทำให้ประชาราษฎร์เดือดร้อน ท่านจะต่อสู้อย่างสุดกำลัง

    แม้ผู้นั้น จะมีความยิ่งใหญ่เพียงใด ท่านก็ไม่ยอมสยบ แต่สำหรับตัวท่านเองแล้ว ใครจะใส่ร้ายป้ายสี ท่านก็ไม่นำพา อิจฉากันนัก ท่านก็กราบถวายบังคมลา ไปอยู่ถิ่นเดิมของท่าน ท่านแต่งตำรับตำราไว้มากมาย เป็นเพชรน้ำหนึ่งในสมัยหมิง เมื่อครั้งท่านเริ่มรับราชการ เป็นนายอำเภออยู่ทางเหนือ ซึ่งเป็นท้องที่ ที่ประสบอุทกภัยเสมอ

    ท่านสามารถป้องกันน้ำท่วมได้ ด้วยวิธีการแยกพลังน้ำ ออกเป็น ๓ ทิศทาง แม่น้ำสายเดียวแต่โบราณมา ก็กลายเป็นสามสาย ด้วยปัญญาของท่าน และความสามัคคีของชาวบ้าน ที่คิดพึ่งตนเองอย่างไม่ย่อท้อ ผนึกพลังอันน้อยนิดของแต่ละคน รวมเป็นพลังมหาศาล ยิ่งใหญ่ เหนือพลังน้ำที่น่ากลัว แล้วท่านให้ปลูกต้นหลิ่ว(หลิว) ตามริมฝั่งแม่น้ำ และริมฝั่งทะเล ยาวสุดสายตา คราใดที่คลื่นซัดเข้าฝั่ง ทรายจะติดอยู่บริเวณต้นหลิ่วทับถมกันนานเข้า ก็กลายเป็นเขื่อนธรรมชาติ ป้องกันน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี ทางภาคเหนือของประเทศจีนมักจะมีพายุ พัดทรายมาทีละมากๆ ก็ได้อาศัยต้นหลิ่วทั้งหลายนี้ ปะทะแรงลมและทรายไว้ได้

    แม้ท่านจะกลับมาอยู่ถิ่นเดิม ในบั้นปลายของชีวิต ท่านก็ไม่นั่งดูดาย คอยช่วยเหลือ ดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน อย่างใกล้ชิด คิดค้นวิธีทำไร่ไถนา ให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น ให้แผ้วถางพื้นดินที่รกชัฏ จนเกิดประโยชน์ แก่ผู้ที่ไม่มีที่ดินของตนเอง นอกจากท่านจะสอน ให้ชาวบ้านมีความรู้กว้างขวาง มีรายได้เพิ่มพูนแล้ว
    ท่านยังสอนให้ชาวบ้านรักกัน ช่วยเหลือกัน เสียสละ และหมั่นบริจาคจนเป็นนิสัย แต่ละวัน ท่านจะทำตารางการทำงานส่วนตัว และส่วนที่จะทำเพื่อผู้อื่นไว้ล่วงหน้า ท่านไม่เคยอยู่นิ่ง ทำงานตลอดวัน อย่างมีระเบียบ
    ท่านฝึกสมาธิเป็นเวลา และสม่ำเสมอ จนบรรลุฌาน และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนบรรลุญาณ

    ท่านถึงแก่อนิจกรรม เมื่ออายุ ๗๔ ปี ในขณะที่บุตรของท่านอายุ ๔๒ ปีแล้ว คือปี พ.ศ.๒๑๖๖ (ค.ศ.๑๖๒๓) ผิดจากที่ท่านผู้เฒ่าข่งพยากรณ์ไว้ถึง ๒๑ ปี โดยมิต้องบนบวงต่อฟ้าดิน และท่านผู้ศักดิ์สิทธิ์มิต้องสะเดาะเคราะห์ อันคุณงามความดีนี้ ช่างมีอานุภาพ ต่อชีวิตมนุษย์ให้เห็นถึงปานนี้หนอภรรยาของท่าน ก็ใจบุญสุนธรรม ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย เป็นคู่ชีวิต ที่คอยส่งเสริมแต่ในทางที่ดีงามเป็นปัจจัยในการทำดี เพื่อกันและกันตลอดเวลา มีอยู่ครั้งหนึ่ง ภรรยาของท่านซื้อฝ้ายมาปั่น เพื่อทำเสื้อหนาวท่านเหลี่ยวฝานท้วงว่า บ้านเรามีเสื้อหนาวอย่างดี ทำด้วยแพรเนื้อดี สอดไส้ด้วยนุ่น อุ่นดีอยู่แล้ว ไฉนจะให้ลูกใส่เสื้อหนาว ที่ทำด้วยผ้าฝ้ายถูกๆ เล่า ภรรยาของท่านตอบว่า ก็เพราะฝ้ายนั้นถูก
    จึงตัดใจขายเสื้อหนาวดีๆ ของลูกเสีย ได้เงินมามากๆ เพื่อทำเสื้อหนาวแจกชาวบ้าน ที่กำลังหนาวสั่นอยู่นี้ ได้ทั่วถึง ท่านเหลี่ยวฝานดีใจมาก พูดด้วยความตื้นตันใจว่า ถ้าแม่ใจบุญถึงปานนี้ ลูกของเรา จะไม่มีวันลำบากเป็นแน่แท้
    บุตรของท่าน ก็สอบจิ้นซื่อได้เช่นท่าน และได้เป็นนายอำเภอ ที่เมืองกว่างตง (กวางตุ้ง) อีก ๒๑ ปีต่อมา ก็สิ้นแผ่นดินหมิง ใน พ.ศ.๒๑๘๗ (ค.ศ.๑๖๔๔) ประเทศจีน ตกอยู่ในเงื้อมมือของชาวแมนจู ที่สถาปนาราชวงศ์ชิง (เช็ง) ปกครองชาวจีน ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย อยู่นานถึง ๒๖๗ ปี ท่านซุนจงซาน (ดร.ซุนยัดเซ็น) กับคณะ จึงได้ลบความเป็นเจ้าเข้าครอง ออกจากประวัติศาสตร์ได้สำเร็จ ในปี พ.ศ.๒๔๕๔ (ค.ศ.๑๙๑๑)

    ที่มา ประวัติ http://www.baanjomyut.com/pratripidok/owad4/history.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2011
  2. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    การปล่อยสัตว์

    มาปล่อยสัตว์กันนะ
    ให้ชีวิตเป็นทาน เป็นการสร้างกรรมดี

    (เหตุ) การปล่อยสัตว์
    (ผล) อายุยืน สุขภาพดี

    ได้ดูเรื่องการปล่อยสัตว์ สนุกมาก ดี มีสาระ

    แนะนำ ดูได้ที่นี้ อานิสงส์ของการปล่อยสัตว์ 淨空 - YouTube

    อนุโมทนา สาธุ ขอให้ท่านมีจิตเมตตา ให้ชีวิตเป็นทานอยู่เสมอ :cool:
     
  3. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    สมาธิกับการแก้กรรม

    ได้ฟังบรรยาย สมาธิ กับ การแก้กรรม
    โดย ริชชี่ ที่เขียนหนังสือเรื่องกรรม
    ฟังแล้ว เข้าใจง่าย เนื้อหาดี มีสาระ

    แนะนำให้ท่านลองฟังดู บางทีช่วยให้ชีวิตดีขึ้น

    ๑. สมาธิกับริชชี่ - YouTube


    ๒. สมาธิกับแก้กรรม - YouTube

    ๓. สมาธิ กับ Richy ณ พิษณุโลก - YouTube


    ขอบคุณที่แวะมาดู อนุโมทนา สาธุ ขอให้ท่านโชคดีมีสุข ไม่ทุกข์ใจ :cool:
     
  4. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ธรรมมะบันเทิง

    ฟังแล้ว ดูแล้ว ฟังดี ดูดี มีสาระ แนะนำ

    ๑. ตอน เสบียงบุญ เสบียงบุญ จาก 84000 - YouTube

    ๒. ตอน พลังบุญ พลังบุญ จาก 84000 - YouTube

    ๓. ตอน บุญส่งผล บุญส่งผล จาก 84000 - YouTube

    ๔. ตอน ธรรมะจัดสรร ธรรมมะจัดสรร จาก 84000 - YouTube

    ๕. ตอน ธรรมบันดาล ธรรมบันดาล จาก 84000 - YouTube

    ๖. ตอน กฐินน้องแพรว กฐิน น้องแพรว dmc - YouTube

    ๗. ตอน บุญชัย บุญชัย - YouTube

    ๘. ตอน เถ้าแก้วัยกระเตาะ เถ้าแก่วัยกระเตาะ - YouTube

    ๙. ตอน ดร. เค / ดร กฤษฏา

    ๙.๑ ดร.เค พลังแห่งฝัน - YouTube

    ๙.๒ ดร-กฤษฎา-จ่างใจมนต์ - YouTube

    ๑๐. รุ่งเรื่องจากกรรมฐาน รุ่งเรืองจากกรรมฐาน - YouTube

    ๑๑. โพธิธรรม / เซน พระโพธิธรรม พุทธเซน - YouTube

    ๑๒. ๑๐๐ ปี คุณยาย 100 ปี คุณยาย สัมมนา - YouTube

    ๑๓. คำสอนยาย คำสอนคุณยาย - YouTube

    ๑๔. คำสอนหลวงพ่อ หลวงพ่อธัมมชโย ธรรม - YouTube

    ๑๕ บรรยายธรรม หลวงพ่อทัตตะ DMC - YouTube

    ๑๖. ทุกข์แท้แก้ที่ใจ ทุกข์แท้แก้ที่ใจ - YouTube

    ๑๗. มองเป็นเห็นสุข มองเป็นเห็นสุข - YouTube

    ๑๘. 31 ภพ 31 ภพ พระภาสกร - YouTube

    ๑๙. มุตโตทัย หลวงปู่มั่น มุตโตทัย - YouTube

    ๒๐. สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กมฺมุนา วตฺตตีโลโก. - YouTube

    ๒๑. ตามรอยพระพุทธเจ้า ตามรอยพระพุทธเจ้า - YouTube

    ๒๒. บีบีซี พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ไทย BBC - YouTube

    ๒๓. อนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในด้าน ถวายทาน อนาถบิณฑิกเศรษฐี - YouTube


    ขอบคุณที่แวะมาดู สาธุ อนุโมทนามิ ขอให้ทุกท่านมีกำลังใจสร้างบุญอยู่เสมอ คือ ความดีอยู่เสมอ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2011
  5. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    รู้ทันบุญ

    ทำบุญ = ทำดี

    ทำให้มากกว่าพูด ทำให้มากกว่าคิด ทำให้มากกว่ารู้สึก
    ทำง่าย ๆ ทำทันที ทำทุกที่ ทำทุกเวลา มีความสุข ก่อนทำ ขณะทำ หลังทำ
    ทำด้วยความจริงใจ กำลังใจมาก ๆ
    และเมื่อนั้น ท่านจะรู้ทันบุญ ด้วยตัวท่านเอง ว่ามีความสุข ขนาดใหน

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน ขอให้ท่านมีความสุขอยู่เสมอ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2011
  6. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ฟังแล้ว ดูแล้ว ฟังดี ดูดี มีสาระ แนะนำ

    ๑. ธรรมบรรยาย ท่านโกเอ็นก้า โกเอ็นก้า ธรรมมะ - YouTube

    ๒. ชีวประวัติสมเด็จโต พรหมรังสี สมเด็จโต - YouTube

    ๓. ชีวประวัติ พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ประวัติหลวงพ่อสด DMC - YouTube

    ๔. หลวงตามหาบัว ที่ระลึกงานหลวงตา - YouTube

    ๕. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ - YouTube

    ๖. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ สารคดี หลวงพ่อฤาษี สารคดี - YouTube

    ๗.พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าอโศกมหาราช - YouTube

    ๘. พระพุทธเจ้า และ พระสาวก English sub the sutra story english sub - YouTube

    ๙.หลวงปู่ดู่ พรหมปัญญา หลวงปู่ดู่ พรหมปัญญา - YouTube

    ๑๐. ว วชิรเมธี ว.วชิรเมธี ชีพจรโลก - YouTube

    ๑๑. หลวงปู่ต้นบุญ หลวงปู่ต้นบุญ - YouTube

    ๑๒. ธรรมะ กับ อ.วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ

    ๑. โหรวารินทร์ - YouTube

    ๒. เปิดนิมิต 3 อ. วารินทร์ - YouTube

    ๓. สร้างบุญ ชีวิตมีสุข - YouTube


    ขอบคุณที่แวะมาดู สาธุ อนุโมทนามิ ขอให้ทุกท่านมีกำลังใจสร้างบุญอยู่เสมอ
    มีปัญญา สว่างไสว ทั้งทางโลก และ ทางธรรม :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  7. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ความกล้า แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฏก

    ภาษิตจีนกล่าวว่า “หนทางหมื่นลี้ เริ่มต้นที่ก้าวแรก”

    ก้าวแรกจึงเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ เพราะทำให้มีก้าวที่สอง ก้าวที่สาม ตามมา จนถึงก้าวสุดท้ายบนเส้นชัย แต่กว่าจะเกิดก้าวแรกได้ ต้องมีความ “กล้า” กล้าที่จะขว้างใจไปวางไว้ที่ตำแหน่งหมื่นลี้ แล้วตัดสินใจก้าวเดินไปสู่จุดที่ใจหวังตั้งไว้ ความกล้าจึงเป็น คุณลักษณะคู่คนอัศจรรย์ของโลกมาแต่บรรพกาล

    และสุดยอดคนอัศจรรย์ของจักรวาล คือ พระส้มมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นแบบอย่างของผู้กล้าในผู้กล้าทั้งหลาย แม้แต่ในสมัยที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์มิได้ตรัสรู้ ก็ยังกล้าที่จะ เผชิญต่ออุปสรรคทั้งหลาย ไม่ปล่อยให้ความกลัวครอบงำ ใจได้นานๆ เมื่อความกลัวเกิดขึ้นที่ไหน ก็กล้าสู้อยู่ตรงนั้น จนกว่าจะชนะ ดังที่พระองค์ตรัสเล่าไว้ ดังนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเขตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับกราบทูลถามปัญหาว่า

    ”ข้าแต่ท่านพระโคดม เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โปร่งและป่าทึบ อยู่ลำบาก ทำวิเวกได้ยาก ในการอยู่โดดเดี่ยว ก็อภิรมย์ได้ยาก ป่าทั้งหลายเห็นจะชักนำจิต ของภิกษุผู้ยัง ไม่ได้สมาธิให้หวาดหวั่น”

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตรัสถึงเหตุแห่งความสะดุ้ง กลัว และไม่สะดุ้งกลัวของการอยู่ในเสนาสนะป่า ๑๖ ประการ มี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม บริสุทธิ์เป็นต้น จากนั้นได้ตรัสเล่าเหตุการณ์เมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ไม่ได้ตรัสรู้ ทรงฝึกตนให้เอาชนะความหวาดกลัวที่เกิดขึ้น ขณะอยู่ในป่า

    โดยทรงทดลองไปอยู่ที่ อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพรึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า ในคืนเดือนมืด ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ เมื่ออยู่ในเสนาสนะนั้น เสียงสัตว์ป่ามา นกยูงทำไม้ให้ตกลงมา หรือลมพัดเศษใบไม้ให้ตกลงมา ความกลัวก็เกิดขึ้นกับพระองค์ จึงทรงดำริว่า

    ”เพราะเหตุไร เราจึงคิดกังวล แต่เรื่องความกลัวอยู่ อย่างเดียว ทางที่ดี เราควรจะกำจัดความกลัวและความขลาด ที่เกิดขึ้นแก่เราในอิริยาบถที่เราเป็นอยู่นั้นๆ เสีย

    เมื่อเรากำลัง (เดิน) จงกรมอยู่ ความกลัวและความขลาดเกิดขึ้นแก่เรา เราจะไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอน จะจงกรมอยู่จนกว่า จะกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้
    เมื่อเรายืนอยู่ ความกลัวและความขลาดเกิดขึ้นแก่เรา เราจะไม่จงกรม ไม่นั่ง ไม่นอน จะยืนอยู่จนกว่าจะกำจัดความ กลัวและความขลาดนั้นได้

    เมื่อเรานั่งอยู่ ความกลัวและความขลาดเกิดขึ้นแก่เรา เราจะไม่นอน ไม่ยืน ไม่จงกรม จะนั่งอยู่จนกว่าจะกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้

    เมื่อเรานอนอยู่ ความกลัวและความขลาดเกิดขึ้นแก่เรา เราจะไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่จงกรม จะนอนอยู่จนกว่าจะกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้”

    กลัว กับ กล้า เป็นคนละสุดขั้ว เมื่อมีความกล้าก็ปราศจาก ความกลัว หากกล้าๆ กลัวๆ ก็คือพะวักพะวน ไม่สามารถ ตัดสินใจทำอะไรได้ ความสำเร็จก็ห่างไกล ฉะนั้นเราท่าน ทั้งหลาย มาสะสมนิสัยแห่งความกล้ากันเถิด กล้าที่จะก้าวข้ามความกลัว กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง กล้าที่จะทำความดี โดย ไม่ครั่นคร้ามต่ออุปสรรคใดๆ เมื่อนั้นความสำเร็จก็จะมาถึง ในไม่ช้าอย่างแน่นอน


    ที่มา หนังสือ แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฏก


    ขอคุณที่แวะมาอ่าน ขอให้ท่านมีความกล้าในการทำความดีอยู่เสมอ
    อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  8. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    แหล่งกำเนิดกำลังใจ แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฏก

    แหล่งกำเนิดกำลังใจ

    กำลังใจเป็นเรื่องสำคัญ ยอดเขาหิมาลัยเคยสูงเสียดฟ้า จนไม่มีผู้ใดไปถึง แต่สุดท้ายก็สูงไม่เกินเข่าของผู้พิชิต เหตุที่สร้าง ความอัศจรรย์เช่นนั้นให้เกิดขึ้น ส่วนสำคัญที่สุดคือ “กำลังใจ” เมื่อมีกำลังใจย่อมชนะอุปสรรคทั้งมวลได้ แต่กระนั้นกำลังใจ ก็ใช่ว่าจะเกิดขึ้นเอง หรือซื้อหาได้ตาม ท้องตลาด แล้วหากเราอยากสร้างกำลังใจ ต้องทำอย่างไรเล่า

    ในเรื่องนี้ พระสัมมาส้มพุทธเจ้าได้เคยตรัสเล่าถึง วิธีสร้าง กำลังใจของเทวดาในยามทำสงครามกับอสูร แล้วตรัสแสดง วิธีการสร้างกำลังใจที่แท้จริงในพระพุทธศาสนา ปรากฏใน ธชัคคสูตร ดังนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเขตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพ กับอสูรประชิดกันครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้น ดาวดึงส์ว่า

    “ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทพผู้ไป ในสงคราม สมัยนั้น พวกท่าน พึงแลดูยอดธงของเรา เพราะ ว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ ความกลัว ความหวาด สะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป

    ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้น พวกท่านพึง แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชเถิด

    ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้น พวกท่านก็พึงแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชเกิด

    ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเกิด

    เมื่อพวกเทพแลดูยอดธง ของท้าวสักกะจอมเทพก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชก็ดี แลดูยอดธงของท้าว วรุณเทวราชก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชก็ดี ความ กลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า ที่จักเกิด ขึ้น พึงหายไปบ้าง ไม่หายไปบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร

    เพราะว่า ท้าวสักกะจอมเทพยังไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ ไม่ปราศจากโมหะ เป็นผู้มีความกลัว มีความ หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่

    ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเรากล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หากว่าความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยอง เกล้า พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่า อยู่ที่โคนไม้ หรืออยู่ใน เรือนว่าง ทีนั้น

    พวกเธอพึงระลึกถึงเราตถาคตเนื่องๆ เท่านั้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและ จรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ควรที่ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น พระพุทธเจ้า (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว) เป็นผู้จำแนกธรรม

    เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึกถึงเราตถาคตเนืองๆ อยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยอง เกล้าที่จัก เกิดขึ้นก็จักหายไป

    ถ้าพวกเธอไม่ระลึกถึงเราตถาคตเนืองๆ ทีนั้น พวกเธอพึง ระลึกถึงพระธรรมเนืองๆ ว่า ‘พระธรรม อันพระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบ ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน

    เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่เนืองๆ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป

    ถ้าพวกเธอไม่ระลึกถึงพระธรรมเนืองๆ ทีนั้น พวกเธอ พึงระลึกถึงพระสงฆ์เนืองๆ ว่า ‘พระสงฆ์ สาวกของพระ พระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระ ผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน ยอดเยี่ยมของโลก’

    เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่เนืองๆ ความ กลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้น ก็จักหายไป

    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาส้มพุทธเจ้า เป็น ผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ เป็นผู้ไม่มี ความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป

    คำตอบของวิธีการสร้างกำลังใจ คือ การระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ซึ่งมีอานุภาพไม่มีประมาณ แต่ทว่า การระลึกถึงพระรัตนตรัย ก็มีอยู่ ๒ แบบ
    คือ ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ภายนอก เป็นแบบ “ขอถึง”
    ซึ่ง อานุภาพก็เกิดเพียงบางส่วน

    แต่อีกประการเป็นแบบ “เข้าถึง” คือ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ภายใน ซึ่งเป็นรัตนะ ใสบริสุทธ์ อานุภาพและกำลังใจย่อมเกิดขึ้นอย่างไม่มีประมาณไม่มีสิ้นสุด

    ที่มา หนังสือ แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฏก

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน ขอให้ท่านมีกำลังใจสร้างความดีอยู่เสมอ
    สาธุ อนุโมทนา :cool:
     
  9. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ว่าด้วยเรื่องเศรษฐี

    ว่าด้วยเรื่องเศรษฐี ทำบุญด้วยเหตุใดจึงรวย เศรษฐีในสมัยพุทธกาล

    ๑. อนาถบิณฑิกเศรษฐี อนาถบิณฑิกเศรษฐี - YouTube

    ๒. เมณฑกเศรษฐี เมณฑกเศรษฐี - YouTube

    ๓. ชฏิลเศรษฐี ชฎิลเศรษฐี - YouTube

    ๔. โชติกะเศรษฐี โชติกะเศรษฐี - YouTube

    ๕. ปุณณเศรษฐี ปุณณเศรษฐี - YouTube

    ๖. ภัตติกะเศรษฐี ภัตติกะ เศรษฐี - YouTube

    ๗. กาฬวฬิยะเศรษฐี กาฬวฬิยะ เศรษฐี - YouTube

    ๘. อนันทเศรษฐี อนันท เศรษฐี - YouTube

    ๙. มหาทุคคะ มหาทุคคะ - YouTube

    ๑๐. โสณะ โสณะ บุตรเศรษฐี - YouTube

    ๑๑. แก้จน พระมหากัสสปะ แก้จน พระมหากัสสปะ - YouTube

    ๑๒. พระภัททชิ ภัททชิ - YouTube

    ๑๓. จิตตคฤหบดีมหาเศรษฐี จิตตคฤหบดีมหาเศรษฐี - YouTube

    ๑๔. สังฆทานรวย สังฆทาน รวย - YouTube

    ๑๕. อานิสงค์แห่งบุญ อานิสงค์การสร้างบุญ - YouTube




    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน มาดู ขอให้ท่านมีกำลังใจทำทานอยู่เสมอ
    เป็นเศรษฐีใจบุญ ค้ำจุนพระพุทธศาสนา :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2011
  10. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2011
  11. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ก้าวแรกของวิปัสสนา ๑

    เรื่อง ก้าวแรกของวิปัสสนา
    นี้ดีมากเลย อ่านแล้วทำให้เข้าใจ
    เรื่อง จิต และเวทนามากขึ้น น่าอ่าน ศึกษาดู


    ก้าวแรกของวิปัสสนา
    ทำไมเราจึงต้องศึกษาเรื่องของชีวิต
    และปฏิบัติธรรมเพื่อหาทางคลายความทุกข์กัน

    ท่านเคยลองถามตนเองไหม
    ทั้งๆ บางท่านมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติธรรม
    แต่ก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า ทุกข์ นั้นคืออะไร

    เพราะเหตุที่ชีวิตของแต่ละบุคคล ได้ผ่านล่วงกาลเวลากันมาคนละหลายๆปีแล้ว ประสบกับความสุขบ้าง ความทุกข์บ้าง หมุนเวียนไปไม่มั่นคง เป็นความจำเจซ้ำๆ ซากๆ ทุกอย่างถ้าได้ลองทำ ได้ลองลิ้มรส ได้ลองสัมผัสอะไรก็ตามอย่างจำเจ ก็จะต้องเกิดความเบื่อหน่ายด้วยกันทั้งสิ้น เพราะกิเลสตัณหามันมักง่ายและก็และก็เบื่อง่ายเสมอ เช่นนี้ เพราะกิเลสตัณหามันมักง่ายและก็เบื่อง่ายเสมอ เมื่อเป็น เช่นนี้ จะมัวต้องการอะไรกันต่อไปอีก ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทั้งที่รู้ได้ว่ามันให้ความสุขที่แท้จริงไม่ได้เลย

    เมื่อมีลาภ ก็ต้อง หมดลาภ
    มีสรรเสริญก็มี นินทา
    มีสุข ก็ต้อง พบทุกข์
    จึงควรจะรีบ หลีก ละ ลด เลิก
    ในสิ่งที่ไร้สาระ ไร้แก่นสาร ไร้ประโยชน์ล
    และ พยายามปลูกผังปัญญา
    นำพากาย วาจา ใจให้เจริญอยู่ในกุศล
    ที่จะให้ความสุขสันติที่แท้จริงแก่ตนเองได้
    เพราะทุกอย่าง

    ใครทำ-ใครได้
    ใครพบ-ใครพ้น

    ในชีวิตของปุถุชน
    วัตถุเป็นเหตุให้เกิดกิเลส
    เพราะเหตุอะไรเล่า
    เวลานี้กิเลส อกุศลต่างๆ
    ของปุถุชนจึงเกิดมากขึ้น

    เพราะโลกเวลานี้ต่างก็พยายามสร้างวัตถุ เป็นอารัมณปัจจัยให้เกิดกิเลสขึ้น วัตถุในโลกเจริญมากขึ้นเท่าใด กิเลสคือ ความปรารถนาที่ต้องการจะมี จะได้
    ก็ย่อมเกิดมากขึ้นเท่านั้น

    เพราะผู้สร้างวัตถุนั้นขึ้นมาก็มีเจตนาว่า จะสร้างให้เป็นที่ต้องการของมนุษย์ หรือเป็นที่ปรารถนาได้มากเท่าไรยิ่งดี ยิ่งมีประโยชน์ต่อผู้สร้างมากเท่านั้น

    สรุปได้ว่า วัตถุต่างๆ เกิดขึ้นเพราะกิเลส และเป็นเครื่องล่อกิเลสโดยมิรู้จักจบ
    ฉะนั้น เมื่อวัตถุอันเป็นปัจจัยของกิเลสเจริญขึ้นมากเท่าใด กิเลสย่อมเจริญขึ้นมากเท่านั้น

    เพราะธรรมทั้งหลายย่อมเกิดจาก เหตุปัจจัย เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ถึงแม้ว่าผู้คิดสร้างอาจจะไม่ได้มีเจตนาที่จะให้กิเลสตัณหาของบุคคลทั้งหลายเกิดขึ้น

    หากมีเพียงเจตนาที่จะให้คนในโลกได้ความสุขความสบายเท่านั้นก็ตาม
    แต่สุขเวทนาที่ได้รับมาจากกามารมณ์เวทนาอย่างนี้

    พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

    เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาและตัณหาก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะว่าถ้าตัณหาเกิดมากเท่าใด ก็เป็นปัจจัยให้อกุศลธรรมอื่นๆ เกิดมากขึ้นเท่านั้น เมื่ออกุศลธรรมเกิดมากขึ้นเท่าใด ความเบียดเบียนกัน ความเอารัดเอาเปรียบกัน การล่อลวงฉ้อโกงกัน การฆ่าฟันกัน การรบหรือทำสงครามแย่งความเป็นใหญ่กัน ก็มีมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ขาด ความเมตตากรุณา ซึ่งกันและกัน

    ด้วยเหตุนี้จึงสมควรที่ต่างคนต่างจะต้อง หันกลับเข้าหาความสุขอันสถาพรด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เพราะจะสามารถทำให้ผู้เข้าถึงได้พบความสุขอันแท้จริง เป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากการสงบของกองกิเลส เป็นการสงบจากการเบียดเบียน สงบเนื่องจากการละวางศัสตราวุธ และเป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากตัวเอง ไม่ใช่จากวัตถุต่างๆ ซึ่งเป็นอารมณ์ภายนอก เป็นของไม่แน่นอน เป็นความสุขที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติลุล่วงจากสังสารวัฏได้ในที่สุด

    ว่าด้วยการเริ่มศึกษาหลักและเหตุผลอันแท้จริงของชีวิต และปฏิบัติตามแนวทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางไว้ ในกิจของพระพุทศาสนาก็มีอยู่ ๒ อย่าง เท่านั้น กิจ ๒ อย่างนั้นก็คือ คันถธุระ กับ วิปัสสนาธุระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2011
  12. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ก้าวแรกวิปัสสนา ๒

    คันถธุระ ได้แก่
    การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวจนะ
    ตามที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก

    วิปัสสนาธุระ ได้แก่
    การเจริญวิปัสสนา หรือ มรรค ทั้ง ๘
    เพื่อมุ่งทำลายอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป

    นอกจากตัวเองจะต้องเป็นผู้จัดทำธุระทั้ง ๒ คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระแล้ว

    ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตามเราต้องพิจารณาให้ถูกต้องตามสภาวธรรมที่เป็นจริงว่า

    อะไร เป็นของจริงแท้ และอะไรเป็นของจริงเทียม เพื่อประโยชน์อันจะเกิดแก่ตน จะได้ไม่ลุ่มหลง

    ไปในสิ่งที่สมมุติกันขึ้นจนเกิดการกระทำเนื่องด้วยกิเลสตัณหาจนนำพา กาย วาจา ใจ ให้เป็น ทุจริตติดตามมา

    ของจริงเทียม ได้แก่ สิ่งที่สมมุติกันขึ้น ตั้งชื่อขึ้น
    เพื่อใช้เรียกขานให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันในหมู่ชนเดียวกัน
    ใช้ภาษาเดียวกัน เรียกว่า สมมุติสัจจะ

    ของจริงแท้ ได้แก่ความเป็นจริงตามสภาวธรรมล้วนๆ
    ปฏิเสธความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคลออกไปหมดสิ้น เรียกว่า ปรมัตถสัจจะ

    ธรรมชาติอันเป็นของจริงแท้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
    ไม่มีใครสามารถทำให้เปลี่ยนแปลงได้
    แม้พ้นจากโลกแล้วก็ยังเป็นจริง เรียกว่า ปรมัตถธรรม

    ปรมัตถธรรม ได้แก่
    จิต เจตสิก รูป นิพพาน
    คือ ธรรมชาติทั้ง ๔ ประการ

    รวมแล้วก็คือ รูปธรรมและนามธรรม
    อันเป็นอนัตตา คือเป็นเพียงธรรมชาติ
    ที่ไม่ใช่ตัวตน

    จิต คือ ตัวรู้ (ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์)
    คุณลักษณะของจิต ได้แก่อะไรบ้าง เราจะต้องศึกษา เพราะว่าเราต่างคนต่างรักชีวิตตัวเอง

    ถ้าไม่รู้อุปกรณ์ในชีวิตของตัวเองทุกชิ้นแล้ว
    จะไม่สามารถแก้ไขมันได้ถูก โดยเฉพาะไม่รู้จักจิต
    เราต้องเรียนรู้ว่าคุณลักษณะของจิตมีอะไรบ้าง

    คุณลักษณะของจิต ก็คือ

    ๑.มีการับรู้อารมณ์ (เป็นลักษณะ)
    ๒.มีการเป็นประธานในธรรมทั้งปวง (เป็นกิจ)
    ๓.มีการเกิด การดับ สืบต่อกันไปไม่ขาดสาย (เป็นผล)

    จิตรู้อารมณ์ผ่านทางทวารทั้ง ๖ คือ
    ทางตามีไว้สำหรับเห็น
    ทางหูมีไว้สำหรับได้ยิน
    ทางจมูกมีไว้สำหรับได้กลิ่น
    ทางลิ้นมีไว้สำหรับรู้รส
    ทางสัมผัสมีไว้สำหรับรู้กระทบ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
    ทางใจมีไว้สำหรับนึกคิด กับรับรู้ธรรมารมณ์ต่างๆ

    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะเป็นทวารให้จิตรับรู้อารมณ์
    เช่น

    เวลาผ่านทางตาก็เกิดการเห็นรูป
    จิตทำหน้าที่ผ่านทางหูก็เกิดการได้ยินเสียง
    จิตทำหน้าที่ผ่านจมูกก็เกิดการได้กลิ่นต่างๆ มีกลิ่นหอม กลิ่นเหม็น
    จิตทำหน้าที่ผ่านทางลิ้นก็ได้รับรู้รสต่างๆ เปรี้ยว หวาน มน เค็ม เผ็ด จืด
    จิตทำหน้าที่สัมผัสทางกาย รับรู้อารมณ์เช่น เมื่อกระทบอากาศร้อน อากาศเย็น กระทบกับวัตถุที่อ่อน หรือแข็ง
    จิตทำหน้าที่ผ่านทางใจ รับรู้ธรรมารมณ์ ทำให้นึกคิดออกมาได้ เป็นดี เป็นชั่วต่างๆ

    เพราะฉะนั้น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ ทวารทั้ง ๖ เป็นทางผ่านของจิต

    เพื่อรับรู้อารมณ์ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ นึกคิดนั่นเอง
    สักแต่ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

    อำนาจของจิตนอกจากรู้อารมณ์แล้ว
    ยังอาจทำให้สัตว์ทั้งหลาย (ทั้งสัตว์ประเสริฐและสัตว์เดรัจฉาน)
    วิจิตรด้วยการกระทำให้เกิดความเป็นไปต่างๆ

    วัตถุทั้งหลายที่แปลก มหัศจรรย์ มีทั้งสวยงาม หรือ น่าสยดสยอง
    เช่น ลูกระเบิด เป็นสิ่งที่มีคุณภาพมากก็มี มีอันตรายมากก็มี

    สิ่งเหล่านี้สำเร็จได้ด้วยจิตของมนุษย์ที่คิดค้นขึ้น
    สรรพสิ่งทั้งหลายจึงเกิดขึ้นมาภายหลังจิต

    จิตวิจิตรด้วยการกระทำ
    วิจิตรด้วยความเป็นไปต่างๆ
    วิจิตรด้วยการสั่งสมกรรม กิเลสต่างๆ
    เป็นเหตุให้เกิดการกระทำทุจริตกรรม สุจริตกรรม
    ยังผลให้เป็นเหตุนำไปเกิดในทุคติภูมิ สุคติภูมิ

    ถ้านับโดยสภาวธรรม จิตมีหน้าที่รู้อารมณ์โดยทวาร
    แห่งการรับอารมณ์ทั้ง ๖

    ถ้านับโดยประเภทของจิตก็มี ๘๙ หรือ ๑๒๑ โดยพิสดาร

    สรุปเนื้อความของจิตก็คือ

    ขณะที่จิตเห็นสีต่างๆ เช่น สีน้ำเงิน การเห็นนั้นไม่ได้เกิดจากตาของเรา ตาเป็นเพียงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติที่เป็นของมีจริง

    ธรรมชาติที่ทำให้เห็นได้นั้นคือ จิต

    คนตายที่ลืมตา ตาค้างอยู่ เราเอาสีไปให้ดูก็ไม่เห็น เพราะไม่มีจิตมาทำงาน การเห็นจึงเกิดขึ้นไม่ได้

    เมื่อเสียงกระทบหู เสียงก็ไม่ใช่จิต เพราะเสียงกับห
    ไม่รู้อะไรเลย แต่ธรรมชาติที่ได้ยินเสียง รู้ในเสียงได้นั้นคือ จิต

    ฉะนั้น การศึกษาเรื่องจิตจึงมีประโยชน์มาก เราจะได้เข้าใจว่า อะไรเป็นของจริงเทียม

    จิตปรมัตถ์ เป็นธรรมชาติที่รู้สิ่งต่างๆ ได้ เป็นธรรมชาติที่มีจริงเป็นพระอภิธรรมคือ ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ และก็เป็นอนัตตาด้วย คือ ไม่มีตัวตน ไม่อยู่ในความบังคับบัญชาของใคร ไม่อยู่ในอำนาจของผู้ใดทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติที่เป็นไปตามเหตุและปัจจัย

    เพราะจิตเข้าไปทำงานร่วมกับปัจจัย คือ ประสาทตา จึงเกิดการเห็น ไม่มีใครบังคับว่าเมื่อมีตาแล้วจิตต้องทำงานร่วม มันเป็นปัจจัยถึงกันเอง

    มีหู หูเป็นปัจจัย แต่จิตเข้าไปร่วมทำงานจึงเกิดการได้ยิน นี่คือเรื่องของจิต
    ถ้าเราไม่เข้าใจเรื่องจิต เรามีตา บอกว่าถ้าตาบอดจึงไม่เห็น จริงหรือเปล่า

    พูดผิดสภาวธรรม ความจริงคือขาดปัจจัยในการทำงานเป็นประตูเท่านั้น
    ปัจจัยนั้นเสื่อม ตัวที่จะสั่งงานนั้นไม่มีประตูที่จะผ่าน คนตาบอดจึงไม่เห็น

    จิตของเรามี ๖ ประเภท คือ

    ๑. ประเภทที่เกิดขึ้นทางตา เรียกว่า จักขุวิญญาณ
    ๒. ประเภทที่เกิดขึ้นทางหู เรียกว่า โสตวิญญาณ
    ๓. ประเภทที่เกิดขึ้นทางจมูก เรียกว่า ฆานวิญญาณ
    ๔. ประเภทที่เกิดขึ้นทางลิ้น เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
    ๕. ประเภทที่เกิดขึ้นทางผิวกาย เป็นความรู้แห่งการสัมผัสทางผิวกาย เรียกว่า กายวิญญาณ
    ๖. ประเภทที่เกิดขึ้นทางใจ คือ ความรู้สึกนึกคิด เรียกว่า มโนวิญญาณ

    จิตต้องทำงานเกียวเนื่องกับอะไรบ้าง

    จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์เท่านั้น

    จิตทำหน้าที่เห็น
    ได้ยิน
    ได้กลิ่น
    ได้รู้รส
    ได้รับรู้การสัมผัส
    ได้รู้สึกนึกคิด

    แต่ธรรมชาติของปุถุชนที่มีกิเลสตัณหากันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะว่าจิตเกิดขึ้นเองตามลำพังไม่ได้

    ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมกับจิต
    มาคอยปรุงแต่งจิตให้เกิดความชอบชัง

    เมื่อจิตเกิดกับการเห็น เจตสิกก็ต้องเห็นด้วย
    จิตเกิดกับการได้ยิน เจตสิกก็ต้องได้ยินด้วย
    จิตเกิดกับการได้กลิ่น เจตสิกก็ต้องได้กลิ่นด้วย
    จิตเกิดกับการได้รู้รส เจตสิกก็ต้องรู้รสด้วย
    จิตเกิดกับการรับรู้สึกสัมผัส เจตสิกก็ต้องได้รู้สึกสัมผัสด้วย
    จิตเกิดขึ้นกับการนึกคิด เจตสิกก็ต้อนึกคิดด้วย
    และปรุงแต่งให้ชอบใจ ไม่ชอบใจ

    เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิตด้วยลักษณะ ๔ ประการ

    ๑. เกิดพร้อมกับจิต
    ๒. ดับพร้อมกับจิต
    ๓. มีอารมณ์เดียวกับจิต
    ๔. มีที่อาศัยแห่งเดียวกับจิต
     
  13. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ก้าวแรกวิปัสสนา ๓

    เมื่อจิตทำหน้าที่ผ่านทางตา เกิดการเห็น
    เจตสิกก็ต้องทำงานด้วย เกิดขึ้นด้วย และดับไปด้วย
    มีอารมณ์เดียวกันคือทำหน้าที่เห็น อาศัยประสาทตาด้วยกัน

    คุณสมบัติทั่วไปของเจตสิกมี ๔ ประการคือ

    ๑. มีการอิงอาศัยจิตเกิด เป็นลักษณะ
    ๒. มีการเกิดร่วมกับจิต เป็นกิจ
    ๓. มีการรับอารมณ์เดียวกับจิต เป็นผล
    ๔. มีการเกิดแห่งจิต เป็นเหตุใกล้ ไกล

    เจตสิกมีจำนวน ๕๒ ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว

    เมื่อมีการเห็นเกิดขึ้น

    เช่น เห็นผู้หญิง การเห็นคือการทำงานของจิต

    แต่ที่รู้ว่าเป็นผู้หญิงเป็นการงานของเจตสิก

    คือ สัญญาเจตสิกเข้ามาปรุงแต่ง จำได้หมายรู้ เมื่อเห็นแล้ว ใครเห็นแล้วเฉยๆ บ้าง ต้องมีความรู้สึกชอบและไม่ชอบเกิดขึ้นตามมา ความรู้สึกชอบก็เพราะโลภเจตสิกเข้าปรุงแต่ง ถ้าไม่ชอบก็มีโทสเจตสิกเข้ามาปรุงแต่ง ความรู้สึกฝ่ายชังก็เกิดขึ้น

    รูป ชีวิตที่แท้จริงนั้นประกอบขึ้นด้วย รูปธรรมและนามธรรม

    จิตกับเจตสิกเป็นฝ่ายนามธรรม

    ส่วนรูปธรรมมีอยู่ ๒๘ รูป

    แกนสำคัญของรูปธรรมก็คือ มหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุทั้ง ๔ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ทำให้รองรับลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรูปทั้ง ๔ นี้ต่อไปได้

    และเป็นรูปอันหลอกลวงดุจปีศาจ ทำให้เราไม่เห็นความจริงว่า
    ขณะที่เรายกมือขึ้นมา เราเห็นแต่มือ ที่แท้จริงนั้น ส่วนที่แข็งของมือคือธาตุดิน ส่วนที่ทำให้เนื้อหนังมังสาเกาะกุมกันอยู่ได้ ไม่กระจัดกระจายคือ ธาตุน้ำ ส่วนที่ทำให้เผาผลาญจนเกิดพลังงานความร้อน ความอบอุ่นคือธาตุไฟ ส่วนที่ทำให้เคลื่อนไหวได้ก็คือธาตุลม

    จะเห็นได้ว่าแม้เพียงแต่เรายกมือขึ้นเท่านั้นมันก็หลอก ลวง
    เพราะเราไม่รู้ทันความเป็นจริงว่ามันคือ มหาภูตรูป

    นอกจามหาภูตรูป ๔ แล้ว ยังมีรูปอื่นๆ อีกถึง ๒๔ รูป
    เป็นภาพลวงตา ลวงใจ ทำไมจึงมีความสำคัญมาก

    คำว่า “มหาภูต” หมายถึงการคลี่คลายขยายตัวได้อย่างกว้างขวาง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ

    มันขยายตัวได้เองอย่างกว้างขวาง นั่นคือรูปหลัก

    ธาตุแห่งการแผ่ขยาย คือ ธาตุดิน
    รูปหลักที่เป็นพื้นฐานของรูปทั้งหมด
    คนเราต้องมีกระดูกเป็นโครงไว้ก่อน
    จึงจะทำให้ส่วนเนื้อได้อาศัยก่อเกิด
    สร้างเนื้อขึ้นมาได้ ความแข็งหรือแข็งกว่า ความทื่อหรือทื่อกว่า ความอ่อนหรืออ่อนตัวกว่าเรียกว่า ธาตุดิน เพราะว่าจากแข็งน้อยมันมาจากแข็งมาก เนื้อคือธาตุดินที่แข็งน้อย กระดูกเป็นธาตุดินที่แข็งมาก

    ธาตุอันเป็นแรงดึงดูด คือ ธาตุน้ำ เป็นแรงดึงดูดทำให้รูปธรรมก่อตัวขึ้นเป็นหมู่ได้ แรงดึงดูดทำให้ส่วนต่างๆ ไม่หลุดจากกัน

    ธาตุแห่งการเคลื่อนไหว คือ ธาตุลม ทำให้เกิดการพยุงเอาไว้ ทรงตัวได้ หมุนให้เกิดการรับน้ำหนักต่างๆไว้ได้ เราจึงยืนตรงอยู่ได้ ไม่ล้ม

    ธาตุแห่งความร้อน คือ ธาตุไฟ อำนาจแห่งการเผาไหม้ คือการบ่มรูปธรรม
    อำนาจของการบ่มรูปธรรมมี ๒ อย่าง คือ บ่มด้วยคุณสมบัติแห่งความร้อน กับ ความเย็น เย็นก็คือร้อนน้อย เราเรียกว่าธาตุไฟทั้งสิ้น

    นิพพาน คือความหลุดพ้นจากสังสารวัฏ
    ได้แก่การเวียนว่ายตายเกิด มี ๑ เท่านั้น

    นิพพาน หมายถึงอารมณ์อันบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส
    คำว่า “นิพพาน” แปลว่า ดับโดยไม่มีเชื้อเหลือ
    เรียกว่า “ พระนิพพาน” เพราะคำว่า “พระ” เป็นคำยกย่องควรแก่การบูชา

    ที่ว่าดับนั้น ดับอะไร

    ก็ได้แก่.. ดับไฟ ๒ ประเภท คือ

    ประเภทที่ ๑
    คือ ดับไฟกิเลส ได้แก่

    ความโลภ
    ความโกรธ
    ความหลง

    คำว่า “ไฟกิเลส” หมายถึง ความชั่วในจิตใจ ทำให้จิตใจเกิดความเศร้าหมอง ขุ่นมัว หรือมีมลทิน

    ประเภทที่ ๒

    คือ ดับไฟทุกข์ อันได้แก่

    ความเกิด
    ความแก่
    ความตาย
    ความเศร้าโศก
    ความระทมตรอมตรม
    ความไม่สบายกาย
    ความไม่บายใจ
    ความคับแค้นใจ ฯลฯ

    คำว่า “ไฟทุกข์” หมายถึง ความเดือดร้อนต่างๆ ทั้งแบบซ่อนเร้นแบบเปิดเผย

    ถ้าดับไฟประเภทแรกไฟ หรือไฟกิเลสนั่นเอง
    ก็จะส่งผลให้เชื้อของไฟทุกข์นั้นมอดหมดโดยไม่เหลือเชื้อต่อไป

    ถ้าจะพูดให้สั้นและเข้าใจง่ายขึ้น

    นิพพานก็คือดับทุกข์ดับความเดือดร้อนทุกอย่างให้สิ้นสุดโดยไม่เหลือ

    ใครบ้างที่ไม่ต้องการดับความทุกข์ความเดือดร้อน

    ก็ต้องตอบว่า ทุกคนต้องการดับความทุกข์ ความเดือดร้อนกันทั้งนั้น อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ในการหาอาหาร หาที่อยู่อาศัย หรือหาความสุข ความต้องการดังกล่าวล้วนเป็นไปเพื่อขจัดปัดเป่าความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งสิ้น

    พระนิพพานจึงเป็นสิ่งที่มีชีวิตต้องการ
    แต่ที่ไม่พบก็เพราะไม่ทำให้แจ้ง

    ถึงความดิ้นรนของตัวเองให้ถูกต้องว่า
    ดิ้นรนไปเพื่ออะไร
    ทำไปทำไม

    ลำพังแต่ความต้องการอย่างเดียว
    ยังไม่พอที่จะดับความทุกข์ ความเดือดร้อนได้
    จะต้องศึกษาให้รู้ ให้เข้าใจ แล้วจะได้หาทางดับให้ถูกวิธี
    วิธีดับความทุกข์ ความเดือดร้อนที่ถูกต้อง

    ทางพระพุทธศาสนา คือ
    ต้องรู้ว่าความทุกข์ ความเดือดร้อนคืออะไร

    แล้วก็ดับที่ต้นเหตุ
    ไม่ใช่ดับที่ปลายเหตุ
    การดับความทุกข์
    ความเดือดร้อนนี้
    เรียกว่า หลักอริยสัจ

    เรื่องของพระนิพพานไม่ใช่ของสูงเกินไปที่ใครจะทำไม่ได้
    เพราะเป็นสิ่งที่ทุกชีวิตต้องการกันอยู่แล้ว
    โดยธรรมชาติแต่ถูกโมหะซึ่งเป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งปิดบังไว้

    อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    ๑. ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ว่า การเกิดเป็นทุกข์อันแท้จริง เพราะการเกิดทำให้พ่วงเอาทุกข์อย่างอื่นๆ ติดตามมาด้วย มีการแก่ การตาย และทุกข์จรต่างๆ

    ๒. สมุทัย เหตุที่ทำให้ทุกข์เกิด คือ ตัณหา ได้แก่ ความทะยานอยาก ทำให้เกิดต่อไป ไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็นสิ่งที่ควรละ

    ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ เรียกเต็มๆ ว่า ทุกขนิโรธ แปลว่า ดับทุกข์โดยไม่เหลือ จึงเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง

    ๔. มรรค ทางดำเนินเพื่อความพ้นทุกข์ เป็นส่วนปฏิบัติเพื่อละกิเลส จึงเป็นทางที่ควรดำเนิน

    ข้อปฏิบัติที่จะทำให้ถึงซึ่งพระนิพพานนี้
    ไม่มีใครสามารถค้นพบได้เองเลย
    ต้องอาศัยพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

    สติปัฏฐาน ๔ คือขุมทรัพย์อันประเสริฐสุด
    ที่จะพาให้ประสบอมตะสุขซึ่งเป็นความสุขที่ไม่รู้จักตาย
    ขุมทรัพย์อันประเสริฐนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงมอบไว้ให้เป็น

    มรดกธรรมแก่พุทธบริษัททั้งหลาย
    เพื่อจะได้เป็นเครื่องนำทางไปสู่ความพ้นทุกข์ได้

    ปัจจัยอันเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เดินตามรอยพระพุทธองค์
    ไปถึงจุดมุ่งหมาย คือ ที่สุดแห่งทุกข์ ได้นั้น คือ

    ๑. ศรัทธา คือ ความเชื่อในพระปัญญา ความตรัสรู้ของพระพุทธองค์ที่รงนำมาสั่งสอน

    ๒. วิริยะ คือ ความเพียรที่จะศึกษาและปฏิบัติด้วยจิตใจอันมั่นคง โดยมีศรัทธาเป็นองค์ประกอบในการทำความเพียรนั้นด้วย

    ๓. สติ คือ การระลึกอยู่ในธรรมดาตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่ประกอบด้วยความเพียรและศรัทธา

    ๔. สมาธิ ความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ของกุศลต่างๆ ที่ประกอบด้วยศรัทธา ความเพียรและสติ

    ๕. ปัญญา คือ คามรู้ธรรมตามความเป็นจริง พร้อมด้วยเหตุผลตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์

    หลักปฏิบัติเพื่อขัดเกลา แก้ไข และอบรมปัญญาด้วย
    เรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา

    ศีล ได้แก่ การควบคุมกาย
    และวาจาให้มีความสงบ
    ไม่มีอกุศลเกิดกับกายและวาจา

    สมาธิ ได้แก่ การกระทำจิตใจ
    ให้สงบจากความซัดส่าย ฟุ้งซ่าน
    มีอารมณ์เป็นหนึ่งต่อหน้าที่

    ปัญญา ได้แก่ ความรู้ชัด รู้แจ้ง
    รู้รอบในธรรมชาติ ที่ เกิด-ดับ
    ธรรมชาติที่มีความผันแปร ไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์และไม่ตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร

    เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า กิเลส ตัณหานั้น สภาวะของมันใหญ่ๆ มีอะไรบ้าง
    มีความโลภ ความโกรธ ความหลง

    ลักษณะของความโลภ หรือโลภะ
    ก็คือ ความต้องการ ความอยากได้

    ทำไมจึงเป็นทุกข์ เมื่อโลภะเข้าปรุงแต่งจิตแล้ว
    ทำให้ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
    ต้องมีการตะเกียกตะกาย ดิ้นรนแสวงหา
    เพื่อสนองตอบในสิ่งเร้าขึ้นมา
    สิ่งที่มาเร้าคือ โลภะ จึงเกิดมีการแสดงพฤติกรรมเป็นไป
    ด้วยความต้องการอยู่เสมอ

    ชีวิตจึงเปรียบเหมือนชะลอมที่ตักน้ำไม่รู้จักเต็ม
    ไม่ว่าจะเป็นคนร่ำรวยขนาดใดเมื่อมีโลภะปรุงแต่งจิตมากแล้ว ชีวิตก็ยังขาดแคลนอยู่ตราบนั้น

    เพราะว่าไม่รู้จักพอ

    การที่ไม่รู้จักพอเท่ากับเรายังไม่มีอะไรเลย
    จึงทำให้จิตเป็นทุกข์ ความอยากได้ที่เกิดขึ้นมาแล้ว
    ไม่สมความปรารถนาตามความอยาก ความทุกข์ก็ยิ่งมากขึ้น

    ลักษณะของความโกรธ หรือ โทสะ
    ก็คือความเดือดดาล พลุ่งพล่านอยู่ภายในจิตใจ
    เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ไม่สมความปรารถนา
    สิ่งที่ไม่สมความปรารถนาในความต้องการ

    เช่น อยากให้เขาพูดดีด้วย แต่เขาพูดไม่ดี
    อยากให้เขาเดินตามฉัน ไปกับฉัน
    แต่เขาไม่ไป จึงเกิดความโกรธขึ้นมาปรุงแต่งจิต
    แล้ว ความเดือดดาลพลุ่งพล่านก็เกิดขึ้น

    สภาวะของโทสะจึงเปรียบเหมือนระเบิดทำลาย
    เมื่อเกิดขึ้นใจจิตใจก็ทำลายตัวเองก่อนแล้ว
    จึงทำลายผู้อื่นรอบข้างจนหมดอำนาจ
    ฉะนั้น ตัวเองเป็นผู้ได้รับที่แท้จริง ไม่ใช่ที่เขา

    ลักษณะของความหลง หรือโมหะ เปรียบเสมือนความมืด
    เมื่อมีความมืดเข้ามาปิดบังความจริง
    เราก็เหมือน มืดบอดต่อการรับรู้จริง
    เมื่อไม่ได้รับรู้ความจริงก็เปรียบเสมือนว่าเราไม่รู้จักทางเดิน
    ไม่รู้ว่าเริ่มต้นแล้วจะไปจบลงที่ตรงไหน เหมือนกับเดินเข้าป่านั่นเอง หาทางออกไม่ได้ ชีวิตจึงมีการคลุกเคล้าไปด้วยความมืดบอด เป็นทุกข์

    เมื่อไม่พบกับความจริงแล้วก็ต้องมีการแสวงหาต่อไป
    ชีวิตจึงเป็นทุกข์

    กิเลส คือ สิ่งที่ทำให้จิตทรุดโทรม
    และอยู่ในสภาพเป็นทุกข์ตลอดเวลา

    สภาวะของจิตนั้นเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์เฉยๆ

    แต่ถูกตัวปรุงแต่งจิต คือ กิเลส ตัณหา ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    เข้ามาปรุงแต่งจิต

    ทำให้จิตนั้นมีความต้องการ มีความเดือดดาล เคียดแค้น ฟุ้งซ่านรำคาญใจ จิตจึงไม่สงบตลอดเวลา

    จึงต้องฝึกจิตเพื่อให้จิตแข็งกล้า เพื่ออะไร

    เพื่อให้พ้นจากความทุกข์

    การฝึกจิตก็ต้องให้จิตรู้จักเสียก่อนว่าอะไรคือกิเลส
    อะไร คือสิ่งที่หมดจดจากกิเลส

    ถ้าไม่รู้จักกิเลสแล้ว

    จะให้จิตนั้นหมดจากกิเลสไม่ได้

    ตัวอย่างง่ายๆ ที่เป็นกิเลส ความอยากได้ อยากนอน อยากนั่ง อยากยืน อยากเดิน อยากไป อยากเห็น อยากได้ยิน อยากได้กลิ่น อยากได้รู้รส อยากได้สัมผัส กิเลสทั้งนั้น


    ถ้าสอนเด็กที่ไร้เดียงสาให้รู้ว่า “นี่ถ่านไฟ อย่าจับ มันร้อน”

    ส่วนเด็กอีกคนหนึ่งที่อายุใกล้เคียงกัน แต่ไม่เคยสอนให้รู้จักถ่านไฟเลย

    เด็กที่ไม่เคยมีใครสอน ไม่รู้จักว่าถ่านไฟร้อนก็หยิบ แม้จะรู้สึกร้อนก็ยังไม่รู้จักปล่อยจากมือ

    ส่วนเด็กที่เคยได้รับคำสอนแล้ว รู้จักแล้วก็ไม่กล้าหยิบ ฉันใดก็ฉันนั้น

    ผู้ที่รู้จักกิเลสว่ามันให้ผลอย่างไร จึงค่อยๆ เกิดความกลัวขึ้นมา ตรงนี้แหละเป็นจุดเริ่มต้น

    เมื่อรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่จะทำให้เกิดความเศร้าหมองของจิตแล้ว
    ค่อยๆหลีกมา ไม่มีใครเลิกได้เลย
    ต้องหลีก แล้วค่อยละ
    จึงจะลดปริมาณบางอย่างได้ แล้วเลิกได้ทีหลัง

    เรื่องนี้อ่านเทียบกับหัวข้อ เวทนา ๑๐๘ ในกระทู้
    ธรรมะ ฉบับย่อ เพิ่มความเข้าใจมากขึ้น

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน ขอให้ท่านมีปัญญารู้เห็นตามจริงด้วยเถิด :cool:


    ที่มา หนังสือของมูลนิธิ อภิธรรม มูลนิธิ เรื่อง ก้าวแรกวิปัสสนา
    http://www.abhidhamonline.org/Ajan/book.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2011
  14. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ปั้งไฟ พญานาคา

    ตอน ปั้งไฟ พญานาคา ออกพรรษา
    เพลง ปั้งไฟ พญานาคา
    เรื่อง ปั้งไฟ พญานาค
    หนังเกี่ยว ปั้งไฟ พญานาค
    ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ สนุกดี

    แนะนำชมได้ที่นี้ ปั้งไฟพญานาคไทย-ลาว - YouTube

    พญานาค ๔ ตระกูล
    พญานาค - YouTube

    ขอบคุณที่แวะมาชม สาธุ อนุโมทนามิ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2011
  15. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ตำนานพระพุทธเจ้า

    ตอน ตำนานพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ฉบับ ญี่ปุ่น พูดไทย

    พระพุทธเจ้า ญี่ปุ่น - YouTube

    ขอบคุณที่แวะมาชม อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  16. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ศีล ๕ ที่ข้าพเจ้าเคยทำผิด

    ตอน ศีล ๕ ที่ข้าพเจ้าเคยทำผิด

    ๑. ทำลายชีวิต
    ฆ่ายุงและแมลงต่าง ๆ มด โดยการฉีดย่าฆ่าแมลง ตอนเด็กและวัยรุ่น
    ตกปลาตอนน้ำท่วมมาทำอาหาร ตอนเด็กและวัยรุ่น
    ช่วยสนับสนุนคนอื่นฆ่าไก่บ้าน ตอนเด็กและวัยรุ่น

    ๒. ถือเอาของที่เขามิได้ให้
    หยิบเงินพ่อแม่โดยไม่บอก ตอนเด็กและวัยรุ่น
    ยืมเงินคนอื่นไม่ใช้คืน ตอนเด็กและวัยรุ่น วัยทำงาน

    ๓. ประพฤติผิดในกาม
    รักเผื่อเลือก รักง่าย รักหลายใจ ไม่ซื่อสัตย์ ตอนเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน

    ๔. พูดเท็จ
    พูดไม่จริง บ้างครั้งการพูดจริง อาจทำลายน้ำใจคนอื่น ก็เลือกพูดไม่จริง

    ๕. ดื่มของเมา สุรา ดื่มเหล้า ตอนเด็กและวัยรุ่น วัยทำงาน เข้าสังคม

    รู้แล้วว่ากรรมมีจริงเวลาตีกลับ

    ๑. เจ็บป่วยง่ายในบ้างครั้ง

    ๒. โดนคนอื่นยืมเงินแล้วไม่ใช้
    ใช้หนี้แทนคนอื่นบ่อย ๆ
    เงินหมดกระเป๋าบ่อย ๆ
    ของหายบ้างครั้ง

    ๓.อกหักบ้างเวลาเรารักจริง หาคนจริงใจยาก

    ๔.เจอคนอื่นโกหกบ้าง หลอกลวงบ้าง

    ๕.ขี้ลืมในบ้างครั้ง

    สำนึกผิดแล้ว กับบาปกรรมทั้งหมด
    ขอขมาและ อโหสิกรรมด้วย
    ตอนนี้พยายามทำสิ่งตรงข้ามที่เคยทำหมด

    ๑.ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยวัว ควาย
    ให้ทานชีวิต
    กินเนื้อสัตว์น้อยลง กินผักมากขึ้น

    ๒.ทำบุญทำทานทุกบุญ
    เท่าที่ทำได้ ตักบาตร ทำผ้าป่า ทำกฐิน

    ๓.ซื่อสัตย์ จริงใจ
    รักบอกรัก ชอบบอกชอบ
    ไม่รักบอกไม่รัก ไม่ชอบบอกไม่ชอบ

    ๔.พยายามพูดให้ตรงกับใจ
    ถ้าคิดว่าพูดแล้วทำให้เสียใจ
    เลือกเงียบ ไม่พูด พูดน้อยลง

    ๕.เลิกดื่มของเมา
    ทุกชนิด เลิกเข้าสังคม
    ให้เวลาการปฏิบัติธรรมมากขึ้น เข้าหาธรรมะ มากขึ้น

    ขอบคุณธรรมะ
    ที่ทำให้รู้สำนึกบาปกรรมมีจริง
    จะพยายามทำกรรมดีต่อไป
    วันนี้มาขอสารภาพบาปกรรม
    เนื่องด้วยรู้สำนึกแล้วบาปกรรมมีจริง
    และจะได้ไม่ติดค้างในใจต่อไป
    วัดใจตัวเองด้วย กล้ายอมรับสิ่งที่ทำผิดไป

    ป่วยมา ๔ วันแล้ว เมื่อป่วยแล้วรู้ตัวเลย
    อะไรในชีวิตไม่สำคัญเลย เมื่อเราป่วย
    สุขภาพกาย และ สุขภาพจิตดีเท่านั้นที่เราต้องการ


    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน :cool:
    ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดี
     
  17. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ผลแห่งกรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

    ตอน ผลแห่งกรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

    เรื่องชีวิตและกรรม มีความสลับซับซ้อนมากดังพรรณนามา คนที่มองชีวิตและกรรมในสายสั้น จึงไม่อาจเข้าใจชีวิตและกรรมอย่างแจ่มแจ้งโดยตลอดได้

    แม้ผู้ได้ญาณระลึกชาติหนหลังได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และได้ญาณรู้อนาคต (อนาคตตังสญาณ) แต่ได้ระยะสั้นเพียงชาติ ๒ ชาติ ก็ยังหลงเข้าใจผิดได้

    เพราะเห็นผู้ประกอบกรรมชั่วในปัจจุบันบางคนตายแล้วไปบังเกิดในสวรรค์ เห็นผู้ทำกรรมดีบางคนตายแล้วเกิดในนรก เขาไม่มีญาณที่ไกลกว่านั้น จึงไม่อาจเห็นกรรมและชีวิตตลอดสายได้

    ส่วนผู้มีญาณทั้งในอดีตและอนาคตไม่มีที่สิ้นสุด เช่น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถเห็นกรรมและชีวิตได้ตลอดสาย ทรงสามารถชี้ได้ว่า ผลอย่างนี้ๆ มาจากกรรมอย่างใด

    มีตัวอย่างแห่งกรรมมากมายที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า บุคคลนั้นๆ ได้ประสบผลดีผลชั่วอย่างนั้นๆ อันแสดงถึงผลกรรมที่สามารถให้ผลข้ามภพข้ามชาติ จะขอนำบางเรื่องมาประกอบพิจารณาในที่นี้

    ๑. ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อจักขุบาล ท่านทำความเพียรเพื่อบรรลุมรรคผลจนตาบอดทั้ง ๒ ข้าง พร้อมกับสำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นผลของกรรมที่เมื่อชาติหนึ่ง พระจักขุบาลเป็นหมอรักษาโรคตา ประกอบยาให้คนป่วยตาบอดโดยเจตนา เพราะคนป่วยทำทีบิดพลิ้วจะไม่ให้ค่ารักษา เรื่องนี้ปรากฏในอรรถกถาธรรมบทภาค ๑ เรื่องจักขุบาล

    ๒. ชายคนหนึ่ง ชื่อจุนทะ มีอาชีพทางฆ่าหมูขาย คราวหนึ่งป่วยหนัก ลงคลาน ๔ ขาร้องครวญครางเสียงเหมือนหมู ทุกข์ทรมานอยู่หลายวันจึงตาย เรื่องนี้ปรากฎในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๑ เรื่องจุนทสูกริก

    ๓. ชายคนหนึ่ง มีอาชีพทางฆ่าโคขายเนื้อ วันหนึ่งเนื้อที่เก็บไว้เพื่อบริโภคเอง เพื่อนมาเอาไปเสียโดยถือวิสาสะ จึงถือมีดลงไปตัดลิ้นโคที่อยู่หลังบ้านมาให้ภรรยาทำเป็นอาหาร ขณะที่เขากำลังบริโภคอาหารอยู่นั้นลิ้นของเขาได้ขาดหล่นลงมา เขาคลาน ๔ ขา เหมือนโค ร้องครวญครางทุกข์ทรมานแสนสาหัสและสิ้นชีพพร้อมกับโคหลังบ้าน เรื่องนี้ปรากฏในอรรถกถาธรรมบทภาค ๗ เรื่องบุตรของนายโคฆาต

    ๔. ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อติสสะ เป็นแผลเปื่อยพุพองรักษาไม่หายพระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ไปช่วยดูแลให้อาบน้ำอุ่น แสดงธรรมให้ฟังพระติสสะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกับนิพพานในวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าที่เป็นแผลพุพองนั้นเพราะชาติก่อน พระติสสะเป็นพรานนก จับนกขายเป็นอาหาร ที่เหลือก็หักปีกหักขาไว้เพื่อไม่ให้มันบินหนี เรื่องนี้ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๒ เรื่องปูติคัตตติสสะ

    ๕. พระนางโรหิณี พระขณิษฐาของพระอนุรุทพระญาติของพระพุทธเจ้า ทรงเป็นโรคผิวหนังอย่างแรง ทรงละอายจนไม่ปรารถนาพบผู้ใด เมื่อพระอนุรุทเถระมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์ พวกพระญาติต่างก็มาชุมนุมกัน เว้นแต่พระนางโรหิณี พระอนุรุทจึงถามหา ทราบความว่าพระนางเป็นโรคผิวหนัง พระเถระให้เชิญพระนางออกมาแล้วทรงแนะนำให้ทำบุญโดยให้ขายเครื่องประดับต่างๆ เท่าที่มีอยู่ แล้วนำทรัพย์มาสร้างศาลาโรงฉัน ท่านขอแรงพระญาติที่เป็นชาย ให้ช่วยกันทำโรงฉัน พระนางโรหิณีทรงเชื่อ เมื่อสร้างโรงฉัน ๒ ชั้นเสร็จแล้ว ทรงปัดกวาดเอง ทรงตั้งน้ำใช้น้ำฉันสำหรับพระภิกษุสงฆ์เอง ถวายขาทนียะโภชนียาหารแก่ภิกษุสงฆ์เป็นประจำทุกวัน โรคผิวหนังของพระนางค่อยๆ หายไปทีละน้อยจนเกลี้ยงเกลา โรคนี้เป็นโรคที่เกิดแต่กรรม ต้องเอาบุญมาช่วยรักษา ลดอิทธิพลแห่งกรรมจนไม่มีอานุภาพในการให้ผลอีกต่อไปเหมือนคนกินยาเข้าไปปราบเชื้อโรค วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จมาเสวยที่โรงฉันของพระนางโรหิณี แล้วตรัสให้พระนางทราบว่าโรคนั้นเกิดขึ้นเพราะกรรมของพระนางเองในอดีตกาล พระนางโรหิณีเป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสีมีจิตริษยาหญิงนักฟ้อนคนหนึ่งของพระราชา ได้ทำเองด้วย ให้คนอื่นทำด้วย คือการเอาผลเต่าร้างหรือหมามุ้ยโรยลงบนสรีระของหญิงนักฟ้อนคนโปรดของพระราชา นอกจากนี้ยังให้บริวารเอาผงเต่าร้างไปโปรยบนที่นอนของหญิงนักฟ้อนคนนั้นอีกด้วย หญิงนักฟ้อนคันมาก เป็นผื่นพุพองขึ้นมา ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส นี่คือบุพพกรรมของพระนางโรหิณี พระพุทธเจ้าตรัสเตือนว่าพึงละความโกรธความถือตัวเสีย เรื่องนี้ ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ เรื่องพระนางโรหิณี

    ๖. ในอรรถกถาสาราณียธรรมสูตร ภาค ๓ หน้า ๑๑๐–๑๑๒ เล่าไว้ว่า ในพุทธกาลมีภิกษุรูปหนึ่ง มีนิสัยชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ได้ปัจจัยอะไรมาก็แบ่งปันแก่ภิกษุอื่นเสมอๆ ด้วยอานิสงส์นี้ ท่านกลายเป็นผู้มีโชคดีในเรื่องลาภอย่างประหลาด ในที่บางแห่ง ภิกษุอื่นไปบิณฑบาตไม่ได้อาหารอะไรเลย แต่พอภิกษุรูปนั้นไป ปรากฏว่ามีคนมีจิตคิดทำบุญใส่บาตรให้ท่านจนเต็ม ท่านได้นำอาหารเหล่านั้นมาแบ่งให้ภิกษุอื่นๆ จนหมด คราวหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินมีพระประสงค์จะถวายผ้าแก่พระทั้งวัดมีผ้าเนื้อดีที่สุด ๒ ผืน (คงจะเป็นผ้านุ่ง คือผ้าสบงผืนหนึ่ง ผ้าห่มคือจีวรผืนหนึ่ง) พระรูปนั้นทราบเข้าจึงพูดไว้ล่วงหน้าว่า ผ้าเนื้อดี ๒ ผืนนั้น จะต้องตกมาถึงท่านอย่างแน่นอน อำมาตย์ได้ทราบเรื่องนี้ จึงนำเรื่องไปทูลกระซิบพระราชา พระราชาเป็นผู้ถวายผ้าเอง ก็ทรงสังเกตผ้าที่วางซ้อนๆ กันอยู่ พอมาถึงลำดับภิกษุหนุ่มรูปนั้น ก็เป็นผ้าเนื้อดีทั้ง ๒ ผืน ทั้งอำมาตย์และพระราชาต่างมองหน้ากันเป็นเชิงประหลาดใจ เมื่อทำพิธีถวายผ้าเสร็จแล้ว พระราชาเสด็จเข้าไปหาภิกษุหนุ่มรูปนั้น ด้วยเข้าพระทัยว่าพระรูปนั้นเป็นพระอรหันต์มีญาณวิเศษอย่างแน่นอน จึงตรัสถามว่าพระคุณเจ้าได้บรรลุโลกุตรธรรมตั้งแต่เมื่อไร ภิกษุหนุ่มถวายพระพรว่ายังไม่ได้บรรลุอะไรเลย แต่ที่รู้ว่าผ้าเนื้อดีจะต้องตกแก่ตนนั้นก็เพราะท่านเป็นผู้บำเพ็ญสาราณียธรรมคือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อยู่เป็นนิตย์ ตั้งแต่เริ่มบำเพ็ญมาก็ได้ผลอย่างประหลาดอยู่เสมอ คืออะไรที่ดีที่สุด ถ้ามีการแจกกันโดยไม่เจาะจง สิ่งนั้นก็ต้องตกมาถึงท่าน พระราชาทรงชื่นชมยินดีและทรงอนุโมทนา

    ๗. ในคัมภีร์อปทาน (อันเป็นพระประวัติที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าถึงเรื่องในอดีตของพระองค์) พระไตรปิฎก เล่ม ๓๒ ตั้งแต่หน้า ๔๗๑พระองค์ได้ทรงเปิดเผยถึงอดีตกรรมของพระองค์ อันเป็นเหตุบันดาลให้เกิดผลแก่พระองค์ในปัจจุบันมากเรื่องด้วยกัน ขอนำมากล่าวเพียงบางเรื่องดังนี้

    ๗.๑ ชาติหนึ่ง พระองค์เป็นนักเลงชื่อปุนาสิ กล่าวใส่ความพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายพระองค์เลยแม้แต่น้อยผลของกรรมนั้นทำให้พระองค์ต้องตกนรกอยู่นาน ในพระชาติสุดท้ายถูกนางสุนทรีใส่ความว่าพระองค์ได้เสียกับนาง เป็นเรื่องอื้อฉาวมากเรื่องหนึ่งในพุทธกาล

    ๗.๒ ชาติหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ใส่ความสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสัพพาภิภู (พระนามของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ชื่อสาวก) สาวกนั้นชื่อนันทะ ด้วยผลกรรมนั้น พระองค์ต้องนกนรกอยู่นาน ในพระชาติสุดท้ายที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงถูกนางจิญจมาณวิกาใส่ความว่าได้เสียกับนางในพระคันธกุฎีจนนางมีครรภ์ เป็นเรื่องอื้อฉาวที่สุดในพุทธกาล

    ๗.๓ ชาติหนึ่ง พระองค์ทรงฆ่าน้องชายต่างมารดาเพราะอยากได้ทรัพย์เพียงผู้เดียว โดยผลักน้องชายลงซอกเขาเอาหินทุ่ม ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ในพระชาติสุดท้ายที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงถูกพระเทวทัตปองร้ายเอาศิลาทุ่ม แต่เพราะกรรมนั้นเบาบางมากแล้วจึงไม่ถูกอย่างจังถูกเพียงสะเก็ดเล็กน้อยที่นิ้วพระบาทเท่านั้น

    ข้อสังเกต

    ๑. กรณีนางโรหิณีที่ในอดีตชาติเคยประทุษร้ายผิวพรรณผู้อื่น และเมื่อผลของกรรมตามมาในชาติปัจจุบัน ทำให้นางเป็นโรคผิวหนัง ต่อมานางได้ใช้วิธีทำบุญกุศลเพื่อลดอิทธิพลของผลกรรมชั่วที่ตามมา จนต่อมาได้หายจากโรคผิวหนัง เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า คนเราสามารถสร้างกุศลกรรมเพื่อทำให้สิ่งที่ร้ายกลายเป็นดี หรือทำให้วิบากกรรมชั่วที่ตามมาสนองให้ทุเลาเบาบางลงไปได้ ไม่ใช่ว่าคนเราจะต้องยอมรับผลของบาปกรรมที่ทำไว้ในอดีตอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ อย่างที่มีการเชื่อกันผิด ๆ กันมาแต่อย่างใด

    ๒. ผลกรรมชั่วที่พระพุทธองค์เคยได้ประกอบไว้ในอดีตชาตินานแสนนาน เมื่อวิบาก (ผลกรรม) นั้นตามมาถึงในชาติที่พระพุทธองค์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านจะสังเกตได้ว่ามันกลายเป็นเพียงแค่เหตุปัจจัยที่ส่งผลสืบทอดมาเพื่อให้พระพุทธองค์ได้รับรู้ด้วยปัญญาและกรุณาเท่านั้นเอง และพระพุทธองค์ก็ทรงสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี นี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าผลกรรมชั่วในอดีตแม้จะเคยกระทำมาร้ายแรงเพียงใด แต่ถ้าชาวพุทธหมั่นฝึกฝนพัฒนาตนจนกลายเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ดังเช่นพระพุทธองค์แล้ว ผลของกรรมชั่วต่างๆ ก็ไม่สามารถจะทำอันตรายผู้นั้นได้เลย .


    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:

    ที่มา หนังสือของมูลนิธิ อภิธรรม มูลนิธิ เรื่อง ผลแห่งกรรม

    ˹ѧ
     
  18. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ประทีปธรรมประจำชีวิตของหลวงพ่อเสือ

    ตอน ประทีปธรรมประจำชีวิตของหลวงพ่อเสือ


    การให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน ย่อมไม่เดือดร้อนใจ
    การยอมรับฟัง ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเห็นด้วย
    การขอเพียงครั้งเดียว ทำลายความดีนับครั้งไม่ถ้วน
    การถือที่หนักที่สุดคือการถือตัว
    การชนะอารมณ์ตนเองเหนือการชนะทั้งปวง
    การถ่ายบาปของชาวพุทธ คือการถ่ายถอนความชั่วออกจากตนเอง
    การช่วยเหลือคนในบ้าน เหมือนทำบุญที่วัดคือวัดในบ้าน
    การทำความดีกลัวแล้วอย่าทำ เมื่อทำแล้วอย่ากลัว
    การมีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่นเป็นทุกข์ยิ่งนัก
    การบริจาคทานมีอยู่รอบๆ ตัว คือการให้อภัยทาน
    การฝึกจิตให้บริสุทธิ์ ก้าวแรกต้องฝึกหัดมองคนในแง่ดีให้ได้ก่อน
    การทำได้มีค่ากว่าการจำได้ โดยไม่ยอมลงมือทำ
    ขันติความอดทน เป็นยอดธรรมะสูงสุดในชีวิตการครองเรือน
    ขณะใดที่คิดว่าคนอื่นเลว ขณะนั้นเรายังไม่ใช่คนที่ดีจริง
    คนเก่งจริงคือคนที่พูดเป็นและนิ่งเป็น



    คนแปลกมหัศจรรย์คือคนที่รู้จักพอ

    คนทุกคนมีฤทธิ์ คือมีฤทธิ์ทำความดี มีฤทธิ์ทำความชั่ว อยู่ในตัวของตัวเอง
    คนนอกคอกคือคนรักอิสรเสรี
    คนผิดศีล คือคนผิดปกติธรรมดา

    คนพูดน้อยวาจาย่อมศักดิ์สิทธิ์

    คนที่ยอมรับผลของกรรม ย่อมไม่เดือดร้อนใจ
    คนทะเลาะกัน คนที่หยุดได้ก่อนคือผู้ชนะเด็ดขาด
    คนฉลาดแกล้งโง่ได้ แต่คนโง่แสดงความฉลาดไม่ได้
    คนจนมีสองอย่าง คือจนเพราะไม่มี กับจนเพราะไม่พอ
    คนที่ไม่เคยผิดหวัง ไม่มีในโลก

    ความสำเร็จของกิจการงานทุกอย่าง จุดเริ่มต้นอยู่ที่การลงมือทำ
    ความชั่วทำได้ไม่ทั่วไป ความดีทำได้ทุกเวลาทุกสถานที่ จึงควรทำความดีให้มากกว่าความชั่ว

    ความวุ่นวายสารพัดเรื่องจะไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่หยุดที่ตัวเอง
    ความสำคัญของชีวิต อยู่ที่การลิขิตตนเองให้เป็นคนดีมีคุณธรรม
    จงเสียสละอารมณ์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

    จงใช้เงินด้วยปัญญา อย่าใช้เงินด้วยตัณหา
    จงทำบ้านให้เป็นวิมานด้วยการปลูกกุศลในชีวิตพร้อมมูลเพิ่มพูนที่ใจ
    จงออมสินใจด้วยการสะสมความดีและรักษาความดีอย่าให้เสื่อมจากใจ
    จงชนะความโกรธด้วยการให้อภัย
    จงทำใจให้พอ อย่าทำตามที่เราพอใจ
    จงทำทุกอย่างเพื่อแก้ทุกข์ อย่าทำเพื่อแก้อยาก
    จงทำหน้าที่ที่อยู่เฉพาะหน้าให้ดีที่สุดแล้วควรยุติแค่นั้น
    จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด พรุ่งนี้ก็จะดีเอง
    จงแก่อย่างมีปัญญา อย่าแก่อย่างมีตัณหา
    จงให้ของขวัญแก่ตนเองทุกวันด้วยการสร้างความดีงาม
    จงกล้าทำในสิ่งดีและหักใจหนีมาจากสิ่งชั่ว
    จงเป็นเต่าที่ฉลาดดีกว่าเป็นกระต่ายโง่
    จงคิดก่อนพูด และพูดให้น้อยกว่าที่คิด
    จงอ่อนอย่างต้นตะโกดัด อย่าอ่อนอย่างขี้ผึ้ง
    จงสอนตัวเองก่อนสอนผู้อื่น
    จงสร้างความดีให้เคยชินเหมือนแปรงฟันทุกวันไม่เคยลืม
    จงสร้างวัดในบ้าน อย่าสร้างบ้านในวัด
    จำของดีเป็นมงคล จำของสัปดนมงคลไม่มี
    จะสง่าทุกที่ ถ้าไม่อัปรีย์ที่ปาก

    เมื่อไม่รู้จริงนิ่งดีกว่า เมื่อไม่รู้แจ้งอย่าแสดงปัญญา
    เมื่อไม่รู้ทางข้างหน้าอย่ากล้าเดิน

    เมื่อมีความจำเป็นต้องพูด จงพูดให้น้อยที่สุดและให้ได้ใจความ
    อย่าทำจิตเป็นอัมพาตเมื่อมีโอกาสสร้างบุญกุศล
    ไม่มีใครทำให้เราโกรธ เราโกรธเอง

    อย่ากล้าเสี่ยงเดินทางชั่วต่ำ ชีวิตจะถลำลงนรก
    อย่าคบคนพาลเป็นมิตร หรือคิดเป็นพาลเสียเอง

    อย่าอยู่อย่างอยาก
    อยากเป็นคนระดับสูง คุณธรรมต้องสูงตามด้วย
    อยากเป็นผู้ได้ ต้องหัดเป็นผู้ให้เขาก่อน
    อยากเป็นคนระดับสูง คุณธรรมต้องสูงตามด้วย

    เราหยุดวันเวลาไม่ได้ แต่เราหยุดคิดชั่วได้ทุกเวลาตลอดชีวิต

    เราทำความดีให้เขาจำ ดีกว่าเราจำความไม่ดีของเขา

    รัชกาลที่ห้าทรงเลิกทาสนานแล้ว แต่เราเลิกเป็นทาสตัวเราเองหรือยัง
    เราคิดเรื่องดี จิตใจเราก็สบาย เราคิดเรื่องร้ายจิตใจเราก็ทุกข์
    จึงควรคิดแต่เรื่องดีๆ

    ลดตัวเมื่อจำเป็น แต่อย่ายอมลดใจในคุณธรรมความดี
    วิบากกรรมท้าทายภูมิปัญญาทางธรรม อุปสรรคท้าทายความสามารถ
    วันตายมีสองวัน ไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้ จงเร่งสร้างความดีอย่าประมาท

    ศีลคือรากฐานในการประพฤติปฏิบัติธรรม เป็นอาภรณ์ของใจ
    ศูนย์กลางบุญกุศลคือเมตตา เริ่มที่เมตตาอภัยทาน

    สัตว์ที่สอนยากที่สุดคือสัตว์ประเสริฐ เช่นมนุษย์ได้แก่ตัวของเราเอง
    สายสัมพันธ์ของชีวิตคือศิษย์กับอาจารย์ที่ควรมีเยื่อใจต่อกัน

    สนามรบของสงครามชีวิต อาศัยปัญญาวุธที่ประกอบด้วยสติมั่น

    ศัตรูที่น่ากลัวที่สุดคือเพื่อนที่สนิทที่สุด

    หูมีสองข้างส่วนปากมีปากเดียว จึงควรฟังมากกว่าพูดสองเท่า

    เวลาโกรธใครทุกข์ ตัวเราเองทุกข์ เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ จะโกรธให้โง่ทำไม

    ผู้ไม่บริจาคทานก็เหมือนตนเองไม่ฝากเงินไว้ในธนาคารชีวิต

    หน้าที่คือที่หน้า และที่หน้าคือหน้าที่ที่ต้องทำ

    ห้ามเกลือเค็มไม่ได้ ก็ห้ามบาปบุญไม่ให้ผลไม่ได้
    อย่าประมาทในบาปแม้เพียงเล็กน้อย

    ดัดอื่นหมื่นแสนไม่สำคัญเท่าดัดใจตนเอง
    การไม่เชื่อมั่นตนเอง คือทางแห่งความล้มเหลว
    จงเรียนรู้เพื่อแก้ทุกข์ อย่าเรียนอย่ารู้เพื่อสนองความอยาก

    ภัยที่น่ากลัวที่สุดคือวาทภัย

    อย่าแสวงหาความสงบภายนอกเพราะไม่มี
    ความสงบที่แท้จริงแสวงได้ที่จิตเราเอง

    ปรัชญาในการฟังคืออย่าด่วนน้อมใจเชื่อผู้พูด
    แต่ให้น้อมใจในความจริงที่ขาพูด

    ปรัชญาในการสอนคือสอนเขาอย่างไร เราต้องทำให้ได้อย่างที่สอนเขา
    อุปสรรคคือบันไดทองของความสำเร็จ

    ธรรมชาติน้ำนิ่งย่อมเน่า ธรรมชาติใจ ถ้าไม่ยอมปล่อยวาง ย่อมทุกข์
    มนุษย์ควรทำกรรมดีเพื่อชำระหนี้บาปในอดีต

    ที่เราด่าว่าเขาเป็นคนหน้าด้าน ก็แสดงว่าหน้าเราด้านกว่าเขา
    อันธพาลทางใจคือ ชอบวิจารณ์คนอื่นเลวไปหมด

    ความทะยานอยากได้ในทุกอย่าง ท่านเปรียบเหมือนงูกินช้าง
    อย่าทำตัวเป็นพระอาจารย์ใบลานเปล่า รู้แล้วไม่ปฏิบัติให้แจ้ง

    ที่ใดไม่มีมาร ที่นั่นไม่มีการสร้างบารมี

    น้ำอะไรที่สกปรกเท่าน้ำใจทรามเป็นไม่มี
    น้ำอะไรที่จะสะอาดเท่าน้ำใจงามเป็นไม่มี เช่นกัน

    จงชนะความวุ่นวายทั้งโลก ด้วยการทำใจไม่รู้ไม่เห็นเป็นดีที่สุด

    ไม่มีอะไรสายเกินสำหรับการเริ่มต้นใหม่

    อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังคำพูด

    ชีวิตจะยุ่งยากถ้ามีความอยากเกินพอดี
    ทำดีให้ทั่ว ทำชั่วให้น้อย

    ผู้ใดหยุดใส่ใจเรื่องเศร้าหมองในอดีตได้ย่อมอยู่เหนือทุกข์

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:

    ที่มา ประทีปธรรมประจำชีวิตของหลวงพ่อเสือ

    ˹ѧ
     
  19. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    เรียนอภิธรรม

    ตอน

    เรียนอภิธรรม

    ๑. เรียนอภิธรรม - YouTube
    ๒. เรียนพระอภิธรรม - YouTube

    ขุมทรัพย์ทางปัญญา
    คือการศึกษาอภิธรรม
    มรดกอันเลิศล้ำ
    คือการนำอภิธรรมไปปฏิบัติ

    ขอบคุณที่แวะมาดู อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2011
  20. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    หลวงตา วัดป่าบ้านตาด

    หลวงตา วัดป่าบ้านตาด หลวงตาวัดป่าบ้านตาด - YouTube

    สารคดี หลวงตามหาบัว มหัศจรรย์มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่

    สารคดี หลวงตามหาบัว มหัศจรรย์มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ - YouTube

    ขอบคุณที่แวะมาชม อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...