รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นามิกา

    นามิกา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +52
    สงสัยอาการของปิติ

    เรื่องมีอยู่ว่าตัวเองเจออาการประหลาดคือมีอาการเย็นไปทั้งตัวรู้สึกตัวโล่งเบา..และมีความสุขอย่างบอกไม่ถูก.ลองศึกษาดูเอ้???เหมือนอาการปิติจัง..แล้วมันเรียกว่าปิติหรือเปล่าค่ะ ..ไม่นั่งสมาธิเกิดปิติได้ด้วยหรือ


    ดิฉันสงสัยลองนั่งสมาธิเองที่บ้าน...รู้สึกวู๊บ!เหมือนมีอะไรมาชน แล้วลมหายใจก็ละเอียดขึ้น รู้สึกว่ามีคลื่นแบบว่าซ่าๆตามผิวหนังโดยเฉพาะตรงปลายมือปลายเท้า รู้สึกตัวโล่งเบาสบาย แต่ไม่เย็น.....ใช่ปิติจริงเหรอ...เห็นว่าปิติต้องมีความรู้สึกว่าเย็นๆ ถ้าไม่เย็นจะใช่หรือเปล่าค่ะ

    บางทีลมหายใจก็หายไปเลยไม่รู้จะเอาจิตไปกำหนดตรงใหน....ถ้าถึงตรงนี้แล้วทำอย่างไรต่อดีค่ะ
     
  2. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    พรุ่งนี้ของดฝึกสมาธิ ที่สวนลุมนะครับ

    เนื่องจากผมติดธุระ ไม่สามารถมาสอนได้ครับ

    สำหรับท่านที่ไม่สะดวกจะไปฝึกที่สวนลุม

    เดี้ยวผมจะอัดไฟล์เสียงสอนสมาธิ นำมาลงให้ได้ลองฟังกันนะครับ
     
  3. kontatip

    kontatip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +112
    วสี คืออะไรคับ
     
  4. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ suthipongnuy ครับ

    ขอบคุณครับที่ช่วยกรุณาชี้แนะ

    ตอนนี้หลังจากที่หยุดดื่มมาเกือบ10วัน พอไปประชุมก็อดไม่ได้ก็ดื่มติดต่อกัน
    4วัน ตอนนี้ก็งดได้เข้าวันที่3แล้วครับ เพราะหลังจากที่ดื่ม รู้สึกเจ็บปากครับ
    ช่องปากมันบวมๆยังไงก็ไม่รู้ ทั้งที่แต่ก่อนไม่เคยเป็น มานั่งนึกทบทวนดู
    ก็เคยได้ยินครูบาอาจารย์ที่นับถือท่านพูดว่า เวลาที่เราตั้งใจดีแล้ว ถ้ามีเหตุการณ์
    หรือการกระทำใดๆที่ จิตเค้าไม่เอา ไม่ยอมรับแล้ว เค้าก็จะแสดงอาการต่างๆ
    ออกมาให้เจ้าตัวรับรู้ครับ แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่ามันเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือปล่าว

    เกี่ยวครับ เราอธิษฐานศีล5เอาไว้
    แล้วตั้งใจปฏิบัติ ขัดเกลา ชำระล้างดวงจิตของเราอยู่เสมอ
    สุดท้ายก็จะมีเหตุการณ์ให้เราทรงศีล5บริสุทธิ์ได้เองครับ

    บางท่าน กินเหล้าแล้วอาเจียนทันที จนต้องเลิกกิน
    บางท่านแค่จับขวดเหล้าก็รู้สึกร้อนจนทนไม่ได้
    บางท่าน อยู่ดีๆก็ไม่มีคนมาชวนไปดื่มด้วย พอไม่ต้องเข้าสังคม ก็ไม่กิน

    ถ้าบางท่านอธิษฐาน จะถือศีลกินเจ ด้วยกำลังของสมาธิ
    ต่อมาจะกินเนื้อสัตว์ ก็จะกินไม่ลงโดยอัตโนมัติ

    ตอนนี้ผมก็ตามระลึกรู้ถึงลมหายใจไปเรื่อยๆครับ ก็พอจะรู้วิธีการที่จะตาม
    ดูลมหายใจบ้างแล้วครับ คือไม่เพ่ง ไม่เผลอ นึกได้เมื่อไหร่ก็ตามดูลม
    แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่านี่เป็นการปฏิบัติแบบสติปัฏฐานหรือปล่าว แต่ลองใช้วิธีนี้ดู
    ใจก็สบายครับ รู้สึกจะง่ายกว่าแบบเดิม คือรู้ก็ช่าง ไม่รู้ก็ช่าง (รู้ลม)

    แบบนั้นแหละครับ ทำไปเรื่อยๆครับ
    การรู้ลมหายใจ มีสติติดตามดูลมหายใจนั้น ถือเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    เพราะลมหายใจถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย

    ต่อมา เมื่อจิตเกิดความสุข อารมณ์สบายที่เกิดจากสมาธิ เกิดจากการที่จิตได้พักผ่อนได้ หยุดพัก
    มีสติระลึกรู้ความสุขของสมาธิ ก็คือเวทนานุปัสสสนาสติปัฏฐาน

    ต่อมา เมื่อจับลมหายใจ จนลมหายใจหยุดไป จิต หยุดนิ่ง หยุดพัก รวมตัว สามารถสัมผัส ระลึกรู้ในสภาวะความสะอาด สงบ บริสุทธิ์ของจิตได้ชัดเจน
    จิต เห็นจิตที่หยุดนิ่งอยู่ ก็คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    สุดท้าย เมื่อจิตหยุดนิ่ง ลมหายใจหยุดนิ่ง จิตก็ย้อนมาพิจารณาในธรรม ในวิปัสสนา ซึ่งเนื่องด้วยลมหายใจ

    คือ เมื่อลมหายใจ ดับไป ร่างกายของเรานี้ อัตภาพของเรานี้ ก็ย่อมสูญสลายหายไป
    ไม่อาจเรียกคืนกลับมาได้ แต่จิตของเรา ซึ่งเราได้สัมผัสแล้ว ในจิตตานุปัสสนา
    ก็จะดำเนินต่อ เดินทางต่อไปยังสถานที่ ยังภพภูมิต่อไป
    เวียนว่ายตายเกิดไม่มีสิ้นสุด

    จุดเดียวที่เราปรารถนาก็คือ การพ้นจากการเกิด สภาวะแห่งพระนิพพาน อันเป็นบรมสุข ชุ่มเย็น เอิบอิ่ม เบิกบานในธรรม พ้นจากภาระหน้าที่อย่างถาวร
    จิตใช้กำลังของสมาธิ ซึ่งเกิดจากการจับลมหายใจ พิจารณาในธรรม จนตั้งใจปรารถนาพระนิพพานเพียงจุดเดียว
    ก็คือ ธัมมานุสติปัฏฐาน

    ดังนั้นธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น จับข้อเดียว เพียงกองเดียวในกรรมฐาน
    แต่ใช้ปัญญาอันเกิดจากสมาธิพิจารณาอย่างแยบคาย ด้วยบารมีของพระพุทธองค์
    ก็จะสามารถเข้าถึงซึ่งความเกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง สอดประสานกันกับธรรมทั้ง 84000พระธรรมขันธ์ได้ทั้งหมด

    จับกรรมฐานกองเดียวให้สุด ทำให้ถึงความปรารถนาในพระนิพพาน
    ย่อมเข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ในชาติปัจจุบัน

    จุดสำคัญที่ต้องตีก็คือ ศีล5บริสุทธิ์ ความเคารพในพระรัตนตรัย และความปรารถนาในพระนิพพาน ตายเมื่อไหร่ไม่ปรารถนาสภาวะอื่น
    จับลมหายใจก็ดี กสิณก็ดี เมตตาก็ดี
    ต้องพิจารณาจนเข้าถึงซึ่งอารมณ์สามประการนี้ให้ได้
    จึงจะถึงที่สุดแห่งความทุกข์ได้


    ก่อนนอนก็ไหว้พระสวดมนต์ ส่วนมากผมจะนอนทำสมาธิครับ จะได้หลับเลย
    เพราะเป็นคนนอนดึก ถ้าทำแบบนั่งจะกระวนกระวาย กลัวว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ
    บางทีก็ต้องหยุดภาวนา เพราะมันนอนไม่หลับครับ กลัวตื่นสาย
    ตอนนี้ก็เลิกกังวลใจไปได้เยอะแล้วครับ ในเรื่องเกี่ยวกับ
    ความอยากได้อยากดี ขอบพระคุณท่านชัดมากๆครับที่คอยแนะนำการปฏิบัติ<!-- google_ad_section_end -->

    นอนภาวนาไปเลยครับ
    นอนจับลมหายใจ นอนจับอารมณ์สบาย ซึ่งเกิดขึ้น และเนื่องอยู่กับการระลึกรู้ลมหายใจ
    จริงยิ่งมีสมาธิดีมากเท่าไหร่ จะยิ่งหลับง่ายเท่านั้น
    ถ้าเราทำสมาธิแล้วไม่หลับ แปลว่าอาจจะวางอารมณ์หนัก หรือพยายามมากไปนิดนึง
    ต้องผ่อนอารมณ์ให้สบายมากขึ้นอีกครับ


    การตั้งกำลังใจ ตั้งปฏิปทาใด ซึ่งตั้ง และดำเนินตามนั้นเอาไว้ดีแล้ว
    ขอให้เดินต่อไป ด้วยความต่อเนื่อง ด้วยใจที่สบาย
    ตราบถึงที่สุดแห่งมรรคา นั้นด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  5. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ นามิกา ครับ

    เรื่องมีอยู่ว่าตัวเองเจออาการประหลาดคือมีอาการเย็นไปทั้งตัวรู้สึกตัวโล่งเบา..และมีความสุขอย่างบอกไม่ถูก.ลองศึกษาดูเอ้???เหมือนอาการปิติจัง..แล้วมันเรียกว่าปิติหรือเปล่าค่ะ ..ไม่นั่งสมาธิเกิดปิติได้ด้วยหรือ

    สูงกว่าปีติครับ เป็นอารมณ์สุขของสมาธิ
    สมาธิเป็นเรื่องของจิต ไม่ใช่เรื่องของกายครับ
    จิตเป็นสมาธิเมื่อไหร่ ก็เกิดผล เกิดอารมณ์ของสมาธิได้
    เราจะเดินเล่น ทำงาน ฟังเพลงอยู่ ถ้าจิตเป็นสมาธิเมื่อไหร่ ก็จะมีความสุข มีความสบาย ความชุ่มเย็นเมื่อนั้น

    ดิฉันสงสัยลองนั่งสมาธิเองที่บ้าน...รู้สึกวู๊บ!เหมือนมีอะไรมาชน แล้วลมหายใจก็ละเอียดขึ้น รู้สึกว่ามีคลื่นแบบว่าซ่าๆตามผิวหนังโดยเฉพาะตรงปลายมือปลายเท้า รู้สึกตัวโล่งเบาสบาย แต่ไม่เย็น.....ใช่ปิติจริงเหรอ...เห็นว่าปิติต้องมีความรู้สึกว่าเย็นๆ ถ้าไม่เย็นจะใช่หรือเปล่าค่ะ

    ไม่ต้องไปจัดแบ่งหมวดหมู่ให้มันหรอกครับ
    ถ้าทำสมาธิแล้ว ใจเราสบาย เกิดความสุข ความชุ่มเย็น ความอิ่มใจ โล่งโปร่งสบาย จิตรวมตัว เป็นหนึ่ง
    ก็ไม่ต้องไปสนแล้วครับ ว่าจะสมาธิขั้นไหน ใช่ปีติ หรือไม่ใช่ปีติ
    ถ้ามันมีความสุข ความชุ่มเย็น ความสบายของใจ ก็ถือว่ามาถูกทางแล้วครับ
    แต่ถ้าทำแล้วเครียด หนัก อึดอัด เกร็ง แปลว่ากำลังไปผิดทางครับ

    บางทีลมหายใจก็หายไปเลยไม่รู้จะเอาจิตไปกำหนดตรงใหน....ถ้าถึงตรงนี้แล้วทำอย่างไรต่อดีค่ะ<!-- google_ad_section_end -->

    ตัวสุดในอารมณ์ของสมาธิ ที่เราต้องการ ในขั้นของสมถะ ความสงบนิ่งของจิต
    ก็คือ อารมณ์ที่ จิต มีอาการรวมตัว รู้สึกว่าร่างกายเบาจนคล้ายไม่รู้สึก ไม่รับรู้ในอาการของร่างกาย
    ลมหายใจก็หยุด ก็หายไป คล้ายกับไม่มีลมหายใจ
    จิตนิ่ง หยุด ปราศจากความคิดทั้งปวง
    จิตได้พักผ่อน ในอารมณ์ของความสบาย ความเบา ความเย็น นิ่งของจิต

    ดังนั้นพอจิตถึงสภาวะที่ลมหายใจหายไปแล้ว ก็ให้จิตมาจับอยู่กับอารมณ์สบาย อารมณ์เย็น อารมณ์สุขที่เกิดขึ้น
    สัมผัส จดจำ ระลึกรู้ ในจิตที่ หยุด ปราศจากความคิดนั้น
    และฝึกประคองเอาไว้ ให้ได้ตราบนานเท่าที่เราต้องการ
    และสามารถเข้าออกได้ ทุกสถานที่ ทุกเวลา
    เราจะหลับตา ลืมตา จะนั่ง จะทำงาน จะนอน จะทำอะไรก็ตาม
    เพียงระลึกถึงอารมณ์นี้ ก็สามารถเข้าถึงซึ่งจิตที่หยุด เบา เย็น สบาย ลมหายใจดับนี้
    ได้ในทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบถที่ต้องการ

    ฝึกจนทำได้คล่องแบบนี้
    และทรงจิตในอารมณ์สบายนี้ให้ได้ตลอดไป
    ไม่ให้จิตคลาดจากอารมณ์นี้

    ให้ลองฝึกจนชำนาญจนมีความคล่องในอารมณ์นี้ให้ได้ก่อนครับ

    เมื่อจิตคล่องในอารมณ์นี้แล้ว ให้ฝึกเจริญเมตตา แผ่เมตตาจากกำลังของสมาธิ เป็นขั้นต่อไปครับ

    อย่าลืมอธิษฐานปักหมุด จดจำ ระลึกในสภาวะของสมาธินี้ เอาไว้สามครั้ง เพื่อให้เกิดความคล่องในการเข้าออกสมาธิ ว่า

    ขอให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงซึ่งสภาวะที่จิตหยุดนิ่ง ปราศจากซึ่งความคิด
    ประคองอยู่ในอารมณ์ที่โล่ง โปร่ง เย็น สบายนี้ ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่ข้าพเจ้าต้องการ
    ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2010
  6. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึง kontatip ครับ

    วสี คืออะไรคับ<!-- google_ad_section_end -->

    วสีคือ ความคล่องตัว ในการเข้าออกฌาณ สมาธิ กรรมฐานกองต่างๆ ได้คล่องแคล่วว่องไว
    จะเข้าจะออกสมาธิ สามารถทำได้ในอึดใจเดียว นึกจะเข้าสมาธิปุ้ป จิตดิ่ง หยุด รวมตัว มีความสุข เอิบอิ่ม ชุ่มเย็นเป็นสมาธิได้ทันที

    สามารถเข้าออกกสิณ สลับกสิณ เข้าฌาณ 1 2 3 4 เดินหน้า ถอยหลัง
    เข้าสลับ 1 3 2 4 1 3 4 2 ได้ดั่งใจ
    แบบนี้ถือว่ามี วสี หรือบางท่านเรียก นวสี ในการเข้าออกสมาธิ

    คนที่จะถามคำถามนี้ ก็ต้องเป็นผู้ปรารถนา ในทิพยจักษุญาณ มโนมยิทธิ หรืออภิญญา6

    หากอยากจะได้คุณวิเศษประการใดก็ตาม
    ให้มีวสีในอารมณ์ สามประการดังนี้

    1. มีความเคารพ นอบน้อม อ่อนน้อม ต่อพระรัตนตรัย มีคุณพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆเจ้า เป็นสรณะที่พึ่งสูงสุดแก่ดวงจิตตลอดไป
    ทรงภาพพระพุทธเจ้าเห็นเป็เนื้อเพชร ประกายพรึก ได้ชัดเจน สว่าง แจ่มใส เห็นพระองค์ยิ้มด้วยความเอิบอิ่ม
    2.มีศีล5บริสุทธิ์ ซึ่งเกิดจากความเมตตา จิตที่อ่อนโยน ชุ่มเย็น ตลอดไป
    เจริญเมตตาจิตให้มากจนทำร้ายบุคคลใด เบียดเบียนใครไม่ลง
    3.ระลึกถึงความตายอยู่เป็นปรกติ ตั้งใจว่า ตายเมื่อไหร่ อย่างแย่ที่สุดเราขอเป็นเทวดา ในขั้นกลางเราขอเป็นพรหม ในที่สุดเราขอไปพระนิพพาน
    จะไม่มาเกิดเป็นมนุษย์ซึ่งมีความทุกข์อีกเป็นอันขาด
    พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใด ตายแล้วเราจะไปที่นั่น

    หากจิตของเรามี วสี มีความคล่องตัว ในอารมณ์สามประการดังนี้
    คุณวิเศษทุกประการที่ปรารถนา ย่อมรวมตัวได้เองโดยอัตโนมัติ
    ไม่จำเป็นต้องไปนั่งทำให้ยาก ตามตำราที่ได้อ่านมา

    ขอให้จิตมี วสี ในการระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆเจ้า
    เป็นสรณะที่พึ่งสูงสุดตลอดไป
    ได้ทุกขณะจิตที่ปรารถนา เมื่อระลึกได้แล้ว ขอให้จิตมีความตั้งมั่นในไตรสรณคมไม่เสื่อมคลายตลอดไปทุกภพชาติ
    ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  7. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    สวัสดีครับ ท่านนักปฏิบัติ ท่านสาธุชน ผู้มีจิตใฝ่ในความดีทุกท่าน

    ในวันนี้จะเป็นการลงบทความเกี่ยวกับการปฏิบัติ ซึ่งผมจะลงตั้งแต่แรกเริ่ม ไปจนสุดอารมณ์ในการปฏิบัติ

    โดยในวันนี้ธรรมะ การปฏิบัติ กรรมฐานกองที่อยากจะให้ทำ ให้ทรงกันให้ได้ทุกๆท่าน
    ก็คือ กรรมฐาน ธรรมะของพระพุทธองค์ ที่เรีกยว่า อาณาปานสติกรรมฐาน

    อาณาปานสติกรรมฐาน นั้น
    ก็คือ การมีสติ กำหนดรู้ ระลึกรู้ สัมผัสอยู่ ในกระแสของลมหายใจ ความนุ่มนวล อ่อนโยน ลื่นไหล ต่อเนื่องของลมหายใจ
    ตามวิชชาที่ครูบาอาจารย์
    ได้ถ่ายทอดมานั้น ผมจะขอเรียก การจับลมหายใจนี้ ว่า "ลมสบาย"

    ลมสบายนั้น เกิดจากสองส่วน
    ในส่วนแรก ก็คือ อารมณ์สบาย
    อารมณ์สบายนั้น มีความสำคัญ มากที่สุดในการปฏิบัติ
    เพราะเป็นเครื่องวัดว่าการปฏิบัติของเรานั้น เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลางหรือไม่
    การปฏิบัติ อารมณ์จิต ที่เป็นทางสายกลางตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น ก็คืออารมณ์จิตที่เบาสบายนี้เอง

    หากเวลาเราทำสมาธิ ร่างกายก็ดี จิตใจก็ดี การตั้งกำลังใจก็ดี
    มีความหนัก อาการตึง เครียด คาดคั้นในผลการปฏิบัติมากเกินไป
    จิตก็จะเกิดเป็นอารมณ์หนัก เวลาทำสมาธิ จะรู้สึกอึดอัด รู้สึกแน่นหน้าอกบ้าง ปวดศรีษะ ปวดคิ้วบ้าง
    หายใจไม่สะดวก ไม่ราบรื่นบ้าง ออกจากสมาธิแล้วเหนื่อยบ้าง
    ทั้งหมดนี้ คือ อารมณ์หนัก
    ซ฿งเกิดจากการที่ร่างกายมีอาการเกร็ง เช่น
    นั่งในท่านั่ง ที่ไม่เหมาะกับสภาพร่างกายของเรา เช่นเราเป็นโรคปวดหลัง ก็ฝืนนั่งอย่างคนธรรมดา ไม่มีที่พิง
    ร่างกายก็จะเกร็ง จิตก็จะเกร็ง เครียด ไม่เป็นสมาธิ
    ถ้านั่งธรรมดาไม่สบาย ก็หาที่พิง ถ้าหาที่พิงไม่สบายก็นั่งเก้าอี้ ถ้าเก้าอี้ไม่สบาย ก็นั่งโซฟา ถ้าโซฟาก็ยังไม่สบาย ก็นอนปฏิบัติไปเลย

    เพราะการปฏิบัติ เราฝึกอะไร
    เราฝึกจิต เราไม่ได้ฝึกร่างกาย
    เราตายจากชาตินี้ ร่างกายก็เอาไปไม่ได้ แต่จิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งเกิดจากการฝึกนั้น ติดตัวเราไปได้
    ดังนั้นเน้นที่จิต อย่าเน้นร่างกาย
    ฝืนร่างกาย จิตก็เครียด จิตเครียดก็ไม่เป็นสมาธิ

    ดังนั้นต้องทำร่างกายของเราให้อยู่ในอิริยาบถที่สบาย
    เมื่อจัดท่านั่งได้แล้ว ท่านอนได้แล้ว
    ก็ให้เน้นในการผ่อนคลายร่างกาย ผ่อนคลายความรู้สึกเกร็งในร่างกาย ในกล้ามเนื้อ
    ยิ่งร่างกายผ่อนคลาย บิ่งรู้สึกว่าร่างเบา สบาย ไร้น้ำหนัก ไร้ความรู้สึกมากเท่าไหร่
    จิตเราจะยิ่งนิ่ง ยิ่งเบา ยิ่งเป็นสมาธิมากเท่านั้น

    การผ่อนคลายนั้น เราต้องผ่อนคลายถึงระดับของอวัยวะภายในร่างกาย ถึงระดับของโมเลกุล ระดับเซล
    โดยใช้จินตภาพ ใช้ความรู้สึก เห็น รู้สึกว่า อวัยวะภายในทั้งหมด เซลทั้งหมด คลาย ผ่อน ยืด จากอาการที่ตึงที่เกร็ง
    คลายหลอดเลือด คลายปลายประสาท คลายเยื่อหุ้มอวัยวะทั้งหมด
    โรคหลายๆโรคเกิดจากอาการเกร็งของอวัยวะภายใน เช่น ไมเกรน โรคหัวใจ โรคความดัน
    เมื่อเรากำหนดจิตคลาย ในความตึง ในอาการเกร็งของอวัยวะเหล่านี้แล้ว
    โรคเหล่านั้นย่อมหายไปได้อย่างน่าอัศจรรย์

    เมื่อร่างกายของเราคลาย สบาย เกิดอารมณ์จิตที่เบาสบาย คลายจากการยึด การเนื่อง เกาะติดในร่างกายแล้ว
    จริงๆ มันก็คือ การตัดสังโยชน์ข้อที่1 คือ สักกายทิษฐิ
    ตัดความยึด ตัดอารมณ์จิตที่เกาะในร่างกาย นั่นเอง

    และเมื่อจิตคลายจากร่างกายแล้ว จิตจะแยกจากกาย สภาวะที่จิตแยกจากร่างกาย
    จะเกิดขึ้นได้ ก็จากการผ่อนคลายในกายนี้เอง

    พอคลายกาย คลายความรู้สึกใน่ร่างกาย จนจิตแยกจากกายได้แล้ว

    ต่อมาเรามาคลายมาผ่อน มาล้าง มาทะลวง ในระบบทางเดินหายใจของเรา

    เนื่องจากคนในสมัยปัจจุบัน ต้องพบเจอกับมลพิษ ความเครียดเยอะ ทำให้ทางเดินหายใจไม่ปลอดโปร่งเท่าคนในสมัยโบราณ
    ซึ่งมีผลต่อการจับลมหายใจ ต่อการทรงสมาธิ
    จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้คนในปัจจุบันทรงสมาธิได้ยากกว่าคนในสมัยโบราณ ซึ่งคนปรกติไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยที่มองไม่เห็นนี้

    ดังนั้นเราก็มาปรับ มาล้าง มาทะลวงในทางเดินหายใจของเราให้ปลอดโปร่ง

    โดยการให้เราหายใจเข้าลึกๆแรงๆ ให้เรารู้สึกว่าทางเดินหายใจ ปอดของเรา
    ถูกทะลวง ถูกล้างด้วยลมหายใจ
    สูดลมหายใจจนกระทั่งลมหายใจ เต็มขั้วปอด ซึ่งอยู่บริเวณใต้ไหปลาร้าของเรา
    จริงๆปอดของเราใหญ่ขนาดนั้น ขั้วปอดสุดอยู่ตรงใต้ไหปลาร้า แต่เราหายใจจริงๆ เราใช้แค่ครึ่งปอด
    คนสมัยนี้จึงไม่แข็งแรง หายใจใช้ครึ่งปอด ดังนั้น อายุหรือสุขภาพ ก็แค่ครึ่งเดียวของคนสมัยโบราณ

    พอลมหายใจเต็มจนสุดขั้วปอดแล้ว
    ก็ให้เราประคองลมหายใจเอาไว้สบายๆ หยุดลมหายใจ หยุดจิตให้นิ่งอยู่
    ซึ่งจะต่างจากการกลั้นลมหายใจ การกลั้นลมหายใจจิตจะหนัก จะบีบ
    แต่นี่ เราหยุดลม หยุดจิต เอาไว้สบายๆ
    ค้างไว้10วินาที
    ระหว่างนั้นให้เราภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ซ้ำไปซ้ำมาๆ ถี่ๆ ย้ำในจิตของเรา
    ที่ให้ภาวนานี้ เพื่อเป็นการขออาราธนาบารมีพระรัตนตรัยด้วยส่วนหนึ่ง และเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง ให้หยุดนิ่ง กับคำภาวนาด้วยส่วนหนึ่ง

    พอภาวนาครบ10วินาที หรือจนประคองลมหายใจไม่ได้แล้ว จึงหายใจออก
    คลายจิต คลายใจ คลายร่างกายให้เบาให้สบาย

    จากนั้นก็ให้เราทำซ้ำอีก10ครั้ง หรือจนกระทั่งรู้สึกว่าลมหายใจปลอดโปร่งโล่งสบาย

    พอลมหายใจปลอดโปร่งโล่งสบาย ร่างกายผ่อนคลายจากอาการเกร็งแล้ว

    ก็มาถึงขั้นที่สองของลมสบาย คือ ก็คือการจับลมหายใจด้วยใจสบาย

    โดยให้เราใช้จิต จินตภาพ ระลึก สัมผัส ถึงกระแสของลมหายใจ
    เห็นเป็นภาพคล้ายเส้นแพรวไหม สีขาว ใส นุ่มนวล ที่พริ้วผ่าน เข้ามาด้วยความอ่อนโยน
    ในร่างกายของเรา
    ไหลเข้ามาถึงจมูก ผ่านลำคอ ผ่านอก ลงมาจนถึงท้อง
    และพริ้วผ่านกลับออกมาจนถึงจมูก
    สัมผัสในกระแสความนุ่ม อ่อนโยน ชุ่มเย็นของกระแสลมหายใจ
    สัมผัสในความสุข ความชุ่มเย็น ความเบาสบายใจ
    ที่เกิดขึ้นจากการระลึกรู้ในกระแสลมหายใจ

    ยิ่งเราสัมผัสในความต่อเนื่อง ไหลลื่น ไม่สิ้นสุด แห่งลมหายใจมากเท่าไหร่
    จิตก็ยิ่งเบาสบาย ยิ่งนิ่ง ยิ่ง หยุดพัก จากความคิด จากการปรุงแต่งมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
    ยิ่งจิตสบายมาก จิตเบามากเท่าไหร่
    ลมหายใจก็ยิ่งช้าลง ยิ่งเบาลง ยิ่งหยุดนิ่งมากเท่านั้น
    จนกระทั่งลมหายใจของเราช้าลงเรื่อยๆ เบาลงเรื่อยๆ
    จนลมหายใจมีอาการหยุด นิ่ง หยุดพักจากความคิด หยุดพักจากการปรุงแต่ง
    มีแต่ความนิ่ง ของลมหายใจ และจิต

    สัมผัสในอารมณ์ที่เบา สบาย แต่ตั้งมั่น แต่หยุดนิ่งนี้ เห็นถึงความสุขที่เกิดขึ้น
    จากการหยุดพักจากความคิด จากการหยุดนิ่ง ในอารมณ์ของความสบาย

    สภาวะที่จิตหยุดนิ่งนี้ อาจารย์ของผมเรียกว่า ลมสบาย
    เพราะเป็นสภาวะที่ ลมหายใจหยุดไป ดับไปได้ จากความเบาสบาย ของร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ

    เราก็จดจำใน สภาวะ ในอารมณ์จิตที่นิ่ง ปราศจากซึ่งความคิดนี้
    จะหลับตาอยู่ จะลืมตาอยู่ จะทำกิจการอันใดอยู่ ก็สามารถเข้าถึงซึ่งสภาวะนี้ กำหนดจิตให้หยุดด้วยใจที่เบาที่สบายนี้ได้

    เมื่อเข้าถึงซึ่งสภาวะนี้ได้แล้ว ก็ให้อธิษฐาน วสี ความชำนาญในการเข้าออกสมาธิว่า

    ขอให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงซึ่งธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า อาณาปานสติกรรมฐาน ลมสบาย สภาวะจิตที่หยุดนิ่ง เป็นสมาธิ หยุดพักจากความคิด หยุดพักอยู่ในอารมณ์สบายนี้
    ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบถ ทุกภพชาติ ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าต้องการตลอดไป ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
    อธิษฐานย้ำเอาไว้สามครั้ง

    จากนั้นก็ให้ประคองจิตที่นิ่ง หยุด รวมตัว โปร่งโล่งสบายนี้ เอาไว้
    จดจำในความสุข อันเป็นนิรามิสสุข สุขอันไม่อิงด้วยวัตถุ ด้วยความเร่าร้อนทางโลก
    สุขอันเกิดจากสภาวะหยุดพักของจิตใจนี้ เอาไว้ให้ได้ตราบนานเท่านาน

    จิต นิ่ง หยุด สบาย เบา อยู่ด้วยกำลังของสมาธิ

    จากนั้นพอจิตนิ่งสบายได้ดีพอสมควรแล้ว
    เวลาจะออกจากสมาธิ ให้เราหายใจเข้าลึกๆ แรงๆ หายใจออกช้าๆ สามครั้ง เหมือนตอนต้นอีกครั้ง
    ภาวนาหายใจเข้า พุท ออก โธ เข้าครั้งที่สอง ธัม ออก โม ครั้งที่สาม สัง ออก โฆ
    จากนั้นค่อยๆดึง ค่อยๆถอนจิตออกจากสมาธิช้าๆ
    เวลาจะออกจากสมาธิให้ทำความรู้สึก ดั่งดอกไม้ที่กำลังเบ่งบานในยามเช้า
    ตื่นขึ้นในธรรม สว่างขึ้นจาภายใน แย้มดั่งดอกไม้ ในยามเช้า
    พร้อมๆกับที่จิตของเราออกจากสมาธิ

    จิตของเราตั้งมั่นเป็นสมาธิ แม้ตอนนี้จะลืมตาอยู่
    แต่ว่าจิตนั้นก็ยังหยุดนิ่งเป็นสมาธิอยู่
    เห็นไหม ตาเห็นรูป เห็นตัวหนังสือ แต่จิตยังหยุด ยังนิ่งอยู่ได้

    นี่แหละ คือการฝึกทรงสมาธิให้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบถ

    เป็นอันจบการฝึกสมาธิ ในเบื้องต้น แต่ยังมีอารมณ์จิตที่มีความสุข ความเย็น ความละเอียดในธรรม
    สูงยิ่งกว่านี้ รอให้ทุกๆท่านได้ปฏิบัติกันต่อไป

    ขอให้ทุกๆท่าน ที่ได้อ่านบทความนี้ ขอให้จิตมีสภาวะหยุดนิ่ง ตั้งมั่นในอารมณ์สบาย
    ลมหายใจดับไป จิตหยุดพักในลมสบาย ในอาณาปานสติกรรมฐานนี้
    ได้โดยฉับพลันทันใด และประคองรักษาเอาไว้ได้ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2010
  8. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    สำหรับการสอนสมาธิที่สวนลุมนั้น

    ผมของดการฝึกที่สวนลุม จนกว่าสถานที่จะสามารถใช้งานได้นะครับ

    เนื่องจากตอนนี้ไม่อาจจะเข้าไปยังบริเวณสวนลุมได้เลยครับ
     
  9. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    ขออนุญาติเรียนถามอาจารย์ชัดครับ

    1. จากคำถามที่เคยถามไปแล้วครับ
    คือยังไม่ลืมนะครับ แต่ที่ไม่ได้บอกเพราะไม่แน่ใจว่า ตนเองเข้าใจถูกต้องหรือปล่าว ตอนนี้พอปฏิบัติแล้วเกิดขึ้นอีก เลยพอจะจำได้แล้วครับ คืออย่างนี้ครับ ผมจะบริกรรมพุทโธไปเรื่อยๆ โดยไม่ใช่พุทเข้า โธออกนะครับ บางทีก็รู้ลม บางทีก็ไม่รู้ บริกรรมไปเรื่อยๆ จนจิตเป็นสมาธิครับ คือรู้สึกว่าสติมันจะคมชัดกว่าปกติ ก็นอนภาวนาไปเรื่อยๆ จนรู้สึกโล่ง เบาสบายครับ พอตอนที่ผมคิดว่าเป็นอาการปวดเมื่อยตามแขนขาก็คือ ร่างกายมันจะเบา สบาย นิ่งๆ แต่มันเหมือนว่ายังไงหล่ะ คิดๆดูแล้วไม่ใช่อาการเจ็บปวดนะครับ มันเหมือนแขนขาจะไม่มี คือเบาๆสบายๆ คล้ายๆจะมีอาการเสียวๆอ่ะครับ เสียวแปล๊บๆ เอ..ยังไงนะ ผมอธิบายไม่ถูก อิอิ แต่ก็ประมาณนี้ครับ

    2. เวลาภาวนาจนลมหายไป ผมชอบสงสัยว่าลมหายไปตอนไหน สุดท้ายลมก็กลับมาเหมือนเดิม พยายามไม่นึกไม่คิดถึงลมหายใจ แต่ก็สู้ไม่ไหว ร่างกายจะหายใจให้ได้
    เคยอ่านเจอว่า ให้ยอมตายไปเลย ดูซิว่าจะตายหรือปล่าว ซึ่งผมคิดว่าผมยังกลัวตายอยู่ใช่ไหมครับ

    3. เวลาเข้าฌาน แล้วเราอุทิศส่วนกุศล รู้สึกเฉยๆครับ ไม่มีขนลุก แต่ถ้าอุทิศตอนสวดมนต์เสร็จ จะขนลุกครับ

    4. การแผ่เมตตาในฌาน ทำแบบไหนครับ ให้นึกภาพพระเป็นประกายแล้วแผ่ออกไปหรือปล่าว

    5. วิธีที่ผมบริกรรมพุทโธ โดยไม่สนใจลม เป็นวิธีที่ถูกต้องหรือปล่าวครับ เพราะผมลอง
    ทำหลายวิธีแล้ว คิดว่าวิธีนี้เหมาะกับผมที่สุด เพราะเวลาบริกรรมไปแล้ว ก็จะรู้ลมไปด้วย
    แต่ผมไม่ได้เน้นดูลม ซึ่งผมลองเอาคำบริกรรมไปผูกกับลม รู้สึกแน่หน้าอกครับ
    พอจิตเป็นสมาธิ คำบริกรรมก็หายไป จิตก็หันมาดูลมเองครับ

    มีแค่นี้ครับ สำหรับข้อสงสัย พอดีรู้สึกว่าช่วงนี้ปฏิบัติได้ดีขึ้น
    ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2010
  10. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ suthipongnuy ครับ


    1. จากคำถามที่เคยถามไปแล้วครับ

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">1. ตอนก่อนหลับ ผมจะนอนภาวนาไปด้วยจะรู้สึกเหมือนร่างกายอ่อนเพลีย ปวดตามแขนขาครับ คือยังไงหล่ะ ผมอธิบายไม่ถูกคือเหมือนคนไม่มีแรงครับ แต่เวลาต้องการยกแขนยกขา ก็ยกได้ตามปกติครับ

    ภาวนาว่าอะไร และทำอารมณ์ยังไงครับ
    จริงๆยิ่งภาวนาควรจะต้องยิ่งเบาสบาย ทั้งร่างกายและจิตใจ
    ถ้ายิ่งภาวนายิ่งปวล แปลว่าเราอาจจะวางอารมณ์ผิดหรือว่ามีปัจจัยภายนอกที่เข้ามาส่งผลครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คือยังไม่ลืมนะครับ แต่ที่ไม่ได้บอกเพราะไม่แน่ใจว่า ตนเองเข้าใจถูกต้องหรือปล่าว ตอนนี้พอปฏิบัติแล้วเกิดขึ้นอีก เลยพอจะจำได้แล้วครับ คืออย่างนี้ครับ ผมจะบริกรรมพุทโธไปเรื่อยๆ โดยไม่ใช่พุทเข้า โธออกนะครับ บางทีก็รู้ลม บางทีก็ไม่รู้ บริกรรมไปเรื่อยๆ จนจิตเป็นสมาธิครับ คือรู้สึกว่าสติมันจะคมชัดกว่าปกติ ก็นอนภาวนาไปเรื่อยๆ จนรู้สึกโล่ง เบาสบายครับ พอตอนที่ผมคิดว่าเป็นอาการปวดเมื่อยตามแขนขาก็คือ ร่างกายมันจะเบา สบาย นิ่งๆ แต่มันเหมือนว่ายังไงหล่ะ คิดๆดูแล้วไม่ใช่อาการเจ็บปวดนะครับ มันเหมือนแขนขาจะไม่มี คือเบาๆสบายๆ คล้ายๆจะมีอาการเสียวๆอ่ะครับ เสียวแปล๊บๆ เอ..ยังไงนะ ผมอธิบายไม่ถูก อิอิ แต่ก็ประมาณนี้ครับ

    อ้อ จะรู้สึกเหมือนแขนขาไม่มีแรง สั่งให้มันขยับ ก็ไม่ค่อยขยับ
    อันนี้ไม่ใช่อาการปวดครับ
    จะเกิดจากการที่จิตของเราเข้าเป็นสมาธิในตอนที่นอน
    จิตแยกจากร่างกาย แยกจากความรู้สึกทางร่างกาย วางคลายจากร่างกาย
    พอจะควบคุมมันจึงทำไม่ได้ ต้องค่อยๆถอนจิตออกจากสมาธิก่อน หรือรอซักพักจึงจะขยับแขนขาได้
    ก็เป็นอาการของสมาธิอย่างนึงครับ ก็ไม่ต้องสนใจอะไร
    แต่อย่าให้จิตตกใจ ทำสมาธิไปตามปรกติครับ
    จริงๆ ถือว่าเป็นสภาวะที่ค่อนข้างสบาย จึงไม่รู้สึกสะดุ้งกลัวแต่อย่างไร

    วางจิตได้ดีแล้วล่ะครับ เพียงแค่สงสัยว่ามันคืออะไรเท่านั้น


    2. เวลาภาวนาจนลมหายไป ผมชอบสงสัยว่าลมหายไปตอนไหน สุดท้ายลมก็กลับมาเหมือนเดิม พยายามไม่นึกไม่คิดถึงลมหายใจ แต่ก็สู้ไม่ไหว ร่างกายจะหายใจให้ได้
    เคยอ่านเจอว่า ให้ยอมตายไปเลย ดูซิว่าจะตายหรือปล่าว ซึ่งผมคิดว่าผมยังกลัวตายอยู่ใช่ไหมครับ

    ไม่ใช่ประเด็นนั้นครับ ไม่ใช่กลัวตาย
    แต่เป็นอาการที่จิตสงสัย ซึ่งเป็นวิจิกิจฉา เป็นนิวรณ์ประเภทหนึ่ง
    พอจิตสงสัย จิตสนใจในลมหายใจ ติดในอาการที่มีลมหายใจ
    ลมหายใจก็เลยกลับมา เพราะจิตถอนจากสมาธิออกมานิดนึง

    วิธีแก้นะครับ
    ให้ตั้งกำลังใจว่า ลมหายใจมี หรือไม่มีก็ไม่เป็นไร ขอเพียงใจของเราเกิดความสบายก็พอ

    พอเราตั้งกำลังใจแบบนี้ เราก็จะไม่สนว่าจะมีลม ไม่มีลม จับอารมณ์ไปเรื่อยๆ สบายๆ
    พอเราไม่สนใจว่าจะมีหรือไม่มีลม ใจก็จะสบาย จิตก็จะหยุด ลมหายใจก็จะหยุดเอง

    ยิ่งไปจับมันมาก มันก็ยิ่งไม่นิ่ง พอคลาย วางใจเป็นอุเบกขา
    ขอเพียงใจสบายก็พอ ลมจะกลับมาหรือไม่กลับมาก็ไม่เป็นไร
    ลมจะกลับหยุด นิ่ง เบา สบาย หายไปเอง

    หลักการคือ อย่าฝืน ปล่อยไปตามธรรมดา พอไม่ฝืน ปล่อยไปตามที่ควรจะเป็น
    นิวรณ์ก็จะดับ ความอยากก็จะไม่มี จิตก็จะเป็นสมาธิ ลมก็จะดับไปเอง


    3. เวลาเข้าฌาน แล้วเราอุทิศส่วนกุศล รู้สึกเฉยๆครับ ไม่มีขนลุก แต่ถ้าอุทิศตอนสวดมนต์เสร็จ จะขนลุกครับ

    เอาอารมณ์ที่ใช้ตอนอุทิศหลังสวดมนต์ มาใช้อุทิศเวลาเข้าสมาธิครับ

    ก่อนที่จะแผ่เมตตา ต้องดึงอารมณ์จิตที่สุข เอิบอิ่ม ชุ่มเย็น ให้เต็มล้นหัวใจของเราก่อน
    ตอนสวดมนต์เราดึงบุญอยู่แล้ว ด้วยอำนาจของบทสวด เวลาแผ่จึงเกิดปีติ
    เวลาเข้าฌาณ เราเข้าสภาวะที่นิ่งหยุด แล้วแผ่เลย
    ไม่ได้รวมบุญ รวมความสุข รวมอารมณ์ที่เอิบอิ่ม ชุ่มเย็นก่อน
    เวลาแผ่จึงไม่เกิดปีติ ไม่เกิดขนลุก

    ดังนั้นให้ดึงความสุขให้เต็มล้น ดวงจิต นึกถึงความสุขจากการทำบุญ การกราบครูบาอาจารย์ให้เต็มล้นดวงจิตเสียก่อน แล้วจึงแผ่
    ก็จะเกิดปีติ ความเอิบอิ่ม ความสุขใจ อารมณ์ที่ชุ่มเย็นเองครับ

    4. การแผ่เมตตาในฌาน ทำแบบไหนครับ ให้นึกภาพพระเป็นประกายแล้วแผ่ออกไปหรือปล่าว

    ในการที่จะแผ่เมตตานั้น

    มีขั้นตอนหลักๆอยู่สามขั้น

    ขั้นแรกก็คือ หยุด นิ่ง เบา สบาย

    ให้เข้าสภาวะของจิตที่หยุดนิ่ง เบา สบาย ตั้งมั่น ด้วยกำลังของ การจับลมหายใจ
    ให้ นิ่ง หยุด เบา สบาย ตั้งมั่น รวมตัวเป็นหนึ่ง

    ให้ถึงที่สุดที่เราทำได้

    เนื่องจากจิตที่ไม่หยุดนิ่ง ไม่ตั้งมั่น ไม่เบา สบาย จะดึงอารมณ์เมตตาไม่ขึ้น ดึงเมตตาไม่สุด
    ด้วยเหตุนี้เวลาแนะนำผมจึงต้องขึ้นต้นด้วย การจับลมหายใจ

    เพื่อเป็นฐาน เป็นบาท ของการเจริญเมตตาจิตต่อไป

    ขั้นที่สอง ก็คือ การรวมบุญ กุศล ความดี ให้เต็มล้นดวงจิตของเรา จนเรายิ้มทั้งกายและใจ

    เมื่อจิตหยุดนิ่ง เป็นสมาธิ เป็นฌาณ ปราศจากความคิดแล้ว

    ก็ให้เรานึก ระลึกถึง บุญกุศล ความดี ความสุข ความอิ่มใจ อารมร์ที่ทำให้จิตเบิกบาน แย้มยิ้ม
    ให้หลั่งไหลเข้ามาจากทุกทิศทาง เข้ามาชะโลมล้าง ดุจสายน้ำทิพย์ ประพรหม ล้างดวงจิต ล้างดวงใจ
    ของเราให้เต็ม ล้น ในความสุข ในความเย็น ในความเอิบอิ่มใจ
    จนจิตมีความเบา ความสุข ความชุ่มเย็น การเบิกบาน การแย้มยิ้ม ดั่งดอกไม้
    ให้ดึงบุญ รวมกุศล รวมความดีที่เราเคยทำมา ทำดีอะไรมา ให้นึก ระลึกถึงให้หมด
    รวมอารมณ์ที่สุขชุ่มเย็นนี้ ให้เต็มล้น เอิบอิ่มในหัวจิต หัวใจของเรา
    มากขึ้นๆ เพิ่มขึ้นๆ
    ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งจิตของเราแย้มยิ้ม ยิ้มออกมาจากหัวใจ ยิ้มออกมาจากก้นลึกของดวงจิต
    ยิ่งจิตของเราแย้มยิ้ม ด้วยความสุข แย้มยิ้ม ด้วยความเอิบอิ่มมากเท่าไหร่
    จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งสบายมากเท่านั้น
    พอจิตเรายิ้ม อิ่ม สุข ล้น ด้วยกำลังของบุญ ของกุศล ของความดี ของอารมณ์ที่เบิกบานแล้ว

    ก็มาถึงขั้นที่สาม คือ แผ่เมตตา

    ให้เราทำความรู้สึกว่าเราแผ่คลื่นเย็น แผ่ความสุข กระแสแห่งเมตตา แห่งบุญที่ชุ่มเย็น
    ที่เรากำลังสัมผัสอยู่นี้
    ให้ใช้จินตภาพ นึกภาพประกอบ
    นึกภาพ พร้อมความรู้สึกว่า
    มีแสงสว่าง มีรัศมี สีทอง หรือเป็นประกายเพชร ใสสว่าง ระยิบระยับ
    ส่องสว่างจากกลางอก กลางหัวใจ กลางดวงจิตของเรา กลางพระหทัยของภาพพระที่เรานึกถึงอยู่
    แออกมาคล้ายคลื่นวงน้ำ ดั่งผืนน้ำที่ราบเรียบ มีก้อนหินตกกระทบ มีคลื่นน้ำกระจายออกโดยรอบจากหัวใจของเรา
    ส่องสว่าง กระจายออกไปจากร่างกายของเรา แผ่ออกไป ยังบ้านของเรา
    เห็นว่าสิ่งใด วัตถุใด ดวงจิตใด ที่ได้สัมผัสกับคลื่นเมตตาของเราก็เปลี่ยนสภาพ แปลสภาพเป็นเนื้อเพชร ใสระยิบระยับ
    มีความสุขความเอิบอิ่ม กระจายจากบ้านของเรา ขยายออกไป ยังตำบล จังหวัเ
    จนปกคลุมประเทศไทยทั้งหมด เห็นภาพประเทศไทยเรืองแสงสว่างเป็น สีทอง สีเพชร
    กระจาย แผ่ออกไปยังโลกทั้งใบ ยังผืนน้ำ มหาสุมทร แผ่ดิน ทุกหย่อมหญ้า
    ให้ทุกๆดวงจิตบนโลกใบนี้ มีแต่สันติสุข มีแต่ความรัก ความเอิบอิ่ม ความชุ่มเย็น ความสุข แบบที่เรากำลังสัมผัสอยู่ณขณะนี้

    แผ่เมตตาจากโลกใบนี้ ที่เป็นเพชรระยิบระยับ กระจายสว่าง ไปยังทั้งจักรวาล อนันตจักรวาล
    แสงสว่าง กระจายส่องสว่าง ท่ามกลางจักรวาลที่มืดมิด มอบกระแสแห่งความปรารถนาดี ความเมตตา ความสุข ชุ่มเย็น ไปยังทุกๆดวงจิตทั่วทั้งจักรวาลนี้เสมอกัน

    แผ่เมตตาออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ

    ยิ่งกระแสเย็นแห่งเมตตาของเราไปกระทบกับดวงจิตของผู้ใด ก็ให้เห็นภาพ ว่าดวงจิตของเขาแย้มยิ้ม สว่างขึ้น ด้วยบุญ ด้วยกุศล ด้วยเมตตา

    แผ่เมตตาส่องสว่างไปยังทิศเบื้อล่าง ลงไปไม่มีที่สิ้นสุด ยังภพภูมิ ของสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก
    ขึ้นไปยังทิศเบื้องบน ของรุกขเทวดา ภุมเทวดา อากาศเทวดา พรหม อรูปพรหม จนถึงพระนิพพาน

    ขอให้ทุกดวงจิต เจ้ากรรมนายเวร ญาติ มิตรสหาย ได้รับกระแสแห่งเมตตาของเราเสมอกัน

    ผู้ใดได้รับกระแสแห่งเมตตา อันไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณนี้ ขอให้ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้โดยเร็วไวด้วยเทอญ
    ก็จะเป็นการควบอารมณ์พระนิพพาน เอาไว้ในการแผ่เมตตาของเราทุกครั้ง

    แล้วเราก็แผ่ไปเรื่อยๆ ตราบนานเท่าที่เราต้องการ
    เมื่อได้ฌาณในเมตตาแล้ว จะรู้ว่า สุขกว่าฌาณของการจับลมหายใจหลายเท่านัก
    ยิ่งเรารัก เราเมตตา เราปรารถนาดีต่อผู้อื่นเท่าไหร่
    ความเย็นของเมตตาก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

    เป็นสิ่งที่ยิ่งให้ ยิ่งได้อย่างไม่มีวันหมด ไม่มีที่สิ้นสุด
    จึงเป็นเมตตาอัปปมาณฌาณ หาที่สิ้นสุดหาที่ประมาณไม่ได้


    5. วิธีที่ผมบริกรรมพุทโธ โดยไม่สนใจลม เป็นวิธีที่ถูกต้องหรือปล่าวครับ เพราะผมลอง
    ทำหลายวิธีแล้ว คิดว่าวิธีนี้เหมาะกับผมที่สุด เพราะเวลาบริกรรมไปแล้ว ก็จะรู้ลมไปด้วย
    แต่ผมไม่ได้เน้นดูลม ซึ่งผมลองเอาคำบริกรรมไปผูกกับลม รู้สึกแน่หน้าอกครับ
    พอจิตเป็นสมาธิ คำบริกรรมก็หายไป จิตก็หันมาดูลมเองครับ

    ก็ได้ครับ แต่ให้เราทำเพิ่มว่า เวลาภาวนาพุทโธ ก็ตั้งจิตเอาไว้ด้วยว่า
    เรากำลังขอบอาราธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ทุกท่านทุกพระองค์ ให้พระองค์ ให้ท่านทั้งหลาย ทรงเมตตา ให้จิตของเราเป็นสมาธิ ตั้งมั่นได้โดยง่าย

    และพอจิตเหลือแต่ลมหายใจก็จับลมตลอดสาย ลมหายใจที่ไหลเข้า ไหลออก อย่างต่อเนื่อง ไปเรื่อยๆ สบายๆ
    จนกระทั่งลมหายใจเบา สบายจนหยุดไป
    ลมหายใจจะกลับมา จะหยุดไป ก็ไม่ต้องสนใจ
    เน้นว่า พุทโธ ก็ตาม จับลมหายใจก็ตาม ถ้าทำให้ใจของเราสบายได้ ก็เกิดผล

    หลักที่สำคัญที่สุดก็คือ ภาวนาแล้วใจสบาย ภาวนาแล้วใจเบา
    ถ้าภาวนาแล้ว ใจเบา โปร่ง โล่ง สบาย ถือว่าก้าวหน้าแล้วครับ
    พอตั้งใจแบบนี้ จะรู้สึกว่าสมาธิเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นอีกครับ

    มีแค่นี้ครับ สำหรับข้อสงสัย พอดีรู้สึกว่าช่วงนี้ปฏิบัติได้ดีขึ้น

    ก็ดีขึ้นครับ จิต เบา จิตสบายมากขึ้น
    เรื่องศีล5 เดี้ยวมันก็บริสุทธิ์เองครับ อีกไม่นานหรอกครับ จะเริ่มมีอาการกินเหล้าไม่ลง
    พอถึงจุดนั้น ก็สบายแล้วครับ จะไม่ไหลกลับมาอีก

    ขอให้กำลังใจ ปฏิปทา เพื่อความดี ที่ได้ตั้งใจเอาไว้ดีแล้ว
    แม้จะมีอุปสรรคบ้าง มีบททดสอบ ในความดีบ้าง
    แต่เราก็ฝ่าฟัน ก็ผ่านพ้นมันมาได้ เมื่อผ่านแล้วก็ขอให้ผ่านไปเลย ไม่ต้องย้อนกลับมาทดสอบในจุดเดิมซ้ำอีก
    อดีตเป็นยังไงไม่ต้องสนใจ วันนี้เราไม่เหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้ว
    ขอให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป อย่างไม่ถอยหลังอีกต่อไป ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2010
  11. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    ผลสมาบัติในโลกียวิสัยจิตก็ยังใกล้ชิดกับอบายภูมิเหมือนเดิม

    คืนก่อนอากาศร้อนอบอ้าว นอนไม่หลับเลยลุกมานั่งภาวนาไปเรื่อยๆ พอใจสงบดีแล้ว เห็นอากาศมันร้อนนักเลยไล่อาโปกสิณเล่นแก้กลุ้ม แล้วอธิษฐานขอความเย็นจากธาตุน้ำมาช่วยผ่อนคลายความร้อนของกาย ก็พอช่วยให้บรรเทาอาการเหงื่อไหลไคลย้อยไปได้ (คงจะเป็นอุปทานนะผมว่าที่ทำให้กายเย็นขึ้น ไม่มีเหงื่อไหลไคลย้อยให้รำคาญใจ)

    สมาชิกท่านใดที่ลองเล่นอาโปกสิณอยู่ ลองใช้วิธีนี้ดูครับจะพบว่าประหยัดค่าไฟฟ้าของพัดลม เครื่องปรับอากาศดีนักแล

    ความจริงถ้าไล่อานาปนสติไปถึงตัวหาย ลมหายใจหาย กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด มันก็ไม่รู้สึกร้อนแล้วครับ ไม่ต้องไปไล่อาโปกสิณให้เสียเวลา แต่ทีนี้อยากจะลดกำลังลงมาที่อุปจารสมาธิเพื่อการวิปัสสนา (ที่เป็นภารกิจหลัก) เลยต้องใช้อาโปกสิณช่วย

    ทีนี้พออาการเหงื่อไหลไคลย้อยบรรเทาลงไปแล้ว ก็ไปจับวิปัสสนาไปตามเรื่อง ไปๆ มาๆ มันฟุ้งซ่านมาก พิจารณาไปว่าฌาณสมาบัติขั้นโลกีย์ถึงจะเข้มข้นอย่างไร ก็ไปสัมผัสอารมณ์ของนิพพานไม่ได้ ทิพยจักขุญาณมีแค่ไหนก็ไปเห็นนิพพานไม่ได้

    ทีนี้มีความรู้สึกบอกมาว่าให้ทำ "โครตภูญาณ"ให้ปรากฏ ก็จะสามารถสัมผัสกับอารมณ์นิพพานเป็นการชั่วคราวได้ (อืมม์ ดีมาก โดนแทรกแซงกิจการภายในเข้าอีกแล้ว โดยท่านที่ไม่ทราบฝ่าย)

    ติดใจเลยไปค้นตำราดู เห็นหลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยบอกว่า ตัวโครตภูญาณนี้จิตมันอยู่ระหว่าง โลกีย์ กับ โลกุตตระ คือ ความเป็นคนกับความเป็นพระอริยเจ้า ท่านเปรียบเหมือนกับ ลำรางเล็ก ๆ คือ ขาหนึ่งยืนอยู่นี่ อีกขาหนึ่งฝ่ายโลกีย์ ยังยกไม่ขึ้น

    อ่านตามท่านอธิบายนี้ ดูไม่ยาก แต่การปฏิบัตินี่ จะทำอย่างไรให้เข้าถึงหรือทำให้ญาณตัวนี้ปรากฏขึ้นมาได้ ยังไม่เข้าใจ

    ก็ขอเอามาสอบถามในทีนี้ไว้ก่อนนะครับ จึงเรียนมาเพื่อขอคำแนะนำในการปฏิบัติเพื่อการเข้าถึง "โครตภูญาณ" ด้วยครับ

    ขอขอบคุณในความอนุเคราะห์ล่วงหน้าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2010
  12. Ukie

    Ukie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +594
    หวัดดีค่ะ มีเรื่องมาขอคำแนะนำ


    จากที่เคยโพสถามไปเมื่อเกือบ ๆ เดือนที่ผ่านมา เพิ่งผ่านอาการที่ว่า นั่งสมาธิแล้วคล้ายสัปหงกแล้วมาสว่างค่ะ เพิ่งผ่านมาได้ 2-3 วันนี้ค่ะ ก้อมีความรู้สึกว่าอยู่ในสมาธิได้นานขึ้น แต่ยังติดอยู่ที่ คำภาวนายังอยู่ บางครั้งเหมือนลืมคำภาวนา เข้าใจว่าตัวเองลืม เพราะจิตที่คิดยังมีอยู่ แบบว่าชอบคิดในนั้นด้วยค่ะ พอคิดแล้วก้อปล่อยคำภาวนา ต้องดึงกลับมาอีกไหมค่ะ เหรอเลิกคิดซะ อยู่ในนั้นไม่ควรคิด


    แล้วพอนั่งสมาธิเสร็จก้อนอนน่ะค่ะ แต่ไม่ได้ตั้งใจเข้าสมาธินะคะ ตั้งใจจะนอนค่ะ
    นอน ๆ อยู่ดี ๆ ก้อสัปหงกเฉยเลยค่ะ เป็นได้ 1-2 วัน ที่ผ่านมานี้เองค่ะ พอสัปหงกจิตก้อตื่น พอหลับ ๆ ไปอีกสักพัก ได้ยินเสียง คิดว่าน่าจะเป็นรถที่แล่นมาเปิดเพลงดัง
    อ่ะค่ะ มันเหมือนกับถูกดูดเข้ามาในหู แล้วดังก้องอยู่เต็มในหัว ก้อเลยตกใจตื่นค่ะ ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร

    อยากทราบว่า สมาธิที่ได้ทำมาพัฒนาขึ้นใช่ไหมค่ะ รบกวนให้คำแนะนำด้วยค่ะ
     
  13. รักเลย

    รักเลย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    319
    ค่าพลัง:
    +2,924
    มีคำถามขอคำแนะนำคะ
    คือ เวลาทำสมาธิแล้วปวดหัวคะ เพราะอะไรคะ
    แล้วจะแก้ไขยังไงคะ

    ขอบคุณคะ
     
  14. kavisara

    kavisara เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +502
    เมื่อเช้านั่งสมาธิก็มีอาการโยก ตัวลอย ปวดตาที่สาม ครางเป็นเสียงออกมา และเห็นเป็นภาพเงาคล้ายเศียรพญานาค และเป็นจุดที่เหมือนจะดิ่งเข้าไปในอุโมงค์ แต่ก็เหมือนเข้าไปได้นิดเดียว และมีปิติคือขนลุกชัน ช่วยแนะนำด้วยว่าต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป
     
  15. Maxzimon

    Maxzimon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +204
    ไม่ได้พิมลงเสียนาน ช่วงนี้ผมกำลังหาที่ยึดเหนี่ยวอยู่
    เมื่อเกิดปัญญา มันจะมีปัญหาตามมาเสมอ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งสงสัย จนบัดนี้เริ่มสงสัยใน นิพพาน สงสัยในตนเอง สงสัยในสิ่งที่รู้มา สงสัยไปหมด
    - นิพพานคือสิ่งใดควรคิดต่อไหมครับ
    - ตัวเอง จะไปทางไหนกันแน่ บางวันก็หมกหมุ่น บางวันก็สบายๆ จนมึนไปหมด
    - ความรู้บางอย่างมันเป็นเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง

    ตอนนี้บางวันผมรู้สึกเบื่อหน่ายกับการไปนิพพาน บางวันผมรู้สึกกระตือรือล้นที่จะไปนิพพาน บางวันรู้สึกอยากคิดอะไรเรื่อยเปื่อยค้นหาความจริงในเรื่องไม่เป็นเรื่อง
    บางวันรู้สึกเหนื่อยหน่ายจนไม่อยากทำอะไร งงกับชีวิตตัวเองมากครับ

    ช่วงนี้ผมก็ยังฝึกสมาธิอยู่เช่นเดิมเพียงแต่รู้สึกมันไม่เข้าที่เข้าทาง อาจจะเป็นเพราะคิดมาก กับนอนไม่พอครับ
     
  16. Hierophant

    Hierophant สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +2
    ถามท่าน Xorce ครับ

    พอนั่งสมาธิไปได้ซักระยะหนึ่ง แล้วจะมีความรู้สึกเหมือนว่าลมหายใจเข้า-ออก สั้นลงเรื่อยๆ แล้วมีความรู้สึกวูบเข้ามาที่ใจเรา ล้มหายใจที่เข้าออก ก็หายไปเลยครับ ไม่รู้สึกว่าหายใจอีกแล้ว รู้สึกนิ่งเฉยๆ เหลือเพียงแค่ใจเรา เหมือนเราเป็นส่วนหนึ่งของอากาศ มีความรู้สึกแผ่กว้างออกไป ตอบหน่อยครับคืออะไร
    ขอบคุณครับ
     
  17. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Nickaz ครับ

    คืนก่อนอากาศร้อนอบอ้าว นอนไม่หลับเลยลุกมานั่งภาวนาไปเรื่อยๆ พอใจสงบดีแล้ว เห็นอากาศมันร้อนนักเลยไล่อาโปกสิณเล่นแก้กลุ้ม แล้วอธิษฐานขอความเย็นจากธาตุน้ำมาช่วยผ่อนคลายความร้อนของกาย ก็พอช่วยให้บรรเทาอาการเหงื่อไหลไคลย้อยไปได้ (คงจะเป็นอุปทานนะผมว่าที่ทำให้กายเย็นขึ้น ไม่มีเหงื่อไหลไคลย้อยให้รำคาญใจ)

    ทำได้จริง
    เราสามารถใช้อารมณ์ของเมตตา ชะโลมให้เย็นทั่วร่างก็ได้
    หรือสูงสุดก็ขอบารมีจากพระท่านบนพระนิพพาน มาล้าง มาบรรเทาในอาการร้อนของร่างกายได้

    สมาชิกท่านใดที่ลองเล่นอาโปกสิณอยู่ ลองใช้วิธีนี้ดูครับจะพบว่าประหยัดค่าไฟฟ้าของพัดลม เครื่องปรับอากาศดีนักแล

    ความจริงถ้าไล่อานาปนสติไปถึงตัวหาย ลมหายใจหาย กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด มันก็ไม่รู้สึกร้อนแล้วครับ ไม่ต้องไปไล่อาโปกสิณให้เสียเวลา แต่ทีนี้อยากจะลดกำลังลงมาที่อุปจารสมาธิเพื่อการวิปัสสนา (ที่เป็นภารกิจหลัก) เลยต้องใช้อาโปกสิณช่วย

    ทีนี้พออาการเหงื่อไหลไคลย้อยบรรเทาลงไปแล้ว ก็ไปจับวิปัสสนาไปตามเรื่อง ไปๆ มาๆ มันฟุ้งซ่านมาก พิจารณาไปว่าฌาณสมาบัติขั้นโลกีย์ถึงจะเข้มข้นอย่างไร ก็ไปสัมผัสอารมณ์ของนิพพานไม่ได้ ทิพยจักขุญาณมีแค่ไหนก็ไปเห็นนิพพานไม่ได้

    ทีนี้มีความรู้สึกบอกมาว่าให้ทำ "โครตภูญาณ"ให้ปรากฏ ก็จะสามารถสัมผัสกับอารมณ์นิพพานเป็นการชั่วคราวได้ (อืมม์ ดีมาก โดนแทรกแซงกิจการภายในเข้าอีกแล้ว โดยท่านที่ไม่ทราบฝ่าย)

    ติดใจเลยไปค้นตำราดู เห็นหลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยบอกว่า ตัวโครตภูญาณนี้จิตมันอยู่ระหว่าง โลกีย์ กับ โลกุตตระ คือ ความเป็นคนกับความเป็นพระอริยเจ้า ท่านเปรียบเหมือนกับ ลำรางเล็ก ๆ คือ ขาหนึ่งยืนอยู่นี่ อีกขาหนึ่งฝ่ายโลกีย์ ยังยกไม่ขึ้น

    อ่านตามท่านอธิบายนี้ ดูไม่ยาก แต่การปฏิบัตินี่ จะทำอย่างไรให้เข้าถึงหรือทำให้ญาณตัวนี้ปรากฏขึ้นมาได้ ยังไม่เข้าใจ

    ก็ขอเอามาสอบถามในทีนี้ไว้ก่อนนะครับ จึงเรียนมาเพื่อขอคำแนะนำในการปฏิบัติเพื่อการเข้าถึง "โครตภูญาณ" ด้วยครับ

    โคตรภูญาณนั้น เป็นอารมณ์ที่ใช้ในการฝึกมโนมยิทธิ

    เรียกอีกอย่างว่า โสดาปัตติมรรคก็ได้ คือผู้ที่ดำเนินอยู่บนเส้นทางแห่งการเป็นพระโสดาบัน แต่ว่ายังไปไม่ถึง

    ถ้าว่าตามทฤษฏี ก็คือการตัดสังโยชน์สามให้ขาดจากจิตของเราชั่วขณะ
    ทรงจิตในอารมณ์พระโสดาบันให้ได้ชั่วขณะหนึ่ง

    ก็คือ
    1. จิตมีความเคารพนอบน้อม ศรัทธา ในพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆเจ้า อย่างถึงที่สุด รัก และเคารพพระพุทธเจ้าสุดหัวใจ
    2.มีศีล5อันเกิดจากเมตตา ให้เจริญเมตตา พรหมวิหาร4 จนรู้สึกรักทุกๆดวงจิต รักทุกๆสรรพชีวิต จนทำร้ายบุคคลลใดไม่ลง
    3.พิจารณาร่างกายว่าไม่เที่ยงเราเกิดมาแล้ว ซักวันก็ต้องตาย
    แต่ดวงจิตยังต้องดำเนินต่อไป ไม่มีวันดับสูญ
    ดังนั้นหากเราตายจากชาตินี้เมื่อไหร่ ความเป็นมนุษย์มันทุกข์ เราไม่ปรารถนา เทวดา พรหม อรูปพรหมก็ทุกข์
    ตายเมื่อไหร่พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใด เราขอไปที่นั่นเพียงจุดเดียวเท่านั้น
    ถ้าอารมณ์แน่วแน่ในพระนิพพาน รักพระนิพพาน อยากไปพระนิพพาน อย่างแท้จริง ก็ถึงโคตรภญาณ

    พอถึงจุดนี้อารมณ์ได้แล้วแต่ภาพยังไม่ปรากฏ
    ให้เราเข้าอรูปตามกำลังจนถึงที่สุด
    จากนั้นถอยมาทรงภาพพระพุทธเจ้า เห็นพระองค์แย้มยิ้ม มีฉัพพัณรังสี สว่างไสว เปล่งประกายถึงที่สุด
    แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ลูกเคารพรัก อย่างสุดหัวใจ
    ขอพระพุทธองค์ทรงเมตตาสงเคราะห์ ให้ข้าพเจ้าผู้มีจิตปรารถนาในพระนิพพานอย่างแรงกล้านี้
    ได้เข้าถึงซึ่งสภาวะแห่งพระนิพพานด้วยเทอญ

    พระพุทธเจ้าเมื่อทรงเข้าถึงซึ่งสภาวะพระนิพพานแล้ว มีสภาวะ มีอารมณ์ความสุข ความชุ่มเย็นเพียงไร
    ขอภาพพระพุทธองค์นี้ เปลี่ยน เป็นภาพสภาวะของพระองค์บนพระนิพพาน
    อันสว่าง ชัดเจน งดงาม และบังเกิดอารมณ์อันสุข อิ่มล้น ชุ่มเย็น อย่างถึงที่สุดด้วยเทอญ

    จากนั้นทำใจสบายๆ จะบังเกิดภาพ สภาวะของพระองค์บนพระนิพพานขึ้น พร้อมกับอารมณ์ความชุ่มเย็นแห่งพระนิพพาน ปรากฏขึ้นแก่ดวงจิตของเรา

    ทำได้แน่ครับ แต่ต้องศรัทธาพระพุทธเจ้าให้สุดหัวใจ
    เพราะตัวศรัทธาในพระรัตนตรัย และปรารถนาพระนิพพาน คืออารมณ์ที่ตัดสังโยชน์

    แต่ผมแนะนำให้ลองหา ไฟล์ของหลวงพ่อฤาษีที่ท่านนำมโนมยิทธิ หรือของคุณแม่รัมภา หรือหาเวลาไปฝึกมโนด้วยตัวเอง

    หรือถ้าไม่อยู่ในสถานที่ที่จะฝึกได้
    ลองติดต่อมาทาง pm ครับ เดี้ยวผมจะหาเวลานำให้ผ่านทาง msn หรือ skype ให้

    ขอให้จิตบังเกิดความสว่าง ชุ่มเย็น อิ่มเอิบในธรรม เข้าถึงซึ่งสภาวะแห่งพระนิพพาน
    อันมีความสะอาด บริสุทธิ์ หมดจด ประดุจเพชรมณีโชตินั้น ได้โดยฉับพลันทันใด ด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  18. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Ukie ครับ

    หวัดดีค่ะ มีเรื่องมาขอคำแนะนำ


    จากที่เคยโพสถามไปเมื่อเกือบ ๆ เดือนที่ผ่านมา เพิ่งผ่านอาการที่ว่า นั่งสมาธิแล้วคล้ายสัปหงกแล้วมาสว่างค่ะ เพิ่งผ่านมาได้ 2-3 วันนี้ค่ะ ก้อมีความรู้สึกว่าอยู่ในสมาธิได้นานขึ้น แต่ยังติดอยู่ที่ คำภาวนายังอยู่ บางครั้งเหมือนลืมคำภาวนา เข้าใจว่าตัวเองลืม เพราะจิตที่คิดยังมีอยู่ แบบว่าชอบคิดในนั้นด้วยค่ะ พอคิดแล้วก้อปล่อยคำภาวนา ต้องดึงกลับมาอีกไหมค่ะ เหรอเลิกคิดซะ อยู่ในนั้นไม่ควรคิด

    ไม่ควรคิด เพราะจิตที่นิ่งเป็นฌาณคือสภาวะที่ไม่คิด
    การดึงอารมณ์ของความคิดกลับมา คือ การฝืนการเข้าถึงสมาธิของตัวเอง
    ปล่อยจิต ให้นิ่ง หยุด พักผ่อน ในความสงบ ความสบาย ของใจของเรา

    แล้วพอนั่งสมาธิเสร็จก้อนอนน่ะค่ะ แต่ไม่ได้ตั้งใจเข้าสมาธินะคะ ตั้งใจจะนอนค่ะ
    นอน ๆ อยู่ดี ๆ ก้อสัปหงกเฉยเลยค่ะ เป็นได้ 1-2 วัน ที่ผ่านมานี้เองค่ะ พอสัปหงกจิตก้อตื่น พอหลับ ๆ ไปอีกสักพัก ได้ยินเสียง คิดว่าน่าจะเป็นรถที่แล่นมาเปิดเพลงดัง
    อ่ะค่ะ มันเหมือนกับถูกดูดเข้ามาในหู แล้วดังก้องอยู่เต็มในหัว ก้อเลยตกใจตื่นค่ะ ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร

    จิตมันเป็นสมาธิตอนนอนครับ มันเลยจะยื้อๆกันอยู่ ระหว่างจะหลับอย่างมีสติ กับหลับอย่างที่เคยหลับ
    ก็ไม่เป็นไรครับอีกหน่อยก็ชินเองครับ
    ส่วนที่เหมือนเสียงดูดนั้น เป็นอาการของสมาธิอย่างนึงครับ
    ถ้าไม่ตกใจเสียก่อนจิตก็จะนิ่ง
    ดสำคัญคือ ทำใจสบายๆ ไม่ต้งกลัวว่า จะนอนไม่หลับ
    พอใจสบายๆ เดี้ยวมันก็จะหลับเองครับ
    บางครั้งมันก็หลับโดยที่จิตตื่นอยู่ แต่ตื่นขึ้นมาร่างกายก็จะไม่เหนื่อย จิตก็จะสดชื่น

    อยากทราบว่า สมาธิที่ได้ทำมาพัฒนาขึ้นใช่ไหมค่ะ รบกวนให้คำแนะนำด้วยค่ะ

    พัฒนาขึ้นครับ
    ให้ลองฟังไฟล์ของผมด้วยนะครับ
    พอได้ฟังแล้ว จะช่วยคลายสิ่งที่คาใจได้เยอะครับ<!-- google_ad_section_end -->

    ฟังแล้วฝึกตาม เป็นยังไงบ้าง ก็ลองมาเล่าให้ฟังด้วยนะครับ

    ขอให้เข้าถึงซึ่งจิตใจอันงดงาม สุข ชุ่มเย็น เอิบอิ่ม ในสายน้ำ ในกระแสแห่งธรรมธาราของพระพุทธเจ้า
    ได้โดยยิ่งๆขึ้น โดยฉับพลันทันใด ด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  19. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Ni-Cha ครับ

    มีคำถามขอคำแนะนำคะ
    คือ เวลาทำสมาธิแล้วปวดหัวคะ เพราะอะไรคะ
    แล้วจะแก้ไขยังไงคะ

    เกิดจากอารมณ์หนักครับ ตั้งใจ เพ่ง เกร็ง เครียดมากไปกับการทำสมาธิ
    ให้เราคลาย ผ่อน อารมณ์จิตของเราให้สบาย ให้เบา ให้หย่อนลงมา

    สมาธิก็คือ อารมณ์สบาย ฝึกทำจิตของเราให้เบา ให้สบาย
    ถ้าวันนี้เราฝึกแล้วใจสบายกว่าเมื่อวาน ก็ถือว่าเกิดผลแล้วครับ
    ไม่ต้องไปวัด ที่ภาพที่เห็น แสงสว่าง หรือจะให้เป็นฌาณนั้น ฌาณนี้
    เน้นใจสบายเป็นสำคัญครับ

    ลองโหลดไฟล์ไปฟังดูนะครับ
    เพราะผมสอนเน้นคลายอารมณ์หนักโดยเฉพาะ และอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดครับ

    ขอให้จิตเกิดอารมณ์ สภาวะจิต ที่มีความ เบา สบาย นิ่ง ชุ่มเย็น โปร่งโล่ง ลมหายใจหยุดไป
    ได้โดยเร็วไว ด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  20. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ นู๊ดเดิ้ล ครับ

    เมื่อเช้านั่งสมาธิก็มีอาการโยก ตัวลอย ปวดตาที่สาม ครางเป็นเสียงออกมา และเห็นเป็นภาพเงาคล้ายเศียรพญานาค และเป็นจุดที่เหมือนจะดิ่งเข้าไปในอุโมงค์ แต่ก็เหมือนเข้าไปได้นิดเดียว และมีปิติคือขนลุกชัน ช่วยแนะนำด้วยว่าต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป<!-- google_ad_section_end -->

    เทพเจ้าทุกๆพระองค์ ผู้มีจิตเป็นสัมมาทิษฐิ ท่านเคารพพระพุทธเจ้าทั้งหมด

    เพราะพระองค์ทรงเป็นพระวิสุทธิเทพ เป็นเทพเจ้าผู้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทุกประการ

    เมื่อเราเจอพระพุทธเจ้าแล้ว จะไปแสวงหาสิ่งอื่นอีกทำไม

    หากอยากได้ฌาณ ญาณ สมาธิ ทิพยจักษุญาณ ก็หาได้ในพระพุทธศาสนา หาได้ในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หาได้ในพระอริยสงฆ์สาวกของพระองค์

    จะแสวงหาจากที่อื่นก็เหมือนการเดินทางอ้อมโลก สิ่งที่เราต้องการอยู่ตรงหน้านี่เอง

    ถ้าทำสมาธิแล้ว มันเกิดอาการที่แปลกปะหลาด ทำให้เราเกิดความทุกข์มากกว่าเดิม
    ยิ่งฝึกยิ่งทุกข์มันก็คือ ปฏิบัติผิดทาง

    ถ้าฝึกถูก เพียงฝึกครั้งแรกก็ต้องสุข อิ่มเอิบ ชุ่มเย็น เกิดความซาบซึ้งในธรรมะของพระพุทธองค์

    ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรจะทำก่อนฝึกสมาธิ คือ มีไตรสรณคมเสียก่อน
    หากยังไม่มีไตรสรณคมก็อย่าพึ่งฝึกสมาธิ เพราะย่อมไม่นำไปสู่อารมณ์ใจที่มีความสุข เบา สบายได้

    หากปรารถนามรรคผลนิพพาน ต้องอธิษฐานไตรสรณคมไปก่อน
    ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งไตรสรณคม เป็นสรณที่พึ่งสูงสุดประจำดวงจิตของข้าพเจ้า ไม่มีสรณใดยิ่งกว่า
    ตลอดไปทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกขณะจิต ทุกภพชาติ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน
    อวิชชา คูณไสย ใด ที่ข้าพเจ้าเผลอไปรับมา ข้าพเจ้า ขอถอน ขอล้าง ขอสลายให้หมดสิ้นไปจากดวงจิต ของข้าพเจ้า ณขณะจิตนี้ ด้วยบารมีแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยด้วยเทอญ

    อธิษฐานย้ำไปสามครั้ง ต่อหน้าพระพุทธรูป

    แล้วจิตจะเกิดความเบาสบาย ชุ่มเย็น จากนั้นจึงค่อยเริ่มฝึกสมาธิอีกครั้ง

    อาการที่เคยมีจะไม่ปรากฏอีก หากเราอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ในพระรัตนตรัย

    ขอให้มีไตรสรณคม ตั้งมั่นแก่ดวงจิต ทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกขณะจิต ทุกภพชาติ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน
    ญาณรู้เห็นใดจะพึงปรากฏขึ้น ขอให้ปรากฏขึ้นจากความแน่วแน่ในไตรสรณคม อันตั้งมั่น ประดุจพื้นปฐพี ไม่อาจสั่นคลอนได้ นั้น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...