รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. manussanun

    manussanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +202
    ดังนั้นเวลาเราฝึกจริงๆแล้วถ้าจะฝึกสมาธิ ก็ตั้งเป้าไว้จุดเดียวครับ
    คือใจสบาย ใจสบายเมื่อไหร่พอเมื่อนั้น พอใจสบายแล้ว ประคองใจให้สบายเอาไว้ทั้งวัน
    ถ้าวันทั้งวันใจเราสบายได้ จิตเราก็เป็นสมาธิทั้งวัน
    ดังนั้นถ้ามีแสงบ้าง อาการแปลกๆบ้าง เวลาเราทำสมาธิก็ไม่ต้องสนใจนะครับ
    จับอารมณ์สบายไว้อย่างดียวก็พอแล้วครับ พอใจสบายแล้ว ได้ทุกอย่างครับ
    ขอให้ทุกๆคนลองหาอารมณ์สบายของเราให้เจอครับ[/QUOTE]

    -----------------------------------------------------------------

    อนุโมทนาครับ
    ชัดเจนครับ แบบนี้ถูกกับจริตผมเลย เป็นคนสบายๆง่ายๆ
    ขอเอาไปลองฝึกดูบ้างนะครับ
     
  2. pichetchep

    pichetchep สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +1
    ผมได้นั่งสมาธิโดยใช้การดูลมเข้าออกที่ปลายจมูกครับ นั่งไปสักพักหลังจากมีอาการขนลุกแล้วพบว่าเหมือนมีตัวอะไรไต่ตามตัวเข้าปากเข้าจมูกก็เลยตามดูเฉยๆจนมันหยุดไต่แล้ว แต่ไม่สนใจลมหายใจมันก็นิ่งๆอยู่อย่างนั้นแบบว่าไม่รู้สึกอะไร มันนิ่งๆดิ่งๆบอกไม่ถูกครับและก็ไม่เห็นอะไรด้วย บางที่ก็เหมือนไม่มีตัวอยู่แต่เหมือนจะรู้สึกเห็นได้ 380 องศาเลย(บางครั้ง)ไม่รู้ว่าผมปฏิบัติถูกทางหรือเปล่า และจะทำยังไงต่อ อีกอย่างผมเคยปวดฟันอย่างหนักเลยนั่งสมาธิดูความเจ็บปวด พบว่ามันจะพบจุดปวดที่สุดปวดมากๆเลยนั่งดูไปเรื่อยๆมันก็หายปวดรู้สึกแค่เย็นๆ อาการอย่างนี้หมายถึงยังไงครับ แต่เวลาออกสมาธิสักพักมันก็จะเริ่มปวดขึ้นอีก จนปัจจุบันนั่งไปเรื่อยๆกลับรู้สึกตึงที่ปลายจมูกบางทีก็กลางหน้าผากมันตึงตลอดเวลาเมื่อนึกถีง (ไม่ได้นั่งสมาธิ )แต่นั่งสมาธิแล้วก็หายขณะนั่ง เลยไม่รู้ว่ามาถูกทางหรือเปล่า
    รบกวนท่านผู้รู้ชี้แนวทางด้วยครับ
     
  3. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    นำมาฝากค่ะเผื่อท่านที่สนใจจะได้เข้าใจในเรื่องเมตตาอัปปมาณฌานค่ะ

    <TABLE class=tborder id=post3053172 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->1535<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3053172", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Dec 2009
    ข้อความ: 21
    Groans: 0
    Groaned at 0 Times in 0 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 191
    ได้รับอนุโมทนา 183 ครั้ง ใน 17 โพส
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_3053172 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- google_ad_section_start -->ถอดเทปการสอนสมาธิในช่วงที่ ๑ ของอาจารย์คณานันท์ ทวีโภค เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ.เมตตาภิรมณ์สถาน

    เมตตาอัปปมาณฌาณ และศานติบุรี

    วันนี้เราจะมาเรียนในเรื่องการทำสมาธิจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นฐานของการทำสมาธิกัน ก่อนอื่นอยากปูพื้นในการซึมซับรับฟังธรรมะเข้าสู่จิตสู่ใจ ธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านจะมีลักษณะพิเศษอยู่จุดหนึ่งคือ ธรรม…เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดจากจิตสู่จิต
    หลายท่านอาจจะเคยได้ยินจากสายพระป่า สายครูบาอาจารย์ สายหลวงปู่ดูลย์ นั่นหมายความว่าภูมิจิตภูมิธรรมจากอาจารย์ทีี่สอนที่ถ่ายทอดสมาธิให้ได้ซึมซับเข้าสู่ใจของเรา และภูมิจิตภูมิธรรมทั้งหลายเหล่านั้นมีการสืบต่อสืบทอด ต่อเนื่องมานับตั้งแต่สมัยพุทธกาล นับตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์ท่านยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ เหตุนี้ถ้าเราพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้ว ก็จะยิ่งทำให้เราเข้าใจถึงพระคุณของพระอริยะสงฆ์ที่สืบต่อสืบทอดธรรมะจากจิตสู่จิต จากรุ่นสู่รุ่น องค์แล้วองค์เล่า เป็นเวลาสองพันห้าร้อยกว่าปีจนมาถึงวันนี้ พิจารณาเรื่องการรับฟัง การปฏิบัติจิต การปฏิบัติสมาธิ
    พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่า ให้เราตั้งอยู่ในหลักกาลามสูตร ฟังแล้วเราอย่าเพิ่งเชื่อเพราะเป็นตำราที่สืบต่อกันมา ฟังแล้วอย่าเพิ่งเชื่อเพราะตำรานั้นหรือสิ่งที่รู้อยู่ในพระคัมภีร์ เป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์พูดไว้สอนไว้ หรือสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่แม้พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสเองก็ตาม
    ที่ท่านตรัสเช่นนี้ มีหลายท่านเข้าใจผิดคิดว่าเมื่อเราฟังอะไรก็ตาม เราจะต้องคัดค้านโต้แย้ง หาเหตุผลหักล้างไว้ก่อน ที่จริงนั้นท่านไม่ได้หมายความเช่นนั้น ท่านอุปมาว่าเมื่อมีผู้รินน้ำแห่งธรรมให้กับเราเราหงายแก้วน้ำไว้รองรับน้ำ คือธรรมะคำสอนสิ่งที่ท่านตั้งจิตถ่ายทอดให้ แต่เราอย่าเพิ่งดื่ม... ถ้าเราคว่ำแก้วน้ำปิดจิตปิดใจไว้ เราจะได้รับประโยชน์จากการฟังธรรมไหม...
    นั่นก็คือ ให้เราหงายแก้ว ฟัง พิจารณา การพิจารณาก็อุปมาดังเมื่อเราได้รับน้ำที่มาสู่แก้วแล้ว เราพิจารณาดูว่าน้ำนั้นเป็นน้ำที่สะอาดไหม เป็นน้ำที่บริสุทธิ์ไหม เป็นน้ำมนต์ หรือเป็นยาพิษ น้ำมนต์ก็คือน้ำที่เมื่อเราดื่มไปแล้วเราจะอิ่มเอมใจ มีความสุข มีความเย็น มีความชุ่มฉ่ำ แต่ถ้าเป็นยาพิษ เป็นน้ำที่มีโทษ เราก็จะเกิดความเร่าร้อน ความทุกข์ กระตุ้นกิเลส กระตุ้นจิตใจเราให้รู้สึกเร่าร้อน
    เมื่อเราพิจารณาดูน้ำก็ประดุจว่าเราน้อมนำมาพิจารณาว่าธรรมที่เราได้ฟังอยู่นั้นมีคุณมีประโยชน์ไหม ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นไหม ตรองดูแล้วว่า หากธรรมใดนั้นเป็นไปเพื่อการละ การปล่อยวาง คลายจากความกำหนัด ความยินดี ความยึดมั่นถือมั่น เราพิจารณาแล้วเกิดผล เกิดอานิสงค์ เกิดประโยชน์ เกิดความสุข ยังประโยชน์ทั้งตัวเราเองก็ดี บุคคลอื่นก็ดี เป็นไปเพื่อธรรมอันก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ส่วนรวมก็ดี เราจึงค่อย.. โอปนยิโก.. คือน้อมนำเข้ามาสู่จิตสู่ใจของเรา นั่นก็คือเราจึงค่อยดื่ม...
    แต่ถ้าเราค้านไว้ก่อน หาเหตุผลโต้แย้งไว้ก่อนหรือคิดว่าเรารู้แล้ว เก่งแล้ว เรารู้หมดแล้ว เราต้องถามจิตเราเองว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้วหรือ ถ้าเรารู้หมดทุกอย่างแล้ว หรือเราบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว หรือเป็นพระสัพพัญญูญาณแล้ว ถ้าแม้นเราพิจารณาดูแล้วพบว่าเรายังไม่เป็นเช่นนั้น เราก็ลองเปิดจิตเปิดใจ หงายแก้วน้ำนั้นแล้วน้อมนำใช้ปัญญาพิจารณา โดยแยบคายที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
    พิจารณาน้ำในแก้วนั้น ธรรมที่เราฟังนั้นว่า เกิดประโยชน์ไหม เกิดผลสืบต่อแก่การปฏิบัติไหม เกิดประโยชน์สุขแก่กายแก่ใจเราไหม เมื่อพิจารณาโดยแยบคายละเอียดเห็นผลเห็นอานิสงค์โดยชัดเจนแล้ว เราจึงค่อยน้อมนำเข้าสูจิตสู่ใจสู่การปฏิบัติ นั่นจึงจะเรียกว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักกาลามสูตรอย่างแท้จริง...

    แล้วเราก็ตั้งใจอธิษฐานด้วยจิตของเราอีกทีหนึ่งว่า หากแม้ธรรมใดเป็นธรรมะที่ตรงกับพุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้า ธรรมะอันเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสขันธสันดานของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ ธรรมะอันประกอบไปด้วยธรรมอันเป็นสัมมาทิฐิ ยังให้มรรคมีองค์แปด ธรรมจักรหมุนเคลื่อนในจิตของเราเข้าสู่กระแสของโลกุตตระ ก็ขอให้ธรรมะนั้นจงซึมซาบเอิบอาบหล่อเลี้ยงกาย วาจา ใจ หัวจิตหัวใจของเราได้
    หากแม้นธรรมใดเป็นธรรมแห่งมิจฉาทิฐิ เป็นเครื่องแห่งความเสื่อม เกิดโทษ เกิดภัย ขออย่าให้ธรรมนั้นเข้าสู่กระแสจิตกระแสใจของข้าพเจ้าด้วยเถิด ขอให้มีแต่ธรรมอันบริสุทธิ์ ธรรมอันสะอาด ธรรมอันยังประโยชน์สุข ให้แก่ตัวของข้าพเจ้า ดวงจิตของข้าพเจ้า และมวลสรรพสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น

    เมื่อเราพิจารณาแล้ว ตั้งจิตอธิษฐานแล้ว เราก็น้อมจิตเข้าสู่ตัวสมาธิตัวสมถะ โดยกำหนดในกายของเรา ในอิริยาบทที่เรานั่งอยู่นี้ กำหนดคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน คลายจิตที่ผูกที่มัดที่ยึดอยู่กับกายของเรา กล้ามเนื้อส่วนใดที่ตึงที่เกร็งอยู่เรากำหนดให้มันคลายตัวออก ไล่ตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า คอ ไหล่ อก ลำตัว เอวสะโพก ต้นขา หัวเข่า เท้า ปลายเท้า ให้กล้ามเนื้อทุกส่วนคลายตัว ให้จิตเราที่เกาะที่ยึดอยู่กับกายนั้นคลายตัวออกไปให้ได้มากที่สุด
    กำหนดเป็นวิปัสสนาญาณควบไปกับกายคตาว่า เมื่อจิตของเราคลายจากอาการเกาะในร่างกายแล้ว นั่นก็คือ จิตของข้าพเจ้านั้น ปล่อยวางในกายของข้าพเจ้าด้วยไปพร้อม ๆ กัน ให้จิตคลายจากอาการเกาะตัว อาการเกร็ง ให้มีแต่อาการเบา โล่ง โปร่งสบาย เมื่อกายสบายจิตย่อมสบาย ก็ย้อนกลับมาจับในอาณาปานสติกรรมฐาน เห็นลมหายใจเข้า ลมหายใจออกตลอดทั้งสายทั้งกองลม ให้ค่อย ๆ เห็นลมหายใจเข้าตลอดทั้งสาย ลมหายใจออกตลอดทั้งสาย สำหรับท่านที่มีพื้นฐานในการปฏิบัติมาแล้ว เราจะกำหนดให้เห็นสายหรือกระแสของลมนั้น เป็นแก้ว เป็นแพรวไหม เป็นแก้วประกายพรึก ค่อย ๆ พริ้วผ่านไปในกายของเราได้อย่างชัดเจนแจ่มใส
    และเราก็กำหนดจิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจที่ผ่านที่กระทบกายนั้นไว้ วางอารมณ์จิตอารมณ์ใจของเราให้เบา ๆ ร่างกายเราปล่อยวาง จิตเราจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออกตลอดทั้งสายทั้งกองลม ลมหายใจสั้นเราก็รู้ว่าสั้น ลมหายใจยาวเราก็รู้ว่ายาว ลมหายใจละเอียด เราก็รู้ว่าละเอียด จิตเรามีความปลอดโปร่ง จิตเรามีความสบาย จิตเรามีความปล่อยวาง เราก็กำหนดรู้กับอาการปล่อยวางนั้น
    ให้ใจเราสบาย อยู่กับลมสบาย อารมณ์จิตที่สบายนั้น มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออกนั้น จิตแนบอยู่กับลมหายใจนั้น ยิ่งจิตมีความละเอียดมากเท่าไร ลมหายใจก็มีความละเอียด ปราณีตหรือสั้นลงมากเท่านั้น ยิ่งจิตเข้าฌาณเข้าสมาธิที่ลึกขึ้นเท่าไร ลมหายใจก็ยิ่งสั้น ยิ่งหดตัว เข้าถึงระดับที่ลมดับ ลมมีอาการสงบ ระงับจนไม่แสดงอาการของลมให้ปรากฎ จิตเราจดจ่ออยู่กับสมาธิ อยู่กับลมหายใจ
    หากท่านใดลมหายใจหาย ลมหายใจดับ หรือลมหายใจสงบระงับนิ่งไปแล้ว เราก็มาเพ่งพินิจใช้สติจดจ่อจับอยู่กับจิตใจของเรา เห็นสภาวะความนิ่ง ความหยุดของจิตของเราให้ชัดเจน เห็นอาการที่จิตหยุดจากการปรุงแต่ง จากการซัดส่ายทั้งปวง เห็นสภาวะที่จิตหยุดนิ่งอยู่กับความสงบ เมื่อจิตอยู่กับความสงบแล้ว เราก็กำหนดนิ่งอยู่กับตัวสงบ ตัวเอกัคตารมณ์ สภาวะที่จิตรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว ประคับประคองอารมณ์จิตให้ตั้งมั่นในความนิ่ง ความสุข ความสงบนั้นไว้ ลมหายใจจะดับก็ปล่อยมัน ทรงสภาวะนิ่งเอกัคตารมณ์ อันเป็นองค์ในฌาณสี่ ประคองสติเอาไว้ให้จิตตั้งมั่น ถึงมีนิมิต หรือมีภาพสิ่งใดมา เราก็ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อยู่กับสภาวะความนิ่งของจิตเอาไว้ จะมีแสงสว่างโอภาสเข้ามาสู่จิต เข้ามาทางตาของเรา รู้สึกว่ามีแสงสว่างเข้ามา เราก็กำหนดรู้ว่าคือโอภาส สภาวะจิตมีความสว่างโพลงเป็นโอภาสที่ปรากฎ เรากำหนดรู้แต่ไม่หวั่นไหวไปกับโอภาสหรือนิมิตใด ๆ จิตจดจ่ออยู่กับตัวนิ่ง ตัวหยุดอันเป็นเอกัคตารมณ์นั้น
    เมื่อจิตนิ่งสงบดีแล้ว เราก็อธิษฐานต่อไปว่า ขอให้ข้าพเจ้ามีความชำนาญในการเข้าออกสมาธิ เพื่อให้จิตมีความตั้งมั่น เพื่อให้เรามีตบะเดชะสามารถมีกำลังบังคับจิตของเราเอง ให้เข้าสู่สมาธิจิตได้ในทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบทที่เราต้องการไม่ว่าจะหลับตาก็ดี จะลืมตาก็ดี ได้ตลอดชีวิตของช้าพเจ้าด้วยเทอญ
    ขอความสงบแห่งจิตใจนี้เป็นกำลังฌาณ กำลังสมาธิ คุมจิตของข้าพเจ้าให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์จิตที่เป็นกุศล อารมณ์อันผ่องแผ้วเบิกบานได้ในทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าตั้งอารมณ์จิตปรารถนาตลอดชีวิตของข้าพเจ้าตราบจนถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
    เราอธิษฐานด้วยฌาณในสมาธิแล้วจากนั้นแล้ว เราจะเคลื่อนจิตขึ้นสู่อารมณ์สมาธิที่มีความละเอียด ปราณีต มีความสุข มีความชื่นบาน ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ นั่นก็คืออารมณ์จิตของพรหมวิหารสี่ อารมณ์จิตของเมตตาอัปปมาณฌาณ ให้เรากำหนดนึก กำหนดถึง กำหนดความรู้สึกให้ปรากฎในจิตในใจของเราให้เห็นจิตของเรา จะเป็นรูปหัวใจที่เป็นเพชรก็ได้ จะเป็นลูกแก้วที่ใสเป็นเพชรทรงกลมก็ได้ เรากำหนดให้เห็นจิตของเรานั้นชัดเจนอยู่ภายในตัว ภายในกายของเราก่อน กำหนดนึก กำหนดรู้สึก กำหนดรู้..ว่า นี่คือดวงจิตของเรา เราประคับประคองให้จิตของเราแวววาว ผ่องใส มีความชุ่ม มีน้ำหล่อเลี้ยง มีความชื่นบาน ให้เห็นจิตที่เป็นเพชรของเรานั้นมีน้ำใส ๆ ที่หล่อเลี้ยงเป็นน้ำหล่อเลี้ยงให้มีความชุ่มเย็นหล่อเเลี้ยง ให้มีความชุ่มฉ่ำหล่อเลี้ยง ไม่ให้จิตแห้งผาก สิ่งที่เติมในจิตในใจของเราให้เป็นแก้วประกายพรึกให้มีความชุ่มเย็นนั้นก็คือเมตตานั่นเอง

    เริ่มต้นเรากำหนดนึกเจริญเมตตา เจริญพรหมวิหารสี่ให้กับจิตใจของตัวเราเองก่อน โดยที่เรากำหนดความรู้สึก ความคิดพิจารณาว่าเราขอเมตตากับจิตของเราเอง เมตตากับใจของเราเอง เราปรารถนาให้จิตของเรามีความชุ่มเย็นเป็นสุข ปรารถนาให้จิตของเรามีความอิ่ม มีความเบิกบานจากภายใน โดยที่เราแผ่เมตตาให้กับหัวจิตหัวใจของเรา ให้ใจของเราแย้มยิ้ม ให้ใจของเราเบิกบาน ให้ใจของเราอิ่มเต็มจากภายใน ให้หัวใจ ของเราที่เป็นแก้วเป็นเพชรนั้น มีหยาด มีความเย็น มีความชุ่มฉ่ำ จนจิตของเราถูกเติมเต็มจากภายใน เติมเต็มด้วยบุญ ด้วยกุศล ด้วยธรรมปิติ
    ดึงให้ความรู้สึกที่เติมเต็มอยู่ภายในจิตใจ บุญกุศลความสุข ความชื่นบาน ความตื้นตันใจที่เราได้พบผู้ที่ปฏิบัติ ผู้ที่มีบุญเกี่ยวเนื่องกับเรามา ผู้ที่มีบุญกุศลที่เราร่วมบุญ ร่วมกุศลกันแล้วเรามีความชื่นใจ มีความสุข มีความอิ่มใจ จนใจของเรานั้นสว่างไสว ใจของรานั้นแย้มยิ้มเบิกบานจากข้างใน ใจของเรานั้นมีแสงสว่างมีความอิ่มเต็มจากภายใน
    เมื่อจิตของเราถูกเติมเต็มแล้ว เรากำหนดนึกให้เห็นว่าใจของเรานั้นมีความสุขท่วมท้น ให้เมตตา ให้ความสุข ให้ความอิ่ม เราดึงให้มันล้นใจ ให้มันเเติมจากภายในให้มันล้นใจขึ้นมา ล้นจิตล้นใจ ยิ้ม…จนล้น...จนเต็ม... จนปริ่มออกมา สุขจากภายในอย่างบอกไม่ถูก เป็นความสุขอย่างที่สุด อย่างที่หลวงพ่อท่านเคยสอนไว้ เมตตาเป็นความสุขอย่างบอกไม่ถูก ล้นหัวจิตหัวใจ จิตมันผ่องใส จิตมันชื่นบาน จิตมันมีแต่ดี มีแต่ความสุขไปหมด มีแต่ความชื่นบานผ่องใสไปหมด เราดึงให้ล้นให้เต็มหัวจิตหัวใจ เพราะเมื่อเรามีมากเท่าไร เรายิ่งมีความสุขเต็มล้นหัวใจมากเท่าไร เรายิ่งแบ่งปันให้ผู้อื่นได้มากขึ้นเท่านั้น
    หากจิตของเรายังแห้งผากอยู่ แม้ว่าเราจะแผ่เมตตาออกไปเท่าไร ก็อุปมาดังว่า เรามีขวดน้ำเปล่า เราแสดงอาการรินน้ำ แต่มันไม่มีน้ำไหลออกมา ไม่มีความรู้สึกเย็น ไม่มีความอิ่ม ไม่มีกระแสเย็น ไม่มีความสุขออกมาจากใจเราได้ฉันนั้น
    เราต้องให้น้ำเต็มในหัวจิตหัวใจของเราก่อน ให้เมตตาความอิ่มใจ ความสุข ความรัก ความชื่นบานในจิตใจของเรานั้นเต็มหัวจิตหัวใจ เพื่อที่เราจะได้มีบุญกุศลเต็มเปี่ยมที่จะแบ่งปันให้กับทุกๆ คนทุกๆ ดวงจิต และเมื่ออารมณ์ใจเราเกิดความรู้สึกว่าเรามีความอิ่ม มีความสุข
    เราเติมเต็มหัวใจของเราด้วยความสุขความรักอย่างเต็มที่หาประมาณไม่ได้แล้ว เราจึงตั้งกำลังใจต่อไปว่า ขณะนี้จิตของเรามีความสุขอย่างที่สุดจากเมตตาพรหมวิหารสี่ เราปรารถนาที่จะแบ่งปันความรัก ความสุข ความเมตตา แบ่งปันบุญกุศลความดี ธรรมะที่เราเข้าถึง ธรรมะอันเราเสวยผล เสวยอานิสงค์แล้ว เห็นว่าเป็นความสุข เป็นความเย็น เป็นความดีงามแล้ว เราอยากที่จะแบ่งให้กับทุกๆ คน ทุก ๆ ดวงจิต เราอยากเห็นจิตใจที่งดงามของจิตทุกๆ ดวง ได้ตื่นขึ้นจากภายใน
    เมื่อจิตของเราน้อมนึก พิจารณาเห็นประโยชน์ เห็นความสุขที่ผู้อื่นจะได้จากความรัก ความเมตตาแล้ว เราจึงแผ่เมตตาออกไปเป็นกระแส เป็นแสงสว่าง เป็นคลื่น เป็นความรู้สึก เป็นความเย็น เป็นความปลื้มปิติ เป็นรัศมีสว่างสีทอง หรือเป้นแก้วละเอียดระยิบระยับแพรวพราว เป็นผลึกแก้ว ผลึกเพชรส่องสว่างกระจายออกไปจากหัวจิตหัวใจของเราเป็นคลื่นที่เราสัมผัสได้ เป็นความรู้สึกที่เรารู้สึกได้ เป็นความอิ่ม ความเย็นที่เราแตะต้องได้ จับต้องได้ด้วยใจอย่างแท้จริง แผ่กระจายออกรอบจิตใจของเราไม่มีประมาณ ไม่เลือกที่รักไม่มักที่ชัง ปราศจากศัตรู ปราศจากเวรภัยทั้งปวง มีแต่ความรัก มีแต่ความปรารถนาดี มีแต่ดวงจิตอันเป็นกุศลเป็นรอยยิ้มเป็นความสุขจากภายใน แบ่งปันให้กับทุก ๆ ดวงจิต ทั่วจักรวาล ทั่วอนันตจักรวาลไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ ทุกๆภพ ทุกๆภูมิ ปรารถนาให้ทุก ๆ สรรพดวงจิตประสบแต่ความสุข พ้นจากความทุกข์ พ้นภัยจากวัฏฏสงสาร สัมผัสเข้าถึงพระนิพพานอันเป็นเอกบรมสุขโดยทั่วกัน ปรารถนาให้ทุกคนเข้าถึงธรรมะของพระพุทธเจ้า ปรารถนาให้ทุก ๆ คนเข้าถึงความสุขในมนุษย์สมบัติ ในสวรรค์สมบัติ ในพรหมสมบิติ และในพระนิพพานสมบัติในที่สุด ให้ใจเรายิ้ม ใจเราเย็น ใจเรามีเมตตา ใจเรามีความชื่นบาน มีน้ำจิตน้ำใจ มีกระแสที่เป็นเมตตา หล่อเลี้ยง เป็นน้ำเลี้ยงในหัวจิตหัวใจของเราไว้เหมือนแช่จิตของเราไว้ในน้ำที่ใส เย็น สะอาด ที่มันชุ่มใจเราอยู่ตลอดเวลา
    และเราตรวจดูจิตดูใจของเราว่า เมื่อไรที่จิตเราแห้ง สภาวะจิตเราจะเป็นอย่างไร เมื่อจิตเรามีความชุ่มฉ่ำอยู่ภายในเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง จิตเราเป็นอย่างไร เราพิจารณา เรามอง เรารู้สึกไว้ และทุกครั้งที่เราแผ่เมตตา เจริญเมตตา เราให้กระแส ให้ความรู้สึก ให้คลื่นของความรักความเมตตาแผ่ออกไปจากใจของเรา ยิ่งแผ่เมตตาออกไปมาก น้ำหล่อเลี้ยงใจเราก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ยิ่งใสขึ้น ยิ่งสะอาดขึ้น ยิ่งประกอบให้เกิดความสุขมากยิ่งขึ้นแก่จิตใจของเราและทุกๆ ดวงจิต จนจิตเราแย้มยิ้ม จิตเรามีปิติ จิตเราทรงอยู่ในความเย็น ความสุขได้เป็นปกติ
    ไม่ว่าจะมีอารมณ์จิตใดกระทบ คลื่นกระแสจิตใดกระทบก็ตาม ใจเราก็ยังยิ้ม ใจเราก็ยังเย็น ใจเราก็ยังสุขชุ่มเย็นด้วยเมตตาได้ตลอดเวลา ให้กระแสความรัก ความสะอาดจากจิตใจของเรานั้นซึมซาบเข้าไปในทุกดวงจิตดวงใจ แม้แต่จิตของสัตว์ที่มีความดุร้ายที่สุดก็ขอให้เขามีความอ่อนโยน มีความเย็น หายจากอาการดุร้ายทำร้ายกันนั้นได้ ที่ใดที่เราก้าวย่างไปถึงสถานที่นั้น ก็ขอให้บรรยากาศโดยรอบ มวลแห่งอากาศโดยรอบมีคลื่นของความเย็น ความสุข ความรัก ความปรารถนาดีแผ่กระจายปกคลุมสถานที่นั้นไว้เป็นความสุข เป็นความเย็น ให้สถานที่เรามานั่งทำสมาธิ เจริญจิตนี้ เป็นที่เย็น ที่ที่มีความสุข
    เราแผ่เมตตาสว่างกระจายออกไปอีก สว่างกระจายปกคลุมออกไปยังบ้านที่เราอาศัยอยู่ ให้ทุกคนในบ้าน คุณพ่อคุณแม่ สามีภรรยา พี่น้องของเรา ลูกๆ ของเรา เพื่อนๆ ของเรา ตลอดรวมไปจนถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพพรหมเทวดา พระภูมิ เจ้าที่เจ้าทาง และรวมไปถึงบริวารและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายของเราที่อาศัยอยู่ร่วมกัน แม้แต่มดแมลงสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยแค่ไหน ก็ขอให้อยู่ร่วมกันโดยไม่เบียดเบียนกัน มีแต่ความสุข ความสุขกายสุขใจ ที่ที่เราอาศัยอยู่ เพื่อน ๆ เพื่อนบ้านโดยรอบก็ขอให้มีความสุขกายสุขใจไม่มีการเบียดเบียนกัน มีแต่ความดี มีแต่รอยยิ้ม มีแต่วาจาอันเป็นมธุรสวาจามีแต่ความสุขมีแต่ความปรารถนาดีต่อกัน
    แผ่เมตตาจากจิตจากใจของเรานั้น แผ่กระจายออกไปยังทุกคนในที่ทำงานของเรา เพื่อนร่วมงานของเราเจ้านายของเรา ลูกน้องทุก ๆ คนของเรา ตลอดรวมไปถึงลูกค้าที่เราจะต้องเกี่ยวข้องด้วย ผู้ที่เราจะต้องพบปะด้วยก็ตาม เราแผ่เมตตากระแสจิตจากใจของเรานั้นให้เขามีความเย็น ความสุขกายสุขใจ ให้องค์กรที่เราทำงานอยู่นั้นจงเป็นองค์กรแห่งความดี องค์กรแห่งบุญกุศล องค์กรแห่งสัมมาทิฐิ ให้สถานที่ที่เราทำงานนั้นจงมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆขึ้นไป มีความดีมีบุญกุสลเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง
    แผ่เมตตาส่องสว่างกระจายออกไปอีก กระจายสว่างออกไปยังทุกคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดที่เราอาศัยอยู่นี้ ให้ผืนแผ่นดินนั้นจง มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ สันติสุข ร่มเย็น สันติ ผู้คนเข้าถึงธรรมะ เข้าถึงความดีในพระพุทธศาสนาได้ ให้ทุกคนมีน้ำจิตน้ำใจ มิตรจิตมิตรใจ มีรอยยิ้ม มีความรัก มีความปรารถนาดีต่อกัน ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ มองเห็นแต่ความดีและความงามของกันและกัน มองเห็นแต่สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล โมทนาแต่ความดีของกันและกัน มีมธุรสวาจา วาจาอันยังคุณประโยชน์ กำลังใจในการทำความดีให้ต่อกัน มีแต่ความคิดอันเป้นมงคล เป็นกุศลต่อกัน ให้กายวาจาใจของเรานั้นมีแต่ความสะอาดบริสุทธิ์ เป็นกระแสออกไปเป็นเมตตา และส่องสว่างกระจายออกไป สว่างปกคลุมออกไปยังประเทศไทยแห่งนี้ไว้ทั้งหมด ขอให้คลื่นแห่งเมตตาจิตขอเรานั้น เป็นกระแสสว่าง สะอาด สงบ สีขาวบริสุทธิ์ ด้วยจิตอันปราศจากอคติ และโลกธรรมแปดทั้งปวง
    ขอให้คลื่นความรัก ความเมตตาจากจิตใจของเราสลายข้อขัดแย้ง สลายความแตกแยก สลายการแตกความสามัคคี สลายสีทุกสีที่ก่อให้เกิดความแตกแยกกันนั้นให้กลายเป็นสีขาว ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา ความลึกซึ้งสำคัญของแผ่นดินสุวรรณภูมินั้น คือองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งที่ท่านทรงครองราชย์เป็นเจ้าแผ่นดินนั้น ท่านทรงประกาศถวายแผ่นดินไว้เป็นพุทธบูชา ตัวพ่อชื่อว่าพระยาตาก ยอมเหนื่อยยากเพื่อชาติพระศาสนา ผืนแผ่นดินถวายองค์พระศาสดา ชาวประชาจะได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขกัน ดังนั้นผืนแผ่นดินสุวรรณภูมินี้ สมเด็จเกี่ยวท่านเทศน์ไว้ว่า เป็นที่ธรณืสงฆ์ทุกตารางนิ้ว จากการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินท่านถวายไว้ครั้งนั้นแล้ว ดังนั้นผืนแผ่นดินนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นผืนแผ่นดินที่จะต้องจำรัสจารึกพระบวรพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นไว้ตราบห้าพันปี
    เราที่เข้าถึงความดี เข้าถึงธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้วนั้น ขอให้เราช่วยกันบำรุงรักษา โดยการตั้งใจปฏิบัติ โดยที่เราตั้งจิตเราให้เป็นกุศล เป็นความดีถวายไว้ในพระศาสนา และเราก็ถวายบุญถวายกุศลที่เราสร้าง เราบำเพ็ญ เราร่วมใจกันสร้างบารมีติดตามกันมาทั้งหมดนี้ ถวายบูชาผืนแผ่นดินอันเป็นธรณีสงฆ์ เป็นที่จารึกพระศาสนาให้ครบห้าพันปี
    และน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายบุญกุศลที่เราทำ ที่เราบำเพ็ญทั้งหมดนี้บูชาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สิ่งใดที่ช่วยให้พระองค์ท่าน มีความสบายพระราชหฤทัย สิ่งใดที่ช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจของพระองค์ท่านได้นั้น ไม่ต้องบอก เราทำ เรายินดี เราถวายชีวิตที่จะทำเพื่อชาติ ศานา พระมหากษัตริย์ เมื่อเราตั้งใจอันเป็นกุศล จิตอันมีเมตตา บุญกุศลที่เราน้อมถวายต่อชาติ ศานา พระมหากษัตริย์แล้ว เราก็ปรับจิตปรับใจว่า ธรรมปิติที่เกิดขึ้น จนเกิดความซาบซึ้งตื้นตันจากส่วนลึกที่สุดจากหัวจิตหัวใจของเรานี้ เราแผ่เมตตาให้คลื่นแห่งจิตสำนึก คลื่นกระแสจิตที่เราเสียสละเพื่อชาติมาหลายชาติหลายภพนั้น จงเป็นกระแสจิตอันศักดิ์สิทธิ์ทรงพลัง ปลุกดวงจิตอื่นให้ตื่นขึ้นสู่ความดี ตื่นขึ้นสู่ความบริสุทธิ์ ตื่นขึ้นสู่ความเสียสละเพื่อชาติ บ้านเมืองด้วยความบริสุทธิ์ใจด้วยเถิด
    แผ่เมตตา แผ่ความรัก แผ่บุญกุศลมา เราจะน้อมนำธรรมะของพระพุทธองค์ และช่วยให้ธรรมะนั้นเข้าสู่จิตสู่ใจของมวลสรรพสัตว์ทั้งหลาย ยังให้เกิดความสุข เกิดแผ่นดินธรรม แผ่นดินทองขึ้น ในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ เราจะน้อมนำพระราชดำริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น เข้าสู่จิตสู่ใจ สนองพระราชดำริของพระองค์ท่าน ในการทำให้ชาติ ให้แผ่นดินไทยนี้มีความอุดมสมบูรณ์ สันติสุข ร่มเย็น มั่งคั่ง รุ่งเรือง ไม่ให้พระองค์ต้องทรงเหน็ดเหนื่อย ไม่ให้พระองค์ต้องทรงท้อพระราชหฤทัยอีก
    เมื่อเรากำหนดตั้งจิตอธิษฐานด้วยจิตเมตตา ด้วยจิตเด็ดเดี่ยว ด้วยจิตตั้งมั่น ด้วยจิตที่สำนึกลึกซึ้งต่อส่วนรวมต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แล้ว เราก็แผ่เมตตาออกไปทั่วโลก ทั่วจักรวาล ทั่วอนันตจักรวาล เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นความชุ่มเย็น เป็นความสุข
    ตั้งใจว่าจิตเจตนาอันเป็นกุศลเมตตา พรหมวิหารสี่จากจิตจากใจของข้าพเจ้านี้ ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในทุกภพทุกภูมิได้โมทนา ได้รับคลื่นแห่งเมตตา คลื่นแห่งกุศลนี้ นับตั้งแต่ทุกท่านที่อยู่ในภพแห่งสุขคติภูมิ อันได้แก่ ภุมมเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดาทุกชั้น พรหมโลกทุกชั้น อรูปพรหมทุกชั้น และทุกท่านผู้เป็นพระวิสุทธิเทพบนพระนิพพาน ขอให้เมตตาสงเคราะห์ เล็งทิพจักขุญาณ เห็นจิตอันเป็นกุศลของข้าพเจ้า และโปรดดลบันดาลให้เกิดเทพฤทธิ์ความศักดิ์สิทธิ์ ทำกิจอันเกิด อันควร อันยังประโยชน์ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่เราทั้งหลายตั้งจิตอธิษฐานไว้สำเร็จ สัมฤทธิผลด้วยอำนาจแห่งเทพฤทธิ์ทั้งปวงนี้ด้วยเถิด

    จากนั้นเราก็แผ่เมตตาลงไปเบื้องล่าง ยังภพของทุคคติภูมิ ปรารถนาว่าขอให้มวลสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เสวยวิบากอกุศลกรรมอยู่นั้น ในภพของสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย สัตว์นรกทั้งหลาย โอปปาติกะ สัมภเวสีทั้งหลาย จงโมทนาในบุญ ในกุศล ในความดี ในความสุข ในความเย็น ทาน ศีล ภาวนา ที่ข้าพเจ้าบำเพ็ญ ที่ข้าพเจ้าสร้างทั้งหลาย ให้มวลสรรพสัตว์ทั้งหลายจงพ้นจากวิบาก พ้นจากความทุกข์ น้อมจิตเข้าสู่บุญ เข้าสู่กุศล เข้่าสู่กระแสทานแห่งธรรม อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้น อันได้แก่ มรรค๔ ผล๔ นิพพาน๑ ได้โดยทั่วกันทุกดวงจิต ทุกดวงวิญญาณด้วยเถิด
    จากนั้นเราแผ่เมตตา เปล่งรัศมีคลื่นแห่งบุญกุศลความดีงามจากดวงจิตดวงใจของเรา ให้ส่องสว่างเป็นกระแสแห่งความเย็น ความสุข ความสว่าง ความงดงามภายในจิตใจของเรา สว่างกระจายออกไป ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ ให้แสงสว่างแห่งบุญกุศล กระแสแห่งเมตตาจิต เมตตาธรรมของเรานั้น ปรับสภาวะจิตใจของเราในส่วนลึกที่สุดในแก่นของจิต ในแกนของใจ ให้ใสเป็นแก้ว ใสเป็นเพชร มีแต่เมตตา มีแต่บุญ มีแต่กุศล มีแต่ความดีงาม มีแต่สิ่งที่เป็นมงคลจากภายใน
    และเราก็แผ่ออกไปเป็นฉัพพรรณรังสี รัศมีแห่งความเมตตา ออกไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ มองเห้นสภาวะอากาศโดยรอบตัวเรานั้นแตกอกเป็นผลึกเป็นแก้วประกายพรึกระยิบระยับ เป็นปฏิกริยาที่แตกตัวกระจายออกไป ไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ แตกออกไปทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล เมื่อสัมพผัสกับทุกๆ ดวงจิต โมเลกุล อนุภาค กระแสคลื่นจากจิตที่มีเมตตาของเราก็แตดอนุภาคให้ทุก ๆ ดวงจิตนั้นกระเทาะอนุสัยกิเลสออกไปจากจิตจากใจของเขาเหล่านั้น กลายเป็นแก้ว กลายเป็นเพชร มีแต่ความระยิบระยับแพรวพราวทั่วไปหมด
    และเราอธิษฐานจิต นับแต่นี้ขอให้ปริมณฑลโดยรอบทั่วรัศมีกาย ทั่วแสงสว่างจากายของเรานั้นจงเป็นรัศมีแห่งเมตตา แสงสว่าง เป็นอนุภาคที่แตกตัวเป็นแก้วประกายพรึก มีความเย็น มีความสุข มีความใส มีความละเอียดระยิบระยับ มีความชุมเย็นเป็นสุข
    เราก้าว เราย่าง เราเหยียบไปในผืนดินที่ไหน ทุกก้าวย่าง ก็ขอให้ผืนแผ่นดินนั้นมีแต่ความอุดมสมบูรณ์สันติสุข มีแต่ความร่มเย็น มีแต่ความรัก มีแต่ความสามัคคีต่อกัน ทุกที่ที่เราไป ทุกที่ที่เราอาศัย ขอให้ที่นั้นมีแต่ความเย็นเป็นสุข กลายเป็นที่เย็น เป็นที่สงบ เป็นที่ร่มเย็นทั้งสิ้น สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นสัตว์เป็นมนุษย์ เป็นดวงจิต ดวงวิญญาณ สัมพเวสี โอปปาติกะทั้งหลาย เมื่อเข้าใกล้เรา สัมผัสใกล้ถึงกระแสจิตของเรา ก็ขอให้เขามีความสุข มีความชุ่มเย็น มีใจที่สะอาดใส มีใจที่ปราศจากกิเลส ขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ภูมิจิตภูมิใจของเรา เมตตาสงเคราะห์ให้เราสามารถที่จะแผ่เมตตาจากจิตจากใจของเราได้ดี ได้เป็นปกติ ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบท
    และขอให้จิตอันเป็นมหากุศลนี้คงอยู่กับตัวกับจิตใจของเราได้ทุกชาติภพตลอดไป ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน หรือตราบเท่าเข้าถึงมรรคผล และตราบเท่าเข้าที่บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณในอนาคตกาลด้วยเถิด ให้จิดมันสว่าง กระจายเย็นออกไป จิตเราใส ใจเราสะอาด เทวดา พรหมทั้งหลายได้โมทนา ให้ท่านได้สงเคราะห์ เราน้อมจิตน้อมใจกราบท่าน ขอบารมีท่านเมตตาสงเคราะห์ว่า เรานั้นอยู่ในเพศอยู่ในสภาวะแห่งความเป็นมนุษย์ เรามีกายหยาบ มีความสกปรกอยู่ ยังมีมลทิน มีกิเลส มีตัณหา มีอุปทาน ตราบที่เรายังไม่เป็นอริยะเจ้า มีความโง่ในจิตในใจ มีมานะทิฐิ มีความไม่รู้ ลืมสัญญาในสมัยที่เราจุติเป็นเทพ
    เมื่อเราอยู่ในเพศแห่งความเป็นมนุษย์นั้น เราขอเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพพรหมเทวา และพระวิสุทธิเทพ โดยมีองค์ปฐมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ท่านได้โปรดเมตตาสงเคราะห์ให้ข้าพเจ้าตั้งจิตไว้ในความดี ในบุญ ในกุศล ตั้งวาจาไว้ในมธุรสวาจาอันเป็นสุภาษิต วาจาอันเป็นธรรม วาจาอันเป็นเครื่องปลอบประโลมดวงจิตอื่นให้เข้าถึงความดี ความงาม ความบริสุทธิ์ ให้กายข้าพเจ้ากระทำแต่กรรมที่เป็นกรรมดี กรรมที่เป็นกุศล กรรมที่ยังประโยชน์สุข เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล เป็นบุญ
    และหากแม้ความดี ที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้ว เหมาะสมแล้ว ขอให้เทวดา พรหม พระวิสุทธิเทพท่านมาเมตตา สงเคราะห์ ช่วยเหลือ บันดาลให้เกิดเทพฤทธิ์ เกิดความศักดิ์สิทธิ์ เกิดปาฏิหารย์ ยังประโยชน์ ยังศรัทธา ต่อการปฏิบัติเพื่อมรรคผลของข้าพเจ้า ต่อการสร้างบารมี ยังคุณประโยชน์ต่อมวลสรรพสัตว์
    หากแม้ข้าพเจ้าอยู่ในวิถีแห่งพระโพธิสัตว์ ให้บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น ความอัศจรรย์ขึ้น และให้การสร้างบารมีของข้าพเจ้าสูงยิ่งขึ้นไป ยังคุณประโยชน์ ยังประโยชน์สุข ยังธรรมะให้แทรกซึมเข้าสู่จิตสู่ใจของมวลสรรพสัตว์ได้เสวยรสแห่งธรรม เสวยอมตะรสแห่งกุศลขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มากมายมหาศาลที่สุดไม่มีประมาณ แม้ในโลกก็ดี แม้ทั่วจักรวาลอื่น ชาวโลกธาตุอื่นก็ดี ก็ขอพึงให้ได้รับคุณประโยชน์แห่งรสพระธรรมของพระพุทธองค์ได้ฉันนั้นด้วยเช่นกัน
    แล้วเราก็น้อมจิตน้อมใจกราบเทวดา พรหม กราบพระวิสทธิเทพ กราบพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ไว้ ให้ใจเรายิ้ม ใจเราเย็น ใจเราสว่าง จิตเราเห็นตอนนี้จิตเราสว่าง เปล่งแสงสว่าง เปล่งคลื่นรัศมีกาย เรียกว่ามองเห็นด้วยตาเปล่า เราประคองรักษาอาราธนาบารมีพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่เหนือเศียรเกล้าเรา ว่าให้เราประคองรัศมีจิต รัศมีกาย อารมณ์ใจอันเป็นกุศลนี้ได้ทั้งยามหลับ ทั้งยามตื่น ไปที่ไหนก็มีแต่อุดมมงคล ไปที่ไหนเราก็มีแต่ความรักความเมตตาให้กับทุกคน ไปที่ไหนก็มีแต่ดีให้กับทุกคน ไปที่ไหนก็ยังประโยชน์สุขให้กับทุกคน
    ธรรมะต้องน้อมเข้าไปให้ถึงแก่นลึกที่สุดของใจ ให้ใจเรางดงามจากส่วนลึกที่สุดของจิตใจอย่างแท้จริง สิ่งใดที่เคยผิดพลาดมาแล้ว เราก็อโหสิกรรม เราเลิก เราก็ล้าง เรามานับว่าเราเกิดใหม่ เริ่มต้นเกิดสู่ความดี นึกภาพจิตของเราผุดเกิดจากดอกบัวแก้วอันงามพิสุทธิ์ เราผุดเกิดขึ้นสู่ความดี สู่บุญสู่กุศล เกิดในดอกบัวแห่งทานธรรมนั้น
    ให้ใจเราสว่าง ใจเราใส แสงสว่างแห่งจิตสว่างชัด รัศมีกายสว่างชัด เสวยอารมณ์ ทรงอารมณ์นี้ไว้ ฝึกที่จะประคับประคองอารมณ์จิตนี้ไว้ ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ฝึกที่จะคงอารมณ์จิตนี้ไว้ให้เป็นปกติ และเราก็คิดผ่านอารมณ์จิตที่เป็นกุศล เป็นบุญ เป้นเมตตานี้ไว้ พูดผ่านอารมณ์จิตที่เป็นกุศลนี้ไว้ ทำสิ่งใดก็ประกอบไปด้วยคลื่นกระแส การกระทำ เจตนาที่เป็นกุศลนี้ไว้ เช่นกัน เราก็จะมีแต่บุญแต่กุศล
    และอีกชั้นหนึ่ง พิจารณาต่อไปว่า เราทำให้เกิดกุศลจิตนี้ด้วยตัวเราเองชั้นที่หนึ่ง เราส่งเสริมให้ผู้อื่นได้เข้าถึงอารมณ์จิต อารมณ์ใจนี้ เข้าถึงความดี ความงาม ความบริสุทธิ์นี้ ส่งเสริมให้เขาได้ ให้เขาเป็น ให้เขาถึง ให้เขาตื่นขึ้นสู่ความดีงามของจิตใจ และชั้นที่สามก็คือ โมทนายินดี เมื่อผู้อื่นตื่นขึ้นสู่จิตใจที่ดีงามนั้น และเราปรารถนาให้ทุกๆ คน ทุกๆ ดวงจิตได้ตื่นขึ้นสู่ความดีงามในจิตใจนี้เช่นเดียวกัน ให้โลกนี้จงมีแต่ความสุข มีแต่รอยยิ้ม มีแต่มิตรจิต มิตรใจ น้ำจิตน้ำใจไมตรี มองเห็นแต่ดีซึ่งกันและกัน มีแต่สุขซึ่งกันและกันมีแต่รอยยิ้มให้กันและกัน โลกนี้ก็จะกลายเป็นสรวงสวรรค์บนพื้นพิภพ
    ศานติบุรี นั้น ก่อกำเนิดขึ้นจากภายในหัวใจของเรา สร้างศานตินครในจิตของเราขึ้น และแผ่ขยายกระจายออกสู่ทุกดวงจิตดวงใจ มันคือสิ่งที่เราอธิษฐานมาสร้าง มาบำเพ็ญ มาทำกันในชาตินี้ ให้ศานติบุรีออกสู่จิตใจของเราไปยังทุกๆ จิตใจ
    ประคองลมไว้ ให้ใจมันใส...มันงาม...
    คราวนี้เราลองอธิษฐาน ใช้ญาณเครื่องรู้ของเราให้ใจยิ้ม ใจเราใส ใจเราสะอาด และเราก็อธิษฐานขอให้ภาพแห่งศานติบุรีนั้นปรากฎเกิดเป็นญาณเครื่องรู้ ปรากฎในจิตในใจของข้าพเจ้า ศานติบุรีจะยังคุณประโยชน์ ความสุข บนโลกนี้อย่างำร ขอให้ปรากฎแก่จิตแก่ใจของข้าพเจ้า ให้ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้ารู้สึก ข้าพเจ้าสัมผัสถึงในจิตใจ ตื่นขึ้นจากภายใน ผุดรู้จากภายใน ธรรมะที่แท้จริงคือสิ่งที่ตื่นขึ้นจากภายใน
    ท่านจึงใช้คำว่า เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้และจึงตื่นจากภายใน เมื่อตื่นแล้วจิตจึงเกิดความเบิกบาน เกิดความสุข เกิดความผ่องแผ้วขึ้นในจิตในใจ...
    ให้ใจเราสบาย ๆ ให้จิตเรายิ้ม เห็นภาพพระท่านยิ้มให้ใจเราอิ่ม ให้ใจเราเต็มไว้...

    ศานติบุรี...ทุกสิ่งทุกคนทุกดวงจิตล้วนแต่เป็นผลึกเพชร...

    ค่อย ๆ สบายๆ…ประคองรักษาอารมณ์จิตที่เย็นที่ยิ้มเอาไว้ ที่สว่าง ที่ใสเอาไว้ แล้วเราก็ค่อย ๆ หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ สามครั้ง ครั้งที่หนึ่งภาวนาหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" ครั้งที่สอง "ธัม-โม" ครั้งที่สาม "สัง-โฆ" แล้วจึงค่อยถอนจิตช้าๆ ออกจากสมาธิ<!-- google_ad_section_end -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>ไฟล์แนบข้อความ</LEGEND><TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>เมตตา_ศานติ.pdf (80.0 KB, 2 views)</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>เมตตา_ศานติ.doc (66.5 KB, 2 views)</TD></TR></TBODY></TABLE></FIELDSET>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    สำหรับวันอาทิตย์นี้
    เนื่องจากสถานการณ์ของบ้านเมืองอยู่ในสภาวะที่อาจจะเกิดความวุ่นวายได้
    จึงของดฝึกสมาธิที่สวนลุม ครับ
    แต่วันอาทิตย์ ที่21 ยังมีสอนตามปรกติครับ
     
  5. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Maxzimon ครับ

    อาทิตย์นี้จัดรึป่าวครับ ผมอยากหาโอกาสแวะไปแต่อาทิตย์ที่ผ่านมานี่ผมมีธุระพอดี

    อยากให้พี่ชัดได้ช่วยแนะนำเพิ่มเติมหน่อย ผมยังได้แค่ความรู้สึกอยู่เลยครับ ไม่ได้ไปไหนสักทีเหมือนยังมีติดขัดตรงไหน

    เวลาผมนั่งผมจะแผ่เมตตาไปเรื่อยๆ ด้วย แล้วก็จับลมหายใจ แต่ไม่ได้ภาวนาหน่ะครับ ความรู้สึกหลักๆที่ผมจับได้มีอยู่ 4ช่วง มันจะคอยวนไปวนมา
    1. ว่างเปล่าเหมือนตัวเราอยู่คนเดียว แต่ยังรู้สึกถึงตัวเองอยู่

    อันนี้คือ ฌาณ4ครับ เป็นฌาณละเอียดด้วย
    ร่างกายหายไป จิตหยุดนิ่ง เหลือแต่ความเบาสบายของจิต จิตยังรู้ ยังตื่น ยังมีความเบิกบาน มีความสุข แต่ไม่รับรู้สภาวะภายนอกทั้งหมด

    2. เย็นจากด้านนอกเข้าสู่ด้านใน แล้วรู้สึกเย็นไปทั่วร่างกาย

    เป็นอารมณ์ที่เรารวมบุญกุศล ดึงปีติให้เต็มดวงจิตของเรา
    เป็นช่วงรวมบุญ ก่อนจะเมตตา
    เป็นอารมณ์ที่ดึงพลังจากสิ่งศักดิสิทธิ์เข้ามาในร่างกาย
    เป็นอารมณ์เดียวกันกับที่ผู้ฝึกกำลังภายใน ชักนำปราณ ชักนำพลังธรรมชาติเข้าสู่ร่างกาย
    เราสามารถใช้อารมณ์นี้ในการเติมพลังให้กับร่างกายได้เวลาเหนื่อยล้า
    จะทำให้ร่างกายกลับมามีความสดชื่น มีพลังอย่างรวดเร็ว

    3. ได้ยิน ได้กลิ่น ของที่อยู่ไกลออกไปจากปกติ

    เกิดจากความเป็นทิพย์ของจิต ที่ทรงสมาธิเอาไว้เรื่อยๆครับ
    เป็นผลส่วนนึงที่เกิดขึ้นจากการทรงสมาธิ

    4. เย็นจากด้านในออกสู่ด้านนอก แผ่ออกไปเหมือนไม่มีจุดสิ้นสุด

    เป็นอารมณ์ของเมตตาอัปปมาณฌาณ ความเมตตาอันไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ
    เป็นทั้งอารมณ์ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น คลื่นของความชุ่มเย็น ความเมตตา ที่มีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
    และเป็นอารมณ์ของเมตตาที่แผ่ออกไปเป็นรัศมี เป็นระยะทางขยายออกไปอย่างไม่มีประมาณ เผื่อแผ่ถึงทุกๆดวงจิตเสมอกัน

    แต่ละช่วงที่ความรู้สึกเปลี่ยน มันเหมือนกับว่าผมขาดหายไปช่วงหนึ่งก่อนคล้ายๆวูบหน่ะครับ

    ผมควรยึดความรู้สึกอันไหนดี เวลานั่งแล้วรู้เลยครับว่าอาการต่างๆ มันไม่สงบเหมือนกับที่เคยนั่งตอนที่ยังไม่ศึกษาอะไร เหมือนยิ่งรู้มากแล้วยิ่งสับสน ช่วงนี้เลยพยายามนั่งแบบไม่คิดอะไร แค่แผ่เมตตา แล้วก็จับลมหายใจ ไปเรื่อยๆหน่ะครับ

    ต้องทำให้เป็น ทำให้ได้ ทำให้คล่องตัวทั้งหมดครับ
    แต่อารมณ์ที่ทรงเอาไว้ตลอดเวลา ให้จับข้อ 1 กับ ข้อ 4 เป็นหลักครับ
    หยุดจิตให้นิ่ง ให้สงบ ให้ตั้งมั่น ประคองอยู่ในอารมณ์ที่สบาย จนพอใจ
    แล้วก็แผ่เมตตา เสวยสุขอยู่ในอารมณ์ของเมตตา อยู่เสมอๆ

    ส่วนข้อ 2 กับ 3 ก็ทำ ก็ใช้ เป็นระยะๆ เพราะมีประโยชน์ในตัวของมันเอง
    จุดสำคัญคือการจดจำ อารมณ์ใจ ที่ใช้ในการเข้าสมาธิแต่ละจุดให้จับจิต จับใจ
    สามารถระลึกถึง และเข้าแต่ละอารมณ์ ได้อย่างคล่องแคล่ว
    การปฏิบัตินั้นมีอารมณ์ที่ต้องใช้หลายอารมณ์ เราต้องรู้จัก สลับใช้อารมณ์ เข้าแต่ละอารมณ์ตามสถานการณ์
    เช่น จิตเหนื่อยมาก ก็ต้องเข้าลมสบาย จับลมหายใจให้นิ่ง หยุด จนร่างกายเบาสบาย หายไป ตามข้อ1
    พอจิตพักผ่อนจนหายเหนื่อยแล้ว จึงค่อยแผ่เมตตา
    พอจิตทรงอยู่ในเมตตา เอิบอิ่มชุ่มเย็นดีแล้ว เราจึงค่อยจับวิปัสสนา พิจารณา
    ให้เห็นความเป็นธรรมดา ของร่างกาย เพื่อให้จิตเข้าถึงผลของวิปัสสนา
    ซึ่งเป็นอารมณ์ ที่ คลาย วาง เบา ด้วยการเห็นธรรมดา ในทุกๆสิ่ง
    และมุ่งเป้าสู่พระนิพพานเพียงจุดเดียว

    หากเราไม่สลับอารมณ์ จะพิจารณา แต่ยังอยู่ในสภาวะที่จิตหยุด ร่างกายหาย มันก็จะพิจารณาไม่ค่อยออก เป็นต้น

    และการเจริญจิต จะมีความเกี่ยวโยง เชื่อมโยง สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
    อนึ่งในการพิจารณาธรรมของพระพุทธองค์นั้น
    หากไม่มีกำลังของฌาณ4 ของพรหมวิหารเข้ามาควบคุม
    ก็ไม่อาจจะพิจารณาจนจิตปล่อยวาง คลาย เห็นธรรมดาในความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งได้
    ด้วยเหตุที่ว่า จิตมีกำลังไม่พอ กำลังในที่นี้ก็คือ
    จิตที่เหนื่อย จิตที่ไม่หยุดนิ่ง ก็เหมือนคนที่พึ่งออกกำลังกายมาเหนื่อยๆ
    จะให้มาคิดโจทย์เลข พิจารณาคำตอบทางวิชาการ ก็คงจะพิจารณาไม่ออก
    เราก็จะต้องทำให้จิตของเราหายเนื่อย ด้วยกำลังของฌาณ ด้วยกำลังของสมาธิ ด้วยกำลังของลมสบาย เสียก่อน
    เมื่อจิตของเราหายเหนื่อยแล้ว หากจะให้พิจารณาเลยก็ได้
    แต่ว่าอุปมาเหมือนคนที่หายเหนื่อย แต่ยังไม่มีความอิ่มเต็ม ในอาหารการกิน
    ยังรู้สึกหิว กระหายอยู่ ก็สามารถจะพิจารณาได้ แต่ก็จะไมความล่าช้า และธรรมะไม่เข้าลึก
    ก็จำเป็นจะต้องให้กินข้าว กินอาหารให้อิ่มเสียก่อน อาหารนั้นก็คือเมตตา
    การเสวยสุขให้จิตใจมีความอิ่มเอิบชุ่มชื่น ชุ่มเย็น อยู่ในอารมณ์ของพรหมวิหาร4
    เมื่อจิตเสวยอยู่ในเมตตาอย่างเต็มที่แล้ว คนที่กิวข้าวจึงจะอิ่ม เมื่ออิ่มแล้วก็จะสามารถพิจารณาสิ่งต่างๆได้รู้แจ้งแทงตลอด
    ดังนั้นการเจริญจิตเอง เราก็จะต้องทำทั้งการพักผ่อน คือ ฌาณ4
    การกินให้อิ่ม คือ การแผ่เมตตา
    และการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อให้จิตเข้าถึงความเป็นธรรมดาของทุกสรรพสิ่ง
    จะลัดขั้นตอนไม่ได้ จะเอาคนที่เหนื่อย และหิวข้าว ไปพิจารณาธรรมนั้นเป็นไปไม่ได้
    การที่คนในสมัยโบราณบรรลุธรรมโดยฉับพลันได้
    ก้เพราะจิตไม่มีความเหนื่อย จิตเป็นฌาณอยู่เป็นปรกติ และยังมีความอิ่มจากพรหมวิหาร4
    คือมีจิตใจที่เมตตาต่อกัน
    ดังนั้นการฟังธรรมเพียงจบเดียวจึงบรรลุ หลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ พระอริยเจ้าได้
    หากเราจะบรรลุให้ได้อย่างท่าน
    เราก็ต้องทำคุณธรรมที่ท่านมีโดยปรกติ แต่คนในปัจจุบันยังพร่องอยู่ให้เต็มเสียก่อน
    นั่นคือสมถะ นั้นคือ ฌาณ4 นั่นคือ พรหมวิหารธรรม

    การอุปมาอุปมัยดังกล่าวนี้ จะทำให้เราเห็นความจำเป็นในการฝึกสมาธิเป็นลำดับขั้น
    และความจำเป็นของทั้งสมถะและวิปัสสนาญาณได้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม

    ธรรมใดอันเป็นเครื่องยังจิตใจให้เกิดความงดงาม ความเอิบอิ่ม ความสุขใจ ขอให้ทุกๆดวงจิตสามารถเข้าถึงธรรมนั้น อันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสเอาไว้ดีแล้ว ได้โดยง่ายดาย ได้โดยฉับพลันทันใด ได้ด้วยพระบารมีแห่งพระพุทธองค์ด้วยเทอญ
     
  6. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    แสดงว่าเกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองค่อนข้างแน่นอนใช่หรือเปล่าครับ กรรมของบ้านเมือง
     
  7. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณNICKAZ ครับ
    <O:p</O:p
    ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่แนะนำการเจริญพรหมวิหาร4 ให้เป็นฌาณอ่านไปด้วยพิจารณาไปด้วยทำตามไปด้วยพอเห็นทางมากขึ้นครับ

    ตอนนี้มาจับวิปัสสนามากขึ้นแต่เรื่องฌาณของเก่าก็ยังไม่ทิ้ง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การทิ้งฌาณนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักปฏิบัติทุกๆท่าน<O:p></O:p>
    เพราะแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้ชอบและประกาพระศาสนาด้วยพระองค์เอง<O:p></O:p>
    ก็ยังทรงอยู่ในฌาณอันเป็นวิหารธรรมคำว่าวิหารธรรมก็คือธรรมอันเป็นเครื่องทรงอยู่ธรรมอันเป็นที่ให้ดวงจิตได้พักพิงได้อยู่อาศัย<O:p></O:p>
    อันได้แก่อาณาปานสติการจับลมหายใจและพรหมวิหารธรรมการทรงอยู่ในเมตตา<O:p></O:p>
    ดังนั้นผู้ที่บอกให้ทิ้งฌาณก็ดีอย่าฝึกฌาณอย่าทรงฌาณก็ดี<O:p></O:p>
    ก็กำลังสอนให้ปฏิบัติเลยจากที่พระพุทธองค์ทรงสอน<O:p></O:p>
    ผู้ที่ปฏิบัติเลยจากพระพุทธองต์ย่อมไม่อาจจะเข้าถึงซึ่งธรรมอันเป็นเครื่องหลุดพ้นได้<O:p></O:p>
    ดังนั้นการทรงอยู่ในฌาณการรักษาฌาณเอาไว้ให้อยู่กับจิตให้เมตตาเป็นเนื้อเดียวกับจิตของเราให้ได้<O:p></O:p>
    จึงเป็นเรื่องที่ผู้ปรารนาพระนิพพานทุกๆคนพึงทำให้เป็นกิจวัตรเป็นเรื่องปรกติ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    เรื่องของอรูปฌาณยอมรับกับตัวเองว่ามีปรากฏการณ์แปลกๆให้ตื่นเต้นอีกเยอะทีนี้ก็สงสัยว่าเรื่องของวิธีการเข้าถึงอรูปฌาณนั้นมันมีวิธีการต่างๆสำหรับผมก็มีวิธีเฉพาะตัวของผมซึ่งไม่เคยเห็นมีการแนะนำที่ไหนมาก่อนคือการใช้อานาปนสติพอตัวหายลมหายใจหายเหลือแต่จิตโดดๆก็เพิกถอนการมีอยู่ของจิตออกไปเสีย (จิตนั้นยังมีอยู่ไม่ได้หายไปไหนเพราะจิตหายไปไหนไม่ได้แต่ที่ดูเหมือนไม่มีจิตอยู่เพราะไม่ยอมรับรู้การมีอยู่ของจิตอ่านแล้วพอเข้าใจไหมครับผมอธิบายเองยังเรียบเรียงไม่ค่อยตรงเลย)

    ตรงนี้อย่างนี้อารมณ์มันได้ในเรื่องของอรูปฌาณซึ่งก็เคยปรึกษากับเจ้าของกระทู้มาก่อนเมื่อนานมาแล้ว
    ตามนี้ครับ<O:p></O:p>
    อ้างอิง:<O:p></O:p>

    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0in; mso-yfti-tbllook: 1184; mso-padding-alt: 4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8 1pt inset; PADDING-RIGHT: 4.5pt; BORDER-TOP: #ece9d8 1pt inset; PADDING-LEFT: 4.5pt; PADDING-BOTTOM: 4.5pt; BORDER-LEFT: #ece9d8 1pt inset; PADDING-TOP: 4.5pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8 1pt inset; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: inset windowtext .75pt">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณXorce<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype class=inlineimg id=_x0000_t75 title="Tongue out" alt="" border="0" src="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:p</v:shapetype>referrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><V:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></V:path><?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</o:lock><v:shape id=Picture_x0020_42 style="VISIBILITY: visible; WIDTH: 9pt; HEIGHT: 9pt; mso-wrap-style: square" alt="อ่านข้อความ" o:button="t" href="http://palungjit.org/.4/รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน-161084-post2900300.html#post2900300" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1032"><v:fill class=inlineimg title=Open-mouthed alt="" border="0" src="http://palungjit.org/images/smilies/teeth-smile.gif" o:d</v:fill>etectmouseclick="t"><v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1XorceLOCALS~1Tempmsohtmlclip11clip_image001.gif" o:title="อ่านข้อความ"></v:imagedata></v:shape><O:p></O:p>
    ถึงคุณNICKAZ ครับ


    <O:p></O:p>
    <HR style="COLOR: white" align=center width="100%" noShade SIZE=1>



    ขอขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่ได้กรุณาแนะนำผมไม่ทราบหรอกว่าสภาวะที่พบใหม่นั้นมันคืออะไรเห็นท่านเจ้าของกระทู้แนะนำว่ามันเป็นอารมณ์ของอรูปฌาณงั้นเดี๋ยวผมขอกลับไปปฏิบัติทบทวนดูว่าจะเป็นอย่างเจ้าของกระทู้แนะนำไว้หรือเปล่านะครับ
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O<v /><O<v:shape id=Picture_x0020_44 style="VISIBILITY: visible; WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; mso-wrap-style: square" alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1031"><v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1XorceLOCALS~1Tempmsohtmlclip11clip_image002.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></O<v:shape><v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1XorceLOCALS~1Tempmsohtmlclip11clip_image002.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata>
    อารมณ์อรูปฌาณอย่างที่ผมได้ถามมานั้นผมไม่ทราบว่าเรียกเป็นบาลีว่าอะไรขั้นไหนขอเรียกในที่นี้เพื่อความสะดวกก่อนล่ะกันว่าอรูปฌาณนะครับจริงๆแล้วการทำให้ถึงตรงนั้นยังได้แค่บางครั้งเท่านั้นแต่ก็จะพยายามเข้าไปอีกเรื่อยๆต้องรอโอกาสให้ร่างกายจิตใจพร้อมถึงจะทำได้แต่ผมก็ไม่ได้หนักใจอะไรเพราะถือว่าเคยเข้าไปแล้วจำอารมณ์ตอนนั้นได้แล้วการหาทางเข้าไปอีกก็ไม่ยากนัก

    ตอนนี้ให้เข้าใจว่าเป็นอรูปฌาณก็พอแล้วครับ
    <O<v:shape id=Picture_x0020_46 style="VISIBILITY: visible; WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; mso-wrap-style: square" alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1029"><v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1XorceLOCALS~1Tempmsohtmlclip11clip_image002.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></O<v:shape><v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1XorceLOCALS~1Tempmsohtmlclip11clip_image002.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata>จริงๆอารมณ์ของอรูปฌาณแต่ละขั้นเหมือนกันต่างกันเพียงแต่สิ่งที่ถูกสลายหายไปกลายเป็นความว่าง
    คร่าวๆก็
    ขั้นแรกคือการสลายความยึดจิดในวัตถุใน่รางกายในทุกสรรพสิ่งให้เหลือแต่ความเวิ้งว้างว่างเปล่าสีขาว
    ขั้นสุดท้ายคือการสลายความทรงจำสัญญาการหมายรู้ทั้งหมดว่างจากความทรงจำสัญญาทั้งหมดถูกล้างออกไป
    <O<v:shape id=Picture_x0020_48 style="VISIBILITY: visible; WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; mso-wrap-style: square" alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1027"><v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1XorceLOCALS~1Tempmsohtmlclip11clip_image002.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></O<v:shape><v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1XorceLOCALS~1Tempmsohtmlclip11clip_image002.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata><O:p></O:p>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    แต่ก็ยังคิดสงสัยว่าวิธีการของเราไม่เหมือนกับที่อื่นๆมันจะใช้ได้หรือเปล่าแต่สำหรับผมคิดว่าเรื่องวิธีการไม่สำคัญเท่าเรื่องอารมณ์ของฌาณถ้าได้ตามนั้นก็น่าจะพอใช้ได้แล้วไม่ทราบว่าเจ้าของกระทู้มีความเห็นว่าอย่างไรครับ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    สำหรับในเรื่องของการทำสมาธินั้นวิธีการให้เข้าถึงซึ่งอารมณ์สมาธิ<O:p></O:p>
    พระพุทธองค์ทรงบัญญัติวิธีการเอาไว้หลักๆถึง40วิธี<O:p></O:p>
    แต่ว่าก็ยังมีวิธีมีอารมณ์มีการเดินจิตที่สามารถซอยแยกย่อยให้ละเอียดลึกซึ้งพิศดารไปได้อีกกว่าแสนวิธีการ<O:p></O:p>
    ดังนั้นการจะเลือกวิธีในการปฏิบัตินั้น<O:p></O:p>
    ให้เลือกวิธีที่เราทำแล้วรู้สึกว่าใจสบายรู้สึกว่าใช่กับจิตของเรา<O:p></O:p>
    หากวิธีการนั้นจะนำไปสู่อารมณ์ที่ถูกต้องตรงจุดตรงตามเป้าหมาย<O:p></O:p>
    จะใช้วิธีใดก็ได้ผลได้อานิสงค์เสมอกัน<O:p></O:p>
    แต่ในขณะเดียวกันหากเราใช้วิธีการที่คนยอมรับที่มีบัญญัติเอาไว้<O:p></O:p>
    แต่ไม่อาจจะเข้าถึงซึ่งอารมณ์ที่ต้องการได้ก็จะไม่เกิดผลในการปฏิบัติอย่างที่เราต้องการ<O:p></O:p>
    สำหรับวิธีการที่คุณใช้นั้นเป็นวิธีการในการเข้าอรูปฌาณละเอียดที่เกิดผลและจริงๆก็เป็นวิธีการที่มีบัญญัติในหนังสือกรรมฐานโบราณ<O:p></O:p>
    จึงขอให้มั่นใจในวิธีการเข้าอรูปของตัวเองได้ว่าไม่ผิดเพี๊ยนแต่ประการใด

    ทีนี้มาถึงข้อสงสัยครับ

    1. ในเรื่องของอรูปฌาณพยายามไล่ดูแต่ละระดับขั้นในเรื่องของการกำหนดอากาศการกำหนดวิญญาณการกำหนดความว่างเปล่านั้นไม่ยากถ้าจิตหายไปก็สามารถทำได้แต่ถ้าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ (ผมไม่คุ้นกับศัพท์บาลีถ้าเขียนผิดขออภัยด้วยครับ) กำหนดว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่อันนี้เขากำหนดกันอย่างไรครับเพราะจิตของผมมันเลือนหายไปแล้วจะกำหนดเอาสัญญาจากตรงไหนมาเป็นอารมณ์ของฌาณตรงนี้ขอคำแนะนำด้วยครับ

    เนวสัญญานาสัญญายตนะนี่เหมือนๆกับเป็นการหลอกลวงตัวเองอย่างไรก็ไม่รู้คือมีสัญญาแต่ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้จำสัญญาที่มีไม่ได้ไปเสียอย่างนั้นคล้ายๆกับที่ผมไม่ยอมรับรู้ว่ามีจิตอยู่ที่ตรงไหนทั้งๆที่จิตก็ยังคงอยู่ตรงนั้นอยู่ดีพูดไปก็วกไปวนมาอีกแล้ว<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    อารมณ์ของเนวะสัญญาณาสัญญายตนะนั้นให้ทุกๆคนอ่านและทำตามเลยนะครับ<O:p></O:p>
    ให้เรากำหนดจิตพิจารณาว่า<O:p></O:p>
    ความทรงจำทั้งหลายก็ดีที่ทำให้เกิดความทุกข์ก็เป็นสิ่งที่เราไม่พึงปรารถนาไม่อยากจะจดจำไม่อยากจะระลึกถึงมันเพราะเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์<O:p></O:p>
    ความทรงจำที่ทำให้เกิดความสุขก็เป็นสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้วหากเราอยากมีความปรารถนาให้กลับคืนมาก็จะทำหใรเกิดความทุกข์เช่นเดียวกัน<O:p></O:p>
    เพราะการอยากให้ความทรงจำที่ไม่ดีไม่เกิดขึ้นกับเราก็เป็นวิภวตัณหาคือการไม่อยากมีไม่อยากได้เป็นอารมณ์จิตที่เร่าร้อนด้วยการผลักสิ่งที่ไม่ต้องการออกเป็นการผลักไสซึ่งทำให้เกิดความทุกข์<O:p></O:p>
    ส่วนความทรงจำที่ดีนั้นเป็นภวตัณหาคือการอยากมีอยากได้อยากให้กลับมาเกิดขึ้นอีกซึ่งก็เป็นไฟเป็นความเร่าร้อนเป็นความทุกข์อีกเช่นกัน<O:p></O:p>
    ซึ่งทั้งสองอันนี้ล้วนเป็นดั่งพยับหมอกเป็นฝุ่นทรายที่พัดพาหายไปตามกาลเวลา<O:p></O:p>
    ทั้งอดีตและอนาคตความทรงจำดีและไม่ดีล้วนเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไม่อาจจะจับต้องได้<O:p></O:p>
    การใช้ชีวิตอยู่กับพยับหมอกอยู่กับทราบแห่งกาลเวลาเหล่านี้ล้วนทำให้จิตใจเกิดความทุกข์เกิดปฏิฆะความขุ่นเคืองหงุดหงิดไม่พอใจ<O:p></O:p>
    เราจึงขอเพิกความยึดติดทั้งในอดีตและอนาคตเพิกความทรงจำทั้งหลายออกไปให้สลายหายกลายเป็นความว่างเวิ้งว้างว่างเปล่าสีขาว<O:p></O:p>
    ที่แผ่ไพศาลออกไปอย่างสุดลูกหูลูกตามีแต่ความว่างเวิ้งว้างเป็นสีขาวไร้ผนังไร้เพดานไร้กำแพงกั้น<O:p></O:p>
    ความว่างเปล่าแผ่ขยายออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ<O:p></O:p>
    สัมผัสอารมณ์ของความว่างของความนิ่งของจิตเนื่องจากไม่มีอะไรให้เกาะให้ยึดให้ปรารถนา<O:p></O:p>
    มีแต่ความว่างเวิ้งว้างว่างเปล่าเพียงฝ่ายเดียว<O:p></O:p>
    จิตของเราหยุดนิ่งประคองนิ่งหยุดตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ของความว่างนี้<O:p></O:p>
    ว่างสว่างนิ่งไร้กาลเวลาไร้ซึ่งสรรพสิ่งมีแต่ความว่างเปล่าสีขาว<O:p></O:p>
    จดจำอารมณ์ของความว่างนี้เอาไว้ว่างจากสัญญาจากความทรงจำจากการหมายรู้ในสิ่งต่างๆ<O:p></O:p>
    เนวะสัญญาไม่มีสัญญาก็เพราะจิตไม่รับรู้เพิกออกสลายออกซึ่งความสนใจซึ่งการรับรู้ในความทรงจำในสัญญาทุกอย่างทุกประการ<O:p></O:p>
    ไม่มีสัญญาเพราะจิตนั้นไม่สนใจไม่รับรู้ในสัญญา<O:p></O:p>
    ณาสัญญายตนะมีสัญญาก็เพราะความทรงจำนั้นยังมีอยู่สัญญาการรับรู้สิ่งต่างๆของร่างกายธาตุขันธ์ยังมีอยู่<O:p></O:p>
    ร่างกายยังรับรู้อาการเจ็บอาการปวดอาการร้อนหนาวได้ทุกประการ<O:p></O:p>
    เพียงแต่ใจตัดออกคลายออกสลายออกจากความรู้สึกของร่างกาย<O:p></O:p>
    จิตไม่รับรู้ในร่างกายในสัญญาในความทรงจำแม้มันจะมีอยู่<O:p></O:p>
    ความทรงจำยังมีอยู่ไม่หายไปไหนแต่เราเลือกจะไม่รับรู้ชั่วขณะ<O:p></O:p>
    เอาจิตไปจับกับอารมณ์ของความว่างเปล่าแทน<O:p></O:p>
    ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่มีสัญญาก็ไม่เชิง

    จริงๆแล้วเรื่องอรูปฌาณนี่ใกล้เคียงกับวิปัสสนามากครับเพราะเกือบจะไม่ยึดอะไรเลยถ้าเกิดหลงใหลยึดติดในฌาณเข้าก็คงยุ่งยากมากเหมือนกันเมื่อเป็นเช่นนี้ในสังโยชน์10 ท่านถึงต้องให้ละในเรื่องของรูปราคะและอรูปราคะแต่นั่นก็คงจะเป็นเรื่องของพระอนาคามีที่จะต้องปฏิบัติกัน (ปุถุชนอย่างผมคงยังไม่คิดไปถึงขั้นนั้น)<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    การที่อรูปฌาณใกล้เคียงกับวิปัสสนานั้นจึงทำให้คนหลงว่าอรูปเป็นพระนิพพานเสียเยอะ<O:p></O:p>
    ทำให้แทนที่จะไปพระนิพพานกลับกลายเป็นอรูปพรหมแทน<O:p></O:p>
    แม้แต่อาจารย์ของพระพุทธเจ้าท่านอาฬดาบสและอุทกดาบสก็ยังกลายเป็นอรูปพรหม<O:p></O:p>
    ดังนั้นการที่เรายังไม่ละสังโยชน์สองข้อนี้จนหมดก็ถูกแล้ว<O:p></O:p>
    แต่เราจำเป็นจะต้องทำให้เบาบางลงไป<O:p></O:p>
    คือหนึ่งไม่หลงคิดว่าสภาวะนี้คือพระนิพพาน<O:p></O:p>
    และสองอธิษฐานปักจิตเอาไว้ทุกวันว่าหากข้าพเจ้าตายจากชาตินี้เมื่อไหร่<O:p></O:p>
    จะไม่ขอเกิดในอบายภูมิทั้ง4 เป็นประการหนึ่งและอรูปพรหมโลกเป็นประการที่สอง<O:p></O:p>
    ขึ้นชื่อว่าความเป็นอรูปพรหมจะไม่บังเกิดปรากฏแก่ดวงจิตของเราอีกเป็นอันขาดตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    และเราสามารถใช้อรูปฌาณในการพิจารณาวิปัสสนาญาณได้<O:p></O:p>
    ก้คือให้พิจารณาวิปัสสนาตามที่เราถนัดในสังโยชน์แต่ละข้อ<O:p></O:p>
    และสุดท้ายให้สลายสังโยชน์ข้อนั้นให้สลายให้คลายให้ล้างออกไปด้วยกำลังของอรูปฌาณ<O:p></O:p>
    จะส่งผลให้การเจริญจิตตัดกิเลสนั้นมีความรวดเร็วและธรรมเข้าลึกถึงดวงจิตได้มากกว่าการพิจารณาทั่วไปด้วยกำลังของฌาณ4<O:p></O:p>


    2. อีกอย่างหนึ่งสงสัยมานานแล้วว่าระหว่างอรูปฌาณกับนิโรธสมาบัติที่พระอริยเจ้าท่านเข้ากันนี่เรื่องของอารมณ์ฌาณแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ
    เคยได้ยินเขาเล่ากันมาว่าเวลาที่พระอริยเจ้าเข้านิโรธสมาบัตินั้นต้องใช้เวลาหลายๆวันซึ่งการเข้าอรูปฌาณจะเข้ากันเป็นวันๆก็ทำได้เหมือนกันแต่ที่แน่ๆคือเรื่องของอารมณ์และรายละเอียดปลีกย่อยคงจะแตกต่างกันอยู่ถ้าพอจะทราบขอความอนุเคราะห์เล่าให้ฟังบ้างก็จะขอบคุณอย่างยิ่งครับ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    อรูปฌาณก็คือเข้าอรูปฌาณอารมณ์ของความว่างเวิ้งว้างว่างเปล่าจากวัตถุธาตุจากทุกสรรพสิ่งแม้แต่ความทรงจำ<O:p></O:p>
    เวลาที่จิตทรงอยู่ประคองอยู่ในอรูปฌาณละเอียดนั้น<O:p></O:p>
    จะคล้ายกับกาลเวลาหยุดนิ่งหรือไม่มีกาลเวลามีแต่ความว่าง<O:p></O:p>
    เวลาที่เรารู้สึกว่าประคองอยู่ในอรูปฌาณละเอียดนั้นชั่วโมงนึง<O:p></O:p>
    อาจจะเป็นระยะเวลาหลายวันในโลกภายนอก<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ส่วนนิโรธสมาบัตินั้นนิโรธก็คือการดับซึ่งกิเลสเป็นสภาวะจิตที่มีความว่างจากกิเลสโดยสมบูรณ์<O:p></O:p>
    ซึ่งก็คืออารมณ์พระนิพพาน<O:p></O:p>
    การเข้านิโรธสมาบัติก็คือการเข้าสัมผัสอารมณ์พระนิพพานโดยสมบูรณ์<O:p></O:p>
    จะมีความสุขเท่ากับพระอรหันต์ที่ละจากสังขารได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานอย่างถาวร<O:p></O:p>
    เนื่องจากพระอรหันต์แม้จะหมดจากกิเลสแล้วก็จริงอยู่แม้จิตของท่านจะทรงอยู่ในอารมณ์พระนิพพานอยู่เป็นปรกติ<O:p></O:p>
    แต่ว่าก็ยังมีการรับรู้ประสาทสัมผัสอายตนะการกระทบกระทั่งทางร่างกาย<O:p></O:p>
    ทั้งโรคภัยไข้เจ็บความหิวกระหายของร่างกาย<O:p></O:p>
    ซึ่งก็เป็นเครื่องขัดขวางการสัมผัสอารมณ์พระนิพพานอย่างเต็มที่<O:p></O:p>
    การเข้านิโรธสมาบัติจึงเป็นเวลาที่พระอริยเจ้าชั้นพระอนาคามีและพระอรหันต์<O:p></O:p>
    สามารถสัมผัสความสุขจากอารมณ์พระนิพพานได้โดยสมบูรณ์โดยมีความเย็นอย่างถึงที่สุดโดยปราศจากการรบกวนจากความต้องการของร่างกาย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    จะว่าเป็นการเข้าอารมณ์พระนิพพานชั้นละเอียดก็ว่าได้<O:p></O:p>
    จิตจะมีความเบาสบายเสวยสุขอยู่ในอารมณ์ของความชุ่มเย็นที่เกิดขึ้นจากอารมณ์พระนิพพานโดยสมบูรณ์<O:p></O:p>
    ไม่มีภาระหน้าที่ไม่มีภาระของร่างกายมีแต่ความเย็นความสุขอย่างไม่สิ้นสุดตลอดช่วงระยะเวลา7วัน<O:p></O:p>
    ด้วยเหตุที่เป็นอารมณ์ที่มีความสุขสุงสุดเท่าที่จะพึงมีได้และเนื่องจากร่างกายของท่านขาดอาหารเป็นระยะเวลานาน<O:p></O:p>
    จึงส่งผลให้ผู้ที่ได้ถวายอาหารให้กับพระที่พึ่งออกจากนิโรธสมาบัติได้รับอานิสงค์มหาศาลจะได้เป็นเศรษฐีในวันนั้น<O:p></O:p>
    หากปรารถนาพระโพธิญาณก็ย่อมยังบารมีให้เต็มขึ้นได้โดยไว<O:p></O:p>
    หากปรารถนาพระนิพพานในชาติปัจจุบันก็จะสามารถปฏิบัติจนเข้าถึงซึ่งความเป็นพระอรหันต์ได้โดยง่ายบรรลุธรรมได้โดยฉับพลัน

    3. เรื่องของฤทธิ์ต่างๆก็ยังสนใจอยู่ครับตอนนี้เน้นปฏิบัติไปทางด้านของฌาณฤทธิ์คือฤทธิ์ที่เกิดจากการทรงฌาณทรงสมาบัติ (ฤทธิ์มีหลายประเภทเช่นวิกุพนาฤทธิ์อธิษฐานฤทธิ์บุญฤทธิ์กรรมวิปากชาฤทธิ์เป็นต้น) เพราะคิดว่าน่าจะเหมาะกับตัวเองที่สุดคือทรงฌาณไปเรื่อยๆรอให้ของเก่า (ที่อาจจะพอมีอยู่บ้าง) มารวมตัวกันเองทีนี้มีคำถามว่าถ้าเราทรงฌาณระดับลึกๆไว้บ่อยๆฤทธิ์ต่างๆจะมารวมตัวกันเร็วขึ้นหรือไม่ครับถ้ามันจะช่วยเร่งเวลาได้ผมก็คงจะล่อแต่อรูปฌาณลูกเดียวเลยว่างั้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ในเรื่องของฤทธิ์นั้นเดี้ยวผมจะเขียนเป็นบทความลงให้อีกทีครับ<O:p></O:p>
    ถ้าอยากได้ฤทธิ์เน้นสองจุดครับหนึ่งคืออารมณ์ของเมตตาแผ่ให้เย็นให้สว่างให้จิตของเรามีความสุขอยู่ในเมตตาอย่างถึงที่สุด<O:p></O:p>
    จุดที่สองคือภาพพระพุทธเจ้าที่แย้มยิ้มทรงให้เป็นเพชรระยิบระยับทรงให้ได้เป็นปรกติและให้เราแย้มยิ้มตามภาพพระท่าน<O:p></O:p>
    ฌาณทั้งหมดรูปฌาณอรูปฌาณวิปัสสนาญาณมีส่วนช่วยหมดครับ<O:p></O:p>


    แต่เรื่องฤทธิ์นั้นคงจะเป็นแค่แรงจูงใจเบื้องต้นเป็นความสนใจแต่เก่าก่อนเท่านั้นได้หรือไม่ได้ก็ไม่มีนัยสำคัญอะไรเพราะภารกิจหลักของผมตอนนี้คงจะอยู่ที่วิปัสสนาเป็นหลักมากกว่าครับเพราะมีความตั้งใจว่าชาติหน้าไม่อยากจะมาเกิดอีกแล้ว (อ่านงานเขียนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำรู้สึกว่านิพพานนี่ไปกันได้ง่ายดายเหลือเกินไม่ใช่ของยากเย็นอะไรอาศัยศรัทธาความตั้งใจที่มุ่งมั่นเท่านั้นเอง)

    4.หลวงพ่อฤาษีลิงดำสอนว่าเราต้องถือมรณานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์แล้วก็ต้องคิดว่าถ้าตายขณะใดเราจะไปไหนถ้าหากว่าตั้งใจว่าจะไปนิพพานตอนเช้ามืดจะทำจิตให้เป็นฌานถึงที่สุดแล้วก็ถอยหลังอารมณ์ฌานมาพิจารณาสังโยชน์สังโยชน์10 นี่ก็ตัดสักกายทิฏฐิตัวเดียวแล้วก็เมื่อตัดสักกายทิฏฐิตัวเดียวแล้วก็เอาอารมณ์จับพระนิพพานเป็นสำคัญแล้วก็วันนั้นทั้งวันจะใช้อุปสมานุสสติกรรมฐานประจำใจคือปรารถนาพระนิพพานเป็นอารมณ์อย่างนี้ถ้าตายเมื่อไรไปนิพพานเมื่อนั้น

    ตรงนี้ค่อนข้างสำคัญการที่ทั้งวันจะใช้อุปสมานุสสติกรรมฐานประจำใจอยู่ตลอดยังเป็นของที่ยากอยู่จะมีเผลอมีหลุดตลอดต้องคอยระวังอยู่มาก (ลำพังแค่การทรงฌาณอยู่ตลอดเวลาทุกนาทีก็แทบจะทำไม่ได้อยู่แล้วเพราะมีเรื่องต้องติดต่อกิจธุระต่างๆบ้าง) แต่ว่าเรื่องความตายนี้ไม่มีนิมิตล่วงหน้าจะมาถึงไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่งก็เกรงว่าเมื่อความตายเข้ามาถึงจริงๆจะทรงอารมณ์ปรารถนาพระนิพพานไว้ไม่ทันตรงจุดนี้ขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ให้เน้นทรงภาพพระพุทธเจ้าเอาไว้เสมอๆให้เราตั้งกำลังใจเพิ่มเพื่อควบอุปสมานุสติกรรมฐานว่า<O:p></O:p>
    เมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้านึกถึงภาพพระพุทธเจ้าข้าพเจ้ากำลังระลึกถึงพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่บนพระนิพพาน<O:p></O:p>
    หากข้าพเจ้าตายเมื่อไหร่พระพุทธเจ้าทรงอยู่ที่ใดข้าพเจ้าจะไปที่นั่นเพียงจุดเดียว<O:p></O:p>
    ดังนั้นตราบใดที่เรายังเห็นภาพพระพุทธเจ้าจิตของเรายังแย้มยิ้มดั่งที่พระท่านยิ้ม จิตของเราก็ยังทรงยังระลึกถึงพระนิพพานอยู่ตราบนั้น<O:p></O:p>
    หากเราทรงภาพพระได้ตลอดก็แปลว่าจิตของเราระลึกถึงพระนิพพานอยู่ตลอดเวลา

    <O:p></O:p>
    ขอให้ดวงจิตซึ่งได้ตื่นขึ้นได้เบิกบานได้รู้ถึงความสุขที่เกิดจากความงดงามในจิตใจแล้ว
    มีแต่ความสุขความชุ่มเย็นตั้งมั่นในหนทางแห่งสัมมาทิษฐิสัมมาสมาธิสัมมาปัญญาสัมมาปฏิบัติยิ่งยวดขึ้นไป
    ทุกลมหายใจเข้าออกตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2010
  8. Maxzimon

    Maxzimon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +204
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ ผมจะนำไปปฏิบัติดู
     
  9. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    ทำอย่างไรเมื่อมีมารเข้าครอบงำในอารมณ์กรรมฐาน

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่ได้กรุณาแนะนำในเรื่องต่างๆมาตลอด ตั้งแต่ยังไม่รู้เรื่องราวอะไร เรื่องฌาณก็ไม่รู้จัก ได้รับคำแนะนำจากเจ้าของกระทู้และปฏิบัติไปเรื่อยๆ ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ตามเรื่องตามราวตามสภาพร่างกายและความพร้อมในแต่ละวัน (วิสัยฌาณโลกีย์นั้นมีได้ มีเสื่อมอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรายอมรับในจุดนี้ได้ ก็คงไม่มีปัญหาอะไรมากนัก)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สำหรับตอนนี้เรื่องข้อสงสัยต่างๆ ที่เป็นหลักๆ ผมคงจะไม่มีอะไรจะสอบถามเพิ่มเติมแล้ว เพราะได้สอบถามมาเพียงพอแก่ข้อสงสัยของตัวเองทั้งในเรื่องของฌาน อภิญญาและวิปัสสนาแล้ว โดยเฉพาะเรื่องของฌานได้สอบถามค่อนข้างมาก เพราะมีความไม่แน่ใจ เลยต้องการขอสอบเทียบด้านอารมณ์กับผู้รู้น่ะครับ เพราะการฝึกเอง โดยอ่านจากตำรา ไม่มีครูบาอาจารย์ คอยแนะนำ คอยสอบทวนอารมณ์กรรมฐาน ทำให้มีโอกาสเผลอไปอยู่มากเหมือนกัน ผมคงจะต้องนำหลักการที่สอบถามไปปฏิบัติ ตราบจนเข้าสู่วัตถุประสงค์ตามที่มุ่งหมายต่อไปในที่สุด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เรื่องของอรูปฌาน ตอนนี้เข้าใจเพิ่มขึ้นครับ จากที่เจ้าของกระทู้แนะนำและจากการทดลองปฏิบัติเอง อรูปฌานนี้จะว่าไป มีแต่ความนิ่งเป็นส่วนใหญ่ เหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น หวือหวา ซาบซ่า ส่วนมากจะอยู่ที่อุปจารสมาธิหรืออุปจารฌาณมากกว่า เหตุการณ์ตอนนี้ก็มีหลายๆอย่างที่สำคัญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำสอนว่า หากการปฏิบัติกรรมฐาน ถ้าสามารถเสาะหาครูบาอาจารย์ที่ไม่มีขันธ์ห้าให้มาสอน มาแนะนำแก่เราได้ อย่างนั้นจะถือว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    วันนี้ขอถามกันอย่างสั้นๆ ง่ายๆว่า สิ่งที่เราได้เห็นหรือได้ยิน จะพิจารณาหรือตัดสินใจอย่างไรได้ว่า สิ่งที่เราได้เห็นหรือว่าได้ยินนั้น เป็นของจริง หรือเกิดจากกิเลส ตัณหา อุปทานของตัวเองที่ปรุงแต่งให้เกิดขึ้น หรือเกิดจากมารเข้าแทรกแซงกิจการภายในของเราเข้าให้แล้ว ตรงนี้จะทวนสอบอารมณ์ของกรรมฐานอย่างไรครับ (โดนมารเข้าแทรกแซงกิจการภายในมาหลายครั้งครับ เลยไม่ค่อยจะไว้ใจเท่าไหร่)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเป็นการล่วงหน้าครับ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2010
  10. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ เดือนยี่ ครับ

    อยากลองนั่งสมาธิ แต่กลัว บอกไม่ถูกว่ากลัวอะไร คิดว่าอาจจะกลัวเห็นอะไรที่ไม่เคยเห็น พอลองทำมักคิดว่ามีคนนั่งจ้องเราอยู่ไม่รู้จะทำไงดี ขอความกรุณาด้วยนะค่ะ

    ความกลัวนั้นเกิดจากอะไร ก็ให้เราหาเหตุของความกลัวนั้นให้เจอ และล้างความรู้สึกลบออกไปจากจิต
    หากความกลัวของเราเกิดจากความรู้สึกที่ว่า ไม่ปลอดภัย ไม่มีความวิเวก ไม่มีความรู้สึกที่ปราศจากความระแวง
    ก็ให้เราฝึกสมาธิ โดยการทรงภาพพระพุทธเจ้า ให้เห็นภาพพระองค์แย้มยิ้มได้ชัดเจนแจ้มใส
    และให้ใจของเราแบ้มบิ้มตามภาพพระท่าน
    ทั้งนี้สมาธินั้นเป็นเรื่องของจิต กายไม่มีความเกี่ยวข้อง
    เมื่อไหร่ก็ตามที่เรานึกถึงภาพพระ ขณะนั้นจิตของเราเป็นสมาธิ
    เราจะนั่งหลัตาก็ดี ลืมตาก็ดี ใช้ชีวิตประจำวันอยู่ก็ดี
    หากเรายังเห็น ยังนึก ยังระลึกถึงภาพพระได้ จิตของเราเป็นสมาธิ
    เรากำลังทำสมาธิอยู่ตราบนั้น
    ไม่จำเป็นจำต้องนั่งหลับตา หรือหาเวลานั่งตอนดึก หรือเงียบๆ แม้แต่ประการใด
    เมื่อเราทรงภาพพระ เห็นพระองค์ได้ชัดเจนแจ่มใส มีแสงสว่างออกมาจากภาพพระ
    จนจิตของเรามีแต่ความสว่างไสว มีแต่รอยยิ้มเหมือนดั่งภาพพระ
    ความกลัวของเราก็จะหายไปทั้งหมด
    เมื่อทรงภาพพระได้แล้ว คราวนี้จะมาหลับตา มาลืมตา จะนั่งในที่มืด ในถ้ำ ในป่า ในเขา
    ก็จะไม่มีความกลัวอีกต่อไป
    ดังนั้นในขั้นต้นขอให้ฝึกทรงภาพพระ ให้เห็นชัดเจนแจ่มใส เป็นเนื้อเพชร เนื้อแก้วใส
    ประกายระยิบะระยับ มีฉัพพรรณรังสีเปล่งประกายจากภาพพระอยู่เสมอ

    และให้เราพิจารณาควบ ในอารมณ์ของพระนิพพานเอาไว้ด้วยว่า
    ทุกขณะที่เรากำลังเห็นภาพพระพุทธเจ้านี้ พระพุทธเจ้าทรงอยู่บนพระนิพพาน
    เมื่อเราระลึกถึงพระพุทธเจ้า เราก็ระลึกถึงพระนิพพานด้วยเช่นกัน
    ตายจากชาตินี้เมื่อไหร่ จิตของเราจะไม่คลาด ไม่เคลื่อน จากสภาวะของพระนิพพานตราบสิ้นลมหายใจสุดท้าย
    [​IMG][​IMG]

    ขอให้มีพุทธานุสติ ระลึกถึงภาพพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ และอุปสมานุสติ ระลึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกขณะจิต ที่พึงระลึกได้ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่่งพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  11. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ pichetchep ครับ

    ผมได้นั่งสมาธิโดยใช้การดูลมเข้าออกที่ปลายจมูกครับ นั่งไปสักพักหลังจากมีอาการขนลุกแล้วพบว่าเหมือนมีตัวอะไรไต่ตามตัวเข้าปาก

    เป็นอาการของปีติครับ

    เข้าจมูกก็เลยตามดูเฉยๆจนมันหยุดไต่แล้ว แต่ไม่สนใจลมหายใจมันก็นิ่งๆอยู่อย่างนั้นแบบว่าไม่รู้สึกอะไร มันนิ่งๆดิ่งๆบอกไม่ถูกครับและก็ไม่เห็นอะไรด้วย บางที่ก็เหมือนไม่มีตัวอยู่แต่เหมือนจะรู้สึกเห็นได้ 380 องศาเลย(บางครั้ง)ไม่รู้ว่าผมปฏิบัติถูกทางหรือเปล่า

    จิตอยู่ในสภาวะของฌาณ จิตหยุด ลมหายใจเบาสบายคล้ายกับไม่มีลมหายใจ เหลือแต่ความเบาสบาย
    สามารถสัมผัสรู้สึกอาการของจิตที่แผ่ออก ขยายออก ได้ชัดเจน

    อันนี้ถูกทางครับ

    และจะทำยังไงต่อ อีกอย่างผมเคยปวดฟันอย่างหนักเลยนั่งสมาธิดูความเจ็บปวด พบว่ามันจะพบจุดปวดที่สุดปวดมากๆเลยนั่งดูไปเรื่อยๆมันก็หายปวดรู้สึกแค่ เย็นๆ อาการอย่างนี้หมายถึงยังไงครับ แต่เวลาออกสมาธิสักพักมันก็จะเริ่มปวดขึ้นอีก จนปัจจุบันนั่งไปเรื่อยๆกลับรู้สึกตึงที่ปลายจมูกบางทีก็กลางหน้าผากมันตึง ตลอดเวลาเมื่อนึกถีง (ไม่ได้นั่งสมาธิ )แต่นั่งสมาธิแล้วก็หายขณะนั่ง เลยไม่รู้ว่ามาถูกทางหรือเปล่า

    อันนี้ผิดแล้วครับ
    เพราะว่าเมื่อเอาจิตไปจับกับอาการปวดมาก
    จิตจึงเกิดความหนัก อารมณ์หนัก อาการหนักก็ดี อึดอัดก็ดี ตึงใบหน้า ตึงหน้าผาก ตึงจมูกก็ดี
    ล้วนเป็นอาการของอารมณ์หนัก อันเกิดจากจิตของเรามีความเครียด มีอาการเกร็ง อาการบีบรัดจนแน่น
    ของการบีบบังคับให้นิ่ง

    วิธีการแก้ไขนั้น ให้เราผ่อนคลาย ความรู้สึกทางร่างกาย ความรู้สึกทางจิตใจ
    ให้จิตของเรานิ่ง ดิ่ง ลึก สงบ เบา สบาย
    คลาย จากอาการแน่น อาการเกร็ง อาการตึง ในทุกส่วนของร่างกาย
    ยิ่งเราผ่อนคลาย ทำใจให้เบาสบาย เบาจากความรู้สึกทางร่างกาย คล้ายไร้น้ำหนักทางร่างกาย
    ไร้ความรู้สึก มีแต่ความเบาสบาย เหลืออยู่ ประคองอยู่ได้มากเท่าไหร่
    จิตของเราก็ยิ่งนิ่ง สงบ หยุด รู้ในสภาวะของความสงบ ตื่นสู่จิตเดิมแท้ อันมีความงดงาม มีความชุ่มเย็น เบิกบานใจด้วยอารมณ์ของสมาธิ ของเมตตามากเท่าันั้น
    อารมณ์ของสมาธิที่แท้จริง ไม่ใช่อารมณ์ของการเพ่ง ของการเกร็ง ของการบีบคั้นคาดคั้น
    แต่เป็นอารมณ์ที่จิต ได้พักผ่อน ได้หยุดพัก ได้ผ่อนคลาย จากความคิด จากความวุ่นวาย
    ยิ่งจิตผ่อนคลายมากเท่าไหร่ สมาธิก็ยิ่งตั้งมั่น ยิ่งเบาสบายมากเท่านั้น
    สมาธิไม่เคยเป็นการบีบบังคับให้จิตนิ่ง สมาธิที่แท้จริง
    คือการผ่อนคลาย จนจิตนิ่ง
    อารมณ์ที่เราต้องฝึก ต้องทำให้ได้ ต้องทรงให้ได้ ต้องเข้าถึงให้ได้
    ในขั้นต้น ก็คืออารมณ์สบายของสมาธิ
    ดังนั้นให้เราฝึกในขั้น อารมณ์สบาย หาอารมณ์สบาย ที่จิตหยุด ลมหายใจหยุด ความคิดหยุด
    จิตรวมตัว เป็นหนึ่ง อยู่ในความสบาย ผ่อนคลายนี้
    ให้ได้เสียก่อน และประคองอารมณ์ใจสบายนี้เอาไว้ จนคล่องแคล่ว จนเป็นเนื้อเดียวกับจิตของเรา
    เมื่อจิตของเราประคองอยู่ในอารมณืสบายได้แล้ว
    จึงค่อยหันไปทำขั้นวิปัสสนา อีกทีนึง

    ขอให้จิตผ่อนคลาย มีความเบาสบาย พักผ่อน จากอารมณ์ีที่ทำให้เกิดความตึง ความเครียด ความอึดอัด เข้าถึงซึ่่งสภาวะที่ละเอียด ประณีต นุ่มนวล เบา สบาย
    ได้โดยง่ายดาย ได้โดยฉับพลันทันใด ด้วยพุทธบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  12. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ NICKAZ ครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่ได้กรุณาแนะนำในเรื่อง ต่างๆมาตลอด ตั้งแต่ยังไม่รู้เรื่องราวอะไร เรื่องฌาณก็ไม่รู้จัก ได้รับคำแนะนำจากเจ้าของกระทู้และปฏิบัติไปเรื่อยๆ ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ตามเรื่องตามราวตามสภาพร่างกายและความพร้อมในแต่ละวัน (วิสัยฌาณโลกีย์นั้นมีได้ มีเสื่อมอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรายอมรับในจุดนี้ได้ ก็คงไม่มีปัญหาอะไรมากนัก)<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    สำหรับตอนนี้เรื่องข้อสงสัยต่างๆ ที่เป็นหลักๆ ผมคงจะไม่มีอะไรจะสอบถามเพิ่มเติมแล้ว เพราะได้สอบถามมาเพียงพอแก่ข้อสงสัยของตัวเองทั้งในเรื่องของฌาน อภิญญาและวิปัสสนาแล้ว โดยเฉพาะเรื่องของฌานได้สอบถามค่อนข้างมาก เพราะมีความไม่แน่ใจ เลยต้องการขอสอบเทียบด้านอารมณ์กับผู้รู้น่ะครับ เพราะการฝึกเอง โดยอ่านจากตำรา ไม่มีครูบาอาจารย์ คอยแนะนำ คอยสอบทวนอารมณ์กรรมฐาน ทำให้มีโอกาสเผลอไปอยู่มากเหมือนกัน ผมคงจะต้องนำหลักการที่สอบถามไปปฏิบัติ ตราบจนเข้าสู่วัตถุประสงค์ตามที่มุ่งหมายต่อไปในที่สุด<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    เรื่องของอรูปฌาน ตอนนี้เข้าใจเพิ่มขึ้นครับ จากที่เจ้าของกระทู้แนะนำและจากการทดลองปฏิบัติเอง อรูปฌานนี้จะว่าไป มีแต่ความนิ่งเป็นส่วนใหญ่ เหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น หวือหวา ซาบซ่า ส่วนมากจะอยู่ที่อุปจารสมาธิหรืออุปจารฌาณมากกว่า เหตุการณ์ตอนนี้ก็มีหลายๆอย่างที่สำคัญ<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำสอนว่า หากการปฏิบัติกรรมฐาน ถ้าสามารถเสาะหาครูบาอาจารย์ที่ไม่มีขันธ์ห้าให้มาสอน มาแนะนำแก่เราได้ อย่างนั้นจะถือว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    วันนี้ขอถามกันอย่างสั้นๆ ง่ายๆว่า สิ่งที่เราได้เห็นหรือได้ยิน จะพิจารณาหรือตัดสินใจอย่างไรได้ว่า สิ่งที่เราได้เห็นหรือว่าได้ยินนั้น เป็นของจริง หรือเกิดจากกิเลส ตัณหา อุปทานของตัวเองที่ปรุงแต่งให้เกิดขึ้น หรือเกิดจากมารเข้าแทรกแซงกิจการภายในของเราเข้าให้แล้ว ตรงนี้จะทวนสอบอารมณ์ของกรรมฐานอย่างไรครับ (โดนมารเข้าแทรกแซงกิจการภายในมาหลายครั้งครับ เลยไม่ค่อยจะไว้ใจเท่าไหร่)<o>:p</o>:p
    <o>:p</o>:p
    ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเป็นการล่วงหน้าครับ<o>:p</o>

    เริ่มแรกก่อนที่จะใช้ญาณ สมาธิ ติดต่อกับท่านใด หรือรับรู้สิ่งใดก็ตาม
    ให้เราชำระจิต ล้างจิตของเรา ด้วยฌาณ ด้วยเมตตา ด้วยภาพพระที่แย้มยิ้ม ด้วยอรูปฌาณ
    จนกระทั่งจิตของเรามีความเบา สบาย สงบสุข ชุ่มเย็น สว่างไสว ด้วยเมตตาให้ได้เสียก่อน
    จากนั้นในลำดับต่อต่อมา ให้เราเจริญวิปัสสนาญาณ ตามกำลังที่ทำได้
    ตัดสังโยชน์3 5 10 และสรุปลงในอารมณ์สุดท้ายว่า
    พระพุทธเจ้าทรงอยู่ที่พระนิพพาน ตายแล้วเราจะไปยังพระนิพพานที่พระองค์ประทับอยู่เท่านั้น
    เมื่อจิตของเรามีความสว่างและสงบ จากสมถะ และมีความสะอาด จากกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว
    ให้เรานึกถึงภาพพระพุทธเจ้า ภาพครูบาอาจารย์ของเรา
    และตั้งกำลังใจว่า ข้าพเจ้าผู้มีจิต นอบน้อม เคารพ นับถือ ในไตรสรณคม ด้วยความตั้งมั่น ศรัทธาอย่างถึงที่สุด
    ขอกราบเป็นลูกศิษย์ ของครูบาอาจารย์ผู้เป็นพระอริยเจ้า ผู้เป็นสัมมาทิษฐิ ทุกท่านทุกพระองค์ โดยมีองค์สมเด้จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์แรกเป็นที่สุด
    ขอให้ข้าพเจ้าได้รับทราบ รับฟังธรรมะ อันจะเป็นเครื่องปลดเปลื้องดวงจิตของข้าพเจ้า จากกิเลส จากตัณหา จากอุปาทาน จากภพชาติ จากการเวียนว่ายตายเกิด
    ขอธรรมะของพระพุทธเจ้า หลั่งไหล ประดุจสายน้ำ ชะโลมล้างดวงจิตของข้าพเจ้า ให้มีแต่ความชุ่มเย็น สว่างไสวด้วยเทอญ

    จากนั้นพึงได้ยินสิ่งใดก็ดี ทราบสิ่งใดก็ดี
    ให้วางอุเบกขาในสิ่งนั้น อย่าพึ่งเชื่อ อย่าพึ่งปฏิเสธ
    แต่ให้น้อมนำมาพิจารณา ว่าธรรมะนั้นเป็นไปเพื่อความทุกข์ เพื่อกิเลส เพื่อการเวียนว่ายตายเกิด
    หรือเป็นไปเพื่อความสุข เพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อการเข้าถึงซึ่่งพระนิพพาน
    หากเราฟังและพิจารณาแล้วว่า เป็นไปเพื่อความสุข เพื่อการน้อมเข้าสู่พระนิพพาน เพื่อบรรเทาความเร่าร้อน ทิษฐิมานะในจิตใจของเรา
    ก็จึงค่อยนำธรรมะนั้นมาปฏิบัติ

    เปรียบดั่งแก้วน้ำที่ว่าเปล่า ไม่ใช่น้ำครึ่งแก้ว ไม่ใช่น้ำล้นแก้ว
    เมื่อมีผู้ใด เทของน้ำมาให้เรา ก็ให้เราพิจารณาเสียก่อน
    ว่าสิ่งนั้น เป็นยาพิษ หรือเป็นน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์
    หากน้ำที่ได้รับเป้นยาพิษ ก็พึงเทน้ำนั้นออกจากแก้วเสีย
    แต่หากนั้นนั้นเป็นน้ำที่มีความบริสุทธิ์ สามารถจะยังความชุ่มเย็นให้เกิดขึ้นได้
    เราจึงค่อยดื่ม ค่อยรับเอาน้ำที่บริสุทธิ์นั้น เข้าไปชะโลมล้างหัวใจของเรา

    ธรรมะก็พึงรับฟัง น้อมนำ มาพิจารณา ในคุณ และโทษเสียก่อน
    เมื่อเห็นว่าเป้นคุณ จะยังความชุ่มเย็น ให้เกิดขึ้นได้ จึงค่อยน้อมนำมาปฏิบัติ

    ทั้งนี้ น้ำที่ล้นแก้ว คือ จิตที่เปี่ยมด้วยทิษฐิมานะ คิดว่าฉันเก่งแล้ว รู้มากแล้ว ดีแล้ว
    ย่อมรับน้ำใหม่ ธรรมะที่ได้ฟังมาใหม่ไม่ได้
    หรือหากแก้วน้ำนั้น มีความมัว ไม่สะอาด ไม่ได้รับการชำระล้างเสียก่อน
    ก็คือ จิตของเรา ที่ยังไม่ถูกทำให้สะอาด ด้วยสมถะ และวิปัสสนา
    ย่อมทำให้เห้นน้ำที่ถูกรินมาได้ไม่ชัดเจน
    และสามารถพิจารณา สามารถตีความสิ่งที่ได้ฟัง ธรรมะต่างๆ ผิดเพี๊ยนไปได้
    บุคคลผู้ไม่มีฌาณ ไม่มีสมาธิ ไม่ยอมฝึกฌาณ
    แก้วน้ำของบุคคลนั้น ก็ไม่อาจจะสะอาดได้ เห็นยาพิษว่าเป็นน้ำสะอาด เห็นน้ำสะอาดว่าเป็นยาพิษ
    ยิ่งดื่มยิ่งกินด้วยแก้วที่ไม่สะอาดมากเท่าไหร่ ยิ่งบ่อนทำลายสุขภาพทั้งกายและจิตมากเท่านั้น

    จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องชำระ ต้องล้างจิตของเราให้สะอาด ให้บริสุทธิ์ ให้เป็นเพชรเสียก่อน
    ด้วยกำลังของสมถะ วิปัสสนา การตั้งกำลังใจ และการวางอุเบกขา
    พิจารณาให้ถี่ถ้วน จึงค่อยดื่ม ค่อยลิ้มรสแห่งน้ำพระธรรม
    จึงจะสามารถเข้าถึงรสชาติที่แท้จริง ที่ชุ่มเย็น ที่อิ่มเิอิบ ที่เบาสบาย อันเกิดจากธรรมะของพระพุทธองค์ได้

    ขอให้ดวงจิตทุกดวง สามารถพิจารณา เห็นสัมมา เห็นมิจฉา เห็นถูก ผิด ชอบ ชั่ว ดี
    ได้โดยชัดเจนแจ่มใส ด้วยกำลังของสมถะ วิปัสสนา ด้วยบารมีของพระพุทธเจ้า
    ได้ตลอดทุกขณะจิต ทุกภพชาติไป ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้านี้ด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2010
  13. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    จิตใจทรงสมาธิ จนไม่สนใจในทางโลก บางครั้ง ไม่รับรู้ในสิ่งใด แต่ รู้ขณะนั้นว่ากำลังทำสิ่งใดคิดสิ่งใดแต่จิตใจไม่อยากรับรู้ คือ ดูลมหายใจไม่สนใจคนอื่ๆนรอบๆกาย
    จิตยังคงดำรงอยู่เมื่อกิเลสหมดไปจิตใจก็เบาเพราะไม่มีกิเลสมาเกาะให้มันหนักจิต เคยเจอกับตัวเองแล้วว่า ถ้าวันใดมารก็ดี โลกีก็ดี โมหะโทษะ ก็ดี เกิดขึ้น คิดคล้อยตามแล้ว จิตใจเศร้าหมองอารมณ์หนักเพราะกิเลสมาเกาะอยู่ที่จิตใจ จิต ก็หนักไม่เบา

    ถ้าหากเราไม่สนใจใครแล้ว และไม่รับรู้ ไม่ง่วงหงาวหาวนอน ไม่มีตัวตน แต่สัมผัสได้ บางทีอาจจะกระทบต่อทางโลก การงาน กิจวัตรประจำวัน
    แต่มีข้อดีคือทำให้ความจำดีขึ้น

    อนุโมทนาบุญกันผลบุญที่คุณชัดได้กระทำอันประเสริฐขออนุโมทนาบุญกุศลขอให้ทุกๆท่านและคุณชัด เข้าถึงพระธรรมอันเป็นพระรัตนตรัย และมีความสุขด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มีนาคม 2010
  14. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    นำมาฝากค่ะ

    <TABLE class=tborder id=post28880 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ชนะ สิริไพโรจน์<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_28880", true); </SCRIPT>
    ทีมงานเว็บพลังจิต

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jul 2008
    โพสต์: 2,695
    ได้ให้อนุโมทนา: 24,552
    ได้รับอนุโมทนา 21,821 ครั้ง ใน 1,745 โพส


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_28880 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid">[​IMG] <CENTER><!-- google_ad_section_start -->อบรมสมาธิวันมาฆบูขา 2553 โดย อ.คณานันท์ ทวีโภค<!-- google_ad_section_end -->

    </CENTER>
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    Artist: อ.คณานันท์ ทวีโภค
    Album: ศูนย์พุทธศรัทธา
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>ไฟล์แนบข้อความ</LEGEND><TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD width=20><INPUT id=play_47382 onclick=document.all.music.url=document.all.play_47382.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=47382 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อ.คณานันท์มาฆบูชา2553-1.mp3 (73.04 MB, 281 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_47387 onclick=document.all.music.url=document.all.play_47387.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=47387 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อ.คณานันมาฆบูชา2553-2.mp3 (52.73 MB, 151 views)</TD></TR></TBODY></TABLE></FIELDSET>
    <!-- google_ad_section_start -->อ.คณานันท์ ทวีโภค อบรมสมาธิ ณ ศูนย์พุทธศรัทธา
    งานบวชเนกขัมมะบารมี เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในวันมาฆบูชา ๒๕๕๓<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. Ukie

    Ukie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +594
    สวัสดีค่ะ ขอเข้ามาแชร์และหาความรู้เพิ่มเติมด้วยคนนะคะ รบกวนช่วยแนะนำด้วยค่ะ

    เมื่อเกือบ 3 เดือนที่ผ่านมา ได้เริ่มมานั่งสมาธิอย่างจริง ๆ จัง ๆ น่ะค่ะ ก้อเริ่มจากนั่งสมาธิกำหนดดูตามลมหายใจ จนมีอยู่ช่วงนึงที่จิตกระตุกและวาบสว่างน่ะค่ะ ก้อได้คำแนะนำให้ตามดู

    พอหลังจากตามดู จิตก้อค่อย ๆ ไหลและวาบช้า ๆ แทนที่จะกระตุกน่ะค่ะเป็นอยู่อย่างนี้หลายวัน จนได้รับคำแนะนำว่า เพราะจิตไม่มีอะไรทำเลยเคลิ้มและง่วง
    บ่อยครั้ง จึงหาอะไรให้จิตทำค่ะ อะไรที่ว่าคือ การทำวิปัสสนาค่ะ

    ถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าจะทำตอนไหน ของข้าพเจ้าก้อทำตอนที่จิตเริ่มเคลิ้มและวาบมาสว่างน่ะคะ ตอนนั้นจิตจะนิ่ง (หลัง ๆ ไม่เคลิ้มแล้วค่ะ แต่จะเกิดเป็นนิมิตแทนพอระลึกจับสติได้ทัน ก้อจะนิ่ง ถึงเริ่มวิปัสสนาน่ะค่ะ)

    แต่ก้อไม่ได้สนใจหรือคำนึงถึงหรอกนะคะ ว่าขึ้นฌานหรือยัง บอกตรง ๆ ค่ะ ว่ายังไม่เก่งเลย อาการก่อนจิตนิ่งยังเคลิ้มและนิมิตอยู่เลย แต่ก้อไม่พยายามไปเครียดกับอาการที่ว่านี้นะคะ

    แต่ว่าตอนที่เริ่มวิปัสสนาน่ะค่ะ ข้าพเจ้าไม่ได้พิจารณากายเหมือนคนอื่น ๆ นะคะ คือไม่ได้ตั้งใจจะทำอะไรแปลกแหวกแนวนะคะ เพียงแต่พื้นฐานเป็นคนใจร้อนค่ะ หงุดหงิดง่ายอยู่ในสมาธิก้อสงบดีนะคะ แต่พอออกจากสมาธิมาใช้ชีวิตปกติ ก้อใจร้อนเหมือนเดิม ซึ่งไม่ดีเอาซะเลย

    ดังนั้นก้อเลยเริ่มจากหาคำตอบให้ตัวเองว่า ตัวเราเองขาดอะไร ซึ่งก้อได้คำตอบออกมา ว่าตัวเราเองขาดการยอมรับความจริงค่ะ

    ส่วนเรื่องที่วิปัสสนาก้อเริ่มที่เรื่อง ที่เป็นปัญหากับตัวเราเองมากที่สุด วิปัสสนาขณะที่มีกำลังสมาธิแข็งแรงพอ ต่อมาก้อจะมีจิตรู้ขึ้นเองค่ะ แต่ข้าพเจ้ายังไม่ถึงกับรู้แจ้งนะคะ ยังอีกไกลค่ะ

    เชื่อว่าสมาธิและปัญญาที่ดีต้องสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ด้วย ไม่ใช่ว่าสงบเยือกเย็นในสมาธิ แต่พอออกนอกสมาธิมาใช้ชีวิตปกติ ก้อใจร้อน เหมือนเดิม อย่างข้าพเจ้า ไม่ดีเลยค่ะ ต้องใช้งานได้จริงด้วยค่ะ

    ไม่ทราบว่าเจ้าของกระทู้มีอะไรแนะนำเพิ่มเติมไหมค่ะ ปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ
    ฌานจะพัฒนาขึ้นไปพร้อม ๆ กับการวิปัสสนาใช่ไหมค่ะ

    อีกเรื่องนะคะ เมื่อไหร่ที่อาการนิมิตแล้วเคลิ้ม มาวาบสว่าง จะหายไปค่ะ เป็นเรื่องปกติไหม ยังไม่ขึ้นฌาน 1 ใช่ไหมค่ะ

    รบกวนด้วยคน ขอบคุณค่ะ<!-- google_ad_section_end -->
     
  16. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    ภารกิจที่ต้องทำต่อไป

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่ได้กรุณาอธิบายข้อสงสัยต่างๆ ให้กับผู้มีปัญญาทึบอย่างผมมาตลอด ตอนนี้ถือว่าผมได้รับการอธิบายข้อสงสัยต่างๆอย่างเกือบจะครบถ้วนแล้ว และยังไม่มีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติม ต้องขอตัวไปทดลองปฏิบัติดูว่าจะเป็นอย่างที่เจ้าของกระทู้แนะนำหรือไม่ อย่างไร ต่อไปครับ และจะขอยึดถือปฏิบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เตือนไว้ในเรื่องความไม่ประมาท ดังนี้

    หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ

    สำหรับตอนนี้คงต้องขอตัวไปปฏิบัติภารกิจที่พึงจะทำเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป


    แต่ถ้าระหว่างทางที่จะต้องเดินไป มีการติดขัด ในส่วนใด อาจต้องมาขอความอนุเคราะห์อีกครั้ง หวังว่าคงจะได้รับความกรุณาบ้างในโอกาสต่อไปนะครับ
     
  17. Maxzimon

    Maxzimon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +204
    สำหรับผมแล้วจิตใจที่ทรงสมาธิไม่จำเป็นต้องไม่สนใจในทางโลก เพียงแต่ลดความยึดมั่นหรือถือตั้งลง ให้เราเปลี่ยนมามองในมุมหนึ่ง หากมองแล้วจะไม่ใส่ใจในทางโลกก็คงมิได้ ยังมีผู้ที่ต้องการผู้ช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ หากไม่สนใจในทางโลกแล้วทางธรรมก็จะหยุดอยู่ในระดับอันพึงควร หากเข้าทางโลกมากไปก็จักทำให้จิตใจสับสนวุ่นวาย
    ในแง่มุมของผมแล้วจึงควรดำเนินในทางธรรมควบคู่กับทางโลกโดยอาศัยพึ่งพากัน เป็นทางสายกลางที่ควรเลือกเดิน


    ความทรงจำที่ดีขึ้นจากสิ่งเรานี้เป็นเพราะเราใส่ใจแต่เรื่องนั้นๆเรื่องเดียวเท่านั้น จึงทำให้รู้สึกว่าเราจำได้ หากไม่รับรู้ไม่สนใจสิ่งใดแล้ว จะจำสิ่งใดคงยากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2010
  18. choosake

    choosake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    482
    ค่าพลัง:
    +647
    มาเป็นกำลังใจ ให้ จ้า
     
  19. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    อสุภกรรมฐานหนักเอาเรื่องสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย

    หลังจากที่ได้ฝึกซ้อมกำลังใจกับเรื่องของฌาณสมาบัติมาจนเป็นที่พอใจของตัวเองแล้ว ได้เวลาประกาศท้ารบกับกิเลสมารทั้งสามเสียที

    แม่ทัพกิเลสมารตัวที่ 1 โลภะ ใช้จาคานุสติกรรมฐานเป็นอาวุธในการต่อสู้ ผมได้เริ่มทำไปแล้ว

    แม่ทัพกิเลสมารตัวที่ 2 โทสะ ใช้การเจริญพรหมวิหาร 4 ให้เป็นฌาณเป็นอาวุธในการต่อสู้ ผมก็ได้เริ่มทำไปแล้วเช่นเดียวกัน

    แม่ทัพกิเลสมารตัวที่ 3 โมหะ ใช้อสุภกรรมฐานเป็นอาวุธในการต่อสู้ เพิ่งจะอยู่ในระยะเริ่มต้น เรื่องการเจริญอสุภกรรมฐานนี้ผมจัดไว้ในลำดับหลังสุด เพราะต้องการให้กำลังใจนิ่ง อยู่ตัวดีเสียก่อน เมื่อก่อนผมเป็นคนที่ไม่ชอบการดูอะไรในเรื่องนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เจริญหู เจริญตาเอาเสียเลย แต่มาคิดว่าเรื่องอย่างนี้ การพิจารณาอย่างนี้ พระอรหันต์ทุกท่านก็ต้องผ่านมาแล้วแทบทั้งสิ้น ดังนั้นปุถุชนอย่างเรา ถ้าต้องการความก้าวหน้าในชีวิต ก็จำเป็นต้องผ่านไปให้ได้เช่นเดียวกัน

    วิธีการที่ใช้คือเริ่มต้นจากฌาณก่อนเหมือนที่เคยทำ ไล่ไปมา 1 2 3 4 อรูปฌาณ ขึ้นไปลงมาจนพอใจแล้ว จึงเริ่มมาจับอสุภกรรมฐาน ไม่มีโอกาสไปดูศพจริงๆ จึงใช้วิธีดูจากรูปภาพเอา ใช้ภาพศพเพิ่งตาย ศพขึ้นอืด เน่า ศพแห้งๆ มาดูให้จดจำภาพไว้ แล้วนึกถึงภาพศพนั้นๆ ให้เกิดเป็นภาพนิมิตในใจ แล้วพิจารณาไปตามวิธีของกรรมฐานกองนี้

    ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ ถ้าใจไม่นิ่งพอก็จะเกิดปัญหาได้ (สำหรับคนที่ไม่ชอบดูภาพประเภทนี้อย่างผมเป็นต้น) สิ่งที่พอจะทำได้ คือการใช้อำนาจของสมาบัติ ในการยึด ตรึงจิตให้มีความนิ่ง วางใจเป็นอุเบกขา คิดว่าท่านทั้งหลายเหล่านี้เป็นครูที่จะมาสอนกรรมฐานให้กับเรา ก็ขอฝากตัวเป็นศิษย์กับท่าน เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว ใจก็นิ่งไม่มีความหวั่นไหวกับภาพนิมิตน่ารังเกียจเหล่านี้ การเจริญกรรมฐานก็เป็นไปตามขั้นตอน หนักๆเข้า การดูภาพพวกนี้ ก็ไม่มีผลอะไร คือดูจนชินแล้วว่างั้น คิดได้ว่าทุกวันนี้เราก็อยู่กับซากศพคือตัวของเราเองทุกวันอยู่แล้ว ก็เกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายไปเอง

    สำหรับวันนี้มีคำถามที่จะขอคำแนะนำ ดังนี้ครับ

    1.ความเบื่อหน่ายในร่างกายที่เกิดขึ้นยังเป็นเพียงแค่ "สัญญา" อยู่ ถ้าต้องการทำความรู้สึกที่ว่านี้ให้เกิดเป็น "ปัญญา" เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสตัวนี้ จากวิธีการปฏิบัติที่กล่าวมา เจ้าของกระทู้เห็นว่า ผมควรจะต้องเพิ่มการปฏิบัติตรงจุดใดให้มากขึ้นครับ

    2.หลายครั้งพิจารณาซากศพจนฟุ้งซ่าน เลยต้องไปจับด้านสมาธิต่อ ใช้การเพ่งมองนิมิตภาพซากศพของเดิมไปเรื่อยๆ จากภาพศพขึ้นอืดเขียวๆเหลืองๆ ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว เปลี่ยนเป็นศพสีใส และเป็นศพสีเป็นประกายเพชร สุกใส สว่างไสว (จริงๆ แล้วถ้าจิตมันบทจะคล่องขึ้นมา ดูการเปลี่ยนสีไม่ทันหรอกครับ ชั่วลัดนิ้วมือเดียวจากศพขึ้นอืดกลายเป็นศพประกายเพชร สุกใสไปแล้ว แต่อธิบายแบบช้าๆ ที่คิดว่าน่าจะเป็นประมาณนี้ครับ) อย่างนี้ถือเป็นฌาณ 4 ในกรรมฐานกองไหนครับ ระหว่างฌาณ 4 ในกสิณ หรือว่าเป็นฌาณ 4 ในอสุภกรรมฐาน รู้สึกสับสนกับตัวเอง เพราะจับอสุภกรรมฐานอยู่ ไม่ได้สนใจเรื่องกสิณ

    ศพเป็นประกายเพชร สุกใส ก็ยังน่ารังเกียจอยู่ดี หลายครั้งพอมองจนเบื่อแล้วก็เลยเพิกถอน ไปจับนิมิตพระพุทธรูปดีกว่า เห็นภาพพระแล้วใจสงบ ชุ่มชื่นดีครับ (อันนี้คือพุทธานุสติกรรมฐานควบกับกสิณสี (สีขององค์พระพุทธรูป ) ใช่ไหมครับ ) ในคราวเดียวกัน มีกรรมฐานผสมปนกันหลายกอง เลยสับสน แยกแยะไม่ถูกครับ


    3.เนวสัญญานาสัญญายตนะ ตัวนี้กว่าจะจับเคล็ดได้ เล่นเอาแทบแย่ไปเหมือนกัน จุดสำคัญคือการที่จิตเลือนหายไป จึงกำหนดเอาสัญญายากขึ้นเล็กน้อย แต่ขึ้นชื่อว่าการปฏิบัติกรรมฐาน ย่อมมีวิธีแยกย่อยเป็นหมื่น เป็นแสนวิธี ที่จะเข้าถึง หากว่าหมั่นเป็นนักทดลอง ก็สามารถหาทางเข้าถึงได้ไม่ยาก

    เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้จิตดับไปอย่างสิ้นเชิงเลยนี่ครับ แต่ยังมีสติสัมปชัญญะอยู่กับตัวอย่างครบถ้วน น่าชื่นชมกับภูมิปัญญาของคนโบราณที่คิดค้นวิธีการควบคุมจิต ผมเป็นเพียงแค่ผู้ที่ทดลองทำตามเท่านั้น ยังรู้สึกทึ่งไปด้วยเลย เรื่องพวกนี้มีมาตั้งแต่ก่อนยุคพุทธกาลและพระพุทธเจ้าก็ให้การรับรอง การที่จิตดับไป หยุดกิจกรรมทุกอย่าง ร่างกายก็เลยหยุดกิจกรรมต่างๆไปด้วย หรือถ้าจะมี ปฏิกิริยาต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นอย่างช้ามากๆ ผมหายสงสัยแล้วว่า ทำไมพวกฤาษี โยคีต่างๆ ที่ได้ฌาณสมาบัติ จึงสามารถทรมานร่างกาย อดข้าว อดน้ำ และมีชีวิตอยู่ได้อย่างยาวนาน บางท่านยืดอายุของตัวเอง คงสภาพสังขาร ขันธ์ 5 อยู่ได้ถึงหลายร้อยปีก็มี (ไม่เคยเห็นกับตาครับ ฟังเขาเล่าลือกันมา)

    คำถามของข้อสองนี้มีอยู่ว่า การที่ผมเจริญสมถกรรมฐานก็เป็นไปเพื่อความต้องการในการสะสมพลังจิต เพื่อเอาไปใช้เป็นพลังงานในการฝึกฝนด้านอภิญญาต่างๆ อันเป็นความสนใจแต่ดั้งเดิม การเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ตัวนี้ จิตมันดับไปอย่างสิ้นเชิง หยุดกิจกรรมทุกอย่าง ดูเหมือนว่ามันไม่ทำอะไรเลยอย่างนี้ แล้วจิตจะสะสมพลังงาน อันเป็นพลังจิตไว้ได้หรือเปล่า อย่างนี้ ไปพิจารณาความว่างเปล่า พิจารณาวิญญาณ พิจารณาอากาศ ซึ่งจิตยังทำงานอยู่บ้าง เพื่อให้จิตได้มีโอกาสสะสมพลังงานอยู่ตลอดเวลา จะดีกว่าหรือไม่

    มีข้อสงสัยเพียงเท่านี้ ขอขอบคุณในความอนุเคราะห์ล่วงหน้าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2010
  20. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ makoto12 ครับ

    จิตใจทรงสมาธิ จนไม่สนใจในทางโลก บางครั้ง ไม่รับรู้ในสิ่งใด แต่ รู้ขณะนั้นว่ากำลังทำสิ่งใดคิดสิ่งใดแต่จิตใจไม่อยากรับรู้ คือ ดูลมหายใจไม่สนใจคนอื่ๆนรอบๆกาย
    จิตยังคงดำรงอยู่เมื่อกิเลสหมดไปจิตใจก็เบาเพราะไม่มีกิเลสมาเกาะให้มันหนักจิต เคยเจอกับตัวเองแล้วว่า ถ้าวันใดมารก็ดี โลกีก็ดี โมหะโทษะ ก็ดี เกิดขึ้น คิดคล้อยตามแล้ว จิตใจเศร้าหมองอารมณ์หนักเพราะกิเลสมาเกาะอยู่ที่จิตใจ จิต ก็หนักไม่เบา

    ถ้าหากเราไม่สนใจใครแล้ว และไม่รับรู้ ไม่ง่วงหงาวหาวนอน ไม่มีตัวตน แต่สัมผัสได้ บางทีอาจจะกระทบต่อทางโลก การงาน กิจวัตรประจำวัน
    แต่มีข้อดีคือทำให้ความจำดีขึ้น

    อนุโมทนาบุญกันผลบุญที่คุณชัดได้กระทำอันประเสริฐขออนุโมทนาบุญกุศลขอให้ทุกๆท่านและคุณชัด เข้าถึงพระธรรมอันเป็นพระรัตนตรัย และมีความสุขด้วยเทอญ


    การที่จิตของเราไม่สนใจในทางโลกนั้น เป็นอารมณ์ที่หนักเกินไป ในระดับละเอียด
    คือเป็นความหนักนิดๆ ซึ่งไม่ได้เกิดจากกิเลสหยาบ แต่เป็นอาการหนักจากกิเลสละเอียด
    ซึ่งนั่นก็คือ มานะทิษฐิขั้นละเอียด
    จิตจะยังไม่เบา ไม่ สบาย ไม่มีความชุ่มเย็น อย่างถึงที่สุด จะเย็นอยู่เพียงอารมณ์ของฌาณเท่านั้น
    แต่จะไม่เย็นในอารมณ์ที่สูงกว่านั้นคืออารมณ์พระนิพพาน
    และจิตจะมีอาการห่อตัว จะมีความไม่สบาย อึดอัด ในระดับที่ละเอียด
    มันจะอึดอัดลึกๆ แน่น ติดขัด อยู่ภายใน

    พระพุทธเจ้านั้นท่านไม่ได้สอนให้ ไม่สนใจในทางโลก
    การไม่สนใจในทางโลก คือ วิภวตัณหา
    การผลักไส สภาวะทางโลกออกไป เป็นกิเลส เป็นความเร่าร้อนของจิตใจประเภทหนึ่ง
    พระพุทธองค์ทรงสอนให้ วางจิต ให้อยู่เหนือโลก
    ไม่ใช่ไม่สนใจโลก ไม่แคร์ ไม่มีความรู้สึกอะไรกับทางโลก
    แต่ให้อยู่เหนือโลก ให้จิตเห็นความเป็นธรรมดา เห็นความเป็นทุกข์ของโลก
    จนจิตวาง ปล่อย คลาย จากความยึดติดในทางโลก
    ซึ่งจะเป็นอารมณ์ที่มีความเบา สบาย ชุ่มเย็น วาง คลายออก
    ไม่ใช่อาการที่จิตปิด ห่อ ตัวเองอยู่ในสภาวะของฌาณ
    พระพุทธเจ้าไม่ปรารถนาให้บุคคลห่อดวงจิตของตัวเองด้วยกำลังของฌาณ
    เพราะมันเพียงกั้น ความทุกข์ไม่ให้เข้าถึงเราได้ชั่วคราว
    เมื่อจิตเคลื่อนจากฌาณ กิเลสก็จะกลับมาใหม่
    สิ่งที่เราพึงทำในฐานะพุทธศาสนิกชนนั้น
    คือการให้จิต ให้อยู่กับโลกใบนี้ได้โดยไม่ทุกข์ อยู่กับไฟได้โดยไม่ร้อน
    การที่บุคคลจะพึงอยู่กับโลกได้โดยไม่ทุกข์นั้น ก็จะต้องใช้วิปัสสนาญาณเข้ากำกับ
    เห็นความเป็นธรรมดา ในทุกสรรพสิ่งของโลก
    เมื่อจิตเห็นธรรมดา เข้าถึงซึ่งความเป็นธรรมดา
    จิตก็จะไม่เดือด ไม่ร้อน มีแต่ความสุข สงบสุข
    ใครเขาจะด่าเรา มันก็เรื่องธรรมดา จึงไม่โกรธ ใครเขาจะอิจฉา จะนินทาก็เรื่องธรรมดา
    ร่างกายของเราก็ดี มันก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ก็เป็นเรื่องธรรมดา
    เมื่อจิตของเราเข้าใจ และเข้าถึงความเป็นธรรมดา ความทุกข์จึงไม่บังเกิดขึ้นอีก
    เมื่อถึงจุดนั้น จิตของเราจะเกิดอารมณ์ที่เบา ที่โปร่ง ที่โล่ง ที่สบาย วาง คลาย
    จิตของเราจะประคองอยู่ในอารมณ์ที่สบาย ไม่ใช่การห่อ การซ่อน การหนี ด้วยการเข้าฌาณ
    แต่เป็นการเผชิญโลกอย่างกล้าหาญ ด้วยจิตที่เห็นธรรมดา จึงไม่รู้สึกทุกข์ ไม่รู้สึกเร่าร้อนอีกต่อไป

    อาการที่รู้สึก ไม่สนใจโลกนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดา
    ตัวผมเองก็เคยเกิดความรู้สึก และสภาวะเช่นเดียวกันนี้
    ต่อมาจึงรู้ว่ายังไม่ใช่อารมณ์ที่ถูกต้อง เพราะยังมีความหนักอยู่
    ให้คลายอารมณ์นี้ด้วยเมตตา

    ขอให้สามารถเจริญจิตจนเกิดสภาวะที่วาง ที่เบา ที่คลาย ที่สบาย จากการเห็นความเป็นธรรมดา สภาวะอันเป็นธรรมดาของโลกใบนี้ ได้โดยง่ายดาย ได้โดยฉับพลันทันใด ด้วยบารมีของพระพุทธเจ้าด้วยเทอญ <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2010
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...