ระดับการพัฒนาชีวิตมนุษย์ 3 ขั้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 24 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    [​IMG]


    ภาพคนนอนละเมอปรากฏเลยคือคนนอนละเมอนะ พูดเป็นคุ้งเป็นแคว ... ตื่นเช้ามา เราถาม เออ...เมื่อคืนประมาณตี 1 เอ็งพูดอะไร ทำหน้างงๆ อะไรนะ ข้าไม่รู้ ฉันใดก็ฉันนั้น
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    หลักการฝึกมนุษย์ปุถุชนดิบมีอยู่แล้ว นั้นก็คือไตรสิกขา พิจารณาดู

    สัทธรรม หมายถึงธรรมที่ดี ธรรมที่แท้ ธรรมของสัตบุรุษคือพระพุทธเจ้า โดยจำแนกเป็น ๓ ประการ คือ

    ๑) ปริยัติสัทธรรม สัทธรรม คือ สิ่งที่พึงศึกษาเล่าเรียน ได้แก่ พระธรรมส่วนที่เป็นหลักคำสั่งสอน หลักวิชาการ หรือภาคทฤษฎี ที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก พร้อมทั้งคัมภีร์อรรถกถาและคัมภีร์ฎีกา สำหรับให้พุทธศาสนิกชนศึกษาทรงจำเป็นบทเรียนและนำมาปฏิบัติ

    ๒) ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรม คือ สิ่งทีพึงปฏิบัติ ได้แก่ พระธรรมส่วนที่เป็นภาคปฏิบัติ คือมัชฌิมาปฏิปทา หรืออริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ย่อลงเป็นกระบวนการศึกษาปฏิบัติ ๓ ระดับ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเรียกว่า ไตรสิกขา

    ๓) ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรม คือ ผลที่จะพึงบรรลุด้วยการศึกษาปฏิบัติ ได้แก่ พระธรรมส่วนที่เป็นผลจากการศึกษาปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพานที่เกิดจากสัมมาปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น

    พระสัทธรรมทั้ง ๓ นี้ เรียกกันสั้นๆว่า ปริยัติ ปฏิบัติ และ ปฏิเวธ

    เมื่อกล่าวโดยความหมายสูงสุด พระธรรม ได้แก่ ปฏิเวธ คือ มรรค ผล นิพพาน หรือ วิราคะ (สภาพที่สำรอก คือ ละกิเลสได้เด็ดขาด) เพราะทรงไว้ ซึ่งผู้ที่เจริญมรรคและผู้บรรลุธรรมเข้าถึงกระแสพระนิพพานไม่ให้ตกไปใน อบายภูมิ ๔ ซึ่งทำให้ปลอดโปร่งโล่งใจมีสันติสุขอย่างยิ่ง

    ส่วนความหมายโดยอ้อม พระธรรม ได้แก่ ปริยัติ คือ การศึกษาเล่าเรียนหลักพระพุทธพจน์ และปฏิบัติ (หรือเขียนว่า ปฏิปัตติ) คือ การฝึกหัด กาย วาจา ใจ ไปตามกระบวนการศึกษาปฏิบัติ ที่เรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นเหตุให้นำไปสู่ปฏิเวธ คือการบรรลุมรรคผล และทำให้แจ้ง ซึ่งพระนิพพานดังกล่าว แต่เมื่อกล่าวโดยความหมายที่สมมติรู้ หรือสื่อสารกันทั่วไป พระธรรม คือ สัจจะในธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์มองข้าม และหยั่งไม่ได้ เพราะขาดปัญญาเพียงแต่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงค้นพบก่อนใครๆ แล้วทรงนำมาแสดง ประกาศ เปิดเผย ทำให้ง่าย และบัญญัติเพื่ออบรมสั่งสอนมหาชนให้รู้จักเข้าใจ และเข้าถึงโดยลำดับ โดยนัยนี้ พระธรรม จึงได้แก่ คำสอนและคำบัญญัติตรัสสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งจำแนกเป็น ๒ ประการ คือ ธรรม กับ วินัย หรือเรียกรวมว่า พระธรรมวินัย

    โดยคำว่า ธรรม คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า หมายถึง ข้อปฏิบัติทีเป็นหลักนำความประพฤติ และอัธยาศัยให้ประณีต ไม่มีการปรับโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติเป็นเพียงคำทรงสอน ใครจะทำตามหรือไม่ทำตามก็ได้ แต่เมื่อใครปฏิบัติ ผลดีก็จะตกอยู่แก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง คืออยู่เป็นสุขตามสมควรแก่การปฏิบัติของตน พระธรรมคำสอนนั้นมีตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ที่เรียกว่า ศีลธรรม ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น สำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขของคนในสังคม ไปจนถึงระดับโลกุตรธรรมที่เป็นคำปฏิบัติระดับสูงที่จะทำให้พ้นจากทุกข์

    ส่วนคำว่า วินัย คือ คำบัญญัติตรัสสอนของพระพุทธเจ้า หมายถึงข้อปฏิบัติที่เนื่องด้วยระเบียบควบคุมความประพฤติให้สม่ำเสมอกัน ในหมู่ภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นหลักในการบริหารหมู่คณะ โดยมีการปรับโทษแก่ผู้ล่วงละเมิดพระบัญญัติ ซึ่งมีทั้งข้อที่ทรงอนุญาตและข้อที่ทรงห้าม เหตุที่ต้องมีธรรมในส่วนที่เป็นวินัยนี้ ก็เพราะตามธรรมดาไม่ว่าหมู่คณะใด ถ้ามีข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องบริหารปกครองแล้ว ก็จะอยู่ร่วมกันผาสุกได้ยาก ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติหลักพระวินัยไว้สำหรับควบคุมความประพฤติของพระภิกษุสงฆ์ให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    วินัย มี ๒ อย่าง คือ ๑. อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือ วินัยของพระสงฆ์ ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ หรือโดยสาระ ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ ๒. อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน ได้แก่ การงดเว้นจาก อกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยก็คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ และคิหิวินัยในสิงคาลสูตร ก็จึงมี “วินัย” คือ กฎ กติกา ข้อบังคับ ระเบียบ แบบแผน ฯลฯ ตลอดจนกฎหมาย ที่คนเรานี้เอง “บัญญัติ” ขึ้น คือจัดตั้งสั่งการ หรือตกลงกันวางกำหนด หรือตราลงไว้ นี่ก็มาเข้าคู่กับ “ธรรม” คือความจริงตามธรรมดาของธรรมชาติ (หรือตามกฎธรรมชาติ) ที่เป็นของมันอย่างที่มันเป็นอยู่ และเป็นไปนั้น ซึ่งท่านรู้หรือค้นพบแล้ว ก็นำมา “เทศน์” หรือ แสดง ให้รู้ให้เข้าใจกัน

    ธรรม สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหตุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด, คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ, หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่, ความชอบ, ความยุติธรรม, พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

    ธรรมวินัย ธรรมและวินัย, คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย ธรรม = คำสอนแสดงหลักความจริง และแนะนำความประพฤติ, วินัย = บทบัญญัติกำหนดระเบียบความเป็นอยู่ และกำกับความประพฤติ, ธรรม = เครื่องควบคุมใจ, วินัย = เครื่องควบคุมกาย และวาจา
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ชีวิตคน ซึ่งมีแค่ ๓ ด้าน หรือ ๓ แดน เป็นองค์ประกอบหรือองค์ร่วม ๓ อย่าง ที่รวมกันเป็นชีวิต ซึ่งพากันดำเนินเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกัน

    ชีวิต 3 ด้าน ของคนเรานี้ ที่พัฒนาไปด้วยกัน มีอะไรบ้าง? ก็แยกเป็น

    1.ด้านสื่อกับโลก ได้แก่ การรับรู้ติดต่อสื่อสารสัมพันธ์ พฤติกรรม ความประพฤติ และการ แสดงออกต่อหรือกับเพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆผ่านทวาร (ช่องทาง ประตู) 2 ชุด คือ

    ก. ผัสสทวาร (ทางรับรู้) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (รวมทั้งชุมทาง คือ ใจ เป็น 6)

    ข. กรรมทวาร (ทางทำกรรม) คือ กาย วาจา (รวมชุมทาง คือ ใจ ด้วย เป็น 3) ด้านนี้ พูดง่ายๆว่า แดนหรือด้านที่สื่อกับโลก เรียกสั้นๆคำเดียวว่า ศีล

    2. ด้านจิตใจ ได้แก่ การทำงานของจิตใจ ซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องมากมาย เริ่มแต่ต้องมีเจตนา หรือ เจต จำนง ความจงใจ ตั้งใจ มีแรงจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความดี-ความชั่ว ความสามารถหรือความอ่อนด้อย พร้อมทั้งความรู้สึก สุข-ทุกข์ สบาย-ไม่สบาย หรือเฉยๆ เพลินๆและปฏิกิริยาต่อจากสุข-ทุกข์นั้น เช่น ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ อยากจะได้ อยากจะเอา หรืออยากจะหนี หรืออยาก จะทำลาย ที่ควบคุมชักนำการรับรู้และพฤติกรรมทั้งหลาย เช่น ว่า จะให้ดูอะไร หรือไม่ดูอะไร จะพูดอะไร จะพูดกับใครว่าอย่างไร ด้านนี้ เรียกสั้นๆว่า จิต หรือแดนของ สมาธิ

    3. ด้านปัญญา ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ตั้งแต่สุตะ คือ ความรู้ที่ได้เรียนสดับ หรือ ข่าวสารข้อมูล จนถึงการพัฒนาทุกอยาง ในจินตาวิสัย และญาณ วิสัย เช่น แนวคิด ทิฏฐิ ความเชื่อถือ ทัศนคติ ค่านิยม ความยึดถือตามความรู้ ความ คิด ความเข้าใจ แง่มุมในการมอง ในการพิจารณา อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้านนี้ เรียกสั้นๆตรงๆว่า ปัญญา

    องค์ประกอบของชีวิต 3 ด้าน นี้ ทำงานไปด้วย กัน ประสานกันไป และเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน ไม่แยกต่างหากจากกัน


    การสัมพันธ์กับโลกด้วยอินทรีย์ คือ ผัสสทวาร และด้วยพฤติกรรมทางกายวาจา (ด้านที่ 1) จะเป็นไปอย่างไร ก็ขึ้นต่อเจตนา ขึ้นต่อสภาพความรู้สึก ภาวะและคุณสมบัติต่างๆของจิตใจ (ด้านที่ 2) และทั้งหมดนั้น ทำได้เท่าที่ปัญญาชี้ช่องส่องทางให้ รู้แค่ไหน ก็คิด และทำได้แค่นั้น คือภายในขอบเขตของปัญญา (ด้านที่ 3)

    ความตั้งใจ และความต้องการ เป็นต้น ของจิตใจ (ด้านที่ 2) ต้องอาศัยการสื่อทางอินทรีย์ และพฤติกรรมกายวาจาเป็น เครื่องสนอง (ด้านที่ 1) ต้องถูกกำหนด และจำกัดขอบเขตตลอดจนปรับเปลี่ยนโดยความเชื่อถือความคิดเห็น และความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ และที่เพิ่มหรือเปลี่ยนไป (ด้านที่ 3)

    ปัญญาจะทำงานและจะพัฒนาได้ดีหรือไม่ (ด้านที่ 3) ต้องอาศัยอินทรีย์ เช่น ดู ฟัง อาศัยกายเคลื่อนไหว เช่น เดินไป จับจัดค้น ฯลฯ ใช้วาจาสื่อสารไถ่ถามตามทักษะเท่าที่มี (ด้านที่ 1) ต้องอาศัยภาวะและคุณสมบัติของจิตใจ เช่น ความสนใจใฝ่ใจความมีใจเข้มแข็งสู้ปัญหาความขยันอดทน ความรอบคอบ มีสติความมีใจสงบแน่วแน่ มีสมาธิหรือไม่เพียงใด เป็นต้น (ด้านที่ 2)

    นี่คือการดำเนินไปของชีวิตที่องค์ประกอบ 3 ด้าน ทำงานไปด้วยกัน อาศัยกันประสานกันเป็นปัจจัยแก่กัน ซึ่งเป็นความจริงของชีวิตนั้น ตามธรรมดาของมันเป็นเรื่องของธรรมชาติ และจึงเป็นเหตุผลที่บอกอยู่ในตัวว่า ทำไมจะต้องแยกชีวิตหรือการดำเนินชีวิตเป็น 3 ด้านจะแบ่งมากหรือน้อยกว่านี้ไม่ได้

    เมื่อชีวิตดำเนินไปมี 3 ด้านนี้ การศึกษาที่ฝึกคนให้ดำเนินชีวิตได้ดี ก็ต้องฝึกฝนพัฒนาที่ 3 ด้านของชีวิตนั้น

    ดังนั้น การฝึกหรือศึกษา คือสิกขา จึงแยกเป็น 3 ส่วน ดังที่เรียกว่า ไตรสิกขา เพื่อฝีกฝนพัฒนา 3 ด้านของชีวิตนั้น ให้ตรงให้ครบตามธรรมดาแห่งธรรมชาติของมัน โดยเป็นการ พัฒนาพร้อมไปด้วยกัน อย่างประสานเป็นระบบสัมพันธ์อันหนึ่งอันเดียว

    เวลาดูอย่างกว้างๆหยาบ ๆ ก็จะมองเห็นเหมือนอย่างที่บางทีท่านพูดแยกออกเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ว่า ขั้นศีล ขั้นสมาธิ และขั้นปัญญา เหมือนจะให้ฝึกอบรมพัฒนาเป็นคนละ ส่วนคนละตอน ทีละขั้น ตามลำดับ คือ ฝึกอบรมศีลดีแล้ว จึงเจริญสมาธิ แล้วจึงพัฒนาปัญญา

    เมื่อมอง ไตรสิกขาแบบนี้ ก็จะเห็นเป็นภาพรวมที่เป็นระบบใหญ่ของการฝึก ซึ่งมีองค์ 3 นั้นเด่นขึ้นมาทีละอย่าง จากหยาบแล้วละเอียดประณีตขึ้นไปเป็นช่วงๆ หรือ เป็นขั้นๆตามลำดับ คือ

    ช่วงแรก เด่นออกมาข้างนอก ที่อินทรีย์ (ผัสสทวาร) และกาย วาจา ก็เป็นขั้น ศีล
    ช่วงที่สอง เด่นด้านภายใน ที่จิตใจ ก็เป็นขั้น สมาธิ
    ช่วงที่สาม เด่นที่ความรู้ความคิดเข้าใจ ก็เป็นขั้น ปัญญา

    แต่ในทุกขั้นนั้นเอง องค์อีก 2 อย่าง ก็ทำงานร่วมอยู่ด้วยโดยตลอด

    เป็นอันว่า นั่นคือการมองอย่างภาพรวม จับเอางานส่วนที่เด่นในขั้นนั้น ขึ้นมาเน้นทีละอย่างๆ เขยิบสูงขึ้นไปในการฝึกอบรมพัฒนาตามลำดับ เพื่อให้ส่วนที่หยาบกว่าพร้อม ที่จะรองรับเป็นฐานให้แก่การเจริญงอกงาม หรือทำงานออกผลของส่วนที่ประณีตละเอียดอ่อน

    เหมือนที่พูดว่า อ๋อ จะตัดไม้ใหญ่ต้นนี้หรือ ก็ หนึ่ง ต้องจัดบริเวณทำพื้นที่เหยีอบยันให้สะดวกขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้คล่อง ปลอดภัย และแน่นหนามั่นคง (ศีล) + สอง ต้องเตรียมกำลังให้แข็งแรง ใจสู้ เอาจริง จับมีดหรือขวานให้ถนัดมั่น มีสติดี ใจมุ่งแน่ว ไม่วอกแวก (สมาธิ) + แล้วก็สาม ต้องมีอุปกรณ์ คือ มีดหรือขวานที่ใช้ตัดที่ได้ขนาด มีคุณภาพดี และลับไว้คม กริบ (ปัญญา) จึงจะสัมฤทธิ์ผล คือ ตัดไม้ได้สำเร็จสมปรารถนา

    แต่ในชีวิตที่เป็นอยู่ดำเนินไปอยู่ตลอดเวลานี้ เมื่อวิเคราะห์ละเอียดลงไป ก็จะเห็นว่าองค์ประกอบทั้ง ๓ ด้านของชีวิต ทำงานประสานสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยเกื้อกูลหนุนเสริมกันและกันอยู่ทุกเมื่อ ทุกเวลา ดังจะเห็นว่า ในการศึกษาเมื่อจะให้คนพัฒนาฝึกตนได้ผลจริง ก็ควรให้เขาฝึกด้วยความตระหนักรู้องค์ประกอบทั้ง ๓ ด้านนั้น ที่จะให้พัฒนาพร้อมไปด้วยกัน โดยเอาโยนิโสมนสิการมาโยงให้เกิดความตระหนักรู้และมีสติที่จะช่วยให้การฝีก ฝนพัฒนาได้ผลสมบูรณ์ตามที่มันควรจะเป็น

    พูดในเชิงปฏิบัติว่า ในการกระทำทุกครั้งทุกอย่าง ไม่ว่าจะแสดงพฤติกรรมอะไร หรือมีกิจกรรมใดๆ ก็ตาม เราสามารถ ฝึกฝนพัฒนาตนและสำรวจตรวจสอบตนเองตามหลักไตรสิกขานี้ ให้มีการศึกษาครบ ทั้ง ๓ อย่าง ทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา พร้อมกันไปทุกครั้งทุกคราว คือ

    เมื่อทำอะไร ก็พิจารณาดูว่า พฤติกรรม หรือการกระทำของเราครั้งนี้ จะเป็นการ เบียดเบียน ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ใครหรือไม่ จะก่อให้เกิดความ เสื่อมโทรมเสียหายอะไรๆ บ้างไหม หรือว่าเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสร้างสรรค์ (ศีล)

    ในเวลาที่จะทำการนี้ จิตใจของ เราเป็นอย่างไร เราทำด้วยจิตใจที่เห็นแก่ตัว มุ่งร้ายต่อใคร ทำ ด้วยความโลภ โกรธ หลง หรือไม่ หรือทำด้วยเมตตา มีความปรารถนา ดี ทำด้วยศรัทธา ทำด้วยสติ มีความเพียร มีความรับผิดชอบ เป็นต้น และในขณะที่ทำ สภาพจิตใจของเราเป็น อย่างไร เร่าร้อน กระวนกระวาย ขุ่นมัว เศร้าหมอง หรือว่ามีจิต ใจที่สงบ ร่าเริง เบิกบาน เป็นสุข เอิบอิ่ม ผ่องใส (สมาธิ)

    เรื่องที่ทำครั้งนี้ เราทำด้วยความรู้ความเข้าใจชัดเจนดีแล้วหรือไม่ เรามองเห็นเหตุผล รู้เข้าใจหลักเกณฑ์และความมุ่งหมาย มองเห็นผลดีผลเสียที่อาจจะเกิด ขึ้น และหนทางแก้ไขปรับปรุงพร้อมดีแล้วหรือไม่ (ปัญญา)

    ด้วยวิธีปฏิบัติอย่างนี้ คนที่ฉลาดจึงสามารถฝึกศึกษาพัฒนาตน และสำรวจตรวจสอบวัดผลการพัฒนาตนได้เสมอตลอดทุกครั้งทุกเวลา เป็นการบำเพ็ญไตรสิกขาในระดับรอบเล็ก (คือครบสิกขาทั้งสาม ในพฤติกรรมเดียว หรือ กิจกรรมเดียว)

    พร้อมกันนั้น การศึกษาของไตรสิกขาใน ระดับขั้นตอนใหญ่ ก็ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นไปทีละส่วนอย่างเป็นไปเองด้วย ซึ่งเมื่อมองดูภายนอก ก็เหมือน ศึกษาไปตามลำดับทีละอย่างทีละขั้น โดยที่ในเวลาเดียวกันนั้น ไตรสิกขาในระดับรอบเล็กนี้ก็จะช่วยให้การฝีกศึกษาไตรสิกขาในระดับ ขั้นตอนใหญ่ยิ่งก้าวหน้าไปด้วยดีมากขึ้น

    ผู้ที่ศึกษาลงไปในราย ละเอียดของการปฏิบัติ ก็จะรู้ถึงหลักความจริงที่ว่า ในขณะแห่งการ ตรัสรู้ หรือ ในขณะบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น องค์มรรคทั้งหมด ที่จัดเป็นกลุ่ม คือ ศีล สมาธิ และปัญญานี้ จะพัฒนาบริบูรณ์ และทำงานพร้อมเป็นหนึ่งเดียวกันในการกำจัดกิเลสและให้สำเร็จผล

    ที่พูดนี้ คือสิกขา หรือการศึกษา ซึ่งเป็นระบบการพัฒนาชีวิตของมนุษย์ตาม เงื่อนไขแห่งความจริงของธรรมชาติ เป็นไปตามระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุ ปัจจัย ตามกฎธรรมดาของธรรมชาตินั้น ซึ่งชีวิตเป็นองค์รวม ที่มีองค์ประกอบ หรือ องค์ รวม ๓ อย่าง คือ ศีล จิต และปัญญา ซึ่งทำงานประสานเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน ในการที่ชีวิตนั้นดำเนินอยู่ หรือ พัฒนายิ่งขึ้นไป ดังที่เรียกว่าหลัก ไตรสิกขา
     

แชร์หน้านี้

Loading...