มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. SIR2010

    SIR2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,951
    ค่าพลัง:
    +5,647
    #884
    โอนเงินแล้ว 375.-บาท วันที่ 21/10/63 เวลา 19.27 น.
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    >>>>>เมื่อวานได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 1 ท่านครับ เลขที่ ems ตามใบฝอยครับ SAM_7765.JPG
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 9
    เหรียญพอใจพระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เนื้อกะไหล่ทอง มาพร้อมพระเกศา,พระธาตุมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ( อนึ่ง.......คำว่า พอใจๆเป็นคำพูดที่ติดปากพระหลวงตาเวลามีลูกศิษย์มาถวายสิ่งของเเละปัจจัยครับ)*******************บูชาที่ 265 บาทฟรีส่งems sam_5375-jpg.jpg sam_7256-jpg.jpg sam_7257-jpg.jpg sam_1822-jpg.jpg

     
  4. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองนะครับ
     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 910
    เหรียญเศรษฐีธรรม+พระเเกะสลักไม้ยิงเลเซอร์หน้าเหมือนรุ่นให้สมปรารถนาหลวงปู่ลี กุสลธโล พระอรหันต์เจ้าวัดป่าภูผาเเดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี หลวงปู่ลีเป็นศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เหรียญสร้างปี 2550 เนื้อสำริด มีตอกโค๊ต ล หลังเหรียญ ส่วนพระเเกะสลักไม้ยิงเลเซอรืหน้าเหมือนหลวงปู่ลี สร้างปี 2558 มาพร้อมกล่องเดิม #ประวัติหลวงปู่ลี กุสลธโร ประธานสงฆ์วัดเกษรศิลคุณธรรมเจดีย์ (วัดภูผาแดง) ต.หนองอ้อ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    --------หลวงปู่ลี กุสลธโร จะอายุครบ ๙๔ ปี หากถือตามวันจันทรคติคือวันเพ็ญ เดือน ๑๐ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ รวม ๖๗ พรรษา
    หลวงปู่ลี กุสลธโร แท้ที่จริงท่านเกิดวันจันทร์ที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ปีจอ โดยท่านหลวงปู่ลีให้ถือตามครูบาท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ออกแบบแผ่นศิลาฤกษ์ เพื่อวางศิลาฤกษ์สถานที่ก่อสร้างเจดีย์ที่วัดภูผาแดง อ. หนองวัวซอ จ. อุดรธานี โดยนำ เอาดวงเกิดหลวงปู่ หลวงตา แล้วก็วันที่ ที่วางศิลาฤกษ์ ไปกราบเรียนถามท่านหลวงปู่ลีว่า วันที่ ที่ในใบสุทธิของท่านไม่ถูกต้อง เมื่ออ้างอิงจากปฏิทินร้อยปี เพราะวันที่ ๑๔ ไม่ตรงกับวันจันทร์ และขึ้น ๑๕ ค่ำ วันที่ ที่ถูกต้อง ต้องเป็นวันจันทร์ ที่ ๕ กันยายน ๒๔๖๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีจอ
    ท่านเกิดที่บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายปุ่น และนางโพธิ์ สาลีเชียงพิณ มีพี่น้องร่วมอุทร ๙ คน ชาย ๔ คน หญิง ๕ คน ท่านเล่าชีวิตในวัยเด็กว่า สมัยเป็นเด็กพ่อแม่ก็พาทำบุญเหมือนกับชาวบ้านทั่ว ๆ ไป อายุได้ ๑๒ ปี เรียนจบชั้น ป. ๓ พออายุ ๒๐ กว่าปีก็ได้แต่งงานกับนางสาวตี ภรรยาตั้งท้องแล้วคลอดลูกออกมาตาย
    ท่านได้เกิดความสลดใจเป็นยิ่งนัก ท่านเล่าว่า การแต่งงานก็มิได้แต่งกันด้วยความรัก แต่งงานกันตามประเพณีที่พ่อแม่บอกให้แต่งเท่านั้น ท่านเองไม่เคยมีคนที่รัก และยังไม่เคยรักหญิงใดเลย ท่านอยู่กินกับภรรยาได้ ๒ ปี ๖ เดือน จึงขอออกบวช เพราะได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐานที่เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น ที่เดินธุดงค์มาพักยังป่าแถบหมู่บ้านของท่านเก่งนักในการพิจารณาอสุภะกรรมฐาน พิจารณาเมื่อไหร่ ก็ได้เรื่องได้ราวเมื่อนั้น เห็นผลเป็นที่ประจักษ์เป็นอุปนิสัยดั้งเดิมของท่าน

    #อุปสมบท...
    ท่านบวชพระเมื่อครั้งงานเผาศพหลวงปู่พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโตและเมื่ออุปสมบทได้ฉายานามว่า “กุสลธโร” แปลว่า “พระผู้ทรงไว้ซึ่งความดี” เป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)
    หลวงปู่ลี อุปสมบทที่วัดศรีโพนเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมือวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๑๖.๑๒ น. โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามว่า กุสลธโร แปลว่า พระผู้ทรงไว้ซึ่งความดี
    ท่านเล่าการภาวนาในพรรษาแรกว่า “ภาวนาบริกรรม พุทโธ ๆ ๆ เกิดแสงสว่างวาบฉายเข้ามาเห็นภรรยาเดินเข้ามาหา มาได้ระยะห่างประมาณวากว่าๆ จึงล้มลง ร่างกายแรกกระจุยเป็นผุยผง แม้แต่กระดูกก็มองไม่เห็น กลายเป็นดินเป็นหญ้า เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สัญญาความจำได้หมายรู้ในรูปนาม ไม่ยึดไม่ติด การภาวนาจะเป็นแบบนี้ได้ต้องเกิดแสงสว่างก่อน จากนั้นการออกพิจารณาทางด้านปัญญาไหลคล่องตัวเหมือนสายน้ำตกจากที่สูงลงที่ต่ำไม่มีติดขัด
    หลวงปู่ลี ท่านนั้นติดสอยห้อยตามหลวงตามหาบัวตลอดมา แม้หลวงตาจะหนีออกวิเวกไปทางไหน หรือจะดุจะว่าจะไล่ให้หนีไปอย่างไรหลวงปู่ลีก็อดทนติดตามไปทุกหนทุกแห่งไม่เลิกไม่ราไม่ท้อถอย หวังให้ท่านช่วยอบรมสั่งสอนให้ สุดท้ายหลวงตาก็ยอมรับเป็นศิษย์ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ ได้ติดตามหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ต่อจากนั้นท่านได้ติดตามหลวงตาไปจำพรรษายังจังหวัดจันทบุรี และย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
    ในสมัยที่หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท พักอาพาธที่วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จังหวัดปทุมธานี หลวงปู่ลีมักจะมาเยี่ยมเยียนเสมอ และองค์หลวงปู่เจี๊ยะท่านก็ชื่นชมรักใคร่หลวงปู่ลีเป็นอย่างมากเช่นกัน ท่านทั้งสองจึงเป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมาก
    ท่านได้แสวงหาสถานที่เที่ยววิเวกด้วยการออกเที่ยวธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ มากมาย เช่น ภูวัว ถ้ำจันทร์ จังหวัดหนองคาย และป่าแถวสกลนคร และจังหวัดเลย เป็นต้น ท่านสามารถภาวนาพิจารณาอสุภะและสุภะกรรมฐาน ตั้งเป็นภาพปฏิภาคนิมิตขึ้นแล้วเพ่งกระแสจิตทำลายเผาผลาญกิเลสได้ตั้งแต่สมัยยังเป็น ฆราวาส เมื่อบวชได้เพียง ๑๑ วัน ท่านตั้งใจภาวนาไม่ลดลาความพากเพียร ได้นิมิตว่า “ตนเองเดินทางเข้าไปในป่ากว้าง ผ่านห้วยหนองคลองบึง มีขอนไม้ชาติยาวใหญ่ดำสุดสายตา จึงเดินปีนขึ้นไปไต่ตามขอนนั้นไปเรื่อยๆ พอสุดปลายขอนไม้ชาตินั้น พลันเจอป่าอันรกชัฏมีขวากหนามรกรุงรัง จะหันหลังกลับก็ไม่ได้ จึงต้องพยายามแหวกคมหนามมุดมอดบุกผ่าเข้าไปให้ผ่านป่าอันแสนจะข้ามยากนั้น เมื่อผ่านมาได้ด้วยความยากลำบาก เจอทุ่งโล่งอันเวิ้งว้างมีหอพระไตรปิฎกอันวิจิตรตระการตาตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ จึงก้าวเดินขึ้นไป เห็นห้องหอประตูตู้ กำลังจะเดินเข้าไปเปิด แต่ยังไม่ทันได้เปิด แต่ได้เข้าไปถึง จิตก็ถอนออกจากนิมิตนั้น”
    >>>>>>>ท่านสิ้นกิเลส(เป็นพระอรหันต์)ใน พรรษาที่ ๑๑ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เวลาตีสอง ตรงกับวันพุธที่ ๕ ตุลาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ที่วัดบ้านกกกอก อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ...คืนนั้นฝนตกทั้งคืน ท่านเพลิดเพลินในการภาวนา ธรรม คือ สติ สมาธิ และปัญญา หลั่งไหลเหมือนสายน้ำ จิตเต็มอิ่มในธรรม เดินจงกรมคล้ายกับว่าเท้าไม่ได้เหยียบพื้นดิน นั่งภาวนาคล้าย กับว่าตัวลอยอยู่เหนือพื้น ทำสมาธิทั้งคืนไม่นอน ไม่พักผ่อน ในขณะที่พิจารณาเข้าด้ายเข้าเข็มธรรมขั้นสุดท้าย เสียงเทวดาไชโยโห่ร้องก้องทิวเขาพนา เสียงฆ้องทิพย์ดังกระหึ่มมาเป็นระยะๆ สลับกับเสียงเทวดาไชโยแว่วมาแต่ไกล เสียงสาธุการปานว่าโลกธาตุทั้งมวลหวั่นไหว น้ำตาร่วงอัศจรรย์เกินที่จำมาเล่าได้ คืนนั้นเสวยวิมุตติสุขสุดที่จะพรรณนา ต่อมาท่านได้นำเรื่องธรรมที่ได้รู้เห็นไปกราบเรียนหลวงตามหาบัว ผู้เป็นอาจารย์ทุกประการ
    หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านบวชเณรเมื่อครั้งงานเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากนั้นท่านก็ได้ติดตามหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จนกระทั่งมาสร้างวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี หลวงปู่ฯท่านพระลูกศิษย์หลวงตามหาบัว รุ่นแรก ๆ เลยก็ว่าได้ สำหรับภูมิธรรมของหลวงปู่ฯนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้หลวงตาบัวท่านก็ได้เทศน์ประกาศให้ลูกศิษย์ได้รับรู้รับทราบกันกระจ่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ว่าหลวงปู่ลีท่านถึงที่สุดแห่งธรรมมานานแล้วนะ แต่ท่านอยู่ของท่านอย่างเงียบ ๆ รู้กันเฉพาะในวงกรรมฐานเท่านั้น
    หลังจากงานประชุมเพลิงหลวงปู่ใหญ่มั่นฯ เสร็จแล้ว องค์ท่านก็ได้มาอยู่สำนักของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่บ้านหนองบัวบานก่อน (ต่อมาบริเวณนี้ได้กลายเป็นวัดป่านิโครธาราม) องค์ท่านเองได้เป็นพระพี่เลี้ยง พระอาจารย์จันทร์เรียน และได้ร่วมวิเวกด้วยกันหลาย ต่อหลายแห่ง และได้พบกันบ้างเมื่อติดตามหลวงปู่ชอบ ฐานสโม เข้าป่าไป มีเรื่องอภินิหารที่ได้รับฟังจากประสบการณ์ของหลวงพ่อจันทร์เรียน ครั้นที่ท่านทั้ง ๒ อยู่ร่วมกันหลายเรื่อง แต่ถ้าเล่าไปคงต้องโดนท่านเข่น ภายหลังแน่ ฉะนั้นไปสอบถามท่านเองดีกว่า
    หลังจากนั้นองค์หลวงปู่ลี ท่านก็ได้มาอยู่ที่ดอยน้ำจั่น ใครไปภูสังโฆ คงเห็นป้ายอยู่ ปัจจุบันท่านพระอาจารย์สมหมาย อริโย ศิษย์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว มาอยู่ดูแลแทน และได้ตั้งเป็นวัดดอยน้ำจั่น บ.ห้วยไร่ ต.อุบมุง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี สมัยที่หลวงปู่ลี ไปอยู่เกิดเหตุการณ์ถูกรบกวนจากพวกนายหน้าตัดไม้ทำลายป่า เข้ามาก่อกวน ท่านจึงวิเวกมาอยูที่ วัดป่าภูทอง บ.ภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เดิมที หลวงปู่มหาบุญมี สิรินธโร มาสร้างไว้ ก่อนไปอยู่ถ้ำและวัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม ตามลำดับ
    ซึ่งปัจจุบันเจ้าอาวาส วัดป่าภูทอง คือ หลวงปู่คูณ สุเมโธ (ศิษย์ หลวงปู่สิงห์ทอง หลวงปู่ฝั้น หลวงตามหาบัว) หลังจากนั้น หลวงปู่ลี ก็ออกมาวิเวก ไปแถบภูลังกาต่อ ที่นี่ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ (วัดป่าบ้านนาคูณ) เคยมาอยู่ก่อนแล้ว (คนละด้านกับวัดถ้ำยา ของ หลวงปู่วัง ฐิติสาโร ศิษย์หลวงปู่ใหญ่มั่น เป็นเจ้าอาวาส)
    พระธรรมเทศนา (ภาษาอิสาน) หลวงปู่ลี กุสลธโร
    "...บ่ทันนาน คั่นจิตเป็นปัจจุบันอยู่ฮั่น บ่เห็นหนึ่งต้องแนวหนึ่งหละ มันซิเกิดเฮ็ดให้มันเป็นปัจจุบัน อดีตที่ล่วงมาแล้ว ก็อย่าไปคำนึงเลย มันก็ออกไปจากปัจจุบันนั่นหละ อนาคตคือกัน มันออกไปจากปัจจุบันนี่ละ อย่าไปคำนึงมันเลย คุมมันเข้า เบิ่ง ให้เบิ่งหัวใจเจ้าของนั่นละ อย่าไปเบิ่งหัวใจผู้อื่น... คั่นคุมเจ้าของแท้ๆ ต้องเห็น คั่นพิจารณาสภาพร่างกายก็พิจารณาอยู่ฮั่น แต่พื้นเท้ามาศีรษะ แต่ศีรษะลงมาพื้นเท้า ให้พิจารณาอยู่ฮั่น เอาแหมะ ๒๔ ชั่วโมงนี่ บ่ให้มันปากมาเลย ต้องเกิดแน่... อันนี้หัวใจมันแลนอยู่นำโลกนำสงสารพุ่น มันบ่ปักมั่น แล้วซิเห็นหยังฮั่น คือกินข้าวเนี่ย กินนอนอยู่ ย้ายไปนั่น นอนอยู่ก็ไปฮั่น นอนก็ไปนี่ เลยบ่อิ่มจักที นี่เรื่องมัน
    เอ้า พิจารณามันซี คั่นคุมเข้าแท้ๆ มันซิต้องจับได้เงื่อน เดี๋ยวมันซิเกิดอันนั้นเกิดอันนี่โลด นี่เฮ็ดจริงทำจริงมันต้องรู้จริง... ไอ้ พิจารณาโตนี่ละ โตสำคัญ ถ้าหากว่าได้จับจุดได้ละ เออ มันซิออกอุทานบัดทีนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อริยสัจทั้งนั้น... คั่นตีแตกอริยสัจนี่ได้แล้ว ฮ่วย! กราบพระพุทธเจ้ากราบครูอาจารย์ โอ๊ย มันก็กราบอยู่จังซั่นหละ หมดคืนหละ นี่ เพิ่นเว่าจริงเฮ็ดจริง มันซิประมวลมาหมดดอก อันพระพุทธเจ้าเพิ่นเห็นนะ มันซิมาเกิดจากใจเฮานี่ละ... ให้พากันเร่งความพากความเพียร..."
    ท่านระลึกชาติในภพที่เกิดเป็นช้างว่า ท่านเป็นช้างชื่อว่า “คำต้น” เจ้าของช้างชื่อพ่อส่วน เขามีลูกสาว ๒ คน ชื่ออีหวัน และอีพัน ถูกเขาใช้ลากซุงเสมอ ส่วนนายควาญช้างชื่อว่า “บักคำต้น” เหมือนกับชื่อของท่าน... ท่านระลึกย้อนในภพชาติหลังๆ ของท่านมักเกี่ยวข้องกับหลวงตาเสมอ
    พรรษาแรกท่านจำพรรษาที่วัดป่าทรงคุณ จังหวัดปราจีนบุรี อยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม แม้อายุพรรษามากท่านมักวางตนเป็นเสมือนผู้น้อย มักติดตามหลวงตามหาบัวไปตามสถานที่ต่างๆ เสมือนเณรน้อยๆ ท่านเป็นศิษย์ที่ซื่อสัตย์ เคารพยำเกรงและปฏิบัติตามคำสอนครูบาอาจารย์ อย่างหาที่ติมิได้ ท่านได้รับการยกย่องจากหลวงตาว่าเป็น “เศรษฐีธรรม” และหลวงตามักเรียกนามท่านสั้นๆว่า “ธรรมลี” อดีตสะท้อนปัจจุบันเป็นที่อัศจรรย์เสมอในบุญบารมี ใครจะคาดคิดได้ว่า พระรูปร่างเล็กๆ อยู่ในป่า ไม่มีโวหารเทศนาต้อนรับแขกผู้มาเยือนเช่นท่านจะสามารถหาทองคำช่วยชาติกับหลวงตาได้ถึง ๕๐๐ กว่ากิโลกรัม คิดเป็นเงินหาน้อยไม่ ขอเกาะชายฝ้าเหลืองไปด้วยนะ ท่านเล่าว่า อดีตชาติท่านเกิดเป็นสุนัขรับใช้องค์หลวงตามาหลายภพชาติ แม้ในภพชาติที่เป็นสุนัข นั้น หลวงตาก็ได้เมตตาอบรมสั่งสอน ดัดนิสัยจนเป็นสุนัขที่มีนิสัยดี ไม่เกเร นอกจากนั้น ท่านยังเคยเกิดเป็นช้าง 561000011428001-jpg-jpg.jpg หลวงปู่ลี กุสลธโร ได้ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานวันที่ (3 พ.ย .61) สิริอายุ 96 ปี 1 เดือน 11 >>>>>>>>>>.....มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล
    *******บูชาที่ 345 บาฟรีส่งems sam_5706-jpg-jpg.jpg sam_6409-jpg-jpg.jpg sam_6412-jpg-jpg.jpg sam_7119-jpg-jpg.jpg sam_2320-jpg-jpg.jpg
    sam_6218-jpg.jpg sam_6219-jpg.jpg sam_6220-jpg.jpg sam_6221-jpg.jpg

    SAM_7763.JPG SAM_7764.JPG
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 911 รูปหล่อปั๊มเหมือนรุ่นเเรกรุ่นมหาเศรษฐีหลวงปู่ประไพ อัคธัมโม วัดป่าศรีประไพ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม หลวงปู่ประไพเป็นศิษย์หลวงปู่ผาง วัดป่าอุดมคงคาคีรี จ.ขอนเเก่น(หลวงปู่เคยอยู่อุปฐากหลวงปุ่ผางพระอาจารย์ ถึง 6 พรรษา) องค์พระสร้างปี 2557 เนื้อทองเหลือง มีตอกโค๊ตตัวเลข 535 มาพร้อมกล่องเดิม พิเศษรายการนี้มีเเถมมอบเหรียญที่ระลึกถวายเพลิงหลวงปู่ปี 2560 เนื้อกะไหล่ทอง มาพร้อมกล่องเดิม เเละรูปภาพขาด A4 มาใส่กรอบบูชาเป็นมงคลด้วยครับ>>>>>>>,มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา *******บูชาที่ 365 บาทฟรีส่งems sam_1345-jpg-jpg.jpg sam_5213-jpg-jpg.jpg sam_5214-jpg-jpg.jpg sam_5216-jpg-jpg.jpg sam_5217-jpg-jpg.jpg sam_3606-jpg-jpg.jpg sam_3607-jpg-jpg.jpg sam_3608-jpg-jpg.jpg sam_2209-jpg-jpg.jpg
     
  7. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    SAM_7769.JPG รายการที่ 912 พระผงนั่งเต็มองค์รุ่นเเรกหลวงปู่คำดี ปภาโส พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าผาปู่ อ.เมือง จ.เลย หลวงปู่คำดีเป็นศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่มั่น องค์พระสร้างปี 2517 องค์นี้พิเศษมีฝังเกศาหลวงปู่โผล่ให้เห็นชัดเจน 5 เส้น สีทองหน้อองค์พระ สุดหายากครับ ยังสวยสมบูรณ์ เลี่ยมกันนํ้าอย่างดี ******บูชาที่ 555 บาทฟรีส่งems SAM_7766.JPG SAM_7767.JPG เปิดดูไฟล์ 5 SAM_7768.JPG 3517074D092441EEBEAE11011DA0F358.jpg
    ไม่มาเกิดไม่มาตายเรียกว่าชาติสุดท้าย หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่นิมิตร จ.เล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2020
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 913 พระกริ่ง 90 ปีหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสีห์พนม อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่บุญมาเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล,หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เป็นต้น องค์พระกริ่งสร้างปี 2561 สร้างเนื่องในวาระหลวงปุ่อายุครบ 90 ปี เนื้อสำริด มาพร้อมกล่องเดิม มีตอกโค๊ต ใบโพธิ์ด้านหลังองค์พระเเละโคีตตัวเลข 474 ใต้องค์พระ>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ********บูชาที่ 505 บาทฟรีส่งems sam_6386-jpg-jpg.jpg sam_5578-jpg-jpg.jpg sam_5579-jpg-jpg.jpg sam_5580-jpg-jpg.jpg sam_5581-jpg-jpg.jpg sam_3985-jpg-jpg.jpg
     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ายการที่ 914
    เหรียญรุ่นเพชรนํ้าเอก+เหรียญครบรอบ 87 ปีหลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่หนูเพชรเป็นศิษย์หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดป่าประสิทธิธรรม เหรียญสร้างปี 2554 มีตอกโค๊ตตัวเลข 9 หน้าเหรียญ มาพร้อมกล่องเดิม,ส่วนเหรียญครบ 87 ปี สร้างปี 2558 เนื้อทองเเดงผิวไฟ มีตอกโค๊ต ตัวอักษร น ประวัติหลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ
    หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ พระอริยะสงห์แห่งวัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่ท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ชอบอยู่เงียบๆเรียบง่าย ไม่ติดในลาภสักการะ เมื่อเข้าไปพบเจอ สนทนากับหลวงปู่ มีแต่ความเยือกเย็น เมตตาหาที่สุดไม่มีประมาณ เป็นธรรมยิ่งนัก .(หลวงปู่หนูเพชร องค์ท่านไม่รับกิจนิมนต์ออกจากนอกวัดเลย ใครจะมากราบก็มากราบที่วัดได้ตลอดเวลาครับ >>>>ประวัติย่อพอสังเขปหลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ
    วัดป่าภูมิพิทักษ์
    ต.คำสะอาด อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ
    เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๗๒
    ณ.บ้านบึงโน ต.บ้านหัน อ.บ้านหัน จ.สกลนคร
    ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น
    ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    บิดาชื่อนายบุญ ไพบูลย์ มารดาชื่อนางเคน ไพบูลย์
    มีบุตรร่วมกัน 6คน
    ๑.หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ (ไพบูลย์)
    ๒.นางเล็ก ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๓.นางสอง ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๔.นางทอง ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๕.น้องชาย (ไม่ทราบชื่อ) เสียชีวิตแล้ว
    ๖.น้องชาย (ไม่ทราบชื่อ)เสียชีวิตแล้ว
    เมื่ออายุ ๗ ปีท่านได้เข้าเรียนโรงเรียนวัดศรีชมภู
    บ้านบึงโนในปีพ.ศ. ๒๔๗๘ ได้เล่าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ ในปีพ.ศ.๒๔๘๓ ใช้เรียนเรียนอยู่๕ปี ช้ากว่าเด็กไว้เดียวกัน ๑ปี เพราะไม่ได้ไปสอบเลื่อนชั้น จึงได้เรียน ๕ปี เมื่อจบโรงเรียนวัดศรีชมภู
    ท่านมีอายุ๑๑ปี ในปี๒๔๘๓ หลวงปู่ธรรม เคยเป็นสามี พี่สาวมารดาหลวงปู่ เคยแต่งงานกับพี่สาวมารดาหลวงปู่แต่งไม่มีลูก จึงเลี้ยงดูหลวงปู่
    ต่อมาได้ทราบประวัติหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
    ว่าท่านสละทรัพย์สมบัติ ชวนภรรยาออกบวช
    หลวงปู่ธรรมจึงได้ชวนภรรยาที่เป็นพี่สาวมารดาหลวงปู่ออกบวชเหมือนกัน
    หลวงปู่ธรรมได้มารับเด็กชายหนูเพชร ไพบูลย์
    ไปอยู่ด้วยที่วัดผดุงธรรม บ.ดงเย็น ต.ดงเย็น อ.บ้านดุง จ.สกลนคร (ซึ่งเป็นวัดแรกที่องค์หลวงปู่พรหม. จิรปุญโญได้สร้างขึ้น ก่อนจะสร้าวัดประสิทธิธรรม) ในปี ๒๔๘๓-๒๔๘๗ องค์หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ท่านยังไปวิเวกในเขตภาคเหนือ และเดินทางกับมาภาคอีสานในปีพ.ศ.๒๔๘๗
    เข้าร่มผ้ากาสาวพัสตร์ครั้งแรก
    อายุได้๑๒ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดชัยมงคล
    บ้านง่อน ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ในปี.พ.ศ.๒๔๘๔ โดยมีพระอุปัชฌาย์ฮวด สุมโน
    เป็นพระอุปัชฌาย์
    พรรษาที่๑ ได้สอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีพ.ศ.๒๔๘๔
    พรรษาที่๒ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้ในปี พ.ศ.๒๔๘๕
    พรรรษาที่๓ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปีพ.ศ.๒๔๘๖
    พรรษาที่ ๔ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปี พ.ศ.
    ๒๔๘๗
    พรรษาที่๕ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปีพ.ศ.๒๔๘๘
    รวมระยะเวลาท่านสอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อยู่๔ปี
    ท่านจึงเลิกสอบ
    พรรษาที่ 6. พ.ศ. ๒๔๘๙ ระหว่างปี๒๕๘๗-๒๔๘๙ สามเณรหนูเพชร ไพบูลย์ ได้มีโอกาสศึกษาธรรมกับองค์หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ศิษยในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่พรหมถือเป็นศิษย์ในหลวงปู่มั่นที่สำเร็จธรรมเป็นพระอรหันต์องค์แรกที่หลวงปู่มั่นชมเชย
    เนื่องจากปี๒๔๘๗องค์หลวงปู่พรหมกลับภาคอีสาน
    ต่อมาไม่นานปี๒๔๘๙
    บิดาหลวงปู่ได้ป่วยไม่มีใครทำนาท่านจึงได้ตัดสินใจลาสิกขาออกไปทำนาเพื่อเลี้ยงน้องๆ ตามประเพณีที่ท่านเป็นลูกชายคนเดียวและคนโต

    *****เข้าร่มผ้ากาสาวพัสตร์ครั้งที่สอง
    ต่อมาอายุ ๒๐ย่าง๒๑ปี
    ท่านได้ชอบสาวในหมู่บ้านเดียวกัน เลยขอมารดาอยากแต่งงาน แต่มารดาไม่อนุญาติ พร้อมขอให้ท่าน
    อุปสมบทให้มารดาก่อนเพราะท่านเป็นลูกชายคนเดียวและคนโต ท่านจึงได้ตกลงจึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม ณ.วัดศรีชมภู เพื่อให้พระอยู่ในสำนักสอนขานนาค (คำขออุปสมบท)
    ขณะท่านเข้านาคเป็นผ้าขาวอยู่นั้นผู้สอนคำอุปสมบทให้ท่านคือหลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร
    ขณะนั้นทางวัดศรีชมภู ชาวบ้านและครูบาอาจารย์ กำลังร่วมกันสร้างโบสถ์ขึ้น โดยมี พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม(พระครูฐิตธรรมญาณ) เป็นหัวหน้า
    พระอาจารย์มหาเถื่อน อุชุกโร(พระครูอดุลสังฆกิจ)
    พระอาจารย์คำฟอง เขมจาโร(พระครูพิพิธธรมสุนทร) พระอาจารย์โง่น โสรโย พระอาจารย์สมภาร ปัญญาวโร(พระครูปัญญาวรากร) พระอาจารย์อ่อนศรี ฐานวโร พระอาจารย์อุดม ญาณรโต(พระครูอุดมศีลวัฒน์) จนเสร็จสมบูรณ์ จึงทำการผูกพัทธสีมาพร้อมทั้งอุปสมบทพระภิกษุ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง
    บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นของขวัญแก่ชาวบ้าน
    นาคผ้าขาวหนูเพชร ได้รับการอุปสมบทหลังจากผ่านการฝึกหัดท่องคำขออุปสมบท พร้อมข้อวัตรปฏิบัติสมควรแก่การอุปสมบท
    >>>>>อุปสมบท
    ในวันจันทร์ที่ ๓๐ เดือนมกราคม ๒๔๙๓
    เวลาประมาณ๐๔ฺ.๐๐น เริ่มปลงผมโกนผมเวลา๐๒.๐๐น. ณ.อุโบสถวัดศรีชมภู บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    เช้าวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๙๓
    เป็นวันถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์ใหญ่
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ.วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง
    จ.สกลนคร
    โดยมี
    ๑.พระครูพุฒิวรคม (พุฒิ ยโส) เป็นพระอุปัชฌาย์
    ๒.พระอาจารย์คำฟอง เขมจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (พระครูพิพิธธรรมสุนทร )
    ๓.พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    (พระครูฐิติธรรมญาณ)
    มีนาคผ้าขาวร่วมอุปสมบทจำนวณ๑๒ตัว(คน)
    จาก๔หมู่บ้าน
    ✅หลังจากเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว ท่านได้ไปเรียนกัมมัฏฐานกับหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของพระอาจารย์มั่น อยู่ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานกับหลวงปู่พรหมระยะหนึ่ง หลังจากนั้นท่านได้ไปเดินธุดงค์กับหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ถึงปี พ.ศ.2513 หลวงปู่หนูเพชรได้มาเจอวัดโบราณที่เป็นวัดร้าง ได้ตั้งชื่อวัดว่า "วัดป่าภูมิพิทักษ์" ท่านจึงมาจำพรรษาปฏิบัติธรรมจนถึงปัจจุบัน
    หลวงปู่หนูเพชร เป็นพระเถระที่วัตรปฏิบัติเคร่งครัด เป็นพระชอบเก็บตัวเงียบ ซึ่งในขณะนั้น คณะศิษย์สายชลบุรีได้รู้จักจากการแนะนำของหลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน จ.ชลบุรี เนื่องจากหลวงปู่หนูเพชรได้เคยป
    pic_2067_1-jpg.jpg
    pic_2067_2-jpg.jpg
    ( บน )ภาพแจกงานศพหลวงปู่

    ( ล่าง ) หลวงปู่ถ่ายภาพหน้ากุฏิสมัยที่ท่านยังแข็งแรงดีอยู่
    ฏิบัติธรรมกับหลวงปู่อ่อนศรี
    หลวงปู่อ่อนศรี ยังพูดบอกอีกด้วยว่า "หลวงปู่หนูเพชร ท่านเก่งกว่าฉันอีก" ก่อนที่หลวงปู่อ่อนศรี ท่านจะมรณภาพ ท่านเคยสั่งไว้ให้คณะศิษย์ไปกราบหลวงปู่หนูเพชร
    >>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา ********บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems sam_7456-jpg.jpg sam_0208-jpg.jpg sam_0209-jpg.jpg sam_0210-jpg.jpg sam_2488-jpg.jpg
    SAM_7773.JPG SAM_7772.JPG
     
  10. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 915 เหรียญรุ่นอายุยืนหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโสติถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เหรียญสร้างปี 2554 เนื้อทองฝาบาตร มีตอก 2โค๊ต ,โค๊ตตัวเลข 2769เเละโค๊ตยันต์ หลังเหรียญ องค์นี้เลี่ยมกันนํ้าอย่างดีขึ้นคอได้เลย
    bunhna-jpg.jpg
    หลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    >>>>>>ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงตาบุญหนา ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่ออายุ 12 ปีได้เข้าพิธีบรรพชา ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง หลวงปู่บุญหนา ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง 12 ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อนเคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้าน หนองโดก (ปัจจุบันคือวัดป่าโสตถิผล หรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก
    หลวงปู่บุญหนาท่านบอกว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับพระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่งและญาติโยม 4-5 คน เดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก ก่อนเดินทางถึงวัดป่าบ้านหนองผือ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณรทำให้ตื่นตาตื่นใจเป็นครั้งแรก เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิ ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่น เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วนสามเณรบุญหนา มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย
    bunhna1-jpg.jpg
    หลวงตาบุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร
    เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า "เณรมาแต่ไส..." แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า "เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย" จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น นอกจากนี้ ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก เช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น
    หลวงตาบุญหนา ได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูป หนึ่งที่ยังเหลืออยู่ หลวงปู่บุญหนา ได้ให้สติแก่ญาติโยมผู้เดินทางมากราบนมัสการเสมอว่า ให้เป็นผู้มีสติ ระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรู้ซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ ซึ่งเป็นคำสอนของพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ที่ได้เล่าเรื่องของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ในช่วงที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่นครั้งนั้นว่า "กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์"
    หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล ละสังขารแล้ว วันที่ 6 เม.ย. เวลา 14.52 น. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 84 ปี 9 เดือน 1 วัน 64 พรรษา >>>>มาพร้อมพระเกศาขาวใสของหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ********บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems

    hcthfa7ele6q2dulksgscfuvzrleuzjy2f2wslfd7uifokyqufwgpef0gs0z2wummy-jpg.jpg
    sam_7163-jpg.jpg sam_7164-jpg.jpg sam_1360-jpg.jpg
     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 915
    เหรียญรุ่น 2 หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป พระอรหันต์เจ้าวัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี เหรียญสร้างปี 2518 เนื้อองเเดงรมดำ>>>>>มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 235 บาทฟรีส่งems 4dqpjutzluwmjzy369efpjbuvx60ree5idwyekmslgol-jpg-jpg.jpg
    พระอุดมญาณโมลี หรือหลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป อายุ 105 ปี ประวิติพอสังเขป sam_7096-jpg-jpg.jpg
    “หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป” หรือ “พระอุดมญาณโมลี” เป็นพระมหาเถระสายพระป่ากรรมฐานศิษย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ แม่ทัพธรรมแห่งอีสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ, เป็นพระผู้มากด้วยเมตตาที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา
    หลวงปู่จันทร์ศรี มีนามเดิมว่า จันทร์ศรี แสนมงคล เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ณ บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบุญสาร และนางหลุน แสนมงคล ก่อนที่โยมมารดาจะตั้งครรภ์ ในคืนวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 นั้น ฝันเห็นพระ 9 รูป มายืนอยู่ที่ประตูหน้าบ้าน พอรุ่งขึ้นตรงวันขึ้น 15 ค่ำ เพ็ญเดือน 3 ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ได้เห็นพระกัมมัฏฐาน 9 รูปมาบิณฑบาตยืนอยู่หน้าบ้าน จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงรีบจัดภัตตาหารใส่ภาชนะ ไปนั่งคุกเข่าประนมมือตรงหน้าพระเถระผู้เป็นหัวหน้า ยกมือไหว้ แล้วใส่บาตรจนครบทั้ง 9 รูป แล้วนั่งพับเพียบประนมมือกล่าวขอพรว่า “ดิฉันปรารถนาอยากได้ลูกชายสัก 1 คน จะให้บวชเหมือนพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ”
    พระเถระก็กล่าวอนุโมทนา หลังจากนั้นอีก 1 เดือน นางหลุน แสนมงคล ก็ได้ตั้งครรภ์ และต่อมาก็คลอดบุตรชายรูปงามในวันอังคารที่ 10 ตุลาคม พุทธศักราช 2445 หลวงปู่ได้ละสังขารเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เวลา 20.00 น. สิริอายุ 105 ปี 85 พรรษา
    ด.ช.จันทร์ศรี แสนมงคล มีแววบวชเรียนตั้งแต่เมื่อครั้งเยาว์วัย ด้วยโยมบิดา-โยมมารดาได้พาไปใส่บาตรพระทุกวัน จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ในบางครั้ง ด.ช.จันทร์ศรี จะนำเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันทั้งชายและหญิง 7-8 คน ออกไปเล่นหน้าบ้าน โดยตนเองจะเล่นรับบทเป็นพระภิกษุเป็นประจำ
    อายุได้ 8 ขวบ โยมบิดาเสียชีวิตลง จนอายุได้ 10 ปี โยมมารดาจึงนำไปฝากไว้กับเจ้าอธิการเป๊ะ ธัมมเมตติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี, เจ้าคณะตำบลโนนทัน และเป็นครูสอนนักเรียนโรงเรียนประชาบาล โดยรับไว้เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด อยู่รับใช้ได้เพียง 1 เดือน เจ้าอธิการเป๊ะนำเด็กชายเข้าเรียนภาษาไทย ตั้งแต่ชั้น ประถม ก.กา จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ เจ้าอธิการเป๊ะเห็นว่ามีความสนใจในทางสมณเพศ จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2468 ณ วัดโพธิ์ศรี บ้านศิลา ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    ระหว่างปี พ.ศ.2468-2470 สามเณรจันทร์ศรี หมั่นท่องทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน และพระสูตรต่างๆ จนชำนาญ อีกทั้งได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรเขมร จนอ่านออกเขียนได้คล่องแคล่ว แล้วมาฝึกหัดเทศน์มหาชาติชาดกทำนองภาษาพื้นเมืองของภาคอีสาน แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมถึง 3 ปี
    จากนั้นได้ร่วมเดินทางกับ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์ลี สิรินฺธโร ออกไปแสวงหาความสงัดวิเวกตามป่าเขา และพักตามป่าช้าในหมู่บ้านต่างๆ เพื่อเข้ากรรมฐานและศึกษาอสุภสัญญา ปฏิบัติธุดงควัตร 13 ตามแบบพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานอย่างเคร่งครัด
    ครั้นต่อมาได้ขึ้นไปแสวงหาวิโมกขธรรมบนภูเก้า อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู เลยขึ้นไปที่ถ้ำผาปู่ จ.เลย วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พักที่วัดหินหมากเป้ง และได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว พักที่โบสถ์วัดจันทน์ 7 วัน แล้วกลับมาหนองคายแล้วเข้าอุดรธานี
    ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ (วัดศรีจันทราวาส) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2474 โดยมี พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย ป.ธ. ๓) เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น และเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ (วัดศรีจันทราวาส) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระอาจารย์กรรมฐานจำนวน 25 รูปนั่งเป็นพระอันดับ ท่านได้รับนามฉายาว่า “จนฺททีโป” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “ผู้มีแสงสว่างเจิดจ้าดั่งจันทร์เพ็ญ”
    อุปสมบทได้เพียง 7 วัน ท่านก็ได้ติดตาม พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระกรรมฐานผู้เคร่งวัตรปฏิบัติแห่งวัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย และ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายกรรมฐานท่านพระอาจารย์มั่น เจ้าสำนักวัดป่านิโครธาราม ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เดินรุกขมูลคืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ซึ่งเป็นหนึ่งในธุดงควัตร 13 ตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2475 ก่อนกราบลาหลวงปู่เทสก์เพื่อขอไปศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมต่อ
    ๏ การศึกษาพระปริยัติธรรมและงานด้านการศึกษา
    พ.ศ.2474 สอบได้นักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง คณะจังหวัดขอนแก่น
    พ.ศ.2475 สอบนักธรรมชั้นโทได้ในสนามหลวง คณะจังหวัดขอนแก่น
    พ.ศ.2477 สอบนักธรรมชั้นเอกได้ในสนามหลวง สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    พ.ศ.2480 สอบเปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    พ.ศ.2485 สอบเปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    พ.ศ.2484 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี ณ สำนักเรียนวัดป่าสุทธาวาส ต.พระธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
    ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2484 ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ ได้ไปพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เป็นเวลา 15 วัน ทำให้หลวงปู่จันทร์ศรีได้มีโอกาสใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์มั่นชั่วระยะเวลา หนึ่ง ถือเป็นกำไรแห่งชีวิตอันล้ำค่า
    พ.ศ.2475 ท่านได้กลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อศึกษาเปรียญธรรม 5 ประโยค
    พ.ศ.2486 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี เปรียญธรรม 3-4 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เป็นเวลานานถึง 10 ปี
    ๏ ตำแหน่งงานปกครองคณะสงฆ์
    หลังจากจบเปรียญธรรม 4 ประโยคแล้ว ท่านได้ช่วยเหลืองานพระศาสนา โดยเมื่อปี พ.ศ.2486 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
    ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2497 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ก็ทรงมีพระบัญชาให้มาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อทำศาสนกิจคณะสงฆ์ เนื่องจาก พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีอายุเข้าปูนชรา โดยแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) อีกตำแหน่งหนึ่ง
    พ.ศ.2498 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) อีกตำแหน่งหนึ่ง
    พ.ศ.2505 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ วัดราษฎร์
    พ.ศ.2507 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และในปีเดียวกันท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ พระอารามหลวงชั้นตรี
    พ.ศ.2519 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าคณะภาค (ธรรมยุต) และรักษาการเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี
    พ.ศ.2522 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะจังหวัดหนองคายและจังหวัดสกลนคร
    พ.ศ.2531 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) และเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)
    รวมทั้ง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษามหาเถรสมาคม (มส.)
    หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป ( พระอุดมญาณโมลี )พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
    ถ่ายภาพอยู่ด้านหน้า “พระบรมธาตุธรรมเจดีย์” วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี
    ๏ ลำดับสมณศักดิ์
    พ.ศ.2475 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูสิริสารสุธี
    พ.ศ.2498 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสิริสารสุธี
    พ.ศ.2505 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเมธาจารย์
    พ.ศ.2517 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาจารย์
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2533 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมบัณฑิต
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2544 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองหิรัญบัฏ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระอุดมญาณโมลี นับเป็นพระมหาเถระฝ่ายธรรมยุตรูปแรกที่อยู่ส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับการสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้น “รองสมเด็จพระราชาคณะ”
    รวมทั้ง ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)
    ๏ งานด้านสาธารณสงเคราะห์
    ท่านได้ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่มีฐานะยากจน เรียนดี และมีความประพฤติดี ปีละ 40 ทุน ทุนละ 1,000 บาท ให้รางวัลแก่พระภิกษุ-สามเณรที่สามารถสอบไล่ได้บาลีชั้นประโยค 1-2-เปรียญธรรม 3 ประโยค เป็นประจำทุกปี รูปละ 500 บาท ส่วนครูรูปละ 1,000 บาท
    แม้จะมีพรรษายุกาลมาก แต่ยังคงปฏิบัติกิจของสงฆ์และปฏิบัติธรรมอย่างคร่ำเคร่ง บิณฑบาตโปรดเวไนยสัตว์อย่างต่อเนื่อง จนศิษยานุศิษย์ขอร้องให้หยุดบิณฑบาต เนื่องจากเคยโดนวัยรุ่นซิ่งรถจักรยานยนต์ชนมาแล้ว ข้อวัตรนี้ชาวอุดรธานีทราบชัดดี และที่สำคัญท่านเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรชาวอุดรธานีอย่างแท้จริง ไม่เคยขาดงานนิมนต์ ไม่ว่าจะไกลหรือใกล้ ไม่เคยทอดธุระ ซึ่งท่านยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเสมอที่ว่า
    “กยิรา เจ กยิราเถนํ” แปลว่า “ถ้าจะทำการใด ให้ทำการนั้นจริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างถ้ามีความขยันหมั่นเพียร สิ่งนั้นต้องสำเร็จตามความตั้งใจจริง”
    นับได้ว่าหลวงปู่เป็นพระมหาเถระที่ประชาชนชาวจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้ เคียง ให้ความเคารพศรัทธามาก ไม่น้อยกว่าพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานแต่เก่าก่อน ทุกวันนี้หลวงปู่จันทร์ศรีท่านยังมีความจำเป็นเลิศ แม้อายุย่างเข้าวัยชรา แต่ยังจำเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะเมื่อเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง หลวงปู่จะบอกชื่อคน วันเวลา ได้อย่างละเอียดเป็นที่น่าอัศจรรย์
    สิ่งสำคัญในชีวิตหลวงปู่ คือการมีโอกาสได้ปฏิบัติใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่ อาทิ เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพฯ, ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นต้น
    ดังนั้น หลวงปู่จึงมีความรอบรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งในเมือง ในราชสำนัก ในสำนักพระกรรมฐาน และธรรมเนียมชาวบ้านเป็นอย่างดี หลวงปู่จันทร์ศรีเป็นหลวงปู่ใจดีของลูกหลานญาติโยม โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่ยึดติดลาภสักการะ และไม่ยึดติดในบริวาร ชีวิตของหลวงปู่สมถะเรียบง่าย เป็นอยู่อย่างสามัญ แม้ท่านจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการปกครองคณะสงฆ์ แต่หลวงปู่ก็ไม่ทิ้งการปฏิบัติกัมมัฏฐาน >> sam_7155-jpg.jpg sam_7156-jpg.jpg sam_1627-jpg.jpg

     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 916
    เหรียญเศรษฐีหลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ พระอรหันต์เจ้าวัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ท่านเป็นศิษย์ในองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถํ้าผาบิ้ง ,หลวงปู่เเบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ เหรียญสร้างปี 2556 เนื้ออัลปาก้า สร้างเนื่องเป็นที่ระลึกสร้างโบสถ์วัดถํ้าเจ้าผู้ข้า มีตอกโค๊ตตัวเลข อ 122 เเละโค๊ตรูป โบสถ์ หลังเหรียญ,
    >>>>>"คติธรรมของหลวงปู่เเก้ว.. ถ้าอยากจะชำระก็ขอให้ชำระกิเลสตัณหาที่มีอยู่ในใจของเรา อย่าไปชำระบาป บาปนั้นชำระไม่ได้ ถ้าไม่อยากจะรับผลของบาป ก็อย่าไปทำเสียตั้งแต่วันนี้ .." โอวาทธรรมหลวงปู่แก้ว สุจิณโณ
    >>>#อัตโนประวัติหลวงปู่แก้ว_สุจิณฺโณ
    ท่านมีนามเดิมว่า "ทองแก้ว ฮ่มป่า" เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๖ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะแม ณ บ้านห้วยหีบ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายจันทร์ และนางวงศ์ ฮ่มป่า
    ในช่วงวัยเยาว์ หลังจากที่ได้เรียนจบภาคบังคับในหมู่บ้านแล้วออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา ทำสวน ทำไร่ เหมือนชาวชนบทภาคอีสานทั่วไป
    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หลังจากที่ผ่านการคัดเลือกเกณฑ์ทหารแล้ว จึงได้คิดอุปสมบทเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ อย่างไรก็ดี ท่านยังหาโอกาสเหมาะสมมิได้ เนื่องจากติดขัดที่ฐานะทางบ้านต้องช่วยเหลือครอบครัว แต่จิตใจก็ยังคิดใฝ่หาที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ตลอดเวลา
    กระทั่งอายุได้ ๒๕ ปีพอดี โยมพ่อแม่จึงได้ให้นายทองแก้วเข้าไปบวชเป็นตาผ้าขาวอยู่กับหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ เพื่อให้ทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับพระภิกษุ ซึ่งผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรนั้นในวัดพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จะให้บวชเป็นตาผ้าขาวก่อน เพื่อให้หัดท่องคำขานนาค ท่องบทสวดมนต์ และให้ทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติ
    รวมทั้งอยู่ดูนิสัยไปก่อน เรียกง่ายๆ คือ อยู่ดัดนิสัยเดิมเสียก่อน ฝึกกิริยามารยาทให้งดงาม ให้รู้จักครรลองครองธรรมของพระสงฆ์ ฝึกความอดทน ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ต้องใช้เวลานานพอสมควร บางคน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน หรือเป็นปีสองสามปีก็มี แล้วแต่ใครจะฝึกหัดได้ง่ายได้ยาก
    จนเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ หลวงพ่อแบน ธนากโร จึงได้นำนายทองแก้วเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา ณ วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีพระวิบูลธรรมภาณ (ไพบูลย์ อภิวณฺโณ) วัดศรีโพนเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อแบน ธนากโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ภายหลังจากอุปสมบทแล้วท่านก็ได้กลับไปพักปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ อยู่ปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เร่งรัดปฏิบัติข้อวัตรมิให้ตกหล่น ตรงตามเป้าหมายที่ประสงค์ไว้ จนเกิดความช่ำชอง
    เมื่อเห็นว่าสามารถที่จะดูแลตัวเองได้แล้วจึงได้กราบลาหลวงพ่อแบน ธนากโร ออกเดินธุดงค์จาริกปฏิบัติธรรมไปตามสถานที่ต่างๆ และได้ขึ้นมาอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ที่วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    ครั้นต่อมา หลวงปู่หลุยได้มรณภาพลง จึงได้จำพรรษาตั้งแต่ครั้งนั้นจนกระทั่งปัจจุบัน
    พระอาจารย์ทองแก้วเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง ที่เดินตามรอยครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงปู่หลุย จันทสาโร ที่เป็นต้นแบบ เป็นพระที่ต้องการอยู่ที่เงียบสงบอยู่แต่ป่า จึงนับได้ว่าเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลกอย่างแท้จริง
    พระอาจารย์ทองแก้วมักสอนญาติโยมทุกครั้งในเรื่อง "มาแต่ตัวก็ต้องไปแต่ตัว ขอให้เร่งสร้างความดีงามเอาไว้ อย่าเบียดเบียนกัน"
    พระอาจารย์ทองแก้วถือเป็นร่มธรรมองค์หนึ่งของชาวสกลนคร ที่มีความตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    ******#ประวัติวัดถํ้าเจ้าผู้ข้า

    บ้านทิดไทย ต.ไร่ อ.พรรรณานิคม จ.สกลนคร
    .. ก่อนที่จะมีการเรียกว่าวัดถ้ำเจ้าผู้ข้านั้นก็มีประวัติความเป็นมาตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่ข้าพเจ้าได้สอบถามข้อมูลด้วยตนเองดังนี้ ในอดีตเมื่อสมัยร้อยกว่าปีมาแล้วได้มีชาวบ้านไฮ่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปัจจุบันได้ออกบวชห่มขาวถือศิล ๘ มาพักปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวรถ้ำแห่งนี้โดยที่ท่านไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เป็นอาหารเพราะเมื่อท่านรับประทานเข้าไปแล้วจะอาเจียนออกมาหมดก่อนที่ท่านจะสละทางโลกเข้ามาทางธรรมนั้นท่านก็มีครอบครัวเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป มีบุตรสาวหนึ่งคน จากการบอกเล่าของลูกหลาน เชื้อสายเจ้าผู้ข้าอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือก่อนที่ท่านเจ้าผู้ข้าจะออกบวชห่มขาวถือศิล ๘ นั้น วันนึงในฤดูทำนาภรรยาท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ไปเก็บหอยขมมาทำอาหาร การที่นำหอยขมมาทำอาหารนั้น บางคนก็ตัดก้นหอยเพื่อที่จะนำมาแกง บางคนก็ต้มเลยไม่ต้องตัดก้นหอย การที่นำหอยเป็นๆมาต้มก็เหมือนกับเราต้มเปรตปลาไหลนั้นเอง หอยเป็นๆพอถูกน้ำร้อนมันจะร้อนแค่ไหน ลองพิจารณาเอาเองก็แล้วกัน
    ภรรยาของท่านเจ้าผู้ข้าก็เช่นกันนำหอยขมที่ได้มานั้นต้มเพื่อเป็นอาหาร ขณะที่น้ำในหม้อต้มหอยกำลังเดือด ท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ยินเสียงหอยขมในหม้อต้มนั้นร้องว่า “โอ้ยร้อนจัง ช่วยด้วย ร้อน ร้อน ” ซึ่งเสียงนั้นท่านเจ้าผู้ข้าได้ยินเพียงผู้เดียว ตั้งแต่นั้นมาท่านเจ้าผู้ข้าก็มีอาการผิดปกติคือรับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ไม่ได้ รับประทานเข้าไปก็มีอาหารเคลื่อนไส้ อาเจียนทันที มีการบันทึกไว้ว่าก่อนที่จะมีการเรียกชื่อเจ้าผู้ข้านั้น ท่านมีนามว่า น้อยหน่า ส่วนนามสกุลนั้นมีการแต่งขึ้นในภายหลังจากท่านออกบวชแล้ว
    ******สาเหตุทำไมถึงเรียกว่า.. "เจ้าผู้ข้า"
    ท่านเจ้าผู้ข้านั้นชอบเรียกตัวเองว่า ผู้ข้า ซึ่งไปเป็นภาษาภูไท หมายความว่า กระผม หรือ ข้า หรือ ข้าพเจ้าประมาณนั้น และมีคนพบท่านเจ้าผู้ข้าครั้งสุดท้ายที่ถ้ำแห่งนี้ ท่านนอนป่วยอยู่จึงนำท่านลงไปรักษาในหมู่บ้านที่มีผู้ศรัทธาท่านจนท่านเจ้าผู้ข้านั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาจึงมีผู้คนเรียกถ้ำแห่งนี้ว่า "ถ้ำเจ้าผู้ข้า" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    และถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้เป็นที่ละสังขารของท่านพระอาจายร์กู่ ธมฺมทินฺโน ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ ท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และลูกศิษย์ซึ่งมีสามเณรบุญหนา (หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน.รวมอยู่ด้วย ท่านได้มาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้โดยมีกุฏิหลังเก่าไว้เป็นหลักฐาน เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ก็ได้ละขันธ์ในท่านั้งสมาธิในกุฏิหลังนี้เพระท่านเป็นโรคฝีฝักบัวอยู่ที่ก้นจนทนไม่ได้จึงละขันธ์เมื่อ สิริอายุ ๕๓ ปี พรรษา ๓๓ และเพื่อระลึกถึงท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ที่ท่านมาละขันธ์ที่สถานที่แห่งนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ขออนุญาติ หลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ สร้างรูปเหมือนเท่าองค์จริงของพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ไว้ที่หน้ากุฏิที่พระอาจารย์ท่านละขันธ์ เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ได้กราบไว้บูชา >>>>หมายเหุต..... หลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบแล้ว ตรงกับวันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ณ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สิริอายุ ๗๖ ปี ๗ เดือน ๒๘ วัน พรรษา ๕๒ >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ******บูชาที่ 315 บาทฟรีส่งems sam_8872-jpg.jpg sam_6953-jpg.jpg sam_6954-jpg.jpg sam_6955-jpg.jpg sam_2008-jpg.jpg

     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 917
    เหรียญหันข้างครึ่งองค์รุ่นสร้างโบสถ์หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสีห์พนม อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร เหรียญสร้างปี 2562 เนื้อทองฝาบาตร ,มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ******บูชาที่ 185 บาทฟรีส่งems ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม
    วัดป่าสีห์พนมประชาราม
    ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    “หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม” ท่านถือกำเนิดตรงกับวันจันทร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๑ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง ณ บ้านขาม ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร บิดาท่านชื่อ นายเข่ง ธิอัมพร มารดาท่านชื่อ นางชาดา ธิอัมพร สำหรับบิดาของหลวงปู่บุญมา ภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง มีชื่อและฉายาตามพระพุทธศาสนาว่า “หลวงปู่เข่ง โฆสธัมโม” ขณะนั้นหลวงปู่บุญมาได้พรรษาที่ ๑๐ แล้ว จากนั้นจึงได้ออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆ และบั้นปลายชีวิตหลวงปู่เข่ง ท่านได้มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่บุญมา ที่วัดป่าสีห์พนมประชาราม จ.สกลนคร และได้มรณภาพลงเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.๒๕๓๗ ขณะมีอายุได้ ๙๐ ปี พรรษา ๓๓
    ชีวิตในวัยเด็กของหลวงปู่บุญมา ท่านได้เรียนจนจบชั้นประถมบริบูรณ์ แล้วได้ออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา เมื่อ อายุได้ ๑๗-๑๘ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาธรรมอยู่ได้ ๑ พรรษา ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๔-๒๔๘๘) หลังจากสึกออกมาช่วยบิดามารดาทำนานั้น ในใจท่านก็คิดเสมอว่า “ถ้ามีโอกาสเมื่อไร ก็จะรักษาศีลอุโบสถเมื่อนั้น” ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ จนเป็นที่เลื่องลือของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่า ทำไมเด็กหนุ่มนี้จึงมีอุปนิสัยแตกต่างจากคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ที่หันเหมาทางพระพุทธศาสนา เข้าวัดเข้าวารักษาศีลอุโบสถเหมือนคนเฒ่าคนแก่
    หลวง ปู่บุญมาท่านได้เล่าถึงชีวิตเมื่อวัยหนุ่มว่า “เมื่อเข้าหาครูบาอาจารย์ท่านก็เทศน์ให้ฟัง ในเรื่องอานิสงส์ในการรักษาศีล ๕ และทุกข์โทษของการละเมิดผิดศีลผิดธรรมเป็นอย่างไร ก็นำมาพิจารณา และครั้นเวลาครูบาอาจารย์ชวนไปวิเวก ฝึกสมาธิ ศึกษาธรรมะ ก็สนใจปฏิบัติตาม ทำให้จิตเกิดความสงบเยือกเย็น” นับว่าท่านเป็นผู้มีวาสนาบารมีที่ส่อแววให้เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ
    หลวงปู่บุญมาเล่าถึงสมัยชีวิตฆราวาส ได้พิจารณาความตายถึง ๓ วาระ สมัยท่านเป็นฆราวาสได้แต่งงานมีเหย้ามีเรือน ใช้ชีวิตตามวิถีชาวโลก จนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน เหตุการณ์หลังจากนั้นวาสนาบารมีทางธรรมท่านได้ใกล้เข้ามา จึงดลบันดาลให้เหตุการณ์กระทบอารมณ์ เป็นทุกข์อย่างหนักทางโลก ปีแรก น้องสาวท่านตาย ปีที่สอง มารดาก็มาตายอีก หลวงปู่บุญมาท่านเล่าว่าตอนนั้น จิตของท่านเกิดธรรมะ ได้คิดว่า “ความตายมันได้ใกล้เข้ามาหาเรา...ถ้าเราอยู่ต่อไป ไม่กี่วันก็คงตาย ถ้าจะตาย ขอให้ไปส่งความดีก่อนตาย เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งในอนาคต” เป็นทางออกที่ดีที่สุด ก่อนความตายจะมาถึง แต่ไม่ทันที่ท่านจะได้ออกบำเพ็ญความดีตามที่ท่านตั้งใจไว้ พายุโลกโหมกระหน่ำซ้ำเติมซ้ำสามในระยะเวลาไม่นาน ภรรยาท่านก็มาเสียชีวิตลง “ทุกข์เกิดขึ้น” เป็นทุกข์ที่ทำให้ท่านต้องตั้งคำถาม และพิจารณาปัญหาต่อไปว่า “ลูกที่่เกิดมา จะทำอย่างไร ใครจะเลี้ยงลูก”
    แล้ว ท่านก็พิจารณาเรื่องลูกว่า “ถึงแม้ว่าแม่จะตาย พ่อก็ยังอยู่ เด็กบางรายเกิดมาไม่กี่วันก็ตาย บางคนเดินได้ วิ่งได้ แล้วก็มาตาย แล้วแต่บุญวาสนาของแต่ละคน ไม่ถึงวันตายก็ไม่ตาย ถ้าจะให้ทานลูกแก่ผู้ต้องการ ลูกก็คงเติบใหญ่ขึ้นได้ด้วยบุญวาสนาบารมีของตนเองที่สร้างสมมาแต่ปางก่อน” ท่านคิดได้อย่างนี้ จึงยกลูกให้แก่พ่อตา แม่ยาย เป็นผู้เลี้ยงดู และตัดสินใจออกบวช ช่วงนั้นประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๔ ใกล้เข้าพรรษาแล้ว ระหว่างช่วงจัดงานศพให้ภรรยาท่านนั้น ได้นิมนต์ หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม ไปสวดบังสุกุล หลวงปู่สิงห์ พระอาจารย์ผู้ที่ให้ธรรมะแนะนำการปฏิบัติแก่ท่านอยู่ก่อนแล้ว ได้ถามท่านว่า “จะบวชไหม” ซึ่งท่านก็ตอบหลวงปู่สิงห์ไปว่า “บวชแน่นอนครับ” หลังจากจัดการงานศพของภรรยาเสร็จ ท่านก็ลาบิดา พ่อตา แม่ยาย เข้าไปวัดพระธาตุฝุ่น ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เพื่อรอบวชในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔
    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔ เวลา ๑๔.๑๕ น. ขณะอายุได้ ๒๔ ปี ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระครูสมุห์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “คัมภีรธัมโม” ซึ่งแปลว่า ผู้มีธรรมอันลึกซึ้ง
    เมื่อ อุปสมบทแล้วเสร็จ ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาศึกษาข้อวัตรปฏิปทากับหลวงปู่สิงห์ สหธัมโม วัดพระธาตุฝุ่น จ.สกลนคร ในพรรษาแรก หลวงปู่สิงห์ได้ให้ท่านฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนาขนานใหญ่ ขนาดยอมอดนอน ไม่ยอมหลับในตอนกลางคืน ช่วงเข้าพรรษาตลอด ๓ เดือน พระเณรที่อยู่ด้วยต้องยืน เดิน นั่ง ๓ อิริยาบถตลอดทั้งคืน ห้ามนอนเวลากลางคืน จึงทำให้ได้รับผลจากการภาวนามากตลอดพรรษา
    พอพรรษาที่ ๒ พระบุญมา จิตท่านเกิดฟุ้งซ่านอยากจะสึก ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม จึงได้ให้ท่านไปหาหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้นท่านอยู่ที่ถ้ำค้อ อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ห่างจากวัดถ้ำฝุ่นไป ๒๐-๓๐ กิโลเมตร เมื่อ ไปถึงถ้ำค้อ ที่หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านพำนักจำพรรษาอยู่ พระบุญมาได้เข้าไปกราบคารวะ หลวงปู่ขาวจึงได้พูดขึ้นว่า “ทำไมถึงอยากสึก แยกจิตออกนอกทำไม” พระบุญมา ท่านยังไม่ทันตอบ หลวงปู่ขาวก็พูดต่อไปอีกว่า “ออกก็ออกมาจากที่นั่น จะเข้าไปที่เดิม มันถูกรึ” หลวงปู่ขาวท่านรู้วาระจิต จากนั้นก็อบรมสั่งสอนให้ท่านอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่กับช้าง กับเสือ กับผีสาง เป็นการให้มีสติอยู่กับตนไป ไม่ให้ฟุ้งซ่านส่งจิตออกไปไหน” หลวงปู่บุญมา ท่านเล่าว่า “ช่วง นี้กลัวมาก ถึงสวดมนต์อย่างไรก็กลัว กลัวตาย ช่วงที่อยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย จึงตั้งใจบำเพ็ญเพียรภาวนาตามคำสอนขององค์ท่าน ปรากฏผลดีมาก จิตใจสบาย วิเวกดี จิตไม่ปรุงแต่งอะไร ไม่ออกไปสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างครอบครัวอีก เพราะกลัวตาย คนกลัวตายต้องหาที่พึ่ง ถ้าได้ที่พึ่งทางจิตแล้วสบาย ไม่กลัวตายต่อไปอีกแล้ว”
    ครั้นออก พรรษาได้จาริกธุดงค์เข้ากราบรับข้ออรรถข้อธรรมจากพระเถระผู้ใหญ่ ศิษย์ในองค์หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต หลายองค์ อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู, หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย และหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี เป็นต้น และได้จาริกธุดงค์ร่วมกันกับ หลวงปู่คำบุ ธัมมธโร ซึ่งเป็นพระอาจารย์รูปสำคัญของท่าน ออกวิเวกตามสถานที่ต่างๆ ไปยังป่าช้าง ป่าเสือ ฝึกจิตตามป่าตามเขาโถงถ้ำ ไปในที่ๆ ขึ้นชื่อว่าอาถรรพณ์ผีดุ เปลี่ยนที่จำพรรษาไปเรื่อยๆ ไม่ติดถิ่น ทั้งที่กันดารห่างไกลจากบ้านจากเรือนสลับกับการไปฝึกอบรมยังสำนักของพ่อแม่ ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานถึง ๒๙ พรรษา
    เริ่มจำพรรษาที่ วัดป่าสีห์พนมประชาราม บ้านหนองกุง ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ในพรรษาที่ ๒๐ เป็นพรรษาแรก ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๑๔ จากนั้นจึงออกจาริกธุดงค์ไปจำพรรษาในที่ต่างๆ แล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ หลวงปู่บุญมา ท่านก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดป่าสีห์พนมประชาราม มาโดยตลอดจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

    5333292_o-jpg-_nc_cat-109-_nc_sid-8024bb-_nc_ohc-uryjayg1fjoax_jsw3a-_nc_ht-scontent-fkkc2-1-jpg.jpg
    6387720_o-jpg-_nc_cat-106-_nc_sid-8024bb-_nc_ohc-xhjeomtkijkax95bo22-_nc_ht-scontent-fkkc2-1-jpg.jpg
    79850004_o-jpg-_nc_cat-101-_nc_sid-8024bb-_nc_ohc-7d_4xduxuckax-6cnh-_nc_ht-scontent-fkkc2-1-jpg.jpg
    2291958_o-jpg-_nc_cat-106-_nc_sid-8024bb-_nc_ohc-8j-ukbfqmcaax-7il5z-_nc_ht-scontent-fkkc2-1-jpg.jpg sam_4022-jpg.jpg sam_4023-jpg.jpg sam_2488-jpg.jpg

     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    *****เพื่อนสมาชิกที่สนใจ สามารถโอนเข้าบัญชีธนาคาร กรุงเทพ สาขาบ้านเเพง เลขบัญชีที่ 496-055842-9,ธนาคาร กรุงไทย สาขาบิ๊กซี ลำพูน เลขบัญชี 854-0-31280-8,ธนาคาร กสิกรไทย สาขาเสนา เลขที่บัญชี 016-3-45911-6, ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเสนา เลขที่บัญชี 770-270878-6 ขอขอบคุณครับ นอกเวปโทร -098-5981468
     
  15. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 918
    เหรียญรุ่นให้พร+เหรียญพอใจพระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เหรียญสร้าง 12 สิงหาคม 2553(วันเกิดหลวงตา) เนื้อกะไหล่ทอง หน้ากากทอง มีตอกโค๊ตดอกบัว มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศา,พระธาตุมาบูชาด้วยครับ (พระใหม่ไม่เคยใช้ ทันพระหลวงตาครับ ท่านละสังขาร ปี 2554) ******พิเศษรายการนี้มีเเถมมอบรูปภาพขนาด A 4 มาใส่กรอบบูชาที่บ้านด้วยครับ******** บูชาที่ 465 บาทฟรีส่งems เปิดดูไฟล์ 5472261 เปิดดูไฟล์ 5472262 sam_0510-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6893-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6894-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6895-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2767-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    sam_7657-jpg.jpg SAM_7479.JPG SAM_7480.JPG


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2020
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 919 เหรียญ+พระผงพระขุนเเผนรุ่นเเรกหลวงตาเเหวน ทุยาลุโก พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองนกกด อ.พังโคน จ.สกลนคร หลวงตาเเหวนเป็นศิษย์หลวงปู่สีลา อิสสโร(ศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่มั่น)พระอรหันต์วัดป่าบ้านวาใหญ่(วัดป่าอิสระธรรม) เหรียญเนื้อทองฝาบาตร มีตอกโค๊ตตัวเลข 2912 หลังเหรียญ พระผงเนื้อคำหมาก สร้างปี 2554 สร้างเนื่องหลวงตาอายุครบ 67 ปี,>>>>>มีพระเกศาจีรวรมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ******บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งems sam_0611-jpg.jpg [ATT ประวัติย่อหลวงตาเเหวน ทยาลุโก หลวงตาแหวน ทยาลุโก วัดป่าหนองนกกด อ.พังโคน จ.สกลนคร
    เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2487 ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่สีลา อิสโร ซึ่งหลวงปู่สีลา อิสโร เป็นศิษย์คนโต ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระสายกรรมฐานที่ปฏิบัติดีประปฏิบัติชอบ ลูกศิษย์ลูกหาจึงให้ความศรัทธาในตัวท่านมาก ปัจจุบันลูกศิษย์ลูกหาของท่านมีมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ หรือบุคคลทั่วๆไปทั่วทุกภาค ปัจจุบันท่านอายุ 76 ปี ท่านเป็นพระที่เรียบง่ายตามแบบของพระสายกรรมฐาน อยู่วัดป่าแบบสมถะ มีเมตตาแก่ลูกศิษย์ที่ไปพบหาทุกคน เวลาไปพบท่าน ท่านจะสอนหลักธรรมะให้ฟังทุกครั้ง ท่านใดที่เคยเข้าไปกราบท่านจะรู้สึกได้ถึงความเมตตาของท่านเป็นอันมาก ท่านเป็นพระที่ยิ้มแย้ม แจ่มใส ตลอดเวลา ตามประสาชาวบ้านแถวนั้นเค้าบอกว่า ใบหน้าของท่านเป็นคนที่อิ่มบุญมากครับ
    พระครูสันตยาภิวัฒน์ ( วสันต์ ทยาลุโก หรือ หลวงพ่อแหวน ) เป็นปฐมเจ้าอาวาสจาก พ.ศ.๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน
    พระครูสันยาภิวัฒน์ นามเดิมชื่อว่า วสันต์ นามสกุล อ่อนสุระทุม เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ ปีวอก ที่ บ้านอุ่มเหม้า ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร โยมบิดามีนามว่า นายบัวพา โยมมารดามีนามว่า นางบุญพา มีพี่น้อง ๗ คน ผู้ชาย ๔ คน ผู้หญิง ๓ คน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้องน้องสุดท้าย หรือเป็นลูกคนที่ ๗ ของครอบครัวนั่นเอง
    สำหรับชื่อของ หลวงพ่อแหวน นั้น ตามทะเบียนสำมะโนประชากรหรือทะเบียนราษฎร์ พ่อ-แม่ตั้งชื่อว่า วสันต์ นามนี้เป็นมงคลนามและชื่อทางราชการ ผู้คนไม่ค่อยรู้จักแน่นอน เนื่องจากประวัติการปฏิบัติธรรมต่างๆ นั้นยังไม่เคยออกสู่สายตาชาวบ้าน เพิ่งจะเปิดเผยที่นี้เป็นครั้งแรก และท่านมีข้อแม้ว่าประสบการณ์อภินิหารต่างๆนั้นไม่ต้องลงหรอกไม่งาม ซึ่งผู้เขียนได้กราบนมัสการท่านกลับว่า ควรจะมีบ้างตามที่คนเขียนเห็นสมควร สำหรับชื่อ แหวน นั้นเป็นชื่อเรียกเล่นๆ กันมาแต่เด็กๆ จนเรียกติดปากญาติโยมมาจนถึงปัจจุบัน หากไปถามหา หลวงพ่อแหวน วัดป่าหนองนกกด ทุกคนรู้จักหมดทั้ง จ.สกลนคร หากแต่ว่าใครไปถามหา หลวงพ่อวสันต์ สงสัยว่าจะไม่มีคนรู้จักนามนี้เช่นกัน เพราะผู้คนที่ไปหานั้นจะพูดกันเสียงเดียวว่าไปกราบ หลวงพ่อแหวน พระอาจารย์แหวน บ้านหนองนกกด กันทั้งสิ้น ซึ่งจากนี้ไปผู้เรียบเรียงบทความจะเรียกนามท่านว่า หลวงพ่อแหวน เพื่อสะดวกในการเขียน
    สำหรับ หลวงพ่อแหวน นั้นท่านมีภารกิจนิมนต์ไม่ค่อยว่าง เช้าออกไปฉันเช้า บวชนาค โดยเฉพาะวันที่ผู้เขียนไปกราบท่าน เช้าออกไปบวชนาค กลับถึงวัดไปสวดมนต์ที่หนองคาย ช่วงเย็นๆ ค่ำๆ กลับมาเจริญพระพุทธมนต์ที่ จ.สกลนคร ตามด้วยใน อ.พังโคน หลวงพ่อแหวน ท่านปรารภกับผู้เรียบเรียงบทความว่า กลับถึง วัดป่าหนองนกกด คงเที่ยงคืน เนื่องจาก หลวงพ่อแหวน เป็นผู้มีเมตตาสูง ในวัดนั้นจะคลาคล่ำไปด้วยญาติโยมที่มาขอบารมีจากท่าน เจิมรถ รดน้ำมนต์ มานิมนต์ไปในกิจต่างๆ ตลอด เนื่องจากท่านเป็นพระเถระที่มีเมตตาเป็นที่ตั้ง ยิ้มแย้มตลอดเวลาขณะปฏิสันถารอยู่กับญาติโยมทุกคน ไม่เลือกหน้าว่าคนนั้นจะมาจากไหน ความเป็นอยู่อย่างไร เพราะท่านมีเมตตาเป็นที่ตั้งกับทุกคน
    เยาว์วัยและการศึกษา การศึกษาเบื้องต้น หลวงพ่อแหวน ท่านเรียนหนังสือจบชั้น ป.๔ ที่ โรงเรียนบ้านอุ่มเหม้า ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ในหมู่บ้าน แล้วออกมาช่วยงานบ้านระยะหนึ่ง
    กุฏิหลังเก่า วัดป่าหนองนกกด ภาพเก่าในอดีต วัดป่าหนองนกกด
    >>>>>>บรรพชา
    พ.ศ.๒๕๐๐ ขณะนั้นอายุได้ ๑๒ ปี จึงได้บวชเป็นสามเณรที่ วัดอิสสรธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร โดยมี หลวงพ่อสิลา อิสฺสโร วัดอิสสรธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์ สำหรับ หลวงพ่อสิลา นั้นท่านเป็นศิษย์สาย พระอาจารย์มั่น รุ่นเดียวกับ พระอาจารย์ฝั้น เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วได้ศึกษาพระธรรมพระวินัยปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อสิลา ๒ พรรษา ท่านสอนการภาวนาว่า มรณัง คือ การระลึกความตายตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ตั้งตนอยู่ในความประมาท หลวงพ่อสิลาแม้จะเป็นศิษย์ในสาย พระอาจารย์เสาร์ - พระอาจารย์มั่น ก็จริงอยู่ ท่านจะไม่ค่อยสอนคำภาวนาว่า พุทโธ เป็นการภาวนา แต่จะให้ภาวนาว่า มรนัง คือระลึกถึงความตาย เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท อยู่กับหลวงพ่อสิลา ๒ พรรษา แล้วไปจำพรรษาที่จังหวัดหนองคาย ก่อนที่จะเข้ากรุงเทพฯ
    >>>>>อุปสมบท
    พ.ศ.๒๕๐๘ เข้ารับการอุปสมบทที่ วัดจันทนาราม ต.จันทนิมิตร อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยมี พระเทพสุทธิโมฬี วัดจันทนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปัญญาวราลักษณ์ เจ้าคณะอำเภอโซ่พิสัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูสมุห์อำพร สุจิตโต วัดจันทนาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า ทยาลุโก เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาที่ วัดป่าคลองกุ้ง อ.เมือง จ.จันทบุรี ๑ พรรษา จากนั้นจึงได้ออกเดินแสวงหาความสงบไปในสถานที่ต่างๆ
    >>>>การศึกษา
    ท่านได้เข้าศึกษาและสอบเทียบวัดระดับการศึกษาที่ วัดพระยาธรรม ธนบุรี ระดับชั้นประถมตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น (ป.๗ และ ม.ศ.๓)
    พ.ศ.๒๕๐๐ สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ.๒๕๐๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท พ.ศ.๒๕๐๖ สอบได้นักธรรมชั้นเอก หลวงพ่อแหวน เคยเรียนบาลีเช่นกัน แต่สอบไม่ผ่าน เพราะในยุคนั้นต้องสอบเปรียญ ๓ ประโยคทีเดียว ไม่แบ่งว่าที่มหา ป.ธ.๑-๒ เช่นปัจจุบัน แล้วจึงสอบ ป.ธ.๓ ได้ เรียกว่า ท่านมหา ท่านจึงไม่ได้เรียนต่อ มุ่งปฏิบัติธรรมนั่งกรรมฐานเพียงอย่างเดียว เพราะในยุคนั้นต้องเรียนบาลีไวยากรณ์และแปลธรรมบทได้ จึงสอบ ป.ธ.๓ ได้
    ในปัจจุบันรั้งตำแหน่ง เจ้าคณะตำบล พังโคน เขต ๑ และทำหน้าที่ พระอุปัชฌาย์


    277_n-jpg-_nc_cat-110-_nc_sid-2d5d41-_nc_ohc-s62nxppnsfaax_gpaga-_nc_ht-scontent-fkkc2-1-jpg-jpg.jpg ACH=full]5417645[/ATTACH] sam_4055-jpg.jpg sam_4056-jpg.jpg sam_1646-jpg.jpg sam_8871-jpg.jpg
    SAM_7775.JPG SAM_7774.JPG
    ไฟล์ที่แนบมา:
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 920
    หรียญรูปไข่เนื้อทองเเดงสร้างปี 2537(ทันหลวงปู่ครับรุ่นนี้)+เหรียญรูปไข่เนื้อกะไหล่ทองสร้างปี 2558(เสกอฐิษฐานจิตโดยหลวงตาสมหมาย(ศิษย์เอกหลวงปู่บุญจันทร์) เจ้าอาวาสวัดสันติกาวาสองค์ปัจจุบัน) หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล" พระอรหัต์เจ้าวัดป่าสันติกาวาส ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี หลวงปู่บุญจันทร์เป็นศิษย์หลวงปู่ยุคกลาง(น้องพรรษาหลวงตามหาบัว 2 พรรษา)
    หลวงปู่บุญจันทร์ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ 15 ก.ย.2459 ที่บ้านคำพระ (กุดโอ) ต.คำไฮ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
    ช่วงวัยเยาว์ เรียนหนังสือที่วัดบ้านคำพระ (วัดสว่างอารมณ์ในปัจจุบัน) จบแค่ชั้น ข.จากนั้นครอบครัวอพยพครอบครัวไปอยู่ จ.ขอนแก่น และบรรพชาที่วัดบ้านท่าเดื่อ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น พระอาจารย์อุ้ย เป็นพระอุปัชฌาย์
    ต่อมาอาพาธเป็นโรคไข้รากสาด จนต้องลาสิกขา พอหายป่วย มารดาก็ย้ายถิ่นฐานกลับมาอยู่บ้านคำพระ จ.ร้อยเอ็ด ฝากตัวเป็นศิษย์รับใช้พระอาจารย์คำดี พระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต-หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
    บวชเณรอีกครั้งที่วัดฟ้าหยาด อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด มีพระครูวิจิตร (จันทา) เป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดฝ่ายมหานิกาย แล้วออกธุดงค์ไปอยู่กับหลวงพ่อสิ้ว ที่วัดโดนช้างเผือก (วัดประชาธรรมรักษ์)
    หลวงพ่อสิ้วนำออกธุดงค์ไปนมัสการพระธาตุพนมแล้วเข้า จ.สกลนคร กราบนมัสการหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่วัดป่าสุทธาวาส และต่อไปยังเขาพระวิหาร
    ถึงปี พ.ศ.2497 เดินทางเข้า จ.ร้อยเอ็ด ฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์สีโห เขมโก วัดป่าศรีไพรวัลย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต ที่วัดเหนือ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด โดยมีพระโพธิญาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาบุญถึง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พรรษาแรกท่านอยู่ที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ โดยออกธุดงค์ไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติและฟังธรรมกับหลวงปู่เสาร์ ก่อนไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านวังถ้ำ จ.อุบลราชธานี ,ในพรรษาที่ 2 และมีโอกาสได้กราบนมัสการสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ,ช่วงพรรษาที่ 3-5 จำพรรษาที่วัดป่าสามัคคีธรรม อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์, พรรษาที่ 6 อยู่วัดป่าบ้านโดนแห้ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ,พรรษาที่ 7 อยู่วัดประชาบำรุง (วัดป่าพูนไพบูลย์) อ.เมือง จ.มหาสารคาม ก่อนกลับมาจำพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ ,ในพรรษาที่ 9-13, พรรษาที่ 14 เข้าจำพรรษาที่สำนักป่า หนองเม้า บ้านจำปา อ.สว่างแดนดิน จ.สกล นคร ,จากนั้นในพรรษาที่ 15 ได้มาอยู่ที่ป่าช้า บ้านไชยวาน จ.อุดรธานี และสร้างวัดป่าขึ้นในปี พ.ศ.2493
    หลวงปู่บุญจันทร์เป็นพระเถระที่สหธรรมิกรุ่นพี่และรุ่นน้องในกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น ให้การยอมรับนับถือในวัตรปฏิบัติและปฏิปทา โดยเฉพาะในเรื่องของการธุดงควัตร ที่เคร่งครัดและพิถีพิถัน ตลอดการธุดงค์ ท่านสัมผัสกับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายต่อหลายรูป อาทิ หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่คำดี ปภาโส, หลวงปู่บัว สิริปุญโญ, พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร, พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์วัน อุตตโม, พระอาจารย์ลี ธัมมธโร, หลวงปู่แว่น ธนปาโล, หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่สิม พุทธาจาโร, หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ฯลฯ

    การได้สนทนาธรรม และรับคำสั่งสอนจากพระคณาจารย์เหล่านี้ จึงทำให้มีความรู้เชี่ยวชาญในเชิงธรรมผนวกกับอุปนิสัยเป็นผู้ตั้งอยู่ในความประมาทในการทำความดีมาแต่เด็ก รักความสงบ พูดจริงทำจริง พูดน้อยแต่ทำมาก และมีนิสัยชอบภาวนา มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์
    ทุกอิริยาบถของท่านเต็มไปด้วยความสำรวมระมัดระวัง พยายามไม่ให้ด่างพร้อยในศีล
    แม้จะพูดน้อย แต่ทุกคำเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ เปี่ยมด้วยเหตุผล มีความหมายอย่างลุ่มลึก
    ในปี พ.ศ.2493 มีผู้ถวายที่ดิน เพื่อสร้างวัดป่าขึ้นโดยเรียกชื่อว่า วัดป่าหนองท้ม ภายหลังพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี ฝ่ายธรรมยุต เดินทางมาเยี่ยมชม และได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดป่าสันติกาวาส"
    หลวงปู่ได้จำพรรษา ฝึกอบรมพระภิกษุ-เณร และญาติโยม ที่วัดป่าสันติกาวาส
    ย่างเข้าสู่วัยชรา สุขภาพร่างกายของท่านไม่แข็งแรงดังเดิม เป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2538 หลวงปู่บุญจันทร์ มรณภาพอย่างสงบที่วัดป่าสันติกาวาส สิริอายุ 79 ปี>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *****บูชาที่ 315 บาทฟรีส่งems
    sam_6966-jpg-jpg.jpg sam_6967-jpg-jpg.jpg sam_6971-jpg-jpg.jpg sam_6973-jpg-jpg.jpg sam_2147-jpg-jpg.jpg
    sam_2819-jpg.jpg

     
  18. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 221 พระผงหยกหลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร พระอรหันต์เจ้าวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร หลวงปู่วิริยังค์เป็นศิษย์หลวงปผ(ู่มั่นยุคสุดท้าย องค์พระสร้างปี 2536 เป็นเนื้อผงหินหยกที่สร้างพระพุทธรูปหยกใหญ่ มาพร้อมกล่องเดิม >>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ ******บูชาที่ 235 บาทฟรีส่งems SAM_7776.JPG SAM_7777.JPG SAM_7780.JPG SAM_7779.JPG SAM_7781.JPG SAM_7753.JPG
    พระธรรมมงคลญาณ
    (วิริยังค์ สิรินธโร)

    %B9%80%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C.jpg
    เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2463
    อายุ 100 ปี
    อุปสมบท 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
    พรรษา 79
    วัด วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร
    จังหวัด กรุงเทพมหานคร
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย

     
  19. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,333
    ค่าพลัง:
    +4,793
    บูชาครับ
     
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 222 เหรียญเสมานั่งพานรุ่นเเรกหลวงปู่มหาโส กัสสโป พระอรหันต์เจ้าวัดป่าคำเเคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนเเก่น หลวงปู่มหาโสเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย เหรียญสร้างปี 2539 อฐิษฐานจิตปลุกเสก 18 มีนาคม 2540 ชื่อรุ่นสหธรรมิก เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล ,มาพร้อมกล่องเดิม มีตอกโค๊ต คำว่าโส หลังเหรียญ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *****บูชาที่ 235 บาทฟรีส่งems SAM_5599.JPG SAM_7782.JPG SAM_7783.JPG SAM_7784.JPG SAM_7605.JPG
     

แชร์หน้านี้

Loading...