เรื่องเด่น พุทธทำนาย ยุคกึ่งพุทธกาล จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่ (ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 สิงหาคม 2016.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    02776E11-63F8-411D-A9D7-2F6A5D1A4F77.jpeg



    ฉิคคฬสูตรที่ ๒
    ว่าด้วยการได้ความเป็นมนุษย์ยาก
    [ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาปฐพีนี้มีน้ำเป็นอันเดียวกัน บุรุษโยนแอกซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาปฐพีนั้น ลมทิศบูรพาพัดเอาแอกนั้นไปทางทิศประจิม

    ลมทิศประจิมพัดเอาไปทางทิศบูรพา ลมทิศอุดรพัดเอาไปทางทิศทักษิณ ลมทิศทักษิณพัดเอาไปทางทิศอุดร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาปฐพีนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ

    เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นได้บ้างหรือหนอ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอเข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นเป็นของยาก.


    พ. ฉันนั้นภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์เป็นของยาก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลกเป็นของยาก ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองในโลกก็เป็นของยาก ความเป็นมนุษย์นี้เขาได้แล้ว

    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลกและธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองอยู่ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
    จบ สูตรที่ ๘
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2022
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    ทรงถ่ายทอด นิรุตติญานทัสสนะ ไว้เพื่อ เหล่า ปฎิสัมภิทาญาน โดยเฉพาะกาลอย่างยิ่ง

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อม พระผู้เสด็จไปดีแล้ว พระองค์นั้น

    ในการตามรักษาความจริง! นี้ ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ สัทธรรมปฎิรูป จะนำไปแอบอ้างอย่างชอบธรรมได้ ไม่ใช่ฐานะ! สัทธรรมปฎิรูปจะทำเพื่อตนเองเพียงเท่านั้น! ไม่เป็นประโยชน์ของเวไนยสัตว์เหล่าอื่น!

    ขึ้นชื่อว่า “ เท็จ “ เป็นทองปลอม ! แต่อยากจะ ชุบทองแท้ ให้ผ่องใส อีกไม่นาน มันจะลอกออกและดำด่าง ยิงเลเซอร์มาก็ไม่เว้น สอดใส้มาก็ไม่เหลือ เขาเผา เขาหลอมดูหมด

    ผู้ดูออก ย่อมไม่ให้ราคารับซื้อและแจ้งจับกุมเอาโทษไว้
    ผู้ดูไม่ออก ย่อมกระหยิ่มยิ้มย่องว่าสามารถทำกำไรได้แน่นอนแท้จริงพบกับความพินาศขาดทุนย่อยยับ ทรัพย์เก่าก็มลายไปตามจนสิ้น



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
    [​IMG]
    [​IMG]
    ธรรม ๕ ประการมีวิบากเป็นสองส่วน
    [๖๕๕] พ. ดูกรภารทวาชะ ครั้งแรกท่านได้ไปสู่ความเชื่อ เดี๋ยวนี้ท่านกล่าวการฟัง
    ตามกัน ดูกรภารทวาชะ ธรรม ๕ ประการนี้ มีวิบากเป็นสองส่วน ในปัจจุบัน ๕ ประการ
    เป็นไฉน? คือ ศรัทธา ความเชื่อ ๑ รุจิ ความชอบใจ ๑ อนุสสวะ การฟังตามกัน ๑ อาการ
    ปริวิตักกะ ความตรึกตามอาการ ๑ ทิฏฐินิชฌานขันติ ความทนได้ซึ่งความเพ่งด้วยทิฏฐิ ๑
    ธรรม ๕ ประการนี้แล มีวิบากเป็นสองส่วนในปัจจุบัน ดูกรภารทวาชะ ถึงแม้สิ่งที่เชื่อกัน
    ด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้นเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี ถึงแม้สิ่งที่ไม่เชื่อด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้น
    เป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี อนึ่ง สิ่งที่ชอบใจดีทีเดียว ... สิ่งที่ฟังตามกันมาด้วยดีทีเดียว ...
    สิ่งที่ตรึกไว้ด้วยดีทีเดียว ... สิ่งที่เพ่งแล้วด้วยดีทีเดียว เป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี ถึงแม้
    สิ่งที่ไม่ได้เพ่งด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้นเป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี

    ดูกรภารทวาชะ บุรุษผู้รู้แจ้งเมื่อจะตามรักษาความจริง ไม่ควรจะถึงความตกลงในข้อนั้นโดยส่วนเดียวว่า สิ่งนี้แหละจริงสิ่งอื่นเปล่า.


    กา. ท่านพระโคดม ก็ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร จึงจะชื่อว่าเป็นการตามรักษาสัจจะ
    บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการตาม
    รักษาสัจจะ?
    พยากรณ์การรักษาสัจจะ
    [๖๕๖] พ. ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีศรัทธา เขากล่าวว่า ศรัทธาของเราอย่างนี้
    ดังนี้ ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริง
    สิ่งอื่นเปล่า ดูกรภารทวาชะ การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตาม
    รักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
    เท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีความชอบใจ ... มีการ
    ฟังตามกัน ... มีความตรึกตามอาการ ... มีการทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิ เขากล่าวว่า การทนต่อ
    การเพ่งด้วยทิฏฐิของเราอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดย
    ส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดูกรภารทวาชะ การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วย
    ข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการ
    ตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน.
    กา. ท่านพระโคดม การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่า
    ตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็ง การรักษาสัจจะด้วยข้อ
    ปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การตรัสรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อม
    ตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงการตรัสรู้สัจจะ?
    พยากรณ์การรู้ตามสัจจะ
    [๖๕๗] พ. ดูกรภารทวาชะ ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือนิคม
    แห่งหนึ่งอยู่. คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว ย่อมใคร่ครวญดูในธรรม
    ๓ ประการ คือ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ๑ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ๑
    ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑ ว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ มีจิตอันธรรมเป็น
    ที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็พึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใด
    พึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น
    เช่นนั้น ได้หรือหนอ. เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่
    ตั้งแห่งความโลภ ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำ ท่านผู้นี้เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
    เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือว่าสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้น
    กาลนานแก่ผู้อื่น ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย.

    {0}อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่โลภฉะนั้น ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น ลึกซึ้ง
    เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ธรรมนั้นอันคนโลภแสดงไม่ได้โดยง่าย.{0}


    เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัด เธอ
    บริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ เมื่อนั้น เขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมเป็น
    ที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้ง
    แห่งความประทุษร้ายครอบงำ เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึง
    เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น
    อย่างนั้น ได้หรือหนอ. เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็น
    ที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงำ เมื่อไม่รู้จะพึง
    กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
    ทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ไม่มีเลย.

    {0}.อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายฉะนั้น ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น
    ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ธรรมนั้นอันบุคคลผู้ประทุษร้ายแสดงไม่ได้โดยง่าย.{0}


    เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ย่อมเห็น
    แจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย เมื่อนั้นเขาย่อมใคร่ครวญเธอให้
    ยิ่งขึ้นไปในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง มีจิตอันธรรม
    เป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึง
    เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น
    เช่นนั้น ได้หรือหนอ. เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็น
    ที่ตั้งแห่งความหลง ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
    เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้น
    กาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย.

    อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร
    วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่หลง ฉะนั้น ก็ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็น
    ได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ ธรรม
    นั้นอันบุคคลผู้หลงพึงแสดงไม่ได้โดยง่าย เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า
    เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง เมื่อนั้น เขาย่อมตั้งศรัทธาลงในเธอนั้นมั่นคง เขา
    เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เขา
    เงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังแล้วย่อมทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้
    เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่ง เมื่อธรรมควรแก่การเพ่งมีอยู่ ย่อม
    เกิดฉันทะ เกิดฉันทะแล้ว ย่อมขะมักเขม้น ครั้นขะมักเขม้นแล้ว ย่อมเทียบเคียง ครั้นเทียบเคียง
    แล้วย่อมตั้งความเพียร เป็นผู้มีใจแน่วแน่ ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งชัดด้วยกายและเห็นแจ้ง
    แทงตลอดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา ดูกรภารทวาชะ การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติ
    เพียงเท่านี้แล บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตรัสรู้
    สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว.
    กา. ท่านพระโคดม การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมตรัสรู้
    สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
    เท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะ
    ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงการบรรลุสัจจะ?
    พยากรณ์การบรรลุสัจจะ
    [๖๕๘] พ. ดูกรภารทวาชะ การเสพจนคุ้น การเจริญ การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้น
    แล ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ดูกรภารทวาชะ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
    บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติ
    เพียงเท่านี้.
    กา. ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุ
    สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
    เท่านี้ ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่าน
    พระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ?
    พยากรณ์ธรรมมีอุปการะมาก
    [๖๕๙] พ. ดูกรภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าไม่พึงตั้ง
    ความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียรจึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียร
    จึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
    ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา
    ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้งความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณา
    จึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นไฉน ข้าพเจ้า
    ขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ความอุตสาหะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้า
    ไม่พึงอุตสาหะ ก็พึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึงมี
    อุปการะมากแก่ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูล
    ถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด ก็พึง
    อุตสาหะไม่ได้ แต่เพราะฉันทะเกิดจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่าน
    พระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ธรรมที่ควรแก่การเพ่งมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลายไม่
    ควรแก่การเพ่ง ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การเพ่ง ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น
    ธรรมที่ควรแก่การเพ่งจึงมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรการเพ่งเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
    ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
    พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่
    การเพ่ง ถ้าไม่พึงใคร่ครวญเนื้อความนั้น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ควรแก่การเพ่ง แต่เพราะใคร่ครวญ
    เนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่ง ฉะนั้น ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ จึงมี
    อุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญา เครื่องใคร่ครวญเนื้อความเป็นไฉน
    ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การทรงจำธรรมไว้ มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ
    ถ้าไม่พึงทรงจำธรรมนั้น ก็พึงใคร่ครวญเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะทรงจำธรรมไว้ จึงใคร่ครวญ
    เนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจำธรรมไว้ จึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
    ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าไม่พึงฟังธรรม
    ก็พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรมจึงมีอุปการะ
    มากแก่การทรงจำธรรม.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
    ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าไม่พึงเงี่ยโสตลง
    ก็พึงฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมีอุปการะมาก
    แก่การฟังธรรม.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
    ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าไม่เข้าไปนั่งใกล้
    ก็พึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลง ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะ
    มากแก่การเงี่ยโสตลง.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
    ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าไม่พึงเข้าไปหา
    ก็พึงนั่งใกล้ไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้า
    ไปนั่งใกล้.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
    ท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึง
    เข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.
    กาปทิกมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก
    [๖๖๐] กา. ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตามรักษาสัจจะ ท่านพระโคดมทรง
    พยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น
    ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตรัสรู้สัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่
    ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจ ทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถาม
    ท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์ และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง
    ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมี
    อุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง
    ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงข้อใดๆ
    ท่านพระโคดมได้ทรงพยากรณ์ข้อนั้นๆ แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่
    ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า พวก
    สมณะหัวโล้นเชื้อสายคฤหบดีกัณหโคตร เกิดจากพระบาทท้าวมหาพรหม จะแปลกอะไรและจะ
    รู้ทั่วถึงธรรมที่ไหน พระโคดมผู้เจริญได้ทรงทำความรักสมณะในสมณะ ความเลื่อมใสสมณะใน
    สมณะ ความเคารพสมณะในสมณะ ให้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์แล้วหนอ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
    ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
    พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
    ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่
    พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
    ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันนี้
    เป็นต้นไป ฉะนี้แล.
    จบ จังกีสูตร ที่ ๕.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2022
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30


    เมื่อผู้ต้องวิมุตติแสดงอรรถ อักษรเหล่านั้นจะถูกถ่ายทอดลงมาด้วยการเจือกระแสวิมุตติ ให้กับ ผู้มีมรรคผลเป็นที่แน่นอนเป็นพลวปัจจัยในชาติ เพื่อผู้ที่จักเป็นสัตบุรุษในอนาคตกาล

    ส่วนอสัตบุรุษ น่ะรึ! วิมุตติและนิรุตติจักกลายเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจน่ากลัว ไปเลย


    ไม่ต้องแปลกใจ ว่าทำไมตนเองถึงต้องย้อนไปย้อนมา กลับไปอ่านบ่อยๆ อ่านอย่างไรก็ไม่รู้สึกเบื่อ หลายคนอ่านจนง่วงหลับไปเลยก็มี และจะรู้สึกว่าไม่พอ มีความปรารถนาจะอ่านจะทราบอีก ยิ่งฉากปะทะคารม ยิ่งมันส์!

    ซึ่งจะไม่เหมือน ตำรา หนังสือ นิยาย ที่เคยอ่าน รู้แล้วจบ ไม่กี่ครั้งเบื่อเพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ประกอบด้วยโลกุตรธรรมที่เป็นกุศลธรรม แต่เป็นโลกียธรรมอันอกุศลธรรม จึงมีความเหนื่อยหน่าย เป็นผลที่ประกอบ โมฆะบุคคลส่วนใหญ่ในโลกจึงเที่ยวแต่งภาษิต บทเพลง เรื่องราว ออกมาเพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ อันเจือด้วย กิเลส เพื่อหลอกลวงเวไนย?ตามอำนาจมาร ๕ ชักจูงอยู่เสมอๆ

    เหตุนี้ ครั้งหลังแต่การ สังคายนาพระธรรม อยู่เนืองนิตย์ หากไม่มีผู้บรรลุธรรม มาแสดงธรรมเทศนาที่เจือวิมุตติญานทัสนะ ให้แก่สรรพสัตว์ กระแสวิมุตติก็จะเลือนหายไป

    { กว่าจะรู้ตัว ก็ต้องกระแสวิมุตติ แม้ยังไม่ต้องวิมุตติโดยตรงด้วยตนเองก็ตาม }

    อนาคตก็ถูกรวมรวมตีพิมพ์ แปลภาษา เผยแผ่ไปอยู่แล้ว โดยเฉพาะ ปฎิสัมภิทา ที่เราแสดงไว้


    คุณสมบัติพิเศษของ วิมุตติญานทัสสนะและนิรุตติญานทัสสนะ จะเผยข้อบกพร่อง ความผิด ความไม่ถูกต้อง อันผิดวิสัยของมิจฉาทิฐิให้เปิดเผยขึ้น โดยไม่รู้ตัว

    ด้วยเหตุนี้ เหล่า ปฎิสัมภิทา จึงไร้พ่าย
    ———————————
    เอ่ะอ่ะอะไรๆ ก็อ้างนิรุตติๆ?

    คืออะไรกันแน่!

    จะวิสัชนาให้แบบ ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ

    มันเป็นการเติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง โดยมีคำตอบเฉพาะกาลอยู่แล้วไม่ดิ้นเป็นอื่น


    นิรุตติญานทัสสนะ ของ ปฎิสัมภิทา จะรวบรวมทุกสูตร ที่แสดง อรรถที่ระบุชัดเจนว่า มีธรรมชั้นลึก ประกอบโลกุตรธรรม เช่น

    อาณิสูตร
    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง
    จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษาแต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
    จบสูตรที่ ๗

    หากไม่ใช่ปฎิสัมภิทา จะทำอย่างไร?

    ข้อนี้มีอยู่หลังจากนี้ในการสอบสวนพระธรรมคำสั่งสอน ตรวจทานนอกจากหลัก มหาปเทส4ก็จะใช้วิมุตติญานทัสสนะและนิรุตติญานทัสสนะค้นหากถาธรรม โดยพิจารณาจาก
    1. “สุตตะ” หมายถึง คำสอนประเภทร้อยแก้ว โดยมากใช้กับ พระสูตร พระวินัยปิฎก นิทเทส ซึ่งต้นด้วย “เอวัมเม สุตตัง”
    2. “เคยยะ” หมายถึง คำสอนประเภทร้อยแก้วผสมผสานกับคำสอนประเภทร้อยกรอง หรืออาจพูดว่าเป็นร้อยแก้วที่มีท่วงทำนอง ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหลายนั่นเอง
    3. “เวยยากรณะ” หมายถึง คำสอนที่เน้นการจำแนกแจกแจงรายละเอียด โดยใช้หลักเกณฑ์ทางภาษา หรือ “ไวยากรณ์” อย่างเคร่งครัด “เวยยากรณะ”ใช้ร้อยแก้วในการสอน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถา
    4. “คาถา” หมายถึง คำสอนประเภทร้อยกรอง เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา
    5. “อุทานะ” หมายถึง คำสอนที่เป็นการเปล่งอุทาน ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน 82 สูตร
    6. “อิติวุตตกะ” หมายถึง คำสอนที่มีการอ้างอิง ขึ้นต้นด้วย “วุตตัง เหตัง” เช่น พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ 110 สูตร
    7. “ชาตกะ” หมายถึง คำสอนที่เป็นเรื่องราวในอดีตของพระพุทธเจ้า หรือ “ชาดก” 550 เรื่อง
    8. “อัพภูตธรรมะ” หมายถึง คำสอนที่เป็นเหตุอัศจรรย์ เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ โดยมีคำว่า “อัพภูตัง ภิกขเว”
    9. “เวทัลละ” หมายถึง คำสอนที่เป็นการโต้ตอบสนทนา หรือพระสูตรแบบถาม-ตอบเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจ หากไม่เข้าใจสามารถซักถามได้อีก เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น
    หัวข้อธรรมเหล่านี้ จะถูกเติมเต็ม รายละเอียด เหมือน ตัวต่อ จิ๊กซอว์ เพื่อเติมเต็มเรื่องราว ที่ขาดหายไป

    ผู้บรรลุปฎิสัมภิทา ระดับสูงสามารถปุจฉาและวิสัชนาได้ทุกอย่าง แม้จะเป็นภาษาศาสตร์ใด ล่วงเลยนับกัปป์หรืออสงไขยก็ตาม ชื่อว่า ความลับไม่มีในโลก

    {ไม่มีปฎิสัมภิทา ก็ไม่มีพระไตรปิฏก}

    ไม่มีปฎิสัมภิทา ก็ไม่มี พระสัพพัญญุตญาน

    รู้อย่างนี้ ทำไมไม่เรียน ไม่เอา


    33FE7A11-E434-4B48-9ABE-B41C411C2A6A.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    สงสัยอยู่ในอนาคต จะมีความปรารถนาแบบนี้ไหม?

    พุทธบริษัท 8: ข้าแต่พระศรีอาร์ยผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ปรารถนา จะเรียนรู้ ธรรมเหล่าอื่น ที่ไม่ใช่ 84,000 พระธรรมขันธ์พระพุทธเจ้าข้า ข้าพเจ้าทั้งหลายฯอยากได้ ใบประดู่ใบอื่น บนต้นทั้งหมด ข้าพเจ้าทั้งหลายฯไม่เอาใบที่ทรงเด็ดมาไว้แล้วนี้


    พ:เจริญพร


    17710905-EA59-41F9-93A0-9B878062FEA4.png
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2022
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    235EC1FE-90AA-46FA-A5CB-1E7C1650D11C.jpeg





    สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ
    เป็นปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน



    ธรรม ๕ ประการเหล่านี้คือ ธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย (ปจฺจยสมุปฺปนฺนํ) อย่างใดอย่างหนึ่ง ๑. นิพพาน ๑. อรรถกถาแห่งพระบาลีอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ๑. วิปากจิต ๑. กิริยาจิต ๑. บัณฑิตพึงทราบว่า อรรถะ. ญาณอันถึงความแตกฉานในอรรถะนั้นของพระอริยบุคคลผู้พิจารณาอรรถะนั้นอยู่ ชื่อว่าอรรถปฏิสัมภิทา.

    “ อารมณ์เดียวกับ ต้องมารับราชโองการ ที่ต้องอ่านเอง แล้วมีรับสั่งจากฝ่าบาท ให้ลงโทษประหาร คนในครอบครัวตระกูลของตนเอง ทั้งหมด 7 ชั่วโคตร “


    อ่านถึงตรงนี้ ไม่กล้าอ่านต่อเลย! กลัว! หายนะแทน รู้สึกหวาดเสียวมากๆ ที่ให้บุคคลสร้าง สัทธรรมปฎิรูป ใช้พระสูตรนี้ อัพเกรดตนเองและนำมาสั่งสอนคนแบบผิดๆ

    “ไม่ได้บรรลุธรรม เป็นพระอริยะ ผู้ต้องวิมุตติธรรม ผู้ได้ อมตธรรม สัจฉิกัฐปรมัตถะสัจจะ เป็นสัจจะที่ไม่ดิ้น จริงแท้ ไม่ลวงตา

    จะเอาพระสูตรนี้ไปตรวจสอบกับอะไร? ก็ในเมื่อ ต้นแบบ ไม่มี แม่บท ไม่มี จะเอาอะไร ใช้ฐานะใดไปตรวจสอบได้ ไม่ใช่ฐานะ

    {0}นี่เป็นข้อสอบของพระอริยะบุคคลและผู้บรรลุปฎิสัมภิทาญาน {0}

    เฮ้อ! เวรกรรมสัตว์โลก ขนาดมีผู้ขยายธรรมภาษิต ประกาศ ปฎิสัมภิทา เด่นชัดยิ่ง ในรอบกึ่งพุทธกาล มาฉุดช่วย ยังเข้าถึงยาก

    # ดีนะที่มีผู้มีปัญญาบารมี อยู่ เราขออนุโมทนาให้บุคคลเหล่านั้น !

    อสัตบุรุษ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่ง
    ตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของ
    ชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชน
    เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะ
    ประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย



    นี่หมายความว่าการ" สร้างสัทธรรมปฎิรูป " ตรงๆอยู่แล้ว ว่าจะทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
    เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
    ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด

    ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

    ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
    น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
    โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้


    สัตบุรุษ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วย
    พยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของ
    ชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอัน
    มาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ
    จบสมจิตตวรรคที่ ๔



    นี่หมายความว่า พยายามสอนเท่าที่ตนรู้ ตนมีความสามารถ ไตร่ตรองพิจารณาจดจำ อธิบายอย่างนั้น ยกตัวอย่างที่เป็นเลิศสุด ดั่ง ความที่พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ท่านดำรงต้นตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเช่นไร ก็สั่งสอนบรรดาศิษย์และพุทธบริษัทอื่น ๆ ให้ดำรงอยู่ในคุณธรรมนั้นด้วยพระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เป็นพระธรรมกถึก




    ความแตกต่าง ของคำว่า พยัญชนะปฎิรูป จะเป็นเหมือนเหรียญสองด้านได้อย่างไร? จะมีความหมายแตกต่างกันได้อย่างไร ทั้งดีละเลว ดีของคนเลว ดีของคนดี ความลึกซึ้งละเอียดอ่อนนี้ พยายามไตร่ตรองพิจารณา


    สมเด็จพระบรมมหาศาสดาท่านกล่าว แต่ต้นวรรคสมจิตตวรรคที่ ๔ แล้ว ว่า

    " ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่
    เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายนั้น
    ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคน
    อกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคน
    อกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ
    ย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลาย
    สรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้เป็นภูมิ
    สัตบุรุษ ฯ"

    “ลัทธิเผาต้นกล้วยโชว์”


    อย่าเอาแต่ท้ายวรรคมาจะสับสน ระหว่าง ในบทธรรมพยัญชนะปฎิรูปของอสัตบุรุษ และ ในบทธรรมพยัญชนะปฎิรูปของสัตบุรุษ ว่าแตกต่างกันอย่างไร?

    ถ้าไม่รู้พระสัทธรรมโดยปฎิสัมภิทาญาน ย่อมไม่มีทางที่จะรู้เข้าใจยัง พยัญชนะปฎิรูปหรือพยัญชนะใดๆอย่างแท้จริง นี่ยังไม่รวมถึง อพยัญชนะ คือไม่มีพยัญชนะทั้งมวลนั้นด้วยฯ

    66CCCDED-56D8-45D1-8B3C-130BDC0D904F.jpeg


    57B275AF-0BDD-45EC-B85C-8B51DFF4D496.jpeg

    6D56ABAB-3143-40DA-B4A3-23A4AD73675C.png
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2022
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    มงคลนิมิต: ประกอบด้วยปัญญา

    นอกจากนั้น ก็สอนพิเศษไปในตัวในสูตรนี้!

    “ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เทพบุตรนั้นอันหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ในนันทวัน เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้าอันเป็นทิพย์บำเรอตนอยู่ จะพึงทะเยอทะยานต่อคฤหบดีต่อบุตรคฤหบดีโน้น หรือต่อกามคุณห้าของมนุษย์ หรือจะพึงเวียนมาเพราะกามของมนุษย์บ้างหรือหนอ?

    ไม่เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามอันเป็นทิพย์ น่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่า กว่ากามของมนุษย์ “

    มาคัณฑิยสูตร

    https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=13&item=287




    พระวินัยธรสวรรค์ หรือ ตุลาการสวรรค์ เทพไท้องค์ใดหนอ?

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    พระวินัยธร คือ ผู้ทรงพระวินัย (วินัย พระวินัย + ธร คือ ทรงไว้) พระวินัยธร ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี เป็นผู้ชำนาญในพระวินัยในสิกขาบทต่างๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ พระภิกษุผู้เป็นเลิศในทางทรงพระวินัย คือ พระอุบาลีเถระคุณสมบัติของพระวินัยธรมีแสดงไว้มากมายหลายประการ เช่น รู้จักอาบัติและมิใช่อาบัติ รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก เป็นต้น

    พระภิกษุผู้ทรงพระวินัยนั้น ย่อมได้รับผลจากการเป็นผู้ทรงพระวินัย คือ เป็นผู้คุ้มครองรักษาสำรวมตามพระวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ เป็นที่พึ่งสำหรับภิกษุผู้เกิดความระแวงสงสัยในสิกขาบทข้อต่างๆ เป็นผู้แกล้วกล้าในท่ามกลางสงฆ์ ข่มเหล่าชนผู้เป็นข้าศึกด้วยธรรม เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม

    {0}พระผู้มีพระภาค ได้ทรงสดับคำสนทนานี้ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรกับมาคัณฑิยปริพาชก ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์. ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ประทับนั่งบนเครื่องลาดหญ้าที่เขาลาดไว้.

    ลำดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

    ****พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเขาว่า ดูกรภารทวาชะ ท่านกับมาคัณฑิยปริพาชกปรารภถึงเครื่องลาดหญ้านี้ ได้เจรจาโต้ตอบกันอย่างไรบ้าง? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว {พราหมณ์ภารทวาชโคตรตกใจ} เกิดโลมชาติชูชัน*****

    อารมณ์นี้! คือ ถึงไม่ได้กราบทูล ก็ทรงรู้ทรงทราบดีอยู่แล้ว!ว่ามีเหตุนี้ /เป็นการตอกย้ำ ว่ามิได้ทรงนิ่งเฉย!

    ผู้นิมิต:จะไม่ตกใจได้อย่างไร?

    05:30นิมิต:การพิพากษา
    ได้รับเรื่องร้องเรียนเรียบร้อย สำหรับแก๊ง ฤาษีแปลงสาร สร้างสัทธรรมปฎิรูป

    ผู้รักษากราบทูล:เดินออกไปที่ส่วนข้างหนึ่งอันสมควร ด้วยความเคารพยิ่ง!

    ทัณฑ์ใดหนอ?


    แนวทางสำหรับโลกมนุษย์:
    https://elearning.mcu.ac.th/pluginfile.php/10576/mod_resource/content/1/2.pdf
    CE3E00E7-62D8-4C6C-9375-94C0CB19368B.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30



    ว่าด้วยการอุปมา: หลักสูตรพิเศษชั้น อนุบาล ปฎิสัมภิทา

    ปุจฉา:ปฎิสัมภิทา มีผลกระทบโดยตรงอย่างไรกับพระไตรปิฏกที่ตีพิมพ์และจารจารึกมาไว้ในสหโลกธาตุ?

    วิสัชนา:ปฎิสัมภิทาญาน ทำให้พระไตรปิฏกที่จารจารึกตีพิมพ์ในสหโลกธาตุนั้นมีชีวิต

    ปุจฉา:อย่างนั้น?

    วิสัชนา:ถูก



    E900A47E-8AE3-4A27-8EEF-04E72D4380C7.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    4396E47A-6569-45F1-A0C6-B511F1A01B42.jpeg



    จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
    แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้
    นั้นแลควรกำหนดรู้” ฯลฯ
    จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
    แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจ
    นี้นั้นเรากำหนดรู้แล้ว”
    คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
    เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
    “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
    เพราะมีสภาวะอย่างไร
    คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
    เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
    เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
    สว่างไสว
    จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
    เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม
    เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
    ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม-
    ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๘}
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]


    ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร


    สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
    รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ
    เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ
    เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
    อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
    อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
    นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
    ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และ
    เป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
    ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถ
    เหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
    ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา
    ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
    ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
    เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
    เรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

    FBFECA62-D595-4C18-9517-0C2EB2BB5D61.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    6236DE8A-E1C0-414C-A873-5A9FC1433E23.jpeg

    เป็นสิ่งไม่มีใครรู้? มาก่อน!

    เจ็บแทนได้! แบ่งเบาได้! ด้วยแรงอธิษฐาน

    เรื่องนี้ไม่ใช่ครั้งแรก! เป็นครั้งที่ ๒ ในรอบ ๑๐ ปีนี้


    สำหรับอีกเรื่อง! ผลจาก “ ปฎิรูป “กระทู้ขอให้เลิกใช้คำว่าปฎิรูป!
    https://palungjit.org/threads/ขอส่ง...-ปฎิรูป-เปลี่ยนเป็นคำอื่นเสียจะดีกว่า.561522/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30


    0E909D39-54CA-4146-8403-D5ECAE8F6452.jpeg

    1AE64705-65D7-4096-BE36-0DCF4A2D0EAC.jpeg
    3A57685D-DA61-46AD-97DE-680BA05E6CDD.jpeg 5E923983-1D6B-432C-819C-71FF55B70B10.jpeg



    เวลากระชั้นชิด เข้ามาเรื่อยๆ กำลังใจเต็ม!

    พรหมจรรย์ ตบะ ตามแรงกรรมจัดสรร
    ผู้ใดปฎิบัติ ผู้นั้นได้สามัญผลที่เหมาะกับตนเอง

    โลกใบนี้กว้างใหญ่ ยังมีผู้บำเพ็ญตบะอีกมากมายที่ลำบากแสนเข็ญ เปรียบเทียบกับเราท่านนี้ !ความสุขสบายในโลกียสุขไม่เคยทำให้ใครได้ดี

    แล้วเส้นทางการดำเนินชีวิตของท่านทั้งหลาย ฯ

    หนทางสู่จุดมุ่งหมายไปทางในภพชาติ

    จักเป็นอย่างไรในบั้นปลายชีวิต ก่อนหมดลมหายใจ

    ตามหาตนเอง ค้นหาตนเองเจอหรือยัง?

    ขอให้ท่านทั้งหลายได้มรรคได้ผลทุกๆประการ
    ตามที่ใจปรารถนาเถิด

    ขออนุโมทนาฯ

    สถานะ: ธรรมบุตรดาบส

    ***เป็นแค่พยานรู้เห็น เป็นแค่คนเดินผ่านมา***



    #หากจะมีสถานที่ใด สถานที่หนึ่ง ในอนาคต ที่นั่นยินดีตอนรับผู้คงแก่เรียน มีมรรคผลในชาติ ไม่แบ่งแยกนิกาย ลัทธิ หรือศาสนา ใครใคร่เรียนฝึกศึกษา เชิญได้ตามสะดวก
    #กระจกใส 3ด้าน ไม่มีพฤติกรรมอันน่าระอาย ไม่สะสม ใช้แสงเทียน ตะเกียงน้ำมัน ไม่มีที่ลับตา เพราะอิริยาบถบริสุทธิ์ นั่ง นอน กิน ดื่ม เดิน ธรรมดา

    ปฎิบัติอย่างไร?สอนอย่างนั้น

    แม้เราเองก็แสวงหาผู้สามารถที่สอนธรรมได้อย่างเป็นไปตามลำดับโดยร่ำเรียนมาโดยตามลำดับที่ถูกต้อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2022
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    1619EAD7-796B-4E06-8263-D8EAE42CC982.jpeg อย่าตกหลุมพรางของพยามาร เล่นนอกเกมส์

    ธาตุ ๔ ….เอาอยู่ไหมเนี่ย!

    เล่นนอกเกมส์อีกแล้ว! มาร ๕ ครอบงำ

    7B77492C-5127-4B0B-A354-EFA3125C12A4.jpeg

    เที่ยวนี้ โจมตี เรื่องบิณฑบาต เครายาว

    ยังดีที่ยังมีผู้มีสัมมาทิฏฐิ มากกว่า ฝ่าย มิจฉาทิฏฐิ

    แต่ถ้า ฝ่ายมิจฉาทิฏฐิ มากกว่าล่ะ!


    ตัวคูณมันมีอยู่แล้ว คือ สัทธรรมปฎิรูป นี่ถ้าติด ฟรีสปินด้วยจบเลย (เคยเล่นสล๊อตไหม? อย่างนั้นล่ะ)

    DF71F9EA-AE1F-4E80-A2A3-7EA8BA314258.jpeg

    ข้อถกเถียงที่เกิดในโลกมนุษย์ที่ส่งผลหลัก คือเรื่องธรรมทั้งมวล เหตุการ์ณในโลกมนุษย์ย่อมสงผลถึงโลกธาตุอื่นด้วย ทั้งในสวรรค์และนรก เมื่อถกเถียงจึงวุ่นวายหาข้อยุติมิได้ โดยเฉพาะในเรื่องพระสัทธรรมและอสัทธรรม เมื่อพระสัทธรรมเริ่มเลือนลางไปจากใจของหมู่สัตว์ในโลกธาตุ

    หากเมื่อใดโลกบังเกิดอลัชชีสรรเสริญแต่งเติมซึ่งสัทธรรมปฎิรูปย่ำยีเสียแล้วซึ่งพระสัทธรรมก้าวล่วงเป็นใหญ่ในสังฆปริมณฑล ทุกภพภูมินรกสวรรค์จึงเกิดวิปริตแปรปรวนมากขึ้น จากที่เป็นอยู่ธรรมดาที่ไม่เที่ยงอย่างนั้นและอย่างนั้นอยู่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ย่อมเกิดภัยพิบัติแก่โลกมนุษย์นั้นด้วย เมื่อไร้ซึ่งพระสัทธรรม อสัทธรรมจึงโชติช่วง โลกาย่อมวินาศ ณ ครานั้น

    เมื่ออสัทธรรมกล้าแข็งถึงที่สุด เมื่อโลกธาตุทั้งหลายสั่นไหว บุคคลทั้งหลายปราถนาพระสัทธรรม จึงจะมีการถือกำเนิดจุติธรรมเป็นอิทัปปัจยตา แม้ผู้รู้แล้วยังทำได้แค่อยากและปราถนาก็ได้พึ่งธรรมพึ่งตนเฝ้าคอย เพียงเท่านั้น

    ผู้ใดเล่าหนอจะมาไถพรวนผืนดินถิ่นธรรมนี้ให้ราบลุ่มเขียวขจี

    “ภาคภูมิใจ ไทยทำเอง”



    378453A0-8C13-4AD5-AF16-57D6B3B4AE07.jpeg

    กำลังพูดถึงเรื่องฟรีสปิน /ในอนาคต กรณีพระชื่อดังที่มีลูกศิษย์มากๆ ปาราชิก ทำผิดพระวินัยครั้งใหญ่ เสื่อมเสียครั้งใหญ่ หรือมีผู้ทำลายสงฆ์ครั้งใหญ่ เช่น ไม่ชำระหรือ ฉ้อโกง นิตยภัต !แห่งสงฆ์


    # คิดถึง ท่าน พระมหาเถระ กังขาเรวตะ จัง อุตส่าห์ทำให้เป็นตัวอย่างละ!


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2022
  12. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    หากระเบิดพร้อมกันหลายๆลูกอย่างรุนแรงก็บอกลากันได้เลย

     
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    พระพุทธมนต์ ที่ทรงให้พระสาวกแก้ว อัญเชิญพระปริตรเจริญพระพุทธมนต์แด่พระเจ้าปเสนธิโกศล


    { ทำนองที่แท้จริง ของ อภยปริตร }โดย ปฎิสัมภิทาญาน


    อภยปริตร



    ตำนาน

    ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินนิมิต ถึงอาเพศ ๑๖ อย่าง แล้วให้เกิดความหวาดหวั่น ต่อมรณภัยที่มองไม่เห็น จึงทรงเล่าพระสุบินนั้น ให้พราหมณ์ปุโรหิตรับฟัง พราหมณ์ปุโรหิตพยากรณ์ว่าจะบังเกิดเหตุการณ์ให้พระองค์มีอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด รวมทั้งราชสมบัติด้วย

    ปุโรหิตนั้น ได้ทูลแนะวิธีป้องกันอันตราย ด้วยบัญญัติวิธี คือ เอาสัตว์อย่างละ ๔ ๆ มาฆ่าบูชายัญ

    พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงมีรับสั่งให้จัดเตรียม ประจำพิธีและสิ่งของ ตามถ้อยคำของปุโรหิตบอก

    ครานั้น พระนางมัลลิกาเทวี พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทูลขึ้นว่า เสด็จพี่อย่าพึ่งทำยัญพิธีกรรมใด ๆ เลย ขอได้โปรดเสด็จไปทูลถาม ถึงพระสุบินนิมิตนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู มิมีสิ่งใดที่พระพุทธองค์ไปรู้

    ราชาโกศล จึงเสด็จพร้อมมเหสีและบริวาร ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร แจ้งทูลถามถึงสุบินนิมิตทั้ง ๑๖ ข้อนั้น

    พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ภัยอันตรายใด ๆจะพึงบัง เกิดมีแก่พระองค์ จากเหตุแห่งพระสุบินนิมิตนั้น หามีไม่ สุบินนิมิตของพระองค์ เป็นสิ่งบอกเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หวังจากเราตถาคตนิพพานไปแล้ว และในที่สุดพระผู้มีพระภาค จึงทรงขอให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ล้มเลิกยัญพิธีทั้งปวงเสีย

    บัดนี้ถึงกาลอันควรแล้ว ขอเชิญพระสาวกแก้ว ได้โปรดสาธยาย อะภะยะปริตร เพื่อพิชิตอวมงคลทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น ให้พินาศไป ด้วยเทอญ






    เนื้อหาของอภัยปริตรกล่าวถึงการขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัยช่วยบำบัดปัดเป่าลางร้ายอันเกิดจากเสียงนกที่ทำให้ไม่สบายใจ บาปเคราะห์ ฝันร้ายและสิ่งอันเป็นอัปมงคลทั้งหลายทั้งปวง ให้พินาศไป



    อภยปริตร

    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ

    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท

    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง

    พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ

    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ

    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท

    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง

    ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ

    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ

    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท

    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง

    สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ



    คำแปล

    ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยพุทธานุภาพ ขอความเลวร้าย ทั้งปวงนั้นจงพินาศไปสิ้น

    ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยธรรมมานุภาพ ขอความเลวร้ายทั้งปวงนั้นจงพินาศไปสิ้น

    ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยสังฆานุภาพ ขอความเลวร้าย ทั้งปวงนั้นจงพินาศไปสิ้นฯ


    อรรถกถา มหาสุบินชาดกว่าด้วย มหาสุบิน
    [​IMG]พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมหาสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ลาวูนิ สีทนฺติ ดังนี้.
    [​IMG]ดังได้สดับมา วันหนึ่ง พระเจ้าโกศลมหาราชเสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ในปัจฉิมยาม ทอดพระเนตรเห็นพระสุบินนิมิตอันใหญ่หลวง ๑๖ ประการ ทรงตระหนกพระทัยตื่นพระบรรทม ทรงพระดำริว่า เพราะเราเห็นสุบินนิมิตเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้างหนอ เป็นผู้อันความสะดุ้งต่อมรณภัยคุกคามแล้ว ทรงประทับเหนือพระแท่นที่ไสยาสน์นั่นแล จนล่วงราตรีกาล
    [​IMG]ครั้นรุ่งเช้า พวกพราหมณ์ปุโรหิตเข้าเฝ้ากราบทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์บรรทมเป็นสุขหรือ พระเจ้าข้า?
    [​IMG]รับสั่งตอบว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย เราจักมีความสุขได้อย่างไร เมื่อคืนนี้เวลาใกล้รุ่ง เราเห็นสุบินนิมิต ๑๖ ข้อ ตั้งแต่เห็นสุบินนิมิตเหล่านั้นแล้ว เราถึงความหวาดกลัวเป็นกำลัง
    [​IMG]เมื่อพวกปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า โปรดตรัสเล่าเถิดพระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สดับแล้ว จักทำนายถวายได้ จึงตรัสเล่า พระสุบินที่ทรงเห็นแล้วให้พวกพราหมณ์ฟัง แล้วตรัสว่า เพราะเหตุเห็นสุบินเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้าง?
    [​IMG]พวกพราหมณ์พากันสลัดมือ. เมื่อรับสั่งถามว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงพากันสลัดมือเล่า? พวกพราหมณ์จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระสุบินทั้งหลายร้ายกาจนัก
    [​IMG]รับสั่งถามว่า พระสุบินเหล่านั้นจักมีผลเป็นประการใด? พวกพราหมณ์ จึงพากันกราบทูลว่า จักมีอันตรายใน ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อันตรายแก่ราชสมบัติ ๑ อันตรายคือโรคจะเบียดเบียน ๑ อันตรายแก่พระชนม์ ๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
    [​IMG]รับสั่งถามว่า พอจะแก้ไขได้ หรือแก้ไขไม่ได้.
    [​IMG]พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ พระสุบินเหล่านี้หมดทางแก้ไขเป็นแน่แท้ เพราะร้ายแรงยิ่งนัก แต่พวกข้าพระองค์ทั้งหลายจักกระทำให้พอแก้ไขได้ เมื่อพวกหม่อมฉันไม่สามารถเพื่อจะแก้ไขพระสุบินเหล่านี้ได้แล้ว ขึ้นชื่อว่าความเป็นผู้สำเร็จการศึกษา จักอำนวยประโยชน์อะไร?
    [​IMG]รับสั่งถามว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลายจักกระทำอย่างไรเล่าถึงจักให้คืนคลายได้ พวกพราหมณ์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์ต้องบูชายัญด้วยวัตถุอย่างละ ๔ ทุกอย่าง พระเจ้าข้า.
    [​IMG]พระราชาทรงสะดุ้งพระทัยตรัสว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราขอมอบชีวิตไว้ในมือของพวกท่านเถิด พวกท่านรีบกระทำความสวัสดีแก่เราเร็วๆ เถิด.
    [​IMG]พวกพราหมณ์พากันร่าเริงยินดีว่า พวกเราต้องได้ทรัพย์มาก จักต้องได้ของเคี้ยวกินมากๆ แล้วพากันกราบทูลปลอบพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า อย่าได้ทรงวิตกเลยพระเจ้าข้า แล้วพากันออกจากราชนิเวศน์ จัดทำหลุมบูชายัญที่นอกพระนคร จับฝูงสัตว์ ๔ เท้ามากเหล่า มัดเข้าไว้ที่หลักยัญ รวบรวมฝูงนกเข้าไว้เสร็จแล้ว เที่ยวกันขวักไขว่ไปมา กล่าวว่า เราควรจะได้สิ่งนี้ๆ.
    [​IMG]ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีทรงทราบเหตุนั้น ก็เข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกพราหมณ์พากันเที่ยวขวักไขว่ไปมา มีเรื่องอะไรหรือเพคะ? พระราชาตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอมัวแต่สุขสบายจึงไม่รู้ว่า อสรพิษมันสัญจรอยู่ใกล้ๆ หูของพวกเรา. พระนางทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช เรื่องนั้นคืออะไรเพคะ? พระราชารับสั่งว่า เราฝันร้ายถึงปานนี้ พวกพราหมณ์พากันทำนายว่า อันตรายใน ๓ อย่างไม่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จักปรากฏ เพื่อบำบัดอันตรายเหล่านั้น ต้องบูชายัญ จึงต้องสัญจรไปมาอยู่บ่อยๆ
    [​IMG]พระนางมัลลิกากราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็ผู้ที่เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทูลกระหม่อมได้ทูลถามถึงการแก้ไขพระสุบินแล้วหรือเพคะ? ทรงรับสั่งถามว่า นางผู้เจริญ พระผู้เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกนั้น เป็นใครกันเล่า?
    [​IMG]พระนางกราบทูลว่า ทูลกระหม่อมไม่ทรงรู้จัก มหาพราหมณ์โคดมผู้ตถาคต หมดกิเลสบริสุทธิ์แล้ว เป็นสัพพัญญู เป็นบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดอกหรือเพคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นคงทรงทราบเหตุในพระสุบินแน่นอน ขอเชิญทูลกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินไปกราบทูลถามเถิด เพคะ. พระราชาทรงรับสั่งว่า ดีละ เทวีแล้วเสด็จไปยังพระวิหาร ถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วประทับนั่งอยู่.
    [​IMG]พระศาสดาทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ตรัสถามว่า มหาบพิตร เหตุไรเล่า บพิตรจึงเสด็จมา ดุจมีราชกิจด่วน. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใกล้รุ่ง หม่อมฉันเห็นมหาสุบิน ๑๖ ข้อ สะดุ้งกลัว บอกเล่าแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ทำนายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระสุบินร้ายแรงนัก เพื่อระงับสุบินเหล่านั้นต้องบูชายัญ ด้วยยัญญวัตถุ อย่างละ ๔ ครบทุกอย่าง แล้วพากันเตรียมบูชายัญ ฝูงสัตว์เป็นอันมากถูกมรณภัยคุกคาม ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นบุคคลผู้เลิศในโลก ทั้งเทวโลก เญยยธรรมที่เข้าไปกำหนดอดีต อนาคต ปัจจุบัน ที่ยังไม่มาถึงซึ่งคัลลองในญาณมุขของพระองค์นั้นมิได้มีเลย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดทำนายผลแห่งสุบินของหม่อมฉันเหล่านั้นเถิด พระเจ้าข้า.
    [​IMG]พระศาสดาตรัสว่า ขอถวายพระพร เป็นเช่นนั้นทีเดียวมหาบพิตร ในโลกทั้งเทวโลก เว้นตถาคตเสียแล้ว ผู้อื่นที่จะได้ชื่อว่าสามารถรู้เหตุ หรือผลของพระสุบินเหล่านี้ ไม่มีเลย ตถาคตจักทำนายให้มหาบพิตร ก็แต่ว่ามหาบพิตรจงตรัสบอกพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นนั้นเถิด.
    [​IMG]พระราชาทรงรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า เริ่มกราบทูลพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นอย่างถี่ถ้วน โดยทรงวางหัวข้อไว้ดังนี้ ว่า
    [​IMG]โคอุสุภราชทั้งหลาย ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ สุนัขจิ้งจอก ๑ หม้อน้ำ ๑ สระโบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ แก่นจันทน์ ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงส์ทองล้อมกา ๑ เสือกลัวแพะ ๑
    [​IMG]แล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นสุบินข้อ ๑ อย่างนี้ก่อนว่าสุบินข้อ ๒ อย่างนี้ว่าข้อที่ ๓ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.สุบินข้อที่ ๔ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.สุบินที่ ๕ เถิด มหาบพิตร.สุบินที่ ๖ เถิด มหาบพิตร.สุบินที่ ๗ เถิด มหาบพิตร.สุบินข้อที่ ๘ เถิด มหาบพิตร.สุบินที่ ๙ เถิด มหาบพิตร.พระสุบินข้อที่ ๑๐ เถิด มหาบพิตร.สุบินที่ ๑๑ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.สุบินที่ ๑๒ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.สุบินที่ ๑๓ เถิด มหาบพิตร.พระสุบินข้อที่ ๑๔ เถิด มหาบพิตร.นิมิตที่ ๑๕ เถิด.สุบินที่ ๑๖ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    [​IMG]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลก่อนๆ เสือเหลืองพากันกัดกินฝูงแกะ แต่หม่อมฉันได้เห็นฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง กัดกินอยู่มุ่มม่ำๆ ทีนั้น เสืออื่นๆ คือเสือดาว เสือโคร่ง เห็นฝูงแกะอยู่ห่างๆ ก็สะดุ้งกลัว ถึงความสยดสยอง พากันวิ่งหนีหลบเข้าพุ่มไม้และป่ารก ซุกซ่อนเพราะกลัวฝูงแกะ.
    [​IMG]หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    [​IMG]มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลแห่งพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    [​IMG]ในครั้งนั้น พวกไม่มีสกุลจักเป็นราชวัลลภ เป็นใหญ่เป็นโต พวกคนมีสกุลจักอับเฉาตกยาก ราชวัลลภเหล่านั้นพากันยังพระราชาให้ทรงเชื่อถือถ้อยคำของตน มีกำลังในสถานที่ราชการ มีโรงศาลเป็นต้น ก็พากันรุกเอาที่ดินไร่นาเรือกสวนเป็นต้น อันตกทอดสืบมาของพวกมีสกุลทั้งหลายว่า ที่เหล่านี้เป็นของพวกเรา เมื่อพวกผู้มีสกุลเหล่านั้นโต้เถียงว่า ไม่ใช่ของพวกท่าน เป็นของพวกเรา แล้วพากันมาฟ้องร้องยังโรงศาลเป็นต้น พวกราชวัลลภก็พากันบอกให้เฆี่ยนตีด้วยหวายเป็นต้น จับคอไสออกไป พร้อมกับข่มขู่คุกคามว่า พ่อเจ้าไม่รู้ประมาณตน มาหาเรื่องกับพวกเรา เดี๋ยวจักไปทูลพระราชา ให้ลงพระราชอาญาต่างๆ มีตัดตีน ตัดมือ เป็นต้น
    [​IMG]พวกผู้มีสกุลกลัวเกรงพวกราชวัลลภ ต่างก็ยินยอมให้ที่ทางที่เป็นของตนว่า ที่ทางเหล่านี้ ถ้าเป็นของท่าน ก็เชิญครอบครองเถิด แล้วพากันกลับบ้านเรือนของตน นอนหวาดผวาไปตามๆ กัน
    [​IMG]แม้ภิกษุผู้ชั่วช้าทั้งหลายเล่า ก็จักพากันเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ตามชอบใจ พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ไม่ได้ที่พำนัก ก็พากันเข้าป่า แอบแฝงอยู่ในที่รกๆ
    [​IMG]ข้อที่กุลบุตรผู้มีชาติสกุลทั้งหลาย และภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลาย ถูกคนชาติชั่ว และถูกภิกษุผู้ลามกทั้งหลายเข้าไปประทุษร้ายอย่างนี้ จักเป็นเหมือนกาลที่พวกเสือดาว และเสือโคร่งทั้งหลาย พากันหลบหนีเพราะกลัวฝูงแกะ ฉะนั้น.
    [​IMG]ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร ด้วยสุบินนี้ที่มหาบพิตรเห็นแล้ว ปรารภอนาคตทั้งนั้น แต่พวกพราหมณ์มิได้ทำนายสุบินนั้น ด้วยความจงรักภักดีในพระองค์ โดยถูกต้องเท่าที่ถูกที่ควร ทำนายไปเพราะอาศัยการเลี้ยงชีพ เพราะเห็นแก่อามิสว่า พวกเราจักได้ทรัพย์กันมากๆ
    [​IMG]ครั้นทรงทำนายผลแห่งสุบินใหญ่ๆ ๑๖ ข้อ อย่างนี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่บพิตรได้เห็นสุบินเหล่านี้ แม้พระราชาทั้งหลายแต่ก่อนๆ ก็ได้ทรงเห็นแล้วเหมือนกัน แม้พวกพราหมณ์ก็ถือเอาสุบินเหล่านี้ นับเข้าในยอดยัญพิธีอย่างนี้เหมือนกัน ภายหลังอาศัยคำแนะนำที่พวกเป็นบัณฑิตพากันกราบทูล จึงถามพระโพธิสัตว์ แม้ท่านโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อทำนายสุบินเหล่านี้แก่พระราชาเหล่านั้น ก็พากันทำนายทำนองนี้แหละ
    [​IMG]อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
    [​IMG]ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์กำเนิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ เจริญวัยแล้วบวชเป็นฤๅษี ให้อภิญญาสมาบัติเกิดแล้ว ได้ประลองฌานอยู่ในหิมวันตประเทศ
    [​IMG]ในครั้งนั้น ณ พระนครพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นพระสุบินเหล่านี้ โดยทำนองนี้เหมือนกัน มีพระดำรัสถามพวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ปรารภจะบูชายัญอย่างนี้เหมือนกัน บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น ท่านปุโรหิตมีศิษย์เป็นบัณฑิตฉลาด กล่าวกะอาจารย์ว่า ท่านอาจารย์ครับ คัมภีร์พระเวทย์ทั้ง ๓ ท่านอาจารย์ให้ผมเรียนจบแล้ว ในพระเวทย์ทั้ง ๓ คัมภีร์นั้น ข้อที่ว่า การฆ่าคนหนึ่งแล้ว ทำให้เกิดความสวัสดีแก่อีกคนหนึ่ง ไม่มีเลยมิใช่หรือ ขอรับ?
    [​IMG]ท่านอาจารย์ตอบว่า พ่อคุณ ด้วยอุบายนี้ทรัพย์จำนวนมากจักเกิดแก่พวกเรา ส่วนเจ้าชะรอยอยากจะรักษาพระราชทรัพย์กระมัง?
    [​IMG]มาณพกล่าวว่า ท่านอาจารย์ครับ ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงกระทำงานของพวกท่านไปเถิด กระผมจักกระทำอะไรในสำนักของพวกท่านได้. แล้วเดินเรื่อยไปจนถึงพระราชอุทยาน.
    [​IMG]ในวันนั้นเอง แม้พระบรมโพธิสัตว์ก็รู้เหตุนั้น คิดว่า วันนี้ เมื่อเราไปถึงถิ่นมนุษย์ ความพ้นจากการจองจำจักมีแก่มหาชน ดังนี้แล้ว จึงเหาะมาทางอากาศ ลงที่อุทยานนั่งเหนือแผ่นศิลาอันเป็นมงคล ประหนึ่งรูปที่หล่อด้วยทองฉะนั้น มาณพเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ได้ทำการต้อนรับพระโพธิสัตว์ แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทำการปฏิสันถารอย่างไพเราะกับเขาแล้ว ถามว่า เป็นอย่างไรเล่าหนอ พ่อมาณพ พระราชายังจะเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ?
    [​IMG]มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระราชายังได้พระนามว่า ธรรมิกราชอยู่ดอกครับ ก็แต่ว่า พวกพราหมณ์กำลังชักจูงพระองค์ให้วิ่งไปผิดทาง พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสบอกแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกเราจักต้องบูชายัญ แล้วเตรียมการทันที พระคุณเจ้าผู้เจริญขอรับ การที่พระคุณเจ้าทำให้พระราชาทรงเข้าพระทัยว่า ขึ้นชื่อว่าผลแห่งสุบินนี้เป็นอย่างนี้ แล้วช่วยให้มหาชนพ้นจากภัย จะมิควรหรือขอรับ?
    [​IMG]พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อมาณพ เราเองก็ไม่รู้จักพระราชา พระราชาเล่าก็มิได้ทรงรู้จักเรา ถ้าพระองค์เสด็จมาถาม ณ ที่นี้ เราพึงบอกแก่พระองค์ได้.
    [​IMG]มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจักนำพระองค์เสด็จมา ขอพระคุณเจ้าได้โปรดนั่งรอการมาของกระผม สักครู่หนึ่งนะขอรับ ขอให้พระโพธิสัตว์ปฏิญญาแล้ว ก็ไปสู่พระราชสำนัก กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ดาบสผู้เที่ยวไปในอากาศได้องค์หนึ่ง ลงมาในอุทยานของพระองค์ กล่าวว่า จักทำนายผลของพระสุบินที่พระองค์ทรงเห็น กำลังรอพระองค์อยู่. พระราชาทรงสดับคำของมาณพนั้น ก็รีบเสด็จไปพระอุทยาน ด้วยบริวารเป็นอันมากทันที ทรงไหว้พระดาบสแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มีพระดำรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระคุณเจ้าทราบผลแห่งสุบินที่กระผมเห็นหรือ?
    [​IMG]พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมภาพทราบ.
    [​IMG]พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น นิมนต์พระคุณเจ้าทำนายเถิด.
    [​IMG]พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมภาพจะทำนายถวาย เชิญมหาบพิตรตรัสเล่าพระสุบินตามที่ทรงเห็นให้อาตมภาพฟังก่อนเถิด.
    [​IMG]พระราชาตรัสว่า ดีละ พระคุณเจ้าผู้เจริญ พลางตรัสว่า :-
    [​IMG]โคอุสุภราช ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ นางสุนัขจิ้งจอก ๑ ตุ่มน้ำ ๑ โบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ จันทน์แดง ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงษ์ทองล้อมกา ๑ เสือดาว เสือโคร่งกลัวแพะจริงๆ ๑ ดังนี้.
    [​IMG]แล้วตรัสบอกสุบิน ตามนิยมที่พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสบอก นั่นเอง
    [​IMG]แม้พระโพธิสัตว์ก็ทำนายผลแห่งสุบินเหล่านั้นโดยพิสดาร ตามทำนองที่พระศาสดาทรงทำนายในบัดนี้แหละ ในที่สุดถวายพระพรดังนี้ ด้วยตนเองว่า
    [​IMG]จะเป็นไปต่อเมื่อโลกถึงจุดเสื่อม ยังไม่มีในยุคนี้.

    [​IMG]อรรถาธิบายในคำนั้นมีดังนี้ คือ
    [​IMG]ดูก่อนมหาบพิตร ผลแห่งพระสุบินเหล่านั้นมีดังนี้ คือการบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าพระสุบินเหล่านั้น ย่อมดำเนินไปผิดหลักเกณฑ์ ท่านกล่าวอธิบายว่า ย่อมเป็นไปอย่างผิดตรงกันข้าม ความเสื่อมจากความจริง.
    [​IMG]เพราะเหตุไร?
    [​IMG]เพราะเหตุว่า ผลแห่งสุบินเหล่านี้ จักมีในกาลที่โลกถึงจุดเสื่อม คือในกาลที่ต่างถือเอาข้อที่มิใช่เหตุ ว่าเป็นเหตุ ในกาลที่ทิ้งเหตุเสีย ว่ามิใช่เหตุ ในกาลที่ถือเอาข้อที่ไม่จริง ว่าเป็นจริง ในกาลที่ละทิ้งข้อที่จริงเสีย ว่าไม่เป็นจริง ในกาลที่พวกอลัชชี มีมากขึ้น และในกาลที่พวกลัชชี ลดน้อยถอยลง ยังไม่มีในยุคนี้ หมายความว่าแต่ผลของพระสุบินเหล่านี้ ยังไม่มีในบัดนี้ คือในรัชกาลของมหาบพิตร หรือในศาสนาของตถาคตนี้ ในยุคนี้ คือในชั่วบุรุษปัจจุบันนี้
    [​IMG]เพราะเหตุนั้น การบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าผลแห่งพระสุบินเหล่านี้ จึงเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน เลิกการบูชายัญนั้นเสียเถิด ภัยหรือความสะดุ้งอันมีพระสุบินนี้เป็นเหตุ ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    [​IMG]พระมหาบุรุษทำพระราชาให้เบาพระทัย ปลดปล่อยมหาชนจากการจองจำแล้ว กลับเหาะขึ้นอากาศ ถวายโอวาทแด่พระราชา ชักจูงให้ดำรงมั่นในศีล ๕ แล้วถวายพระพรว่า ตั้งแต่บัดนี้ต่อไป มหาบพิตรอย่าได้ร่วมคิดกับพราหมณ์บูชายัญ ที่มีชื่อว่า ปสุฆาตยัญ (ยัญฆ่าสัตว์) อีกต่อไป
    [​IMG]ครั้นแสดงธรรมแล้ว กลับไปที่อยู่ของตนทางอากาศนั่นแล ฝ่ายพระราชาตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.
    [​IMG]พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเลิกบูชายัญด้วยพระพุทธดำรัสว่า
    [​IMG]เพราะพระสุบินเป็นปัจจัย ภัยยังไม่มีแก่มหาบพิตรดอก มหาบพิตรจงสั่งให้เลิกยัญเสียเถิด พระราชทานชีวิตทานแก่มหาชนแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
    [​IMG]พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ ในครั้งนี้
    [​IMG]มาณพได้มาเป็น พระสารีบุตร
    [​IMG]ส่วนพระดาบสได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

    [​IMG]ก็และครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว
    [​IMG]พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายยกบททั้ง ๓ มีอสุภาเป็นอาทิขึ้นสู่อรรถกถา กล่าวบททั้ง ๕ มีลาวูนิเป็นอาทิ ยกขึ้นสู่บาลีเอกนิบาต ด้วยประการฉะนี้.


    [​IMG]จบอรรถกถามหาสุบินชาดกที่ ๗[​IMG]
    [​IMG]-----------------------------------------------------[​IMG]




    เราจักสวดภาวนาในราตรีนี้ ถวายฯ

    เสียดายที่เราไม่ได้อยู่ในฐานะภิกษุ ดังเดิม ไม่อย่างนั้น อานุภาพ หากถอดร่างทิพย์ไปอย่างเดิมได้ คงเป็นการดีแน่แท้ฯ

    2CD8B9A3-F6D1-4FB5-9766-6E2334257531.jpeg

    “สิ่งมงคลที่ปรากฎประจำตัว”

    #เหล็กไหลจักรพรรดิที่เคยสถิตกายข้า เจ้าอยู่ที่ใดหนอ?
    ผลึกธาตุมรกตอัญมณีประจำทวีปทำอะไร?ได้บ้าง?
    ต้นไม้ประจำทวีป?
    โลหิตพระอิศวร?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2022
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต
    {O}องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    สมเด็จพระบรมมหาศาสดา{O}


    ทรงตรัสสอนเหล่าเวไนยสัตว์เอาไว้ว่า

    จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
    องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต


    พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
    เมื่อเล็งเห็นประโยชน์สูงสุด พึงสละทั้งอวัยวะ และชีวิต เพื่อรักษาธรรมไว้

    /และนี่ก็คือ หนึ่งในเหตุผลที่เราจักต้องสละโลกียสุขไป เพื่อตามปกป้อง อภยปริตร ด้วยชีวิตที่เหลืออยู่ เรื่องราวนี้ จะมีผู้สนใจมากในอนาคตกาล อย่าพึ่งรีบตาย เจ้าโมฆะบุรุษอลัชชีและสาวกผู้โง่เขลาที่เห็นดีเห็นงามด้วย! อีกไม่นานนักจะถึงเวลาคิดบัญชี

    ตั้งแต่ออกโปรตายตัวเหลืองด้วยสัทธรรมปฎิรูป นี่คงเป็นสินค้ายอดฮิตขายดีตลอดกาลจริงๆสินะ! รีบตายกันจริงๆ



    53101F97-EFD6-499F-BFF4-81CE586482A4.jpeg

    C2721576-0495-40D6-8B37-C733AE2B035B.jpeg


    ทุกๆกึ่งพุทธกาล ในวาระสมัยของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ อภยปริตร จะปรากฎขึ้น ด้วยเหตุแห่งการถูกทำลายลง ด้วยสัทธรรมปฎิรูป อันกระทำการอันเลว ยกขึ้นประกาศแก่สาธุชนฯว่า เป็นคำแต่งใหม่ จัดเข้าหมวดเดรัจฉานวิชา โดย โมฆะบุรุษเหล่าอามิสทายาทเหล่านั้นฯ

    เราเป็นผู้อัญเชิญพระปริตร เมื่อวันเพ็ญเดือนแปด ๒๕๕๔

    ระยะเวลาก็ได้ผ่านไป 10 ปีแล้ว ห้วงเวลาหลังจากนี้ ท่านทั้งหลายฯ ก็อย่าได้ประมาท เฝ้าเพียรพยายามศึกษาพระธรรม ปฎิบัติ ปริยัติ ให้ได้มากที่สุดเถิดฯ เพื่อประโยชน์ทั้งปวงต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2022
  16. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30



    วันที่อัญเชิญพระไตรปิฏกพระธรรมคำภีร์ธรรมแม่บททิพยวิเศษบริสุทธิธรรม พระสัทธรรม ทรงเสด็จมาโปรด ขณะที่รถโดยสารพระสงฆ์วัดก้างปลา 70 รูป เดินทางออกจากวัดพะโค๊ะจังหวัดสงขลาเพื่อกลับวัดก้างปลาจังหวัดนครศรีธรรมราช

    ในรสบัสโดยสาร เปิดเพลง และตลกทีวีในรถเสียงดัง จนต้องทอดถอนใจ นำผ้ารัดอกไปรัดต้นขาทั้งสองข้างให้กระชับเพื่อปรารถนาทำสมาธิข่มจิตใจจากทุกข์อันเกิดขึ้น นำผ้าอีกผืน รัดศรีษะปิดดวงตา นั่งภาวนาคิดถึงพระธาตุ ที่วัดพะโค๊ะพอครั้นทำอย่างนั้นแล้ว เรื่องมหัศจรรย์นี้ก็บังเกิดขึ้น

    สังฆทานเมื่ออุทิศแล้ว อานุภาพมากอย่างนี้!

    การอธิษฐาน ขณะรับบิณฑบาต แผ่บุญทั่วสารทิศ นรก โลกมนุษย์ สวรรค์ ผู้อยากรับก็จงได้รับ ไม่มีสิทธิ์รับก็จงได้รับ ไม่รู้ไม่เห็นก็จงได้รับ อธิษฐานเรารับบิณฑบาตนี้เพื่อกุศลผลบุญ มิได้หวังลาภอามิส

    พยานรู้เห็น 2 รูปซ้าย นับตังค์ ถามถึงเสียงสังคีตได้ยินอย่างตนหรือไม่ สรุป ไม่ได้ยิน ได้ยินคนเดียว
    รูปขวา ท่านช่วยจำทำนองให้เรา ตามนี้ๆ ซ้อมจำทำนองเสียง 3 รอบ
    แล้วขึ้นไปใหม่

    :เวลาปรากฎ 5นาที บนชั้นเมฆ ร่างทิพย์ ดวงแก้วสูญญตาธรรมดึงขึ้นบนชั้นเมฆ ร่างต้นอยู่ในรถกำลังเคลื่อนที่ /ไม่มีอาการตื่นตระหนกตกใจ! มีแต่อุทานว่า “ ข้าพเจ้ายังไม่สามารถจดจำและอ่านออกได้ ขอให้ข้าพเจ้าได้อ่านออกเถิดฯ อ่านได้ทันแค่บทเดียว เพราะทรงคลี่ออกยาวสุดลูกหูลูกตา อนิจจา ลาภบุญฯ

    อาราธนาพระปริตร อภยปริตร ๑ จบ สวดตามทำนองเสียงสังคีตอันเป็นทิพย์

    :เวลาโลกมนุษย์ ปกติต้องใช้เวลาเดินอย่างน้อย 1:45- 2 :00ชั่วโมง แต่ได้สวดจบ เพียงรอบเดียวไม่เกิน 5 นาที กลับถึงวัด

    ไม่แปลกใจ ที่การ สังคายนาครั้งแรกใช้เวลาถึง ๗ เดือน

    ถ้าหากประเมินคร่าวๆ 5 นาทีทิพย์ เท่ากับ 2 ชั่วโมง รอคำนวน

    60 นาที 1 ชั่วโมงทิพย์ ในดวงสูญญตาธรรม เท่ากับ 24 ชั่วโมง 1 วันในโลกมนุษย์


    B190B2B8-0D69-4E5C-826D-FE757EF41503.jpeg E1013F83-C024-42A2-A527-5D058AD8456B.jpeg 64889FEA-E6BC-44E1-AEF3-76D8B26E37DB.jpeg 9ED8E61A-9897-4BAC-8478-DD29552335E4.jpeg 7497F4F8-6916-4899-8414-0F3586B54D0D.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2022
  17. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30


    C4280543-F643-4E65-BD23-6B1EFFC06454.jpeg 9775488D-BA6F-4EBF-B729-D8E076327BD2.jpeg 1F17C287-7292-48FC-97B2-CBF0780AC739.jpeg CDB76C84-3724-4725-A5A3-0FAC834754F7.jpeg

    ใช้ตัวเลขประเมินใกล้เคียง 7 เดือนได้ 30x7=210วัน
    5040 ชั่วโมงโลกมนุษย์

    เวลาที่พระธรรมสังคาหกมหาเถระ พระอรหันต์ปฎิสัมภิทา ๕๐๐ รูป ใช้จริง ในดวงสูญญตาธรรมโดยปฎิสัมภิทาญานในการสังคายนาครั้งแรก 1050 นาที หรือ 43 วันทิพย์ โดยประมาณ

    ขอนอบน้อมสักการะยิ่ง ฯ


    และ {อจินไตย ปเทสะญาน}ที่ไม่สามารถคำนวนนับได้



    A3F30965-340B-4827-A915-185BDA7BCA7A.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2022
  18. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30
    1B25E3F0-F13C-465E-A0EA-76BFEB8537D7.jpeg




    พระมหากัสสปกับพระอริยสงฆ์ยกปฐมสังคายนา สืบอายุพระศาสนามาถึงบัดนี้
    ตอนถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธเจ้าที่เมืองกุสินารา เป็นเวลาที่พระสงฆ์สาวกซึ่งเดินทางมาชุมนุมกันที่เมืองนี้มีจำนวนมากกว่าครั้งใดๆ จึงเมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว พระมหากัสสปซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ได้จัดให้มีการประชุมพระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรกขึ้นที่เมืองกุสินารา
    เรื่องที่ประชุม คือ เรื่องจะสังคายนาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้ ท่านได้ปรารภเรื่องเสี้ยนหนามพระศาสนา ที่ท่านได้ประสบเมื่อระหว่างเดินทางมา ที่พระภิกษุแก่กล่าวแสดงความยินดีที่พระพุทธเจ้านิพพานให้ที่ประชุมรับทราบด้วย
    ที่ประชุมมีมติเลือกพระสงฆ์เถระ ๓ รูป เป็นประธานทำหน้าที่สังคายนา คือ พระมหากัสสป พระอุบาลี และพระอานนท์ ในการนี้ให้พระมหากัสสปเป็นประธานใหญ่ ให้มีหน้าที่คัดเลือกจำนวนสมาชิกสงฆ์ผู้จะเข้าร่วมประชุมทำสังคายนา พระมหากัสสปคัดเลือกพระสงฆ์ได้ทั้งหมด ๕๐๐ รูป แล้วตกลงเลือกเอานครราชคฤห์ แห่งแคว้นมคธ เป็นสถานที่ประชุม ส่วนเวลาประชุมคือตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไป หรืออีก ๓ เดือนนับแต่นี้
    หลังจากนั้น พระสงฆ์ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมประชุมทำสังคายนา ต่างเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองราชคฤห์ เมื่อไปถึงทางคณะสงฆ์ได้ขอความอุปถัมภ์จากบ้านเมืองแห่งนี้ ในด้านการซ่อมวิหารที่พักสงฆ์ ตกแต่งสถานที่ประชุมซึ่งจัดขึ้นในถ้ำปาสาณคูหา ในภูเขาเวภารบรรพตซึ่งอยู่นอกเมือง
    ทางคณะสงฆ์ได้ขอให้ทางบ้านเมืองประกาศห้ามนักบวชและพระสงฆ์อื่นๆ ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประชุมทำสังคายนา เข้ามาอยู่ในเมืองราชคฤห์ ตลอดเวลาที่คณะสงฆ์ทั้งหมดทำสังคายนาอยู่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันอุปสรรคขวากหนามอันอาจจะเกิดมี เป็นเหตุให้การประชุมทำสังคายนาเป็นไปโดยความไม่เรียบร้อยนั่นเอง
    สังคายนาครั้งนั้นคือการรวบรวมพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ และที่พระสาวกได้ทรงจำกันไว้ แล้วนำมาชำระสอบสวนกันในที่ประชุมว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่าอย่างนี้ ทรงบัญญัติไว้ว่าอย่างนี้ ได้ความตรงกันแล้ว ก็เรียบเรียงเป็นบทท่องจำใช้สวดสืบต่อกันมา เพราะสมัยนั้นยังไม่มีตัวหนังสือพอที่จารึกพระธรรมวินัย การสังคายนาครั้งนั้นจึงทำกันด้วยความทรงจำและท่องจำกันด้วยปาก
    ในการสังคายนาครั้งนั้นนับเป็นครั้งแรก จึงเรียกว่า ปฐมสังคายนา ใช้เวลาทำกันอยู่ถึง ๗ เดือนจึงเสร็จสิ้นลง




    บ้างก็บอกว่า ถ้ำมีขนาดเล็กเกินไป !
    ผ่านมานาน อาจยุบตัวลง หรืออาจ อธิษฐาน หรือ ผนังถ้ำ พระธรณี ธาตุดิน ท่าน บูชา ยกขยายผนังและเพดานถ้ำในเวลานั้น และไม่ให้ผู้ใดล่วงล้ำเข้าไปอีกเพราะเป็นเขตศักดิ์
    สิทธ์

    หากให้วิสัชนาไปอีกชั้นหนึ่ง ก็เข้าไปเพียง ๓ รูป เพื่อบันทึกธรรม โดยมุขปาฐะก็ดี จารจารึกก็ดี ด้วยทรงญานปฎิสัมภิทา ก็ดี แต่ไม่ใช่ฐานะของเหล่าปฎิสัมภิทาญาน ฉนั้น จึงตัดไป เพราะสามารถเข้าถึงพระสัทธรรมเจ้า อัญเชิญเสด็จได้โดยตรง โดยไม่ต้องท่องสวดท่องจำเลยก็สามารถ

    #คุณสมบัติของปฎิสัมภิทาญาน เมื่อเข้าถึงบทธรรมโดยสภาวะแล้ว ไม่มีทางลืมบทธรรมทั้งหลายที่เข้าถึงจนวันตาย! ล๊อก! (กลายเป็นพระไตรปิฏกเคลื่อนที่ในสังขารมนุษย์)

    หรือ ด้วย กายทิพย์ ทิ้งร่างต้นร่างหลักไว้ ยังไงก็ต้องทิ้งร่างหลักไว้ ไม่อย่างนั้นเข้าไปถึงไม่ได้



    ไม่รู้เห็นจริง วิสัชนาไม่ได้ เหลือแต่เพียง อดีตังสญานเพียงเท่านั้นจึงจะรู้ว่าเรากล่าวจริงหรือเท็จ เรื่องสังคายนา ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับ เหล่าปฎิสัมภิทา ทั้งหลายฯ

    ครั้นแต่หนหลังมา จึงใช้เวลาน้อยลง เพราะทำหน้าที่ตรวจทานเพียงเท่านั้น เมื่อเหล่าปฎิสัมภิทา หายไป ก็ถูกถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบันตามครรลองแห่งยุคสมัย ที่มีเกิดดับและล่มสลาย เพราะเหล่าปฎิสัมภิทา มีน้อย พระพุทธศาสนาจึงแตกแยกนิกายไป เมื่อใดกันเล่าหนอ พระผู้มีปฎิสัมภิทาญานจะบังเกิดขึ้นโดยมาก พยามารเล่นนอกเกมส์ ทางเราก็โกงลงมาเกิดบ้างเสียนี่กระไรเล่า!

    A7ABECE6-2CE7-4DFA-B10E-12397E4DFC0E.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2022
  19. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30


    คาถา อุบัติสุขาวดี

    นำ มอ ออ มี ตอ ผ่อ เย
    ตอ ทอ เค ตอ เย
    ตอ ตี เย ทอ
    ออ มี หลี
    ตู ผ่อ ปี
    ออ มี หลี่ ตอ
    สิด ตำ ผ่อ ปี
    ออ มี หลี่ ตอ
    ปี เกีย หลั่ง ตี
    ออ มี หลี่ ตอ
    ปี เกีย หลั่ง ตอ
    เค มี ยือ
    เค เค นอ
    จี ตอ เกีย ลี ซอ ผ่อ ฮอ
    (3 จบ )



    F0D15B1F-0940-4542-B745-7D80B2AAE936.jpeg

    1404D4B2-8F99-4C84-A656-E6AF1CC20FC0.jpeg



    ทุกๆลมหายใจเข้าออกของเราทุกๆวันนี้ มีแต่คิดถึงพระธรรม และการปฎิบัติธรรม นั่งภาวนาพิจารณาใคร่ครวญพระธรรม เพียงเท่านั้น! ไม่มีกิจอื่นที่สำคัญไปกว่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2022
  20. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +30


    The king of mantra.

    ในคำสอนของพระพุทธเจ้า "Shurangama Mantra" ถือเป็นราชาแห่งมนต์ทั้งหมดเพราะเป็นบทที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุด ความเจริญรุ่งเรืองหรือการเสื่อมสลายของพระพุทธศาสนาขึ้นอยู่กับ "Shurangama Mantra" นี้

    ที่มาของ "Shurangama Mantra" คือตอนที่พระอานนท์กำลังบิณฑบาตซึ่งกำลังสะสมอาหารที่ได้รับจากการบริจาคได้ผ่านบ้านโสเภณีแห่งหนึ่ง น่าเสียดายที่เขาถูกมนต์ของ Kapila ท่องโดยลูกสาวของ Matangi พระอานนท์กำลังจะสิ้นสภาพความเป็นพระภิกษุเนื่องจากอารมณ์ทางเพศที่มีต่อสตรีผู้นี้ เมื่อตระหนักว่าพระอานนท์กำลังตกอยู่ในอันตราย พระศากยมุนีพุทธเจ้าจึงเปล่งแสงจากเพดานพระเศียร และพระกายที่แปลงร่างได้ก็ประกาศมนต์สำคัญนี้ เขาได้ส่ง "Shurangama Mantra" ให้กับ Manjusri Bodhisattva และขอให้ช่วย Ananda เมื่อพระอานนท์หลุดพ้นจากมนตร์อันชั่วร้ายและเข้าร่วมกับพระพุทธเจ้า เขาได้สำนึกผิดและขอให้พระพุทธเจ้ากล่าวซ้ำ "Shurangama Mantra" อีกครั้งต่อหน้าพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ และเทวดา ดังนั้น,

    "Shurangama" แปลว่า "แข็งแกร่งและแข็งแกร่งในที่สุด" เนื้อหาของ "Shurangama Mantra" ปราบปีศาจสวรรค์และควบคุมคนภายนอก ทุกบรรทัดตั้งแต่ต้นจนจบมาจากยอดธรรมของพระพุทธเจ้า แต่ละบรรทัดมีหน้าที่ของตัวเอง ความพิศวงลึกลับ และพลังอันเหลือเชื่อ ท่องมนต์ทั้งหมดทำให้สวรรค์สั่นสะเทือนและแผ่นดินสั่นสะเทือน แม้ว่าปีศาจจะมีการแทรกซึมทางวิญญาณและมนต์ของมันเอง แต่ “Shurangama Mantra” ก็สามารถทะลวงมนต์ทั้งหมดของมันและไร้ผลได้ พลังของ “Shurangama Mantra” สามารถทำให้ปีศาจลดและเลิกพฤติกรรมได้ ดังนั้นผีและวิญญาณจึงคร่ำครวญ ปีศาจจะรักษาระยะห่าง และผีสางภูเขาและแม่น้ำจะซ่อนตัวอยู่ห่างๆ อานุภาพแห่งมนตราสามารถขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง และทำให้ผู้คนสามารถสั่งสมบุญและคุณงามความดีได้ทุกประเภท

    ดังนั้น ตราบใดที่มีคนท่อง “Shurangama Mantra” เพียงคนเดียว ปีศาจ ผี และสิ่งที่แปลกประหลาดก็ไม่กล้าแสดงตัวในโลกนี้ พวกเขากลัวพลังของ “Shurangama Mantra” เพื่อป้องกันไม่ให้สวรรค์และโลกถูกทำลาย อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีใครท่อง “Shurangama Mantra” อีกต่อไป ปีศาจและผีจะออกมาจากที่ซ่อนและธรรมะที่ถูกต้องจะไม่ถูกยึดถืออีกต่อไป เมื่อนั้นโลกจะถูกทำลายอย่างรวดเร็ว

    ทุกบรรทัดของ “Shurangama Mantra” มีความหมายไร้ขีดจำกัดและอานุภาพมากมาย ภูติผี วิญญาณ เทวดาผู้รักษาธรรม พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ทันทีที่สวดชื่อสมาชิกในครอบครัวทุกคนจะปฏิบัติตามกฎและไม่กล้าทำร้ายใคร

    ชูรังกามะสูตรย่อ
    (ปัดเป่าอสัทธรรมทั้งมวล)
    จากบทสวดที่ยาวที่สุดของมหายาน

    โอม อนาเล อนาเล
    วิซาเด วิซาเด
    วิรา ไว จรา ดาเร
    บัณฑะ บัณฑะนี
    ไว จรา ปานี พัท
    ฮุม ภรุม พัท
    สวาหะ

    แม้ในปฎิสัมภิทา ๔ นั้น อรรถะคือผลธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย ย่อมปรากฏดุจทุกขสัจจะ และเป็นธรรมอันใครๆ จะพึงรู้ได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น ท่านจึงยกอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดงก่อน, ต่อแต่นั้นก็ยกธรรมปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพราะอรรถะนั้นเป็นวิสัยแห่งธรรมอันเป็นเหตุ, ต่อแต่นั้นจึงยกเอานิรุตติปฎิสัมภิทาญาณ เพราะอรรถะและธรรมทั้ง ๒ นั้นเป็นวิสัยแห่งนิรุตติ, และต่อจากนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณนั้น ท่านก็ยกเอาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพราะเป็นไปในญาณแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น.

    อรรถกถาวิหารัฏฐสมาปัตตัฏฐญาณุทเทส
    ว่าด้วยวิหารัฏฐญาณและสมาปัตตัฏฐญาณ
    ญาณทั้งหลายอื่นจากนี้ ๓ ญาณมีวิหารัฏฐญาณเป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงต่อจากปฏิสัมภิทาญาณ เพราะเกิดแก่พระอริยบุคคลเท่านั้น และเพราะเป็นประเภทแห่งปฏิสัมภิทา.
    จริงอยู่ วิหารัฏฐญาณเป็นธรรมปฏิสัมภิทา, สมาปัตตัฏฐญาณเป็นอรรถปฏิสัมภิทา.
    แท้จริง ญาณในสภาวธรรม ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทากถาว่า๑-ธรรมปฏิสัมภิทา.
    ส่วนญาณในนิพพานเป็นอรรถปฏิสัมภิทานั่นแหละ.

    ผู้ได้พบได้เห็นพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท ย่อมจักเป็นผู้ได้เสวยวิมุตติธรรมตั้งแต่ระดับ วิกขัมภนวิมุตติ ตทังควิมุตติ ตลอดจนขึ้นไปถึง สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ

    9A7F4AEB-F421-4ACA-B868-B2F30FE08650.jpeg

    ศึกษาพื้นฐาน ต้นกำเนิดแห่งศรัทธา และจึง ผนวกเอา ๙ นวังคสัตถุศาสตร์ จะดึงดูด หลอมรวม แยกแยะ จัดสรร จำแนก แบ่งออก แตกแขนง ก่อปัจจัย {มหาปัฎฐาน}


    ชัดเจนขนาดนี้ จะไปไหมพระนิพพาน!


    เมื่อไหร่? จะศึกษา เมื่อไหร่? จะพิจารณา จะให้ใครที่ไหนมาบอกในตอนนี้!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2022

แชร์หน้านี้

Loading...