เรื่องเด่น พุทธทำนาย ยุคกึ่งพุทธกาล จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่ (ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 สิงหาคม 2016.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สำหรับคติความเชื่อจากภาพสลักตัว “มกระ” (Makara) สัตว์ประหลาดศักดิ์สิทธิ์
    ที่ปรากฏในยุคเริ่มแรก ทั้งที่กลุ่มสถูปสาญจี สถูปภารหุต หรือที่สถูปอมราวดีนั้น น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากคติความเชื่อในวัฒนธรรมกรีก จากสัตว์ผสมแพะกับปลาอย่าง “แคปิคอล” (Capricorn) ที่ในตำนานของกรีก เรียกว่า “แพะทะเล” หรือร่างแปลงของเทพแพน และสัตว์เทพอย่าง “ฮิปโปแคม” (Hippocamp) ม้าทะเล พาหนะของเทพเจ้าโปไซดอน

    ภาพโมเซอิค รูปแคปิคอล (Capricorn) บนพื้นห้องน้ำสาธารณะในกรุงโรม

    เมื่อสัตว์เทพผู้มีอำนาจแห่งการปกปักษ์ของกรีก – โรมัน –โฟลินีเชียน เข้าทางเข้าสู่อินเดียอินเดียเหนือ กลายมาเป็นสัตว์เทวะผสมทั้ง ช้าง จระเข้ กวาง นกยูงและปลา กลายมาเป็น “มังกรทะเล” (Sea Dragon) พาหนะของพระแม่คงคา (Doddess Ganga) และพระวรุณเทพ (Varuna deva) (ยังคงเกี่ยวข้องกับน้ำเหมือนเดิม) “มกระ”ในฐานะของสัตว์ศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ ถูกยกย่องให้เป็นผู้ปกปักษ์รักษาทางเข้าศาสนาสถานทั้งพุทธและฮินดู อีกทั้งยังปรากฏเป็นหนึ่งใน 12 ราศี ที่เรียกว่า “ราศีมังกร”(Capricorn Zodiac) อีกด้วยครับ

    ภาพสลักของฮิปโปแคม (Hippocamp) บันผนังหน้าบันชั้นลด ในศิลปะแบบกรีก – เบคเตรีย พุทธศตวรรษที่ 6

    ภาพสลักของฮิปโปแคม ในรูปของตัว “มกระ” ประดับรั่วเวทิกา ในยุคศุงคะ พุทธศตวรรษที่ 4

    ศิลปกรรมตัว“มกระ” สัตว์ศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ ยังส่งอิทธิพลลงมาสู่อินเดียใต้ แล้วจึงข้ามเข้ามาสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นไปจนถึงวัฒนธรรมจีน ในประเทศไทยพบภาพสลักเก่าแก่ของตัว “มกระ” มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 – 11 ที่สระแก้ว เมืองโบราณศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี และลวดลายบนพนักพุทธบัลลังก์ของพระพุทธรูปนั่ง ศิลปะแบบทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13

    ภาพตัวมกระคายซุ้ม ศิลปะแบบคุปตะ สถูปประธานภายในถ้ำอชันตาหมายเลข 19 พุทธศตวรรษที่ 9 – 10

    ภาพวาด (Painting) ตัวมกระ บนเพดานหลังคาถ้ำอชันตา จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงนิวเดลี

    ภาพสลักตัวมกระ ที่ขอบทางทิศเหนือของสระแก้ว เมืองโบราณศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี พุทธศตวรรษที่ 10 -11

    ตัว “มกระ” บนคานของพนักพุทธบัลลังก์ จากเมืองอินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ศิลปะแบบทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12


    พญานาค
    ถ้ามีเรื่องเล่าและประวัติยาวนานขนาดนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีหรือไม่มี ถ้าจะวิสัชนาความเกี่ยวโยงผลสุดท้ายเหล่าเทพเจ้าก็ต้องมาสยบต่อพระพุทธศาสนาหมด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7192fdca.jpg
      7192fdca.jpg
      ขนาดไฟล์:
      122.9 KB
      เปิดดู:
      391
    • 7192a4d3.jpg
      7192a4d3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.8 KB
      เปิดดู:
      130
    • 7192cd76.jpg
      7192cd76.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.1 KB
      เปิดดู:
      163
    • 719220fd.jpg
      719220fd.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.7 KB
      เปิดดู:
      140
    • 7192487c.jpg
      7192487c.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.6 KB
      เปิดดู:
      156
    • 7192c16f.jpg
      7192c16f.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.5 KB
      เปิดดู:
      185
    • 7192c56a.jpg
      7192c56a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.7 KB
      เปิดดู:
      185
    • 7192a8c1.jpg
      7192a8c1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      116.4 KB
      เปิดดู:
      224
    • 7192b9bf.jpg
      7192b9bf.jpg
      ขนาดไฟล์:
      102.8 KB
      เปิดดู:
      131
    • 1221756794.jpg
      1221756794.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63 KB
      เปิดดู:
      198
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สถูปคู่ (Twins Stupas)สถูปที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา เมืองติเลาราโกต (Tilaurakot)
    หรือกรุงกบิลพัสดุ์ (Kapilbastu) ฝั่งประเทศเนปาล ศิลปะโมริยะ – ศุงคะ – อานธระ พุทธศตวรรษที่ 3 – 5


    ถ้าจริงตามหลักฐานก็บุญตา สาธุ สาธุ สาธุ ตามเก็บสัญญาเก่าๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7192081e.jpg
      7192081e.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.2 KB
      เปิดดู:
      180
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ภาพสลักหินประดับพระสถูป รูปความฝันของพระนางสิริมหามายา ที่ Kapilvastu Sikri เมืองPakhtunkhwa
    แสดงภาพของอาคารที่พักแบบกรีก ที่มีหลังคารูปเหลี่ยมคางหมู แค้วนคันธาระ พุทธศตวรรษที่ 6 – 7
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7192e18f.jpg
      7192e18f.jpg
      ขนาดไฟล์:
      93.7 KB
      เปิดดู:
      146
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ภาพสลักหิน รูปเจ้าชายสิทธัตถะ (Siddhartha) ในพระราชวัง ศิลปะคันธาระ พุทธศตวรรษที่ 7
    แสดงให้เห็นรูปแบบของอาคารเคหสถานที่มีหน้าบันโค้งแบบเกือกม้าปลายแหลม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 719223b3.jpg
      719223b3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.2 KB
      เปิดดู:
      121
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ประติมากรรมของหัวเสาโครินเธียน (Corinthian capital) ในศิลปะของการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมกรีกและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา นิยมใช้เถาใบไม้อะแคนตัส ลายเถาองุ่นและดอกทานตะวัน (ที่มีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์) ตามแบบศิลปะของกรีก ที่อาจมีรูปสลักของช้าง ที่หมายถึง “อำนาจแห่งพระพุทธองค์”(ตามคติเก่าแก่ก่อนมีพระพุทธรูป) รองรับชั้นคานหลังคา (Entablature) ของอาคารแบบกรีก ที่มีลวดลาย (Frieze relief) เรื่องราวของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ประดับอยู่

    ยอดเสาโครินเธียน ประดับลายใบอะแคนตัส ผสมผสานภาพพระโพธิสัตว์ (สิทธัตถะ) และพระพุทธเจ้า
    ศิลปะผสมของกรีก – ปาร์เธียนกับพุทธศาสนา ในคันธาระ

    ยอดเสาโครินเธียนประดับฐานพระสถูปที่มีพระพุทธรูปแทรกอยู่ตรงกลาง ศิลปะคันธาระ พุทธศตวรรษที่ 7 – 8
    จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ (Guimet Museum) ประเทศฝรั่งเศส
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 719235d4.jpg
      719235d4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.7 KB
      เปิดดู:
      133
    • 7192ce8e.jpg
      7192ce8e.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89 KB
      เปิดดู:
      165
    • 719281a9.jpg
      719281a9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56 KB
      เปิดดู:
      312
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ภาพสลักหินประดับสถูปรูปพุทธศาสนิกชนและพุทธบริษัท (Devotees) เดินเวียนรอบพระสถูป (Circum)
    ศิลปะแบบคันธาระ พุทธศตวรรษที่ 7 – 8

    สำนักวัดนาป่าพง การเดินเวียนเทียน ไม่มีในพุทธวจนเป็นคำแต่งใหม่

    ช่วยพิจารณาด้วยกันครับ สงสัยเขาจะเดินจงกลมตามแบบพุทธวจนวัดนาป่าพงรอบสถูป ไม่ใช่แบบจงกรมนะ " แต่จงกลม ชูมือขึ้นแล้วหมุนๆ"

    [ame]https://youtu.be/Vd_RSQcTh0E[/ame]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 71921d59.jpg
      71921d59.jpg
      ขนาดไฟล์:
      75 KB
      เปิดดู:
      155
    • 7192f248.jpg
      7192f248.jpg
      ขนาดไฟล์:
      82.8 KB
      เปิดดู:
      135
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2016
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผอบโลหะบรรจุพระบรมสารีริกฐาน ที่พบในกรุของมหาสถูปกนิษกะ ศิลปะแบบกุษาณะ พุทธศตวรรษที่ 7
    ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติช มิวเซียม


    ขนไปหมดอะไรๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 71922f82.jpg
      71922f82.jpg
      ขนาดไฟล์:
      131.4 KB
      เปิดดู:
      148
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คติความเชื่อของการสร้างรูปเคารพพระศากยมุนี
    ที่มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอยู่ด้านบนนั้นแรกเริ่มเดิมทีก็ไม่ได้มีรากเหง้ามาจากวัฒนธรรมของเขมรโบราณ แต่มีพื้นฐานสำคัญมาวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาในอินเดีย ที่เกิดขึ้นมาจาก “พุทธประวัติในตอนตรัสรู้” ที่มีการกล่าวถึงพญานาค “มุจลินท์” (Mucalinda Serpent) ผู้เป็นราชาแห่งเหล่านาคราช ที่ขึ้นมาแผ่พังพานเสมือนดั่งเป็นเศวตฉัตร 7 ชั้น ปกคลุมเบื้องบน แล้วม้วนตัวทำเป็นขนดนาคล้อมพระวรกายอีก 7 ชั้น มิให้ลมพายุฝน แมลงร้ายและลมหนาวถูกต้องพระวรกายองค์พระศากยมุนีเจ้า
    .
    สอดรับเข้ากันกับตำนานเก่าแก่ของชาวกัมพุชเทศโบราณ ที่ถือว่า “นาค” หรือ “นาคราช” เป็นผู้ให้กำเนิดและเป็นผู้ปกปักษ์รักษาอาณาจักรเขมรมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ดังนิทานพื้นบ้านที่กล่าวถึงเรื่องราวของ “นางโสมะ” ผู้เป็นธิดานาคราช ได้อภิเษกสมรสกับ “โกญฑัญญะ” (แปลว่า ผู้มีเกาทัณฑ์วิเศษ) วรรณะพราหมณ์จากอินเดีย และพญานาคราชผู้เป็นพระราชบิดาของนางโสมะก็ได้ช่วยสร้างอาณาจักรกัมโพชขึ้นให้กับทั้งสอง
    .
    การวางองค์ประกอบของรูปประติมากรรมพระนาคปรกแบบลอยตัวในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ที่ถือเป็นช่วงแรกของการ “เคลื่อนย้าย” (Movements) หรือ “ลอกเลียน” (Imitates) ประติมากรรมรูปเคารพทางศาสนาจากวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาสู่ภูมิภาคอุษาคเนย์ เป็นครั้งแรก ๆ จะวางรูปของพระศากยมุนีในท่าธยานะมุทรา (ปางสมาธิ) ประทับนั่งบนบัลลังก์ขนดนาค ด้านบนวางเป็นรูปของพญานาคามุจลินท์ 7 เศียร (Seven-headed serpent) แผ่พังพานแยกออกเป็นร่มฉัตร ที่ด้านข้างทั้งสองฝั่งวางเป็นรูปของยอดพระสถูป
    .
    รูปประติมากรรมพระนาคปรกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาค น่าจะเป็นรูปพระนาคปรกที่พบที่เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี กับพระพุทธรูปนาคปรกที่พบจากบ้านเมืองฝ้าย จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 และพระพุทธรูปปางนาคปรกที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีอายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12

    พระพุทธปฏิมากรนาคปรกในยุคแรกของวัฒนธรรมเขมร
    จากจังหวัดพระตะบอง ศิลปะแบบบาปวน จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัมพูชา

    พระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ศิลปะแบบนครวัด อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17
    จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย (Asian Art Museum)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7192a597.jpg
      7192a597.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.4 KB
      เปิดดู:
      272
    • 7192f83d.jpg
      7192f83d.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.8 KB
      เปิดดู:
      301
    • 71923a5a.jpg
      71923a5a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.3 KB
      เปิดดู:
      155
    • 7192e34c.jpg
      7192e34c.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.5 KB
      เปิดดู:
      203
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ภาพถ่ายเก่าในช่วงรัชกาลที่ 5
    แสดงภาพพระพุทธรูปนาคปรกศิลปะบายนในกลุ่มลวะปุระจำนวน 4 – 5 องค์
    ภายในวิหารหน้าปราสาทปรางค์สามยอด


    มองให้เห็นศิลปวัตถุโบราณจำนวนมากที่ถูกทิ้งร้างจนถึง ตำนานและความน่าสะพรึงกลัวต่างๆ ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหนกันบ้างแล้ว ศิลปวัตถุต่างๆเหล่านี้ แต่มีมากกว่าที่เห็นอย่างแน่นอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 71928965.jpg
      71928965.jpg
      ขนาดไฟล์:
      75.9 KB
      เปิดดู:
      153
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    เมื่อท้าวอสุรินราหูมีอยู่จริง ตามที่ทรงตรัสก็แปลว่าเกี่ยวเนื่องกัน ทั้งศาสนาพราหมณ์ฮินดูและพุทธ ฉนั้นพระพรหมทั้งหลายฯที่น้อมถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า ข้อนั้นมีเหตุแน่นอน

    http://www.oknation.net/blog/voranai/2016/07/22/entry-1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2016
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ดินแดนสุวรรณภูมิ ใน ไทย ลาว พม่า มอญ มีเจดีย์ พุทธวิหาร พระบรมสาริกธาตุ พระพุทธบาทมากมายหลายแห่ง ซึ่งมีลักษณะเด่นถ่ายทอดมาถึงวัดไทยในปัจจุบัน จะมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละภูมิภาค แต่องค์ประกอบยังคงเหมือนกันเช่น พระเสมหธาตุ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอาเจียน ออกมาเป็นพระโลหิต พบที่วัดเพชรพลี จังหวัดเพชรบุรี


    กรณีศึกษา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กวนเกษียรสมุทร



    มีตำนานที่เกี่ยวข้อง กับเทพตรีมูรติอีกว่า แต่เดิมนั้นเทพกับอสูรเป็นอริต่อกัน แต่การต่อสู้กับเหล่าอสูรซึ่งมีอิทธิฤทธิ์มาก เทวดาทั้งหลายพากันวิตกว่าจะพ่ายแพ้ จึงนำเรื่องไปปรึกษาพระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม เทพทั้ง 3 องค์ จึงตกลงกันทำ ?พิธีกวนเกษียรสมุทร? เพื่อให้ได้น้ำอมฤตซึ่งใครดื่มจะไม่ตาย และชวนอสูรให้มาร่วมด้วย โดยสัญญาว่า จะให้ดื่มน้ำอมฤต พิธีกวนเกษียรสมุทรจึงเริ่มขึ้น โดยใช้เขาพระสุเมรุเป็นไม้กวนทะเล เกษียรสมุทร และมีพระยาวาสุกรี (พญานาค) เป็นเชือกพันรอบเขาพระสุเมรุ และเหล่าเทวดา-อสูร ต่างก็รวมใจกันเข้าชักสายเชือก โดยเทวดาวางแผนให้พวกอสูรดึงด้านหัวพญานาค พอฉุดนานเข้าพญานาคเกิด ความร้อนและเหน็ดเหนื่อย จึงพ่นพิษโดนเหล่าอสูรจน ร่างกายมีสีดำ ส่วนเหล่าเทวดาดึงหางพญานาคมีฝนโปรยปรายเย็นชุ่มฉ่ำ

    การกวนเกษียรสมุทรต้องใช้เวลาเป็นแรมปี เหตุนี้องค์นารายณ์ทรงเล็งเห็นว่าหากทำไปเรื่อยๆ อาจทำให้เขาพระสุเมรุทะลุพื้นทะเลลงไป จึงทรงอวตารแปลงกายเป็นเต่ายักษ์ลงไปรองรับ แผ่นโลกไว้ เวลาผ่านไปถึง 1,000 ปี การกวนเกษียร สมุทรสำเร็จ เหล่าอสูรกรูกันเข้ามาแย่งดื่ม องค์ นารายณ์จึงแปลงร่างเป็นสาวงามล่อเหล่าอสูรไปอีกทางหนึ่ง เทวดาจึงได้ดื่มน้ำอมฤตกันทั่วหน้า ฝ่ายอสูรมีเพียง ราหู ดื่มไปได้ 1 อึก พระอาทิตย์ และพระจันทร์เห็นเข้า จึงฟ้ององค์นารายณ์ พระองค์ จึงขว้างจักรตัดกายราหูเป็น 2 ส่วน แต่ไม่ตาย จึงเป็นตำนานเกิดปรากฏการณ์สุริยคราสและจันทรคราสในปัจจุบัน


    “เทวีหรือเทพธิดา” เป็นเทพเจ้าเพศหญิง (อิตถี) มีจำนวนอยู่มากมายบนสรวงสวรรค์ นอกจากเหล่าเทวีมเหสี (ศักติ) เทพธิดาผู้รับใช้ และธิดาของเหล่าเทพเจ้าฝ่ายชายแล้ว จะมีเทพธิดากำเนิดใหม่ตามการสะสมบุญบารมีและความดีงามของมนุษย์ที่ประสงค์จะจุติบนสวรรค์ในชั้นต่าง ๆ

    ส่วนนางอัปสรา ว่ากันว่า มีอยู่แบบ “นับไม่ถ้วน” ตั้งแต่แรกกำเนิด !!!

    "อัปสรา" เป็นภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า “น้ำ” ที่แปลว่าน้ำ ก็เพราะเหล่านางอัปสรา มีต้นกำเนิดเกิดขึ้นมาจากน้ำ ในครั้งที่เหล่าทวยเทพและอสุรา ร่วมกัน “กวนเกษียรสมุทร” นั่นเองครับ

    วกมาที่เรื่องราวของการกวนเกษียรสมุทรกันซักนิด ภายหลังการเคี่ยวกวนน้ำอมฤตกันมายาวนาน อย่างน้อยก็นับว่าผมเกิดแก่เจ็บตายไปกว่า 20 ครั้ง ก็ให้บังเกิด “สิ่งอัศจรรย์” ในระหว่างการเคี่ยวยาอมฤตให้เข้มข้น ....เคี่ยวกันจนเกล็ดทองของพญาวาสุกรีถลอกปอกเปิก

    สิ่งอัศจรรย์ อย่างแรกที่บังเกิดจากการกวนเกษียรสมุทร คือ “พิษหลาหล” หรือ “กาลกุต” เกิดขึ้นจากอำนาจพิษของพญาวาสุกรี ที่พ่นออกมาออกมาอย่างลืมตัวเพราะความเจ็บปวด (ก็แน่ละสิ เอาลำตัวเป็นเชือกไปพันรอบไม้เคี่ยวอย่างเขามัทรคีรี)

    “ศิวะมหาเทพ” เกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อทุกสรรพสิ่ง จึงดื่มพิษหลาหลเสียเอง เทวีปารวตีชายาของพระศิวะเกรงว่าพระสวามีจะเกิดเป็นอันตราย จึงบีบพระศอของพระศิวะไว้ไม่ให้พิษล่วงพ้นลงไปภายใน แต่ด้วยความร้อนแรงแห่งพิษทำให้พระศอของพระองค์กลายเป็นสีน้ำเงินเข้ม ด้วยเหตุนี้ องค์ศิวะมหาเทพจึงมีอีกสองพระนาม คือ “วิษกัณฐ์” หมายถึง ผู้มีพิษอยู่ที่คอ และ “นีลกัณฐ์” ที่มีความหมายถึง ผู้มีคอสีน้ำเงิน (จากเทพปกรณัมนี้ จึงมีการเปรียบความรักว่า สีแห่งความรักที่แท้จริง คือสีน้ำเงินดำบนพระศอของศิวะมหาเทพ ผู้เสียสละด้วยความรักอันยิ่งใหญ่แก่จักรวาล)

    ...ในระหว่างการบีบพระศอ มีพิษบางส่วนกระเซ็น กระเด็นลงสู่โลกมนุษย์ สัตว์และพืชที่โดนหรือตั้งใจดื่มพิษนั้น ก็จะกลายเป็นสัตว์และพืชที่มีพิษร้ายในโลก... !!!

    สิ่งอัศจรรย์อันดับที่สองคือ “หริธนู” หรือธนูที่ยิงไปไม่มีวันพลาดเป้า ว่ากันว่า พระหริ (วิษณุ – นารายณ์) ดอยไป (ช่วงน้ำท่วม ?) อันดับสามคือ “ปัญจชันยสังข์” สังข์แห่งชัยชนะ อันดับสี่คือ "ช้างเอราวัณ" พระอินทร์ก็ช่วยดอยไปเป็นพาหนะ

    อันดับห้าคือ "แม่โคกามเธนุพร้อมเครื่องหอม" มีนามว่า “สุรภี” ที่มีความหมายว่า ผู้ให้ทุกอย่างตามที่ปรารถนา ตามด้วยอันดับหกคือ “ต้นปาริชาติ” พฤกษาชาติที่มีกลิ่นหอมลึกถึงวิญญาณ ที่ว่าบุคคลใดได้กลิ่นก็จะหลงในห้วยมหรรณพจนถึงขั้นระลึกชาติได้ อันดับเจ็ดคือ “เกาสตุภะ” มณีแก้วสุกสว่าง ที่พระวิษณุนำไปประดับที่พระอุระ

    สิ่งอัศจรรย์อันดับแปด คือ “ม้าอุจไจศรพ” ที่องค์สุริยเทพเห็นว่าหน่วยก้านดีจึงขอไปเทียมรถ ตามด้วย อันดับเก้าคือ "นางอัปสรา" โฉมงามผู้เย้ายวนที่ผุดขึ้นมามากมายจากฟองคลื่นเบียร์ (อมฤต)

    อันดับสิบ คือ “จันทรา(เสี้ยว)” ที่องค์ศิวะมหาเทพคว้าไปปักที่มวยพระเกศา (หลังจากปล่อยกระเซอะกระเซิงมานาน ในครั้งทักษิณามูรติ) อันดับสิบเอ็ดคือ “เทวีลักษมีถือดอกปทุมา ประทับในดอกบัวหลวง” คงด้วยเพราะพระนางผุดขึ้นมาจากการกวนน้ำอมฤตต่อจากพระจันทร์จึงได้ชื่อว่าเป็นน้องสาวแห่งจันทราเทพ

    เมื่อดอกปทุมาเปิดออก “อรรธมาตังค์” หรือเหล่าคชสารแห่งนภากาศ ต่างเทน้ำบริสุทธิ์จากหม้อทองคำชำระพระวรกายให้กับพระนาง วิษณุกรรมเทพประดิษฐ์อาภรณ์สีขาวนวลให้พระนางสวมใส่ เหล่าทวยเทพเจ้าและอสูรต่างหวังแย่งชิงจะได้ครอบครองนางเป็นชายา แต่องค์พรหมเทพผู้อาวุโสได้ขอให้นางตัดสินใจเลือกเอง พระลักษมีทรงเลือกถวายดอกบัวคู่นั้นแด่องค์วิษณุเทพ

    สัญลักษณ์ของการกำเนิดแห่งเทวีลักษมีในคราวเกษียรสมุทรนี้ ได้กลายมาเป็นเครื่องหมายสุดมงคลในชื่อที่เรียกกันว่า “คชลักษมี” หรือ “อภิเษกพระศรี” มีความหมายมงคลที่แสดงถึง “ความมั่งคั่งและงดงาม” พ่อค้าวาณิชในยุคโบราณจึงมักจะนำรูปเคารพนี้ติดตัวไปพร้อมกับรูปท้าวกุเวรเวลาเดินทางมาค้าขายยังสุวรรณภูมิ

    สิ่งอัศจรรย์อันดับสิบสองก็คือ “วารุณี” เทวีแห่งสุรา ธิดาแห่งพระวรุณ ด้วยเพราะนางไม่ได้ลอยขึ้นมาตัวเปล่า แต่ในมือของนางถือคนโทเหล้าน้ำหมักไร้สีดั่งวอสก้าขึ้นมาด้วย ผู้ที่ได้เคยลิ้มลองอย่างเช่นเหล่าอสูรจะไม่ให้ความสนใจในตัวนาง เพราะเทวีวารุณีคือต้นเหตุที่ทำให้เหล่าอสูรซึ่งอดีตเคยเป็นเทวดาบนสรวงสวรรค์ ถูกหลอกให้ดื่มเมรัยจนเมามาย แล้วถูกอินทราเทพขับไล่ลงจากมา เทพผู้พ่ายแพ้ต่างพากันสาบานตนว่าจะไม่แตะต้องน้ำเมาใด ๆ อีกเลย จึงเป็นที่มาของชื่อ “อสุรา” หรือ “อสูร” (ที่แปลว่างดเหล้าแม้ไม่ใช่วันเข้าพรรษา) ไงครับ

    อันดับสุดท้าย คือ องค์ “ธันวันตริ” มหาแพทย์แห่งสรวงสวรรค์ ทูน "หม้อน้ำอมฤต(Amarita)" ผุดขึ้นมาพร้อมกันด้วยในคราวเดียว


    *********************************************************************************

    ภาพสลักอันสวยงามของเหล่านางอัปสรา ประดับปราสาทขะแมร์อินไทยแลนด์ทั้งหลาย ถึงแม้จะเหลือหรือมีอยู่เพียงน้อยนิดก็ตาม แต่ด้วยคุณค่าและความงดงามผสมผสานกับจินตนาการจากเรื่องราวของเหล่าเทพปกรณัมโบราณ ก็ไม่ได้มีความแตกต่างไปจากภาพสลักอัปสราที่มีมากมายดาษดื่น ตามปราสาทใหญ่น้อยในประเทศกัมพูชา ที่ถึงจะมีมากแต่ความหมายผู้ปรนนิบัติแห่งสรวงสวรรค์ก็ยังคงเป็นเรื่องเดียวกัน

    ที่ตั้งใจหลงใหลในเนียงอัปสรา ก็เพื่อจะบอกเล่าให้ทุกท่านได้ช่วยกันรักษา “ความทรงจำ” อันมีคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมไทยที่หลากหลาย มิให้เลือนหายไปเพียงเพราะความไม่รู้ การไม่เคยพบไม่เคยเห็น หรือเพียงเพราะมายาสมมุติ “อคติแห่งชนชาติ”

    ถึงรูปสลักหลายรูปจะเลือนหาย แตกหัก หรือสูญหายไปกับกาลเวลา แต่ทุก “ความงาม” ที่ยังหลงเหลืออยู่ ก็ล้วนแต่ชวนให้หลงใหลอย่างตั้งใจอยู่เสมอ คงด้วยเพราะนางยังคงปรากฏกายทำหน้าที่ปรนนิบัติแก่ผู้คนที่เข้ามานมัสการเหล่าเทพเจ้าหรือนักท่องเที่ยวจากแดนไกล มิได้จางหายหรือสิ้นสุดไป อย่างเช่นที่ปราสาทศรีขรภูมิหรือปราสาทหลุ่งตะเคียน

    นางอัปสราแบบแรกคือ “ไทวิกา” (Daivika) หรือจะเรียกให้เต็มปากว่า “นาง(ที่อยู่บน)ฟ้า(สวรรค์)” ก็คงไม่ผิดนัก นางอัปสราประเภทแรกนี้จะทำหน้าที่รับใช้ในวิมานของอินทราเทพ มีหน้าที่ ร้อง เล่น เต้นระบำ ยั่วยวน บำเรอกามไปจนถึงทำกับข้าว และด้วยเพราะมีคนธรรพ์เป็นผู้บรรเลงดนตรีประกอบการแสดง พวกนางจึงถือโอกาสบำเรอคนธรรพ์ไปด้วยพร้อม ๆ กัน

    หลายครั้งนางอัปสราจะมีหน้าที่ไปล่อลวง ยั่วยวนและบำเรอกามให้มีผู้มีตบะแรงกล้า ให้ลุ่มหลงมัวเมาจนตบะแตก ตามคำสั่งของอินทราเทพที่ไม่ค่อยอยากให้ใครมีพลังอำนาจมากเกินกว่าตน อย่างเช่นนางรัมภาหรือนางเมนกา

    นางอัปสราอีกกลุ่มหนึ่ง คือนางดิน หรือ “ลัวกิกา” (Laukika) พวกนางลงจากสวรรค์มาอาศัยในโลกมนุษย์ สถิตอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรเฉกเช่นนางไม้ หลายนางมีความรักและเซ็กส์กับมนุษย์จนเกิดเป็นตำนานและปัญหาอย่าง นางอุรวศีกับท้าวปุรูรวัส นางบุษมาลีกับหนุมาน

    ส่วนในภาษาบาลีจะเรียกนางอัปสราว่า "อัจฉรา" แปลว่า "นางฟ้า" คงด้วยเพราะเห็นว่านางอัปสราอาศัยอยู่บนสวรรค์ ทำหน้าที่ปรนนิบัติรับใช้ เทวสภาของอินทราเทพในชั้นดุสิต จึงยกให้เธอเป็นนางฟ้า เพราะอยู่(อาศัย)บนฟ้า(สวรรค์)

    คติในของการสลักรูปสตรี (ซึ่งก็ควรจะเป็นนางอัปสรา) ไว้บนผนังปราสาทในวัฒนธรรมขอมโบราณ คือ เป็นการสร้าง “สัญลักษณ์” ให้กับสิ่งก่อสร้าง เพื่อแปรเปลี่ยนศาสนสถานนั่นให้กลายเป็น “สรวงสวรรค์สมมุติบนพื้นพิภพ” สวรรค์ที่จะต้องมีนางอัปสราปรากฏอยู่ ลักษณะการสมมุติเช่นนี้มีรากฐานมาจากอิทธิพลทางคติความเชื่อและศิลปะทางศาสนาจากอารยธรรมอินเดียโบราณ


    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=murder-serialkiller&group=3&month=16-10-2014&gblog=14
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SL1010_0432.jpg
      SL1010_0432.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67 KB
      เปิดดู:
      292
    • Apsaras_10.jpg
      Apsaras_10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.9 KB
      เปิดดู:
      310
    • Apsaras_27.jpg
      Apsaras_27.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.1 KB
      เปิดดู:
      997
    • Apsaras_25.JPG
      Apsaras_25.JPG
      ขนาดไฟล์:
      79.6 KB
      เปิดดู:
      222
    • 1389272672.jpg
      1389272672.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.1 KB
      เปิดดู:
      498
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2017
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ตำนานนางกวัก



    ครั้งนั้นมีอสูรตนหนึ่งชื่อ”ท้าวกกขนาก”ซึ่ง เป็นเพื่อนกับปู่เจ้าเขาเขียว ยักษ์ตนนี้ตั้งตนเป็นใหญ่เที่ยวไล่จับมนุษย์กินเป็นอาหาร ร้อนถึงพระรามต้องลงมาปราบ พระองค์ทรงใช้เขากระต่ายมาทำเป็นคันศร ใช้หนวดเต่ามาขึงเป็นสายและใช้หญ้าปล้องทำเป็นลูกศรแผลงไปฆ่าท้าวกกขนาก ฤทธิ์ศรทำให้พญายักษ์กระเด็นจากกรุงลงกาในชมพูทวีปมาตกบริเวณเขาวงพระจันทร์ จังหวัดลพบุรี แต่ยักษ์ตนนี้ยังไม่ตายเพียงแต่สลบไปเพราะฤทธิ์ศรของพระรามเท่านั้น พระรามจึงทรงสาปให้ศรดังกล่าวปักอกตรึงยักษ์ตรงนี้ไว้บนยอดเขาชั่วกัลป์ จะได้ไม่ไปทำอันตรายใครๆ ได้ อีก ศรที่ปักอกท้าวกกขนากนั้นจะคลายความแน่นลงทุกๆ สามปี และถ้าปล่อยให้ลูกศรหลุดจากอกได้เมื่อท้าวกกขนากก็จะกลับฟื้นคืนชีวิต ลุกขึ้นมาจับคนกินหมดทั้งเมือง นอกจากนี้ยังทรงสาปต่ออีกว่า เมื่อใดที่บุตรีของท้าวกกขนากซึ่งมีนามว่านางนงประจันต์ หรือนางพระจันทร์ นำใยบัวมาทอเป็นจีวรจนสำเร็จเป็นผืน เพื่อนำไปถวายแด่พระศรีอาริยะเมตไตรย ที่จะทรงเสด็จมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า ท้าวกกขนากจึงจะพ้นคำสาป ดังนั้นบุตรสาวของงท้าวกกขนาก จึงต้องอยู่คอยปรนนิบัติดูแลพระบิดา และพยายามทอจีวรด้วยใยบัว เพื่อให้เสร็จทันถวายพระศรีอาริยะเมตไตรย ที่เสด็จมาตรัสรู้ในอนาคตกาล

    เมื่อ บุตรสาวของท้าวกกขนากมาคอยปรนนิบัติพระบิดา และทอจีวรด้วยใยบัวอยู่ที่เขาพระสุเมรุนั้น ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของนางลำบากยากจนขัดสนยิ่งนัก ฝ่ายปู่เจ้าเขาเขียวหรือ ท้าวพนัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ คือสวรรค์ชั้นที่หนึ่ง มีตำแหน่งเป็น

    จ้าวแห่งป่าเขาลำเนาไพรทั้งปวงเมื่อทราบเรื่องจึงเกิดความสงสาร ได้ส่งแม่นางกวักบุตร สาวมาอยู่เป็นเพื่อน ด้วยบุญฤทธิ์ของนางกวัก จึงบันดาลให้พ่อค้าวานิชและผู้คน เกิดความเมตตาสงสาร พากับเอาทรัพย์สินเงินทอง พร้อมทั้งเครื่องอุปโภค บริโภคมาสู่ที่พักของบุตรีท้าวกกขนากเป็นจำนวนมาก ทำให้ความเป็นอยู่ของนางยักษ์มีความสมบูรณ์พูนสุขและเจริญด้วยลาภทั้งปวง
    อีก สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ท้าวกกขนากหลุดพ้นจากอำนาจของศรของพระรามนั้นมาจากศรที่ ปักอกท้าวกกขนากเองจะคลายความแน่นลงทุกๆ สามปี ด้วยความรอบคอบพระรามจึงทรงสั่งให้ไก่แก้วมาคอยเฝ้าท้าวกกขนากไว้ ถ้าเห็นศรเขยื้อนขึ้นเมื่อใด ให้ไก่แก้วขันขึ้นเป็นสัญญาณให้หนุมานได้ยิน หนุมานจะเหาะมาตอกศรกลับตรึงให้แน่นตามเดิม ตามตำนานยังเล่าอีกว่าขณะที่หนุมานตอกศรจะเกิดเป็นประกายไฟกระเด็นลุกไปเผา ผลาญบ้านเรือนของชาวเมืองลพบุรี เชื่อกันว่าด้วยเหตุนี้เองจะทำให้เกิดไฟไหม้ ครั้งใหญ่ขึ้นในจังหวัดลพบุรีทุกๆ สามปี นอกจากนี้ศรพระรามที่ปักอกท้าวกกขนาก จะหลุดถอนออกได้โดยง่ายถ้าถูกราดด้วยน้ำส้มสายชู ทำให้ชาวเมืองลพบุรีในสมัยก่อนไม่มีใครกล้านำน้ำส้มสายชูเข้าเมืองเพราะเกรง ว่าบุตรีของท้าวกกขนากจะแอบมาขอซื้อไปช่วยบิดาของนาง

    ลักษณะ ของแม่นางกวัก เป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ที่แกะจากปลายจะงอยของงวงช้าง ซึ่งค่อนข้างหายากในปัจจุบันนี้ จะเห็นกันก็เป็นแต่เพียงรูปปั้นผู้หญิงนั่งพับเพียบ นุ่งซิ่น และห่มผ้าสไบเฉียงแบบคนโบราณ มือซ้ายวางข้างลำตัว หรือถือถุงเงิน มือขวายกขึ้นในลักษณะกวัก ปลายนิ้วงอเข้าหาลำตัว “การยกมือขึ้นในลักษณะกวัก ถ้ามือยกสูงระดับปาก มีความหมายว่า กินไม่หมด หากว่ามือที่กวักอยู่ต่ำกว่าระดับปาก เขาถือว่ากินไม่พอ

    http://www.manager.co.th/politics/viewnews.aspx?NewsID=9570000016533

    http://www.brighttv.co.th/th/news/ไฟไหม้โรงงานผลิตอาหารสัตว์-จลพบุรี-เสียหายกว่า-3-ล้านบาท



    http://palungjit.org/4040097-post22413.html


    ไฟไหม้บ่อยครั้งจนไม่อยากจะมโนให้มาก

    นางนงประจันต์ หรือนางพระจันทร์ นำใยบัวมาทอเป็นจีวรจนสำเร็จเป็นผืน เพื่อนำไปถวายแด่พระศรีอาริยะเมตไตรย ที่จะทรงเสด็จมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า ท้าวกกขนากจึงจะพ้นคำสาป ดังนั้นบุตรสาวของงท้าวกกขนาก จึงต้องอยู่คอยปรนนิบัติดูแลพระบิดา และพยายามทอจีวรด้วยใยบัว เพื่อให้เสร็จทันถวายพระศรีอาริยะเมตไตรย ที่เสด็จมาตรัสรู้ในอนาคตกาล

    บ้างก็ว่านางกับบิดาได้ตรอมใจตายไปแล้ว จะจริงหรือ


    ตำนานของยักษ์ไปอย่างไรมาอย่างไรจึงเล่ากันว่า มาสถิตอยู่บนถ้ำยอดเขาวงพระจันทร์นี้ และตามตำนานว่า ยักษ์ที่ว่านี้คือ ท้าว”กกขนาก” ยักษ์ตนสุดท้ายที่ไม่ยอมแพ้พระรามที่อยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ จึงถูกพระรามแผลงศร โดนยักษ์กระเด็นลอยละลิ่วข้ามมหาสมุทรอินเดียมาตกที่ยอดเขาลูกนี้ แล้วพระรามก็สาปให้ศรปักอกเอาไว้หากวันใดที่ศรเขยื้อนให้หนุมานลูกพระพาย(ลูกลม ถ้าตายเมื่อต้องลมพัดผ่าน จะกลับฟื้นคืนชีพ หนุมานจึงไม่รู้จักตาย) เอาฆ้อนมาตอกย้ำลูกศร ให้ปักอกไว้เช่นเดิม แต่ยักษ์โดนเข้าขนาดนี้ก็ยังไม่ตายนอนรอความตาย ฝ่ายนางนงประจันทร์ลูกสาวยักษ์ก็เหาะตามพ่อมา เพื่อปฏิบัติพ่อ เพราะพ่อยังไม่ตาย นอนอยู่ในถ้ำยอดเขานางพระจันทร์นี้และนางทราบว่าหากได้น้ำส้มสายชูมารดที่โคนศรแล้วศรจะเขยื้อนหลุดออกมาได้ แต่หากศรเขยื้อน ไก่แก้วก็จะขันเรียกหนุมานเอาฆ้อนมาตอกศร เมื่อนางนงประจันทร์ช่วยพ่อยักษ์ไม่ได้ ก็ตรอมใจตาย ฝ่ายยักษ์กกขนากเมื่อลูกสาวตายก็เลยตายตามไปด้วย จากตำนานนี้จึงเรียกเขาลูกนี้ว่า เขานงประจันต์หรือนางพระจันทร์ ตำนานนี้เป็นผลให้ลพบุรีไม่มีน้ำส้มสายชูขายมานาน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงพ่อโอภาสี ได้ขึ้นมาบนเขานี้ และเห็นว่าบริเวณเขาทั้ง๔ ด้าน เป็นรูปเขาโค้ง มองทางไหนก็เห็นเป็นวงโอบล้อมอยู่ จึงขนานนามว่า “เขาวงพระจันทร์”

    https://th.wikipedia.org/wiki/เขาวงพระจันทร์


    ยักษ์หินถูกสาป ถ้าเป็นยักษ์ตนนี้ล่ะเป็นเรื่องแน่

    และถ้าแม่ย่า นางกวัก ท่านยังอยู่ ก็ต้องอยู่ด้วยสิ! ถ้ามีการแต่งเรื่องบิดเบือนไว้ หรือปกปิดเรื่องราวที่แท้จริงไว้ คิดหลายๆแหง่หลายทาง ลึกลับจริงๆ

    ตำนานนางกวักนั้นเริ่มมาจากวรรณคดีทางศาสนาพราหมณ์เรื่อง รามเกียรติ์ ซึ่งเป็นมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของชมพูทวีป เรื่องราวของนางกวักบังเกิดขึ้นในตอนที่พระรามเดินดงผ่านมาทางเขาวงพระจันทร์เพื่อตามหานางสีดา และในระหว่างทางได้พบพญายักษ์ตนหนึ่งนามว่า ท้าวอุณาราช เมื่อท้าวอุณาราชพบพระรามก็พยายามจะจับกินเป็นอาหาร เพราะไม่ทราบว่าพระรามนั้นเป็นองค์นารายณ์อวตารมีฤทธิ์มาก หาใช่คนธรรมดาทั่วไปไม่

    พระรามจึงใช้ต้นกกทำต่างศรแล้วยิงตรึงท้าวอุณาราชเอาไว้กับเขาวงพระจันทร์ จากนั้นจึงสาปว่า ตราบใดก็ตามที่พระศรีอริยเมตไตรยังไม่ลงมาจุติ ตราบนั้นเจ้าจงติดตรึงอยู่กับเขานี้ไปชั่วกัลปวสาน จะพ้นจากคำสาปนี้ได้ก็ต่อเมื่อนางศรีประจันต์ผู้เป็นลูกสาวของท้าวอุณาราชได้ถวายผ้าไตรจีวรที่ทอด้วยใยบัวต่อองค์พระศรีอริยเมตไตรเมื่อท่านได้ตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเท่านั้น
    ฝ่านนางศรีประจันต์จึงอุตสาหะทอผ้าไตรจีวรด้วยใยบัวเพื่อให้เสร็จทันถวายพระศรีอริยเมตไตรที่จะลงมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า เมื่อชาวบ้านรู้ว่านางศรีประจันต์กำลังพยายามทอผ้าไตรจีวรด้วยใยบัวเพื่อให้พ่อของตนหลุดพ้นจากคำสาปจึงพากันรังเกียจเพราะเกรงว่าหากท้าวอุณาราชพ้นคำสาปมาเมื่อไหร่ จะเที่ยวไล่จับผู้คนกินเป็นอาหารอีก ด้งนั้นนางศรีประจันต์จึงถูกชาวบ้านรังเกียจไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย
    เมื่อข่าวนี้รู้ถึงหูของ ปู่เจ้าเขาเขียว ซึ่งเป็นเพื่อนกับท้าวกกขนากก็บังเกิดความสงสารนางศรีประจันต์หลานสาว ปู่เจ้าเขาเขียวจึงส่ง นางกวัก ลูกสาวบุญธรรมของตนไปอยู่เป็นเพื่อนกับนางศรีประจันต์

    นางกวักผู้นี้ตามตำนานกล่าวว่าเป็นเด็กกำพร้า มีหน้าตาน่ารัก เมื่อไปอยู่กับใครต่างก็มีคนนิยมชมชอบ ไปอยู่บ้านไหนมีแต่คนรัก บ้านนั้นก็เจริญรุ่งเรือง มีความร่มเย็น มีความรักใคร่ปรองดองเกิดขึ้น ไปอยู่ร้านค้าใดก็ค้าขายเจริญดี ปู่เจ้าเขาเขียวได้แลเห็นว่านางกวักผู้นี้เป็นบุคคลที่มีบุญญาธิการมาแต่เดิม แต่ด้วยกรรมบางอย่างจึงพลัดพรากจากบิดามารดา ปู่เจ้าเขาเขียวจึงรับนางกวักเป็นบุตรสาวบุญธรรมและอบรมสอนกรรมฐานและวิชาอาคมให้

    ด้วยเดชบารมีและพระอาคมที่ปู่เจ้าเขาเขียวประสิทธิ์ไว้ให้นางกวัก จึงเกิดปาฎิหาริย์ขึ้นแก่นางศรีประจันต์ เพราะตั้งแต่นางกวักมาอาศัยอยู่ด้วย ชาวบ้านที่แต่เดิมรังเกียจนางศรีประจันต์กลับมีใจรัก เอาข้าวปลาอาหารมาให้ เอาใจใส่รักใคร่ดูแลอย่างผิดหูผิดตา ความอัศจรรย์นี้ทำให้นางศรีประจันต์และชาวบ้านประจักษ์ในบุญบารมีของนางกวัก จนเป็นที่กล่าวขานกันว่าแม้ใครก็ตามที่ศรัทธาในองค์นางกวักหากเอาภาพของนางก็ดี หาสิ่งสมมุติแทนตัวนางติดตัวไว้ก็ดี ด้วยอำนาจบุญบารมีของนางกวัก จะทำให้บุคคลผู้นั้นเป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไปเอาไว้ที่ร้านค้าก็ค้าขายดี เอาไว้กับบ้านเงินทองข้าวของก็เพิ่มพูนขึ้น

    ตั้งแต่นั้นมาเกียรติคุณของแม่นางกวักก็เป็นที่แพร่หลายและครูบาอาจารย์รุ่นต่อๆมาก็ได้ประพันธ์พระคาถาต่างๆไว้สำหรับบูชานางกวัก อีกทั้งยังสร้างเป็นวัตถุมงคลนางกวัก ซึ่งมีทั้งหุ่นรูปปั้นนางกวัก เหรียญรูปนางกวัก และผ้ายันต์รูปนางกวัก หรือแม้กระทั่งการเสกวัตถุบางอย่างเช่น จวัก ก็นิยมลงด้วยพระคาถานางกวัก เพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคล บูชาแล้วจะร่ำรวย อุดมด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคทุกประการ

    คำว่า แล้วเท่านั้น นี่น่าคิด

    ระบุว่า ต้องตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น! จริงหรือ?

    แล้วถ้าไม่ใช่ล่ะ คือ ท่านลงมาจุติตามพุทธประเพณี แล้วออกบวช เผอิญสืบรู้ คือรอมานาน ถ้าเกิดนำผ้ามาถวาย เป็นเรื่องแน่ๆ

    ถ้าเอาตามนี้ ก็แปลว่ายังไม่ได้ตาย ยังมีชีวิตอยู่อย่างแน่นอนโดยสภาวะทิพย์

    ยักษ์ตนนี้ ตื่นหรือเปล่า แล้วพระศรีอาริยะเมตไตรย ท่านจะมาในลักษณะใด เป็น บรรพชิต หรือว่า เสด็จมาตามพุทธประเพณี และถ้าจุติลงมาจริงๆ แล้วถ้ามีนางนงประจันต์ หรือนางพระจันทร์นำจีวรที่ถักจากดอกบัวมาถวาย ท้าวกกขนากจึงจะพ้นคำสาป ถ้าอย่างนั้นก็น่าคิด น่าหวาดหวั่นอยู่มิใช่น้อย

    จะล้างแค้นจับมนุษย์ หรือไปทำให้เกิดเหตุเพทภัยหรือเปล่า พระศรีอาริยะเมตไตรย พระองค์ท่านจะเทศนาโปรดไหม? ยักษ์จะฟังไหม?ครานั้น



    หนุมานช่วยด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2017
  16. ใบโพริ์

    ใบโพริ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +212
    ถึงเวลาก็ต้องปล่อยพ้นโทษ แม้แต่หนุมานก็ไม่มีสิทธิตอกศร สัญญาต้องเป็นสัญญา.
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ตำนานอุรังคนิทาน

    ในสมัยครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรมานอยู่สำราญในพระเชตวันอารามยามใกล้ รุ่งเจ้าอานนท์อุปัฏฐากด้วยน้ำและไม้สีฟันเมื่อพระพุทธเจ้าเมิ้ยนกิจชำระ แล้วหลิง
    เห็นโบราณประเพณีแห่งพระพุทธเจ้าทั้งสามพระองค์ที่เสด็จเข้าสู่พระ นิพพานไปแล้วทรงไว้ธาตุในดอยกปณคิรีอันมีในที่จิ่มใกล้เมืองศรีโคตบุรี พระองค์จึงทรงผ้ากัมพละผืนแดงงามมีวรรณเหมือนแสงสุริยะเมื่อแรกขึ้น อันเป็นผ้าที่พระนางโคตมีได้ถวายให้เป็นทานแล้วแลทรงบาตรบ่ายหน้าสู่ทิศ ตะวันออก เจ้าอานนท์ตามพุทธลีลามาทางอากาศ

    เสด็จประทับหนองคันแทเสื้อน้ำ ( เวียงจันทน์ )
    เสด็จลงที่ดอนก่อนเนานั้นก่อน แล้วจึงมาสถิตอยู่แคมหนองคันแทเสื้อน้ำพระองค์ทอดพระเนตรแลเห็นแลนคำตัวหนึ่งแลบลิ้น ที่โพนจิกเวียงงัวใต้ปากห้วยกู่คำพระองค์จึงทำสิตุการแย้มัว ยามนั้นเจ้าอานนท์จึงไหว้ว่า พระองค์แย้มหัวด้วยเหตุสิ่งใดจา พระพุทธเจ้าจึงทรงพยากรณ์ทำนายบ้านเมืองให้เจ้าอานนท์ฟังฮู้แจ้งอนาคตตังสญาณว่าบ้านเมืองอนจักเกิดมีภายหน้าตักเสื่อม และเจริญกับทั้งท้าวพระยาประชาราษฏรมีประการต่าง ๆ ตามนิมิตแห่งแลนคำแลบลิ้นนั้นแล (พระพุทธทำนายตอนนี้เป็นตำราภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ของวงศักษัตริย์ล้านช้างยืดยาว จงดูความพิสดารในอุรังคธาตุ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2483 และฉบับในใบลาน

    มูลเหตุพระธาตุบังพนพระพุทธบาทโพนฉัน (อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย)
    ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จจากหนองคันแทเสื้อน้ำ ไปประทับอยู่ที่โพนจิกเวียงงัว พระยาปัพภารนาคนิรมิตเป็นตาผ้าขาวออกมารับเอาบาตรและอาราธนาพระพุทธองค์ไปสู่ภูเขาลวง ให้สถิตในร่มไม้ป่าแป้งต้นหนึ่ง ปัพภารนาคถวายภัตตาหารแก่พระองค์ ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว จึงประทานผ้ากัมพละผืนหนึ่งแก่พญานาคนั้นแล้ว เสด็จไปฉันเพลที่ใกล้เวินหลอด คนทั้งหลายจึงเรียกสภานที่นั้นว่า “เวินเพล” มาเท่ากาลบัดนี้ (กลายมาเป็นโพนแพง)
    ในครั้งนั้น ยังมีพญานาคชื่อว่า “สุขหัตถีนาค” เนรมิตเป็นช้างพลายถือดอกไม้เขามาขอเอารอยพระบาทไว้ พระพุทธองค์จึงย่ำรอยพระบาทไว้ที่แผ่นหินใกล้ริมแม่น้ำ ชั่วเสียงช้างร้องได้ยิน ช้างตัวนั้นก็เข้าไปอุปัฏฐากด้วยยกงวงขึ้นใส่หัวแล้วก็หลีกหนีไป

    มูลเหตุพระพุทธบาทเวินปลา (อำเภอเมืองนครพนม)
    แต่นั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปเมืองศรีโคตบอง ถึงที่อยู่ของพญาปลาตัวหนึ่งพญาปลาตัวนั้นเห็นพระรัศมีของพระพุทธเจ้าจึงพาบริวารล่องลอยตามไป พระพุทธองค์เห็นเหตุการณ์ดังนั้นจึงทรงแย้มพระโอษฐ์ เจ้าอานนท์ทูลถามเหตุแห่งการณ์แย้มนั้นแล้วพระองค์จึงได้ตรัสว่า ตถาคตเห็นพญาปลาตัวหนึ่งพาบริวารตามมาถึงฝั่งน้ำทีนี้ปลาตัวนี้แต่ก่อนเป็นมนุษย์ ได้บวชในศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า ได้มาถึงแม่น้ำที่นี้ภิกษุนั้นได้เด็ดใบไม้กรองน้ำฉัน บ่ได้แสดงอาบัติ ครั้นใกล้จุติได้มีความกินแหนงถึงกรรมที่ได้ทำนั้น จึงได้มาเกิดเป็นปลาอยู่ในที่นี้เพื่อเสวยวิบากอันนั้น เมื่อมันได้เห็นรัศมีและได้ยินเสียงฆ้อง กลอง แส่ง จึงได้ออกมาจากที่อยู่เป็นอาจิณ ด้วยเหตุมันเคยได้เห็นรูปารมณ์ สัททารมณ์อันดีมาแต่กาลก่อน จึงได้รู้
    สัพพสัญญานั้นๆ พญาปลาตัวนี้จักมีอายุยืน ตลอดถึงพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจึงจักได้จุติจากชาติอันเป็นปลามาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว จักได้ออกบวชเป็นภิกษุในสำนักพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล เมื่อพญาปลาตัวนั้นได้ยินพระพุทธพยากรณ์อันนี้ก็ชื่นชมยินดีมากนัก จึงคิดอยากจะได้รอยพระพุทธบาทไว้ที่โหง่นหินในน้ำที่นั้นคนทั้งหลายจึงเรียกสถานที่นั้นว่า “พระบาทเวินปลา” มาเท่ากาลบัดนี้แล

    เสด็จดอยกปณคิรี (ภูกำพร้า ธาตุพนม)
    ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จมาทางอากาศ ประทับที่ดอยกปณคิรี คือ ภูกำพร้าในราตรีนั้นวิสสุกรรมเทวบุตรลงมาอุปัฏฐากพระองค์อยู่ตลอดรุ่ง กาลนั้นพระองค์ทรงผ้าแล้วเอาบาตรห้อยไว้ที่หง่าหมากทัน ไม้ป่าแป้ง ต้นหนึ่ง เบื้องทิศตะวันตกแล้วเสด็จลงไปสู่ริมแม่น้ำที่นั้นเพื่อชำระพระบาท บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของพระยาอินทร์ก็กระด้างแก่นแข็ง พระยาอินทร์เห็นเหตุด้งนั้น ก็เสด็จลงไปสู่ป่าหิมพานต์ นำเอาน้ำแต่สระอโนดาตและไม้สีฟันมาถวาย พระพุทธองค์ทรงชำระพระบาทแล้วก็ทรงบาตร ผินพระพักไปสู่ทิศตะวันออก เสด็จไปประทับอิงต้นฮังต้นหนึ่ง อยู่ใต้ปากเซทรงทอดพระเนตรเมืองศรีโคตบองเพื่อจเข้าไปบิณฑบาตรในเมืองนั้น
    ครั้งนั้นพระยาเจ้าเมืองศรีโคตบองนั้นเป็นผู้ได้ทรงบำเพ็ญบุญสมภารกตาธิการมาแต่หนหลังเป็นอันมาก เหตุนั้นจึงได้เสวยราชสมบัติในบ้านเมืองในชมพูทวีปเป็นครั้งที่ 3 เพื่อจัดได้โชตนาพระพุทธศาสนา จึงได้เชื่อว่าพระยาศรีโคตบูร พระยาเห็นพระศาสดาเสด็จมาดังนั้น จึงทูลอาราธนาให้พระองค์ไปรับบิณฑบาตในพระราชฐาน
    เมือพระองค์ทรงรับข้าวบิณฑบาตรแล้ว ก็ส่งบาตรให้พระยาโคตบูร แล้วก็เสด็จมาประทับต้นรังดังเดิม ส่วนพระยาเมื่อรับเอาบาตรจากพระพุทธองค์แล้วก็ยกขึ้นเหนือพระเศียรทำความปรา รถารแล้วจึงนำบาตรไปถวายพระองค์ที่ประทับอยุ่พระพุทธองค์ทรงรับเอาบาตรแล้ว ก็เสด็จกลับมาทางอากาศประทับที่ภูกำพร้าดังเก่า พระยาศรีโคตบูรเมื่อทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาทางอากาศดังนั้น ก็ทรงยกพระหัตถ์ขึ้นประนมทอดพระเนตรพระศาสดาจนสุดชั่วพระเนตรจึงคำนึงใน พระทัยว่าอยากจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ดังนี้แล้วจึงเสด็จกลับคืนสู่พระราชนิเวศน์

    ทรงปรารภภูกำพร้าและเมืองศรีโคตบูร
    ครั้งนั้น เมื่อพระศาสดาทรงทราบเหตุพระยาศรีโคตบูรดังนั้น จึงตรัสกับพระยาอินทร์ว่า ดูราอินทาธิราช ตถาคตมาสถิตที่นี้ราตรีหนึ่งด้วยเหตุอันใดจา พระยาอินทร์จึงทูลตอบว่า พระองค์เสด็จมาที่ภูกำพร้าราตรีหนึ่งนั้น ก็เพราะทรงอาศัยอดีตเหตุพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ มีพระกกุสนธเป็นเค้า มีพระพุทธกัสสปเป็นปริโยสาน ซึ่งเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานไปแล้วนั้น พระอัรหันต์ทั้งหลายเทียรย่อมนำเอาประบรมธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นมาประดิษฐานไว้ในภูกำพร้าที่นี้เพื่อเป็นที่ไหว้สักการบูชาของ ท้างพระยาเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในภายภาคหน้าอันนี้เป็นพระเพณีแห่งพระ พุทธเจ้าทั้งหลายสืบ ๆ กันมาบ่ขาด
    เฉพาะที่พระพุทธองค์ทรงฉันบิณฑบาตของพระยาศรีโคตบูรนั้น คนทั้งหลายเรียกเมืองศรีโคตบอง พระยาอินทร์จึงกราบทูลว่า ผู้ข้าทั้งหลาย อินทร์ พรหม เทวบุตร เทวดาเรียกเมืองศรีโตโม เพราะเหตุพระองค์ทรงพระนามว่า “โคตม” หากให้ศรีสวัสดีแก่พระยาศรีโคตบูร ผู้ข้าทั้งหลายเรียกดังนี้ เมื่อพระยาอินทร์ทูลชอบแก่พระพุทธวิสัยดังนั้น พระองค์ก็ทรงดุษณีภาพนิ่งอยู่หั้นแล
    ในขณะนั้น เทวดามเหศักดิ์ทั้งหลาย ผู้สถิตอยู่ในราวป่าที่นั้น เมื่อได้ยินดังนั้นก็ส่งเสียงสาธุการขึ้นพร้อมกัน ภายบนถึงชั้นอกนิษฐพรหม ภายล่างถึงขอบจักรวาลเป็นที่สุด พระยาอินทร์กราบทูลดังนั้นแล้วก็เสด็จกลับคืนไปสู่ที่อยู่ของตน

    ทรงพยากรณ์พระยาศรีโคตบูร
    ในกาลนั้น พระพุทธองค์จึงทรงพยากรณ์ให้แจ้งแก่เจ้าอานนท์ว่า ดูราอานนท์พระยาศรีโคตบูรองค์นี้จักจุติไปเกิดในเมืองสาเกตนคร อันอยู่ทิศตะวันตกเมองศรีโคตบูรจักมีนามว่า “สุริยกุมาร” เมืองศรีโคตบูรนี้ จักย้ายไปตังที่ป่าไม้รวกมีมีนามว่า “เมืองมรุกขนคร” เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว สุริยกุมารจักได้เป็นใหญ่กว่าท้าวพระยาทั้งหลายและจักได้ก่อแฮกพระพุทธศาสนาไว้ในเมืองร้อยเอ็ดประตู เมืองสาเกตนครนั้นจักเสื่อมสูญไป ตั้งแรกแต่นั้นไปพระพุทธศาสนาจึงรุ่งเรือง เสมอกับเมื่อพระตถาคตยังมีชีวิตอยู่นั้นชะแล ครั้นสุริยกุมารจุติไปจัดได้มาเอดเป็นพนาสุมิตตธรรมวงศา – มรุกขนครจักได้อภิเษกพ่อนา เป็นพระยาจันบุรีหนองคันแทเสื้อน้ำ และแฮกตั้งพระพุทธศาสนาในที่นั้น
    ดูราอานนท์ พระยาสุมิตตธรรมองค์นี้จักได้ฐปนาอุรังคธาตุของตถาคตไว้ในภูกำพร้าที่นี้ แล้วจักได้กลับไปโชตนาพระพุทธศาสนาอันแตกม้างในเมืองสาเกตร้อยเอ็ดประตูจนตลอดอายุของตนหั้นแล

    ทรงพยากรณ์เมืองมรุกขนคร
    ส่วนเมืองมรุกขนครนั้น จักย้ายไปตั้งพระพุทธศาสนาใกล้ที่อยู่ของพญาปลาตัวนั้น (คือใกล้รอยพระบาทเวินปลา) แต่เมืองนั้นมออาจตั้งเป็นเอกราชอยู่ได้ดังแต่ก่อน จักเป็นเมืองน้อยขึ้นแก่เมืองใหญ่ ที่พระยาผู้มีบุญสมภารเสวยราชสมบัติ ครอบครองนั้นแล เหตุว่าตถาคตอธิฐานรอยบาตไว้ที่ก้อนหินให้แก่พญาปลาตัวนั้นเพื่อเป็นที่สักการบูาชา
    ครั้นพระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ดังนี้แล้ว จึงผินพระพักตร์เมืองจุฬณีพรหมทัตและเมืองอินทปัฐนคร ขณะนั้นพระอานนท์มีสงสัยว่า พระองค์จักเสด็จเมืองทั้งสองนั้นหรือ ๆ ว่าบาเสด็จไปหนอ จึงกราลทูลว่า เมื่อพระองค์เสด็จจากภูกำพร้าที่นี้แล้วจะเสด็จไปที่ใดจา พระพุทธองค์จึงตรัสว่า จากที่นี้แล้ว เราตถาคตจักไปชุมรอยบาที่หนองหารหลวงนั้นก่อน แล้วในเมืองหนองหารหลวงนั้นมีพระยาองค์หนึ่งนามว่า “พระยาสุวรรณภิงคาร” เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองนั้น

    เสด็จถึงแม่น้ำพุง (เขต อ.เมืองสกลนคร)
    ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จไปตามมรรคาถึงแม่น้ำสายหนึ่ง อันอยู่ระหว่างทางยังมีนาคตัวหนึ่งชื่อว่า “โธทนนาค” เคยเป็นเชื้อวงศ์พระยาศรีสุทโธทนมาแต่ชาติเมื่อเป็นมนุษย์ เมื่อเวลาจะตายมีจิตโกรธกล้า จึงได้มาเกิดเป็นนาคเลาะเรียบหากินปลาตามริมแม่น้ำ พระพุทธองค์ทรงทราบเหตุอันนี้ จึงตรัสว่า ดูราโธทนนาคเอยท่านอย่าได้ถือหาบอันหนักซ้ำเติมหาบอันเก่าให้หนักขึ้นเทอญ
    เมื่อพญานาคได้ยินดังนั้น จึงฮำเพิงในใจว่า บุคคลผู้ใดมาฮู้จักเชื้อชาติแห่งกูและตักเตือนกูสันนี้หนอ กูควรเข้าไปดูให้ฮู้ คำนึงดังนี้แล้ว จึงเข้าไปใกล้พระพุทธองค์พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ดูรานาคเอย ท่านมาหาเราเพื่อจะปลงหาบอันหนักหรือ เราจะปลดเสียยังทุกข์ให้ท่านได้ถึงสุข เมื่อพญานาคได้ยินดังนั้นแล้ว ก็มีจิตใจเบิกบานชื่นชมยินดียิ่งนัก จึ้งเข้าไปกราบแทบบาทมูลของพระศาสดา แล้วก็ได้ตังอยู่ในพระไตรสรณาคมน์ ครั้นจุติจากชาติอันเป็นนาคก็ได้ไปบังเกินในชั้นดาวดึงส์นามปรากฏว่า โธทนนาคเทวบุตร ตามวงศาแห่งตน แม่น้ำที่นาคอาศัยอยู่แต่ก่อนนั้นคนทั้งหายเรียกน้ำนำพุงมาเท่ากาลบัดนี้แล

    เสด็จประทับหนองหารหลวงประทานรอยพระบาท
    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากที่นั้นแล้ว ก็เสด็จไปสู่เมืองหนองหารหลวง พระยาสุวรรณภิงคาร เห็นพระศาสดามาดังนั้น จึงทูลอาราธนานิมนต์เข้ไปฉันที่หอปราสาท เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภัตกิจสำเร็จแล้ว ก็เทศนาสั่งสอนพระยาสุวรรณภิงคาร แล้วจึงเสด็จลงจากปราสาทไว้รอยพระบาทในที่นั้นต่อหน้าพระยาสุวรรณภิงคาร แล้วทรงทำปาฏิหาริย์ให้เป็นแก้วออกจากพระบาททั้ง 2 พระบาทละลูกโดยลำดับ ซ้ำทรงทำปาฏิหาริย์ให้ออกมาอีกลูกหนึ่ง เมื่อพระยาสุวรรณภิงคารทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็บังเกิดอัศจรรย์ใจยิ่งนักว่า เหตุใดหนอ แก้วจึงออกมาจากพระบาทพระศาสดาได้นี้จา
    ในขณะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูรามหาราช สถานที่นี้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ แก้วจึงออกมาจากที่นี้ 3 ลูก คือ รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากกุสนธ โกนาคมน และกัสสป พระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นี้ได้เสด็จไปรับบิณฑบาตในเมืองศรีโคตบูร แล้วมาฉันที่ภูกำพร้าจึงเสด็จมาประดิษฐานรอยพระบาทไว้ด้วยเหตุอันใด
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูรามหาราช ที่เป็นบ้านเป็นเมืองตั้งพระพุทธศาสนาอยู่นั้น แม้มีเหตุควรไว้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไปไว้ด้วยเหตุเป็นที่หวงแหนแห่งหมู่เทวดาและพญานาค ทั้งหลาย และบ้านเมืองก็จักเสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเทียรย่อมไว้ยังรอยพระบาทไกลบ้านเมือง พระพุทธสาสนาก็จักตั้งอยู่ก้ำท้ายเมืองและหัวเมืองเมื่อพระพุทธเจ้า ได้ไว้จิตแก้ว กล่าวคือรอยพระบาทที่ท้ายเมืองทิศใต้นั้นพระพุทธศาสนาจักตั้งรุ่งเรืองใน เมืองนั้นก่อน แล้วจึงย้ายห่างมาใต้ตามรอยพระบาท เมื่อไว้จิตแก้วก้ำหัวเมือง พระพุทธศาสนาก็จักตังในเมืองนั้นแล้วจึงย้ายห่างไปทางเหนือที่รอยพระบาทอัน พระพุทธเจ้าได้ประดิษฐานไว้นี้ก็ไป่ตั้งเมืองคนทั้งหลายจึงจักตั้งอยู่เป็น ปกติ
    ส่วนเมืองหนองหารหลวงนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าได้มาสุมรอยพระบาทไว้สมัยพระยาองค์ใดเสวยราชสมบัติ พระยาองค์นั้นเสวยราชสมบัตินั้น พระยาองค์นั้นได้สร้างบุญสมภารมาแล้วตังแสนกัลป์ทุก ๆ พระองค์ ถึงเมืองหนองหารน้อยก็ดุจเดียวกัน และทั้งสองเมืองนี้เมื่อตั้งก็เกิดพร้อมกัน ด้วยเหตุที่เสด็จมาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นสิ้นชั่วพระยาทั้งสองเมืองนี้เทวดาและนาคทั้งหลายที่รักษาหนองหารหลวงและหนองหารน้อย ก็จักได้ให้น้ำไหลนองเข้ามาหากัน ท่วมรอยพระบาทและบ้านเมือง คนทั้งหลายจึงได้แยกย้ายกันไปตังในราชธานีใหญ่ ที่พระพุทธะศาสนาตั้งรุ่งเรืองอยู่นั้น
    เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จเข้าสู่นิพพานไปแล้วพระอรหันต์ทั้ง หลายจักได้นำเอาพระธาตุพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ริมแม่น้ำธนนที ราชธานีบ้านเมืองพระพุทธศาสนาจักรุ่งเรื่องไปตามริมแม่น้ำอันนั้นเมืองฝ่าย เหนือกลับไปตั้งอยู่ฝ่ายใต้ ฝ่ายใต้กลับไปตั้งอยู่ฝ่ายเหนือ เมืองที่ตั้งอยู่ท่ามกลางนั้นประเสริฐมีอานุภาพยิ่งนัก ท้าวพระยาทั้งหลายที่มีบุญสมภารจักได้เสวยราชสมบัติ บ้านเมือง อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นสิ้นพระพุทธศาสนาแล้ว ราชธานีบ้านเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำฝ่ายเหนือ กลับไปฝ่ายเหนือก็เมืองราชธานีที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเทียวบิณฑบาต เป็นต้นว่า เมืองศรีโคตบองก็กลับมาตั้งอยู่ที่เก่าเมืองราชธานีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางนั้น ก็กลับมาตั้งอยู่ริมหนองหารดังเก่า เพื่อรอท่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ครั้งนั้น ท้าวพระยาทั้งหลายที่มีบุญสมภารก็บังเกิดขึ้นตามราชธานีนั้น ๆ อันนี้หากเป็นจารีตประเพณีสืบ ๆ มาแห่งแม่น้ำธนนที พระพุทธศาสนาก็จักตังอยู่แต่ทิศเบื้องเหนือและทิศเบื้องใต้และทิศตะวันตกและทิศตะวันออก ไปตามริมแม่น้ำอยู่เป็นปกติ
    ดูรามหาราช ตถาคตเทศนาศาสนาแลนครนิทาน ดังกล่าวมาแล้ว เหตุนั้นจึงได้ว่าไป่มีคนอยู่ในหนองหาร ถึงแม้ว่ามีคนอยู่ในรมหนองหารทั้งสองนั้น ท้าวพระยาที่มีบุญสมภารเป็นเอกราชนั้นจักตั้งอาณานิคมในพระพุทธศาสนาอันใหญ่ นั้นก็ไป่มีเท่ามีก็เป็นแต่ปัจจันตพระพุทธศาสนาตามกาลสมัยนั้นแลเมื่อพระยา สุวรรณภิงคารได้ทรงสดับรัตนปัญหาดังนั้นก็ทรงโสมนัสซาบซึ้งในพระขันธสันดาน ยิ่งนักและมีพระทัยปรารถนาจะตัดพระเศียรบูชารอยพระพุทธบาททันใดนั้นพระนาง เทวีได้ทูลห้ามไว้าว่า เมื่อมหาราชยังมีพระชนม์อยู่จักได้สร้างพระราชกุศลเพิ่มเติมต่อไปไป่ควรที่ พระองค์จะมาทำเช่นนี้เมื่อพระยาได้ทรงสดับถ้อยคำพระนางเทวีห้ามดังนั้นจึง ถอดมงกุฏออกบูชาพระศาสดาซ้ำตรัสเทศนาโปรดเป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้พระยามีศรัทธาอาจหาญในธรรม (ดูความพิสดารในคัมภีร์อุรังคธาตุ)

    สร้างพระธาตุเชิงชุม
    พระยาสุวรรณภิงคารพร้อมด้วยพระราชเทวี ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาพระบาทลักษณ์และอปริหานิยธรรม อันพระศาสดาตรัสเทศนาดังนั้น ก็ทรงบีติปราโมทย์ยิ่งนัก แล้วทรงสร้างอุโมงค์ด้วยหิน ปิดรอยพระบาทพร้อมทั้งมุงกุฏเหตุนั้นจึงพากันเรียก “พระธาตุเชิงชุม” มาเท่ากาลบัดนี้

    ทรงตรัสปรารภบริโภคเจดีย์
    พระศาสดาตรัสเทศนาแกพระยาสุวรรณภิงคารว่า ที่ใดตถาคตได้ลงจากอวกาศและสถิตอยู่ได้เห็นเหตุอันใดอันนึ่ง แล้วทำนายนั้นเป็นกงจิตแก้วอันหนึ่งและที่ลมไม้อันตถาคตฉันข้าวนั้น ก็เป็นกงจิตแก้วอันหนึ่ง พงศ์ทั้งสองนี้เรียกว่า “โชติกเจดีย์” พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองในที่นั้น ที่ตถาคตได้ไสยาสน์และบิณฑบาตมาฉันที่นั้นเป็นพงศ์แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เสอมด้วยดอยสิงคุตร (ธาตุย่างกุ้ง) ที่ตถาคตยืนทรงบาตรยืนอิงต้นไม้นั้นเป็นพงศ์อันหนึ่ง และเมื่อว่าตถาคตได้หมายกงจิตแก้วที่ใด ต่อไปภายหน้าโพ้นโชติกเจดีย์บังเกิดขึ้นในที่นั้น ดูรามหาราช เจดีย์ที่ก่อโลมบาทเชิงชุมบัดนี้ ปัจจุบันอัปปเจดีย์ ไป่รุ่งเรืองภายหน้า

    เสด็จไปประทับดอยแท่น
    ครั้นพระพุทธองค์ ทรงเทศนาแก่พระยาสุวรรณภิงคารดังนั้นแล้ว จึงเสด็จขึ้นดอยลูกหนึ่งข้างในเป็นดังคูหา คนทั้งหลายขึ้นไปดอยลูกนั้น มองเห็นหนองหารหลวงและหนองหารน้อยมองเห็นเมืองศรีโคตบูรและภูกำพร้า พระยาสุวรรณภิงคารให้สังวาลย์ทองคำหนัก 300,000 (สามแสน) เป็นทานแก่คนทั้งหลายที่มีกำลังก่อแท่นด้วยหินมุกเป็นปัจจุบันโดยพลัน และพระองค์ก็เสด็จขึ้นพรแท่นระลึกถึงพระมหากัสสปเถร ก็มาเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสแก่ พระมหากัสสปเถรเป็นภาษาบาลีว่า “อุรงฺคธาตุกสฺสป กปรคิริ อปฺปตฺตรา” ดังนี้ แล้วจึงผินพระพักตร์เฉพาะซึ่งภูกำพร้า ตรัสว่า ดูรากัสสป ตถาคตนิพพานไปแล้วเธอจงนำอำอุรังคธาตุตถาคตไว้ที่ภูกำพร้า อย่าได้ละทิ้งคำตถาคตสั่งไว้นี้เสีย พระมหากัสสปเมื่อได้ยินดังนั้น ก็ชื่นชมยินดียกอัญชุลีขึ้นว่า สาธุ สาธุ ดังนี้ และก็กลับไปสู่ที่ของตน

    เสด็จประทับภูกูเวียน
    ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็กลับคืนมาสถิตอยู่ภูกูเวียน ทรงเปล่งรัศมี ให้เข้าไปในเมืองนาคู่ปเวียน ขณะนี้สุวรรณนาคได้เห็นพระรัศมี จึงออกมาจากแม่น้ำขึ้นไปสู่ยอดเขาพ่นพิษออกมาเป็นควัน เขาลูกนั้นก็มืดมัวไปทั้งสิ้น พระพุทธองค์เห็นดังนั้นก็ทรงเข้าเตโชกสิณเป็นเปลวไฟ ไปเกี่ยวพันสุวรรณนาคกระเด็นไปในน้ำปู่เวียนเปลวไฟก็ผุดแต่พื้นน้ำขึ้นมาไหม้เมืองนาคตลอดไปถึงหนองบัวบาน ซึ่งเป็นที่อยู่ของพุทโธปาปนาค นาคทั้งหลายมาล้อมถูกูเวียนนั้นไว้

    ทรงทรมานพวกนาค
    ในขณะนั้น พระศาสดาประทับทำสมณธรรมอยู่ ณ ที่นั้น นาคทั้งหลายจึงกระทำอิทธิฤทธิ์ เป็นเปลวไฟพุ่งขึ้นมาหาพระพุทธองค์ เปลวไฟนั้นก็กลับคืนมาไหม้นาคทั้งหลายเหล่านั้น แล้วกลับไปเกิดเป็นดอกบัวบูชาพระศาสดา นาคทั้งหลายเหล่านั้นจึงแวดล้อมพระพุทธองค์ไว้ เพื่อให้พุทโธปาปนาคทำอิทธิฤทธิ์พังทลายที่ประทับ พระพุทธองค์ทรงเข้าปฐวีกสิณ ที่ประทับก็บังเกิดแท่นแข็งงดงามยิ่งนัก นาคทั้งหลายกระทำอิทธิฤทธิ์ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อทำลายพระแท่นและพระพุทธองค์ ก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายพระพุทธองค์ได้ มันซ้ำกระทำอิทธิฤทธิ์ให้เป็นเปลวไฟเข้าไปทำลายอีก พระศาสดาทรงเข้าวาโยกสิณ เป็นลมพัดกลับไปไหม้นาคทั้งหลายเหล่านั้นแล้วพระศาสดาก็เสด็จไปบนอวกาศ นาคทั้งหลายเห็นดังนั้นก็ทำอิทธิฤิทธ์โก่งหลังขึ้นไปเป็นหมู่นาคตามล้อมพระศาสดา พระองค์ทรงนิรมิตให้หัวนาคทั้งหลายเหล่านั้นขาดตกลงมา นาคทั้งหลายเห็นดังนั้น ก็มีความเกรงกลัวอานุภาพของพระศาสดายิ่งนัก

    ทรงสั่งสอนหมู่นาค
    พระศาสดาทรงรู้แจ้งดังนั้นก็เสด็จกลับลมมาประทับ ณ ที่เก่า นาคทั้งหลายจึงพร้อมกันเข้าหาพระศาสดา พระองค์จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงบรรเทาเสียยังพยาธิต่อมผีอันเจ็บป่วดกล่าวคือหัวใจแห่งท่านทั้งหลาย ตถาคตจักรักษาให้หายยังพยาธินั้นนาคทั้งหลายได้ฟังพระพุทธพจน์ดังนั้นก็มีใจชื่นบาน พร้อมกันเข้ามากราบแทบพระบาทพระศาสดาก็ทรงตรัสเทศนาสั่งสอนหมู่นาคทั้งหลาย ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ มีเมตตากรุณาแก่มนุษย์ทั้งหลาย มีปริยายต่าง ๆ

    เสด็จไปประทับดอยนันทกังฮี
    ครั้นแล้วพระศาสดาก็เสด็จไปสู่ดอยนันทกังฮี ซึ่งเป็นที่อยู่ของนางนันทยักษ์แต่ก่อนมีนาคตัวหนึ่ง 7 หัว “ศรีสัตตนาค” เข้ามาทูลขอให้พระศาสดาทรงย่ำรอยพระบาทไว้ในดอยนันทกังฮี พระศาสดาก็เสด็จย่ำรอยพระบาทไว้ ณ ที่นั้น ทรงก้าวพระบาทข้ามตีนดอยก้ำขวาแล้วทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์กราบทูลถาม

    ทรงทำนายเมืองศรีสัตตนาค
    พระศาสดาทรงตรัสว่า เราเห็นนาค 7 หัวเป็นนิมิต ต่อไปภายหน้านี้จักบังเกิดเป็นเมืองนามว่า “เมืองศรีสัตตนาค” และที่พญานาคได้ให้ความสวัสดีแก่พระยาจันทบุรีนั้นจักรกร้างเสื่อมสูญ

    ทรงเหยียบรอบพระบาทไว้ใกล้ดอยนันทกังฮี
    พระพุทธองค์ ได้เสด็จลงไปไว้รอยพระบาทที่แผ่นหินอันจมอยู่กลางแม่น้ำเบื้องซ้ายดอยนันทกังฮี ซึ่งคนทั้งหลายไม่สามารถจะมองเห็นได้ แล้วจึงเสสด็จไปบนดอยนันทกังฮีอธิษฐานให้เป็นรอยเกิบบาททับหงอนนาคไว้ ซึ่งพญาศรีสัตตนาคได้สมมุติดอยนันทกังฮีให้เป็นหงอนแห่งตน เพื่อบ่ให้ท้าวพรยาในเมืองนั้นทำยุทธกรรมกัรจักแพ้พระพุทธศาสนาบ้านเมือง

    เสด็จกลับพระเชตวัน
    ครั้นแล้ว พระศาสดาก็เสด็จจากดอยนันทกังฮีไปสู่พระเชตวันอารามดังเก่า ครันอยู่ต่อมาในกาลวันหนึ่ง หมู่ง้วนก็มาถึงแก่พระองค์จึงตรัสถามพระอานนท์เป็นอุบายว่า ดูราอานนท์ วิหารหลังเก่าเราจะปฏิสังขรณ์อยู่ไปก่อนดีหรือ ๆ ว่าไม่ดี พระอานนท์ทูลว่าสร้างใหม่อยู่ดี แล้วพระองค์จึงตรัสว่า บัดนี้พระองค์จะเข้าสู่นิพพานอานนท์เห็นว่าเมืองใดใหญ่ พระอานนท์ก็กราบทูลว่าเมืองราชคฤห์เป็นเมืองใหญ่ แล้วพระองค์จึงตรัสว่า ตถาคตจักไปนิพพานมนเมืองกุสินารายเพื่อโปรดโสตถิยพราหมณ์ พราหมณ์คนนี้เมื่อครั้งก่อนได้เอาหญ้าคา 8 กำมือมาปูให้ตถาคตนั่งก็บังเกิดเป็นแท่นแก้วเป็นที่ตรัสรู้

    ทรงปรารภเมืองกุสินารายในอดีต
    ดูราอานนท์ ครั้นก่อนตถาคตได้เป็นพระยาสุทัศนจักรวรรดิราช เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองนั้น (กุสินาราย) กงจักรแก้วมรีโชติก็บังเกิดขึ้นในเมืองนั้นเมืองกุสินารายเดี๋ยวนี้เป็นที่นิพพานแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายในระหว่างต้นไม้รัง

    ทรงปรารภพระเจดีย์
    ดูราอานนท์ เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ใครผู้ใดมีความระลึกถึงตถาคตเอาแก่นไม้รังที่ตถาคตบริโภคนั้นมาสร้างเป็นรูปตถาคตไว้ เมื่อบุคคลผู้ใดยังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร สามารถที่ปิดเสียซึ่งประตูอบายได้ด้วยเหตุว่าเป็นพุทธบริโภค 2 ชั้น หรือว่าเอาแก่นไม้ป่าแป้งที่ตายแล้วมาสร้างเป็นรูปตถาคตก็ฉันเดียวกัน
    เหตุว่าไม้ทั้งสองนี้ตถาคตได้บริโภคเป็นต้นไม้อันประเสริฐ พระศาสดาตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จไปสู่เมืองกุสินารายทรงอาเจียนออกเป็นโลหิต พระอานนท์เห็นดังนั้นจึงไปหานำมาถวายพระพุทธองค์ นำในที่นั้น ๆ ขุ่นเป็นตมไปเสียทุกแห่ง ไป่ได้นำที่ใดมาถวาย ทันใดนั้นพระอานนท์จึงกราบทูลให้ทรงทราบเหตุการณ์วิปริตนั้น พระองค์จึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูราอานนท์ เธออย่าได้ไปแสวงหาน้ำนั้นเลย ถึงจะไปหาที่ใด ๆ ก็ดี น้ำที่ใสอยู่ก่อนจักขุนสิ้นไปทุกแห่งนั้นแล

    ทรงปรารภบุรพกรรมของพระองค์
    ดูราอานนท์เอย เมื่อชาติก่อนตถาคตได้เป็นพ่อค้าเกวียนเกินทางมา วัวเกวียนอยากกินน้ำ นำใสมีอยู่ในที่ไกล ความเกียจคร้านกับความรีบร้อนจะเดินทางไปข้างหน้ามีอยู่เฮาจึงนำวัวไปกินน้ำขุ่นในที่ใกล้ เวรอันนั้นยังเศษเหลือไปสิ้น จึงตามมาสนองแก่เฮาในบัดนี้ เมื่อพระอานนท์ได้ทรายดันนั้น ก็ไปตักเอานำมาถวาย นำก็ใสเป็นปกติดังเก่า เป็นที่นาอัศจรรย์ยิ่งนัก

    ทรงปรารภพระธรรมวินัย
    ครั้นแล้วพระศาสดาก็เสด็จลีลาไปจากที่นั่นไปสู่เมืองกุสินารายณ์ ประทับไสยาสน์บันทมระหว่างไม้รัง 2 ต้น แล้วตรัสกับเจ้าอานนท์ว่า ดูราอานนท์เอ่ย พระธรรมวินัย 84,000 พระธรรมขันธ์ ที่ตถาคตเทศนาไว้นั้น เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วตถาคตไว้พระพุทธศาสนา 5000 พระวรรษา เพื่อเป็นที่ไหว้นบสักการบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย พระธรรมวินัยนั้นและจะเป็นครูอาจารย์สั่งสอนสู่ท่านทั้งหลาย เสมอด้วยตถาคตยังทรมานอยู่ บุคคลผู้มีศรัทธาปัญญาเป็นกุศล ได้ปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัยที่ตถาคตสั่งสอนไว้นั้น หรือสร้างสถูปเจดีย์วิหารและรูปตถาคตตั้งไว้และกราบไหว้บูชาบำเพ็ญศีลภาวนาไปบ่ขาด แม้ปรารภนาเอาโลกิยะและโลกุตระสมบัติก็เทียรย่อมจักได้สมความมักสมความปรารถนาทุกประการชะแล ประดุจดังว่า ไฟอันดับมอดแล้วผู้มีปัญญาเอาไม้มาสีกันเข้า เพื่อให้เกิดเป็นไฟ (ก็เกิดเป็นไฟขึ้นดังปรารถนานั้นแล)
    อีกนัยหนึ่ง เป็นประดุจดังบุคคลเอาแก้วสุริยกันตะมารอบแสงตะวัน เพื่อให้เกิดเป็นไฟติดชนวนแล้วจุดต่อ ๆ กันไปเป็นไฟใหญ่ เพื่อให้สำเร็จในสรรพกิจการนั้น ๆ
    อีกนัยหนึ่ง ประดุจดังอ้อยมีโคนอันขาดแล้ว บุคคลปรารถนาในรสอันหอมหวานเอามาชำไว้ในที่ชุ่มให้แตกเป็นหน่อกอลำขึ้น จนมีรสหวานมีใบอันคมฉันใด
    แม้ตถาคตนิพพานไปแล้วก็ตาม พระพุทธศาสนาก็ยังจักตั้งอยู่เป็นปกติตลอด 5,000 พระวรรษา พระพุทธศาสนานี้เปรียบประดุจดังสระน้ำอันตั้งอยู่เหนือแผ่นดินถึงแม้ว่าน้ำจะเหือดแห้งไปก็ตาม เมื่อถึงฤดูกาลฝนตกลงมีน้ำขึ้นในสระนั้น พรรณอกไม้ทั้งหลายในสระนั้นเป้ฯต้นว่าดอกบัวหลวงแลบุณฑริก ก็จักบังเกิดขึ้นในสระนั้นฉันใด พระพุทธศาสนาก็ฉันนั้น เมื่อบุคคลมีความเพียรกระทำกัมมัฏฐาน ก็จักได้ถึงมรรคผลนั้น โดยลำดับ
    ผิว่าไป่ได้ถึงในชาตินี้ เมื่อจุติไปได้บังเกิดเป็นเทวดา ได้สดับธรรมเทศนาจากธรรมกถึกเทวบุตร ก็จักได้ (มรรคผล) ในสำนักนั้นสูท่านทั้งหลายจงกระทำกัมมัฏฐานอย่าได้ขาดเทอญ

    ทรงปรารภการบูชาแล้วนิพพาน
    ดูราอานนท์เอย บุคคลบุชาตถาคตและศาสนาที่ตถาคตตั้งไว้ด้วยดอกไม้ธูปเทียนนั้นเชื่อว่า มิได้บูชา ส่วนบุคคลบูชา ได้ชื่อว่าบูชานั้น ตถาคตจะสั่งเธอไว้ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ก็ตาม ที่ปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งสอนของตถาคต ถึงแม้ว่าจะไม่มีเครื่องสักการะก็ตาม เป็นแต่เพียงมีจิตเลื่อมใน เชื่อในคุณพระรัตนตรัยไหว้นบแต่มือเปล่า ๆ ก็ได้ชื่อว่าบูชาอันประเสริฐยิ่งกว่าประเสริฐ เมื่อพระองค์ตรัสสั่งกับพระอานนท์ดังนี้แล้ว จึงทรงอธิษฐานว่าเมื่อใดกัสสปยังไปมารับเอาอุรังคธาตุ ตถาคตไปไว้ที่ดอยกปณคิรี ไฟธาตุอย่าได้ไหม้ตถาคต ทรงอธิษฐานแล้วก็เสด็จเข้าสู่นิพพาน

    กษัตริย์มัลลราชจัดการพระบรมศพ
    ครั้งนั้น กษัตริย์มัลลราชทั้งหลาย ได้ทราบซึ่งเหตุว่า พระศาสดาเสด็จเข้าสู่นิพพานก็พร้อมกันมาสักการบูชาโสรจสรงพระบรมศพ (ด้วยน้ำสุคนธรสของหอม) และเชิญพรบรมศพเข้าพระหีบทอง ประดิษฐานไว้บนเชิงตะกอน แล้วทำการถวายพระเพลิงเป็นหลายครั้งหลายหน เพลิงก็ไม่สามารถทำลายพระบรมศพได้ ทันใดนั้นพระมหากัสสปเถระก็มาถึงและเข้าไปทำการสักการะ ขณะนั้นพระศาสดาทรงทำการปฏิหารให้พระบาทเบื้องขวายื่นออกมาจากพระหีบทอง เพื่อให้พระมหากัสสป (ได้) กระทำสักการะ

    พระอุรังคธาตุทำปาฏิหารย์
    ในขณะนั้นพระอุรังคธาตุที่หุ้มห่อดวยผ้ากัมพลก็ ปาฏิหาริย์เสด็จออกจากพระหีบทองมาประดิษฐานอยู่เหนือฝ่ามือเบื้องขวาของพระ มหากัสสปเถระอัครสาวกทันใดนั้นไฟธาตุก็บักเกิดลุกเป็นเปลวขึ้น ทำลายสรีระของพระศาสดา

    พระธาตุที่เหลือจากไป
    ส่วนพระบรมธาตุกระโบงหัวนั้น ฆฏิการพรหมนำเอาไปประดิษฐานไว้ในพรหมโลก พระธาตุแข้วหมากแง (พระเขี้ยวแก้ว) โทณพราหมณ์เอาซ่อนที่มวยผมพระอินทร์นำเอาไปประดิษฐานไว้ในชั้นดาวดึงส์พระธาตุกระดูกด้ามมีดนั้น (พระธาตุรากขวัญ) พญานาคนำเอาไปประดิษฐานไว้ที่เมืองนาค พระบรมธาตุที่ออกนามข้างบนนี้มิได้เป็นอันตรายด้วยเพลิงยังปกติอยู่ตามเดิม ส่วนพระบรมธาตุนอกนั้นย่อยยับไปเป็น 3 ขนาด ขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วกวาง (ถั่วแตก) ขนาดที่ 2 เท่าเมล็ดข้าวสารหัก ขนาดที่ 3 ขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด พระยาอชาติศัตรูนำเอา ไปประดิษฐานไว้ในถ้ำสัตตปัณคูหา (กษัตริย์นครอื่น ๆ ก็ได้รับแบ่งนำไปประดิษฐานไว้ ณ นครของตน ๆ ส่วนอุรังคธาตุนั้น พระมหากัสสปเถรเจ้า จักนำไปประดิษฐานไว้ ณ ดอยกปณคิรี ในแขวงเมืองศรีโคตบุรี ตามคำสั่งพรพุทธเจ้าได้สั่งไว้เมื่อก่อนนั้นแล

    ข่าวการเสด็จปรินิพพาน
    ครั้งนั้นท้าวพระยาทั้งหลาย มีพระยาจุฬณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร พระยานันทเสน พระยาสุวรรณภิงคาร และพระยาคำแดง รู้ข่าวว่าพระมหมกัสสปเถรเจ้าจักนำเอาพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้าดังนั้น พระยาจุฬณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร และพระยานันทเสนทั้ง 3 พระองค์ พร้องด้วยไพร่พลโยธาเสด็จมาประทับพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำธนที ใต้ปากเซที่นั้น จึงตรัสสั่งไพรพลโยธาทั้งหลายองค์ละ 500 คน สกัดหินมุกมาสร้างอารามไว้คอยท่านพระมหากัสสปเถรเจ้า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 61.jpg
      61.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.8 KB
      เปิดดู:
      206
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) มหาเทพผู้ทรงอำนาจ และบารมี

    กล่าวถึง ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ไว้ว่า กุเวร - ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่า ท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬ เรียก กุเวร ว่า กุเปรัน (ภาพท้าวเวสสุวรรณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวร ชื่อ อลกาอยู่ บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่ง ของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า สวนไจตรต หรือ มนทร มีพวกกินนร และคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาล ประจำทิศเหนือ จีน เรียกว่า โต้เหวน หรือ โต้บุ๋น ญี่ปุ่น เรียก พสมอน

    ท้าวกุเวรนี้ สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑป ชื่อ ภคลวดี กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถาน ของเหล่ายักษ์ บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์ เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน


    นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้ว ประพาฬ หอกทอง

    ลัทธิความเชื่อของพราหมณ์ กล่าวถึงประวัติของท้าวเวสสุวรรณไว้ว่า ทรง เป็นโอรสของ พระวิศรวิสุมนี กับ นางอิทาวิทา แต่ในมหาภารตะว่า เป็นโอรสของพระปุลัสต์ ซึ่งเป็นบิดาของ พระวิศรวัส กล่าวว่า ด้วยเหตุที่ท้าวกุเวรใฝ่ใจกับท้าวมหาพรหม เป็นเหตุทำให้บิดาโกรธ จึงแบ่งภาคเป็น พระวิศวรัส หรือ มีนามหนึ่งว่า เปาลัสตยัม ซึ่งรามเกียรติ์ไทยเรียกว่า ลัสเตียน ท้าวลัสเตียน หรือ พระวิศวรัสซึ่งเป็นภาคหนึ่งของพระวิศรวิสุมนี นั้น ได้นางนิกษา บุตรีท้าวสุมาลีรักษา เป็นชายา มีโอรสด้วยกันคือ ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก และ นางสำมะนักขา ดังนั้น ท้าวกุเวร จึงเป็นพี่ชายต่างมารดา และร่วมบิดาเดียวกับทศกัณฐ์ เหตุที่ท้าวกุเวรผิดใจกับผู้เป็นพ่อ เพราะไปฝักใฝ่กับท่านท้าวมหาพรหม ซึ่งเป็นเทวดา ทำให้ผู้เป็นพ่อ คือ พระวิศรวิสุมนีโกรธ เพราะถือทิฐิว่า ตนเป็นยักษ์ ที่เป็นเทวดาต่ำศักดิ์กว่า ไม่ควรไปยุ่งกับเทวดา ที่บนสวรรค์ชั้นสูงกว่า เห็นคนอื่นดีกว่าพ่อของตน ก็เลยแบ่งภาคออกไปมีเมียใหม่ ลูกใหม่ ซะเลย ที่ท้าวกุเวร มีใจฝักใฝ่กับท่านท้าวมหาพรหมนั้น เป็นเพราะท้าวกุเวรนั้น ต้องการบำเพ็ญตบะบารมี หรือ สร้างสมความดี ด้วยการเข้าฌาน และบำเพ็ญทุกรกิริยา นานนับพันปี จนท่านท้าวมหาพรหมโปรดปราน ประทานบุษบกให้ อันบุษบกนี้ หากใครได้ขึ้นไปแล้ว สามารถล่องลอยไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ

    [ame]https://youtu.be/-cTbcu5Ot0E[/ame]

    ในพระสูตรที่ชื่อว่า “อาฏานาฏิยะ” กล่าวว่า ท้าวกุเวร ตั้งเมืองอยู่ในอากาศ ข้างทิศที่อุตรกุรุทวีป (เหนือ)และ เขาพระสุเมรุ ยอดสุทัศน์ (ที่เป็นผาทอง) ตั้งอยู่ มีราชธานี 2 ชื่อ คือ อาลกมันทา และ วิสาณา มีนครอีก 8 นคร

    ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณนั้น ยังมีชื่ออีกหลายชื่อ เช่น ธนบดี หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ ธเนศวร หมายถึง ผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ อิจฉาวสุ หมายถึง มั่งมีได้ตามใจ ยักษ์ราชหมายถึง เจ้าแห่งยักษ์ มยุราช หมายถึง เป็นเจ้าแห่ง กินนร รากษเสนทร์ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในพวกรากษส ส่วนในเรื่องรามเกียรติ์ เรียกท้าวเวสสุวรรณว่า ท้าวกุเรปัน ในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงอดีตชาติของท้าวกุเวร เอาไว้ใน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ว่า ในสมัยที่โลกยังว่าง จากพระพุทธศาสนา ไม่มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ ผู้หนึ่ง นามว่า กุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพ ด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อย ตัดใส่ลงไปในหีบยนต์ แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตน และบุตรภรรยา ต่อมากิจการ เจริญขึ้น จนเป็นเจ้าของ หีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง 7 เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับ คนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อย จากหีบยนต์เครื่องหนึ่ง ซึ่งมีปริมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่น ๆ ให้เป็นทาน แก่คนเดินผ่านไปมา จนตลอดอายุขัย ด้วยอำนาจ แห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตร บนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า'กุเวรเทพบุตร' ต่อมากุเวรเทพบุตร ได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแล พระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า 'ท้าวเวสสุวรรณ'

    ตามหลักฐานในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ยืนยันว่า 'ท้าวกุเวร' หรือ 'ท้าวเวสสุวรรณ' เทวราชพระองค์นี้ ได้สำเร็จเป็น พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันเมื่อครั้ง 'จุลสุภัททะ ปริพาชก' เกิดความสงสัยในความเป็นมาแห่ง องค์สมเด็จ พระพุทธเจ้า ท่าน 'ท้าวเวสสุวรรณ' องค์นี้แหละ ที่ได้เสด็จไปร่วมต้อนรับด้วย และ ยังเป็นประจักษ์พยาน เรื่องพระมหาโมคคัลลานะ ใช้เท้าจิกพื้นไพชยนตวิมาน ของพระอินทร์จนเกิดการ สั่นสะเทือนไป ทั้งดาวดึงส์ เทวโลก อันเป็นการเตือนสติสักกะเทวราชอีกด้วย และก็เชื่อกันตาม ฎีกามาลัยเทวสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า 'คทาวุธ' ของ 'ท้าวเวสสุวรรณ' นั้น เป็นยอดศัสตราวุธ มีอานุภาพสามารถทำลายโลกใบนี้ให้เป็น จุณวิจุณภายในพริบตา จะเห็นได้ว่า ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณนั้น ท่านเป็นเทพที่สำคัญยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ที่พิทักษ์รักษา พระพุทธศาสนา ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ท่านท้าวสักกะเทวราช หรือ พระอินทร์เลยทีเดียว ตามวัดวาอารามต่าง ๆ จะมีรูปปั้นยักษ์ 1 ตน บ้าง 2 ตนบ้าง ยืนถือกระบองค้ำพื้น ส่วนมากจะมี 2 ตน เฝ้าอยู่หน้า ประตูโบสถ์ หรือ วิหารที่เก็บของมีค่า มีพระพุทธรูป และโบราณสมบัติล้ำค่าของทางวัดบรรจุอยู่ ด้านละ 1 ตน หรือไม่ก็บริเวณลานวัด หรือที่ที่มีคนผ่านไปมาแล้วเห็นโดยง่าย บ้างก็สร้างเอาไว้ในวิหาร หรือ ศาลาโดยเฉพาะก็มี ซึ่งยักษ์เหล่านั้น ถ้าเป็น ตนเดียว ก็จะหมายถึง รูปเคารพของท้าวเวสสุวรรณ แต่ถ้าเป็น 2ตนก็จะเป็นบริวารของท่านท้าวเวสสุวรรณ คอยทำหน้าที่ ปกปักรักษา ดูแลบริเวณวัด ( หมายเหตุ : มีกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า อาวุธที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในโลกมี ๔ อย่าง คือ
    หนึ่ง วชิราวุธของท้าวสักกะ
    ถ้าท้าวสักกะทรงพิโรธแล้ว พึงประหารโดยวชิราวุธบนยอดเขาสิเนรุแล้ว วชิราวุธนั้นก็จะพึงชำแรกภูเขาสิเนรุซึ่งสูงหนึ่งแสนหกหมื่นแปดพันโยชน์ ลงไปถึงข้างล่างได้ (เข้าใจว่า ทำไมเหล่าอสูรจึงกลัวที่ท้าวสักกะโกรธกัน ก็สามารถส่งอาวุธลงไปทำลายได้ถึงวิมาณเลย)
    สอง คทาวุธของท้าวเวสวัณ (เวสสุวรรณ)
    คทาวุธที่ท้าวเวสวัณปล่อยในกาลที่ตนยังเป็นปุถุชนนั้น สามารถทำลายศีรษะของพวกยักษ์หลายพันแล้วได้ในคราวเดียว กลับมาสู่กำมือตั้งอยู่อีกได้ ยักษ์ทั้งหลายจึงกลัว ผีทั้งหลายจึงกลัว ท้าวเวสสุวรรณเป็นหัวหน้าของยักษ์และบรรดาภูติผีปีศาจทั้งหลาย ที่ไครๆไม่อาจต่อกรได้ ท่านวางกฎเกณฑ์ไว้ ต้องรักษาสุดชีวิต ไครจะล่วงละเมิดเป็นไม่ได้ (เข้าใจเลยว่า ทำไมท้าวเวสสุวรรณจึงปกครองเหล่ายักษ์ที่เกเรได้ ส่วนที่ว่าในสมัยที่เป็นปุถุชนนั้น เพราะท้าวเวสสุวรรณตอนนี้เป็นพระโสดาบันตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้แล้วที่จริงท้าวสักกะก็เป็นพระโสดาบันแล้วด้วยเช่นกัน)
    สาม นัยนาวุธของพระยายม
    ถ้าพระยายมพิโรธแล้ว สักว่ามองดูด้วยนัยนาวุธ กุมภัณฑ์หลายพันก็จะลุกเป็นไฟพินาศ ดุจหญ้าและใบไม้บนกระเบื้องร้อนฉะนั้น (เข้าใจเลยว่า ทำไมพระยายมจึงคุมเหล่ากุมภัณฑ์ได้ เพียงแค่มองด้วยนัยตาพิฆาตเมื่อโกรธเท่านั้นเอง ไหม้เป็นจุณได้เลย)
    สี่ ทุสสาวุธของอาฬวกยักษ์
    อาฬวกยักษ์โกรธ ถ้าปล่อยทุสสาวุธในอากาศแล้ว ฝนก็ไม่พึงตกตลอด ๑๒ ปี ถ้าปล่อยในแผ่นดินไซร้ วัตถุมีต้นไม้และหญ้าทั้งปวงเป็นต้น ก็จะเหี่ยวแห้งไม่งอกอีก ภายใน ๑๒ ปี ถ้าพึงปล่อยในสมุทรไซร้ น้ำทั้งหมดก็พึงเหือดแห้งดุจหยาดน้ำ ในกระเบื้องร้อน ฉะนั้น ถ้าจะพึงปล่อยในภูเขาเช่นกับเขาสิเนรุไซร้ ภูเขาก็จะเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ กระจัดกระจายไป.


    ท้าวกุเวร มีอีกพระนามหนึ่งที่รู้จักกันดี คือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้น จาตุ ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือมียักษ์เป็นบริวาร คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็ก เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควาญแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหา ราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก ไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่นๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ

    ท้าว เวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้งสี่ปกครอง คือ ท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรุฬหกะ ท้าววิรูปักชะ และท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ประจำทิศต่างๆ ทั้งสี่ทิศโดยเฉพาะท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร)เป็นใหญ่ปกครองบริวารทางทิศเหนือ ว่ากันว่าอาณาเขตที่ท้าวเธอดูแลปกครองรับผิดชอบ มีอาณาเขตใหญ่โตมหาศาล กว้างขวาง และเป็นใหญ่ (หัวหน้าท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ) กว่าท้าวมหาราชองค์อื่น
    พุทธศาสนาของเรานั้น กล่าวถึงท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ทิศ ที่เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔อันได้แก่ ท่านท้าวกุเวร เป็นโลกบาลประจำทิศอุดร (ทิศเหนือ)ท่านท้าวธตรฐ เป็นโลกบาลประจำทิศบูรพา (ตะวันออก) ท่านท้าววิรุฬหก ประจำทิศทักษิณ (ใต้)และท่านท้าววิรูปักษ์ ประจำทิศประจิม (ตะวันตก)
    ท้าวทั้ง ๔ คือ ท้าวจตุโลกบาล ผู้รักษาทิศทั้ง ๔ ตามตำนานทางศาสนา ท้าวจตุโลกบาลเป็นเทพในกามาวจรภูมิเป็นสวรรค์ชั้นแรกใน ๖ ชั้น คือ จตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมานรดีปรนิมมิตวสวัตตี

    ตามแนวความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ตั้งอยู่บนเขายุคันธรสูงจากพื้นผิวโลก ๔๖,๐๐๐ โยชน์สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสถานที่พิเศษกว่ามนุษยโลกในด้านความเป็นอยู่ และความสุข กามาวจรเทพชั้นนี้เรียกรวมกันว่า “จตุมหาราชิกเทวดา” ในสวรรค์ชั้นนี้แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ซึ่งมีมหาราชทั้ง ๔องค์ครองอยู่แบ่งเป็นส่วน ๆ ไป คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุ วรรณเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าท้าวกุเวร

    (หนึ่ง) ท้าววิรูฬปักษ์เป็นเจ้าแห่งพญานาคทั้งปวง (บางตำราก็ว่าเจ้าแห่งครุฑ) ปกครองทิศตะวันตก ท้าววิรูปักษ์ หรือวิรูปักข์นี้ เป็นเทวราช มีนาคเป็นบริวาร มีหน้าที่ดูแลทิศปัจฉิม (ตะวันตก) ของภูเขาสินเนรุราช ในสุธรรมาเทวสภา ท้าวมหาราชองค์นี้จะผินพักตร์ไปทางทิศตะวันออก มีพระโอรสทั้งหมด ๙๐ องค์ ล้วนแต่ทรงพลัง กล้าหาญ งามสง่า และทรงปรีชาในกรณียกิจทั้งหลาย พระโอรสทั้งหมดล้วนแต่มีพระนามว่า “อินทร์” ในเทพนครด้านปัจฉิมนี้มีทิพย์สมบัติต่างๆ อันงดงามและดีเยี่ยม เท่าเทียมกับเทพนครอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกันนี้ ท้าววิรูปักษ์ทรงครอบครองราชสมบัตินานเท่าเทียมกับเทวราชองค์อื่น ๆ

    (สอง) ท้าวกุเวร หรือเวสสุวัณ เป็นเจ้าแห่งยักษ์และภูติผี ปกครองทิศเหนือ ท้าวไพศรพณ์องค์นี้ เป็นพระราชาธิบดีของยักษ์ทั้งหลาย ในการพิทักษ์อาณาเขตด้านทิศอุดร (เหนือ)ของสุเมรุบรรพต มหาราชองค์นี้มีอาณาจักรครอบคลุมภาคเหนือทั้งหมด มีนครหลวงชื่ออิสนคร พระองค์มีโอรสจำนวน ๙๐ องค์ ล้วนแต่สง่างาม มีศักดานุภาพเป็นอันมาก ราชโอรสเหล่านี้มีพระนามว่า “อินทร์” ในเทพนครนี้เป็นทิพยวิมาน ทิพยสมบัติที่ท้าวเวสสุวรรณครองอยู่ท่ามกลางราชโอรส เป็นเวลาถึง ๕๐๐ปีทิพย์จึงสิ้นวาระแห่งเทพจตุโลกบาล

    (สาม) ท้าวธตรัฐ เป็นเจ้าแห่งวิทยาธร และคนธรรพ์ (บางตำราก็ว่าเจ้าแห่งกุมภัณฑ์) ปกครองทิศตะวันออก เป็นองค์หนี่งในมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ที่ครองชั้นจตุมหาราชิกาเป็นหัวหน้า คือราชาแห่งคนธรรพ์ มีหน้าที่บูชาทิศบูรพา (ตะวันออก) ของเขาพระสุเมรุ กล่าวว่าท้าวธตรฐมีโอรสหลายองค์ โดยมีนามเรียกกันว่า “ศิริ"ในวิมานที่อยู่ของมหาราชองค์นี้ล้วนแล้วไปด้วยสิ่งต่าง ๆ กันเป็นที่น่ารื่นรมย์เป็นเสียงดนตรีและร่ายรำ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ชื่นชมแก่พระองค์และพระโอรสทั้งหลาย

    (สี่) ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งอสูร และกุมภัณฑ์ (ตามความเชื่อบางคติจะพบได้ว่าท้าววิรุฬหกคือผู้ปกครองครุฑ และนก) ปกครองทิศใต้ มหาราชองค์นี้เป็นใหญ่ในกุมภัณฑ์ ซึ่งให้การอารักขาด้านทิศทักษิณ (ใต้) แห่งเขาพระสุเมรุเทวดาโอรสของพระองค์มี ๙๐ องค์ด้วยกัน แต่ละองค์ล้วนมีแต่ฤทธิ์อานุภาพแกล้วกล้า ปรีชาชาญงามสง่า และเป็นที่ยกย่องเกรงขามทั่วไป ท้าวจตุโลกบาลองค์นี้มีสิ่งประดับบารมีมากมาย เสวยสุขอยู่ในหมู่ราชโอรส ตลอดพระชนมายุ ๕๐ ปีทิพย์หรือปีมนุษย์นับได้ ๑๖,๐๐๐ ปีเป็นประมาณ

    โดยเหตุที่ท้าวเวสสุวัณเป็น “เทพเจ้าแห่งทรัพย์ “เป็นผู้รักษาทรัพย์ในแผ่นดินเป็นท้าวโลกบาลประจำทิศเหนือของสวรรค์ชั้นจตุ มหาราชิกาเป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์และภูตผีปีศาจและความมั่งคั่ง ไพบูลย์ทั้งหลาย มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ไวศรวัณ เวสสุวัณ ธนบดี (เป็นใหญ่ในทรัพย์) ธเนศวร (เจ้าแห่งทรัพย์) อุจฉาวสุ (มั่งมีได้ดั่งใจ) ยักษราช (ขุนแห่งยักษ์) รัตนครณ(พุงแก้ว) อีศะสขี(เพื่อนพระศิวะ)ฯลฯ


    ในคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง เรียกท้าวเวสสุวัณว่า “ท้าวไพศรพมหาราช” และได้พรรณนาถึงการแต่งองค์ไว้ว่า” ท้าว ไพศรพมหาราชเป็นพระยาแก่ฝูงยักษ์แลเทพยดาทั้งหลายฝ่ายทิศอุดรเถิงกำแพง จักรวาลเบื้องอุดรทิศพระสุเมรุราชแลเครื่องประดับตัว แลบริวารทั้งหลายเทียรย่อมทองเนื้อสุกฝูงยักษ์ทั้งหลายนั้น บ้างถือค้อน ถือสากแลจามจุรีเทียรย่อมทองคำบ่มิรู้ขิร้อยล้านแลฝูงยักษ์นั้นมีหน้าอันพึง กลัวแลท้าวไพศรพจึงขึ้นม้าเหลืองตัว๑ดูงามดั่งทอง”จากคำพรรณนาดัง กล่าวแสดงให้เห็นว่าท้าวเวสสุวัณหรือท้าไพศรพนั้นร่ำรวยมหาศาลมีทองคำมากมาย ไม่รู้กี่ร้อยล้าน ทั้งยังมีเครื่องประดับเป็นทองคำ บริวารก็ถือ ค้อนทอง สากทอง และทรงม้าสีทอง


    ฝ่ายพุทธศาสนามีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกมหานิทานสูตร มหาวรรค ทีฆนิกาย กล่าว ไว้ว่าดินแดนที่ประทับของท้าวเวสสุวัณชื่ออาลกมันทาราชธานีเป็นนครเทพเจ้า ที่งดงามรุ่งเรืองมากโดยท้าวเวสสุวัณเทวราชโลกบาลองค์นี้เป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบันและเมื่อพระมหาโมคคัลลานะเดินทางขึ้นมาเยี่ยมเยียนพระอินทร์ท้าว สักกะเทวราช ณ มหาปราสาทไพชยนต์วิมาน ท้าวเวสสุวัณพระองค์นี้ก็ได้เสด็จเข้าร่วมให้การต้อนรับด้วยพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ หลังจากที่เสด็จสวรรคตเนื่องจากการทารุณกรรมของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นราช โอรสที่เข้ายึดอำนาจก็ได้มาอุบัติในโลกสวรรค์เป็นพญายักษ์เสนาบดีตนหนึ่งของ ท้าวเวสสุวัณนั่นเอง

    ในอรรถาโลภปาลสูตรกล่าวว่าเมื่อ ถึงวันอุโบสถคือขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ องค์ จะลงมาตรวจโลกมนุษย์อยู่เสมอโดยจะถือแผ่นทองและดินสอมาด้วยและจะเที่ยวเดิน ดูไปทุกแห่งทั่วถิ่นฐานบ้านเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายในโลกมนุษย์ถ้าใครทำบุญ ประพฤติธรรมทำความดีก็จะเขียนชื่อและการกระทำลงบนแผ่นทองคำแล้วนำแผ่นทองคำ ไปให้ปัญจสิขรเทวบุตรซึ่งจะนำไปให้พระมาตุลีอีกต่อหนึ่ง พระมาตุลีจึงเอาไปทูลถวายแด่พระอินทร์ถ้าบัญชีในแผ่นทองมีมากเทวดาทั้งหลาย ก็จะแซ่ซ้องสาธุการ ด้วยความยินดีที่มนุษย์จะได้ขึ้นสวรรค์มาก แต่หากมนุษย์ใดทำความชั่วก็จะจดชื่อส่งบัญชีให้พญายมราช เพื่อให้นายนิรยบาลทั้งหลายจะได้ทำกรรมกรณ์ให้ต้องตามโทษานุโทษเท่าสัตว์นรก เหล่านั้น


    ศิลาจารึกสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า ท้าว เวสสุวัณมีปราสาทช้างเรืองอร่ามด้วยแสงแก้วอยู่เหนือยอดเขายุคนทร มียักษ์เฝ้าประตูวังและยักษ์เสนาบดีอยู่หลายตนมีร่างทิพย์ ม้าทิพย์ ราชรถทิพย์และบุษบกทิพย์ มีศักดิ์เป็นใหญ่แก่ฝูงยักษ์ทั้งหลาย ๙ตนมีบริวารที่เรียกว่า”ยักขรัฏฐิภะ”ซึ่งมีหน้าที่สืบข่าวและตรวจตรา เหตุการณ์ต่างๆรวม ๑๒ ตนและยังมียักษ์ที่สำคัญเป็นเสนาบดียักษ์อีก ๒๘ นายที่คอยรับใช้ท้าวเวสสุวัณอยู่ดังจะเห็นว่า ท้าวเวสสุวัณ มีกำเนิดจากหลายตำนาน แม้กระทั่งใน ลัทธิของจีนฝ่ายมหายานว่า ท้าวโลกบาลทิศอุดรมีชื่อว่า ”โตบุ๋น”เป็นขุนแห่งยักษ์มีพวกยักษ์บริวารมีกายสีดำ ถือดวงแก้วและงู ทางทิเบต มีกายสีทองคำถือธงและพังพอน ทางญี่ปุ่น ถือ ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภนามว่า "พิสะมอน "ถือแก้วมณีทวนและธงตามที่ได้พรรณนามานั้นเป็นเพียงประวัติย่อๆของท้าว เวสสุวัณเพื่อชี้ให้เห็นว่าท่านมีความสำคัญมากเพียงใดโบราณาจารย์จึงได้จัด สร้างรูปไว้เคารพบูชามาตั้งกว่าพันปีมาแล้ว


    โดยสรุปแล้วท้าวเวสสุวัณ ถือเป็นเทพเจ้าที่สำคัญยิ่ง เป็นที่เคารพนับถือในหลายต่อหลายประเทศ ในไทยเราเองนั้นนับถือเทพเจ้าองค์นี้มาก ในฐานะผู้คุ้มครองในห้ปลอดภัยจากวิญญาณร้าย ดังเราจะเห็นได้ว่าครุบาอาจารย์มักทำผ้ายันต์ท้าวเวสสุวัณ เป็นผืนสีแดงไว้ติดตามประตู เพื่อป้องกันภูตีผีปีศาจ คติความเชื่อนี้ถือว่าเก่าแก่ และเป็นที่คุ้นตาที่สุด หรืออย่างพิธีสวดภาณยักษ์ ก็เช่น พระคาถาภาณยักษ์ หรือบท “วิปัสสิ”นี้เป็นพระคาถาทีท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ท่าน โดยมีท้าวเวสสุวัณเป็นหัวหน้า นำมามอบให้พระพุทธเจ้า เพราะเห็นว่าบริวารของตนนั้นมีมาก บางพวกก็มีนิสัยดี แต่บางพวกมีนิสัยพาลเกเร อาจทำร้ายแก่พระธุดงค์ที่อยู่ตามป่าช้า ตามเขา ตามป่าได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันจึงได้มอบพระคาถาภาณยักษ์ถวายแด่พระพุทธองค์

    ปัจจุบันเราก็ยังสามารถพบเห็นการสวดภาณยักษ์ได้อยู่ และ จะเห็นรูปท้าวเวสสุวัณเด่นเป็นสง่าเสมอ ในพิธีสวดภาณยักษ์นี้ เพราะท้าวเวสสุวัณเป็นผู้ที่มีสิทธิเฉียบขาดในการลงโทษภูตีผีปีศาจทั้งหลาย จึงเป็นที่ศรัทธาเชื่อมั่นว่า ท้าวเวสสุวรรณนี้เป็นเทพเจ้าที่มีคุณในการทำลายล้างสิ่งอัปมงคล ทั้งกันทั้งแก้เรื่องผีปีศาจ คุณไสยมนต์ดำทั้งหลายได้ ทั้งยังให้คุณเรื่องโภคทรัพย์อีกประการหนึ่ง ดังคำกล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณ เป็น เทพแห่งขุมทรัพย์ เป็น มหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก ทั้งเป็นเจ้านายปกครองดูแลพวกยักษ์ ภูตผีปีศาจทั้งปวง (ในคัมภีร์เทวภูมิ กล่าวไว้ว่า ท้าวเวสสุวรรณได้บำเพ็ญบารมี มาหลายพันปี รับพรจาก พระอิศวร พระพรหม ให้เป็นเทพแห่งความร่ำรวย ) นอกจากนี้หน้าที่ของท้าวเวสสุวรรณมีมากมาย เช่น การดูแลปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติพระ กรรมฐาน เป็นต้น


    ในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวัง ความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูป ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณโณ หรือท้าวกุเวร
    (ตั้งนะโม ๓ จบ) ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วว่าดังนี้

    อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อรหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ ฯ

    อีกตำนาน

    ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้า แห่งผีเป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาล ทิศเหนือ มียักษ์เป็นบริวาร คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณ ชั่วร้ายไม่ให้มารังควาญแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหา ราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ ท้าวกุเวรหรือท่านท้าวเวสสุวรรณนั้นส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลามีลักษณะอันโดดเด่นคือพระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวเวสสุวรรณสำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภัย จากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพ นับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสสุวรรณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือ ว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้นบางทีก็เรียกว่าท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก “กุเวร” ว่า “กุเปรัน” ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่าเป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาวมีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสสุวรรณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแยถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ “อลกา” อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุชื่อว่า “สวนไจตรต” หรือ “มนทร” มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ ท้าวกุเวรนี้สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระชื่อ ธรณีกว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ “ภคลวดี” กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปร


    เทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่าท้าวเวสสุวรรณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุตประมาณ200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง ท่านท้าวเวสสุวรรณ ๑ใน ๔ ท้าวจตุโลกบาล โดยมีท้าวธตรฐดูแลพื้นที่อยู่ทางทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกดูแลรักษาพื้นที่อยู่ทางทิศใต้ ท้าววิรูปักข์ดูแลรักษาพื้นที่อยู่ทิศตะวันตก และท้าวเวสสุวรรณรักษาพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือ โดยทั้ง ๔ ท่านมีหน้าที่แบ่งกันปกครองทั้งเหล่าคนธรรพ์ กินรี กินนร กุมภัณฑ์ นาค เทวดา และยักษ์ อยู่บนสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ในส่วนของท้าวเวสสุวรรณ ท่านจะปกครองเหล่าอสูรและยักษ์ ตลอดจน


    ภูติผีปีศาจทั้งหลาย ตามตำนานกล่าวว่าเริ่มแรก ท่านท้าวเวสสุวรรณปกครองอยู่ เมืองลงกา ต่อมาได้ถูกทศกัณฑ์มายึด และขับไล่ให้ท่านไปอยู่ที่อื่นพร้อมทั้งแย่งบุษบก (ของวิเศษที่พระพรหมมอบให้)ไปครอบครองอีกท้าวเวสสุวรรณจึงได้มาสร้างเมือง ใหม่อยู่บนสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา โดยท่านมีหน้าที่ดูแล ปกครองเหล่าอสูร ยักษ์ ตลอดจนเหล่าภูติผีปีศาจทั้งหมด และยังเป็นเจ้าบัญชีพระกาฬใหญ่ ท่านท้าวเวสสุวรรณท่านเป็นยักษ์ที่ใจบุญ อีกทั้งยังให้ความเคารพนับถือในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยพุทธกาล กล่าวว่ามีพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ที่ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาโมกขธรรม มีพระภิกษุสงฆ์บางรูปที่ยังไม่ได้สำเร็จอภิญญามักจะโดนบรรดาภูติผีปีศาจ หลอกหลอนไม่เป็นอันได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ คือการเจริญสมาธิกรรมฐานเพื่อชำระจิตใจให้สงบได้อย่างเต็มที่ ท่านท้าวเวสสุวรรณได้เสด็จลงมาจากเทวโลกเพื่อมากราบนมัสการสมเด็จพรสัมมา สัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งถวายมนต์ “ภาณยักษ์” ให้ไว้เพื่อเป็นมนต์ป้องกันเวลาพระภิกษุ สามเณร ที่ออกเดินธุดงค์ตามป่าเขา ถูกบรรดา ภูติผี ปีศาจ ยักษ์ เทวดาที่เป็นมิจฉาทิฐิ หลอกหลอน ซึ่งมนต์ “ภาณยักษ์” บทนี้ยังนำมาใช้สวดกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ โดยการสวดมนต์ “ภาณยักษ์” บทนี้มักจะทำเป็นพิธีการยิ่งใหญ่ ทุกวัดมักจะจัดให้มีการสวด “ภาณยักษ์” นี้ขึ้นเชื่อกันว่าใครที่ถูกคุณ ถูกของหรือโดนผีเข้าเจ้าสิง เมื่อเข้าไปในบริเวณพิธีสวด “ภาณยักษ์” สิ่งอัปมงคลต่างๆที่มีอยู่ในตัวก็จะหมดไปด้วย มนต์ภาณยักษ์อันวิเศษบทนี้และนอกจากนี้ ท้าวเวสสุวรรณยังเป็นเทพเจ้าแห่งความร่ำรวยสัญญลักษณ์แห่งมหาเศรษฐี ในหนังสือเทวกำเนิดของพระยาสัจจาภิรมย์ ระบุชื่อท้าวเวสสุวรรณ ล้วนมุ่งหมายทางมหาเศรษฐีมั่งมีทรัพย์ อาทิ ท้าวรัตนครรถ (ผู้มีเพชรเต็มพุง) ท้าวกุเวรธนบดี (ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์) ท้าวธเนศวร (เจ้าทรัพย์) องค์อิฉาวสุ (ผู้มั่งมีได้ตามใจ) ท้าวเวสสุวรรณ (ยิ่งด้วยทอง) แม้แต่ชาวจีนก็ยกย่ององค์ท้าวเวสสุวรรณว่า เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภและความร่ำรวยในนาม “องค์ไฉ่ซิงเอี้ย” ซึ่งมีบูชากันทุกบ้านร่ำรวยทุกคนขับไล่ภูติผีปีศาจ วิญญาณร้าย แก้เสนียด อัปมงคลคุณไสยต่างๆหากท่านผู้ใดบูชาท่านท้าวเวสสุวรรณ ด้วยความเคารพศรัทธา จงเชื่อได้เลยว่าท่านจะประสบแต่ความโชคดีมีทรัพย์ ตลอดจนพ้นภัยจากบรรดาภูติผีปีศาจทั้งหลายในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูป


    อีกตำนาน

    ตามตำนาน องค์ท้าวกุเวร



    ---บางตำนานก็เรียก...พระเศรษฐี เรียก....ไฉ่ฉิงเอี๊ย เรียก....ท้าวเวสสุวรรณ



    ---ในความเป็นมนุษย์ ย่อมมีศรัทธาเป็นที่ตั้ง มีหลายสิ่งหลายอย่างเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ความเชื่อในศาสตร์ ความเชื่อในศิลปวัฒนธรรม





    *มีตำนาน มากมายอ้างอิงถึงประวัติของแต่ละความเชื่อ



    ---ให้ยึดมั่นถือมั่นในความดี มีศีลธรรม คิดดีประพฤติดี มีสัจจะ ทั้งทางกาย วาจา ใจ องค์ท้าวกุเวร (ชัมภล) หรือ เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย พระหัตถ์ด้านขวาถือลูกแก้ววิเศษ พระหัตถ์ด้านซ้ายถือพังพอน ที่กำลังคาย เพชร,นิล,จินดา,แก้วแหวนเงินทอง พระบาทซ้ายเหยียบหอยโข่ง นั่งท่ามหาราชเทวา



    *ความเชื่อในพระปางนี้



    ---มีมาตั้งแต่อินเดียผ่านไทยไปถึงเมืองจีน ที่เมืองจีนเรียกไฉ่ฉิงเอี้ย สลักอยู่ที่หน้าผาหิน



    ---ท้าวกุเวร วัดถ้ำคูหาพิมุข ถ้ำพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ท้าวกุเวรมหาราช (พระธนบดีศรีธรรมราช) ผู้ประทานโชคลาภและความมั่งคั่ง แห่งอาณาจักรทะเลใต้จำลองจากต้นแบบองค์ที่สวยที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์กีเม่ต์ ประเทศฝรั่งเศส พระธนบดี ศิลปะศรีวิชัย เนื้อสำริดสนิมเขียว อายุประมาณ 1,200 ปี องค์นี้มีความงดงามสุดยอด เป็นศิลปะศรีวิชัยบริสุทธิ์ นำมาเป็นต้นแบบจัดสร้างในครั้งนี้



    *พระธนบดีศรีธรรมราช (เจ้าแห่งโชคลาภ)



    ---จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจำลองแบบมาจากรูปหล่อ ท้าวกุเวรเจ้าแห่งขุมทรัพย์ที่สร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัย โดยมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น พระธนบดี พระกุเวร พระรัตนครรภ์ เจ้าพ่อขุมทรัพย์ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ โบราณถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ที่มีหน้าที่ประทานความมั่งคั่ง ความมีโชคดีให้กับผู้บูชา ฯลฯ



    ---ท้าวกุเวร เป็นเทพผู้รักษาทิศเหนือ ตามลัทธิศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ



    *ประวัติของท้าวกุเวรกล่าวไว้ว่า



    ---พระองค์ได้บำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นเวลาหลายพันปี จนพระพรหมทรงเห็นใจโปรดให้เป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง จากมหากาพย์รามายณะ กล่าวว่า เทพกุมารได้รับยานที่ขับเคลื่อนไปในอากาศได้ตามประสงค์ของเจ้าของคือ บุษบก



    ---บางตำรากล่าวว่าท้าวกุเวรมีม้าสีขาวเป็นพาหนะ มีมเหสีนามว่า จารวี หรือ ฤทธี มีโอรส 2 องค์ ชื่อ มณีครีพ หรือ วรรณกวี กับ นุลกุพล หรือ มยุราช



    ---มีธิดา 1 องค์ชื่อ มีนากษี ในรามเกียรติ์กล่าวว่า ท้าวกุเวรทรงเป็นบิดาคันธมาทน์ นายทหารของพระราม และมีสวนชื่อเจตรถอยู่บนยอดเขามันทร ท้าวกุเวรยังมีชื่อเรียกตามเรื่องราวและคุณสมบัติอีกหลายชื่อ เช่น กุตนุ (มีรูปร่างน่าเกลียด) รัตนครรภ(มีเพชรเต็มพุง) ราชราช (เจ้าแห่งราชา) นรราช ธนบดี (เป็นใหญ่ในทรัพย์) ยักษราช (เจ้าแห่งยักษ์) รากชเสนทร์ (เป็นใหญ่ในพวกรากษส) ฯลฯ



    ---ตามเรื่องรามเกียรติ์ เรียกชื่อท้าวกุเวรว่า ท้าวกุเปรัน แต่ชื่อที่คนไทยคุ้นเคย คือ ท้าวเวสสุวัณ (สันสกฤต-ไวศรวณบาลี-เวสสวณ) ในคัมภีร์ไตรเพทกล่าวว่า ทรงเป็นอธิบดี ของพวกอสูร รากษสและภูติผี ในกลุ่มพวกนับถือศาสนาพุทธลัทธิมหายานในประเทศจีนกล่าวว่าโลกบาลทิศอุดร มีชื่อว่า "โตบุ๋น" แปลว่า " ได้ยินทั่วไป " มีพวกยักษ์เป็นบริวารมีกายสีดำ ถือดวงแก้วและงู



    ---ส่วนพวกธิเบตกล่าวว่าถือธงและพังพอน สีกายเป็นสีทองคำ ในประเทศญี่ปุ่นถือว่า โลกบาลทิศนี้ เป็นเทพเจ้าประจำโชคลาภมีนามว่า " พิสะมอน " ตรงกับนามว่า " ธนบดี " หรือ ธเนศวร อันเป็นนามหนึ่งของท้าวกุเวร แปลว่า ผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ ส่วนหนึ่งของที่ถือนั้น มีแก้วมณีกับทวนหรือธง



    ---ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ลัทธิวัชรยานในคัมภีร์สาธนมา กล่าวถึงท้าวกุเวรว่ามีหน้าที่เป็นทั้งธรรมบาล คือ ผู้มีตำแหน่งเทียบเท่าพระโพธิสัตว์ มีหน้าที่ทำสงครามปราบปรามปีศาจและยักษ์มารต่างๆ ซึ่งเป็นศัตรูต่อพระพุทธศาสนา ทรงเป็นโลกบาล (มีชื่อว่า เวสสุวัณหรือไวศรวีณ) คือ เทพผู้มีหน้าที่ปกป้องทิศทั้ง 4 (เฉพาะทิศเหนือ) อยู่บนเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และ คอยเฝ้าคอยดูแลทางเข้าสวรรค์ (ดินแดนสุขาวดี)



    ---พระธนบดีที่เก่าที่สุด เท่าที่พบในประเทศไทย มีการสร้างมาตั้งแต่ครั้งยุคสมัยศรีวิชัย เมื่อกว่า 1,000 ปีก่อน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญได้อย่างดี พระธนบดียังถือว่าเป็นนิรมาณกายอีกปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์ และยังเป็นส่วนหนึ่งของพระมหากษัตริย์ตามคำภีร์พระมนู ซึ่งจะหมายถึงปางหนึ่งของจตุคามรามเทพก็ได้ ที่จะประทานความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่งให้กับโลกมนุษย์ การสร้างพระธนบดีครั้งนี้จึงสร้างขึ้นจากศาสตร์ความรู้ที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ



    *ตามคัมภีร์เก่าแก่กล่าวไว้ว่า



    ---ท่านเป็นผู้ประทานความมั่งคั่ง แผ่นดินใดที่อุดมสมบูรณ์พระมหากษัตริย์ปกครองแผ่นดินโดยธรรม ทรงเปี่ยมไปด้วยพระบรมเดชานุภาพเหนือกว่าพระราชาทั้งปวงหรือที่เรียกว่า "จักรพรรดิ" ท้าวกุเวรหรือชัมภลนี้ จะเป็นผู้ประทาน "สัตรัตนมณี" แก้วเจ็ดประการหรือสมบัติแห่งจักรพรรดิอันมีช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว จักรแก้ว การประทานสมบัติเจ็ดประการของมหาจักรพรรดิ เพื่อความรุ่งเรืองแห่งแผ่นดิน มีดังนี้



    ---ประการที่ 1 จักรรัตนะ คือ จักรแก้ว หมายถึง การมีอำนาจหรือเดชานุภาพแผ่ขยายไปทั่วทุกทิศ



    ---ประการที่ 2 หัตติรัตนะ คือ ช้างแก้ว หมายถึง การแสดงออกซึ่งความมีบารมีที่ยิ่งใหม่ความมั่นคง



    ---ประการที่ 3 อัสสรัตนะ คือ ม้าแก้ว หมายถึง การมีบริวารข้าทาสรับใช้ที่ดี



    ---ประการที่ 4 มณีรัตนะ คือ มณีแก้ว หมายถึง ความสว่าง ความมีสติปัญญา ความรู้



    ---ประการที่ 5 อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หมายถึง ได้คู่ครองที่ดีมีความงดงาม



    ---ประการที่ 6 คหปติรัตนะ คือ ขุนคลังแก้ว หมายถึง ความมีทรัพย์สิน เงินทองบริบูรณ์



    ---ประการที่ 7 ปริณายกรัตนะ คือ ขุนพลแก้ว หมายถึง ที่ปรึกษาคู่ใจ ผู้ให้ความรู้ ผู้ปกป้องคุ้มครอง บุตรที่ดี



    ---พระธนบดี หินแกะสลักที่มหาเจดีย์บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย ศิลปะศรีวิชัยที่งดงาม ประจักษ์พยานถึงความสำคัญของพระธนบดี ผู้ประทานสมบัติพระจักรพรรดิแห่งอาณาจักรทะเลใต้ ดังนั้น อานุภาพแห่งพระธนบดีนี้ สามารถอธิษฐานขอพรได้ 7 ประการดัวยกัน ตามคุณลักษณะของสมบัติจักรพรรดิ 7 ประการ ซึ่งประทานให้โดยมหาราชผู้เป็นท้าวจตุโลกบาล ซึ่งคุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ตลอดกาล อาณาจักรศรีวิชัยเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มีพระราชาธิราช ที่มีพระบรมเดชานุภาพเหนือกว่าพระราชาองค์อื่นปกครองทั่วน่านน้ำอาณาจักรทะเลใต้ มีพระมหากษัตริย์ที่ประกาศตนยิ่งใหญ่ ประดุจพระอาทิตย์ พระจันทร์ มีจารึกกรุงศรีวิชัย ประกาศความยิ่งใหญ่ ปรากฏชัดเจน



    *ในคัมภีร์รามายณะและมหาภารตะได้บันทึกไว้ว่า



    ---ท้าวเวสสุวรรณมีอีกนามหนึ่งคือ ท้าวกุเวร (ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวมหากาพย์ หมายถึง เทพผู้มีภารกิจคุ้มครองปกป้องโลกทั้งสาม) ซึ่งเป็นเทพแห่งยักษ์เป็นอสูรเทพ ท้าวเวสสุวรรณนี้เป็นเจ้าแห่งอสูรเทพทั้งมวลนั่นเอง พระปุลัสตย์นั้นเป็นพระบิดาของท้าวเวสสุวรรณและท้าวเวสสุวรรณได้มีโอรสองค์หนึ่งชื่อว่า พระวิศรวัส



    ---ท้าวเวสสุวรรณแม้จะเป็นเทพอสูร แต่เป็นอสูรที่มีชาวบ้านชาวเมืองเคารพนับถือเป็นอันมาก ดังจะเห็นว่าแม้ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีพระรูปของท้าวเวสสุวรรณติดไว้ตามบ้านต่างๆ เพื่อให้พระองค์ได้คุ้มครองดูแลปกป้องบ้านเรือนของครอบครัวนั้น ส่วนใหญ่พระรูปของท้าวเวสสุวรรณ จะถูกชาวบ้านชาวเมืองนำมาติดไว้ที่ประตูหรือหน้ารั้วเพื่อให้พระองค์ได้ปกป้องคุ้มครอง เพราะอีกนัยหนึ่งนั้นมีความเชื่อในหมู่ชาวอินเดียโบราณว่า ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งทรัพย์สินด้วย



    ---พระนามในบางคัมภีร์ของท้าวเวสสุวรรณ อาทิ ยักษราช มยุราช รากษสเสนทร์ และธนบดี ซึ่งหมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์สินนั่นเอง การที่คนในพุทธศาสนาได้ทำบุญแล้วอธิษฐาน อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรนั้น จริงๆ แล้วในความเชื่อของพราหมณ์ ถือว่าหมายถึง ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวจตุโลกบาลนั่นเอง



    ---ท้าวเวสสุวรรณในบางคัมภีร์ เป็นอสูรเทพ เป็นยักษ์ 3 ขา มีฟัน 8 ซี แต่พระวรกายขาวกระจ่าง สวมอาภรณ์งดงามมีมงกุฎทรงอยู่บนพระเศียร แต่มีรูปกายพิการและมีพาหนะคือ ม้าสีขาวนวลราวกับปุยเมฆ องค์นี้เป็นศิลปะแบบธิเบต

    ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร



    ---ธิเบตเรียก นัม.โถ.เซ. จีนเรียก ใช้ป๋อเทียนอ๊วงหรือพีซามึ้งเทียนอ๊วงหรือแป๊ะไช้ซิ้ง ท่านมีสองสถานะคือ สถานะเทพผู้ประทานทรัพย์องค์ขาว และสถานะหนึ่งในท้าวจตุโลกบาล



    ---ตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อก่อนพระศากยะมุนีพุทธเจ้า จะปรินิพพานได้สั่งความแก่ท้าวจตุโลบาลไว้ว่า ในอนาคตต่อไปพุทธศาสนาจะประสพกับอุปสรรคมากมายจากพวกนอกศาสนา พวกไม่หวังดีต่อพุทธศาสนา จะทำร้ายพุทธศาสนา ขอให้ท้าวจตุโลกบาลช่วยกันปกป้องรักษาพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ได้ทำหน้าที่ปกป้อง พิทักษ์รักษาพุทธศาสนาและผู้ปฏิบัติธรรมเสมอมา คาถาประจำองค์ โอม ไว ซา วา นา เย โซ ฮา ฯลฯ



    *คติชาวไทย



    ---ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุ ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ มียักษ์เป็นบริวาร คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็ก เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควาญแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ ท้าวกุเวรหรือท่านท้าวเวสสุวรรณนั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่ามหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวเวสสุวรรณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย



    ---แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสสุวรรณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ มียักษ์และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้นบางทีก็เรียกว่า ท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก "กุเวร" ว่า "กุเปรัน" ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่าเป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป



    ---ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาวมีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสสุวรรณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ "อลกา" อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุชื่อว่า "สวนไจตรต" หรือ "มนทร" มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวร เป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ ท้าวกุเวรนี้สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณีกว้าง 50 โยชน์ ในน้ำดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วยหมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้



    ---เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่าท้าวเวสสุวรรณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง ท่านท้าวเวสสุวรรณ ๑ใน ๔ ท้าวจตุโลกบาล



    ---โดยมีท้าวธตรฐดูแลพื้นที่ อยู่ทางทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกดูแลรักษาพื้นที่อยู่ทางทิศใต้ ท้าววิรูปักข์ดูแลรักษาพื้นที่อยู่ทิศตะวันตก และท้าวเวสสุวรรณรักษาพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือ โดยทั้ง ๔ ท่านมีหน้าที่แบ่งกันปกครองทั้งเหล่าคนธรรพ์ กินรี กินนร กุมภัณฑ์ นาค เทวดา และยักษ์ อยู่บนสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา



    ---ในส่วนของท้าวเวสสุวรรณ ท่านจะปกครองเหล่าอสูรและยักษ์ ตลอดจนภูติผีปีศาจทั้งหลาย ตามตำนานกล่าวว่าเริ่มแรกท่านท้าวเวสสุวรรณปกครองอยู่เมืองลงกา ต่อมาได้ถูกทศกัณฑ์มายึดและขับไล่ให้ท่านไปอยู่ที่อื่น พร้อมทั้งแย่งบุษบก (ของวิเศษที่พระพรหมมอบให้) ไปครอบครองอีก



    ---ท้าวเวสสุวรรณจึงได้มาสร้างเมืองใหม่อยู่บนสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา โดยท่านมีหน้าที่ดูแลปกครองเหล่าอสูร ยักษ์ ตลอดจนเหล่าภูติผีปีศาจทั้งหมด และยังเป็นเจ้าบัญชีพระกาฬใหญ่ ท่านท้าวเวสสุวรรณท่านเป็นยักษ์ที่ใจบุญ อีกทั้งยังให้ความเคารพนับถือในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยพุทธกาล กล่าวว่ามีพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ที่ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาโมกขธรรม มีพระภิกษุสงฆ์บางรูปที่ยังไม่ได้สำเร็จอภิญญามักจะโดนบรรดาภูติผีปีศาจ หลอกหลอนไม่เป็นอันได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ คือการเจริญสมาธิกรรมฐานเพื่อชำระจิตใจให้สงบได้อย่างเต็มที่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ ได้เสด็จลงมาจากเทวโลกเพื่อมากราบนมัสการสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งถวายมนต์ “ภาณยักษ์” ให้ไว้เพื่อเป็นมนต์ป้องกัน



    ---เวลาพระภิกษุ สามเณร ที่ออกธุดงค์ตามป่าเขา ถูกบรรดาภูติผีปีศาจ ยักษ์ เทวดาที่เป็นมิจฉาทิฐิ หลอกหลอน ซึ่งมนต์ “ภาณยักษ์” บทนี้ยังนำมาใช้สวดกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ โดยการสวดมนต์ “ภาณยักษ์” บทนี้มักจะทำ เป็นพิธีการยิ่งใหญ่ ทุกวัดมักจะจัดให้มีการสวด “ภาณยักษ์” นี้ขึ้นเชื่อกันว่าใครที่ถูกคุณ ถูกของหรือโดนผีเข้าสิง เมื่อเข้าไปในบริเวณพิธีสวด “ภาณยักษ์” สิ่งอัปมงคลต่างๆที่มีอยู่ในตัวก็จะหมดไปด้วย มนต์ภาณยักษ์อันวิเศษบทนี้และนอกจากนี้ ท้าวเวสสุวรรณยังเป็นเทพเจ้าแห่งความร่ำรวยสัญญลักษณ์แห่งมหาเศรษฐี



    ---ในหนังสือเทวกำเนิดของพระยาสัจจาภิรมย์ ระบุชื่อ ท้าวเวสสุวรรณ ล้วนมุ่งหมายทางมหาเศรษฐีมั่งมีทรัพย์ อาทิ ท้าวรัตนครรถ (ผู้มีเพชรเต็มพุง) ท้าวกุเวรธนบดี (ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์) ท้าวธเนศวร (เจ้าทรัพย์) องค์อิฉาวสุ (ผู้มั่งมีได้ตามใจ) ท้าวเวสสุวรรณ (ยิ่งด้วยทอง) แม้แต่ชาวจีนก็ยกย่ององค์ท้าวเวสสุวรรณว่า เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภและความร่ำรวยในนาม “องค์ไฉ่ซิงเอี้ย” ซึ่งมีบูชากันทุกบ้านร่ำรวยทุกคน ขับไล่ภูติผีปีศาจ วิญญาณร้าย แก้เสนียด อัปมงคลคุณไสยต่างๆ หากท่านผู้ใดบูชาท่านท้าวเวสสุวรรณ ด้วยความเคารพศรัทธา จงเชื่อได้เลยว่าท่านจะประสบแต่ความโชคดีมีทรัพย์ ตลอดจนพ้นภัยจากบรรดาภูติผีปีศาจทั้งหลาย ในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูปท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร



    *ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร



    ---ในคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง เรียกท้าวเวสสุวรรณว่า “ท้าวไพศรพมหาราช” และได้พรรณนาถึงการแต่งองค์ไว้ว่า ”ท้าวไพศรพมหาราชเป็นพระยาแก่ ฝูงยักษ์แลเทพยดาทั้งหลายฝ่ายทิศอุดร เถิงกำแพงจักรวาลเบื้องอุดรทิศพระสุเมรุราชแลเครื่องประดับตัว แลบริวารทั้งหลายเทียรย่อมทองเนื้อสุก ฝูงยักษ์ทั้งหลายนั้นบ้างถือค้อน ถือสากแลจามจุรีเทียรย่อมทองคำบ่มิรู้ขิร้อยล้าน แลฝูงยักษ์นั้นมีหน้าอันพึงกลัวแลท้าวไพศรพจึงขึ้นม้าเหลืองตัวหนึ่งดูงามดั่งทอง”



    ---จากคำพรรณนาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวไพศรพนั้นร่ำรวยมหาศาลมีทองคำมากมายไม่รู้กี่ร้อยล้าน ทั้งยังมีเครื่องประดับเป็นทองคำ บริวารก็ถือ ค้อนทอง สากทอง และทรงม้าสีทอง ฝ่ายพุทธศาสนามีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกมหานิทานสูตร มหาวรรคทีฆนิกายกล่าวไว้ว่า ดินแดนที่ประทับของท้าวเวสสุวรรณ ชื่ออาลกมันทาราชธานี เป็นนครเทพเจ้าที่งดงามรุ่งเรืองมากโดยท้าวเวสสุวรรณเทวราชโลกบาลองค์นี้ เป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน

    และเมื่อพระมหาโมคคัลลานะเดินทางขึ้นมาเยี่ยมเยียนพระอินทร์ท้าวสักกะเทวราช ณ มหาปราสาทไพชยนต์วิมาน ท้าวเวสสุวรรณพระองค์นี้ก็ได้เสด็จเข้าร่วมให้การต้อนรับด้วยพระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ หลังจากที่เสด็จสวรรคตเนื่องจากการทารุณกรรมของพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้เป็นราชโอรสที่เข้ายึดอำนาจก็ได้มาอุบัติในโลกสวรรค์เป็นพญายักษ์เสนาบดีตนหนึ่งของท้าวเวสสุวรรณนั่นเอง ในอรรถาโลภปาลสูตรกล่าวว่า เมื่อถึงวันอุโบสถคือ ขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ องค์ จะลงมาตรวจโลกมนุษย์อยู่เสมอ โดยจะถือแผ่นทองและดินสอมาด้วยและจะเที่ยวเดินดูไปทุกแห่งทั่วถิ่นฐานบ้านเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายในโลกมนุษย์ ถ้าใครทำบุญประพฤติธรรม ทำความดี ก็จะเขียนชื่อและการกระทำลงบนแผ่นทองคำแล้วนำแผ่นทองคำไปให้ปัญจสิขรเทวบุตรซึ่งจะนำไปให้พระมาตุลีอีกต่อหนึ่ง พระมาตุลีจึงเอาไปทูลถวายแด่พระอินทร์ถ้าบัญชีในแผ่นทองมีมากเทวดาทั้งหลายก็จะแซ่ซ้องสาธุการ ด้วยความยินดีที่มนุษย์จะได้ขึ้นสวรรค์มาก



    ---แต่หากมนุษย์ใดทำความชั่วก็จะจดชื่อส่งบัญชีให้ท้าวยมราช เพื่อให้นายนิริยบาลทั้งหลายจะได้ทำกรรมกรณ์ ให้ต้องตามโทษานุโทษเท่าสัตว์นรกเหล่านั้น ศิลาจารึกสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณ มีปราสาทช้างเรืองอร่ามด้วยแสงแก้วอยู่เหนือยอดเขายุคนทร มียักษ์เฝ้าประตูวังและยักษ์เสนาบดีอยู่หลายตนมีร่างทิพย์ ม้าทิพย์ ราชรถทิพย์และบุษบกทิพย์ มีศักดิ์เป็นใหญ่แก่ฝูงยักษ์ทั้งหลาย ๙ ตนมีบริวารที่เรียกว่า ”ยักขรัฏฐิภะ” ซึ่งมีหน้าที่สืบข่าวและตรวจตราเหตุการณ์ต่างๆรวม ๑๒ ตนและยังมียักษ์ที่สำคัญเป็นเสนาบดียักษ์อีก ๒๘ นายที่คอยรับใช้ท้าวเวสสุวรรณอยู่ดังจะเห็นว่า ท้าวเวสสุวรรณ มีกำเนิดจากหลายตำนาน



    ---แม้กระทั่งในลัทธิของจีนฝ่ายมหายานว่า ท้าวโลกบาลทิศอุดรมีชื่อว่า ”โตบุ๋น” เป็นขุนแห่งยักษ์ มีพวกยักษ์บริวารมีกายสีดำ ถือดวงแก้วและงู ทางทิเบตมีกายสีทองคำถือธงและพังพอน ทางญี่ปุ่น ถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภนามว่า "พิสมอน" ถือแก้วมณีทวนและธงตามที่ได้พรรณนามานั้นเป็นเพียงประวัติย่อๆ ของท้าวเวสสุวรรณเพื่อชี้ให้เห็นว่าท่านมีความสำคัญมากเพียงใด โบราณาจารย์จึงได้จัดสร้างรูปไว้เคารพบูชามาตั้งกว่าพันปีมาแล้ว โดยสรุปแล้วท้าวเวสสุวรรณ ถือเป็นเทพเจ้าที่สำคัญยิ่ง เป็นที่เคารพนับถือในหลายต่อหลายประเทศ ในไทยเราเองนั้นนับถือเทพเจ้าองค์นี้มาก



    ---ในฐานะผู้คุ้มครองให้ปลอดภัยจากวิญญาณร้าย ดังเราจะเห็นได้ว่าครูบาอาจารย์มักทำผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณ เป็นผืนสีแดงไว้ติดตามประตู เพื่อป้องกันภูตีผีปีศาจ คติความเชื่อนี้ถือว่าเก่าแก่และเป็นที่คุ้นตาที่สุด หรือ อย่างพิธีสวดภาณยักษ์ ก็เช่น พระคาถาภาณยักษ์ หรือบท “วิปัสสิ” นี้เป็นพระคาถาที่ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ท่าน โดยมีท้าวเวสสุวรรณเป็นหัวหน้า นำมามอบให้พระพุทธเจ้า ปัจจุบันเราก็ยังสามารถพบเห็นการสวดภาณยักษ์ได้อยู่ และจะเห็นรูปท้าวเวสสุวัณเด่นเป็นสง่าเสมอในพิธีสวดภาณยักษ์นี้ เพราะท้าวเวสสุวรรณเป็นผู้ที่มีสิทธิเฉียบขาดในการลงโทษภูตีผีปีศาจทั้งหลาย จึงเป็นที่ศรัทธาเชื่อมั่นว่า ท้าวเวสสุวรรณนี้เป็นเทพเจ้าที่มีคุณในการทำลายล้างสิ่งอัปมงคล ทั้งกันทั้งแก้เรื่องผีปีศาจ คุณไสยมนต์ดำทั้งหลายได้ ทั้งยังให้คุณเรื่องโภคทรัพย์อีกประการหนึ่งดังที่กล่าวมาแล้ว



    *คติชาวจีน



    ---ไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ หากเอ่ยถึงเทพเจ้าต่างๆ ที่ชาวจีนกราบไหว้บูชาแล้ว จะเห็นได้ว่ามีอยู่ด้วยกันนับสิบสิบองค์ และองค์หนึ่งที่ชาวจีนมักบูชาเพื่อความโชคดี ความมั่งคั่ง ความร่ำรวยมีโชคมีลาภก็คือ ไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภนั่นเอง ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์แรก ที่ชาวจีนทุกครอบครัวกราบไหว้บูชากันในวันแรกของปีใหม่ ตามคติของชาวจีนคือ วันชิวอิก ตรุษจีนของปี เพื่อขอให้ท่านประทานความมั่งมีศรีสุข โชคลาภ ความร่ำรวย ชาวจีนให้ความเคารพนับถือและกราบไว้บูชากันมาหลายพันปีแล้ว



    ---ประวัติความเป็นมาของไฉ่ซิงเอี้ย นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายตำนาน เท่าที่ศึกษาดูและพอจะมีหลักฐาน เค้าความจริงอยู่ด้วยกันหลายเรื่อง มีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบู๊ (บูไฉ่ซิงเอี้ย) และเทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบุ๋น (บุ่งไฉ่ซิงเอี้ย)



    ---ตามตำนานกล่าวกันว่า เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบู๊ก็คือ เจ้ากงหมิง ซึ่งบำเพ็ญพรตอยู่บนเขาง้อไบ๊ สำเร็จมรรคผลเป็นเซียนที่มีอิทธิฤทธิ์สูงมาก หน้าตาดุร้าย มีหนวดเครารุงรัง มีสมุนร้ายกาจมาก คือ เสือดำ บางตำราว่าเป็นเสือโคร่ง และยังมีของวิเศษอีกหลายอย่าง เช่น แส้เหล็ก ไข่มุกวิเศษ เชือกล่ามมังกร แม้แต่เจียงไท่กง ซึ่งเป็นเทพผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่แต่งตั้งเทพเจ้าองค์ต่างๆ ยังสู้เจ้ากงหมิงไม่ได้และตอนหลังยังได้ของวิเศษอีก 4 อย่าง คือเจียป้อ หนับเตียง เจียใช้ หลี่ฉี ซึ่งเป็นของวิเศษที่สามารถเรียกเงินทองให้ไหลมาเทมา ช่วยให้การค้าราบรื่นได้กำไรงาม ประชาชนจึงพากันกราบไหว้ เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภเงินทองความมั่งคั่ง



    ---เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบุ๋น ตามตำนานกล่าวกันว่า คือ ปี่กาน อัครมหาเสนาบดีของจักกรพรรดิอินโจ้ว ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อิน หน้าตาสะอาดหมดจด รับใช้ราชสำนักด้วยความจงรักภักดี แต่ถูกนางสนมเอกของจักรพรรดิอินโจ้ว กลั่นแกล้ง โดยจะขอหัวใจของปี่กานมาเป็นยา ซึ่งปี่กานก็รู้ว่าถูกกลั่นแกล้ง แต่ก่อนที่จะควักหัวใจให้ไป ปี่กานได้รับยาวิเศษจากเจียงไท่กง ผู้ใดกินแล้วถึงแม้ไม่มีหัวใจและกินเข้าไปก่อนแล้ว ก่อนควักหัวใจจึงทำให้มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องมีหัวใจ พอควักหัวใจให้ไปแล้วก็เดินออกจากวังไป ตอนหลังเร่ร่อนไปตามหมู่บ้านต่างๆ เที่ยวโปรยเงินโปรยทองกลายเป็นเทพเจ้าแห่งทรัพย์สินเงินทอง และโปรยเงินทองให้ประชาชนอย่างทั่วถึง



    *ลักษณะที่สำคัญอันเป็นเอกลักษณ์



    ---เนื่องจากไฉ่ซิงเอี้ยเป็นเทพแห่งความโชคดี ความมั่งคั่งและความร่ำรวยและเป็นที่นิยมนับถือกันในหมู่ชาวจีน โดยเฉพาะชาวจีนที่ประกอบการค้า ดังนั้นจึงปรากฏว่ามีการสร้างรูปเคารพของไฉ่ซิงเอี้ยขึ้นมา เพื่อสักการะบูชากันซึ่งมีตั้งแต่เป็นภาพวาด รูปปั้นเซรามิค (กระเบื้อง) และรูปหล่อโลหะ (มีน้อยไม่ค่อยพบเห็นเพราะจัดสร้างยาก ต้นทุนสูง)



    *ลักษณะที่ปรากฏในรูป



    ---เคารพดังกล่าว จึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ



    ---1.รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊ รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี้ยในลักษณะนี้ จะเป็นรูปของไฉ่ซิงเอี้ยที่อยู่ในวัยกลางคนสวมใส่ชุดนักรบจีนโบราณ อันประกอบ ไปด้วยชุดเกราะ, หมวกขุนพลจีนโบราณ มือขวาจะถือกระบอง มือซ้ายถือเงินหยวน (หยวนเปา) ใบหน้าดุดันค่อนข้างไปในทางเหี้ยมโหด และมีพาหนะเป็นเสือโคร่งลายพาดกลอนตัวใหญ่



    ---2.รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบุ๋น รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี้ยในลักษณะนี้ เป็นรูปของไฉ่ซิงเอี้ยอยู่ในชุดขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของจีนโบราณ สวมหมวกขุนนาง มีปีกออกไปสองข้าง (ลักษณะเดียวกับหมวกของเทพลก) ชุดขุนนางจีนชั้นผู้ใหญ่ก็จะครบเครื่องครบครันทั้งเสื้อนอกเสื้อใน มือซ้ายจะถือเงินหยวน (หยวนเปา) หรือบางที่ไม่ได้ถืออะไรดังกล่าวเลย แต่มือทั้งสองจะถือแผ่นผ้าจารึกอักษร (ปัก) ที่คลี่ออกมาเป็นคำอวยพรที่เป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชาทุกท่าน



    ---อานุภาพของไฉ่ซิงเอี้ย ไฉ่ซิงเอี้ยเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ความมั่งคั่ง และความร่ำรวยของชาวจีนย่อมจะต้องมีอานุภาพในด้านอำนวยความมีโชคลาภ ความมั่งคั่งและความร่ำรวยให้แก่ผู้บูชา ซึ่งหากบูชาได้ถูกวิธีก็จะดียิ่งขึ้น สำหรับอานุภาพของไฉ่ซิงเอี๊ยนั้นขอจำแนก ออกเป็นภาคเพื่อจะได้เข้าใจได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น





    ---1.ไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊ ไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊นี้ชาวจีนที่นับถือเชื่อกันว่าจะมีอานุภาพ ให้คุณแก่ผู้บูชาในเรื่องของหนี้สินกล่าว คือ จะช่วยดลบันดาลให้ผู้บูชาที่เป็นเจ้าหนี้สามารถทวงหนี้ จากลูกหนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ลูกหนี้ไม่คิดที่จะเบี้ยวหรือหนี ให้เจ้าหนี้ต้องลำบากลำบน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอานุภาพ ในการช่วยดูแลควบคุม บริวารลูกจ้างทั้งหลายให้อยู่ในกรอบในระเบียบ ให้ขยันทำการทำงาน โดยเฉพาะตามโรงงานใหญ่หรือบริษัทใหญ่ๆ ตลอดจนกิจการงานที่มีลูกน้องมากๆ ต่างนิยมบูชาไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊นี้ด้วย มีความเชื่อว่าท่านจะช่วยกำกับดูแล ลูกน้องให้ดีเป็นหูเป็นตาให้แก่ผู้บูชาหรือเจ้าของกิจการ ทั้งนี้และทั้งนั้นยังรวมไปถึงบรรดาข้าราชการทหาร ตำรวจที่อยู่ในระดับหัวหน้า (ชั้นสูงๆ) ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชามากๆ ต่างนิยมบูชาไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊ด้วยกันทั้งสิ้น (ของจีน) นอกจากนี้ยังมีอานุภาพ ในการคุ้มครองบุตร ภรรยา (ของผู้บูชา) ทั้งที่อยู่ในบ้านและต่างถิ่นแดนไกลให้ทำตนเป็นคนดี มีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน



    ---2.ไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบุ๋น ชาวจีนเชื่อว่า ไฉ่ซิงเอี้ยในภาคบุ๋นนี้จะอำนวยพรให้ผู้บูชา มีความมั่งคั่งและมีความร่ำรวย มีโชคลาภเป็นประจำ โชคลาภที่ได้เป็นรายได้พิเศษ ที่นอกเหนือไปจากรายได้ประจำ ไฉ่ซิงเอี้ยในภาคนี้จะมีอานุภาพในด้าน เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ และโชคลาภ ที่ถือเป็นรายได้รายรับที่จะทำให้ผู้บูชามีความมั่งคั่งและมีความร่ำรวยเปรียบดังนักการฑูต ที่ดีมีความสามารถในการเจรจาโน้มน้าวให้ต่างชาติ ต่างภาษามีความเชื่อถือในประเทศของตน และเช่นเดียวกัน ทำให้ลูกค้าเชื่อถือในคุณภาพสินค้าและบริการ และกลายเป็นลูกค้าประจำ ดังนั้นผู้ที่จะบูชาไฉ่ซิงเอี้ยก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องบูชาไฉ่ซิงเอี้ยให้ครบชุด กล่าวคือ จะต้องมีรูปไฉ่ซิงเอี้ยทั้งในภาคบู๊และภาคบุ๋นคู่กัน เพื่อท่านจะได้อำนวยความเป็นสิริมงคลให้ครบทุกๆ ด้าน ดังกล่าวมาแล้ว



    *รูปแบบการจัดสร้าง เทพเจ้าแห่งโชคลาภ "ไฉ่ซิงเอี้ย"



    ---รูปหล่อบูชาไฉ่ซิงเอี๋ยในชุดนักรบยืนเหยียบเสือขนาดสูง 16 นิ้ว มือซ้ายถือเงินทองและไข่มุกวิเศษ มือขวาถือดาบคล้ายกระบอง สวมใส่เสื้อมังกร เหน็บแส้ไว้ข้างลำตัว จัดเป็นปางที่สวยสมบูรณ์แบบที่สุดของเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ยปางบู๊ ก็ว่าได้ซึ่งรูปแบบจะเห็นได้ถึงความลงตัวของงานศิลปะจีนที่สวยงามอลังการยิ่งนัก ปั้นแบบโดยประติมากรชื่อดังซึ่งปั้นงานศิลปะจีนได้ สวยงามที่สุดแห่งยุค (ขอสงวนนาม)



    ---องค์เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ยอยู่ในชุดนักรบเหยียบเสือ สวมใส่เสื้อมังกรชุดนักรบมือซ้ายถือก้อนเงินก้อนทองจีน มีไข่มุกวิเศษ มุกไฟล่อมังกร เป็นการเรียกทรัพย์โชคลาภ ข้างลำตัวเหน็บแส้เหล็กไว้ พระพักตร์เต็มไปด้วยเมตตา ปกติบู๊ไฉ่ซิงหน้าตาจะดุมาก ลักษณะต่างๆ ถูกต้องตามโหงวเฮ้งยิ่งนัก จมูกเจ้าทรัพย์เป็นมหาเศรษฐี เป็นเคล็ดว่าผู้บูชาจะได้ร่ำรวยเป็นสิริมงคล มีอำนาจบารมีประกอบกับปางบู๊เหยียบเสือนี้ มีความหมายยิ่งนัก เพราะเสือเป็นราชาแห่งสัตว์ป่าทั้งมวล บ่งบอกถึงอำนาจ ราชศักดิ์ความสง่าผึ่งผาย ความกล้าหาญ ความทรงพลังทางอำนาจ ตลอดจนการค้าอีกด้วย



    ---และในภาวะเศรษฐกิจโลกปัจจุบันเปิดกว้างถึงกันหมด การค้าขายก็ไม่ผิดอะไรกับสงครามการค้าดีๆ นี่เอง จึงควรบูชาบู๊ไฉ่ซิงเอี้ย เพื่อขอพระให้ท่านช่วยให้ทำการค้าประสบผลสำเร็จ และปางเหยียบเสือนี้สอดคล้องกับปีนักษัตรจอ ที่จะมาถึงในปี พ.ศ.2549 ยิ่งนัก เพราะเสือกับจอเป็นคู่มิตร (ซาฮะ) จะหนุนเสริมเติมพลังให้กันและกัน ผู้บูชาจะทำให้ธุรกิจการค้าพุ่งไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และเจริญก้าวหน้า เสื้อที่องค์ไฉ่ซิงเอี้ยสวมใส่นอกจากชุดนักรบยังมีเสื้อมังกรอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มังกรนั้นเป็นสัตว์ในเทพนิยายจีน ที่มีรูปลักษณะเด่นสะดุดตาหลายสิ่งหลายอย่าง รวมกันถึง 9 ประการกล่าว คือ



    ---หัวคล้ายอูฐมีเขาสวมอยู่คล้ายเขากวาง



    ---มีตาเหมือนกระต่าย



    ---มีหูเหมือนหูวัว คอเหมือนงู



    ---ลำตัวยาวเหมือนจระเข้ มีเกล็ดยาวตลอด



    ---ลำตัวคล้ายเกล็ดปลา



    ---กรงเล็บเหมือนนกเหยี่ยว ฝ่าเท้าเหมือนเท้าเสือ



    ---เลื้อยแล่นวิ่งซอนไชอยู่บนก้อนเมฆบนท้องฟ้า บางครั้งก็พบกำลังเลื้อยแล่นโต้คลื่นอยู่ในทะเล ใกล้หัวมังกร มีลูกกลมเป็นไข่มุกไฟลอยหมุนอยู่ มังกรถือเป็นสัตว์เทพเจ้ามีความเป็นอมตะ จะตายก็ต่อเมื่อสมัครใจเองและไม่มีกำหนด มังกรจึงเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของชาวจีน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิริมงคลเ ป็นพื้นฐานของความเมตตา กรุณา พลังอำนาจวาสนา ความแคล้วคลาดปลอดภัย เป็นผู้พิทักษ์อำนาจของเทวดาที่คอยเฝ้าดูอยู่เหนือจักรวาลและมวลมนุษย์ แม้แต่ฉลองพระองค์จักรพรรดิจีน ยังต้องมี "มังกร 9 ตัว" เป็นหัวใจ



    ---รูปแบบที่มือขวาถือดาบคล้ายกระบอง เป็นการช่วยในเรื่องของการค้า การเจรจา อำนาจให้ดูมีบารมีน่าเกรงขาม แส้เหล็ก ที่เหน็บข้างลำตัวไว้ปราบเสือ เหมือนดั่งเอาไว้ควบคุมบริวารให้อยู่ในโอวาทไม่คดโกง มือซ้ายถือก้อนเงินก้อนทองไข่มุกวิเศษ ล้วนมีความหมายเป็นสิริมงคล ให้ผู้บูชามีทรัพย์สินเงินทอง ร่ำรวย มีอำนาจ วาสนา ยศฐาบรรดาศักดิ์ เกียรติยศชื่อเสียงฯลฯ

    [ame]https://youtu.be/uKRsRq3baHg[/ame]


    ตำนานอาฏานาฏิยปริตร

    อาฏานาฏิยปริตร คือ ปริตรของท้าวกุเวรผู้ปกครองนครอาฏานาฏา เพราะเป็นพระปริตรที่ท้าวกุเวรได้นำมากราบทูลพระพุทธเจ้า
    พระปริตรนี้กล่าวพระนามของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ และคุณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
    รวมทั้งอ้างอานุภาพพระพุทธเจ้า และเทวานุภาพ มาพิทักษ์ให้มีความสวัสดี

    มีประวัติว่า ในสมัยหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ แขวงกรุงราชคฤห์
    ท้าวจตุมหาราชทั้งสี่ คือ ท้าวธตรฐ, ท้าววิรุฬหก, ท้าววิรูปักษ์, ท้าวกุเวร(เวสสุวัณ) ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าในมัชฌิมยามแห่งราตรี ขณะนั้นท้าวกุเวรได้กราบทูลว่า อมนุษย์บางพวกเลื่อมใสในพระองค์ บางพวกไม่เลื่อมใส ส่วนใหญ่มักไม่เลื่อมใส เพราะพระองค์สอนให้ละเว้นจากอกุศลกรรม มีปาณาติบาต เป็นต้น แต่พวกเขาไม่สามารถจะเว้นได้ จึงไม่พอใจคำสอนที่ขัดแย้งกับความประพฤติของตน

    เมื่อภิกษุปฏิบัติธรรมในป่าเปลี่ยว อมนุษย์เหล่านั้นอาจจะรบกวนได้
    จึงขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องคุ้มครอง คือ "อาฏานาฏิยปริตร" ไว้ แล้วประทานแก่พุทธบริษัท เพื่อสาธยายคุ้มครองตน และเพื่อให้อมนุษย์เกิดความเลื่อมใสพระศาสนา

    จากนั้น ท้างกุเวรได้กราบทูลคาถา เป็นต้นว่า "วิปัสสิสสะ จะ นะมัตถุ.."
    เมื่อท้าวมหาราชเหล่านั้นเสด็จกลับแล้ว พระพุทธเจ้าจึงนำมาตรัสแก่พุทธบริษัทในภายหลัง

    อาฏานาฏิยปริตรที่มีปรากฏในฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค(ที.ปา.๑๑/๒๗๕-๘๔/๑๖๙-๗๘) มีทั้งหมด ๕๑ คาถา แต่พระปริตรที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นบทสวดที่โบราณาจารย์ปรับปรุงในภายหลัง โดยนำคาถาในบาลี ๖ คาถาแรก แล้วเพิ่มคาถาอื่นที่อ้างพระพุทธคุณและเทวานุภาพ เพื่อเป็นสัจจวาจาพิทักษ์คุ้มครอง ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า พระเถระชาวลังกาเป็นผู้ปรับปรุงพระปริตรนี้(พระปริตรแปลพิเศษ ฉบับพม่า หน้า ๔-๕)

    บทขัดอาฏานาฏิยปริตร
    อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
    อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
    ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะ จะ คุตติยา
    ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตัน ตัมภะณามะ เห ฯ

    พระมหาวีรเจ้าทรงแสดงพระปริตรใด เพื่อคุ้มครองพุทธบริษัทสี่ มิให้ถูกเบียดเบียนจากเหล่าอมนุษย์ผู้ดุร้าย หยาบกระด้างอยู่เสมอไม่เลื่อมใสคำสอนของพระโลกนาถ อันบัณฑิตยกย่องว่าเป็นคำสอนที่ดี ขอเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระปริตรนั้นเถิด



    อาฎานาฎิยปริตร

    วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิส สะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระ เสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง เย จาปิ นิพพุตาโลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะ สาระทา หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ

    นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส สะระณัง กะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร โกณฑัญโญ ชะนะ ปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ สุมาโน สุมาโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน โสภีโต ถุณะสัมปันโน อะโนมะ ทัสสี ชะนุตตะโม ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ สาระถี ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
    ติสโส จะ วะทะตัง วะโร ปุนโน จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู
    สุขะทายะโก กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญ ชะโห กัสสะโป สิริสัมปันโน โคระโม สักยะปุงคะโว ฯ เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อัเนกะสะตะโกฏะโย

    สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง สีหะนาทัง นะทันเตเต ปะริสาสุ วิสาระทา พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะ ฏิวัตติยัง อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา ทวัตติงสะ ลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา พยา มัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ
    หิเตสิโน สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรา ยะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตา ปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ ฯ เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯ

    ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อันุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ทักขิณัสมิง
    ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มิหิทธิกา เตหิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ อุตตะรัสมิง ทิสา ภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทิกขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรเยนะ สุเขนะ จะ อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ฯ นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
    สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสถี ภะวันตุ เต ฯ

    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะ เตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต

    สักกัตวา ธัมมะ ระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง
    ธัมมะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะนิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ สุขัง พะลัง ฯ

    ตำนาน

    สมัยหนึ่งสมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร ในครั้งนั้น ท้าวจาตุมมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งสถิตย์อยู่เหนือยอดเขายุคันธร ที่เรียกว่าชั้นจาตุมหาราชิกา อันเป็นชั้นต่ำกว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาซึ่งเป็นที่สถิตย์ขององค์อินทราธิราช

    พระอินทร์ ทรงมีเทวะพระบัญชาให้มหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่เฝ้ารักษาประตูสวรรค์ในทิศทั้ง ๔ เพื่อป้องกันมิให้พวกอสูรมารบกวน โดยมี

    ท้าวธตรฐ ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา
    ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ รักษาทิศทักษิณ
    ท้าววิรูปักษ์ เป็นเจ้าแห่งนาคทั้งปวง รักษาทิศปัจจิมท้าวเวสวัน เป็นเจ้าแห่งยักษ์ รักษาทิศอุดร

    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ปรารถนาจะเกื้อกูลพระพุทธศาสนา มิให้พวกอสูร หรือพวกศัตรูมาย่ำยีบีฑา แด่พระภิกษุสงฆ์สาวกของพระบรมสุคตเจ้า

    จึงคิดจะชวนกันลงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก็ห่วงภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ มหาราชทั้ง ๔ จึงมีบัญชาแต่งตั้งให้ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ อย่างละแสนรักษาประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งก็ให้พวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา กุมภัณฑ์รักษาทิศทักษิณ นาครักษาทิศปัจจิม ยักษ์รักษาทิศอุดร

    ครั้นแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ประชุมพร้อมกันที่ อาฏานาฏิยนคร ณ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พร้อมกับผูกมนต์อาฏานาฏิยปริตร ซึ่งมีเนื้อความสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ มี

    พระวิปัสสี ผู้มีสิริอันงาม
    พระสิขี พุทธเจ้า ผู้มากด้วยการอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง
    พระเวสสภู พุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลส มีตบะ
    พระกกุสันธะ พุทธเจ้า ผู้มีชัยชนะแก่พญามารและเสนามาร
    โกนาคมนะ พุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้วมีพรหมจรรย์อันจบแล้ว
    กัสสปะ พุทธเจ้า ผู้พ้นวิเศษแล้ว จากกองกิเลสทั้งปวง
    พระอังคีส พุทธเจ้า ผู้เป็นโอรสแห่งหมู่ศากยราช ผู้มีศักดิ์ มีสิริ ดัง นี้เป็นต้น

    ครั้นผูกมนต์พระปริตรแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงประกาศแก่บริวารของตนว่า ธรรมอาณาจักรของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นบรมครูของเราทั้ง ๔ ถ้ามีผู้ใดสาธยายมนต์ อาฏานาฏิยปริตร นี้ขึ้น แล้วถ้าใครไม่เชื่อฟัง ไม่สดับ จะต้องถูกลงโทษอย่างสาสม รุนแรง

    และแล้วมหาราชทั้ง ๔ ก็พร้อมใจกันลงมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กราบบังคมทูลว่าหมู่ยักษ์ทั้งหลาย หมู่นาคทั้งหลาย หมู่กุมภัณฑ์ทั้งหลาย และหมู่คนธรรพ์ทั้งหลาย ผู้มีเดช มีศักดา มีอานุภาพ มีจิตกระด้างหยาบช้า ละเมิดเบญจศีลเป็นอาจิณ ที่ยังไม่เลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัยนั้นมีมากพวกที่เลื่อมใสนั้นมีน้อย

    เมื่อพระสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ในที่ห่างไกลจากมนุษย์สัญจร อมนุษย์ผู้ไม่เลื่อมใส ย่อมจะย่ำยี หลอนหลอก กระทำให้เจ็บไข้เป็นอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์ แต่ต่อนี้ไปจะไม่บังเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีกแล้ว ถ้าพระบรมสุคตเจ้าทรงพระกรุณาโปรดรับมนต์อาฏานาฏิยปริตรนี้ไว้ แล้วโปรดประทานให้พระภิกษุสาวก สาธยายอยู่เนือง ๆ อมนุษย์ทั้งปวงก็จะมิกล้าย่ำยีหลอนหลอกทำร้าย อีกทั้งยังจะช่วยปกป้องคุ้มครอง กันภัยทั้งปวงให้อีกด้วยพระเจ้าข้า

    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับมนต์พระปริตรนั้นโดยดุษฏี

    ท้าวเวสวัณ ก็แสดงอาฏานาฏิยปริตรนั้นถวายและแล้ว มหาราชทั้ง ๔ ก็ถวายมนัสการลา

    สมเด็จพระบรมศาสดา จึงทรงมีพระบัญชาให้ประชุมภิกษุทั้งหลายในที่นั้น แล้วทรงแสดงมนต์พระปริตรนั้นให้แก่ภิกษุทั้งหลายได้เรียนสาธยาย เสร็จแล้วทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอุตสาหะ สาธยายมนต์พระปริตรนี้ให้บริบูรณ์ในสันดาน จะพ้นจากอุปัทวันอันตรายทั้งปวงได้ อมนุษย์ทั้งหลายก็จะไม่มาย่ำยี หลอนหลอก เธอทั้งหลายจะได้ดำรงค์อยู่เป็นสุข เพื่อยังพรหมจรรย์ให้เจริญ

    ภิกษุเหล่านั้นก็เปล่งสาธุการ น้อมรับด้วยเศียรเกล้า จบ


    ก็พอจะผูกเรื่องราวคร่าวๆแล้วถึงผู้ที่จะเดินทางมาจากดินแดนแห่ง"กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)"หรือก็คืออุตรกุรุทวีปแล้วนำแก้ว 7 ประการ มาถวายพร้อมข้าทาสบริวารอันได้แก่

    จักรแก้ว (จกฺกรตฺตนํ)
    เมื่อผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถ ชำระจิตให้สะอาดแล้วทรงทำสมาธิ จักรแก้วก็บังเกิดขึ้น ทำจากโลหะมีค่า ส่องแสงสว่างไสว แล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมเหล่าเสนาบดีลอยไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปทั้ง 4 ประเทศต่างๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์ ไม่มีการสู้รบกัน เมื่อจะถวายเครื่องบรรณาการพระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงไม่รับแต่พระราชทานโอวาทศีล 5 ให้

    ช้างแก้ว (หตฺถีรตฺตนํ)
    ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้าง มีชื่อว่า อุโบสถ สีขาวเผือก สง่างาม มีฤทธิ์เดชสามารถเหาะได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

    ม้าแก้ว (อสฺสรตฺตนํ)
    ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้า มีชื่อว่า วลาหกะ เป็นอัศวราชผู้สง่างาม ขนงาม มีหางเป็นพวง ตรงปลายคล้ายดอกบัวตูม มีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินบนอากาศได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

    มณีแก้ว (มณิรตฺตนํ)
    มณีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วมณีเปล่งแสงสุกสกาว ใสแวววาวยิ่งกว่าเพชร เปล่งรังสีแสงสว่างไสวโดยรอบถึง 1 โยชน์ คอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่างให้เกิดขึ้น ดึงดูดสมบัติทั้งหลายมาให้ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งชมพูทวีปโดยไม่ต้องทำมาหากิน เมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทดลองแก้วมณีกับกองทัพ โดยติดแก้วมณีไว้บนยอดธงนำทัพ แก้วมณีก็เปล่งแสงสว่างไสว ทำให้กองทัพเดินทางได้สะดวกสบาย เหมือนเดินทัพในเวลากลางวัน

    นางแก้ว (อิตถรตฺตนํ)
    นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นหญิงที่มีบุญญาธิการ รูปร่างน่าดูชม ผิวพรรณเปล่งปลั่งผ่องใส สวยงามกว่ามนุษย์ทั่วไป พูดจาสุภาพ ไม่โกหก มีกลิ่นดอกบัวหอมฟุ้งออกจากปาก มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งรอบกาย นางแก้วเป็นผู้คอยปรนนิบัติพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไม่ขาดสาย ตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ประพฤติชอบต่อพระเจ้าจักรพรรดิเสมอ

    ขุนคลังแก้ว (คหปติรตฺตนํ)
    คฤหบดีแก้ว หรือขุนคลังแก้ว สามารถนำทรัพย์สินมาให้แด่พระเจ้าจักรพรรดิได้ ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหนก็เห็นไปหมด

    ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตฺตนํ)
    ปริณายกแก้ว หรือขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึกคู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิอยู่เสมอ

    อาฏานาฏิยปริตร สวดเพื่อคุ้มครองป้องกันภัย จากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดี และมีความสุข
    ในอาฏานาฏิยสูตร (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) ระบุไว้ว่า
    เมื่อภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เรียน “รักขา”(ปริตร) นี้ ท่องบ่นดีแล้ว
    อมนุษย์ใด ๆ จะเป็นยักษ์ คนธรรมพ์ กุมภันฑ์ นาค ตลอกจนพวกพ้อง
    ถ้ามีจิตประทุษร้าย เข้าไปใกล้ ผู้เรียน“ รักขา” นี้ จะเข้าพวกไม่ได้
    จะชื่อว่าประพฤติผิดเหมือนโจร จะถูกลงโทษ .
    พวกยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดีจะคอยชี้ความผิดของอมนุษย์เหล่านั้น.


    วันนี้เป็นวันแรกที่ตั้งใจฟังการสวดภาณยักษ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2016
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อย่างที่๑
    http://palungjit.org/threads/ประวัต...ธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ-พิมพ์เป็นตัวอักษร.356194/


    อย่างที่ ๒

    บ้างก็มีความเห็นตรงกันข้าม

    บทวิจารณ์หนังสือ พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ
    เกริ่นเรื่อง: หนังสือทางธรรมะที่มีแต่ความรู้อันบิดเบือน


    ตามลิงค์
    http://my.dek-d.com/zoname/blog/?blog_id=10158949


    หรืออย่างที่ ๓
    ไม่ตามใคร ไม่รู้ไม่เห็นไม่พูด ไม่เชื่อใครทั้งนั้น



    กรณีศึกษา ใจกว้างๆ น้ำอย่าเต็มแก้ว รู้จักคิดรู้จักใช้ อะไรก็เป็นประโยชน์ บ้างก็เป็นโทษ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2016
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    https://www.google.co.th/search?q=O...D5AQ_AUICCgD#tbm=isch&q=Medal+coin+Portuguesa

    ค้นหาเหรียญฯโปตุเกส

    ชาวลังกามีความเชื่อถือว่า ถ้าฝนแล้ง เจ้าหน้าที่จะอัญเชิญพระธาตุเขี้ยวแก้วออกแห่เพื่อขอฝนและจะได้สัมฤทธิผลดังปรารถนาจริง ๆ ชาวลังกาเชื่อว่า ถ้าใครได้ครอบครอง พระเขี้ยวแก้ว ก็จะเป็นพระราชาพระมหากษัตริย์ มีเรื่องเล่าเรื่องเกี่ยวกับอภินิหารของพระเขี้ยวแก้ว ในหนังสือประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะไว้ว่า "เมื่อโปรตุเกสครอบครองศรีลังกาอยู่นั้น เพื่อเป็นการถอนรากถอนโคนพระพุทธศาสนา ในลังกา โปรตุเกสได้ออกกฎหมายใช้เก็บภาษีต่อครอบครัวชาวพุทธอย่างรุนแรง ผู้ใดยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ก็ได้อภิสิทธิ์ไม่ต้องเสียภาษี จึงมีชาวลังกาเข้ารีตเป็นจำนวนมากรวมทั้งพระเจ้าธรรมปาละแห่งโคลัมโบด้วย เข้ารีตแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นพระเจ้าดองยวงและเพื่อเป็นการประกาศชัยชนะของพระผู้เป็นเจ้า นักสอนศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกจึงสั่งให้ พระเจ้ายองดวงมอบพระเขี้ยวแก้วให้ แล้วหัวหน้าบาทหลวงคาทอลิกได้ใช้ครกตำพระเขี้ยวแก้ว ต่อหน้าชาวลังกาจนทำลายไปหมด รัฐบาลโปรตุเกสได้ออกเหรียญที่ระลึกในงานนี้ รูปเหรียญด้านหนึ่งเป็นรูปผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสจารึกว่า "ผู้พิทักษ์อันเที่ยงแท้" อีก ด้านหนึ่งเป็นรูปบาทหลวงตำพระเขี้ยวแก้ว พระสันตปาปาแห่งโรมได้ส่งสารมา แสดงความยินดี แต่พระเจ้าวิมลธรรมสุริยะแห่งกรุงแคนดีบอกว่า พระเขี้ยวแก้วของจริงอยู่ที่ตนที่พวกบาทหลวงทำลายเป็นของปลอม" ศรีลังกานั้น ถือว่าพระเขี้ยวแก้ว เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นเอกราชและเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นกษัตริย์แห่งลังกาด้วย



    História do Império Marítimo Português - Índia Portuguesa

    ที่มา : ไฟป่ายังไหม้ลามทั่วภาคเหนือโปรตุเกส | เดลินิวส์

    ทางการโปรตุเกสระดมกำลังเจ้าหน้าที่ดับเพลิงกว่า 2,000 คน เข้าควบคุมสถานการณ์ไฟป่า ที่กำลังลุกลามทั่วพื้นที่ภาคเหนือ
    สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 59 ว่า เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกว่า 2,000 คน เข้าควบคุมไฟป่าที่กำลังลุกไหม้ลาม ทั่วพื้นที่ภาคเหนือของโปรตุเกสเมื่อวันเสาร์

    รายงานของสำนักข่าวลูซา ระบุว่า ไฟป่า 79 จุดที่กำลังไหม้ลามทั่วภาคเหนือ หนึ่งในจุดรุนแรงที่สุดอยู่ที่ป่ารอบเมืองเมลเรส เมดาส ห่างจากเมืองใหญ่ปอร์โต ไม่ถึง 20 กม. มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้รับบาดเจ็บ 2 คน


    ภาพข่าวจากสถานีโทรทัศน์แสดงให้เห็น ประชาชนท้องถิ่นจำนวนมาก เข้าช่วยเหลือเจ้าหน้ารที่ดับเพลิง นายมาร์โก มาร์ตินส์ นายกเทศมนตรีเมืองเมลเรส เมดาส กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กำลังพยายามควบคุมไฟไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้ แต่ปัญหาใหญ่สุดอยู่ที่กระแสลมแรง ส่วนสำนักงานคุ้มครองพลเรือน กล่าวว่า ได้นำเครื่องบิน 2 ลำ และเฮลิคอปเตอร์อีก 1 ลำ เข้าช่วยเหลือในการควบคุมเพลิง

    จนถึงขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่ทราบต้นเพลิง แต่โปรตุเกสมีความเสี่ยงสูงในการเปิดไฟป่า ในช่วงเวลาหลายเดือนของฤดูร้อน ที่อากาศร้อนจัด เมื่อปี 2556 ไฟป่าในโปรตุเกสเผาผลาญพื้นที่รวมกว่า 150,000 เฮกตาร์ (915,000 ไร่)

    http://haab.catholic.or.th/history/history01/protuget11.html

    กรุงศรีอยุธยากลายเป็นราชธานีที่สำคัญในภูมิภาคด้วยเวลาอันรวดเร็ว หลังจากสถาปนาขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ด้วยการขยายพระราชอำนาจและอาณาเขตออกไปอย่างต่อเนื่องทำให้บ้านเมืองใกล้เคียงเข้ามาเป็นเมืองประเทศราชและบางส่วนก็กลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไป

    แม้ภายในกรุงศรีอยุธยาเองจะปรากฏสภาพการ แก่งแย่งอำนาจทางการเมืองภายในกันอยู่อย่างต่อเนื่องก็ตามที กระนั้นในสายตาของเพื่อนบ้านแล้วอยุธยาก็ยังคงเป็นราชธานีที่เข็มแข็งและยิ่งใหญ่

    และความเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจและควรกล่าวถึงก็คือ การเข้ามาของชาวตะวันตกในกรุงศรีอยุธยา

    อันที่จริงแล้วการเข้ามาของชาวตะวันตกในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่ได้เข้ามาแค่กรุงศรีอยุธยาเท่านั้น หากแต่แท้จริงเข้ามาแทบทุกเมืองทั้งภูมิภาคเลยก็ว่าได้ และการเข้ามาของชาวตะวันตกในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เองที่ทำให้สภาพการณ์ทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงวิถีชีวิตของมวลชนแห่งเอเชียตะวัตออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบไปด้วยไม่น้อย

    แต่ในที่นี้เราจะกล่าวถึงแค่การเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น

    ฝรั่งชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อและสานสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยาได้แก่ โปรตุเกส

    โปรตุเกสเดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยาเป็นครั้งแรก ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ กล่าวคือ หลังจากที่โปรตุเกสตีเมืองมะละกาและเข้ามายึดเพื่อปกครองได้ใน พ.ศ. ๒๐๕๔ อัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์คี (Afonso de Albuquerque) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองหรือผู้สำเร็จราชการมะละกาขณะนั้น ได้จัดส่งทูตเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อกราบบังคมทูลให้ทราบว่าโปรตุเกสปกครองมะละกา ซึ่งเดิมเป็นเมืองขึ้นของไทย

    อีกทั้งยังแสดงความประสงค์จะเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย โดยการให้สิทธิทางการค้ากับไทยที่มะละกาอีกด้วย ซึ่งในครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ก็ได้ตอบรับไมตรีของโปรตุเกสและลงนามในสัญญาที่ถือเป็นสัญญาฉบับแรกกับชาติตะวันตกในประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. ๒๐๕๙

    ที่สยามหรืออยุธยายอมตอบรับพระราชไมตรี ด้านหนึ่งเพราะในยามนั้นอยุธยากำลังมีศึกติดพันกับเมืองเชียงใหม่อยู่ด้วย ดังนั้น การเปิดศึกอีกด้านย่อมไม่เป็นสิ่งที่ควรอย่างแน่นอน ขณะที่อีกทางหนึ่งนั้นด้วยแสนยานุภาพของโปรตุเกสที่เปิดแนวรบมาตลอดเส้นทางโดยเฉพาะตามเมืองท่าสำคัญ หากสยาม ไม่ยอมรับพระราชไมตรีก็จะเป็นเหตุให้เกิดสงครามขึ้นมาได้

    นอกจากนั้นทางสยามยังเห็นถึงการแสดงออกของโปรตุเกส ที่ประสงค์จะทำการค้ากับสยามมากกว่าที่จะยึดดินแดนเป็นเมืองขึ้นอย่างที่ทำมาตลอดเส้นทางการค้า จึงทำให้เกิดการตอบรับไมตรีในที่สุด

    เอกสารของตะวันตกกล่าวว่ากษัตริย์สยามทรงให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ไม่เพียงเท่านั้นกษัตริย์สยามยังทรงมอบของขวัญและเสนอความช่วยเหลือฉันท์มิตร ซึ่งในยามนั้นการยอมแพ้ของ มะละกา ทำให้ข้อเสนอที่ว่านั้นลดความสำคัญลงไป นอกจากนี้ยงปรากฏอีกว่า อัลบูเคอร์คี ดูเหมือนจะเคยเสนอ ที่จะโอนการปกครองเมืองมะละกามาให้กษัตริย์สยาม เพื่อเป็นสิ่งตอบแทนความร่วมมือที่เขาจะได้รับจากพระองค์ด้วย

    จุดนี้ดูจะเห็นเหลี่ยมมุมทางการเมืองของโปรตุเกสเสียมากกว่า ใครหรือจะยอมยกเมืองที่ตัวเองอุตส่าห์หรือหมายมั่นปั่นมือเอาไว้ให้คนอื่นง่ายๆ

    ทูตของโปรตุเกสครั้งนั้นก็คือ ร้อยโทดูอาร์เต เฟอร์แนนเดส (Duarte Fernandes) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นนักโทษของพวกเขกมัวร์ และสามารถพูดภาษามาเลย์ได้ (สมัยนั้นเป็นภาษากลางใช้สื่อสารกันทั่วไปของนักเดินเรือในอุษาคเนย์) เดินทางโดยอาศัยเรือสินค้าของจีนเข้ามายังอยุธยา พร้อมกับนำดาบที่มีด้ามและฝักประดับด้วยอัญมณีมอบเป็นบรรณาการมาด้วย

    ในเวลาต่อมา อับบูเคริก์ ก็ส่งทูตชุดใหม่มาเพื่อเปิดการค้าอย่างเป็นทางการกับอยุธยา และคณะทูตชุดนี้ก็นำโดยนายอันโตนิโอ มิรันดา เดอ วเซเวดู (Antonio Miranda de Azevedo) โดยมีคนอีกคนหนึ่งติดตามมาด้วย ชายคนนี้ชื่อ มานูแอล ฟราโกซู (Manuel Fra gozo)
    และนายฟราโกซู คนนี้เองที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นจารชนชาวยุโรปในสยามคนแรก

    หากเราเรียนรู้การเดินทางมาถึงของพวกโปรตุเกสตลอดเส้นทางแล้ว จะเข้าใจสิ่งที่นายฟราโกซู คนนี้ทำได้มากยิ่งขึ้น โปรตุเกสมาถึงเมืองท่าเมืองแรกคือ กาลิกัท ซึ่งเป็นเมืองบนฝั่งมะละบาร์ของอินเดีย ไม่นานนักก็เข้ายึดเมืองนั้นเป็นของตัวเอง ต่อมาก็เข้ายึดเมืองกัว และต่อมาอีกเมื่อมาสร้างสัมพันธ์กับ มะละกา ก็เข้ายึดมะละกาเอาไว้เป็นของตัวเองอีก ดังนั้นกับสยามก็คงจะเผื่อลู่ทางเอาไว้ด้วยเช่นกัน

    การมาเยือนของทูตโปรตุเกสครั้งนี้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ก็ยังให้การต้อนรับเป็นอย่างดี เพราะไม่คิดว่าพวกโปรตุเกสจะมีลับลมคนในอะไร วิเคราะห์ว่าเวลานั้นพระองค์น่าจะคิดว่าดีเสียอีกที่โปรตุเกสเข้ายึดเกาะมะละกาเสียได้ ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมาสยามก็มีสงครามกับมะละกาจนเลิกทำการค้าขายกันมาระยะหนึ่งแล้ว

    ที่สำคัญยังทรงอนุญาตให้นายปราโกซู ที่ว่าเป็นผู้ติดตามทูตมาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาอย่างสะดวกสบายเสียด้วย

    ซึ่งความเป็นจริงแล้ว นายฟรานโกซู คนนี้มีหน้าที่โดยได้รับคำสั่งว่าให้อาศัยอยู่ในสยามเพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญต่างๆ ให้แก่ฝ่ายโปรตุเกส ข้อมูลสำคัญต่างๆ ที่ว่านี้ได้แก่ ชนิดของสินค้าที่สามารถ หาได้ในสยาม ขนบประเพณีและการแต่งกายของชาวสยาม ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจนของเมืองอยุธยา ความลึกของท่าเรืออยุธยา

    นอกจากนั้นยังต้องเสาะแสวงหา และรวบรวมข้อมูลด้านแสนยานุภาพทางทหารของสยามอีกด้วย

    ไม่เพียงเท่านั้นอันที่จริงแล้วการสืบราชการลับเริ่มต้นมาตั้งแต่การเดินทางของทูตครั้งนี้แล้วคือ เพื่อให้รู้จักเส้นทางของการเข้าสู่อยุธยา ทูตชุดนี้จึงได้เลือกเดินทางสำรวจมาโดยช่วงแรกเดินทางทางเรือมาขึ้นฝั่งที่เมืองมะริดก่อน แล้วเดินทางบกสำรวจเส้นทางบกไปเรื่อยจนเข้าสู่เมืองอยุธยา

    ด้วยภารกิจดังว่า และได้รับพระบรมราชานุญาตให้อาศัยอยู่ในสยามได้ นายฟราโกซูเลยอยู่อย่างสะดวกสบายในสยามถึง ๒ ปี เป็นเวลา ๒ ปีที่สืบราชการลับโดยมีบรรดาขุนนางข้าราชการให้การต้อนรับ และพร้อมที่จะให้ข้อมูลที่อยากได้ทุกเรื่องหมดเวลา ๒ ปี นายฟราโกซูก็เดินทางออกนอกประเทศนำข้อมูลที่ตัวเองได้ไปรายงานกับผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสที่เมืองกัวได้อย่างพร้อมมูล

    เรื่องราวของนายฟราโกซู ได้รับการบันทึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์ของโปรตุเกสอย่างชัดเจนเสียอย่างเดียวที่จนถึงวันนี้รายงานฉบับของเขานั้นได้หายสาบสูญไปเสียแล้ว เลยไม่มีใครในปัจจุบันที่ได้อ่าน และได้รู้จนถึงผลงานที่เขาได้ทำเอาไว้ในฐานะจารชนคนแรกของชาวตะวันตกในสยามประเทศ


    ในเวลาต่อมาไม่ปรากฏว่าโปรตุเกสคิดจะเข้ามายึดกรุงศรีอยุธยาเหมือนกับที่ทำกับหลายเมืองที่ผ่านมา กระนั้นเกมการเมืองครั้งนี้ของโปรตุเกสหากเรามาพิจารณากันในปัจจุบันแล้ว ก็ดูน่าหวาดเสียวอยู่ไม่น้อย ที่สำคัญยังมีประเด็นพ่วงอีกเรื่องหนึ่ง คือ ช่วงเวลาดังกล่าวโปรตุเกสไม่แต่เพียงเข้ามาสืบราชการลับเท่านั้น ยังส่งคนเข้ามาทำอะไรอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นความลับทางราชการของชาติด้วย นั่นก็คือส่งนายเปรู เรยเนล (Pero Reinal) เข้ามาทำแผนที่เดินเรือของอ่าวสยาม ซึ่งถือเป็นการทำแผนที่เดินเรือและการสำรวจน่านน้ำของสยามครั้งแรกโดยชาวตะวันตก

    คิดๆ ไปแล้วในแง่ประวัติศาสตร์ ข้อมูลของนายฟราโกซู ที่สูญหายไปนั้นน่าเสียดายอย่างยิ่ง ไม่รู้ว่าเขาบันทึกอะไรเอาไว้บ้าง ซึ่งหากมีอยู่ก็น่าจะสามารถเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอยุธยาที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งไม่ต่างจากของยุโรปชาติอื่นที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่องและยังมีหลงเหลือกลายเป็นหลักฐาน และข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่น ของฮอลันดา ที่มีนาย โยสต์ เซาเต็น และนายฟาน ฟลีต บันทึกหรือของฝรั่งเศสที่มีหลายคนหลายสำนวน แต่ที่ได้รับการนับถืออย่างมากก็เช่นของลาลูแบร์ หรือของบาทหลวงตาชาร์ด เป็นต้น ซึ่งแท้จริงมันก็คือข้อมูลในเชิงของการสืบราชการลับ หรือข้อมูลของจารชนทั้งสิ้นนั่นเอง

    ย้อนกลับมาประเด็นการเข้ามาของโปรตุเกสในสยาม ต่อเกิดคำถามว่าทำไมโปรตุเกสจึงต้องให้ความสำคัญกับสยาม?

    คำตอบก็คือหลังจากที่อัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์คี ได้ยึดมะละกาเรียบร้อยแล้วคารปาร์ คอร์รีอา (ค.ศ. ๑๔๕๙-๑๕๑๖หรือ พ.ศ. ๒๐๐๒-๒๐๕๙) นักเดินทางชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามาอยู่ในอินเดียเมื่อ พ.ศ. ๒๐๕๕ (ค.ศ. ๑๕๑๒) ได้บันทึกเรื่องนี้เอาไว้ว่า

    “ผู้สำเร็จราชการ (อัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์คี) พิจารณาเห็นว่ามะละกาจะเป็นสมบัติอันมีค่ายิ่งสำหรับโปรตุเกสหากสามารถทำการค้าได้โดยสันติ เขาจึงตัดสินใจสถาปนาความสัมพันธฉันท์มิตรกับเพื่อนบ้านของงเขา (หมายถึงประเทศรายรอบมะละกา ซึ่งหมายรวมถึงอยุธยาด้วย) เนื่องจากราชอาณาจักรสยามมีความสำคัญมากอันเป็นผลมาจาการค้ามั่งคั่ง ที่ราชอาณาจักรทำการค้ากับมะละกาและดินแดนอื่นๆ เขาจึงตัดสินใจฉวยโอกาสที่สำเภาจีนสองลำกำลังจะออกเดินทางไปยังสยาม ส่งดูอาร์เต เฟอร์แนนเดส ไปพร้อมกับเรือดังกล่าว บุคคลนี้เหมาะอย่างยิ่งกับหน้าที่นี้ เนื่องจากเขาเป็นผู้รอบรู้มาก”

    การติดต่อครั้งนั้น ไม่เพียงแค่เจรจาการค้ากัน ในเวลาต่อมาอัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์คี ยังได้ให้ซิเมา เดอ มิรันดา เดอ อาเซเวโด พร้อมด้วยผู้ติดตามอีก ๕ คนนำของไปถวายพระเจ้าแผ่นดินอันได้แก่ เสื้อเกราะทำด้วยผ้าชาตินสีแดงเลือดหมู หอก โล่ และหมวกเหล็กซึ่งตกแต่งอย่างงดงาม เขากล่าวไว้ในหนังสือที่มีไปกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดินสยามว่า ตัวเขา เป็นทหารเขาไม่มอบของขวัญ อื่นใดนอกจากอาวุธซึ่งเขาใช้ในสงครามต่อสู้กับศัตรู และเพื่อช่วยเหลือและปกป้องมิตรของเขา

    เรียกได้ว่าการเจริญสัมพันธไมตรีครั้งแรกนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงพอพระราชหฤทัยในสิ่งของที่นำมาถวาย ดังจะเห็นได้ว่าในครั้งนั้นได้มีพระราชประสงค์ให้จัดที่พัก และจัดอาหารเลี่ยงดูคณะทูตอย่างดี มีการนำคณะทูตไปชมเมืองและช้างเผือก

    ในเวลาต่อมา ก็ได้ส่งคณะทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปพระราชทานแก่อัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์คี ตอบรับมิตรภาพที่จะเกิดขึ้น และได้ส่งของขวัญพระราชทานเป็นระฆัง ๒๐ ใน และหอกยาวทำด้วยไม้เนื้อแข็ง และเหล็กสีทองอีกจำนวน ๒๐ เล่ม และภาพว่าสงครามเป็นการตอบแทน เรียกว่ามิตรภาพเริ่มเกิดขึ้นโดยไม่ต้องเสียแรงต่อรองอะไรกันมากนัก

    ด้วยมิตรภาพสัมพันธ์ที่ได้รับด้วยดีนี้ นับแต่นั้นมาก็มีชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาในอยุธยาเพิ่มมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ และดูเหมือนว่าชาวสยามจะให้การต้อนรับบรรดานักเดินทางและพ่อค้ารวมไปถึงทหารชาวโปรตุเกสเป็นอย่างดี

    ว่ากันว่า ชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามาในอยุธยานั้นบ้างก็เข้ามาค้าขาย และบ้างก็สมัครเข้ารับราชการเป็นทหารรักษาพระองค์ และทหารอาสาในกองทัพไทย ทหารโปรตุเกสเหล่านี้ได้ทำการฝึกหัดทหารไทยให้รู้จักอาวุธปืนตลอดจนยุทธวิธีในการสงคราม ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ที่เดินทางเข้ามาส่วนหนึ่งก็เป็นบาทหลวงชาวโปรตุเกสที่เข้ามาเพื่อเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ทั้งนี้เพราะไทยไม่มีนโยบายกีดขวางการเผยแพร่ศาสนาแต่อย่างใด

    ในส่วนของการเข้าไปเป็นทหารรับจ้างหรือทหารอาสาของชาวโปรตุเกสนั้น มีบันทึกหนึ่งที่น่าสนใจแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาในระยะนั้น นั่นคือ บันทึกของโจเอา เดอ บาร์โรส (ค.ศ. ๑๔๙๖-๑๕๗๐ หรือ พ.ศ. ๒๐๓๙-๒๑๑๓) นักปราชญ์คนสำคัญของโปรตุเกสในเวลานั้นและเข้ามาเป็นตัวแทนทางการค้าของโปรตุเกสในอินเดีย ได้บันทึกเอาไว้ว่า

    “เมื่อพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงติดพันการสงครามกับลาวชาวโปรตุเกสผู้มีชาติตระกูล ชื่อ โดมิน โกส เดอ ซีซาส (Domingos de Seixas) ถูกชาวสยามจับเป็นนักโทษพร้อมกับชาวโปรตุเกสคนอื่นๆ และถูกจองจำเป็นเวลาหลายปี สืบเนื่องมาจากความสามารถของเขา พระเจ้าแผ่นดินจึงทรงแต่งตั้งให้เป็นขุนนางโดยมีตำแหน่งเป็นกัปตันคุมกองทหาร และรับราชการที่อยุธยาถึง ๒๕ ปี”

    อาจกล่าวได้ว่า นับแต่นั้นมากองทหารโปรตุเกสก็มีหัวหน้าที่คุม และดูแลกองทหารอาสาหรือทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสก็คือโดมินโกส เดอ ซีซาส ซึ่งในเวลาต่อมากษัตริย์โปรตุเกสขณะนั้นคือ พระเจ้าโดม โจอาวที่ ๓ (Dom Joao ๓) ได้ส่งฟรานซิสโก เดอ คาสโตร (Franciseo de Castro) มาขอตัวนายซีซาส ซึ่งโปรตุเกสเข้าใจว่ายังเป็นเชลย แต่กลับพบว่าในเวลานั้นนายซีซาส ซึ่งเข้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๐๖๐ ได้เป็นผู้บังคับการกองกำลังในดินแดนส่วนในและเป็นที่ชอบพอกับพวกเจ้าหน้าที่ของสยามและเขาได้รับอนุญาตให้ออกจากสยามได้พร้อมกับผู้ติดตามอีก ๑๖ นายเพื่อตอบแทนกับภารกิจที่เขาได้ทำให้กับสยาม

    จะขอกล่าวถึงเรื่องราวของนายโดมินโกส เดอ ซีซาส คนนี้กันสักหน่อยเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักตัวตนของเขาที่แท้จริงมากขึ้น

    โดมินโกส เดอ ซีซาส คนนี้มาจากตระกูลผู้ดีในโปรตุเกส แต่สันนิษฐานว่าเขาอาจจะเป็นบุตรคนรอง ซึ่งตามประเพณีของยุโรปนั้นเขาจะไม่ได้รับการสืบทอดตำแหน่งของครอบครัวรวมทั้งมรดกด้วย คงด้วยเหตุดังนี้ทำให้เขาเดินทางออกมาแสวงโชคในเอเชีย

    พ.ศ. ๒๐๖๖ (ค.ศ. ๑๕๒๓) เขาก็เดินทางมาเป็นพ่อค้าโดยการทำการค้าที่เมืองมะริดของสยามโดยการซื้อข้าวแล้วส่งไปขายยังเมืองปาไซ บนเกาะสุมาตรา ในขณะนั้นบังเอิญมีเรือโจรสลัดโปรตุเกส ลำหนึ่งเข้าปล้นสะดมเรือของเจ้าเมืองตะนาวศรี ซึ่งเป็นเมืองใกล้เคียงกัน

    การปล้นครั้งนั้นสร้างความโกรธแค้นกับออกญาตะนาวศรีเป็นอย่างมาก จึงออกคำสั่งให้จับกุมตัวชาวโปรตุเกสที่อยู่ทั้งในเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดขณะนั้นเอาไว้ให้หมด ซึ่งในจำนวนนี้มีนายซีซาส และชาวโปรตุเกสอีก ๑๗ ถูกจับตัวเอาไว้

    เมื่อจับกุมแล้ว จะมีการสืบสวนสอบสวนกันอย่างไรหรือไม่ไม่สำคัญ แต่ที่แน่ๆ คือเจ้าเมืองตะนาวศรีก็ไม่กล้าตัดสินประหารด้วยตัวเอง ทั้งนี้เพราะรู้อยู่ว่าทางส่วนกลางคืออยุธยานั้นมีความสัมพันธ์ ที่ดียิ่งกับโปรตุเกส และที่สำคัญหากทำอะไรลงไปโดยไม่คิดหน้าคิดหลังอาจส่งผลให้โปรตุเกสเข้ามาเอาเรื่องได้ง่ายๆ ออกญาตะนาวศรีเลยจัดการส่งบรรดาคนโทษเหล่านี้เข้าสู่กรุงศรีอยุธยา

    เมื่อมาถึงอยุธยาแล้ว จะสืบเสาะสอบสวนกันอย่างไรแน่นั้นไม่ชัดเจน แต่สิ่งหนึ่งที่ปรากฏก็คือ คนเหล่านั้นส่วนใหญ่แล้วจะมีความรู้และความเข้าใจ ในวิทยาการการสงครามรุ่นใหม่โดยเฉพาะมีความรู้ในวิชาการใช้ปืนไฟของโปรตุเกสอย่างแน่นอน

    ก่อนหน้านี้อย่างเก่งแล้วอยุธยามีใช้ก็แค่ปืนใหญ่ที่ใช้วิธีผลิตแบบจีนเท่านั้น ต่อเมื่อโปรตุเกสเข้ามาแล้วเลยเริ่มรู้และเห็นประสิทธิภาพของปืนไฟ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ จึงทรงตัดสินพระทัยมีโองการ ให้คนโทษเหล่านี้เข้าประจำในกองทัพเพื่อสอนวิชาการใช้ปืนแก่ไพร่พลสยาม ที่สำคัญมีเบี้ยหวัดและผลตอบแทนอย่างงามอีกด้วย โดยที่นายซีซาสนั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการเลยทีเดียว

    ดังนั้นนับแต่ปีที่ถูกจับมานายซีซาสก็อาศัยอยู่ในอยุธยามาจนถึงปี พ.ศ. ๒๐๙๐ (ค.ศ. ๑๕๔๗) คือ ๒๕ ปีอย่างที่ว่านั่นเอง

    ควรกล่าวในที่นี้ด้วยว่า นายซีซาสเข้ารับราชการในกองอาสาโปรตุเกสของสยามนับแต่รัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ กระทั่งถึงสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราช ผลงานครั้งสำคัญและได้รับการบันทึกเอาไว้ปรากฏในงานเขียนของนาย เฟอร์เนา แมนเดส ปินโต ซึ่งเป็นทั้งนักเดินทาง ทหารรับจ้างในเอเชีย และนักเขียนบันทึกคนสำคัญ

    ซึ่งครั้งนั้นปินโตเล่าเอาไว้ว่า ใน พ.ศ. ๒๐๙๑ (ค.ศ. ๑๕๔๘) เมื่อเขาเดินทางมาสยามนั้น คราวที่พระไชยราชากษัตริย์สยามได้รวบรวมยกพลไปตีกรุงศรีสัตนาคณหุตเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๘๘ (ค.ศ. ๑๕๔๕) ก็มีทหารรับจ้างโปรตุเกสไปร่วมรบด้วย ๑๖๐ คน ซึ่งรวมถึงนายซีซาสด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๐๘๙ (ค.ศ. ๑๕๔๖) พระไชยราชาต้องการจะรบกับเชียงใหม่ จึงได้ส่งออกญากลาโหมไปยังหมู่บ้านโปรตุเกสเพื่อหาอาสาสมัครไปรบในฐานะกองทหารองค์รักษ์ โดยสัญญาจะให้ผลตอบแทนอย่างงาม และจะอนุญาตให้ชาวโปรตุเกสสร้างศาสนสถานได้ ชาวโปรตุเกสส่วนใหญ่จึงตกลงเข้าช่วยพระไชยราชา และทำให้พระองค์รบชนะกษัตริย์เชียงใหม่ แต่เมื่อกลับมาจากการบกลับถูกวางยาพิษสิ้นพระชนม์

    กล่าวกันว่านายซีซาสเดินทางกลับโปรตุเกส และถึงแก่กรรมอย่างสงบในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของลิสบอน ก่อนที่จะถึงแก่กรรมเขาได้ถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมดในสยามให้แก่ โจเอา เดอ บาร์โรส นักพงศาวดารคนสำคัญด้วย

    เรื่องของกองทหารโปรตุเกสนี้ยังมีที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานของกองทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสปรากฏในประวัติศาสตร์ชาติสยามอีกว่า ชาวโปรตุเกสที่เดินทางมายังสยามมีจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง อิทธิพลของพวกเขาขยายออกไปภายใต้การคุ้มครองและอุปถัมภ์ของชาวสยาม หลายครั้งที่เขาเข้าร่วมในการป้องกันราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี พ.ศ. ๒๐๙๑ ซึ่งสยามถูกรุกรานจากกองทัพของหงสาวดี ซึ่งยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ชาวสยามไม่เพียงแต่ได้รับความช่วยเหลือจากชาวโปรตุเกสในประเทศเท่านั้น แต่ยังได้รับกำลังสนับสนุนจากลูกเรือบนเรือรบของโปรตุเกสที่ทอดสมออยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย

    รายละเอียดของสงครามในครั้งนี้มีว่า เมื่อกษัตริย์ตะเบ็งชะเวตี้แห่งตองอูทรงทราบเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในสยามเวลานั้น (คือเรื่องการวางยาพิษพระไชยราชา และการสืบอำนาจของท้าวศรีสุดาจันทร์และออกขุนชินราช กระทั่งถูกประหารในที่สุด กลายเป็นสงครามกลางเมืองอยู่ช่วงหนึ่งในอยุธยา และสิ้นสุดสงบลงโดยมีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์) ตะเบ็งชะเวตี้จึงยกทัพให้เข้ามาบุกเพื่อตีกรุงศรีอยุธยา โดยพระองค์ก็มีกองทหารชาวโปรตุเกสร่วมมาด้วย ๑๘๐ คน กองทหารโปรตุเกสของตองอู นำโดย นายดิโอกู โวอารึสดึ เมลู

    ขณะที่ทางฝ่ายสยามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เวลานั้นก็มีทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสร่วมด้วยเช่นกัน ซึ่งมีผู้นำคือ นาย ดิโอกู เปเรยร่า

    ปินตูได้เล่าเหตุการณ์ในครั้งนี้เอาไว้ว่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้พยายามติดสินบนดิโอกู เปเรยร่า ให้หักหลังฝ่ายสยาม แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งในที่สุดฝ่ายพม่าจำต้องถอนทัพกลับเพราะได้ทราบว่าได้เกิดกบฏขึ้นที่หัวเมืองมอญของตัวเอง

    เรียกได้ว่ากองทหารรับจ้างของโปรตุเกส ยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นกองกำลังทางทหารของสยามมานับแต่เริ่มต้นความสัมพันธ์และมีดำรงต่อเนื่องมาในระยะหลัง

    ชาวโปรตุเกสไม่เพียงแต่อาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น แต่ยังกระจายไปอยู่ตามเมืองต่างๆ ในราชอาณาจักรอยุธยาอีกไม่ว่าตะนาวศรี มะริด และลิกอร์ (นครศรีธรรมราช) ช่วงเวลาดังกล่าวนับเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดช่วงหนึ่งของชาวโปรตุเกสในสยาม ทั้งนี้เพราะปรากฏว่ามีการดำเนินธุรกิจการค้ากันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะใน พ.ศ. ๒๐๖๐ ที่ดิโอโก โคเอลโย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตเดินทางมายังสยาม เขาได้รับการต้องรับเป็นอย่างดียิ่ง

    ชาวโปรตุเกสที่เข้ามาทำการค้าขายในระยะนั้นส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพค้าขายสินค้าพื้นเมือง ซึ่งสินค้าที่ว่านี้ส่วนใหญ่จะได้แก่ ข้าว ดีบุก งาช้าง ไม้ฝาง กำยาน ครั่ง และคราม ขณะที่ผลประโยชน์ที่ชาวสยามต้องการจะได้รับก็คือ ความคาดหวังที่จะได้เรียนรู้วิทยาการสมัยใหม่จากชาวโปรตุเกส เป็นต้นว่าการนำเอาอาวุธปืนที่ทันสมัย เช่น ปืนไฟที่นำมาใช้ในการสงคราม ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีชาวโปรตุเกสที่สมัครเข้ามาเป็นทหารอาสา ซึ่งกลายเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาในสยามและตั้งถิ่นฐานเพิ่มมากยิ่งขึ้น

    เมื่อการค้ามีความมั่นคง กับการได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นกองกำลังหนึ่งในกองทัพของสยามทำให้สถานะของชาวโปรตุเกสมีความใกล้ชิดกับสยามเป็นอย่างมากและด้วยการเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันเป็นจำนวนมากนี้เอง กลายเป็นจุดเริ่มต้นของหมู่บ้านโปรตุเกสที่อยุธยาซึ่งเป็นที่ประจักษ์จนถึงวันนี้

    ที่น่าสนใจก็คือ นอกเหนือจากการเป็นทหารอาสาแล้ว ชาวโปรตุเกสในอยุธยาแท้จริงยังมีอาชีพอื่นๆ อีกมาก อาทิเช่น แพทย์ นักค้าประกัน หรือแม้แต่เป็นผู้นำวิทยาการการก่อสร้างเข้ามาให้สยามรู้จักมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

    ก่อนจะจบในบทนี้ผู้เขียนขอย้อนกลับไปในช่วงกลางของบทนี้สักหน่อย คือ ในเรื่องที่เล่ามาแล้วบอกว่ามีโจรสลัดชาวโปรตุเกสปล้นเรือเจ้าเมืองตะนาวศรีนั้น ผู้อ่านที่ยังไม่เข้าใจคงสับสนว่าโจรสลัดโปรตุเกสมีด้วยหรือ แน่นอนที่สุดว่านอกเหนือจากบรรดาขุนนางโปรตุเกสจะเข้ามาทำการติดต่อกับชาติต่างๆในเอเชียแล้ว พ่อค้าก็มี และคนไม่มีงานทำก็มีติดตามมาเยอะ ดังนั้น เมื่อกองเรือของโปรตุเกสบางลำบางคนมีโอกาสได้ข้าวของมาเปล่าๆ ฟรีๆ ก็มักสวมบทโจรสลัดไปด้วยในตัว

    เรื่องโจรสลัดโปรตุเกสนี้มีที่โด่งดัง และเป็นที่กล่าวขานกันมากอยู่รายหนึ่งนั้นคือ นายลาซานโรเต แกเรยโร ชายคนนี้เดินทางมาจากโปรตุเกสโดยมาเป็นทหารที่เมืองกัวก่อน แต่ต่อมาจะด้วยเหตุผล กลใดไม่แน่ชัดนัก เขาก็ได้แยกกองเรือของตัวเองออกมา แล้วตั้งตัวเป็นผู้นำโจรสลัดคอยปล้นสะดม ทั่วน่านน้ำเอเชีย ในราว พ.ศ. ๒๐๘๕ (ค.ศ. ๑๕๔๒) แกเรยโรปล้นสะดมอยู่แถบอ่าวเมาะตะมะ และได้ก่ออาชญากรรมเอาไว้มากมาย สร้างความสยองขวัญและหวาดกลัวแก่พ่อค้าทั่วไป

    จนทำให้รายได้ของเมืองมะริดตกต่ำลงอย่างมาก กษัตริย์สยามจึงได้มีการแต่งตั้งขุนนางให้ลงไปปราบโจรสลัดผู้นี้ ดังเกิดกรณีปล้นเรือเจ้าเมืองตะนาวศรีที่กล่าวมานั่นเอง ซึ่งการปราบปรามก็ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะทางเจ้าหน้าที่ขัดแข้งขัดขากันเองและที่สำคัญยังสั่งจับคนมั่วไปหมด

    ข้อมูลของโจรสลัดคนนี้เราได้รู้จากปินโตอีกนั่นหละว่าเขาได้เดินทางตามหาโจรสลัดผู้นี้ เพราะเขาต้องการให้นายแกเรยโรไปช่วยมะละกาที่กำลังถูกโจมตีจากสุลต่านแห่งอาเจะห์ ซึ่งครั้งนั้นแกเรยโร ก็ตอบตกลงที่จะกลับไปช่วยเหลือ ในท้ายที่สุดโจรสลัดผู้นี้ก็ได้รับการอภัยโทษ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งขุนนางที่เมืองมะละกา

    เรื่องของเรื่องปิดท้ายนี้บอกให้เรารู้ว่า โปรตุเกสนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี มีทั้งทหารและโจร และบางครั้งโจรก็กลายมาเป็นขุนนางได้ด้วยเช่นกัน

    การเข้ามาติดต่อสัมพันธ์ของชาวตะวันตกในกรุงศรีอยุธยา โดยเริ่มจากโปรตุเกสนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ภูมิภาคและกรุงศรีอยุธยา อย่างที่ไม่อาจปฏิเสธ ว่ากันว่าหากอยุธยาไม่ได้สำคัญและมีอำนาจอยู่จริง ไม่แน่เช่นกันว่า ในเวลาต่อมาอาจจะต้องตกไปเป็นเมืองใจอาณัติของพวกเขาไปแล้วเหมือนกับอีกหลายเมืองในเวลานั้น ไม่ว่ามะละกา หรือหัวเมืองอินเดียอื่นๆ


    จากหนังสือสงครามและอำนาจเหนือบัลลังก์อยุธยา หน้า ๑๒๙-๑๔๓
    ไทยรบพม่าครั้งที่ ๑๖

    https://th.wikisource.org/wiki/สงครามครั้งที่_๑๖_คราวพม่าตีเมืองทวาย_ปีฉลู_พ.ศ._๒๑๕๖

    --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    กรรมตามสนองหรือเปล่า อุปัทวะอันตรายเกิดขึ้นกับคนพาลเท่านั้น จะไม่เกิดขึ้นกับบัณฑิต พระพุทธเจ้าท่านสั่งสอนเอาไว้

    แผ่นดินไหวที่ลิสบอน พ.ศ. 2298 หรือรู้จักกันในชื่อ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ลิสบอน (โปรตุเกส: Terramoto de Lisboa) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) เวลา 9.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น[1] หลังจากเกิดแผ่นดินไหว ได้เกิดอัคคีภัยและคลื่นสึนามิตามมา ซึ่งทำลายกรุงลิสบอนและบริเวณใกล้เคียงในราชอาณาจักรโปรตุเกสลงเกือบสิ้นเชิง นักวิทยาแผ่นดินไหวปัจจุบันประเมินว่าแผ่นดินไหวลิสบอนคราวนี้มีขนาดประมาณ 8.5-9.0 ตามมาตราขนาดโมเมนต์โดยมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกห่างจากแหลมเซนต์วินเซนต์ไปทางตะวันตก-ตะวันตกเฉียงใต้ราว 200 กิโลเมตร ตัวเลขประเมินผู้เสียชีวิตเฉพาะในกรุงลิสบอนอยู่ระหว่าง 10,000 ถึง 100,000 คน จึงนับเป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์

    แผ่นดินไหวดังกล่าวเน้นความตึงเครียดทางการเมืองในราชอาณาจักรโปรตุเกส และรบกวนความทะเยอทะยานด้านอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ของประเทศลงอย่างลึกซึ้ง เหตุการณ์ดังกล่าวถูกอภิปรายและพูดเขียนอธิบายอย่างกว้างขวางโดยนักปรัชญายุโรปยุคเรืองปัญญา และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่พัฒนาการสำคัญในเทวยุติธรรม (theodicy) และในปรัชญาแห่งสุนทรียปรัชญา (sublime) เนื่องจากเป็นแผ่นดินไหวครั้งแรกที่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงผลกระทบต่อพื้นที่อันกว้างใหญ่ จึงได้นำไปสู่การกำเนิดของวิทยาแผ่นดินไหวสมัยใหม่ และวิศวกรรมแผ่นดินไหว

    แผ่นดินไหวดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 ซึ่งเป็นวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints' Day) วันหยุดของนิกายคาทอลิก รายงานร่วมสมัยระบุว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นนาน 3.5-6 นาที ทำให้เกิดรอยแรกขนาดใหญ่กว้าง 5 เมตรเกิดขึ้น ณ ใจกลางนคร ผู้รอดชีวิตต่างเร่งรุดไปยังพื้นที่เปิดของท่าเรือเพื่อความปลอดภัยและเฝ้ามองขณะที่น้ำลดต่ำลง ประมาณ 40 นาทีหลังเกิดแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิขนาดยักษ์ได้พัดท่วมท่าเรือและเขตเมือง ไปจนถึงแม่น้ำทากัส[4] หลังจากนี้ยังมีคลื่นสึนามิอีกสองคลื่นเกิดขึ้นตามมา ในบางพื้นที่ เพลิงได้โหมลุกอย่างรวดเร็วและลุกไหม้นานถึงห้าวัน

    แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวสามารถรู้สึกได้ทั่วทวีปยุโรป ไกลถึงฟินแลนด์และแอฟริกาเหนือ และในบางแหล่งข้อมูล กระทั่งในกรีนแลนด์และแคริบเบียน คลื่นสึนามิสูงถึง 20 เมตรกวาดชายฝั่งแอฟริกาเหนือ และพัดถล่มมาร์ตินีกและบาร์เบโดสทั่วมหาสมุทรแอตแลนติก


    โดนหนักขนาดเป็นประวัติศาสตร์ ไม่เรียกผลกรรมไม่รู้จะเรียกว่าอะไร?

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ศรีลังกา

    เห็นว่าเป็นภาพครกกับสาก ไม่แน่ใจ!

    กรณีศึกษา ยังไม่เคยเห็นเหรียญฯ บาทหลวงทำลายพระเขี้ยวแก้ว ผู้ใดเคยพบแชร์บ้าง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...