พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระพิมพ์ขุดสระเล็ก หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
    หลวงปู่เผือก ปัญญาธโร (พระครูกรุณาวิหารี) อดีตเจ้าอาวาสวัดกิ่งแก้ว ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมากท่านหนึ่งในช่วงสงครามอินโดจีน
    <O:p</O:p
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๖๐-๕ ท่านได้สร้างพระเนื้อผงรุ่นแรกขึ้น ที่เรียกว่า "รุ่นขุดสระ" โดยมีมูลเหตุแห่งการสร้างพระรุ่นนี้ เนื่องมาจากบริเวณวัดมักจะมีน้ำท่วมขังเป็นประจำ เพราะวัดตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม มีคูคลองและเรือกสวนของชาวบ้านล้อมรอบ ประกอบกับหลวงปู่ดำริจะสร้างโบสถ์ จึงได้ขอแรงชาวบ้านขุดดิน เพื่อนำไปถมที่ปรับพื้นให้สูงขึ้น ในบริเวณที่จะสร้างโบสถ์ จะได้ไม่ถูกน้ำท่วมขัง การขุดเอาดินขึ้นมาทำให้พื้นที่ตรงนั้นกลายเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ต่อมาเมื่อฝนตก ก็มีน้ำขังตลอดปี ทำให้ได้ใช้เป็นประโยชน์ในหน้าแล้งอีกทางหนึ่ง
    <O:p</O:p
    เพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจของชาวบ้านที่ได้มาช่วยวัด หลวงปู่จึงได้สร้างพระเนื้อผง ขึ้นแจกเป็นที่ระลึกในโอกาสนี้ (ระหว่างปี ๒๔๖๐-๕) ชาวบ้านจึงพากันเรียกพระรุ่น นี้ว่า "รุ่นขุดสระ" มีหลายพิมพ์ด้วยกัน ที่นิยมกันมากคือ พิมพ์สี่เหลี่ยมบัวคว่ำ บัวหงาย องค์พระพุทธปฏิมากรปางสมาธิ มีเส้นรัศมีรอบองค์พระ มีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก และพิมพ์สามเหลี่ยม
    <O:p</O:p
    ในช่วงเกิดสงครามอินโดจีน ปี พ.ศ.๒๔๘๕ หลวงปู่เผือกได้สร้างพระเครื่องอีกหลายพิมพ์ เพื่อแจกทหารที่ไปรบ และชาวบ้านเอาไว้ป้องกันตัว มีทั้งพระเนื้อผงพิมพ์สามชั้น มีเส้นรัศมี (คล้ายกับพระรุ่นขุดสระ) และพิมพ์ห้าเหลี่ยม
    <O:p</O:p
    ต่อมาเมื่อหลวงปู่ได้สร้างเจดีย์ขึ้นในวัด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕-๖ ท่านก็ได้สร้างพระเนื้อผงอีกหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์สมเด็จสามชั้น อกร่องบายศรี พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก พระสมเด็จเจ็ดชั้นอกตัน พระสมเด็จห้าชั้นฐานคู่ พระสมเด็จเก้าชั้นอกวี พิมพ์พระพุทธชินราช พิมพ์ห้าเหลี่ยมซุ้มเรือนแก้ว (คล้ายพระขุนแผน) พระพุทธชินราชหล่อ โบราณ เหรียญรูปเหมือนพิมพ์สี่เหลี่ยม ๒๔๘๑ หลังยันต์ครู (ฤฤา) และหลังยันต์ห้า เหรียญเสมา ๒๔๙๖ เหรียญพระพุทธชินราช รูปถ่ายอัดกรอบ เสื้อยันต์แดง ผ้ายันต์ ตะกรุด แหวนพิรอด ฯลฯ
    <O:p</O:p
    พระเครื่องและเครื่องรางของขลังของหลวงปู่เผือกทุกรุ่นเป็นที่นิยมแสวงหากันอย่างกว้างขวาง เพราะมีประสบการณ์ใน ทุกด้าน และที่น่าสนใจก็คือ พระบางรุ่นบางพิมพ์ของท่านมีราคาไม่แพงจนเกินไป เนื่องจากสร้างไว้มาก คือมากทั้งพิมพ์ และจำนวนสร้าง ยกเว้นแต่พระรุ่นที่นิยมมากๆ เท่านั้นที่เช่าหากันเป็นเงินหมื่นขึ้นไป พระที่มีราคาอยู่ในหลักพันก็พอหาได้ไม่ยากนัก <O:p></O:p>
    สิ่งสำคัญคือ ต้องดูพิมพ์และเนื้อหามวลสารของพระในแต่ละรุ่นแต่ละพิมพ์ให้ออกก็แล้วกัน
    <O:p</O:p
    วัดกิ่งแก้ว เป็นวัดเก่าที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีพระอธิการอิ่ม อินทสโร เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และหลวงปู่เผือก เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ (ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๒-๒๕๐๑) พระครูศีลคุณาธาร เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ (ปี พ.ศ.๒๕๐๒-๒๕๓๖) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูวิมลกิจจานุกิจ
    <O:p</O:p
    สำหรับประวัติโดยสังเขปของ หลวงปู่เผือก ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๑๒ ที่บ้านคลองสำโรง ต.บางพลี อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ บิดาชื่อ ทองสุข มารดาชื่อ ไข่ นามสกุล "ขุมสุขทอง" มีพี่น้อง ๘ คน ท่านเป็นลูกคนที่ ๕ <O:p</O:p

    เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี บิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับ พระอธิการอิ่ม วัดกิ่งแก้ว อายุ ๑๘ ปี ถูกเกณฑ์เป็นทหารเรือ ประจำการอยู่ ๒ ปี พออายุครบ ๒๑ ปี (พ.ศ.๒๔๓๓) ก็ได้อุปสมบทตามประเพณีนิยมที่วัดกิ่งแก้ว โดยมี หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา (วัดลาดบัวขาว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการอิ่ม เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า "ปัญญาธโร"
    <O:p</O:p
    เมื่อพระอธิการอิ่มมรณภาพ ปีพ.ศ.๒๔๔๒ หลวงปู่เผือกก็ได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูกรุณาวิหารี"
    <O:p</O:p

    หลวงปู่เผือก มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๐๑ สิริอายุรวม ๘๙ ปี พรรษา ๖๙ นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาวบางพลี... ทิ้งไว้แต่อนุสรณ์แห่งคุณงามความดีและ ผลงานการก่อสร้างมากมายในวัดกิ่งแก้ว ที่หลวงปู่ได้มุ่งมั่นพัฒนาจนเจริญรุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้
    <O:p</O:p
    (คัดลอกข้อความของคุณ แล่ม จันท์พิศาโล จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก)

    <!-- / message --><!-- attachments -->อิทธิคุณ - เน้นเมตตามหานิยม โชคลาภ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010352.jpg
      P1010352.jpg
      ขนาดไฟล์:
      183.5 KB
      เปิดดู:
      150
    • P1010353.jpg
      P1010353.jpg
      ขนาดไฟล์:
      178.3 KB
      เปิดดู:
      97
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2008
  2. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    มีอะไรกับหลวงปู่เผือกอีกครับ....ชักเหนื่อยตามท่านพี่ทั้ง2ไม่ทันเลยครับ เดี๋ยวโยนลูกไปหน้าเดี๋ยวโยนกลับหลังสลับซ้ายขวา เฮ้อ อินเดียนงง!!!
     
  3. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> นันทิศักดิ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเริงคนอง (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 18 ในเจ้าจอมมารดาเอม

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=265 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=265>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นันทิศักดิ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเริงคนอง ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 18 ในเจ้าจอมมารดาเอม


    * สายราชสกุลวงศ์ในรัชกาลที่ 4

    ภายหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระอนุชาจจึงสด็จเสวยราชสมบัติแทน มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงศ์ พงศาอิศวรกระษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 43 ในรัชกาลที่ 2 กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา พระบรมราชินี พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ก่อนเสด็จสวรรคต ทรงมีพระราชโอรส 39 พระองค์ และพระราชธิดา 43 พระองค์ ถือว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่มีพระเจ้าลูกเธอมากที่สุดในพระราชวงศ์จักรี โดยทรงมีพระราชโอรสสืบสายราชสกุลรวม 27 ราชสกุล ดังนี้

    จักรพันธุ์ องค์ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์ มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 28 และที่ 3 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

    ภาณุพันธุ์ องค์ต้นราชสกุลคือ จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงษ์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 45 และที่ 4 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

    จิตรพงศ์ องค์ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าจิตรเจริญ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 62 และที่ 2 ในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย

    นพวงษ์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้านพวงษ์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 1 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาน้อย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=264 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=264>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สุประดิษฐ์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์” พระราชโอรสลำดับที่ 2 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาน้อย

    กฤดากร องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร” พระราชโอรสลำดับที่ 17 ในเจ้าจอมมารดากลิ่น

    คัคณางค์ องค์ต้นราชกสุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าคัดนางคยุคล” พระราชโอรสลำดับที่ 20 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง

    ศุขสวัสดิ์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าศุขสวัสดิ์” พระราชโอรสลำดับที่ 23 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์

    ทวีวงศ์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ” พระราชโอรสลำดับที่ 24 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ

    ทองใหญ่ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่” พระราชโอรสลำดับที่ 25 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาสังวาลย์

    เกษมสันต์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์” พระราชโอรสลำดับที่ 26 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาแพ

    กมลาศน์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์” พระราชโอรสลำดับที่ 27 และที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง

    เกษมศรี องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค” พระราชโอรสลำดับที่ 30 และที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์

    ศรีธวัช องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนสิริธัชสังกาศ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 33 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาบัว

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=268 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=268>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ทองแถม องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพศาสตรศุภกิจ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทองแถมธวัลยวงษ์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 34 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาสังวาลย์

    ชุมพล องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 37 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง

    เทวกุล องค์ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงษ์วโรปการ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงษ์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 42 และที่ 2 ในสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม)

    สวัสดิกุล องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสมมติอมรพันธุ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในเจ้าจอมมารดาหุ่น (ภายหลังได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นท้าวทรงกันดาล)

    จันทรทัต องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 51 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาโหมด

    ชยางกูร องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพงษาดิศรมหิป มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าไชยานุชิต”ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 54 และที่ 7 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง

    วรวรรณ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าวรวรรณากร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 56 ในเจ้าจอมมารดาเขียน

    ดิศกุล องค์ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 57 ในเจ้าจอมมารดาชุ่ม

    โศภางค์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ พระราชโอรสลำดับที่ 59 ในเจ้าจอมมารดาเหม (ภายหลังได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นท้าวสมศักดิ์)

    โสณกุล องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 61 ในเจ้าจอมมารดาวาด (ภายหลังได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นท้าววรจันทร์)

    วัฒนวงศ์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนมรุพงษ์สิริพัฒน์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 63 แลที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาบัว

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=268 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=268>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สวัสดิวัตน์ องค์ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 75 และที่ 6 ในสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม)

    ไชยันต์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าไชยันตมงคล” ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายลำดับที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาห่วง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> * ราชสกุลวงศ์ สายวังหน้าในรัชกาลที่ 4

    ส่วนสายราชสกุลที่สืบเชื้อสายในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคง (วังหน้า) นั้นกิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูรอธิบายว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 50 ในรัชกาลที่ 2 และที่ 3 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี อีกทั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชร่วมพระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 4 อีกด้วย

    เมื่อรัชกาลที่ 4 ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงทรงโปรดเกล้าฯสถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราชฯ ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชโดยทรงเฉลิมพระเกียรติยศเสมอเหมือนพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 2 ดังปรากฏพระนามในแผ่นสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศวร์ มหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว” และได้เสด็จดำรงสิริราชาสมบัติรวมระยะเวลา 15 ปี ทรงมีพระราชโอรส 29 พระองค์ และพระราชธิดา 29 พระองค์ ทรงมีพระราชทายาทสืบสายสกุลรวม 11 ราชสกุล ดังนี้

    สุธารส องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุธารส หรือที่บรรดาเจ้านายทั่วไปเอ่ยพระนามว่า “พระองค์วัน” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 10 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดากุหลาบ

    วรรัตน์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าวรรัตน์” หรือ “พระองค์โตใหญ่” ทรงเป็นพระราชโอรส

    ภาณุมาศ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุมาศ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 18 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาเอี่ยม

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=252 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=252>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หัสดินทร องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าหัสดินทร์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 19 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาหนู

    นวรัตน์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตธำรงสวัสดิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าเนาวรัตน์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 20 และที่ 4 ในเจ้าคุณจอมมารดเอม

    ยุคนธรานนท์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคุนธร ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 23 ในเจาจอมมารดาแย้ม

    โตษะณีย์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโตสินี ชาววังทั่วไปเรียกว่า “พระองค์โตเล็ก” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 34 และที่ 5 ในเจ้าจอมมารดากลีบ

    นันทวัน องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านันทวัน ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 36 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาหนู

    พรหเมศ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรหเมศ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 50 ในเจ้าจอมมารดาพรหมา

    จรูญโรจน์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 53 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาช้อย

    สายสนั่น องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนั่น ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 55 ในเจ้าจอมมารดาอ่อน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> * สายราชสกุลวงศ์ ในรัชกาลที่ 5

    เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์” พระราชโอรสลำดับที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี จึงเสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชโอรส 32 พระองค์ และพระราชธิดา 44 พระองค์ และ ที่ได้รับพระราชทานนามสกุลแล้วมีทั้งสิ้น 15 ราชสกุล ดังนี้

    บริพัตร องค์ต้นราชสกุลคือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์”ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 33 และที่ 2 ในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=268 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=268>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จักรพงษ์ องค์ต้นราชสกุลคือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 40 และที่ 4 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ

    มหิดล องค์ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 69 และที่ 7 ในสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

    จุฑาธุช องค์ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 72 และที่ 8ในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ

    ยุคล องค์ต้นราชสกุลคือ นายพลโท สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ายุคลทิฆัมพร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 41 และที่ 1 ในพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏฯ

    กิติยากร องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทรบุรีนฤนาถ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์” พระราชโอรสลำดับที่ 12 ในเจ้าจอมมารดาอ่วม

    รพีพัฒน์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์” พระราชโอรสลำดับที่ 14 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ

    ประวิตร องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงปราจิณกิติบดี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม” พระราชโอรสลำดับที่ 15 ในเจ้าจอมมารดาแช่ม

    จิรประวัติ องค์ต้นราชสกุลคือ จอมพลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช” พระราชโอรสลำดับที่ 17 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาทับทิม

    อาภากร องค์ต้นราชสกุลคือ นายพล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงษ์” พระราชโอรสลำดับที่ 28 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด

    ฉัตรชัย องค์ต้นราชสกุลคือ นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 35 ในเจ้าจอมมารดาวาด

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=271 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=271>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เพ็ญพัฒน์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์” พระราชโอรสลำดับที่ 38 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดามรกฎ

    วุฒิชัย องค์ต้นราชสกุลคือ นายพล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 42 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาทับทิม

    สุริยง องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธุ์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 46 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาโหมด

    รังสิต องค์ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาไชยนาทนเรนทร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 52 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดา ม.ร.ว.เนื่อง (สนิทวงศ์)




    * ราชสกุลวงศ์ สายวังหน้าในรัชกาลที่ 5

    ส่วนผู้ที่สืบเชื้อสายดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้า คือ สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ หรือ “หม่อมเจ้ายอชวอชิงตัน” แต่บรรดาเจ้านายทั่วไปเอ่ยพระนามว่า “หม่อมเจ้ายอด” ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ลำดับที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเอม

    กิตติพงษ์ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า สมเด็จกรมพระราชวังบรววิไชยชาญ ถือเป็นวังหน้าพระองค์สุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์...ทรงมีพระราชโอรส 16 พระองค์ และพระราชธิดา 13 พระองค์ ทรงมีพระราชทายาทสืบสายสกุลรวม 9 ราชสกุล ดังนี้

    วิไลยวงศ์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาศ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาเข็ม

    กาญจนะวิชัย องค์ต้นราชสกุลคือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากาญจนโนภาสรัศมี” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 5 ในเจ้าจอมมารดาปริกเล็ก

    กัลยาณะวงศ์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 9 ในเจ้าจอมมารดาเลี่ยมใหญ่

    สุทัศนีย์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 14 ในเจ้าจอมมารดา ม.ล.นวม ปาลกะวงศ์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=269 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=269>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> วรวุฒิ องค์ต้นราชสกุลคือ พระราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ราชกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 15 ในเจ้าจอมมารดาป้อม

    รุจวิชัย องค์ต้นราชสกุลคือ พระราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ารุจาวรฉวี ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 19 ในเจ้าจอมมารดาสมบุญ

    วิบูลยพรรณ องค์ต้นราชสกุลคือ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิบูลยพรรณรังษี (มิได้ทรงกรม) ทรงพระราชโอรสลำดับที่ 21 ในเจ้าจอมมารดาเขียวเล็ก

    รัชนี องค์ต้นราชสกุลคือ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 22 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเลี่ยมเล็ก

    วิสุทธิ องค์ต้นราชสกุลคือ พระราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 27 ในเจ้าจอมมารดาสะอาด

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> * สายราชสกุลวงศ์ ในรัชกาลที่ 6

    สำหรับสายราชสกุลในแผ่นดินของ พระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น กิตติพงษ์ เล่าว่า เนื่องรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีพระมเหสีเทวีน้อย รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์กับอีก 1 ท่าน แต่ไม่มีพระราชโอรสมาสืบเชื้อสายราชสกุล เนื่องจาก ทรงมีพระราชธิดาเพียง 1 พระองค์ ที่ประสูติจากพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี คือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ



    * สายราชสกุลวงศ์ ในรัชกาลที่ 7

    เมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระอนุชาทรงขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 76 ในรัชกาลที่ 5 และพระองค์ที่ 8 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง

    เป็นที่น่าเสียดายว่า พระองค์ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา ไว้สืบราชสกุล แม้แต่พระองค์เดียว แต่ทรงมีพระราชโอรสบุญธรรมที่ทรงพระเมตตาขอ เรืออากาศโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิสุประภาต มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าจิรศักดิสุประภาต” มาเลี้ยงดูตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สายพระโลหิตก็ตาม แต่พระองค์ทรงรักมากดุจดังพระราชโอรส ถึงกับพระราชทานนามสกุลส่วนพระองค์ “ศักดิเดชน์” ร่วมกับราชสกุลเดิม “ภาณุพันธ์” เป็น “ศักดิเดชน์ ภาณุพันธ์” ให้กับพระราชโอรสบุญธรรม

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=256 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=256>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เรืออากาศโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิสุประภาต เป็นพระโอรสในจอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช กับหม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา และจึงถือได้ว่าพระองค์ทรงเป็นสายราชสกุลเพียงหนึ่งเดียวของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์ต้นราชสกุล ศักดิเดชน์ ภาณุพันธ์ ด้วย



    * สายราชสกุลวงศ์ ในรัชกาลที่ 8 และ รัชกาลที่ 9

    ต่อมารัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. พ.ศ.2477 สภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นจึงมีมติให้กราบบังคมทูลเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระยศในขณะนั้น) ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรีด้วยพระชนมายุเพียง 9 พรรษาเท่านั้น ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงเป็นโอรสลำดับที่ 2 ของ พระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก (องค์ต้นราชสกุล มหิดล) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนม์ได้ 21 พรรษา และไม่ได้ทรงอภิเษกสมรสจึงไม่มีพระราชโอรสสืบสายสกุล

    วันที่ 9 มิถุนายน 2489 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระราชอนุชาธิราช ได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 4 พระองค์ คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี , สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามมกุฎราชกุมาร , สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี , สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี


    เรื่องโดย : ภาษิตา ภิบาลญาติ , ศศิวิมล แถวเพชร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผ่านตา วางอุเบกขา เห็นจนชิน เป็นการฝึกจิตแบบหนึ่ง ดูพระวังหน้าแล้ว สลับมาดูพระหลากพิมพ์อื่นๆกันบ้าง อีกทั้งหลวงปู่เผือกท่านก็เก่งไม่เบาครับ...
     
  8. พุทธันดร

    พุทธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +3,969
    คุณเพชรคะ
    วันที่12/02/51 ได้โอนเงิน2500บาท
    เพื่อร่วมสมทบทุนสร้างบุษบกเพื่อประดิษฐานพระโมคคัลานะเถระเจ้า
    อนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  9. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระกริ่งนวโลหะที่แท้จริง
    http://palungjit.org/showthread.php?t=113709
    โดย คุณguawn
    พระกริ่งนวโลหะที่แท้จริง


    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->นวโลหะ(นวโลหะตามสูตรของสมเด็จพระพนรัตวัดป่าแก้ว) ท่านให้เอาชินหนัก ๑ บาท จ้าวหนัก ๒ บาท เหล็กหนัก ๓ บาท บริสุทธิหนัก ๔ บาท ปรอทหนัก ๕ บาท สังกะสีหนัก ๖ บาท ทองแดงหนัก ๗ บาท เงินหนัก ๘ บาท ทองคำหนัก ๙ บาท (หลักคือทองคำบังคับต้องหนัก ๙ บาท)

    ในแต่ละตัวก็จะมีรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น ทองคำในที่นี้มิได้หมายถึงทองคำรูปพรรณ หรือทองคำแท่ง แต่เป็นทองเกล็ดหรือก้อนซึ่งเกิดตามธรรมชาติ จะเป็นบ่อนพคุณหรือบางสะพานก็ได้ ทองธรรมชาติย่อมมีคุณวิเศษในตัวของมัน เป็นวัตถุเทพธิคุณ กล่าวกันว่าทองแท้ยังมิได้หล่อหลอมหนัก ๑ บาท เป็นของศิริ มหานิยม โภคทรัพย์ กันเสนียด และกันปืนไฟ
    <!-- / message --><!-- sig -->

    คราวนี้มาดูวิเคราะห์จากบทความหนึ่งที่อ่านแล้วพอจะเข้าใจง่าย

    พระกริ่ง วัดสุทัศน์ฯ พิมพ์ต่างๆ




    บันทึก..... วัตถุมงคลวัดสุทัศน์ เจ้าคุณศรี (สนธิ์) มอบแก่พี่ชาย
    ระยะนี้ ยังคงเป็นการพูดถึงวิธีการตรวจสอบพระกริ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระกริ่งวัดสุทัศน์ แบบเข้มข้นที่สมบูรณ์แบบซึ่งจะทำให้ได้ผลตรวจสอบว่าเป็นพระกริ่งเก๊หรือแท้ ได้แน่นอนที่สุดวิธีการก็คือการรวบทฤษฏีการดูพระกริ่งแบบเดิม ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาขนาดและพิมพ์ทรง ฝีมือการแต่ง (ถ้าเป็นพระกริ่งแต่ง) และเนื้อ (เนื้อในและสนิม รวมทั้งความเก่าด้วย) ร่วมกับทฤษฏีเพิ่มเติม คือ พิจารณาร่องรอยการหล่อ (วัดสุทัศน์มีวิธีการหล่อเป็นเอกลักษณ์โดยส่วนมากหล่อแบบเข้าช่อ เป็นพิมพ์ประกบอุดกริ่งแบบกริ่งในตรงสะโพก 1 รู หรือ 2 รู เม็คกริ่งใหญ่กว่ารูอุคมกริ่ง และติดชะนวนช่อใต้ฐาน 1 ก้าวหรือ 2 ก้าน อาจติดตรงกลางใต้ฐานใต้ฐาน 2 ข้าง ด้านหลังฐานโดยไม่โดนใต้ฐา หรือด้านหลังใต้ฐานก็ได้) และนำวิทศาสตร์ ด้านการวิเคราะห์ดินเบ้า (ถ้ามี) ว่าเป็น ดินเบ้าแท้หรือปลอมรวมทั้งการวิเคราะห์ส่วนผสมของโลหะว่าถูกต้องตามทฤษฏีหรือเปล่า (กริ่งวัดสุทัศน์แต่ละรุ่น มีประวัติการสร้างแน่นอนว่าส่วนผสมเป็นโลหะชนิดใดเช่าใช้นวโลหะตามสูตรของสมเด็จพระพนรัตวัดป่าแก้ว เป็นต้น) เมื่อรวมทฤษฏีการพิจารณาแบบเดิมกับทฤษฏีเติมจึงกลายเป็นทฤษฏีใหม่ที่เข้มข้นดังกล่าว
    ข้าวเจ้าได้เสนอผลการตรวจสอบพระกริ่งเทพโมลี รุ่น 1 หมายเลข 3 พิมพ์พรักตร์ยาว และพระกริ่ง 79 ชนิดเป็นช่อไม่แต่งทั้ง 2 พิมพ์ไปแล้ว สรุปว่าเป็นพระกริ่งแท้ทั้ง 2 พิมพ์ เพราะพิมพ์ถูกต้อง ขนาดถูกต้อง ความเก่าถึงยุค ร่องรอยการหล่อถูกต้อง เอกลักษณ์ประจำรุ่นถูกต้อง ดินเบ้าทั้ง 2 รุ่น เป็นดินสุกเกาะติดตามธรรมชาติ และส่วนผสมเป็นนวโลหะ ตรงตามประวัติการสร้างทุกประการ จากผลการตรวจสอบพระกริ่งทั้ง 2 พิมพ์ ทำให้สามารถตัดสินพระกริ่งองค์เดี๋ยวๆ ของ พระกริ่งเทพโมลีรุ่น 1 พิมพ์พระพักตร์ยาว (รวมทั้งพระกริ่งเทพโมลี รุ่น 2 พิมพ์เดียวกัน) และพระกริ่ง 79 ได้แน่นอนกว่าเดิม ชนิดเรียกว่าไม่ต้องโมแมแบบเดิมอีกแล้ว
    ต่อไปนี้เป็นการตรวจสอบพระกริ่งพรหมมุนี ด้วยทฤษฏีใหม่แบบเข้มข้น

    [​IMG]
    พระกริ่งพรหมมุนี ชุดนี้เป็นช่อพระกริ่ง 8 องค์ (โปรดดูรูป) ส่วนรายละเอียดพุทธลักษณะได้แสดงไว้เช่นกัน (โปรดดูรูป)
    พระกริ่งช่อนี้ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ได้มอบให้คุณพริ้ง พงศ์กระวี พี่ชายคนหนึ่งของท่าน พระกริ่งช่อนี้เดิมมีมากกว่า 8 องค์ แต่องค์ที่ไม่ปรากฎได้ขาดหายไปตั้งแต่เดิมแล้ว
    [​IMG]


    พระกริ่งพรหมมุนีช่อนี้ ทุกองค์เป็นพิมพ์เดียวกัน คือพิมพ์กริ่งใหญ่แบบพิมพ์ที่ 1 เป็นพระที่อยู่ในสภาพเดิมๆ มีขนาดสูงประมาณ 3.9 ซม. ความกว้างตรงบัวประมาณ 2.3 ซม. เนื้อเป็นนวโลหะแดง (นาถแก่) กลับขาวน้อยมาก กลับคำ ความเก่าแสดงให้เห็นชัดเจนโดยผิวเนื้อในเกิดคลายมุ้งทั้วไปหล่อแบบกริ่งในตามมาตรฐานวัดสุทัศน์ แบบสองซีกประกบ อุดมกริ่งตรงสะโพก 2 รู (รูหนึ่งอุดด้วยตาปู อีกรูอุดด้วยดิน) มีก้านชะนวน ใต้ฐานด้านหลัง 1 ก้าน ลักษณะก้านค่อนข้างกลม มีดินเบ้าและขี้เขม่าจับทั้วไป เห็นผิวไฟทั้วไปด้วย พิจารณาการตกทอดและลักษณะทั่วไปแล้ว ตัดสินได้ขั้นแรกว่า เป็นพระกริ่งพรหมมุนีแท้ แน่ หากการหาส่วนผสมเป็นนวโลหะ (โลหะ 9 ชนิด ประกอบด้วย ชิน ซึ่งเป็นส่วนผสมของดีบุกและตะกั่ว หนัก 1 บาท จ้าวน้ำเงินซึ่งคือพลวงเงิน สติบไนท์
    เป็นส่วนผสมของพลวงและกำมะถัน หนัก 2 บาท เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท บริสุทธิ์หรือตะกั่วเถือนหนัก 4 บาท ปรอทหนัก 5 บาท สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท เงินหนัก 8 บาท และทองคำหนัก 9 บาท)
    การตรวจสอบส่วนผสม หา 2 ตำแหน่ง คือตรงโคนก้าน และตรงยอดก้าน โดยส่งไปตรวจสอบที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ 2 ครั้ง แยกจากกันและไม่ได้บอกว่าเป็นโลหะจากชุดเดียวกัน
    ผลการตรวจสอบปรากฎดังนี้<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    โคนก้าน ยอดก้าน<O:p></O:p>
    1. ทองแดง ร้อยละ 97.8 96.8
    2. สังกะสี ร้อยละ 1.1 1.1
    3. ดีบุก ร้อยละ 0.58 1.7
    4. ตุกั่ว ร้อยละ 0.15 0.14
    5. เหล็ก ร้อยละ 0.12 0.08
    6. เงิน ร้อยละ 0.08 0.11
    7. พลวง ร้อยละ 0.009 0.08
    8. ทองคำ ร้อยละ 0.005 0.004
    9. ปรอท มก.ต่อกก. 0.02 0.01

    จะเห็นได้ว่าโลหะพรหมมุนี ตรงโคนก้าน และตรงยอดก้าน เป็นนวโลหะทั้ง 2 ตำแหน่ง โดยมีโลหะหลักเป็นทองแดงรองลงมาคือสังกะสี และดีบุก นอกนั้นมีตะกั่ว เหล็ก เงิน พลวง และทองคำลดหลั่นกันไป ที่สำคัญมีปรอทผสมอยู่ด้วย
    ผลการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์สรุปได้ดังนี้<O:p></O:p>
    1.พระกริ่งพรหมมุนี ช่อนี้ (8 องค์) มีเนื้อเป็นนวโลหะการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ
    2.อัตราส่วนผสมของนวโลหะไม่ตรงตามสูตรของสมเด็จพระนพรัตวัดป่าแก้ว (สูตร 45 บาท) หมายเหตุ : โปรดดูข้ออธิบายสาเหตุต่อไป
    3.เนื้อนวโลหะ เป็นเนื้อโลหะที่สร้างยาก เท่าที่ทราบมีเพียงพระ กริ่งปวเรศ และพระกริ่งวัดสุทัศน์ ของสมเด็จพระสังฆราชแพ เกือบทุกรุ่นและของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) บางรุ่น เท่านั้นที่สร้างด้วยโลหะชนิดนี้ ส่วนเนื้อนวโลหะปัจจุบัน มันเป็นส่วนผสมของทองแดง เงิน อาจมีทองคำนิดหน่อยหรือทองเหลือง (สังกะสีสมทองแดง) และชนวนพระกริ่งเก่าเล็กน้อย เท่านั้น
    [​IMG]


    การที่เนื้อนวโลหะสร้างยาก เพราะโดยทั่วไปผู้สร้างมักหาโลหะสำคัญบางชนิดไม่ได้ เช่น ชิน (ดีบุกผสมกับตะกั่ว) จ้าวน้ำเงิน (ส่วนมากไม่ทราบว่าเป็นโลหะอะไรแน่) ปรอท (ปกติทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถผสมกับโลหะอื่นได้ เพราะปรอทเมื่อโดนความร้อน 60 องศาซี ก็จะหนีหายไปหมด แต่ทางไสยศาสตร์สามารถใช้ในใบและต้นอ้ายเหนียว ผสมต้นผักขมหิน ผสมต้นตำลึงตำให้เข้ากันแล้วเคล้ากับปรอท กำกับด้วยคาถาบทพิเศษ สามารถทำให้ปรอทสลมและผสมกับโลหะอื่นได้) และทองคำซึ่งมีราคาแพงมาก


    ที่นี้ มาดูสาเหตุที่อาจทำให้เนื้อหาโลหะไม่เป็นไปตามสูตรอาจเป็นเพราะ<O:p></O:p>
    1.สูตรมาตรฐานดั้งเดิมของนวโลหะ หนัก 45 บาท สามารถสร้างพระกริ่งใหญ่ เป็นช่อแบบวัดสุทัศน์ได้เพียงประมาณ 9 องค์เท่านั้น หากต้องการสร้างเกิน 9 องค์ (ซึ่งเกินทุกรุ่นอยู่แล้ว) ก็จำเป็นต้องเพิ่มโลหะ ซึ่งส่วนมากใช้ทองแดง เงิน หรือทองเหลือง (รุ่นพรหมมุนี บางปีใช้ทองแดง รุ่น 79 ใช้เงิน และรุ่น 83 ใช้ทองเหลือง เป็นต้น) บางครั้งต้องเพิ่มโลหะจำนวนมากเพราะมีการหล่อพระบูชาครอบน้ำพุทธมนต์และอื่นๆ ด้วย
    2.ในการหลอมโลหะในเบ้าหลอม การกระจายตัวของโลหะไม่สม่ำเสมอทั้งเบ้า ทั้งนี้เพราะโลหะแต่ละชนิด มีความถ่วงจำเพราะแต่กต่างกันมาก เช่นทองแดง มี ถ.พ.8.93 ทองคำ 19.32 ตะกั่ว 11.37 เงิน 10.50 ดีบุก 7.29 สังกะสี 7.10 และเหล็ก 7.5 เป็นต้น เป็นไปได้มากกว่าพวกโลหะหนักจะตกอยู่ก้นเบ้า ส่วนโลหะเบาอยู่ปากเบ้า ผู้เคยเทหล่อพระเครื่องย่อมทราบดี
    3.ความบริสุทธิ์ของโลหะที่ผสม มีผลทำให้สูตรเปลี่ยนไปได้มากเช่นกัน เช่น ชิน (ส่วนผสมของดีบุกและตะกั่ว) ค่าดีบุกและตะกั่วที่ผสมอาจแตกต่างกันได้มาก จ้าวน้ำเงิน หากบริสุทธิ์ 100% ก็มีพลวงผสมอยู่ประมาณ 71.4% เท่านั้น เป็นต้น
    4.องค์ที่เทตอนแรกโลหะมีความร้อนสูง การกระจายตัวน่าจะดีกว่าองค์ที่เทตอนหลังๆ ซึ่งโลหะเย็นกว่า เป็นอีกสาเหตุที่อาจทำให้ส่วนผสมแต่ละองค์ไม่เท่ากัน
    [​IMG]

    สรุปว่า พระกริ่งพรหมมุนี ช่อนี้ (8 องค์) แท้แน่นอน <O:p></O:p>
    จากผลการพิสูจน์พระกริ่งพรหมมุนี ช่อ 8 องค์ ทำให้มั่นใจในชั้นต้นว่า พระกริ่งพรหมมุนี ช่อ 9 องค์ (รูป 3) ช่อ 9 องค์ (รูป 4) ช่อ 7 องค์ (รูป 5) และช่อ 5 องค์ (รูป 6) เป็นพระกริ่งแท้ทั้งสิ้น เหตุผลเพราะเป็นพระกริ่งที่เจ้าคุณศรี (สนธิ์) มอบให้ญาติ รายละเอียดนอกนั้นเหมือนพระกริ่งพรหมมุนี ช่อ 8 องค์ ทุกประการ แตกต่างกันที่จำนวนองค์เท่านั้น
    เช่นเดียวกับ พระกริ่งพรหมมุนี สภาพเดิม องค์เดี่ยวๆ อีก 7 องค์ (รูป 7 รูป 8 รูป 9 รูป 10 รูป 11 รูป 12 และรูป 13 ) ล้วนเป็นพระกริ่งพรหมมุนี แท้ทั้งนั้นด้วยเหตุผลเดียวกัน
    อย่างไรก็ตาม พระกริ่งพรหมมนี องค์เบอร์ 7 เคยทอลองส่งไปเซอร์เมื่อเดือน พ.ศ. 2548 ปรากฎว่าคณะกรมการบอกไม่ผ่าน ทั้งที่เป็นพราะกริ่งที่ดูง่ายๆ จึงอยากขอแนะนำให้คณะกรรมการเซอร์พระกริ่งชุดนั้น ไปศึกษาเพิ่มเติมให้ถ่องแท้ก่อนแล้วค่อยกลับเป็นกรรมการจะดีไหม เพราะอาจทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้น
    อนึ่ง จากนำพระกริ่งวัดสุทัศน์เนื้อนวโลหะหลายๆ รุ่น ไปตรวจสอบส่วนผสมที่กรมวิทยาศาสตร์บริการปรากฎว่าได้ส่วนผสมเป็นนวโลหะถูกต้องทั้งสิ้นแต่ยังไม่เคยพบองค์ที่มีสูตร (อัตราส่วนผสม) ใกล้เคียงกับสูตรดั้งเดิม (สูตรหนัก 45 บาท) เลย ดังนั้นจึงขอเสนอว่า หากท่านผู้ใดมีพระกริ่งวัดสุทัศน์รุ่นใดก็ได้ ที่มีสูตรส่วนผสมใกล้เคียงกัยสูตรเดิม และสามารถพิสูจน์ได้

    [​IMG]


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1167215223.jpg
      1167215223.jpg
      ขนาดไฟล์:
      232.6 KB
      เปิดดู:
      924
    • 1167215371.jpg
      1167215371.jpg
      ขนาดไฟล์:
      226 KB
      เปิดดู:
      808
    • 1167215611.jpg
      1167215611.jpg
      ขนาดไฟล์:
      204.2 KB
      เปิดดู:
      913
    • 1167215644.jpg
      1167215644.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.3 KB
      เปิดดู:
      880
    • 1167215674.jpg
      1167215674.jpg
      ขนาดไฟล์:
      250.3 KB
      เปิดดู:
      367
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2008
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    http://www.dhammathai.org/pang/pang02.php


    <TABLE cellPadding=5 width=510 align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>[​IMG]


    </TD></TR><TR vAlign=top><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" align=center background=../pics/blackbg.gif border=0><TBODY><TR><TD width=150 bgColor=#cccccc height=22>๖.ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา




    </TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันบนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยานั่งสมาธิ มองเห็นพระวรกายซูบผอมจนพระอัฐิ ( กระดูก ) และพระนหารุ ( เส้นเอ็น ) ปรากฏ


    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" align=center background=../pics/blackbg.gif border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=22>ความเป็นมาของปางบำเพ็ญทุกรกิริยาิ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระบรมโพธิสัตว์ทรงศึกษาจนสำเร็จสมาบัติ ๗ จากสำนักอาฬารดาบสและสมาบัติ ๘ จากสำนักอุทกดาบส อุทกดาบสได้ตั้งพระบรมโพธิสัตว์ไว้ในตำแหน่งอาจารย์เสมอด้วยตนเอง แต่พระบรมโพธิสัตว์เห็นว่าวิชาที่ศึกษามายังมิใช่หนทางแห่งโพธิญาณ จึงอำลาออกจากสำนัก ทรงแสวงหาหนทาง ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ เป็นอุปัฏฐาก พระบรมโพธิสัตว์ทรงกระทำทุกรกิริยา เช่น ลดอาหารลงทีละน้อยจนถึงงดเสวย ร่างกายซูบผอม พระโลมา ( ขน ) มีรากเน่าหลุดออกมา แลเห็นพระอัฐิได้ชัดเจน ไปทั่วพระวรกาย จะลุกขึ้นก็เซล้มลงไปแทบสิ้นพระชนม์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เนื่องจากเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงเล็งเห็นความไม่เที่ยง มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา พระองค์จึงทรงสละทุกสิ่งทุกอย่าง ออกไปบำเพ็ญเพียร โดยบำเพ็ญทุกรกริยาอย่างชนิดที่ยังไม่เคยมีใครสามารถที่จะทำได้อย่างพระองค์ท่าน ซึ่งแม้แต่พระฤาษี หรือพระดาบสต่างๆที่กระทำทุกรกริยาในสมัยนั้นก็ทำเช่นพระองค์ท่านไม่ได้ การบำเพ็ญทุกรกริยาอย่างนั้น ทำให้เกิดลมขึ้นไปดันกระโหลกศีรษะพระองค์ท่านปูดขึ้นมาขนาดนั้น ซึ่งต่อมาพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นว่า การปฎิบัติเช่นนี้ไม่สามารถที่จะตรัสรู้ได้ พระองค์ท่านจึงหันมาบำเพ็ญเพียรในทางสายกลาง ต่อมาพระองค์ท่านจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม พระองค์ท่านได้เรียนรู้การบำเพ็ญเพียรมาแล้วในทุกๆอย่าง พระองค์ท่านจึงนำองค์ความรู้ที่ถูกต้องในการปฎิบัติธรรม เพื่อบรรลุพระนิพพาน มาเผยแพร่เพื่อสงเคราะห์เวนัยสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์

    ขอกราบพระปัญญาธิคุณ ,พระวิสุทธิคุณ ,พระกรุณาธิคุณ ,พระธรรม และพระวินัย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม ครับ
    กราบ กราบ กราบ กราบ กราบ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=5542

    <TABLE height=30 cellSpacing=3 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD align=left>จุดธูป ๓ ดอก บูชาพระพุทธ
    หมายถึง พระปัญญาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระกรุณาธิคุณ

    เทียน ๒ เล่ม บูชาพระธรรม
    หมายถึง พระธรรม และ พระวินัย

    ดอกบัว บูชาพระสงฆ์
    หมายถึง พระอรหันต์ คือ ดอกบัวพ้นน้ำ

    ท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ เล่าว่า ถ้าหากจิตใจเรามั่นคงอยู่แล้ว จุดธูป ๓ ดอกก็เป็นการบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบทั้ง ๓ เลยทีเดียวได้เช่นกัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=3 cellPadding=3 width="100%" align=center bgColor=#eeeeee border=0><TBODY><TR><TD align=right>นวโยคี [58.10.128.225] [ 6 ธ.ค. 2549 เวลา 14:14 น. ] [ 5 ]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
    การสนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลอันสูงสุด

    http://www.geocities.com/kratoos/00048.html
    หัวข้อสนทนา : [SIZE=+3]มรรค มีองค์ 8 นั้นใช้ในช่วงเข้ากรรมฐาน
    หรือในชีวิตประจำวันด้วยครับ?
    [/SIZE]
    ข้อความ : ในชีวิตที่วุ่นวายสับสนของโลกเราผมรู้สึกว่ายากที่จะกำหนดสติตามไปดู
    เพราะสิ่งเร้ามีอยู่มากมายและพลังสติของเราก็ยังอ่อนอยู่
    ชาวบ้านก็ไม่กำหนดสติอย่างเรา ไปไปมามากิเลสก็ดึงไปกินเสียหลายปี
    จนกระทั่งเพื่อนแท้และอาจารย์ คือ....ทุกข์......เข้ามาเยือน
    จึงได้หันหน้าเข้าที่พึ่งอันปลอดภัยคือ...... ธรรมะของพุทธองค์..........
    แต่เมื่อยังเป็นฆราวาสอยู่
    ก็อยากเรียนถามท่านกัลยณมิตรทั้งหลายจากประสบการณ์ของท่านว่า
    ท่านใช้มรรรคหรือไม่อย่างไรอย่างไร

    จาก : พรปภัสสร์ - - nimwatana@yahoo.com - 25/10/2000 11:26


    ข้อความ : สาธุค่ะคุณพรปภัสสร์ :)

    ครูบาอาจารย์เคยบอกไว้ว่า
    "สติ จำต้องปรารถนา ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ"

    อาจพูดได้ว่า พระไตรปิฎก ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์
    ย่อลงให้สั้นได้ว่า "ขันธ์ ๕" (กล่าวคือ พระไตรปิฎกทั้ง ๘๔๐๐๐
    พระธรรมขันธ์นั้น พูดอยู่เรื่องเดียวเท่านั้น คือเรื่องที่เกี่ยวกับ
    ขันธ์ ๕)

    ย่อให้สั้นกว่านั้นอีก ก็คือ "รูปกับนาม" หรือ "กายกับใจ"
    และสามารถย่อใหัสั้นที่สุดด้วยคำเพียงคำเดียว
    การกระทำเพียงอย่างเดียวคือ 'สติ' หรือการ 'มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม
    ในทุกปัจจุบันขณะ' นี้ละค่ะ

    ดังนั้น ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า
    ในทุกขณะปัจจุบันที่เรา 'มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมในอาการที่กำลัง
    เป็นไปของกายและใจ' นี่ละค่ะ คือ การปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง

    ในทุกขณะที่บุคคลมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม - พูดให้ชัดคือ
    ในทุกขณะที่บุคคล 'มีสติ' อยู่นั้น
    มรรค ๘ ก็อยู่ในนั้นด้วยแล้วค่ะ กล่าวคือ
    ขณะจิตที่เรามีสติ
    -เราก็กำลัง เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ กำลังเห็นชอบ
    เห็นถูกต้องตามความเป็นจริง
    -เราก็กำลัง อยู่ในสัมมาสังกัปปะ คือ กำลังกำหนดชอบ
    -เรากำลังอยู่ในศีล ไม่ได้กำลังผิดศีลข้อ ๔
    -เรากำลังอยู่ในศีล คือ กำลังทำการงานชอบ
    (สัมมากัมมันโต) ไม่ได้กำลังผิดศีลข้ออื่นๆ
    -เรากำลังอยู่ในศีล คือ กำลังเป็นอยู่ชอบ
    (สัมมาอาชีโว) ไม่ได้ทำอะไรผิดหรือไม่ดี
    -เรากำลังทำความเพียรอันชอบ คือ
    สัมมาวายาโม
    -กำลังระลึกชอบ คือ มีสติ (สัมมาสติ)
    -กำลังตั้งใจชอบ คือ มีสมาธิ (สัมมาสมาธิ)

    ยิ่งกว่านั้นในทุกขณะที่บุคคลมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม -
    พูดให้ชัดคือในทุกขณะที่บุคคล 'มีสติ' อยู่นั้น
    องค์แห่งปัญญา องค์แห่งการเกิดปัญญาทุกตัว
    ได้มาชุมนุมกันในแว่บที่บุคคลมีสติอยู่ ครบหมดเลยค่ะ
    องค์แห่งปัญญาที่ว่านั้นคือ
    'โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ'

    ข้างล่างต่อไปนี้ คัดมาจากหนังสือ "โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ"
    รจนาโดย พระเทพสิทธิมุรี- พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

    'โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ'

    คำว่า 'โพธิปักขิยธรรม' แปลว่า ธรรมที่จะยังผู้ปฏิบัติให้ได้บรรลุ
    มรรค ผล นิพพาน มีอยู่ ๓๗ ประการ ...

    โพธิปักขิยธรรม ๓๗ นั้น แบ่งเป็น ๗ หมวด คือ
    ๑) สติปัฏฐาน ๔
    ๒) สัมมัปปธาน ๔
    ๓) อิทธิบาท ๔
    ๔) อินทรีย์ ๕
    ๕) พละ ๕
    ๖) โพชฌงค์ ๗
    ๗) มรรค ๘

    ***************

    ดังนั้น จึงขอสรุปว่า วิชาของพระพุทธเจ้า คือ วิชาพระสติ หรือก็คือ
    การฝึกให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เนืองๆ นี้ ก็คือการดำเนินชีวิตโดย
    อยู่ในมรรค ๘ ไปด้วยแล้วในตัวเสร็จสรรพ - เพียงแค่เราพยายาม
    มีสตินับตั้งแต่ตื่นจนหลับนี่ละค่ะ :) นำมาใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว
    จะเห็นได้เองว่าชีวิตดีขึ้น ลืมโน่นลืมนี่น้อยลง อุบัติเหตุน้อยลง
    เพราะเรามักจะมีสติอยู่เนืองๆ ในทุกย่างก้าว ในทุกอาการและ
    ทุกๆ ความคิด ครูบาอาจารย์ดิฉันบอกว่าการปฏิบัติมี ๓ ส่วนใหญ่ๆ
    คือ
    (๑) มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะที่เราตื่นอยู่
    (๒) เดินจงกรม
    (๓) นั่งสมาธิแบบวิปัสสนา

    ครูบาอาจารย์จะเน้นว่าข้อแรก คือการพยายามมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม
    นี้สำคัญเป็นอันดับหนึ่ง เป็นการฝึกสติ เป็นการนำพระสติมาใช้
    ไปกับการดำเนินชีวิต (ซึ่งจะช่วยมากๆ ด้วยในการแก้ปัญหาทาง
    โลก ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการงาน ในการช่วยแก้ทุกข์ต่างๆ
    ให้ทุเลาเบาบางลงได้จริง) เป็นเหมือนการซ้อมรบ ซ้อมให้พร้อม
    อยู่เสมอ

    ส่วนการเดินจงกรมและนั่งสมาธินั้นเป็นเหมือนการเข้าสนามรบ
    ลงไปสู้กับกิเลสอย่างจริงจัง - ซึ่งหากเราเจริญสติอยู่ประจำตลอด
    เวลาแล้ว ก็จะทำให้เวลาเราเข้าสนามรบ เราก็จะรบคล่องขึ้น
    ฟาดฟันกับศัตรูคือกิเลส ได้ฉมังขึ้น อะไรทำนองนี้ค่ะ

    อีกส่วนที่สำคัญควรกล่าวถึงก็คือ แม้บุคคลจะพยายามมีสติ
    รู้ตัวทั่วพร้อมขนาดไหนก็ตาม (ในชีวิตประจำวัน) แต่ทุกคนจะมี
    เผลอไปบ้าง ลืมกำหนดไปบ้าง :) อันนี้ เป็นเรื่องธรรมดานะคะ
    ครูบาอาจารย์สอนไว้ว่า ให้หมั่นฝึก จะได้คล่องขึ้นเรื่อยๆ
    จะได้เผลอน้อยลงเรื่อยๆ แต่ว่าจะให้ไม่เผลอเลย ก็ต้องเมื่อ
    บุคคลปราบกิเลสสิ้นไปหมดไปแล้วโน่น (ก็คือถึงอรหัตตมรรค
    ถึงอรหัตตผล โน่นละค่ะ) ดังนั้น ฝึกไป ทำไปเรื่อยๆ นะคะ
    พอพยายามเพียรๆ ทำๆ ไปหลายๆ ปี เดี๋ยวเค้าจะค่อยๆ
    คล่อง ค่อยๆ เป็นอัตโนมัติขึ้นๆ ไปเองค่ะ

    และทุกขณะที่เราไม่เผลอสติ นั่นก็คือ เรากำลัง
    อยู่ในมรรค ๘ พร้อมมูลหมดแล้วในตัวค่ะ

    เจริญในธรรม

    :)

    จาก : deedi - - deedi_deedi@email.com - 25/10/2000 19:40 <!-- A=203.146.126.246 X= --><!-- A=203.149.1.60 X=203.149.36.209 -->
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
    การสนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลอันสูงสุด
    http://www.geocities.com/kratoos/00048.html
    หัวข้อสนทนา : มรรค มีองค์ 8 นั้นใช้ในช่วงเข้ากรรมฐาน
    หรือในชีวิตประจำวันด้วยครับ?

    <TABLE width="90%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#fbdbac>ข้อความ :
    สาธุค่ะคุณพรปภัสสร์ :)

    อดีตนั้นล่วงเลยมาแล้ว ครูบาอาจารย์สอนมาว่า
    ในการกำหนดสติปัฏฐานสี่และวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่นี้
    "อดีตก็ไม่เอา อนาคตก็ไม่เอื้อม - มีเพียงพยายามทำปัจจุบันให้ดีที่สุด"

    ขออนุโมทนากับความตั้งใจที่จะให้สติตั้งมั่นไม่เลือนหายนะคะ
    วิธีก็คือ ฝึกให้มากๆ ฝึกมีสติรู้อาการความเป็นไปของกายและใจ
    ของตัวเราเองนี้แหละค่ะ พยายามทำให้ได้ทั้งวันตั้งแต่ตื่นจนหลับ
    อันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด :) และถ้าเป็นไปได้ หากตั้งใจจริง
    ก็ขอแนะนำให้พยายามหาเวลาเดินจงกรมและนั่งสมาธิแบบวิปัสสนา
    ให้ได้ทุกวัน วันละมากหรือน้อยครูบาอาจารย์บอกว่าก็ดีกว่า
    ไม่ทำเลยนะคะ

    เรื่องมรรค ๘ แต่ละข้อที่วิเคราะห์มานั้น ขออนุโมทนาสาธุด้วยค่ะ :)
    ขอแนะนำสั้นๆ นิดเดียว เป็นการสรุปก็แล้วกันนะคะว่า

    (๑)
    ถ้าเป็นไปได้อยากแนะนำให้ลองพยายามอยู่ในศีลอย่างต่ำศีลห้า
    ด้วยนะคะ ถ้าเราตั้งใจจริงศีลก็จะค่อยๆ มั่นขึ้นเอง แต่หากตั้งใจ
    อยู่แล้ว พยายามอยู่แล้ว หรือศีลมั่นอยู่แล้วก็ขออภัยที่มาแนะ
    และขออนุโมทนาด้วยนะคะ :)
    (๒)
    ฝึกสติ พัฒนากายและใจด้วยการฝึกสติไปเรื่อยๆ นี้แหละค่ะ
    ฝึกให้บ่อยๆ มากๆ เนืองๆ ตลอดวันนับแต่ตื่นจนหลับไป
    ตื่นกับสติ หลับไปกับสติ ทุกๆ อย่างเกี่ยวกับมรรค ๘
    ที่คุณพรปภัสสร์กล่าวมา ก็จะค่อยๆ ชัดเจนขึ้น ดีขึ้น
    พัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเองตามลำดับค่ะ

    ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า ในมรรคมีองค์ ๘ ตัวที่สำคัญที่สุด
    ก็คือสัมมาทิฏฐิ หากบุคคลใดเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว คือ คิดถูก
    รู้ถูก คิดตรงรู้ตรงตามธรรมแล้ว มรรคข้ออื่นๆ ก็จะตามๆ
    มาเองค่ะ ดังนั้น ค่อยเป็นค่อยไปนะคะ แล้วทั้ง ๘ อย่างนั้น
    ก็จะดีขึ้นเองค่ะ ตอนนี้คุณพรปภัสสร์ได้พบพระธรรมแล้ว
    และยังคิดค้นคว้าขวนขวายที่จะนำธรรมะมาใช้และมาพัฒนา
    กายและใจให้ดียิ่งๆ ขึ้นอยู่แล้ว จึงขออนุโมทนาด้วยนะคะ

    เรื่องการกำหนดสติแล้วให้เป็นผู้ดูเฉยๆ อย่าลงไปแสดงหรือ
    ไปเล่นกับเค้าด้วยนั้น อยากชวนลองไปอ่านกระทู้ที่ชื่อว่า
    'การมีสติกำหนดรู้ปัจจุบัน' ดูนะคะ ในนั้นได้พูดคุยเรื่องนี้
    ไว้อย่างค่อนข้างละเอียดมากทีเดียวค่ะ :)

    ส่วนที่ว่ารูปนามยังไม่ปรากฏน่ะ ไม่เป็นไรหรอกนะคะ
    เราก็อยู่กับรูปนามอยู่แล้ว เค้าก็ปรากฏอยู่กับเราตลอด
    ทุกขณะจิต เพียงแต่เราไม่ค่อยจะไปสังเกตรู้ เรามักส่ง
    ใจ ส่งความสนใจออกนอกตัวเรา (รูป) และออกนอก
    ใจตัวเอง (นาม) อยู่ร่ำไป :)

    ท่านว่า การงานของผู้เพียรเพ่งเผากิเลสนั้น มีเพียง
    อย่างเดียวเท่านั้นก็คือฝึกสติ พยายาม 'มีสติ' รู้ตัวทั่วพร้อม
    ไปเรื่อยๆ นี้แหละค่ะ :) แล้วก็ทำการงานไป(อย่างมีสติ)
    คิดวางแผนงานไป(อย่างมีสติ) อยากรับประทานก็อยาก
    อย่างมีสติ แล้วก็อร่อยอย่างมีสติ :) แล้วก็จะเห็นผลเอง
    ว่ามีอะไรดีๆ เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง หรืออย่างน้อยที่สุด
    การที่เรายังอร่อยอยู่ แต่เรามีสติรู้นี้ ก็จะทำให้กิเลส
    เค้านั่งไม่เต็มเก้าอี้เท่าไหร่ - เอาธรรมะคือพระสติ
    มีเบียดแทรกบ่อยๆ เดี๋ยว (ไม่ช้าก็เร็ว) กิเลสก็
    ตกเก้าอี้เองล่ะค่ะ

    ครูบาอาจารย์ท่านจึงบอกประมาณนี้ว่า ...
    กิเลสน่ะเค้าอยู่กับเรามาตั้งนาน (เท่าความยาวนานที่
    เราแต่ละคนเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารนี้) จู่ๆ
    จะให้เอาธรรมะมาแทรกเบียดให้กิเลสตกไปจริงๆ
    นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ถึงแม้กิเลสจะเผลอให้ธรรมะ
    ขึ้นแท่นบ้างเป็นบางครั้ง แต่เค้ายังไม่ได้บอกศาลา
    นะคะ :) เค้าแค่เผลอเท่านั้น

    ดังนั้น ขอแนะนำว่าใจเย็นๆ ไว้ปลอดภัยกว่าค่ะ :)
    ให้ทุกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ จัดการกับกิเลส
    ด้วยพระสตินี้แหละค่ะ (ก็คือมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม
    อยู่เนืองๆ) ให้ทุกอย่างค่อยๆ ปรับตัว
    และหากเราฝึกสติอยู่เนืองๆ แล้ว
    เผลอน้อยลงๆ แล้ว (เผลอสติ) อะไรๆ ก็จะ
    พัฒนาปรับตัวก้าวหน้าจนเรารู้สึกได้เองในที่สุด
    ละค่ะ

    แต่ตอนนี้ ตอนเริ่มแรกนี้ หน้าที่เดียวคือฝึกให้มากๆ
    ทำให้มากๆ เนืองๆ อย่าเพิ่งไปมองหาผล อย่าเพิ่ง
    ไปคิดว่าเรายังไม่เห็นดีเลย อย่าเพิ่งไปคิดว่า
    ทำไมเราไม่เห็นก้าวหน้าเลย :) เราอาจพบแล้ว
    เห็นแล้วก็ได้ เพียงแต่เรายังไม่รู้ตัวน่ะค่ะ

    รวมความแล้วก็ตอบคำถามตอนท้ายๆ ของคุณพรปภัสสร์ว่า
    ไม่ต้องเอาอะไรไปหลอกไปล่อกิเลสหรอกค่ะ :) เอาของจริง
    เลยดีกว่า คือ ตามดู ตามรู้กิเลส ด้วย 'สติ' หรือ 'พระสติ'
    นี่แหละค่ะ :) พอสติอยู่ตัวพอควรแล้ว จะติดใจเอง
    อยากมีสติอยู่เนืองๆ ไม่อยากจะเผลอสติเลย :)
    โดยไม่ต้องเอาอะไรไปหลอกไปล่อเลยละค่ะ

    ขอเน้นว่า ธรรมะนี้แหละ (คือพระสติตัวนี้แหละค่ะ)
    เป็นประโยชน์เหลือแสนหากใครได้นำมาใช้กับชีวิต
    ประจำวันทั้งชีวิตการงานและชีวิตส่วนตัว
    คนๆ นั้นจะทำอะไรสำเร็จมากขึ้น ตัดสินใจอะไร
    ได้ดีขึ้น เรื่องไม่ดีหรืออุบัติเหตุจะเกิดได้น้อยลง
    หรือเบาลง ทั้งนี้ เพราะเรามีสติกำกับอยู่เสมอ
    ครูบาอาจารย์ ( อีกแล้วค่ะ :) ) ท่านบอกไว้ว่า
    "เมื่อสติมา ปัญญาก็เกิด"

    ไม่ทราบว่าตอบตรงคำถามของคุณพรปภัสสร์หรือไม่
    และแค่ไหนนะคะ :) เพื่อนๆ คนอื่นๆ มีอะไรจะติติง
    หรือชี้แนะเพิ่มเติม รบกวนมาช่วยๆ กันคิดช่วยกัน
    หาคำตอบด้วยนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

    เจริญในธรรมค่ะ

    :)

    จาก : deedi - - deedi_deedi@email.com - 27/10/2000 22:49 <!-- A=203.146.127.216 X= -->

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="90%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#fbdbac>ข้อความ :

    มาทำ link กระทู้ที่แนะนำข้างบนให้ค่ะ

    เจริญในธรรม

    :)

    จาก : deedi - - deedi_deedi@email.com - 27/10/2000 22:57 <!-- A=203.146.127.216 X= -->

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    นำมาฝากน้องท่านนึงนะครับ
    ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด อย่าไปกังวลสัญญาเก่า สัญญาใหม่ อย่าไปกังวลในความคิดของตนเอง

    ทุกสิ่งทุกอย่าง หากมีเรื่องใดที่ขัดกับพระไตรปิฎกแล้ว เรื่องนั้นไม่ถูกต้องแน่นอน

    ด้วยรักและความเป็นห่วงใยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2008
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    โมทนาบุญด้วยครับ คุณแด๋น เอาไว้พบกันที่ซอยสายลมในงานบุญสังฆทาน และกรรมฐาน จะนำสิ่งของทั้งหมดไปมอบให้นะครับ มี
    - พระผงยาวาสนาปัญจสิริ ซึ่งต้องให้เหมาะดวงเกิดก่อน
    - หนังสือพระราชประวัติพระมหาอุปราชวังหน้าองค์แรก จำนวน ๑๕ เล่ม
    - พระเลี่ยง กรุลำพูน พิมพ์ใหญ่

    สำหรับบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ ได้สอบถามหลวงพี่แล้ว และท่านได้เห็นชอบ และอนุญาตแล้วครับ ผมคงต้องเดินทางไปดูร้านที่ทำบุษบกในเมืองอยุธยาก่อนว่าว่าเป้นอย่างไร อีกทั้งแบบการจัดสร้าง น่าจะเป็นลักษณะการจัดสร้างแบบเข้าลิ้นทั้งหมด ขนาดหลังไม่ใหญ่มาก เพราะจะไปสูงกว่าพระพุทธเจ้าในพิพิธภัณฑ์ของวัด จะไม่เหมาะสม รูปแบบผมคิดไว้ในใจหมดแล้ว รอเพียงเวลาเท่านั้นครับ ปัจจัยที่คุณแด๋นมอบนี้ ถือเป็น"ต้นบุญ" โมทนาบุญด้วยครับ
     
  16. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 14 คน ( เป็นสมาชิก 6 คน และ บุคคลทั่วไป 8 คน ) </TD><TD class=thead width="14%">

    </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>ตั้งจิต, :::เพชร:::, kwangpha, kwok, narongwate, nongnooo </TD></TR></TBODY></TABLE>

    มาทำไรกันเยอะแยะ (ฝักใฝ่บุญกันแน่)
    ไม่ทำงานกันหรือครับ ส่วนผมนั้น ไม่ต้องถาม ไม่ทำครับ(deejai)
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=alt1>Recipients: xxxxxxx<!--kwangpha-->


    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- post # --><TABLE class=tborder id=post cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"><!-- status icon and date -->[​IMG] วันนี้, 09:56 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right></TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>:::เพชร:::<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 09:56 AM
    วันที่สมัคร: Jul 2006
    อายุ: 43 ปี
    ข้อความ: 2,802 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 17,552 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 27,717 ครั้ง ใน 2,871 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 3067 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]




    </TD><TD class=alt1 id=td_post_ style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->Re: สอบถาม
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ xxxxxxx
    ขออนุญาตนำ post โดยปกปิดชื่อนะครับ เพื่อให้เพื่อนๆได้ทราบกันว่า พระเครื่องทั้ง ๑๐ องค์นี้ มอบให้ตามวาระเพียงพิมพ์ละ ๑ องค์เท่านั้นครับ

    ขอโมทนาบุญในจิตที่เป็นกุศลของคุณxxxxxxxรับ มีโอกาสได้ร่วมบุญกันอย่างแน่นอน วาระหน้า ตั้งใจมอบเป็นชุดราว ๑๔-๑๕ พิมพ์ในราคาที่ย่อมเยาครับเฉพาะผู้ที่ log-in เข้ากระทู้พระวังหน้าเท่านั้นครับ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สวัสดีครับ คุณเพชร
    ไม่ทราบว่ามีโครงการหรือยังครับ ผมเข้าเวบไปดูแล้วรู้สึกเวียนศีรษะครับ ดูไม่ออกว่าอันไหนเป็นอันไหน อย่าลืมแจ้งให้ผมทราบทางเมล์ด้วยนะครับ

    ขอบคุณครับ
    xxxxxxx[/quote]

    ใกล้เวลาแล้วครับ ผมกำลัง set รูปแบบอยู่เพื่อให้เกิดอานิสงค์กับพวกเราทุกคนที่สุดครับ จึงต้องรัดกุม และตอบคำถามได้ทุกอย่าง งานบุญนี้อานิสงค์ส่วนหนึ่งจะน้อมอุทิศถวายบูรพกษัตราธิราชทุกๆพระองค์แห่งนครหริภุญชัยที่มีส่วนในการจัดสร้างพระกรุลำพูนชุดนี้ด้วยครับ อีกทั้งมีอานิสงค์ของการร่วมบรรจุพระธาตุพระโมคคัลลานะยังพระธาตุเจดีย์อีก ๙ แห่ง และที่สุดแห่งอานิสงค์บุญนี้ คือการน้อมถวายบุษบกเป็นที่ประดิษฐานพระโมคคัลลานะพระอัครสาวกเบื้องซ้าย อายุ ๕๐๐ ปีในสมัยอยุธยาตอนต้นที่ชำรุดเสียหาย

    อดใจรออีกนิดนะครับ พระเครื่องกรุลำพูนอายุร่วม ๕๐๐ - ๗๐๐ ปีนี้มีความเข้มขลังเป็นที่สุดเน้นแคล้วคลาด คงกระพัน และมหาอุดครับ อาจจะเป็นเพียงครั้งเดียวที่ผมจะนำมามอบให้ผู้ร่วมบุญทุกท่าน เมื่อเสร็จกิจงานบุญนี้แล้ว คงจะหาไม่ได้อีก...

    ขอโทษด้วยครับที่หากใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลนะครับ ผมได้ผูก link ไว้แล้ว ยังมีพระพิมพ์บางพิมพ์ที่ผมไม่ได้นำ post ไว้ เนื่องจากบางพิมพ์มีจำนวนน้อยมากเพียง ๑-๓ องค์เท่านั้น
    http://palungjit.org/showthrea...22445&page=730


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2008
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมได้นำเรื่องราวย้อนรอยสายราชสกุล... ในพระบรมราชจักรีวงศ์ นำไปตั้งกระทู้ย้อนรอยสายราชสกุล... ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ใน

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR vAlign=bottom><TD>[​IMG]</TD><TD></TD><TD width="100%">palungjit.org > พลังจิต </TD></TR><TR><TD class=navbar style="FONT-SIZE: 10pt; PADDING-TOP: 1px" colSpan=3>[​IMG] วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    แล้วครับ หาท่านใดสนใจอ่านลองไปดูได้ครับ

    โมทนาสาธุครับ
    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตราแผ่นดินของไทย

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    http://th.wikipedia.org/wiki/ตราประจำชาติไทย

    (เปลี่ยนทางมาจาก ตราประจำชาติไทย)
    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content --> [​IMG][​IMG]
    ตราพระครุฑพ่าห์


    ตราแผ่นดินของไทย คือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เทพพาหนะของพระนารายณ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติและเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติเทพ โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดั้งแต่หลัง พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นต้นมา แต่มาใช้อย่างเต็มที่แทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓
    <TABLE class=toc id=toc summary=เนื้อหา><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] ประวัติตราพระครุฑพ่าห์

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ใช้ตราอาร์มเป็นตราแผ่นดินใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ต่อมาพระองค์มีพระราชดำริว่า ตราอาร์มที่ใช้เป็นตราแผ่นดินในเวลานั้นเป็นอย่างฝรั่งเกินไป และทรงระลึกได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาเคยใช้ตราพระครุฑพ่าห์มาก่อน (ตราที่กล่าวถึงคือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์องค์เดิม) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ขึ้นเป็นตราแผ่นดินเพื่อใช้แทนตราอาร์ม โดยครั้งแรกทรงเขียนเป็นรูปตราพระนารายณ์ทรงครุฑจับนาค ตรานี้ได้ใช้อยู่ระยะหนึ่งก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนตราครุฑขึ้นใหม่อีกครั้งเป็นตราวงกลม โดยยกรูปพระนารายณ์และนาคออกเสีย คงเหลือแต่รูปครุฑ ซึ่งเขียนเป็นรูปครุฑรำตามแบบครุฑเขมร พื้นเป็นลายเปลวไฟ เมื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายก็ชอบพระราชหฤทัย และมีพระราชประสงค์ที่จะให้ใช้ตรานี้เป็นตราแผ่นดินถาวรสืบไป จะได้ไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่เมื่อเปลี่ยนรัชกาล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตราแผ่นดินของไทย

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    http://th.wikipedia.org/wiki/ตราประจำชาติไทย

    <TABLE class=gallery cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    <SMALL>ตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์องค์เดิม</SMALL>
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->



    </TD><TD>
    [​IMG]
    <SMALL>ตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์องค์กลาง ฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์</SMALL>
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->



    </TD><TD>
    [​IMG]
    <SMALL>ตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ ฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๕</SMALL>
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->



    </TD><TD>
    [​IMG]
    <SMALL>ตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ ๙ จำลองจากพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ ๕</SMALL>
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes
    1. ifexist count: 0/500
    -->



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลปชัย) เป็นผู้เขียนตราครุฑถวายใหม่ โดยยังคงใช้ตราครุฑเดิมแบบสมัยรัชกาลที่ ๕ เพียงแต่เพิ่มพระปรมาภิไธยตามขอบพระราชลัญจกร และเปลี่ยนพระปรมาภิไธยที่ขอบพระราชลัญจกรให้ตรงตามรัชกาล และให้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาลจะสร้างขึ้นใหม่เมื่อพระมหากษัตริย์ได้รับการบรมราชาภิเษกแล้วเท่านั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๘ จึงไม่มีการสร้างพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาลขึ้น เนื่องจากพระองค์มิได้กระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คงมีแต่พระราชลัญจกรประจำรัชกาลเท่านั้น และเชิญพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ 5 ออกประทับแทน


    [แก้] การใช้ตราพระครุฑพ่าห์

    พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์นี้ใช้สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์หรือกำกับนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งลงนามแทนในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ก็ยังใช้เป็นตราประจำสถานที่ราชการต่างๆ ของรัฐบาลไทย ใช้พิมพ์เป็นตราบนหัวหนังสือและเอกสารต่างๆ ของทางราชการ และใช้เป็นตราสำหรับประทับในหนังสือราชการของกรมกองต่าง ๆ
    อนึ่ง บริษัทห้างร้านใดที่จดทะเบียนโดยชอบตามกฎหมายที่ติดต่อค้าขายกับทางราชสำนัก ซึ่งปรากฏว่ามีฐานะทางการเงินดี เป็นที่เชื่อถือแก่มหาชน ไม่มีหนี้สินรุงรังนอกจากหนี้สินปกติจากการค้าขาย และจะต้องประกอบการค้าโดยสุจริต อาจได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราพระครุฑพ่าห์เป็นตราตั้งห้างไว้ที่ห้างร้านของตนได้ โดยพระมหากษัตริย์ทรงไว้ในสิทธิที่จะเรียกคืนตราดังกล่าวได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...