พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.relicsofbuddha.com/page2.htm

    [​IMG] ความหมายของคำว่าพระบรมสารีริกธาตุ [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    "พระบรมสารีริกธาตุ" คือ พระธาตุส่วนย่อยที่บังเกิดแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ มิได้เป็นคำที่ใช้เรียก พระธาตุของพระอรหันตสาวก หรือพระธาตุเจดีย์ต่างๆ (บางทีเรียกว่า"พระบรมธาตุ" หรือ "พระสารีริกธาตุ" ก็ได้)
    "พระธาตุ" คือ กระดูก หรือ ส่วนของร่างกายต่างๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โลหิต ฯลฯ ที่มีคุณลักษณะเป็นที่แตกต่างจากสามัญชนทั่วไป โดยมีลักษณะคล้าย ' ธาตุ ' ซึ่งหากมองโดย ไม่สังเกตให้ดีแล้ว ก็คล้าย กรวด หิน แก้ว เพชร ฯลฯ
    คำว่า พระบรมธาตุและ พระธาตุ ยังอาจหมายถึงสถูปเจดีย์ต่างๆได้อีกด้วย เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพนม ฯลฯ

    <HR width="35%" noShade>
    [​IMG] ประเภทของพระบรมสารีริกธาตุ [​IMG]
    ..........เนื่องจากพระบรมสารีริกธาตุที่พบนั้น มีความแตกต่างจากอัฐิของบุคคลธรรมดาทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามยังพบลักษณะของ พระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะเหมือนกระดูกคนเช่นกัน เท่าที่พบเห็นได้ตามพระธาตุเจดีย์ทั่วไป หรือตามพิพิธภัณฑสถานต่างๆทั้งในประเทศไทย ศรีลังกา อินเดีย และ ที่ต่างๆ ทั่วโลก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
    <TABLE borderColor=#cc6633 cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="26%">[​IMG]

    </TD><TD width="74%">พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ 'พระธาตุ'

    .......... พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ จะพบมากในประเทศไทย ศรีลังกา จีน พม่า ฯลฯ มีลักษณะตรงตามพระไตรปิฎก ในประเทศไทยมีประดิษฐานอยู่ที่เจดีย์พระธาตุ ตามวัดต่างๆทั่วไป
    </TD></TR><TR><TD width="26%">[​IMG]

    </TD><TD width="74%">พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ 'กระดูกคน'

    .......... พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ จะพบเฉพาะในประเทศอินเดีย ตามโบราณสถานต่างๆ ที่ขุดค้น สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษได้มอบให้แก่ประเทศไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานอยู่ ณ เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และครั้งที่ 2 รัฐบาลได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน
    * ในภาพเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG] คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ [​IMG]
    ..........คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน และได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนและพระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป พบว่ามีลักษณะที่มองจากภายนอกคร่าวๆได้ดังนี้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="13%" rowSpan=6>[​IMG]</TD><TD width="87%">- มีด้วยกันหลายสี ตั้งแต่ใสดั่งแก้วจนกระทั่งขุ่น สีขาวดุจสีสังข์ สีทอง สีดำ สีชมพู สีแดง ฯลฯ</TD></TR><TR><TD width="87%">- มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ลักษณะเมล็ดข้าวสาร พันธุ์ผักกาด เมล็ดถั่วแตก แก้วใส ฯลฯ </TD></TR><TR><TD width="87%">- หากมีขนาดเล็กมักสามารถลอยน้ำได้ เมื่อลอยด้วยกันจะสามารถดึงดูดเข้าหากันได้ และลอยติดกันเป็นแพ</TD></TR><TR><TD width="87%">- สามารถเสด็จมาเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดลงได้เอง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระธาตุ</TD></TR><TR><TD width="87%">- เปลี่ยนขนาดและสีสันเองได้ </TD></TR><TR><TD width="87%">- ส่วนมากมักมีน้ำหนักค่อนข้างเบา เมื่อเทียบกับขนาด </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG] พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ [​IMG]
    คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ซึ่งเป็นอรรถกถาอธิบายความพระสูตรทีฆนิกาย ในพระสุตตันตปิฎกนั้น พระอรรถกถาจารย์ได้แบ่งลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
    1.นวิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ยังคงรูปร่างเดิมอยู่เป็นชิ้นเป็นอัน มิได้แตกย่อยลงไป มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก) 1องค์ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) 2 องค์
    2.วิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มิได้คงรูปร่างอยู่เป็นชิ้น แต่แตกย่อยลงเป็นเป็นจำนวนมาก กระจายไปประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆ
    ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ท่านได้จำแนกลักษณะและขนาดของพระบรมสารีริกธาตุชนิด วิปฺปกิณฺณา ธาตุ ต่อไปอีกดังนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะภายนอก แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD width="76%" bgColor=#fffcd9 height="33%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>1. (สี)เหมือนดอกมะลิตูม (สีพิกุล)
    [อรรถกถาบาลีว่า สุมนมกุลสทิสา]
    ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 6 ทะนาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD width="76%" bgColor=#f5f5f5 height="33%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>2. (สี)เหมือนแก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว (สีผลึก)
    [อรรถกถาบาลีว่า โธตมุตฺตสทิสา]
    ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD width="76%" bgColor=#fffcc8 height="33%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>3. (สี)เหมือนจุณ หรือ ผงทองคำ (สีทองอุไร)
    [อรรถกถาบาลีว่า สุวณฺณจุณฺณา]
    ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>และเมื่อพิจารณาจากขนาด ท่านแบ่งได้เป็น 3 ขนาด ได้แก่
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="25%">[​IMG]</TD><TD width="75%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>1.ขนาดเล็ก ประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด
    [อรรถกถาบาลีอธิบายว่า สพฺพขุทฺทกา ธาตุ สาสปวีชมตฺตา]
    บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะเมล็ดพันธุ์ผักกาด
    *บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งมะลิตูม

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle width="25%">[​IMG]</TD><TD width="75%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>2.ขนาดเขื่อง คือมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ประมาณเมล็ดข้าวสารหักกึ่ง
    [อรรถกถาบาลีอธิบายว่า มหาธาตุ มชฺเฌ ภินฺนตณฺฑุลมตฺตา]
    บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะข้าวสาร
    *บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งแก้วมุกดา

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle width="25%">[​IMG]</TD><TD width="75%"><TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>3.ขนาดใหญ่ คือมีขนาดใหญ่ที่สุด ประมาณเมล็ดถั่วเขียวผ่ากลาง
    [อรรถกถาบาลีอธิบายว่า อติมหตี มชฺเฌ ภินฺนมุคฺคามตฺตา]
    บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะเมล็ดถั่ว
    *บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งทองอุไร

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>*หมายเหตุ บางตำราที่ระบุขนาด ได้แก่ คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุของโบราณ; ตำนานพระเจ้าเลียบโลก
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%" bgColor=#006633><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#008459>เกร็ดความรู้ว่าด้วยสีพระบรมสารีริกธาตุ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=150>[​IMG]
    ไข่มุก
    [​IMG]
    moonstone

    </TD><TD vAlign=top>............ในอรรถกถาสุมังคลวิลาสินีกล่าวถึง สีของพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด 3 สี ได้แก่ สีดอกมะลิตูม สีแก้วมุกดา และสีผงทองคำ ทั้งนี้ สีดอกมะลิตูมและสีผงทองคำนั้น สามารถพบเห็นและเปรียบเทียบได้ง่าย แต่สีแก้วมุกดานั้น ชวนให้สงสัยว่าจะเป็นสีอย่างไร
    .............คำว่า มุกดา นั้นมาจากภาษาบาลีว่า มุตฺตา โดยพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า "มุกดา" คือ ไข่มุก, ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในพวกนพรัตน์ สีหมอกอ่อนๆ ซึ่งรัตนะในความหมายหลังมีผู้จำแนกไว้ว่าคือ moonstone(แต่บางท่านก็ว่า มุกดา ในนพรัตน์ของไทยนั้นคือ แก้วใสสีขาว ไม่ใช่ moonstone) ซึ่งหากในความหมายนี้หมายถึงแก้วใสสีขาว หรือ moonstone แล้ว พระบรมสารีริกธาตุสีนี้ จะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเป็นจำนวนมาก แต่หากหมายถึงไข่มุกแล้ว พระบรมสารีริกธาตุ ที่มีลักษณะสีเหลือบแบบไข่มุกนั้น จะพบเห็นได้ค่อนข้างยาก
    .............อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากคำว่า "แก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว" ในอรรถกถา เป็นไปได้ว่า มุกดา ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงไข่มุก เนื่องจากมีคำว่าเจียระไนเข้ามาประกอบ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้คำนี้จะหมายถึงไข่มุก พระบรมสารีริกธาตุที่มีสีในเฉดขาว-เทาไข่มุกทั้งหมด ก็อาจนับอยู่ในกลุ่มสีแก้วมุกดาได้ เช่นเดียวกับพระบรมสารีริกธาตุลักษณะสีทองอุไร ที่นับเอาพระบรมสารีริกธาตุที่มีสีเฉดเหลืองทั้งหมดเข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <HR width="35%" noShade>[​IMG] พระธาตุลอยน้ำ [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="35%">[​IMG]

    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="65%" bgColor=#f6f6f6>ตามโบราณาจารย์ต่างๆท่านกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุที่มีขนาดไม่ใหญ่นักนั้น สามารถที่จะลอยน้ำได้ ส่วนการลอยน้ำของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุนั้น จะลอยน้ำโดยที่น้ำจะเป็นแอ่งบุ๋มลงไปรองรับพระบรมสารีริกธาตุไว้ นอกจากนี้อาจปรากฏรัศมีของน้ำรอบๆพระบรมสารีริกธาตุอีกด้วย ทั้งนี้หากทำการลอยพร้อมๆกันหลายๆองค์ พระบรมสารีริกธาตุจะค่อยๆลอยเข้าหากันและติดกันในที่สุด ไม่ว่าจะลอยห่างกันสักเพียงใด
    นี่เองจึงเป็นเหตุให้มีผู้กล่าวว่า หากมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดแล้ว หากมีการถวายความเคารพเป็นอย่างดีและเหมาะสมแล้ว ท่านก็สามารถที่จะดึงดูดองค์อื่นๆให้เสด็จมาประทับรวมกันได้
    อย่างไรก็ตาม ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ได้ห้ามมิให้ทำการทดสอบพระบรมสารีริกธาตุด้วยการลอยน้ำ โดยถือว่าเป็นการดูหมิ่นคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเหตุการณ์นี้ คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ได้เล่าไว้ในงานเขียนของท่านที่เกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ และภายหลังท่านจึงได้ทำการขอขมาต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>หมายเหตุ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2546 มีรุ่นพี่ท่านหนึ่งที่ได้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ เธอได้ติดต่อมายังผมและถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเธอ ขณะที่ได้นำพระบรมสารีริกธาตุไปสรงน้ำ คือเมื่ออัญเชิญท่านลงในน้ำ ท่านก็จมลงไปยังก้นภาชนะที่ใช้สำหรับสรงท่านทันที เพื่อนๆของเธอที่ดูอยู่จึงถามว่าไหนว่าพระธาตุท่านลอยน้ำมิใช่หรือ ไหนเล่า? เธอจึงอธิษฐานขอให้ท่านลอย ทันใดนั้นท่านก็ลอยขึ้นมาจากก้นภาชนะนั้น จะเท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ เห็นว่าแปลกดีและเกิดกับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ด้วย ทั้งที่มิเคยได้เห็นหน้าหรือรู้จักกันมาก่อน จึงได้นำมาให้อ่านกัน
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.relicsofbuddha.com/page3.htm

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#ffffff><TD bgColor=#f5f5f5>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][FONT=Tahoma, MS Sans Serif][​IMG][/FONT][/FONT] [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]ตำนานการเกิดพระบรมสารีริกธาตุ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][FONT=Tahoma, MS Sans Serif][​IMG][/FONT][/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]เหตุที่เกิดพระบรมสารีริกธาตุจำนวนมากขึ้นนั้น พระโบราณาจารย์อธิบายว่า เกิดจากพุทธประสงค์ ก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ดังต่อไปนี้ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]โดยปกติที่พระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาว สามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง จะมีพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะรวมกันเป็นแท่งเดียว ดุจทองแท่งธรรมชาติ ซึ่งมหาชนในสมัยนั้นไม่สามารถแบ่งปัน นำไปประดิษฐานตามที่ต่างๆได้ จึงจำต้องสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ในที่แห่งเดียว ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (พระสมณโคดม) ทรงเล็งเห็นว่า พระองค์มีเวลาปฏิบัติพุทธกิจเพียง 45 ปี นับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ศาสนาของพระองค์ยังไม่แพร่หลาย และหมู่สัตว์ทั้งหลายเกิดมาไม่ทันสมัยพระองค์มีมากนัก หากได้อัฐิธาตุของพระองค์ไปอุปัฎฐากบูชา จะได้บุญกุศลเป็นอันมาก จึงทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แตกย่อยลงเป็น 3 สัณฐาน เว้นแต่ธาตุทั้ง 7 ประการ คือ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก)1 พระเขี้ยวแก้ว4 และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า)2 นอกจากนั้นให้กระจายไปทั่วทิศานุทิศ เพื่อยังประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั่วไป [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]ซึ่งความทั้งหมดพ้องกันจากตำราหลายๆ ตำรา ที่พระอาจารย์สมัยต่างๆได้รจนาไว้ ดังเช่น "คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี" "ปฐมสมโพธิกถา" ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส "ตำนานมูลศาสนา" "ชินกาลมาลีปกรณ์" และ "พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก" เป็นต้น [/FONT]

    </TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC][​IMG][/FONT]</TD></TR><TR vAlign=top bgColor=#ffffff><TD colSpan=2><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%" bgColor=#eaf4ff>
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]เหตุการณ์ก่อน ขณะ และ หลังพุทธปรินิพพาน[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]มหาปรินิพพานสูตร (*.txt)[/FONT]
    </TD><TD width="50%" bgColor=#ffe6d9>[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]เหตุการณ์การกระทำธาตุนิธาน และ การเฉลิมฉลองเจดีย์[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]ตำนานธาตุนิธาน [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC](*.txt)[/FONT][/FONT]

    </TD></TR><TR align=middle bgColor=#ffffe1><TD colSpan=2>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เหตุการณ์และคำสอนของพระพุทธเจ้า ในช่วงใกล้ปรินิพพาน นำมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราวชวนอ่าน โดย อ.วศิน อินทสระ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]หนังสือพระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] (*.pdf) จัดทำโดยเว็บไซต์กัลยาณธรรม[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><HR width="35%" noShade>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][FONT=Tahoma, MS Sans Serif][​IMG][/FONT][/FONT] [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]สถานที่ประดิษฐาน [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][FONT=Tahoma, MS Sans Serif][​IMG][/FONT][/FONT]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" bgColor=#eeffee border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]พระบรมสารีริกธาตุ แบบที่กระจัดกระจายนั้น หลังจากได้ทำการแบ่งออกเป็น 8 ส่วน แยกย้ายไปประดิษฐานตามเมืองต่างๆ หลังจากถวายพระเพลิงแล้ว ตามตำนานกล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ และ พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ร่วมกันกระทำ 'ธาตุนิธาน' คือการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่แบ่งออกไปนั้นกลับมาประดิษฐานรวมกันไว้ในที่แห่งเดียว เพื่อป้องกันการสูญหาย จากการศึกและสงคราม และในตอนท้ายของตำนานกล่าวว่า บุคคลผู้มาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกไปและกระทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยิ่งใหญ่ ก็คือ พระเจ้าอโศกมหาราช นั่นเอง [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]จากเนื้อความในพระปฐมสมโพธิกถา ได้มีการแจกแจงถึงสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แบบที่ไม่กระจัดกระจาย ทั้ง 7 ประการ สรุปได้ดังนี้ [/FONT]

    </TD><TD vAlign=top align=right width="12%" bgColor=#ffffff rowSpan=8>[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC][​IMG][/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC][​IMG][/FONT]

    </TD></TR><TR><TD width="4%"></TD><TD width="84%">[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]1. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC][FONT=MS Sans Serif, Tahoma](บางตำรากล่าวว่า ได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ประเทศศรีลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย) [/FONT][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD width="4%"></TD><TD width="84%">[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]2. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ เมืองคันธารราฏฐ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC](แคว้นคันธาระ เป็นอาณาจักรในสมัยโบราณ กินอาณาเขตทางตอนเหนือของประเทศปากีสถาน และตะวันออกของประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน)[/FONT]

    </TD></TR><TR><TD width="4%"></TD><TD width="84%">[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]3. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างขวา ประดิษฐานอยู่ที่ ณ ประเทศศรีลังกา[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC](เชื่อกันว่า เป็นพระเขี้ยวแก้วองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีดาลาดามาลิกาวา เมืองเคนดี ในปัจจุบัน)[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD width="4%"></TD><TD width="84%">[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]4. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างซ้ายประดิษฐานอยู่ที่ นาคพิภพ [/FONT]</TD></TR><TR><TD width="4%"></TD><TD width="84%">[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]5. พระรากขวัญขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระเกศจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC](บางตำรากล่าวว่า ภายหลังได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังพระเจดีย์ถูปาราม ประเทศศรีลังกา)[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD width="4%"></TD><TD width="84%">[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]6. พระรากขวัญซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC](ทุสสเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ ณ อกนิฏฐพรหมโลก ซึ่งเป็นภพภูมิหนึ่งในปัญจสุทธาวาส และเป็นชั้นสูงสุดของรูปพรหม) [/FONT]

    </TD></TR><TR><TD width="4%"></TD><TD width="84%">[FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC]7. พระอุณหิศ(กรอบหน้า) ประดิษฐาน ณ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, BrowalliaUPC](บางตำรากล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระเป็นผู้เก็บรักษาไว้ และมอบแก่สัทธิวิหาริกสืบต่อกันมา ภายหลังพระมหาเทวเถระ จึงได้เป็นผู้อัญเชิญไปประดิษฐานยังประเทศศรีลังกา)[/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.relicsofbuddha.com/page4.htm

    [​IMG] พุทธเจดีย์ [​IMG]
    เจดีย์ที่สร้างขึ้นมาในพระพุทธศาสนา มีไว้เพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัยทั้งสิ้น สามารถแบ่งได้ เป็น 4 ประเภท นั่นคือ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="25%">[​IMG]

    </TD><TD width="75%">1. พระธาตุเจดีย์
    คือ เจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือ พระธาตุ เช่น พระธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพ บรมบรรพต(ภูเขาทอง) ฯลฯ
    </TD></TR><TR><TD width="25%">[​IMG]

    </TD><TD width="75%">2. พระธรรมเจดีย์
    มีผู้สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นจากการที่ทรงมีพุทธดำรัสก่อนพุทธปรินิพพานว่า พระธรรมวินัยจักเป็นศาสดาแทนพระองค์ จึงเกิดมีการคิดจารึกพระธรรมลงบนวัตถุแล้วนำมาบูชาแทนพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก หนังสือธรรมะ ฯลฯ
    </TD></TR><TR><TD width="25%">[​IMG]

    </TD><TD width="75%">3. บริโภคเจดีย์
    คือ สถานที่หรือสิ่งของทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้งสี่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธบริขาร รอยพระพุทธบาท ฯลฯ
    </TD></TR><TR><TD width="25%">[​IMG]

    </TD><TD width="75%">4. อุเทสิกเจดีย์
    คือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัย โดยไม่มีการกำหนดรูปแบบอย่างชัดเจน เช่น พระพุทธรูป พระผง พระเครื่อง พระพุทธบาท(จำลอง) ฯลฯ ทั้งนี้ รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุจำลองด้วย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <HR width="35%" noShade><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#f7f0ff><TD bgColor=#ffffff>[​IMG][​IMG] บุคคลที่สมควรสร้างสถูปไว้บูชา (ถูปารหบุคคล) [​IMG]
    ...............การบูชาบุคคลที่ควรบูชา นั้นเป็นมงคลข้อหนึ่งในมงคลสูตร 38 ประการ การบูชา คือ การยกย่อง เลื่อมใส ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่เสแสร้งแกล้งทำ นั่นหมายถึง กิริยาอาการสุภาพที่แสดงต่อผู้ที่ควรบูชาทั้งต่อหน้าและลับหลัง ซึ่งการบูชาในทางปฏิบัตินั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ การบูชาด้วยสิ่งของ เรียกว่า อามิสบูชา และ การบูชาด้วยการตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนหรือแบบอย่างที่ดีของท่าน เรียกว่า ปฏิบัติบูชา ซึ่งอย่างหลังนี้เองเป็นการบูชาสูงสุด ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง
    ...............บุคคลที่ควรบูชา คือ บุคคลที่มีคุณงามความดี ควรค่าแก่การระลึกถึง และยึดถือเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตาม มีอยู่ด้วยกันจำนวนมาก เช่น พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ พ่อ แม่ ฯลฯ อย่างไรก็ดีพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงบุคคลที่สมควรแก่การสร้างสถูปไว้บูชาไว้เพียง 4 จำพวก ได้แก่
    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#fffff0>1.พระพุทธเจ้า
    เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffeaea>2.พระปัจเจกพุทธเจ้า
    เหตุที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#f0f0ff>3.พระอรหันต์ (ในพระสูตรกล่าวเป็น "พระตถาคตสาวก" ซึ่งปกติ หมายถึง "พระอรหันต์")เหตุที่พระสาวกของพระพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระสาวกของผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#eeeeee>4.พระเจ้าจักรพรรดิ์
    เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระธรรมราชาผู้ทรงธรรมนั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://palungjit.org/showthread.php?t=72607&page=52

    <CENTER>[​IMG]

    หน้าที่สำคัญกว่าลมปาก</CENTER>

    กิร ดังได้สดับมา



    <DD>ฤาษีผู้มีฤทธิ์ตนหนึ่งสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ ดำน้ำลุยไฟได้ เช้ามืดวันหนึ่ง หลังจากออกจากฌานแล้วอยากจะหาเพื่อนคุยแก้เหงาบ้าง แต่ไม่รู้จะคุยกับใครดีเพราะไปชวนคุยมาหมดแล้ว พอดีพระอาทิตย์โผล่ยอดเขามาพอดี "ได้เพื่อนคุยแล้วละ" ฤาษีคิดพร้อมเหาะลิ่วไปหาพระอาทิตย์ ถึงรัศมีพระอาทิตย์จะร้อนแรงอย่างไรก็หาได้ระคายเคืองผิวฤาษีไม่ด้วยอำนาจฌานของท่าน

    <DD>พอเข้าไปใกล้จึงถามว่า
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.susarn.com/susarnth/th_buddha/Buddhahistory1.html

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR class=frontdetail bgColor=#ffffcc><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    จากหนังสือจดหมายระหว่างทางไปอินเดียของหลวงจีนฟาเหียนได้กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพุทธรูป ดังนี้
    เมื่อพระพทุธองค์เสด็จไปประทานเทศนาโปรดพระมารดาในสวรรค์พรรษาหนึ่ง พระเจ้าประเสนชิต
    กรุงโกศลราช มีความรำลึกถึงพระพทุธองค์ เนื่องจากมิได้เห็นมาช้านานจึงตรัสให้นายช่างทำพระพุทธรูปขึ้น
    ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ ครั้นพระพุทธองค์กลับจากสวรรค์ จึงตรัสสั่งให้รักษา
    พระพุทธรูปนั้นไว้ เพื่อสาธุชนจะได้ใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างพระพุทธรูปเมื่อพระองค์ล่วงลับไปแล้ว

    ตำนานดังกล่าวยังขัดกับหลักฐานที่เจอโบราณวัตถุว่าถ้าเคยสร้างพระพุทธรูปในสมัยพุทธกาลพระเจ้าอโศก
    มหาราชก็คงสร้างพระพุทธรูปเป็นเจดียวัตถุอย่างหนึ่ง แต่ในพุทธเจดีย์ที่พระเจ้าอโศกฯ สร้างไว่ไม่มีพระพุทธรูป
    แต่มีรูปอย่างอื่นแทน เช่น รอยพระพุทธบาท พระธรรมจักร เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าประเพณีการทำพระพุทธ-
    รูปยังไม่มีในสมัยนั้น อาจเกิดขึ้นภายหลังในราวปี พ.ศ.๗๐๐ หรือ พ.ศ.๘๐๐

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมามีรูปแบบที่ต่างไปตามสถานที่ อย่างชาวกรีกทำพระศกเป็นเส้นผมเหมือนคนสามัญชน
    แต่ชาวอินเดียเห็นว่าไม่งามได้ดัดแปลงพระศกเป็นรูปก้นหอย รูปหน้าเปลี่ยนเป็นหน้าคนอินเดีย สำหรับประเทศ
    อื่นๆ ที่ได้รับแบบอย่างการสร้างพระพุทธรูปก็ได้ดัดแปลงแก้ไขไปตามเห็นสมควรทำให้เกิดพระพุทธรูปแบบต่างๆ
    ในอินเดีย ดังนี้ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=115>[​IMG]</TD><TD width=435> แบบคันธารราฐ (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๒) โดยศิลปินกรีกโรมันแค้วนคันธารราฐ
    ในปากีสถาน มีลักษณะเหมือนจริง พระเกศาขมวดมุ่น, พระเนตร, พระกรรณ, พระนาสิก,
    พระโอษฐ์ ตลอดจนวงพระพักตร์และริ้วจีวรมีลักษณะจริงอย่างธรรมชาติ บางครั้งมีพระมัสสุด้วย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=441> แบบมธุรา (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๖) กำเนิดทางตอนเหนือของอินเดีย พบในสมัยเดียวกับแบบ
    คันธารราฐเป็นพระพุทธรูปแบบชาวอินเดีย ไม่มีมุ่นพระเกศา ประทับอยู่บนสิงห์มีบัลลังก์ประดับด้วย
    พระโพธิสัตว์ และเหล่าอุปัฏฐากที่ฐาน รูปร่างอวบอ้วนเข้มแข็งดูมีอำนาจ</TD><TD width=109>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=112>[​IMG]</TD><TD width=438> แบบอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๐) กำเนิดทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียที่
    เมืองอมราวดีเป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่มีลักษณะแบบอุดมคติ รูปแบบได้รับอิทธิพลจากศิลปะมธุรา
    ปนกับคันธารราฐ ไม่เหมือนธรรมชาติ เป็นต้นกำเนิดของการสร้างพระพุทธรูปให้กับสมัยต่อๆมา </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=458> แบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๒) ช่างตระกูลคุปตะเป็นผู้สร้างขึ้น ลักษณะจีวรบางแนบเนื้อ
    ฐานพระพุทธรูปตกแต่งด้วยดอกบัว หรือรูปสิงห์ มีทั้งแบที่สลักด้วยหินและรูปหล่อสำริด</TD><TD width=92>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD> แบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๘) กำเนิดที่แค้วนแบงกอลในสมัยราชวงศ์ปาละ เป็นรุ่นสุดท้ายของ
    อินเดีย มีคติพราหมณ์ผสมอยทำให้งานศิลป์ไม่บริสทธิ์ จีวรแนบเนื้อยิ่งขึ้น มีความอ่อนไหว พระพักตร์คม โดยมี
    พระขนงและพระโอษฐ์ได้รับการยกขอบคมเป็นสัน พระเนตรอยู่ในลักษณะครึ่งหลับ แสดงการภาวนา มีซุ้ม
    ประภามณฑล เครื่องประดับรกรุงรังเกินงาม นิยมทำฐานสองชั้น
    อินเดียได้เป็นต้นแบบในการขยายอิทธิพลไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งทำให้พระพุทธรูปแตกต่างกันไปตามศิลปะ
    ที่รับเอามา

    แหล่งที่มา : พระพุทธรูป , วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#fbf3f0><TBODY><TR bgColor=#a98062><TD></TD></TR><TR><TD><TABLE width=500><TBODY><TR><TD>

    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทวารวดีมีราชธานีอยู่ที่นครปฐม ในช่วงพ.ศ.๑๐๐๐-๑๒๐๐ จากจดหมายเหตุเมืองจีนกล่าวไว้ว่า มีอาณาจักร
    ใหญ่ชื่อจุยล่อพัตตี้(ทวารวดี) อยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร(พม่า) และเมืองอิสานบุรี(เขมร) ก็คือประเทศไทยนั่นเอง
    ตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมาลงมาจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้พบพระพุทธรูป แบบคุปตะของราชวงศ์อินเดียมาก
    มาย นอกจากนี้ยังพบเทสกเจดีย์ตามคติครั้งพระเจ้าอโศกฯ ได้แก่ เสมาธรรมจักรกวาง, แท่งหินอาสนบูชา, รอยพระ
    พุทธบาท, สถูป เป็นต้น

    สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์สยามว่า พุทธศาสนามาถึง
    ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๕๐๐ และทรง ให้ความคิดเห็นในทางโบราณคดีว่าทวารวดีน่าจะเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๕๐๐
    เป็นต้นมา ศิลปะทวารวดีแบ่งออกเป็น ๓ ยุคดังนี้

    ทวารวดีตอนต้น ส่วนมากสร้างจากหินที่มีขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายพระพุทธรูปแบบคุปตะมาก จีวรเรียบบาง
    แนบติดองค์พระ พระอังสากว้าง พระพักตร์ยาวและกลมกว่ารุ่นหลัง พรศกทำเป็นเม็ดขนาดใหญ่ พระเกตุมาลา
    เป็นต่อมนูนและสั้น พระนลาฏแคบไม่เรียบเสมอกัน พระเนตรเหลือบต่ำลง พระขนงโก่งยาว และจรดกันที่สันกลาง
    พระนาสิก ลักษณะทั่วไปกระด้าง พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ไม่สมกับองค์พระ มีเฉพาะเศียรเท่านั้นที่เหมือนแบบ
    คุปตะ

    ทวารวดีตอนกลาง ฝีมือประณีตขึ้น ลักษณะพระพุทธรูปห่างจากแบบคุปตะมากขึ้น พระพักตร์กว้างแบน
    และสั้น พระโอษฐ์กว้างและแบะ พระเนตรโปน ลักษณะท่าทางเคร่งขรึม สร้างด้วยหินขนาดใหญ่ก็มี ทั้งแบบลอย
    องค์และจำหลักนูน ส่วนสำริดมีขนาดเล็กประมาณครึ่งฟุต

    ทวารวดีตอนปลาย ผสมศิลปะศรีวิชัยและอู่ทอง จะพบพระพุทธรูปนี้ได้ในแถบภาคเหนือที่ลำพูน
    และเชียงใหม่

    พระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่ได้พบมีดังนี้คือ
    ปางปฐมเทศนา ทำด้วยศิลาและโลหะ มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก
    ปางสมาธิ ลักษณะขัดสมาธิราบแบบหลวมๆ พอฝ่าเท้าซ้อนกันเท่านั้น ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษ
    ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ซึ่งพบได้น้อย ปางเสด็จจากดาวดึงส์ ปางมหาปาฏิหาริย์ ปางประทานอภัย ปางประทานพร ปางโปรดสัตว์ ปางนาคปรก

    แหล่งที่มา : พระพุทธรูป, วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.susarn.com/susarnth/th_buddha/Buddhahistory3.html

    <TABLE width=500 align=center bgColor=#fff0e1><TBODY><TR bgColor=#0099cc><TD colSpan=2>ศรีวิชัย

    </TD></TR><TR><TD width=135>
    [​IMG]
    </TD><TD width=353>
    ศรีวิชัยจัดอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๗ พระพุทธรูปศรีวิชัยรุ่นแรกได้รับอิทธิพลจากศิลปะคุปตะ ทรวดทรงได้สัดส่วนตามลักษณะธรรมชาติ จึงกล่าวได้ว่ามีความงามกว่าแบบคุปตะ ยังสามารถบอกได้ว่าศิลปะศรีวิชัยรับอิทธิพลมาจากปาละด้วย คือรูปพระโพธิสัตว์ นางอัปสร เครื่องตกแต่งประดับกายมีลวดลายเหมือนกัน เหมือนกับสืบทอดมาจากสมัยคุปตะ ลักษณะเรียบง่าย ไม่รกรุงรุงเหมือนปาละ

    ลักษณะของพระพุทธรูปของสมัยศรีวิชัยจะมีพระวรกายอวบอ้วน ได้สัดส่วนกว่าสมัยทวารวดี พระหัตถ์และพระบาทไม่โต ได้สัดส่วนกับพระวรกาย พระเนตร และพระโอษฐ์เล็ก พระเกตุมาลาเป็นต่อมสั้นคล้ายสมัยทวารวดี ขมวดพระเกศาเล็กกว่า

    ถ้าเป็นพระนั่งโดยมากมีเรือนแก้วแตกต่างจากทวารวดี ซึ่งทำเป็นท่าห้อยพระบาท พระพุทธรูปที่พบเป็นปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ และนั่งขัดสมาธิเพชร ปางลีลา ปางเสด็จดาวดึงส์ ปางโปรดสัตว์ ปางประทานอภัย และปางนาคปรก ส่วนปางอื่นๆจะเป็นพระพิมพ์

    แหล่งที่มา : พระพุทธรูป, วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    http://www.susarn.com/susarnth/th_buddha/haripunchai.html

    <TABLE height=355 width=494 align=center bgColor=#f6f6f6><TBODY><TR bgColor=#007766><TD colSpan=2>ละโว้ - หริภุญชัย

    </TD></TR><TR><TD width=388 height=321>ราวศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ ศิลปะละโว้ - หริภุญชัย ได้พบพระพุทธรูปที่ลำพูนมากกว่าที่อื่น เป็นพระพุทธรูปร่วมสมัยกับศรีวิชัย ลักษณะทั่วไปมีความสัมพันธ์กับศิลปะทวารวดีและศรีวิชัย แต่ได้ขยายตัวมาเป็นศิลปะของตัวเอง เจริญสืบต่อมาจากแคว้นหริภุญชัยหรือลำพูนซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจ ในสมัยพระนางจามเทวี เสด็จมาครองเมืองลำพูน ได้ขุดพบพระพุทธรูปหินแข็งสีเทา ที่พิพิธภัณฑสถานวัดพระธาตุหริภุญชัย มีขนาดใหญกว่ามนุษย์หลายเศียรที่ลำพูน งานศิลป์ส่วนใหญ่ เป็นแบบปูนปั้น และดินเผาลักษณะพิเศษของพระพุทธรูปที่ต่างจากสมัยลพบุรีคือมี
    เศียรของเทวดา เศียรยักษ์เข้าแทรกอยู่ด้วย

    ศิลปะหริภุญชัยมีเหลือให้เห็นน้อยมากเพราะไม่ได้ทำด้วยสำริดหรือศิลา ที่สำคัญ คือพระพุทธรูปจำหลักที่วัดจามเทวีที่ลำพูน มีพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระขนงเหยียดตรงจรดกันเป็นรูปปีกกา พระนาสิกโต พระโอษฐ์แบะใหญ่ ในระยะหลังพระพักตร์เรียวยาว พระขนงมีรูปโค้ง พระพุทธรูปที่สร้างด้วยสำริดมีน้อยมาก มักเป็นแผ่นโลหะดุนครึ่งองค์ผ่าซีก ส่วนใหญ่ผสมทองคำ หรือเงิน เป็นต้น

    แหล่งที่มา : พระพุทธรูป, วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    http://www.susarn.com/susarnth/th_buddha/lopburee.html

    <TABLE width=500 align=center bgColor=#f6f6f6><TBODY><TR bgColor=#a98061><TD>
    ลพบุรี
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระพุทธรูปสมัยนี้สร้างขึ้นในตอนที่เขมรมีอำนาจเข้ามาในภาคกลางของประเทศไทย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เป็นช่วงที่กษัตริย์เขมรสร้างนครวัด ศิลปะลพบุรีมีการผสมผสานระหว่างพราหมณ์และพุทธ พระพุทธรูปมีทั้งที่ทำด้วยฝีมือของช่างขอม และช่างชาวพื้นเมืองแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แบบขอมมีลักษณะแข็งกระด้างดุดันตรงข้ามกับชาวพื้นเมืองที่มีพระพักตร์อ่อนโยน ละมุนละไม พระพุทธรูปส่วนใหญ่มีทั้งแบบยืนและนั่งขัดสมาธิราบส่วนมากเป็นปางนาคปรกสร้างด้วยหินแข็ง หินทราย ขนาดเท่ากับคนจริง หากทำด้วยทองสำริดจะมีขนาดเล็กลง

    <TABLE width=500><TBODY><TR><TD width=364>
    พระพุทธรูปลพบุรีได้รับแบบอย่างมาจากสมัยทวารวดีและศรีวิชัย ลักษณะพระพักตร์สั้นออกเป็นรูปเหลี่ยมพระหนุสั้น พระเนตรดุ พระโอษฐ์กว้างแบะ
    ในระยะหลังมีลักษณะอมยิ้ม พระเนตรอยู่ในลักษณะครึ่งหลับ พระขนงคล้ายแบบทวารวดี มีไรพระศกแทบทุกองค์ พระกรรณยาวจรดพระอังสา และมีพระกุณฑล พระเกศาม้วนเป็นรูปก้นหอย บางองค์มีรัดเกล้าที่เรียกว่า เทริดขนนก ซึ่งได้รับมาจากสมัยศรีวิชัย หรือทรงอุณหิส (กระบังหน้า)

    นอกจากนี้ยังนิยมสร้างประพุทธรูปปางประทานภัย คือพระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นสูงเสมอพระอุระ สำหรับทรงยืนนั้นทรงอาภรณ์คล้ายเทวรูป ทรงรัดประคดและชายสบงตกแต่งลวดลายอย่างวิจิตร
    </TD><TD width=124>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=500><TBODY><TR><TD width=89>[​IMG] </TD><TD width=399>
    ส่วนพระพุทธรูปแบบหินยานโดยเชื่อว่าเป็นฝีมีของช่างชาวพื้นเมืองลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีลักษณะพระพักต์กลมยาว ทรงเครื่องตามแบบมหายานแต่ยังมีเค้าศิลปะขอมอยู่ พระเนตรไม่ดุมาก พระโอษฐ์แบะเพียงเล็กน้อยพระกรรณจรดพระอังสา ไม่มีพระกุณฑลกับฉลองพระองค์ ถึงอย่างไรฝีมือการทำพระพุทธรูปของช่างขอม กับช่างไทยนั้นก็ยังสังเกตุได้ยากว่าแตกต่างกันอย่างไร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>แหล่งที่มา : พระพุทธรูป, วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.susarn.com/susarnth/th_buddha/chaingsan.html



    <TABLE width=500 align=center bgColor=#fff5ec><TBODY><TR bgColor=#007766><TD>เชียงแสน



    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE width=400 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    [​IMG]





    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระพุทธรูปเชียงแสนถือกำเนิดขึ้นที่เมืองเชียงแสนทางภาคเหนือของไทย ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๑ ลักษณะงดงามน่าเกรงขามมากดุจพญาสิงหราช จึงได้นามว่าสิงห์หนึ่ง สิงห์สอง สิงห์สาม ได้มีนักวิชาการสันนิษฐาน 2 กรณี ว่าได้รับอิทธิพลมาจากที่ใด กรณีแรกถือว่าได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปแบบปาละของอินเดีย พบมากในทางภาคเหนือของไทย เช่น พระพุทธรูปหินปางทรมานช้างนาฬาคีรี ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ กรณีที่สอง ว่าได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปสมัยคุปตะของอินเดียยุคเดียวกับพระพุทธรูปศรีวิชัย เนื่องจากพบพระพุทธรูปเชียงแสนที่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะศรีวิชัย​

    ศิลปะปาละอาจมีส่วนเกี่ยวข้องบ้างโดยเฉพาะฐานที่ทำด้วยบัวแบบต่างๆ นอกจากนี้ศิลปะเชียงแสนได้ขยายออกไป 2 ทาง ทางตะวันตก(ล้านนา) ทางใต้(สุโขทัย) เมื่อสุโขทัยเจริญขึ้นก็กลับมีอิทธิพลกลับมาทางเชียงใหม่และเชียงราย ทำให้พระพุทธรูปได้ถูกแบ่งเป็นรุ่นโดย รุ่นแรกเป็นศิลปะของเชียงแสนโดยแท้ลักษณะที่ลำคัญคือพระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์สั้นกลม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม พระอุระนูน พระรัศมีรูปบัวตูมหรือเป็นต่อมกลม ชายจีวรสั้น และบางแนบเนื้อ พระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นแรกมักเรียกว่า สิงห์หนึ่ง รุ่นกลางเรียกสิงห์สองรุ่นหลังเรียก สิงห์สาม สำหรับพระพุทธรูปในรุ่นถัดมาจะมีลักษณะแข็งกระด้าง ขาดความอ่อนหวานนุ่มนวลพระวรกายผอมชะลูดไม่สมส่วน พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่ ชายสังฆาฏิยาว พระพุทธรูปที่กำเนิดขึ้นรุ่นหลังนี้เช่นพระหริภุญชัยโพธิสัตว์ และพระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นหลังนี้ยังได้เป็นต้นแบบต่อไปจนถึงราชอาณาจักรลาวในปัจจุบัน ​

    แหล่งที่มา : พระพุทธรูป, วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    http://www.susarn.com/susarnth/th_buddha/sukoothai.html



    <TABLE width=500 align=center bgColor=#f6f6f6><TBODY><TR bgColor=#ff9933><TD>สุโขทัย



    </TD></TR><TR><TD>

    <TABLE height=226 width=151 align=center bgColor=#ffcc99 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ในยุคที่พระร่วงครองกรุงสุโขทัย ถือเป็นยุคที่ ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานาแบบเถรวาทจากลังกา จากหลักฐานศิลาจาลึกกล่าวไว้ว่า พระมหาธรรมราชาลิไท พระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหง ทรงราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงซึ่งเป็นหนังสือวรรณกรรมไทยเล่มแรก ไว้ด้วย มีข้อสันนิษฐานว่าพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจาก พระพุทธรูปลังกา พระพุทธรูปเชียงแสน แต่มีข้อโต้แย้งที่ว่าลักษณะของพระพุทธรูปแบบสุโขทัยมีความแตกต่างจากพระพุทธรูปเชียงแสนมาก เช่น พระพุทธรูปสุโขทัยนิยมนั่งขัดสมาธิราบ แต่พระพุทธรูปเชียงแสนนิยมนั่งขัดสมาธิเพชร รัศมีพระพุทธรูป สุโขทัยเป็นรูปเปลวเพลิงแต่พระพุทธรูปเชียงแสนเป็นรูปเกศบัวตูม ชายจีวรพระพุทธรูปสุโขทัยเป็นยาวจรด พระนาภีแต่พระพุทธรูปเชียงแสนสั้นอยู่เหนือพระถัน
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD width="26%">[​IMG]</TD><TD width="74%">
    จากข้อสันนิษฐานที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปสุโขทัยได้รับอิทธิพล มาจากลังกาเป็นส่วนมาก แต่ก็ยังมีพระพุทธรูปที่รับอิทธิพลมาจากเชียงแสนยุคต้น ผสมอยู่ด้วย จึงเกิดพระพุทธรูปแบบ"วัดตะกวนอิทธิพลเชียงแสน" พระพุทธรูป สุโขทัยในยุคต้นถ้าไม่พิจารณาให้ดีอาจเข้าใจผิดว่าเป็นพระพุทธรูปชียงแสนเลย ก็ว่าได้ จากนั้นจึงวิวัฒนาการมาเป็นพระพุทธรูปสุโขทัยบริสุทธิ์ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยได้รับการยกย่องว่าเป็นฝีมือของช่างอันวิเศษสุด คือ พระพุทธรูปปางลีลาในท่ากำลังเสด็จพระดำเนินก้าวพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่ง อยู่ในท่าประทานอภัย จีวรอยู่ในอาการโบกสบัด อ่อนช้อยงดงาม​




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ได้แก่ พระพักต์รูปไข่ พระรัศมีรูปเปลวเพลิง เส้นพระศกขมวด ก้นหอยแหลมสูง ส่วนมากไม่มีพระศก พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระหนุเสี้ยม ชายสังฆาฏิยาวถึงพระนาภี มีปลายสองแฉกย่นเป็นรูปเขี้ยวตะขาบทับซ้อนกันหลายชั้น นั่งขัดสมาธิราบ ฐานหน้ากระดานเกลี้ยงตอนกลาง แอ่นเข้าข้างใน พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยอาจแบ่งได้ดังนี้ ​
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD width="78%">
    แบบวัดตะกวน พบครั้งแรกที่วัดตะกวนเป็นพระพุทธรูปสุโขทัยรุ่นแรกได้รับ อิทธิพลจากลังกามากที่สุดรูปทรงกระด้างไม่ได้สัดส่วน เปลวเพลิงทำแบบหยาบๆ ฐานเขียง หน้ากระดานเรียบๆ

    แบบสุโขทัยบริสุทธิ์ เป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุด วงการโบราณคดีนิยมเรียกว่า "พระพุทธรูปหมวดใหญ่" ที่พัฒนามาจากพระพุทธรูปของช่างสกุลต่างๆทั้งของ ไทยและลังกา นำมารวมกันแล้วเปลี่ยนให้เป็นแบบสุโขทัยโดยเฉพาะ ลักษณะพระ พักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกแหลมงุ้ม พระโอษฐ์เล็กบาง รัศมีเปลวเพลิง งดงาม แบบพระพุทธรูปลังกา พระวรกายสมส่วนสง่างาม ส่วนฐานเป็นฐานกระดาน เกลี้ยงๆและเตี้ย ช่วงกลางฐานแอ่นเว้าเข้าไปข้างใน ​



    </TD><TD width="22%">[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แบบพระพุทธชินราช ลักษณะทั่วไปยังเป็นแบบสุโขทัยบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ที่ต่างกันก็เป็นพระพักตร์ค่อนข้าง อ้วนกลม พระรัศมีสูงกว่าแบบสุโขทัยบริสุทธิ์ลักษณะที่เด่นชัดที่สุดคือ นิ้วพระหัตถ์เท่ากันทั้งสี่นิ้วตามแบบคัมภีร์ มหาบุรุษลักษณะ ตัวอย่างพระพุทธรูปได้แก่ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พระพุทธชินสีห์ พระศาสดาในวัดบวรนิเวศวิหารและพระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม
    แบบกำแพงเพชร กำเนิดขึ้นเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นช่วงที่กรุง สุโขทัยเสียเอกราชให้กับกรุงศรีอยุธยา ที่เรียกแบบกำแพงเพชร เพราะพบที่กำแพงเพชรเป็นแห่งแรกและพบ มากกว่าที่อื่น พระพุทธรูปยุคนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอยุธยาด้วยทำให้มีลักษณะ แข็งกระด้าง รูปทรงไม่ได้สัดส่วน ชายสังฆาฏิยาว รัศมีเป็นรูปเปลวเพลิงทำอย่างหยาบ ทำฐานเขียงแบบเรียบๆตามแบบสุโขทัยบริสุทธิ์ แต่มีขาโต๊ะ ติดกับฐานเพิ่มมา ซึ่งขาโต๊ะนี้เป็นศิลปะของอยุธยา พระพุทธรูปบางองค์มีความคล้ายกับแบบสุโขทัยบริสุทธิ์ พระพุทธรูปแบบกำแพงเพชรนี้ถือเป็นยุคเสื่อมของการสร้างพระพุทธรูปก็ว่าได้นักสะสมพระแทบไม่กล่าวถึง กันเลยก็ว่าได้ ​
    แหล่งที่มา : พระพุทธรูป, วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง





    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    http://www.susarn.com/susarnth/th_buddha/authong.html


    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff><TBODY><TR bgColor=#00aaaa><TD>อู่ทอง


    </TD></TR><TR><TD height=607><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    จากการสันนิษฐานของนักโบราณคดีได้กำหนดช่วงสมัยอู่ทองอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๐ กำเนิดทางแถบภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พระพุทธรูปอู่ทองเปรียบเทียบคุณค่าสูงส่งกว่าพระพุทธรูปอยุธยาและรัตนโกสินท์ แต่มีความเสมอด้วยพระพุทธรูปสุโขทัย พระพุทธรูปอู่ทองมีพุทธลักษณะงดงามกล้าหาญเฉียบขาดอย่างนักรบดูน่าเกรงขาม พระวรกายสูงชะลูด พระพักตร์มีไรพระศกเป็นกรอบวงพระพักตร์ พระหนุกว้างเป็นรูปคางคน ฐานเป็นแบบหน้ากระดานแอ่นเว้าเข้าด้านในเรียกว่า "ฐานสำเภา" และนิยมทำปางมารวิชัยประทับนั่งแบบสมาธิราบ และมีความเชื่อกันว่าพระพุทธรูปอู่ทองได้รับอิทธิพลมาจากทวารวดีรุ่นหลังรวมกับพระพุทธรูปลพบุรีก่อน แล้วค่อยพัฒนามาเป็นพระพุทธรูปอู่ทองบริสุทธิ์ ต่อมาได้รับอิทธิพลจากสมัยสุโขทัยด้วย ​



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระพุทธรูปอู่ทองแบ่งออกได้เป็น ๓ รุ่น ดังนี้
    พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นหนึ่ง อยู่ระหว่างพุทธ คือศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ได้รับอิทธิพลมาจากสมัยทวารวดีผสมลพบุรี พระวรกายสูงชะลูด พระโอษฐ์ไม่แบะพระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่ยาวกว่า ​

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD width="75%" height=205>พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นสอง กำเนิดระหว่างพุทธศตวรรษที่๑๘-๑๙ ได้รับ
    อิทธิพลจากสมัยลพบุรีมากขึ้น พระพุทธรูปมีพุทธลักษณะ พระพักตร์เป็นรูปเหลี่ยม มีไรพระศก พระขนงเป็นเส้นตรง พระโอษฐกว้าง พระพักตร์เคร่งเครียดขึงขัง พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง จีวรบางแนบเนื้อ พระวรกายสูงชะลูด สังฆาติแข็งกระด้าง พระนาสิก พระหัตถ์พระพาหาคล้ายคนจริง แต่ไม่มีความอ่อนช้อยงดงามเหมือนสุโขทัย นิยมเรียกว่า "พระอู่ทองหน้าแก่"

    พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่สาม อยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นที่นิยมแพร่หลายหลายในพระนครศรีอยุธยามาก ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่สอง ได้โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุไว้ในกุฏิพระปรางค์วัดราชบูรณะเกือบ ๔๐๐ องค์ พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นนี้มีพุทธลักษณะเหมือนอู่ทองรุ่นที่สอง ต่างกันตรงที่พระพักตร์ เท่านั้น คือ พระพักตร์กลมยาวแบบรูปไข่ของสุโขทัย พระขนงเป็นเส้นโค้ง ​


    </TD><TD width="25%" height=205>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง แต่ก็ยังได้รับอิทธิพลจากลพบุรีอยู่บ้างคือ กรอบไร พระศก และสัดส่วนของพระพุทธรูป นิยมเรียกว่า "พระอู่ทองหน้าหนุ่ม" พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นนี้ยังแบ่งออกได้อีก ๒ แบบ
    อู่ทองสุโขทัย มีความงดงาม อ่อนช้อย นุ่มนวล แบบพระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัย
    อู่ทองอยุธยา พุทธลักษณะขึงขัง กระด้าง คล้ายมนุษย์ตามแบบอู่ทองเดิม แต่​

    พระพักตร์และพระรัศมี จะนำเอาแบบสุโขทัยมาใช้



    แหล่งที่มา : พระพุทธรูป, วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.susarn.com/susarnth/th_buddha/ayutthaya.html


    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff><TBODY><TR bgColor=#996633><TD>อยุธยา
    </TD></TR><TR><TD><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระพุทธรูปสมัยอยุธยากำเนิดในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔ นับเป็นราชธานีที่มีอายุยืนที่สุด มีความเลื่องลือ ในด้านการแกะสลักไม้ การประดับมุก การเขียนลายรดน้ำ และจิตกรรมฝาผนัง แต่สำหรับการหล่อพระพุทธรูปนั้น ฝีมือยังสู้สมัยสุโขทัย เชียงแสน อู่ทองไม่ได้ ถึงแม้จะพัฒนาศิลปะมาจากสมัยอู่ทอง สุโขทัยก็ตาม พระพุทธรูปสมัยอยุธยาสามารถแบ่งได้ ๓ ยุค ดังต่อไปนี้


    ยุคต้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่หนึ่ง(พระเจ้าอู่ทอง) ถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นับเป็น พระพุทธรูปแบบอู่ทองอย่างแท้จริง เชื่อว่าได้แบบอย่างมาจากพระพุทธรูปอู่ทองบริสุทธิ์ เช่น พระเจ้าพนัญเชิง ในวิหาญวัดพนัญเชิง ต่อมานิยมสร้างแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ ขึ้น เช่นพระพุทธรูปขนาดย่อมจำนวน ๓๕๖ องค์ เพื่อ บรรจุลงในพระปรางค์ใหญ่ของวัดราชบูรณะ ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒

    ยุคที่กลาง เป็นศิลปะอยุธยาโดยแท้กำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราวพุทธศักราช ๑๙๙๑-๒๐๓๑ พระพุทธรูปมีลักษณะพระพักตร์และพระรัศมีตามแบบสุโขทัย ไรพระศกเล็กตามแบบอู่ทอง สังฆาฏิขนาดใหญ่กว่าสุโขทัยแต่ปลายสังฆาฏิเป็นเส้นตรงหรือทำเป็นสองแฉกลงมาตามแบบอู่ทอง พระพุทธรูป ยุคนี้จะรับอิทธิพลมาจากสมัยสุโขทัยเป็นส่วนใหญ่ พระพุทธรูปที่สำคัญในสมัยนี้เช่น พระศรีสรรเพชญซึ่งเข้าใจ ว่าสร้างตามแบบพระอัฏฐรสในกรุงสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ และมีค่ามากที่สุดในกรุงศรีอยุธยา หุ้มด้วยทองคำหนัก ๒๘๖ ชั่ง (๒๒,๘๘๐ บาท) แต่ถูกข้าศึกลอกเอาทองที่หุ้มองค์พระไปเมื่อตอนที่กรุงแตก
    ครั้งที่ ๒

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ยุคสุดท้าย เริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พุทธศักราช ๒๑๙๘ นิยมสร้างแบบทรงเครื่องใหญ่ และทรงเครื่องน้อย ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ปางห้ามญาติ หรือปางห้ามสมุทร
    พระพุทธรูปแบบทรงเครื่องน้อย สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างมาจากพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัยในสมัยลพบุรี ที่แผ่อิทธิพลมาถึงสุโขทัยอีกต่อหนึ่ง เครื่องประดับองค์พระพุทธรูปนั้นเป็นศิลปะของอยุธยาเอง ซึ่งที่ต่างจาก สมัยสุโขทัยก็คือ มงกุฎของพระพุทธรูปสมัยอยุธยามักทำเป็นครีบยื่นออกมาทั้งสองข้างเหนือพระกรรณ และทรง พระกุณฑล บางองค์มีสังวาลและพาหุรัดทองกรประดับด้วย
    พระพุทธรูปแบบทรงเครื่องใหญ่ จะทรงเครื่องอย่างเต็มยศ มีทั้งมงกุฎแบบชฎาใหญ่ สังวาลทับทรวง ชายไหว ชายแครง กำไลพระบาท และพระบาทจะสวมฉลองพระบาทเชิงงอน เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยา คือ พระประธานในอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพระนามว่า พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรี สรรเพชญบรมไตรโลกนาถ
    มีผู้สังเกตุว่าพระพุทธรูปอยุธยาหย่อนความงามนั้นเป็นไปด้วยสาเหตุ ต่อไปนี้
    ๑. เนื่องจากมีหลากหลายศิลปะที่นำมาผสมกันไม่ว่าจะเป็น อู่ทอง ลพบุรี สุโขทัย ทำให้บางพระพุทธรูปบางองค์ ขาดความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น ความอ่อนช้อย บึกบึน ผสมการอย่างไม่สละสลวย
    ๒. เนื่องจากอยุธยาเป็นยุคที่มีความยาวนานถึง ๔๑๗ ปี ทำให้เกิดการสร้างพระพุทธรูป ขึ้นมามากมาย ทั้งงามและหย่อนความงาม อีกทั้งฝีมือการทำพระพุทธรูปที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ไม่ได้ทำการดัดแปลงรูปแบบ การสร้าง
    ๓. การมองความงามทางศิลปะของแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป

    แหล่งที่มา : พระพุทธรูป, วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.susarn.com/susarnth/th_buddha/rudtanakosin.html

    <TABLE width=518 align=center><TBODY><TR bgColor=#0099cc><TD>รัตนโกสินทร์

    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD width="27%">[​IMG]</TD><TD width="73%">
    กรุงรัตนโกสินทร์ได้สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ จนถึงปัจจุบัน มีพระมหากษัตริย์ปกครอง ๙ พระองค์ ในสมัยรัชกาลต้นๆ รัชกาลที่ ๑ และ รัชกาลที่ ๒ พระองค์ท่านได้ทรงรวบรวมพระพุทธรูปสมัยต่างๆเข้ามาไว้ใน พระนคร เนื่องจากพระพุทธรูปมีขนาดต่างกัน ช่างจึงได้เอาปูนมาหุ้มแล้วลงรัก ปิดทอง เมื่อไม่นานมานี้ปูนได้เกิดกะเทาะออกทำให้เห็นว่าพระพุทธรูปจริงนั้น ทำด้วยทองสำริด ได้ทำการลงรักปิดทองใหม่ ยังได้อัญเชิญพระประธานขนาด ใหญ่ของสมัยสุโขทัยอยุธยาหลายองค์ เช่น พระศรีศากยมุนี รวมทั้งพระพุทธรูป ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างพระพุทธรูปอย่างพระแก้วมรกต​


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD width="79%">
    ในสมัยรัชกาลที่ ๓เป็นยุคที่พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง ได้ทรงสร้าง พระพุทธรูปจำนวนมากเช่น พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระเสรฐตมมุนี พระพุทธไตร รัตนายก(หลวงพ่อโต) พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุด ในกรุงเทพฯ เป็นพระนอนที่มีความงดงามโดยเฉพาะที่ฝ่าพระบาท ทำเป็นลายประดับ มุกภาพมงคลร้อยแปด และพระองค์ยังทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปางห้ามสมุทรถือเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยา ตอนปลาย เป็นพุทธลักษณะทรงเครื่องใหญ่เต็มยศ ประดับกระจกหรือเนาวรัตน์ทั้งองค์ ส่วนมากนิยมทำปางห้ามสมุทร พระพักตร์ดูเรียบเฉยเหมือนหน้าหุ่นตัวพระของโขน ยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประทับอยู่บนฐานที่ลดหลั่นกันหลายชั้น ลวดลายละเอียด งดงาม มีผ้าทิพย์ประกอบดูรับกับองค์พระทรงเครื่องทั้งยังมีฉัตรประกอบทุกองค์ แม้แต่พระสาวกส่วนบัวที่อยู่ชั้นในสุดมีการทำลวดลายอย่างละเอียด เชื่อว่าได้แรง บันดาลจากพระแก้วมรกตในเครื่องทรงชุดประจำฤดูร้อน ยังมีปรากฏพระพุทธรูป แบบจีวรดอก คือ ลวดลายดอกดวงที่จีวร เชื่อว่าได้รับอิธิพลมาจากพระแก้วมรกต ในเครื่องทรงชุดประจำฤดูฝน ​


    </TD><TD width="21%">[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=366><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD width="25%">[​IMG]


    </TD><TD width="75%">
    ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริให้สร้างพระพุทธรูปลักษณะคล้ายคน สามัญชน เช่น ไม่มีพระเกตุมาลา จีวรเป็นริ้วแบบของจริง ซึ่งสร้างใช้ในทาง ราชการหรือเป็นของหลวงเท่านั้น ส่วนประชาชนยังคงนิยมสร้างพระพุทธรูป แบบหุ่นอยู่ พระพุทธรูปที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ ๔ คือพระนิรันตราย​


    ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระพุทธรูปยังคงเจริญรอยตามสมัยรัชกาลที่ ๔ อยู่ แต่กลับให้มีพระเกตุมาลาตามเดิม พระราชกกรณียกิจของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางด้านศาสนา คือ ทรงให้จำลองพระพุทธชินราช ที่ประดิษฐานเมืองพิษณุโลก ทรงเรียกว่า พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐาน อยู่ที่วัดเบญจมบพิตรฯ และทรงรวบรวมพระพุทธรูปสมัยโบราณตามหัวเมือง ต่างๆมาไว้ ณ ที่เดียวกัน​

    ในสมัยนี้ การสร้างพระพุทธรูปทรงโปรดให้สร้างเหมือนมนุษย์ มีการ พัฒนาแบบตะวันตกมากขึ้น แต่ยังคงลักษณะที่สำคัญไว้ เช่น พระเกตุมาลา พระรัศมีเปลว พระเกศาขมวดเป็นปม ใบพระกรรณยาว เป็นต้น​

    จนรัชกาลปัจจุบัน ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หั รัชกาลปัจจุบัน ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเฉลิมฉลองด้วยเห็น ความสำคัญ ทรงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปในรัชกาลของพระองค์ ซึ่งเป็น พระพุทธรูปปางลีลาแบบสุโขทัย แต่มีการดัดแปลงให้มีสัดส่วนคล้ายมนุษย์ ธรรมดา ​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    แหล่งที่มา : พระพุทธรูป, วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.susarn.com/susarnth/th_dharma/th_tummasanjai.html


    <TABLE borderColor=#ccccff cellSpacing=0 cellPadding=0 width=511 align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#ccccff><TD width=511 height=41>
    ธรรมะสอนใจ


    พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต


    </TD></TR><TR><TD width=511 height=129>

    คนเราเมื่อมีลาภก็มีเสื่อมลาภ เมื่อมียศก็มีเสื่อมยศ เมื่อมีสุขก็มีทุกข์ เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา เป็นของคู่กันมาเช่นนี้ จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์ ถึงจะดีแสนดีมันก็ติ ถึงจะชั่วแสนชั่วมันก็ชม นับประสาอะไร พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดายังมีมารผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน ปุถุชนอย่างเราจะรอดพ้นจากโลกะธรรมดังกล่าวแล้วไม่ได้ ต้องคิดเสียว่าเขาจะติก็ช่าง ชมก็ช่าง เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ ก่อนที่เราจะทำอะไรเราคิดแล้วว่า ไม่เดือดร้อนแก่ตัวเราและคนอื่นเราจึงทำ เขาจะนินทาว่าใส่ร้ายอย่างไร ก็ช่างเขา บุญเราทำ กรรมเราไม่สร้าง พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ จะต้องไปกังวน กลัวใครติเตียนทำไม ไม่เห็นมีประโยชน์ เปลืองความคิดเปล่า ๆ


    http://www.susarn.com/susarnth/th_dharma/th_pudtanajidjai.html <TABLE height=330 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=499 align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#aab5df><TD width=499 height=41>
    การพัฒนาจิตใจ
    </TD></TR><TR bgColor=#dfe8f9><TD width=499 height=137>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR bgColor=#cfd8ef><TD width=499 height=21>
    พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
    </TD></TR><TR><TD width=499 height=94>
    การพัฒนาจิตใจ เพื่อกำจัดสิ่งรังควาน หรือทำลายจิตใจและอารมณ์ ให้จิตใจได้รับความสงบเยือกเย็น และสิ่งที่จะนำมาแก้ไข หรือซักฟอกได้นอกจากธรรมแล้วไม่มี บางทีได้ยินจากครูอาจารย์แล้ว ส่วนมากก็จะไม่เข้าถึงจิตใจ หรือ เข้าถึงได้ไม่พอที่จะให้เกิดประโยชน์ คือ ฟังแล้วมันหลุดมันตกไปเรื่อยเพราะความไม่ค่อยสนใจ เพราะฉะนั้น เราควรพยายามเก็บเข้ามาอยู่ในจิตใจ แล้วเมื่อได้ยินได้ฟังจากอาจารย์ หรืออ่านตามหนังสือธรรมะ ก็ให้นำไปพินิจพิจารณาดัดแปลงแก้ไขจิตใจของตนให้คิดไปในทางที่ไม่เป็นข้าศึกต่อตน

    การแสดงออกแต่ละอย่างล้วนออกไปจากใจ ถ้าใจไม่ได้รับการอบรมแล้ว การแสดงออกทางด้านการประพฤติจะไม่น่าดูเลย ซึ่งจะกระทบกระเทือนกับทั้งตนเองและผู้อื่น การแสดงออกไปเพื่อตนเองในทางผิดธรรมย่อมทำความชั่วที่ว่า เมื่อตัวเองมันมาทำลายตนเองเข้าไปอีก โลกกับธรรม เรากับธรรม จึงขัดแย้งกัน

    ถ้าเห็นแก่ธรรม การเห็นแก่ตัวก็ค่อยเบาบางและกระจายตัวออกไป ความเห็นแก่ธรรมคือความถูกต้องดีงามจะเข้าแทนที่อะไร สมควรหรือไม่ จิตจะคิดอ่านไตร่ตรอง และพิจารณาดู ว่า เมื่อเห็นไม่สมควรแล้ว แม้อยากคิด อยากพูด อยากทำ ก็ระงับได้ ไม่เหนือสติธรรม ปัญญาธรรมไปได้ เพราะจิตเป็นผู้บงการที่มีธรรมประจำตัว ทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพราะแสดงออกไป ตั้งแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม จากจิตใจที่บงการด้วยธรรม ที่เรียกว่า การพัฒนาจิตใจ

    ที่มา: โลกทิพย์ ฉบับที่ ๑๔๗ ปีที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๒
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.susarn.com/susarnth/th_dharma/th_sodabun.html

    หัดเป็นพระโสดาบัน
    การที่เราจะทำอะไรจะพูดอะไรจะคิดอะไร พยายามหัดเป็นพระโสดาบัน
    โส-ตะ-ปัน-นะ แปลว่า ผู้ถึงซึ่งการฟัง ใครจะพูดดีหรือพูดไม่ดี ก็ฟังได้ แต่จะเอามาคิดหรือไม่เอามาคิด เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาโดยเหตุผล "โสตะ" แปลว่า"ผู้ฟัง" "ปันนะ"แปลว่า "ถึงแล้วซึ่งการฟัง" รวมความว่า ผู้รับฟังซึ่งไปตรงกับมารยาทของสังคมว่าเคารพมติของผู้พูด การเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องหัดนั่งฟังเฉย เช่น ท่านอาจารย์วันเพื่อนหลวงพ่อพุธฐานิโย ลูกศิษย์ท่านวิพากษ์วิจารย์กรรมฐานคณะนั้นกรรมฐานคณะนี้ ท่านนั่งฟังเฉยพอท่านจะพูดท่านก็ว่า "ทัศนะของเขาเป็นอย่างนั้นความเห็นของเขาเป็นอย่างนั้นอย่าไปขัดคอเขา" นี่เป็นการแสดงว่า ท่านผู้นี้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรม แต่ถ้าใครพูดมาไม่ถูกหูเรา เราเถียงคอเป็นเอ็น นั่นแสดงว่า เรายังเป็นผู้ฟังที่ใช้ไม่ได้

    แหล่งที่มา : ฐานิโยนุสรณ์ ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระราชสังวรญาณ
    (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)


    http://www.susarn.com/susarnth/th_dharma/th_awicha.html

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#a8c5f4><TD width=550 height=41>
    จุดแก้อวิชชา
    </TD></TR><TR><TD class=frontdetail width=550 height=660> สิ่งมีชีวิตทุกชนิด เริ่มต้นมาจากอวิชชาและภวตัณหา
    อวิชชา เป็นกิเลสตัวสำคัญที่สุด เป็นยอดกิเลส ดั่งพระพุทธภาษิตว่า"อวิชฺชา ปรมํ มลํ อวิชชาป็นมลทินอย่างยิ่ง"
    ส่วน ภวตัณหา หมายถึง เจตจำนงเพื่อเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งได้แก่ กรรม อันเป็นโครงสร้างภายในดวงจิต
    กิเลสและกรรมเป็นปัจจัยให้วิญญาณธาตุเกิดเป็นสัตว์ ในจุดเริ่มแรกเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=frontdetail width=171 height=23>1. กิเลส</TD><TD class=frontdetail width=229 height=68 rowSpan=3>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=frontdetail width=171 height=23>2.อภิสังขาร(กรรม)</TD></TR><TR><TD class=frontdetail width=171 height=22>3.วิบาก(ขันธ์)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ปัจจัยทั้งสามนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติศัพท์ เรียกว่า "สังสารจักร" และ "วัฏจักร" สิ่งทั้งสามพาสัตว์ท่องเที่ยวเกิดตายในสังสารวัฏ(โลก)ตลอดกาลยาวนาน จนนับชาติไม่ถ้วน ต้องนับกาลเวลาเป็นอสงไขยกัป อสงไขยปี
    อวิชชาและภวตัณหา เป็นเครื่องผูกสัตว์โลกไว้ในโลก เครื่องผูกนี้แน่นเหนียวมั่นคง ยากที่จะแก้ให้หลุดได้ ต้องศึกษาให้รู้จักจุดที่มันผูก จึงจะรู้จักทางแก้ พระผู้มีพระภาคทรงบอกจุดที่อวิชชาสถิตไว้แล้ว เรียกว่า "อวิชชาอัฏฐวัตถุกา" แปลว่า "อวิชชาสถิตในวัตถุแปด" ดังต่อไปนี้

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=frontdetail height=29>1. ปุพฺพนฺเต อญาณํ ความไม่รู้จุดเริ่มต้นแห่งการเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต</TD></TR><TR><TD class=frontdetail height=25>2. อปรนฺเต อญาณํ ความไม่รู้จุดสุดท้ายแห่งสิ่งมีชีวิต</TD></TR><TR><TD class=frontdetail height=29>3. ปุพฺพนฺเตปรนฺเต อญาณํ ความไม่รู้จุดตอนกลาง จากจุดเริ่มต้นไปยังสุดท้ายของสิ่งมีชีวิต</TD></TR><TR><TD class=frontdetail height=29>4.ปฏิจฺจสมุปฺปาเท อญาณํ ความไม่รู้จักเหตุปัจจัยแห่งสุขและทุกข์ที่เกี่ยวโยงกันเหมือนสายโซ่</TD></TR><TR><TD class=frontdetail height=33>5.ทุกฺเข อญาณํ ความไม่รู้จักทุกข์ที่แท้จริง</TD></TR><TR><TD class=frontdetail height=49>6. ทุกฺขสมุทเย อญาณํ ความไม่รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ที่แท้จริง เหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง ได้แก่ ตัณหาทั้งสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา</TD></TR><TR><TD class=frontdetail height=29>7. ทุกฺขนิโรเธ อญาณํ ความไม่รู้จักพระนิพพาน อันเป็นภูมิจิตดับทุกข์ที่แท้จริง </TD></TR><TR><TD class=frontdetail height=45>8. ทุกฺขนิโรธคามินีภปฏิปทาย อญาณํ ความไม่รู้จักปฏิปทาที่พาบรรลุพระนิพพาน ปฏิปทานี้ ได้แก่ พระอริยมรรคแปด</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อวิชชาเกิดจากความไม่สงบของจิต วิธีแก้ต้องแก้ที่จุดแรกคือ ทำความสงบของจิต ได้แก่ การเจริญสมาธิจนบรรลุฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง ฌานขั้นที่สี่ ชื่อ จตุตถฌาน ดีที่สุด เพราะอวิชชาดับในฌานนี้เป็นการชั่วคราว จากนั้นจึงอาศัยฌานเจริญวิปัสสนา เพื่อแก้อวิชชาในวัตถุแปดให้หมดไป ถ้าแก้อวิชชาไม่หมดก็จะวนกลับมาสู่สังสารวัฏต่อไปใหม่ วนไปเวียนมาในสังสารวัฏจนเป็นวัฏจักร

    ที่มา: ธรรมะ ของอดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส),โลกทิพย์ ฉบับที่ 147 ปีที่ 8 กุมภาพันธ์ 2532

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://palungjit.org/showthread.php?p=952534&posted=1#post952534

    <TABLE class=tborder id=post952534 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead id=currentPost style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">1-2-2551, 09:54 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#14368 </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]






    ขอเชิญร่วมมหากุศลเป็นเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคี
     
  15. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ท่านปา-ทานนี่น้าภาษาวัยรุ่นเรียกว่าน่าตีจริงๆครับ แต่ละโพสที่นำมาลงนี่มีนัย ทั้งนั้น สงสารคุณตั้งใจบ้างสิครับ เค้าจาทราบได้งั้ยนี่ ครับ ลงรูปจริงปางต่างๆดีกว่าครับ งามกว่าเยอะเลย คิก คิกคิก....(cry)
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    อย่าตีหนูเลย หนูกลัวแล้วครับ

    .
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    งานนี้เห็นแล้ว(cry)
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ลองดูที่พระพุทธรูปปางนี้กัน

    ศีรษะ(ผมกราบขอขมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดมด้วยครับ เนื่องจากผมไม่ทราบคำราชาศัพท์ครับ) ของพระพุทธองค์ เหตุใดจึงมีก้อนกลมๆอยู่บนศีรษะพระองค์ท่าน

    ใครตอบได้บ้างเอ่ย

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    [​IMG]

    ที่คุณหนุ่มพูดนั้นหมายถึง"พระเมาฬี"หรือไม่ครับ นำบางส่วนที่ผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์ได้เรียบเรียงไว้มาให้ได้อ่านกัน

    พระพุทธรูปในประเทศไทย
    เรียบเรียงโดยผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

    กำเนิดพระพุทธรูป[๑]
    ผู้เขียนมีโอกาสไปศึกษางานปั้นพระของคุณลุงมวลศักดิ์ เฟื่องเพียร ท่านให้หนังสือเรื่องภาพพระพุทธรูปมา เลยสนใจศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ต่องานด้านวัฒนธรรมต่อจึงได้เรียบเรียงเรื่องพระพุทธรูปในประเทศไทยไว้
    เชื่อว่าไม่มีบุคคลใดในโลกนี้ เมื่อสิ้นชีวิตลงไปแล้ว จะมีอนุสาวรีย์แทนตัวมากมายก่ายกอง เท่ากับสมเด็จพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเราเพียงแต่เฉพาะพระพุทธรูป ไม่นับพระสถูปเจดีย์ และพระเครื่อง แบบต่าง ๆ ด้วย ก็มีปริมาณเป็นจำนวนล้านเสียแล้ว ทั้ง ๆ ที่พระองค์ท่านเดิมทีเดียวก็เป็นมนุษย์ธรรมดาอย่างพวกเรานี้เอง คือเจ้าชายสิทธารถ (สิทธัตถะ) แห่งศากยวงศ์ กรุงกบิลพัสดุ์ ต่อมาเมื่อได้ทรงขวนขวาย ค้นคว้า หาทางบรรลุ ถึงซึ่งความพ้นทุกข์อย่างสุดยอด ได้ทรงพบโลกุตรธรรม อันนำชนทั้งหลายล่วงพ้นโลกียวิสัยได้ กลายเป็นพระบรมศาสดา ก็ทรงได้รับความเคารพสักการะจากมหาชนอย่างกว้างขวาง ครั้นเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ก็มีผู้สร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้นไว้ สำหรับเป็นที่สักการะบูชาอย่างมากมาย ในรูปแบบต่างๆ กัน อาทิ พระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ พระเครื่อง ฯลฯ ดังได้กล่าวมาแล้ว
    ในที่นี้จะขอกล่าวแต่เฉพาะเรื่องของพระพุทธรูป หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่าพระบูชาเท่านั้น เป็นความจริงที่น่าแปลกอย่างหนึ่งที่ว่าพระพุทธองค์เป็นชาวอินเดีย แต่พระพุทธรูปแทนพระองค์นั้น ชาวอินเดียมิได้เป็นผู้คิดขึ้นก่อน กลับกลายเป็นชาวกรีกไป
    ก่อนที่จะมีพระพุทธรูปขึ้นนั้น บรรดาพุทธศาสนิกชนในอินเดีย เมื่อได้สร้างปูชนียสถานขึ้นไว้เป็นที่สักการะแล้ว หากจะมีการจำหลักภาพเรื่องราวในพุทธประวัติ ก็จะจำหลักแต่ภาพประกอบเรื่องเท่านั้น มิได้จำหลักพระบรมรูปของพระพุทธองค์ให้ปรากฏ ตรงที่ใดควรจะมีพระพุทธรูป ก็ให้ทำเป็นเครื่องหมายสัญญาลักษณ์แทนไว้ อาทิ ตอนประสูติ จำหลักเป็นรูปกลีบกอบัว หรือรูปพระนางศิริมหามายาประทับยืนหรือนั่งบนดอกบัว บางแห่งก็ทำเป็นรูปช้างสองตัวยืนอยู่สองข้างชูงวง จับหน้าน้ำมนต์เทลง มาเหนือพระเศียร ของพระโพธิสัตว์ ซึ่งไม่ปรากฏพระองค์อยู่ในภาพ ถ้าเป็นภาพตอนตรัสรู้ ก็ทำเป็นรูปบังลังก์ ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเครื่องหมายแทนพระพุทธองค์ ตอนประทานปฐมเทศนา ทำเป็นภาพพระธรรมจักรตอนเสด็จปรินิพาน ทำเป็นภาพกองมูลดิน หรือพระสถูปที่บรรจุพระบรมธาตุ หลักฐานดังกล่าวนี้ จะปรากฏอยู่ที่พระสถูปที่สาญจี และภารหุต ฯลฯ
    รวมความว่าชาวอินเดียในชั้นแรกนั้น ไม่นิยมสร้างพระบรมรูปของพระพุทธองค์ให้ปรากฏ จนกระทั่งต่อมาเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตรย์กรีก ได้กรีธาทัพเข้ามารุกรานจนถึงอินเดียเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๓ ผ่านไปแล้ว การสร้างพุทธรูปเป็นรูปร่างอย่างมนุษย์จึงได้บังเกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อราว ๓๐๐
     

แชร์หน้านี้

Loading...