พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ภาพปริศนา ? "พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก" ความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อน
    [​IMG]

    ใครก็ตามที่ผ่านสายตาไปยังหนังสือซึ่งรวบรวมเรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มาบ้างแล้ว อย่างน้อยต้องพบภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก

    ภาพที่เข้าใจกันว่าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    อันเป็นภาพที่ปรากฏบนหน้าหนังสือเกี่ยวกับอัตโนประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่บ่อยๆ จนมีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนตลอดมา แท้จริงภาพนี้มีการเข้าใจผิดมาอย่างเนิ่นนาน

    ในนิตยสาร "ชุมนุมจุฬาฯ" ปีที่ 14 เล่มที่ 3 ฉบับ 23 ตุลาคม พ.ศ.2503 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพนี้ทั้งบรรยายว่า

    "พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิยมหาราช เมื่อทรงพระเยาว์กำลังทรงพระอักษรกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

    ภาพโดยความเอื้อเฟื้อของ พล.ร.ต.หลวงสุวิชาแพทย์"

    หากสังเกตจะพบว่าสมณศักดิ์ของท่านนั้นผิด สมณศักดิ์ของท่านซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" ในปี พ.ศ.2395 ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 64 ปีแล้ว

    ในปี พ.ศ.2397 ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระเทพกวี" จนกระทั่งปี พ.ศ.2407 ทรงสถาปนาเป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์"

    ขณะเดียวกัน ในคำแถลงจากสาราณียกรของหนังสือ "ชุมนุมจุฬาฯ" ดังกล่าว ก็ว่า "พระบรมฉายาลักษณ์ขององค์สมเด็จพระปิยมหาราชในสมัยยังทรงพระเยาว์อันเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยาก อัญเชิญมาประดับเป็นศรีแก่เล่ม เนื่องในวาระสำคัญนี้ด้วย" ยิ่งเสริมความเชื่อเป็นอันมากว่า คือ พระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ครั้งทรงพระเยาว์

    แท้จริงภาพนี้มีที่มาในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2524 หน้า 33 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพใบนี้ พร้อมคำอธิบายจาก "นิวัติ กองเพียร" ว่า รูปนี้ไม่ใช่รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ เหตุผลประกอบดังนี้

    1. รูปนี้ได้มาจากหนังสือฝรั่งชื่อ "SIAM"

    2. พัดรองที่วางพิงผนังอยู่นั้น เป็นพัดที่นิยมทำก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาไม่มีความนิยมในการทำพัดรองอีกเลย

    3. ถ้ารูปนั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์จริง ท่านต้องห่มดองและรัดประคดอก มิใช่อย่างที่เห็นในรูป แม้แต่พระรุ่นเก่าที่วัดระฆังโฆสิตาราม ที่เคยเห็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็ยืนยันว่ามิใช่สมเด็จแน่

    4. เจ้านายหลายพระองค์ ที่เป็นพระธิดาหรือพระโอรสก็ยืนยันว่า มิใช่พระราชบิดาแน่นอน

    หนังสือฝรั่ง "SIAM" ที่ว่า ก็คือ หนังสือชื่อยาวเฟื้อยว่า "TWENTIETH CENTURY IMPRESSION OF SIAM : ITS HISTORY, PEOPLE COMMERCE, INDUSTRIES, AND RESOURCES WITH WHICH IS INCORPORATED AN ABRIDGED EDITION OF TWENTIETH CENTURY IMPRESSIONS OF BRITISH MALAYA"

    แปลชื่อเป็นไทยว่า "เรื่องน่ารู้ของสยามในศตวรรษที่ 20 ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พลเมือง พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และทรัพยากร รวมเรื่องน่ารู้ของบริติชมลายาในศตวรรษที่ 20 โดยสังเขป" อันเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2452 อันเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ทั้งยังให้คำอธิบายรูปนี้ไว้ว่า "Buddhist Priest and Disciple"



    นอกจากนี้ ในการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระกรุณาประทานภาพส่วนพระองค์ อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศสยามให้กับผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ด้วย

    อย่างไรก็ตามแต่ ในหนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ.2507 ในเรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" อันเขียนโดย อธึก สวัสดิมงคล ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเป็นภาพที่เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน ดังในหน้า 11 ที่ให้ข้อมูลความเป็นมาของภาพใบนี้จากลายพระหัตถ์หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ว่า

    "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นไม่ช้าจะเป็นอะไรๆ สักร้อยอย่างเป็นเรื่องหากินทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ใครอยากรู้อะไร ก็นั่งวิปัสสนาเอาได้ ไม่ช้าคงต้องร้อนถึงทางการเข้าเล่นด้วยเป็นแน่ มีผู้เอาภาพพระแก่กับเด็กลูกศิษย์สอนหนังสือกัน ฉันจำได้ว่า "โรเบิร์ต เลนส์" ขอประทานให้เสด็จพ่อทรงช่วยทำโปสการ์ดเผยแพร่เมืองไทย และท่านได้ถ่ายรูปฉันแต่งลาวน่าน หญิงเหลือส่องกระจก พร้อมกับทำรูปนี้ด้วย แต่บัดนี้กลายเป็นรูปสมเด็จโตสอนหนังสือพระพุทธเจ้าหลวง แย่จริงๆ น่ากลัวพงศาวดารจะเลอะเทอะกันใหญ่เสียแล้ว"

    สำหรับ โรเบิร์ต เลนส์ เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน เจ้าของห้องถ่ายรูปโรเบิร์ต เลสน์ ดำเนินธุรกิจถ่ายรูป เมื่อ พ.ศ.2437 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นช่างภาพราชสำนักรัชกาลที่ 5

    นอกจากนี้ ยังมีผู้กล่าวว่า พระภิกษุในภาพคือ พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งภาพดังกล่าวอาจจะไม่ได้ถ่ายที่ชัยนาท ถ้าหากเป็นหลวงปู่ศุขจริง อาจจะถ่าย ณ ตำหนักเหลืองในวังพลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เป็นไปได้

    ทั้งนี้ เพราะหลวงปู่ศุข จะมาพำนักที่ตำหนักเหลืองเป็นประจำทุกปี เพื่อมาร่วมงานในพิธีไหว้ครูประจำปีของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข

    อย่างไรก็ตาม ไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นภาพของหลวงปู่ศุข ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล เมื่อครั้งทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ก็มิได้เอ่ยถึงว่าเป็นพระภิกษุรูปใด

    .......บทความคัดลอกจาก มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1302
    <!-- / message --><!-- attachments --><!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-toh-misc-01.htm

    ภาพปริศนา ? "พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก"
    ความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อน
    บทความคัดลอกจาก มติชนสุดสัปดาห์
    วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1302
    [​IMG]
    โพสท์ในเวบ Amulet2U.com โดย : รัตน์ เมื่อ 21 - ก.ย. - 48 เวลา 23:10:33
    [​IMG]ใครก็ตามที่ผ่านสายตาไปยังหนังสือซึ่งรวบรวมเรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มาบ้างแล้ว อย่างน้อยต้องพบภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก
    ภาพที่เข้าใจกันว่าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
    อันเป็นภาพที่ปรากฏบนหน้าหนังสือเกี่ยวกับอัตโนประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่บ่อยๆ จนมีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนตลอดมา แท้จริงภาพนี้มีการเข้าใจผิดมาอย่างเนิ่นนาน
    ในนิตยสาร "ชุมนุมจุฬาฯ" ปีที่ 14 เล่มที่ 3 ฉบับ 23 ตุลาคม พ.ศ.2503 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพนี้ทั้งบรรยายว่า

    <TABLE class=MsoNormalTable id=table1 style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 90%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=622>"พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิยมหาราช เมื่อทรงพระเยาว์กำลังทรงพระอักษรกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม
    ภาพโดยความเอื้อเฟื้อของ พล.ร.ต.หลวงสุวิชาแพทย์"

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หากสังเกตจะพบว่าสมณศักดิ์ของท่านนั้นผิด สมณศักดิ์ของท่านซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" ในปี พ.ศ.2395 ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 64 ปีแล้ว
    ในปี พ.ศ.2397 ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระเทพกวี" จนกระทั่งปี พ.ศ.2407 ทรงสถาปนาเป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์"
    ขณะเดียวกัน ในคำแถลงจากสาราณียกรของหนังสือ "ชุมนุมจุฬาฯ" ดังกล่าว ก็ว่า
    "พระบรมฉายาลักษณ์ขององค์สมเด็จพระปิยมหาราชในสมัยยังทรงพระเยาว์อันเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยาก อัญเชิญมาประดับเป็นศรีแก่เล่ม เนื่องในวาระสำคัญนี้ด้วย"
    ยิ่งเสริมความเชื่อเป็นอันมากว่า คือ พระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ครั้งทรงพระเยาว์
    แท้จริงภาพนี้มีที่มาในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2524 หน้า 33 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพใบนี้ พร้อมคำอธิบายจาก "นิวัติ กองเพียร" ว่า รูปนี้ไม่ใช่รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ เหตุผลประกอบดังนี้
    1. รูปนี้ได้มาจากหนังสือฝรั่งชื่อ "SIAM"
    2. พัดรองที่วางพิงผนังอยู่นั้น เป็นพัดที่นิยมทำก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาไม่มีความนิยมในการทำพัดรองอีกเลย
    3. ถ้ารูปนั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์จริง ท่านต้องห่มดองและรัดประคดอก มิใช่อย่างที่เห็นในรูป แม้แต่พระรุ่นเก่าที่วัดระฆังโฆสิตาราม ที่เคยเห็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็ยืนยันว่ามิใช่สมเด็จแน่
    4. เจ้านายหลายพระองค์ ที่เป็นพระธิดาหรือพระโอรสก็ยืนยันว่า มิใช่พระราชบิดาแน่นอน
    หนังสือฝรั่ง "SIAM" ที่ว่า ก็คือ หนังสือชื่อยาวเฟื้อยว่า "TWENTIETH CENTURY IMPRESSION OF SIAM : ITS HISTORY, PEOPLE COMMERCE, INDUSTRIES, AND RESOURCES WITH WHICH IS INCORPORATED AN ABRIDGED EDITION OF TWENTIETH CENTURY IMPRESSIONS OF BRITISH MALAYA"
    แปลชื่อเป็นไทยว่า "เรื่องน่ารู้ของสยามในศตวรรษที่ 20 ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พลเมือง พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และทรัพยากร รวมเรื่องน่ารู้ของบริติชมลายาในศตวรรษที่ 20 โดยสังเขป" อันเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2452 อันเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ทั้งยังให้คำอธิบายรูปนี้ไว้ว่า "Buddhist Priest and Disciple"
    นอกจากนี้ ในการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระกรุณาประทานภาพส่วนพระองค์ อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศสยามให้กับผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ด้วย
    อย่างไรก็ตามแต่ ในหนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ.2507 ในเรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" อันเขียนโดย อธึก สวัสดิมงคล ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเป็นภาพที่เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน ดังในหน้า 11 ที่ให้ข้อมูลความเป็นมาของภาพใบนี้จากลายพระหัตถ์หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ว่า
    "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นไม่ช้าจะเป็นอะไรๆ สักร้อยอย่าง เป็นเรื่องหากินทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ใครอยากรู้อะไร ก็นั่งวิปัสสนาเอาได้ ไม่ช้าคงต้องร้อนถึงทางการเข้าเล่นด้วยเป็นแน่ มีผู้เอาภาพพระแก่กับเด็กลูกศิษย์สอนหนังสือกัน ฉันจำได้ว่า "โรเบิร์ต เลนส์" ขอประทานให้เสด็จพ่อทรงช่วยทำโปสการ์ดเผยแพร่เมืองไทย และท่านได้ถ่ายรูปฉันแต่งลาวน่าน หญิงเหลือส่องกระจก พร้อมกับทำรูปนี้ด้วย แต่บัดนี้กลายเป็นรูปสมเด็จโตสอนหนังสือพระพุทธเจ้าหลวง แย่จริงๆ น่ากลัวพงศาวดารจะเลอะเทอะกันใหญ่เสียแล้ว"
    สำหรับ โรเบิร์ต เลนส์ เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน เจ้าของห้องถ่ายรูปโรเบิร์ต เลสน์ ดำเนินธุรกิจถ่ายรูป เมื่อ พ.ศ.2437 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นช่างภาพราชสำนักรัชกาลที่ 5
    นอกจากนี้ ยังมีผู้กล่าวว่า พระภิกษุในภาพคือ พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งภาพดังกล่าวอาจจะไม่ได้ถ่ายที่ชัยนาท ถ้าหากเป็นหลวงปู่ศุขจริง อาจจะถ่าย ณ ตำหนักเหลืองในวังพลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เป็นไปได้
    ทั้งนี้ เพราะหลวงปู่ศุข จะมาพำนักที่ตำหนักเหลืองเป็นประจำทุกปี เพื่อมาร่วมงานในพิธีไหว้ครูประจำปีของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข
    อย่างไรก็ตาม ไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นภาพของหลวงปู่ศุข ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล เมื่อครั้งทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ก็มิได้เอ่ยถึงว่าเป็นพระภิกษุรูปใด
    [​IMG]
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รับทราบครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  4. drmetta

    drmetta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +752
    ขอร่วมจองด้วยสัก ๑ องค์นะครับ
     
  5. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ท่าน ปา-ทาน ต้องยึดคติไว้ คนรักเท่าผืนหนังคนชังเท่าผืนเสื่อ ครับ
    เราทำอะไรกันไม่ได้มาก ทุกสิ่งกาลเวลาจะช่วยตอบเองครับ เพียงแต่ต้องอดทนกันสักหน่อย...(f)
    nongnooo...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2007
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder id=post735051 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 07:36 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #556 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>นักรบโบราณ<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_735051", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 07:37 AM
    วันที่สมัคร: Nov 2006
    อายุ: 45 ปี
    ข้อความ: 98 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 129 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 327 ครั้ง ใน 89 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 53 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_735051 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message --><TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">"สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล" ย่อมชัดเจนในตัวเองครับ สุดแต่ใครจะมองเห็น สุดแต่ใครจะพิจารณา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder id=post735060 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 07:46 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #557 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>sithiphong<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_735060", true); </SCRIPT>
    สมาชิก ยอดนิยม
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 07:56 AM
    วันที่สมัคร: Dec 2005
    ข้อความ: 15,562 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 18,739 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 87,256 ครั้ง ใน 11,850 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 10311 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_735060 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->คนเราทุกวันนี้ ดีแต่ส่องกระจกด้านหน้า แต่เพียงด้านเดียว
    ให้เอากระจกหกด้าน มาส่องเสียบ้าง แล้วจะเห็นเอง

    คำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

    โมทนาสาธุทิพย์
    โมทนาสาธุทิพย์
    โมทนาสาธุทิพย์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001595.htm

    ท่านทำใจอย่างไรจึงทำให้ฐิติของตนเอง ให้น้อยลงหรือหมดไป


    <TABLE width="100%" bgColor=#bbddff border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>เนื้อความ :
    ท่านทำใจอย่างไรจึงทำให้ฐิติของตนเอง ให้น้อยลงหรือหมดไป
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> จากคุณ : Vicha [ 6 ก.ย. 2543 / 22:08:46 น. ]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>ความคิดเห็นที่ 1 : (flower22)
    ให้อภัย ทำใจเป็นกุศล
    เสียสละ ให้ทานคนที่เราไม่ชอบหรือว่ามีฐิติต่อกับเรา
    หรือที่เรามีฐิติกับเขา เราก็ให้ในสิ่งที่เขาขาด
    หรือสิ่งที่เราช่วยได้และก็ให้ได้
    โดยไม่คิดถึงผลตอบแทนว่าจะได้อะไรจากเขา
    แล้วเขาก็จะเห็นเอง ว่าควรที่จะเฉยเมยกับเราต่อไหม
    และเราก็ควรทำตัวเป็นกลางให้เขาด้วย
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> จากคุณ : flower22 [ 6 ก.ย. 2543 / 23:05:49 น. ] [SIZE=-1]
    [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2> ความคิดเห็นที่ 2 : (stop)
    ถ้าเราคิดว่าเก่งแล้ว ดีแล้ว ก็จะเป็นผู้ถือตัวสูง เมื่อใดคิดว่าตัวเองเก่งเมื่อ นั้นเราจะไม่มีทางพัฒนาได้อีกต่อไปเลย​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> จากคุณ : stop [ 6 ก.ย. 2543 / 23:49:12 น. ] [SIZE=-1]
    [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>ความคิดเห็นที่ 3 : (tchurit)
    ไม่ใจแคบปฏิเสษความคิดของผู้อื่นไม่ว่าจะใครก็ตาม เด็กกว่า แก่กว่า รู้มากกว่า รู้น้อยกว่าเราก็ตาม
    จำไว้ว่าสิ่งที่เราคิดไม่ใช้คำตอบสุดท้ายที่สมบูรณ์แบบ ยังมีคำตอบที่ดีกว่านี้ที่เรายังหาไม่เจอรอเราอยู่ครับ
    :)
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> จากคุณ : tchurit [ 7 ก.ย. 2543 / 07:51:51 น. ] [SIZE=-1]
    [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2> ความคิดเห็นที่ 4 : (หนู40)
    เท่าที่ผมฝึกปฏิบัติธรรมมานี่ ยิ่งฝึกมากเท่าใด ยิ่งรู้เพิ่มขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้รู้ตัวว่า เรานี่ยังโง่อีกมาก แล้วที่ว่าเคยรู้อยู่นั้นหลายๆส่วนกลับเป็นอวิชชาไปเสียอีก

    คิดถึงความตายให้มาก คิดถึงชาตินี้ ชาติที่แล้ว ชาติหน้าให้มาก ไม่มีอะไรแน่นอนเลย ยิ่งยึดก็ยิ่งทุกข์ เจ้าตัวยึดนี่แหละทุกข์ แล้วจะยึดไปทำไม

    ถ้าเราคิดว่าเราแน่ รู้ว่าเราแน่ ก็ไม่เห็นต้องไปโอ้อวดกับใครเลย ถ่อมตัวเข้าไว้ เก็บความคมไว้ในฝัก เมื่อจะใช้งานทีไร ความคมก็ย่อมคมอยู่เสมอ

    ดูที่ทุกข์ซิครับ ทิฏฐินี่มันสุขหรือทุกข์กันแน่​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> จากคุณ : หนู40 [ 7 ก.ย. 2543 / 09:25:38 น. ] [SIZE=-1]
    [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>ความคิดเห็นที่ 5 : (kaan)
    เคยฟังครูบาอาจารย์ว่า ให้คิดเสมอว่าใหญ่แค่ไหนก็เล็กกว่าโลง ช่วยได้จะลองดูบ้างก็คงไม่เสียหาย​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> จากคุณ : kaan [ 7 ก.ย. 2543 / 12:43:14 น. ] [SIZE=-1]
    [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>ความคิดเห็นที่ 9 : (Vicha)
    ทุกท่าน เป็นผู้มีธรรม แสดงความเห็นมากเท่าไร ประโยชน์ ก็มีมากขึ้น
    เท่านั้น
    ความจริงแล้วคำว่าฐิติ นั้นกว้าง ถ้าในทางธรรม ความเห็นถูก หรือสัมมาฐิติ ก็จะทำให้มิจฉาฐิติหายไป

    แต่ในที่นี้ผมจะกล่าวถึง การถือฐิติในความคิดในความเห็น
    สำหรับผมผมจะทำอย่างนี้

    1. ระงับความโกรธและความไม่พอใจ ไม่ให้แสดงออกมาทางกาย ทางวาจา และความคิด ที่รุนแรง
    2. เตือนตนเองว่าความคิดหรือการกระทำของรา หาได้ถูกต้องที่สุดเสมอไป
    3. เฝ้าสังเกตุกิเลสตนเอง (ขอใช่คำว่ากู) เมื่อหลง กูไม่สนใจว่าถูกหรือผิด เมื่อโกรธ ปฏิเสธอย่างเดียวกูต้องถูก
    เมื่อรัก พวกกูถูกพวกมึงไม่ถูก เมื่อเห็นดังนี้แล้วพยายามขจัดออกไปจากใจ
    4. ไม่เอาความรู้สึกว่าตนต้องถูก อยู่ เหนือเหตุผล
    หมายเหตุ บางครั้งก็เผลอหลุดอยู่เหมือนกัน เป็นธรรมดาแต่พยายามให้เกิดน้อยที่สุด
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> จากคุณ : Vicha [ 7 ก.ย. 2543 / 20:54:52 น. ] [SIZE=-1]
    [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2> ความคิดเห็นที่ 12 : (จิตฐิ)
    ลด "มิจฉาทิฏฐิ" ความเห็นผิด ได้ด้วยการหมั่นอบรมสอนจิตของเรา ให้เห็นถูก ให้เป็น สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นหมวดของ ปัญญา__ต้องสร้างจึงเกิด ต้องสอนจิตให้เห็นถูก คือ ให้เห็นความจริงว่าทุกๆอย่างเป็นธรรมชาติ เรา เขา ก็เป็นธรรมชาติ เป็นเพียงธรรมธาตุที่อยู่ในกฏของ ความไม่เที่ยง, ทุกข์, อนัตตาทั้งสิ้น เป็นเพียงธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นเท่านั้นจริงๆ เท่านั้นจริงๆค่ะ ต้องขยันหมั่นเพียรสอนอบรมจิตเห็นความจริงของสัจจธรรม และจิตจะมีความละเอียดขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นจริงขึ้นเรื่อยๆค่ะ

    ( ขอให้ทำเถอะค่ะ แล้วคุณจะเห็นผล จิตฐิขอรับรอง และ ขอให้กำลังใจเพื่อนๆว่า ลองทำกันจริงๆจังๆ แล้วจิตคุณจะไม่ไปแบกของที่ทำให้คุณหนัก หรือ ทุกข์อีก เพราะมันเห็นความจริงแล้ว มันเห็น ทุกข์ โทษ ภัย ของการยึดนั้นๆแล้ว มันจะค่อยๆคลายความยึดไปเรื่อยๆค่ะ )

    อย่าไปหวังผลว่าต้องลดทิฏฐิได้ทันที หรือ เมื่อนั้นเมื่อนี้ เพราะเมื่อเหตุถูกก็ต้องรอวาระปัจจัยพร้อม หน้าที่ของเราคือหมั่นอบรมจิตไปเรื่อยๆ เมื่อคุณสอนจิตจนจิตเห็นจริง ยอมรับได้จริงๆในจุดที่ติดนั้นๆ ความ ลดลงของทิฏฐิ จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเอง เมื่อคุณกลับไปเจอสิ่งเดิมที่เคยทำให้คุณทุกข์ คุณจะรู้แจ้งได้ในจิตว่าความทุกข์ณ.จุดนั้นได้เบาบางกว่าเดิม หรือ ไม่เกิดขึ้น นี่คือผลที่คุณจะได้รับ

    เราควรจะฝึกจิตของเราให้เป็น ผ้าขี้ริ้วชั้นดี เช็ดถูได้ทุกที่ ทุกเวลา
    ไม่จำกัดเฉพาะกิจ,บุคคล แต่ที่ครูบาอาจารย์ท่านเห็นที่เราทำนั้น
    คือยอมเป็นกันเพียง"ผ้าขี้ริ้วอนามัย" คือยอมเป็นงานๆไป
    ยอมเป็นคนๆไป นั้น ยังใช้ไม่ได้ ต้องคอยหมั่นอบรม หมั่นฝึก
    ให้เราเป็นผ้าขี้ริ้วชั้นดีให้ได้ ต้องมีความนอบน้อมถ่อมตน ต้องฝึกให้..
    "ยอมแพ้เป็น" ยอมแพ้ต่อผู้อื่น แต่ ชนะกิเลส ชนะใจของตนเองนี้
    ยิ่งไม่วิเศษหรอกหรือค่ะ

    ที่เขียนทั้งหมดนี้คือสอนตัวเองค่ะ รู้จักความจริงอย่างหนึ่งคือ เราเท่านั้นที่จะสอนจิตเราได้ ไม่มีใครสอนอบรมจิตของผู้อื่นได้เลย จิตดิฉันนั้นมันโง่มานานเช่นกัน มันยอมให้กิเลสหลอกมาตลอดและก็หลงเชื่อมาตลอด แม้แต่ปัจจุบันซึ่งพอที่จะเข้าใจการทำงานของกิเลสมันบ้างแล้วก็ตาม ก็ยังไม่วายถูกมันน๊อคอยู่เสมอๆ แต่ก็นำข้อมูลเหล่านั้นมาฝึกจิตให้มีความเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ไม่ยอมแพ้ไอ้เจ้าตัวกิเลสมันง่ายๆเหมือนก่อนอีกแล้ว จะขอฟาดฟันกับกิเลสมันจนถึงที่สุด...
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> จากคุณ : จิตฐิ [ 8 ก.ย. 2543 / 20:58:34 น. ] [SIZE=-1]
    [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2> ความคิดเห็นที่ 14 : (Arrowheart (fthunderbow@yahoo))
    ทิฏฐิ--สำคัญมากครับตัวนี้
    วันหนึ่งผมได้ไปกราบครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นที่ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ผมจับสังเกตกิริยาอาการของพระลูกศิษย์ซึ่งเข้ามาปรนนิบัติหลวงปู่ ดูแล้วงามมากครับ ไม่ว่าการกราบ การเดิน การคลาน คุกเข่า ไปมาอย่างคล่องแคล่ว และแฝงไว้ด้วยความเคารพนอบน้อมต่อหลวงปู่ แสดงให้เห็นถึงว่าได้รับการฝึกฝนอบรมกายวาจาใจมาอย่างดีแล้ว ผมจึงเข้าใจว่าทำไมบทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย จึงขึ้นต้นว่า นะโม ที่แปลว่า นอบน้อม ต้องเริ่มต้นจากตรงนี้แหละการลดละทิฏฐิมานะในตน
    ผมเองยึดตามคำที่หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ท่านสอนไว้ดังนี้ว่า
    “...เห็นว่าตัวเองบกพร่องอย่างนั้นๆ รู้สึกตัวแล้วก็รีบกำหนดละมัน อธิษฐานใจละมันเรื่อยไป ข้าพเจ้าจะไม่ยึดมั่นถือมั่น เรื่องชั่วเรื่องไม่ดีต่างๆ นานาเหล่านั้น ใครจะว่าอะไรมาก็ตามจะไม่หวั่นไหวและเราก็จะไม่ว่าอะไรให้ใคร ใครจะดีจะชั่วก็ให้เป็นเรื่องของผู้นั้นโดยตรง ผู้ใดรู้ตัวอย่างนี้แล้ว อธิษฐานใจตัวเองอย่างนี้ สอนใจตัวเองเข้าไป ผู้อื่นว่ามาเราจะไม่โกรธ ไม่ฉุนเฉียว และเราก็จะไม่ด่าว่าใคร ไม่กระทบกระทั่งใคร... “
    พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) วัดอรัญญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> จากคุณ : Arrowheart (fthunderbow@yahoo) [ 12 ก.ย. 2543 / 11:24:35 น. ] [SIZE=-1]
    [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2> ความคิดเห็นที่ 17 : (ธนู)
    มีความรู้สึกต้องการที่จะลดความถือดีตั้งแต่ยังไม่สนใจพุทธศาสนา ครั้งนั้นมีเพลงของคาราบาวเพลงหนึ่งที่ร้องว่า "..เราไม่ถูกทุกอย่าง ไม่ผิดทุกอย่าง ทำไปแก้ไป ..เรามีคนที่เหนือกว่า ไม่ออกหน้าออกตาอยู่ถมเถไป.." ซึ่งได้นำมาพูดกับตัวเองอยู่เรื่อยๆตั้งแต่สมัยนั้นมา ทำให้รู้สึกว่า เรามิได้เป็นหนึ่ง คนเก่งๆที่ไม่แสดงตัว มีอยู่เป็นเยอะแยะ ความคิดนี้ได้ช่วยทำให้ตนเองลดอหังการลงได้มาก​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> จากคุณ : ธนู [ 17 ก.ย. 2543 / 21:34:01 น. ] [SIZE=-1]
    [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.isangate.com/dhamma/teach_dhamma.html

    [​IMG]

    [​IMG]

    <TABLE><TBODY><TR><TD>ท่านทั้งหลายได้นับถือพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับธรรมในพระพุทธศาสนามาจากครูบาอาจารย์มาก็มาก ซึ่งบางท่านก็สอนอย่างพิสดารกว้างเกินไป จนไม่ทราบว่าจะกำหนดเอาไปปฏิบัติได้อย่างไร บางท่านก็สอนลัดเกินไป จนผู้ฟังยากที่จะเข้าใจ เพราะว่ากันตามตำรา บางท่านก็สอนพอปานกลาง ไม่กว้างและไม่ลัด เหมาะที่จะนำไปปฏิบัติจนตัวเองได้รับประโยชน์จากธรรมนั้นๆ พอสมควร
    อาตมาจึงใคร่อยากจะเสนอข้อคิดและการปฏิบัติ ซึ่งเคยดำเนินมา และได้แนะนำศิษย์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำให้ท่านทั้งหลายได้ทราบบางทีอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอยู่บ้างก็เป็นได้
    ผู้ที่จะเข้าถึงพุทธธรรมนั้น เบื้องต้นจะต้องทำตนให้เป็นคนมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่เป็นประจำ และเข้าใจความหมายของคำว่าพุทธธรรมต่อไปว่า

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    • พุทธะ หมายถึงท่านผู้รู้ตามเป็นจริง จนมีความสะอาด สงบ สว่างในใจ
    • ธรรม หมายถึงตัวความสะอาด สงบ สว่าง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้นผู้ที่เข้าถึงพุทธธรรม ก็คือ คนเข้าถึงศีลสมาธิ ปัญญา นี่เอง
    [​IMG]
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ตามธรรมดาการที่บุคคลจะไปถึงบ้านถึงเรือนได้นั้น มิใช่บุคคลที่มัวนอนคิดเอา เขาเองจะต้องลงมือเดินทางด้วยตนเอง และเดินทางให้ถูกทางด้วย จึงจะมีความสะดวก และถึงที่หมายได้ หากเดินผิดทาง เขาจะได้รับอุปสรรค เช่น พบขวากหนามเป็นต้น และยังไกลที่หมายออกไปทุกที หรือบางทีอาจจะได้รับอันตรายระหว่างทาง ไม่มีวันที่จะเข้าถึงบ้านได้ เมื่อเดินไปถึงบ้านแล้วจะต้องขึ้นอยู่อาศัยพักผ่อนหลับนอนเป็นที่สบายทั้งกายและใจ จึงจะเรียกว่าคนถึงบ้านได้โดยสมบูรณ์
    ถ้าหากเป็นแต่เพียงเดินเฉียดบ้าน หรือผ่านบ้านไปเฉยๆ คนเดินทางผู้นั้นจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากการเดินทางของเขา ข้อนี้ฉันใด การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรมก็เหมือนกัน ทุกๆ คนจะต้องออกเดินทางด้วยตนเอง ไม่มีการเดินแทนกัน และต้องเดินไปตามทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา จนถึงซึ่งที่หมาย ได้รับความสะอาด สว่าง สงบสว่าง นับว่าเป็นประโยชน์เหลือหลายแก่ผู้เดินทางเอง แต่ถ้าหากผู้ใดมัวแต่อ่านตำรา กางแผนที่ออกดูอยู่ตั้งร้อยปีร้อยชาติ ผู้นั้นไม่สามารถไปถึงที่หมายได้เลย เขาจะเสียเวลาไปเปล่าๆ ปล่อยประโยชน์ที่ตนจะได้รับให้ผ่านเลยไป ครูบาอาจารย์เป็นผู้บอกให้เท่านั้น เราทั้งหลายได้ฟังแล้วจะเดินหรือไม่เดิน และจะได้รับผลมากน้อยเพียงใด นั้นมันเป็นเรื่องเฉพาะตน
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>อย่ามัวอ่านสรรพคุณยาจนลืมกินยา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ ข้างนอกขวดเขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่า แก้โรคชนิดนั้นๆ ส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวด ที่คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้ข้างนอกขวด อ่านไปตั้งร้อยครั้งพันครั้ง คนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่า โดยไม่ได้รับประโยชน์จากตัวยานั้นเลย และเขาจะมาร้องตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดี ยาไม่มีสรรพคุณ แก้โรคอะไรไม่ได้ เขาจึงเห็นว่ายาที่หมอให้ไว้ไม่มีประโยชน์อะไร ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุกขวดรินยาออกกินเลย
    เพราะมัวแต่ไปติดใจอ่านฉลากยา ซึ่งติดอยู่ข้างขวดเสียจนเพลินแต่ถ้าหากเขาเชื่อหมอจะอ่านฉลากครั้งเดียวหรือไม่อ่านก็ได้ แต่ลงมือกินยาตามคำสั่งของหมอ ถ้าคนไข้เป็นน้อย เขาก็หายจากโรค แต่ถ้าหากเป็นมาก อาการของโรคก็จะทุเลาลง และถ้าหากกินบ่อยๆ โรคก็จะหายไปเอง ที่ต้องกินยามากและบ่อยครั้ง ก็เพราะโรคเรามันมาก เรื่องนี้เป็นธรรมดาเหลือเกิน ดังนั้นท่านผู้อ่านจงใช้สติปัญญาพิจารณาให้ละเอียดจริงๆ จึงจะเข้าใจดี
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>สรีรโอสถและธรรมโอสถ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พวกแพทย์พวกหมอเขาปรุงยาปราบโรคทางกาย จะเรียกว่าสรีรโอสถ ก็ได้ ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใช้ปราบโรคทางใจ เรียกว่า ธรรมโอสถ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงเป็นแพทย์ผู้ปราบโรคทางใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โรคทางใจเป็นได้ไวและเป็นได้ทุกคน ไม่เว้นเลย เมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็นไข้ใจ จะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>เข้าถึงพุทธธรรมด้วยใจ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พิจารณาดูเถิด การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรมมิใช่เดินด้วยกายแต่ต้องเดินด้วยใจจึงจะเข้าถึงได้ ได้แบ่งผู้เดินทางออกเป็น 3 ชั้น คือ
    1. ชั้นต่ำ ได้แก่ ผู้รู้จักปฏิญาณตนเองเอาพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งอาศัย ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยดี ละทิ้งประเพณีที่งมงายและเชื่อมงคลตื่นข่าว จะเชื่ออะไรต้องพิจารณาเหตุผลเสียก่อน คนพวกนี้เรียกว่า สาธุชน
    2. ชั้นกลาง หมายถึง ผู้ปฏิบัติจนเชื่อต่อพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลาย รู้เท่าทันสังขาร พยายามสละความยึดมั่นถือมั่นให้น้อยลง มีจิตเข้าถึงธรรมสูงขึ้นเป็นขั้นๆ ท่านเหล่านี้เรียกว่าพระอริยบุคคล คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
    3. ชั้นสูง ได้แก่ผู้ปฏิบัติจนกาย วาจา ใจ เป็นพุทธะ เป็นผู้พ้นจากโลก อยู่เหนือโลก หมดความยึดถืออย่างสิ้นเชิง เรียกว่า พระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ศีลนั้น คือระเบียบควบคุมรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย ว่าโดยประเภทมีทั้งของชาวบ้านและของนักบวช แต่เมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้วมีอย่างเดียว คือ เจตนา ในเมื่อเรามีสติระลึกได้อยู่เสมอเพื่อควบคุมใจให้รู้จักละอายต่อการทำชั่วเสียหาย และรู้สึกตัวกลัวผลของความชั่วจะตามมา พยายามรักษาใจให้อยู่ในแนวทางแห่งการปฏิบัติที่ถูกที่ควรเป็นศีลอย่างดีอยู่แล้ว ตามธรรมดา เมื่อเราใช้เสื้อผ้าที่สกปรกและตัวเองก็สกปรก ย่อมทำให้จิตใจอึดอัดไม่สบาย แต่ถ้าหากเรารู้จักรักษาความสะอาดทั้งร่างกายและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ย่อมทำให้จิตใจผ่องใสเบิกบาน ดังนั้นเมื่อศีลไม่บริสุทธิ์เพราะกายวาจาสกปรก ก็เป็นผลให้จิตใจเศร้าหมอง ขัดต่อการปฏิบัติธรรม และเป็นเครื่องกั้นใจมิให้บรรลุถึงจุดหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตใจที่ได้รับการฝึกมาดีหรือไม่เท่านั้น เพราะใจเป็นผู้สั่งให้พูดให้ทำ ฉะนั้นเราจึงต้องมีการฝึกจิตใจต่อไป
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การฝึกสมาธิ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    การฝึกสมาธิ ก็คือการฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่นและมีความสงบเพราะตามปกติ จิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก ชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆ เหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอ พวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆ มนุษย์เรามีความฉลาดรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น กั้นฝาย ทำทำนบทำชลประทาน เหล่านี้ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่างและใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เอง ไม่ปล่อยให้มันไหลลงที่ลุ่มเสียหมด ดังนั้นจิตใจที่มีการกั้นการฝึกที่ดีอยู่ ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้ การฝึกจิตให้ดีย่อมสำเร็จประโยชน์" ดังนี้เป็นต้น
    เราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ก่อนที่เราจะเอามาใช้งานต้องฝึกเสียก่อน เมื่อฝึกดีแล้วเราจึงได้อาศัยแรงงานมันทำประโยชน์นานาประการ
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>จิตที่ฝึกดีแล้วมีคุณค่ามากมาย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านทั้งหลายก็ทราบแล้ว จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมมีคุณค่ามากมายกว่ากันหลายเท่า ดูแต่พระพุทธองค์และพระอริยสาวก ได้เปลี่ยนภาวะจากปุถุชนมาเป็นพระอริยบุคคล จนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไปและท่านยังได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวางเหลือประมาณที่เราๆจะกำหนด ก็เพราะพระองค์และสาวกได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้น
    จิตที่เราฝึกดีแล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพทุกอย่าง ยังเป็นทางให้รู้จักทำงานด้วยความรอบคอบ ไม่เป็นคนหุนหันพลันแล่น ทำให้ตนเองมีเหตุผล และได้รับความสุขตามสมควรแก่ฐานะ
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การฝึกอานาปานสติภาวนา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    การฝึกจิตมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุด ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป วิธีนั้นเรียกว่า อานาปานสติ-ภาวนา คือ มีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและหายใจออก ที่สำนักนี้ให้กำหนดลมที่ปลายจมูกโดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดินจงกรม และนั่งสมาธิ ก็ภาวนาบทนี้ จะใช้บทอื่น หรือจะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าพยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้น การเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงจะได้ผล ไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไปตั้งอาทิตย์สองอาทิตย์ หรือตั้งเดือนจึงทำอีก อย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำให้มาก คือทำบ่อยๆ ติดต่อกันไป
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ใช้สติกำหนดลมหายใจเพียงอย่างเดียว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    การฝึกจิตใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผล ควรเลือกหาที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน เช่น ในสวนหลังบ้าน หรือต้นไม้ที่มีร่มเงาดีๆ แต่ถ้าเป็นนักบวชควรแสวงหาเรือนว่าง (กระท่อม) โคนไม้ ป่า ป่าช้า ถ้ำ ตามภูเขา เป็นที่บำเพ็ญ เหมาะที่สุด เราจะอยู่ที่ใดก็ตาม ใช้สติกำหนดลมหายใจอย่างเดียว แม้จิตใจจะคิดไปเรื่องอื่น ก็พยายามดึงกลับมาทิ้งเรื่องอื่นๆทั้งหมด โดยไม่พยายามคิดถึงมัน รู้ให้ทันกับความคิดนั้นๆ เมื่อทำเข้าบ่อยๆ จิตจะสงบลงเรื่อยๆ เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้ว ถอยจิตนั้นมาพิจารณาร่างกาย ร่างกายคือขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หาตัวตนไม่ได้ มีแต่ธรรมชาติไหลไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้น ความยึดมั่นต่างๆ จะน้อยลงๆ เพราะเรารู้เท่าทันมัน เรียกว่าเกิดปัญญาขึ้น
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ปัญญาเกิดเมื่อจิตดีแล้ว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อเราใช้จิตที่ฝึกดีแล้วพิจารณารูปนามอยู่อย่างนี้ ให้รู้แจ้งแน่ชัดว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปัญญารู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงของสังขารที่เกิด เป็นเหตุให้เราไม่ยึดถือหรือหลงใหล เมื่อเราได้อะไรมาก็มีสติ ไม่ดีใจจนเกินไป เมื่อของสูญหายไป ก็ไม่เสียใจจนเกิดทุกขเวทนา เพราะรู้เท่าทัน เมื่อประสบความเจ็บไข้หรือได้รับทุกข์อื่นๆ ก็มีการยับยั้งใจ เพราะอาศัยจิตที่ฝึกมาดีแล้ว เรียกว่ามีที่พึ่งทางใจเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้เรียกได้ว่าเกิดปัญญารู้ทันตามความเป็นจริง ที่จะเกิดปัญญาเพราะมีสมาธิ สมาธิจะเกิดเพราะมีศีล มันเกี่ยวโยงกันอยู่อย่างนี้ ไม่อาจแยกออกจากกันไปได้
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ลมหายใจกับศีล สมาธิ ปัญญา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สรุปได้ความดังนี้ อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจ ข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อกันไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยากมิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่า ปัญญา การทำอานาปานสติภาวนา จึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน และเมื่อทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์แปด ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทางสายเอกประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะจะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพานเมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ผลจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อเราปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ย่อมมีผลปรากฏตามระดับจิตของผู้ปฏิบัตินั้นๆ ซึ่งแบ่งเป็น 3 พวก ดังต่อไปนี้
    1. สำหรับสามัญชนผู้ปฏิบัติตาม ย่อมทำให้เกิดความเชื่อในคุณพระรัตนตรัย ถือเอาเป็นที่พึ่งได้ ทั้งเชื่อตามผลกรรมว่า ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว จะทำให้ผู้นั้นมีความสุขความเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนได้กินขนมที่มีรสหวาน
    2. สำหรับพระอริยบุคคลชั้นต่ำ ย่อมมีความเชื่อในคุณพระรัตนตรัยแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลาย เป็นผู้มีจิตใจผ่องใส ดิ่งสู่นิพพานเปรียบเหมือนคนได้กินของหวาน ซึ่งมีทั้งรสหวานและมัน
    3. สำหรับท่านผู้ได้บรรลุอรหัตตผล ย่อมมีความหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ทั้งปวง เพราะเป็นพุทธะแล้ว พ้นจากโลก อยู่จบพรหมจรรย์เปรียบเหมือนได้กินของหวาน ที่มีทั้งรสหวาน มัน และหอม
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>จงรีบสร้างบารมีด้วยการทำดี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากแท้ที่สัตว์ทั้งหลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเรา จงอย่าประมาท รีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดี ทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง อย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลย
    ฉะนั้น ควรจะทำตนให้เข้าถึงพุทธธรรมเสียแต่วันนี้ ขอฝาก ภาษิตว่า "เที่ยวทางเวิ้งเหิงนานมันสิค่ำ เมานำต่าบักหว้ามันสิช้าค่ำทาง"

    [​IMG]
    <SCRIPT language=JavaScript> <!-- document.write("Last Updated : "+document.lastModified) //--> </SCRIPT>Last Updated : 09/24/2007 23:41:04
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • smile5.jpg
      smile5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.2 KB
      เปิดดู:
      380
    • pratam_tesana.gif
      pratam_tesana.gif
      ขนาดไฟล์:
      9 KB
      เปิดดู:
      374
    • teach_dhamma.gif
      teach_dhamma.gif
      ขนาดไฟล์:
      13.5 KB
      เปิดดู:
      390
    • line.gif
      line.gif
      ขนาดไฟล์:
      10.9 KB
      เปิดดู:
      423
  12. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ครับ ท่านปาธานอย่าไปสนใจเลยครับ ผมเองเห็นแล้วสะท้อนใจครับนึกขอกราบอภัยบรรพบุรุษที่เป็นนักรบของเรา ท่านถูกอ้างนามมาใช้ แต่ได้แค่นามจริงๆ
     
  13. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ท่านปา-ทาน ผมลืมแซว ท่าทางจะได้ทหารราบมาเพิ่มอีก หนึ่งหน่วยแล้วครับ...(*) (*) (*)
    nongnooo...
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สำหรับผู้ที่นับถือหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ต้องยอมรับอยู่เรื่องนึงที่เป็นเรื่องที่ต้องมีความพยายาม ,ความเพียร ,ความอดทน ,ความอดกลั้น อย่างสูงสุด เพราะว่า จะต้องถูกทดสอบกำลังใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าเพียงแค่ฆารวาส โดยเฉพาะพระภิกษุจะต้องพิสูจน์กำลังใจอย่างเอกอุ หนักกว่าฆารวาสหลายล้านเท่า

    มีพระภิกษุองค์หนึ่งซึ่งถ้าบอกชื่อออกไป คนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักชื่อท่าน ผมขออนุญาตหลวงพ่อ......และผู้ที่เล่าเรื่องนี้ให้ผมฟัง ขอเล่าเกร็ดเล็กๆน้อยๆให้ท่านที่ได้เข้ามาอ่าน ได้ทราบว่า ผู้ที่เป็นลูกศิษย์สายนี้ จะต้องพิสูจน์ใจของตนเองอย่างไร

    มีพระภิกษุที่จะไปขอเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่..... หลายสิบรูป หลวงปู่....ท่านบอกว่า ใครจะมาเรียนกับหลวงปู่....ต้องใช้ใบมีดโกน ตัดจมูกของตนเอง ในบรรดาพระภิกษุทั้งหมด มีหลวงพ่ออยู่องค์นึง หยิบใบมีดโกนที่หลวงปู่....ท่านนำมาให้ ตัดจมูกของตนเองทันที พระภิกษุองค์อื่นๆ ไม่มีใครทำ หลวงปู่....จึงรับหลวงพ่อ.....มาเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่....

    แต่เราเป็นฆารวาส กำลังใจยังไม่ถึงท่านเลยแม้แต่เพียง 1 ใน 1,000,000,000,000 แต่ก็ต้องพยายามต่อสู้กับใจเราต่อไป

    มีพี่อยู่ท่านนึง บอกกับผมและเพื่อนๆว่า การที่เราทำบุญใหญ่ มักจะมีมารที่ตัวใหญ่พอๆกันที่มาคอยขัด คอยขวาง และทำให้มีอุปสรรคที่ใหญ่ๆ แต่ถ้าเราทำบุญเล็กๆ ก็จะมีมารที่ตัวเล็กๆมาเช่นกัน

    โมทนาสาธุทิพย์
    โมทนาสาธุทิพย์
    โมทนาสาธุทิพย์

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ พันวฤทธิ์ [​IMG]
    เฮ้อ..เรื่องยุ่งๆ พอซักทีก็ดีเหมือนกัน ยิ่งอ่านยิ่งไม่สบายใจ ไปกันใหญ่ทีเดียว รุ่นใหญ่หายกันหมดพี่ตุ่น ขุนท้าว และอีกหลายๆ...จริงๆ แล้วขณะนี้มีพระของหลวงปู่ใหญ่ เจ้าประคุณสมเด็จ เริ่มออกมาให้เห็นอีกมากแล้ว ของเดิมที่เรามีอยู่นึกว่าดีแล้ว กลับมีพิสดารยิ่งขึ้นกว่าอีก ทำให้เห็นว่าจิตของผู้เสก ทั้งหมู่ ทั้งเดี่ยวนั้น พิสดารเหลือกำลังเช่นสมเด็จเขียวของหลวงปู่อุตตระ สมเด็จของหลวงปุ่แสงกับเจ้าประคุณสมเด็จเสกร่วมกันเป็นพระพิมพ์เหมือนวัดระฆัง หรือสมเด็จปีระกา (วัดบางน้ำชน) พิมพ์เดียวกันกับวัดบางขุนพรหม รวมถึงพระเนื้อโลหะอื่นๆ ที่เริ่มเผยโฉมออกมาให้ศึกษาทั้งนอกและในกัน แถมเจ้าของที่เสกท่านเริ่มมาแวะเวียนมาให้กำลังใจทั้งกายทิพย์ และกายเนื้อให้พี่ใหญ่ได้เห็นและได้ถ่ายทอดมายังพวกเราอีก ทำให้ได้ศึกษาและเก็บความรู้รวมถึงการกำหนดจิตเข้าถึง (สมถะภาวนา) ให้ย่นย่อแทนการเดินอย่างสะเปะสะปะของเราอีกด้วย เวทีใหญ่ที่บ้าน อ.ประถมอาจจะใหญ่ไปคุยไม่ทั่วถึง เวทีเล็กสนุกกว่ามีทั้งพระพิมพ์ให้ตรวจ พร้อมคำอธิบายทางจิตและเกร็ดประวัติที่ไม่ได้รู้มาฟัง ยิ่งวันไหนมีศิษย์รุ่นใหญ่ๆ ของ อ.ประถมมาแจมรับรองซีดปาก ต้องเงี่ยหูฟังตลอด เพราะท่านเหล่านี้ทั้งบู๊บุ๋น ครบเครื่อง ตรวจได้ทั้งรูป-นาม แถมหลักปริยัติ ปฏิบัติ พร้อม อีกเรื่องนึง คุณโสระ ไม่บอกบุญกฐินที่นครสวรรค์หน่อยรึ ทำบุญกฐิน แถมเหรียญลูกศิษย์หลวงพ่อยีที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ด้วย ท่านเป็นพระอภิญญาน๊ะ (พี่ใหญ่บอกยังงั้น แถมยังควักตังค์ทำบุญมาด้วย 200 เลยได้พระไป 1 องค์) แต่กรณีนี้ทำบุญเท่าไรก็ได้ ได้พระมา 1 องค์ ได้ทั้งพระได้ทั้งบุญ ต้องให้คุณโสระประชาสัมพันธ์เอง ออกอากาศไม่ได้เพราะไม่ได้ขออนุญาต แต่แนะนำได้ว่าพระดีๆ นี้น่าเก็บจัง ส่วนพระอื่นๆ คงต้องรออีกระยะแล้วจะนำมาฝากกันบ้างครับเช่นพระพิมพ์วัดระฆังที่ทันเจ้าประคุณเสกตรวจโดยทางฌาณ
    โดยเฉพาะในก๊วนนี้องค์ไม่กี่ร้อยบาท(ไม่เกิน 500-) เชื่อเครดิตกันก็จองกันเข้ามาจะขึ้นทะเบียนไว้ให้ ไม่แจกฟรี จองได้คนละ 1 องค์ รับพระที่บ้าน อ.ประถม สวยบ้างไม่สวยบ้างพระมีไม่เกิน 8 องค์ใครไม่จอง อด ไม่ง้อด้วย เพราะเก็บไว้ใช้เองถือว่าสวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าก็แล้วกันพระชุดนี้แขวนเดี่ยวได้หายห่วงไม่มีการเสกในพิธีอื่นเพิ่ม เพื่อให้เป็นจิตของเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรงนั่นเอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมลืมไป ขอแซวสักหน่อย

    ท่านที่จองพระสมเด็จกับคุณพันวฤทธิ์ไว้ ยังไม่เห็นพระเลยครับ รูปก็ยังไม่ได้เห็น แล้วจองกันไปอย่างไร งงงงงงงงง

    ถ้าใครจะยกเลิกการจองก็ได้นะครับ ผมรับจองแทนเอง คิคิคิ

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ พันวฤทธิ์ [​IMG]
    เฮ้อ..เรื่องยุ่งๆ พอซักทีก็ดีเหมือนกัน ยิ่งอ่านยิ่งไม่สบายใจ ไปกันใหญ่ทีเดียว รุ่นใหญ่หายกันหมดพี่ตุ่น ขุนท้าว และอีกหลายๆ...จริงๆ แล้วขณะนี้มีพระของหลวงปู่ใหญ่ เจ้าประคุณสมเด็จ เริ่มออกมาให้เห็นอีกมากแล้ว ของเดิมที่เรามีอยู่นึกว่าดีแล้ว กลับมีพิสดารยิ่งขึ้นกว่าอีก ทำให้เห็นว่าจิตของผู้เสก ทั้งหมู่ ทั้งเดี่ยวนั้น พิสดารเหลือกำลังเช่นสมเด็จเขียวของหลวงปู่อุตตระ สมเด็จของหลวงปุ่แสงกับเจ้าประคุณสมเด็จเสกร่วมกันเป็นพระพิมพ์เหมือนวัดระฆัง หรือสมเด็จปีระกา (วัดบางน้ำชน) พิมพ์เดียวกันกับวัดบางขุนพรหม รวมถึงพระเนื้อโลหะอื่นๆ ที่เริ่มเผยโฉมออกมาให้ศึกษาทั้งนอกและในกัน แถมเจ้าของที่เสกท่านเริ่มมาแวะเวียนมาให้กำลังใจทั้งกายทิพย์ และกายเนื้อให้พี่ใหญ่ได้เห็นและได้ถ่ายทอดมายังพวกเราอีก ทำให้ได้ศึกษาและเก็บความรู้รวมถึงการกำหนดจิตเข้าถึง (สมถะภาวนา) ให้ย่นย่อแทนการเดินอย่างสะเปะสะปะของเราอีกด้วย เวทีใหญ่ที่บ้าน อ.ประถมอาจจะใหญ่ไปคุยไม่ทั่วถึง เวทีเล็กสนุกกว่ามีทั้งพระพิมพ์ให้ตรวจ พร้อมคำอธิบายทางจิตและเกร็ดประวัติที่ไม่ได้รู้มาฟัง ยิ่งวันไหนมีศิษย์รุ่นใหญ่ๆ ของ อ.ประถมมาแจมรับรองซีดปาก ต้องเงี่ยหูฟังตลอด เพราะท่านเหล่านี้ทั้งบู๊บุ๋น ครบเครื่อง ตรวจได้ทั้งรูป-นาม แถมหลักปริยัติ ปฏิบัติ พร้อม อีกเรื่องนึง คุณโสระ ไม่บอกบุญกฐินที่นครสวรรค์หน่อยรึ ทำบุญกฐิน แถมเหรียญลูกศิษย์หลวงพ่อยีที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ด้วย ท่านเป็นพระอภิญญาน๊ะ (พี่ใหญ่บอกยังงั้น แถมยังควักตังค์ทำบุญมาด้วย 200 เลยได้พระไป 1 องค์) แต่กรณีนี้ทำบุญเท่าไรก็ได้ ได้พระมา 1 องค์ ได้ทั้งพระได้ทั้งบุญ ต้องให้คุณโสระประชาสัมพันธ์เอง ออกอากาศไม่ได้เพราะไม่ได้ขออนุญาต แต่แนะนำได้ว่าพระดีๆ นี้น่าเก็บจัง ส่วนพระอื่นๆ คงต้องรออีกระยะแล้วจะนำมาฝากกันบ้างครับเช่นพระพิมพ์วัดระฆังที่ทันเจ้าประคุณเสกตรวจโดยทางฌาณ
    โดยเฉพาะในก๊วนนี้องค์ไม่กี่ร้อยบาท(ไม่เกิน 500-) เชื่อเครดิตกันก็จองกันเข้ามาจะขึ้นทะเบียนไว้ให้ ไม่แจกฟรี จองได้คนละ 1 องค์ รับพระที่บ้าน อ.ประถม สวยบ้างไม่สวยบ้างพระมีไม่เกิน 8 องค์ใครไม่จอง อด ไม่ง้อด้วย เพราะเก็บไว้ใช้เองถือว่าสวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าก็แล้วกันพระชุดนี้แขวนเดี่ยวได้หายห่วงไม่มีการเสกในพิธีอื่นเพิ่ม เพื่อให้เป็นจิตของเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรงนั่นเอง


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เรียนคุณพันวฤทธิ์

    มีท่านที่จองพระสมเด็จตามนี้ (แล้วแต่จะพิจารณาเองนะครับ เพราะว่าทั้งหมดมีอยุ่ 8 องค์) แต่ใจผม อยากให้เพิ่มอีกสักองค์ครับ


    1.nongnooo.#10335
    2.ตั้งจิต.#10336
    3.chaipat.#10337
    4.:::เพชร:::.#10338
    5.narongwate.#10339
    6.pondkantana.#10342
    7.ขุนท้าว....#10343
    8.kwok<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_733808", true); </SCRIPT>.#10344
    9.drmetta.#10390

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2007
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อย่าท้อถอยหรือน้อยใจ
    ถ้างานไม่สัมฤทธิ์ผล
    จงสุขุมและอดทน
    พิจารณาคนด้วยปัญญา

    พระบรมราโชวาทรัชกาลที่ 9 (ผมไม่แน่ใจว่าเป็นพระบรมราโชวาทรัชกาลที่ 5 หรือรัชกาลที่ 9 ถ้าท่านใดทราบ ขอความกรุณาช่วยแจ้งให้ผมทราบด้วยครับ)

    ผมพยายามนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร คงต้องตั้งใจและพยายามให้มากกว่านี้อีกมาก

    โมทนาสาธุทิพย์
    โมทนาสาธุทิพย์
    โมทนาสาธุทิพย์

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมเองเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีในเรื่อง อุเบกขา ท่านที่ได้เข้ามาอ่าน สามารถนำเรื่องของผมไปเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี เพื่อใช้ในการปรับปรุงตนเองหรือสอนลูกสอนหลานต่อๆไป

    ผมตั้งใจว่า จะต้องทำใจวางอุเบกขาให้ได้มากกว่านี้มากๆ ขอบคุณอีกครั้งสำหรับคำเตือนและกำลังใจที่มีให้ผม

    โดยเฉพาะคำเตือน เป็นสิ่งที่มีค่ามาก คนที่รักและห่วงใยกัน จะตักเตือนกันเมื่อเห็นเพื่อนทำในสิ่งที่ไม่ดี
    แต่ถ้าคนที่ไม่รักกัน,ห่วงใยกัน ก็จะไม่ตักเตือนกัน
    แต่ถ้าคนที่เกลียดกัน ก็จะยิ่งทับถม ซ้ำเติม
    ซึ่งเรื่องต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล และคงเป็นกรรมระหว่างกันมา เป็นเจ้ากรรมนายเวรกันมา

    ผมตั้งใจจะตัดเจ้ากรรมนายเวรใหม่ไม่ให้เกิดขึ้นมาอีก แค่ของเดิมก็ลำบากอยู่แล้วครับ

    โมทนาสาธุทิพย์
    โมทนาสาธุทิพย์
    โมทนาสาธุทิพย์

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เกิดอะไรขึ้นหว่า

    <TABLE class=tborder id=threadslist cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY id=threadbits_forum_15><TR><TD class=alt1 id=td_threadtitle_22445 title="พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ถ้าต้องการที่จะได้......................<O:p</O:p<O:p</O:pคะแนน ชื่อกระทู้ / ผู้ตั้งกระทู้
    [​IMG] [​IMG] แนะนำ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้..... (53 คน กำลังดูอยู่) ([​IMG] 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ... หน้าสุดท้าย)
    [​IMG] sithiphong
    </TD><TD class=alt2 title="จำนวนตอบ: 10,405, จำนวนอ่าน: 215,410">ข้อความล่าสุด
    วันนี้ 10:36 AM
    โดย sithiphong [​IMG]

    </TD><TD class=alt1 align=middle>คำตอบ
    10,405

    </TD><TD class=alt2 align=middle>เปิดอ่าน
    215,410

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หน้าหมวดวัตถุมงคล

    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 10 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 7 คน ) </TD><TD class=thead width="14%">

    </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, aries2947+, พันวฤทธิ์+ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในกระทู้


    ต่างกันตั้ง 43 คน (b-ng)
    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...