พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติพระอนุรุทธเถระ

    -http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2651:2010-08-29-13-15-45-

    พระอนุรุทธเถระผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์ ควรจะได้ทราบว่าการที่พระอนุรุทธเถระเป็นผู้เลิศเช่นนั้น เพราะเป็นผู้มีความชำนาญที่ได้สั่งสมไว้แล้วในเวลาที่ผ่านมา.อรรถกถากล่าวว่า พระเถระนั้น ตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืน ได้เจริญอาโลกกสิณตรวจดูเหล่าสัตว์ด้วยทิพยจักษุอย่างเดียว เว้นแต่ช่วงเวลาฉันเท่านั้น ดังนั้น พระเถระนี้จึงชื่อว่าเป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ เพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสะสมไว้ตลอดวันและคืน ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังเนื่องจากท่านได้ตั้งปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้
    ความปรารถนาในอดีต

    กระทำมหาทานแด่พระปทุมุตตระพุทธเจ้า

    ได้ยินว่า ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระอนุรุทธเถระนั้นบังเกิดในสกุลคฤหบดีผู้มหาศาล ครั้นเมื่อเจริญวัยแล้ว อยู่มาวันหนึ่งวันหนึ่งได้ไปยังพระวิหารที่พระพุทธปทุมุตตระประทับอยู่ และฟังธรรมอยู่แถวท้ายหมู่พุทธบริษัทในวิหารนั้น ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ท่านจึงปรารถนาที่จะได้เป็นอย่างภิกษุนี้ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเช่นนั้นบ้าง

    ดังนั้นท่านจึงนิมนต์พระพระปทุมุตตระพุทธเจ้า และทำการถวายมหาทานอยู่ ๗ วัน. แล้วท่านจึงหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แสดงความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งการถวายทานสักการะนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่นใด เพียงแต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือน ภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วัน นับแต่วันนี้

    พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาลด้วยพุทธญาณ ทรงเห็นว่าความปรารถนาของกุลบุตรนี้จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่ากุลบุตรผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักมีชื่อว่าอนุรุทธ ท่านจักเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าดังนี้ ครั้นเมื่อทรงพยากรณ์แล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับไป.

    ตั้งแต่นั้นมา ตราบที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ท่านก็ได้กระทำแต่กรรมที่ดีมาโดยตลอด ครั้นเมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อเจดีย์ทองประมาณ ๗ โยชน์สร้างสำเร็จแล้ว ท่านจึงเข้าไปหาเหล่าภิกษุสงฆ์ แล้วถามภิกษุสงฆ์เหล่านั้นว่า ทำบุญด้วยอะไรจึงจะทำให้ได้ทิพยจักษุ ภิกษุสงฆ์บอกว่าควรทำบุญด้วยประทีป ท่านจึงให้สร้างต้นประทีปหลายพันต้น และสร้างประทีปบริวารด้วยถ้วยกระเบื้องและถาดสัมริดนับจำนวนไม่ได้ถวายเป็นพุทธบูชา และอธิษฐานว่า ผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้เกิดทิพยจักษุญาณ ท่านกระทำเช่นนี้จนตลอดชีวิต เมื่อหมดอายุขัยแล้ว ก็ท่องเที่ยวไปในภูมิเทวดาและภูมิมนุษย์ทั้งหลาย วนเวียนอยู่เช่นนั้นตลอดแสนกัป

    บุรพกรรมในสมัยพระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ครั้งที่ท่านเกิดในสมัยของพระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน ครั้งนั้นท่านถวายประทีป แก่พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เข้าฌานอยู่ที่ควงไม้ พระองค์ทรงรับแล้วห้อยไว้ที่ต้นไม้ ท่านได้ถวายไส้ตะเกียงน้ำมันพันหนึ่ง แด่พระพุทธองค์ด้วย ประทีปนั้นลุกโพลงอยู่ ๗ วันแล้วดับไปเอง อานิสงส์ครั้งนั้นท่านได้กล่าวว่า จะนับจะประมาณมิได้ อาทิเช่น

    เมื่อท่านเกิดเป็นเทวดา วิมานของท่านก็มีรัศมีรุ่งโรจน์ สว่างไสว ท่านได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์อยู่ ๒๘ ชาติ ท่านมีจักษุอันเป็นทิพย์สามารถมองเห็นได้ไกลหนึ่งโยชน์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านมีรัศมีกายแผ่ออกไปจากร่างประมาณโยชน์หนึ่ง ท่านได้เกิดเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป

    บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ครั้นสมัยในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเกิดในเรือนคฤหบดีใกล้กรุงพาราณสี เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน มหาชนได้สร้างพระเจดีย์ประมาณ ๑ โยชน์สำเร็จแล้ว ท่านก็ให้สร้างภาชนะสำริดจำนวนมาก บรรจุเนยใสจนเต็ม แล้ววางไส้ตะเกียงห่างกัน ๑ องคุลี ในภาชนะดังกล่าววางล้อมพระเจดีย์ให้เรียงชิดกันแล้วจุดไฟขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา แล้วให้สร้างภาชนะสำริดที่ใหญ่กว่าใส่เนยใสเต็ม จุดไส้ตะเกียงพันดวงรอบ ๆ ขอบปากภาชนะสำริดนั้น แล้วให้จุดไฟขึ้น ท่านเทินภาชนะสำริดไว้บนศีรษะ เดินประทักษิณเวียนบูชาเจดีย์ระยะทางโดยรอบประมาณ ๑ โยชน์ ตลอดคืนจนถึงเช้ารุ่ง เขาแต่กรรมดีจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้วบังเกิดในเทวโลก
    ถวายภัตแด่พระอุปริฎฐะปัจเจกพุทธเจ้า

    ขอจงอย่าได้ยินคำว่า ‘ ไม่มี ’

    ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น.เขาถือปฏิสนธิในนครพาราณสีนั้นอีก ในเรือนของตระกูลยาจกเข็ญใจ เขาได้มีชื่อว่า อันนภาระ เป็นคนหาบหญ้า อาศัยอยู่กับสุมนเศรษฐี ผู้ซึ่งให้มหาทานที่ประตูบ้านแก่คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพกและยกจก ทุกวัน ๆ

    วันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า?นามว่าอุปริฎฐะเข้านิโรธสมบัติ ที่ภูเขาคันธมาทน์ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว พิจารณาว่า วันนี้ ควรจะทำการอนุเคราะห์ใคร ธรรมดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้อนุเคราะห์คนเข็ญใจ ท่านจึงคิดว่าวันนี้เราควรทำการอนุเคราะห์นายอันนภาระ ท่านทราบว่า นายอันนภาระจะออกจากป่ากลับมายังบ้านตน ท่านจึงเหาะจากภูเขาคันธมาทน์มายืนอยู่ที่หน้านายอันนภาระที่ประตูบ้านนั่นเอง

    นายอันนภาระเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงถือบาตรเปล่าจึงนิมนต์ว่าโปรดรออยู่ที่นี้ก่อนเถิดขอรับ แล้วรีบไปถามภรรยาว่า อาหารที่ท่านเตรียมไว้สำหรับเรามีหรือไม่ นางตอบว่า มี เขาจึงไปรับบาตรจากพระปัจเจกพุทธเจ้ามา แล้วกล่าวว่า ด้วยเหตุที่เราไม่ได้ทำกรรมที่ดีไว้ในชาติก่อน เราก็ต้องเป็นลูกจ้างเขาอยู่เช่นนี้ ครั้นเมื่อเราปรารถนาจะทำบุญ แต่ก็ขาดของที่จะทำบุญ ครั้นเมื่อมีของที่จะทำบุญก็หาพระผู้สมควรรับไทยธรรมนั้นไม่ได้ มาวันนี้เราพบพระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าเข้าพอดี และของที่จะทำบุญก็มีอยู่ ท่านจงใส่อาหารที่เป็นส่วนของฉันลงในบาตรนี้ หญิงผู้เป็นภรรยาก็คิดว่า เมื่อใดสามีของเราให้อาหารซึ่งเป็นส่วนของเขา เมื่อนั้นเราก็ควรมีส่วนในทานนี้เช่นกัน คิดดังนั้นแล้วจึงวางอาหารที่เป็นส่วนของตนลงในบาตรถวายแก่อุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าด้วย นายอันนภาระนำบาตรอันบรรจุภัตตาหารมาถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า ขอให้พวกข้าพเจ้าพ้นจากความอยู่อย่างลำบากเช่นนี้เถิด ขอข้าพเจ้าจงอย่าได้สดับคำว่า ‘ ไม่มี ’

    พระปัจเจกพุทธเจ้า อนุโมทนาว่า จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด เขาจึงปูลาดผ้าห่มของตนลงแล้วนิมนต์พระปัจจเจกพุทธเจ้าเพื่อทรงฉันภัตตาหาร พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงนั่ง ณ อาสนะนั้นแล้ว ทรงพิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญา แล้วจึงทรงฉัน เมื่อฉันเสร็จแล้ว นายอันนภาระจึงถวายน้ำสำหรับล้างบาตร ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงกระทำอนุโมทนาว่าสิ่งที่ท่านต้องการแล้ว ปรารถนาแล้วจงสำเร็จทันที

    เทวดาที่สิงอยู่ที่ฉัตรของสุมนเศรษฐีเห็นดังนั้นจึงกล่าวสาธุการขึ้น ๓ ครั้ง สุมนเศรษฐีได้ยินเทพยดาประจำฉัตรกล่าวอนุโมทนา จึงคิดว่า เราให้ทานตลอดเวลามากตั้งเท่าไหร่ ก็ยังไม่อาจทำให้เทวดาให้สาธุการ นายอันนภาระที่อาศัยเราอยู่นี้ ถวายบิณฑบาตเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็ทำให้เทวดาให้สาธุการได้ เนื่องเพราะเขาได้ทำบุญกับบุคคลผู้ที่สมควรเป็นปฏิคาหก เราพึงให้ทรัพย์แก่นายอันนภาระนั้น แล้วทำให้บุญนั้นเป็นของของเราจึงจะดี

    คิดดังนั้นแล้วจึงเรียกนายอันนภาระมาแล้วถามว่าวันนี้เจ้าให้ทานอะไร ๆ แก่ใครหรือ นายอันนภาระตอบว่า ข้าพเจ้าถวายภัตตาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฎฐะเศรษฐีกล่าวว่า เจ้าจงรับกหาปณะไปแล้วให้บุญนั้นแก่เราเถอะ นายอันนภาระตอบว่าให้ไม่ได้หรอกนายท่าน เศรษฐีเพิ่มทรัพย์ขึ้นจนถึงพันกหาปณะ นายอันนภาระก็ยังกล่าวว่า แม้ถึงพันกหาปณะก็ยังให้ไม่ได้ เศรษฐีกล่าวอ้อนวอนขอให้ส่วนบุญแก่ฉันเถอะ นายอันภาระกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าส่วนบุญนั้น ควรให้หรือไม่ควรให้ แต่ข้าพเจ้าจะถามพระปัจเจกพุทธเจ้าดู ถ้าควรให้ก็จะให้ ถ้าไม่ควรให้ก็จะไม่ให้

    แล้วนายอันนภาระจึงเดินไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า สุมนเศรษฐีให้ทรัพย์แก่ข้าพเจ้าพันหนึ่ง แล้วขอส่วนบุญในบิณฑบาตที่ถวายแก่ท่าน ข้าพเจ้าควรจะให้หรือไม่ให้ พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า เราจะเปรียบให้ท่านฟัง ในบ้านตำบลนี้มีร้อยเรือน เราจุดประทีปไว้ในเรือนหลังหนึ่งเท่านั้น เรือนอื่นเอาตะเกียงของตนมาต่อไฟถือไป แสงของประทีปดวงเดิมยังมีอยู่หรือไม่นายอันนภาระกล่าวว่า แสงประทีปก็จะสว่างขึ้นไปอีก พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่าฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อท่านให้ส่วนบุญแก่คนอื่น พันคนหรือแสนคนก็ตาม ให้แก่คนเท่าใด บุญก็เพิ่มขึ้นแก่ตนเท่านั้น ดังนี้

    นายอันนภาระกราบพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกลับไปยังสำนักของสุมนเศรษฐีกล่าวว่า ขอท่านจงรับส่วนบุญในบิณฑบาตทานเถิด เศรษฐีกล่าวว่า เชิญท่านรับทรัพย์พันกหาปณะไปเถิด นายอันนภาระกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ขายบิณฑบาตทาน แต่ข้าพเจ้าให้ส่วนบุญแก่ท่านด้วยศรัทธา เศรษฐีกล่าวว่า ท่านให้ส่วนบุญแก่เราด้วยศรัทธา แต่เราบูชาคุณของท่าน ฉันให้พันกหาปณะนี้ จงรับไปเถิด นายอันนภาระจึงถือเอาทรัพย์พันกหาปณะไป เศรษฐีกล่าวว่า ตั้งแต่นี้ไปท่านไม่ต้องงานให้เหน็ดเหนื่อย ท่านจงปลูกเรือนอยู่ใกล้ถนนเถิด ถ้าท่านต้องการสิ่งใดฉันจะมอบสิ่งนั้นให้ ท่านจงมานำเอาไปเถอะ

    ปกติแล้วบิณฑบาตที่บุคคลใดถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ บุคคลนั้นย่อมได้รับผลบุญในวันนั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นสุมนเศรษฐีในครั้งก่อนที่ไปเฝ้าพระราชา ก็ไม่เคยชวนนายอันนภาระไปด้วย แต่ในวันนั้นได้ชวนนายอันนภาระไปด้วย ในวันนั้นพระราชาไม่มองดูเศรษฐีเลย ทรงมองแต่นายอันนภาระเท่านั้น เศรษฐีจึงทูลถามว่า เหตุไฉนพระองค์จึงทรงมองดูแต่บุรุษผู้นี้ พระราชาตรัสว่า เรามองดูเขาเพราะไม่เคยเห็นเขาเข้าเฝ้าในวันอื่น ๆ เขาชื่ออะไร เศรษฐีทูลว่า ชื่อนายอันนภาระ แล้วเศรษฐีก็ได้เล่าเรื่องที่เขาไม่บริโภคอาหารของตน แต่ถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฎฐะ แล้วเขาได้แบ่งส่วนบุญให้ เขาได้ทรัพย์พันกหาปณะจากตนเพื่อบูชาบุญนั้น พระราชาตรัสว่า เขาก็ควรจะได้จากเราบ้าง เราเองก็ควรทำการบูชาบุญนั้น แล้วจึงพระราชทานทรัพย์พันกหาปณะให้นายอันนภาระ แล้วตรัสสั่งให้พนักงานสำรวจดูบริเวณที่จะปลูกเรือนที่นายอันนภาระจะอยู่

    เมื่อพนักงานกำลังจัดแจงแผ้วถางที่สำหรับเรือนนั้นก็ได้พบขุมทรัพย์ชื่อปิงคละ ในที่นั้นตั้งเรียงกัน จึงมากราบทูลพระราชา ๆ สั่งให้ไปขุดขึ้นมา เมื่อพนักงานเหล่านั้นกำลังขุดอยู่ ขุมทรัพย์ก็กลับจมลงไป พนักงานเหล่านั้นไปกราบทูลพระราชาอีก พระราชาตรัสว่า ทรัพย์นั้นเป็นของนายอันนภาระ จงไปขุดเพื่อนายอันนภาระ พนักงานก็ไปขุดตามคำสั่ง ขุมทรัพย์ก็ผุดขึ้น พนักงานเหล่านั้นขนทรัพย์มากองไว้ในพระราชวัง พระราชาประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสถามว่า ในเมืองนี้ใครมีทรัพย์มีถึงเท่านี้บ้าง อำมาตย์ทูลว่า ไม่มีใครมี พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น นายอันนภาระนี้จงชื่อว่า ธนเศรษฐีในพระนครนี้ เขาได้ฉัตรประจำตำแหน่งเศรษฐีในวันนั้นนั่นเอง.

    กำเนิดเป็นเจ้าอนุรุทธศากยะในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ตั้งแต่วันนั้น เขากระทำแต่กรรมอันดีงามจนตลอดชีวิตจุติจากภพนั้นไปเกิดในเทวโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์เป็นเวลานาน ครั้งที่พระศาสดาของพวกเราทรงอุบัติ เขาก็มาถือปฏิสนธิเป็น เจ้าอนุรุทธ พระโอรสแห่งเจ้าอมิโตทนะศากยะ ผู้เป็นพระอนุชาแห่งพระพุทธบิดา คือพระเจ้าสุทโธทนศากยะ?แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ เจ้าอนุรุทธเป็นน้องชายของเจ้ามหานามะศากยะ ท่านทรงเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เป็นผู้มีบุญมาก ทรงมีโภคะสมบูรณ์ ไม่เคยทรงสดับคำว่า“ ไม่มี ” มีเรื่องเล่าว่า

    ทรงโปรดขนมชื่อว่า?“ไม่มี”

    วันหนึ่งเมื่อท่านพร้อมกับพระญาติ ๕ พระองค์ทรงเล่นกีฬาลูกขลุบอยู่ เจ้าอนุรุทธทรงแพ้พนันขนมแล้ว จึงให้มหาดเล็กไปกราบทูลพระมารดาเพื่อให้ส่งขนมมาเป็นค่าที่แพ้พนัน พระมารดาของท่านก็ทรงจัดขนมส่งไป ศากยราชทั้งหกเสวยแล้วทรงเล่นกันอีก เจ้าอนุรุทธก็เป็นฝ่ายแพ้ร่ำไป ส่วนพระมารดาต้องส่งขนมไปถึง ๓ ครั้ง ในวาระที่ ๔ จึงทรงให้ไปแจ้งว่า “ ขนมไม่มี” พระกุมารทรงคิดว่า “ ขนมชื่อนี้ คงเป็นขนมประหลาดชนิดหนึ่ง ” เพราะไม่เคยทรงได้ยินคำว่า “ ไม่มี ” จึงส่งคนไปทูลพระมารดาว่า “ ให้นำขนมไม่มี นั่นแหละมาเถิด”

    ฝ่ายพระมารดาของท่าน เมื่อมหาดเล็กทูลว่า “ เจ้าอนุรุทธขอให้ทรงประทานขนมชื่อ ‘ไม่มี’ ไปถวาย ” จึงทรงพระดำริว่า “ ลูกของเราไม่เคยได้ยินคำว่า ‘ ไม่มี ’ เราจะสอนลูกเราให้รู้คำนั้นด้วยอุบายนี้ ” จึงทรงปิดถาดทองคำเปล่าด้วยถาดทองคำอีกใบหนึ่งแล้วส่งไป.

    ด้วยผลแห่งอธิษฐานในคราวที่เจ้าอนุรุทธศากยะเกิดเป็นนายอันนภาระ ได้ถวายภัตตาหารแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะ และทำความปรารถนาไว้ว่า ‘ ขอข้าพเจ้าจงอย่าได้สดับคำว่า ‘ ไม่มี ’ จึงทำให้ถาดนั้นให้เต็มด้วยขนมทิพย์ เมื่อถาดนั้นพอเขาวางลงที่สนามเล่นขลุบแล้วเปิดขึ้น กลิ่นขนมก็ตั้งตลบไปทั่วทั้งพระนคร พอกษัตริย์ทั้งหกหยิบชิ้นขนมเข้าไปในพระโอฐเท่านั้น โอชะก็แผ่ซ่านไปทั่วประสาทรับรสทั้งเจ็ดพัน.

    พระกุมารนั้นทรงพระดำริว่า “พระมารดาคงจะไม่รักเรา,พระมารดาจึงไม่ทรงปรุงขนมชื่อไม่มีนี้ประทานเรามาก่อน,ตั้งแต่นี้ไป เราจะไม่กินขนมอื่น,” แล้วเสด็จไปสู่ตำหนัก ทูลถามพระมารดาว่า “ เจ้าแม่ หม่อมฉันเป็นที่รักของเจ้าแม่หรือไม่เป็นที่รัก ? ”

    เจ้าย่อมเป็นที่รักยิ่งของแม่ เสมือนนัยน์ตาของคนมีตาข้างเดียว และเหมือนดวงใจของแม่ ฉะนั้น.

    เมื่อเช่นนั้น เหตุไร เจ้าแม่จึงไม่เคยทรงปรุงขนมไม่มี ประทานแก่หม่อมฉันเล่า เจ้าแม่.

    พระนางรับสั่งถามมหาดเล็กคนสนิทว่า “ ขนมอะไร ๆ มีอยู่ในถาดหรือ ” มหาดเล็กทูลว่า “ มีขนมเกิดขึ้นเองอยู่เต็มถาด,ขนมเช่นนี้ กระหม่อมฉันก็ยังไม่เคยเห็น” พระนางทรงพระดำริว่า “ บุตรของเราคงเป็นผู้มีบุญ บุญนั้นคงทำให้มีขนมเต็มถาด” พระโอรสจึงทูลพระมารดาว่า “ เจ้าแม่ ตั้งแต่นี้ไป หม่อมฉันจะไม่เสวยขนมอื่น ขอเจ้าแม่พึงปรุงแต่งขนมไม่มีอย่างเดียว” ตั้งแต่นั้นมา เมื่อพระกุมารทูลขอขนม พระนางก็ทรงครอบถาดเปล่านั่นด้วยถาดอื่น ส่งไปประทานพระกุมารนั้น ขนมทิพย์ก็เกิดขึ้นถวายพระกุมารนั้นตลอดเวลาที่ท่านเป็นฆราวาส
    เกิดร่วมสมัยกับพระโพธิสัตว์

    ก่อนที่ท่านจะเกิดมาในสมัยพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ท่านได้เกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์อยู่หลายชาติ ดังที่ปรากฎในชาดกต่าง ๆ เช่น

    เกิดเป็นปัญจสิขเทพบุตร พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นท้าววาสวะ ใน?สุธาโภชนชาดก

    เกิดเป็นท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นวิธูรบัณฑิต ใน?จตุโปสถชาดก

    เกิดเป็น ๗ พี่น้อง ร่วมกับพระพุทธองค์ ใน?ภิสชาดก

    เกิดเป็น ปัพพตดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบสโพธิสัตว์ ใน?สรภังคชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระราชา ใน?มณิโจรชาดก

    เกิดเป็น ปัญจาลจันทกุมาร พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น มโหสถบัณฑิต ใน?มโหสถบัณฑิตชาดก

    เกิดเป็น นายสารถี พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ ใน?กุรุธรรมชาดก

    เกิดเป็น ปัพพตดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบส ใน?อินทริยชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น อกิตติบัณฑิต ใน?อกิตติชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระเจ้าสีวิราช ใน?สีวิราชชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระจันทกุมาร ใน?จันทกุมารชาดก

    พระบรมศาสดาทรงอุบัติ

    ส่วนพระโพธิสัตว์ของเราจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต มาถือปฏิสนธิในครรภ์ของอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงเจริญวัยโดยลำดับ ทรงครองเรือนอยู่ ๒๙ ปี แล้วทรงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์?ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ทรงยับยั้งที่โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ ประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ทรงกระทำการอนุเคราะห์โลก ครั้นเมื่อพระเจ้าสุทโธทนทรงสดับข่าวว่าพระบรมศาสดามายังกรุงราชคฤห์ จึงทรงรับสั่งให้อำมาตย์กาฬุทายี ไปนิมนต์พระบรมศาสดา อำมาตย์กาฬุทายีก็ได้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาแล้วพระกาฬุทายีเถระทูลวิงวอนให้เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดายัง ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ในครั้งนั้นทรงทำพระธรรมเทศนาอันวิจิตรแก่พระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ เมื่อทรงอนุเคราะห์พระญาติแล้ว ทรงให้ราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ไม่นานนัก ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปจาริกในมัลลรัฐแล้วเสด็จกลับมายังอนุปิยอัมพวัน

    ขัติยศากยกุมารออกบวชตามเสด็จ

    สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงประชุมศากยะสกุลทั้งหลายตรัสให้แต่ละตระกูลในศากยราชวงศ์ส่งขัตติยกุมารออกบวชตามเสด็จ ในครั้งนั้นเล่ากันว่า ขัตติยกุมารถึงพันองค์จึงออกผนวชโดยพระดำรัสครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อขัตติยกุมารโดยมากเหล่านั้นผนวชแล้ว เหล่าพระญาติเห็นศากยะ ๖ พระองค์นี้ คือ ภัททิยราชา อนุรุทธ อานันทะ ภคุ กิมพิละ เทวทัต ยังมิได้ผนวชจึงสนทนากันว่า “ พวกเรายังให้ลูก ๆ ของตนบวชได้ ศากยะทั้ง ๖ นี้ มิใช่พระญาติหรือจึงมิได้ทรงผนวช”

    เมื่อเป็นดังนั้นเจ้ามหานามศากยะจึงเข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศากยะผู้เป็นน้อง และกล่าวว่า บัดนี้ ศากยะกุมารที่มีชื่อเสียงเป็นอันมากได้ออกผนวชตามเสด็จ แต่ผู้ออกบวชจากตระกูลของเรายังไม่มี น้องจักบวช หรือว่า พี่จักบวช” พระอนุรุทธราชกุมารจึงทูลถามว่าการบวชนี้เป็นอย่างไร ? ” เจ้ามหานามจึงตรัสว่า “ ผู้บวช ก็ต้องโกนผมและหนวด ต้องนุ่งห่มผ้ากาสายะ ต้องนอนบนเครื่องลาดด้วยไม้ หรือบนเตียงที่ถักด้วยหวาย เที่ยวบิณฑบาตอยู่ นี้ชื่อว่าการบวช.” เจ้าอนุรุทธศากยะจึงทูลว่า“ เจ้าพี่ หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติ หม่อมฉันจักไม่สามารถบวชได้” เจ้าอนุรุทธกุมารนั้น ทรงเป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาล มีโภคะสมบูรณ์ แม้คำว่า“ ไม่มี ” ก็ไม่เคยได้ยิน จึงไม่ยินดีในการบวช

    เจ้ามหานามจึงตรัสว่า “?อย่างนั้น ท่านจงเรียนรู้การงานสำหรับอยู่เป็นฆราวาสเถิด ในระหว่างเราทั้งสองจะไม่บวชเลยสักคนก็เป็นเรื่องไม่ควร”

    อนุรุทธกุมารผู้ซึ่งไม่รู้แม้กระทั่งว่าอาหารที่ตนบริโภคนั้นเกิดขึ้นที่ไหน ได้มาอย่างไร จะรู้จักการงานได้อย่างไร ?

    เจ้าศากยะทั้ง ๓ สนทนากันถึงที่เกิดแห่งข้าว

    ก็วันหนึ่ง ยุวกษัตริย์ ๓ องค์ คือ เจ้ากิมพิละ เจ้าอนุรุทธ และเจ้าภัททิยะ ทรงสนทนากันด้วยเรื่องว่า “ ข้าวที่เราบริโภคเกิดขึ้นที่ไหน ? ” กิมพิลกุมาร รับสั่งว่า “ เกิดขึ้นในฉาง” ครั้งนั้นภัททิยกุมาร ตรัสค้านกิมพิลกุมารนั้นว่า “ ท่านยังไม่ทราบที่เกิดแห่งข้าว ชื่อว่าข้าว ย่อมเกิดขึ้นที่หม้อข้าว” เจ้าอนุรุทธตรัสแย้งว่า “ ถึงท่านทั้งสองก็ยังไม่ทรงทราบ ธรรมดาข้าว ย่อมเกิดขึ้นในถาดทองคำประมาณศอกกำ”

    ได้ยินว่า บรรดากษัตริย์ ๓ องค์นั้น วันหนึ่ง กิมพิลกุมาร ทรงเห็นเขาขนข้าวเปลือกลงจากฉาง ก็เข้าพระทัยว่าข้าวเปลือกเหล่านี้เกิดขึ้นในฉางนั่นเอง

    ฝ่ายพระภัททิยกุมาร ทรงเห็นเขาคดข้าวออกจากหม้อข้าวก็เข้าพระทัยว่า ข้าวเกิดขึ้นในหม้อข้าวนั่นเอง

    ส่วนอนุรุทธกุมาร ยังไม่เคยทรงเห็นคนซ้อมข้าว คนหุงข้าว หรือคนคดข้าว ทรงเห็นแต่ข้าวที่เขาคดแล้วตั้งไว้ เฉพาะพระพักตร์เท่านั้น.ท่านจึงทรงเข้าพระทัยว่า “ ภัตเกิดในถาด ในเวลาที่ต้องการบริโภค”

    ยุวกษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์นั้น ย่อมไม่ทรงทราบแม้ที่เกิดแห่งข้าวตามเรื่องที่เล่ามาข้างต้น เพราะฉะนั้น?อนุรุทธกุมารนี้จึงทูลถามว่า “การทำงานนี้เป็นอย่างไร ? เจ้ามหานามศากยะ จึงสอนเรื่องการครองเรือนแก่อนุรุทธกุมารผู้น้องว่า ผู้อยู่ครองเรือน ชั้นต้นต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้หว่าน ให้ไขน้ำเข้า ครั้นไขน้ำเข้ามากเกินไป ต้องให้ระบายน้ำออก ครั้นให้ระบายน้ำออกแล้ว ต้องให้ถอนหญ้า ครั้นแล้วต้องให้เกี่ยว ให้ขน ให้ตั้งลอม ให้นวด ให้สงฟางออก ให้ฝัดข้าวลีบออก ให้โปรยละออง ให้ขนขึ้นฉาง ครั้นถึงฤดูฝนก็ต้องทำอย่างนี้อีก เป็นอย่างนี้ทุกปี

    ครั้นอนุรุทธกุมารได้ทรงฟังกิจการที่ฆราวาสจะพึงทำเป็นประจำทุกปีเช่นนั้น ทรงมองไม่เห็นว่า การงานสำหรับเพศฆราวาสทั้งหลายจะมีที่สิ้นสุดเมื่อไร จึงทูลให้เจ้ามหานามทรงครองฆราวาส ส่วนตนเองจะเป็นผู้ออกบวช

    เจ้าอนุรุทธศากยะขออนุญาตจากพระราชมารดา

    เจ้าอนุรุทธศากยะจึงเข้าไปหาพระราชมารดา แล้วกล่าวขออนุญาตที่จะออกบวช พระราชมารดาไม่ทรงยินยอม ท่านได้กล่าวอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง พระราชมารดาของอนุรุทธศากยะทรงคิดว่า พระเจ้าภัททิยศากยะ ผู้ทรงเป็นพระสหายสนิทของอนุรุทธศากยะนี้ ทรงครองราชสมบัติเป็นราชาของพวกศากยะ พระองค์คงจะไม่อาจสละราชสมบัติออกทรงผนวชเป็นแน่ จึงได้กล่าวกะอนุรุทธศากยะว่า ถ้าพระเจ้าภัททิยศากยะทรงผนวช เจ้าก็ออกบวชได้

    ลำดับนั้น อนุรุทธศากยะจึงเสด็จไปเข้าไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยศากยะ แล้วได้ทูลว่า การบวชของเรานั้นขึ้นอยู่กับตัวท่าน

    พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า ไม่ว่าการบวชของท่านจะขึ้นอยู่กับตัวเราหรือไม่ก็ตาม ท่านจงบวชตามสบายเถิด

    อนุรุทธศากยะได้ยินดังนั้นจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเราทั้งสองจะออกบวชด้วยกัน

    พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า เราไม่สามารถออกบวชได้ ถ้ามีสิ่งอื่นใดที่เราสามารถจะทำให้ท่านได้ เราจะทำสิ่งนั้นให้แก่ท่าน ท่านจงบวชเองเถิด

    อนุรุทธศากยะตรัสว่า ก็พระมารดาได้ตั้งเงื่อนไขกับเราว่า ถ้าท่านบวชด้วย พระมารดาก็จะยอมให้เราบวช ก็ท่านพูดเมื่อครู่นี้ว่า เราจงบวชตามความสบาย ดังนั้นเมื่อท่านยอมให้เราบวช ท่านก็ต้องบวชด้วย

    ในสมัยนั้น คนทั้งหลายเป็นผู้มีความสัตย์ ดังนั้นพระเจ้าภัททิยศากยะได้ต่อรองว่า จงรออยู่สัก ๗ ปีเถิด เมื่อครบ ๗ ปีแล้ว เราทั้งสองจึงจะออกบวชด้วยกัน ฝ่ายเจ้าอนุรุทธก็ไม่ยินยอม การต่อรองได้ดำเนินไปโดยลดระยะเวลาลงเรื่อย ๆ จนถึง ๗ วัน เจ้าอนุรุทธจึงยินยอม

    อุบาลีออกบวชพร้อมด้วยศากยะทั้งหก

    แต่นั้น กษัตริย์ทั้งหกองค์นี้ คือ ภัททิยศากยราช อนุรุทธ อานนท์ กคุ กิมพิละ และเทวทัต พร้อมกับนายภูษามาลา ชื่อ อุบาลี ได้เสด็จออกจากเมืองโดยทำเสมือนหนึ่งว่าจะเสด็จไปประพาสอุทยาน เมื่อออกนอกแดนที่เหล่าศากยะทั้ง ๖ ปกครองแล้ว ก็ทรงส่งทหารมหาดเล็กให้กลับพระนคร แล้วเสด็จต่อไปเข้าสู่แดนของศากยะราชพระองค์อื่น กษัตริย์ ๖ พระองค์ก็ทรงเปลื้องอาภรณ์ของตนออกทำเป็นห่อ แล้วรับสั่งให้นายอุบาลีกลับไปพร้อมกับนำเครื่องประดับเหล่านั้นไปเพื่อเลี้ยงชีพ ฝ่ายอุบาลีภูษามาลาไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับ โดยคิดว่า “พวกเจ้าศากยะราชโหดร้ายนัก ถ้าเรากลับไปพร้อมเครื่องประดับเช่นนี้ เจ้าศากยราชเหล่านั้นก็จะฆ่าเราเสีย ด้วยเข้าพระทัยว่า พระกุมารทั้งหลายถูกเจ้าคนนี้ปลงพระชนม์เสียแล้ว แล้วก็คิดต่อไปว่า ศากยกุมารเหล่านี้ทรงสละสมบัติ ทิ้งอาภรณ์อันหาค่ามิได้เหล่านี้ราวกับถ่มน้ำลายทิ้ง เพื่อออกผนวช ก็ทำไมเราจึงจะทำเช่นนั้นบ้างไม่ได้เล่า ? ” ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงแก้ห่อเครื่องประดับนั้น เอาอาภรณ์เหล่านั้นแขวนไว้บนต้นไม้แล้ว กล่าวว่า “ ใครต้องการก็จงเอาไปเถิด ” แล้วหันกลับเดินไปสู่สำนักของศากยกุมารเหล่านั้น ศากยกุมารเหล่านั้นเห็น อุบาลีภูษามาลากลับมาจึงตรัสถามถึงเหตุที่กลับมา นายภูษามาลาก็กราบทูลให้ทรงทราบ.

    ศากยะทั้งหกบรรลุคุณพิเศษ

    ลำดับนั้น ศากยกุมารเหล่านั้น ทรงพาอุบาลีภูษามาลา ไปสู่สำนักพระศาสดาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีมานะ ความถือตัวอยู่ อุบาลีผู้นี้เป็น นายภูษามาลา เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะ ของพวกหม่อมฉันผู้เป็นศากยะจักเสื่อมคลายลง” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ

    ท่านพระภัททิยะได้เป็นพระอรหัตถ์เตวิชโช โดยระหว่างพรรษานั้นนั่นเอง ท่านพระอนุรุทธเป็นผู้มีจักษุเป็นทิพย์ แต่ยังไม่บรลุพระอรหัตผล.ท่านพระอานนท์ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระภคุเถระและพระกิมพิลเถระ ภายหลังเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต พระเทวทัตได้บรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน.

    พระเถระบวชแล้ว เป็นผู้ได้สมาบัติในภายในพรรษาก่อนเพื่อน ได้ทิพยจักษุฌาน ต่อมาท่านได้เกิดความไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม จึงไปยังสำนักของพระสารีบุตรเถระ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร (๑) ผมตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ (๒) ก็ผมปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา (๓) เหตุใดเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า?การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า (๑) เราตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ดังนี้ เป็นเพราะมานะของท่านยังมีอยู่ (๒) การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อนตั้งสติมั่นไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตาดังนี้ เป็นเพราะอุทธัจจะของท่านยังมีอยู่? (๓) ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่าจิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็เป็นเพราะกุกกุจจะของท่านยังมีอยู่

    ท่านจงละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจธรรม ๓?อย่างนี้ แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุครั้งนั้นแล

    พระเถระบอกกรรมฐานแก่ท่านด้วยประการเช่นนี้ ท่านรับกรรมฐานแล้ว ไปทูลลาพระศาสดาแล้วเดินทางไปบำเพ็ญสมณธรรม ณ ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจติยะ ยับยั้งอยู่ด้วยการจงกรมเป็นเวลาครึ่งเดือน ท่านลำบากกาย เพราะกรากกรำด้วยกำลังความเพียร นั่งอยู่ภายใต้พุ่มไม่พุ่มหนึ่ง แล้วก็ตรึกแล้วถึงมหาปริวิตก ๗ ประการ คือ

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ

    ในครั้งนั้น ท่านได้มีความปริวิตกว่า มหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ เป็นเช่นไรหนอ พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธแล้ว เสด็จจาก เภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แล้วทรงตรัสให้พระอนุรุทธเถระตรึกใน มหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ที่ว่า

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า

    แล้วตรัสมหาอริยวงสปฏิปทา ประดับไปด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย ๔ และมีภาวนาเป็นที่มายินดี และทรงตรัสให้พระอนุรุทธเถระอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นี้ต่อไปอีก แล้วเสด็จเหาะไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวันแขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ท่านพระอนุรุทธอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นครนั้นต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียรมีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

    ต่อมาภายหลัง?พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า อนุรุทธเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้มีทิพยจักขุ

    พระอนุรุทธเถระกับการบัญญัติสิกขาบทบางข้อ

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธเดินทางไปพระนครสาวัตถี ในโกศลชนบท ได้ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ณ เวลาเย็น ในสมัยนั้น ในหมู่บ้านนั้นมีสตรีผู้หนึ่งชื่อ นางคันธคันธินี จัดเรือนพักสำหรับอาคันตุกะไว้ เป็นสถานที่อันนางจัดสร้างไว้เพราะความเป็นผู้ประสงค์บุญ ท่านพระอนุรุทธฟังคำของพวกชาวบ้านว่า มีเรือนพักกันเขาจัดไว้ ณ ที่นั้น จึงเข้าไปหานางคันธคันธินี แล้วได้ขอพักแรมในเรือนพักสักคืนหนึ่ง.นางคันธคันธินีก็นิมนต์ท่านพักแรม

    ต่อมามีพวกคนเดินทางกลุ่มอื่นเข้าไปหานางคันธคันธินี แล้วได้ขอพักแรมในเรือนพักสักคืนหนึ่งเช่นกัน นางจึงกล่าวว่า มีพระสมณะเข้าไปพักแรมอยู่ก่อนแล้ว ถ้าพระสมณะนั้นอนุญาตก็พักแรมได้.คนเดินทางพวกนั้น จึงพากันเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธแล้ว ได้ขอพักแรมคืนในเรือนพักสักคืนหนึ่ง พระเถระก็อนุญาต

    อันที่จริง นางคันธคันธินีนั้นเมื่อได้เห็นพระเถระก็ได้มีจิตปฏิพัทธ์ ดังนั้น.นางจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวว่า พระคุณเจ้าอาศัยปะปนกับคนพวกนี้จะพักผ่อนไม่สบาย ดิฉันจะจัดเตียงถวายพระคุณเจ้าให้พักข้างใน ท่านพระอนุรุทธรับด้วยดุษณีภาพ.

    ครั้นแล้ว นางได้จัดเตียงที่มีอยู่ข้างในถวายท่านพระอนุรุทธ แล้วประดับตกแต่งร่างกายให้หอม เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวเกี้ยวพาราสีพระเถระ ท่านพระอนุรุทธมิได้โต้ตอบ ท่านได้นิ่งเสีย.

    นางได้พยายามเกี้ยวพาราสีท่านพระเถระถึง ๓ ครั้ง ในครั้งที่ ๓นางได้ขอให้พระเถระรับเอานางเป็นภรรยาและปกครองทรัพย์สมบัติทั้งหมด.

    แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอนุรุทธก็ได้นิ่งเสีย.

    นางเห็นดังนั้น นางจึงได้เปลื้องผ้าออกแล้ว เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง เบื้องหน้าท่านพระอนุรุทธ ฝ่ายท่านพระอนุรุทธ สำรวมอินทรีย์ ไม่แลดู ไม่ปราศรัยกับนาง

    นางเห็นพระเถระสำรวมกาย วาจา ใจ ได้เช่นนั้นจึงอุทานว่า น่าอัศจรรย์นัก คนเป็นอันมากยอมให้ทรัพย์เรา ๑๐๐ กษาปณ์บ้าง ๑๐๐๐ กษาปณ์บ้าง ส่วนพระสมณะรูปนี้ เราวิงวอนด้วยตนเองยังไม่ปรารถนาจะรับปกครองเราและสมบัติทั้งหมด แล้วจึงนุ่งผ้า ซบศีรษะลงที่เท้าของท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวคำขอขมาต่อท่าน

    ท่านพระอนุรุทธก็ยกโทษให้ ครั้นรุ่งเช้า นางได้ถวายภัตตาหารแด่พระเถระ ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้วจึงแสดงธรรมให้นางฟัง นางจึงเกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

    ต่อจากนั้น ท่านพระอนุรุทธเดินทางไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ฟัง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอนุรุทธจึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า

    ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

    พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอนุรุทธว่า ดูกรอนุรุทธ ข่าวว่า เธอสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม จริงหรือ?

    ท่านพระอนุรุทธทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรอนุรุทธ ไฉนเธอจึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

    แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นว่า อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์.
    ?

    พระอนุรุทธเถระกับนางชาลินีเทพธิดา

    สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธพำนักอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ครั้งนั้น นางเทพธิดาในสวรรค์ดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งชื่อชาลินี ในอดีตเคยเป็นภรรยาเก่าของท่านพระอนุรุทธ นางยังคงมีความเสน่หาอาลัยในพระมหาเถระอยู่ นางเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ตามเวลา ปัดกวาดบริเวณ เข้าไปตั้งน้ำล้างหน้า ไม่สีฟัน น้ำฉันน้ำใช้ให้ พระเถระใช้สอยโดยไม่นึก ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านให้นึกถึงความสุขอันน่าใคร่ทั้งหลายทั้งปวงบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ท่านเคยอยู่ในกาลก่อน พรั่งพร้อมด้วยหมู่เทวดาแวดล้อมเป็นบริวาร เพื่อให้ท่านได้ตั้งจิตไปเกิดในภูมิเทวดาอีก ลำดับนั้น พระเถระได้ให้คำตอบแก่เทพธิดาว่า นางเทพธิดาผู้เขลา ท่านไม่รู้แจ้งถึงคำของพระอรหันต์ว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ ย่อมเป็นสุข บัดนี้ การเกิดในภพใหม่ ไม่ว่าในภูมิใด ๆ ของท่านไม่มีต่อไปอีกแล้ว นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้น หมดความหวัง แล้วกลับไปยังวิมาน
    พระพุทธเจ้าและพระสาวกช่วยพระอนุรุทธเถระทำจีวร

    นางชาลินีเทพธิดาถวายผ้าบังสุกุล

    ในวันหนึ่ง?พระเถระมีจีวรเก่าแล้ว จึงได้เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้วในที่ทั้งหลายเช่นตามกองขยะเป็นต้น นางชาลินีเทพธิดานั้น เห็นพระเถระเที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลอยู่ จึงถือผ้าทิพย์ ๓ ผืน ยาว ๑๓ ศอก กว้าง ๔ ศอก แล้วคิดว่าถ้าเราจักถวายท่านตรง ๆท่านคงไม่รับ จึงซุกผ้าไว้บนกองขยะแห่งหนึ่งให้โผล่มาเพียงชายผ้าเท่านั้น เมื่อพระเถระเห็นชายผ้าของท่อนผ้าเหล่านั้นแล้ว จึงดึงชายผ้านั้นออกมาเห็นเป็นผ้าบังสุกุลจึงถือเอา แล้วกลับไป

    หมายเหตุ บางตำรากล่าวว่า วิธีการที่นางเทพธิดาชาลินี นำผ้าไปวางซุกไว้ในกองขยะ ในลักษณะทอดผ้าบังสุกุลนั้น พุทธบริษัทได้ถือเป็นแบบอย่างในการทอดผ้าบังสุกุล และทอดผ้าป่าในปัจจุบันนี้

    พระศาสดาทรงช่วยทำจีวร

    ครั้นในวันทำจีวรของพระเถระนั้น พระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร เสด็จไปที่พระวิหารประทับนั่งแล้ว แม้พระอสีติมหาสาวกทั้ง ๘๐ รูปก็นั่งอยู่ด้วย พระมหากัสสปเถระนั่งแล้วตอนต้น เพื่อเย็บจีวร พระสารีบุตรเถระนั่งในท่ามกลาง พระอานนเถระนั่งในท้ายที่สุด.ภิกษุสงฆ์กรอด้าย พระศาสดาทรงร้อยด้ายนั้นในรูเข็ม พระมหาโมคคลัลานเถระ เป็นผู้จัดหาวัตถุที่พระสงฆ์ต้องการ แม้เหล่าเทพธิดาประจำบ้านก็เข้าไปสู่ภายในบ้านแล้ว ชักชวนให้เจ้าบ้านมาถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ในครั้งนั้นภัตตาหารอันมีข้าวยาคูของควรเคี้ยว ต่างทั้งหลายมีปริมาณเป็นอันมาก จนภิกษุทั้งหลายฉันไม่หมด เหลือกองอยู่เป็นอันมาก

    พระขีณาสพไม่พูดเกี่ยวกับปัจจัย

    ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า?“หมู่ภิกษุมีเพียงเท่านี้ เพราะเหตุใดจึงมีผู้นำภัตตาหารมาถวายมากมายจนเหลือมากมายปานนี้ พระอนุรุธเถระเห็นจะประสงค์ให้เขารู้ว่าญาติและอุปัฏฐากของตนมีมาก.”?ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า?“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดเรื่องอะไรกัน?”เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องที่ตนโจษจันอยู่ พระบรมศาสดาจึงตรัสถามว่า?“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าอนุรุทธเป็นผู้ขอให้นำของเหล่านี้มาหรือ?”?ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า?“อย่างนั้น พระเจ้าข้า”?พระศาสดาตรัสว่า?“ภิกษุทั้งหลาย อนุรุทธผู้บุตรของเรา ไม่กล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้น แม้ พระขีณาสพทั้งหลาย ก็ย่อมไม่กล่าวเรื่องเกี่ยวกับปัจจัย บิณฑบาตเหล่านี้ เกิดด้วยอานุภาพของเทวดา”

    พระอนุรุทธเถระบำเพ็ญเพียรโดยถือเอาการไม่นอนเป็นวัตร

    ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่าพระเถระนั้น ตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืน ได้เจริญอาโลกกสิณตรวจดูเหล่าสัตว์ด้วยทิพยจักษุอย่างเดียว เว้นแต่ช่วงเวลาฉันเท่านั้น?บางอาจารย์กล่าวว่า พระเถระเป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕๕ ปี เบื้องต้นไม่ได้หลับ ๒๕ ปี ต่อแต่นั้นจึงได้หลับในเวลาปัจฉิมยาม เพราะร่างกายอ่อนเปลี้ย

    บทบาทพระอนุรุทธเถระเมื่อครั้งพุทธปรินิพพาน

    ตามพระบาลีได้กล่าวถึงบทบาทของพระอนุรุทธเถระเมื่อคราวครั้งพุทธปรินิพพานไว้ว่า เมื่อพระบรมศาสดาได้ทรงมีปัจฉิมวาจาแก่เหล่าภิกษุทั้งมวลแล้ว ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าฌานสูงขึ้นไปเป็นลำดับ จนถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ ด้วยเหตุว่าผู้ที่เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินั้นลมหายใจก็จะหมดไป ทำให้ไม่ทราบว่าทรงปรินิพพานแล้วหรือยัง เมื่อเทพดาและมนุษย์เห็นความไม่เป็นไปของลมอัสสาสปัสสาสะจึงได้ร้องขึ้นพร้อมกันด้วยเข้าใจว่าพระศาสดาปรินิพพานเสียแล้ว ฝ่ายพระอานนทเถระ ถามพระอนุรุทธเถระว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วหรือ พระอนุรุทธตอบว่า พระตถาคตยังไม่ปรินิพพาน แต่พระองค์ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.การที่พระอนุรุทธเถระทราบดังนั้นก็เป็นด้วยพระเถระท่านเข้าสมาบัตินั้น ๆ พร้อมกับพระศาสดาที่เดียว และเมื่อท่านทราบว่าพระพุทธองค์ทรงเข้านิโรธสมาบัติ จึงทราบว่ายังทรงไม่ปรินิพพาน เพราะเหตุว่า การสิ้นชีวิตภายในนิโรธสมาบัติ ย่อมไม่มี.

    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ทรง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ และทรงถอยออกจากฌานลงเป็นลำดับจนถึงจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจาจตุตถฌาณหยั่งลงสู่ภวังคจิต แล้วปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง

    ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว ท่านพระอนุรุทธ จึงได้แจ้งแก่หมู่พระภิกษุและเหล่ากษัตริย์ทั้งปวงที่เฝ้าอยู่ ว่าพระบรมศาสดาได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว บรรดาภิกษุทั้งหลาย? นั้น ภิกษุเหล่าใดที่ยังไม่บรรลุพระอรหัตผลก็ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ส่วนภิกษุเหล่าใดที่บรรลุอรหัตผลแล้ว ก็ได้ธรรมสังเวช

    ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธจึงได้เตือนให้ภิกษุทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศก อย่าร่ำไรไปเลย พึงรำลึกถึงพระดำรัสของพระพุทธองค์ในเรื่องความไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลาย และยังบอกด้วยว่า?เหล่าเทวดาจะตำหนิเอาว่า ตัวของพระภิกษุทั้งหลายเองก็ยังไม่อาจอดกลั้นความเศร้าโศกได้ และจะปลอบโยนผู้อื่นได้อย่างไร

    ? จากนั้น ท่านพระอนุรุทธและท่านพระอานนท์ เห็นเป็นเวลาไกล้รุ่งแล้ว ท่านทั้งสองจึงแสดงธรรมีกถาตลอดราตรีที่ยังเหลืออยู่นั้น รุ่งเช้าท่านพระอนุรุทธสั่งท่านพระอานนท์ให้ไปแจ้งแก่เจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว

    นอกจากนั้นในระหว่างเตรียมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอยู่นั้น เมื่อเกิดเหตุผิดปกติเกิดขึ้น พวกเจ้ามัลละกษัตริย์ก็มักจะเรียนถามสาเหตุกับพระเถระ ด้วยว่าพระเถระผู้เดียวปรากฏว่าเป็นผู้มีทิพยจักษุเพราะฉะนั้น แม้จะมีพระเถระองค์อื่น ๆ ที่มีอายุกว่า แต่พวกเจ้ามัลละเหล่านั้น ก็เรียนถามเฉพาะพระเถระ ด้วยเห็นว่า ท่านพระอนุรุทธเถระนี้สามารถตอบได้ชัดเจน เช่นเมื่อมัลลปาโมกข์ ๘ องค์ จะยกพระสรีระพระผู้มีพระภาคขึ้นเพื่อแห่ไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนคร ถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาคทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แต่ก็ยกพระพุทธสรีระไม่ขึ้น จึงได้ถามพระเถระ พระเถระจึงแจ้งว่า

    เหล่าเทวดาประสงค์จะให้เชิญพระพุทธสรีระไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วแห่เข้าไปสู่พระนครโดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทวารทิศบูรพา แล้วถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาค ที่มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพาแห่งพระนคร

    อีกครั้งหนึ่งเมื่อครั้งจะจุดไฟถวายพระเพลิง มัลลปาโมกข์ ๔ องค์ผู้มีหน้าที่ถวายพระเพลิง ก็ลงมือจุดไฟเพื่อถวายพระเพลิง แต่พยายามอย่างไรไฟก็ไม่ติด เหล่ามัลลกษัตริย์จึงเรียนถามพระอนุรุทธเถระ พระเถระจึงตอบว่า เหล่าเทวดาประสงค์จะให้คอยพระมหากัสสปเถระที่กำลังเดินทางมา เพื่อให้พระมหากัสสปเถระกระทำความเคารพพระพุทธสรีระด้วยตนเองเสียก่อน ดังนี้เป็นต้น

    รับมอบหมายให้บริหารคัมภีร์อังคุตตรนิกายเมื่อครั้งปฐมสังคายนา

    หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงดับขันธปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระก็ดำริที่จะทำสังคายนาพระธรรม จึงได้อาราธนาพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป เพื่อทำปฐมสังคายนาที่ ปากถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์

    ในการสังคายนานั้น มีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย โดย พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบัญญัติพระวินัย และ พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม

    ในการสังคายนา เหล่าพระสงฆ์มีมติให้สังคายนาสุตตันตปิฎกก่อน โดยเริ่มจาก สังคายนาทีฆนิกาย สังคายนามัชฌิมนิกาย สังคายนาสังยุตตนิกาย สังคายนาอังคุตตรนิกาย ไปตามลำดับ

    ครั้นสังคายนาทีฆนิกายแล้ว พระธรรรมสังคาหกเถระกล่าวว่า นิกายนี้ชื่อทีฆนิกาย แล้วมอบท่านพระอานนท์ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์ทีฆนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระ ทั้งหลายได้สังคายนามัชฌิมนิกาย แล้วมอบแก่ศิษย์ของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระว่า ท่านทั้งหลายจงบริหารคัมภีร์มัชฌิมนิกายนี้

    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์มัชฌิมนิกายนั้น พระธรรรมสังคาหกเถระ ทั้งหลายได้สังคายนาสังยุตตนิกาย แล้วมอบแก่พระมหากัสสปเถระ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์สังยุตตนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาอังคุตตรนิกาย แล้วมอบแก่พระอนุรุทธเถระให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    พระอนุรุทธเถระปรินิพพาน
    ท่านพระอนุรุทธเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธ์ เข้าสู่นิพพาน ณ ภายใต้ร่มกอไผ่ ในหมู่บ้านเวฬุวะ แคว้นวัชชี
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เบญจศีล สิกขาบทที่ ๔

    -http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-sila-00-05.htm-

    มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ

    ศีลข้อนี้บัญญัติขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการทำลายประโยชน์ของกันและกัน
    ด้วยการพูด คือ ตัดประโยชน์ทางวาจา และรักษาวาจาของตนให้เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น
    เมื่อเพ่งความเจริญเป็นใหญ่ พึงทราบในสิกขาบทนี้
    ท่านห้ามเป็นข้อใหญ่ ๓ ประการ คือ

    ๑. มุสาวาท ๒. อนุโลมุสา ๓. ปฏิสสวะ

    การกระทำตามข้อ ๑ ศีลขาด กระทำตามข้อ ๒ และ ๓ ศีลด่างพร้อย

    มุสาวาท

    การพูดเท็จ คือ การโกหก หมายถึง การแสดงออกด้วยเจตนาบิดเบือน
    ความจริง ให้คนหลงเชื่อแสดงออกได้ ๒ ทาง คือ

    ๑. ทางวาจา ได้แก่ พูดโกหกชัด ๆ

    ๒. ทางกาย ทำเท็จทางกาย เช่น เขียนจดหมาย โกหก ทำรายงานเท็จ
    ทำหลักฐานปลอม หรือ มีใครถามข้อความที่ควรรับ ก็สั่งศีรษะแสดงปฏิเสธ

    เพื่อความสะดวกในการเรียน และการปฏิบัติ
    ท่านจำแนกกิริยาที่เป็นมุสาวาทไว้ ๗ อย่าง คือ

    ๑. ปด

    ๒. ทดสาบาน

    ๓. ทำเล่ห์กระเท่ห์

    ๔. มารยา

    ๕. ทำเลศ

    ๖. เสริมความ

    ๗. อำความ

    ๑. ปด ได้แก่ พูดมุสาชัดๆ ไม่อาศัย ไม่อาศัยมูลเหตุเลย
    เช่น เห็นว่าไม่เห็น รู้ว่าไม่รู้ โดยโวหารต่างกัน
    ตามความมุ่งหมายของผู้พูด ท่านแสดงไว้เป็นตัวอย่าง ๔ ข้อ คือ

    ก. พูดเพื่อจะให้เขาแตกกัน เรียกว่า ส่อเสียด

    ข. พูดเพื่อจะโกงท่าน เรียกว่า หลอก

    ค. พูดเพื่อจะยกย่อง ท่านเรียกว่า ยก

    ง. พูดไว้แล้วไม่รับ เรียกว่า กลับคำ

    ๒. ทนสาบาน ได้แก่ กิริยาที่เลี่ยงสัตย์ว่า จะพูดตามจริง
    แต่ใจไม่ตั้งจริงตามนั้น มีพูดปดเป็นลำดับ บริวาร
    เช่น เป็นพยานทนสาบานไว้ แล้วเบิกความเท็จ เป็นต้น

    ๓. ทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ กิริยาที่อวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์อันไม่มีจริง
    เช่น อวดรู้วิชาคงกระพัน ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก เป็นต้น ซึ่งเป็นอุบายหาลาภ

    ๔. มารยา ได้แก่ กิริยาที่แสดงให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง
    หรือลวงให้เข้าใจผิด เช่น เป็นคนทุศีล ก็ทำท่าทางให้เขาเห็นว่ามีศีล
    เจ็บน้อยก็ครวญครางมาก

    ๕. ทำเลศ ได้แก่ พูดมุสาเล่นสำนวน เช่น เห็นคนวิ่งหนีเขามา
    เมื่อผู้ไล่มาถาม ไม่อยากจะให้เขาจับคนนั้นได้
    แต่ไม่ต้องการให้ใครตราหน้าว่าเป็นคนพูดมุสา จึงย้ายไปยืนที่อื่น
    แล้วพูดว่าตั้งแต่มายืนที่นี่ ยังไม่เคยเห็นใครวิ่งมาเลย

    ๖. เสริมความ ได้แก่ พูดมุสาอาศัยมูลเดิม
    แต่ตัดความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เรื่องมากพูดให้เหลือน้อย
    ปิดความบกพร่องของตน

    โทษของมุสาวาท

    บุคคลพูดมุสา มีโทษทั้งทางโลกและทางธรรม
    ทางโลกปรับโทษทางกฎหมายที่หักประโยชน์ของผู้อื่น
    ทางธรรมปรับโทษอย่างหนักถึงปาราชิก อย่างเบาปรับเสมอปาจิตตีย์
    กล่าวโดยความเป็นกรรมมีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดย วัตถุ เจตนา ประโยค

    ก. โดยวัตถุ ถ้าข้อความนั้นเป็นเรื่องหักล้างประโยชน์
    เช่น ทนสาบาน เบิกพยานเท็จ กล่าวใส่ความท่าน
    หลอกลวงเอาทรัพย์ท่าน มีโทษหนัก หรือกล่าวมุสาแก่ผู้มีคุณ
    เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ เจ้านาย และท่านผู้มีศีลธรรม มีโทษหนัก

    ข. โดยเจตนา ถ้าผู้พูดคิดให้ร้ายท่าน เช่น กล่าวใส่ความท่าน มีโทษหนัก

    ค. โดยประโยค ถ้าผู้พูดพยายามทำให้เขาเชื่อสำเร็จ มีโทษหนัก

    อนุโลมมุสา

    อนุโลมมุสา คือ เรื่องที่พูดนั้นไม่จริง แต่ผู้พูดมิได้มุ่งจะให้ผู้ฟังหลงเชื่อ
    แยกประเภท ๒ อย่าง คือ

    ๑. เสียดแทง กิริยาที่ว่าให้ผู้อื่นให้เจ็บใจ อ้างวัตถุไม่เป็นจริง
    กล่าวยกให้สูงกว่าพื้นเพเดิมของเขา
    เรียกว่า ประชด กล่าวทำให้คนเป็นคนเลวกว่าพื้นเพเดิมของเขา เรียกว่า ด่า

    ๒. สับปลับ ได้แก่ พูดปดด้วยคะนองวาจา

    โทษของอนุโลมมุสา

    อนุโลมมุสา มีโทษทั้งทางโลกและทางธรรม
    ทางโลกจัดว่าเป็นกิริยาที่หยาบช้าเลวทราม ไม่สมควรประพฤติ
    ทางธรรม จัดว่าเป็นบาป เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม
    ก็มีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดยวัตถุ เจตนา ประโยค

    ก. โดยวัตถุ ถ้าเป็นข้อความเป็นเรื่องประทุษร้ายท่าน เช่น พูดเสียดแทง
    มีโทษหนัก และกว่าแก่ผู้มีคุณ ก็มีโทษหนัก

    ข. โดยเจตนา ถ้าพูดใส่ร้ายผู้อื่น เช่น หวังจะให้ท่านเจ็บใจ
    และกล่าวเสียดแทง มีโทษหนัก

    ค. โดยประโยค ถ้าผู้พูดพยายามทำความเสียหายแก่ท่านสำเร็จ
    เช่น ยุให้ท่านแตกกัน และเขาก็แตกกัน มีโทษหนัก

    ปฏิสสวะ

    ปฏิสสวะ ได้แก่ เดิมรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์
    แต่ภายหลังกลับใจ ไม่ทำตามที่รับนั้น แม้ไม่เป็นการพูดเท็จโดยตรง
    แต่ก็เป็นการทำลายประโยชน์ของคนอื่นได้ มีประเภทเป็น ๓ อย่าง คือ

    ๑. ผิดสัญญา ได้แก่ สองฝ่ายทำสัญญากันว่าจะทำอย่างนั้นๆ
    แต่ภายหลังไม่ทำอย่างนั้น เช่น ทำสัญญาจ้าง เป็นต้น

    ๒. เสียสัตย์ ได้แก่ ให้สัตย์แก่ท่านฝ่ายเดียวว่าตนจะทำ
    หรือไม่ทำเช่นนั้นๆ แต่ภายหลังไม่ทำตามนั้น
    เช่น ข้าราชการ ผู้ถวายสัตย์สาบานแล้ว ไม่ทำตามนั้น

    ๓. คืนคำ ได้แก่ รับว่าจะทำสิ่งนั้นๆ แล้วภายหลังไม่ทำ
    เช่น รับว่าให้สิ่งนั้นๆ แล้วไม่ให้

    โทษของปฏิสสวะ คือ ทำให้เสียชื่อเสียง ตามฐานที่ไม่ตั้งอยู่ในสัตย์

    ถ้อยคำที่ไม่เป็นมุสา

    มีคำพูดอีกประเภทหนึ่ง ที่ผู้พูดๆ ไม่จริง แต่ก็ไม่ประสงค์ให้ผู้ฟังเชื่อ
    เรียกว่า ยถาสัญญา คือ พูดตามความสำคัญ ผู้พูดไม่ผิดศีล
    แยกประเภทเป็น ๔ อย่าง คือ

    ๑. โวหาร

    ๒. นิยาย

    ๓. สำคัญผิด

    ๔. พลั้ง

    ๑. โวหาร ได้แก่ ถ้อยคำที่ใช้เป็นธรรมเนียม
    เพื่อความไพเราะทางภาษา
    เช่น เราเขียนจดหมายลงท้ายด้วยความนับถืออย่างสูง
    ทั้งที่เราไม่ได้นับถือเขาเลย

    ๒. นิยาย ได้แก่ เรื่องเปรียบเทียบ เพื่อได้ใจความเป็นสุภาษิต
    เช่น ผูกนิยายขึ้น เช่น ลิเก ละคร

    ๓. สำคัญผิด ได้แก่ ผู้พูดเข้าใจผิด พูดไปตามความเข้าใจของตนเอง
    เช่น จำวันผิด ใครถามก็ตอบตามนั้น

    ๔. พลั้ง ได้แก่ ผู้พูดตั้งใจว่าจะพูดอย่างหนึ่ง แต่ปากไพล่ไปพูดอย่างหนึ่ง

    หลักวินิจฉัยมุสาวาท

    มุสาวาทมีองค์ ๔

    ๑. อภูตวัตถุ เรื่องที่พูดเป็นเรื่องไม่จริง

    ๒. วิวาทนจิตตัง จงใจจะพูดให้ผิด

    ๓. ตัชโช วายาโม พยายามพูดคำนั้นออกไป

    ๔. ปะรัสสะ ตะทัตถวิชานะนัง คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มุสาวาท



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • m m01.png
      m m01.png
      ขนาดไฟล์:
      76.7 KB
      เปิดดู:
      92
    • m o 01.png
      m o 01.png
      ขนาดไฟล์:
      67.7 KB
      เปิดดู:
      75
    • m o 02.png
      m o 02.png
      ขนาดไฟล์:
      82.4 KB
      เปิดดู:
      92
    • m01.png
      m01.png
      ขนาดไฟล์:
      109.6 KB
      เปิดดู:
      79
    • m02.png
      m02.png
      ขนาดไฟล์:
      122.3 KB
      เปิดดู:
      73
    • m03.png
      m03.png
      ขนาดไฟล์:
      121.2 KB
      เปิดดู:
      54
    • m04.png
      m04.png
      ขนาดไฟล์:
      114.2 KB
      เปิดดู:
      104
    • s lp doo.png
      s lp doo.png
      ขนาดไฟล์:
      500 KB
      เปิดดู:
      59
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ศีล 5 ความหมายลึกกว่าที่คุณคิด !

    -http://www.dhammajak.net/sila/5-4.html-

    ศีลข้อที่ ๑ งดเว้นการฆ่าสัตว์
    (ปาณาติปาตา เวรมณี)
    การฆ่า มิใช่นำมีดไปฆ่าคน ฆ่าสัตว์ จึงเรียกว่าฆ่า จิตใจเริ่มคิดไม่ดี สิ่งที่ละเอียดอ่อนบางแง่มุม มิได้ระมัดระวังจะก่อเกิดการช่วยเสริมการฆ่าขึ้น
    การฆ่ามีหลายวิธี ฆ่าตัวตาย ถูกเขาฆ่า สรรเสริญเห็นดีเห็นงามกับการฆ่า เห็นสิ่งมีชีวิตถูกฆ่าพลอยยินดีด้วย เป็นการฆ่าทั้งหมด
    อย่าใช้ภาวะสำนึกของตัวเองปลูกเมล็ดพันธุ์อัตวินิบาตกรรมขึ้น มิฉะนั้นเจ็ดชาติที่เกิดจะมีผลทำให้เราทำอัตวินิบาตกรรมตามมาทุกชาติ คนหนุ่มสาวมีเรื่องคิดไม่ตก ไม่สามารถเกิดวัน เดือน ปีเดียวกัน แต่พร้อมที่จะตายวัน เดือน ปี เดียวกัน ไม่นานอาจจะมีทารกแฝดที่ร่างติดกันมาเกิด
    ให้ความสำคัญของความรักมาทำลายชีวิต เพื่อช่วยชีวิตต้องถือศีลปาณาติบาต หมื่นวิถีพระโพธิสัตว์ มหาเมตตาเป็นรากฐาน จึงต้องถือศีลปาณาติปาตา
    ถ้าคนทั้งหลายถือศีลงดเว้นการฆ่า กินเจทั้งหมด ไม่นานเบญจธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรมิต้องฉีดยาฆ่าแมลง เหมือนเมื่อหลายพันปีสมัยกษัตริย์เหยา กษัตริย์ซุ่น ในสมัยนั้นแม้จะไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลง แต่เบญจธัญพืชอุดมสมบูรณ์ดี
    ผู้ที่ขายยาฆ่าแมลงเพื่อช่วยให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวธัญญาหารได้มาก แต่ได้ฆ่าแมลงมากมาย เวรกรรมยังอยู่ กรรมสนองกรรม กรรมมีสนองทันทีทันตาเห็น หรือสนองในชาติต่อๆ ไป บางทีผ่านไปหลายชาติมาสนองก็มี เหมือนเราปลูกผักเก็บเกี่ยวได้เร็วหน่อย ถ้าปลูกผลไม้ต้องรออีกหลายปี นี่ก็เช่นกัน
    มีคนมาบอกจะทำแท้ง เรากลับสนับสนุน ดีๆ เอาออกเลย เท่ากับเราสนับสนุนการฆ่า กรรมสนองกรรม
    เห็นคนจัดงานเลี้ยงเธออาจจะพูดว่า มีการฆ่าสัตว์มากมายดีจังเลย หากลูกหลานจัดงานเลี้ยงแต่งงาน จัดเลี้ยงอาหารเนื้อสัตว์ ถ้าเธอเห็นด้วยนั่นเท่ากับการช่วยส่งเสริมการฆ่า
    ขายยาสมุนไพรจีน หากมีสัตว์เป็นส่วนผสมกับยาด้วย ต้องรู้ว่ายานี่ใช้เพื่อรักษาโรค ไม่พึงประสงค์ให้กระทำผิดเกิดการฆ่าขึ้นมา แต่อย่าสนับสนุนให้เขาตุ๋นเป็ดตุ๋นไก่ หากถูกสอบถามขอคำปรึกษา ต้องอย่าแนะนำ มิฉะนั้นจะถือว่าสนับสนุนการฆ่าต้องรับเวรกรรมเอง
    หากใครถูกนักเลงอันธพาลฆ่าผิดตัว นั่นแหละอดีตชาติหลายกัปเคยสนับสนุนการฆ่า จึงเกิดกรรมสนองตามมา
    ซื้อยาสมุนไพรจีน หากใบสั่งยามีส่วนผสมของสัตว์ นี่เพียงเพื่อรักษาโรคเท่านั้น รักษาหายแล้วต้องหยุดทันที อย่านำมาเป็นยาบำรุงต่อและต้องไม่ขอให้หมอเพิ่มส่วนผสมของสัตว์
    ขายยาแผนปัจจุบัน ยานอนหลับ ยาที่มีส่วนผสมสิ่งเสพติด ต้องรับผิดชอบต้องระวังในการขาย ในมรรคแปด เรื่องสัมมาอาชีพ จะเลือกอาชีพ ต้องเลือกอาชีพที่ไม่เกี่ยวกับการฆ่า
    เห็นคนกำลังฆ่าสัตว์อย่ามองแล้วพลอยยินดีกับการฆ่าด้วย อย่าบอกว่าเนื้อชนิดนี้รับประทานอร่อย บำรุงร่างกายได้ดี ไปเป็นแขกอย่าให้เจ้าของบ้านต้องฆ่าสัตว์เพื่อต้อนรับเรา
    อย่าค้าขายมีดพร้าของมีคม ศัสตราวุธ เป็นเครื่องมือในการฆ่า ผู้ประกอบอาชีพประเภทนี้จะมีเวรกรรมตามติดสนอง
    ผู้ประดิษฐ์คิดเครื่องจักรกล เครื่องประหารด้วยไฟฟ้า ทุกๆ ชาติจะไม่มีลูกไม่มีหลานสืบตระกูล อย่าไปริเริ่มคิดสร้างเครื่องประเภทนี้
    อย่ามีอาชีพขายโลงศพ คนขายโลงศพหากขายไม่ดี มักจะไปเคาะข้างโลงศพขอให้มีคนตาย เท่ากับมีจิตใจไม่ดี ซื้อโลงศพช่วยคนตายได้ แต่อย่ามีความคิดอยากให้มีคนตาย
    อย่าซื้อของใช้ที่ทำด้วยหนังแท้ เช่นเสื้อหนัง รองเท้าหนัง เข็มขัดหนัง กระเป๋าหนังที่มาจากเมืองนอก เป็นหนังแท้ราคาแพง ผู้ศึกษาธรรมะอย่าไปชื่นชมกับสิ่งเหล่านี้ดีที่สุด หากเผลอไปซื้อมาใช้ก็จงทิ้งไปเสีย แต่หนังเทียมใช้ได้
    มิงค์เป็นสัตว์ที่มีเมตตาจิต เห็นคนถูกฝังจมอยู่ในกองหิมะกำลังจะหนาวตาย มิงค์จึงใช้ขนของตัวเองไปทำให้มีความอบอุ่นไม่หนาวตาย พรานล่าสัตว์จึงใช้วิธีหลอกโดยทำทีจมอยู่ในกองหิมะ มิงค์ใช้ขนของตัวเองให้ความอบอุ่นจึงถูกล่าเอาหนังทำเสื้อคลุม สัตว์มีจิตเมตตาแต่มนุษย์กลับทารุณเหิว้ยมโหด ผู้ศึกษาธรรมะต้องอย่าใช้เสื้อคลุมที่ทำจากขนมิงค์
    ให้เขายืมเงินต้องระวัง ไม่รู้ว่าเขาจะยืมไปใช้อะไร จะผิดบาปเท่ากับการช่วยให้เขาฆ่า เช่น นำไปทำแท้ง
    บริจาคเงินทำบุญจะต้องใช้ปัญญา บางศาลเจ้าใช้เงินที่เราบริจาคฆ่าหมูไหว้เจ้า งานเลี้ยงที่ใช้เนื้อสัตว์ เราจะต้องมีส่วนรับกรรมสนองด้วย หากศาลเจ้าใดใช้อาหารเจไหว้เจ้า นั่นไม่มีปัญหา
    อย่ามีอาชีพขายเบ็ดและคันเบ็ดตกปลา ปลาที่ตกได้จะมาคิดบัญชีกับเธอด้วย
    ฆ่าปลาไข่เต็มท้อง กรรมจะหนักกว่าฆ่าปลาทั่วๆ ไป ไข่หนึ่งฟองเท่ากับหนึ่งชีวิต
    ที่ขายหมูปิ้ง หมูย่าง หมูจะติดยึดกับเนื้อของตัวเอง จะเฝ้ารอเนื้อชิ้นสุดท้ายถูกกลืนลงไปแล้วจึงจะยอมไป
    คนฆ่าหมูจะกล่าวว่า หมูนะหมู มันไม่แปลกหรอกที่เจ้าเป็นอาหารของมนุษย์ หากไม่มีใครกินเจ้าข้าก็คงไม่ต้องมาฆ่า ไปคิดบัญชีกับคนที่กินเจ้าแล้วกัน
    คนกินกลับพูดว่า หมูนะหมู มันไม่แปลกหรอกที่เจ้าเป็นอาหารของมนุษย์ ถ้าไม่มีใครฆ่าเจ้ามาขาย ข้าก็คงไม่ซื้อมากินหรอก ไปคิดบัญชีกับคนฆ่านะ ทุกคนรู้ว่าการฆ่าเป็นบาป แต่เว้นการฆ่ากลับยาก
    ปัจจุบันการแพทย์เจริญก้าวหน้า โรคแปลกๆ ยิ่งมายิ่งมาก ต้องหยุดการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เวรกรรมจึงจะแปรเปลี่ยนไป
    ฉีดยาฆ่าแมลงไม่ดี แมลงต่างๆ ต้องการมีชีวิตอยู่ ขอเพียงแต่บ้านช่องทำความสะอาดให้เรียบร้อยจะไม่มีแมลงต่างๆ มารบกวนหรือมีน้อยลง ยิ่งฆ่ายิ่งกรรมหนัก แมลงยิ่งเพิ่มมากขึ้น
    เสือที่มนุษย์ไม่เคยกินมันเลย กลับไม่เพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็ด ไก่ หมู คนบริโภคจำนวนมาก จึงเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น
    กรรมของการฆ่ามีหนักมีเบา เช่น มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต เป็นอนันตริยกรรม ตกมหาอเวจี ตัดทางสวรรค์นิพพาน ฆ่าคนบาปหนัก ฆ่าสัตว์บาปยังเบาหน่อย สติไม่ดีไปฆ่าคน เพื่อปกป้องพระอริยเจ้า เพื่อช่วยคนส่วนมาก จึงมีการฆาตกรรมเกิดขึ้น กรรมเบาหน่อย แต่ก็ยังก่อเกิดหนี้กรรมได้ เพราะมนุษย์ปุถุชนมีโอกาสสำเร็จพุทธะได้มาก การฆ่าคนจึงกรรมหนัก แต่สัตว์ยังห่างไกลจากการสำเร็จเป็นพุทธะ ฆ่าสัตว์จึงกรรมเบากว่า
    มักมีคนกล่าวว่า เป็ด ไก่ เกิดมาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ หากไม่กิน เป็ดไก่ก็คงจะต้องล้นโลก เสือกินคน ยุงดูดกินเลือดคน เรายอมให้เสือกิน ยอมให้ยุงดูดกินเลือดไหม ใจเขาใจเราลองคิดดู จึงจะไม่ทำให้เราผิดพลาดได้
    รูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บูชา เมื่อเก่าแล้วหรือขาดสลาย ต้องม้วนเก็บให้ดี อย่าเผาทำลาย หากเผาทำลายปะปนกับเถ้าขยะนั่นไม่ดี เท่ากับไม่ให้ความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    ถ้ามีคนในบ้านจะฆ่าเป็ดไก่ จะต้องพยายามพูดให้เขาเหล่านั้นงดการฆ่า หากพูดแล้วยังไม่ได้ผล ต้องท่องสวดนามพระอมิตตพุทธ ท่องคาถาจุติสุขาวดี

    ตั้งปณิธานทานเจแล้ว สัตว์เลี้ยงที่เราเลี้ยงไว้ก่อนหน้านั้น ต้องเลี้ยงจนสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นหมดอายุขัยไปเอง จัดการฝังให้เรียบร้อย พร้อมกับสวดมนต์ให้สัตว์ไปเกิดใหม่ อย่านำสัตว์ที่เลี้ยงไว้ไปขายหรือให้คนอื่น ไม่ควรนำไปให้คนอื่นฆ่า
    หากผิดพลาดไปก่อฆาตกรรมเข้า จะต้องทำบุญอุทิศกุศลไปให้เขา มิได้ตั้งใจฆ่ากรรมเบา ตั้งใจฆ่ากรรมหนัก
    คนกินเจซื้อของกินจะต้องถามให้ชัดเจน ไม่ชัดเจนผิดพลาดกินเข้าไป กลับมาจะต้องจุดธูปกำใหญ่ขอขมากรรมสำนึกบาป
    นายจ้างใช้ให้ไปซื้ออาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ หากขัดไม่ได้หรือปฏิเสธไม่ได้ ต้องทำความเข้าใจสิ่งที่เราไปซื้อ เราจะไม่เกี่ยวข้องด้วย
    ทำบุญวันเกิดควรงดเว้นการฆ่า การเกิดของเธอมิใช่ใหญ่โตครึกโครม แต่กลับฆ่าสิ่งมีชีวิตมากมาย ด้วยหลักธรรมมิควรปฏิบัติ
    บรรพบุรุษหมดอายุขัย ทำบุญโดยใช้อาหารเจดีที่สุด อย่าฆ่าสัตว์ หากทุกคนในครอบครัวยังไม่ได้กินเจทั้งหมด ถ้าจะให้ดีต้องกินเจ 49 วัน สามีภรรยาแยกเตียงนอน 49 วัน ถ้าทำได้จะลดเวรกรรมให้กับผู้วายชนม์ได้
    บนหัวหมู เท่ากับเราเริ่มนำความยุ่งยากเข้ามา ยังไม่มีผลตามที่เราบนไว้ เริ่มก่อกรรมก่อนแล้ว หน้าโต๊ะพระอย่าบนบานตามอำเภอใจ
    กราบไหว้บรรพบุรุษ ใช้ดอกไม้ ธูปเทียน ผลไม้ น้ำชา มีจิตเคารพบูชาก็พอ ไม่ควรนำเป็ด ไก่ ปู ปลา เซ่นไหว้ด้วยเหล้า รังแต่เพิ่มกรรมให้ท่าน ประเพณีที่ไม่ดีอย่าทำตาม
    เสวยสุขคือทอนบุญ ได้รับความทุกข์คือลดเคราะห์ภัย กินเจแล้วสุขภาพยังไม่ดี นั่นคือหนี้กรรมอดีตชาติยังไม่หมด
    หากธุรกิจการงานของเขายังไม่ดีไม่ราบรื่น ร่างกายไม่แข็งแรงเจ็บไข้ได้ป่วย อย่าพูดว่าเขายังมีกรรมหนักอยู่ คำพูดนี้จะทำลายจิตโพธิสัตว์ของเขา เท่ากับเราผิดศีลปาณาติบาต ต้องระวังคำพูด ใช้วาจาอ่อนหวานนุ่มนวลและให้กำลังใจเขาจะดีกว่า
    กรรมสนองจากการฆ่าสัตว์
    ต้องตกนรกสามภูมิ คือ สัตวนรก เปรต อเวจี
    คนเราเจ็บออดๆ แอดๆ อายุสั้น เจ็บป่วยบ่อยต้องปล่อยสัตว์ให้มากหน่อย ปล่อยสัตว์มีสองอย่าง คือ หนึ่งปล่อยสัตว์ที่อยู่ข้างนอก สองปล่อยสัตว์ที่อยู่ข้างใน คือปล่อยวางในใจที่ยึดติด ปล่อยทิ้งอนุสัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากจิตใจเรา
    สิ่งกระทบจากภายนอก ตัวอย่างเช่นการค้ายิ่งทำยิ่งขาดทุน อยู่ในสังคมบุญสัมพันธ์กับผู้คนลดน้อยลง
    จิตใจคิดร้ายอยู่ตลอดเวลาทุกๆ ชาติไม่มีหยุด ฆ่าหมูนานวันหน้าตาเหมือนหมู ฆ่าไก่นานไปหน้าตาเหมือนไก่ ในจิตสำนึกทุกครั้งที่คิดๆ แต่การฆ่า
    จิตใจขลาดกลัว เจ็บป่วย เดินในที่มืดมักหวาดกลัวและฝันร้ายอยู่ตลอดเวลา
    เพิ่มความเกลียดชัง ถูกผู้คนตำหนิทอดทิ้ง ไม่มีบุญสัมพันธ์กับผู้คน
    ก่อนหมดลมหายใจหวาดกลัวว่าจะตายไม่ดี กรรมที่ฆ่าหนักมากใกล้ตายเจ้ากรรมนายเวรมาตามทวง ขณะจะตายส่งเสียงร้องน่ากลัว เหมือนธนาคารปิดบัญชีตอนสิ้นปีถูกตามทวงหนี้

    ผลจากการถือศีลปาณาติบาต
    อภัยทานให้สาธุชนปราศจากความหวาดกลัว
    เกิดเป็นคนไม่ค่อยเจ็บป่วย อายุยืน
    ก่อจิตเมตตามากขึ้น กิเลสลดน้อย
    ตัดความโกรธ
    ใกล้ชิดสนิทสนมกับสาธุชน เทพผีคอยปกปักรักษา ถือศีลหนึ่งข้อมีเทวดาหนึ่งองค์คอยคุ้มครอง
    ไม่ฝันร้ายนอนหลับสบาย
    ชาติหน้ามั่งมีศรีสุข
    แก้ปมกรรมเวร ผูกบุญสัมพันธ์ที่ดี
    ไปเกิด ณ แดนพุทธเกษตร

    ศีลข้อที่ ๒ งดเว้นการลักขโมย
    (อทินนาทานา เวรมณี)
    ปัจจุบันสังคมวุ่นวาย โจรขโมยมากมาย นักการศึกษา นักการศาสนา ต้องเพิ่มภาระในการสั่งสอนมากขึ้น
    ขโมย ลักเล็กลักน้อย ปล้น หลอกลวง ขู่เข็ญบังคับเพื่อให้ได้มา ขู่เข็ญเอาเงินโดยอ้างว่าจะเผยความลับ ทั้งหมดล้วนผิดศีลอทินนาทาน
    ผู้ศึกษาธรรมะมักจะทำผิดได้ง่ายที่สถานที่สาธารณกุศล คือ
    มาตำหนักพระจุดธูปไหว้พระ โดยใช้ธูปจากตำหนักพระภาวนาขอ หรือแก้ข้อกังวลใจ ยังไม่ได้ทำบุญเลยกลับหยิบของตำหนักพระมาใช้ เจ้าของตำหนักพระคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์พระพุทธะ มิใช่อาวุโสในนั้น จะจุดธูปกำใหญ่ ต้องซื้อหามาเองจะดีกว่า ตัวเองอย่าเอาแต่ได้
    ใช้โทรศัพท์ในสถานที่สาธารณกุศล จะต้องจ่ายค่าโทรศัพท์ด้วย
    อุทิศแรงกายช่วยทำครัว ขณะประกอบอาหารชิมอาหารหนึ่งคำ แต่อย่าโลภไปชิมหลายคำเข้า
    ของใช้ส่วนรวมในตำหนักพระเกิดจากผู้มีจิตศรัทธานำมาบริจาค เป็นสมบัติของตำหนักพระ ต้องช่วยกันดูแลรักษา
    ซื้อของมาบริจาคให้ตำหนักพระ อย่าหยิบฉวยติดมือกลับบ้าน ไม่ดี
    หลังจากการประชุมธรรม มีอาหารเหลือนำกลับบ้านได้ โอกาสหน้าซื้อของใหม่ในราคาไม่ต่างจากที่เอากลับบ้านมาทำบุญด้วย
    ผลไม้ซื้อมาถวายพระ อย่าเอามากินก่อน ของที่ซื้อมาไหว้พระเป็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของพระพุทธทั้งหมด อย่าถือวิสาสะ
    ญาติธรรมนำเงินมาบริจาค ผู้มีจิตศรัทธานำเงินมาทำบุญเพื่อจุดประสงค์ใด จะต้องนำไปใช้ในทางที่เขามีเจตจำนงไว้ ถ้าบอกไว้ว่าใช้สำหรับซื้อธูปไหว้พระ ก็ต้องซื้อธูปไหว้พระ ถ้าบอกว่าเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน ต้องนำไปใช้จ่ายตามที่มีเจตนาไว้
    อุปกรณ์ใช้ทำความสะอาดสถานที่สาธารณกุศล จะต้องใช้ให้ถูกต้องตามแต่ละเครื่องมือที่ใช้และต้องรักษาให้สะอาด ตัวอย่างเช่นไม้กวาดที่ใช้ปัดกวาดสถานที่สาธารณกุศล อย่านำไปใช้ในครัว อย่านำไปใช้ในห้อง อย่านำไปใช้ในห้องน้ำ
    ดอกไม้นำมาไหว้พระอย่านำมาดม ผ่านการดมแล้วจะไม่บริสุทธิ์ จะนำมาไหว้พระมิใช่นำมาให้ดมกลิ่น หอมหรือไม่หอมสิ่งศักดิ์สิทธิ์รู้เองมิต้องให้เรามาดมก่อน
    เป็นพนักงานของรัฐอย่าหยิบฉวย กระดาษ ซองจดหมาย ปากกา หมึกแห้งของราชการกลับบ้าน จะกลายเป็นขโมยของราชการ ทำงานบริษัทฯ ก็เหมือนกันต้องอย่าทำด้วย
    สอนให้หลีกเลี่ยงภาษี โทรศัพท์ไม่จ่ายเงิน ส่งสิ่งตีพิมพ์ทางไปรษณีย์กลับสอดจดหมายเข้าไปด้วย โดยสารรถโดยสารเรือไม่จ่ายค่าโดยสาร ทั้งหมดคือการลักขโมยของราชการ
    ขายของจะต้องออกใบเสร็จรับเงินด้วย หากผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงกันโดยซื้อได้ราคาถูกลงไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงิน ทั้งสองฝ่ายลักขโมยของราชการ
    กรณีที่ไม่ถึงกับถือว่าลักขโมย
    เข้าใจผิดคิดว่าเป็นของตัวเอง ตัวอย่างเช่น ตัวเองมีร่มหนึ่งคัน ขณะหยิบไปใช้หยิบผิดไป
    เข้าใจผิดคิดว่าของสิ่งนี้มีคนฝากมาให้แล้วนำกลับไป
    ขยะคิดว่าเขาทิ้งแล้ว เราไปเลือกที่ใช้ได้แล้วนำกลับไป
    ยืมใช้ชั่วคราว เช่นโทรศัพท์หรือหมึกแห้ง ใช้เสร็จแล้วต้องนำกลับที่เดิม
    สนิทสนมกัน ตัวอย่างเช่น เพื่อนที่ดีและสนิทกัน เปิดตู้เย็นหยิบของในตู้เย็นกินเหมือนกับบ้านตัวเอง ถ้าเช่นนี้ก็มักง่ายเกินไปหน่อย
    ลักขโมยมีหนักมีเบา ขโมยของจากตำหนักพระโทษหนัก แม้เข็มหนึ่งเล่ม ด้ายหนึ่งเส้นก็อย่าได้มักง่าย เพราะเป็นของส่วนรวมมิใช่ของคนใดคนหนึ่ง
    กลับกัน ผู้ทำบุญกับตำหนักพระ เป็นประโยชน์กับผู้ศึกษาธรรมะ บุญวาสนาเหลือล้น
    ทำบุญไปแล้วอย่าได้ยึดติด ที่ได้ทำไปเบื้องบนรับรู้หมด ไม่ต้องนำกลับมาคิดอีก ไม่จำเป็นต้องสลักชื่อติดไว้ที่เสาตำหนักพระให้คนกราบไหว้ทุกๆ วัน บุญวาสนามากปานใดก็อาจหมดได้ อยากหลุดพ้นจากหนี้เวรหนี้กรรม จะต้องหัดปล่อยวางใจไม่ยึดติด ให้เหมือนจรวด ยิงออกไปแล้วพุ่งทะยานหายลับไปเลย
    หนีแชร์โกงเงินชาวบ้าน เกิดชาติหน้าเป็นสุนัขเฝ้าบ้านเหมือนคนใช้ เกิดเป็นหมู สมมุติขายได้ตัวละหมื่นบาท หนีแชร์หนีหนี้จำนวนเงินเท่าไร ต้องเกิดเป็นหมูชดใช้ตามราคาที่โกงไปจนครบ ขายของเงินผ่อนคิดดอกแพงก็คือขโมย
    มาตำหนักพระกินข้าวที่ตำหนักพระได้ กระดาษชำระ ยาสีฟัน ของใช้ประจำวันเอามาใช้ได้ แต่ต้องอย่าตระหนี่ ทำบุญกับตำหนักพระมากหน่อยก็ใช้ได้
    เก็บเงินได้บนถนนที่คนอื่นทำหล่นหาย นำมาทำบุญถือว่าไม่ผิดศีล ถ้าเอาเข้ากระเป๋าตัวเองไม่ได้
    ลักขโมยละเอียดอ่อนที่สุดในศีลห้า ศีลของพระภิกษุยิ่งละเอียดอ่อนกว่ามากนัก
    กรรมสนองจากการผิดศีลลักขโมย
    ตกลงสู่นรกสามภูมิ คือ สัตวนรก เปรต อเวจี
    เกิดมายากจนตกต่ำหรือมีทรัพย์สมบัติแต่ไม่มีโอกาสใช้
    ทรัพย์สมบัติบ้านเรือนถูกวาตภัยทำลาย ไฟไหม้เผาผลาญ
    ของหาย ของถูกขโมย ถูกสงสัยเป็นคนขโมย
    เป็นคนทุกข์ทรมาน จิตใจวิตกกังวล
    ผลจากการรักษาศีลอทินนาทาน
    ทรัพย์สมบัติเพิ่มพูนมากมาย ไม่รั่วไหล
    เป็นคนน่ารัก เป็นที่เชื่อถือ
    ความดีขจรขจาย คนชมเชยมากมาย
    เป็นที่เกรงขามไม่กล้ารังแก
    กายใจเป็นสุข หมดอายุไปเกิดบนสวรรค์วิมาน

    ศีลข้อที่ ๓ งดเว้นการละเมิดกาม
    (กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี)
    อิ่มนักมักมุ่นคิดทางกามารมณ์ ความผิดทั้งหลายผิดศีลกาเมเลวที่สุด สังคมวัตถุอุดมสมบูรณ์ จะพาให้สังคมคุณธรรมตรงข้ามกับความเจริญ
    คนโบราณรับประทานอาหารชืดๆ ไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนปัจจุบัน แต่ทุกคนร่างกายแข็งแรงอายุยืน ปัจจุบันอาหารทะเล บนบก บนอากาศ หารับประทานเรียบหมด กลับไม่แข็งแรง
    รับประทานอิ่มท้อง ความคิดฟุ้งซ่านเริ่มก่อ ความไม่ดี อะไรเลวๆ ทำหมด ในโลกโลกีย์นี้ช่างน่าสงสาร
    สมัยก่อน ไป๋เล่อเทียน ถามอาจารย์รังนกว่า ท่านนอนหลับอยู่บนต้นไม้ เวลาหลับจะตกจากต้นไม้ไหม แต่เขากลับไม่ได้คิดว่าตัวเองอยู่บนโลกโลกีย์นี้จะพลัดตกต่ำลงหรือเปล่า
    มีคนรับประทานจนจุกตาย สนุกสนานจนตัวตาย แต่ไม่เคยมีใครบำเพ็ญจนตัวตาย
    ในโลกนี้ที่ผูกมัดคนที่สุด คือ กามราคะ ร้ายกว่าบรรดาพิษร้ายทั้งหลายมาก หากตัดไม่ขาดจะเวียนว่ายทุกชาติภพ
    พระพุทธทุกพระองค์ มองเรื่องกามตัณหาเป็นเรื่องสกปรกโสโครกที่สุด
    บำเพ็ญพระโพธิสัตว์ธรรม ตัวเองจะต้องรู้จักสังวร
    ศีลกาเมมิใช่ต้องตัดขาดการเป็นสามีภรรยา การเป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องตามหลักธรรม ถูกต้องตามจริยา นอกเหนือจากการเป็นสามีภรรยาแล้ว ไปมีความสัมพันธ์กันผิดศีลกาเม ใช้เงินทองซื้อหาแลกเปลี่ยนเพื่อกามสุขก็ผิดศีลข้อนี้ ความสัมพันธ์กันมิใช่คู่สมรส เป็นต้นเหตุปัญหาของสังคม ต้องตัดให้ขาด
    กามตัณหาเกิดขึ้น ญาติทั้งหกมิยอมรับ ทำผิดศีลธรรมจรรยา ผิดมนุษยธรรม ทำผิดกฎหมายด้วย
    สมัยโบราณผู้ออกบำเพ็ญตามป่าเขา ประพฤติผิดในกาม แม้กระทั่งลิง แพะ
    กามราคะเปรียบเหมือนไฟ ลุกเผาไหม้ยากที่จะแก้ไข จะตัดรากเหง้า ต้องเริ่มจากแปรเปลี่ยนจิตใจให้สะอาดก่อน ให้จิตเกิดความสงบ อย่ารับประทานอิ่มจนเกินไป อยู่บ้านเดินเท้าเปล่าดีที่สุด ฝ่าเท้าสัมผัสกับพื้นเย็นๆ จะลดไฟราคะลงได้
    จะห่างจากกามราคะ จะต้องห่างหรืองดเว้นต่อสิ่งที่ง่ายต่อการชักนำก่อให้เกิดกามราคะ เช่น หนังสือวารสารโป๊-เปลือย เรื่องเริงรมย์ หนัง ทีวี อย่าให้ผ่านเข้าสู่นัยน์ตาดีที่สุด
    ผู้ชายที่ชอบดูสิ่งเหล่านี้ ตายแล้วตาจะเน่าเฟะก่อน
    หาเวลาอ่านหนังสือธรรมะ ท่องอ่านคัมภีร์ สวดมนต์ เกิดกามตัณหาขึ้น รีบสวดมนต์เพื่อสยบมารร้ายนี้ กามราคะค่อยๆ สงบลง
    ตัดกามราคะเหมือนตัดเอ็นตีนวัว เป็นสิ่งที่ยากและทารุณยิ่ง
    ปุถุชนที่ยังมีกิเลส ต้องอยู่ในขอบเขต สามีภรรยาเป็นพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างวิสัยมนุษย์ ต้องเคารพเกรงใจกัน หากปล่อยใจให้กำเริบในกามราคะ คงไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน หนึ่งค่ำ สิบห้าค่ำ วันเฉลิมวันสำคัญของพระพุทธพระโพธิสัตว์ ไม่ควรจะมีเพศสัมพันธ์
    ระหว่างไว้ทุกข์ สามีภรรยาควรงดเรื่องเพศเว้น 49 วัน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาเป็นความสุขช่วงสั้นๆ จะต้องรักษาสุขภาพร่างกายเป็นสำคัญ เพื่อเป็นพลังในการสร้างครอบครัว เป็นคนต้องรักษาจริยะ มีจริยะจึงจะรักษาระเบียบครอบครัวได้
    กามตัณหาเป็นรากของการเกิดตาย หากยังตัดไม่ได้ ยังคงเวียนเกิดเวียนตายอยู่
    ยังไม่ได้แต่งงาน ครอบครัวที่เราอยู่ร่วมในปัจจุบันต้องบริหารจัดการงานต่างๆ ให้ดี สามี ภรรยา พ่อแม่ ครอบครัวบริวาร ต่างมีบุญสัมพันธ์จึงได้มาอยู่ร่วมกัน ต้องหาวิธีที่จะทำให้บุญสัมพันธ์นี้กลมกลืนสมบูรณ์ หากชาตินี้ไม่จัดการงานต่างๆ ให้สมบูรณ์กลมกลืน ชาติต่อไปจะมีกรรมสัมพันธ์อีกช่วงหนึ่ง
    การแต่งงานต้องแล้วแต่บุญสัมพันธ์ อย่าเที่ยวไปยินดีกับการแต่งงานของแต่ละคู่ ว่าการแต่งงานดีต่างๆนานา เพื่อชักจูงชี้แนะให้เขาได้แต่งงานกัน และอย่าต่อต้านการแต่งงานของคนอื่น แต่ละคนต่างมีบุญสัมพันธ์ที่ต่างคนต้องทำ ตามบุญสัมพันธ์ของแต่ละคนที่ต้องดำเนินตามธรรมชาติ
    ต่อหน้าผู้ที่หย่าร้าง ต้องอย่ากล่าวสรรเสริญถึงครอบครัวที่สมบูรณ์ดีพร้อม
    อย่าใช้สถานที่สาธารณกุศลเป็นที่ติดต่อสัมพันธ์ความรักกัน เพราะเป็นที่บริสุทธิ์สูงส่ง หากต่างมีบุญสัมพันธ์กัน จะคบหากันนอกสถานที่สาธารณกุศลได้
    หนุ่มสาวต้องรักบริสุทธิ์ รักตัวเอง จะแต่งงานต้องได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่ก่อน ต้องปฏิบัติถูกต้องตามจริยประเพณี จึงจะเป็นสามีภรรยากันได้ อย่าชิงสุกก่อนห่ามทำผิดจริยระเบียบ
    สิ่งที่เป็นพันธะผูกมัดที่สุดคือกามตัณหา หากยากที่จะตัดขาดใช้วิธีปลงอนิจจังทางพุทธเข้าช่วย (ปลงอสุภกรรมฐาน) ร่างกายมนุษย์เต็มไปด้วยสิ่งโสโครก มีขี้มูก ขี้ตา อุจจาระ ปัสสาวะ ฯลฯ เป็นสิ่งสกปรกทั้งหมด
    เรามองคนในโลกนี้ว่าในอดีตชาติอาจเป็นพ่อแม่พี่น้องเรามาก่อน สาธุชนที่เกิดมาจากอายาตนหก อดีตชาติก็เคยเป็นพ่อแม่เรามาก่อน มิอาจล่วงเกินได้ ใช้เงินทองซื้อหาแลกเปลี่ยนทางกามสุข ผิดคุณธรรมอย่างยิ่ง
    เลี้ยงสุนัขเพศผู้กับเพศเมีย ผสมพันธุ์เอาลูกสุนัขขาย ผู้บำเพ็ญไม่ควรทำ
    ขี่ม้าแรงสะเทือนทำให้เกิดกามราคะ เป็นการทารุณสัตว์ด้วย ผู้บำเพ็ญไม่ควรฝึกขี่ม้า

    กรรมสนองจากการผิดศีลกาเม
    ตกนรกสามภูมิ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรตอสุรกาย เพราะการกระทำเหมือนสัตว์เดรัจฉาน ผิดศีลธรรมจรรยา
    หากเกิดเป็นคน ได้ภรรยาไม่ซื่อสัตย์ไม่บริสุทธิ์ ภรรยาเพื่อนอย่ารังแก หากไม่ละเว้น ภรรยาตัวเองต้องกรรมสนอง อย่าทำลายรังนก รังมด ชาติต่อไปอาจถูกทำลายบ้านแตกได้
    กามราคะเป็นเหตุ เกิดตายเป็นผล ถือศีลปฏิบัติโพธิสัตว์ธรรม ต้องตัดด้านนี้ก่อน พระโพธิสัตว์กลัวเหตุ หากยังมีกามคุณเหตุต้นผลกรรมยังไม่ตัด ยากที่จะหลุดพ้นสามภพ พ้นเวียนว่ายได้ จะตัดขาดความเป็นสามีภรรยา ความสัมพันธ์ชายหญิงเป็นเรื่องยากยิ่ง หากถือศีลงดเว้น ปฏิบัติมนุษยธรรมที่ดี แต่งงานถูกต้องตามประเพณีก็ได้ เหตุเพราะกามคุณเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของคน หักห้ามกดทับไว้ ไม่สู้เราตัดขาดเลย

    ผลจากการรักษาศีลกาเม
    ชีวิตทุกอย่างสมประสงค์ ห่างไกลจากความสับสน มีฌานสมาธิมากขึ้น ก่อเกิดปัญญา
    มีศีลกาเม เกิดเป็นคน พ่อแม่ เครือญาติ บุตรภรรยา ครอบครัว บริวาร สะอาดบริสุทธิ์ไม่สับสนวุ่นวาย กตัญญู มีเพื่อนดี ลูกหลานดี เป็นหญิงไม่ด่างพร้อย
    ฟ้าคนเคารพนับถือ ได้รับการสรรเสริญ
    ตัดกามคุณ เป็นพระพุทธ รูปลักษณ์สง่างาม
    หลุดพ้นจากการเวียนเกิดเวียนตาย

    ศีลข้อที่ ๔ งดเว้นการพูดเท็จ
    (มุสาวาทา เวรมณี)
    พูดโกหก รวมทั้งปากร้าย ลิ้นสองแฉก คำเยินยอ โกหกหลอกลวง (พูดโกหก พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด)
    เกิดเป็นคนพูดเก่ง วาทศิลป์แพรวพราว เพิ่มพูนปัญญาให้กับคนฟัง เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในการพูด เป็นคนที่มีวาทศิลป์คล่องแคล่วคารมฝีปากดี ต้องไม่เป็นคนโกหกหลอกลวงมาก่อนสามชาติ
    พูดโกหกหลอกลวงมากเกินไป กรรมที่มาสนองคือ เป็นใบ้หรือพูดไม่ชัด
    พ่อค้าง่ายต่อการพูดโกหก ศีลข้อนี้ปฏิบัติได้ยากหน่อย ทางที่ดีต้องคิดว่า เงินที่เราได้กำไรมา เป็นเงินที่เขาจะนำไปกินดื่ม เล่นพนันเที่ยวเสเพล เราได้ทำกำไรมาจากเขา นำไปช่วยเขาทำบุญ ต้องทำจริงด้วย อย่างนี้อาจชดเชยคำเท็จได้บ้าง
    ผู้ชายมีคำพูดไพเราะน่าฟัง เป็นคำปลอบใจภรรยา เพื่อสื่อภาษาของความรัก ไม่นับเป็นการโกหก พูดกับหญิงอื่นถือเป็นคำเยินยอ เป็นคำเท็จ
    นักการเมืองระหว่างหาเสียงพูดเด็ดขาด กล่าวคำสบถสาบาน ปากพูดจาไว ต้องการเอาชนะรักษาตำแหน่งเอาไว้
    ครูอาจารย์สอนให้คนเป็นคนดี แต่กลับไปเป็นพ่อค้าวาณิชย์
    ดารานักร้องคุยโวโอ้อวดเสริมแต่งตัวเอง ทั้งหมดผิดต่อการพูดเท็จได้
    ฉุดช่วยคนแล้วต้องติดตามส่งเสริม เหมือนตามบริการหลังการขาย ต้องจริงใจไปส่งเสริม อย่าพูดว่า ถ้าเธอรับธรรมะแล้วตั้งตำหนักพระ อาการป่วยเป็นโรคก็จะหายได้
    มีความเป็นไปได้มากเท่าไรก็พูดความจริงเท่าที่เป็น อย่าพูดเกินกว่าความจริง นักปรัชญากล่าวไว้ว่า พูดโกหกหนึ่งคำ ต้องพูดโกหกอีกสิบคำมาปิดบังอำพรางคำที่โกหกไว้ พูดโกหกเป็นประจำจนเกิดความเคยชิน กลายเป็นคนชอบพูดโกหก พาให้กลายเป็นภัยออกทางปากจากคำพูด กลายเป็นการฆ่าคนโดยไม่เห็นโลหิต
    คนว่างงานไม่มีอะไรทำ บ้านเหนือพูดที บ้านใต้พูดที พูดแต่เรื่องไร้สาระ เสียเวลาไม่เกิดประโยชน์
    อย่านำความลับของคนอื่นไปเปิดเผย พูดแต่สิ่งร้ายสิ่งไม่ดีของคนอื่น ผู้หญิงทำผิดข้อนี้ง่ายกว่า ตายแล้วปากจะเน่าก่อน
    ศีลมุสาค่อนข้างถือยาก คำพูดในชีวิตประจำวันอย่าไปทำร้ายเขา อย่าใช้คำพูดทำให้เขาเกิดโทสะ อย่าใช้คำพูดปลิ้นปล้อนเกินไป อย่าใช้คำพูดของเราทำให้สามีภรรยาทะเลาะแตกแยกกัน เรื่องของสามีภรรยาเป็นเรื่องระหว่างเขาเอง เราไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว ใช้ลิ้นของเราย้อนกลับเข้าบำเพ็ญ อย่าปล่อยออกมาให้มีเรื่อง ใช้คำพูดให้คนฟังได้ประโยชน์
    ใช้คำพูดไม่ไปทำลายคนอื่นแต่ให้คุณ จะผูกบุญสัมพันธ์ได้กว้างขวาง
    ผู้มีอาชีพใช้ปากหาสตางค์ ผู้บำเพ็ญต้องระวัง
    ทนายความ อัยการ โบราณกล่าวไว้ว่า หนึ่งชาติทำหน้าที่นี้ เก้าชาติเกิดเป็นวัวควาย ผู้รับหน้าที่ดังกล่าวเพียงคำพูดคำเดียวจะให้เขาเป็นหรือตายก็ได้ ต้องระมัดระวังเสียงสะท้อนด้วย ต้องยุติธรรม อย่าให้มีนิสัยการติดสินบน หากอยู่ในอำนาจหน้าที่ให้คุณให้โทษได้ จะทำให้ชีวิตคนผิดพลาดได้
    หมอดู ผู้เป็นหมอดูมักกล่าวว่า หากเธอไม่เช่นนี้ ไม่เช่นนั้น จะมีผลอะไรตามมา ฯลฯ อะไรทำนองนี้ นี่คือปากวาจากล่าวร้าย ผู้ประกอบการดังกล่าวนี้ พูดจาต้องผ่อนหนักผ่อนเบา นุ่มนวลละมุน ละไม เสนอแนะพอประมาณก็พอ
    อาจารย์ดูภูมิทัศน์ ง่ายต่อการพูดว่าหากเธอยังไม่บำเพ็ญ หลังจากนี้กี่ปี จะเกิดอย่างนั้น เกิดอย่างนี้ เป็นคำพูดเด็ดขาด ทำร้ายคนอื่น
    บรรพชนใครเสียชีวิต เชิญนักพรตสวดมนต์ฉุดช่วยส่งวิญญาณ หากนักพรตท่านฉุดช่วยส่งวิญญาณได้จริง พญายมคงจะเกรงกลัวนักพรตแน่ หนี้กรรมที่ผ่านมาสามชาติ บัญชีนี้จะหักลบกันอย่างไร นี่คือวิธีการที่เคยกระทำกันมาเพื่อให้คนมีความสบายใจ หากจะสวดมนต์ ต้องหานักพรตที่ถือศีลกินเจ หากมิได้ถือศีลกินเจกรรมเวรของนักพรตเองกองใหญ่ ตัวเองยังฉุดช่วยไม่หมด แล้วจะฉุดช่วยผู้อื่นได้อย่างไร
    สามชาติมิได้พูดเท็จ ลิ้นแลบแตะจมูกได้ โคนลิ้นแดงสีชมพู คนริมฝีปากหนามีธรรมประจำใจดีงาม สตรีที่มีฟันซี่ใหญ่และหนาช่วยสามีบริหารครอบครัวรักษาทรัพย์สมบัติ ฟันห่างเป่าลมลอดออกมาได้ ซี่ฟันเล็กเหมือนฟันหนูเป็นคนเล่ห์เหลี่ยมมาก ฟันเหลื่อมล้ำไม่เสมอกัน ชาติก่อนพูดโกหกไว้มาก ผู้หญิงเสียงแหลมสูงเป็นคนดุร้าย เสียงต่ำเกินไปเป็นข้อเสียทางกิริยาวาจา หญิงที่มีเสียงนุ่มนวลละมุนละไม เป็นคนมีบุญวาสนา มีสง่าราศี คิ้วยาวกว่าตา ได้รับการคุ้มครองจากคนในครอบครัวและคุ้มครองชนรุ่นหลังได้ด้วย
    ผู้บำเพ็ญไม่ดูหมอ ชะตาชีวิตไม่ดีเปลี่ยนแปลงได้ จะเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตต้องเริ่มจากจิต หากเปลี่ยนแปลงแต่หน้าตา ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิต อวัยวะทั้งห้าไม่น่าดู พูดจาไม่ชัดเจนกำกวม ไม่มีวาทศิลป์ หากรักษาศีลมุสาได้ จึงจะไม่มีอุปสรรค
    ถือศีลเจมิใช่เพียงไม่ทานเนื้อสัตว์ ศีลเจปากต้องไม่ปากร้ายลิ้นสองแฉก ไม่เยินยอ ไม่โกหกหลอกลวง
    ผู้ชายอย่าออกปากมีแต่คำหยาบ ผู้หญิงด่าสามีด่าลูก อย่าให้มีได้ยินคำด่าทอตลอดเวลา
    หากใครมีปัญหาครอบครัวอย่ายุให้เขาหย่าร้างกัน หรือกลับพูดจาทิ่มแทงซ้ำเติม ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายขึ้น ไม่เพียงผิดศีลมุสายังผิดศีลปาณาด้วย
    เพื่อฉุดช่วยเวไนยหรือช่วยแก้ปัญหาให้เขา โกหกหลอกด้วยความหวังดีไม่ถือว่าผิดศีล
    ผู้บำเพ็ญต้องห่างไกลจากการกล่าววาจาร้าย ห่างจากใช้วาจารบกวนทำให้วุ่นวาย อย่าใช้วาจาทำลายให้เขาเป็นทุกข์
    อย่าไว้ใจคนมากเกินไป บอกความในใจออกมาหมด เพื่อป้องกันวันข้างหน้า จะถูกนำคำพูดนี้ไปเล่าผิดๆ อยู่ในทุกที่พูดจาให้คุณกับทุกคนดีที่สุด อย่าพูดทางลบของผู้อื่น อย่างนี้จะหลีกเลี่ยงการนำไปเล่าต่อผิดๆ ได้
    ลิ้นเป็นอวัยวะที่อ่อนนุ่ม แต่ร้ายกว่ามีดนัก เรื่องไม่ดีมากมายล้วนออกจากปาก อีกทั้งลิ้นเป็นตัวก่อขึ้น เคราะห์ภัยออกจากปาก หยุดเคราะห์ภัยต้องหุบปาก หากจะพูดต้องพูดจาให้มีประโยชน์ หากไม่ระวังกล่าววาจาไม่ดีออกมา ต้องสำนึกขอขมาบาป นำจิตใจที่สำนึกละอายต่อผิดบาปมาแก้ไข
    คนผิดหวังต้องการคนมาปลอบใจ ต้องยืนอยู่ในจุดยืนของเขาเพื่อปลอบโยนเขา ถ้าใช้จุดยืนของเรา ใช้ความเห็นของเราเพื่อให้เขายอมรับเท่ากับเข้าข้างตัวเอง
    เรื่องอะไรที่เกิดขึ้นต้องตรวจสอบให้ชัดเจน อย่าตัดสินโดยลวกๆ อย่างเช่นลูกศิษย์ของท่านขงจื้อกำลังต้มข้าวต้มให้ท่านขงจื้อ บนเพดานมีอะไรหล่นลงในหม้อข้าว ลูกศิษย์กลัวท่านขงจื้อรับประทานเข้าไปทำให้ท้องเสีย ใช้มือหยิบขึ้นมา
    ท่านขงจื้อเห็นเข้าจึงตำหนิว่าขาดมารยาท ทำไมรับประทานก่อนอาจารย์ ลูกศิษย์จึงได้อธิบายท่านขงจื้อทราบแล้ว
    ท่านขงจื้อเรียกประชุมลูกศิษย์ทั้งหมด แล้วบอกให้ทุกคนฟังว่า ข้าพเจ้าได้เห็นกับตาตนเอง ยังปรักปรำคนอื่นได้ สำมะหาอะไรที่มีคนมาเล่าให้ฟัง โดยผ่านจากคนที่สามมาเล่าต่อ ยากที่จะไม่บิดเบือนจากความจริง
    ก่อนที่จะตัดสินถูกผิด ต้องตรวจสอบให้ชัดเจนก่อน อย่าฟังความจากการเล่า อย่าเดาโดยมีจิตใจระแวงสงสัย จึงจะไม่เกิดผิดถูกขึ้นมา ทำให้คนถูกสอบล้มหายไป
    พระอริยเจ้ายังเข้าใจผิดได้ สามัญชนคนธรรมดาจะเป็นอย่างไร
    นักการเมืองมีกรรมสนองกรรมไม่จบสิ้น ผู้บำเพ็ญต้องหนีห่างจากการเมือง อย่าไปร่วมกับเขาออกไปหาเสียง พูดจารบกวนจิตใจคน หากมีญาติเข้าร่วมการเมือง อย่าลงไปร่วมกับเขา
    ญาติธรรมหญิงอายุยังเยาว์วัย จะฉุดช่วยคนส่งเสริมคน มีจิตเมตตาก็พอแล้ว อย่าให้เกิดมีความรักใคร่สนิทสนมกันเกิดขึ้น อย่าให้ฝ่ายชายเข้าใจผิดว่าเธอมีความหมายกับเขา หากมีความหมายจริงก็จงคบกันอย่างซื่อสัตย์สุจริต

    กรรมสนองจากการผิดศีลมุสาวาทา
    ตกนรกสามภูมิ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรตอสุรกาย
    มักถูกติฉินนินทากล่าวร้าย ถูกใส่ร้ายป้ายสี ถูกกีดกัน ถูกขับไล่
    ถูกเขาหลอกลวง ง่ายต่อการถูกฉ้อโกง กล่าวโทษ
    วาจาไม่มีคนเชื่อถือ คำพูดไม่มีคนยอมรับ
    คำพูดกำกวม ปากแหว่งโดยกำเนิด ไม่มีลิ้น พูดไม่ชัด
    ไม่ได้มรรคผล จะบำเพ็ญอย่างไรก็ไม่สำเร็จมรรคผล
    กลิ่นปากเหม็น รักษาไม่หาย กลิ่นตัวแรง หากกินเจกลิ่นจะลดลงบ้าง ยิ่งกินเนื้อสัตว์กลิ่นยิ่งรุนแรงหนักขึ้น
    ผลจากการถือศีลมุสาวาทา
    ปากสะอาดหมดจด กลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว ไม่ต้องฉีดน้ำหอม กลิ่นหอมเองโดยธรรมชาติ พระพุทธมิได้กล่าวลอยๆ แลบลิ้นปิดหน้าได้ทั้งหมด ศพถูกเผาแล้วฟันทุกซี่อยู่ในสภาพปกติ
    เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั่วไป
    ใจเกิดปีติ ผู้คนยินดี ไม่กล่าวคำเท็จ ยินดีที่มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางความจริง
    ชาติหน้า ยินดีที่ได้ยินเสียงที่ดี ไม่มีเสียงมารบกวนทำให้สับสน มาทำร้าย
    เพิ่มพูนเกียรติคุณ ไม่มีอุปสรรค ปัญญามิอาจประมาณ

    ศีลข้อที่ ๕ งดเว้นการเสพสุราเมรัย
    (สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี)
    เหล้ามิใช่ของคาว แต่มันเป็นสิ่งเริ่มต้นของบาปกรรมทั้งปวง เหล้าลงคอฆ่าสัตว์ ลักขโมย ผิดศีลกาเม พูดเท็จ เกิดจากจิตใจที่เมามัว หลังสร่างเมาจึงเห็นความเป็นไปที่แน่นอน ต้องหยุดดื่ม จึงเรียกศีลหยุดไม่ดื่ม
    ดื่มสุรามีผิดอะไร
    ทำไมพระพุทธเจ้าจึงให้ถือดื่มสุราเป็นศีลห้าม
    สิ้นเปลืองเงินทอง บุญวาสนาถูกลดทอน อย่าดื่มเหล้าและอย่านำเหล้าไปกำนัลคนอื่น ถือศีลข้อนี้ยังซื้อเหล้าแจกอยู่ เกิดห้าร้อยชาติมือกุด เกิดเป็นไส้เดือน กลับจากต่างประเทศอย่าช่วยคนนำเหล้าเข้ามา
    ทุกรากปัญญามืดบอด ปัญญาหดหาย
    ปัจจุบันเจ็บป่วยบ่อย กินอาหารได้น้อย ดื่มเหล้าง่ายต่อการเป็นโรคตับ โรคเบาหวาน โรคไต โรคกระเพาะ
    เพิ่มความโกรธ ต่อสู้แย่งชิง ทำร้าย เข่นฆ่า
    กามราคะลุกโชติช่วง ขณะเมาเหล้าธรรมจริยาทุกอย่างหายหมด
    ออกจากบ้านแต่งตัวภูมิฐาน เหล้าเข้าปากผ่านไปสามแก้ว เมาไม่ได้สติ ขาดมารยาท ปากพ่นคำหยาบ อาการน่าเกลียดทุกอย่างแสดงออก ก่อปัญหาให้ครอบครัวมากมาย
    เปิดเผยความลับ ธุรกิจล้มเหลว วงการค้าเหมือนสนามรบ พอเมาเหล้าเปิดเผยความลับทางการค้าทุกอย่าง เป็นลูกจ้างถูกนายจ้างตำหนิให้ออกจากงาน หากตัวเองเป็นเถ้าแก่บุญวาสนาไม่พอ ไม่เกินสองเดือนอาจเจ๊งได้
    พ่อแม่ไม่ชอบ ครอบครัวบริวารหนีห่าง กลิ่นเหล้ารุนแรง ผู้คนรังเกียจ ชนรุ่นต่อไปทำตามอย่าง
    ทุศีลเจ ทำผิดบาป หลังดื่มเมาแล้วศีลเจอะไรก็ไม่รู้หมด รักษาไม่อยู่ ไม่เชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เคารพ
    คนดีหนีห่าง ใกล้ชิดคนชั่ว รวมกลุ่มกับคนเมาด้วยกัน คบเพื่อนดื่มเหล้ากินเนื้อสัตว์
    จิตใจสับสน ห่างไกลฌานสมาธิ จิตใจไม่สงบ จิตใจฟุ้งซ่าน
    มักทำผิดคุณธรรม
    มักเป็นคนผิดหวัง ทุกข์
    สูญเสียเวลา ความเคยชินไม่ดีแก้ยาก
    ร่างกายทรุดโทรม ชีวิตดับสูญตกนรกอเวจี
    เพื่อความจำเป็นการรักษาโรคภัย ยามีส่วนผสมของเหล้า แต่ต้องไม่ถึงกับทำให้เมา ยาทาภายนอกผสมเหล้าได้
    ยาดองเหล้าบำรุงร่างกายไม่ควรดื่ม ร่างกายแข็งแรงเกินจะเพิ่มความกำหนัดไม่ดี

    กรรมสนองจากการผิดศีลสุราเมรัย
    ตกนรก เกิดเป็นคนโง่เขลาไม่เชื่อธรรม
    ผลจากการถือศีลสุราเมรัย
    ปัญญาแจ่มใส จิตสงบสุขเกษม ได้เกิดเป็นนักบวช เป็นอาจารย์บรรยายธรรม ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่เผอเรอ
    ถือศีลทั้งสี่ข้อนี้ จะไม่ทำผิดโทษหนัก รักษาศีลฆ่า ลักขโมย กาเม พูดเท็จ

    ................

    บทความจากอินเตอร์เน็ต
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วจีกรรมในโลกออนไลน์
    -https://www.facebook.com/notes/416690898427175/-

    Post ไปได้บุญก็มี Post ไปได้บาปก็มี กด Like ได้บุญก็มี กด Like ได้บาปก็มี

    อยู่ที่อะไร? ลองอ่านได้ ลองอ่านดู นะครับ



    ปัจจุบันนี้ อยู่ที่ไหนก็สร้างบุญได้ สร้างบาปได้ โดยเฉพาะบุญและบาป ทางวาจา ผ่านโลก ออนไลน์ ระบบอินเตอร์เน็ตที่กระจายข้อมูลข่าวสารไปทั่วโลกด้วยเวลาอันสั้น

    สร้างบุญโดยไม่รู้ตัว เป็นผลดี

    แต่ถ้าสร้างบาปโดยไม่รู้ตัว เป็นอันตรายอย่างยิ่ง นำความทุกข์มาสู่ตัวเองอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์





    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ “กรรม”



    “กรรม” แปลว่า “การกระทำ”

    มีทั้ง “กรรมดี” การกระทำดี และ “กรรมชั่ว” การกระทำชั่ว



    “การกระทำดี” หรือ “กุศลกรรม” หรือ “บุญ” เป็นเครื่องชำระล้างจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ เป็นเหตุ นำมาซึ่งความสุข ความเจริญ ความสำเร็จในชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคตทั้งในชาตินี้และชาติหน้า



    “การกระทำชั่ว” หรือ “อกุศลกรรม” หรือ “บาป” เป็นเครื่องทำจิตใจให้ใสเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์ เป็นเหตุ นำมาซึ่งความทุกข์ ความเสื่อม ความล้มเหลวในชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคตทั้งในชาตินี้และชาติหน้า



    ความสุข ความทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม ความสำเร็จ ความล้มเหลว ในชีวิต มาจาก “กรรม” หรือ การกระทำของตนเองทั้งสิ้น ไม่ใช่มาจากฟ้าลิขิต พรหมบันดาล พระเจ้าประทาน หรือ โชคช่วย ดวงดี ราศี ดวงดาวทำให้เป็นไปแต่อย่างใด



    กรรม หรือ การกระทำ 3 ประเภท





    1. กายกรรม การกระทำทางกาย มี 3 ประการ



    กรรมชั่ว ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดคู่ครองผู้อื่น

    กรรมดี ได้แก่ การงดเว้นการฆ่าสัตว์ มีจิตเมตตา การงดเว้นการลักทรัพย์ ประกอบสัมมาอาชีพ การงดเว้นการประพฤติผิดคู่ครองของผู้อื่น สำรวมในกาม



    2.วจีกรรม การกระทำทางวาจา มี 4 ประการ

    กรรมชั่ว ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด ยุให้สองฝ่ายแตกกัน การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ

    กรรมดี ได้แก่ การงดเว้นการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง การงดเว้นการพูดส่อเสียด พูดสร้างสามัคคี การงดเว้นการพูดคำหยาบ พูดคำไพเราะ การงดเว้นการพูดคำเพ้อเจ้อ พูดมีสาระ



    3.มโนกรรม การกระทำทางใจ มี 3 ประการ



    กรรมชั่ว ได้แก่ การคิดโลภอยากได้ของผู้อื่น การคิดโกรธอาฆาตพยาบาทจองเวร การคิดหลง ไม่รู้ตามความเป็นจริง

    กรรมดี ได้แก่ การไม่โลภ ไม่อยากได้ของผู้อื่น มีความพอใจในของตน การไม่โกรธ ปองร้าย อาฆาตพยาบาทจองเวร ให้อภัย การไม่หลงผิด มีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง



    จาก พราหมณสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต

    ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ให้สัตว์เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก



    พระพุทธเจ้าตรัสตอบพราหมณ์คนหนึ่งว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 40 ประการ เป็น ผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก

    เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้



    ธรรม 40 ประการ คือ

    1.เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง

    2.ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์

    3.พอใจในการฆ่าสัตว์

    4.กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์

    5.ลักทรัพย์ด้วยตนเอง

    6.ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์

    7.พอใจในการลักทรัพย์

    8.กล่าวสรรเสริญการลักทรัพย์

    9.ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง

    10.ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม

    11.พอใจในการประพฤติผิดในกาม

    12.กล่าวสรรเสริญการประพฤติผิดในกาม





    13.พูดเท็จด้วยตนเอง

    14.ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ

    15.พอใจในการพูดเท็จ

    16.กล่าวสรรเสริญการพูดเท็จ

    17.พูดส่อเสียดด้วยตนเอง

    18.ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด

    19.พอใจในการพูดส่อเสียด

    20.กล่าวสรรเสริญการพูดส่อเสียด

    21.พูดคำหยาบด้วยตนเอง

    22.ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ

    23.พอใจในการพูดคำหยาบ

    24.กล่าวสรรเสริญการพูดคำหยาบ

    25.พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง

    26.ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ

    27.พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ

    28.กล่าวสรรเสริญการพูดเพ้อเจ้อ





    29.อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง

    30.ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น

    31.พอใจในการอยากได้ของผู้อื่น

    32.กล่าวสรรเสริญการอยากได้ของผู้อื่น

    33.มีจิตปองร้ายด้วยตนเอง

    34.ชักชวนผู้อื่นในการปองร้าย

    35.พอใจในการปองร้าย

    36.กล่าวสรรเสริญการปองร้าย

    37.มีความเห็นผิดด้วยตนเอง

    38.ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด

    39.พอใจในความเห็นผิด

    40.กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด





    บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 40 ประการ เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์





    ธรรม 40 ประการ คือ



    1.เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง

    2.ชักชวนผู้อื่นในการเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์

    3.พอใจในการเว้นจากการฆ่าสัตว์

    4.กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการฆ่าสัตว์

    5.เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง

    6.ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์

    7.พอใจในการเว้นจากการลักทรัพย์

    8.กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการลักทรัพย์

    9.เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง

    10.ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

    11.พอใจในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม 12.กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการประพฤติผิด

    ในกาม



    13.เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง

    14.ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเท็จ

    15.พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ

    16.กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเท็จ

    17.เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง

    18.ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดส่อเสียด

    19.พอใจในการเว้นจากการพูดส่อเสียด

    20.กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดส่อเสียด

    21.เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง

    22.ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ

    23.พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ

    24.กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดคำหยาบ

    25.เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง

    26.ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

    27.พอใจในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

    28.กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ





    29.ไม่อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง

    30.ชักชวนผู้อื่นในการไม่อยากได้ของผู้อื่น

    31.พอใจในการไม่อยากได้ของ ผู้อื่น

    32.กล่าวสรรเสริญการไม่อยากได้ของผู้อื่น

    33.มีจิตไม่ปองร้ายด้วยตนเอง

    34.ชักชวนผู้อื่นในการไม่ปองร้าย

    35.พอใจในการไม่ปองร้าย

    36.กล่าวสรรเสริญการไม่ปองร้าย

    37.มีความเห็นชอบด้วยตนเอง

    38.ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ

    39.พอใจในความเห็นชอบ

    40.กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ



    ิ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวจีกรรม





    วจีกรรม เป็นการกระทำทางวาจา แต่ในปัจจุบัน การสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แม้จะไม่ได้ใช้วาจาหรือการพูดกันโดยตรง ตัวต่อตัว แต่อาจจะใช้การสื่อสารผ่านภาพ ผ่านเสียงที่บันทึกไว้ หรือผ่านตัวอักษร ให้เข้าใจ สื่อความกันได้ ก็นับเป็น วจีกรรม การกระทำทางวาจาเช่นกัน



    การพูดที่ก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดบุญเกิดกุศลประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ประการ คือ

    1.พูดถูกกาลเทศะ

    2.พูดคำจริง ไม่พูดด้วยคำเท็จ

    3.พูดคำสุภาพ ไม่พูดด้วยคำหยาบ

    4.พูดคำประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พูดด้วยคำไร้ประโยชน์

    5.พูดด้วยจิตเมตตา ไม่เพ่งโทษ





    การ “เว้นจากพูดเท็จ” หมายความว่า ไม่พูด หรือไม่ทำ ให้ผิด จากความจริง ด้วยความตั้งใจ

    ท่านห้ามไว้ด้วยอาการ 3 อย่างคือ



    1.มุสา

    “มุสา” แปลว่า เท็จ แสดงความเท็จ



    ทางวาจา คือพูดโกหก

    ทางกาย คือแสดงอาการสั่นศีรษะ พยักหน้า โบกไม้โบกมือ เขียนหนังสือ ทำหลักฐาน ทำเครื่องหมาย ให้คนเข้าใจผิดจากความจริง



    การพูด การทำมุสา มี 7 อย่าง คือ

    1.พูดกลับความ เช่นเห็นพูดว่าไม่เห็น

    2.ทนสาบาน เช่นเข้าสาบานตัว แสดงว่าเป็นผู้บริสุทธิ์

    3.ทำเล่ห์กระเท่ห์ เช่นทำที่เป็นคนพิการ ให้คนสงสารให้ทรัพย์หรืออวดฤทธิ์เดชให้คนหลงเชื่อ เพื่อหาลาภจากผู้หลงเชื่อ

    4.มายา เช่นเจ็บน้อย ทำเป็นเจ็บมาก.

    5.ทำเลศ พูดเล่นสำนวน เช่นเห็นคนวิ่งหนีมา เมื่อเขาถามว่า เห็นคนวิ่งมาทางนี้บ้างหรือไม่ ? ก็เดินไปก้าว หนึ่ง แล้วพูดว่า ยืนตรงนี้ไม่เห็นใครวิ่งมา

    6.เสริมความ เรื่องจริงมีเล็กน้อย พูดให้เป็นเรื่องใหญ่

    7.อำความ เรื่องจริงมีมาก พูดตัดที่สำคัญออกเสียให้เรื่องเล็ก



    2.อนุโลมมุสา

    “อนุโลมมุสา” แปลว่า เท็จโดยอนุโลม คือเรื่องไม่จริง แต่ผู้พูดไม่มุ่งพูดเท็จ มุ่งเพียง 3 อย่าง คือ

    1.เสียดแทง คำหยาบ คือพูดให้เจ็บใจ ยกให้สูงเรียกประชด กดให้ต่ำเรียกด่า

    2.สับปลับ เพ้อเจ้อ พูดด้วยคะนองวาจา ไม่จงใจให้เขาเข้าใจผิด

    3.ยุยง ส่อเสียด พูดความจริงบ้างเท็จบ้าง ยุให้แตกสามัคคีกัน



    3.ปฏิสสวะ

    “ปฏิสสวะ” แปลว่า รับคำแล้วไม่ทำตามรับ คือขณะรับคำไม่เจตนาเท็จ แต่ภายหลังกลับใจไม่ทำตามที่รับ 3 อย่าง คือ

    1.ผิดสัญญา คือทำสัญญาแก่กันทั้งสองฝ่ายว่าจะทำจริง ๆ แต่ภายหลังได้โอกาส ก็บิดพลิ้ว ไม่ทำตามสัญญา

    2. เสียสัตย์คือให้สัตย์แก่ท่านฝ่ายเดียวว่าตนจะทำอย่างนั้น ๆแต่ภายหลังไม่ทำอย่างที่ให้สัตย์ปฏิญาณไว้

    3.คืนคำ คือรับว่าจะให้อะไรแก่ใครแล้ว ไม่ได้ให้



    คำพูดไม่จริงแต่ไม่มีโทษ

    คำพูดที่ไม่จริง ผู้พูดไม่ประสงค์จะให้ผู้ฟังเชื่อเรียกว่า “ยถาสัญญา”

    แปลว่า พูดตามความสำคัญ ตามความเข้าใจ ไม่มีโทษ มี 4 อย่าง คือ

    1.โวหาร เช่นคำขึ้นต้น คำลงท้ายจดหมาย

    2. นิยาม เช่นเล่าเรื่องสัตว์พูดได้

    3.สำคัญผิด เช่นความจริงวันอาทิตย์ พูดว่าวันจันทร์

    4.พลั้ง เช่นตกใจ ไม่ตั้งใจเปล่งคำที่ไม่จริงออกมา

    บุคคลพูดคำทั้ง 4 อย่าง นี้ ไม่ขาดศีล ศีลไม่ด่างไม่พร้อย



    การมุสา ผิดศีล 5 ข้อที่ 4

    ไม่ได้ยกเว้นว่า ผิดด้วยเหตุอะไร จะเกิดประโยชน์แก่ใคร อย่างไร

    เมื่อมีองค์ประกอบครบ 4 ประการ ถือว่า ศีลข้อ 4 นี้ขาด คือ

    1.เรื่องนั้นไม่จริง

    2.มีเจตนาพูดเรื่องไม่จริงนั้น

    3.พูดเรื่องไม่จริงนั้น

    4.ผู้ฟังเชื่อตาม ความจริงถูกบิดเบือนไป



    เมื่อครบองค์ 4 ศีลจึงขาด ถ้าไม่ครบ ศีลไม่ขาด แต่ด่างพร้อย



    จะเห็นว่า วจีกรรมชั่ว คือ การพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีโทษถึงตกนรก



    ส่วน วจีกรรมดี การเว้นขาดจากการพูดเท็จ การเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด การเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ

    การเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ มีคุณถึงขึ้นสวรรค์



    แต่ก็มีคุณมีโทษไม่เท่ากันแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบต่างๆดังปรากฏใน อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ กล่าวถึงความหนักเบาของโทษการ โกหก หรือมุสา ไว้ดังนี้



    “มุสาวาทนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวนน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวนมาก”

    “สำหรับคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ไม่มีเพราะไม่ประสงค์จะให้ของ ๆ ตน (แก่คนอื่น) มีโทษน้อย

    ที่กล่าวเบิกพยานเพื่อหักล้างประโยชน์ (ของคู่ความ) มีโทษมาก

    “สำหรับบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยแห่งบูรณากถา (พูดให้เต็มความหรือเล่นสำนวน) ว่าวันนี้ น้ำมันในบ้านเห็นจะไหลเป็นแม่น้ำนะ ด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสน้อยไป มีโทษน้อยแต่ของผู้พูดโดยนัยมีอาทิว่า สิ่งที่ไม่ได้เห็นเลย ว่าได้เห็น มีโทษมาก”





    การเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย เป็นประโยชน์ในปัจจุบัน ละโลกแล้วย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ จะมีคนเชื่อถือในคำพูด เป็นที่เชื่อถือไว้ใจ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเทวดาและ มีกลิ่นปากหอม



    การโกหก หรือมุสา เป็นการทำลายสติของผู้โกหกเอง เพราะการโกหกเป็นการบิดเบือนการรับรู้ของประสาทสัมผัสและสมอง เช่น ตาเห็นสีแดง สมองก็รับรู้ว่าเป็นสีแดง แต่เราโกหก บอกว่า สีเขียว(จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม) สมองต้องเปลี่ยนความจำและการรับรู้ เมื่อบ่อยครั้งเข้า ความจำจะถูกบิดเบือนจนผิดเพี้ยนได้ เปรียบเหมือน เครื่องรับวิทยุ หรือโทรทัศน์ ถ้าเครื่องรับดี ภาพและสียงก็ชัดเจน แต่ถ้าเครื่องรับเสีย หรือไม่สมบูรณ์ ภาพและเสียงก็ที่รับได้ก็ไม่สมบูรณ์ตามไปด้วย และในการโกหกแต่ละเรื่องเป็นการบิดเบือนความจริงถึงสามครั้ง คือในก่อนที่จะโกหก ขณะที่โกหก และหลังจากโกหกแล้วจะต้องตามจำเรื่องที่ตนโกหกไว้ ประสาทการรับรู้และสมองของผู้ที่โกหกเมื่อถูกบิดเบือน จะมีประสิทธิภาพด้อยลงตามการโกหกของเขา เมื่อนานวัน จะเป็นคนหลงลืมง่าย



    เมื่อละโลกนี้ไปผู้ที่กล่าวคำมุสา จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม จะด้วยวิธีใดก็ตามจะต้องรับทุกข์ในนรก หนักเบาตามเหตุปัจจัยในการโกหกของตน ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ จะไม่มีคนเชื่อถือในคำพูดถูกกล่าวหา ใส่ร้าย และมีกลิ่นปากเหม็น



    ไม่ควรพูดมุสาแม้เพียงล้อเล่นเพื่อสนุก





    พระพุทธเจ้าทรงให้โอวาทแก่สามเณรราหุล ในเรื่องการโกหกไว้ใน จูฬราหุโลวาทสูตรพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ดังนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระราหุลอยู่ ณปราสาทชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นอยู่แล้ว เสด็จเข้าไปยังอัมพลัฏฐิกา ปราสาทที่ท่านพระราหุลอยู่ ท่านพระราหุลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะและ

    ตั้งน้ำสำหรับล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แล้วทรงล้างพระบาท ท่านพระราหุลถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    พระผู้มีพระภาคเจ้าเหลือน้ำไว้ในภาชนะน้ำหน่อยหนึ่งแล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นน้ำเหลือหน่อยหนึ่งอยู่ในภาชนะน้ำนี้หรือ

    ท่านพระราหุลกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า



    ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ก็มีน้อยเหมือนกันฉะนั้น



    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทน้ำที่เหลือหน่อยหนึ่งนั้นเสีย แล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเทเสียแล้วหรือ

    รา. เห็น พระเจ้าข้า



    พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาทิ้งเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น



    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้หรือ

    รา. เห็น พระเจ้าข้า



    พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาคว่ำเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น



    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหงายภาชนะน้ำนั้นขึ้น แล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำอันว่างเปล่านี้หรือ

    รา. เห็น พระเจ้าข้า



    พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของว่างเปล่าเหมือนกันฉะนั้น



    พ. ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนช้างต้นมีงางอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม ช้างนั้นเข้าสงครามแล้วย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น เพราะการที่ช้างรักษาแต่งวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงามเป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดีเคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง

    ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยังไม่ยอมสละแล ดูก่อนราหุล เมื่อใดแลช้างต้นมีงาอันงอนงามเป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้างด้วยศีรษะบ้างด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง เพราะการที่ช้างทำกรรมด้วยงวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ก็ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดีเคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยอมสละแล้วบัดนี้ไม่มีอะไรที่ช้างต้นจะพึงทำไม่ได้ ฉันใด



    ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคล ผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน



    เพราะเหตุนั้นและ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า



    “เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น” ดูก่อนราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล



    พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ การงดเว้นจากการโกหกซึ่งให้ผลเป็นความสุขทั้งในปัจจุบันและในอนาคตทั้งโลกนี้และโลกหน้าหลังตายไปแล้ว



    จาก อรรถกถาวิหารวิมานปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย วิมานวัตถุ

    ปรากฏ ความว่า พระอนุรุทธ ได้จาริกไปในสวรรค์ เห้นวิมานของเทพธิดานางหนึ่งสวยงามใหญ่โตโอราฬมากจึงสอบถามว่า ได้มาด้วยบุญอะไร นางเทพธิดาตอบว่า ตอนเป็นมนุษย์นางเป็นเพื่อนของนางวิสาขา ได้อนุโมทนาบุญที่นางวิสาขาสร้างวิหารถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ด้วยการกล่าวคำว่า “สาธุ สาธุ สาธุ”



    ในโลกออนไลน์ เราสามารถสร้างบุญผ่านวจีกรรม ได้ โดย





    1.การให้ธรรมะ ความรู้ ข้อคิด สาระ ทั้งที่เป็นภาพนิ่ง วิดีโอ ข้อความ ที่เป็นประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม

    2.ชักชวนผู้อื่น ให้ทำกรรมดี ทั้งกาย วาจา และใจ ละการทำกรรมชั่ว ทั้งกาย วาจา ใจ

    3.พอใจ ในการทำกรรมดี ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ ของตนเองและที่ผู้อื่นได้กระทำ

    4.กล่าวสรรเสริญ ในการทำกรรมดี ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ ของตนเองและผู้อื่น ในกรณีนี้คือการอนุโมทนาบุญ แสดงความยกย่องชื่นชมในการทำความดีของผู้อื่น(กด Like)เช่นเดียวกับเพื่อนของนางวิสาขาที่อนุโมทนาในการสร้างวิหารของนางวิสาขา แล้วได้ไปเสวยสุขในสวรรค์



    โดย

    1.เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง

    2.ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเท็จ

    3.พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ

    4.กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเท็จ

    (กด Like)





    5.เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง

    6.ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดส่อเสียด

    7.พอใจในการเว้นจากการพูดส่อเสียด

    8.กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดส่อเสียด(กด Like)



    9.เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง

    10.ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ

    11.พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ

    12.กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดคำหยาบ (กด Like)





    13.เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง

    14.ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

    15.พอใจในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

    16.กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ(กด Like)



    ในทางกลับกัน เราก็สามารถทำกรรมชั่ว โดยเฉพาะ วจีกรรม การกระทำทางวาจา ได้ง่ายเช่นเดียวกันในระบบออนไลน์ โดย



    การพูดเท็จ ตั้งใจให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ผ่านทางภาพ เสียง หรือข้อความตัวอักษร

    1. พูดเท็จด้วยตนเอง

    2.ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ

    3.พอใจในการพูดเท็จ

    4.กล่าวสรรเสริญการพูดเท็จ(กด Like)





    การพูดส่อเสียด ตั้งใจให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นการยุยงให้เกิดความแตกแยกกัน ผ่านทางภาพ เสียง หรือข้อความตัวอักษร

    5.พูดส่อเสียดด้วยตนเอง

    6.ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด

    7.พอใจในการพูดส่อเสียด

    8.กล่าวสรรเสริญการพูดส่อเสียด(กด Like)





    การพูดคำหยาบ ตั้งใจให้ข้อมูลข่าวสาร ทั้งจริงและไม่จริง โดยใช้คำหยาบ ผ่านทางภาพ เสียง หรือข้อความตัวอักษร

    9.พูดคำหยาบด้วยตนเอง

    10.ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ

    11.พอใจในการพูดคำหยาบ

    12.กล่าวสรรเสริญการพูดคำหยาบ(กด Like)





    การพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระแก่นสาร โดยตั้งใจไม่ว่าด้วยเจตนาใด ผ่านทางภาพ เสียง หรือข้อความตัวอักษร

    13.พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง

    14.ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ

    15.พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ

    16.กล่าวสรรเสริญการพูดเพ้อเจ้อ(กด Like)



    การกระทำชั่วทางวจีกรรม ทั้ง 16 ประการนำไปสู่นรก ทั้งสิ้น หนักเบาตามเจตนาและความร้ายแรงที่เกิดแก่ผู้เสียหาย



    ดังนั้น จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ



    ทั้งในการ ให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในทุกรูปแบบ ผ่านระบบออนไลน์ ระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งการชักชวนให้ผู้อื่นกระทำตาม ทั้งการ พอใจ และการกล่าวชื่นชมสรรเสริญ(กด Like)ในข้อมูลข่าวสารต่างๆ ว่า ข้อมูลนั้น เป็นเท็จ

    เป็นการส่อเสียด เป็นคำหยาบ และเป็นการเพ้อเจ้อ ไร้สาระหรือไม่



    ถ้าใช่ ให้งดเว้น โดยเด็ดขาด เพราะการกระทำเช่นนั้นนำไปสู่ความทุกข์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งอนาคตระยะใกล้ในชาตินี้และอนาคตข้ามภพข้ามชาติคือนำไปสู่นรกเพียงอย่างเดียว



    แต่ถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าทั้งการ ให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในทุกรูปแบบ ผ่านระบบออนไลน์ ระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งการชักชวนให้ผู้อื่นกระทำตาม ทั้งการ พอใจ และการกล่าวชื่นชมสรรเสริญ(กด Like)ในข้อมูลข่าวสารต่างๆ ว่า ข้อมูลนั้น ไม่เป็นเท็จ เป็นความจริง เป็นประโยชน์ ถูกกาลเทศะ ให้ด้วยจิตเมตตา ไม่เป็นการส่อเสียด เป็นการสร้างสามัคคี ไม่เป็นคำหยาบ เป็นคำสุภาพ และไม่เป็นการเพ้อเจ้อ ไร้สาระ มีคุณค่า มีคุณประโยชน์ ให้รีบทำ เพราะการกระทำเช่นนั้นนำไปสู่ความสุขทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งอนาคตระยะใกล้ในชาตินี้และอนาคตข้ามภพข้ามชาติ

    คือนำไปสู่สุคติโลกสวรรค์
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    7 เคล็ดลับเพื่ออัพเกรดให้เป็นสุดยอดมนุษย์เงินเดือน
    6 มิ.ย. 58 22.09 น.

    -http://money.sanook.com/284525/-


    ทุกๆวันนี้ มนุษย์เงินเดือน หลายๆคนอาจจะกำลังบ่นว่า จะเอาอะไรกันนักหนา ทั้งๆที่ทุกวันนี้เราขยัน อดทน ตั้งใจทำงานจนจะตายคาออฟฟิศอยู่แล้ว มันยังไม่ดีพออีกหรอ!!!! ทำไมชีวิตถึงไม่ได้ก้าวหน้าเสียที

    แต่จริงๆแล้วสิ่งที่เราเห็นไม่ใช่ว่าจะไม่มีหรอกนะครับ บางทีเราอาจจะมีแต่ยังไม่รู้ตัวก็ได้ว่า วันนี้ @TAXBugnoms เลยมีแนวคิดดีๆ 7 ข้อ มาแบ่งปันให้ทุกคนประสบความความสำเร็จในฐานะ สุดยอดมนุษย์เงินเดือน มาฝาก อยากรู้แล้วใช่ไหมครับว่า่มีอะไรบ้าง งั้นเรามาดูกันเลยดีกว่า

    1. ความอดทน มนุษย์เงินเดือนที่ประสบความสำเร็จทุกวันนี้ ล้วนเริ่มต้นจากความอดทนมานักต่อนัก ซึ่งความอดทนที่ว่าไม่ใช่ทนทำงานหนักเหมือนวัวเหมือนควาย อย่างที่ใครเค้าชอบพูดกันนะครับ แต่มันคือการอดทนทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย ถึงแม้ว่าเราจะไม่อยากทำ เพราะนั่นคือ คุณสมบัติของการเป็นมนุษย์เงินเดือนที่เรียกตัวเองว่า “มืออาชีพ”

    2. การฝึกฝนและพยายาม ความเพียรพยายาม หมั่นฝึกฝนในสิ่งที่เราได้เรียนรู้มาจากการทำงานในแต่ละวัน เอามาร่วมกันกับการ Focus เป้าหมายและมองหาหนทางสร้างอาชีพเพิ่มเติมที่ไม่ได้หยุดแค่การเป็นมนุษย์เงินเดือน เพื่อสร้างความก้าวหน้าในอาชีพที่ทำ หรือสร้างหนทางใหม่ๆให้กับสายงานที่เราทำอยู่ แบบนี้ คือ การฝึกฝนและพยายามที่ถูกต้องครับ

    สำหรับบางคนอาจจะสงสัยว่า พยายามจะทำแค่ไหนถึงจะไปถึงฝันผมอยากแนะนำให้อ่านบทความนี้เพิ่มเติมดูครับโอกาส ความสำเร็จ และการอิ่มตัวมีจริงไหม?

    3. สร้างความมีประสิทธิภาพ นายหมีแห่งออมมันนี่เคยสอนมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งไว้ว่า ทำงานมากแค่ไหนไม่ได้แปลว่าดี แต่การทำงานดีคือการทำงานฉลาดและมีประสิทธิภาพต่างหาก ซึ่งหมายความว่า เรายิ่งต้องสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น โดยทำงานให้เสร็จรวดเร็วขึ้นและถูกต้องมากขึ้น เพราะยิ่งงานเร็วขึ้นเท่าไร เรายิ่งมีเวลาไปทำอะไรอย่างอื่นมากยิ่งขึ้นได้อีก #จะขึ้นไปไหน

    4. อย่าฉลาดจนเกินงาม ในสังคมไทยมีคำกล่าวไว้ว่า จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ซึ่งหมายถึงคนส่วนใหญ่ไม่ชอบให้ใครเกินหน้าตา ซึ่งคล้ายๆกับวัฒนธรรมที่เรียกว่า The Tall Poppy Syndrome ของประเทศออสเตรเลียที่ไม่ต้องการให้ใครเด่นเกินหน้าใคร ถ้าใครเด่นเกินก็จะถูกกำจัดทิ้งไปเสีย ดังนั้น การแสดงให้คนอื่นรู้ว่าเราเหนือกว่า บางครั้งอาจจะเป็นปัญหาชีวิตของมนุษย์เงินเดือนได้เหมือกัน เช่น การหักหน้าเจ้านายหรือผู้ใหญ่ หรือแม้แต่เพื่อร่วมงานก็ตาม วิธีแก้ คือ แนะนำให้หันมาเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการความรู้สึกคนรอบข้างจะดีกว่า รับรองว่าชีวิตจะดีขึ้นกว่าเดิมเยอะเลยครับ


    แต่ถ้าเกิดคิดว่าอยากเปลี่ยนงานขึ้นมาจริงๆ
    ลองตรวจสอบตัวเองที่บทความนี้เลยครับ
    5 คำถามก่อนตัดสินใจเปลี่ยนงานใหม่

    5. ตามข่าวสารให้ทัน ในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การจัดการองค์ความรู้ให้สั้น กระชับ ฉับไว เป็นสิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้นเราต้องเป็นมนุษย์เงินเดือนที่รู้ทันและรู้กว้าง เพื่อสร้างโอกาสให้กับชีวิต แต่ไม่ใช่เอาแต่ติดตามข่าวสารจนไม่ทำงานนะครับ แบบนั้นจะกลายเป็นปัญหาได้แน่ๆคร้าบ

    6. หันมาสนใจเรื่องวางแผนการเงิน อีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้มนุษย์เงินเดือนไม่สามารถก้าวไปถึงขั้นสุดยอดได้นั้น เกิดจากปัญหาเรื่องการเงินซึ่งเป็นปัจจัยอันดับ 1 จนถึงกับมีคำกล่าวว่า “เงินไม่ได้สร้างความสุข แต่อย่างน้อยมันไม่ทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้น” ดังนั้นอย่าลืมวางแผนการเงินให้กับชีวิตกันด้วยนะครับ

    ทำไม? มนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องรู้จักกับการวางแผนการเงิน
    10 ขั้นตอนสู่อิสรภาพการเงินของมนุษย์เงินเดือน

    7. เพลินกับการผ่อนคลายชีวิต มีคนกล่าวไว้ว่า “การพักผ่อนคือส่วนหนึ่งของการทำงาน” ดังนั้นการทำงานที่คร่ำเคร่งมากเกินไปจนหลงลืมเวลาด้านอื่นๆของชีวิต ก็อาจจะทำให้กลายเป็นปัญหาในอนาคตได้ ดังนั้นการผ่อนคลายเล็กๆน้อยๆ เช่น ฟังเพลง ดูหนัง ทำสปา เล่นกีฬาต่างๆ เพื่อสร้างองค์รวมของสุขภาพร่างกายที่ดี และเป็นการผ่อนคลายอีกวิธีหนึ่งที่ให้เราทำงานได้ดียิ่งขึ้นครับ

    สุดท้ายแล้ว 7 เคล็ดลับที่จะมาแนะนำสำหรับมนุษย์เงินเดือนนี้ ถ้าบริหารจัดการให้ดีและทำได้ครบทุกข้อ ย่อมสามารถทำให้เรากลายเป็นสุดยอดมนุษย์เงินเดือนได้อย่างแน่นอนครับ และที่สำคัญกว่านั้น เราไม่ควรจบแค่อ่านผ่านๆเพียงอย่างเดียว แต่อย่าลืมนำไปปฎิบัติกันด้วยนะคร้าบบบบบบบบบบ

    เรื่องและภาพจาก -www.aommoney.com-
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • n075.png
      n075.png
      ขนาดไฟล์:
      268 KB
      เปิดดู:
      92
    • n076.png
      n076.png
      ขนาดไฟล์:
      89 KB
      เปิดดู:
      91
    • n077.png
      n077.png
      ขนาดไฟล์:
      955.3 KB
      เปิดดู:
      69
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .ในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่
    มีอุบาสิกาคนหนึ่งได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็น "เอตทัคคะ" คือ เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าอุบาสิกาทั้งหลายทางพหูสูต (เป็นอุบาสิกาที่มีโอกาสได้ฟังธรรมมาก) เป็นคนหลังค่อม เป็นผู้บรรลุธรรมชั้นโสดาบัน และเป็นคนรับใช้คนอื่น

    ภิกษุทั้งหลายพากันประหลาดใจว่า ทำไมอุบาสิกาที่มีบุญมาก และได้รับการยกย่อง เป็นถึงเอตทัคคะด้านพหูสูต ชาตินี้จึงต้องเกิดมาเป็นคนหลังค่อม และเป็นคนใช้คนอื่น
    (ต้องอาศัยผู้อื่นอยู่ ไม่มีบ้านเรือนเป็นของตน)


    พระพุทธองค์จึงทรงตรัส ถึงเรื่องกรรม ในชาติก่อนของ......นางขุชชุตตราให้ฟังว่า..


    1. การที่นางเป็นพหูสูตมีปัญญามาก

    เพราะผลบุญในชาติก่อนที่ได้เคยถวายผ้ารองบาตร (วลัยงา) เคยฟังธรรม และเคยบำรุงพระอรหันต์ปัจเจกพุทธเจ้าเป็นประจำ

    2. การที่นางเกิดมาเป็นคนหลังค่อม เพราะผลกรรมที่นางเคยแสดงอาการ ล้อเลียนพระอรหันต์ปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งซึ่งหลังค่อม แสดงให้เพื่อนดูด้วยความตลกขบขัน

    (ไม่ควรเอาเรื่องพระอรหันต์มาล้อเลียน เพราะเป็นกรรมหนัก)

    3. การที่นางเกิดมาเป็นคนรับใช้ผู้อื่น เพราะ นางเคยใช้ภิกษุณีอรหันต์องค์หนึ่ง....ให้หยิบของให้ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังอุทาหรณ์ต่อไปนี้

    ในกาลของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง

    ในอดีต นามว่า "กัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า" มีธิดาของเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงพาราณสี เวลาบ่ายได้นั่งถือกระจกส่องหน้าแต่งตัว

    ขณะนั้น มีนางภิกษุณีอรหันต์รูปหนึ่ง ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของนางมาตั้งแต่สมัยยังไม่ได้บวช ได้ไปเพื่อเยี่ยมนางที่บ้าน

    ตามธรรมดา ภิกษุณี แม้บรรลุอรหันต์แล้วก็ยังปรารถนาจะไปเยี่ยมเยียนโยมอุปัฏฐากในเวลาเย็น ขณะนั้นหญิงรับใช้ในบ้าน ของธิดาเศรษฐีไม่มีใครอยู่เลยสักคน นางจึงกล่าวกะภิกษุณีอรหันต์ด้วยความเคยชินว่า.....

    "ดิฉันขอไหว้เจ้าค่ะ ได้โปรดหยิบกระเป๋าเครื่องประดับนั่น ให้แก่ดิฉันด้วยเถอะเจ้าค่ะ"

    -http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=2104-
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รายได้(ต่อเดือน) - เงินออม = ค่าใช้จ่าย

    สูตรสมการทางการเงินอย่างง่ายๆ

    ก่อนอื่น ต้องทราบก่อนว่า เรามีรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายรายปีเท่าไหร่ (เช่น ค่าประกันอัคคีภัย , ค่าประกันภัยรถยนต์ หรือ ค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายปีละครั้งหรือสองครั้ง เช่น ค่าเทอมหรือค่าใช้จ่ายของลูก) เราต้องนำมาเฉลี่ยต่อเดือน ในที่นี้ผมจะเรียกว่า ค่าใช้จ่ายรายปี(เฉลี่ยต่อเดือน)

    ต่อมาเราต้องทราบว่า รายจ่ายที่เราต้องจ่ายจริงๆในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง (เช่น เงินที่ผ่อนบ้าน , ผ่อนสินเชื่อประเภทต่างๆ เป็นต้น) ในที่นี้ผมจะเรียกว่า ค่าใช้จ่ายจริงต่อเดือน

    เมื่อเรารู้ค่าใช่้จ่าย (ค่าใช้จ่ายรายปี(เฉลี่ยต่อเดือน) และค่าใช้จ่ายจริงต่อเดือน) แล้ว เราต้องรู้รายรับ

    เราต้องเฉลี่ยรายรับต่อเดือนให้รู้ว่า เรามีรายได้ต่อเดือนเท่าไหร่

    อีกประการ หากเราต้องการมีเงินออม เราต้องคิดว่า เราจะเก็บเงินที่เราต้องการออมไว้เดือนละเท่าไหร่ (เงินจำนวนนี้ ต้องใจแข็ง ห้ามใช้ สำคัญมากขึ้นและดีขึ้นก็คือ เรานำเงินจำนวนนี้ นำไปลงทุนเพื่อหาดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก)

    เราจะได้ไปคำนวนเรื่องเงินกัน

    รายได้ต่อเดือน - เงินออม - (ค่าใช้จ่ายรายปี(เฉลี่ยต่อเดือน) = ค่าใช้จ่ายจริงต่อเดือน + ค่าใช้จ่ายประจำวัน

    ค่าใช้จ่ายรายปี(เฉลี่ยต่อเดือน) ที่หักไว้ ผมแนะนำให้นำไปลงทุน แต่ต้องกะระยะเวลาที่สามารถถอนออกมาเพื่อนำไปจ่ายค่าใช้จ่ายรายปีของประเภทนั้นๆได้

    หากเรามีรายได้ที่น้อยลง เราต้องหาวิธีการที่จะพยุงการเงินในครอบครัวของเรา

    มีวิธีอยู่ 2 วิธีคือ

    1.การหารายได้เพิ่ม
    นั่นคือการหางานอื่นทำให้มากขึ้น

    2.การลดรายจ่าย
    ผมว่าวิธีนี้ น่าจะเป็นวิธีการที่ง่ายกว่าข้อที่ 1 การลดรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน แนะนำว่า ลองจดค่าใช่จ่ายประจำวัน แล้วกลับไปดูว่า ค่าใช้จ่ายประจำวัน เราจ่ายอะไรไปบ้าง เรื่องไหนที่จำเป็น เรื่องไหนที่ไม่จำเป็น หากเรื่องไหนที่ไม่จำเป็นก็ให้งดจ่ายในเรื่องนั้นๆ

    ลองทำกันดู แต่หากอ่านแล้วงง ถามผมในกระทู้ฯได้ตลอดน๊ะครับ ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดีเลย ผมเป็นห่วงครับ

    ด้วยรักและห่วงใย
    sithiphong
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตีกลองชุด สุดยอดมากๆ2

    https://www.youtube.com/watch?v=Egg3HYXcyAM
    -https://www.youtube.com/watch?v=Egg3HYXcyAM-




    น้องแว่นตีกลองขั้นเทพ อีก1

    https://www.youtube.com/watch?v=POn4-8glurc
    -https://www.youtube.com/watch?v=POn4-8glurc-




    น้องแว่นตีกลองขั้นเทพ อีก2

    https://www.youtube.com/watch?v=dBwk-U66bVU
    -https://www.youtube.com/watch?v=dBwk-U66bVU-




    มือกลองพริ้วไหว

    https://www.youtube.com/watch?v=-WET9B8FWvM
    -https://www.youtube.com/watch?v=-WET9B8FWvM-




    มือกลองข้างถนน

    https://www.youtube.com/watch?v=FLPRfYCSXOw
    -https://www.youtube.com/watch?v=FLPRfYCSXOw-

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    เจ้าตูบแสนซื่อ คาบชามข้าวเข้าแถวเป็นระเบียบ มนุษย์เห็นแล้วอายไปเลย

    -http://pet.kapook.com/view121335.html-

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]



    เผยภาพน่ารักน่าเอ็นดู สุนัขตำรวจคาบชามเข้าไว้ในปาก ยืนเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบ ยอดเยี่ยมจริง ๆ

    เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 เว็บไซต์ en.rocketnews24.com เผยภาพน่ารักน่าเอ็นดู สุนัขตำรวจคาบชามเข้าไว้ในปาก ยืนเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบ ยอดเยี่ยมจริง ๆ รายงานว่า ในโลกออนไลน์ของจีน ได้มีการแชร์ภาพน่ารักของสุนัขตำรวจ โดยเราจะเห็นได้ว่า ชายที่สวมเสื้อกาวน์สีขาวนั้น กำลังเตรียมที่จะตักอาหารให้กับสุนัขที่เข้าแถว คาบชามข้าวของตัวเองไว้ในปาก นอกจากนี้ สุนัขเหล่านี้ยังเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบสุด ๆ แสดงให้เห็นถึงวินัยและความอดทน

    อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ภาพแรกที่แสดงให้เห็นว่า สุนัขมีระเบียบแค่ไหน เพราะก่อนหน้านี้เคยปรากฏภาพของสุนัขในฟินแลนด์ ที่คาบชามข้าวไว้ในปาก และเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบเพื่อรออาหารมาแล้ว และดูเหมือนสุนัขเหล่านี้จะเป็นสุนัขทหาร

    โดยปกติแล้วกองกำลังของตำรวจและทหารทั่วโลกมักจะมีการฝึกสุนัข ไม่ใช่แค่เฉพาะการค้นหายาเสพติด ระเบิด หรือวัตถุต้องสงสัย แต่ยังรวมไปถึงภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ หรือแม้กระทั่งการกู้ระเบิด ซึ่งงานแบบนี้มักจะใช้สุนัขที่มีทักษะสูง และผ่านการฝึกมามาก และสุนัขตำรวจมักจะถูกฝึกมาอย่างเข้มงวดมากกว่าแค่การฝึกให้สุนัขฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชา


    ภาพจาก en.rocketnews24.com



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • q0001.png
      q0001.png
      ขนาดไฟล์:
      58.2 KB
      เปิดดู:
      385
    • q0002.png
      q0002.png
      ขนาดไฟล์:
      512.5 KB
      เปิดดู:
      327
    • q0003.png
      q0003.png
      ขนาดไฟล์:
      236.2 KB
      เปิดดู:
      317
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ไวรัสเมอร์ส อาการแบบนี้ต้องสงสัย ป่วยแล้วรีบไปโรงพยาบาล

    -http://health.kapook.com/view121897.html-

    ไวรัสเมอร์ส อาการแสดงของโรคมีอะไรบ้าง ที่ทำให้เราต้องฉุกคิดว่าอาจจะป่วย พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น ก่อนโรคไวรัสเมอร์สจะคร่าชีวิต

    ไวรัสเมอร์สดูเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิดเมื่อพบผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศไทยแล้ว แม้กระทรวงสาธารณสุขจะออกมายืนยันว่าไม่ใช่เรื่องน่าตื่นตระหนก เพราะพบผู้ป่วยได้เร็วและขณะนี้ยังไม่มีการระบาดในประเทศไทย แต่เราทุกคนจะเพิกเฉยเรื่องนี้ไม่ได้ ต้องรู้ว่า ไวรัสเมอร์ส คืออะไร โดยเฉพาะอาการที่ต้องสงสัยเข้าข่ายไวรัสเมอร์ส เพราะหากพบเจอขึ้นมาจะได้รักษาทัน


    ไวรัสเมอร์ส อาการเด่น ๆ มีอะไรบ้าง

    1. มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดทั่วไป หรือไข้หวัดใหญ่

    2. มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส

    3. มีอาการไอ หอบ หายใจลำบากตามความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจน

    4. ผู้ป่วยประมาณ 30-40% จะมีอาการท้องเสีย มวนท้อง คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการเด่นชัดที่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดา

    5. มีอาการปอดบวม

    หากใครมีอาการในลักษณะนี้มากกว่า 2 ข้อขึ้นไป และมีประวัติเดินทางมาจากประเทศในตะวันออกกลาง หรือเคยสัมผัส อยู่ใกล้ชิดกับคนที่เดินทางมาจากตะวันออกกลาง ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที เพราะโรงพยาบาลมีเครื่องมือในการตรวจสอบได้ดีกว่าคลินิก ซึ่งถ้าใครไปช้าจนมีอาการรุนแรงแล้ว อาจเสียชีวิตได้จากอาการปอดอักเสบรุนแรง หรือไตวาย

    ไวรัสเมอร์ส ป้องกันเบื้องต้นอย่างไรดี

    การป้องกันไวรัสเมอร์สก็ไม่ต่างจากอาการไข้หวัดทั่วไป นั่นก็คือการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง และมีสุขอนามัยที่ดี อย่างเช่น

    1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อย ๆ หากไม่มีสบู่สามารถใช้เจลล้างมือได้

    2. หากมีอาการไอหรือจาม ให้ใช้ทิชชูหรือผ้า ปิดจมูกและปาก จากนั้นนำทิชชูทิ้งขยะ

    3. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสดวงตา จมูก และปาก หากยังไม่ได้ล้างมือ

    4. หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์ อาทิ จูบ หรือการมีสัมพันธ์ร่วมกันกับคนที่มีอาการป่วย

    5. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่ต้องมีการสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ประตู หรือโทรศัพท์

    6. ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลาง

    7. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมาก

    8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง

    9. ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือมีอาการปอดบวม

    10. หากมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค ควรดูแลสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่เลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เช่น ฟาร์ม ตลาด เป็นต้น

    11. หากเดินทางกลับจากประเทศแล้วมีอาการไข้และไอเกิน 2 วัน ขอให้รีบเดินทางมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที และแจ้งประวัติการเดินทางต่อแพทย์ด้วย


    อย่าเพิ่งตื่นตระหนกกับโรคไวรัสเมอร์ส แม้จะเป็นโรคที่ยังไม่มียาต้านไวรัสจำเพาะต่อเชื้อนี้ในการรักษา แต่ถ้าหากป่วยแล้วรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ก็สามารถรักษาตามอาการแบบประคับประคองจนกว่าการอักเสบในระบบทางเดินหายใจจะลดน้อยลงจนหายเป็นปกติได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • m01.png
      m01.png
      ขนาดไฟล์:
      265.3 KB
      เปิดดู:
      56
    • m02.png
      m02.png
      ขนาดไฟล์:
      327.8 KB
      เปิดดู:
      42
    • m03.png
      m03.png
      ขนาดไฟล์:
      551.2 KB
      เปิดดู:
      41
    • m04.png
      m04.png
      ขนาดไฟล์:
      83.6 KB
      เปิดดู:
      49
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รีไฟแนนซ์บ้านดีหรือไม่ เปรียบเทียบรีไฟแนนซ์ vs. ไม่รีไฟแนนซ์

    ข่าวสาร บทความ ที่น่าสนใจเกี่ยว บ้านและอสังหาริมทรัพย์ | DDproperty.com


    -http://www.ddproperty.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD/%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99_%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%992558-
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติพระอนุรุทธเถระ

    -http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2651:2010-08-29-13-15-45-

    พระอนุรุทธเถระผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์ ควรจะได้ทราบว่าการที่พระอนุรุทธเถระเป็นผู้เลิศเช่นนั้น เพราะเป็นผู้มีความชำนาญที่ได้สั่งสมไว้แล้วในเวลาที่ผ่านมา.อรรถกถากล่าวว่า พระเถระนั้น ตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืน ได้เจริญอาโลกกสิณตรวจดูเหล่าสัตว์ด้วยทิพยจักษุอย่างเดียว เว้นแต่ช่วงเวลาฉันเท่านั้น ดังนั้น พระเถระนี้จึงชื่อว่าเป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ เพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสะสมไว้ตลอดวันและคืน ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังเนื่องจากท่านได้ตั้งปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้
    ความปรารถนาในอดีต

    กระทำมหาทานแด่พระปทุมุตตระพุทธเจ้า

    ได้ยินว่า ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระอนุรุทธเถระนั้นบังเกิดในสกุลคฤหบดีผู้มหาศาล ครั้นเมื่อเจริญวัยแล้ว อยู่มาวันหนึ่งวันหนึ่งได้ไปยังพระวิหารที่พระพุทธปทุมุตตระประทับอยู่ และฟังธรรมอยู่แถวท้ายหมู่พุทธบริษัทในวิหารนั้น ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ท่านจึงปรารถนาที่จะได้เป็นอย่างภิกษุนี้ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเช่นนั้นบ้าง

    ดังนั้นท่านจึงนิมนต์พระพระปทุมุตตระพุทธเจ้า และทำการถวายมหาทานอยู่ ๗ วัน. แล้วท่านจึงหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แสดงความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งการถวายทานสักการะนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่นใด เพียงแต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือน ภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วัน นับแต่วันนี้

    พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาลด้วยพุทธญาณ ทรงเห็นว่าความปรารถนาของกุลบุตรนี้จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่ากุลบุตรผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักมีชื่อว่าอนุรุทธ ท่านจักเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าดังนี้ ครั้นเมื่อทรงพยากรณ์แล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับไป.

    ตั้งแต่นั้นมา ตราบที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ท่านก็ได้กระทำแต่กรรมที่ดีมาโดยตลอด ครั้นเมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อเจดีย์ทองประมาณ ๗ โยชน์สร้างสำเร็จแล้ว ท่านจึงเข้าไปหาเหล่าภิกษุสงฆ์ แล้วถามภิกษุสงฆ์เหล่านั้นว่า ทำบุญด้วยอะไรจึงจะทำให้ได้ทิพยจักษุ ภิกษุสงฆ์บอกว่าควรทำบุญด้วยประทีป ท่านจึงให้สร้างต้นประทีปหลายพันต้น และสร้างประทีปบริวารด้วยถ้วยกระเบื้องและถาดสัมริดนับจำนวนไม่ได้ถวายเป็นพุทธบูชา และอธิษฐานว่า ผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้เกิดทิพยจักษุญาณ ท่านกระทำเช่นนี้จนตลอดชีวิต เมื่อหมดอายุขัยแล้ว ก็ท่องเที่ยวไปในภูมิเทวดาและภูมิมนุษย์ทั้งหลาย วนเวียนอยู่เช่นนั้นตลอดแสนกัป

    บุรพกรรมในสมัยพระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ครั้งที่ท่านเกิดในสมัยของพระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน ครั้งนั้นท่านถวายประทีป แก่พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เข้าฌานอยู่ที่ควงไม้ พระองค์ทรงรับแล้วห้อยไว้ที่ต้นไม้ ท่านได้ถวายไส้ตะเกียงน้ำมันพันหนึ่ง แด่พระพุทธองค์ด้วย ประทีปนั้นลุกโพลงอยู่ ๗ วันแล้วดับไปเอง อานิสงส์ครั้งนั้นท่านได้กล่าวว่า จะนับจะประมาณมิได้ อาทิเช่น

    เมื่อท่านเกิดเป็นเทวดา วิมานของท่านก็มีรัศมีรุ่งโรจน์ สว่างไสว ท่านได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์อยู่ ๒๘ ชาติ ท่านมีจักษุอันเป็นทิพย์สามารถมองเห็นได้ไกลหนึ่งโยชน์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านมีรัศมีกายแผ่ออกไปจากร่างประมาณโยชน์หนึ่ง ท่านได้เกิดเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป

    บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ครั้นสมัยในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเกิดในเรือนคฤหบดีใกล้กรุงพาราณสี เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน มหาชนได้สร้างพระเจดีย์ประมาณ ๑ โยชน์สำเร็จแล้ว ท่านก็ให้สร้างภาชนะสำริดจำนวนมาก บรรจุเนยใสจนเต็ม แล้ววางไส้ตะเกียงห่างกัน ๑ องคุลี ในภาชนะดังกล่าววางล้อมพระเจดีย์ให้เรียงชิดกันแล้วจุดไฟขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา แล้วให้สร้างภาชนะสำริดที่ใหญ่กว่าใส่เนยใสเต็ม จุดไส้ตะเกียงพันดวงรอบ ๆ ขอบปากภาชนะสำริดนั้น แล้วให้จุดไฟขึ้น ท่านเทินภาชนะสำริดไว้บนศีรษะ เดินประทักษิณเวียนบูชาเจดีย์ระยะทางโดยรอบประมาณ ๑ โยชน์ ตลอดคืนจนถึงเช้ารุ่ง เขาแต่กรรมดีจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้วบังเกิดในเทวโลก
    ถวายภัตแด่พระอุปริฎฐะปัจเจกพุทธเจ้า

    ขอจงอย่าได้ยินคำว่า ‘ ไม่มี ’

    ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น.เขาถือปฏิสนธิในนครพาราณสีนั้นอีก ในเรือนของตระกูลยาจกเข็ญใจ เขาได้มีชื่อว่า อันนภาระ เป็นคนหาบหญ้า อาศัยอยู่กับสุมนเศรษฐี ผู้ซึ่งให้มหาทานที่ประตูบ้านแก่คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพกและยกจก ทุกวัน ๆ

    วันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า?นามว่าอุปริฎฐะเข้านิโรธสมบัติ ที่ภูเขาคันธมาทน์ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว พิจารณาว่า วันนี้ ควรจะทำการอนุเคราะห์ใคร ธรรมดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้อนุเคราะห์คนเข็ญใจ ท่านจึงคิดว่าวันนี้เราควรทำการอนุเคราะห์นายอันนภาระ ท่านทราบว่า นายอันนภาระจะออกจากป่ากลับมายังบ้านตน ท่านจึงเหาะจากภูเขาคันธมาทน์มายืนอยู่ที่หน้านายอันนภาระที่ประตูบ้านนั่นเอง

    นายอันนภาระเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงถือบาตรเปล่าจึงนิมนต์ว่าโปรดรออยู่ที่นี้ก่อนเถิดขอรับ แล้วรีบไปถามภรรยาว่า อาหารที่ท่านเตรียมไว้สำหรับเรามีหรือไม่ นางตอบว่า มี เขาจึงไปรับบาตรจากพระปัจเจกพุทธเจ้ามา แล้วกล่าวว่า ด้วยเหตุที่เราไม่ได้ทำกรรมที่ดีไว้ในชาติก่อน เราก็ต้องเป็นลูกจ้างเขาอยู่เช่นนี้ ครั้นเมื่อเราปรารถนาจะทำบุญ แต่ก็ขาดของที่จะทำบุญ ครั้นเมื่อมีของที่จะทำบุญก็หาพระผู้สมควรรับไทยธรรมนั้นไม่ได้ มาวันนี้เราพบพระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าเข้าพอดี และของที่จะทำบุญก็มีอยู่ ท่านจงใส่อาหารที่เป็นส่วนของฉันลงในบาตรนี้ หญิงผู้เป็นภรรยาก็คิดว่า เมื่อใดสามีของเราให้อาหารซึ่งเป็นส่วนของเขา เมื่อนั้นเราก็ควรมีส่วนในทานนี้เช่นกัน คิดดังนั้นแล้วจึงวางอาหารที่เป็นส่วนของตนลงในบาตรถวายแก่อุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าด้วย นายอันนภาระนำบาตรอันบรรจุภัตตาหารมาถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า ขอให้พวกข้าพเจ้าพ้นจากความอยู่อย่างลำบากเช่นนี้เถิด ขอข้าพเจ้าจงอย่าได้สดับคำว่า ‘ ไม่มี ’

    พระปัจเจกพุทธเจ้า อนุโมทนาว่า จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด เขาจึงปูลาดผ้าห่มของตนลงแล้วนิมนต์พระปัจจเจกพุทธเจ้าเพื่อทรงฉันภัตตาหาร พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงนั่ง ณ อาสนะนั้นแล้ว ทรงพิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญา แล้วจึงทรงฉัน เมื่อฉันเสร็จแล้ว นายอันนภาระจึงถวายน้ำสำหรับล้างบาตร ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงกระทำอนุโมทนาว่าสิ่งที่ท่านต้องการแล้ว ปรารถนาแล้วจงสำเร็จทันที

    เทวดาที่สิงอยู่ที่ฉัตรของสุมนเศรษฐีเห็นดังนั้นจึงกล่าวสาธุการขึ้น ๓ ครั้ง สุมนเศรษฐีได้ยินเทพยดาประจำฉัตรกล่าวอนุโมทนา จึงคิดว่า เราให้ทานตลอดเวลามากตั้งเท่าไหร่ ก็ยังไม่อาจทำให้เทวดาให้สาธุการ นายอันนภาระที่อาศัยเราอยู่นี้ ถวายบิณฑบาตเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็ทำให้เทวดาให้สาธุการได้ เนื่องเพราะเขาได้ทำบุญกับบุคคลผู้ที่สมควรเป็นปฏิคาหก เราพึงให้ทรัพย์แก่นายอันนภาระนั้น แล้วทำให้บุญนั้นเป็นของของเราจึงจะดี

    คิดดังนั้นแล้วจึงเรียกนายอันนภาระมาแล้วถามว่าวันนี้เจ้าให้ทานอะไร ๆ แก่ใครหรือ นายอันนภาระตอบว่า ข้าพเจ้าถวายภัตตาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฎฐะเศรษฐีกล่าวว่า เจ้าจงรับกหาปณะไปแล้วให้บุญนั้นแก่เราเถอะ นายอันนภาระตอบว่าให้ไม่ได้หรอกนายท่าน เศรษฐีเพิ่มทรัพย์ขึ้นจนถึงพันกหาปณะ นายอันนภาระก็ยังกล่าวว่า แม้ถึงพันกหาปณะก็ยังให้ไม่ได้ เศรษฐีกล่าวอ้อนวอนขอให้ส่วนบุญแก่ฉันเถอะ นายอันภาระกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าส่วนบุญนั้น ควรให้หรือไม่ควรให้ แต่ข้าพเจ้าจะถามพระปัจเจกพุทธเจ้าดู ถ้าควรให้ก็จะให้ ถ้าไม่ควรให้ก็จะไม่ให้

    แล้วนายอันนภาระจึงเดินไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า สุมนเศรษฐีให้ทรัพย์แก่ข้าพเจ้าพันหนึ่ง แล้วขอส่วนบุญในบิณฑบาตที่ถวายแก่ท่าน ข้าพเจ้าควรจะให้หรือไม่ให้ พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า เราจะเปรียบให้ท่านฟัง ในบ้านตำบลนี้มีร้อยเรือน เราจุดประทีปไว้ในเรือนหลังหนึ่งเท่านั้น เรือนอื่นเอาตะเกียงของตนมาต่อไฟถือไป แสงของประทีปดวงเดิมยังมีอยู่หรือไม่นายอันนภาระกล่าวว่า แสงประทีปก็จะสว่างขึ้นไปอีก พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่าฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อท่านให้ส่วนบุญแก่คนอื่น พันคนหรือแสนคนก็ตาม ให้แก่คนเท่าใด บุญก็เพิ่มขึ้นแก่ตนเท่านั้น ดังนี้

    นายอันนภาระกราบพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกลับไปยังสำนักของสุมนเศรษฐีกล่าวว่า ขอท่านจงรับส่วนบุญในบิณฑบาตทานเถิด เศรษฐีกล่าวว่า เชิญท่านรับทรัพย์พันกหาปณะไปเถิด นายอันนภาระกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ขายบิณฑบาตทาน แต่ข้าพเจ้าให้ส่วนบุญแก่ท่านด้วยศรัทธา เศรษฐีกล่าวว่า ท่านให้ส่วนบุญแก่เราด้วยศรัทธา แต่เราบูชาคุณของท่าน ฉันให้พันกหาปณะนี้ จงรับไปเถิด นายอันนภาระจึงถือเอาทรัพย์พันกหาปณะไป เศรษฐีกล่าวว่า ตั้งแต่นี้ไปท่านไม่ต้องงานให้เหน็ดเหนื่อย ท่านจงปลูกเรือนอยู่ใกล้ถนนเถิด ถ้าท่านต้องการสิ่งใดฉันจะมอบสิ่งนั้นให้ ท่านจงมานำเอาไปเถอะ

    ปกติแล้วบิณฑบาตที่บุคคลใดถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ บุคคลนั้นย่อมได้รับผลบุญในวันนั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นสุมนเศรษฐีในครั้งก่อนที่ไปเฝ้าพระราชา ก็ไม่เคยชวนนายอันนภาระไปด้วย แต่ในวันนั้นได้ชวนนายอันนภาระไปด้วย ในวันนั้นพระราชาไม่มองดูเศรษฐีเลย ทรงมองแต่นายอันนภาระเท่านั้น เศรษฐีจึงทูลถามว่า เหตุไฉนพระองค์จึงทรงมองดูแต่บุรุษผู้นี้ พระราชาตรัสว่า เรามองดูเขาเพราะไม่เคยเห็นเขาเข้าเฝ้าในวันอื่น ๆ เขาชื่ออะไร เศรษฐีทูลว่า ชื่อนายอันนภาระ แล้วเศรษฐีก็ได้เล่าเรื่องที่เขาไม่บริโภคอาหารของตน แต่ถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฎฐะ แล้วเขาได้แบ่งส่วนบุญให้ เขาได้ทรัพย์พันกหาปณะจากตนเพื่อบูชาบุญนั้น พระราชาตรัสว่า เขาก็ควรจะได้จากเราบ้าง เราเองก็ควรทำการบูชาบุญนั้น แล้วจึงพระราชทานทรัพย์พันกหาปณะให้นายอันนภาระ แล้วตรัสสั่งให้พนักงานสำรวจดูบริเวณที่จะปลูกเรือนที่นายอันนภาระจะอยู่

    เมื่อพนักงานกำลังจัดแจงแผ้วถางที่สำหรับเรือนนั้นก็ได้พบขุมทรัพย์ชื่อปิงคละ ในที่นั้นตั้งเรียงกัน จึงมากราบทูลพระราชา ๆ สั่งให้ไปขุดขึ้นมา เมื่อพนักงานเหล่านั้นกำลังขุดอยู่ ขุมทรัพย์ก็กลับจมลงไป พนักงานเหล่านั้นไปกราบทูลพระราชาอีก พระราชาตรัสว่า ทรัพย์นั้นเป็นของนายอันนภาระ จงไปขุดเพื่อนายอันนภาระ พนักงานก็ไปขุดตามคำสั่ง ขุมทรัพย์ก็ผุดขึ้น พนักงานเหล่านั้นขนทรัพย์มากองไว้ในพระราชวัง พระราชาประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสถามว่า ในเมืองนี้ใครมีทรัพย์มีถึงเท่านี้บ้าง อำมาตย์ทูลว่า ไม่มีใครมี พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น นายอันนภาระนี้จงชื่อว่า ธนเศรษฐีในพระนครนี้ เขาได้ฉัตรประจำตำแหน่งเศรษฐีในวันนั้นนั่นเอง.

    กำเนิดเป็นเจ้าอนุรุทธศากยะในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ตั้งแต่วันนั้น เขากระทำแต่กรรมอันดีงามจนตลอดชีวิตจุติจากภพนั้นไปเกิดในเทวโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์เป็นเวลานาน ครั้งที่พระศาสดาของพวกเราทรงอุบัติ เขาก็มาถือปฏิสนธิเป็น เจ้าอนุรุทธ พระโอรสแห่งเจ้าอมิโตทนะศากยะ ผู้เป็นพระอนุชาแห่งพระพุทธบิดา คือพระเจ้าสุทโธทนศากยะ?แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ เจ้าอนุรุทธเป็นน้องชายของเจ้ามหานามะศากยะ ท่านทรงเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เป็นผู้มีบุญมาก ทรงมีโภคะสมบูรณ์ ไม่เคยทรงสดับคำว่า“ ไม่มี ” มีเรื่องเล่าว่า

    ทรงโปรดขนมชื่อว่า?“ไม่มี”

    วันหนึ่งเมื่อท่านพร้อมกับพระญาติ ๕ พระองค์ทรงเล่นกีฬาลูกขลุบอยู่ เจ้าอนุรุทธทรงแพ้พนันขนมแล้ว จึงให้มหาดเล็กไปกราบทูลพระมารดาเพื่อให้ส่งขนมมาเป็นค่าที่แพ้พนัน พระมารดาของท่านก็ทรงจัดขนมส่งไป ศากยราชทั้งหกเสวยแล้วทรงเล่นกันอีก เจ้าอนุรุทธก็เป็นฝ่ายแพ้ร่ำไป ส่วนพระมารดาต้องส่งขนมไปถึง ๓ ครั้ง ในวาระที่ ๔ จึงทรงให้ไปแจ้งว่า “ ขนมไม่มี” พระกุมารทรงคิดว่า “ ขนมชื่อนี้ คงเป็นขนมประหลาดชนิดหนึ่ง ” เพราะไม่เคยทรงได้ยินคำว่า “ ไม่มี ” จึงส่งคนไปทูลพระมารดาว่า “ ให้นำขนมไม่มี นั่นแหละมาเถิด”

    ฝ่ายพระมารดาของท่าน เมื่อมหาดเล็กทูลว่า “ เจ้าอนุรุทธขอให้ทรงประทานขนมชื่อ ‘ไม่มี’ ไปถวาย ” จึงทรงพระดำริว่า “ ลูกของเราไม่เคยได้ยินคำว่า ‘ ไม่มี ’ เราจะสอนลูกเราให้รู้คำนั้นด้วยอุบายนี้ ” จึงทรงปิดถาดทองคำเปล่าด้วยถาดทองคำอีกใบหนึ่งแล้วส่งไป.

    ด้วยผลแห่งอธิษฐานในคราวที่เจ้าอนุรุทธศากยะเกิดเป็นนายอันนภาระ ได้ถวายภัตตาหารแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะ และทำความปรารถนาไว้ว่า ‘ ขอข้าพเจ้าจงอย่าได้สดับคำว่า ‘ ไม่มี ’ จึงทำให้ถาดนั้นให้เต็มด้วยขนมทิพย์ เมื่อถาดนั้นพอเขาวางลงที่สนามเล่นขลุบแล้วเปิดขึ้น กลิ่นขนมก็ตั้งตลบไปทั่วทั้งพระนคร พอกษัตริย์ทั้งหกหยิบชิ้นขนมเข้าไปในพระโอฐเท่านั้น โอชะก็แผ่ซ่านไปทั่วประสาทรับรสทั้งเจ็ดพัน.

    พระกุมารนั้นทรงพระดำริว่า “พระมารดาคงจะไม่รักเรา,พระมารดาจึงไม่ทรงปรุงขนมชื่อไม่มีนี้ประทานเรามาก่อน,ตั้งแต่นี้ไป เราจะไม่กินขนมอื่น,” แล้วเสด็จไปสู่ตำหนัก ทูลถามพระมารดาว่า “ เจ้าแม่ หม่อมฉันเป็นที่รักของเจ้าแม่หรือไม่เป็นที่รัก ? ”

    เจ้าย่อมเป็นที่รักยิ่งของแม่ เสมือนนัยน์ตาของคนมีตาข้างเดียว และเหมือนดวงใจของแม่ ฉะนั้น.

    เมื่อเช่นนั้น เหตุไร เจ้าแม่จึงไม่เคยทรงปรุงขนมไม่มี ประทานแก่หม่อมฉันเล่า เจ้าแม่.

    พระนางรับสั่งถามมหาดเล็กคนสนิทว่า “ ขนมอะไร ๆ มีอยู่ในถาดหรือ ” มหาดเล็กทูลว่า “ มีขนมเกิดขึ้นเองอยู่เต็มถาด,ขนมเช่นนี้ กระหม่อมฉันก็ยังไม่เคยเห็น” พระนางทรงพระดำริว่า “ บุตรของเราคงเป็นผู้มีบุญ บุญนั้นคงทำให้มีขนมเต็มถาด” พระโอรสจึงทูลพระมารดาว่า “ เจ้าแม่ ตั้งแต่นี้ไป หม่อมฉันจะไม่เสวยขนมอื่น ขอเจ้าแม่พึงปรุงแต่งขนมไม่มีอย่างเดียว” ตั้งแต่นั้นมา เมื่อพระกุมารทูลขอขนม พระนางก็ทรงครอบถาดเปล่านั่นด้วยถาดอื่น ส่งไปประทานพระกุมารนั้น ขนมทิพย์ก็เกิดขึ้นถวายพระกุมารนั้นตลอดเวลาที่ท่านเป็นฆราวาส
    เกิดร่วมสมัยกับพระโพธิสัตว์

    ก่อนที่ท่านจะเกิดมาในสมัยพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ท่านได้เกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์อยู่หลายชาติ ดังที่ปรากฎในชาดกต่าง ๆ เช่น

    เกิดเป็นปัญจสิขเทพบุตร พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นท้าววาสวะ ใน?สุธาโภชนชาดก

    เกิดเป็นท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นวิธูรบัณฑิต ใน?จตุโปสถชาดก

    เกิดเป็น ๗ พี่น้อง ร่วมกับพระพุทธองค์ ใน?ภิสชาดก

    เกิดเป็น ปัพพตดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบสโพธิสัตว์ ใน?สรภังคชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระราชา ใน?มณิโจรชาดก

    เกิดเป็น ปัญจาลจันทกุมาร พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น มโหสถบัณฑิต ใน?มโหสถบัณฑิตชาดก

    เกิดเป็น นายสารถี พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ ใน?กุรุธรรมชาดก

    เกิดเป็น ปัพพตดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบส ใน?อินทริยชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น อกิตติบัณฑิต ใน?อกิตติชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระเจ้าสีวิราช ใน?สีวิราชชาดก

    เกิดเป็น ท้าวสักกเทวราช พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระจันทกุมาร ใน?จันทกุมารชาดก

    พระบรมศาสดาทรงอุบัติ

    ส่วนพระโพธิสัตว์ของเราจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต มาถือปฏิสนธิในครรภ์ของอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงเจริญวัยโดยลำดับ ทรงครองเรือนอยู่ ๒๙ ปี แล้วทรงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์?ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ทรงยับยั้งที่โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ ประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ทรงกระทำการอนุเคราะห์โลก ครั้นเมื่อพระเจ้าสุทโธทนทรงสดับข่าวว่าพระบรมศาสดามายังกรุงราชคฤห์ จึงทรงรับสั่งให้อำมาตย์กาฬุทายี ไปนิมนต์พระบรมศาสดา อำมาตย์กาฬุทายีก็ได้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาแล้วพระกาฬุทายีเถระทูลวิงวอนให้เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดายัง ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ในครั้งนั้นทรงทำพระธรรมเทศนาอันวิจิตรแก่พระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ เมื่อทรงอนุเคราะห์พระญาติแล้ว ทรงให้ราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ไม่นานนัก ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปจาริกในมัลลรัฐแล้วเสด็จกลับมายังอนุปิยอัมพวัน

    ขัติยศากยกุมารออกบวชตามเสด็จ

    สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงประชุมศากยะสกุลทั้งหลายตรัสให้แต่ละตระกูลในศากยราชวงศ์ส่งขัตติยกุมารออกบวชตามเสด็จ ในครั้งนั้นเล่ากันว่า ขัตติยกุมารถึงพันองค์จึงออกผนวชโดยพระดำรัสครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อขัตติยกุมารโดยมากเหล่านั้นผนวชแล้ว เหล่าพระญาติเห็นศากยะ ๖ พระองค์นี้ คือ ภัททิยราชา อนุรุทธ อานันทะ ภคุ กิมพิละ เทวทัต ยังมิได้ผนวชจึงสนทนากันว่า “ พวกเรายังให้ลูก ๆ ของตนบวชได้ ศากยะทั้ง ๖ นี้ มิใช่พระญาติหรือจึงมิได้ทรงผนวช”

    เมื่อเป็นดังนั้นเจ้ามหานามศากยะจึงเข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศากยะผู้เป็นน้อง และกล่าวว่า บัดนี้ ศากยะกุมารที่มีชื่อเสียงเป็นอันมากได้ออกผนวชตามเสด็จ แต่ผู้ออกบวชจากตระกูลของเรายังไม่มี น้องจักบวช หรือว่า พี่จักบวช” พระอนุรุทธราชกุมารจึงทูลถามว่าการบวชนี้เป็นอย่างไร ? ” เจ้ามหานามจึงตรัสว่า “ ผู้บวช ก็ต้องโกนผมและหนวด ต้องนุ่งห่มผ้ากาสายะ ต้องนอนบนเครื่องลาดด้วยไม้ หรือบนเตียงที่ถักด้วยหวาย เที่ยวบิณฑบาตอยู่ นี้ชื่อว่าการบวช.” เจ้าอนุรุทธศากยะจึงทูลว่า“ เจ้าพี่ หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติ หม่อมฉันจักไม่สามารถบวชได้” เจ้าอนุรุทธกุมารนั้น ทรงเป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาล มีโภคะสมบูรณ์ แม้คำว่า“ ไม่มี ” ก็ไม่เคยได้ยิน จึงไม่ยินดีในการบวช

    เจ้ามหานามจึงตรัสว่า “?อย่างนั้น ท่านจงเรียนรู้การงานสำหรับอยู่เป็นฆราวาสเถิด ในระหว่างเราทั้งสองจะไม่บวชเลยสักคนก็เป็นเรื่องไม่ควร”

    อนุรุทธกุมารผู้ซึ่งไม่รู้แม้กระทั่งว่าอาหารที่ตนบริโภคนั้นเกิดขึ้นที่ไหน ได้มาอย่างไร จะรู้จักการงานได้อย่างไร ?

    เจ้าศากยะทั้ง ๓ สนทนากันถึงที่เกิดแห่งข้าว

    ก็วันหนึ่ง ยุวกษัตริย์ ๓ องค์ คือ เจ้ากิมพิละ เจ้าอนุรุทธ และเจ้าภัททิยะ ทรงสนทนากันด้วยเรื่องว่า “ ข้าวที่เราบริโภคเกิดขึ้นที่ไหน ? ” กิมพิลกุมาร รับสั่งว่า “ เกิดขึ้นในฉาง” ครั้งนั้นภัททิยกุมาร ตรัสค้านกิมพิลกุมารนั้นว่า “ ท่านยังไม่ทราบที่เกิดแห่งข้าว ชื่อว่าข้าว ย่อมเกิดขึ้นที่หม้อข้าว” เจ้าอนุรุทธตรัสแย้งว่า “ ถึงท่านทั้งสองก็ยังไม่ทรงทราบ ธรรมดาข้าว ย่อมเกิดขึ้นในถาดทองคำประมาณศอกกำ”

    ได้ยินว่า บรรดากษัตริย์ ๓ องค์นั้น วันหนึ่ง กิมพิลกุมาร ทรงเห็นเขาขนข้าวเปลือกลงจากฉาง ก็เข้าพระทัยว่าข้าวเปลือกเหล่านี้เกิดขึ้นในฉางนั่นเอง

    ฝ่ายพระภัททิยกุมาร ทรงเห็นเขาคดข้าวออกจากหม้อข้าวก็เข้าพระทัยว่า ข้าวเกิดขึ้นในหม้อข้าวนั่นเอง

    ส่วนอนุรุทธกุมาร ยังไม่เคยทรงเห็นคนซ้อมข้าว คนหุงข้าว หรือคนคดข้าว ทรงเห็นแต่ข้าวที่เขาคดแล้วตั้งไว้ เฉพาะพระพักตร์เท่านั้น.ท่านจึงทรงเข้าพระทัยว่า “ ภัตเกิดในถาด ในเวลาที่ต้องการบริโภค”

    ยุวกษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์นั้น ย่อมไม่ทรงทราบแม้ที่เกิดแห่งข้าวตามเรื่องที่เล่ามาข้างต้น เพราะฉะนั้น?อนุรุทธกุมารนี้จึงทูลถามว่า “การทำงานนี้เป็นอย่างไร ? เจ้ามหานามศากยะ จึงสอนเรื่องการครองเรือนแก่อนุรุทธกุมารผู้น้องว่า ผู้อยู่ครองเรือน ชั้นต้นต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้หว่าน ให้ไขน้ำเข้า ครั้นไขน้ำเข้ามากเกินไป ต้องให้ระบายน้ำออก ครั้นให้ระบายน้ำออกแล้ว ต้องให้ถอนหญ้า ครั้นแล้วต้องให้เกี่ยว ให้ขน ให้ตั้งลอม ให้นวด ให้สงฟางออก ให้ฝัดข้าวลีบออก ให้โปรยละออง ให้ขนขึ้นฉาง ครั้นถึงฤดูฝนก็ต้องทำอย่างนี้อีก เป็นอย่างนี้ทุกปี

    ครั้นอนุรุทธกุมารได้ทรงฟังกิจการที่ฆราวาสจะพึงทำเป็นประจำทุกปีเช่นนั้น ทรงมองไม่เห็นว่า การงานสำหรับเพศฆราวาสทั้งหลายจะมีที่สิ้นสุดเมื่อไร จึงทูลให้เจ้ามหานามทรงครองฆราวาส ส่วนตนเองจะเป็นผู้ออกบวช

    เจ้าอนุรุทธศากยะขออนุญาตจากพระราชมารดา

    เจ้าอนุรุทธศากยะจึงเข้าไปหาพระราชมารดา แล้วกล่าวขออนุญาตที่จะออกบวช พระราชมารดาไม่ทรงยินยอม ท่านได้กล่าวอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง พระราชมารดาของอนุรุทธศากยะทรงคิดว่า พระเจ้าภัททิยศากยะ ผู้ทรงเป็นพระสหายสนิทของอนุรุทธศากยะนี้ ทรงครองราชสมบัติเป็นราชาของพวกศากยะ พระองค์คงจะไม่อาจสละราชสมบัติออกทรงผนวชเป็นแน่ จึงได้กล่าวกะอนุรุทธศากยะว่า ถ้าพระเจ้าภัททิยศากยะทรงผนวช เจ้าก็ออกบวชได้

    ลำดับนั้น อนุรุทธศากยะจึงเสด็จไปเข้าไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยศากยะ แล้วได้ทูลว่า การบวชของเรานั้นขึ้นอยู่กับตัวท่าน

    พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า ไม่ว่าการบวชของท่านจะขึ้นอยู่กับตัวเราหรือไม่ก็ตาม ท่านจงบวชตามสบายเถิด

    อนุรุทธศากยะได้ยินดังนั้นจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเราทั้งสองจะออกบวชด้วยกัน

    พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า เราไม่สามารถออกบวชได้ ถ้ามีสิ่งอื่นใดที่เราสามารถจะทำให้ท่านได้ เราจะทำสิ่งนั้นให้แก่ท่าน ท่านจงบวชเองเถิด

    อนุรุทธศากยะตรัสว่า ก็พระมารดาได้ตั้งเงื่อนไขกับเราว่า ถ้าท่านบวชด้วย พระมารดาก็จะยอมให้เราบวช ก็ท่านพูดเมื่อครู่นี้ว่า เราจงบวชตามความสบาย ดังนั้นเมื่อท่านยอมให้เราบวช ท่านก็ต้องบวชด้วย

    ในสมัยนั้น คนทั้งหลายเป็นผู้มีความสัตย์ ดังนั้นพระเจ้าภัททิยศากยะได้ต่อรองว่า จงรออยู่สัก ๗ ปีเถิด เมื่อครบ ๗ ปีแล้ว เราทั้งสองจึงจะออกบวชด้วยกัน ฝ่ายเจ้าอนุรุทธก็ไม่ยินยอม การต่อรองได้ดำเนินไปโดยลดระยะเวลาลงเรื่อย ๆ จนถึง ๗ วัน เจ้าอนุรุทธจึงยินยอม

    อุบาลีออกบวชพร้อมด้วยศากยะทั้งหก

    แต่นั้น กษัตริย์ทั้งหกองค์นี้ คือ ภัททิยศากยราช อนุรุทธ อานนท์ กคุ กิมพิละ และเทวทัต พร้อมกับนายภูษามาลา ชื่อ อุบาลี ได้เสด็จออกจากเมืองโดยทำเสมือนหนึ่งว่าจะเสด็จไปประพาสอุทยาน เมื่อออกนอกแดนที่เหล่าศากยะทั้ง ๖ ปกครองแล้ว ก็ทรงส่งทหารมหาดเล็กให้กลับพระนคร แล้วเสด็จต่อไปเข้าสู่แดนของศากยะราชพระองค์อื่น กษัตริย์ ๖ พระองค์ก็ทรงเปลื้องอาภรณ์ของตนออกทำเป็นห่อ แล้วรับสั่งให้นายอุบาลีกลับไปพร้อมกับนำเครื่องประดับเหล่านั้นไปเพื่อเลี้ยงชีพ ฝ่ายอุบาลีภูษามาลาไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับ โดยคิดว่า “พวกเจ้าศากยะราชโหดร้ายนัก ถ้าเรากลับไปพร้อมเครื่องประดับเช่นนี้ เจ้าศากยราชเหล่านั้นก็จะฆ่าเราเสีย ด้วยเข้าพระทัยว่า พระกุมารทั้งหลายถูกเจ้าคนนี้ปลงพระชนม์เสียแล้ว แล้วก็คิดต่อไปว่า ศากยกุมารเหล่านี้ทรงสละสมบัติ ทิ้งอาภรณ์อันหาค่ามิได้เหล่านี้ราวกับถ่มน้ำลายทิ้ง เพื่อออกผนวช ก็ทำไมเราจึงจะทำเช่นนั้นบ้างไม่ได้เล่า ? ” ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงแก้ห่อเครื่องประดับนั้น เอาอาภรณ์เหล่านั้นแขวนไว้บนต้นไม้แล้ว กล่าวว่า “ ใครต้องการก็จงเอาไปเถิด ” แล้วหันกลับเดินไปสู่สำนักของศากยกุมารเหล่านั้น ศากยกุมารเหล่านั้นเห็น อุบาลีภูษามาลากลับมาจึงตรัสถามถึงเหตุที่กลับมา นายภูษามาลาก็กราบทูลให้ทรงทราบ.

    ศากยะทั้งหกบรรลุคุณพิเศษ

    ลำดับนั้น ศากยกุมารเหล่านั้น ทรงพาอุบาลีภูษามาลา ไปสู่สำนักพระศาสดาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีมานะ ความถือตัวอยู่ อุบาลีผู้นี้เป็น นายภูษามาลา เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะ ของพวกหม่อมฉันผู้เป็นศากยะจักเสื่อมคลายลง” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ

    ท่านพระภัททิยะได้เป็นพระอรหัตถ์เตวิชโช โดยระหว่างพรรษานั้นนั่นเอง ท่านพระอนุรุทธเป็นผู้มีจักษุเป็นทิพย์ แต่ยังไม่บรลุพระอรหัตผล.ท่านพระอานนท์ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระภคุเถระและพระกิมพิลเถระ ภายหลังเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต พระเทวทัตได้บรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน.

    พระเถระบวชแล้ว เป็นผู้ได้สมาบัติในภายในพรรษาก่อนเพื่อน ได้ทิพยจักษุฌาน ต่อมาท่านได้เกิดความไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม จึงไปยังสำนักของพระสารีบุตรเถระ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร (๑) ผมตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ (๒) ก็ผมปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา (๓) เหตุใดเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า?การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า (๑) เราตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ดังนี้ เป็นเพราะมานะของท่านยังมีอยู่ (๒) การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อนตั้งสติมั่นไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตาดังนี้ เป็นเพราะอุทธัจจะของท่านยังมีอยู่? (๓) ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่าจิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็เป็นเพราะกุกกุจจะของท่านยังมีอยู่

    ท่านจงละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจธรรม ๓?อย่างนี้ แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุครั้งนั้นแล

    พระเถระบอกกรรมฐานแก่ท่านด้วยประการเช่นนี้ ท่านรับกรรมฐานแล้ว ไปทูลลาพระศาสดาแล้วเดินทางไปบำเพ็ญสมณธรรม ณ ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจติยะ ยับยั้งอยู่ด้วยการจงกรมเป็นเวลาครึ่งเดือน ท่านลำบากกาย เพราะกรากกรำด้วยกำลังความเพียร นั่งอยู่ภายใต้พุ่มไม่พุ่มหนึ่ง แล้วก็ตรึกแล้วถึงมหาปริวิตก ๗ ประการ คือ

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ

    ในครั้งนั้น ท่านได้มีความปริวิตกว่า มหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ เป็นเช่นไรหนอ พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธแล้ว เสด็จจาก เภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แล้วทรงตรัสให้พระอนุรุทธเถระตรึกใน มหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ที่ว่า

    ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า

    แล้วตรัสมหาอริยวงสปฏิปทา ประดับไปด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย ๔ และมีภาวนาเป็นที่มายินดี และทรงตรัสให้พระอนุรุทธเถระอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นี้ต่อไปอีก แล้วเสด็จเหาะไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวันแขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ท่านพระอนุรุทธอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นครนั้นต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียรมีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

    ต่อมาภายหลัง?พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า อนุรุทธเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้มีทิพยจักขุ

    พระอนุรุทธเถระกับการบัญญัติสิกขาบทบางข้อ

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธเดินทางไปพระนครสาวัตถี ในโกศลชนบท ได้ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ณ เวลาเย็น ในสมัยนั้น ในหมู่บ้านนั้นมีสตรีผู้หนึ่งชื่อ นางคันธคันธินี จัดเรือนพักสำหรับอาคันตุกะไว้ เป็นสถานที่อันนางจัดสร้างไว้เพราะความเป็นผู้ประสงค์บุญ ท่านพระอนุรุทธฟังคำของพวกชาวบ้านว่า มีเรือนพักกันเขาจัดไว้ ณ ที่นั้น จึงเข้าไปหานางคันธคันธินี แล้วได้ขอพักแรมในเรือนพักสักคืนหนึ่ง.นางคันธคันธินีก็นิมนต์ท่านพักแรม

    ต่อมามีพวกคนเดินทางกลุ่มอื่นเข้าไปหานางคันธคันธินี แล้วได้ขอพักแรมในเรือนพักสักคืนหนึ่งเช่นกัน นางจึงกล่าวว่า มีพระสมณะเข้าไปพักแรมอยู่ก่อนแล้ว ถ้าพระสมณะนั้นอนุญาตก็พักแรมได้.คนเดินทางพวกนั้น จึงพากันเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธแล้ว ได้ขอพักแรมคืนในเรือนพักสักคืนหนึ่ง พระเถระก็อนุญาต

    อันที่จริง นางคันธคันธินีนั้นเมื่อได้เห็นพระเถระก็ได้มีจิตปฏิพัทธ์ ดังนั้น.นางจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวว่า พระคุณเจ้าอาศัยปะปนกับคนพวกนี้จะพักผ่อนไม่สบาย ดิฉันจะจัดเตียงถวายพระคุณเจ้าให้พักข้างใน ท่านพระอนุรุทธรับด้วยดุษณีภาพ.

    ครั้นแล้ว นางได้จัดเตียงที่มีอยู่ข้างในถวายท่านพระอนุรุทธ แล้วประดับตกแต่งร่างกายให้หอม เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวเกี้ยวพาราสีพระเถระ ท่านพระอนุรุทธมิได้โต้ตอบ ท่านได้นิ่งเสีย.

    นางได้พยายามเกี้ยวพาราสีท่านพระเถระถึง ๓ ครั้ง ในครั้งที่ ๓นางได้ขอให้พระเถระรับเอานางเป็นภรรยาและปกครองทรัพย์สมบัติทั้งหมด.

    แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอนุรุทธก็ได้นิ่งเสีย.

    นางเห็นดังนั้น นางจึงได้เปลื้องผ้าออกแล้ว เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง เบื้องหน้าท่านพระอนุรุทธ ฝ่ายท่านพระอนุรุทธ สำรวมอินทรีย์ ไม่แลดู ไม่ปราศรัยกับนาง

    นางเห็นพระเถระสำรวมกาย วาจา ใจ ได้เช่นนั้นจึงอุทานว่า น่าอัศจรรย์นัก คนเป็นอันมากยอมให้ทรัพย์เรา ๑๐๐ กษาปณ์บ้าง ๑๐๐๐ กษาปณ์บ้าง ส่วนพระสมณะรูปนี้ เราวิงวอนด้วยตนเองยังไม่ปรารถนาจะรับปกครองเราและสมบัติทั้งหมด แล้วจึงนุ่งผ้า ซบศีรษะลงที่เท้าของท่านพระอนุรุทธ แล้วได้กล่าวคำขอขมาต่อท่าน

    ท่านพระอนุรุทธก็ยกโทษให้ ครั้นรุ่งเช้า นางได้ถวายภัตตาหารแด่พระเถระ ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้วจึงแสดงธรรมให้นางฟัง นางจึงเกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

    ต่อจากนั้น ท่านพระอนุรุทธเดินทางไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ฟัง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอนุรุทธจึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า

    ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

    พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอนุรุทธว่า ดูกรอนุรุทธ ข่าวว่า เธอสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม จริงหรือ?

    ท่านพระอนุรุทธทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรอนุรุทธ ไฉนเธอจึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

    แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นว่า อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์.
    ?

    พระอนุรุทธเถระกับนางชาลินีเทพธิดา

    สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธพำนักอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ครั้งนั้น นางเทพธิดาในสวรรค์ดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งชื่อชาลินี ในอดีตเคยเป็นภรรยาเก่าของท่านพระอนุรุทธ นางยังคงมีความเสน่หาอาลัยในพระมหาเถระอยู่ นางเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ตามเวลา ปัดกวาดบริเวณ เข้าไปตั้งน้ำล้างหน้า ไม่สีฟัน น้ำฉันน้ำใช้ให้ พระเถระใช้สอยโดยไม่นึก ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านให้นึกถึงความสุขอันน่าใคร่ทั้งหลายทั้งปวงบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ท่านเคยอยู่ในกาลก่อน พรั่งพร้อมด้วยหมู่เทวดาแวดล้อมเป็นบริวาร เพื่อให้ท่านได้ตั้งจิตไปเกิดในภูมิเทวดาอีก ลำดับนั้น พระเถระได้ให้คำตอบแก่เทพธิดาว่า นางเทพธิดาผู้เขลา ท่านไม่รู้แจ้งถึงคำของพระอรหันต์ว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ ย่อมเป็นสุข บัดนี้ การเกิดในภพใหม่ ไม่ว่าในภูมิใด ๆ ของท่านไม่มีต่อไปอีกแล้ว นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้น หมดความหวัง แล้วกลับไปยังวิมาน
    พระพุทธเจ้าและพระสาวกช่วยพระอนุรุทธเถระทำจีวร

    นางชาลินีเทพธิดาถวายผ้าบังสุกุล

    ในวันหนึ่ง?พระเถระมีจีวรเก่าแล้ว จึงได้เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้วในที่ทั้งหลายเช่นตามกองขยะเป็นต้น นางชาลินีเทพธิดานั้น เห็นพระเถระเที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลอยู่ จึงถือผ้าทิพย์ ๓ ผืน ยาว ๑๓ ศอก กว้าง ๔ ศอก แล้วคิดว่าถ้าเราจักถวายท่านตรง ๆท่านคงไม่รับ จึงซุกผ้าไว้บนกองขยะแห่งหนึ่งให้โผล่มาเพียงชายผ้าเท่านั้น เมื่อพระเถระเห็นชายผ้าของท่อนผ้าเหล่านั้นแล้ว จึงดึงชายผ้านั้นออกมาเห็นเป็นผ้าบังสุกุลจึงถือเอา แล้วกลับไป

    หมายเหตุ บางตำรากล่าวว่า วิธีการที่นางเทพธิดาชาลินี นำผ้าไปวางซุกไว้ในกองขยะ ในลักษณะทอดผ้าบังสุกุลนั้น พุทธบริษัทได้ถือเป็นแบบอย่างในการทอดผ้าบังสุกุล และทอดผ้าป่าในปัจจุบันนี้

    พระศาสดาทรงช่วยทำจีวร

    ครั้นในวันทำจีวรของพระเถระนั้น พระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร เสด็จไปที่พระวิหารประทับนั่งแล้ว แม้พระอสีติมหาสาวกทั้ง ๘๐ รูปก็นั่งอยู่ด้วย พระมหากัสสปเถระนั่งแล้วตอนต้น เพื่อเย็บจีวร พระสารีบุตรเถระนั่งในท่ามกลาง พระอานนเถระนั่งในท้ายที่สุด.ภิกษุสงฆ์กรอด้าย พระศาสดาทรงร้อยด้ายนั้นในรูเข็ม พระมหาโมคคลัลานเถระ เป็นผู้จัดหาวัตถุที่พระสงฆ์ต้องการ แม้เหล่าเทพธิดาประจำบ้านก็เข้าไปสู่ภายในบ้านแล้ว ชักชวนให้เจ้าบ้านมาถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ในครั้งนั้นภัตตาหารอันมีข้าวยาคูของควรเคี้ยว ต่างทั้งหลายมีปริมาณเป็นอันมาก จนภิกษุทั้งหลายฉันไม่หมด เหลือกองอยู่เป็นอันมาก

    พระขีณาสพไม่พูดเกี่ยวกับปัจจัย

    ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า?“หมู่ภิกษุมีเพียงเท่านี้ เพราะเหตุใดจึงมีผู้นำภัตตาหารมาถวายมากมายจนเหลือมากมายปานนี้ พระอนุรุธเถระเห็นจะประสงค์ให้เขารู้ว่าญาติและอุปัฏฐากของตนมีมาก.”?ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า?“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดเรื่องอะไรกัน?”เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องที่ตนโจษจันอยู่ พระบรมศาสดาจึงตรัสถามว่า?“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าอนุรุทธเป็นผู้ขอให้นำของเหล่านี้มาหรือ?”?ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า?“อย่างนั้น พระเจ้าข้า”?พระศาสดาตรัสว่า?“ภิกษุทั้งหลาย อนุรุทธผู้บุตรของเรา ไม่กล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้น แม้ พระขีณาสพทั้งหลาย ก็ย่อมไม่กล่าวเรื่องเกี่ยวกับปัจจัย บิณฑบาตเหล่านี้ เกิดด้วยอานุภาพของเทวดา”

    พระอนุรุทธเถระบำเพ็ญเพียรโดยถือเอาการไม่นอนเป็นวัตร

    ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่าพระเถระนั้น ตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืน ได้เจริญอาโลกกสิณตรวจดูเหล่าสัตว์ด้วยทิพยจักษุอย่างเดียว เว้นแต่ช่วงเวลาฉันเท่านั้น?บางอาจารย์กล่าวว่า พระเถระเป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕๕ ปี เบื้องต้นไม่ได้หลับ ๒๕ ปี ต่อแต่นั้นจึงได้หลับในเวลาปัจฉิมยาม เพราะร่างกายอ่อนเปลี้ย

    บทบาทพระอนุรุทธเถระเมื่อครั้งพุทธปรินิพพาน

    ตามพระบาลีได้กล่าวถึงบทบาทของพระอนุรุทธเถระเมื่อคราวครั้งพุทธปรินิพพานไว้ว่า เมื่อพระบรมศาสดาได้ทรงมีปัจฉิมวาจาแก่เหล่าภิกษุทั้งมวลแล้ว ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าฌานสูงขึ้นไปเป็นลำดับ จนถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ ด้วยเหตุว่าผู้ที่เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินั้นลมหายใจก็จะหมดไป ทำให้ไม่ทราบว่าทรงปรินิพพานแล้วหรือยัง เมื่อเทพดาและมนุษย์เห็นความไม่เป็นไปของลมอัสสาสปัสสาสะจึงได้ร้องขึ้นพร้อมกันด้วยเข้าใจว่าพระศาสดาปรินิพพานเสียแล้ว ฝ่ายพระอานนทเถระ ถามพระอนุรุทธเถระว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วหรือ พระอนุรุทธตอบว่า พระตถาคตยังไม่ปรินิพพาน แต่พระองค์ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.การที่พระอนุรุทธเถระทราบดังนั้นก็เป็นด้วยพระเถระท่านเข้าสมาบัตินั้น ๆ พร้อมกับพระศาสดาที่เดียว และเมื่อท่านทราบว่าพระพุทธองค์ทรงเข้านิโรธสมาบัติ จึงทราบว่ายังทรงไม่ปรินิพพาน เพราะเหตุว่า การสิ้นชีวิตภายในนิโรธสมาบัติ ย่อมไม่มี.

    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ทรง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ และทรงถอยออกจากฌานลงเป็นลำดับจนถึงจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจาจตุตถฌาณหยั่งลงสู่ภวังคจิต แล้วปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง

    ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว ท่านพระอนุรุทธ จึงได้แจ้งแก่หมู่พระภิกษุและเหล่ากษัตริย์ทั้งปวงที่เฝ้าอยู่ ว่าพระบรมศาสดาได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว บรรดาภิกษุทั้งหลาย? นั้น ภิกษุเหล่าใดที่ยังไม่บรรลุพระอรหัตผลก็ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ส่วนภิกษุเหล่าใดที่บรรลุอรหัตผลแล้ว ก็ได้ธรรมสังเวช

    ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธจึงได้เตือนให้ภิกษุทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศก อย่าร่ำไรไปเลย พึงรำลึกถึงพระดำรัสของพระพุทธองค์ในเรื่องความไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลาย และยังบอกด้วยว่า?เหล่าเทวดาจะตำหนิเอาว่า ตัวของพระภิกษุทั้งหลายเองก็ยังไม่อาจอดกลั้นความเศร้าโศกได้ และจะปลอบโยนผู้อื่นได้อย่างไร

    ? จากนั้น ท่านพระอนุรุทธและท่านพระอานนท์ เห็นเป็นเวลาไกล้รุ่งแล้ว ท่านทั้งสองจึงแสดงธรรมีกถาตลอดราตรีที่ยังเหลืออยู่นั้น รุ่งเช้าท่านพระอนุรุทธสั่งท่านพระอานนท์ให้ไปแจ้งแก่เจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว

    นอกจากนั้นในระหว่างเตรียมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอยู่นั้น เมื่อเกิดเหตุผิดปกติเกิดขึ้น พวกเจ้ามัลละกษัตริย์ก็มักจะเรียนถามสาเหตุกับพระเถระ ด้วยว่าพระเถระผู้เดียวปรากฏว่าเป็นผู้มีทิพยจักษุเพราะฉะนั้น แม้จะมีพระเถระองค์อื่น ๆ ที่มีอายุกว่า แต่พวกเจ้ามัลละเหล่านั้น ก็เรียนถามเฉพาะพระเถระ ด้วยเห็นว่า ท่านพระอนุรุทธเถระนี้สามารถตอบได้ชัดเจน เช่นเมื่อมัลลปาโมกข์ ๘ องค์ จะยกพระสรีระพระผู้มีพระภาคขึ้นเพื่อแห่ไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนคร ถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาคทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แต่ก็ยกพระพุทธสรีระไม่ขึ้น จึงได้ถามพระเถระ พระเถระจึงแจ้งว่า

    เหล่าเทวดาประสงค์จะให้เชิญพระพุทธสรีระไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วแห่เข้าไปสู่พระนครโดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทวารทิศบูรพา แล้วถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาค ที่มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพาแห่งพระนคร

    อีกครั้งหนึ่งเมื่อครั้งจะจุดไฟถวายพระเพลิง มัลลปาโมกข์ ๔ องค์ผู้มีหน้าที่ถวายพระเพลิง ก็ลงมือจุดไฟเพื่อถวายพระเพลิง แต่พยายามอย่างไรไฟก็ไม่ติด เหล่ามัลลกษัตริย์จึงเรียนถามพระอนุรุทธเถระ พระเถระจึงตอบว่า เหล่าเทวดาประสงค์จะให้คอยพระมหากัสสปเถระที่กำลังเดินทางมา เพื่อให้พระมหากัสสปเถระกระทำความเคารพพระพุทธสรีระด้วยตนเองเสียก่อน ดังนี้เป็นต้น

    รับมอบหมายให้บริหารคัมภีร์อังคุตตรนิกายเมื่อครั้งปฐมสังคายนา

    หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงดับขันธปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระก็ดำริที่จะทำสังคายนาพระธรรม จึงได้อาราธนาพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป เพื่อทำปฐมสังคายนาที่ ปากถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์

    ในการสังคายนานั้น มีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย โดย พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบัญญัติพระวินัย และ พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม

    ในการสังคายนา เหล่าพระสงฆ์มีมติให้สังคายนาสุตตันตปิฎกก่อน โดยเริ่มจาก สังคายนาทีฆนิกาย สังคายนามัชฌิมนิกาย สังคายนาสังยุตตนิกาย สังคายนาอังคุตตรนิกาย ไปตามลำดับ

    ครั้นสังคายนาทีฆนิกายแล้ว พระธรรรมสังคาหกเถระกล่าวว่า นิกายนี้ชื่อทีฆนิกาย แล้วมอบท่านพระอานนท์ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์ทีฆนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระ ทั้งหลายได้สังคายนามัชฌิมนิกาย แล้วมอบแก่ศิษย์ของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระว่า ท่านทั้งหลายจงบริหารคัมภีร์มัชฌิมนิกายนี้

    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์มัชฌิมนิกายนั้น พระธรรรมสังคาหกเถระ ทั้งหลายได้สังคายนาสังยุตตนิกาย แล้วมอบแก่พระมหากัสสปเถระ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์สังยุตตนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาอังคุตตรนิกาย แล้วมอบแก่พระอนุรุทธเถระให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    พระอนุรุทธเถระปรินิพพาน
    ท่านพระอนุรุทธเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธ์ เข้าสู่นิพพาน ณ ภายใต้ร่มกอไผ่ ในหมู่บ้านเวฬุวะ แคว้นวัชชี

    ----------------------------------------------------


    ชีวประวัติของ พระอนุรุทธเถระ ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านทิพยจักษุ - หนังสือ 80 พระอรหันต์ (65)
    https://www.youtube.com/watch?v=Y8_9s_ssgXs
    -https://www.youtube.com/watch?v=Y8_9s_ssgXs-



    ประวัติพระอนุรุทธเถระ ตอน 1/2
    https://www.youtube.com/watch?v=4IsICWqIVLc
    -https://www.youtube.com/watch?v=4IsICWqIVLc-




    ประวัติพระอนุรุทธะเถระ 2/2
    https://www.youtube.com/watch?v=PA57WNY5dWg
    -https://www.youtube.com/watch?v=PA57WNY5dWg-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระอนุรุทธเถระเจ้า เป็นตัวอย่างที่ดีมาก ในการประพฤติปฎิบัติตนเอง การลดอัตตาความเป็นตัวตนของตน ได้อย่างสุดยอดมาก

    ท่านเป็นพระอนุชา(น้องชาย)ของเจ้าชายสิทธัตถะ และเป็นลูกกษัตริย์ในประเทศอินเดีย เมื่อประมาณ 2,500 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งมีความเข้มข้นของการถือเรื่องวรรณะ เป็นอย่างมากๆๆๆ

    ทั้งๆที่ท่านมีศักดิ์ศรี ในการเป็นน้องชายของเจ้าชายสิทธัตถะ และ อยู่ในวรรณะ กษัตริย์ "ลด" ความมี "อัตตา" ในตัวในตนได้จนหมดสิ้น
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระปฏิมายังราคิน

    -http://www.dhammajak.net/book/koda/koda11.php-

    [​IMG]


    การนินทาไม่ใช่ของใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อครู่นี้ เขาประพฤติกันมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว
    คนนั่งนิ่งเขาก็นินทาว่า ทำไมเจ้าคนนี้จึงนั่งนิ่งเหมือนคนใบ้ คนพูดมากเขาก็นินทาว่า
    ทำไมเจ้าหมอนี่จึงพูดตลอดเวลาไม่มีหยุด อย่างกับปากเป็นหุ่นชักยนต์
    แม้คนพูดพอประมาณเขาก็นินทาว่า ทำไมเจ้าคนนี้จึงสำคัญว่า
    คำพูดของตนเหมือนทองคำหรือเงิน พูดคำสองคำก็นิ่งเสีย

    แผ่นดินก็ดี พระอาทิตย์และพระจันทร์ก็ดี คนก็ยังนินทา
    แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เพียบพร้อมด้วยคุณงามความดี คนก็ยังนินทา
    คนไม่ถูกนินทา ไม่เคยมีมาก่อน จักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ก็ไม่มี
    (ธรรมบท ๒๕/๒๗)

    อันนินทา กาเร เหมือนเทส้วม ถ้ารวบรวม รับไว้ ย่อมได้เหม็น
    หากไม่รับ กลับหาย คลายประเด็น ย้อนไปเหม็น ปากเน่า ของเขาเอง
    ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ขวัญใจโลก คนยังโขก ยังสับ งับเหยงเหยง
    ถ่มน้ำลาย รดฟ้า ด่าบรรเลง ใครจะเก่ง เกินลิ้น คนนินทา
    (ศรีตราด)

    พัสดุสิ่งของที่เราได้มา ถ้าเป็นของดีมีประโยชน์ เราก็เก็บเอาไว้ใช้
    ถ้าเป็นของเสียไร้ประโยชน์ที่เรียกกันว่าขยะ เราก็ทิ้งไปไม่เก็บไว้
    เพราะทำให้บ้านรกรุงรัง ไม่เป็นระเบียบ ไม่สะอาด คำพูดต่าง ๆ ก็เช่นกัน
    ถ้าเป็นคำพูดดีมีประโยชน์ เราก็รับฟังและจดจำไว้ ส่วนคำพูดที่เสียไร้ประโยชน์นั้น
    ก็ไม่ต้องไปจดไปจำ ไม่ต้องเก็บไว้ ให้ทิ้งไปเสียเหมือนทิ้งขยะ

    คำนินทาจัดเป็นคำพูดประเภทขยะ เป็นคำพูดที่เน่าเหม็น ไม่มีประโยชน์
    ไม่มีใครอยากได้ยินได้ฟัง แต่ก็หนีไม่พ้น เพราะเป็นของคู่โลก ใคร ๆ ก็ถูกนินทากันทั้งนั้น
    แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงถูกติฉินนินทามาแล้ว
    แม้องค์พระปฏิมาซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ เป็นของที่ไม่มีชีวิตจิตใจ
    ก็ยังไม่พ้นการนินทาไปได้ ดังนั้นเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่เราก็ต้องถูกนินทาเช่นกัน
    จึงไม่ควรโกรธเคือง หรือเดือดเนื้อร้อนใจเมื่อถูกนินทา

    อันนินทา กาเร เหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำ เหมือนเอามีด มากรีดหิน
    แม้องค์พระ ปฏิมา ยังราคิน คนเดินดิน หรือจะสิ้น คนนินทา
    (สำนวนเก่า)


    คำพูดเป็นเพียงลมปาก เมื่อพูดแล้วคลื่นเสียงก็จางหายไปในอากาศ
    ไม่อาจทิ่มแทงหรือทำอันตรายร่างกายเราได้ เหมือนสายลมอ่อน ๆ
    ที่พัดมาต้องร่างกายเราแล้วจางหายไป คำพูดที่เขานินทาเรานั้น
    ได้จางหายไปในอากาศหมดแล้ว ดับสูญไปนานแล้ว ไม่มีร่องรอยหลงเหลืออยู่อีกแล้ว
    เหตุไฉนจึงยังเก็บเอาสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ตัวไร้ตน ที่ล่วงไปนานแล้ว
    มาคิดให้รกใจ ร้อนใจ ทุกข์ใจเปล่า ๆ ทำไม การกระทำอย่างนี้โง่หรือฉลาดกันแน่ ?

    นิสัยควาย แล้วไม่วาย จะบดเอื้อง คนรื้อเรื่อง อตีตัง มาตั้งขาน
    พิรี้พิไร ไม่รู้จบ งบประมาณ ก็เปรียบปาน ดังควาย น่าอายนา
    (อุทานธรรม)
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    "คนที่ถือกำเนิดเป็นคนนั้น ยังไม่จัดเป็นคนโดยสมบูรณ์
    เพราะเหตุเพียงเกิดมามีรูปร่างเป็นคน
    ต่อเมื่อมีการปฏิบัติ ประกอบด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีสมกับความเป็นคน
    จึงเรียกว่าเป็น คนโดยธรรม
    เมื่อมีธรรมของคนสมบูรณ์จึงจะเชื่อว่าเป็นคนโดยสมบูรณ์
    แม้คำในหิโตประเทศก็กล่าวว่าการกิน การนอน
    ความกลัวและการสืบพันธ์ของคนและดิรัจฉานเสมอกัน
    แต่ธรรมของคนและดิรัจฉานเหล่านั้นแปลกกว่ากัน
    ...เว้นจากธรรมเสีย คนก็เสมอกับดิรัจฉาน..."

    ::-สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มานะ อุปกิเลสข้อ ๑๓ ท่านแปลว่า “ถือตัว”
    พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ
    ลงพิมพ์ในหนังสือแสงส่องใจ ๓ ตุลาคม ๒๕๒๙

    มานะ อุปกิเลสข้อ ๑๓ ท่านแปลว่า “ถือตัว”

    มานะที่เป็นอุปกิเลสมิได้หมายถึงความพยายาม ความตั้งใจจริงเป็นความดี
    แต่มานะความถือตัวเป็นความไม่ดี อย่างไรก็ตามต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า
    ความถือตัวที่ไม่ดีนั้นเป็นคนละอย่างกับความถูกต้องในการวางต้ว

    แม้ว่าการวางตัวอย่างถูกต้องบางทีจะเหมือนเป็นถือตัว แต่ความจริงไม่เหมือนกัน
    ความไม่ถือตัวมิได้หมายถึงอะไรก็ได้ ใครจะปฏิบัติต่อตนผิดอย่างไรก็ได้
    หรือตนจะปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไรก็ได้ ไม่เช่นนั้น สมมติบัญญัติยังมีอยู่
    ความถูกต้องตามสมมติบัญญัติต้องรักษาไว้ ต้องระวังให้ถูกต้อง

    ไม่ใช่ว่าจะถือว่าเป็นผู้ไม่มีมานะความถือตัว คือผู้ต้องยอมให้ผู้น้อย
    ไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ หรือไม่ใช่จะถือว่าผู้ไม่มีมานะความถือตัวก็คือ
    แม้ตนจะเป็นผู้ใหญ่ก็นอบน้อมต่อผู้น้อย ราวกับเป็นผู้น้อยยิ่งกว่า

    มานะความถือตัวเป็นเรื่องของใจ ใจที่อบรมแล้วอย่างถูกต้องตามธรรมของ
    พระพุทธศาสนานั่นแหละที่ไม่มีมานะถือตัว ส่วนการแสดงเป็นไปอย่างเหมาะสมกับ
    สมมติบัญญัติ ที่ผู้เข้าใจไม่ถูกเพียงพออาจเห็นเป็นมานะได้
    จึงเป็นเรื่องเฉพาะตนอย่างแท้จริงและต้องเป็นความรู้สึกอย่างจริงใจของตนเองด้วยว่า
    ตนเองมีมานะเพียงไร

    ไม่ใช่ว่าปฏิบัติอย่างหนึ่งและปกปิดความจริงใจบอกว่าใจไม่มีมานะ
    ปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมเท่านั้น
    การยอมรับกับตนเองอย่างถูกต้องอย่างจริงใจนั่นแหละสำคัญ

    มานะความถือตัวจะเกิดก็ต่อเมื่อคิดปรุงแต่งว่าเราต้องถือตัวเราไว้
    เพราะเราดีกว่าเขา เดี๋ยวเขาจะนึกว่าเราเป็นคนระดับเดียวกับพวกเขาจะดูถูกได้
    และก็อาจจะคิดปรุงแต่งยืดยาวต่อไปในทำนองนี้ได้อีกมากมาย
    ยิ่งคิดปรุงแต่งไปในทำนองดังกล่าวมากอีกเท่าไร
    มานะถือตัวก็จะยิ่งมากขึ้นแรงขึ้นเพียงนั้น ให้เกิดความสับสนวุ่นวาย
    ความร้อนความมืดแห่งสติปัญญาพรางความประภัสสรแห่งจิตเพียงนั้น

    ความคิดปรุงแต่งเป็นเหตุให้เกิดมานะความถือตัวจึงต้องระวังความคิดปรุงแต่งให้ดีที่สุด
    พยายามยับยั้งที่จะไม่ให้มีความคิดปรุงแต่งให้มากที่สุด
    เมื่อบังคับไม่ได้จริงแล้วก็พึงพยายามอย่าคิดปรุงแต่งที่จะนำให้เกิดอุปกิเลส
    เช่นมานะถือตัวเป็นต้น

    ที่มา -http://www.dhammajak.net/-
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...