พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    บำบัดความเครียด.......... สมาธิบำบัด

    -http://www.dhammajak.net/smati/36.html-

    เครียด เครียด เครียด .........
    เครียด เครียด เครียด ชีวิตประจำวันของคนทำงานทำให้ดัชนีความเครียดของคนไทยพุ่งสูงปรี๊ด ความเครียดทำให้สุขภาพเราแย่ลง ทำให้เราป่วยง่ายขึ้น ที่สำคัญสำหรับสาวๆ เครียดมากๆทำให้หน้าแก่ก่อนวัยได้นะ เมื่อเรารู้สึกเครียดร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมน Adrenaline จากต่อมหมวกไต ถ้าเครียดมากก็หลั่ง Adrenaline มากขึ้นฮอร์โมนความเครียดก็จะไปยับยั้งการทำงานของอวัยวะสำคัญทั้งหมด เช่นหัวใจ ไต ตับ ปอด ทำให้อวัยวะสำคัญของเราเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว สุดท้ายก็พร้อมใจกันหยุดทำงานเพราะฮอร์โมนความเครียดไปทำให้ภูมิต้านของร่างกายเราต่ำลง ต่ำลง เรียกว่าโรคเครียดนอกจากทำแก่ง่ายแล้วยังทำให้ถึงตายได้นะเนี่ย

    - ผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำสมาธิ
    การทำสมาธิถือได้ว่าเป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ลึกซึ้งที่สุด สมาธิทำให้จิตใจสงบนิ่ง แต่มีสติ หยุดความคิดที่ฟุ้งซ่าน วิตกกังวล หรืออารมณ์ด้านลบทั้งหลาย เมื่อเราทำสมาธิจะรู้สึกสบายขึ้นเพราะจะมี Hormoneชื่อ Endorphins หลั่งออกมาในขณะที่จิตใจสงบนิ่ง ฮอร์โมน Adrenaline จากต่อมหมวกไต ก็จะหยุดหลั่ง และในขณะนั้นเองเมื่อจิตสงบสมองส่วน Hypothalamus จะสั่งให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงขึ้น ภูมิต้านทานของเราก็จะสร้างเพิ่มขึ้นหลังจากถูกยับยั้งด้วยฮอร์โมนความ เครียด การทำสมาธินี้ดีมาก มาก สำหรับคนที่กำลังบำบัดมะเร็งเพราะ เมื่อภูมิต้านทานกระเตื้องขึ้นการกำจัดcell มะเร็งก็จะเป็นไปตามที่ต้องการ


    - ทำสมาธิแบบไหนดี?
    การทำสมาธิที่สามารถบำบัดโรคที่เกิดจากความเครียด ความกังวล ไม่ใช่โรคที่เกิดจากเชื้อโรคโดยตรง แต่สามารถรักษาใจที่เป็นทุกข์อันเกิดจากโรคได้ วิธีฝึกสมาธิบำบัดมีหลายวิธี ได้แก่ การนั่งภาวนา เดินจงกรม การแผ่เมตตา การอธิษฐานจิต การฝึกใช้พลังภายในร่างกาย การใช้พลังภายนอก การฝึกเพ่งลูกแก้ว และอย่างน้อยควรทำวันละ 2 ครั้ง ถ้าทำได้

    - ท่าที่สบายที่สุด
    จะนั่งขัดสมาธิหรือจะนอนหงายวางแขนไว้ข้างตัวก็ได้ ให้เป็นท่าที่เรารู้สึกสบายตัวที่สุด แล้วก็เลือกสถานที่ที่เรารู้สึกผ่อนคลาย สบายๆไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป อุณหภูมิในห้องสบาย ๆ
    หลับตาลงจะได้ตัดตัวเองออกจากโลกภายนอก จิตจะได้สงบง่ายขึ้น แล้วเริ่มด้วยการกำหนดลมหายใจโดยสูดหายใจเข้าช้า ๆ ให้ท้องพอง หายใจออกช้า ๆให้ท้องแฟบ สัก 3 ครั้ง ให้สังเกตลมที่ผ่านเข้าออกทางจมูกว่ากระทบถูกอะไรบ้าง

    จากนั้นให้หายใจให้สบาย กำหนดจิตของตนไปรับรู้ลมหายใจเข้าออก โดยไม่ต้องสนใจเสียงรอบข้าง ให้รับรู้เฉย ๆ ถ้าจิตมันจะวอกแวกนึกนั่นนึกนี่ แว่บไปหาเพื่อนคนโน้นคนนี้ นึกห่วงงานที่นั่นที่นี่บ้างก็ดึงสมาธิกลับมาอยู่กับลมหายใจ แรก ๆ อาจทำยากมาก เหมือนเราหัดเดินตั้งไข่ครั้งแรก ล้มบ้าง ลุกบ้างแต่ถ้าพยายามเข้าในที่สุดเราก็จะเดินได้การทำสมาธิก็เช่นกัน ถ้าเราพยายามขยันดึงจิตกลับมาอยู่กับลมหายใจ ทำซ้ำ ๆ สม่ำเสมอ ในที่สุดจิตก็จะเชื่อง และเริ่มนิ่ง เมื่อเข้าถึงสมาธิก็จะได้ความรู้สึกปีติรู้สึกสบายอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมา ก่อน เพราะ ฮอร์โมนEndorphins หลั่งออกมา และ ฮอร์โมนความเครียด Adrenaline ที่ต่อมหมวกไตก็จะหยุดหลั่งออกมา และเมื่อเข้าสมาธิได้แล้วก็ควรทำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ๆ ละไม่ต่ำกว่า 15 นาที

    - เทคนิคการฝึกหายใจ
    โดยปกติแล้วการหายใจด้วยอก ชีพจรจะเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย ต้องหายใจถี่ๆแต่ถ้าหายใจด้วยท้องชีพจรจะเต้นช้า ในทางวิทยาศาสตร์เราอธิบายได้ว่าเป็นการกระตุ้นกะบังลม ที่กะบังลมจะมีเส้นประสาทวากัส (Vagus) ซึ่งเส้นประสาทตัวนี้เป็นพาราซิมพาเทติก เป็นเส้นประสาทมีผลต่อการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ เพิ่มการทำงานของลำไส้ เส้นประสาทวากัส (Vagus) จะส่งคลื่นไปที่สมอง ทำให้หลอดเลือดขยาย ความดันเลือดลดลง ชีพจรเต้นช้า หายใจช้า ดังนั้นเราจึงต้องฝึกหายใจลงไปที่ท้องแทน
    เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
    ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อทุกระบบในร่างกายหดตัว เวลาเครียดเรามักจะทำหน้านิ่วคิ้วขมวด กำหมัด กัดฟัน ทุกครั้งที่รู้สึกเครียด ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวเกิดอาการเจ็บปวด เช่น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดไหล่

    - การฝึกคลายกล้ามเนื้อ

    จะช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลง เพราะในขณะที่ฝึก จิตใจ ของเราจะจดจ่ออยู่กับการคลายกล้ามเนื้อ ความคิดฟุ้งซ่าน และความวิตกกังวลก็ลดลง ช่วยให้จิตใจจะมีสมาธิมากขึ้น

    วิธีการฝึก เลือกนั่งในท่าที่สบาย เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ถอดรองเท้า หลับตา ทำใจให้ว่าง ตั้งใจจดจ่ออยู่ที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ 10 กลุ่ม โดยการปฏิบัติดังนี้คือ

    1. มือและแขนขวา โดยกำมือ เกร็งแขน แล้วคลาย
    2. มือและแขนซ้าย ทำเช่นเดียวกัน
    3. หน้าผาก เลิกคิ้วสูงแล้วคลาย ขมวดคิ้วแล้วคลาย
    4. ตา แก้ม จมูก ให้หลับตาแน่น ย่นจมูก แล้วคลาย
    5. ขากรรไกร ลิ้น ริมฝีปาก โดยกัดฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานปากแล้วคลาย เม้มปากแน่นแล้วคลาย
    6. คอ โดยก้มหน้าให้คางจรดคอแล้วคลาย เงยหน้าจนสุดแล้วคลาย
    7. อก ไหล่ และหลัง โดยหายใจเข้าลึกๆกลั้นไว้ แล้วคลาย ยกไหล่สูงแล้วคลาย
    8. หน้าท้องและก้น โดยการแขม่วท้อง แล้วคลาย ขมิบก้นแล้วคลาย
    9. เท้าและขาขวา โดยเหยียดขา งอนิ้ว แล้วคลาย เหยียดขา กระดกปลายเท้าแล้วคลาย
    10. เท้าและขาซ้าย ทำเช่นเดียวกัน

    ข้อแนะนำ
    ระยะเวลาที่เกร็งกล้ามเนื้อ ให้น้อยกว่าระยะเวลาที่ผ่อนคลาย เช่น เกร็ง 3-5 วินาที ผ่อนคลาย 10-15 วินาที
    ควรฝึกประมาณ 8-12 ครั้ง เพื่อให้เกิดความชำนาญ
    เมื่อคุ้นเคยกับการผ่อนคลายแล้ว ให้ฝึกคลายกล้ามเนื้อได้เลยโดยไม่ต้องเกร็งก่อนหรืออาจเลือกคลายกล้ามเนื้อ เฉพาะส่วนที่มีปัญหาก็ได้ เช่น บริเวณใบหน้า คอ หลัง ไหล่ เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องคลายกล้ามเนื้อทั้งตัวแต่ถ้ามีเวลาทำได้ทั้งหมดก็จะดีมากมาก สำหรับตัวคุณเอง


    - ฝึกสมาธิประจำ แก้ได้หลายโรค
    หากฝึกสมาธิเป็นประจำ จิตใจก็เบิกบาน สมองแจ่มใส จิตใจเข้มแข็ง อารมณ์เย็น พร้อมตลอดเวลาไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรมากระทบ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยความมั่นใจในตัวเอง เมื่อมีสมาธิที่เข้มแข็ง ปัจจุบันมีการวิจัยและค้นพบข้อดีของการทำสมาธิเช่น

    ช่วยปรับสภาวะสมดุลของร่างกายให้เป็นปกติ ทำให้อัตราการหายใจและชีพจรช้าลง
    ทำให้คลื่นสมองสงบ กล้ามเนื้อผ่อนคลายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ระดับฮอร์โมนที่ถูกระตุ้นจากความเครียดลดลง
    แก้ปัญหานอนไม่หลับได้ถึงร้อยละ 75 และ
    ช่วยให้ผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ใช้ยาแก้ปวดลดลงจาก เดิมร้อยละ 34
    ช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคเอดส์ มีอาการทุกข์ทรมานลดน้อยลงกว่าการรักษาเฉพาะทางทางยา
    ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน ความถี่หรือความรุนแรงของอาการจะลดลงร้อยละ 32

    และยังพบอีกว่าในการรักษาผู้ป่วยโรค หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ผู้ที่มีความเชื่อมั่นในศาสนาจะหายเร็ว กว่า ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่นับถือศาสนาอะไรเลย จะมีอัตราการตายมากกว่าผู้นับถือศาสนาถึง 3 เท่า

    ในสหรัฐอเมริกา มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบผลตรงกันว่า ชาวพุทธที่นั่งสมาธิเป็นประจำ สมองในส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่ดี และ ความคิดด้านบวกจะทำงานกระฉับกระเฉงกว่า ช่วยผ่อนคลายความเครียด และทำให้สมองส่วนที่เป็นศูนย์กลางความทรงจำด้านร้ายสงบลง และการนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้อารมณ์แปรปรวน ตกใจ เกรี้ยวกราด หรือหวาดกลัวลดลงด้วย

    แพทย์โรคหัวใจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ให้คนไข้โรคหัวใจฝึกสมาธิระหว่างบำบัดด้วยยาไปด้วยและได้ผลเป็นที่น่าพอ ใจ เพราะทำให้ความดันโลหิตและความเครียดลดลงอย่างมาก

    ฉะนั้นถ้าอยากมีสุขภาพดี ไม่แก่ง่าย ตายเร็ว ก็ต้องเริ่มการฝึกทำสมาธิและต้องเริ่มทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้เลย อย่าได้ผัดผ่อนเด็ดขาด

    --http://www.dhammajak.net/smati/36.html--
    ..................

    บทความจาก

    -http://kullastree.com-
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2014
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    - เทคนิคมองโลกในแง่ดี -

    -http://www.dhammajak.net/dhamma/39.html-

    คนไทยสมัยนี้เครียดกันง่ายจัง วันๆ หนึ่งต้องพบกับความทุกข์ใจ ไม่สบายใจ กังวลใจ กันหลายๆ ครั้ง ไม่เหมือนกับคนไทยสมัยโบราณที่กว่าจะเกิดความเครียดขึ้นมาได้ โน่น..ต้องมีเสือบุกเข้ามากินวัว โจรบุกเข้ามาปล้น ถึงจะเกิดความเครียดกันทีหนึ่ง เรียกว่าวันๆ หนึ่งแทบจะไม่รู้จักความเครียดกันเลย ใบหน้าคนไทยสมัยก่อนจึงมีแต่รอยยิ้ม พวกฝรั่งซึ่งเป็นคนมาจากวัฒนธรรมอื่นมาเห็นเข้าพากันแปลกใจว่าทำไมคนไทยอารมณ์ดีกันจัง ก็เลยตั้งชื่อว่าให้ว่า "สยามเมืองยิ้ม"

    นอกจากนี้คนไทยยังมีวิธีคิดที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ให้รู้จักคิดปล่อยวาง คิดให้สบายใจ ในยามที่ต้องพบกับปัญหาหนักๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือร่องรอยวิธีคิดเหล่านี้อยู่ในนิสัยคนไทยทั่วๆ ไปบ้าง แต่บางคนก็ลืมไปแล้ว หรือคนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จัก วันนี้เครือข่ายฯจึงขอนำวิธีคิดเหล่านี้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความเป็นพุทธ และ ให้มีความทันสมัย เหมาะกับคนยุคปัจจุบันมากขึ้น นำเสนอเป็นเทคนิควิธีคิดมองโลกในแง่ดีสำหรับคนยุคไอที ดังต่อไปนี้


    ยามพบอุปสรรคในการทำงาน

    ไม่เป็นไร..เอาใหม่ : คำพูดนี้สำคัญมากครับ เอาไว้ใช้อุทาน เวลาท่านต้องประสบกับปัญหาความล้มเหลวในการทำงานหรือ เจอข้อผิดพลาดอะไรขึ้นมาอย่างไม่คาดฝัน หรือ เวลาเพื่อนร่วมงานทำงานผิดพลาด คำพูดนี้จะเป็นเครื่องปลอบใจและให้กำลังใจได้เป็นอย่างดี คำว่า "ไม่เป็นไร" เป็นคำที่ทำให้จิตใจปล่อยวางจากปัญหา ไม่ถูกบีบคั้นจากปัญหา คำว่า "เอาใหม่" เป็น คำพูดที่ปลุกคุณธรรมข้อ "วิริยะ" แปลว่า เพียรสู้งาน ปลุกใจให้เราคิดสู้ปัญหา ไม่ท้อถอย


    ยามพบกับเหตุการณ์ร้ายที่ไม่พึงปรารถนา

    โชคดีนะเนี่ย : ไม่ว่าคุณเจอะเจอกับความทุกข์กายทุกข์ใจอะไรในชีวิตประจำวัน ให้คิดเสียว่าสิ่งเลวร้ายที่เราต้องประสบทุกๆ ครั้ง มันไม่ได้ร้ายกาจจนถึงที่สุดแม้สักอย่างเดียว มันเป็นความ"โชคดี"ของเราจริงๆ ที่ไม่เจอหนักกว่านี้

    ยกตัวอย่าง

    เดินหัวชนเสาหัวปูด อุทานว่า "อูย ! ..โชคดีนะเรา หัวยังไม่แตก"
    โดนตัดเงินเดือน พูดกับตัวเองว่า "เขาไม่ไล่เราออก ก็บุญแล้ว ถือว่ายังโชคดีนะเนี่ย"
    ทำกาแฟร้อนๆ หกรดขากางเกง พูดกับตัวเองว่า "เหอ..ๆ โชคดี ที่มันไม่หกรดเป้ากางเกงเรา"


    ยามมีปัญหากับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

    เขายังดีนะ : เวลาคุณมีปัญหากับเพื่อนมนุษย์ เช่นเพื่อนร่วมงาน คนข้างบ้าน ฯลฯ เช่น บางคนอาจจะทำงานไม่ถูกใจ บางคนอาจจะทำอะไรผิดใจคุณ หรือ บางคนอาจจะมีเจตนาไม่ดีกับคุณ ให้คิดเช่นเดียวกันว่าสิ่งที่เขาทำนั้นมันก็ยัง ไม่ได้ร้ายกาจถึงที่สุดกับคุณแต่อย่างใด มันยังมีแง่ดีๆ ให้เราคิดถึงเขาอยู่เสมอ

    ยกตัวอย่าง

    คนข้างบ้านนินทาเรา เราก็บอกกับตัวเองว่า โอ้... นี่เขายังดีนะที่ไม่ถึงกับมาดักทำร้ายเรา
    มีคนมาขโมยปากกาที่โต๊ะทำงานเราไป เราก็คิดว่า เจ้าขโมยนี่ยังดี ที่ไม่ยกเครื่องคอมพ์เราไป
    สาวหักอก เราก็คิดว่า เธอยังดีนะเนี่ย ที่ไม่ควงคู่แข่งมาเย้ยเราให้เจ็บใจหนักไปกว่านี้
    เพื่อนร่วมงานเอาเปรียบ เราก็คิดว่า เขาก็ยังดีที่ไม่ใส่ร้ายป้ายสีเราข้างหลัง


    เทคนิคคิดเมื่อเจอปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

    เอ๊ะ...! ตรงนี้เราได้อะไร : เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้จิตตั้งแง่คิดเพื่อมุ่งหาความรู้ทันทีที่ได้พบกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น นาย ก. เดินตกท่อ ขาแข้งถลอก นาย ก. ทั้งๆ ที่เจ็บปวด กลับตั้งคำถามขึ้นมาในใจว่า เราเดินตกท่อตรงนี้ เราได้อะไร ! เท่านั้นเองคำตอบต่างๆ ก็พรั่งพรูออกมามากมาย อาทิเช่น

    ก. เราได้ดูแลรักษาตัวเองอีกแล้วดีจัง ไม่ได้ดูแลตัวเองมานาน
    ข. เราได้บทเรียนซาบซึ้งกับคำว่า "อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง"
    (เคยเดินมาดีๆ ทุกวัน วันนี้ใครกันดันมาเปิดฝาท่อ)

    ค. มันทำให้เราได้ไอเดียเกี่ยวการทาแถบสีสะท้อนแสงตรงขอบท่อ เพื่อคนจะได้สังเกตเห็นได้แต่ไกลๆ

    วิธีคิดเช่นนี้จะทำให้เรารู้สึกเลยว่า ชีวิตนี้มีแต่ได้ ไม่มีเสีย คือ แม้ว่าเราจะพบกับสิ่งที่ไม่น่าพึงปรารถนาก็ตาม แต่ถ้าหากว่าเรารู้จักตั้งคำถามเช่นนี้เป็นนิสัย เราก็จะได้สิ่งที่ดีๆ มากมายจนบางครั้งเราอาจจะต้องนึกขอบคุณที่ได้เจอกับปัญหาบ่อยๆ เลยทีเดียว

    ยังมีวิธีคิดมองโลกในแง่ดีอีกมากมายหลายวิธี ซึ่งเครือข่ายชาวพุทธกำลังค้นคว้าหาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เพื่อประยุกต์เป็นวิธีคิดนำมาเสนอท่านโอกาสต่อไป อย่าลืมติดตามตอนที่ ๒ เร็วๆ นี้นะครับ สวัสดี
    --http://www.dhammajak.net/dhamma/39.html--
    .......................................................

    -http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1485-

    บทความธรรมะจาก
    -http://www.budpage.com/-
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    5 สิ่งต้องเช็คก่อนเดินทางไกลรับวันพ่อ 2557

    -http://auto.sanook.com/11197/5-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD-2557/-


    วันพ่อแห่งชาติปีนี้หลายคนมีแผนพาคุณพ่อไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือบ้างก็กลับไปเยี่ยมคุณพ่อที่บ้าน ซึ่งการเดินทางด้วยรถยนต์นั้น ซึ่งหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยคือความสมบูรณ์ของสภาพรถก่อนการเดินทาง เรามีเทคนิคเช็คสภาพรถง่ายๆมาฝากกันเพื่อให้การเดินทางราบรื่นและปลอดภัย

    1.ตรวจเช็คสภาพยางและความดันลมยาง

    ยางถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเดินทางไกล แม้ว่าโดยปกติยางอาจมีอายุการใช้งานถึง 50,000 กม. แต่อาจมีความเป็นไปได้ที่ยางจะเสื่อมสภาพก่อนกำหนด ดังนั้นจึงควรตรวจสอบดูว่า ดอกยางยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ซึ่งทั่วไปควรมีความลึกมากกว่า 3 มม. ยางทุกเส้นควรมีระดับการสึกเท่ากันทั่วทั้งล้อ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งปกติหรือไม่ทั้งดอกยางและแก้มยาง ควรเติมลมยางไม่ให้อ่อนหรือแข็งจนเกินไป และต้องแน่ใจว่ายางอะไหล่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน



    2.ตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์

    ข้อนี้ฟังดูอาจเป็นเรื่องยุ่งยากไปหน่อย แต่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งขับรถ ก็สามารถตรวจสอบได้ง่ายๆด้วยการสังเกตเสียงเครื่องยนต์ว่าไม่มีเสียงผิดปกติใดๆ ทั้งขณะจอดนิ่งๆ และเร่งเครื่องอยู่กับที่ นอกจากนั้นก็ควรตรวจสอบว่าระดับของเหลวอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่ผู้ผลิตกำหนด ทั้งน้ำมันเครื่อง, น้ำมันเบรค, น้ำมันเพาเวอร์, น้ำมันเกียร์ และน้ำหล่อเย็น หากพบว่าจุดใดอยู่ในระดับที่น้อยกว่าปกติก็ควรเติม หรือนำรถเข้าศูนย์บริการก็ได้

    นอกจากนั้น อย่าลืมตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ (หรือหม้อพักน้ำ) ว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมก่อนออกเดินทาง

    .ตรวจเช็คระบบไฟส่องสว่าง

    ไฟต่างๆทั้งภายในและภายนอกรถ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเพื่อความปลอดภัยยามเดินทางในเวลากลางคืน ควรตรวจสอบการทำงานของไฟส่องสว่างทุกตำแหน่ง ทั้งไฟหรี่ ไฟต่ำ ไฟสูง ไฟเลี้ยว ไฟท้าย ไฟเบรค ไฟถอยหลัง ฯลฯ หากพบว่าไฟตำแหน่งใดหรี่เกินไปหรือไม่ติด ก็ควรเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ทันทีเมื่อมีโอกาส

    4.ตรวจเช็คระบบกันสะเทือน

    ระบบช่วงล่างของรถ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเดินทางอย่างปลอดภัย คุณผู้อ่านอาจเคยได้ยินข่าวรถลื่นไถลตกถนนอยู่บ่อยๆ ส่วนหนึ่งก็มาจากสภาพช่วงล่างที่ไม่สมบูรณ์นี้เอง วิธีเช็คก็ทำได้อย่างง่ายๆ ด้วยการก้มดูกระบอกโช๊คว่าไม่มีน้ำมันรั่วซึมออกมา

    จากนั้นให้ใช้น้ำหนักตัวกดลงไปยังมุมรถทั้ง 4 ด้าน เพื่อดูการเด้งกลับโช๊คว่าผิดปกติหรือไม่ หากรถเด้งเพียงครั้งเดียวแล้วหยุดแสดงว่าโช๊คยังมีสภาพดีอยู่ แต่หากเด้งซ้ำกันต่อเนื่องหลายครั้ง แสดงว่าโช๊คอัพเสื่อมสภาพแล้ว หากปล่อยไว้จะทำให้รถไม่เกาะถนน แถมยังเกิดปัญหากับยางตามมาอีกต่างหาก

    5.ตรวจสอบวันหมดอายุประกันภัยและพ.ร.บ.

    เนื่องจากช่วงหยุดยาวเป็นช่วงที่มีการจราจรหนาแน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทางหลวงข้ามจังหวัด จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้นจึงควรตรวจสอบวันหมดอายุประกันภัยและพ.ร.บ.ให้ดี



    นอกจากนั้น สิ่งสำคัญไม่แพ้ตัวรถอีกอย่างหนึ่ง ก็คือความพร้อมของผู้ขับขี่ ทางที่ดีหากเกิดอาการง่วงซึม ก็ให้เปลี่ยนคนขับหรือแวะปั๊มล้างหน้าล้างตาเสียก่อน อย่าฝืนขับต่อไปจนเกิดอาการหลับใน ด้วยความปรารถนาดีจาก Sanook!Auto
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • c01.png
      c01.png
      ขนาดไฟล์:
      448.3 KB
      เปิดดู:
      37
    • c02.png
      c02.png
      ขนาดไฟล์:
      535.9 KB
      เปิดดู:
      34
    • c03.png
      c03.png
      ขนาดไฟล์:
      496.9 KB
      เปิดดู:
      36
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    การบริจาคอวัยวะ

    ผมจะทยอยนำลงให้อ่านกันครับ

    ข้อมูลจากสภากาชาดไทย

    ส่วนตัวไปทำเรื่องไว้นานแล้ว แจ้งที่บ้านไว้นานแล้วเช่นกัน


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p00.jpg
      p00.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      30
    • p01.jpg
      p01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      31
    • p1.jpg
      p1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      726.8 KB
      เปิดดู:
      25
    • p2.jpg
      p2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      661 KB
      เปิดดู:
      31
    • p3.jpg
      p3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      781.3 KB
      เปิดดู:
      28
    • p4.jpg
      p4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      666.9 KB
      เปิดดู:
      25
    • p5.jpg
      p5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      807.3 KB
      เปิดดู:
      23
    • p6.jpg
      p6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      690.8 KB
      เปิดดู:
      21
    • p7.jpg
      p7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      676.9 KB
      เปิดดู:
      23
    • p8.jpg
      p8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      711.4 KB
      เปิดดู:
      24
    • p9.jpg
      p9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      645.1 KB
      เปิดดู:
      27
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มาต่อเรื่องการบริจาคอวัยวะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p10.jpg
      p10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      97.2 KB
      เปิดดู:
      16
    • p11.jpg
      p11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      80.2 KB
      เปิดดู:
      25
    • p12.jpg
      p12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      97.6 KB
      เปิดดู:
      23
    • p13.jpg
      p13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.9 KB
      เปิดดู:
      26
    • p14.jpg
      p14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      93 KB
      เปิดดู:
      24
    • p15.jpg
      p15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      94.7 KB
      เปิดดู:
      26
    • p16.jpg
      p16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      100.4 KB
      เปิดดู:
      26
    • p17.jpg
      p17.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.9 KB
      เปิดดู:
      24
    • p18.jpg
      p18.jpg
      ขนาดไฟล์:
      102.2 KB
      เปิดดู:
      20
    • p19.jpg
      p19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      114.7 KB
      เปิดดู:
      28
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จบเรื่องการบริจาคอวัยวะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • r01.jpg
      r01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      81.4 KB
      เปิดดู:
      21
    • r02.jpg
      r02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.8 KB
      เปิดดู:
      26
    • r03.jpg
      r03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      102.4 KB
      เปิดดู:
      24
    • r04.jpg
      r04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      119.4 KB
      เปิดดู:
      27
    • r05.jpg
      r05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.6 KB
      เปิดดู:
      22
    • r06.jpg
      r06.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.5 KB
      เปิดดู:
      20
    • r07.jpg
      r07.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.8 KB
      เปิดดู:
      24
    • r08.jpg
      r08.jpg
      ขนาดไฟล์:
      110.4 KB
      เปิดดู:
      36
    • r09.jpg
      r09.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.8 KB
      เปิดดู:
      23
    • r10.jpg
      r10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      93.4 KB
      เปิดดู:
      26
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มาต่อเรื่องการบริจาคอวัยวะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p20.jpg
      p20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      119.5 KB
      เปิดดู:
      19
    • p21.jpg
      p21.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.7 KB
      เปิดดู:
      20
    • p22.jpg
      p22.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.5 KB
      เปิดดู:
      25
    • p23.jpg
      p23.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.6 KB
      เปิดดู:
      24
    • p24.jpg
      p24.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.5 KB
      เปิดดู:
      56
    • p25.jpg
      p25.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.9 KB
      เปิดดู:
      20
    • p26.jpg
      p26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.2 KB
      เปิดดู:
      25
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    หลัก 5 ย. เพื่อชีวิตคู่ที่ยืนยาว2

    -http://women.sanook.com/21028/-

    ชีวิตคู่ที่มั่นคง อบอุ่นไปด้วยความรักความเข้าใจเป็นแหล่งพลังกายและพลังใจอันสำคัญให้เรายืนหยัดอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข หลักง่ายๆ ที่จะช่วยในการส่งเสริมความสำพันธ์ของชีวิตคู่ยุคใหม่ คือ ยกย่อง ยินยอม ยืดหยุ่น แยกแยะ และยืนหยัด

    ยกย่อง สำหรับคู่รัก การยกย่องให้เกียรติกันและกันมีความสำคัญอันดับต้นๆ การพูดยกย่องคู่ของเราบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง จะทำให้อยู่กันอย่างไม่มีปัญหา การพูดยกย่องต้องทำทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถึงแม้ไม่รู้ว่าจะใช้วาจายกย่องอย่างไร ก็ควรคู่ของเราไปพูดคุย อย่างสนุกปาก เพราะถ้าใครได้ยินอาจจะคิดไปว่าสามีภรรยาคู่นี้ไม่ให้เกียรติกันและกัน

    ยินยอม หมายถึง การยอม ๆ กันบ้างหรือคิดถึงเหตุผลหรือความรู้สึกของอีกฝ่ายบ้าง เพราะคน 2 คนที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ย่อมมีสักครั้งหรือหลายครั้งที่มีความคิดเห็นไม่ลงลอยกัน มีหลายเรื่องที่ทั้งคู่จำเป็นต้องตัดสินร่วมกัน ถ้าต่างคนต่างถือเหตุผลของตนเองเป็นใหญ่ ไม่มีใครยอมรับ มุ่งแต่เอาชนะ ชีวิตคู่แบบนี้อาจจะอยู่กันไม่ยึดได้

    ยืดหยุ่น ในการใช้ชีวิตคู่นั้น ยิ่งอยู่นาน ยิ่งรู้จักกันมากขึ้น มีเรื่องราวต่างๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตมากขึ้น ตอนอยู่กันแรกๆ ทำอะไรก็ดูดีไปหมด อะไร ๆ ก็ทนได้ แต่พออยู่กันนานเข้าทั้งๆ ที่คู่ขอเราก็ยังเป็นคนเดิมอยู่ แต่ก็ชักจะมีหลายเรื่องที่เราชักจะทนไม่ไหว หรือรับไม่ได้ขึ้นมา ความจริงนั้นชีวิตคู่ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งต้องมีการยืดหยุ่นให้แก่กันและกันมากกว่าตอนรักกันแรกๆ

    แยกแยะ ชีวิตคู่ 2 คน มีเรื่องราวต่างๆ เข้ามาปะปนจนแยกไม่ออก ถ้าเป็นเรื่องเล็กๆ ก็ไม่เป็นไร แต่บางเรื่องก็ไม่สามารถนำมาปะปนกันได้ เช่น เรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว บางคนหงุดหงิดจากที่ทำงาน เมื่อกลับมาบ้านก็พาลหงุดหงิดกับภรรยาที่บ้าน ไปโวยวายกับเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้อง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ภรรยาบางคนโทรศัพท์เช็คสามีตลอดทั้งวันเป็นการรบกวนสมาธิในการทำงาน แทนที่สามีจะรู้สึกว่าภรรยารักและห่วงใย อาจะรู้สึกในทางกลับกันว่าภรรยาคอยจับผิด จนนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งจนถึงขั้นเลิกรากันได้

    ยืนหยัด ไม่ว่าจะเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นก็ตาม กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ความปรารถนาที่จะมีความสุขสดชื่นตลอดไปในชีวิตคู่ต้องมีใจที่จะยืนหยัดต่อสู่ด้วยกัน จะสุขจะทุกข์ก็ต้องร่วมกันฝ่าฝัน เข้าสำนวนที่ว่า “มีสุขร่วมเสพมีทุกข์ร่วมต้าน” ใครท้อแท้หรือล้มลงก็ต้องช่วยดึงให้ลุกขึ้นยืนใหม่ให้ได้

    Cr.สำนักพัฒนาสุขภาพจิต

    เนื้อหาโดย นิตยสาร Woman Plus
    -http://www.womanplusmagazine.com/-
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • u32.png
      u32.png
      ขนาดไฟล์:
      95.3 KB
      เปิดดู:
      29
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิกฤตพลิกชีวิต...ล้มได้ ก็ลุกได้

    -http://money.sanook.com/215569/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95...%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89/-



    ตลาดหุ้นมีความผันผวนตลอดเวลา เมื่อมี “หุ้นขึ้น” ก็ต้องมี “หุ้นลง” สลับกันแบบนี้เรื่อยไป ไม่แตกต่างกับชีวิตของเราอาจจะเจอช่วง “ขาขึ้น” ที่เจอแต่สิ่งดีๆ ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ จับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมดและบางช่วงอาจจะเป็น “ขาลง” ที่เจอแต่เรื่องแย่ๆหลายเรื่องพร้อมกัน เหมือนโปรโมชั่นชีวิตขาลงที่จะทำอะไรล้วนเจอแต่อุปสรรค หากเราเข้าใจสัจธรรมตรงนี้ก็จะสามารถทำใจและปรับตัวให้เข้ากับแต่ละสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น


    คุณศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิ หรือที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีในชื่อของ "ศิริวัฒน์แซนด์วิช" เป็นอดีตนักลงทุนที่ครั้งหนึ่งเคยประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตจากการเป็นผู้บริหารหลักทรัพย์และเจ้าของโครงการคอนโดมิเนียมมูลค่าหลายพันล้านบาทและรู้จักกับคำว่าล้มละลายในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ชีวิตที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมายเหล่านี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆคนที่เจอวิกฤตเช่นเดียวกันให้ผ่านพ้นมาได้ รวมถึงเป็นประสบการณ์ให้กับนักลงทุนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดีในเรื่องการลงทุนอย่างไม่ประมาท

    3 บทเรียนจากวิกฤตพลิกชีวิต...ล้มได้ ก็ลุกได้


    บทเรียนที่ 1 การประสบความสำเร็จนั้นนำไปสู่ความล้มเหลว
    เมื่อเราทำอะไรที่ประสบความสำเร็จไปทุกอย่าง ทำธุรกิจอะไรก็เติบโตได้กำไรมากมายและไม่เคยล้มเหลวเลยนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เพราะเราจะมีความมั่นใจสูงสุดว่าทุกอย่างต้องทำสำเร็จ เมื่อความมั่นใจมีมากล้นจนมองไม่เห็นสัญญาณของความล้มเหลวก็จะทำให้เราตัดสินใจด้วยความประมาท เช่น กู้เงินมาทำธุรกิจเพื่อให้กิจการขยายตัวเร็วที่สุดเพราะมั่นใจว่าเป็นโอกาสที่สร้างกำไรได้อย่างมหาศาล โดยไม่ระมัดระวังว่าหากเกิดเรื่องเลวร้ายขึ้นจะมีแผนสำรองอย่างไร เหมือนชีวิตที่ไม่รู้จักวางแผนฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากผลลัพธ์ออกมาไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิดไว้ ดังนั้น หากเรามีความมั่นใจกับทุกเรื่องก็ควรใส่คำว่า “ระมัดระวังและไม่ประมาท” เข้าไปด้วย เพื่อเป็นความมั่นใจที่ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์

    บทเรียนที่ 2 เราจะรู้สึกดีขึ้นหากเจอคนที่แย่กว่าเรา
    ช่วงปี 40 หลายคนมีหนี้สินเพิ่มขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวหรือถูกให้ออกจากงานกระทันหัน เมื่อไม่มีงานทำบวกกับหนี้สินพอกพูน ทำให้หลายคนเกิดความเครียด ไม่มีจิตใจที่อยากจะหายใจอยู่บนโลกนี้อีกต่อไปจึงหนีปัญหาด้วยวิธีฆ่าตัวตายมากขึ้นเพราะคิดว่าปัญหาของตนเองนั้นใหญ่เกินกว่าจะแก้ไขได้ จากกรณีของคุณศิริวัฒน์ที่ยืนขายแซนด์วิชก็มีทั้งคนที่มาให้กำลังใจให้เขาสู้ต่อไปและบางคนที่มาขอบคุณเรื่องราวหนี้สินพันล้าน จนทำให้เขาเลิกคิดฆ่าตัวตายเพราะทำให้รู้สึกว่าหนี้ของคนอื่นมากกว่าแต่ก็ยังสู้ชีวิต ส่วนหนี้ของตนเอง 15 ล้านนั้นดูเล็กลงไปมาก

    บทเรียนที่ 3 ล้มได้...ก็ลุกได้
    จิตใจที่ไม่เคยถูกกระทบกระเทือนจากความล้มเหลวนั้นเป็นเหมือนเพชรเม็ดงามที่ถูกฝังอยู่ในเหมืองไม่มีใครเห็นความงดงาม แต่ถ้าหากจิตใจผ่านพ้นเรื่องราวเลวร้ายที่สุดในชีวิตมาได้ก็จะเหมือนเพชรที่ถูกเจียระไนกลายเป็นเพชรเม็ดงามทรงคุณค่าที่ใครๆต้องการครอบครอง จากกรณีของคุณศิริวัฒน์ที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายจนทำให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีความอดทนกับปัญหา กล้าเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และใช้ความรู้ความสามารถที่มีสร้างทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ได้


    "ศิริวัฒน์แซนด์วิช" นับเป็นตัวอย่างประสบการณ์ชีวิตที่ครบรสชาติมากๆ ซึ่งคนรุ่นใหม่ควรศึกษาเป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อจะได้ระมัดระวังในการใช้ชีวิตและการลงทุนมากขึ้น แม้ว่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอาจจะแตกต่างกับในอดีต แต่เราสามารถนำวิธีคิดเหล่านี้ไปปรับใช้ได้ เพราะไม่มีใครสามารถคาดการณ์อนาคตถูกต้อง 100% เราเพียงใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทโดยเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตเป็นตัวนำทางเพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

    ผู้เขียน : อภินิหารเงินออม
    สนับสนุนข้อมูลโดย : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (-www.set.or.th/onlineinvestor-)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • c3.png
      c3.png
      ขนาดไฟล์:
      82.6 KB
      เปิดดู:
      25
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คลินิกกองทุนรวม : ผิดเงื่อนไขขายกองทุน RMF
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
    6 ธันวาคม 2557 09:11 น.
    -http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000140065-

    สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางทีมงานคอลัมน์ “คลินิกกองทุนรวม” ได้ทิ้งท้ายคำถามเรื่องประเด็นภาษีเอาไว้ ซึ่งที่ผ่านมา ก็มีคำถามในลักษณะเดียวกันส่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทีมงานพยายามจะคัดเลือก และส่งคำถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตอบให้ ครั้งนี้ก็เช่นกัน เราได้รับเกียรติจาก คุณกรเอก อุ่นปิติพงษา ผู้จัดการส่วนที่ปรึกษาการลงทุน บลจ.กรุงศรี มาเป็นผู้ไขข้อข้องใจในครั้งนี้

    ส่วนท่านใดมีคำถามก็สามารถส่งคำถามมาได้ที่ mgrfund@gmail.com เช่นเดิม

    คำถาม- ดิฉันปัจจุบันอายุ 59ปี (เกิด พ.ศ.2498)

    - ลงทุน RMF มาตลอดตั้งแต่ปี 2552 ปีละ 100,000฿ เท่ากันทุกปี

    - ทราบจากเพื่อนขายคืนได้ เพราะอายุเกิน 55ปี แล้ว จึงตัดขายไป 100,000฿ ของปีลงทุน 2552

    ปรากฏว่า เงินได้รับไม่ครบ 100,000฿ ที่ขายไป ทราบทีหลังว่า ขายผิดเงื่อนไข จึงเสีย 3% ของกำไร

    ?? ช่วยตอบหน่อยคะว่า ดิฉันต้องเสียสิทธิอะไบ้าง และต้องทำอย่างไรต่อสรรพากร (กังวลมากเลยค่ะ)??

    ปีลงทุน 2552 : 100,000 บาท

    ปีลงทุน 2553 : 100,000 บาท

    ปีลงทุน 2554 : 100,000 บาท

    ปีลงทุน 2555 : 100,000 บาท

    ปีลงทุน 2556 : 100,000 บาท

    ปีลงทุน 2557 : 100,000 + ขาย 100,000 บาท

    คำตอบ- การขายคืนหน่วยลงทุน RMF ทำได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก การนับ 5 ปี ให้นับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น กล่าวคือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีอายุการลงทุนในปีนั้นๆ


    ในกรณีที่ท่านลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข ท่านต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดไปจากปีที่ผิดเงื่อนไข

    ในกรณีนี้ที่ท่านได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลงทุนตั้งแต่ในปี 2557 ท่านมีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนจากเงินลงทุนใน RMF ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี ไปคืนให้กับกรมสรรพากรโดยการยื่นขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2557 เสียใหม่ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558

    ทั้งนี้ หากมีการคืนภาษีภายหลังวันที่ 31 มีนาคม 2558 ท่านจะต้องคืนเงินพร้อมเบี้ยปรับเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนคิดย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 มาจนถึงวันคืนภาษี โดยเศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน แต่จะมีมูลค่าสูงสุดไม่เกิน 1 เท่าของภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนนั้นท่านต้องคืนภาษีย้อนหลังที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้อกองทุนรวม RMF ตั้งแต่ปี 2552 โดยต้องคืนเงินภาษีทั้งหมดภายในเดือนมีนาคม 2558

    อย่างไรก็ตาม ท่านควรตรวจสอบข้อมูลการซื้อขายกองทุน RMF อย่างละเอียด เช่น ตรวจสอบวันที่ซื้อหน่วยลงทุน RMF วันที่ซื้อครั้งแรก จนถึงวันที่ท่านขายหน่วยลงทุนว่าครบ 5 ปีเต็มหรือไม่ เช่น ถ้าซื้อหน่วยลงทุนในวันที่ 2 ม.ค.2552 ท่านจะสามารถขายหน่วยลงทุนหลังวันที่ 2 ม.ค. 2557 จึงจะถือว่าลงทุนครบ 5 ปี

    และในขณะที่ขายหน่วยลงทุน คุณต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ หรือในบางกรณีนักลงทุนบางท่านอาจจะยื่นเอกสารหลักฐานในการซื้อกองทุน RMF ไม่ครบ ทาง บลจ. อาจจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ไว้ หรือสอบถามทาง บลจ. ที่ท่านลงทุนอีกครั้งเพื่อสอบถามถึงสาเหตุของการขายแบบผิดเงื่อนไขครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • rmf01.png
      rmf01.png
      ขนาดไฟล์:
      233.7 KB
      เปิดดู:
      156
    • rmf02.png
      rmf02.png
      ขนาดไฟล์:
      68.8 KB
      เปิดดู:
      49
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    @มาแล้วครับ การ์ตูนแอนนิเมชั่น พระมหาชนก ครบทั้ง 7 ตอนเลย
    (ไม่ต้องรอดูทางทีวีกันแล้วครับ)

    http://youtu.be/ezknIe3ZkDo
    พระมหาชนก EP.1: -http://youtu.be/ezknIe3ZkDo-


    http://youtu.be/HcW3TmNfY7U
    พระมหาชนก EP.2: -http://youtu.be/HcW3TmNfY7U-


    http://youtu.be/cbfSisqQ4Gc
    พระมหาชนก EP.3: -http://youtu.be/cbfSisqQ4Gc-


    http://youtu.be/eGsFklaIABU
    พระมหาชนก EP.4: -http://youtu.be/eGsFklaIABU-


    http://youtu.be/gKVvYhSXszI
    พระมหาชนก EP.5: -http://youtu.be/gKVvYhSXszI-


    พระมหาชนก EP.6 - YouTube
    พระมหาชนก EP.6: -http://youtu.be/Im8BxLxOqJk-


    http://youtu.be/Xq3cEYPOJQY
    พระมหาชนก EP.7 จบ: -http://youtu.be/Xq3cEYPOJQY-


    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ลดภาษีเฮือกสุดท้าย (ตอนที่ 1)

    -http://money.sanook.com/238241/%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1/-

    [​IMG]

    ช่วงสิ้นปีแบบนี้หลายคนเริ่มคำนวณคร่าวๆได้แล้วว่าตลอดทั้งปีที่ผ่านมาว่าตนเองมีรายได้เท่าไหร่ ทำให้คำนวณแนวโน้มว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ บางคนคิดว่าตนเองรายได้ไม่มาก แต่ละเดือนก็แทบจะไม่พอใช้ พอเห็นตัวเลขที่ต้องเสียภาษีกลับมีตัวเลขที่ออกมาทำให้ร้อนๆหนาวๆ เพราะไม่คิดว่าจะต้องเสียภาษีสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว

    ในช่วงที่ผ่านมารายได้มากขึ้น แต่ทำไมถึงไม่พอใช้ โจทย์นี้ต้องแก้ไขที่พฤติกรรมการใช้เงินของตนเองที่ต้องจัดระเบียบรายจ่ายให้ดีกว่านี้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้มันผ่านไปแล้วกลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นตอนนี้และในอนาคต คือ การจัดระเบียบการใช้เงินและการออมเงิน ที่ตอนนี้เราเลือกได้ว่าจะจ่ายภาษีเต็มจำนวนหรือหาวิธีเปลี่ยนภาษีเป็นเงินออม

    [​IMG]

    การลงทุนที่ส่งเสริมให้คนไทยออมเงินผนวกกับช่วยเรื่องประหยัดภาษีมี 2 ทางเลือก คือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก่อนตัดสินใจลงทุน เรามาทบทวนหลักเกณฑ์กันนิดนึงนะจ๊ะ

    สรุปหลักเกณฑ์การซื้อ LTF
    1. การลงทุนขั้นต่ำขึ้นอยู่กับแต่ละ บลจ. กำหนด
    2. การลงทุนได้สูงสุด 15% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
    3. ครบกำหนด 5 ปีปฎิทิน จึงจะขายได้ ถ้าไม่ขายก็ถือลงทุนต่อไปได้
    4. ซื้อปีไหนก็ลดหย่อนปีนั้น (ซื้อลดหย่อนปีสุดท้ายในปี 2559)

    สรุปหลักเกณฑ์การซื้อ RMF
    1. ลงทุนขั้นต่ำมากกว่า 3% ของรายได้ทั้งปีหรือปีละ 5,000 บาท แล้วแต่ว่าจำนวนไหนต่ำกว่า
    2. ลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมกับ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. ประกันชีวิตชนิดบำนาญและกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
    3. ขายได้เมื่ออายุเกิน 55 ปีบริบูรณ์และถือ RMF มากกว่า 5 ปีขึ้นไปตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก


    เมื่อเรารู้แล้วว่าหลักเกณฑ์การซื้อกองทุนรวมเพื่อลดหย่อยภาษีมีอะไรบ้าง ก็ต้องมาดูต่อว่าจะมีวิธีเลือกซื้อ LTF หรือ RMF อย่างไรให้ตรงใจเรามากที่สุด ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้ที่งาน “มหกรรมมีใช้ตอนแก่ด้วย LTF-RMF” ระหว่างวันที่ 18 – 21 ธันวาคม 2557 ณ โซนอีเดน Central World จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้ที่ Thai Mutual Fund News

    ผู้เขียน : อภินิหารเงินออม
    สนับสนุนข้อมูลโดย : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (I'm Online Investor)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • tax01.png
      tax01.png
      ขนาดไฟล์:
      299.6 KB
      เปิดดู:
      40
    • tax02.png
      tax02.png
      ขนาดไฟล์:
      352.5 KB
      เปิดดู:
      67
    • tax03.png
      tax03.png
      ขนาดไฟล์:
      53.4 KB
      เปิดดู:
      35
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เมื่อวานนี้(8/12/2557) ผมได้รับโทรศัพท์ จากเบอร์ 0891041569 โทร.เข้ามาที่มือถือผม แจ้งว่า โทร.มาจากทรูวิชั่น จะมาเสนอโปรโมชั่นที่ได้รับการลดราคา จากเดิม ที่ผมใช้โปร.เน็ต 699 และมือถือ 299 บ. ได้รับการลดราคาลง 200 บาท แต่ต้องเปลี่ยนกล่องสัญญาณอินเตอร์เน็ต จาก 1 m เป๋น 30 m ผมก็ตอบตกลง แต่ผมไม่ได้บอกที่อยู่ให้ทราบ ทางสายที่โทร.เข้ามา ถามว่า ผมสดวกให้ไปวันไหน ผมตอบว่า ผมสดวกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ทางที่โทร.เข้ามา ถามว่า วันพุธที่ 10 นี้ หยุดหรือเปล่า ผมตอบว่า หยุด ทางที่โทร.เข้ามา แจ้งว่า จะส่งช่างเข้ามาเปลี่ยนกล่องสัญญาณ เวลาที่ช่างเข้ามา ประมาณ 9.00-12.00 น.

    วันนี้ ผมโทร.เข้าไปสอบถามที่ทรูวิชั่น เบอร์ 0-2900-9000 (กด 4 , กด 2) ผมจำคนรับโทรศัพท์ไม่ได้ แต่ผมจดไว้ (ลืมไว้ที่ทำงาน) ทางCall Center แจ้งว่า ทางทรูไม่มีการแจ้งงานออกให้ข่างในเรื่องนี้ หากทรูจะโทร.เข้ามา จะต้องแจ้งรายละเอียดในเรื่องการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่น ที่อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และสามารถสอบถามรหัสพนักงาน (เป็นเลข 8 หลัก หากเป็นCall Center จะขึ้นต้นด้วย 010 เป็นต้น) ผมเองถามย้ำไปหลายครั้ง ทาง Call Center แจ้งกลับมาทุกครั้งว่า ไม่มีการแจกงานนี้ออกไปที่ช่างครับ

    หลังจากที่โทร.ไปที่ทรูวิชั่น 0-2900-9000 แล้ว ผมโทร.กลับไปที่เบอร์ 0891041569 3 ครั้ง ไม่รับสายผมทั้ง 3 ครั้ง เมื่อกี้นี้ ผมแวะจอดรถที่หน้าป้อมยามหมู่บ้าน แจ้งเรื่องนี้ให้ทางยามได้ทราบไว้ด้วยแล้ว
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สาวถูกขโมยไอโฟน โดนแชทขู่กรรโชกขอ Apple ID แลกขายคืน 5,000

    -http://hilight.kapook.com/view/112580-

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ BenBerry สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

    สาวถูกขโมยไอโฟน โดนแชทขู่กรรโชกขอ Apple ID อ้างเป็นคนรับซื้อโทรศัพท์ไว้ ถ้าอยากได้คืนขอรหัสก่อน ค่อยมาซื้อเครื่องคืน 5,000 บาท

    เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา ในโลกออนไลน์ได้มีการแชร์กระทู้ "ไอโฟน 5s หาย แล้วมีคนที่รับซื้อไว้ทักแชทมา เพื่อนพันทิปคิดว่าไงสมควรไหม" ของ คุณ BenBerry สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ซึ่งเจ้าของกระทู้ได้บอกเล่าเรื่องราวของคนรู้จักที่ทำโทรศัพท์หาย โดยมีคนทักแชทมาหาเจ้าของโทรศัพท์ที่หายไป อ้างตัวว่าเป็นร้านรับซื้อโทรศัพท์มือสอง ถ้าหากต้องการโทรศัพท์คืน ขอรหัส Apple ID ก่อน แล้วจะขายเครื่องคืนให้ในราคา 5,000 บาท ซึ่งทางเจ้าของโทรศัพท์บอกว่า ไม่สามารถให้ Apple ID ทางคู่สนทนาก็ตอบกลับในลักษณะขู่ว่า ถ้าไม่ให้รหัสก็จะล้างเครื่องทั้งหมด และจะไม่ขายคืนให้ด้วย แม้ว่าเจ้าของจะอ้อนวอนเพราะโทรศัพท์เครื่องนี้มีความหมายกับเธอมาก เป็นโทรศัพท์ของพี่ชายที่เสียชีวิตทิ้งไว้ให้ แต่นั่นก็ไม่เป็นผล อีกฝ่ายยังคงต่อรองขอ Apple ID อยู่ตลอดการสนทนา และเมื่อถามว่า ร้านอยู่ที่ใด ทางคู่สนทนาก็ระบุว่า เป็นร้านโทรศัพท์หน้าคงคาราม (เหตุเกิดที่ จ.เพชรบุรี)



    ทางด้านชาวเน็ตที่เข้ามาแสดงความเห็นในกระทู้ดังกล่าว ต่างคิดกันว่า คนที่สนทนาอยู่นั้น ไม่น่าใช่ร้านรับซื้อโทรศัพท์มือสอง แต่คือ "คนขโมยโทรศัพท์" ที่ต้องการรหัส Apple ID เพื่อล้างเครื่อง และนำไปขายต่อมากกว่า พร้อมกับเตือนเจ้าของโทรศัพท์ อย่าให้ Apple ID ไปเด็ดขาด และแนะนำให้ไปแจ้งความจับคนร้ายรายนี้ให้ได้ เนื่องจากมีหลักฐานในการสนทนาชัดเจน

    ทั้งนี้ในเวลาต่อมา เจ้าของกระทู้ได้มาอัพเดทความคืบหน้า ระบุว่า

    ต้องแจ้งทุกคนทราบนะคะ

    1. เราได้แจ้งความแล้วตั้งแต่ที่ได้รับการติดต่อจากเขา

    2. เราพยายามฟินไอโฟน ตลอดแต่เขาออฟไลน์

    3. เราได้พยายามตามหาร้านที่เขาได้บอกเราไว้แล้วและทางร้านได้ออกมาปฏิเสธตามที่ได้โพสต์ไปในกระทู้

    4. เราแจ้งไปยังแอปเปิลที่สิงคโปร์แล้วค่ะ

    ขอบคุณทุกคนมากนะค่ะ ที่ช่วยเราทุกความเห็นมีประโยชน์มากค่ะ

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • iphone01.jpg.jpg
      iphone01.jpg.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.8 KB
      เปิดดู:
      30
    • iphone02.jpg
      iphone02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.6 KB
      เปิดดู:
      33
    • iphone03.jpg
      iphone03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67 KB
      เปิดดู:
      32
    • iphone04.jpg
      iphone04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.1 KB
      เปิดดู:
      28
    • iphone05.jpg
      iphone05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.3 KB
      เปิดดู:
      31
    • iphone06.jpg
      iphone06.jpg
      ขนาดไฟล์:
      64.9 KB
      เปิดดู:
      26
    • iphone07.jpg
      iphone07.jpg
      ขนาดไฟล์:
      71.1 KB
      เปิดดู:
      33
    • iphone08.jpg
      iphone08.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.9 KB
      เปิดดู:
      43
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    10 พฤติกรรมขับรถของคนญี่ปุ่นทำคนไทยอึ้ง!

    -http://auto.sanook.com/11209/10-%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%87/-


    เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องทั้งเรื่องของมารยาท, ความมีวินัย, การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ฯลฯ ซึ่งไม่เพียงแต่การต่อแถวเข้าคิว หรือมารยาทอันดีงามของคนญี่ปุ่นเท่านั้น แต่รวมไปถึงพฤติกรรมการขับรถของคนญี่ปุ่นด้วย

    เมื่อ Sanook!Auto ได้มีโอกาสได้เยือนดินแดนอาทิตย์อุทัยแห่งนี้ จึงไม่พลาดที่จะนำประสบการณ์ของการขับรถในญี่ปุ่นมาเล่าสู่กันฟังครับ


    1.มารยาทการขับรถยอดเยี่ยม

    คนญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องของมารยาทอยู่แล้ว ไม่เว้นแม้แต่การขับรถ ยกตัวอย่างเช่น การหยุดรถเพื่อให้ทางรถคันอื่นไปก่อน เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป (จนบางครั้งแทบจะนึกว่าบ้านเมืองเขาไม่ได้รีบร้อนกันเลยหรืออย่างไร) หรือแม้แต่การ การเบียด แทรก แซงคิวหน้าสี่แยก แทบจะไม่เคยเห็นเลยตลอดเวลาที่อยู่ในญี่ปุ่น

    อีกสิ่งหนึ่งที่น่าชื่นชม คือ บ้านเขาไม่มีการเปิดเลนพิเศษโดยเด็ดขาด แม้ว่ารถจะติดแค่ไหนก็ตาม เช่น บนทางด่วน หรือ ทางหลวงเข้าเมือง เป็นต้น ไม่ว่าการจราจรจะติดสาหัสแค่ไหน เขาก็จะขับตามกันไปเรื่อยๆ ไม่มีการขับลงไหล่ทางแบบบ้านเราแม้แต่คันเดียว



    2.รถบรรทุกวิ่งขวาได้

    เป็นสิ่งที่สร้างความประหลาดใจอยู่ไม่น้อย เพราะประเทศที่เจริญแล้วกลับอนุญาตให้รถบรรทุก สามารถวิ่งในช่องทางขวาได้ และไม่ใช่เพื่อการแซงเท่านั้น คือหากสามารถขับได้เร็วพอๆกับรถเก๋ง ก็สามารถวิ่งยาวๆได้ตลอด ต่างกับบ้านเราที่รถบรรทุกต้องวิ่งในเลนซ้ายเท่านั้น

    แต่มีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง คือ รถบรรทุกส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นมีขนาดเล็ก (ส่วนมากจะเป็นรถ 4 ล้อ และ 6 ล้อ) ซึ่งสามารถทำความเร็วได้ง่ายกว่ารถบรรทุก 10 ล้อที่มีน้ำหนักมาก


    [​IMG]
    แม้จะตีเส้นทึบห่างจากทางม้าลายแค่ไหน ก็ไม่มีการล้ำเส้นเด็ดขาด



    3.ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

    ชาวญี่ปุ่นเคร่งกับวินัยจราจรมาก เช่น การขับรถด้วยความเร็วตามที่กฏหมายกำหนด โดยทั่วไปความเร็วสูงสุดของญี่ปุ่นจำกัดเพียงแค่ 60 กม./ชม.เท่านั้น ยกเว้นทางหลวงข้ามจังหวัดที่อนุโลมให้ถึง 100 กม./ชม. (บ้านเราอนุโลมให้สูงสุด 120 กม./ชม) ซึ่งการขับขี่ด้วยความเร็วระดับนี้ ทำให้แต่ละความเร็วของรถในแต่ละเลนไม่ต่างกันมาก จุดนี้เองทำให้รถบรรทุกสามารถวิ่งเลนขวาได้สบายๆ ไม่กระทบการจราจร

    นอกจากนั้น ชาวญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับเส้นแบ่งจราจรมาก หากรถคันไหนจะเลี้ยวขวา ก็จะอยู่ในเลนเลี้ยวขวาเท่านั้น จะไม่มีการตัดแถวเปิดเลนใหม่โดยเด็ดขาด แม้ว่าหางแถวจะยาวแค่ไหนก็ตาม



    4.ไม่ขับรถจี้ตูด

    หากใครใช้รถใช้ถนนอยู่เป็นประจำ คงต้องเคยเห็นกันบ้างกับรถประเภทที่ใช้ความเร็วสูง ขับปาดไปปาดมาตลอดทาง หากช่วงไหนแซงไม่ได้ก็จะขับรถจี้ก้นคันหน้า เพื่อให้หลบซ้ายไป ขณะที่สิ่งเหล่านี้พบได้น้อยมากในญี่ปุ่น เนื่องจากทุกคันใช้ความเร็วตามกฏหมาย จึงมักเห็นรถขับตามๆกันไปเรื่อยๆตลอดทาง



    5.ชอบใช้รถขนาดเล็ก

    แม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก แต่ชาวญี่ปุ่นยังคงเลือกใช้รถขนาดเล็ก ประเภทเครื่องยนต์ความจุ 1.0 ลิตร ไปจนถึง 1.5 ลิตร รวมไปถึงรถกลุ่ม Kei Car ความจุเครื่องยนต์ 660 ซีซี ก็สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ขณะที่รถยนต์แบบไฮบริดก็กำลังกลายเป็นที่นิยมของคนญี่ปุ่นอย่างมากในขณะนี้

    ส่วนรถที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2,000 ซีซีขึ้นไป รวมถึงรถยุโรปหรูๆทั้งหลาย กลับพบเห็นในบ้านเรามากกว่าที่ญี่ปุ่นเสียอีก



    6.ชาวญี่ปุ่นไม่ค่อยแต่งรถ

    รถที่วิ่งทั่วไปบนท้องถนนในญี่ปุ่นนั้น ส่วนใหญ่จะมีหน้าตาแบบเดิมๆที่ออกมาจากโรงงานกันเลย รถแต่งในญี่ปุ่นถือว่าเข้าขั้นหายาก (แม้ว่าบางครั้งจะเห็นเกลื่อนกลาดในหนังก็ตาม) ขณะที่บ้านเรานั้น อย่างน้อยๆก็ต้องจับติดสเกิร์ตรอบคัน เปลี่ยนล้อแม็ก เป็นต้น การเห็นรถญี่ปุ่นติดตั้งล้อกะทะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามาก




    7.จอดรถเป็นระเบียบ ไม่เกะกะ

    หลายคนอาจทราบดีอยู่แล้วว่า การซื้อรถในญี่ปุ่น ผู้ซื้อจำเป็นต้องมีที่จอดรถเป็นของตัวเองก่อนจึงจะสามารถซื้อได้ ซึ่งรถทุกคันก็จะจอดในที่ของตัวเองอย่างเรียบร้อย ไม่มีการจอดรถกีดขวางจราจรตามฟุตบาทเด็ดขาด สิ่งหนึ่งคงเป็นเพราะถนนบ้านเขาแคบกว่าบ้านเรา หากมีใครจอดรถริมถนนแล้ว จะทำให้รถติดขึ้นอย่างแน่นอน



    8.รถหรูพวงมาลัยซ้ายพบเห็นได้ทั่วไป

    รถพวงมาลัยซ้ายในประเทศญี่ปุ่นนั้น สามารถพบเห็นได้บ่อยมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเป็นรถนำเข้าหรูๆราคาแพงอย่าง 'Porsche', 'Cadillac' หรือ 'Mercedes-Benz' ตระกูล '63 AMG' เป็นต้น

    ขอแอบเมาท์ว่า รถซุปเปอร์คาร์อย่างปอร์เช่ ลัมโบกินี่ หรือ เมอเซเดสเบนซ์รุ่นแพงๆนั้น กลับเห็นวิ่งตามท้องถนนในบ้านเราบ่อยกว่าที่ญี่ปุ่นเสียอีก



    9.อีซี่พาสแบบไม่ต้องชลอรถ

    ทางด่วนในประเทศญี่ปุ่นนั้น จะมีช่องจ่ายค่าทางด่วนที่มีลักษณะคล้ายอีซี่พาสในบ้านเรา เรียกว่า ETC (Electronic Toll Collection) แต่เหนือกว่าตรงที่ไม่ต้องชลอรถ คือสามารถขับผ่านไปได้เลย ไม่ต้องมาลุ้นว่าไม้กั้นจะเปิดหรือไม่





    10.บิ๊กไบค์เปรียบเสมือนรถหนึ่งคัน

    ที่ญี่ปุ่นนั้น มอเตอร์ไซค์หรือบิ๊กไบค์จะถูกมองเสมือนเป็นรถยนต์หนึ่งคัน ฉะนั้นชาวไบค์เกอร์ที่นั่น จะต้องขับตามการจราจรไปเรื่อยๆ ไม่มีการปาดซ้ายปาดขวา หากรถคันหน้าหยุด ก็ต้องหยุดตาม รวมไปถึงทางหลวงที่แม้ว่าการจราจรจะติดขัดขนาดไหน ไบค์เกอร์ที่นั่นจะไม่มีการขับบนไหล่ทางเด็ดขาด



    ขอบคุณภาพประกอบจาก ResponseJP
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    AIMC แจงลดหย่อนภาษี LTF ยังอยู่ถึงปี 59 ส่วนการต่ออายุอยู่ในช่วงพิจารณาของ ก.คลัง
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

    -http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000141878-


    AIMC ทำหนังสือแจงสื่อมวลชน หลังเกิดข่าวลือว่าสิทธิยกเลิกภาษีของกองทุน LTF ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ล่าสุดให้ความมั่นใจว่าการลดหย่อนภาษี LTF ยังอยู่ถึงปี 2559 ส่วนการต่ออายุภาษีนั้นยังอยู่ในช่วงพิจารณาของกระทรวงการคลัง

    นายเอกชัย จงวิศาล เลขาธิการสมาคมและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ AIMC ได้ทำหนังสือชี้แจงว่า เนื่องจากมีผู้สอบถามมาเป็นจำนวนมากว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในปีนี้หรือไม่

    ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุนจึงขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน LTF จะยังคงมีอยู่ตามประกาศเดิมไปจนถึงสิ้นปี 2559

    ส่วนเรื่องการขยายอายุออกไปนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีรายได้มีการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุที่เพียงพอต่อไป

    [​IMG]
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • aimc-ltf.png
      aimc-ltf.png
      ขนาดไฟล์:
      604.6 KB
      เปิดดู:
      349
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    -http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=876&id=3694-

    หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

    ที่มา
    การขยายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบโดยผลักดันร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ฉบับแก้ไข เพื่อรัฐร่วมจ่ายในมาตรา 40 และแก้ไขพระราชกฤษฎีกา เพื่อพัฒนาสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 ให้เป็นที่จูงใจ โดยเป็นระบบสมัครใจ

    ความหมาย
    ผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 เรียกว่า ผู้ประกันตนโดยอิสระ

    คุณสมบัติผู้สมัคร

    อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
    บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม
    เฉพาะปีแรก (มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ธันวาคม 2556 - วันที่ 8 ธันวาคม 2557) เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่มีอายุ 60-65 ปี สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ทุกทางเลือก
    สำหรับผู้สมัครที่มีอายุเกินกว่า 65 ปี เฉพาะปีแรก (มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ธันวาคม 2556 - วันที่ 8 ธันวาคม 2557) สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้เฉพาะทางเลือก 3 เท่านั้น และไม่มีสิทธิเปลี่ยนทางเลือก

    หลักฐานการสมัคร

    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ (ใบอนุญาตขับขี่รถ)

    สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศเลือกทางเลือกใน การจ่ายเงินสมทบได้ 3 ทางเลือก คือ

    ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (จ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)

    ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)

    ทางเลือกที่ 3 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

    ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 200 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 100 บาท)

    ทางเลือกที่ 1 และทางเลือก 3 (1+3) จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน (จ่ายเอง 170 บาท รัฐสนับสนุน 130 บาท)

    ทางเลือกที่ 2 และทางเลือก 3 (2+3) จ่ายเงินสมทบ 350 บาท/เดือน (จ่ายเอง 200 บาท รัฐสนับสนุน 150 บาท)

    หมายเหตุ

    รัฐสนับสนุนในระยะแรกทั้งนี้ จนกว่าสำนักงานประกันสังคมจะประกาศเป็นอย่างอื่น
    ทั้งนี้ ในการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้
    ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่ประสงค์รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน ยกเว้น กรณีทางเลือกที่ 5 (2+3) สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
    ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่เลือกความคุ้มครองทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2555 แต่ต้องจ่ายในระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2556 ถึง วันที่ 8 ธันวาคม 2557

    การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล

    เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้วหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านาม ชื่อ - สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ หรือแจ้งความไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนต่อไป (ลาออก) เป็นต้น ให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม
    กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยเมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลทางเลือกแล้วจะมีผลในเดือนถัดไป

    ประโยชน์ทางภาษี

    เงินสมทบในแต่ละปี ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน หรือขอหนังสือรับรองการชำระเงินสมทบจากสำนักงานประกันสังคม

    สิทธิประโยชน์พื้นฐาน

    กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

    กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์)

    กรณีตาย จะได้รับค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต ยกเว้น เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต

    กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) ผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

    กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

    - ผู้ประกันตนสามารถรับเงินบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

    - ต้องจ่ายเงินสมทบถึงบำนาญขั้นต่ำหรือไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำเดือนละ 600 บาท ตลอดชีวิต

    ทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณ เพื่อสิทธิประโยชน์ดังกล่าวสำนักงานประกันสังคมขอเสนอทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณด้วย ชุดสิทธิประโยชน์ ดังนี้

    ทางเลือกที่ 1 (จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน)

    สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

    ทางเลือกที่ 2 (จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน)

    สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)

    ทางเลือกที่ 3 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

    ทางเลือกที่ 3

    สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 1 กรณี คือ กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

    ทางเลือกที่ 1 และทางเลือก 3 (1+3)

    สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/จ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

    ทางเลือกที่ 2 และทางเลือก 3 (2+3)

    สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/จ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ)

    วิธีการนำส่งเงินสมทบ
    จ่ายเป็นเงินสด

    สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
    หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม
    เคาน์เตอร์เซอร์วิส
    เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำักัด (มหาชน)
    ห้างเทสโก้โลตัส
    ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)

    หักผ่านบัญชีธนาคาร

    ธนาคารเพื่่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
    ธนาคารออมสิน
    ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

    หมายเหตุ การชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสจะเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 10 บาท ในส่วนการชำระผ่านการหักธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จะมีค่าธรรมเนียม 5 บาทต่อครั้ง โดยจะได้รับใบเสร็จรับเงินทันที แต่ผู้ประกันตนที่ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสต้องนำใบเสร็จรับเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ออกให้พร้อม สมุดนำส่งเงินสมทบมาตรา 40 ไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ทำการบันทึกข้อมูลในสมุดนำส่งเงินสมทบ เนื่องจากต้องใช้ประกอบการยื่นเรื่องเมื่อมีการรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ

    เอกสารประกอบการสมัคร

    แบบการขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 (สปส.1-40)
    บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

    สถานที่ในการขึ้นทะเบียน

    สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
    หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม

    ข้อมูล ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2557
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • sso40 -1.png
      sso40 -1.png
      ขนาดไฟล์:
      96.7 KB
      เปิดดู:
      48
    • sso40 -2.png
      sso40 -2.png
      ขนาดไฟล์:
      100.6 KB
      เปิดดู:
      38
    • sso40 -3.png
      sso40 -3.png
      ขนาดไฟล์:
      79.6 KB
      เปิดดู:
      48

แชร์หน้านี้

Loading...