พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นั่งฟังข่าวช่อง 3

    เจ้าของบ่อปลา ที่ประสบกับความเดือดร้อน สามีเจ้าของบ่อปลา เป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตก เป็นหนี้อยู่ 2 ล้านกว่าบาท

    ภรรยา และ ลูก ก็ต้องนำปลา มาขาย เพื่อประทังชีวิต และ คงนำไปปลดหนี้บางส่วน(ผมคิดเอง)

    แต่ยังมีคนที่ไปลักปลา ด้วยวิธีการต่างๆ

    คนพวกนี้ก็รกแผ่นดิน อยู่ไปก็ไร้ค่าครับ

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    'ต้านภัยน้ำท่วม2-4 เดือน'

    'ต้านภัยน้ำท่วม2-4 เดือน':บ้านไม่บาน

    [​IMG]

    [​IMG]




    สวัสดีครับแฟนๆ ชาว “คนรักบ้าน” มาว่ากันต่อถึง การออกแบบ “บ้านไม่บานต้านภัยน้ำท่วม 2- 4 เดือน” ที่ผมและทีมงาน สถาปนิก, วิศวกร และ นักวางผัง ของ “บ้านไม่ บาน” ได้โหมงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ ตั้งแต่เมื่อต้นเดือนที่แล้ว และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เริ่มเดินสายบรรยายตาม “ศูนย์ผู้อพยพฯ” ต่างๆ ยิ่งผมได้มีโอกาสประสบกับผู้ประสบภัยจริง ก็ยิ่งรู้สึกหดหู่ใจเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะเห็นทั้งลูกเด็กเล็กแดง ตลอดจนบรรดาผู้สูงอายุต้องอพยพหนีน้ำมาอยู่กันอย่างแออัดยัดเยียด เบียดเสียดกันอยู่ใน “ศูนย์อพยพฯ” นานนับเดือนบางรายย้ายหนีน้ำกันไปหลายศูนย์ ทั้งยังไม่รู้อนาคตว่าจะได้กลับบ้านเมื่อไหร่ บางท่านถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัวไม่มีทรัพย์สินอะไรเหลือ บางท่านมีแต่ผ้าซิ่นติดตัวผืนเดียว อพยพหนีตายกันเอาดาบหน้า


    จากการที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับ “เพื่อนร่วมทุกข์” เหล่านี้เป็นระยะเวลานานกว่า 7-8 ชั่วโมง (ตั้งแต่เช้าจรดเย็น) ทำให้ “ดวงตาเห็นธรรม” ครับ ทำให้ตระหนักดีว่าในโลกทุกวันนี้ล้วนเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนเป็นอย่างยิ่ง อะไรที่ไม่เคยคาดคิดก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ ผมได้แต่ปลอบประโลมชาว “คนรักบ้าน” เหล่านี้ว่า “เสียอะไรก็เสียเถิด แต่อย่าใจเสียเป็นอันขาด” ขอให้ยึดเอา “ศาสตร์ของพระราชา” ที่ “พ่อหลวง” ทรงสอนพวกเราไว้ หากยามใดเกิดอาการท้อแท้เพื่อให้มีกำลังใจ อยากให้ไปอ่าน บทพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” ของพระองค์ท่านที่ว่าด้วย “ความเพียรอันบริสุทธิ์และสติ + ปัญญาที่เฉลียวฉลาด” ก็จะสามารถก้าวข้ามอุปสรรคทั้งมวลไปได้

    ขอเพียงแค่อย่ายอมแพ้ ท่องไว้ในใจเสมอว่าจะสู้จนสุดความสามารถเพื่อ “ปรับปรุงฟื้นฟูและซ่อมสร้างบ้านเรือนที่น้ำท่วม” ขึ้นมาใหม่ให้ดีกว่าเดิมครับหลายสิบหลายร้อยเท่า

    ในการเดินสายบรรยายและเยี่ยมเยือนผู้ประสบภัยในครั้งนี้ ผมได้นำแบบ “บ้านไม่บานต้านภัยน้ำท่วม 2-4 เดือน” ที่ผมและทีมงานได้ออกแบบขึ้น นำไปเผยแพร่แจกแบบฟรีแก่ผู้สนใจ บางครอบครัวเห็นแบบ “บ้านไม่บาน” เหล่านี้ ถึงกับกลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่ ร้องไห้ปล่อยโฮต่อหน้าผม เหมือนกับได้ระบายความอัดอั้นตันใจ เพราะบ้านแสนรักของพวกเขาที่กำลังจมน้ำไม่รู้ว่าจะตกอยู่ในสภาพเช่นไรและจะได้กลับไปเมื่อไร ก็เข้าใจครับ เพราะจะว่าไปแล้วบ้านผมก็ถูกน้ำท่วมเหมือนกันถึงแม้ว่าจะไม่หนักหนาสาหัสเท่ากับบ้านของท่านเหล่านี้ แต่ก็อยู่ในสภาวะใกล้เคียงกันครับ

    สำหรับในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอ “บ้านไม่บานต้านภัยน้ำท่วม” โดยผมตั้งใจว่าจะออกแบบ “บ้านไม่บาน” หลังนี้ให้สามารถอยู่สู้กับน้ำได้อย่างน้อย 2-4 เดือน อย่างทระนงองอาจ แม้ “ระบบไฟฟ้า” ที่ใช้ในบ้านก็ จะติดตั้ง “เครื่องปั่นไฟฉุกเฉิน” รวมทั้งใช้ระบบ “โซล่าเซล” (พลังงานแสงอาทิตย์) เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เอง โดยไม่ง้อไฟจาก “การไฟฟ้า”

    นอกจากนั้น “บ้านไม่ บาน” หลังนี้ยังถูกออกแบบให้มีระบบไฟฟ้าแยกเป็นส่วนๆ ทำให้สามารถตัดไฟได้เป็นโซนเพื่อจะได้ไม่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร จนเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้ง “ระบบถังบำบัดน้ำเสีย” ก็ได้รับการออกแบบให้เป็น “ระบบแยกส่วน” สามารถใช้งานได้ดี ถึงแม้น้ำจะท่วมจนมิดชั้นล่าง และยังเป็น “บ้านไม่ บาน” ที่ได้รับการออกแบบให้ยกพื้นชั้นหนึ่งสูงอย่างน้อย 3 เมตร อีกทั้งออกแบบให้มี “รอกทดแรง” ที่สามารถยกรถยนต์ขึ้นมาเก็บในระดับที่ปลอดภัยเมื่อน้ำหลากท่วม โดยออกแบบให้ยกรถหนีน้ำได้ในเวลา 2-3 ชั่วโมง จากการใช้ระบบ “รอกทดแรง” แบบง่ายๆ ที่มีราคาย่อมเยาเพราะรถยนต์ 1 คันจะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 1.2-1.5 ตัน ก็ไม่ถึงกับมีน้ำหนักมากมายเท่าไรครับ

    จุดเด่นของ “บ้านไม่บาน” หลังนี้ อีกประการหนึ่งนอกเหนือจาก “ระบบกรองน้ำ” ไว้ใช้ในยามน้ำท่วม เพื่อการอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอสำหรับบรรดาสมาชิกภายในบ้าน คือ บริเวณเก็บสัมภาระใต้หลังคา สำหรับเก็บ ข้าวสาร อาหารแห้ง รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นเก็บไว้กินไว้ใช้ในช่วงเวลาฉุกเฉิน ทำให้ไม่ต้องง้อ “ถุงยังชีพ” แต่ประการใด และจุดเด่นอีกประการหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของใครต่อใครคือบริเวณ “ศาลาท่าน้ำ” เพราะหากน้ำท่วมเป็นเวลาหลายเดือนจำเป็นต้องมีบริเวณพักผ่อนหย่อนใจคลายเครียด เอาไว้นั่งเล่นกินลม ชื่นชมสายน้ำ

    สำหรับรายละเอียดของ “บ้านไม่บานต้านภัยน้ำท่วม 2-4 เดือน” หลังนี้ยังมีสาระน่ารู้อีกมากครับ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในหลายรูปแบบของ “บ้านไม่บานต้านภัยน้ำท่วม” ของผมที่เตรียมไว้ “ซับน้ำตา” บรรดาผู้ประสบอุทกภัยในครั้งนี้ครับ

    หากว่ากันตามเนื้อผ้าแล้วคนที่มาพักอาศัยอยู่ตาม “ศูนย์อพยพฯ” เหล่านี้ส่วนใหญ่ก็แทบจะไม่เหลืออะไรหรอกครับในด้านวัตถุ ที่เหลืออยู่ก็เพียงแค่กำลังใจที่พวกเราคนไทยด้วยกันจะต้องคอยช่วยเติมเต็ม มิให้พล่องไปจนกลายเป็นความท้อแท้อันอาจจะนำไปสู่ความสิ้นหวังในชีวิต ซึ่งผมคิดว่าเป็น “หน้าที่ทางจริยธรรม” ครับ ที่จะต้องช่วยเพื่อน “ร่วมทุกข์” กันจนสุดความสามารถ แฟนๆ ชาว “คนรักบ้าน” ท่านใดที่สนใจแบบ “บ้านไม่บานต้านภัยน้ำท่วม 2-4 เดือน” ก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ www.homeloverthai.com สัปดาห์นี้คงมีสาระน่ารู้เพียงแค่นี้ ก่อนจากกันก็ขอให้ท่องคาถา “สู้ สู้ สู้” ก็จะอยู่รอดปลอดภัย แล้วพบกันใหม่ในสัปดาห์หน้าครับ

    -http://www.komchadluek.net/detail/20111112/114681/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A124%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99.html-



    .*****************************************************.



    ต้านภัยน้ำท่วมแบบ4in1

    ภัยน้ำท่วมแบบ4in1:ตึกแถวอพาร์ตเม้นท์ไม่บาน โดย... อ.เชี่ยว

    [​IMG]



    สวัสดีครับแฟนๆ ชาว “ตึกแถว + อพาร์ตเมนต์ไม่บาน” ในสัปดาห์นี้ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน ผมจะพาท่านไปชื่นชมกับ “อาคารบ้านเรือนที่ไม่บาน” ในรูปแบบ “ตึกแถว + มินิอพาร์ตเมนต์ไม่บานต้านภัยน้ำท่วมแบบ 4 in 1” ที่สามารถต่อกรกับ “น้ำท่วม” ได้นานเป็นระยะเวลา 2-4 เดือน อย่างสบายใจโดยไม่รู้สึกกังวลใจแต่ประการใด เหตุผลที่ผมเรียกว่าเป็น “ตึกแถว + มินิอพาร์ตเมนต์ไม่บาน แบบ 4 in 1” ก็เพราะสามารถใช้สอยได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น บ้านพักอาศัย, โฮมส์ออฟฟิศ, อาคารพาณิชย์ หรือเป็น มินิอพาร์ตเมนต์ ก็ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด ซึ่ง “ตึกแถว + มินิอพาร์ตเมนต์ไม่บาน” ที่ผมนำเสนอในสัปดาห์นี้สามารถตอบโจทย์ได้หลากหลายเป็นอย่างยิ่งครับ อีกทั้งยังสามารถสู้กับน้ำท่วมหลาก ซึ่งก็ไม่รู้ว่าปีหน้าฟ้าใหม่จะมาหนักหนาสาหัสเท่าปีนี้หรือไม่


    จะว่าไปแล้วที่มาของ “ตึกแถว + มินิอพาร์ตเมนต์ไม่บานต้านภัยน้ำท่วม แบบ 4 in 1” มาจากคุณอัมมราซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้ ที่อยู่ “พิษณุโลก” ได้ร้องขอมา เพราะอยู่ใกล้กับ “แม่น้ำน่าน” ในช่วงฤดูน้ำหลาก บางปีน้ำก็เอ่อล้นตลิ่ง ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วสู้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับน้ำอย่างทรนงองอาจ ผมจึงได้ทำการออกแบบอาคาร 4 ชั้น โดยเฉพาะชั้นล่างออกแบบให้ยกพื้นสูง ก็ถือได้ว่าเป็นอาคารเอนกประสงค์อย่างแท้จริง เพราะมีจำนวนห้องพักถึง 12 ห้อง มีห้องน้ำถึง 12 ห้อง มีห้องรับประทานอาหารห้องครัว ห้องนั่งเล่นที่มีเหลือเฟือสำหรับจอดรถได้หลายคัน ทำให้ถึงพร้อมด้วยประโยชน์ใช้สอยครบครันครับ

    นอกจากนี้ “ตึกแถว + มินิอพาร์เม้นท์ไม่บานต้านภัยน้ำท่วม แบบ 4 in 1” หลังนี้ ยังสามารถแบ่งแยกอาคารออกได้เป็น 2 ส่วน โดยไม่กระทบกระเทือนการใช้ประโยชน์ภายในแต่ประการใด เพราะได้เตรียมการออกแบบทั้งทาง “สถาปัตยกรรม” และ “วิศวกรรม” ในทุกระบบไว้ล่วงหน้าแล้ว อาจจะเรียกว่าเป็น “อาคารแฝด” ก็น่าจะได้ครับ สำหรับบริเวณชั้นล่างที่ยกพื้นสูงก็จัดเตรียมไว้เป็นบริเวณจอดรถใต้อาคาร หรือบางท่านอยากจะกั้นเป็นห้องอเนกประสงค์ก็ทำได้ตามความประสงค์ในกรณีที่ ต้องการพื้นที่ใช้สอยที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังสามารถเป็นพื้นที่ที่ปล่อยให้น้ำท่วมได้ เป็นแนวคิดเดียวกันกับ “เรือนไทย” โบราณที่ยกใต้ถุนสูงในกรณีที่น้ำหลากมาก็สามารถใช้บันไดด้านหน้าเป็นที่ขึ้น ลงอาคารก็สะดวกสบายดีครับ

    หากแฟนๆ ลองสังเกตแนวทางในการออกแบบ “อาคารบ้านเรือนที่ไม่บาน” ของผมในช่วงนี้จะเห็นได้ว่าตั้งแต่สังคมไทยได้เผชิญกับ “วิกฤติน้ำท่วม” ผมมักจะออกแบบ “อาคารบ้านเรือน” ที่มีห้องหลายห้อง ก็เพื่อเอาไว้ต้อนรับญาติสนิทมิตรสหายที่หนีน้ำมาอยู่ร่วมกันแบบ “เอื้ออาทร” ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันครับ ซึ่งภาพของ “ตึกแถว + มินิอพาร์ตเมนต์ไม่บานต้านภัยน้ำท่วม แบบ 4 in 1” ที่ท่านเห็นนี้เป็นรูปแบบของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นจริง โดยมีชื่อโครงการสุดเท่ว่า “พลายชุมพล” ที่อยู่ไม่ไกลนักจากห้าง “เซ็นทรัล” ที่เปิดใหม่มีขนาดใหญ่โต ที่ “พิษณุโลก” ถึงแม้ปีนี้ในบริเวณนี้น้ำจะท่วมไม่ถึง แต่ก็อย่าประมาทเป็นอันขาดครับ ต้องเตรียมตัวเตรียมใจเตรียมบ้านให้พร้อม ทั้งยังต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับน้ำ เพราะต่อไปในอนาคตจะเป็นวิกฤติการทางธรรมชาติที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นครับ

    สำหรับท่านที่สนใจรายละเอียด “ตึกแถว+มินิอพาร์ตเมนต์ไม่บานต้านภัยน้ำท่วมแบบ 4 in 1” ที่นอกจากไม่กลัวน้ำแล้วยังสามารถสู้กับน้ำท่วมได้ นาน 2-4 เดือน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ เบอร์ 08-1379-4889 ส่วนแฟนๆ ที่สนใจศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของชาวคนรักบ้าน www.homeloverthai.com แล้วพบกันใหม่อีก 2 สัปดาห์ครับ


    -http://www.komchadluek.net/detail/20111112/114682/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A4in1.html-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    โยนบาป!น้ำท่วม ‘อุตุตู่’เสกสถิติป้ายสีมาร์คปชป.สวน‘ฆาตกร500ศพ’


    น้ำลายท่วมสภา เปิดเวทีประชุมร่วมรัฐสภาด่ากันแหลก รัฐบาล-ฝ่ายค้านโยนเผือกร้อน พินาศย่อยยับ "อุตุตู่" เปิดโรงน้ำแข็งปั้นตัวเลข มั่วสถิติน้ำในเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ โยนผิด "มาร์ค" วางน้ำ "ปู" ประชาธิปัตย์ย้อนศร ฆาตกร 500 ศพ เทน้ำทำชาวบ้านตาย ส.ส.เสื้อแดงสุดอัปยศ! โบ้ย ศปภ.เปล่าทิ้งของบริจาค โยนผิดให้ผู้อพยพดอนเมือง ทิ้งส้วมลอยน้ำใช้แล้วเกลื่อนสนามบิน ทั้งๆ ที่คนหนีน้ำใช้ห้องน้ำสนามบินซึ่งมีรองรับเพียงพอ การประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน มีการพิจารณาระเบียบวาระการขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ตามมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กรณีปัญหาภัยพิบัติอันเนื่องมาจากอุทกภัย ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
    ในการอภิปราย ประเด็นหลักๆ ที่ฝ่ายค้านหยิบยกมาเป็นเรื่องการบริหารน้ำจากตอนเหนือลงสู่อ่าวไทย ที่มีความผิดพลาด การตั้งข้อสังเกตการบริหารน้ำลงอ่าวไทยล่าช้า รวมถึงการเตรียมเปิดข้อมูลหลักฐานการจัดซื้อถุงยังชีพที่แพงเกินจริง และการปล่อยให้สิ่งของบริจาคจมน้ำได้รับความเสียหาย ขณะที่ ส.ว.เตรียมเสนอแนะให้รัฐบาลเข้าไปบริหารจัดงานน้ำฝั่งตะวันตกที่ขณะนี้ยังคง วิกฤติ
    นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ได้ชี้แจงว่า ในนาม ครม. ได้เสนอญัตติต่อประธานรัฐสภา เพื่ออภิปรายทั่วไปถึงการแก้ปัญหาวิกฤติน้ำท่วม ซึ่งวันนี้เป็นวันดี วันที่ 11 เดือน 11 ปี 11 ขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันแก้ไขปัญหาสำคัญที่ยิ่งใหญ่คือปัญหาอุทกภัย โดยภาค ปฏิบัติได้มีการร่วมมือกับทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายที่ไม่ใช่รัฐบาล ในช่วงเกิดวิกฤติก็ได้รับโทรศัพท์สายหนึ่งบอกว่า ผมอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีอยู่หลายสถานะ โดยเฉพาะสถานะพลเมือง ได้แจ้งถึงคลองประปาที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ ขอให้รับแก้ไขโดยด่วน ไม่เช่นนั้นจะแก้ไขยาก มีผลกระทบต่อประชาชนกว่า 10 ล้านคน ตนก็รีบแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขทันที และสามารถแก้ไขได้สำเร็จจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้น ครม.อยากให้ปัญหาดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมแห่งนี้ หากสมาชิกต้องการรับฟังคำตอบจากปากนายกฯ ก็ต้องรอหน่อย
    จากนั้นสมาชิกเริ่มทยอยอภิปรายแสดงความเห็น เริ่มจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ถ้ารัฐบาลบริหารอย่างเป็นเอกภาพจะไม่เสียหายอย่างนี้ ตนขอเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือกับทุกครอบครัวที่ได้รับความเดือด ร้อนและช่วยตัวเองไม่ได้ เพราะถ้ารัฐบาลช่วยได้ เสียงพึมพำต่อว่ารัฐบาลก็จะเบาลง ขอร้องรองนายกฯ ว่า คนที่จะมาทำโรงครัวต้องมีความเสียสละและอดทนเพราะไม่ใช่เรื่องง่าย และคนที่มากินอาหารก็ไม่ใช่ขอทาน เพียงแต่เขาไม่มีทางเลือกอื่น ถ้าไม่ใส่ใจ ไม่ดูแลคุณภาพของอาหาร เอาของบูดมาให้อย่างทุกวันนี้ จะกลายเป็นเรื่องใหญ่โตได้
    เขาอภิปรายต่อว่า มาตรการการเยียวยา รัฐบาลนี้ทำเรื่องใหญ่ๆ หลายเรื่อง เช่น รถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ต้องใช้เงินหลายแสนล้านบาท ควรให้เงินกับผู้เดือดร้อนเขาเต็มที่ เพราะ 5,000 บาทไม่มีความหมาย ธุรกิจบางแห่งเสียหายยับเยิน ต้องคิดถึงการให้เงิน 4-5 หมื่นบาท อย่าอยู่เฉย ต้องไปสำรวจทุกบ้านให้รู้ว่าแต่ละคนเดือดร้อนอย่างไร แล้วมาคำนวณความเดือดร้อน จะทำให้ประชาชนมีกำลังใจ
    คาด กยอ.แค่บิ๊กแบ็ก
    ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มี ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน ประกอบด้วยดรีมทีมที่มีความรู้ความสามารถหลายคนมาวางยุทธศาสตร์ระยะยาว แต่เสียดายที่ไม่ได้มาร่วมฟังการประชุมของรัฐสภาเพื่อนำไปกำหนดกรอบ ยุทธศาสตร์ และก็ดี เพราะรัฐบาลไม่ต้องปรับครม.ให้เกิดแรงกระเพื่อม แต่ก็มีจุดอ่อนคือไม่มีความเป็นอิสระ เพราะเป็นกรรมการของรัฐบาล ทำให้การวางยุทธศาสตร์ที่จะฉีกกรอบออกไปคงจะทำได้ยาก เพราะสถานการณ์ขณะนี้จำเป็นต้องมีแนวคิดใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดการมีส่วนร่วมภาคประชาชน
    “ผมเกรงว่า กยอ.อาจเป็นได้เพียงแค่บิ๊กแบ็ก ทำได้แค่ชะลอกระแสน้ำเท่านั้น แต่ถ้าจะทำให้ดียิ่งกว่านั้นคือ ต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมภาคประชาชนเข้าไป” นายคำนูณกล่าว
    นายคำนูณอภิปรายต่อว่า การวางนโยบายระยะยาวต้องเชื่อมโยงกับการปฏิรูปประเทศโดยองค์รวม ไม่ควรทิ้งคณะกรรมการชุดของนายอานันท์ ปันยารชุน และชุดของ นพ.ประเวศ วะสี ควรพิจารณาว่าจะเอามาผนวกกันอย่างไร และเห็นด้วยที่จะทำให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นเรื่องถาวร แต่อยากติงวิธีการหาเงินมาทำ ตนคาดเดาว่านายวีรพงษ์อาจจะเสนอให้มีการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้ใช้เงินงบประมาณไปพลางๆ ก่อน หรือน่าจะเอาทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้กว่าหมื่นล้านดอลลาร์ ด้วยการแก้ พ.ร.บ.เงินตราและ พ.ร.บ.ธปท. หรือออก พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อมาฟื้นฟู ทั้งนี้ ตนอยากเห็นแนวคิดใหม่ๆ ที่หาเงินโดยไม่ต้องไปกู้ทั้งหมด หรือไม่กู้เลย คือการเก็บภาษี เช่น อาจจะเรียกเก็บภาษีกับจากคนได้ประโยชน์จากการสร้างคันกั้นน้ำ เป็นต้น
    นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ศปภ.ขาดความเป็นเอกภาพในการสั่งการ เห็นได้ว่า ศปภ.คือศูนย์ปั้นภาพเท่านั้น ยังไม่รวมไปถึงการช่วยเหลือประชาชนในการแจกจ่ายถุงยังชีพที่มีการเล่นพรรค เล่นพวก ตนมีหลักฐานว่ามีการนำสิ่งของที่แจกจ่ายประชาชนไปติดชื่อของตัวเอง ล่าสุดพบเรือบริจาคจากแม่ทองใบ แต่มีการไปพ่นข้อความว่า ”ใช้ในราชการคนเสื้อแดงเท่านั้น” แสดงให้เห็นว่ามีการเลือกปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว
    นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล ส.ว.สมุทรสาคร และนายธีระ สุวรรณกุล ส.ว.สรรหา อภิปรายตำหนิการทำงานของรัฐบาลที่ขาดข้อมูลน้ำ ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการบริหารจัดการ สุดท้ายน้ำก็ไหลท่วม กทม.และไล่ลงไปถึง จ.สมุทรสาคร ก่อนลงทะเล นอกจากนี้ยังตำหนิภาวะความเป็นผู้นำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีที่จัดการแก้ปัญหาน้ำไม่ได้ และขอฝากถึงนายกฯ ให้รีบสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนโดยเร็ว เพราะขณะนี้ประชาชนไม่รู้สึกเชื่อมั่นในความเป็นผู้นำของนายกฯ แล้ว
    เปิดศึกน้ำลาย
    แต่ ส.ส.เพื่อไทย พยายามโจมตีว่าเป็นความผิดพลาดของ กทม. โดยนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า หากตนเป็นผู้ว่าฯ กทม.เงา จะวางแผนแก้ไขปัญหา ติดตามสถานการณ์น้ำไปดูภาคเหนือที่ไหลผ่านจังหวัดในภาคกลางจนถึง กทม. เพื่อนำมาวางแผนอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้จะตั้งวอร์รูมและสั่งเปิดประตูระบายน้ำทุกบาน เฉพาะแค่ประตูน้ำคลองสามวาที่เป็นเรื่องของ กทม. ยังต้องให้นายกฯ สั่งเปิดประตู ไม่ใช่ปล่อยให้ชาวบ้านในพื้นที่มาด่าว่า ส.ส.ในพื้นที่หายไปไหน ทั้งที่เป็นพื้นที่ของ กทม. ก่อนน้ำมาก็จะสั่งให้มีการระบายน้ำออกจากคลองต่างๆ เมื่อน้ำเหนือมาก็มีพื้นที่รับน้ำและผันออกสู่ทะเลได้ทัน รวมทั้งจะให้บอกสำนักงานเขตที่ไม่ถูกน้ำท่วมระดมสรรพกำลังทั้งหมดเข้ามาช่วย เหลือเขตที่ถูกน้ำท่วม
    ระหว่างนั้น ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์หลายคนลุกขึ้นประท้วงเป็นระยะ เนื่องจากอภิปรายเสียดสีและพาดพิงผู้ว่าฯกทม. โดยเจ้าตัวไม่มีโอกาสชี้แจง โดยระบุว่า น้ำท่วมครั้งนี้เกิดจากรัฐบาลบริหารงานผิดพลาด ซึ่งนายกฯ มีอำนาจเต็มในการบริหารแก้ไขปัญหาอุทกภัย ตามมาตรา 31 พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่แก้ปัญหาน้ำท่วมทุกจังหวัดแบบนี้ ก็ต้องปลดนายกฯ บ้าง แต่ในที่สุดประธานในที่ประชุมได้ขอให้พยายามอย่าพาดพิงบุคคลภายนอก นายจิรายุอภิปรายต่อว่า ขอให้เลิกเล่นการเมืองและจับมือกันร่วมกันแก้ไขปัญหาระหว่าง กทม.และรัฐบาล บริหารงานแบบนี้ปลดผู้ว่าฯ กทม.ไปแล้ว
    นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า ที่ผ่านมาบังคับการใช้กฎหมายอ่อนแอมาก ไม่สนใจกฎหมายผังเมืองทำให้มีการบุกรุกลำน้ำมาก พื้นที่ควรสงวนเป็นทางน้ำผ่าน แก้มลิง เต็มไปด้วยสิ่งปลูกสร้าง ขณะเดียวกันยังมีปัญหาขาดเอกภาพของหน่วยงานในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ทั้งกรมชลประทาน รัฐบาล กทม.หรือท้องถิ่น ที่ทะเลาะกันเอง นำไปสู่ความขัดแย้งของคนในพื้นที่ ทำให้เกิดมหาวิกฤติอุทกภัยครั้งนี้
    เขานำบันทึกสถานการณ์น้ำเขื่อนสิริกิติ์ วันที่ 4 สิงหาคม ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาอภิปรายเพื่อชี้ว่า กฟผ.ร้องขอให้พร่องน้ำจากเขื่อนตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม แต่คณะกรรมการติดตามน้ำและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำประชุมเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม อ้างว่ากรมชลประมานขอเวลาอีก 1 สัปดาห์ให้เกษตรกรเกี่ยวข้าวก่อนค่อยเพิ่มการระบายน้ำ
    นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช เสนอให้โอนภารกิจแจกถุงยังชีพให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจก เพราะรัฐบาลไม่มีทางแจกได้ทั่วถึง อย่าถือว่ารัฐบาลต้องไปแจกเอง ส่วนการบริหารจัดการน้ำนั้น อยากให้ตั้งคณะกรรมการอิสระหรือกรรมการกลางที่มีทุกภาคส่วนทั้งฝ่ายค้าน ผู้เชี่ยวชาญมาถกเถียงด้วยเหตุผล อย่างเท่าเทียมกัน ขณะนี้ถึงเวลาที่ต้องมาทบทวนแนวทางพัฒนาประเทศใหม่ ไทยเป็นประเทศเดียวที่วางเขตอุตสาหกรรม เกษตรกรรม มั่วไปหมด นิคมอุตสาหกรรมก็ตั้งขวางทางน้ำ ปล่อยให้มีการถมที่แบบเสรี ใครจะถมสูงเท่าใดก็ได้ ดังนั้นต้องใช้วิกฤติหารือเรื่องยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศใหม่ ทั้งเรื่องการท่องเที่ยว เกษตร อุตสาหกรรม รวมถึงพัฒนาคนให้มีจิตสาธารณะในการรับมือภัยธรรมชาติที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้น อีก
    โทษผู้อพยพดอนเมือง
    การอภิปรายในช่วงเย็น นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กลุ่มเสื้อแดง กล่าวว่า เห็นภาพในทีวีมี ส.ส.บางท่านพูดเรื่องนี้ว่า ศปภ.มีปัญหาทำงานไร้ประสิทธิภาพ ตนเห็นรูปถุงยังชีพ ของ เสื้อผ้าลอยน้ำ และห้องน้ำ ตนได้ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง พบถุงเสื้อผ้าที่ลอยน้ำคือการคัดเอาเสื้อผ้าดีๆ ออกไป แล้วหรือที่ขาดๆ ลอยน้ำเท่านั้น จะเอาให้ประชาชนได้อย่างไร เพราะจะเหมือนอย่างรัฐบาลที่แล้วเอาปลากระป๋องเน่าไปให้ประชาชน
    เขายังอ้างว่า ส้วมลอยน้ำอยู่ที่ตึกอาคาร 2 ดอนเมือง เป็นที่พักของผู้ประสบภัยคนแถวรังสิตมาพัก และเมื่อเกิดน้ำท่วมคนก็ออกก่อน ส่วนส้วมที่เป็นข่าวออกมาคือส้วมที่ใช้แล้ว ที่ขนย้ายตามหลังไป ไม่ใช่ส้วมที่ได้รับการบริจาค และ ศปภ.ไม่ได้เอาไปแจกแต่อย่างใด ซึ่งส้วมดังกล่าวไม่เหม็น เพราะปากคนเหม็นกว่า
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้อพยพที่ดอนเมืองทั้งหมดใช้ห้องน้ำภายในสนามบิน ซึ่งมีอยู่เพียงพอรองรับ ส่วนส้วมลอยน้ำที่ถูกทิ้งไว้หลังมีการย้าย ศปภ.นั้น เป็นส้วมลอยน้ำซึ่งมีผู้บริจาค แต่ไม่สามารถนำไปแจกได้ เพราะมีนักการเมืองในกลุ่มเสื้อแดงล็อกเอาไว้
    น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นอภิปราย โดยมีการนำรูปภาพของบริจาคที่ ศปภ.มาแสดงประกอบการอภิปราย อาทิ เรือที่มีชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ติดอยู่, รูปภาพขวดน้ำจำนวนหลายแพ็กที่มีชื่อของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ติดชื่อ พร้อมกับมีข้อความระบุว่า “ห้ามเคลื่อนย้าย” โดย น.ส.รังสิมา กล่าวว่า "ดิฉันไม่ได้เป็นคนโกหกตอแหล พูดตรง พูดจริง"
    "เรือบริจาคมีชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ อยากถามว่าเป็นเงินบริจาคของใคร รูปภาพกล่องยาของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นของหลวงก็เอาชื่อ ส.ส.ไปติด คนบริจาคเขามาเห็นก็จะรู้สึกเศร้าใจที่มีคนมาฉวยโอกาส ทั้งผู้สมัครสอบตก ส.ก. เรื่องถุงยังชีพ 300, 500 และ 800 บาท แตกต่างกันอย่างไร เอาเกณฑ์อะไรในการไปแจกให้ประชาชน ที่อ้างว่าถุงยังชีพราคา 500 แจกสำหรับต่างจังหวัดและราคา 800 แจกใน กทม. แล้วถุงราคา 300 เอาไปแจกที่ไหน ไปคิดค่าขนส่งซึ่งเฉลี่ยแล้วเป็นเงิน 153 บาท หักไปแล้วเหลือค่าของเท่าไหร่ อยากให้รัฐบาลช่วยแจกแจงด้วย เพราะไม่เคยพูดถึงเลย"
    เธออภิปรายว่า ในส่วนของอีกระแต ตาเข ที่เป็นข้าวสารไม่มียี่ห้อ ซึ่งได้ไปซื้อมาของยี่ห้อมาบุญครอง ราคาแค่ 130 บาทเท่านั้น ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามีคนบริจาคสิ่งของลดลง ตอนนี้ไม่มีใครบริจาคให้ ศปภ.เลย เพราะกลัว ศปภ.โกง เขาเห็นความไม่โปร่งใส นอกจากนี้คนต่างประเทศและหน่วยงานต่างๆ ก็มาบริจาคเยอะมาก เช่น ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย คูเวต เป็นต้น คิดแล้วเป็นจำนวนเงินมหาศาล แต่รัฐบาลไม่ได้มาชี้แจงเลยว่ารับมาเป็นเงินทั้งหมดเท่าไหร่
    ตามจิก "อีกระแต ตาเข"
    น.ส.รังสิมายังกล่าวว่า ศปภ.แจกของให้ประชาชนไม่ทั่วถึงให้เป็นจุดๆ เป็นคนๆ จะสังเกตว่าจะไปเฉพาะเขต ส.ส.ของรัฐบาล แต่พรรคฝ่ายค้านแทบจะไม่เจอเลย ถ้าไปถุงยังชีพก็ไม่แจก ถ้าแจกก็เหลือถุงละ 300 บาท แต่เขตของท่านคงจะแจกถุงละ 800 บาท เรื่องนี้ทำให้ต่างชาติเขาหมดความเชื่อมั่น หมดความศรัทธาในความไม่โปร่งใสของรัฐบาลและ ศปภ. ได้ยินว่าอียูเองก็มอบเงินผ่านสภากาชาดแล้วโดยไม่ได้มอบผ่าน ศปภ.
    “ยืนยันว่าอีกระแตมีตัวตนจริง รัฐบาลจะจัดการกับการทุจริตอย่างไร พอมาตั้งคณะกรรมการก็ตรวจสอบว่าไม่ผิด เพราะตั้งพวกเดียวกันเอง อยากให้ ป.ป. ช.มาช่วยดู นอกจากนี้ ถ้ารัฐบาลคิดว่าโปร่งใสจริง อยากให้มาชี้แจงว่าได้เงินบริจาคและสิ่งของมาเท่าไหร่ ให้ใคร เขตไหน เท่าไหร่ ที่ไหน อย่างไร แต่ถ้าอึมครึมแบบนี้ คนคงเชื่อว่ามีการทุจริต อย่าให้คนทุจริตลอยนวลแล้วหนีไปต่างประเทศอีกเลย" น.ส.รังสิมากล่าว
    จากนั้น นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ใช้สิทธิพาดพิงว่า ที่มีชื่อตนติดอยู่ที่ขวดน้ำบริจาคใน ศปภ.ว่าจองไว้ ห้ามเคลื่อนย้ายนั้น ตนได้เคยอธิบายแล้วว่ามีนักธุรกิจคนหนึ่งที่เป็นเสื้อแดงกับตน อยู่หมู่บ้านเดียวกับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ เขาได้บริจาคน้ำขวดมา แต่มีข้อแม้ว่าตนต้องเป็นคนรับ เขาถึงจะให้ วันที่เขาเอาน้ำมาบริจาคตนไม่ได้อยู่ เจ้าหน้าที่เลยไปเขียนไว้ เพราะเจ้าตัวเขามีความประสงค์เช่นนั้น จึงบอกว่าอย่าไปเคลื่อนย้าย
    "ผมไม่ใช่คนเลวทราม น้ำขวดผมมีปัญญาซื้อ ให้ไปถามคนใน ศปภ.เลยว่าผมเป็นคนบอกเสมอว่าของบริจาคอย่าให้มีสภาพเหมือนรัฐบาลที่แล้ว ว่าปลากระป๋องอย่าให้เน่า ข้าวอย่าให้เป็นมอด การที่วิจารณ์ในทางเสียหาย เจ้าตัวคนบริจาคพร้อมแสดงตัว แล้วคุณรังสิมาพร้อมจะเอาเกียรติยศอะไรมาเดิมพันหรือไม่ การใช้สภามาใส่ร้ายคนเป็นเรื่องเลวทรามต่ำช้า การบริจาคให้รัฐบาลนี้ตรวจสอบได้ คนเขาเป็นจิตอาสา ส่วนเรือที่ในรูปใส่ชื่อพ.ต.ท.ทักษิณ เขาใช้สตางค์ตัวเองซื้อ ผ่านคุณกนกพร มีแหล่งซื้อ มีใบเสร็จพร้อม อย่าแสดงความโง่ไปใส่ร้ายคนอื่น ถ้าไม่ใช่ผู้หญิงผมจะด่าให้หนักกว่านี้" นายจตุพรตอบโต้
    ด้านนายวิฑูรย์ นามบุตร ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องปลากระป๋องเน่า หลังจากมีการตรวจสอบมีความชัดเจน ชี้แจงกันในสภาหลายครั้ง ที่ตนลาออกจากรัฐมนตรีครั้งนั้น เพื่อแสดงความรับผิดชอบให้ประชาชนสบายใจ วันนั้นยังไม่มีการตัดสินว่าถูกผิด และคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาตรวจสอบ ไม่เหมือนกับรัฐบาลนี้ที่ตั้งคนของรัฐบาลทั้งนั้น แต่ชุดที่สอบสวนตนมีกรรมการที่มาจากอาจารย์มหาวิทยาลัย, สตง., สภาทนายความหลายชุด มีเอกสารประกอบเยอะแยะ มันแตกต่างจากที่รัฐบาลปัจจุบันทำ
    แต่นายจตุพรโต้ว่า วุฒิภาวะของคนเป็นรัฐมนตรีก็ควรรู้ว่าสิ่งใดควรแจกให้ประชาชน ถ้าไม่ผิดลาออกทำไม แล้วคณะกรรมการที่ตั้งไปดูรายชื่อว่าพวกตัวเองเท่าไหร่ พวกตนไม่ยอมให้รัฐบาลชุดนี้ประพฤติตัวเหมือนรัฐบาลชุดที่แล้ว ของครั้งนี้รัฐบาลชี้แจงแล้วว่าคนเขามาบริจาค และมาจากการจัดซื้อ เชิญไปร้องป.ป.ช. ให้ไปตรวจสอบ อย่ามาอวดรู้ นายกฯ ทักษิณเขามีปัญญาซื้อเอง
    นายวิฑูรย์แจงว่า ตนแสดงสปิริตรับผิดชอบลาออก การที่ลาออกจากรัฐมนตรีควรจะชื่นชมกันบ้าง ไม่ได้จนมุม ไม่ได้หน้าด้านอยู่ แต่ต้องการให้นักการเมืองรับผิดชอบ
    "ผมจะผิดหรือไม่ผิด แต่เมื่อสังคมเกิดความสงสัย เห็นหรือไม่ที่ต่างประเทศมีรถไฟตกราง รัฐมนตรีเขาไม่ได้เป็นคนขับยังแสดงความรับผิดชอบลาออก ผมก็อยากทำให้เป็นแบบอย่างในอนาคตต่อไป" อดีต รมว.การพัฒนาสังคมฯ กล่าว
    การอภิปรายเริ่มมีสีสันขึ้นอีกครั้งในช่วงค่ำ เมื่อนายจตุพรลุกขึ้นอภิปรายว่า ช่วงก่อนที่ นายกฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะมาเป็นรัฐบาล รัฐบาลก่อนหน้านี้มีการกักเก็บน้ำในเขื่อนมากเพื่อเป็นการวางยารัฐบาลชุดนี้ เป็นต้นเหตุของอุทกภัย เหตุการณ์ครั้งนี้ก็ส่งผลให้คนตายประมาณ 500 คน หากเป็นความตั้งใจก็ถือว่าเป็นการฆาตกรรมของรัฐบาลชุดที่แล้ว ต้องจับไปประหารชีวิต ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เข้ามาก็ยังไม่มีอำนาจบริหารจัดการน้ำ และเป็นแผนการล้มรัฐบาลชุดนี้ ขอให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และจะร้องไห้สักกี่ครั้งก็ไม่เป็นไร เพื่อประชาชน แต่อย่าร้องไห้ให้คนคนเดียวที่สั่งฆ่าประชาชน
    ทั้งนี้ นายจตุพรนำสถิติกักเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพลปี 2553 ซึ่งต่ำเกณฑ์ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์มาเปรียบเทียบกับปริมาณกักเก็บของปี 2554 แล้วสรุปว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์เก็บน้ำไว้ในเขื่อนมากเกินไปจนเป็นเหตุให้น้ำเต็มเขื่อน
    ซึ่งนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงว่า ช่วงที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล การเก็บน้ำในเขื่อนอาจจะสูงกว่าปี 53 โดยปี 54 มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์กักเก็บน้ำขั้นต่ำ แต่ไม่เกินเกณฑ์กักเก็บน้ำขั้นสูง ดังนั้นปัญหาเรื่องการน้ำคือการระบายน้ำจากเขื่อนกับปริมาณน้ำฝนตกลงมาไม่ สัมพันธ์กัน และในช่วงเดือน ต.ค.นี้ก็มีการระบายออกมาจำนวนมาก ทำให้เกิดความเสียหาย และหากตรรกะของนายจตุพรที่บอกว่ามีคนตายจากน้ำท่วมประมาณ 500 คน อยากถามว่าเป็นฝีมือของใคร และนายจตุพรต้องดูความจริง ไม่ได้เอาข้อมูลจากสื่อมวลชนใต้ดินของคนเสื้อแดงมาประกอบการอภิปราย ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้นได้มีการประท้วงเล็กน้อย ของนายจตุพรและ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายจตุพรยืนยันว่าข้อมูลของนายสาทิตย์นำมาเปิดเผย ก็เป็นข้อมูลเดียวกับทีวีบลูสกาย ซึ่งเป็นสื่อของพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน


    -http://www.thaipost.net/news/121111/47990-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    หยุดน้ำท่วมชั่วกัลปาวสาน ทางออก“มี” แต่ “กล้าทำ” มั้ย!? <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการรายวัน</td> <td class="date" align="left" valign="middle">12 พฤศจิกายน 2554 05:48 น.</td></tr></tbody></table>

    ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -กรณี คณะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรภายใต้การบัญชาการของ “นช.ทักษิณ ชินวัตร” มีคำสั่งแต่งตั้ง “ดร.โกร่งกางเกงแดง-นายวีรพงษ์ รามางกูร” นั่งเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศหรือ กยอ. พร้อมทั้งดึง “ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล” เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนานั่งเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการวางระบบการบริหาร จัดการน้ำหรือ กยน.นั้น ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคือ การดิ้นรนเฮือกสุดท้ายเพื่อกู้ซากศพ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ให้ยังคงมีลมหายใจต่อไป

    แต่ขณะที่หลายคนกำลังเคลิบเคลิ้มไปอยู่กับแผนการขายฝันและหลงลืมความ ทุกข์จากมหาอุทกภัย สิ่งที่สังคมไทยยังไม่ได้ยินจากปากของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ รวมทั้งนายวีรพงษ์สักแอะเดียวก็คือ จะทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากมหาอุทกภัยน้ำท่วมไปชั่วกัลปาวสานตามที่ประกาศเอา ไว้ด้วยวิธีใด

    เพราะเอาแค่การระบายน้ำที่กำลังท่วมขังพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑลในขณะนี้การแก้ปัญหาก็ยังคงพายเรือวนอยู่ในอ่างและยังไม่เห็น ทางออกว่าจะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เมื่อไหร่

    อย่างไรก็ตาม ใช่ว่า ไม่มีทางออกสำหรับการแก้ปัญหา แต่คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นก็คือ “กล้าที่จะทำ” หรือไม่เท่านั้น เพราะสิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่ชนิดพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน และกระทบกับกลุ่มผลประโยชน์ในทุกภาคส่วน ทั้งภาคธุรกิจและโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองที่ทำตัวเป็น “จระเข้ขวางคลอง” เพื่อพิทักษ์ทรัพย์สมบัติตนเองและพวกพ้อง

    **ยุทธศาสตร์ชาติซังกะบ๊วย ต้นเหตุแห่งมหาอุทกภัย

    เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ผลพวงจากมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นครั้งนี้คือบทเรียนที่สำคัญยิ่งของประเทศไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและแนวทางการพัฒนากระแสหลักของสังคมไทยที่มี ความผิดพลาดอย่างมหันต์ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่บันยะบันยังและไม่ ลืมหูลืมตา กระทั่งทำให้ลำคลองที่เคยหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนจำนวนมากถูกแปรสภาพเป็นคูคลอง ในการระบายน้ำเสียจากโรงงาน บางแห่งก็ถูกถมทำเป็นถนน ขณะที่ที่ลุ่มชุ่มน้ำอันเหมาะแก่การทำเกษตรกรรมในภาคกลางหลายจังหวัดถูกแปลง ให้กลายเป็นนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่สำหรับรองรับน้ำตามภูมิปัญญาของบรรพบุรุษก็กลายเป็นหมู่บ้านจัดสรร และสนามบิน

    “ทรัพยากรของสังคมไทยถูกจัดสรรเพื่อไปส่งเสริมและเอื้ออำนวยต่อกลุ่ม ทุนและการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านถนน ไฟฟ้า ท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรม โทรคมนาคมและการสื่อสาร และการพลังงาน อีกทั้งยังมีการกำหนดโครงสร้างทางกฎหมายเพื่อเอื้อต่อการครอบครองกรรมสิทธิ์ และการสะสมความมั่งคั่งส่วนบุคคลของกลุ่มทุนโดยการกำหนดโครงสร้างภาษีที่ พิกลพิการ เช่น การยกเว้นภาษีแก่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน การไม่เก็บภาษีมรดก เป็นต้น รวมทั้งการไม่จำกัดปริมาณการถือครองที่ดินซึ่งทำให้กลุ่มทุนสามารถครอบครอง ที่ดินมากเท่าไรก็ได้ตามความต้องการ” ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ให้ความเห็น(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน “วิกฤติการณ์กับกลไกอำนาจแบบใหม่” หน้า 35)

    กรณีนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนิคมอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งคือตัวอย่างที่ชัดเจน

    กรณีสนามบินสุวรรณภูมิที่ยืนจังก้าขวางแนวฟลัดเวย์ซึ่งคนไทยหลายคนภาคภูมิใจนักหนาคือตัวอย่างที่ไม่มีใครปฏิเสธความจริงได้

    ทั้งๆ ที่ ในความเป็นจริงแล้ว ต้องบอกว่า ระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยถูกออกแบบเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมารัฐบาลทุกรัฐบาล นักการเมืองแต่ละยุคแต่ละสมัยมิได้สนใจใยดี เพราะคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองและพวกพ้อง รวมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตาม “ก้นฝรั่ง” อย่างไม่ลืมหูลืมตา ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเกษตรกรรมเป็นฐาน แต่กลับมีโรงงานอุตสาหกรรมโผล่ขึ้นมาเป็นดอกเห็ดด้วยการส่งเสริมของรัฐบาล ทุกยุคทุกสมัย แถมยังไม่ได้สนใจจะจัดระบบให้ถูกต้อง

    ใครคิดจะสร้างที่ไหน สร้างโรงงานขึ้นที่ใดก็สามารถทำได้ตามอำเภอใจ

    ด้วยเหตุดังกล่าว พื้นที่รับน้ำหรือ Flood way จึงกลายเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องเพราะเป็นที่ดินราคาถูกและสามารถตอบสนองเป้าหมายสูงสุดคือ “กำไร” ตามลัทธิทุนนิยมสามานย์เป็นอย่างดี

    “การสร้างนิคมอุตสาหกรรม ที่ดินยิ่งถูก ยิ่งกำไรมากใช่ไหม เพราะฉะนั้นเจ้าของนิคมอุตสาหกรรมก็เลยไปหาที่ที่มีราคาถูก ถามว่า ทำไมที่ราคาถูกล่ะ เพราะมันที่ลุ่ม คนขายเขารู้ว่าเป็นที่รับน้ำ เมื่อเป็นที่รับน้ำก็ขายถูก นิคมอุตสาหกรรมโรจนะเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบที่สุด อุตสาหกรรมไม่ควรอยู่ในอยุธยา คุณจะอยู่อยุธยาได้อย่างไร นิคมฯ บางชันก็อยู่ลาดกระบังไม่ได้ เพราะลาดกระบังคือฟลัดเวย์ เป็นที่ที่น้ำจะต้องผ่าน แต่ความโลภของคนทำให้คิดว่าที่มันถูก น้ำท่วมไม่เป็นไร ก็ทำทางกั้นน้ำ ท่วม 2-3 วันมันก็ไป แล้วก็ไม่ได้นึกว่า ในที่สุดเมื่อโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จะทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงและหนักหน่วงเช่นนี้ แล้วยิ่งมาเจอความโง่เขลา ไม่มีสติปัญญาของผู้บริหารชาติที่เป็นนักการเมือง ก็เลยทำให้เขาพังพินาศฉิบหายไป ฉะนั้นแล้วอุตสาหกรรมตรงนี้ต้องเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ นิคมอุตสาหกรรมมีได้ไหม มีได้ แต่ควรจะมีในที่สูงๆ ไม่ใช่พื้นที่ลุ่ม พื้นที่รับน้ำ”สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งสื่อในเครือเอเอสทีวี-ผู้จัดการให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา

    **กลุ่มธุรกิจการเมืองดิ้นฮุบที่ดินฟลัดเวย์

    นอกจากนี้ อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ฟลัดเวย์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สงวนไว้เป็นทางระบายน้ำลงทะเลกว่า 50,000 ไร่จึงร่อยหรอลงไปทุกวัน จนปัจจุบันเหลือไม่ถึง 3,000 ไร่

    “ปัจจุบันที่ดินเหล่านั้น เท่าที่ทราบกลายเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิหมดแล้ว ซึ่งผู้ซื้ออาจจะเป็นมือที่ 3 หรือมือที่ 4 ไปแล้ว เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้เป็นเรื่องยากที่จะตอบว่าที่ดินแนวฟลัดเวย์ธรรมชาติ 3-4 หมื่นไร่ จะยังเหลือเป็นของหลวงอีกประมาณเท่าไหร่” ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ให้ข้อมูล

    ขณะที่ระบบคูคลองต่างๆ ที่สำหรับใช้เป็นพื้นที่รับน้ำ ไม่ว่าจะเป็นคลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองแสนแสบ ฯลฯ ก็ถูกออกแบบเอาไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยก็มิได้สนใจที่จะสานต่อหรือพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ ขึ้น ตลอดรวมถึงดูแลและบำรุงรักษาเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

    จากประเด็นข้างต้น ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ด้วยเหตุไฉนที่ดินพระราชทานในฝั่งตะวันออกกว่า 50,000 ไร่ซึ่งสงวนไว้เป็นพื้นที่ฟลัดเวย์จึงเปลี่ยนสภาพกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรร จำนวนมากไปได้

    แน่นอน ปริศนาของเรื่องนี้เห็นจะอยู่ที่บรรดากลุ่มทุนการเมืองที่พยายามเข้ามาแสวง หาประโยชน์จากการแก้ไขกฎหมายผังเมืองของกรุงเทพมหานคร เนื่องเพราะจากการสำรวจพบว่า มีกลุ่มนักการเมืองและบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่มีที่ดินอยู่พื้นที่แนว ฟลัดเวย์เป็นจำนวนมาก

    สำหรับกลุ่มการเมืองในพื้นที่ที่พยายามวิ่งเต้นขอแก้ไขกฎหมายผัง เมืองรวม กทม.ในช่วงปี 2547 นั้น มีหลักฐานยืนยันชัดเจนจากข้อมูลของหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 19 ธันวาคม 2547 ซึ่งรายงานเหตุการณ์ในช่วงนั้นเอาไว้อย่างละเอียดว่า “กรณีที่มีการประกาศบังคับใช้ผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ล่าช้าออกไป แหล่งข่าวกล่าวยืนยันว่า เพราะมีกลุ่มนักการเมืองหลายกลุ่มในพื้นที่ อย่างกรณีของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี พรรคไทยรักไทยและพวกพ้องเป็นการนำในการวิ่งล็อบบี้รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อขอปรับสีผังบริเวณแนวฟลัดเวย์หรือพื้นที่สีขาวแทยงเขียวทั้งหมดที่ กำหนดให้เป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม โซนตะวันออกบริเวณรอบสนามบินสุวรรณภูมิจำนวนกว่าแสนไร่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บริเวณเขตมีนบุรี เขตหนองจอกบางส่วน เขตลาดกระบัง เขตคลองสามวา ที่ร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่กำหนดให้ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น หากต้องการจัดสรรที่ดินเชิงพาณิชย์จะต้องมีขนาดแปลงที่ดินขนาด 1,000 ตารางวาหรือ 2.5 ไร่ขึ้นไป จากผังเดิมกำหนดให้พัฒนาตั้งแต่ 100 ตารางวาขึ้นไปได้ โดยเสนอให้ปรับจากสีขาวแทยงเขียวหรือเขียวลาย เป็นพื้นที่สีเหลือง หรือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย เพื่อสามารถพัฒนาได้ทั้งบ้านเดี่ยวและทาวเฮาส์ ทั้งๆ ที่บริเวณดังกล่าวเป็นแนวพระราชดำริกำหนดให้เป็นแนวฟลัดเวย์หรือพื้นที่รับ น้ำมาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจากทางตอนเหนือของกทม.ระบายลงสู่อ่าวไทยเพื่อแก้ปัญหา น้ำท่วม”

    นอกจากนี้ “ฐานเศรษฐกิจ” ยังรายงานต่อไปด้วยว่า “นอกจากนี้แล้วช่วงที่ผ่านมามีนักลงทุน นักการเมืองได้พยายามยืมมือประชาชนเจ้าของพื้นที่ โดยร่วมกับกลุ่มพัฒนาที่ดินส่งเรื่องร้องเรียนมายัง กทม.และสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดเสียงร้องเรียนจำนวนมากๆ เพื่อต้องการผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง”

    ขณะเดียวกันอีกหนึ่งประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะ เข้าไปครอบครองพื้นที่ฟลัดเวย์ก็คือคำให้สัมภาษณ์ของ “นายอภิสิทธิ์ งามอัจฉริยกุล” ประธานกรรมการบริษัท เค.ซี.กรุ๊ปที่บอกว่า “มีที่ดินอยู่ประมาณพันไร่ ขณะนี้เหลือ 200-300 ไร่บริเวณเขตคลองสามวา ที่ผ่านมาได้เคยยื่นขอจัดสรรไว้ก่อนเมื่อปี 42 ช่วงผังเมืองฉบับเก่า ส่วนพื้นที่ที่เหลือต้องรอต่อไป อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้ยื่นอุทธรณ์ไปแล้วขอปรับสีผังเป็นสีเหลือง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวควรยกเลิกแนวฟลัดเวย์ เพราะไม่เคยปรากฏว่า มีน้ำท่วม นอกจากนี้ ในหลวงท่านให้ก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่ จ.สระบุรีและแก้มลิง ซึ่งไม่น่าจะมีผลกระทบเกี่ยวกับน้ำท่วมอีกต่อไปในทำเลนี้”

    และไม่นับรวมถึงแนวความคิดของนักการเมืองตัวพ่อของคนเสื้อแดงที่ชื่อ “ทักษิณ ชินวัตร” ที่เคยคิดจะสร้าง “นครสุวรรณภูมิ” ขึ้นในพื้นที่ฟลัดเวย์

    เฉกเช่นเดียวกับกรณีการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิที่ถือกำเนิดขึ้นมา เพราะหลงเชื่อฝรั่ง ประกอบกับนักการเมืองชั่วๆ ที่เล็งเห็นผลประโยชน์จากการถมทรายและธุรกิจก่อสร้าง

    นี่คือหลักฐานที่ชัดเจนที่ตอบคำถามว่า ทำไมพื้นที่รับน้ำหรือพื้นที่ฟลัดเวย์ทุกวันนี้จึงแปรสภาพจากหน้ามือเป็น หลังมือ กระทั่งทำให้น้ำที่ท่วม กทม.อยู่ในขณะนี้ไม่สามารถไหลออกไปในทิศทางที่ควรจะเป็นได้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน ไขปริศนา ใครขวาง Flood way หน้า 7)

    **ยกเครื่องประเทศไทย ”โกร่ง” กล้าทำไหม?

    จากข้อมูลข้างต้น ทำให้เห็นว่า นี่คือโจทย์ใหญ่ที่ คณะกรรมการชุด “ดร.วีรพงษ์และดร.สุเมธ” จะต้องขบให้แตกและตัดสินใจลงมือยกเครื่องทั้งระบบ โดยแก้ไขความผิดพลาดทั้งหลายทั้งปวงอันเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำในฉับพลัน ทันที โดยไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม นักธุรกิจหรือนักการเมืองที่ยืนทะมึนเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กขวางอยู่ข้าง หน้า

    มิใช่ขายฝันลมๆ แล้งๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจอย่างที่ ดร.วีรพงษ์บอกว่า “กยอ.จะเร่งประสานกับ กยน.เพื่อวางแผนและจัดทำโครงการลงทุนระบบน้ำทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน 5-6 ปี เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า จากนี้ไปชั่วกัลปาวสานจะไม่เกิดเหตุการณ์อุทกภัยเช่นนี้เกิดขึ้นอีกในประเทศ ไทย ดังนั้น จะต้องลงทุนเป็นจำนวนมากเท่าใดก็ต้องยอม เพราะเหตุการณ์หนักหนาสาหัสมาก”

    ทั้งนี้ ถ้าหากรัฐบาลยิ่งลักษณ์และคณะกรรมการชุด ดร.วีรพงษ์-ดร.สุเมธต้องการทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนจริง สิ่งที่จะต้องทำประการแรกและประการสำคัญคือการยกเครื่องยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเทศไทยใหม่ทั้งหมดให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์และความเป็นจริงของประเทศ ไทย

    ถามว่า ดร.วีรพงษ์-ดร.สุเมธจะทำอย่างไรกับบรรดานิคมอุตสาหกรรมทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในพื้นที่รับน้ำและพื้นที่ระบายน้ำ

    แล้วถามว่า ดร.วีรพงษ์-ดร.สุเมธจะทำอย่างไรกับสนามบินหนองงูเห่าที่สร้างอยู่ในแนวฟลัดเวย์ขวางทางน้ำอยู่ในขณะนี้

    แล้วก็ถามว่า ดร.วีรพงษ์-ดร.สุเมธจะเสนอแนวคิดต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างไรกับความวิปริตใน การระบายน้ำที่ทำให้พื้นที่ฝั่งตะวันตกจมน้ำนานนับเดือน ขณะที่พื้นที่ฝั่งตะวันออกที่เป็นพื้นที่รับน้ำและพื้นที่ระบายน้ำยังอยู่ รอดปลอดภัยดี

    สิ่งแรกที่ ดร.วีรพงษ์และดร.สุเมธจะต้องทำให้ได้ก็คือ ไม่ใช่การใช้ “บิ๊กแบ็ก” ที่โฆษณาโอ้อวดเลอเลิศถึงสรรพคุณการแก้ปัญหาน้ำท่วม ทั้งๆ ที่มีคุณสมบัติเพียงแค่การชะลอการไหลของน้ำเท่านั้น(อ่านรายละเอียดเพิ่ม เติมได้ใน “บิ๊กแบ็ก” ระเบิดเวลาทำน้ำบ่าท่วมเมือง หน้า 6) หากแต่คือการทวงคืนที่ดินทำฟลัดเวย์ที่รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สงวนไว้เพื่อเป็นทางระบายน้ำลงทะเลกว่า 50,000 ไร่ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 3,000 ไร่ นอกนั้นกลายเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิหมดแล้ว ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินไม่มากนัก เพราะขณะนี้สังคมรับรู้แล้วว่า เป็นพื้นที่สุ่มเสี่ยงน้ำท่วม ทำให้ราคาน่าจะไม่สูงมากนัก

    จากนั้นก็สำรวจตรวจตราดูว่า ผังเมืองรวม กทม. ตลอดรวมถึงปริมณฑลที่ใช้อยู่ในขณะนี้มีปัญหาที่ตรงไหน และจำเป็นที่จะต้องแก้ไขอะไรหรือไม่ หรือถ้าดีอยู่แล้ว แต่มีผู้ฝ่าฝืนก็จะต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดโดยไม่สนใจว่า จะเป็นพวกพ้องหรือวงศ์วานว่านเครือของตนเองหรือไม่

    เช่นเดียวกับปริมาณน้ำที่ยังคงค้างอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวนมหาศาลนั้น ก็ต้องเร่งระบายลงสู่ทะเลเร็วที่สุดที่จะทำได้ ซึ่งแนวทางในการบริหารจัดการน้ำเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสียทองจ้าง ฝรั่งมังค่าให้สิ้นเปลืองงบประมาณประเทศ เพราะแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราช ทานแนวทางและคำแนะนำเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น หากแต่สามารถแก้ปัญหาในระยะยาวได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

    12 ตุลาคม 2554 เวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ ห้องประชุม สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เป็นการส่วนพระองค์

    เวลา 19.55 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าถวายรายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “พระองค์ ทรงรับสั่งเรื่องของน้ำครั้งนี้ก็มากจริงๆ และกระทบความเสียหายเป็นจำนวนมาก และพระองค์ทรงเป็นห่วงพี่น้องประชาชนในช่วงสถานการณ์นี้ พระองค์ท่านก็ได้ให้ความสำคัญในการเร่งระบายในด้านตะวันออก อย่างที่เราได้เร่งระบายน้ำและมีการขุดคลอง ซึ่งต้องเร่งรัดการขุดคลองเพื่อให้เกิดการระบายน้ำให้เต็มที่ ส่วนด้านตะวันตกต้องดูการหาพื้นที่หรือคลองในการระบายน้ำ”

    นี่คือพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานต่อ พสกนิกรชาวไทยในการแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่กระทั่งทุกวันนี้ การระบายน้ำไปทางด้านตะวันออกก็ยังไม่สามารถกระทำได้

    หรือถ้าจะให้ชัดเจนและสมบูรณ์แบบที่สุดคงต้องย้อนหลังกลับไปก่อนหน้านี้ในปี 2538

    วันที่ 18 กันยายน 2538 วันนั้นเกิดฝนตกอย่างหนักอันเป็นผลมาจากพายุดีเปรสชั่น Ryan และมีสัญญาณชัดเจนว่า น้ำเหนือที่ไหลบ่าลงมาจะเข้าท่วม

    ถัดมาในวันที่ 19 กันยายน 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคำแนะนำในการแก้ปัญหาต่อผู้ที่เกี่ยวข้องว่า “การ แก้ปัญหาอุทกภัยควรจะมีการระบายน้ำทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ คือ ทางน้ำผ่านหรือเรียกว่า ฟลัดเวย์ เพื่อไม่ให้กรุงเทพฯ ฝั่งพระนครรับภาระหนักจนเกินไป แต่ฟลัดเวย์ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ นี้ จะต้องมีเครื่องเร่งน้ำใกล้คันกั้นน้ำด้วย เพราะคลองแสนแสบ คลองลาดพร้าว คลองประเวศ คลองบางนา คลองสำโรง ไม่สามารถรับน้ำเหนือที่มาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ได้ ต้องเร่งระบายน้ำให้ไวที่สุด ไม่เหมือนกับเขตพระนครที่ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) สามารถรับมือได้ เนื่องจากฝนตก (วันที่ 18 กันยายน 2538) แล้วแห้งเร็ว

    “ในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 มีพื้นที่สาธารณะร่วม 5 หมื่นไร่ แต่ขณะนี้ดูแล้วเหลือเพียง 3 พันไร่เท่านั้น ดังนั้นก็ต้องกล้าที่จะแก้ปัญหาโดยการเวนคืนที่ดินฟลัดเวย์ ถ้าไม่ทำเช่นนี้ หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมซ้ำเท่ากับหายนะแน่

    “อีกปัญหาหนึ่งคือ การช่วยเหลือประชาชนจากน้ำท่วมโดยการให้เงินเพื่อฟื้นตัว จะทำให้ประชาชนขวัญเสีย เพราะคิดว่าท่วมแน่ ๆ อีกทั้งการช่วยของระบบราชการคงใช้เวลาร่วมปีถึงจะเสร็จ ดังนั้นการสร้างฟลัดเวย์จะเป็นการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิด และควรจะทำกรีนเบลต์ แปลว่า แนวเขียว ในสมัย 15 ปีก่อน ทว่าตอนนี้คงทำได้ลำบากแล้ว เพราะโรงงานสร้างขวางช่องทางน้ำหมด แต่ว่าถ้าสร้างแบบมีทางน้ำแคบ ๆ แล้วใส่เครื่องเร่งน้ำลงไป ก็น่าจะทำได้อยู่”

    นี่คือแนวทางตามพระราชดำริที่รัฐบาลจะต้องใช้เป็นแม่แบบในการแก้ปัญหามหาอุทกภัยในครั้งนี้

    ดังนั้น ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ขวางทางน้ำ ที่ขวางฟลัดเวย์ตั้งแต่เหนือจรดใต้ รัฐบาลจะต้องกล้าตัดสินใจ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นถนนก็ต้องตัดสินใจทุบทิ้ง ถ้าเป็นหมู่บ้านจัดสรรก็ต้องตัดสินใจซื้อทั้งหมู่บ้านเพื่อรื้อและสร้างทด แทนให้ใหม่ หรือติดนิคมอุตสาหกรรม หรือโรงงานใดก็ต้องตัดสินใจอย่างเด็ดขาด

    ที่สำคัญคือต้องระดมสรรพกำลังในทุกภาคส่วนของสังคมเพื่อดำเนินการ ทันที มิใช่ยื้อเวลาจนทำให้ประชาชนต้องทุกข์ทรมานอย่างมิรู้จักจบสิ้น

    กล้าหรือไม่ที่จะประกาศหยุดงานในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอีกครั้ง เพื่อระดมสรรพกำลังในการทำให้น้ำที่มีอยู่ลงทะเลไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำ ได้

    และถึงเวลาแล้วที่จะต้องกำจัดภาคอุตสาหกรรมให้เล็กลงแล้วก็พัฒนา เมืองไทยให้สัดส่วนของภาคเกษตรกับภาคอุตสาหกรรมอยู่ในสัดส่วนที่สมดุลกัน ไม่ใช่อุตสาหกรรม 70% เกษตร 30% แต่อย่างน้อยที่สุดภาคเกษตรจะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 60% ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องลดลงให้เหลือ 40%

    นี่คือทางออกและทางรอดของประเทศที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่สุด

    แต่คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลและนักการเมืองซึ่งอยู่ในวังวนของผลประโยชน์ “กล้า” ที่จะทำหรือไม่เท่านั้น



    -http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000144324-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    อัพเดทเส้นทางปิดจราจร เส้นทางใช้การได้ 12พ.ย. <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">12 พฤศจิกายน 2554 13:15 น.</td> </tr></tbody></table>


    กองบังคับการตำรวจจราจร(บก.จร.) แจ้งเส้นทางที่ปิดการจราจร เส้นทางที่ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากน้ำท่วมขัง และเส้นทางที่ใช้การได้ ประจำวันที่ 12 พ.ย.

    สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใช้การได้
    สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทางพื้นราบ มี 7 สะพาน
    1) สะพานพุทธฯ
    2) สะพานพระปกเกล้าฯ
    3) สะพานตากสิน(สาทร)
    4) สะพานกรุงเทพ
    5) สะพานพระราม 3
    6) สะพานภูมิพลฯ(วงแหวนอุตสาหกรรม)
    7) สะพานพระราม 7

    สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด่วนพิเศษ มี 2 สะพาน

    1) สะพานพระราม 9 (สะพานแขวน)
    2) สะพานทางพิเศษสายบางพลี - สุขสวัสดิ์
    เส้นทางเลี่ยงที่ใช้การได้
    ทิศตะวันออก
    1) ถ.เลียบท่างด่วนรามอินทราฯ ตลอดสาย
    2) ถ.เสรีไทย ถึงวงแหวนตะวันออก
    3) ถ.รามคำแหง ตลอดสาย
    4) ถ.ศรีนครินทร์ ตลอดสาย
    5) ถ.สุวินทวงศ์ ถึง ถ.ราษฎร์อุทิศ
    6) ถ.มอเตอร์เวย์ ตลอดสาย
    7) ถ.วงแหวนตะวันออก(ใต้) ตั้งแต่ทางต่างระดับรามอินทรา ถึงทางขึ้น-ลงสุขสวัสดิ์บางขุนเทียน
    8) ถ.บางนาตราด ตลอดสาย
    9) ถ.บูรพาวิถี ตลอดสาย
    10) ถ.ลาดกระบัง ตลอดสาย
    11) ถ.อ่อนนุช ตลอดสาย
    12) ถ.สุขุมวิท ตลอดสาย

    ทิศตะวันตก-ใต้
    1) ถ.พระราม 2 ตลอดสาย

    ทิศตะวันตก
    1) ถ.ราชพฤกษ์ ตั้งแต่ ถ.เพชรเกษม - ถ.กรุงธนบุรี - สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน(สาทร)
    ทิศใต้ตะวันตก - ใต้ เส้นทางควรเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน
    1.) ถ.กัลปพฤกษ์ ขาออก เลี้ยวซ้าย ถ.กาญจนาภิเษก- ไปถ.พระราม 2 ระดับน้ำ 20-30 ซม. ยาวประมาณ 500 ม.
    2.) ถ.บางบอน 4 บริเวณตัดกับ ถ.เลียบคลองภาษีเจริญ ระดับน้ำ 40 - 50 ซม. ยาวประมาณ 500 ม.
    3.) ถ.เทอดไท ตลอดสาย ระดับน้ำ 30 -60 ซม.
    4.) ถ.บางแค -บางบอน(บางบอน 1 ) ขาเข้า - ขาออก ตลอดสาย ระดับน้ำ 30- 40 ซม.
    5.) ถ.เอกชัย ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกตัด ถ.บางบอน 1 ถึงถ.เอกชัย ซ.66 ระดับน้ำ 30 - 40 ซม.
    6.) ถ.บางขุนเทียน ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ ตัด ถ.เอกชัย ถึงทางรถไฟสายใต้ ระดับน้ำ 15 ซม.
    7.) ถ.กำนันแม้น ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.กัลปพฤกษ์ ถึงตัด ถ.เอกชัย ระดับน้ำ 15- 30 ซม.

    เส้นทางเลี่ยงที่ใช้การได้ ทิศเหนือ

    1) ดอนเมืองโทลเวย์ ขึ้นด่านดินแดง - ลงสุดทางบริเวณโรงกษาปณ์ (การจราจรติดขัด รถขนาดเล็กผ่านไม่สะดวก)
    2) ถ.วิภาวดีรังสิต แยกดินแดง ถึงบริเวณแยกสุทธิสาร
    3) ถ.พหลโยธิน อนุสาวรีย์ชัย - ถึงบริเวณแยกสะพานควาย
    4) ถ.ลาดพร้าว แยกบางกะปิ - ถึงแยกโชคชัยฯ
    5) ถ.รามอินทรา ตั้งแต่ กม.8 ถึง แยกมีนบุรี
    6) ถ.นวมินทร์ แยกลาดพร้าว ถึงแยกเกษตรนวมินทร์
    7) ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตรนวมินทร์ ) ตั้งแต่แยกลาดปลาเค้า ถึง ถ.นวมินทร์

    ทิศตะวันออก เส้นทางควรหลีกเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน

    1) ถ.นิมิตรใหม่ ขาเข้า -ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 30 - 40 ซม.
    2) ถ.เสรีไทย ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกมีนบุรี ถึงแยกบางชัน ระดับน้ำ 20- 30 ซม.
    3) ถ.สวนสยาม ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกสวนสยาม ถึง แยกรพ.นพรัตน์ ระดับน้ำ 20-30 ซม.
    4) ถ.สุวินทวงศ์ บริเวณแยกมหานคร น้ำท่วมขัง ระยะทาง 300 เมตร ระดับน้ำสูงประมาณ 40-50 ซม.
    ทิศตะวันตก-ใต้ ถนนสายทางรอง ปิดการจราจร 2 เส้นทาง
    1) ถ.พัฒนาการ (บางแค) ขาเข้า - ขาออก ตลอดสาย ระดับน้ำ 80 ซม.
    2) ถ.กำนันแม้น ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.เทอดไท ถึงตัด ถ.กัลปพฤกษ์ ระดับน้ำ 40-80 ซม.

    ทิศตะวันออก ถนนสายหลัก ปิดการจราจร จำนวน 1 เส้นทาง

    1) ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่แยกตัด ถ.ราษฎร์อุทิศ ถึงแยกพาณิชยการมีนบุรี ระดับน้ำ 50-60 ซม.
    ทิศตะวันออก ถนนสายรอง ปิดการจราจร จำนวน 3 เส้นทาง
    1) ถ.ราษฎร์อุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 70-80 ซม.
    2) ถ.หทัยราษฎร์ ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถ.สุวินทวงศ์ ถึงซ.หทัยราษฎร์ 1 ระดับน้ำ 60-80 ซม.
    3) ถ.ประชาร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-60 ซม.

    ทิศตะวันตก ถนนสายรอง ปิดการจราจร จำนวน 13 เส้นทาง

    1) ถ.สวนผัก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกกาญจนา ถึงสะพานข้ามทางรถไฟ ระดับน้ำ 70-100 ซม.
    2) ถ.บางระมาด ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.กาญจนา ถึงตัด ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 60-90 ซม.
    3) ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึงตัด ถ.กาญจนาภิเษก ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    4) ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า-เขาออก ตั้งแต่ ประตูระบายน้ำทวีวัฒนา ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    5) ถ.พุทธมณฑลสาย 1 ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่ขนส่งรถไฟสายใต้ ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    6) ถ.ทุ่งมังกร ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัด ถ.สวนผัก ระดับน้ำ 80-120 ซม.
    7) ถ.ฉิมพลี ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกทุ่งมังกร ถึงหน้า สน.ตลิ่งชัน ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    8) ถ.ชัยพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัดวัดชัยพฤกษ์ ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    9) ถ.บางแวก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึง สน.บางเสาธง ระดับน้ำ 40-80 ซม.
    10) ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-60 ซม.
    11) ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-80 ซม.
    12) ถ.อุทยาน ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-70 ซม.
    13) ถ.ศาลาธรรมสพน์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 80-150 ซม.

    ทิศตะวันตก ถนนสายหลักปิดการจราจร จำนวน 10 เส้นทาง

    1) ถ.เพชรเกษม ขาเข้า-ขาออก จากแยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึง ซ.เพชรเกษม ซ.18) ระดับน้ำ 40 -100 ซม.
    2) ถ.กาญจนาภิเษก ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถึง คลองบางไผ่ ระดับน้ำ 60-80 ซม.
    3) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ ซ.จรัญสนิทวงศ์ 77 ถึง ซ.จรัญสนิทวงศ์ 89 และช่วง ซ.จรัญสนิทวงศ์ 43 ถึง คลองบางกอกน้อย ระดับน้ำ 70-150 ซม.
    4) ถ.ราชพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถึงตัด.เพชรเกษม ระดับน้ำ 60-70 ซม.
    5) ถ.สิรินธร ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบางพลัดถึงทางต่างระดับสิรินธร ระดับน้ำ 60-150 ซม.
    6) ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าถึงแยกบรมราชชนนี ระดับน้ำ 80-150 ซม.
    7) ถ.อรุณอัมรินทร์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ถึงแยก รพ.ศิริราช ระดับน้ำ 80-150 ซม.
    8) ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบรมราชชนนีถึงทางต่างระดับสิรินธร(สายใต้เก่า) ระดับน้ำ 60- 150 ซม.
    9) ถ.บรมราชชนนี (ช่วงพุทธมณฑล) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ แยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงแยก ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 60-80 ซม.
    10) ถ.ทางคู่ขนานลอยฟ้า ปิดการจราจรตลอดสาย ไม่สามารถลงพื้นราบได้

    ทิศเหนือ เส้นทางควรหลีกเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน

    1) ถ.กำแพงเพชร ขาเข้า -ขาออก ตั้งแยกตัด ถ.พหลโยธิน ถึง ตัดถ.กำแพงเพชร 2 ระดับน้ำ 10 - 20 ซม.
    2) ถ.พหลโยธิน ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองบางซื่อ(แยกกำแพงเพชร) ถึงแยกสะพานควาย ระดับน้ำ 20 - 30 ซม.
    3) ถ.วิภาวดีฯ ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองบางซื่อ(ตึกชัยดีแทค) ถึงแยกสุทธิสารฯ ระดับน้ำ 20-30 ซม.
    4) ถ.รามอินทรา ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ กม.5 (ใต้ทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์)ถึง กม.8 ระดับน้ำ 20-30 ซม.
    5) ถ.นวมินทร์ ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่ถ.นวมินทร์ซ.147 ถึง แยกตัด ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตรนวมินทร์) ระดับน้ำ 30 ซม.
    6) ถ.ลาดปลาเค้า ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่แยกลาดปลาเค้า ถึงหน้าวัดใหม่เสนา ระดับน้ำ 40 -50 ซม.
    7) ถ.สายไหม มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 40-50 ซม.
    8) ถ.เสนานิคม 1 ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกเสนานิคม ถึงแยกวังหิน ระดับน้ำ 40 ซม.
    9) บริเวณแยกวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 60 ซม.
    10) ถ.นาวงประชาพัฒนา มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซม.
    11) ถ.บูรพา (ดอนเมือง) มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซม.
    12) ถ.กำแพงเพชร 2 (เก่า) บริเวณด้านหลังขนส่งหมอชิต 2 ระดับน้ำสูง ประมาณ 20- 30 ซม.
    ทิศเหนือ ถนนสายรองปิดการจราจร จำนวน 18 เส้นทาง

    1) ถ.พระยาสุเรนทร์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 40-80 ซม.
    2) ถ.เทอดราชันย์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    3) ถ.แจ้งวัฒนะซ. 5 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 80 ซม.
    4) ถ.ช่างอากาศอุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    5) ถ.กำแพงเพชร 6 (ถ.โลคัลโรด) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่หน้าหมู่บ้านเมืองเอก ถึงหน้าวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 80-150 ซม.
    6) ถ.สรงประภา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกศรีสมานถึงแยก กสบ. ระดับน้ำ 80 ซม.
    7) ถ.เชิดวุฒากาศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 150 ซม.
    8) ถ.โกสุมร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    9) ถ.เดชะตุงคะ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    10) ถ.เวฬุวนาราม( วัดไผ่เขียว) ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    11) ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 150 ซม.
    12) ถ.เลียบคลองสอง ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพลาธิการกองทัพอากาศ ถึงแยกสะพานปูน ระดับน้ำ 60 ซม.
    13) ถ.จันทรุเบกษา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยก รร.นายเรืออากาศ(คปอ.) ถึงแยกจันทรุเบกษา ระดับน้ำ 60 ซม.
    14) ถ.วัชรพล ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนเพิ่มสิน ถึงห้าแยกวัชรพล ระดับน้ำ 60 ซม.
    15) ถ.เพิ่มสิน (พหลโยธิน 54/1- ถ.สุขาภิบาล 5) ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    16) ถ.สุขาภิบาล 5 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    17) ถ.มัยลาภ ขาเข้า - ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 30 - 50 ซม.
    18) ถ.คู้บอน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.รามอินทรา ถึงวัดคู้บอน ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    ทิศเหนือ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร และเส้นทางเลี่ยง จำนวน 9 เส้นทาง

    1) ถ.พหลโยธิน ขาเข้า - ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ถึงสะพานข้ามคลองบางซื่อ(แยกกำแพงเพชร) ระน้ำ 50 - 130 ซม.เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.ประดิพัทธิ์- ไป ถ.พระราม 6 หรือ ถ.สุทธิสารวินิจฉัย- ไป ถ.วิภาวดีฯ หรือกลับรถไปอนุสาวรีย์ชัยฯ หรือใช้ทางลัด ซ.พหลโยธิน 2 ไป ถ.วิภาวดีฯ
    2) ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจรถึงสะพานข้ามคลองบางซื่อ(ตึกชัยดีแทค) ระดับน้ำ 50-120 ซม. เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ. สุทธิสารวินิจฉัย -ไป ถ.พหลโยธิน หรือ ถ.สุทธิสารวินิจฉัย - ไป ถ.รัชดาภิเษก หรือกลับรถไปดินแดง
    3) ถ.รัชดาภิเษก ขาเข้า -ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ตั้งแต่ทางต่างระดับรัชวิภา ถึงแยกสุทธิสาร ระดับน้ำ 30 - 60 ซม.เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.สุทธิสารวินิจฉัย - ไป ถ.วิภาวดีฯ หรือ ถ.สุทธิสารวินิฉัย - ไปเชื่อมลาดพร้าว ซ.64
    4) ถ.ลาดพร้าว ขาเข้า -ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจรตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว ถึงสะพานข้ามคลองลาดพร้าว(ลาดพร้าว ซ.48) ระดับน้ำ 40-80 ซม. เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.ลาดพร้าว ซ.64 - ไปเชื่อม ถ.สุทธิสารวินิฉัย แยกสุทธิสาร
    5) ถ.นวมินทร์ ขาเข้า- ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ตั้งแต่ ถ.รามอินทรา กม.8 ถึง ถ.นวมินทร์ ซ.147 ระดับน้ำ 65 ซม. เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตรนวมินทร์) - ไปถ.เลียบทางด่วนรามอินทราฯ
    6) ถ.รามอินทรา ขาเข้า -ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกวงเวียนบางเขน ถึง รามอินทรา กม.5 (ใต้ทางด่วนรามอินทรา -อาจณรงค์) ระดับน้ำประมาณ 100-110 ซม. เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.เลียบทางด่วนรามอินทราฯ - ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตรนวมินทร์) - ถ.รามอินทรา - มีนบุรี หรือ ถ.เลียบทางด่วนรามอินทราฯ - ถ.พระราม 9
    7) ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตร-นวมินทร์) ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกเกษตร ถึงแยกลาดปลาเค้า ระดับน้ำ 40 - 60 ซม. เส้นทางเลี่ยงใช้ ถ.ประเสริฐมนูญกิจ ตั้งแต่ แยกลาดปลาเค้า - ไป ถ.เลียบทางด่วนรามอินทราฯ - ถ.นวมินทร์
    8) ถ.แจ้งวัฒนะขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงแยกคลองประปา ระดับน้ำ 90- 100 ซม.
    9) ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพงษ์เพชร ถึงแยกเกษตร ระดับน้ำ 100 ซม.

    เส้นทางที่ควรเลี่ยงรถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน (ระดับน้ำเพิ่มขึ้น)

    1) ถ.เสรีไทย ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกมีนบุรี ถึงนิคมอุตสาหกรรมาบางชัน เดิม ระดับน้ำ 20- 30 ซม. เพิ่ม เป็น 30 - 40 ซม.

    แจ้งการเปิดการจราจร อย่างไม่เป็นทางการ (ระดับน้ำลดลง)

    1) ถ.เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่แยกเจ้าคุณทหาร ถึงแยกตัด ถ.คุ้มเกล้า
    2) ถ.จรัญสนิทวงศ์
    2.1) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึง ซ.จรัญสนิทวงศ์ 90 (รพ.ยันฮี)
    2.2) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่ ซ.จรัญสนิทวงศ์ 77 - แยกบางพลัด - แยกบรมราชชนนี
    2.3) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่ แยกบรมราชชนนี - ซ.จรัญสนิทวงศ์ 34 ยังมีระดับน้ำ 20 - 30 ซม.
    3) เชิงสะพานกรุงธน ถึงแยกบางพลัด ยังมีระดับน้ำเป็นระยะ 20 - 30 ซม.
    4) ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึง ซ.จรัญสนิทวงศ์ 89
    5) ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่ ซ.จรัญสนิทวงศ์ 77 - แยกบางพลัด - แยกบรมราชชนนี - ซ.จรัญสนิทวงศ์ 43
    6) สะพานกรุงธน-แยกบางพลัด ใช้ได้ 1 ช่องทางด้านขวา

    ปิดการจราถนนสายรองทิศตะวันออก 1 เส้นทาง

    1) ถนนเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่แยกเจ้าคุณทหาร ถึงแยกตัด ถ.คุ้มเกล้า ระดับน้ำ 60 ซม.
    แจ้งข้อมูลถนนที่มีระดับน้ำลดลง
    1) ถ.บรมราชชนนี
    1.1) ถ.บรมราชชนนี ตั้งแต่แยกบรมราชชนนี ถึงหน้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ไม่มีน้ำท่วมขัง
    1.2) ถ.บรมราชชนนี ตั้งแต่หน้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ถึงทางต่างระดับสิรินธร ระดับลดลงเหลือประมาณ 30 ซม.
    2) ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
    2.1) ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถึงแยกอรุณอัมรินทร์ ระดับน้ำลดลงเหลือ ประมาณ 30 ซม.
    2.2) ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ ถึงแยกบรมราชชนนี ระดับน้ำลดลงเหลือ ประมาณ 30-50 ซม. (หน้าพาต้าปิ่นเกล้า ระดับน้ำ 40 ซม.)
    3) ถ.อรุณอัมรินทร์ ตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ ถึง รพ.ศิริราช ระดับน้ำลดลงเหลือ 40- 60 ซม.
    4) ถ.อรุณอัมรินทร์ ตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ ถึง สะพานพระราม 8 ระดับน้ำ ลดลงเหลือ 30-50 ซม.


    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000144495-

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพโทรหลอกโอนเงินค่าน้ำประปา



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ค การประปานครหลวง กปน.

    กปน.เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ มิจฉาชีพโทรหลอกให้จ่ายค่าน้ำทางบัญชีธนาคาร ยัน กปน.ขยายเวลาตั้งแต่ ต.ค. โดยไม่ตัดน้ำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

    เมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน การประปานครหลวง (กปน.) ได้แจ้งว่า ขณะนี้มีผู้แอบอ้างเป็นพนักงานของ กปน. โทรศัพท์ไปหลอกให้ผู้ใช้น้ำ ที่ไม่สามารถเดินทางไปชำระค่าน้ำประปาได้ เนื่องจากน้ำท่วม สามารถโอนเงินชำระค่าน้ำผ่านทางบัญชีธนาคารได้เลย ซึ่งทาง กปน. ขอยืนยันว่า ไม่มีนโยบายดังกล่าว และขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อโอนเงินไปให้มิจฉาชีพโดยเด็ดขาด

    ทั้ง นี้ กปน.ยังระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัย กปน.จึงได้ขยายเวลาชำระค่าน้ำประปาออกไปตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมาแล้ว และจะไม่ตัดน้ำอย่างเด็ดขาด เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัย จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ สำหรับใครที่มีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ศูนย์บริการประชาชน โทร.1125 ตลอด 24 ชั่วโมง


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

    [​IMG] การประปานครหลวง


    -http://www.mwa.co.th/2010/ewt/mwa_internet/main.php?filename=index_design03-

    -http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/292584.html-

    -http://hilight.kapook.com/view/64694-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเตือน 5 จังหวัดใต้ระวังน้ำท่วมฉับพลัน


    วันที่12พ.ย. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ประกาศเตือนระหว่างวันที่ 12-13 พ.ย. นี้ว่า จะมีฝนตกหนักที่จ.ชุมพร, จ.สุราษฎร์ธานี, จ.นครศรีธรรมราช, จ.พัทลุง และ จ.สงขลา ในการนี้ ในจังหวัดดังกล่าวอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มได้ ขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ เฝ้าระวัง และติดตามข้อมูลจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงไอซีที อย่างใกล้ชิด


    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321082091&grpid=&catid=19&subcatid=1905-


    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เปิดเอกสารสำนักงานทรัพย์สินฯ วางแผน3ระยะ สั้น-กลาง-ยาว แก้ปัญหาน้ำ


    หมายเหตุ - สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้จัดทำรายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร เรื่อง "โครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา" มีเนื้อหาสะท้อนถึงปัญหาในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแผนการแก้ไขปัญหา "มติชน" เห็นว่าแผนการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำ ตรงกับสถานการณ์ที่ประเทศกำลังประสบปัญหากับอุทกภัย จึงนำเนื้อหาบางส่วนมาเสนอดังนี้

    เอกสารโครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ระบุมาตรการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำไว้ 3 ระยะคือ

    มาตรการระยะสั้น (5 ปี) เน้นการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำที่เป็นมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง และมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างที่ใช้เงินลงทุนน้อย และได้ประโยชน์กับพื้นที่เฉพาะถิ่นที่มีอยู่เดิมและเริ่มมีปัญหา

    โดย มุ่งผลแก้ไขปัญหาในระดับหนึ่ง เพื่อจะเป็นพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาระยะกลาง และระยะยาวในอนาคต ทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 5 ปี

    - โดยกำหนดแผนงานตามมาตรการด้านต่างๆ ดังนี้

    1.มาตรการ ในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่สภาพเสื่อมโทรม กำหนดแผนงานและโครงการต่างๆ ดังนี้ แผนงานด้านการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำ ประกอบด้วยโครงการต่างๆ อาทิ โครงการศึกษาเพื่อการพัฒนาและจัดระบบข้อมูล เพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต้นน้ำ โครงการจัดหาที่ดินทำกินที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า โครงการปลูกสวนป่าเพื่อผลิตไม้ใช้สอย โครงการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร (ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน, ฝายกั้นน้ำกึ่งถาวร) โครงการศึกษาทบทวนการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ และมาตรการการใช้ที่ดินที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เป็นต้น

    2.แผนงาน ด้านอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ทั่วไป ประกอบด้วยโครงการต่างๆ อาทิ งานอนุรักษ์ดินและน้ำ โครงการศึกษาวิจัยด้านการพัฒนามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ทดแทนการใช้สารเคมี และโครงการศึกษาและจัดทำมาตรการในการฟื้นฟูทรัพยากรดินที่มีปัญหาเฉพาะ เป็นต้น

    3.แผนงานด้านการปรับปรุงสภาพแหล่งน้ำ อาทิ งานขุดลอกร่องแม่น้ำ หนองน้ำ และคลองธรรมชาติ งานกำจัดวัชพืช และโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการในการป้องกัน กำจัดวัชพืชและขยะในแหล่งน้ำ เป็นต้น

    4.แผนงานด้านการตรวจสอบคุณภาพน้ำ อาทิ โครงการจัดทำระบบโครงข่ายสำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพแหล่งน้ำ โครงการรณรงค์การมีส่วนร่วมของหน่วยราชการ เอกชน และประชาชน ในการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ และโครงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการสารอันตรายและน้ำเสียอย่างเหมาะสม เป็นต้น

    5.แผนงานจัดการน้ำบาดาล ดำเนินการในหลายโครงการ อาทิ โครงการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของน้ำบาดาล โครงการให้ความรู้ด้านน้ำบาดาลแก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชน และโครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลน้ำบาดาลประเทศไทย เป็นต้น

    6.แผน งานอนุรักษ์น้ำบาดาล ดำเนินการในหลายโครงการ อาทิ โครงการศึกษาการใช้น้ำบาดาลร่วมกับน้ำผิวดินบริเวณที่ราบภาคกลางตอนบนและตอน ล่าง โครงการศึกษาการใช้น้ำบาดาลร่วมกับน้ำผิวดินบริเวณแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน และแอ่งลำปาว-แพร่ และโครงการสำรวจการปนเปื้อนน้ำบาดาล เป็นต้น

    - มาตรการในการบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ประกอบด้วยแผนงานและโครงการต่างๆ ดังนี้

    1.แผนงานปรับปรุงเกณฑ์การจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำ โดยศึกษาเกณฑ์การระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำเพื่อการบรรเทาอุทกภัย

    2.แผนงานบริหารจัดการพื้นที่น้ำท่วม จะดำเนินการตามโครงการศึกษาการควบคุมแนะแนวการใช้ที่ดิน และโครงการศึกษาควบคุมการใช้น้ำบาดาล

    3.แผน งานตอบโต้ความเสียหายจากอุทกภัย จะดำเนินการในหลายโครงการ อาทิ โครงการพยากรณ์น้ำท่วมและระบบเตือนภัย โครงการผจญอุทกภัยและการฟื้นฟูหลังเกิดอุทกภัย และโครงการประกันอุทกภัย เป็นต้น

    4.แผนงานพัฒนาระบบปิดล้อมพื้นที่ชุมชน ดำเนินการตามโครงการจัดทำระบบปิดล้อมพื้นที่ชุมชนเมืองหลัก และโครงการจัดทำระบบปิดล้อมพื้นที่ชุมชนกรุงเทพมหานคร

    5.แผนงานพัฒนา พื้นที่ชะลอน้ำ (แก้มลิง) และระบบระบายน้ำในพื้นที่ จะดำเนินการตามโครงการระบายน้ำและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ด้านตะวันออก ของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียง (บางส่วน) โครงการประตูระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน (บางส่วน) โครงการประตูระบายและสถานีสูบน้ำชลหารพิจิตร 2 และโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย" และโครงการบรรเทาอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำลุ่มน้ำปิงตอนบน

    - มาตรการจัดการน้ำเสียและปรับปรุงคุณภาพน้ำ ประกอบด้วยแผนงานต่างๆ ดังนี้

    1.กำหนด มาตรฐานและประเภทคุณภาพแหล่งน้ำ 2.กำหนดเขตควบคุมมลพิษ 3.กำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 4.กำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร 5.สำรวจติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ 6.รณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการป้องกันและ แก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำรวมทั้งให้ประชาชนมีส่วนร่วม 7.ก่อสร้างระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาสายหลัก ตอนล่าง และ 8.กำหนดโควตาปริมาณน้ำทิ้งและคุณภาพน้ำทิ้งของแต่ละชุมชน

    - งานระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศด้านทรัพยากรน้ำประกอบด้วย แผนงานและโครงการต่างๆ ดังนี้

    1.แผนงานรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถิติต่างๆ ของแหล่งน้ำ งานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง และมติ กฎ ระเบียบ นโยบายกฎหมาย เป็นต้น

    2.แผนงานระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ ดำเนินตามโครงการระบบเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย

    3.แผนงานบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ ตั้งคณะทำงานเพื่อบริหารและจัดการข้อมูลสารสนเทศในระบบลุ่มน้ำ

    4.แผน งานให้บริการเรียกใช้และสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการปฏิบัติงานประจำ เพื่อการวางแผนการปฏิบัติงาน เพื่อการกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ และเพื่อการศึกษาวิจัย

    - มาตรการระยะกลาง (5-15 ปี)

    จะ เน้นการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำ ประกอบด้วย มาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างบางแผนงานซึ่งต่อเนื่องมาจากมาตรการระยะสั้น เพื่อให้เกิดผลของการแก้ไขได้มากขึ้นและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง อนึ่งมาตรการระยะกลางจะเน้นแผนงานโครงการที่ใช้มาตรการใช้สิ่งก่อสร้างที่ ใช้งบประมาณสูงขึ้น และมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการก่อสร้างได้ในลำดับต้นๆ ก่อน โดยเร่งดำเนินการในทุกลุ่มน้ำหลัก โดยใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 15 ปี ดังนี้

    1.มาตรการ ในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ จะต้องสนับสนุนก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะ ดำเนินการได้ในช่วงมาตรการระยะกลางนี้ ในลุ่มน้ำสาขาหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยาคือ อ่างเก็บน้ำแม่วง แควน้อย และคลองโพธิ์ และโครงการผันน้ำต่างๆ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และน้ำเสีย ในเขตลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำน่าน ตลอดจนพื้นที่เพาะปลูกของโครงการ ประกอบด้วย โครงการในลุ่มน้ำต่างๆ อาทิ ลุ่มน้ำสะแกกรัง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ การยกระดับรายได้ของเกษตรกร การบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในลุ่มน้ำสะแกกรัง และจะมีปริมาณน้ำเหลือใช้ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาสามารถใช้ในเขตโครงการชล ประทานเจ้าพระยาใหญ่ ควรจะมีการก่อสร้างโครงการระดับลุ่มน้ำคือ และโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนคลองโพธิ์ มีความจุอ่างใช้งาน 64.4 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ผิวอ่างเก็บน้ำ 14.6 ตร.กม. ส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูก 70,000 ไร่ เป็นต้น

    2.ลุ่มน้ำแควน้อย ซึ่งเป็นสาขาหลักของลุ่มน้ำน่านมีสภาพปัญหาน้ำหลากจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ลง สู่ลำน้ำแควน้อย และส่งผลกระทบต่อปัญหาน้ำท่วมในเขตเมืองพิษณุโลกเป็นประจำ ดังนั้น ควรก่อสร้างเขื่อนแควน้อย บนแม่น้ำแควน้อยมีความจุอ่างใช้งาน 733 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ผิวอ่างเก็บน้ำ 73.2 ตร.กม. ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้น้ำในลุ่มน้ำแควน้อย ลุ่มน้ำน่านตอนล่าง ทั้งการบริโภคและป้องกันอุทกภัย

    3.โครงการผันน้ำกก-อิง-น่าน สามารถผันน้ำจากลุ่มน้ำกกและอิงลงสู่อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ได้สูงสุดปีละ 2,200 ล้านลูกบาศก์เมตร เฉลี่ยปีละ 1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถนำปริมาณน้ำส่วนนี้แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และควบคุณภาพน้ำในพื้นที่ได้รับประโยชน์

    4.โครงการผันน้ำเมย-สาละวิ น-เขื่อนภูมิพล สามารถผันน้ำจากลุ่มน้ำเมยลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ได้สูงสุดปีละ 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร เฉลี่ยปีละ 2,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำส่วนนี้ใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับโครงการผันน้ำกก-อิง-น่าน

    โครงการผันน้ำเนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ และใช้งบลงทุนสูงมาก อาจจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปแล้วเสร็จสมบูรณ์ในแผนระยะยาว

    - มาตรการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ประกอบด้วยแผนงานและโครงการต่างๆ ดังนี้

    1.แผน งานพัฒนาพื้นที่ชะลอน้ำ (แก้มลิง) และระบบระบายน้ำในพื้นที่ ดังต่อไปนี้ โครงการพื้นที่ชะลอน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ และโครงการพื้นที่ชะลอน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

    2.แผนงานจัด สร้างช่องทางผันน้ำหลากบางไทร-อ่าวไทย เพื่อป้องกันอุทกภัยให้กับพื้นที่ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่และใช้งบลงทุนสูงมาก ควรเริ่มดำเนินการในมาตรการระยะกลางทันที

    3.แผนงานปรับปรุงสภาพลำน้ำและคันกั้นน้ำริมแม่น้ำพร้อมอาคารควบคุม

    4.แผนงานด้านกฎหมายและองค์กรด้านน้ำท่วม เพื่อสามารถบริหารน้ำท่วมระดับลุ่มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    - มาตรการระยะยาว (มากกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี)

    เพื่อสนองตอบการแก้ไขปัญหาระดับลุ่มน้ำในทุกพื้นที่ของลุ่มน้ำซึ่งเพิ่มปริมาณการขาดแคลนน้ำและคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมากขึ้นตามลำดับ

    การ แก้ไขจะประกอบด้วยมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างบางแผนงานที่ยังคงดำเนินการ อย่างต่อเนื่องตลอดไป และมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้เต็มรูปแบบตามทุก แผนงานที่วางไว้

    ทั้งนี้เพื่อจะได้สนองตอบปัญหาการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และน้ำเสียได้ทุกพื้นที่ในทุกลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำย่อย โดยใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 25 ปี ซึ่งกำหนดแผนงานและโครงการดำเนินการตามมาตรการในด้านต่างๆ

    โดยใช้ มาตรการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำและป้องกันอุทกภัย จะต้องเร่งดำเนินการโครงการก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำเพิ่มเติมเต็มศักยภาพ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้น แม่ขาน และกิ่วคอหมา รวมทั้งเร่งดำเนินโครงการผันน้ำเต็มรูปแบบ เช่น โครงการลุ่มน้ำยม เพื่อแก้ปัญหาขาดน้ำ ควรสร้างเขื่อนแก่งเสื้อเต้นบนแม่น้ำยมและลุ่มน้ำขาน ซึ่งสาขาของลุ่มน้ำปิงตอนบนมีปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งควรสร้างเขื่อนแม่ขาน เป็นต้น



    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321065977&grpid=01&catid=&subcatid=-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รูปงานกฐินตกค้าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    [​IMG]

    [​IMG]

    ขอขอบคุณพี่แอ๊วที่ได้ส่งรูปมาให้ครับ

    <table id="post5260322" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="thead" style="font-weight:normal; border: 1px solid #FFFFFF; border-right: 0px"> &nbsp;20-10-2011, 11:54 AM </td> <td class="thead" style="font-weight:normal; border: 1px solid #FFFFFF; border-left: 0px" align="right"> #46990 </td> </tr> <tr valign="top"> <td class="alt2" style="border: 1px solid #FFFFFF; border-top: 0px; border-bottom: 0px" width="175"> sithiphong
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Dec 2005
    สถานที่: ชมรมพระวังหน้า
    ข้อความ: 42,969
    พลังการให้คะแนน: 17281 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_5260322" style="border-right: 1px solid #FFFFFF"> เรียนท่านประธานชมรมพระวังหน้า , ท่านรองประธานชมรมพระวังหน้า ,ท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้า , ท่านผู้สนับสนุนชมรมพระวังหน้า และท่านผู้ที่เคยร่วมทำบุญกับผมทุกๆท่าน

    ผมขอแจ้งวาระงานบุญ กฐินตกค้าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2554

    จากจดหมายของพี่แอ๊วส่งมาให้ผมและคุณPinkcivil

    เรียนคุณหนุ่ม และ คุณPinkcivilค่ะ


    พี่ ส่งรายละเอียดงานบุญใหญ่มาให้ค่ะ ต้องขอโทษด้วยที่ล่าช้า ตามสภาพค่ะตอนนี้ ต้องคอยเช็คสถานการณ์น้ำเป็นระยะๆ เพราะบ้านอยู่ในเขตเสี่ยงเช่นกัน

    ปี นี้ผู้คนลำบากกันมาก พระสงฆ์ก็ยิ่งลำบากใหญ่ แต่ถึงฤดูกาลกฐิน จะมากจะน้อยอย่างไรก็คงต้องดำรงคงไว้ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนนะคะ เราก็เลือกทำบุญที่มีอานิสงส์มากก็แล้วกันค่ะ


    ปี นี้มีมหากฐินโดยเสด็จพระราชกุศลมาให้พวกเราได้ร่วมบุญกันเหมือนปีที่แล้วค่ะ คือกฐินที่ไม่มีเจ้าภาพจองใน 3 จว.ชต. และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถท่านได้เป็นองค์อุปถัมภ์อยู่


    ถือ ว่าเราได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่กันนะคะ ปีนี้มีวัดตกค้างอยู่ 84 วัด ( เท่าพระชนมายุของในหลวงพอดีเลยนะคะ ) วัดทั้งหมดมีพระจำพรรษาครบ 5 รูป และพระสงฆ์อยู่ครบไตรมาส ถือว่าถวายกฐิน


    เป็น การสืบต่องานพระพุทธศาสนาตามพระธรรมวินัยนะคะ พระที่ท่านจำพรรษาอยู่ใน 3 จว.ชต. นี้ถือว่าท่านต้องมีกำลังใจสูงมาก เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อชีวิต และขาดแคลนไปทุกสิ่งทุกอย่าง


    เพราะ คนเข้าไปทำบุญได้ยาก ปีหนึ่งก็คงมีโอกาสที่จะได้รับปัจจัยไทยธรรมสักครั้งให้สมบูรณ์แบบ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าภัตตาหารตลอดทั้งปี รวมทั้งค่ายารักษาโรคด้วย


    พี่ ขอรบกวนคุณหนุ่ม ในการบอกกล่าวข่าวบุญนี้ไปยังพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ทั้งหลายนะคะ เหลือเวลาร่วมบุญแค่ประมาณ 10 วันเท่านั้นเองค่ะ !!!!


    กราบอนุโมทนา สาธุนะคะ

    ------------------------------------------------------------

    ขอเชิญร่วมมหากุศลเป็นเจ้าภาพร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลทอดกฐินตกค้างจำนวน ๘๔ วัด ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

    ด้วย ในกาลกฐินประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ นี้ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมอบหมายให้กรมราชองครักษ์ดำเนินการสำรวจวัดที่ยังไม่มีเจ้าภาพจองทอด กฐิน ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งพบว่ามีวัดจำนวนทั้งสิ้น ๘๔ วัดยังไม่มีเจ้าภาพจองทอดกฐินในปีนี้ อันเป็นผลกระทบจากการก่อความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน จำนวน ๘๔ ไตร พร้อมพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง ให้กรมราชองครักษ์ คณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาในบวรพุทธศาสนา อัญเชิญไปถวายวัดทั้ง ๘๔ วัด ซึ่งมีพระสงฆ์จำพรรษาครบจำนวน ๕ รูป และอยู่ครบถ้วนไตรมาส


    ใน การนี้พระครูปภัสสรวรพินิจ เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และพระธวัชชัย ชาครธัมโม ( พระอาจารย์นิล ) ได้รับเป็นเจ้าภาพร่วมในการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน และการจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายแด่วัดทั้ง ๘๔ วัด เพื่อร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วย


    จึง ขอเรียนเชิญท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายร่วมเป็นเจ้าภาพมหากุศลครั้งนี้ โดยผู้รับเป็นเจ้าภาพสามารถรับเป็นเจ้าภาพได้ทั้ง ๘๔ วัด โดยร่วมบุญตามกำลังศรัทธา หรือ รับเป็นเจ้าภาพกองกฐินกองละ ๓,๐๐๐ บาท จำนวน ๕๐๐ กอง โดยในเบื้องต้น ทางวัดห้วยมงคลจะได้จัดปัจจัยถวายแต่ละวัด วัดละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมผ้าไตรจีวร หากมีผู้ทำบุญมาเกินกว่าจำนวนที่ได้ตั้งไว้ ทางวัดจะจัดปัจจัยเฉลี่ยเท่าๆกันถวายแด่วัดทั้งหมดจำนวน ๘๔ วัด ทั้งนี้เจ้าภาพสามารถร่วมทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศลในการร่วมถวายผ้าพระกฐิน พระราชทาน และถวายผ้ากฐินสำหรับทุกวัดด้วย


    สำหรับรายละเอียดและกำหนดการทอดกฐินมหากุศลในครั้งนี้ มีดังนี้


    1. วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดวังโต้ อ. นาทวี จ. สงขลา จำนวน ๒๐ วัด
    เวลา ๑๓.๐๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดมุจลินทร์ จ. ปัตตานี จำนวน ๓๐ วัด


    2. วันจันทร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐินที่วัดเขากง จ. นราธิวาส จำนวน ๓๔ วัด

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    รายชื่อวัด (ตามไฟล์แนบ ผมได้มาเพียง 80 วัดครับ)


    -------------------------------------------

    บัญชีที่ผมใช้สำหรับงานบุญนี้ ผมใช้บัญชีส่วนตัวผม

    ดังนั้น หากท่านผู้อ่านที่เคยร่วมทำบุญพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง มีความลังเล , สงสัย , เคลือบแคลง , ไม่มั่นใจ , ไม่แน่ใจ และกลัวว่าผมจะมีส่วนได้ส่วนเสียในเงินร่วมทำบุญนี้ ก็ไม่ต้องทำบุญครับ

    สำหรับท่านผู้อ่านที่เคยร่วมทำบุญพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ผมให้สิทธิในการร่วมทำบุญ แต่ผมขอให้อยู่ในดุลยพินิจของผมว่า จะให้ร่วมทำบุญได้หรือไม่ หากท่านใดที่ผมอนุญาตให้ร่วมทำบุญ ผมจะให้ท่านแจ้ง ชื่อ - นามสกุล และที่อยุ่มาให้ผมก่อน แล้วผมจะส่งหมายเลขบัญชีที่จะให้โอนเงินร่วมทำบุญไปให้อีกครั้งครับ

    ระยะเวลาในการร่วมทำบุญ สิ้นสุดในวันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2554 เวลา 18.00 น.ครับ

    โมทนาบุญทุกประการ

    sithiphong
    20/10/2554

    .
    <fieldset class="fieldset"> <legend>ไฟล์แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> <td>รายนามวัด_ที่จะรับถวายผ้าพระกฐิน.doc (122.5 KB, 8 views)</td> </tr> </tbody></table> </fieldset>
    __________________
    </td></tr></tbody></table>

    .**********************************************************.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_007.jpg
      IMG_007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      208.5 KB
      เปิดดู:
      147
    • IMG_008.jpg
      IMG_008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      162 KB
      เปิดดู:
      526
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รูปงานมหากุศลเป็นเจ้าภาพร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลทอดกฐินตกค้างจำนวน ๘๔ วัด ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

    1. วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดวังโต้ อ. นาทวี จ. สงขลา จำนวน ๒๐ วัด

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_001.jpg
      IMG_001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      140 KB
      เปิดดู:
      105
    • IMG_002.jpg
      IMG_002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      149.5 KB
      เปิดดู:
      163
    • IMG_003.jpg
      IMG_003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      152 KB
      เปิดดู:
      131
    • IMG_004.jpg
      IMG_004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      152.3 KB
      เปิดดู:
      138
    • IMG_4764.JPG
      IMG_4764.JPG
      ขนาดไฟล์:
      318.6 KB
      เปิดดู:
      102
    • IMG_4781.JPG
      IMG_4781.JPG
      ขนาดไฟล์:
      246.6 KB
      เปิดดู:
      98
    • IMG_4783.JPG
      IMG_4783.JPG
      ขนาดไฟล์:
      244.4 KB
      เปิดดู:
      121
    • IMG_4785.JPG
      IMG_4785.JPG
      ขนาดไฟล์:
      200.8 KB
      เปิดดู:
      108
    • IMG_4786.JPG
      IMG_4786.JPG
      ขนาดไฟล์:
      108.9 KB
      เปิดดู:
      90
    • IMG_4799.JPG
      IMG_4799.JPG
      ขนาดไฟล์:
      257.7 KB
      เปิดดู:
      99
    • IMG_4802.JPG
      IMG_4802.JPG
      ขนาดไฟล์:
      150.4 KB
      เปิดดู:
      94
    • IMG_4817.JPG
      IMG_4817.JPG
      ขนาดไฟล์:
      165.1 KB
      เปิดดู:
      135
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รูปงานมหากุศลเป็นเจ้าภาพร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลทอดกฐินตกค้างจำนวน ๘๔ วัด ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

    1. วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
    เวลา ๑๓.๐๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดมุจลินทร์ จ. ปัตตานี จำนวน ๓๐ วัด


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4824.JPG
      IMG_4824.JPG
      ขนาดไฟล์:
      262.7 KB
      เปิดดู:
      123
    • IMG_4825.JPG
      IMG_4825.JPG
      ขนาดไฟล์:
      112.1 KB
      เปิดดู:
      89
    • IMG_4831.JPG
      IMG_4831.JPG
      ขนาดไฟล์:
      208.2 KB
      เปิดดู:
      107
    • IMG_4866.JPG
      IMG_4866.JPG
      ขนาดไฟล์:
      195.5 KB
      เปิดดู:
      152
    • IMG_4870.JPG
      IMG_4870.JPG
      ขนาดไฟล์:
      197.3 KB
      เปิดดู:
      97
    • IMG_4872.JPG
      IMG_4872.JPG
      ขนาดไฟล์:
      124.3 KB
      เปิดดู:
      93
    • IMG_4880.JPG
      IMG_4880.JPG
      ขนาดไฟล์:
      226.8 KB
      เปิดดู:
      92
    • IMG_4884.JPG
      IMG_4884.JPG
      ขนาดไฟล์:
      247.7 KB
      เปิดดู:
      86
    • IMG_5225.JPG
      IMG_5225.JPG
      ขนาดไฟล์:
      216.5 KB
      เปิดดู:
      126
    • IMG_5227.JPG
      IMG_5227.JPG
      ขนาดไฟล์:
      223.9 KB
      เปิดดู:
      86
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รูปงานมหากุศลเป็นเจ้าภาพร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลทอดกฐินตกค้างจำนวน ๘๔ วัด ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

    2. วันจันทร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐินที่วัดเขากง จ. นราธิวาส จำนวน ๓๔ วัด

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5266.JPG
      IMG_5266.JPG
      ขนาดไฟล์:
      939 KB
      เปิดดู:
      122
    • IMG_005.jpg
      IMG_005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.6 KB
      เปิดดู:
      162
    • IMG_006.jpg
      IMG_006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.4 KB
      เปิดดู:
      123
    • IMG_4898.JPG
      IMG_4898.JPG
      ขนาดไฟล์:
      259.1 KB
      เปิดดู:
      82
    • IMG_4900.JPG
      IMG_4900.JPG
      ขนาดไฟล์:
      227.9 KB
      เปิดดู:
      90
    • IMG_4916.JPG
      IMG_4916.JPG
      ขนาดไฟล์:
      175.1 KB
      เปิดดู:
      82
    • IMG_4918.JPG
      IMG_4918.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      120
    • IMG_4920.JPG
      IMG_4920.JPG
      ขนาดไฟล์:
      88.5 KB
      เปิดดู:
      91
    • IMG_4929.JPG
      IMG_4929.JPG
      ขนาดไฟล์:
      148.4 KB
      เปิดดู:
      132
    • IMG_4932.JPG
      IMG_4932.JPG
      ขนาดไฟล์:
      162.2 KB
      เปิดดู:
      121
    • IMG_5254.JPG
      IMG_5254.JPG
      ขนาดไฟล์:
      228.2 KB
      เปิดดู:
      135
    • IMG_5260.JPG
      IMG_5260.JPG
      ขนาดไฟล์:
      166.2 KB
      เปิดดู:
      90
    • IMG_5262.JPG
      IMG_5262.JPG
      ขนาดไฟล์:
      262.5 KB
      เปิดดู:
      86
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  14. นายเฉลิมพล

    นายเฉลิมพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +460
    โมทนาสาธุทุกประการครับ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ตะลึงพบปลากดคังยักษ์ตัวเท่าเด็ก พรานล่าจับขายได้เงินนับหมื่น

    [​IMG]




    วันที่ 12 พ.ย. ผู้สื่อข่าว“ข่าวสด” รับแจ้งจากนายชัยพันธ์ ศรีคชไกร ผู้จัดการตลาดศูนย์การค้ากำแพงเพชร ว่ามีผู้ตกปลากดคังยักษ์ขนาดใหญ่ได้ เมื่อไปถึงบริเวณโซนที่จำหน่ายปลาและสัตว์น้ำ ประชาชนที่มาจับจ่ายซื้อกับข้าวและเด็กๆ กำลังมุงดูปลาขนาดใหญ่ จำนวน 3 ตัว มีขนาดลำตัวเท่าเด็กเล็ก โดยเด็กๆต่างดูด้วยความสนใจ รวมถึงประชาชนที่มามุงดูต่างนำโทรศัพท์มือถือออกมาถ่ายรูป โดยตั้งแต่ทำงานที่ตลาดแห่งนี้มากว่า 20 ปี ไม่เคยเห็นปลากดคังตัวใหญ่ขนาดนี้มาก่อน ปลากดคังนี้เป็นตัวแรกใหญ่ที่สุดที่มีคนนำมาขายตลาดแห่งนี้ ปลาขนาดใหญ่ย้ายที่หากินมายังแม่น้ำปิงจังหวัดกำแพงเพชร เพราะเนื่องจากน้ำในแม่น้ำปิงเพิ่มมากขึ้น

    ด้านนางณัฐกานต์ พุทธา แม่ค้าจำหน่ายปลาแม่น้ำ เล่าว่า นายชาด ไม่ทราบนามสกุล พรานล่าปลาบ้านวังบัว ตำบลเทพนคร นำปลากดคังมาขายให้กับตนเอง จำนวน 3 ตัว บอกว่าใช้เบ็ดลาวตกได้ที่ฝายกั้นน้ำบ้านวังบัว ตำบลเทพนคร อำเภอเมืองกำแพงเพชร นำสายวัดมาวัด ปลากดคังยักษ์ ตัวใหญ่สุดเป็นตัวผู้ชั่งน้ำหนักได้ 30 กิโลกรัม ปลายหนวด 70 ซม. หัวถึงหาง 194 ซม. รอบลำตัว 84 ซม. หางกว้าง 31 ซม. คีบซ้ายไปขวา 71 ซม. ความกว้างของปาก 26 ซม. เงี่ยง 17 ซม. ความสูง 42 ซม. ปลากดคังยักษ์ที่มีขนาดใหญ่รองลงมา หนัก 20 กิโลกรัม วัดความยาวได้ 191 ซม. รอบลำตัว 89 ซม. ปลากดคังยักษ์ตัวที่สามหนัก 14 กิโลกรัม วัดความยาวรอบตัว 172 ซม. วัดรอบตัวได้ 78 ซม. และปลากดคังยักษ์ตัวที่หนักสุด 30 กิโลกรัม รับซื้อไว้ตัวละ 5,000 บาท ตั้งราคาขายตัวละ 6,000 บาท มีร้านอาหารจองไว้แล้ว ส่วนปลากดคังหนัก 20 กิโลกรัม ขายตัวละ 4,000 บาท และ ปลากดคังตัวที่หนัก 14 กิโลกรัม ขายตัวละ 2,800 บาท ส่วนนักตกปลานั้นได้เงินจากการขายปลาหมื่นกว่าบาท

    -http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU1URXdNVGc1TlE9PQ==&sectionid=-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ศปภ.แถลงภาพรวมสถานการณ์น้ำดีขึ้น บางชันป้องกันได้ พระราม 2 ยังปกติ แต่น้ำอาจเอ่อบางพื้นที่


    เมื่อเวลา 21.00 น. นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกร่วมศปภ. ได้ร่วมกันแถลงสถานการณ์น้ำล่าสุด ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

    สถานการณ์ในภาพรวม ปริมาณน้ำเริ่มลดลง แม้ในบางพื้นที่น้ำที่ท่วมขังอยู่เดิมจะแผ่กระจายไปในวงกว้าง แต่ระดับน้ำก็ไม่สูงขึ้น ภาพรวมของสถานการณ์น้ำท่วมจึงดีขึ้น

    โดยขณะนี้ ปริมาณน้ำราว 1 หมื่นล้านลบ.ม. ที่ท่วมอยู่บริเวณที่ราบเจ้าพระยา จะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ น้ำส่วนใหญ่ 3-4 พันล้านลบ.ม. จะถูกเก็บไว้ในทุ่งเพื่อใช้ในการเกษตร น้ำอีกส่วนประมาณ 1 ใน 3 จะไหลลงสู่ลำน้ำและทะเล ดังนั้น ที่ภาครัฐจะต้องระบายคือน้ำในส่วนนี้ และยังมีน้ำหลากทุ่งที่จะเป็นตัวปัญหา อีกประมาณ 3 พันล้านลบ.ม. ซึ่งจะถูกระบายผ่านฝั่งตะวันออกและตะวันตกอย่างละประมาณครึ่งๆ

    ทางด้านตะวันออก เส้นทางหลากน้ำหลักอยู่ที่ด้านตะวันออกของกทม. ต่อเนื่องถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ซึ่งน้ำจะไหลลงตามคูคลองที่ขุดลอกเตรียมไว้แล้ว น้ำบางส่วนอาจรั่วซึมเข้ามาเขตต่างๆ ทางกทม.ฝั่งตะวันออก ตามแนวคลองแสนแสบ อาทิ เขตมีนบุรี สะพานสูง บึงกุ่ม และบางกะปิ โดยในพื้นที่ต่ำบางแห่ง น้ำอาจเอ่อสูงขึ้นมาบ้าง แต่ไม่รุนแรง

    ส่วนทางเหนือของกทม. ซึ่งได้รับอิทธิพลจากน้ำที่มาทางตอนเหนือ หลังจากมีการวางบิ๊กแบ๊กเพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลเข้ามา ก็สามารถบริหารจัดการน้ำได้ โดยน้ำได้ถูกยันอยู่ที่แนวคลองบางซื่อ แนวโน้มน้ำท่วมในพื้นที่นี้จึงลดลง และถนนสายหลักจะกลับมาใช้งานได้ทั้งหมดเร็วๆ นี้ ส่วนทางตอนในของกทม. ตั้งแต่ใต้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิลงมาถึงสีลม ณ ตอนนี้ กล่าวได้ว่าน่าจะรอดพ้นจากอุทกภัย

    ทางด้านตะวันตกของกทม. คือ ฝั่งธนบุรี และปริมณฑล ได้แก่ จังหวัดนนทบุรีและสมุทรสาคร เดิมคาดว่าน้ำจะท่วมค่อนข้างนาน แต่สถานการณ์ดูเหมือนจะดีกว่าที่คาดเอาไว้ เพราะน้ำในคลองมหาสวัสดิ์มีแนวโน้มลดลงเร็วกว่าที่คิด จากมาตรการของกรมชลประทานที่ผันน้ำทุ่งลงไปเป็นน้ำท่าให้มากที่สุด นอกจากนี้ ช่วงน้ำทะเลหนุนสูงที่ผ่านมา ปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนก็ไม่ได้สูงตามที่คาดไว้

    สำหรับสถานการณ์ที่นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ได้มีการทำงานป้องกันไม่ให้น้ำจำนวนมากรั่วซึมเข้านิคมฯ ด้วยการใช้เครื่องสูบน้ำ 40 กว่าเครื่องสูบน้ำออกได้ทัน และระบายน้ำลงคลองแสนแสบ เพื่อเข้าสู่อุโมงค์ระบายน้ำที่พระราม 9 ต่อไป

    เช่นกันกับถนนพระราม 2 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สัญจรได้ปกติ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ใต้ถนนพระราม 2 ลงไป เป็นพื้นที่แก้มลิง จึงต้องระบายน้ำผ่านคลองต่างๆ ใต้พื้นที่ถนนพระราม 2 ลงไปให้มากสุด จนอาจมีน้ำเอ่อขึ้นมาบ้างในบางพื้นที่

    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321109582&grpid=00&catid=&subcatid=-

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    มวลน้ำจืดมุ่งลงอ่าวไทย กระทบนิเวศทางทะล คิดแก้กันหรือยัง



    [COLOR=##005800]โดย น.รินี เรืองหนู norrinee@gmail.com [/COLOR]


    (ที่มา คอลัมน์คลื่นคิดข่าว หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554)


    <table align="left" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"> <tbody> <tr bgcolor="#400040"> <td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>มหา อุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปีนี้ กินวงกว้างตั้งแต่พื้นที่บางส่วนของจังหวัดในภาคเหนือ ภาคกลาง ถึงกรุงเทพมหานคร ต่อเนื่องกันมารวมระยะเวลายาวนานไม่ต่ำกว่า 3 เดือน

    กรม ควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ประเมินว่าในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมที่มีน้ำขังเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 15 วัน มีทั้งสิ้น 14 จังหวัด ไล่เลียงมาตั้งแต่พื้นที่ จ.พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ สิงห์บุรี ชัยนาท ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี คิดเป็นปริมาณน้ำเสียมากถึง 138 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปริมาณนี้แบ่งเป็นน้ำเสียจากชุมชน 86,000 ไร่ และน้ำเสียจากพื้นที่เกษตรกรรม 3.2 ล้านไร่ แต่ปริมาณน้ำเสียเหล่านี้ยังไม่รวมถึงปริมาณน้ำเสียที่ท่วมขังอยู่ในพื้นที่ กรุงเทพฯ ขณะนี้

    ก็อย่างที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา บอกไว้ในบทสัมภาษณ์ล่าสุด "น้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ น้ำไหลจากตอนเหนือลงตอนใต้" วันนี้ก็ชัดเจน...น้ำกำลังไหลจากแผ่นดินตอนบนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และออกสู่อ่าวไทย

    ปรากฏการณ์ปลาลอยหัวตายเกลื่อนอยู่ในน้ำหลาย พื้นที่ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และนักสมุทรศาสตร์จากสถาบันต่างๆ เริ่มวิตกกังวลน้ำเสียจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในอ่าวไทย โดยเฉพาะกับสัตว์น้ำนานาชนิด

    ถึงขั้นนัดรวมตัวกันประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้

    คุณศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) บอกว่า สถานการณ์นี้ ในมิติทางทะเลถือว่าน่ากังวลยิ่งกว่าเหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เพราะมวลน้ำเสียปริมาณมหาศาลจะส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเล การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง กิจการท่องเที่ยว

    นั่นหมายถึงจะมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงประชาชนด้วย

    "เพราะ ขณะนี้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงขึ้น ถ้าเป็นลักษณะนี้น้ำจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ดังนั้น ทิศทางกระแสน้ำในอ่าวไทยตอนในน่าจะวนไปทาง จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี ซึ่งจัดเป็นพื้นที่เสี่ยงที่สุด เมื่อน้ำจืดลงไปถึงอ่าวไทย แม้ว่าจะไม่ทราบชัดเจนว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด แต่ตามหลักการเมื่อน้ำจืดลงสู่ทะเลมากๆ จะทำให้ค่าความเค็มของน้ำทะเลเปลี่ยนไป

    จากค่าปกติ 30-33 พีพีที (ส่วนในล้านส่วน) อาจลดต่ำในเวลาอันรวดเร็วเหลือเพียง 20-25 พีพีที

    น้ำ จืดที่เน่าเสียจะทำให้สัตว์น้ำประจำถิ่น เช่น หอยแครง หอยนางรม หอยแมงภู่ทั้งในธรรมชาติและที่เพาะเลี้ยงชายฝั่งได้รับผลกระทบโดยตรง ส่วนปลาทะเล เช่น ปลาทู ถ้าค่าออกซิเจนละลายน้ำ (ดีโอ) ลดลงเหลือ 0-1 มิลลิกรัมต่อลิตร ปลาจะตายเพราะขาดออกซิเจน ซึ่งสังเกตได้ง่ายจากปรากฏการณ์ปลาลอยหัวขึ้นมาหาอากาศบนผิวน้ำ"

    "ถ้า น้ำจืดที่ลงทะเลเป็นน้ำนิ่ง และคลื่นไม่แรงก็จะทำให้มวลน้ำที่ผสมกันในทะเลแบ่งออกเป็นชั้น โดยชั้นบนจะเป็นมวลน้ำจืด และส่วนชั้นล่างจะเป็นน้ำเค็ม ทั้งนี้ หากมวลน้ำจืดด้านบนขุ่นมากจนแสงส่องไม่ถึงน้ำเค็มชั้นล่าง ปลาจะขาดออกซิเจนทันที โดยเฉพาะปลาทูอยู่ในกลุ่มที่น่าเป็นห่วงและจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมนี้ ปลาทูจะอพยพจากทะเลชุมพร ขึ้นมาบริเวณอ่าวไทย แถว อ.แม่กลอง จ.สมุทรสงคราม หากมีน้ำเสียลงสู่อ่าวไทยบริเวณนี้ อาจส่งผลให้ปลาทูต้องถอยร่นไปอยู่บริเวณพื้นที่ จ.เพชรบุรี แทนที่จะว่ายไปถึงแม่กลอง"

    คุณศักดิ์อนันต์กล่าวไว้

    ถึง ตรงนี้แล้วยิ่งน่าเป็นห่วง เพราะนักกินปลาทูต่างรู้ดีว่า หากจะกินปลาทูให้อร่อย ต้องกินปลาทูแม่กลองเท่านั้น ไม่เพียงเท่านั้น ปัญหานี้ยังส่งผลกระทบไปถึงกลุ่มประมงชายฝั่งพื้นบ้าน กลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ตั้งแต่บริเวณปากอ่าวไทย เช่น บางขุนเทียน ท่าจีน ปากน้ำแม่กลอง ดอนหอยหลอด คลองโคน บ้านบางตะบูน บ้านแหลม เพชรบุรี ด้วย

    เว็บไซต์ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล ระบุว่า ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกที่มีผลผลิตด้านการประมงสูงมาก และยังติดอันดับต้นๆ ของผู้ส่งออกมาตั้งแต่ปี 2535 โดยพบว่าในปี 2551 มีผลผลิตมวลรวมในสาขาประมง 105,977 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของผลผลิตมวลรวมภาคเกษตร หรือร้อยละ 1.2 ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี)

    ที่สำคัญกว่านั้น กิจกรรมประมงยังเกี่ยวข้องกับคนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล หรือบริเวณใกล้เคียง หากให้นับเป็นหมู่บ้านจะได้มากกว่า 2,000 หมู่บ้าน มีครัวเรือนที่ทำประมงทะเลตามข้อมูลสำมะโนประมงทะเลในปี 2543 จำนวน 55,981 ครัวเรือน และมีตลาดแรงงานรองรับซึ่งสำรวจในปี 2543 มากถึง 826,657 คน โดยอยู่ในภาคของประมงทะเล 161,670 คน เป็นกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงชายฝั่ง 77,870 คน อยู่ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับการประมง 183,100 คน ส่วนที่เหลืออยู่ในภาคกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด

    นอกจากนี้ การประมงแห่งประเทศไทย ได้สำรวจพื้นที่การเพาะเลี้ยงชายฝั่งไว้ในปี 2546 พบว่ามีประมาณ 512,620 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวก็มีปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องภัยธรรมชาติ และเรื่องน้ำเสียมาตลอด

    แม้ว่า กรมควบคุมมลพิษจะมั่นใจว่าปัญหาน้ำทะเลจืดและเสื่อมคุณภาพจะฟื้นฟูได้เองโดย ธรรมชาติ แต่เชื่อว่าคราวนี้อาจจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ

    แล้ววันนี้...รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการอะไรไว้บ้างหรือยัง?


    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321081715&grpid=&catid=02&subcatid=0207-

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    "หมอประเสริฐ" ออกโรงเตือนภัยโรคระบาดหลังน้ำลด"ฉี่หนู-ไข้หวัดนก"อันตรายสุด และอีก9โรคที่น่าเป็นห่วง

    [​IMG]



    [​IMG]รับชมข่าว VDO [COLOR=##005800]ชมคลิป[/COLOR]




    ต้องไม่ลืมว่า ภายหลังจากน้ำลด ถือว่าเป็นปัญหาหนึ่ง ที่ไม่น้อยไปกว่าการปัญหาน้ำท่วมแต่อย่างใด


    โดยเฉพาะการเยียวยาผู้ที่ได้รับกระทบ รวมถึงการฟื้นฟูต่างๆ


    แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้นั่นก็คือ "โรคระบาด" ที่มักจะมากับปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ


    ฉะนั้น การจัดการกับปัญหาโรคต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด รวมถึงการป้องกันโรค จึงเป็นการบ้านหนักของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้ามาดูแล


    ขณะที่หลายๆ สิ่ง เราสามารถดูแลตัวเองได้ โดยไม่เป็นการไปเพิ่มภาระให้กับผู้อื่น โดยเฉพาะการป้องกัน และปฏิบัติอย่างถูกวิธี


    จากกรณีดังกล่าว ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล และที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อดีตที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก (WHO)ได้ให้สัมภาษณ์กับ "มติชนออนไลน์" ถึงการเตือนภัยเรื่องโรคระบาดช่วงหลังน้ำลดว่า วิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตที่ใหญ่ เพราะกินพื้นที่กว้างขวางและเกิดในสมัยที่มีโรคอุบัติใหม่ มีโรคระบาดใหม่เพิ่มขึ้นมาก จึงเป็นเรื่องที่น่ากลัว ผู้มีหน้าที่ตั้งรับควรเตรียมตัวให้พร้อม รัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขต้องเตรียมตัวให้พร้อม แต่เท่าที่ผมมองดูแล้วนั้น ผู้บริหารฝ่ายราชการในกระทรวงสาธารณสุขเข้มแข็งพอสมควร ผู้บริหารแต่ละคนมีการลงพื้นที่ตามจุดต่างๆ เพื่อดูแลทุกข์สุขของประชาชนตลอดเวลา


    "ผมห่วงแต่ทางฝ่ายการเมืองจะสนับสนุนเต็มที่ได้แค่ไหน ถ้าหากทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายข้าราชการ และฝ่ายการเมืองประสานงานกันได้ถูกต้อง เรียบร้อย ทันการณ์ไม่น่าเป็นห่วงครับ"


    หลังน้ำลดหลายคนเป็นห่วงเรื่องโรคระบาด เราควรตั้งรับอย่างไรบ้าง?


    นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า โรคระบาดที่มักพบเสมอในช่วงที่เกิดภาวะน้ำท่วม และหลังน้ำลด มีทั้งโรคระบาดที่มีอันตราย และโรคที่ไม่มีอันตราย 1.โรค ตาแดง มีระยะฟักตัวสั้น 24-48 ชั่วโมง เจ็บตา เคืองตา รักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวะนะหยอด และรับประทานบ้าง โรคนี้ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่จะมีปริมาณผู้ป่วยมาก ถ้าเกิดการระบาด เพราะติดต่อกันได้ง่าย


    2.น้ำ กัดเท้า เกิดจากกลุ่มคนที่ต้องเดินลุยน้ำตลอด เช่น พ่อค้า แม่ค้า ทหาร ตำรวจ โดยรัฐบาลควรเตรียมยาเอาไว้ให้พร้อม อย่างยาฆ่าเชื้อรา และมีการให้คำแนะนำกับประชาชน เพื่อให้ดูแลรักษาตัวเองให้ถูกต้องอันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ


    3.โรคฉี่หนู เป็นโรคที่มักพบในช่วงภาวะน้ำท่วม และเป็นโรคที่อันตราย มักมีการตรวจพบเชื้ออยู่ในน้ำสกปรก เชื้อโรคมีลักษณะตัวเป็นเกลียวสามารถไชเข้าไปตามผิวหนังธรรมดาได้ การตั้งรับรัฐบาล โดยทางกระทรวงสาธารณสุขต้องเตือนสถานบริการต่างๆ ให้ระวัง และให้ความรู้ว่า โรคฉี่หนูมีอาการเป็นอย่างไร ถึงต้องรีบไปสถานพยาบาล และมีวิธีการรักษา โรคฉี่หนูถือเป็นโรคที่ไวต่อยาปฏิชีวนะจำพวกเพนิซิลิน (Penicillins) ขณะที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องเข้ามาช่วยในการตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติ การ


    ในต่างจังหวัดที่พบโรคฉี่หนูบ่อยๆ ได้แก่ จ.ขอนแก่น จ.บุรีรัมย์ และจ.เลย แต่กว่าจะวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคฉี่หนู คนไข้มักมีอาการรุนแรง ไม่ฟื้นแล้ว หากมีการระบาดของโรคฉี่หนู จะเกิดการระบาดต่อเนื่องไปอีกหลายเดือน เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ยังไม่รู้ว่า น้ำจะลดลงเมื่อไหร่


    4.โรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดา เคยระบาดแล้ว อาจจะกลับมาอีก เพราะอากาศชื้น อากาศเย็น เป็นโอกาสที่โรคจะกลับมาระบาดได้


    5.โรคไข้หวัดนก เป็นโรคที่ผมเป็นห่วงมากที่สุด หลายครั้งที่มักระบาดในช่วงหลังน้ำลด หรือหลังลดฝนตกชุก ปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซียมีทั้งในสัตว์ปีก และพบในคน ประเทศไทยไม่มีการตรวจพบมาหลายปี แต่หากปล่อยปละละเลย หรือไม่เอาใจใส่เรื่องสัตว์ปีกตาย เช่น อยู่ๆ สัตว์ปีกในฟาร์มร่วงตายจำนวนมากภายในเวลา 24 - 48 ชั่วโมง นับจากวันที่ตรวจพบโรคในฟาร์มดังกล่าวปีกประมาณ 1 - 1.5 เดือน โอกาสไข้หวัดนกจะระบาดมาที่คนมีมาก


    แม้การติดต่อมาสู่คนยังยากอยู่ แต่มีโอกาสติดสู่คนที่อยู่ใกล้ชิด ดังนั้น ทางเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ต้องมั่นเตือนเจ้าหน้าที่ดูแลการเลี้ยงไก่ เป็ด และนก ให้มาก ทางกระทรวงสาธารณสุข ต้องคอยเตือนเจ้าหน้าที่ว่าโรคยังมีอยู่ให้ระวัง ประเทศอียิปต์ยังมีคนตายทุกเดือน ในบังคลาเทศ และอินเดียยังมีสัตว์ปีกเป็นโรคไข้หวัดนก ในสิ่งแวดล้อมของโลกเราไข้หวัดนกยังอยู่ ยังไม่ไป มันแอบซ่อนอยู่


    6.โรค ที่ติดต่อโดยแมลง เช่น โรคไข้เลือดออก ไม่น่าห่วงเท่าไหร่ เพราะยุงลายจะเพาะพันธุ์หรือวางไข่ในน้ำฝน น้ำสะอาด ที่นิ่งสนิท การแพร่พันธุ์ในน้ำท่วมขณะนี้จะเป็นพวกยุ่งรำคาญ จะนำโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งยังรุนแรงน้อยกว่าไข้เลือดออก


    7.โรคทางเดินอาหาร น่าเป็นห่วง เพราะน้ำท่วมมีการล้นเข้าไปในคลองประปา โรคทางเดินอาหารที่มาจากน้ำถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะพบบ่อยคือ โรคอหิวาตกโรค หากมีการรายงานว่า มีการติดเชื้อขึ้นบริเวณใดสัก 1-2 ราย จะมีการแพร่เชื้อไปได้เร็วมาก เพราะน้ำที่ท่วมสกปรก แม้น้ำประปาที่มีการออกมารับรองว่า สะอาด มีการสุ่มตรวจอยู่ตลอดเวลา ผมก็เชื่อ และผมชมเชยว่า การประปาสามารถทำให้เรามีน้ำใช้ได้ตลอดเวลา


    แต่ในบางจุดอาจจะมีพลาดไปได้บ้าง เช่น เมื่อ 3 - 4 วันที่ผ่านมาเมื่อเปิดก๊อกยังมีตัวสงกรานต์หรือตัวร้อยขาออกมา แสดงให้เห็นว่า มีโอกาสที่เชื้ออุจจาระจะปนเปื้อนออกมา ทำไมจะเป็นไปไม่ได้ อาจจะมีได้บ้าง อาจจะมีท่อตรงไหนแตก ถ้าความดันตก ทำให้สิ่งปนเปื้อนกลับเข้าไปในท่อได้ โรคอหิวาตกโรคมีโอกาสเกิดได้ โดยเฉพาะที่เป็นน้ำกร่อย อาหารทะเล หอย กุ้ง ปู ปลาที่ปรุงไม่สุก แต่ถ้าทำให้สุกหมดปัญหา เชื้อพวกนี้ตายง่าย


    โรคบิด มีในน้ำไม่สะอาด พวกเชื้อไทฟอยด์ก็มีได้ ตรงนี้อยากให้ทางกระทรวงสาธารณสุขเตือนสถานบริการว่า การจะวินิจฉัยโรคได้โดยเร็วได้อย่างไรจะได้การวินิจฉัยที่แน่นอน การรักษาต้องบอกไปว่า ขณะนี้มียาปฏิชีวนะหรือสารเคมีอะไรใช้ได้บ้าง ต้องเตรียมยาพวกนี้ไว้


    8.โรคระบบทางเดิน หายใจ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดา หากกระทรวงสาธารณสุขมีวัคซีนเพียงพอ แต่จะทำอย่างไรจะให้ประชาชนเข้าถึงมาฉีดป้องกัน ผมอยากเชิญชวนประชาชนมาฉีดกัน เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขลดภาระในการดูแลคนเจ็บป่วยที่อาการหนักมากกว่านี


    นอกจากนั้น มีไวรัสอื่นๆ เช่น ไวรัสที่ระบบหายใจ ไวรัสปอดอักเสบในเด็ก เช่น Respiratory Syncytial Virus หรือ RSV และที่ทางโรงพยาบาลวิชัยยุทธออกมาเตือน


    เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาถึงการระบาดของ เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (Human metapneumovirus หรือ HMPV) ว่า เชื้อไวรัสดังกล่าวเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจกลุ่มเดียวกับไข้หวัดใหญ่ ทำอันตรายกับปอดหรือหลอดลมฝอย อาจจะทำให้ปอดบวมหรือเสียชีวิตได้เหมือนกัน อันนี้ยังไม่ถึงกับระบาด เป็นการออกมาเตือน เพื่อให้แพทย์จะได้ตระหนัก จะได้หาวิธีวินิจฉัย และพิสูจน์ให้ได้ เพื่อรักษาให้ถูกต้อง


    9.โรคพิษสุนัขบ้า เป็นอีกโรคที่มักพบได้ในช่วงน้ำมาก


    โรคที่ควรตระหนักมากที่สุดตอนนี้คือโรคอะไร?


    โรคฉี่หนู จะมีทั้งปอดบวม ตกเหลือ และไตวายได้ ตอนต้นแพทย์มักจะวินิจฉัยไม่ได้ และเสียชีวิตได้ง่าย ถ้าหากว่า วินิจฉัยไม่ถูก ก็รักษาไม่ถูกทาง แล้วระบาดได้ง่ายมาก เพราะน้ำท่วมไปหลายจังหวัด หลายพื้นที่ การระบาดแพร่เชื้อไปได้ไกลๆ ในน้ำ ส่วนความพร้อมของกระทรวงสาธารณสุขในการเฝ้าระวังโรคนั้น ผมว่าคงจะพร้อมในระดับหนึ่ง ในทางการแพทย์บ้านเรา การรักษาค่อนข้างจะดี อาจจะย่อหย่อนไปบ้างในเรื่องของการเฝ้าระวัง ถ้าหากเข้มงวดในการเฝ้าระวัง แพทย์ผู้พบหลายแรกๆ อาจต้องรีบบอกกล่าวให้ทราบกัน เพื่อจะได้ตระหนัก อันนี้จะสำคัญ การเฝ้าระวัง ผมอยากเน้นให้หนักว่า ถ้าใครตรวจพบโรคที่อันตรายจะได้ช่วยกันรักษา แก้ไข


    ข้อแนะนำการป้องกันตัวในช่วงน้ำท่วม


    1.เรื่องการรับประทานอาหาร ขอให้ปรุงอาหารให้สุก น้ำดื่มให้สะอาด น้ำดื่ม อย่าให้สุกๆ ดิบๆ เพราะโอกาสที่จะปนเปื้อนกับเชื้อโรคต่างๆ มีมาก เช่น หอยแครงลวกต้องให้ลวกสุกๆ อย่าให้แดง เพราะโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคพวกอหิวาตกโรคมีความเสี่ยง


    2.การป้องกันตัวเองเวลาลุยน้ำให้ใส่รองเท้าบูทสูง ปลอดภัยทั้งจากโรคน้ำกัดเท้า และโรคฉี่หนู และถึงแม้จะใส่รองเท้าบูท เมื่อกลับถึงบ้านต้องล้างน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด เพื่อชะล้างเชื้อแบคทีเรียที่จะทำให้เกิดแผลธรรมดา หรือเชื้อโรคฉี่หนูออกไปได้


    3.ควรจะระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุ การเดินอย่ารีบร้อน


    4.ไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต ก็ต้องให้ระมัดระวัง โดยเฉพาะตรงบริเวณไหนที่เปียกชื้น หากตัดไฟได้ก็ตัดไฟก่อนที่จะเกิดเหตุอันตราย ที่ผ่านมามีข่าวออกมาพอสมควร และควรมีการเรียนรู้เรื่องการช่วยเหลือคนที่ถูกไฟช็อตที่ถูกต้อง เช่น ต้องหาไม้เขี่ยสายไฟออกก่อน ไม่ใช่วิ่งเข้าไปช่วยทันทีจะทำให้ถูกไฟช็อตไปด้วย


    ควรรักษาสุขภาพจิตในสภาวะที่มีความเครียดช่วงน้ำท่วมอย่างไร?


    ผมมีความรู้สึกว่า อย่าไปนั่งเฝ้าทีวีตลอดเวลา ผมเองดูและฟังข่าวทีวีแล้ว ยังมีความรู้สึกเหมือนว่า น้ำท่วมจะมาถึงบันไดบ้านเราแล้ว เราควรฟังเพียงวันละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อให้ทราบข้อมูลล่าสุด และขอให้ลดความเครียด โดยพิจารณาตัวเราเองเปรียบเทียบกับคนอื่นที่มีความทุกข์มากกว่าเรา


    ถ้าเรายังสุขสบายอย่าไปเครียด พยายามหัวเราะให้ดัง ๆ สักวันละ 1 - 2 ครั้ง คนเราถ้าหัวเราะได้ดัง ๆ ก็จะดี พบเพื่อนฝูงทักทายกันก็จะคลายเครียด อย่าไปนึกแต่ว่าน้ำจะมาท่วมบ้านแล้ว งูพิษ จระเข้จะมาหรือไม่ ผมอยากจะเตือนเรื่องสัตว์มีพิษที่เราควบคุมไม่ได้ อย่าไปนำมาเลี้ยงเลย พอหลุดไป อันตรายต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ผิดกฎหมาย และหากสัตว์เหล่านั้นไปกัดคนตาย เราจะมีความผิดไปด้วย


    การที่หลายคนสต๊อกยาจะส่งผลให้ยาขาดแคลนหรือไม่?


    ผมไม่ห่วงเรื่องนี้ เพราะกระทรวงสาธารณสุข โดยองค์การเภสัชกรรม และสภากาชาดไทยผู้ทำหน้าที่ผลิตยาและวัคซีนทั้งสองหน่วยงานมีผู้บริหารที่ เข้มแข็ง ช่วยเหลือประเทศยามขาดแคลนได้ และเมื่อถามว่า ปัญหาการประสานงานระหว่างหน่วยงานของภาครัฐด้วยกันหรือไม่ ตอนนี้ในแง่ของการให้การกระจายข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตค่อนข้างดี ทางกระทรวงสาธารณสุขมีอะไรก็ไปประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (VDO conference)


    นอกจากนั้น หากมีแพทย์ท่านใดตรวจพบโรคใหม่ๆ ที่ไม่เคยพบกัน และยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจน ก็ส่งข้อมูลกันทางอินเตอร์เน็ตมาหารือประชุมร่วมกัน ผมเป็นห่วงเรื่องที่ว่า เริ่มต้นใครจะเป่านกหวีด ถ้ามีคนเป่านกหวีดก็จะแก้ปัญหากันได้เร็ว อย่าปกปิดข้อมูล

    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321094101&grpid=&catid=19&subcatid=1904-

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เหอๆๆ ต้องลงให้อ่าน เผื่อหลายๆท่านไม่ได้อ่าน



    .------------------------------------------------------.

    ใจถึง!ต่อยปาก"ส.ส.เก่ง การุณ"ฉีก เย็บ 5 เข็ม! <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ทีมข่าวอาชญากรรม</td> <td class="date" align="left" valign="middle">13 พฤศจิกายน 2554 00:30 น.</td></tr></tbody></table>

    ชาวบ้านไม่พอใจส.ส.เก่งการุณ ซิ่งเจ็ตสกีสวนกับเรือพายชาวบ้าน คลื่นเจ๊ตสกีซัดจนเรือพายชาวบ้านล่ม หลังจากนั้นไม่นาน ส.ส.จอมถีบ พาร่างสะบักสะบอมไปแจ้งความ ถูกชาวบ้านต่อยปากฉีก จนต้องเย็บถึง 5 เข็ม ซึ่งจอมถีบแจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้านเพียงคนเดียว แต่ยังไม่ได้รับการเปิดเผยชื่อ

    วันนี้ (13 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดทั้ง 2-3 วันที่ผ่านมา มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมออนไลน์ถึงพฤติกรรมของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร์ หรือส.ส. เขตดอนเมือง นายการุณ โหสกุล ของพรรคเพื่อไทย โดยกระแสวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวระบุว่า ภายหลังจากที่มีกลุ่มอันธพาลไปพังคันกั้นน้ำคลองประปาบริเวณแยกศรีสมาน จนเกือบทำให้ชาวกรุงเทพมหานครอาจไม่มีน้ำประปาใช้ทั้งเมือง เพราะน้ำเน่าเสียจากเหตุน้ำท่วมไหลทะลักเข้าคลองประปา แต่สถานการณ์ดังกล่าวก็ถูกแก้ไขไปได้ด้วยดี โดยเฉพาะพื้นที่เขตดอนเมือง ซึ่งยังคงมีปริมาณน้ำท่วมสูง ซึ่งเมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา นายการุณ หรือเก่ง โหสกุล ได้ลงพื้นที่ฐานเสียง นัยว่า เพื่อเยี่ยมเยียนประชาชนในพื้นที่ โดยขับเจ็ตสกี กับทีมงานไปในพื้นที่

    ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ในสังคมออนไลน์ดังกล่าวว่าระบุต่อว่า ระหว่างทางที่นายการุณ ขับเจ๊ตสกีไปนั้น ได้สวนกับเรือของชาวบ้านที่พายออกมา แต่คลื่นจากเจ๊ตสกีของนายการุณทำให้เรือชาวบ้ายล่มลง ทุกคนที่โดยสารมากับเรือตกน้ำหมด จนทำให้คนในเรือที่ตกลงไปในน้ำพาก่นด่า สาปแช่ง ซึ่งนายการุณก็ได้มองเห็นเหตุการณ์มาตลอด จากนั้น นายการุณ ได้วกเจ็ตสกีกลับมายังจุดเกิดเหตุอีกครั้ง โดยไม่ทราบจุดประสงค์ และเมื่อถึงในที่เกิดเหตุ ในสังคมออนไลน์ระบุว่า มีเสียงปืนดังขึ้น โดยไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากกระสุนปืน แต่หลังจากนั้น เมื่อนายการุณขับเจ็ตสกีไปต่อ อีกพักหนึ่งจึงมีกลุ่มชายฉกรรจ์ กลับไปทำร้ายชาวบ้านกลุ่มดังกล่าว จนได้รับบาดเจ็บ และมีการเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวนสน.ดอนเมือง

    เพื่อความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว ผู้สื่อข่าว ได้สอบถามไปยังพ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐผล ผกก.สน.ดอนเมือง ซึ่งได้รับทราบข้อเท็จจริงว่า เรื่องที่อยู่ในสังคมออนไลน์ดังกล่าว เป็นเพียงเรื่องจริงบางส่วน ไม่มีการยิงปืนแต่อย่างใด แต่ในอีกแง่มุมของเรื่องกลับตาลบัตร

    พ.ต.อ.รังสรรค์ กล่าวว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าว นายการุณ ได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวนสน.ดอนเมืองว่า ถูกทำร้ายร่างกาย โดยเหตุเกิดเมื่อ 2 วันก่อน เวลาประมาณ 24.00 น. นายการุณได้ขับขี่เจ็ตสกีออกมาจากบ้าน และระหว่างทางได้ขี่สวนกับเรือของชาวบ้านในย่านดอนเมืองทำให้เรือของชาว บ้านพลิกคว่ำ ล่มลง หลังจากนั้นนายเก่ง ก็ได้ขับเจ็ตสกีย้อนกลับไปดูเรือที่ล่ม แต่กลับพบกับกลุ่มชาวบ้านซึ่งไม่พอใจกับการขับขี่เจตสกีของนายการุณอยู่

    "ชาวบ้านที่ไม่พอใจ ได้ลงมือชกต่อยนายการุณจนได้รับบาดเจ็บ ปากแตก ต้องเย็บถึง 5 เข็ม ทำให้นายการุณได้เดินทางมาแจ้งความลงบันทึกประจำวันไวักับพนักงานสอบสวน สน.ดอนเมือง และขณะนี้ อยู่ระหว่างการรอใบผลพิสูจน์ตรวจร่างกายจากแพทย์เพื่อจะนำไปประกอบในการส่ง ฟ้องคนที่ทำร้านนายการุณต่อไป"พ.ต.อ.รังสรรค์กล่าว

    มีรายงานว่า การแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายนายการุณนั้น นายการุณได้แจ้งดำเนินคดีกับชาวบ้านเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นคนที่ทำร้ายนายการุณจนปากฉีก ต้องเย็บถึง 5 เข็ม แต่คนที่ถูกดำเนินคดีดังกล่าว ยังไม่ได้รับการเปิดเผยชื่อแต่อย่างใด โดยตามขั้นตอนเชื่อว่า ตำรวจอยู่ระหว่างการออกหมายเรียกเพื่อให้มารับทราบข้อกล่าวหา

    ก่อนหน้านี้ไม่นาน เมื่อวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา นายการุรตกเป็นข่าวว่าถูก น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ถีบจนถลาหลังการประชุมสถานการณ์น้ำท่วม ภายในโรงเรียนฤทธิ์ยวรรณลัย 2 ระหว่างการประชุ่มร่วมรัฐบาลกับกทม. ทว่านายการุณปฏิเสธ ในขณะที่น.ส.มัลลิกายืนว่าว่าเป็นเรื่องจริง


    -http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9540000144622-

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รถรับ-ส่งประชาชน 21 เส้นทาง เรือพื้นที่น้ำท่วมสูง <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">12 พฤศจิกายน 2554 18:10 น.</td></tr></tbody></table>

    กทม.จัดรถ 170 คัน รับ-ส่งปชช. 21 เส้นทาง ให้บริการระหว่างเวลา 6 โมงเช้าถึง 4 ทุ่ม จัดเรือรับส่งในพื้นที่น้ำท่วมสูง

    วันนี้ (12 พ.ย.) นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า กทม.ร่วมกับ ขสมก. ทหาร และหน่วยงานอื่นๆ จัดรถรับ - ส่งประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 21 เส้นทาง จำนวนรถ 170 คัน ครอบคลุมพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด โดบจะให้บริการระหว่างเวลา 06.00 - 22.00น. ตามเส้นทาง ดังนี้ ถ.กำแพงเพชร 6 โลคัลโร้ด จากแยกบางเขนตลอดสาย สุดเขตดอนเมือง จำนวน 6 คัน, ถ.แจ้งวัฒนะ - ถ.เลียบคลองประปา จำนวน 2 คัน, ถ.พหลโยธิน ตั้งแต่สะพานควาย - อนุสรณ์สถานฯ จำนวน 10 คัน, ถ.วิภาวดี ตั้งแต่แยกสุทธิสาร - อนุสรณ์สถานฯ จำนวน 10 คัน

    ถ.ประชานิเวศน์ ตั้งแต่ถนนวิภาวดีรังสิต - ถ.เลียบคลองประปา จำนวน 2 คัน, ถ.ลาดพร้าว - วังหิน ตลอดสาย จำนวน 2 คัน, ถ.ลาดปลาเค้า ตั้งแต่รามอินทรา - แยกวังหิน - โชคชัย 4 จำนวน 2 คัน, ถ.ช่างอากาศอุทิศ ประชาอุทิศ โกสุมร่วมใจ วัดเวฬุวนาราม เชิดวุฒากาศ จำนวน 8 คัน, ถ.สรงประภา - นาวงษ์ประชาพัฒนา - เตชะตุงคะ - ซ.สรณคมน์ - เชิดวุฒากาศ จำนวน 8 คัน, ถ.งามวงศ์วาน ตั้งแต่แยกเกษตร - แยกพงษ์เพชร จำนวน 2 คัน

    ส่วน ถ.รัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกสุทธิสาร - ถ.วิภาวดี จำนวน 2 คัน, ถ.สายไหม ตลอดสาย จำนวน 3 คัน, ปากซอยวัชรพล - ถ.สุขาภิบาล 5 จำนวน 5 คัน, ถ.รามอินทราจากแยกหลักสี่-กม.8 จำนวน 4 คัน, ถ.นวมินทร์ กม.8 - คลองลำชะล่า จำนวน 2 คัน, ถ.สุวินทวงศ์ ตั้งแต่คลองสามวา - วัดแสนสุข จำนวน 2 คัน, ถ.พระยาสุเรนทร์ตลอดสาย จำนวน 4 คัน, ถ.บรมราชชนนีตั้งแต่แยกบรมราชชนนีตลอดสาย (จรัญสนิทวงศ์ - พุทธมณฑลสาย4) จำนวน 8 คัน, ถ.เพชรเกษม จากแยกท่าพระ - ถ.พุทธมณฑลสาย 4 จำนวน 8 คัน, ถ.บางบอน 1 (ถ.บางบอน - บางแค)ตั้งแต่แยกเอกชัย - ถ.เพชรเกษม จำนวน 2 คัน, ถ.กาญจนาภิเษก ตั้งแต่เพชรเกษม - คลองมหาสวัสดิ์ จำนวน 5 คัน

    นอกจากนี้ ยังได้จัดเรือให้บริการในพื้นที่น้ำท่วมสูง ได้แก่ เขตหลักสี่ 13 ลำ ใน 7 เส้นทาง เขตทวีวัฒนา 32 ลำ ใน 4 เส้นทาง และเขตตลิ่งชัน 34 ลำ ใน 3 เส้นทาง


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000144575-

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...