พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    'ธีระ'รับห่วง'เขื่อนป่าสักฯ'

    [​IMG]

    'ธีระ' รับผิดประเมินมวลน้ำพลาด แต่ทำด้วยเจตนาดี คำนึงประโยชน์ประเทศเป็นหลัก รับนอนไม่หลับ ห่วง 'เขื่อนป่าสักฯ' หลังเก็บน้ำเกินความจุ

    7 พ.ย.54 นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ ชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภาภายหลังที่ ส.ว.ได้อภิปรายในวาระพิจารณาปัญหาสถานการณ์การเกิดอุทกภัยร้ายแรงในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย ว่า ยอมรับว่าการบริหารจัดการน้ำ ที่เป็นผลผลิตของน้ำฝน (น้ำท่า) ซึ่งเกิดจากพายุหลายลูกติดต่อกัน ทำให้การประเมินระดับน้ำในพื้นที่เขื่อน หรือ อ่าง ที่ผ่านมานั้นมีความคลาดเคลื่อน แต่ตนยอมรับว่าการกระทำใดนั้น ทำด้วยเจตนาดี และคำนึงถึงผลประโยชน์ต่อประเทศเป็นหลัก แต่การบริหารจัดการน้ำทุ่ง ตนชี้แจงตรงๆ ว่า เป็นเรื่องที่ยาก และยุ่งยาก เพราะไม่สามารถคาดปริมาณน้ำที่จะไหลไปสู่ทิศทาใดได้ อีกทั้งที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องมวลชนมาโดยตลอด ดังนั้นขณะนี้จะประเมินว่าใครผิดหรือถูกนั้นต้องให้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

    “ช่วงหนึ่งน้ำเขื่อนสูง และเกิดอุทกภัยตอนล่างเขื่อน หากระบายน้ำออกจากเขื่อนเท่ากับเป็นการซ้ำเติมประชาชน เช่น ที่เขื่อนภูมิพล หากระบายจะมาสมทบกับลุ่มน้ำน่าน ทำให้น้ำสูง บางสถานการณ์เป็นการยากที่คาดการว่าน้ำจะมีน้ำมาก หรือ น้อยพียงใดโดยเฉพาะน้ำที่มาจากพายุ ที่ผ่านมากรมอุตินิยมวิทยา สามารถแจ้งได้เร็วสุดเพียง 1 สัปดาห์ก่อนพายุจะเข้าเท่านั้น ทุกวันนี้ผมยอมรับว่าผมนอนไม่หลับ เป็นเพราะว่าที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้กักเก็บน้ำไว้ 1,011 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเกินความจุไปแล้ว” นายธีระ กล่าว นายธีระ ชี้แจงอีกว่าสำหรับปริมาณนี้ที่เหลืออยู่ขณะนี้ พบว่าน้ำที่อยู่เหนือจังหวัดนครสวรค์ มีปริมาณน้ำประมาณ 1,900 ล้าน ลบ.ม. และอยู่ทางตอนล่างจังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำประมาณ 9,600 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งแบ่งเป็นน้ำทางฝั่งตะวันตก 2,700 ล้าน ลบ.ม. และน้ำทางตะวันออก 6,900 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้ำที่ไหลลงสู่พื้นที่กทม. ขณะนี้ คือ น้ำที่มาจากจังหวัดอยุธยาและปทุมธานี ที่ผ่านมา ได้ใช้วิธีบริหารจัดการน้ำให้ลงตามคลองต่างๆ เช่น คลองรพีพัฒน์, คลองหกวาสายล่าง แล้วใช้วิธีการสูบออก แต่ขณะนี้มีอุปสรรค เพราะไม่มีเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เพียงพอ ที่ผ่านมาได้ติดต่อขอซื้อไปในต่างประเทศ แต่เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่นั้นจำเป็นต้องประกอบขึ้น และใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ให้ขณะนี้มีเครื่องสูบน้ำที่ใช้ได้เพียง 18 เครื่อง ซึ่งตนได้แก้ปัญหาคือให้ถอดเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำถาวรในพื้นที่ที่ไม่ ได้ใช้งานออกมา จำนวน 17 เครื่อง และได้นำมาระดมสูบน้ำที่คลองรังสิต และคลองหกวาสายล่างแล้ว โดยที่ผ่านมาสามารถระบายน้ำและทำให้น้ำลดระดับลงได้ประมาณ 10 ซม.


    -http://www.komchadluek.net/detail/20111107/114292/%C3%A0%C2%B8%C2%98%C3%A0%C2%B8%C2%B5%C3%A0%C2%B8%C2%A3%C3%A0%C2%B8%C2%B0%C3%A0%C2%B8%C2%A3%C3%A0%C2%B8%C2%B1%C3%A0%C2%B8%C2%9A%C3%A0%C2%B8%C2%AB%C3%A0%C2%B9%C2%88%C3%A0%C2%B8%C2%A7%C3%A0%C2%B8%C2%87%C3%A0%C2%B9%E2%82%AC%C3%A0%C2%B8%C2%82%C3%A0%C2%B8%C2%B7%C3%A0%C2%B9%C2%88%C3%A0%C2%B8%C2%AD%C3%A0%C2%B8%C2%99%C3%A0%C2%B8%C2%9B%C3%A0%C2%B9%C2%88%C3%A0%C2%B8%C2%B2%C3%A0%C2%B8%C2%AA%C3%A0%C2%B8%C2%B1%C3%A0%C2%B8%C2%81%C3%A0%C2%B8%C2%AF.html-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ชาติไทยพัฒนา เดือด! โต้ เพื่อไทย กล่าวหาต้นเหตุน้ำท่วม

    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3

    ชาติไทยพัฒนา โต้กลับเพื่อไทย หลังถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของน้ำท่วมว่า ทางที่ดีควรช่วยเหลือประชาชนก่อน

    นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวตอบโต้พรรคเพื่อไทย ที่กล่าวหาว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผันน้ำผิดพลาด จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในครั้งนี้ว่า ถ้า พรรคเพื่อไทยจะนำเอาความเดือดร้อนของประชาชนมาสร้างความชอบธรรมถือว่าเป็น สิ่งไม่ถูกต้อง และการกล่าวหากรมชลประทาน ซึ่งอยู่ในขอบข่ายของกระทรวงเกษตรฯ แบบนี้ ควรคิดดี ๆ ก่อน เพราะขนาด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังให้ความเคารพต่อนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ทั้งนี้ ถ้าหากใครคิดว่าน้ำท่วมครั้งนี้เป็นความผิดของพรรคชาติไทยพัฒนาจริง ๆ ก็ขอให้แสดงตัวออกมาด้วย

    นอกจากนี้ นายวัชระ ยังชี้แนะว่า ตอนนี้ควรหยุดเรื่องการกล่าวหากันเองก่อน เพราะการช่วยเหลือประชาชนสำคัญที่สุด ส่วนเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี ตอนนี้ยังไม่มีข่าวแต่อย่างใด




    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก -http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/47258/%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B8%AA-%E0%B8%AA-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94.html-

    [​IMG]



    -http://hilight.kapook.com/view/64531-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • watchara.jpg
      watchara.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16 KB
      เปิดดู:
      387
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ลองพิจารณาและสังเกตุดูว่า การแก้ไขปัญหา ทำกันอย่างไร ลองดูว่า น้ำที่ยังคงอยู่ด้านบนของกทม.มีปริมาณอีกเท่าไหร่ จะทำอย่างไรกับมวลน้ำก้อนนี้ และติดตามดูผลของการทำงาน

    ไม่ว่าเหตุการณ์น้ำท่วมจะเป็นอย่างไร

    ในการเลือกตั้งครั้งหน้า

    ท่านผู้อ่านต้องรู้ว่า ท่านจะเลือกอย่างไร

    หากท่านยังคงเลือกแบบเดิมๆ โดยไม่รู้จักคิด หากมีเหตุการณ์ มีภัยต่างๆเข้ามา ท่านก็ไม่ต้องไปร้องโวยวาย ท่านต้องโทษตัวท่านเอง ให้โทษว่า ท่านโง่เอง


    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    EM และน้ำหมักชีวภาพ แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียได้จริงหรือ ?

    โดย กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ​
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​

    ในช่วงเวลาปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนได้สนับสนุนการใช้ EM (Effective Microorganisms) เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายรวมถึงประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะอธิบายข้อเท็จจริงและให้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับ EM และจะกล่าวถึงกรณีศึกษาในการบำบัดน้ำเสียของต่างประเทศในภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ บทความนี้มิได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งแต่อย่างใด แต่มุ่งหวังถึงประโยชน์สูงสุดในการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน
    ปัญหาน้ำเน่าอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการที่สารอินทรีย์ในน้ำมีปริมาณสูง เมื่อเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จึงส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำมีปริมาณลดลง และในที่สุดอาจก่อให้เกิดสภาวะไร้อากาศซึ่งส่งกลิ่นเหม็น และส่งผลเสียต่อปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ ค่าการละลายออกซิเจนนับเป็นพารามิเตอร์หนึ่งที่สามารถบ่งบอกคุณภาพน้ำได้ โดยในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่เน่าเสีย โดยทั่วไปจะมีค่าการละลายออกซิเจนประมาณ 3 - 7 มิลลิกรัมต่อลิตร การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนสามารถอธิบายอย่างง่ายดังนี้


    [​IMG]

    EM (Effective Microorganisms) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถเฉพาะทาง ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่ม Lactic acid bacteria 2) กลุ่ม Yeast และ 3) กลุ่ม Phototrophs (Purple bacteria) ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก Professor Teruo Higa ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงได้มีการประยุกต์ใช้งานในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านการเกษตร ด้านการหมักขยะมูลฝอยเพื่อทำปุ๋ย และด้านการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสุขา (โถส้วม) เป็นต้น โดยทั่วไป จุลินทรีย์ใน EM สามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic conditions) และไม่มีออกซิเจน (Anaerobic conditions) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงการประยุกต์ใช้งาน EM ในสภาวะที่ในน้ำท่วมขังซึ่งมีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen, DO) อยู่อย่างจำกัด กล่าวได้ว่า EM จะใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ และในช่วงเวลาดังกล่าวจะส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงและไม่เพียงพอได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำในบริเวณดังกล่าวมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่มาก รวมถึงมีการใส่ EM ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม (ปริมาณที่มากไปหรือใส่เข้าไปในสภาวะหรือรูปแบบที่ไม่เหมาะสม) ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียจากการขาดออกซิเจนที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม
    อีกประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการเลือกใช้งาน EM กล่าวคือ จุลินทรีย์ใน EM ทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวไม่มีความสามารถในการสร้างออกซิเจนแต่อย่างใด นอกจากนี้ องค์ประกอบของ EM ball หรือ Micro ball ซึ่งมีการปั้นโดยใช้องค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กากน้ำตาล และ รำข้าว เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างผลกระทบของสารอินทรีย์ข้างต้นต่อการเน่าเสียของแหล่งน้ำ อาทิ

    • กรณีกากน้ำตาล ที่ส่งผลต่อปัญหาน้ำเน่า เช่น การลักลอบทิ้งน้ำเสียจากโรงงานน้ำตาล และกรณีเรือน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นข่าวใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา
    • กรณีรำข้าว อาจพิจารณาการที่เรานำรำข้าว หรือ เศษอาหาร ไปทิ้งไว้ในน้ำในปริมาณมากๆ และเป็นระยะเวลานาน ก็ย่อมส่งผลให้น้ำเน่าเสียเช่นกัน
    ดังนั้น เมื่อโยน EM ball ลงในแหล่งน้ำจึงเปรียบเสมือนการเพิ่มปริมาณสารอินทรีย์ให้กับแหล่งน้ำใน บริเวณที่มีการท่วมขังอีกทางหนึ่ง โดยสารอินทรีย์ดังกล่าวที่ยังคงเหลืออยู่ย่อมก่อให้เกิดความต้องการออกซิเจน ในน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงได้ และแม้แต่จุลินทรีย์ใน EM เอง เมื่อตายไปก็นับเป็นแหล่งสารอินทรีย์ในน้ำเช่นกันซึ่งก็ยังต้องใช้ออกซิเจน ในการย่อยสลายเช่นกัน ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM นอกจากจะไม่ช่วยสร้างออกซิเจนแล้ว ยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิมจากการลดลงของปริมาณออกซิเจนในน้ำ รวมถึงเพิ่มสูงขึ้นของปริมาณสารอินทรีย์ (ดังที่กล่าวถึงข้างต้น)

    ทั้งนี้ การย่อยสลายสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำท่วมขังควรกระทำภายใต้สภาวะที่มีอากาศหรือ ออกซิเจนเท่านั้น การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้อากาศถือได้ว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในแหล่ง น้ำ โดยสรุป เราสามารถกล่าวได้ว่าการบำบัดสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำมีลักษณะแตกต่างจากการ บำบัดสารอินทรีย์ในสุขา และการหมักขยะเพื่อทำปุ๋ย (ซึ่งมีการใช้ EM ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นด้านออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ที่เป็นพารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพแหล่งน้ำ รวมถึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพแหล่งน้ำดังที่กล่าวไว้ในบท ความก่อนหน้านี้ (แนวทางการเติมอากาศเพื่อป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสียจากเหตุการณ์น้ำท่วม | Faculty of Engineering)

    ถึงแม้ EM ต้นแบบ (ลิขสิทธิ์ Professor Teruo Higa) ซึ่งอ้างว่ามีความสามารถในการกำจัดกลิ่นและทำให้น้ำใส แต่ก็เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาชั่วคราวในระยะสั้นเท่านั้น แต่หากสารอินทรีย์ในน้ำยังคงอยู่ และออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าน้ำนั้นสะอาดจริง กล่าวคือน้ำดังกล่าวยังไม่ปลอดภัยที่จะนำมาใช้และไม่ปลอดภัยต่อสัตว์น้ำแต่อย่างใด และอาจยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ ได้อยู่ นอกจากนี้ หากมองถึงประเด็นการผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ EM ในแบบต่างๆ ด้วยตนเอง จุลินทรีย์ที่ได้อาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ใน EM ต้นแบบ และหากไม่ได้ผ่านกระบวนการควบคุมคุณภาพที่ดีพอ EM และ น้ำหมักชีวภาพอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้ ซึ่งนับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรระวังและไม่ควรมองข้ามสำหรับทุกๆ หน่วยงานและภาคส่วนที่มีสนับสนุนการใช้ EM เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง

    ผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศญี่ปุ่น (ซึ่งไม่สามารถเอ่ยนามได้ เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตไว้) ได้ให้ข้อมูลว่าจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการพยายามจัดการ แก้ไขปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ต่างๆ ขององค์กรอิสระต่างๆ ที่รณรงค์ร่วมกันใช้ EM เพื่อบำบัดน้ำเสีย อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น (กระทรวงสิ่งแวดล้อม) ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาความสามารถของ EM ในการบำบัดน้ำเสีย และพบว่า EM ไม่ได้ช่วยในการบำบัดน้ำเสียแต่อย่างใด ในการนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่นจึงไม่แนะนำการใช้ EM ในการบำบัดน้ำเสียในสถานการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้ จากเหตุการณ์สึนามิซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียถูกทำลาย ทางหน่วยงานรัฐบาลของญี่ปุ่นได้ทำการแก้ไขปัญหาระยะสั้นโดยการเติมคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคลงในท่อบำบัดน้ำเสีย และเลือกใช้การตกตะกอน (Sedimentation) และการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) เพื่อบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราว รวมถึงได้มีการวางแผนจะพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราวโดยใช้ระบบบำบัดทาง ชีวภาพร่วมกับการตกตะกอน และการฆ่าเชื้อโรค (Biological treatment - Sedimentation - Disinfection) ส่วนในบริเวณชนบทนั้น ดำเนินการบำบัดน้ำเสียโดยทำการรวบรวมน้ำเสีย และทำการการฆ่าเชื้อโรค จากนั้นปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จนกระทั่งระบบบำบัดขนาดเล็กได้รับการฟื้นฟู
    ทั้งนี้ทางกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าใจดีถึงความปรารถนาดีของทุกฝ่ายในการช่วยกันร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดขึ้น หากแต่อยากนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งของ EM เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการฟื้นฟูปัญหาสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมในปัจจุบัน



    -http://www.eng.chula.ac.th/?q=node/3915-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • air6.png
      air6.png
      ขนาดไฟล์:
      1 KB
      เปิดดู:
      875
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    แนวทางการเติมอากาศเพื่อป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสียจากเหตุการณ์น้ำท่วม


    กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ​


    จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่หลายพื้นที่ในปัจจุบัน หลายฝ่ายมีความกังวลใจเกี่ยวกับปัญหาน้ำเน่าเสียซึ่งอาจเกิดขึ้นตามมาและ เกิดขึ้นแล้วในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งน้ำท่วมขังต่อเนื่องเป็นเวลานาน การ เน่าเสียของน้ำอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการที่สารอินทรีย์ในน้ำมีปริมาณสูง เมื่อเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ (ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือจากการเติม EM เข้าไปในปริมาณและสภาวะที่ไม่เหมาะสม) จึงส่งผลให้ออกซิเจนละลายในน้ำหรือค่าดีโอ (Dissolved oxygen, DO) มีปริมาณลดลง และในที่สุดอาจก่อให้เกิดสภาวะไร้อากาศซึ่งส่งกลิ่นเหม็น และส่งผลเสียต่อปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ ซึ่งเป็นสภาวะที่เราไม่ต้องการหรืออาจเรียกว่าเกิดน้ำเน่า
    การเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับน้ำ (Aeration) นับว่ามีความสำคัญอย่างมากและส่งผลโดยตรงต่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีน้ำท่วมขังที่ค่อนข้างลึก (มากกว่า 1 เมตร) เป็นระยะเวลานานๆ โดยออกซิเจนซึ่งเติมลงในแหล่งน้ำจะสามารถช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์โดยอาศัย การทำงานของจุลินทรีย์ ส่งผลให้ปริมาณสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำลดน้อยลงได้ และทำให้ค่าการละลายของออกซิเจนหรือดีโอ (DO) เพิ่มขึ้นในระยะยาว ค่าการละลายออกซิเจนนับเป็นพารามิเตอร์หนึ่งที่สามารถบ่งบอกคุณภาพน้ำได้ โดยในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่เน่าเสีย โดยทั่วไปควรมีค่าการละลายออกซิเจนมากกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร (DO > 2 mg/L หรือ 2 ppm) ในทางทฤษฏี การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนสามารถอธิบายอย่างง่ายดังนี้


    [​IMG]

    จะเห็นได้ว่าการเติมอากาศหรือออกซิเจนนับเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งใน การย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ การเติมออกซิเจนจึงนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การย่อยสลายสาร อินทรีย์เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ จุลินทรีย์นั้นต้องการความเข้มข้นของออกซิเจนน้อยกว่าสัตว์น้ำทั่วไป ดังนั้นการเติมออกซิเจนจะต้องมากเกินพอให้เหลือสำหรับสัตว์น้ำด้วย ส่วนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้อากาศนั้นถือได้ว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในแหล่งน้ำโดยทั่วไปเพราะสัตว์น้ำจะตายและน้ำจะส่งกลิ่นเหม็นเน่าเสีย
    แนวทางการเลือกขนาดอุปกรณ์เติมอากาศ (Size of aerator) อย่างง่ายเพื่อใช้ในการการเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับน้ำท่วมขังที่ค่อนข้าง ลึก (มากกว่า 0.5 - 1 เมตร) เป็นระยะเวลานานนั้น เราสามารถพิจารณาได้จากขนาดของพื้นที่ (Area) และความลึกของน้ำ (Depth) ในบริเวณดังกล่าว โดยอุปกรณ์เติมอากาศที่ใช้กันทั่วไป สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

    1. อุปกรณ์เติมอากาศแบบจุ่มลงในน้ำ (Submerged Aerator) ซึ่งอาศัยการเป่าอากาศลงในน้ำโดยตรงเพื่อเติมอากาศ
    2. อุปกรณ์เติมอากาศที่ผิวน้ำ (Surface Aerator) ซึ่งอาศัยการปั่นกวน หรือตีน้ำที่บริเวณผิวน้ำ เพื่อให้น้ำมีโอกาสสัมผัสกับอากาศด้านบน เพื่อเติมอากาศลงในน้ำ
    อย่างไรก็ตาม ในสภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนี้ อุปกรณ์เติมอากาศที่ผิวน้ำน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่า เนื่องจากสามารถติดตั้งได้ง่าย และมีหลักการทำงานไม่ซับซ้อน
    ดังนั้น ในที่นี้จึงขอนำเสนอแนวทางการเลือกใช้อุปกรณ์เติมอากาศที่ผิวน้ำ สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ (ชุมชน หรือ นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น) ที่ประสบปัญหาน้ำเน่าเสียจากการท่วมขังเป็นเวลานาน โดยอ้างอิงจากขนาดพื้นที่และความลึกของน้ำที่ต้องการเติมอากาศ ดังแสดงในตารางด้านล่าง
    ข้อแนะนำในการเลือกขนาดเครื่องเติมอากาศ

    [​IMG]



    โดยจากขนาดเครื่องเติมอากาศ ((กิโลวัตต์ / แรงม้า)) ที่เลือกใช้ด้านบน มีข้อแนะนำในการเดินระบบเติมอากาศ ดังนี้

    • ขั้นที่ 1: เริ่มเติมอากาศในพื้นที่เป็นเวลา 2 ชั่วโมง (120 นาที) ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen: DO) จากน้ำที่เน่าเสียสู่ระดับออกซิเจนละลายที่อิ่มตัว
    • ขั้นที่ 2: พักการเติมอากาศเป็นเวลา 30 ชั่วโมง (ประมาณ 1 วันครึ่ง)
    • ขั้นที่ 3: เริ่มเติมอากาศอีกครั้งเป็นเวลา 90 นาที เพื่อเพิ่มค่าออกซิเจนที่ลดลงในช่วงหยุดเติมอากาศสู่ระดับอิ่มตัวอีกครั้ง
    หลังจากนั้น ทำซ้ำในขั้นตอนที่ 2 และ 3 ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงจนถึงระดับที่น้ำเน่าเสีย รวมถึงลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น และผลกระทบต่อสัตว์น้ำในบริเวณด้งกล่าว
    [​IMG]

    การเติมอากาศที่ผิวน้ำด้วยวิธีต่าง ๆ
    โดยทั่วไป อุปกรณ์เติมอากาศที่ผิวน้ำ (Surface Aerator) ที่ใช้มีขนาดในช่วง 0.75 - 75 กิโลวัตต์ (1 - 100 แรงม้า) ซึ่งขนาดที่เลือกใช้ดังกล่าวนั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ หรือขนาดของเครื่องเติมอากาศที่มี ทั้งนี้ หากขนาดเครื่องเติมอากาศที่หาได้มีขนาดไม่พอเพียงกับพื้นที่ สามารถติดตั้งเครื่องเติมอากาศหลายๆ เครื่อง โดยเครื่องเติมอากาศ 1 เครื่องรองรับพื้นที่รูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดเล็กลง (ดังแสดงในตารางด้านบน) เพื่อให้เครื่องเติมอากาศที่ติดตั้งสามารถครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดได้


    ข้อแนะนำการเติมอากาศแบบน้ำพุด้วยเครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก
    เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มทั่วไปสามารถประยุกต์มาเป็นเครื่องเติมอากาศได้ อย่างดี โดยที่มีหลักการง่ายๆ คือนำน้ำที่ก้นบ่อ (มีออกซิเจนต่ำสุด) มาสัมผัสกับอากาศ ในกรณีที่ไม่มีชุมชนอยู่ใกล้ๆ สามารถทำได้โดยสูบน้ำออกมาปล่อยที่ผิวน้ำ แรงดันน้ำที่สูบเข้าไปทางฐานและที่ปล่อยออกปลายท่อ (ดังรูปที่ 1) จะทำให้น้ำหมุนเวียนทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำตลอดความลึก แต่ถ้าหากมีที่บ้านหรือชุมชนใกล้ๆ การสูบน้ำมาปล่อยที่ผิวน้ำอาจก่อให้เกิดความรำคาญของละอองน้ำ (Mist หรือ Aerosol) ได้ ในกรณีนี้ควรประยุกต์มาเป็นดังรูปที่ 2 โดยทำการลดขนาดท่อให้เล็กลง แรงดันที่เปลี่ยนแปลงจะดูดเอาอากาศมาผสมกับน้ำก่อนปล่อยออกไปใต้ผิวน้ำ ซึ่งจะช่วยทำให้น้ำไม่กระฉอกหรือกระเด็นไปสร้างความรำคาญแก่คนรอบข้าง


    [​IMG]

    ข้อแนะนำการประยุกต์ใช้งานกังหันชัยพัฒนา
    เครื่องเติมอากาศชนิดหนึ่งที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย คือ กังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งจัดเป็นเครื่องเติมอากาศที่ผิวน้ำ (Surface Aerator) อีกประเภทหนึ่ง (ดังแสดงในรูปด้านล่าง) โดยมีข้อแนะนำในการติดตั้งกังหันน้ำ ชัยพัฒนา ดังนี้





    [​IMG]
    [​IMG]

    รูปและแผนภูมิกังหันน้ำชัยพัฒนา
    ทั้งนี้การติดตั้งกังหันชัยพัฒนาอาจมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ระบบไฟฟ้าที่ใช้ต้องเป็นระบบ 3 เฟส และอาจมีการลากสายไฟใต้น้ำ และต้องมีการติดตั้งตู้ control ซึ่งต้องติดตั้งบนบริเวณพื้นดิน รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตั้งสามารถติดต่อประสานงานได้ที่มูลนิธิ ชัยพัฒนาโดยตรง
    ขอขอบคุณ นายณัฐวิชญ์ ชวเลิศพรศิยา สำหรับการคำนวณและร่วมจัดทำบทความนี้ ด้วยความปรารถนาดีจากกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    คำเตือน:

    • หากมีการใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ต้องตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ก่อนใช้งาน และ ต้องมีการติดตั้งที่ปลอดภัย โดยสายไฟทั้งหมดอยู่เหนือน้ำ และดำเนินการติดตั้งโดยผู้ชำนาญเท่านั้น
    • ควรตรวจสอบเรื่องการตั้งการตัดไฟ (Safety cut) โดยไม่ควรตั้งให้ต่อตรง (Direct) เพราะจะไม่กันไฟรั่ว
    • การติดตั้งเครื่องเติมอากาศควรปรึกษาบริษัทจัดจำหน่ายสำหรับรายละเอียดต่าง ๆ ในการติดตั้ง เพื่อความปลอดภัย และได้ประสิทธิภาพสูงสุด




    -http://www.eng.chula.ac.th/?q=node/3881-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • air51.png
      air51.png
      ขนาดไฟล์:
      8.5 KB
      เปิดดู:
      694
    • air1.jpg
      air1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      110.4 KB
      เปิดดู:
      593
    • air21.png
      air21.png
      ขนาดไฟล์:
      107 KB
      เปิดดู:
      1,012
    • air41.png
      air41.png
      ขนาดไฟล์:
      2.9 KB
      เปิดดู:
      628
    • air3.png
      air3.png
      ขนาดไฟล์:
      209.8 KB
      เปิดดู:
      1,628
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    “ในหลวง” ทรงห่วงประชาชนประสบอุทกภัย


    “ประยุทธ์” เผย “ในหลวง” ทรงห่วงประชาชนเดือดร้อนน้ำท่วม ทรงอยากให้น้ำลดโดยเร็ว
    วันนี้(8 พ.ย.) ที่กองบัญชากองกองทัพบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยว่า พระองค์ทรงห่วงใยประชาชนคนไทยมาโดยตลอด และในช่วงนี้พระองค์ท่านมีพระสุขภาพไม่แข็งแรง 100 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นช่วงนี้อาจจะเป็นช่วงที่พระองค์ท่านทรงห่วงใยเป็นพิเศษเพราะมีน้ำท่วม และประชาชนเป็นล้านคนเดือดร้อนในเวลานี้ ฉะนั้นพระองค์ท่านอยากให้เหตุการณ์เหล่านี้ลดผลกระทบไปโดยเร็ว โดยได้พระราชทานแนวพระราชดำริและให้โอกาสให้รัฐบาลมีโอกาสเข้าเฝ้าหลายครั้ง แล้ว เป็นสิ่งที่พวกเราสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณด้วย และช่วยกันถวายพระพรให้พระองค์ท่านแข็งแรงโดยเร็ว

    เมื่อถามถึงแผนการฟื้นฟูภายหลังน้ำลด พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะต้องมีระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว ทั้งหมดเป็นเรื่องของรัฐบาลในการควบคุม และเราจะไปนำข้อมูลจากที่เราได้ไปพบประชาชนมาว่ามีความเดือดร้อนอะไร เราจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ออกมานำเสนอวิธีการว่าเราจะร่วมมือทำหน้าที่อย่างไรในแต่ละส่วน ทหารจะไม่เข้าไปก้าวก่ายในแต่ละกระทรวง เพราะไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพบก เมื่อถามว่าหากรัฐบาลร้องขอหรือขอการสนับสนุนกองทัพบกก็พร้อมใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลขอมาตลอด และวันนี้เราก็ทำงานกันอยู่แล้ว ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์พายุนกเต็นมาจนถึงวันนี้ รัฐบาลเป็นผู้แก้ปัญหา กองทัพก็ให้การสนับสนุนในฐานะกลไกของรัฐเราปฏิเสธไม่ได้ ทุกวันนี้เราจะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันและเรียนรู้ว่าจะอยู่กับน้ำ อย่างไร และ การแก้ไขปัญหาอย่างไร ทั้งตนเอง และภาครัฐ รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้วยจะต้องอยู่ร่วมกัน.


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=38&contentID=174810-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    ทำผ้าอนามัยฉุกเฉิน-วันนั้นของเดือนอย่าลุยน้ำ!?


    น้ำท่วม ส่งผลกระทบกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในแง่สุขอนามัย เนื่องจากธรรมชาติของผู้หญิงต้องมีประจำเดือน ดังนั้นหากจะลุยน้ำที่ท่วมสูงจนเปียกชื้นถึงอวัยวะเพศ ควรรู้ไว้ว้า ในช่วงนั้นของเดือน ปากมดลูกจะเปิดให้เลือดไหลออกมา จึงเสี่ยงที่น้ำสกปรกซึ่งอาจมีแบคทีเรีย เชื้อรา หรือปรสิตปะปนเล็ดลอดเข้าช่องคลอดได้ หากเป็นเช่นนั้นก็จะมีโอกาสป่วยเป็นมดลูกอักเสบติดเชื้อ สามารถลุกลามไปถึงช่องท้อง หากรุนแรงอาจเป็นหนอง เป็นฝีในช่องทาง ทว่าไม่ได้รับการรักษา ก็เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ยังรวมถึงผู้หญิงใกล้คลอดและเพิ่งคลอดบุตรมาใหม่ๆด้วย

    เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าช่องคลอด ผู้หญิงมีประจำเดือนไม่ควรลุยน้ำ หากเลี่ยงไม่ได้แนะให้สวมเครื่องป้องกัน เช่น กางเกงกันน้ำ หรือชุดกันน้ำ หรือหลังจากลุยน้ำแล้วต้องรีบชำระล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อนๆ เสร็จแล้วเช็ดให้แห้ง อย่าให้อับชื้น หลังจากนั้นจำเป็นต้องคอนสังเกตความผิดปกติของช่องคลอดด้วย เช่น กลิ่นและสีของสิ่งคัดหลั่ง เป็นต้น

    สำหรับผู้หญิงที่เป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม บางรายอาจมีอาหารและน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีพ ทว่าขาดผ้าอนามัยที่ต้องใช้ กรณีไม่สามารถซื้อหาได้ เฟซบุค แฟนเพจ ‘Design for Disasters’ เผยวิธีทำ ผ้าอนามัยฉุกเฉินให้ลองทำด้วยตนเองจากวัสดุอุปกรณ์ใกล้ตัวประกอบด้วย เสื้อแขนยาวที่พร้อมสละแขนเสื้อออก ผ้าสะอาดหรือทิชชู กรรไกร และเทปกาว

    วิธีทำ เริ่มจากใช้กรรไกรตัดแขนเสื้อให้ได้ความยาว 15-20 เซนติเมตร จากนั้นวางทบผ้าสะอาดหรือทิชชูให้หนาพอสมควรแล้วสอดเข้าไปในแขนเสื้อที่ตัด ออกมา ส่วนปลายของแขนเสื้อสองด้านให้ติดเทปกาวโดยให้เหลือปลายด้านกาวยื่นออกมาจาก ขอบผ้าเพื่อใช้ติดกับกางเกงชั้นในด้วย โดยหลังจากใช้งานแล้วยังสามารถดึงเศษผ้าหรือทิชชูเปื้อนประจำเดือนทิ้งไป ขณะที่ชิ้นส่วนของแขนเสื้อนำไปซักทำความสะอาดแล้วนำกลับมาประกอบและใช้ใหม่ ได้.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=424&contentId=174585-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    การรับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ สภากาชาดไทย โดยผ่าน บมจ.ธนาคารกรุงไทย

    ตั้งแต่วันที่
    18 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2554

    [​IMG]


    .
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    .

    [​IMG]

    [​IMG]



    .
    </td> </tr> </tbody></table>
    มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    .********************************************.

    บัญชีมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 020-2-53333-8 ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทเวศร์


    ช่อง 3 เปิดบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ชื่อบัญชี ครอบครัวข่าวช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 2553 บัญชีกระแสรายวัน ธนาคารกรุงเทพ สาขามาลีนนท์ทาวเวอร์ เลขที่บัญชี 0143003689 หรือบริจาคเป็นสิ่งของที่อาคารมาลีนนท์ ถ.พระราม 4



    ------------------------------------------

    แนะนำครับว่า ให้บริจาคตามหน่วยงานตามนี้

    อย่าบริจาคโดยให้เงินที่เราหามาได้ด้วยความยากลำบาก ตกหล่นใส่กระเป๋าของใครบางคน บางกลุ่ม บางพวก นะครับ


    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สวทช.แจง “กางเกงแก้ว” ป้องกันไฟฟ้าดูดไม่ได้ ขายส่งแค่ตัวละ 100 บาท <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">8 พฤศจิกายน 2554 18:00 น.</td></tr></tbody></table>

    สวทช.ออก ประกาศ เรื่อง “กางเกงแก้ว” ทำความเข้าใจกับประชาชน ระบุ ใช้ป้องกันการติดโรคที่มากับน้ำท่วมได้ แต่ป้องกันไฟฟ้าดูดไม่ได้ เตือนใช้งานอย่างระมัดระวัง ทั้งกางเกงแก้วและกางเกงลุยน้ำที่ทำเลียนแบบ เผย ราคาถูกต้นทุนแค่ตัวละ 100 บาท

    <table align="Left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="292"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="292"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ตัวอย่างกางเกงแก้ว</td></tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ออกประกาศ เรื่อง “กางเกงแก้ว” เพื่อการทำความเข้าใจต่อสาธารณชน โดย ระบุว่า สวทช.ได้นำนวัตกรรม “กางเกงแก้ว” ออกมาเผยแพร่ เพื่อให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้นำไปใช้ประโยชน์และอำนวยความสะดวกต่อการ ดำเนินชีวิตอยู่ในขณะนี้ จนได้รับความสนใจและการตอบรับจากประชาชนเป็นจำนวนมาก จึงพบว่าในปัจจุบันได้มีการวางจำหน่ายกางเกงลุยน้ำในหลากหลายรูปแบบและราคา ที่แตกต่างกันไป รวมถึงการระบุคุณสมบัติของกางเกงว่าสามารถป้องกันไฟฟ้าดูดได้ จนอาจสร้างความสับสนและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงต่อผู้ บริโภคได้

    ทั้งนี้ สวทช.ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกางเกงแก้ว ดังนี้ 1.สวทช.โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ได้พัฒนา “กางเกงแก้ว” หรือ “Magic Pants” ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2553 และได้อนุญาตให้ภาคเอกชนนำไปผลิตจำนวนมาก เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้สามารถหาซื้อมาใช้ได้ โดย สวทช.ไม่ได้คิดค่าทรัพย์สินทางปัญญาจากผู้ผลิต โดยเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า “กางเกงแก้ว” มีคุณสมบัติกันน้ำได้ จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยป้องกันการติดโรค เช่น ฉี่หนู น้ำกัดเท้า หรือป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ ที่อาจมากับน้ำ ในช่วงภาวะน้ำท่วมได้

    2.สวทช.ขอเรียนว่า “กางเกงแก้ว” (หรือกางเกงลุยน้ำที่จำหน่ายทั่วไป) ไม่สามารถป้องกันไฟดูดได้ แม้ว่ากางเกงแก้วเป็นฉนวนไฟฟ้า แต่ด้วยความบางและพื้นผิวสัมผัสกับร่างกายมาก ทำให้กระแสไฟฟ้าสลับผ่านได้ด้วยกลไกการเชื่อมต่อด้วยตัวเก็บประจุ (capacitive coupling) หากผู้สวมใส่ไปสัมผัสตัวนำไฟฟ้าที่มีไฟรั่ว ก็อาจเกิดภัยต่อบุคคลนั้นได้ และในกรณีที่มีรูรั่วของกางเกงแก้วหรือกางเกงลุยน้ำก็จะเป็นอันตรายถึงแก่ ชีวิตได้ จึงขอให้ระมัดระวังต่อการใช้งานกางเกงแก้ว หรือกางเกงลุยน้ำที่ทำเลียนแบบ

    3.สวทช.ได้พัฒนาต้นแบบและวัสดุให้ผู้ผลิตสามารถผลิตได้ในราคาที่ เหมาะสม ทำให้กางเกงแก้วมีราคาขายส่งเพียงตัวละ 100 บาทเท่านั้น (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

    ในตอนท้ายประกาศยังมีหมายเหตุด้วยว่า คำว่า “แก้ว” ในชื่อผลิตภัณฑ์นี้ไม่ได้หมายถึง “แก้ว” หรือ “ใส” หากแต่หมายถึงความ “พิเศษ” หรือ “วิเศษ” (Magic) เนื่องจากมีราคาถูก ใช้งานสะดวก บรรจุในห่อเล็กและเบาจนสามารถพกพาติดตัวได้ตลอดเวลา และเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคที่อาจมากับน้ำเน่าเสีย ดังนั้น สวทช.จึงขอสงวนสิทธิ์การใช้ชื่อ “กางเกงแก้ว” สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ สวทช.ได้ถ่ายทอดต้นแบบและวัสดุให้ผู้ผลิตนำไปผลิตเท่านั้น (อยู่ในระหว่างการประสานกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา)

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกางเกงแก้วที่มีขายตามท้องตลาดขณะนี้ พบว่า มีราคาที่สูงตั้งแต่ 150-400 บาท ซึ่งประชาชนต่างพยายามหาซื้อมาไว้ป้องกันตนเองจากอันตรายต่างๆ เป็นจำนวนมาก


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000142651-


    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948



    ลมปากที่ออกตามทีวี ตามสื่้อต่างๆ

    หากทำไม่ได้ จะรับผิดชอบอย่างไร

    ต่อให้ตายทั้งวงศ์ตระกูลไป ก็ไม่คุ้มกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตครับ

    มายืนยันเหมือนเดิม อย่าโง่ครับ

    "ลองพิจารณาและสังเกตุดูว่า การแก้ไขปัญหา ทำกันอย่างไร ลองดูว่า น้ำที่ยังคงอยู่ด้านบนของกทม.มีปริมาณอีกเท่าไหร่ จะทำอย่างไรกับมวลน้ำก้อนนี้ และติดตามดูผลของการทำงาน

    ไม่ว่าเหตุการณ์น้ำท่วมจะเป็นอย่างไร

    ในการเลือกตั้งครั้งหน้า

    ท่านผู้อ่านต้องรู้ว่า ท่านจะเลือกอย่างไร

    หากท่านยังคงเลือกแบบเดิมๆ โดยไม่รู้จักคิด หากมีเหตุการณ์ มีภัยต่างๆเข้ามา ท่านก็ไม่ต้องไปร้องโวยวาย ท่านต้องโทษตัวท่านเอง ให้โทษว่า ท่านโง่เอง
    "
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ไม่น่าจับเป็นเลย

    คนพวกนี้ ที่หากินกับผู้ที่เดือนร้อน ต้องจับตายให้หมด อยู่ไปก็รกแผ่นดินเปล่าๆ



    ---------------------------------------------------------------------

    .

    รวบอดีต รปภ.ตระเวนทุบรถบนโทลล์เวย์

    [​IMG]

    [​IMG]



    รวบอดีต รปภ.ตระเวนทุบรถบนโทลล์เวย์ (ไอเอ็นเอ็น)
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3

    รรท.ผบช.น. แถลงผลจับ รปภ. ตระเวนทุบรถหนีน้ำท่วม บนทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ มีโทษเพิ่ม 2 เท่า

    วันนี้ (8 พฤศจิกายน) พล.ต.ท.วินัย ทองสอง รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แถลงผลจับกุม นายอานนท์ พรหมมา อายุ 35 ปี ชาว จ.สระบุรี อดีตเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหมู่บ้านย่านลำลูกกา ที่ถูกเจ้าหน้าที่สายตรวจ 191 จับกุมได้ขณะกำลังก่อเหตุทุบกระจกรถที่จอดหนีน้ำท่วมบนทางด่วนดอนเมืองโทลล์ เวย์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร เมื่อคืนวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

    ทั้งนี้ ผู้ต้องหาอ้างว่า หมู่บ้านที่ตนเองทำงานอยู่น้ำท่วม จึงมาอาศัยสวนสาธารณะหน้าวัดเสมียนนารี เป็นที่พักพิง และได้ขึ้นไปก่อเหตุบนทางด่วนโทลล์เวย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่สายตรวจได้ยินสัญญาณกันขโมยดังขึ้น จึงเข้าไปตรวจสอบพบผู้ต้องหากำลังก่อเหตุจึงจับกุมตัวไว้ได้ พร้อมของกลางเป็นยางอะไหล่ เครื่องมือช่าง เจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน ดำเนินคดีในข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืน มีโทษจำคุก 1 - 5 ปี ปรับ 2,000 - 10,000 บาท

    ด้าน พล.ต.ท.วินัย ระบุว่า การก่อเหตุในช่วงน้ำท่วมเป็นการซ้ำเติมประชาชนจะมีโทษเพิ่มเป็น 2 เท่า และยืนยันว่าตำรวจนครบาลได้ระดมสรรพกำลังทั้งในการรักษาความปลอดภัยทั้ง ชีวิตและทรัพย์สินประชาชนอย่างเต็มที่

    ไอ.เอ็น.เอ็น.


    -http://hilight.kapook.com/view/64551-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ถุงยังชีพแบบนี้เหมาะกับสถานการณ์แบบเวลานี้ในบ้านเรา..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    [​IMG]


    อ่า ถูกใจจริงๆครับ

    หากมีพวกที่นำใบปลิวที่โฆษณาชื่อกลุ่มของพวกมันไปใส่ในถุงยังชีพของคนไทยที่ร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พวกนี้นี่ หนักแผ่นดินครับ

    พวกนี้ เกิดมาหนักแผ่นดินโดยแท้

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมลองเข้าไปดูในAttachments Posted by sithiphong ผมจะนำเอารูปที่มีการโหลดเกินร้อยครั้ง นำมาให้ชมกันครับ


    [​IMG]
    172.9 KB, ดาวน์โหลด 111 ครั้ง




    [​IMG]
    84.3 KB, ดาวน์โหลด 110 ครั้ง

    รูปนี้โหลดไปเยอะ ต้องไปร่วมบริจาคนะครับ


    [​IMG]
    631.9 KB, ดาวน์โหลด 446 ครั้ง

    [​IMG]
    32.0 KB, ดาวน์โหลด 440 ครั้ง


    [​IMG]
    107.9 KB, ดาวน์โหลด 286 ครั้ง

    รูปนี้โหลดไปเยอะ ต้องไปร่วมบริจาคนะครับ



    [​IMG]
    33.0 KB, ดาวน์โหลด 230 ครั้ง


    [​IMG]
    2.9 KB, ดาวน์โหลด 144 ครั้ง


    [​IMG]
    1.2 KB, ดาวน์โหลด 123 ครั้ง


    ส่วนสองรูปนี้ โหลดไม่ถึงร้อยครับ



    [​IMG]
    111 Bytes, ดาวน์โหลด 47 ครั้ง

    [​IMG]
    256 Bytes, ดาวน์โหลด 48 ครั้ง




    [​IMG]
    61.3 KB, ดาวน์โหลด 1,271 ครั้ง


    [​IMG]
    21.1 KB, ดาวน์โหลด 1,243 ครั้ง


    [​IMG]
    1.78 MB, ดาวน์โหลด 184 ครั้ง

    [​IMG]
    221.9 KB, ดาวน์โหลด 703 ครั้ง

    [​IMG]
    220.2 KB, ดาวน์โหลด 720 ครั้ง

    [​IMG]
    49.9 KB, ดาวน์โหลด 146 ครั้ง

    [​IMG]
    98.9 KB, ดาวน์โหลด 145 ครั้ง

    [​IMG]
    70.5 KB, ดาวน์โหลด 146 ครั้ง


    [​IMG]
    187.1 KB, ดาวน์โหลด 161 ครั้ง

    [​IMG]
    39.6 KB, ดาวน์โหลด 205 ครั้ง

    [​IMG]
    28.2 KB, ดาวน์โหลด 206 ครั้ง

    [​IMG]
    27.5 KB, ดาวน์โหลด 212 ครั้ง

    [​IMG]
    86.3 KB, ดาวน์โหลด 398 ครั้ง

    [​IMG]
    1.34 MB, ดาวน์โหลด 398 ครั้ง

    [​IMG]
    150.1 KB, ดาวน์โหลด 228 ครั้ง

    [​IMG]
    53.4 KB, ดาวน์โหลด 232 ครั้ง

    [​IMG]
    56.8 KB, ดาวน์โหลด 229 ครั้ง


    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เผยน้ำห่างพระราม 2 แค่ 1 กม.

    จร.ท่าข้าม เผย น้ำห่างพระราม 2 แค่ 1 กม. (ไอเอ็นเอ็น)

    วันนี้ (9 พฤศจิกายน) รองผกก.จร. สน.ท่าข้าม เผย น้ำมาถึง ถ.บางขุนเทียน บางบอน แล้ว ห่างพระราม 2 แค่ 1กม. ส่วนพระราม 2 ซ.5 - 7 เร่งสูบน้ำหมดแล้ว

    พ.ต.ท.อาวุธ หว้ามุกข์ รองผกก.จร.สน.ท่าข้าม เปิดเผย ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ขณะนี้ มวลน้ำที่ทะลักมาจาก ถ.เพชรเกษม ได้เข้ามาถึงในพื้นที่แล้ว โดยมีจุดเสี่ยงที่น่าเป็นห่วง 2 จุดด้วยกันคือ ถ.บางขุนเทียน - บางบอน ซึ่งเป็นถนนเชื่อมระหว่าง ถ.เพชรเกษมกับ ถ.พระราม 2 โดยระดับน้ำมารวดเร็วมาก สูงประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร เป็นระยะทางไม่มาก แต่แนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น และขยายวงกว้างไปเรื่อย ๆ แน่ ส่วนอีกจุดคือ ถ.เคหะบางบอน สู่พระราม 2 ก็ท่วมสูงขึ้น ประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 กม. ซึ่งก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน เพราะน้ำมาเร็วมาก โดยทั้ง 2 จุด ห่างจาก ถ.พระราม 2 ประมาณ 1 กม. เท่านั้น แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเข้าถึง ถ.พระราม 2 ได้ วันไหน

    ด้าน พ.ต.ท.อาทิตย์ ซิ้มเจริญ สว.จร.สน.บางมด กล่าวเพิ่มเติมว่า น้ำที่เอ่อท่วม ถ.พระราม 2 ในช่วง ซ.5 - 7 นั้น ได้ลดลงแล้ว เพราะทางการเร่งสูบออก และไปผุดตรงช่วงพระราม 2 ซ.28 อีกจุดหนึ่ง


    ไอ.เอ็น.เอ็น.
    [​IMG]


    [8 พฤศจิกายน] คมนาคม หวั่นพระราม 2 จม เร่งหาเส้นทางสำรอง

    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


    คมนาคม เตรียมเปิดเส้นทางสำรองในกรณีที่ถนนพระราม 2 ถูกน้ำท่วม ยันไม่มีการปิดกั้นมวลน้ำ-ไม่เจาะถนน เพราะไม่มีประโยชน์

    วันนี้ (8 พฤศจิกายน) นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ ได้มีการเตรียมเส้นทางสำรองหากถนนพระราม 2 ถูกน้ำท่วม โดยจะเปิดผิวการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 9 บริเวณถนนกาญจนาเษก จากแยกบางใหญ่ถึงแยกบางบัวทอง และเปิดเส้นทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง-สุพรรณบุรี เพื่อใช้เป็นทางลงสู่ภาคใต้

    ส่วนการปิดกั้นมวลน้ำและการเจาะถนนนั้น นายสุพจน์ กล่าวว่า จะ ไม่มีการปิดกั้นมวลน้ำแต่อย่างใด น้ำจะยังคงไหลผ่านตามปกติ พร้อมเร่งจัดหาเจ้าหน้าที่ทำลายสิ่งกีดขวางเพื่อให้น้ำไหลผ่านได้เร็วขึ้น คาดว่าน่าจะเสร็จภายใน 1-2 วัน ส่วนการเจาะถนนนั้น ยืนยันว่าจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด เพราะถนนตั้งบนพื้นที่ต่ำ หากปริมาณน้ำไม่สูง รถก็สามารถสัญจรได้ตามปกติ


    [​IMG] น้ำผุดท่อเอ่อท่วม ถ.พระราม 2 ซอย 5-7 แล้ว

    สว.จร.บางมด เผย น้ำทะลุท่อ เริ่มเอ่อเข้าท่วม ถนนพระราม 2 ขาออก ระหว่าง ซ. 5-7 ใน ซ.ตลาดโอ๋เอ๋ บ้างแล้ว

    พ.ต.ท.อาทิตย์ ซิ้มเจริญ สว.จร.สน.บางมด เปิดเผยว่า ขณะนี้ น้ำได้ทะลักจากท่อระบายน้ำใน ซ.พระราม 2 ซอย 7 หรือ ตลาดโอ๋เอ๋ ขึ้นมาท่วมตลาด และผิวการจราจรบ้างแล้ว โดยน้ำเริ่มผุดท่อมาตั้งแต่เมื่อวานนี้ และค่อยเพิ่มสูงขึ้น ล่าสุด ได้ไหลเข้าท่วมผิวการจราจรที่ ถ.พระราม 2 ระว่าง ซอย 5-7 ในช่องทางคู่ขนาน ขาออกแล้ว แต่ยังท่วมไม่มาก ซึ่งทางตำรวจ จะเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ถนนดังกล่าวเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางลงสู่ภาคใต้ ที่เหลือเส้นทางเดียวในขณะนี้


    [​IMG] น้ำท่วมขยายวงกว้าง ใกล้ถึง ถ.พระราม 2

    ระดับน้ำในเขตบางบอนยังคงเพิ่มสูงขึ้น และขยายวงกว้าง รุกคืบเข้าใกล้ถนนพระราม 2 มากขึ้นทุกขณะ

    วันนี้ (8 พฤศจิกายน) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมใกล้ถนนพระราม 2 ว่า ขณะ นี้น้ำได้ไหลเข้าเอ่อท่วมสันรางรถไฟ สถานีบางบอน โดยขณะนี้น้ำได้เอ่อเข้าท่วมบริเวณคอสะพานทั้งขาเข้า-ขาออกสูงประมาณ 5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นน้ำที่ผุดจากท่อและเอ่อมาจากคลองราชมนตรี จึงทำให้รถไฟต้องชะลอต้องความเร็ว ทั้งนี้เจ้าหน้าที่รถไฟบอกว่า หากระดับน้ำมีปริมาณสูงมากกว่านี้ อาจต้องหยุดเดินรถ จึงอาจสร้างความเสียหายให้แก่คนที่ต้องสัญจรระหว่างกรุงเทพฯ-มหาชัยได้

    อย่าง ไรก็ตาม น้ำที่ท่วมในจุดนี้อยู่ห่างจากถนนพระราม 2 เพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น เป็นสัญญาณให้เห็นว่า น้ำได้รุกเข้าใกล้ถนนพระราม 2 มากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว

    ในขณะที่ พื้นที่ใกล้เคียงบริเวณถนนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ ซึ่งมีเคหะบางบอนตั้งอยู่ ขณะนี้น้ำได้เอ่อล้นเข้าท่วมภายในประมาณ 10 เซนติเมตร และคาดว่าจะมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอีก ทั้งนี้ สำหรับเขตบางบอน ทางการยังไม่ได้สั่งให้เป็นเขตอพยพแต่สั่งให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง และขอให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ได้ย้ายออกนอกพื้นที่

    ส่วน สถานการณ์ที่เขตบางกอกใหญ่ ระดับน้ำในเขตบางกอกใหญ่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นและเริ่มล้นเข้าท่วมบ้านริมคลอง แล้ว และน้ำได้เริ่มผุดตามท่อเข้าท่วมถนนเพชรเกษม 18 และ 16 เหลืออีกเพียง ไม่กี่ร้อยเมตรก็จะถึงแยกท่าพระ ในขณะที่บริเวณถนนเพชรเกษม มีข่าวว่าพบจระเข้ภายในซอยเพชรเกษม 48 จึงได้เข้าไปตรวจสอบแล้วแต่ไม่พบ แต่ชาวบ้านก็ยังคงหวาดระแวงและใช้ไม้แทงนำทางระหว่างเดินลุยน้ำ


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ครอบครัวข่าว 3 , กรุงเทพธุรกิจ และ มติชนออนไลน์

    [​IMG][​IMG] [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64513-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ดร.เสรี คาดอีก 7 วัน น้ำล้นบิ๊กแบ็ค ถึงอนุสาวรีย์ฯ แน่




    คาดบิ๊กแบ็กแค่ชะลอน้ำถึงอนุสาวรีย์ฯแน่ (ไอเอ็นเอ็น)

    วันนี้ (9 พฤศจิกายน) "เสรี" คาดการณ์ บิ๊กแบ็คต้านมวลน้ำได้แค่ 7 วัน หลังจากนั้นจะดาหน้าบุกกรุงเต็มที่ คาดถึงอนุสาวรีย์ฯ และราชเทวีแน่


    ร.ศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึง การวางบิ๊กแบ็คทางตอนบน เพื่อชะลอน้ำเข้าเขตกรุงเทพฯ ชั้นในว่า การ วางบิ๊กแบ็คจะช่วยชะลอน้ำเข้าได้แค่ 7 วันเท่านั้น เพื่อให้กรุงเทพฯ หรือ กทม.ได้หายใจเพื่อระบายน้ำออกทางคลองบางซื่อได้เท่านั้น โดยระบุว่า อีก 7 วัน เมื่อน้ำล้นบิ๊กแบ็คมาแล้ว จะระดมกันมาเป็นหน้าด่าน ประมาณ 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดว่าหลังจากนี้ 7 วัน จะไปถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ราชเทวี ทั้งนี้ มวลน้ำไม่ได้วิ่งไปทางถนนพหลโยธินอย่างเดียว แต่มวลน้ำจะตีโอบไปทางจตุจักร กำแพงเพชร ซึ่งถนนสุทธิสาร คืนนี้น้ำจะเข้าแน่นอน จากนั้นจะไปดินแดง ไปถนนพระราม 9 เป็นจุดต่อไป

    ดร.เสรี กล่าวต่อว่า ส่วนทางโซนบางกะปินั้น น้ำกำลังมุดดินมาตามท่อ หลังจากผุดแล้วจะเร็วขึ้น ส่วนถนนพระราม 2 น้ำกำลังมุดไปตามท่อระบายน้ำ โผล่ตามคลองพระยาราชมนตรี คลองสนามชัย แล้วจะล้นขึ้นถนนพระราม 2 ถ้าให้ประมาณการน่าจะถึงในอีก 5-6 วันข้างหน้า

    ไอ.เอ็น.เอ็น.
    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64557-

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    เตือน 4 เขต คุณภาพน้ำต่ำ ห้ามนำมาใช้



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม



    สำนัก จัดการคุณภาพน้ำ เตือน 4 เขต ดอนเมือง หลักสี่ จตุจักร ตลิ่งชัน คุณภาพน้ำต่ำ ห้ามใช้ดื่มและบริโภค หากต้องลุยน้ำให้ทำความสะอาดทันที

    วานนี้ (8 พฤศจิกายน) ทางสำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำท่วมขัง ในเขตกรุงเทพมหานคร 7 จุดด้วยกัน ได้แก่ จตุจักร, พญาไท, ดอนเมือง, หลักสี่, บางพลัด, ตลิ่งชัน และทวีวัฒนา

    โดย ผลการตรวจสอบพบว่า คุณภาพน้ำหน้าสนามบินดอนเมือง (เขตดอนเมือง) หน้าโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (เขตหลักสี่) หน้าสถานที่ดับเพลิงลาดยาว, บริเวณทางต่างระดับถนนรัชโยธิน (เขตจตุจักร) และวัดไก่เตี้ย (เขตตลิ่งชั้น) ค่าออกซิเจนละลายในน้ำต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งถือว่าเป็นน้ำที่มีคุณภาพต่ำ และเสื่อมโทรมมาก จึงสั่งเตือนให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ห้ามนำน้ำมาอุปโภค บริโภคอย่างเด็ดขาด และถ้าหากต้องลุยน้ำให้ทำความสะอาดร่างกายทันที

    ทั้งนี้ ทางสำนักจัดการคุณภาพน้ำฯ ยังได้ขอเตือนให้ประชาชนเก็บขยะให้เรียบร้อย โดยให้แยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป เพราะอาจจะมีสารเคมีอันตรายรั่วออกมาได้




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ


    -http://hilight.kapook.com/view/64565-

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สสส.เปิดเว็บ Doctor Me หมอดีในมือคุณ ช่วยน้ำท่วม




    [​IMG]


    เปิดเว็บไซต์ดูแลสุขภาพภาวะวิกฤติด้วยตัวเอง (ไทยโพสต์)
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก doctorme.in.th

    สสส.ส่ง "Doctor Me" หมอดีในมือคุณ ช่วยน้ำท่วม บริการข้อมูลดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธีในภาวะน้ำท่วมผ่าน mobile web เปิดเข้าดูฟรี แยกกลุ่มโรคชัดเจน อ่านง่าย พร้อมวิธีปฐมพยาบาล หวังลดป่วย-ตายในภาวะวิกฤติ

    นาย ไกลก้อง ไวทยาการ รองผู้อำนวยการสถาบัน Change Fusion กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในปีนี้ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในวงกว้าง พบว่ามีประชาชนเจ็บป่วยจากโรคที่มากับน้ำตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุข แล้วกว่า 9 แสนราย โรคที่พบมากที่สุด คือ น้ำกัดเท้า ประมาณ 70% และพบโรคเครียด ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ตาแดง และการเสียชีวิตจากไฟดูดด้วย

    ซึ่งในภาวะน้ำท่วมทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งต้องหยุดให้บริการ อีกทั้งการเดินทางยังเป็นไปอย่างยากลำบาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเร่งให้ความรู้เรื่องการดูแลร่างกายและการปฐมพยาบาล เบื้องต้นในกรณีการเจ็บป่วยต่าง ๆ โดยเฉพาะความเจ็บป่วยจากผลกระทบน้ำท่วม ซึ่งที่ผ่านมา สสส. และเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสุขภาพ "Doctor Me" จากเดิมใช้บริการได้เฉพาะผู้ใช้ iPhone, iPod Touch หรือ iPad พัฒนาโปรแกรมในรูปแบบ mobile web รองรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ทุกยี่ห้อที่สามารถเปิดใช้งานอิน เทอร์เน็ตได้ โดยเข้าชมได้ทาง infoaid.org เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ข้อมูลพื้นฐานเรื่องการดูแลตัวเอง เพื่อปฐมพยาบาลตนเองอย่างง่าย ๆ และสามารถแบ่งปันความรู้ดังกล่าวผ่านทาง social network อาทิ Facebook และ Twitter ให้ผู้อื่นสามารถนำไปใช้ดูแลตนเองได้

    นาย ไกลก้องกล่าวว่า ชุดข้อมูลดังกล่าวที่รวบรวมขึ้นได้จำแนกตามกลุ่มโรคและอาการที่พบบ่อยในช่วง น้ำท่วม สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่าย แบ่งเป็นกลุ่มโรค เช่น กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง โรคที่เกิดจากยุง โรคที่เกิดจากหนู เพื่อจำแนกอาการและบอกวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น จมน้ำหรือตกน้ำ การกู้ชีพหรือการฟื้นชีวิต หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไฟฟ้าชอร์ต การห้ามเลือด แผลสดทั่วไป แผลถลอก แผลตื้น หรือแผลมีดบาด (เลือดออกไม่มาก) แผลงูพิษกัด แผลแมลงกัดต่อย (ผึ้ง แตน ต่อ ตะขาบ แมงมุม แมงป่อง) เพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างง่าย ๆ และบรรเทาอาการของโรคในระยะแรกอย่างถูกต้อง

    "อาการ บางอย่างหากสามารถดูแลตนเองได้อย่างรวดเร็วและถูกวิธี ก็สามารถช่วยให้ไม่ลุกลามบานปลาย ซึ่งในภาวะเช่นนี้ การขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ พยาบาล อาจล่าช้ากว่าปกติ หากประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยมีข้อมูลความรู้ในการช่วยเหลือตนเองก็จะ ช่วยลดอาการบาดเจ็บหรือเหตุที่จะทำให้เสียชีวิตได้" นายไกลก้องกล่าว

    สำ หรับเว็บไซต์ดังกล่าว บอกวิธีปฐมพยาบาลในกรณีเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ อย่างง่าย ๆ เช่น ไฟชอร์ตให้รีบปิดสวิตช์ไฟทันทีถ้าทำได้ ถ้าไม่สามารถปิดสวิตช์ไฟได้ ห้ามใช้มือจับต้องคนที่กำลังถูกไฟชอร์ต ให้ยืนในที่แห้งแล้วใช้สิ่งที่ไม่นำไฟฟ้า (เช่น ไม้ เก้าอี้ไม้) เขี่ยตัวผู้ป่วยออกจากสายไฟ หรือเขี่ยสายไฟออกจากผู้ป่วย เมื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกมาได้แล้วให้ผู้ป่วยนอนหงาย ถ้าหยุดหายใจให้เป่าปากช่วยหายใจ ถ้าไม่หายใจและไม่กระดุกกระดิกเลย หรือคลำชีพจรไม่ได้ ให้นวดหัวใจแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

    กรณี คนจมน้ำหรือตกน้ำ ให้ช่วยผู้จมน้ำขึ้นจากน้ำโดยเร็วที่สุด ถ้าแน่ใจว่า "ช่วยเป็น" และตนเองไม่จมน้ำไปด้วย ถ้าผู้ป่วยยังรู้สติดีและหายใจได้ดี ให้ผู้ป่วยนอนราบกับพื้น เช็ดตัวให้แห้ง ให้ความอบอุ่น ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัว แต่ไอและอาเจียน ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงควํ่า เพื่อให้อาเจียนและเสมหะไหลออกได้ง่าย เช็ดตัวให้แห้งและให้ความอบอุ่น ถ้าผู้ป่วยหมดสติรีบช่วยหายใจโดยวิธีเป่าปาก ถ้าเป่าไม่เข้า (เป่าแล้วหน้าอกไม่ขยาย) ให้อัดท้องในท่านอนหงาย หรือให้จับนอนควํ่าพาดตักหรือเข่าให้หัวทิ่มแล้วตบหลัง แล้วเป่าปากใหม่ กรณีผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ และไม่กระดุกกระดิกเลย (หรือคลำชีพจรที่คอไม่ได้) ให้ช่วยคืนชีพโดยการเป่าปากและนวดหัวใจ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก (ไทยโพสต์)
    [​IMG]


    -http://thaipost.net/x-cite/081111/47744-

    -http://health.kapook.com/view33012.html-

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ใช้ชีวิตอย่างไร หลังผ่านพ้นภัยน้ำท่วม


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ผ่านความยากลำบากจากเหตุการณ์น้ำท่วมมานานหลายเดือน ขณะนี้สถานการณ์ในหลายพื้นที่ในภาคกลางก็เริ่มดีขึ้นบ้างแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ว่าปัญหาต่าง ๆ จะหมดไป เพราะการฟื้นฟูดูแลบ้านและคนรอบข้าง ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่รออยู่ ซึ่งกระปุกดอทคอม ก็ขอนำแนวทางการวางแผนชีวิตหลังผ่านพ้นน้ำท่วม จากบางส่วนของหนังสือ "ผนึกกำลัง ร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม" การฟื้นฟูจิตใจหลังภัยน้ำท่วม ฉบับประชาชน ของกรมสุขภาพจิต มาฝากกัน เชื่อว่าจะมีประโยชน์กับทุกคนอย่างแน่นอนค่ะ

    วางแผนชีวิต (แบบง่าย ๆ) หลังน้ำท่วม

    น้ำก็พัดผ่านไปแล้ว ทิ้งซากความเสียหายไว้มากมาย แล้วเราจะเริ่มลงมือทำอะไรต่อไปก่อนดีล่ะ?

    - ขั้นแรก ต้องทำจิตใจให้สงบเสียก่อนค่ะ และพยายามคิดว่า ของที่เสียไปแล้วเราสามารถสร้างมันกลับขึ้นมาใหม่ได้ เพราะเรายังโชคดีที่มีชีวิตอยู่ และมีความสามารถที่จะนำสิ่งต่าง ๆ กลับมาใหม่ ที่สำคัญคือ อย่าพร่ำโทษตัวเองเด็ดขาด เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่มีใครควบคุมได้

    - ขั้นที่สอง นั่งจับเข่าคุยกับครอบครัวดูว่าจะทำอะไรกันบ้าง คุยกันแล้วก็จดบันทึกลงในกระดาษ แล้วจัดกลุ่มรายการที่ต้องทำให้เป็นหมวดหมู่ตามลำดับความเร่งด่วนของสิ่งที่ต้องทำ เช่น กินอยู่อย่างไร สุขภาพของคนในครอบครัว บ้านเรือนต้องซ่อมแซมอะไรบ้าง หนี้สินล่ะ

    - ขั้นที่สาม เมื่อบันทึกทุกอย่างครบแล้ว ให้เลือกทำในสิ่งที่สามารถทำได้ง่าย และสามารถจัดการด้วยแรงของคนในครอบครัวก่อน เช่น ซ่อมแซมที่พักอาศัย ทำความสะอาดบ้าน จัดเก็บทำความสะอาดเสื้อผ้าที่ยังพอใช้ได้ แล้วแสวงหาความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือหน่วยงานอื่น

    เมื่อวางแผนเรียบร้อยแล้ว หลายคนอาจจะอยากลุกขึ้นมาซ่อมแซมบ้าน หรือเรือกสวนไร่นาที่เสียหาย หรือออกไปทำงานหาเงินเข้าบ้าน ฯลฯ แต่เราอยากให้คุณฟื้นฟูสภาพจิตใจของตัวเอง และคนในครอบครัวก่อนเป็นลำดับแรกค่ะ เพราะเชื่อว่าหลังเหตุการณ์น้ำท่วม หลายคนอาจมีอาการซึมเศร้า ท้อแท้ เครียดจัด ดังนั้น เราต้องดูแล "จิตใจ" ของคนเสียก่อน เพื่อจะได้มีกำลังใจลุกขึ้นมาต่อสู้ไปพร้อม ๆ กันอีกครั้ง ซึ่งวิธีปฏิบัติก็คือ

    1. ให้เวลากับครอบครัว เพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยี่ยวยารักษาได้ดี

    2. พูดคุยปัญหากับเพื่อนและครอบครัว การได้พูดได้ระบายจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด

    3. พักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะความเครียดทำให้ภูมิคุ้มกันทางร่างกายลดลง และอาจเกิดโรคทางกายขึ้นได้

    4. เอาใจใส่ และเข้าใจเด็กที่มีความตื่นกลัวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ควรตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้ง หรือเกาะผู้ใหญ่อยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กเพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิตมา

    5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์ เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนไม่สามารถที่จะรับมือได้

    เมื่อดูแลสุขภาพใจของตัวเองและคนในครอบครัวแล้ว ทีนี้ก็ได้เวลาลุกขึ้นมาจับอุปกรณ์ทำความสะอาด และซ่อมแซมบ้านของเรากัน และสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับบ้านก็คือ การตรวจสอบความปลอดภัยภายในบ้าน ก่อนเข้าไปซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. ฟังข่าวสารว่ามีความปลอดภัยที่จะกลับเข้าไปอยู่ในบ้านหรือไม่

    2. ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่าง ๆ

    3. เดินตรวจตรารอบ ๆ บ้าน และ เช็คสายไฟฟ้า สายถังแก๊ส โดยถ้าหากเกิดแก๊สรั่วจะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก๊สให้ระวังและรีบโทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย

    4. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย

    5. ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน

    6. ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท หากได้กลิ่นแก๊สรั่วก่อนไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น

    7. เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง และอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ

    8. ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)

    9. เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ

    10. ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย

    11. เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน

    12. ตรวจหารอยแตกหรือรั่วของท่อนํ้า ถ้าพบให้ปิดวาล์วตรงมิเตอร์นํ้า และไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยนํ้าจากก๊อกนํ้า จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย

    13. ระบายนํ้าออกจากห้องใต้ดินอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงดันนํ้าภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรือพื้นห้องใต้ดิน (ถ้ามี)

    14. กำจัดตะกอนที่มาจากนํ้าเนื่องจากเชื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน

    และนี่คือข้อแนวทางดี ๆ ที่กรมสุขภาพจิตได้ให้คำแนะนำไว้ กระปุกดอทคอม ก็ขอให้กำลังใจกับผู้ประสบอุทกภัยทุกท่าน ขอให้มีกำลังใจ และลุกขึ้นสู้ใหม่พร้อม ๆ กับอีกนับล้านคนที่ประสบภัยเช่นเดียวกันค่ะ


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    หนังสือ "ผนึกกำลัง ร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม" การฟื้นฟูจิตใจหลังภัยน้ำท่วม ฉบับประชาชน โดย กรมสุขภาพจิต


    -http://health.kapook.com/view32992.html-

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เงื่อนไขรับ 5,000 บ. ช่วยน้ำท่วมในเขตกทม.

    วันที่ 8 พ.ย. ที่ศปภ. นางสาวอนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีอุทกภัย) ครัวเรือนละ 5,000 บาท ในเขตกรุงเทพมหานคร รวม 30 เขต ครอบคลุมผู้ที่ได้รับผลกระทบกรณีน้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลันและ ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย รวมทั้งกรณีบ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย จำนวน 621,355 ครัวเรือน รวมเป็นเงินกว่า 3,106 ล้านบาท

    ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งคำร้องได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ที่ประสบ ภัย โดยกรุงเทพฯจะตรวจสอบข้อมูล รับรองความถูกต้อง ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของครัวเรือนที่ประสบภัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ก่อนจ่าย เงินช่วยเหลือ ทั้งนี้ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณตรงให้ธนาคารออมสิน เพื่อดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

    สำหรับเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือ ทั้ง 2 กรณี ต้องเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และอยู่ในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติฉุกเฉิน ที่สำคัญมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยจากสำนักงานเขตในสังกัด กทม.ออกให้เท่านั้น ขณะที่กรณีมีผู้ประสบภัยซ้ำซ้อนทั้ง 2 กรณีจะได้รับการช่วยเหลือเพียงกรณีเดียว ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ กทม.เร่งรัดการตรวจสอบข้อมูลรับรองความถูกต้องและจ่ายเงินช่วยเหลือในครั้ง แรกนี้ภายใน 2 สัปดาห์ และให้ช่วยเหลือให้เสร็จสิ้นใน 45 วัน

    -http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU1EYzNNekU0T0E9PQ==&sectionid=-

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...