พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    .********************************************.

    บัญชีมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 020-2-53333-8 ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทเวศร์


    ช่อง 3 เปิดบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ชื่อบัญชี ครอบครัวข่าวช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 2553 บัญชีกระแสรายวัน ธนาคารกรุงเทพ สาขามาลีนนท์ทาวเวอร์ เลขที่บัญชี 0143003689 หรือบริจาคเป็นสิ่งของที่อาคารมาลีนนท์ ถ.พระราม 4



    ------------------------------------------

    แนะนำครับว่า ให้บริจาคตามหน่วยงานตามนี้

    อย่าบริจาคโดยให้เงินที่เราหามาได้ด้วยความยากลำบาก ตกหล่นใส่กระเป๋าของใครบางคน บางกลุ่ม บางพวก นะครับ


    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    กฟผ. แจง 5 ข้อ เขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ ไม่ใช่ตัวการน้ำท่วม

    [​IMG]

    เขื่อนภูมิพล

    [​IMG]

    เขื่อนสิริกิติ์




    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    กฟฝ. ชี้แจงข้อสงสัยเรื่อง เขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ คือ ต้นเหตุของน้ำท่วมว่า ไม่เป็นความจริง รวม 5 ข้อ

    มหาอุทกภัยในปีนี้ได้สร้างความเสียหายแก่หลายจังหวัดภาคกลางเป็นจำนวนมาก และมีความรุนแรงมากกว่าปี พ.ศ.2538 ทำ ให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดน้ำจึงท่วม ซึ่งหนึ่งในหลายประเด็นที่สังคมพูดถึงนั้น ก็มีเรื่องของการบริหารน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ด้วย ดังนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ออกมาชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าว โดยระบุไว้ 5 ข้อด้วยกัน ดังนี้

    [​IMG] 1. วิธีการบริหารจัดการน้ำของ กฟฝ. ทำอย่างไร

    เขื่อนในประเทศไทยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เก็บน้ำเพื่อใช้ในด้านเกษตรกรรม อตุสาหกรรม อุปโภคบริโภค และการบรรเทาอุทกภัย ซึ่งการบริหารจัดการน้ำจะนำข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำและปริมาณการ ใช้น้ำของพื้นที่ท้ายเขื่อนในรอบ 30 ปีประกอบการจัดทำ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ข้อด้วยกัน คือ

    - เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง (Lower Rule Curve) เป็นเกณฑ์วัดว่า ถ้าเก็บน้ำระดับต่ำกว่านี้ จะทำให้มีโอกาสขาดแคลนน้ำในปีหน้า

    - เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน (Upper Rule Curve) เป็นเกณฑ์วัดว่า ถ้าเก็บน้ำระดับสูงกว่านี้ มีโอกาสทำให้เขื่อนล้น จนต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (Spillway)

    เพราะฉะนั้น การควบคุมระดับน้ำของเขื่อน จึงต้องคุมให้อยู่ระหว่าง 2 เกณฑ์นี้

    ส่วนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีอธิบดีกรมชลประทานเป็นประธาน ร่วมกับ 8 หน่วยงานเป็นกรรมการ ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ สำนักการระบายน้ำ กทม. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และ กฟผ. ทั้งหมดนี้จะติดตามสถานการณ์น้ำและพิจารณาระดับน้ำที่จะต้องระบายออกจาก เขื่อนทุกวันหรือทุกสัปดาห์

    [​IMG] 2. สาเหตุที่เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ไม่ระบายน้ำออกมาในช่วงต้นฤดูฝน

    วันที่ 1 พฤษภาคม เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก กล่าวคือปริมาณน้ำร้อยละ 45.1 และ 50.3 ของความจุตามลำดับ ดังนั้นจึงต้องกักเก็บน้ำไว้ ทว่าต่อมามีพายุ 5 ลูกเข้าถล่ม ได้แก่ ไหหม่า นกเตน ไหถ่าง เนสาด และนาลแก ทำให้มีฝนตกหนักจนปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบายออกไม่ทัน เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อน

    [​IMG] 3. ทำไมเขื่อนต้องระบายน้ำผ่านประตูเพิ่มขึ้น นอกเหนือการปล่อยน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า

    เพราะปริมาณน้ำใกล้เต็มความจุของอ่างเก็บน้ำ ทำให้ต้องรีบระบายผ่านประตูระบายน้ำล้นเพิ่ม เพื่อควบคุมไม่ให้น้ำเกินความจุของอ่าง มิเช่นนั้นอาจจะส่งผลด้านความปลอดภัยของเขื่อนได้ ซึ่งในขณะนี้เขื่อนก็ลดปริมาณการปล่อยน้ำลงมากแล้ว

    [​IMG] 4. เขื่อนต้องกักเก็บน้ำไว้จำนวนมากเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือไม่

    ไม่ เพราะการผลิตไฟฟ้าไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของเขื่อน แต่เป็นผลพลอยได้ ทั้งนี้ การผลิตไฟฟ้าไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะ กฟผ. ได้รับอัตราไฟฟ้าในรูปแบบผลตอบแทนเงินลงทุน (ROIC)

    [​IMG] 5. เขื่อนลดการปล่อยน้ำลงแล้ว แต่ทำไมน้ำยังท่วมอยู่

    สาเหตุที่น้ำยังท่วมอยู่ เป็นเพราะเขื่อนตั้งอยู่ที่แม่น้ำปิงและน่าน ซึ่งมีการควบคุมการปล่อยน้ำลงใต้เขื่อนในระดับที่พอเหมาะอยู่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของมวลน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ ขณะ ที่แม่น้ำวังและยม ไม่มีเขื่อนที่คอยควบคุมการไหลของน้ำ ทำให้มีมวลน้ำมากถึงร้อยละ 83.3 ที่ไหลเข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นก็ไหลเข้าท่วมพื้นที่ภาคกลาง เข้าสู่กรุงเทพฯ

    นอกจากนี้ ทั้งสองเขื่อนยังช่วยกักเก็บน้ำในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ช่วยบรรเทาสภาวะน้ำท่วมใต้เขื่อนอีกด้วย ในตอนนั้นมีมวลน้ำมากถึง 10,940 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ระบายออกมาเพียง 4,915 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ซึ่งมวลน้ำที่ปล่อยออกมา จะถึงกรุงเทพฯ ภายใน 2 สัปดาห์ และจะไม่มีผลต่อสถานการณ์น้ำที่ท่วมกรุงเทพฯ อยู่ในขณะนี้




    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย



    -http://hilight.kapook.com/view/64483-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    พื้นที่ประสบอุทกภัยกับ หมายเลขโทรศัพท์ที่ควรรู้



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ได้สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนจำนวนมาก และแม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังแล้ว ทว่าอาจยังไม่ทั่วถึงในพื้นที่บางจุด หรืออาจเกิดปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะมีคนบาดเจ็บ-เสียชีวิต, ติดอยู่ภายในบ้าน ไม่สามารถออกมาได้, ขาดแคลนน้ำ-อาหาร, ต้องการแจ้งตัดไฟในพื้นที่, หรือตรวจสอบเส้นทางการเดินทางในพื้นที่น้ำท่วม ฯลฯ

    ด้วยปัญหานานับประการที่กล่าวมานั้น ทาง ทีมงานกระปุกดอทคอม จึงขอรวบรวมเบอร์โทรศัพท์สำคัญและจำเป็นในยามสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อให้ทุกท่านสามารถแจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ดังต่อไปนี้



    [​IMG]


    [​IMG] สายด่วนน้ำท่วม

    - สำนักนายกรัฐมนตรี โทร.1111

    - ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัย ตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1111 กด 5

    - ศูนย์น้ำท่วม กทม. สอบถาม ขอความช่วยเหลือ (24 ชั่วโมง) โทร.1555 หรือ 0-2248-5115

    - สายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โทร.1784

    - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี โทร.1669

    - ศูนย์ความปลอดภัยคมนาคม โทร.1356

    - สายด่วนกรมทางหลวง โทร.1586

    - ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1193

    - ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร.1146

    - สายด่วน บขส. สอบถามเส้นทางเดินรถต่างจังหวัด โทร.1490

    - สายด่วนกรมชลประทาน เช็คปริมาณน้ำขึ้น โทร.1460 หรือ 0-2669-2560

    - ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง โทร.0-2354-6551

    - สำนักงานประชาสัมพันธ์ โทร.0-2354-6530, 0-2354-6668-76 ต่อ 2014, 2031

    - สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม โทร.1102

    - ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร.1129

    - การไฟฟ้านครหลวง โทร.1130

    - กรมสุขภาพจิต โทร.1323

    - การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690

    - ท่าอากาศยานไทย โทร. 0-2535-1111

    - ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส โทร.0-2790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

    - ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ โทร.0-2243-6956

    - กรมการแพทย์ แจ้ง รพ.ทุกแห่ง ที่ประสบภัยน้ำท่วมหากจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วย โทร.0-2206-2952, 0-2206-2920, 0-2644-7000 ต่อ 4444

    - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ประสบภัยส่ง SMS ขอความช่วยเหลือร้องทุกข์ได้ที่ 4567892 ฟรีทุกเครือข่าย

    - ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม. ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 โทร.02-281-5443

    - สอบถามสถานการณ์น้ำ สมุทรสาคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-2583-4102

    - ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 0-7538-3405, 0-7538-3253

    - ศูนย์อพยพ กทม.ฝั่งตะวันออก เขตมีนบุรี สอบถาม โทร.087-9803681 คุณเฉลิมศรี / เขตหนองจอก โทร.081-6485557 คุณดำรง (ต่อ)

    - สายด่วนแจ้งจับสัตว์พลัดหลง-จระเข้ ทั่วประเทศ โทร.1362 ตลอด 24 ชม.

    - หน่วยงานราชการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม) 1102 ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมทหารราบที่ 11 - แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ 08-5254-9559 - แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ 08-9054-4980 - แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน 08-9825-1208, 08-5662-0772

    - กองทัพไทย - สายด่วนเมืองนนท์ (ช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่ จ.นนทบุรีเท่านั้น) 1131 - ทบ.-ทอ.-ทร.-สตช. (ช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่ จ.นนทบุรีเท่านั้น) 0-2241-1709 - แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ 0-5479-2433

    - กองทัพบก - อ.ลำลูกกา - ต้องการขอความช่วยเหลือจากทหาร โทร.หา พ.ท.ดิตถ์ ชวะนันท์ 08-9888-6421

    - หนองจอก ลาดกระบัง - ต้องการขอความช่วยเหลือจากทหาร โทร.หา 0-2190-3984, 0-2190-3985

    - กทม. ปริมณฑล และภาคกลาง ติดต่อศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 0-2281-1884, 0-2280-3977

    - เขตห้วยขวาง : ร้อยตรี สุรเชษฐ์ แก้วชื่น

    - (กรณี ขนย้าย, อพยพ) 08-3709-8388 - เขตวังทองหลาง : ร.ต.ฉัตรชัย

    - (กรณี ขนย้าย, อพยพ) 08-6089-2112 - เขตตลิ่งชัน (อพยพ ป้องกันน้ำท่วม) พ.ท.อรรถชัย 08-1661-3316 พ.อ.ณัฐพงษ์ 08-1876-7682 จ.ส.อ.กมล 08-5657-0590

    - วัดชลประทาน ศูนย์ปากเกร็ด : ร.อ.วชิระพล แสงอุทัย 08-3229-3939

    - เขตทุ่งครุ/ เขตบางขุนเทียน พ.ท.คึกฤทธิ์ 08-5147-7775 ร.อ.ธนพงษ์ 08-7161-8833 ร.ท.นิรุต 08-6415-9030

    - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ผู้ประสบภัยส่ง SMS ขอความช่วยเหลือร้องทุกข์ได้ที่ฟรีทุกเครือข่าย 4567892

    - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ - เปิดศูนย์ฟอกไตเพื่อผู้ประสบภัยทั่วประเทศ 1330, 1669

    - ผู้ประสบภัยที่เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องรักษาเร่งด่วน ติดต่อ 0-2965-9782-4

    - กองทัพเรือ - ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว ติดต่อได้ที่ 1.น.อ.อารักษ์ แก้วเอี่ยม หมายเลขโทรศัพท์ 08-1761-3031 2.น.อ.อาภากร อยู่คงแก้ว หมายเลขโทรศัพท์ 08-9964-0100 3.น.ท.ใจเพชร ทองด้วง หมายเลขโทรศัพท์ 08-9150-1684 4.น.ท.ยุทธศักดิ์ จรูญทรัพย์ หมายเลขโทรศัพท์ 08-2203-8201

    - กรมปศุสัตว์ (พื้นที่ กทม. และปริมณฑล หากต้องการเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยงออกจากพื้นที่) 08-3709-8388

    - สำนักการระบายน้ำ (รับแจ้งและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม) 0-2248-5115

    - ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี (เฉพาะพื้นที่อยุธยา) 08-1701-4858, 08-1825-1343

    - แจ้งเหตุมลพิษจากเหตุการณ์น้ำท่วม โทร.1650

    - รับแจ้งเหตุสนับสนุนช่องทางแจ้งเหตุเพิ่มเติมตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1200

    [​IMG] จ.นนทบุรี

    - เทศบาลบางบัวทอง โทร.0-2571-2777, 0-2571-7679

    - เทศบาลนครปากเกร็ด โทร.0-2583-7788

    - ศูนย์ป้องกันและช่วยเหลือฯ เทศบาลนนทบุรี 02-5890489 (24 ชม.) 081-555-3019 081-484-3850


    [​IMG] จ.ปทุมธานี

    - ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี โทร.081-701-4858, 081-825-1343

    - เทศบาลเมืองปทุมธานี โทร.0-2581-7119-21

    - เทศบาลนครรังสิต โทร.0-2567-5999,0-2567-4945,0-2567-4946


    [​IMG] จ.สมุทรปราการ

    - เทศบาลเมืองสมุทรปราการ โทร.0-2382-6040-2


    [​IMG] จ.พระนครศรีอยุธยา

    - หน่วยกู้ภัยสว่างเมตตา รับแจ้งเหตุ-ช่วยเหลือชาว จ.พระนครศรีอยุธยา ในพื้นที่ อ.มหาราช โทร. 081-669-9272

    - ศูนย์ประสานงานภัยพิบัติ จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3533-55210

    - เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โทร.0-3525-2168

    - เทศบาลเมืองอโยธยา โทร.0-3588-1571-3

    - อบจ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3579-6447

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3524-1612


    [​IMG] จ.เชียงใหม่

    - ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน โทร.053-202609

    - ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ โทร.053-222-479 ( 24 ชั่วโมง)

    - ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ โทร.053-248925, 053-262683

    [​IMG] จ.น่าน

    - ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร.054-792433

    - ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร.054-710-232

    [​IMG] จ.สุราษฎร์ธานี

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร.0-7727-2132

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะสมุย โทร.0-7742-0995

    - สภาองค์กรชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย สุราษฏร์ธานี" ผู้ประสานงาน นายศุภวัฒน์ กล่อมวิเศษ โทร.082-814-9381,นายประวีณ จุลภักดี โทร. 081-397-7442


    [​IMG] จ.นครศรีธรรมราช

    - เทศบาลนครนครศรีธรรมราช รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร.199, 0-7534-8118, 0-7534-2880-3

    - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 0-7535-8440-4

    - รพ.เทศบาลนครนครศรีฯ รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร.0-7535-6438 หรือ 0-7535-6014

    - มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร.0-7534-5599

    - ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา ม.วลัยลักษณ์ โทร.0-7567-4013 ต่อ 4013

    - มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง โทร.0-7534-3602, ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช โทร.0-7535-6044

    - โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โทร.0-7534-0250

    - คปภ.นครศรีธรรมราช - ศูนย์รับแจ้งเหตุผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านการประกันภัย โทร.0-7534-7322, 081-1748941

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอท่าศาลา โทร.0-7552-1180

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสิชล 0-7577-1666, 0-7577-1592

    [​IMG] ทางหลวงจังหวัด: สอบถามเส้นทาง

    - ทางหลวงจังหวัดพิจิตร โทร.056-697-016

    - ทางหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร.035-241-092

    - ทางหลวงจังหวัดพิษณุโลก โทร.055-302-626

    - ทางหลวงจังหวัดสิงห์บุรี โทร.036-532-523

    - ทางหลวงจังหวัดลำปาง โทร.054-228-246

    - ทางหลวงจังหวัดลพบุรี โทร.036-411-602

    - ทางหลวงจังหวัดเชียงใหม่ โทร.053-228-246

    - ทางหลวงจังหวัดชัยนาท โทร.056-411-649

    - ทางหลวงจังหวัดอุตรดิตถ์ โทร.055-411-005

    - ทางหลวงจังหวัดอุทัยธานี โทร.056-524-542

    - ทางหลวงจังหวัดนครสวรรค์ โทร.056-221-286

    - ทางหลวงจังหวัดปราจีนบุรี โทร.037-211-098



    [​IMG]

    [​IMG] สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี โทร. 0-2591-2471

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี โทร.0-2581-7119-21

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี โทร.0-3641-4480-1, 0-3641-1936

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3533-5798, 0-3533-5803

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก โทร.0-3738-6209, 0-3738-6484

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี โทร.0-3553-6066-71

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี โทร.0-3621-2238

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี โทร.0-3652-0041

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง โทร.0-3564-0022

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก โทร.0-5523-0537-8 , 0-5523-0394

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์ โทร.0-5625-6015

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร โทร.0-5661-5932

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย โทร.0-5561-2415

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท โทร.0-5641-2083

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์ โทร.0-5544-4132

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง โทร.0-5426-5072-4

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ โทร.0-5321-2626

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน โทร.0-5356-2963

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก โทร.0-5551-5975

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี โทร.0-4531-2692, 0-4531-3003

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย โทร.0-4286-1579, 0-4296-1581

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร.054-741061

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุราษฎร์ธานี (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7727-5550-1

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.กระบี่ (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7561-2639, 0-7561-2649 หรือ 0-7561-2735

    - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.ชุมพร (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-77 50-2257 หรือ 0-7750-3230

    - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.พัทลุง (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7462-0300 และ 0-7461-1652

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สงขลา โทร.0-7431-6380-2 โทรสาร 0-7431-6382



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์
    [​IMG]

    และ กองบริการลูกค้าสารสนเทศและสื่อสาร การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค



    -http://hilight.kapook.com/view/63556-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    เหอๆๆๆ

    ลูกค้าผมบ่นมาว่า พวกที่แจกถุงยังชีพ บางพวก เล่นแจกแต่พรรคพวกตัวเอง

    คนที่อยู่ท้ายซอย ไม่เคยได้รับเลย

    ดังนั้น เวลาที่ต้องไปเลือกตั้ง อย่าไปเลือกพวกนี้

    อยากรู้ว่า พรรคไหน กลุ่มไหน pm มาถามน๊ะครับพี่น้อง

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    แนะ 3 วิธียืดกล้ามเนื้อคลายเครียด <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">7 พฤศจิกายน 2554 00:52 น.</td> </tr></tbody></table>

    นักวิชาการแนะศูนย์พักพิงฯ จัดกิจกรรมออกกำลังกายคลายเครียดผู้ประสบภัย เปิด 3 วิธียืดกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายได้ในพื้นที่จำกัด

    รศ.เจริญ กระบวนรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้มีผู้ประสบภัยจำนวนมาก บางส่วนติดน้ำท่วมอยู่ภายในบ้านพัก บางส่วนต้องมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยต่างๆ โดยบางคนจดจ่ออยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางคนยังห่วงบ้าน และทรัพย์สินภายในบ้าน ส่งผลให้คนเหล่านี้ต้องหวั่นวิตก และเกิดความกังวล ซึ่งถือเป็นบ่อเกิดของความเครียดทั้งสิ้น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ความเครียดผ่อนคลายลงได้คือ การออกกำลังกาย เพราะเป็นสิ่งที่ทุกเพศทุกวัยสามารถทำได้ง่าย และไม่ต้องเสียเงิน อีกทั้งยังได้ประโยชน์กับร่างกายในทุกส่วนด้วย จึงอยากแนะนำให้ศูนย์พักพิงฯ ทุกแห่งหันมาให้ความรู้ และเป็นผู้นำในการเริ่มต้นออกกำลังกาย โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือการยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เพราะสามารถทำได้ในพื้นที่ที่จำกัด
    “ควรต้องให้ผู้อพยพในศูนย์พักพิงฯ มีการเปลี่ยนอิริยาบถต่างๆ บ้าง เพราะหากมาอยู่ร่วมกันเฉยๆ อาจยิ่งเป็นการสะสมความเครียดให้เพิ่มขึ้น โดยระยะแรกเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ จะต้องเป็นตัวอย่างในการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อให้ผู้อพยพปฏิบัติตาม เริ่มจากวิธีที่ 1.การลุกขึ้นยืน และเหวี่ยงแขนสลับกับการบิดตัวไปทางซ้ายและขวา วิธีที่ 2.ยกแขนเหยียดขึ้นเหนือศรีษะ วางแขนไขว้กันไว้ที่หลังใบหู และเหยียดตรง และวิธีที่ 3.ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าขาวม้ามาเป็นอุปกรณ์ โดยจับปลายผ้าทั้งสองด้าน แยกแขนออกแล้วยกขึ้นลงเหมือนการยกน้ำหนัก ซึ่งวิธีเหล่านี้จะเป็นการยืดกล้ามเนื้อในเบื้องต้นที่ทำได้ง่าย ทุกเพศทุกวัย และทุกสถานที่โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีจำกัดในศูนย์พักพิงฯ เพราะจะช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก และช่วยผ่อนคลายความเครียดได้มากขึ้น โดยควรจะเริ่มจากการทำน้อยครั้งก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มขึ้นตามความสามารถของตนเอง ทั้งนี้ ในส่วนผู้ประสบภัยที่เลือกจะอาศัยอยู่กับบ้านของตน ก็สามารถใช้วิธีเหล่านี้ในการออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายความเครียดได้เช่นกัน” รศ.เจริญ กล่าว


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000141435-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เลขาฯ “มูลนิธิสืบ” วิเคราะห์ชัดเจน ทิศทางน้ำไหล-พื้นที่ไหนเสี่ยง <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">7 พฤศจิกายน 2554 03:13 น.</td></tr></tbody></table>
    เลขาฯ “มูลนิธิสืบ” ระบุ “จอมทอง-บางบอน” เตรียมรับน้ำจากคลองภาษีเจริญ โซน “ห้วยขวาง” เจอน้ำบ้างเล็กน้อย ส่วนตั้งแต่แนวใต้คลองสามเสนลงมา น้ำจะมาตามท่อเพื่อให้ระดับเท่ากับฝั่งเหนือ เตือนสมุทรสาครฝั่งคลองดำเนินสะดวก ระวังน้ำที่วกลงมาจากนครปฐม กระทุ่มแบนตะวันออกและมหาชัย รับน้ำแน่ๆ คาดมวลน้ำน่าจะมาถึงในอาทิตย์นี้

    <center>[​IMG]</center>

    เมื่อวันที่ 6 พ.ย.54 อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ผ่านเฟซบุ๊ก Sasin Chalermlarp ความว่า “สถานการณ์น้ำท่วมใน กทม. เป็นธรรมชาติดีครับ คือ เป็นน้ำเอ่อจากถนนและคลอง รวมทั้งท่อ หมายความว่าน้ำจะค่อยๆ ขึ้นมา ไม่มีกำแพงป้องกันชุมชนที่จะพังโครมเดียวแล้วน้ำทลายมาถล่มบ้าน เหมือนบ้านผมที่อยุธยา น้ำเดินทางมาช้าๆ ประมาณ 2-3 กม./วัน นั่นคือถ้าเรารู้ว่าน้ำถึงไหน ดูจากไลน์น่าจะประมาณการน้ำที่มาถึงบ้านเราได้ โดยเช็กจากเว็บ gamling.org วันนี้น้ำถึงลาดพร้าว 40 กว่าๆ แล้ว แต่ยังไม่สูง เราต้องรู้ก่อนว่าน้ำไม่สูงถึงไหน แล้วประมาณการมาถึงบ้านเรา ถ้ามาถึงตื้นๆ ที่บ้านเราแล้วก็จะขึ้นสูงค่อนข้างเร็วในทางลึกขึ้น นะครับ ครึ่งวันอาจจะตาตุ่มมาเข่าได้ แล้วแต่พื้นที่ครับ กระทุ่มแบนล่างๆ ไล่มาถึงบางขุนเทียน ดาวคะนอง บางมด บนๆ พญาไท ดินแดง ห้วยขวาง วังทองหลาง บางกะปิ บึงกุ่ม สะพานสูง บางชัน มีนบุรี … พื้นที่ที่ยังไม่ถึงน่าจะค่อยๆ เอ่อ ในเวลาวันสองสามวันนี้

    <center>[​IMG]</center>
    ภาพรวม กทม.แบ่งเป็นสี่วง วงแรก คือ น้ำท่วมฝั่งตะวันตก น้ำกำลังจะข้ามคลองภาษีเจริญ โดยเฉพาะบางแค เข้าต่อจอมทองและบางบอน ถ้าเขาระบายได้มากลงท่าจีนก็จะช่วยได้มาก แต่อย่าลืมว่าทั้งหมดคือการเพิ่มน้ำให้ท่าจีน ทำให้นครชัยศรี สามพราน และกระทุ่มแบน ที่ท่าจีนเต็มที่แล้วไปต่อยาก และขยายเขตน้ำท่วมสองฝั่งน้ำท่าจีนไปถึงสมุทรสาคร ได้ตลอด วงที่สอง คือ สองฝั่งเจ้าพระยา ตอนนี้แนวกั้นน้ำยังเอาอยู่ แต่สายๆ ค่ำ น้ำจะขึ้นจากน้ำหนุน วงกรุงเทพชั้นใน มาถึงลาดพร้าว จตุจักร คันนายาว ขยายวงสู่ บางซื่อ พญาไท บางกะปิ บึงกุ่ม อย่าถามเลยว่าน้ำลึกแค่ไหน เพราะมันมาเรื่อยๆ แข่งกับการระบาย และการใช้ถุงทรายกั้นด้านบน มันมาได้สูงเท่าอก หรือท่วมหัวในที่บ้านต่ำๆ และท่วมถนนจนรถวิ่งไม่ได้ ก็แล้วกัน ถ้ามันยังมากกว่าการระบายมากๆ

    จากภาพที่แล้วอีกวงคือ นอกคันถนนหทัยราษฎร์-ร่มเกล้า ค่อยๆ ขึ้นอย่างช้า ๆ เต็มหนองจอก คลองสามวา ถึงมีนบุรีแล้ว กำลังเริ่มที่ลาดกระบัง ผมไม่รู้จริงๆ ว่า คลองต่างๆ ที่ด้านใต้ และถนนมอเตอร์เวย์ เขาเตรียมทำอะไรกับช่วงลอดหรือยัง ปัจจัยความสูงของน้ำยังขึ้นกับถนนต่างๆ อีกด้วย เช่น สุวินทวงศ์ และการระบายจากคลองแสนแสบ และประเวศบุรีรมย์ ไปออกนอก กทม.

    <center>[​IMG]</center>

    ขยายภาพสู่กรุงเทพชั้นใน มีสองวง วงบนคือ ดอนเมือง ลงมาลาดพร้าว บึงกุ่ม คันนายาว ในวงแดง “ไม่รอด” นานแล้ว จะลดหรือไม่ขึ้นกับความสามารถในการระบายลงท่อ อุโมงค์ยักษ์ (ที่ไม่ใช่ยักษ์ใหญ่) พื้นที่ไม่ท่วมช่วงนี้คือ ปากเกร็ด แคราย ดุสิต เพราะความสามารถในการป้องกัน ระบาย และพื้นที่สูง นอกจากนี้ปริมาณน้ำที่เข้ามาได้เฉพาะ โลคอลโรด เปรมประชากร และวิภาวดี มีไม่พอที่จะข้ามแนวกั้นของคลองประปา วงล่างสีดำ คือเขตที่ตอนบนต้องได้รับน้ำบ้าง และตอนล่างๆ ยังน่าจะยังป้องกันไว้ได้ ตั้งแต่แนวใต้คลองสามเสน ต่อแสนแสบลงมา คือ พระนคร ราชเทวี ป้อมปราบ ปทุมวัน วัฒนา สวนหลวง แต่สำหรับ บางกะปิ สะพานสูง เนื่องจากต่ำมาก ดังนั้น น้ำจะมาตามท่อ เพื่อให้ระดับเท่ากับฝั่งเหนือ ไม่น่ารอดนะครับถ้าระบายและสูบออกไม่ได้ ใต้จากนั้นมาว่ากันอีกที ส่วนด้านนอกก็ต้องดูการระบายน้ำทั้งด้านแนวนอน และแนวตั้งตามลูกศรสีส้ม

    บางพลี บางบ่อรอน้ำอีกนาน แต่เข้าใจว่าคลองเยอะ น้ำมาไม่มาก มาช้า น่าจะไม่มีปัญหามากนัก ยกเว้นคนที่ทำนากุ้ง นาปลา ไงๆ ก็ต้องเตรียมระวังให้ดี อาจจะล้นหรือรับน้ำเสีย
    <center>[​IMG]</center>
    ฝั่งตะวันตก มีห้าวง วงสมุทรสาครฝั่งคลองดำเนินสะดวก ควรระวังน้ำเหนือที่วกลงมาจากนครปฐม น่าจะกระทบกับคนทำนาปลา นากุ้ง แต่พอมาเจอระบบคลองแพรกลำประโดงที่บางยางลงมา น่าจะไม่เท่าไหร่ แต่คุณภาพน้ำและน้ำที่สูงขึ้น ไงๆ ก็อาจจะกระทบกับสวน และแปลงกล้วยไม้ ตั้งแต่สามพราน คลองจินดา แน่นอน ส่วนล่างลงมา ก็ต้องหาทางลดความเสียหายและระบายน้ำไม่ให้ล้นร่องคลองซอยต่างๆ แต่ใกล้ท่าจีนไงๆ ก็มีเอ่อ ในอาทิตย์นี้จนท่วมออกมาตามที่ต่ำแน่ เมืองนครปฐม น่าจะ ไม่มาก ยกเว้นคลองเจดีย์บูชา รวมถึงคลองอื่นๆ ที่เชื่อมท่าจีน วงสีแดงๆ ใต้เมืองนครปฐม ต้องระวังน้ำลงบ่อปลาครับ

    จากรูปที่ผ่านมา วงสีขาวฝั่งกระทุ่มแบนตะวันออก และมหาชัย เป็นพื้นที่รับน้ำแน่ๆ ถ้าข้ามภาษีเจริญ ผมยังคิดว่าน้ำจะมาถึงในอาทิตย์นี้ น้ำที่ว่าหากมีหน้าตัดมวลน้ำ สิบกิโลเมตร ในอัตราเร็ว 2.5 กม./วัน ก็จะมีน้ำมาถึงหน้าถนนพระรามสองเพียง 20-30 ล้าน ลบ.ม./วัน ถ้าหาทาง “รอด+ข้าม” พระรามสองได้ เราอาจจะมีถนนลงใต้ และหากหาทางระบายลงคลองแนวตั้ง และพื้นที่แก้มลิงสองฝั่งคลองมหาชัย ที่ว่าๆ กันได้ในปริมาณใกล้เคียงนี้ เมืองสมุทรสาคร จะไม่ท่วม แต่ต้องลุยกันไปสองเดือนนะครับ วงสีดำเป็นวงกรุงเทพชายทะเล น้ำกำลังหาทางล้นคลองภาษีเจริญ จอมทอง ฝั่งตะวันตกขอบๆ ของราษฎร์บูรณะ และบางขุนเทียนด้านเหนือ มาจรดพระรามสอง ช่วยกันระบายลงท่อ เพื่อรักษาพระรามสองกันครับ พอลงชายทะเล ก็ต้องระวังนากุ้ง บ่อปลาอาครับ ส่วนวงเหลืองถัดมาผมว่ามีลุ้น “รอด” แต่อาจจะมีน้ำขึ้นจากเจ้าพระยาช่วงน้ำขึ้นครับ
    <center>[​IMG]</center>

    ในภาพรวมของน้ำท่วมภาคกลางวันนี้ เราเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นดังที่ว่ามา ยกเว้น “มีเหตุคันหลักหก คันลำลูกกา และแนวกั้นเจ้าพระยามีปัญหา” พื้นที่ที่ผมไม่กล้าวิเคราะห์มากคือ ฝั่งธนชั้นใน ไม่รู้ว่าน้ำจะมาจากทางฝั่งตลิ่งชันและบางพลัดถึงบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ฝั่งธน คลองสาน ต้องระวังไว้ครับ แนวน้ำน่าจะมาทางลูกศรสีส้มที่วงไว้ ส่วนจะข้ามท่าจีน ไปแม่กลองหรือไม่ ขึ้นกับว่ากรมชลเขาจะผันต่อจากท่าจีนไปหรือเปล่า ช่วงนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับ ส่วนรวมการวิเคราะห์สักครู่ ค่อยว่ากัน ช่วยกันผลักให้ภาครัฐเร่งดำเนินการผันลงทะเล ตามแนวคิดที่ภาคประชาชนว่าๆ กันครับ พอเห็นวันนี้แล้วเสียดาย แจ้งวัฒนะ-รามอินทรา จังครับ ถ้าเราใช้ถนนใหญ่เส้นนี้ทำอะไรสักอย่างเราน่าจะคุมน้ำได้ดีกว่านี้ วันนี้เลยต้องมาใช้ถนนลาดพร้าวกั้นทั้งๆ ที่ต่ำกว่า ใต้กว่าตั้งเยอะ แค่นี้ครับ”


    -http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000141658-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="headline" align="left" valign="baseline">ส.ว.จวกรัฐแก้น้ำท่วมไม่ตรงจุด - เร่งเตือนสมุทรสาครท่วมสูง 2 เมตร</td> <td align="right" valign="baseline" width="102">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">7 พฤศจิกายน 2554 12:29 น.</td> </tr></tbody></table>

    ส.ว.สรรหาอภิปรายติงรัฐช่วยเหยื่อน้ำท่วมซ้ำซ้อน แต่บางจุดกลับไม่ทั่วถึง ทั้งยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ประเทศไทยส่งออกปลากระป๋อง สินค้าไม่ขาดแคลน กลับให้นำเข้า แนะเร่งเตือนสมุทรสาคร น้ำท่วมสูง 1-2 เมตร เผยเอกชนเสนอให้ใช้ ถ.ถนนพุทธสาครตัดถนนเศรษฐกิจ 1 เป็นฟลัดเวย์



    วันที่ 7 พ.ย.54 ที่รัฐสภา นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา อภิปรายในการประชุมวุฒิสภาวาระพิจารณาปัญหาสถานการณ์การเกิดอุทกภัยร้ายแรง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดของประเทศไทยว่า การทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมา ตนมองว่ามีสิ่งที่ควรปรับปรุงในหลายด้าน อาทิ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับมวลน้ำที่ทันเหตุการณ์และชัดเจนต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนนำไปประกอบการตัดสินใจในการอพยพ หรือป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน การให้ความช่วยเหลือและการอพยพประชาชนที่พบว่ามีความซ้ำซ้อน และบางพื้นที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข เพื่อป้องกันปัญหามวลชนที่เคยเกิดขึ้น

    นอกจากนั้นแล้ว ตนมองว่าการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลเรื่องเครื่องอุปโภค บริโภคขาดแคลนนั้น ไม่มีความรอบคอบ เช่น การสั่งซื้อปลากระป๋องจากต่างประเทศของรัฐบาล ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตปลากระป๋องส่งออก และปลากระป๋องยังไม่ขาดแคลน เป็นตัวสะท้อนการทำงานของรัฐบาลที่ไม่รอบคอบ

    นายวิชาญกล่าวอีกว่า ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ที่คาดว่ามวลน้ำจากทางเหนือจะไหลเข้าสู่พื้นที่ 4-6 วันที่จะถึงนี้ เพราะรัฐบาลได้ผันน้ำเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้ไหลลงสู่ทะเล จนถึงขณะนี้รัฐบาลได้แจ้งเตือนไปยังประชาชนแล้วหรือไม่ ว่าน้ำจะไหลเข้าสู่พื้นที่สูง 1-2 เมตร และหากน้ำท่วมถนนพระราม 2 สูง 10 ซม.จะทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร สูง 80 ซม. อีกทั้งรัฐบาลมีแผนป้องกันพื้นที่ จ.สมุทรสาครที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญแล้วหรือไม่ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมานั้น ภาคเอกชนและภาคราชการในส่วนจังหวัดได้หารือถึงแนวทางผันน้ำลงสู่ทะเล คือ ให้ ถนนพุทธสาครตัดถนนเศรษฐกิจ 1 ที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำท่าจีนเป็นทางระบายน้ำ (ฟลัดเวย์) เพื่อให้มวลน้ำไหลลงสู่ทะเลได้โดยเร็ว ทั้งนี้ในพื้นที่ดังกล่าวนั้นมีชุมชนและโรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลหรือหน่วยงานราชการส่วนกลางต้องเจรจากับประชาชน

    “หากใช้ถนนเป็นฟลัดเวย์ จำเป็นต้องใช้บิ๊กแบ๊ก มาวางข้างถนน และสูบน้ำลงไปในฟลัดเวย์ด้วย แม้ว่าถนนพุทธสาครตัดกับถนนเศรษฐกิจ 1 จะมีพื้นที่ไม่มาก แต่สามารถทำเป็นพื้นที่เพื่อเปิดให้น้ำไหลลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้น ซึ่งดีกว่าการปล่อยให้น้ำเอ่อไปทุกหนทุกแห่ง ประชาชนสมุทรสาครยอมให้พื้นที่จังหวัดเป็นทางผ่านของน้ำ แต่รัฐบาลต้องเข้าไปสำรวจพื้นที่ วันนี้ช่วงบ่ายหรือวันพรุ่งนี้ อยากให้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตรวจดูพื้นที่ หาช่องผ่านน้ำ หากสิ่งเหล่านี้เร่งดำเนินการ จะเป็นการเร่งระบายน้ำเหนือให้ลงสู่ทะเลได้เร็วที่สุด และผมมองว่าการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นความท้าทายต่อ การแก้ไขปัญหาน้ำของรัฐบาล ซึ่งหากรัฐบาลสามารถจัดการปัญหาได้ เชื่อว่าจะเรียกความเชื่อมั่นในตัวรัฐบาลกลับคืนมาได้” นายวิชาญกล่าว

    อนึ่ง ในที่ประชุมวุฒิสภาได้มีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้ารับฟังในฐานะตัวแทนจากรัฐบาลด้วย





    -http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000141784-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    อาจารย์ธรรมศาสตร์ วิเคราะห์บทเรียนโลจิสติกส์ในวิกฤตน้ำท่วม


    ผศ.ดร. สถาพร โอภาสานนท์ ภาควิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์ และการขนส่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ...................................

    ปฏิเสธไม่ได้ว่าศาสตร์ด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานได้มี บทบาทสำคัญและถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบ ภัยในช่วงวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การทำงานของภาครัฐสะท้อนให้เห็นถึงการขาดการนำความรู้ด้านโลจิสติกส์มาใช้ใน การรับมือกับสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ


    ปัญหาแรกคือการขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นมันสมองในการแก้ไขปัญหาทั้งหมด ดูเหมือนจะขาดการประเมินสถานการณ์แบบ “what-if scenario” ที่พิจารณาความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมด จึงทำให้ไม่มีมาตรการรองรับเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อการปฏิบัติ ภารกิจล้มเหลว และต้องตามแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะหน้า

    การย้ายที่ทำการ ศปภ. ไปยังกระทรวงพลังงาน ที่ผ่านไปไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ก็ถูกน้ำท่วมเช่นกัน เป็นผลมาจากการขาดการประเมินถึงกรณีเลวร้ายที่สุด (worst-case scenario) และไม่ได้พิจารณาประเด็นโลจิสติกส์เรื่องการเลือกทำเลที่ตั้ง ศปภ. ถือเป็นศูนย์บัญชาการหลักที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน


    ดังนั้น ที่ทำการ ศปภ. จึงควรตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัยมากที่สุด โดยหากไม่สามารถหาทำเลที่ไม่ประสบปัญหาอุทกภัยอย่างแน่นอนได้แล้ว ก็ควรจะตั้งอยู่ในบริเวณกรุงเทพชั้นในสุดหรือสถานที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งถือเป็นที่มั่นที่ภาครัฐจำเป็นต้องป้องกันมากที่สุด

    ในส่วนของศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยก็เช่นเดียวกัน ควรจะอยู่ในพื้นที่นอกเขตเสี่ยงต่ออุทกภัยและมีระบบคมนาคมเข้าถึงได้สะดวก โดยจัดเตรียมเสบียงให้เพียงพอตลอดระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ การย้ายผู้ประสบภัยจากศูนย์พักพิงที่ถูกน้ำท่วมไปยังที่แห่งใหม่เป็นการทำ งานที่ซ้ำซ้อนและสร้างความยุ่งยากในการจัดการมากยิ่งขึ้น

    ประสิทธิภาพของระบบกระจายสินค้าก็ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถในการ ให้ช่วยเหลือ ปัญหาการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องตลาด รวมถึงภาพสิ่งของบริจาคที่ยังตกค้างอยู่ภายในท่าอากาศยานดอนเมืองหลังจากการ ย้ายออกของ ศปภ. สะท้อนให้เห็นถึงการขาดระบบจัดการโลจิสติกส์ที่ดี


    ทั้งนี้ ในสภาวการณ์ที่มีความต้องการความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก สถานที่รับสิ่งของบริจาค (ซึ่งจริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกับที่ทำการ ศปภ.) ก็ควรใช้เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Distribution Center) โดยจัดการแบบ Cross-docking ที่ทำการคัดแยก บรรจุหีบห่อ และจัดส่งทันที เพื่อความรวดเร็วในการกระจายถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย และให้มีการถือครองของบริจาคภายในศูนย์ไว้ให้น้อยที่สุด

    เนื่องจากมีสิ่งของบริจาคส่งเข้ามาต่อวันจำนวนมาก นอกจากนี้ ควรมีการเพิ่มจำนวนศูนย์รวบรวมและกระจายสิ่งของบริจาคในลักษณะดังกล่าวให้ มากขึ้นและกระจายตัวไปหลายๆจุด โดยประสานงานกับศูนย์ฯของเอกชนและทำการแบ่งพื้นที่การให้ความช่วยเหลืออย่าง ชัดเจน เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงานและสามารถกระจายสิ่งของไปยังศูนย์พักพิงและ แหล่งชุมชนที่ประสบภัยอย่างทั่วถึง


    นอกจากนี้ จำนวนยานพาหนะสำหรับใช้ขนส่งสินค้าและประชาชนที่มีอยู่จำกัด โดยรถทหารต้องแบกรับภาระทั้งหมดก็สร้างปัญหาคอขวดต่อระบบโลจิสติกส์

    แนวทางการบรรเทาปัญหาต้องอาศัยทั้งการระดมยานพาหนะจากหน่วยงานอื่น เช่น รถโดยสารที่วิ่งประจำบนเส้นทางที่ถูกน้ำท่วมลึก ร่วมกับการบริหารกองยานพาหนะและการจัดเส้นทางขนส่งให้มีความเหมาะสมกับระดับ ความลึกของน้ำ โดยนำเรือและรถยกสูงไปวิ่งเฉพาะเส้นทางที่มีระดับน้ำสูง และใช้รถขนาดเล็กลงมาวิ่งเชื่อมโยงในเส้นทางย่อยที่ยังสามารถผ่านได้ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากกองยานพาหนะทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

    ปัจจัยที่ดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในภาวะวิกฤตมากที่สุด คือ ความสามารถในการสื่อสารและจัดการกับข้อมูล สำหรับการจัดการโลจิสติกส์แล้ว ข้อมูลถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีมากจนเกินไป (Information Overload) ความยุ่งยากจึงเป็นเรื่องของการจัดการกับข้อมูลที่มีอยู่มากมายเหล่านั้น อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งต้องอาศัยการแชร์ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำไปยังหน่วยงานอื่นๆในโซ่อุปทาน เพื่อนำมาใช้วางแผนการทำงานให้เป็นทิศทางเดียวกันและยังเป็นการสร้างความไว้ วางใจระหว่างหน่วยงานอีกด้วย

    ทั้งนี้ การสื่อสารระหว่างภาครัฐกันเองและภาครัฐกับประชาชนเป็นปัญหาที่ต้องได้รับ การปรับปรุง โดยในช่วงแรกจะพบว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่ภาครัฐสื่อสารออกมาจะเป็นข้อมูลเพียง ด้านเดียว ซึ่งเน้นเฉพาะปัญหาที่ได้ดำเนินการแก้ไขเท่านั้น โดยหลีกเลี่ยงการพูดถึงผลกระทบจากการปฏิบัติงานที่ล้มเหลวและสถานการณ์ทั้ง หมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งอาจกลัวว่าประชาชนจะตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุ

    อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีอุทกภัยที่เกิดขึ้น การให้ข้อมูลที่ชัดเจนและรอบด้านเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชนในการวางแผน ล่วงหน้า รวมทั้งจะไม่มีผลให้เกิดความโกลาหล เนื่องจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นแบบไม่ฉับพลัน ซึ่งประชาชนมีเวลามากเพียงพอในการเตรียมตัว


    ในทางกลับกัน สื่อมวลชนต่างๆ สามารถนำเสนอข้อมูลที่มีการวิเคราะห์อย่างเป็นหลักการและครบถ้วนมากกว่า จึงทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในข้อมูลที่ภาครัฐนำเสนอ ถึงแม้ในภายหลังภาครัฐได้พยายามที่จะสร้างความน่าเชื่อถือโดยเปลี่ยนทีมโฆษก และเพิ่มความเข้มข้นของข้อมูลมากขึ้นแต่ก็ดูเหมือนว่าจะสายเกินไป ซึ่งเห็นได้จากการที่ประชาชนไม่ให้ความสนใจในการแจ้งเตือนอพยพออกจากพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ จนกว่าจะเห็นน้ำท่วมด้วยตาตนเอง

    เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจในแหล่งที่มาของข้อมูลอีกแล้ว ความล้มเหลวในการควบคุมมวลชนถือเป็นสัญญาณอันตรายที่อาจก่อให้เกิดความสูญ เสียชีวิตและทรัพย์สินในกรณีที่สถานการณ์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หากเปรียบกับการทำธุรกิจ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าถือเป็นเรื่องสำคัญ หากพบว่าคุณภาพของสินค้าไม่ตรงกับที่โฆษณาแล้ว ผู้บริโภคก็จะไม่ซื้อสินค้าอื่นๆที่มาจากบริษัทนั้นอีก

    อย่าลืมว่าองค์ประกอบพื้นฐานในการแก้ปัญหาการ จัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานคือ การร่วมมือและประสานงานกันระหว่างหน่วยงานในโซ่อุปทาน หากขาดความไว้วางใจกันแล้ว การคิดที่จะ “บูรณาการการทำงาน” อย่างแท้จริงคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้


    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320552036&grpid=&catid=02&subcatid=0207-


    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    คาดแบงก์ตุนเงินปล่อยกู้น้ำลด จับตาแข่งดูด"ฝากดอกสูง" เพิ่มเข้มงวดอนุมัติสินเชื่อ


    คาดระบบแบงก์เร่งตุนสภาพคล่องรองรับความต้องการสินเชื่อฟื้นฟูน้ำท่วม จับตาแข่งแคมเปญดอกเบี้ยฝากสูง ดูดเงินเข้าแบงก์ เชื่อเข้มงวดอนุมัติเงินกู้มากขึ้น นำปัญหาน้ำท่วมมาเป็นปัจจัยเสี่ยงในการพิจารณา ธปท.เผยแบงก์คลายอาการแตกตื่น ลดถือเงินสดในมือ นำกลับมาฝาก ธปท.ในระดับใกล้เคียงปกติ

    นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งทั้งเอกชนและสถาบันเฉพาะกิจของรัฐบาล เริ่มแย่งสภาพคล่องการเงินผ่านการออกแคมเปญเงินฝากอัตราดอกเบี้ยพิเศษมาก ขึ้น เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งต้องการสนับสนุนสินเชื่อถึง 150,000 ล้านบาท

    ทั้งนี้ การแย่งสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ จะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเร่งตัวขึ้นและเป็นต้นทุนของธนาคารด้วย แม้หลายฝ่ายมีการคาดการณ์กันว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 3.50% ต่อปีในการประชุมวันที่ 30 พ.ย. ปิดการประชุมสำหรับปีนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังเหตุการณ์น้ำท่วมก็ตาม

    นายสุภัคกล่าวว่า การพิจารณาสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม จะมีการนำความเสี่ยงจากน้ำท่วมเข้ามาในการประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจ ด้วย เพราะถือว่าส่งผลต่อธุรกิจค่อนข้างมาก เพราะประเทศไทยยังเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วมในปีถัดไป ขณะที่บริษัทรับประกันภัยที่เริ่มมีปัญหาจะไม่ยอมรับประกันภัยต่อจากกรณีน้ำ ท่วม ดังนั้น รัฐบาลจะต้องมีการจัดทำแผนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น

    นอกจากนั้น ธนาคารอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจใหม่สำหรับปี 2555 หลังเกิดสถานการณ์น้ำท่วม แต่มองว่าสินเชื่อจะเติบโตได้มากกว่า 20% เนื่องจากหลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย คาดว่าธุรกิจจะกลับมาเดินเครื่องได้ตามปกติตั้งแต่เดือน มี.ค.2555 เป็นต้นไป และจะเริ่มเข้าสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจทำให้ช่วงครึ่งปีแรกน่าจะเติบโตได้มาก ภายใต้เศรษฐกิจไทยเติบโตในระดับ 4.5-5.0% โดยมองว่ารัฐบาลน่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแรง ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 1% จากปีนี้
    นายนพพร ประโมจนีย์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธปท.กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้ธนาคารพาณิชย์หลายแหล่งเริ่มนำเงินสดมาฝาก ธปท.มากขึ้น โดยปริมาณธุรกรรมการฝาก-ถอนอยู่ที่ 2,000-3,000 ล้านบาทต่อวัน เกือบเข้าใกล้ระดับปกติ พลิกจากการเร่งเบิกถอนอย่างมากในช่วงสัปดาห์ก่อน โดยเฉพาะวันที่ 28 ต.ค.เพียงวันเดียวมี 20,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6-7 เท่าตัว เนื่องจากธนาคารหลายแห่งลดความกังวลว่าจะเกิดปัญหาน้ำท่วมในระดับสูงจนไม่ สามารถเบิกถอนเงินเพื่อสำรองแก่ประชาชนได้ ประกอบกับมีการปิดให้บริการเครื่องเอทีเอ็ม 4,000 กว่าเครื่อง หรือ 10% ทั้งระบบจึงมีเงินเหลือ

    นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยในปัจจุบันมีสูงถึง 2 ล้านล้านบาท ซึ่งดูแล้วเพียงพอต่อความต้องการของระบบ ขณะที่เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันก็เฉลี่ยอยู่ที่ 16% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 8.25% ดังนั้น การขยายสินเชื่อใหม่จึงไม่น่าจะมีปัญหา.



    -http://www.thaipost.net/news/051111/47629-

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    คำสั่งซื้อสินค้าตกต่ำสุด28เดือนผวาศก.โลกหด-อุทกภัยซ้ำอาหารทะเลเพิ่มผลิตหนีน้ำ


    ธปท.เผยดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ 3 เดือนข้างหน้าวูบหนัก ต่ำสุดรอบ 28 เดือน ผู้ประกอบการห่วงเศรษฐกิจโลก-น้ำท่วม ฉุดความต้องการซื้อ ด้านผู้ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง เร่งปั๊มสินค้าเต็มพิกัด หวั่นสมุทรสาครจมน้ำ กระเทือนปีหน้าไทยขาดสินค้าทะเลส่งออก

    ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ดัชนีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 41.5 ซึ่งต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่นที่ 50 และดัชนีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 47 ต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่นที่ระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 28 เดือน เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในอนาคตจะลดลงจาก ปัจจุบัน จากผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป

    นอกจากนั้น ผู้ประกอบการมองว่าภาวะส่งออกจะลดลงเล็กน้อยทั้งในปัจจุบันและอนาคต สะท้อนจากดัชนีภาวะส่งออกปัจจุบันอยู่ที่ 49.7 และในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 49.4 ตามลำดับ สอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา มีความกังวลเรื่องความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจะเป็นข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ เพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 51.4% จากเดือนก่อนอยู่ที่ 46.3%

    “เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ประกอบการยังมีความกังวลเรื่องความต้องการจากตลาดในประเทศต่ำอยู่ที่ 24.8% สะท้อนความกังวลที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากเดือนก่อนอยู่ที่ 19.7% รวมถึงความต้องการจากตลาดต่างประเทศต่ำอยู่ที่ 17.6% สะท้อนความกังวลที่เพิ่มขึ้นชัดเจนจากเดือนก่อนอยู่ที่ 13.7% ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ประกอบกับปัญหาอุทกภัยในประเทศที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นหลัก” รายงานข่าวระบุ

    นายอนุรัตน์ โค้วคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด และฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (ยูเอฟพี) ผู้ผลิตอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อการส่งออกรายใหญ่ของไทย กล่าวว่า โรงงานผลิตสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งของบริษัท กำลังเร่งเดินเครื่องผลิตสินค้าอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศได้ทันตามกำหนด

    เนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ใน จ.สมุทรสาคร อยู่ในพื้นที่เสี่ยงถูกน้ำท่วม ขณะเดียวกัน โรงงานส่วนใหญ่ใน จ.สมุทรสาคร จะผลิตสินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง เพื่อส่งออกไปต่างประเทศจำนวนมาก หากเกิดปัญหาน้ำท่วมขึ้นจริง คาดว่าจะทำให้การส่งออกสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งของไทยเกิดปัญหาได้

    ทั้งนี้ บริษัทได้เร่งผลิตสินค้ากลุ่มกุ้งแช่แช็งเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยผลิตอยู่ที่ 100-120 ตันต่อวัน และเพิ่มกำลังการผลิตอาหารแช่แข็ง ภายใต้แบรนด์ พรานทะเล 2 เท่าตัว อยู่ที่ 40,000 กล่องต่อวัน จากเดิม 20,000 กล่องต่อวัน

    นายทวี ปิยะพัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด ผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปครบวงจร ภายใต้แบรนด์ "พีเอฟพี" กล่าวว่า บริษัทไม่มีความกังวลกับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นมากนัก เนื่องจากโรงงานผลิตอาหารอยู่ใน จ.สงขลา แต่ขณะนี้กำลังเกิดปัญหาโรงงานที่ส่งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุสินค้าถูกน้ำ ท่วม จึงต้องปรับแผนไปหาซื้อจากโรงงานในประเทศมาเลเซียแทน พร้อมกับเร่งผลิตสินค้าขึ้นเต็มกำลังการผลิต 100% เนื่องจากมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามาจำนวนมาก

    ส่วนเป้าหมายยอดขายรวมในสิ้นปี 2554 คาดว่าจะเติบโตขึ้น 15% จากปีก่อน ที่มียอดขายรวมมากว่า 4,000 ล้านบาท.


    -http://www.thaipost.net/news/071111/47703-

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    คลายเครียด..แก้ปัญหาสติแตกเมื่อน้ำท่วม



    คลายเครียด..แก้ปัญหาสติแตกเมื่อน้ำท่วม (ไทยโพสต์)


    ภาวะน้ำท่วมเกาะกินทำร้ายจิตใจของคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย มากบ้างน้อยบ้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ อย่างไรก็ตาม ทุกคนสามารถหลีกพ้นปัญหาความเครียด อันเกิดจากน้ำที่เราไม่อาจจะควบคุมได้ หากตั้งสติและลองดำเนินการตามคำแนะนำของผู้รู้ รวมทั้งนักจิตวิทยาทั้งหลาย เพราะความเครียดของอารมณ์มนุษย์ในเหตุการณ์น้ำท่วม ก็ไม่ได้แตกต่างจากความเครียดอันเกิดจากการทำงานหรือปัญหาชีวิตนั่นเอง

    ทั้งนี้วิธีง่าย ๆ เพื่อคลายเครียดในภาวะปัจจุบัน อาทิ

    [​IMG] จินตนาการแสนสุข อีกทางเลือกในการบรรเทาความเครียด คือ ดึงตัวเองออกจากโลกปัจจุบัน โดยหลับตาแล้วหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ แล้วหยุดไว้ 2 วินาทีก่อนหายใจออก การหยุดช่วงสั้นๆ จะมีผลทำให้ระบบประสาทสงบลง ทำแบบนี้ในที่เงียบ ๆ สัก 5 นาที รับรองว่าจะรู้สึกดีแบบทันตาเห็น จากนั้นก็นึกถึงช่วงเวลาดี ๆ เช่น วันที่ได้รับคำชมจากเจ้านาย วันที่ครอบครัวสนุกสนาน

    [​IMG] หนังสือบำบัด หาหนังสือที่อ่านแล้วสบายใจเล่มบาง ๆ มาไว้ใกล้มือ เครียดเมื่อไหร่หยิบมาพลิกอ่านสักหน้าสองหน้าแก้เครียด หรือหามุมสงบ-ฟังเพลง ฟังเพลงเบา ๆ โดยเฉพาะเพลงแนว Meditation ทั้งเสียงบรรเลงดนตรีและเสียงธรรมชาติ อย่างเสียงคลื่น น้ำตก นกร้อง รับรองว่าจะช่วยสร้างสมาธิให้กลับคืนสู่สมองและจิตใจได้อย่างน่ามหัศจรรย์

    [​IMG] โทร.หาเพื่อนรู้ใจ อย่า คิดว่าตัวเองจะแก้ทุกปัญหาได้ ยกหูโทรศัพท์หาเพื่อนรู้ใจสักคน แล้วระบายความรู้สึกให้เพื่อนได้รับรู้ การมีคนรับฟังและให้คำปรึกษาจะทำให้ชีวิตที่ยุ่งเหยิงเริ่มเข้าที่เข้าทาง มากขึ้น อย่างน้อยก็ยังรู้สึกว่า คุณไม่ได้แบกปัญหาอยู่คนเดียวในโลก หรือจะอาศัยพลังแห่งการสัมผัส ถ้ามีเพื่อนสนิทในที่ทำงานอาจสลับสับเปลี่ยนกันนวดบรรเทาอาการเครียด เพราะการโอบกอดหรือสัมผัสเบา ๆ เวลารู้สึกเหนื่อยล้าจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ ออกซิโทซิน ช่วยลดระดับความเหนื่อยและความเครียด ทำให้ร่างกายที่กำลังอ่อนล้ารู้สึกผ่อนคลายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

    [​IMG] ทดลองหลับ บางตำรากล่าวไว้ว่า วิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาสมดุลแห่งความเครียด คือ การฝึกจิตง่าย ๆ ครั้งละ 10-15 นาที เช้าและเย็น ด้วยการนั่งท่าสบาย ๆ อยู่ที่โต๊ะทำงานของคุณ หนุนศีรษะบนแขนที่วางไขว้กัน หรือหาที่เหมาะนอนท่าเหยียดยาว หลับตาและปล่อยตัวตามสบาย เพื่อผ่อนคลายง่าย ๆ หรือการคิดในทางบวก ขอให้จำไว้ว่าการมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน คิดถึงประสบการณ์ดี ๆ ที่ผ่านมาในชีวิตให้บ่อยขึ้น รวมถึงคิดถึงความปรารถนาดีของคนอื่นที่มีต่อคุณ ก็จะช่วยให้เป็นคนที่เครียดน้อยลงและมีความสุขมากขึ้นได้

    [​IMG] หนีให้พ้นความจำเจด้วยการไปตากอากาศระยะสั้น เมื่อ ความเครียดรุมเร้า ก็ไม่ควรอุดอู้อยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม ทางที่ดีคุณควรหาเวลาหลบไปสูดอากาศบริสุทธิ์ใกล้ ๆ ธรรมชาติสักพัก อาจเป็นสวนหย่อมในที่ทำงาน หรือคาเฟทีเรียใกล้ ๆ จากนั้นเดินผ่อนคลายและหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ปล่อยสมองให้ว่างที่สุด เพราะบางทีความรู้สึกเหนื่อยล้าและหดหู่มันมาจากชีวิตที่ยุ่งเหยิงจนเกินไป.


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://thaipost.net/x-cite/021111/47463-
    [​IMG]

    -http://health.kapook.com/view32946.html-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    'นิวไทยแลนด์'

    'นิวไทยแลนด์' โดย 'ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์'

    สองสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ต้องตกอยู่ในความ ทุกข์ระทมเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่มีผู้เรียกว่า “มหาอุทกภัย” ภาพของผู้คนที่ต้องหนีน้ำท่วมในสภาพต่างๆปรากฏอยู่ตามสื่อทั้งไทยและเทศคงจะ ยังอยู่ในความทรงจำของเราไปอีกนานครับ


    ในบทบรรณาธิการครั้งที่แล้ว ผมได้เขียนเรื่องการบริหารจัดการภัยพิบัติระดับชาติซึ่งก็ถูกนำไปใช้อ้างอิง ในหลาย ๆ ที่ ในบทบรรณาธิการครั้งนี้ก็จะยังคงเกาะติดเรื่องมหาอุทกภัยต่อเพราะอย่างไร เสีย เรื่องดังกล่าวก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องอยู่กับชีวิตประจำวันของเราไปอีกช่วง ระยะหนึ่งครับ คนไทยที่มีความทุกข์จาก “มหาอุทกภัย” น่าจะมีอยู่สองกลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ถูกน้ำท่วมได้รับความเดือดร้อนเสียหายไปเรียบร้อยแล้ว กับกลุ่มที่สองคือกลุ่มที่นั่งเฝ้ารออยู่อย่างไร้อนาคตว่าน้ำจะท่วมเมื่ิอไร
    สำหรับคนกลุ่มแรกนั้นคงไม่ต้องพูดอะไรมากเพราะในเมื่ิอน้ำท่วมไปแล้ว ทรัพย์สินคงได้รับความเสียหายไม่มากก็น้อย งานการก็คงไม่ได้ทำหรือทำได้ไม่ได้เต็มที่ รอเวลาว่าเมื่อไรน้ำลดก็จะต้องซ่อมแซมที่อยู่อาศัย คนเหล่านั้นจึงอยู่ในสภาพที่ต้องเอาตัวรอดและพยายามหาทางทำให้ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เคยมีเคยเป็นในชีวิตก่อนน้ำท่วมกลับไปเหมือนเดิมให้เร็วที่สุด ซึ่งก็ไม่มีใครทราบว่าเมื่อไร ?
    กลุ่มที่สองต่างหากเป็นกลุ่มที่กำลังปั่นป่วนและสร้างปัญหาให้กับสังคมอยู่ ในเวลานี้เพราะในเมื่อคนกลุ่มนี้ยังไม่ถูกน้ำท่วม แต่มีข่าวออกมาวันละหลายร้อยรอบว่าอย่างไรเสียน้ำก็จะต้องท่วมอย่างแน่นอน เพียงแต่ไม่ทราบว่าเมื่อไรเท่านั้นเอง เรื่องนี้จึงทำให้คนกลุ่มหลังว้าวุ่น แล้วยิ่งพอมีเวลาเตรียมตัวรับน้ำท่วมนานก็ยิ่งคิดมาก วิตกกังวลไปเสียทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องบ้าน เรื่องรถ หรือเรื่องอาหารการกิน ไม่ว่าจะทำอะไรก็รู้สึกไม่คล่องตัวไปเสียทั้งหมดเพราะไม่ทราบว่าเมื่อไรน้ำ จะท่วมเสียทีครับ !!!
    คนกลุ่มที่สองนี้ส่วนใหญ่คือคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา คนกลุ่มนี้ไม่เคยคิดไม่เคยฝันว่าจะมีวันที่น้ำท่วมกรุงเทพมหานครได้ ด้วยความที่เป็นเมืองหลวง ด้วยความที่เป็นศูนย์กลางของทุก ๆ ด้านของประเทศ อย่างไรเสียคงปลอดภัยเป็นแน่ แต่วันนี้คงไม่มีใครคิดเช่นนั้นแล้วเพราะน้ำได้ท่วมพื้นที่รอบๆกรุงเทพมหา นครไปจนเกือบหมดแล้ว ส่วนในเขตกรุงเทพมหานครเองก็ถูกน้ำท่วมไปหลายเขต
    และในขณะที่เขียนบทบรรณาธิการนี้ น้ำจำนวนมากกำลังค่อยๆคืบคลานไหลจากบริเวณรอบๆกรุงเทพมหานครเข้ามาสู่ใจกลาง ของกรุงเทพมหานครอย่างช้า ๆ สร้างความปริวิตกให้กับผู้คนจำนวนมากอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาหลายสัปดาห์ที่ ผ่านมา
    ในฐานะคนกรุงเทพมหานคร ผมพบว่าเราได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมหาอุทกภัยน้อยมาก การรับรู้ข้อมูลน้อยเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราตัดสินใจผิดพลาดได้ง่าย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือกรณีวันหยุดพิเศษเมื่อปลายเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงสุด 4 วันเป็นวันหยุดราชการ จากนั้นก็มีการเชิญชวนให้คนในกรุงเทพมหานครออกไปนอกกรุงเทพมหานครซึ่งผมก็ ไม่ทราบว่าให้ออกไปทำไม ?
    การเดินทางออกไปนอกกรุงเทพมหานครของคนกลุ่มใหญ่สร้างปัญหาตามมามากมายเพราะ มีถนนหลายสายที่ถูกน้ำท่วม ทำให้เกิดปัญหารถติดอย่างหนักในหลายเส้นทาง ในขณะที่คนกลุ่มใหญ่ทิ้งกรุงเทพมหานครในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งขึ้นสูงมากก็ท่วมออกมาบนพื้นผิวจราจรที่อยู่แถบริม แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่บ้างแต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคนมากนัก เพราะเป็นวันหยุดราชการ
    ผู้คนส่วนใหญ่วิตกเรื่องน้ำท่วมจึงอยู่กับบ้านเฝ้าติดตามข่าวสาร น้ำท่วมอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ลง พอน้ำลงทุกสิ่งทุกอย่างก็กลับกลายเป็นปกติตามเดิม ผู้คนสามารถสัญจรไปมาได้อย่างปกติ พอวันหยุดพิเศษ 4 วันผ่านไป ผู้คนส่วนหนึ่งก็เริ่มทยอยกลับกรุงเทพฯในขณะที่น้ำที่ท่วมก็เริ่มทยอยเข้ามา ในกรุงเทพฯ อย่างช้า ๆ เช่นกัน
    การที่น้ำเดินทางเข้ามาถึงกรุงเทพฯสร้างความสับสนวุ่นวายให้กับประชาชนมาก เพราะทุกคนต้องการอยู่อย่างปลอดภัย ในเมื่อรัฐบาลไม่ได้ทำอะไรที่พอจะแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้ จึงทำให้เราได้เห็นภาพของผู้คนหนีน้ำท่วมกันไปเรื่อยๆ แม้แต่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ของรัฐบาลเองก็ยังไม่รอด ต้องหนีน้ำท่วมไปอยู่ที่อื่น ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นก็ล้วนแล้วแต่มาจากการขาดข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง แม่นยำและชัดเจนนั่นเองครับ
    นอกจากนี้แล้ว ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องข้อมูลข่าวสารก็ยังมีเรื่องที่น่าแปลกอีกเรื่อง หนึ่งก็คือ แม้ว่ามหาอุทกภัยครั้งนี้จะเกิดขึ้นมาเป็นนานหลายเดือนและหลายจังหวัดรวม ทั้งในช่วงวิกฤติของกรุงเทพมหานครเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แต่ประชาชนกลับไม่มี “ช่องทางพิเศษ” ที่จะติดตามข่าวน้ำท่วมได้โดยเฉพาะ ที่ผ่านมาก็ได้แค่อาศัยดูข่าวบางเวลาในบางช่องเท่านั้นเองที่ทำให้สามารถรับ รู้ข่าวเกี่ยวกับน้ำท่วมในที่ต่างๆได้ ในวันนี้ รัฐบาลน่าจะให้ความสำคัญกับการข่าวให้มาก ๆ เพราะทุกคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครต้องการทราบเหมือน ๆ กันว่า น้ำจะท่วมบริเวณใดบ้างท่วมเมื่อไรสูงขนาดไหนและท่วมนานเท่าไรครับ
    ขณะที่เขียนบทบรรณาธิการนี้ น้ำเริ่มท่วมเข้ามาจวนจะถึงใจกลางของกรุงเทพมหานครแล้ว ส่วนบางจังหวัดที่น้ำท่วมไปแล้วกว่า 3 เดือนก็เริ่มที่จะกลับสู่สภาวะปกติ งานสำคัญที่ตามมาที่รัฐบาลจะต้องทำก็คือ การแก้ปัญหาหลายมิติในเวลาเดียวกันครับ
    การแก้ปัญหาระยะสั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลต้องคิดเพื่อหา ทางออก การแก้ปัญหาระยะสั้นก็คือทำอย่างไรที่จะป้องกันรักษาสถานที่สำคัญๆของประเทศ เอาไว้ได้ ทำอย่างไรจึงจะทำให้น้ำท่วมกระทบคนน้อยที่สุด การแก้ปัญหาระยะสั้นคงทำอะไรไม่ได้มากแล้วเพราะในปัจจุบันน้ำท่วมไปจนเกือบ หมดแล้ว การแก้ปัญหาระยะสั้นจึงควรไปอยู่ตรงที่ทำอย่างไรจึงจะทำให้น้ำลดลงเร็วที่ สุดครับ
    การแก้ปัญหาระยะกลางได้แก่การทำให้ทุกอย่างกลับคืนสู่สภาพเดิม นี่คือ
    สิ่งที่เป็นภาระที่หนักที่สุดของทั้งประชาชนและทั้งรัฐบาล เมื่อน้ำลด บ้านเรือนที่อยู่อาศัยต้องได้รับการซ่อมแซมให้กลับไปอยู่ในสภาพที่อยู่อาศัย ได้ สิ่งที่น่าวิตกก็คือ วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างทั้งหลายมีเพียงพอที่จะรองรับการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หลายหมื่นหลังหรือไม่มีช่างเพียงพอที่จะเข้าไปทำงานซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหรือ ไม่เพราะเป็นที่แน่นอนว่า ทุกคนต่างก็อยากทำให้บ้านเรือนของตัวเองกลับเข้าสู่สภาพเดิมเร็วที่สุดเพื่อ ที่จะได้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันเร็วที่สุด เช่นเดียวกับสถานที่ทำงานหรือโรงงานต่าง ๆ ที่ก็ต้องรีบทำให้สถานที่ของตนกลับมาเหมือนเดิมเพื่อที่จะได้เริ่มทำงานต่อ ไป คนงานที่หยุดงานไปเป็นเวลานานก็จะได้กลับไปทำงานมีรายได้อย่างเดิม
    ไม่ทราบว่า ในส่วนของรัฐบาลได้มีการเตรียมการในเรื่องเหล่านี้ไว้บ้างหรือยังครับ เห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มัวแต่ประชุมกับนักธุรกิจภาคเอกชนเพื่อ เตรียมฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมบางแห่งอย่างไรเสียก็อย่าลืมนึกถึงเรื่องช่าง เรื่องวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและซ่อมแซมบ้านซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนหลายล้านคน ต้องการใช้หลังน้ำลดด้วยนะครับ หาไม่แล้ว เมื่อน้ำลดก็จะต้องเกิดปัญหาใหญ่ตามมาอย่างแน่นอน นั่นก็คือการขาดแคลนช่างขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเช่นอิฐหินดินทรายหรือปูน เป็นต้น การขาดแคลนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากที่จะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ อย่างรวดเร็วและส่งผลต่อการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมด้วยครับ
    สำหรับในส่วนของการแก้ปัญหาระยะยาวนั้นเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมอ่านเจอในหนังสือพิมพ์หลายฉบับมีใจความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลจะดำเนินการตั้ง "โครงการนิวไทยแลนด์" ขึ้นมาฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลด โดยโครงการดังกล่าวจะใช้งบประมาณ 6 - 8 แสนล้านบาทครับ
    ผมอ่านข่าวดังกล่าวด้วยความ“ชื่นชม”คนที่คิดคำพวกนี้เพราะฟังดูแล้วมีความ ไพเราะ มีอนาคต มีความหวัง มีความฝัน เป็นคำที่น่าจะมี “พลัง” พอที่จะเรียกความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศของรัฐบาลกลับมาได้บ้าง แต่คำถามที่สำคัญก็คือ ใครจะเป็นผู้ทำโครงการ “นิวไทยแลนด์” ครับ เพราะผมไม่คิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันซึ่งใครๆก็รู้ว่า “ล้มเหลว” ในการบริหารจัดการเรื่องน้ำท่วมในครั้งนี้จะสามารถ “สร้าง”ประเทศไทยขึ้นมาใหม่ได้ครับ ไปๆ มา ๆ โครงการที่ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลก็อาจจะกลายเป็นอภิมหาโครงการทุจริตดัง เช่นที่เคยเกิดขึ้นกับโครงการใหญ่ ๆ ของประเทศในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็เป็นได้ครับ
    แม้จะยังไม่มีคำอธิบายที่เป็นรูปธรรมว่าคืออะไร แต่สำหรับผมนั้น “นิวไทยแลนด์”น่าจะเป็นโครงการที่ประกอบด้วยหลายส่วนที่สำคัญและเกี่ยวข้อง กับประเทศไทยในทุกๆด้านไม่จำกัดเฉพาะการแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งเท่านั้น “นิวไทยแลนด์”น่าจะเป็นโครงการที่ปรับประเทศให้เข้าสู่ระบบของความเป็นอารย ประเทศดังเช่นประเทศอื่น ๆ น่าจะเป็นการปรับโครงสร้างและระบบต่างๆของประเทศทุกโครงสร้างและทุกระบบให้ ทำงานอย่างบูรณาการสอดคล้องประสานกันมากกว่าจะไปมุ่งเน้นการปรับโครงสร้าง และระบบเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ
    นอกจากนี้แล้ว “นิวไทยแลนด์”ยังควรรวมถึงการปรับโครงสรัางทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งการสร้างระบบสวัสดิการที่สมบูรณ์แบบให้กับประเทศชาติและประชาชนด้วย ที่ขาดไม่ได้อีกอย่างก็คือการทำให้ ระบบนิติรัฐกลับคืนมาสู่ประเทศไทยดังเดิมด้วยครับ!!!
    นอกจากนี้แล้ว เรื่องบางเรื่องก็ต้องถูกหยิบยกมาพิจารณาหาทางแก้ไขด้วยเพื่อให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่สมบูรณ์แบบและมีระบบ ไม่ต้องดูอื่นไกลนะครับ สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเมื่อคราวเกิดคลื่นยักษ์สึนามิกับสิ่งที่ เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อคราวเกิดมหาอุทกภัยดูช่างต่างกันลิบลับ ในขณะที่คนญี่ปุ่นสงบ รู้จักแบ่งปัน รู้จักประโยชน์สาธารณะ คนไทยบางส่วนกลับแย่งกันกักตุนอาหารกักตุนสินค้าเพื่อตัวเองและครอบครัวบาง รายก็กักตุนเพื่อนำไปขายต่อราคาแพงๆมีคนจำนวนมากนำรถไปจอดทิ้งไว้ในที่ สาธารณะโดยไม่สนใจผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นมีคนบางกลุ่มพังคันกั้นน้ำเพื่อให้ทุก คนเดือดร้อนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
    โครงการ“นิวไทยแลนด์” จึงควรต้องรวมไปถึงการปรับ “จิตสำนึก” ของพี่น้องร่วมชาติของเราบางส่วนให้หันกลับมานึกถึง ประโยชน์สาธารณะมากกว่านึกถึง ประโยชน์ส่วนตัวด้วย
    ส่วนการแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาวนั้น โครงการ “นิวไทยแลนด์” ต้องรวมถึงการปรับระบบผังเมืองใหม่ทั้งหมดซึ่งคงต้องมีการเวนคืนพื้นที่ จำนวนมากเพื่อนำมาใช้เป็นพื้นที่พักน้ำ การกำหนดเขตก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ที่ขวางทางน้ำหรือการสร้างนิคมอุตสาหกรรม ในบริเวณที่ลุ่มที่ต้องมีการรื้อใหม่ทั้งระบบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาว่ามีสิ่ง ที่ “ขวางทางน้ำ”อีกดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว รวมทั้งบรรดาบ้านจัดสรรหรือหมู่บ้านหลาย ๆ แห่งที่ตั้งอยู่บนที่ลุ่มและเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมในปีต่อ ๆ ไปด้วยที่โครงการ“นิวไทยแลนด์”จะต้องเข้าไปจัดการให้เข้าที่เข้าทางครับ
    เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากสำหรับโครงการ “นิวไทยแลนด์” เพราะต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานจำนวนมากประชาชนจำนวนมากและใช้เงินจำนวนมาก รวมไปถึงคงต้องใช้ระยะเวลานานทีเดียวกว่าจะทำสำเร็จ สิ่งที่รัฐบาลพยายามเสนอจึง"น่าจะ"เป็นเพียงความฝันระยะยาวหรือไม่ก็เป็น เพียงสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาลหลังจากที่ถูก น้ำพัดหายไปเสียจนเกือบหมด !!!!!
    ถ้าจะให้ง่ายที่สุด ที่จะทำได้สำหรับการแก้ปัญหาน้ำท่วมเพียงปัญหาเดียวก็คงจะอยู่ที่การสร้าง ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบครบวงจรที่รัฐบาลควรต้องรีบดำเนินการอย่างเร่ง ด่วนเพราะอีกไม่กี่เดือน น้ำก็จะมาอีกแล้วครับ การบริหารจัดการน้ำแบบครบวงจร การบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำการปรับแก้ผังเมือง ใหม่ในบางพื้นที่รวมไปถึงการขุดลอกแม่น้ำและคูคลองต่างๆ น่าจะเป็นทางแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ทำได้ดีที่สุดและรวดเร็วที่สุดครับ ส่วนในระยะยาวนั้นคงต้องรอฟังรัฐบาลขายฝันโครงการ “นิวไทยแลนด์”กันต่อไปครับ

    .........................
    (หมายเหตุ : 'นิวไทยแลนด์' โดย 'ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์' Public Law Net :)

    -http://www.komchadluek.net/detail/20111107/114260/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C.html-



    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    น้ำท่วมสัญญาณเตือนอนาคตกทม.อาจจม

    สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่าผู้เชี่ยวชาญระบุ อุทกภัยใหญ่ถล่มกรุง เป็นสัญญาณบอกเหตุอนาคตเมืองหลวงไทยเสี่ยงจมบาดาล ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

    7 พ.ย.54 สำนักข่าวเอเอฟี รายงานว่า กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม ห่างจากชายฝั่งทางเหนือของอ่าวไทยเพียง 30 กิโลเมตร กำลังทรุดตัวอย่างช้าๆ และอุทกภัยครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอันตรายที่รออยู่ข้างหน้าจากภาวะโลกร้อน

    ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าภาวะโลกร้อน จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 19-29 ซม.ภายในปี 2593 และจะกระทบกับระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านกรุงเทพและเอ่อล้นเป็น ประจำอยู่แล้ว ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของกทม.จะอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลใน 50 ปี หากไม่มีมาตรการใดออกมา
    ภาวะโลกร้อนไม่ใช่สาเหตุเดียว แต่ยังเป็นเพราะการเจาะใช้น้ำบาดาลป้อนความต้องการของโรงงานและประชากรมใน เมืองกว่า 10 ล้านคน ที่ทำให้กรุงเทพทรุดตัวลงปีละ 10 ซ.ม.ในชวงปลายทศวรรษหลังปี 2513 ตามผลการศึกษาที่ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว
    แต่หลังจากนั้น อัตราแผ่นดินทรุดตัวลดลงไม่ถึง 1 ซม.ต่อปี เนื่องจากรัฐบาลออกมาตรการควบคุมการเจาะน้ำบาดาล หากพยายามควบคุมในเรื่องนี้ต่อไป อัตราแผ่นดินทรุดอาจลดลงเรื่อยประมาณ 10 % ต่อปี แต่ดร.อานนท์ แย้งว่า กรุงเทพยังคงจมลงในอัตราที่น่าเป็นห่วง คือในระดับ 1-3 ซม.ต่อปี อย่างไรก็ดี แม้นักวิทยาศาสตร์ขัดแย้งกันเรื่องตัวเลข แต่ทุกคนเห็นพ้องถึงแนวโน้มที่มหานครแห่งนี้จะต้องเผชิญ
    นายเดวิด แมคคอลีย์ ผู้เชี่ยวชาญการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก จากเอดีบี กล่าวว่า ไม่มีทางที่จะย้อนกลับไปได้ กรุงเทพฯจะไม่มีวันยกตัวสูงขึ้นอีก
    ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า แผ่นดินทรุดบวกกับอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูง จะทำให้นับจากนี้ไป ความเสี่ยงน้ำท่วมกรุงเทพฯจะเพิ่มขึ้น 4 เท่าภายในปี 2593 ขณะที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา( โออีซีดี) จัดเมืองหลวงของไทย ติดหนึ่งในสิบเมืองใหญ่ของโลกที่เสี่ยงเผชิญผลกระทบจากน้ำท่วมจากชายฝั่งมาก ที่สุดภายในปี 2613
    ด้าน นายฟรังซัวส์ โมล ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำฝรั่งเศส ชี้ว่าการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้น้ำท่วมแผ่ขยายรุนแรง เมื่อน้ำมีที่ไปน้อยลง ในระยะยาว กรุงเทพจะจมบาดาลในที่สุด ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นเมื่อไหร่เท่านั้น


    -http://www.komchadluek.net/detail/20111107/114246/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%A1.html-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    กปน.ยืดการจ่ายค่าน้ำจนกว่าสถานการณ์ปกติ ยันไม่ตัดน้ำ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">7 พฤศจิกายน 2554 19:15 น.</td></tr></tbody></table>

    นายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวว่า สำหรับผู้ใช้น้ำที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ กปน. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือ 2 ข้อคือ คิดค่าน้ำตามปริมาณใช้จริง โดยไม่คิดอัตราค่าน้ำขั้นต่ำเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่รอบบิลการใช้น้ำเดือนตุลาคม เป็นต้นไป และขยายเวลาชำระหนี้ค่าน้ำประปา ตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป จนกว่าเหตุการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยไม่มีการระงับการใช้น้ำ
    นายเจริญ กล่าวว่า กปน.จะนำอีเอ็มบอลประมาณ 1 ล้านลูก ใส่ในพื้นที่น้ำเสียรอบแนวคันกั้นน้ำคลองประปา เพื่อเป็นการปรับแต่งน้ำ หากมีการซึมเข้ามา เพราะน้ำอาจท่วมขังระยะเวลา 1 เดือน ก็จะทำให้แนวคันกั้นน้ำเน่า และเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
    อย่างไรก็ตาม อีเอ็มบอล ที่ กปน.จะนำไปใส่พื้นที่น้ำเสียรอบคันกั้นน้ำคลองประปา สภาวิจัยแห่งชาติ จะเป็นผู้คิดค้นสูตรขึ้นมาเอง ซึ่งการใส่อีเอ็มบอล จะมีการควบคุมจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสภาวิจัยแห่งชาติ
    นอกจากนี้ นายเจริญ ยังกล่าวอีกว่า สถานการณ์น้ำประปาขณะนี้ เริ่มดีขึ้น โดยคาดว่าภายใน 1-2 วันนี้ สีของน้ำประปาในฝั่งธนบุรีจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนน้ำที่ยังมีสีเหลืองอ่อนๆ บ้างนั้น เนื่องจากยังเป็นน้ำของเก่าที่มีปัญหา แต่หลังจากแก้ปัญหาคลองมหาสวัสดิ์ เรียบร้อย คุณภาพน้ำก็จะเริ่มดีขึ้น


    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000142119-

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    .


    กปน.ยืดการจ่ายค่าน้ำจนกว่าสถานการณ์ปกติ ยันไม่ตัดน้ำ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">7 พฤศจิกายน 2554 19:15 น.</td></tr></tbody></table>

    นายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวว่า สำหรับผู้ใช้น้ำที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ กปน. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือ 2 ข้อคือ คิดค่าน้ำตามปริมาณใช้จริง โดยไม่คิดอัตราค่าน้ำขั้นต่ำเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่รอบบิลการใช้น้ำเดือนตุลาคม เป็นต้นไป และขยายเวลาชำระหนี้ค่าน้ำประปา ตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป จนกว่าเหตุการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยไม่มีการระงับการใช้น้ำ
    นายเจริญ กล่าวว่า กปน.จะนำอีเอ็มบอลประมาณ 1 ล้านลูก ใส่ในพื้นที่น้ำเสียรอบแนวคันกั้นน้ำคลองประปา เพื่อเป็นการปรับแต่งน้ำ หากมีการซึมเข้ามา เพราะน้ำอาจท่วมขังระยะเวลา 1 เดือน ก็จะทำให้แนวคันกั้นน้ำเน่า และเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
    อย่างไรก็ตาม อีเอ็มบอล ที่ กปน.จะนำไปใส่พื้นที่น้ำเสียรอบคันกั้นน้ำคลองประปา สภาวิจัยแห่งชาติ จะเป็นผู้คิดค้นสูตรขึ้นมาเอง ซึ่งการใส่อีเอ็มบอล จะมีการควบคุมจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสภาวิจัยแห่งชาติ
    นอกจากนี้ นายเจริญ ยังกล่าวอีกว่า สถานการณ์น้ำประปาขณะนี้ เริ่มดีขึ้น โดยคาดว่าภายใน 1-2 วันนี้ สีของน้ำประปาในฝั่งธนบุรีจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนน้ำที่ยังมีสีเหลืองอ่อนๆ บ้างนั้น เนื่องจากยังเป็นน้ำของเก่าที่มีปัญหา แต่หลังจากแก้ปัญหาคลองมหาสวัสดิ์ เรียบร้อย คุณภาพน้ำก็จะเริ่มดีขึ้น


    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000142119-

    .
    </td> </tr> </tbody></table>

    น้ำประปาตอนนี้ มีกลิ่น หรือ มีสี

    ทางการประปา ควรจะลดค่าน้ำประปาให้ เพราะว่า คุณภาพไม่เหมือนเดิม

    นี่ก็หนึ่งในความเห็นแก่ตัวของหน่วยงานของรัฐ




    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    .


    กปน.ยืดการจ่ายค่าน้ำจนกว่าสถานการณ์ปกติ ยันไม่ตัดน้ำ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">7 พฤศจิกายน 2554 19:15 น.</td></tr></tbody></table>

    นายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวว่า สำหรับผู้ใช้น้ำที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ กปน. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือ 2 ข้อคือ คิดค่าน้ำตามปริมาณใช้จริง โดยไม่คิดอัตราค่าน้ำขั้นต่ำเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่รอบบิลการใช้น้ำเดือนตุลาคม เป็นต้นไป และขยายเวลาชำระหนี้ค่าน้ำประปา ตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป จนกว่าเหตุการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยไม่มีการระงับการใช้น้ำ
    นายเจริญ กล่าวว่า กปน.จะนำอีเอ็มบอลประมาณ 1 ล้านลูก ใส่ในพื้นที่น้ำเสียรอบแนวคันกั้นน้ำคลองประปา เพื่อเป็นการปรับแต่งน้ำ หากมีการซึมเข้ามา เพราะน้ำอาจท่วมขังระยะเวลา 1 เดือน ก็จะทำให้แนวคันกั้นน้ำเน่า และเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
    อย่างไรก็ตาม อีเอ็มบอล ที่ กปน.จะนำไปใส่พื้นที่น้ำเสียรอบคันกั้นน้ำคลองประปา สภาวิจัยแห่งชาติ จะเป็นผู้คิดค้นสูตรขึ้นมาเอง ซึ่งการใส่อีเอ็มบอล จะมีการควบคุมจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสภาวิจัยแห่งชาติ
    นอกจากนี้ นายเจริญ ยังกล่าวอีกว่า สถานการณ์น้ำประปาขณะนี้ เริ่มดีขึ้น โดยคาดว่าภายใน 1-2 วันนี้ สีของน้ำประปาในฝั่งธนบุรีจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนน้ำที่ยังมีสีเหลืองอ่อนๆ บ้างนั้น เนื่องจากยังเป็นน้ำของเก่าที่มีปัญหา แต่หลังจากแก้ปัญหาคลองมหาสวัสดิ์ เรียบร้อย คุณภาพน้ำก็จะเริ่มดีขึ้น


    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000142119-

    .
    </td> </tr> </tbody></table>

    น้ำประปาตอนนี้ มีกลิ่น หรือ มีสี

    ทางการประปา ควรจะลดค่าน้ำประปาให้ เพราะว่า คุณภาพไม่เหมือนเดิม

    นี่ก็หนึ่งในความเห็นแก่ตัวของหน่วยงานของรัฐ




    .
    </td> </tr> </tbody></table>

    อาจจะมีคำถามว่า เหตุที่เกิด ไม่ใช่้เพราะการประปา

    หากจะตอบปัญหานี้ ต้องให้การประปาไปดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำให้น้ำที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตประปาเสียหาย

    นั่นเป็นปัญหาของการประปา

    แต่น้ำที่การประปาที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาล (ผูกขาด)ขายให้กับประชาชน ต้องเป็นน้ำประปาที่มีคุณภาพครับ

    แต่หากว่า คุณภาพลดลง ก็ต้องลดราคาของน้ำประปาให้ ถึงจะถูกต้อง



    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เผยแผนที่ทีมกรุ๊ปล่าสุด เตือนหลายเขตเสี่ยงน้ำท่วม

    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก depot12.tempf.com

    เผยแผนที่ทีมกรุ๊ปฉบับล่าสุด ( 6 พ.ย.) ยกระดับสวนหลวง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย เป็นเขตเสี่ยงน้ำท่วมสูงขึ้น

    เมื่อ วันที่ 7 พฤศจิกายน ทีมกรุ๊ป ได้เผยภาพแผนที่ล่าสุด ซึ่งจัดทำเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน โดยอ้างอิงจากภาพถ่ายดาวเทียมสถานการณ์อุทกภัยในเขตกรุงเทพมหานครเมื่อวัน ที่ 5 พฤศจิกายน เพื่อสรุปสถานการณ์ว่าอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

    ทั้ง นี้ พบว่า ขณะนี้ น้ำได้ไหลท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นนอกหลายจุดแล้ว ทั้งฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก โดยฝั่งตะวันตก น้ำกำลังไหลลงมาสู่เขตบางบอน พระราม 2 รวมทั้งจังหวัดสมุทรสาคร ขณะที่ฝั่งตะวันออก น้ำได้เริ่มทะลักเข้าสู่พื้นที่ชั้นในมากขึ้น ทั้งเขตลาดพร้าว สะพานสูง บางกะปิ

    อย่าง ไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับแผนที่ของทีมกรุ๊ปฉบับก่อนหน้า จะพบว่า มีบางเขตที่สีของแผนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แสดงถึงว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วมเพิ่มขึ้น หลังน้ำเริ่มทะลักเข้ามามากขึ้น ประกอบด้วย

    [​IMG]เขตสวนหลวง ช่วงที่อยู่ด้านบนของคลองประเวศบุรีรมย์ขึ้นไป จากเดิมเป็นสีเหลืองอ่อน (เสี่ยงปานกลาง) ถูกปรับเป็นสีเหลืองเข้ม (เสี่ยงค่อนข้างมาก)

    [​IMG]เขตบางกอกน้อยและบางกอกใหญ่ จากเดิมเป็นสีเหลืองเข้ม (เสี่ยงค่อนข้างมาก) ถูกปรับเป็นสีส้ม (เสี่ยงมาก)

    [​IMG]เขตคันนายาว มีนบุรี คลองสามวา เหนือถนนรามอินทรา ทางตะวันออกของถนนวงแหวนรอบนอก เปลี่ยนจากสีเหลืองเข้ม (เสี่ยงค่อนข้างมาก) เป็นสีส้ม (เสี่ยงมาก)

    [​IMG]พื้นที่เหนือถนนรามอินทรา ทางตะวันตกของวงแหวนรอบนอก จนถึงแยกหลักสี่ เปลี่ยนจากสีเหลืองเข้ม (เสี่ยงค่อนข้างมาก) เป็นสีแดง (เสี่ยงสูงสุด-น้ำท่วมแล้ว)

    [​IMG]พื้นที่ใต้ถนนนรามอินทราจนถึงถนนประเสริฐมนูกิจ ด้านฝั่งตะวันออกของคลองบางบัว จนถึงถนนนวมินทร์ เปลี่ยนจากสีเหลืองเข้ม (เสี่ยงค่อนข้างมาก) เป็นสีส้ม (เสี่ยงมาก)

    [​IMG]พื้นที่เหนือถนนงานวงศ์วาน-รัตนาธิเบศ ด้านตะวันตกของคลองบางบัว จนถึงทางด่วนศรีรัช เปลี่ยนจากสีเหลืองเข้ม (เสี่ยงค่อนข้างมาก) เป็นสีแดง (เสี่ยงสูงสุด-น้ำท่วมแล้ว)

    [​IMG]พื้นที่เหนือคลองภาษีเจริญทั้งหมด เปลี่ยนจากสีส้ม (เสี่ยงมาก) เป็นสีแดง (เสี่ยงสูงสุด-น้ำท่วมแล้ว)

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ
    [​IMG]



    -http://hilight.kapook.com/view/64507-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    สิ่งที่ควรเตรียม เมื่อจะอพยพหนีน้ำท่วม



    หลายคนคงเริ่มคิดที่จะอพยพหนีน้ำท่วมไปยังศูนย์อพยพหรือไปพักพิงที่ต่าง จังหวัดกันแล้วเพราะสถานการณ์ในหลายพื้นที่เริ่มจะไม่น่าไว้ใจ ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำจาก ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ในการเตรียมตัวเพื่อการอพยพครั้งนี้

    [​IMG]1. เตรียมแผนอพยพให้ดี ว่าจะทำอะไร อย่างไร เมื่อไร และจะขอความร่วมมือหรือความช่วยเหลือจากใครบ้าง

    [​IMG]2. จัดเตรียมกระเป๋าใส่ของที่ต้องติดตัวไป โดยเตรียมกระเป๋าแบบที่เคยเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด ส่วนจำนวนมากหรือน้อยชิ้นก็ขึ้นกับว่าเราตั้งใจจะไปพำนักนอกบ้านกี่วัน และหากถ้าต้องไปอยู่ที่ศูนย์อพยพก็ต้องเตรียมตัวมากขึ้นกว่าเดิม เช่น ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย วิทยุเล็กๆ พัดลม เสื่อ หมอน ฯลฯ

    [​IMG]3. หมั่นออกไปสำรวจบริเวณใกล้บ้าน โดยมุ่งไปทางทิศเหนือเป็นหลัก เพื่อดูว่าน้ำใกล้จะมาถึงบ้านแล้วหรือยัง ควรใช้เวลาอีกกี่วันถึง โดยดูจากข้อมูลย้อนหลังไป 3-4 วันว่าน้ำวิ่งในบริเวณนั้นเร็วเท่าใด คือ ถ้าพื้นราบน้ำวิ่งช้า แต่ถ้าพื้นที่มีความลาดชันน้ำจะวิ่งเร็ว

    [​IMG]4. ยกเตาแก๊สและตู้เย็นซึ่งมักอยู่ที่ห้องครัวชั้นล่างขึ้นบนที่สูง โดยเลิกหุงหาอาหารในช่วงนี้ ให้ซื้อของกินจากข้างนอกจะสะดวกกว่า

    [​IMG]5. หากเป็นครัวแบบติดตั้งในที่ แบบที่เรียกว่า "บิลท์อิน" ก็ให้ถอดบานประตูและลิ้นชักไม้ขึ้นเก็บบนที่สูง ซึ่งก็เป็นเพียงแค่การเผื่อว่าตัวโครงไม้ยังอยู่ดีเมื่อเรากลับมา แต่ถ้าท่วมนานจนโครงบิดหรือเสียรูป แบบนี้ก็ต้องทำใจและไปหาซื้อมาติดตั้งใหม่

    [​IMG]6. หากมีสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขตัวผู้ ต้องหากรงไว้ใช้ในการขนย้าย หรือเอาไว้ใช้ในกรณีที่ที่จะไปพักมีสุนัขเจ้าของพื้นที่อยู่ สุนัขตัวผู้แปลกหน้าสองตัวเจอกันก็มักมีปัญหาได้เสมอ แต่ถ้ายุ่งยากก็อาจไปซื้อกรงเอาข้างหน้า และอย่าลืมโซ่จูง จานอาหาร และถุงอาหาร ยกเว้นจะไปซื้อใหม่เอาดาบหน้าเช่นกัน

    [​IMG]7. หากได้ติดเทปกันน้ำเข้าไว้ที่ประตูเข้าตัวบ้านโดยเฉพาะประตูกระจก ก็ควรแกะออกเสียเพื่อยอมให้น้ำเข้าบ้านได้บ้างเพราะเราไม่ได้อยู่บ้านคอย ดูแลระดับน้ำ ซึ่งหากความลึกน้ำต่างกันมากจะทำให้ส้วมระเบิด พื้นทะลุ หรือกระจกแตกได้ ทั้งนี้ อันกระจกนี้เป็นที่รู้กันในวงการช่างว่ารับแรงบิดไม่ได้ แม้บิดเพียงเล็กน้อยก็ไม่ได้

    [​IMG]8. เอาถุงทราย (ถ้ามี) กดทับเพื่ออุดรูส้วม และหัวตะแกรงระบายน้ำ รวมทั้งหัวดูดส้วม (ที่เป็นทองเหลืองเป็นรูปวงกลม ขนาดประมาณ 4 นิ้วหรือ 10 เซนติเมตร) เพื่อมิให้ของเสียจากส้วมดันทะลุเข้ามาที่ห้องน้ำ เวลาเรากลับมาจะได้ทำความสะอาดบ้านได้ง่ายหน่อย

    [​IMG]9. ตัดไฟชั้นล่างออกหมด แล้วเปิดไฟแสงสว่างบางดวงไว้ที่ชั้นบนบ้าง เอาไว้ขู่หรือหลอกขโมยว่ายังมีคนอยู่บ้าน ยิ่งถ้ามีอุปกรณ์ตั้งเวลา (timer) มาใช้บังคับให้ปิดเปิดดวงไฟเป็นเวลา เช่น ช่วง 3 ทุ่มถึงเที่ยงคืน และตีหนึ่งถึงตีสี่ ฯลฯ ก็ยิ่งดี เพราะมันดูเหมือนมีคนมาเปิดปิดไฟ แทนที่จะเปิดนิ่งอยู่อย่างนั้นตลอด 24 ชั่วโมง

    [​IMG]10. ตัดเครื่องสูบน้ำที่ชั้นล่าง (ถ้ามี) แล้วยกขึ้นชั้นบน หรือขนขึ้นรถไปด้วย ขโมยถ้ามันมาจริงจะได้เอาไปไม่ได้ เอาไว้เวลากลับมาจะได้เอามาต่อเข้ากับท่อแล้วใช้สูบน้ำมาล้างบ้าน หากปล่อยทิ้งปั๊มไว้ให้น้ำท่วมเวลากลับมาจะยังใช้ปั๊มไม่ได้จนกว่ามันจะแห้ง สนิท ซึ่งใช้เวลาอีกเป็นอาทิตย์ ซึ่งจะไม่สะดวกเลย

    [​IMG]11. ปิดวาล์วมิเตอร์ประปาหน้าบ้าน

    [​IMG]12. จดเบอร์โทรศัพท์คนข้างบ้าน เอาไว้โทรติดต่อประสานงานกัน หรือช่วยดูแลบ้านกันและกัน

    [​IMG]13. ขอให้คนข้างบ้านที่อาจยังไม่ย้ายออก ให้เก็บหนังสือพิมพ์และไปรษณีย์อื่น ๆ ที่มาส่งที่บ้านด้วย เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ขโมยจะรู้ว่าไม่มีคนอยู่บ้าน

    [​IMG]14. อย่าลืมบัตรประชาชน บัตรประกัน บัตรโรงพยาบาล บัตรเครดิต ฯลฯ

    [​IMG]15. ห้ามลืมโทรศัพท์มือถือและแท่นชาร์จแบตเตอรี่ เพราะเป็นอุปกรณ์สำคัญมากในยุคปัจจุบัน

    [​IMG]16. หากจะไปอยู่นาน ก็อาจแถมท้ายด้วยการพกเอาโน้ตบุ๊กหรือไอแพดไปด้วย หรือจะให้สุนทรีย์กว่านั้นก็เอาแผ่นดีวีดีไปด้วย เอาไว้คลายเครียด

    [​IMG]17. ขอแนะนำว่าให้ล็อกเฉพาะประตูเข้าบ้าน ส่วนประตูห้องในบ้าน ตู้ ลิ้นชัก ฯลฯ ไม่ควรล็อก เพราะเวลาขโมยเข้าบ้านเขาก็จะงัดและแงะอยู่ดี เฟอร์นิเจอร์พวกนี้ก็จะเสีย และเราต้องเสียเวลาและเงินมาซ่อมอีกทีในภายหลัง สู้เปิดให้มันขโมยได้จะ ๆ ไปเลยดีกว่า แต่นั่นหมายถึงว่าเราต้องเอาของมีค่าไปเก็บที่อื่นไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ของมีค่าพวกนี้มีตั้งแต่เพชรพลอย ทองคำ เงินสด โฉนด พาสปอร์ต ปริญญาบัตร ทะเบียนบ้าน ฯลฯ

    สุด ท้ายหลังจากเตรียมความพร้อมแล้ว ก็ต้องเตรียมใจและปล่อยวาง หากน้ำมันจะท่วมจริงและมีขโมยขึ้นบ้านจริง ก็ให้คิดเสียว่ามีอีกหลายคนที่เจอชะตากรรมเดียวกับเรา ...บางคนเลวร้ายกว่าเราด้วยซ้ำ



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

    -http://hilight.kapook.com/view/64496-



    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...