พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    “บางกอก-กรุงเทพฯ” ล้วนต่างมีชื่อมาจากน้ำ/ปิ่น บุตรี

    โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)


    <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"><tbody><tr><td align="center" valign="Top" width="450">[​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">กรุงเทพฯเมืองหลวงที่ในอดีตผูกพันกับวิถีแห่งสายน้ำต่างจากปัจจุบัน</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    ในที่สุดทั้งน้ำเหนือ น้ำฝน น้ำทุ่ง และน้ำทะเลหนุน ก็ทำให้พื้นที่กรุงเทพฯส่วนใหญ่จมบาดาล(โดยเฉพาะในฝั่งตะวันตกนั้นหนักหนา สาหัสนัก) อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าน้ำท่วมกทม.ครั้งนี้จะขยายวงกว้าง(จากปัจจุบัน)เพิ่ม ขึ้นเรื่อยๆและน้ำก็จะยังคงอยู่กับเราไปอีกยาว ชนิดที่ปีนี้ผู้คนในหลายพื้นที่สามารถลอยกระทงกันกลางท้องถนนได้

    ส่วนที่มีเสียงแหลบๆ(แหลๆ+ แหบๆ)บอกผ่านสื่ออยู่บ่อยครั้งว่า“เอาอยู่ค้า”นั้น มันก็คือสัญญาณตรงกันข้ามว่า หายนะกำลังมาเยือน ให้เตรียมขนข้าวของไว้ในที่สูงหรือยกขึ้นชั้นสอง(บางบ้านแม้ชั้นสองก็เอาไม่ อยู่) หรือใครที่มีบ้านชั้นเดียว มีผู้เฒ่าผู้แก่ เด็กเล็ก ผู้ป่วย ก็ควรอพยพย้ายออกไปอยู่บ้านญาติ ศูนย์อพยพ หรือสถานที่ที่เหมาะสมเป็นดีที่สุด

    สำหรับไข่แดงอย่างกรุงเทพฯเมืองหลวงนั้น เป็นที่รู้กันดีว่าเมืองนี้ถูกน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง เพราะกรุงเทพฯเป็นทางผ่านสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะไหลออกไปสู่ทะเล ซึ่งบรรพบุรุษของเรานั้นได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับน้ำอย่างเป็นมิตร แม้กระทั่งที่มาของชื่อเมืองหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยังมีบันทึกทาง ประวัติศาสตร์ที่น่าคิดในอีกแง่มุมหนึ่งว่า ชื่อของเมืองนี้ตั้งแต่ยุคบางกอกมาจนถึงกรุงเทพมหานครนั้น มีความเกี่ยวข้อง มีความผูกพัน และมีที่มาจากน้ำที่น่าสนใจยิ่ง

    บางกอก เมืองแห่งน้ำ

    “บางกอก” หรือ ที่ฝรั่งยังคงเรียกติดปากว่า “แบงคอก” มาจนถึงทุกวันนี้ เป็นตำบลเก่าแก่ที่มีชุมชนใหญ่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

    สำหรับที่มาของชื่อเมืองบางกอกนั้น มีข้อสันนิษฐานน่าสนใจอยู่ 4 ประเด็นด้วยกัน

    ข้อสันนิษฐานแรกมาจากความเชื่อที่ว่าแต่เดิมบริเวณนี้เป็นป่ามะกอก จึงเรียกว่าบางกอก โดยบาง หมายถึงหมู่บ้าน ส่วนกอกก็คือ มะกอก

    ข้อสันนิษฐานที่สองมีบันทึกไว้ในหนังสือ “จดหมายเหตุรายวันของบาทหลวง เดอ ชวาสี” แปลและเรียบเรียงโดย หลวงสันธานวิยาสิทธิ์(กำจาย พลางกูร) ได้ระบุว่า “บางกอกคือจังหวัดธนบุรี บาง แปลว่า บึง กอก แปลว่า น้ำ(กลายเป็นแข็ง) หรือน้ำกลับเป็นดินหรือที่ลุ่มเป็นที่ดอน” ซึ่งจากข้อสันนิษฐานนี้อาจเป็นไปได้ว่า บางกอกจากเดิมที่เป็นที่ลุ่มได้มีการสะสมตะกอนมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นที่ดอนขึ้นมาก็เป็นได้

    ข้อสันนิษฐานต่อมาในหนังสือ“เล่าเรื่องบางกอก” โดย ส.พลายน้อย(เล่ม 1) ให้ข้อมูลว่า ผู้รู้บางคนกล่าวว่าบางกอกน่าจะมาจากคำว่า Benkok เป็นภาษามลายู แปลตามตัวว่า คดโค้ง หรือ งอ โดยอ้างว่าแม่น้ำในบางกอกสมัยก่อนคดโค้งอ้อมมาก

    ข้อสันนิษฐานลำดับสุดท้าย ผมยังคงอ้างอิงจากหนังสือเล่าเรื่องบางกอกเช่นเดิม ซึ่งท่าน อาจารย์ ส.พลายน้อย ให้ข้อมูลว่า มีนักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง(ส.พลายน้อย ไม่ได้ระบุชื่อไว้) ให้ข้อคิดว่า...คำ Bangkok นั้น ฝรั่งแต่โบราณเขียนเป็น Bangkoh ซึ่งมีทางว่าน่าจะอ่านว่า “บางเกาะ”...และคำๆนี้ก็มีการออกชื่อปรากฏอยู่ในจดหมายของท้าวเทพสตรีที่มี ไปถึงกัปตันไลน์หรือพระยาราชกัปตันด้วย แต่เสียดายที่มีชื่อปรากฏเป็นหลักฐานอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

    ชื่อนี้สอดคล้องกับชื่อบางเกาะที่เชื่อว่าตั้งชื่อเมืองตามสภาพ ภูมิประเทศของลำน้ำเจ้าพระยาสายเดิมที่ลดเลี้ยวเคี้ยวโค้ง จนสภาพพื้นที่บางแห่งมีลักษณะเป็นเกาะ ซึ่งสันนิษฐานว่าชื่อบางเกาะคงจะเพี้ยนเป็น“บางกอก” ในภายหลัง

    และนั่นก็เป็นที่มาของชื่อเมืองบางกอกที่ต่อมากลายเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งแม้ข้อสันนิษฐานแรกจะได้รับการยอมรับมากสุด แต่ 3 ข้อสันนิษฐานหลังก็มีเหตุผลน่ารับฟัง มีหลักฐานอ้างอิง สอดคล้องกับการเป็นเมืองแห่งน้ำของบางกอกอยู่ไม่น้อย

    อย่างไรก็ดีเมืองบางกอกเดิมมีลักษณะเป็นแผ่นดินผืนแผ่นเดียวติดกัน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา(สายเดิม)ที่ไหลลดคดเคี้ยวเลาะ คู่เมืองนี้ไป เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย อ้อมไปตลิ่งชัน บางระมาด แล้วเลี้ยวมาคลองบางกอกใหญ่(คลองบางหลวง) ก่อนวกมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองบางกอกใหญ่แล้วไหลไปออกทะเลดังใน เส้นทางน้ำปัจจุบัน

    แต่ในปี พ.ศ.2065 สมเด็จพระไชยราชาธิราช โปรดฯให้ขุดคลองลัดบางกอกขึ้นเป็นครั้งแรก เชื่อมลำน้ำเจ้าพระยาระหว่างปากคลองบางกอกน้อยกับปากคลองบางกอกใหญ่ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาดังในปัจจุบัน

    และมีการขุดคลองลัดเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 2 ครั้ง ในช่วงเวลาต่อมา ได้แก่ การขุดคลองลัดบางกรวย เชื่อมคลองบางกอกน้อย-คลองบางกรวย ในปี พ.ศ. 2081 สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และการขุดคลองลัดนนทบุรี เชื่อมคลองบางกรวย-คลองอ้อมนนท์ ในปี พ.ศ. 2139 สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายหลักเหมือนกับการขุดคลองลัดในครั้ง แรก

    สำหรับการขุดคลองลัดบางกอกนั้น สายน้ำได้แบ่งเมืองบางกอกออกเป็น 2 ฝั่ง คือ บางกอกฝั่งขวา(อ้างอิงตามทิศเหนือ)ที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้า พระยา(สายใหม่)ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานครเป็นที่ราบลุ่มริมเจ้าพระยาเหมาะ สำหรับการทำนา และบางกอกฝั่งซ้ายที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่สวนอัน อุดมสมบูรณ์เคียงคู่กับสวนบางช้าง ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน”

    ทั้งนี้หลังการขุดคลองลัดได้ปรากฏว่ามีการตั้งอยู่เมืองบางกอกอย่าง เป็นทางการว่า “เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร” ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเมืองนี้กับทะเลได้เป็นอย่างดี

    กรุงเทพฯ นครแห่งน้ำ

    ในปี พ.ศ.2310 พระเจ้าตากสินมหาราช สถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี และทรงโปรดฯให้ตั้งเมืองบางกอกฝั่งซ้ายเป็นเมืองหลวง โดยมีการสร้างกำแพงเมืองขึ้นเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู ขณะเดียวกันความเจริญของเมืองหลวงก็ทำให้มีการขยายเมืองไปเติบโตหนาแน่นที่ เมืองบางกอกฝั่งขวา

    ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังปราบดาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ทรงมีพระราชดำริว่า “เมืองธนบุรีนี้ ฝั่งฟากตะวันออกเป็นที่ชัยภูมิดีกว่าที่ฟากตะวันตก โดยเป็นที่แหลม มีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง ถ้าตั้งพระนครข้างฝั่งตะวันออก แม้นข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนครก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างฝั่ง ตะวันตกซึ่งเป็นที่ดอน แต่ก็เป็นคุ้งน้ำเซาะทรุดพังอยู่เสมอไม่ถาวร พระราชมมณเฑียรสถานเล่าก็ตั้งอยู่ในอุปจาร ระหว่างวัดแจ้งและวัดท้ายตลาดขนาบอยู่สองข้าง ควรเป็นที่รังเกียจ”

    หลังจากนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯก็สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็น ราชธานี พร้อมกับตั้งเมืองหลวงใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. 2325 โดยพระราชทานนามเมืองหลวงใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ก่อนที่จะมีการแปลงสร้อยบวรรัตนโกสินทร์ เป็น“อมรรัตนโกสินทร์” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า รัชกาลที่ 4

    กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการ ได้รับการบันทึกจากกินเนสบุ๊คว่าเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก โดยที่มาของชื่อเมือง ในวิกิพีเดีย ระบุว่า หมายถึง "พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร"

    อย่างไรก็ดีชื่อเมืองกรุงเทพมหานครนี้ ในหนังสือ “น้ำบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย” โดย : (ดร.)สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ได้ให้ข้อมูลถึงความหมายของชื่อกรุงเทพมหานครที่น่าสนใจเอาไว้ว่า

    ...ใน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนาเมืองฝั่งซ้ายเป็นราชธานี ซึ่งเหมือนกับพระเจ้าอู่ทองย้ายข้ามฟากเข้าไปอยู่ในโค้งแม่น้ำเพื่อตั้งกรุง ศรีอยุธยา เพราะเป็นจุดยยุทธศาสตร์ที่ดีกว่า...

    ...ในลักษณะการสร้างพระนครในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความ พยายามที่จะจำลองความรุ่งเรืองของกรุงเก่ามาไว้ ณ ที่ใหม่ ในประเด็นนี้ชื่อเมืองก็ระบุให้เห็นถึงความพยายามที่จะ “ย้าย” กรุงศรีอยุธยามาไว้ในโค้งแม่น้ำใหม่นี้ ชื่อ “กรุงเทพมหานคร” มีความหมายว่า “มหานครแห่งเทพเจ้าซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำ(กรุง)”...

    อนึ่งในหนังสือน้ำฯเล่มดังกล่าว ได้มีข้อมูลที่ปรากฏก่อนหน้านี้ซึ่งช่วยขยายความเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมว่า

    ...คำว่า “กรุง” นั้นมาจากคำว่า “เกริง”(เสียงสั้น) เป็นคำภาษามอญซึ่งหมายถึงแม่น้ำลำคลอง สมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชวินิจฉัยดังนี้ “ผู้ใดว่ามีอำนาจเหนือพื้นน้ำหรือเป็นเจ้าแห่งน้ำตั้งแต่ปากน้ำไปจนถึงที่ สุดของแม่น้ำสายนั้น ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นเจ้ากรุง และเมืองที่เจ้ากรุงพระองค์นั้นประทับอยู่ก็เลยเรียกว่า กรุง”...

    ขณะที่คำว่า “เกริง”(เสียงยาว) ในหนังสือน้ำฯได้ให้ข้อมูลว่า เป็นภาษามอญ หมายความว่าใหญ่ ส่วนอีกคำหนึ่งที่สำคัญก็คือคำว่า “นคร”นั้นมีความหมายว่าชาวเมือง และมีรากศัพท์มาจาก “นาคา” ที่หมายถึงนาค ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงแล้วตามความเชื่อนี้ได้มีเหตุผลสนับสนุนชื่อ เมือง“กรุงเทพมหานคร” ที่มีความหมายถึง “มหานครแห่งเทพเจ้าซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำ” ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

    และนั่นก็เป็นภูมิปัญญาของคนโบราณที่ตามความเชื่อทั้งหลายที่กล่าวมา ข้างต้น ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของชื่อเมืองหลวงในยุคปัจจุบันของเรา ตั้งแต่บางกอกมาจนถึงกรุงเทพมหานครว่า ล้วนต่างมีที่มาจากน้ำ

    ขณะเดียวกันความเป็นเมืองแห่งน้ำของบางกอกหรือกรุงเทพมหานครที่อุดม ไปด้วยวิถีชาวน้ำและแม่น้ำลำคลองมากมาย ก็ถูกตอกย้ำด้วยชื่อ“เวนิสตะวันออก” ที่ฝรั่งต่างชาติขนานนามจนโด่งดังไปทั่วโลก

    แต่ทว่า...ในวันนี้ความเป็น(ชื่อ)เมืองแห่งน้ำทั้งบางกอก กรุงเทพมหานคร และเวนิสตะวันออก ล้วนต่างถูกทำลายด้วยวิถีสมัยใหม่ ที่มุ่งเน้นการทำลายวิถีแห่งสายน้ำมากกว่าเลือกที่จะอยู่กับสายน้ำอย่างเป็น มิตร กลมกลืน และนอบน้อมคารวะต่อธรรมชาติ เหมือนเช่นในอดีต ซึ่งสุดท้ายแล้วธรรมชาติได้พิสูจน์สัจธรรมให้เราได้เห็นแล้วว่า

    ...มนุษย์ไม่ว่ายิ่งใหญ่แค่ไหนก็มิอาจเอาชนะธรรมชาติได้...


    -http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000138178-



    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    วันนี้พระอาจารย์นิล (ที่ท่านได้ริเริ่มในการสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ) , พี่แอ๊ว , ผู้พันช้าง และหมู่คณะ ได้ไปร่วมในงานทอดกฐินตกค้าง ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวัดสุดท้าย (ทอดกฐิน 34 วัด) เรียบร้อยแล้ว

    ตอนเดินทางออกมา ต้องเลี่ยงไปอีกเส้นทางนึง เนื่องจากเส้นทางเดิมถูกวางระเบิดไว้

    ขอให้ทุกๆท่านปลอดภัยครับ

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    อ.ศศิน ชี้ กทม.ชั้นในดีขึ้น-ฝั่งตะวันตกรับศึกหนัก


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก ศศิน เฉลิมลาภ

    อ.ศศิน โพสต์เฟซบุ๊กประเมินสถานการณ์น้ำท่วมกรุง บอก กทม.ชั้นในน่าจะดีขึ้น หากคันแข็งแรง แต่ฝั่งตะวันตก-ฝั่งธน-นครชัยศรี "ของจริง" กำลังมา

    เมื่อช่วงเย็นวันที่ 30 ตุลาคม อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ ได้วิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานครในขณะนี้ผ่าน เฟซบุ๊ก ศศิน เฉลิมลาภ โดยตอนหนึ่งกล่าวว่า ขณะนี้ ยังมีน้ำจำนวนมากที่จะไหลลงมาที่กรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากมีการจัดการน้ำให้เบี่ยงไปลงคลองรังสิตมากขึ้น ทำให้สถานการณ์น้ำท่วมของกรุงเทพฯ ชั้นในน่าจะดีขึ้น หากคันด้านเหนือแข็งแรงพอ

    อย่างไรก็ตาม ที่อาจารย์ศศินกังวลก็คือ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือฝั่งธนบุรี นครปฐม ที่ "ของจริง" กำลังจะมา โดยคลองมหาสวัสดิ์เต็มแล้ว และน้ำกำลังไหลมาช้า ๆ ข้ามถนนกาญจนาภิเษก ตลิ่งชัน เพื่อสมทบกับน้ำด้านบนที่กำลังลงมาเต็มจังหวัดนนทบุรี หากน้ำข้ามมาทางฝั่งตลิ่งชันเมื่อไหร่ น้ำจะเดินทางไปถึงถนนเพชรเกษมอย่างแน่นอน

    "เย็นนี้ตัดสินใจว่าจะไปสรุปสถานการณ์ ในรายการทีวีรายการหนึ่งนะครับ ตอนสี่ทุ่ม ผมว่าตอนนี้สถานการณ์ต่าง ๆ ชัดเจนขึ้นว่า ความพยายามของคนทำงานที่จะเบี่ยงน้ำออกตามระบบคลองรังสิต ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านคลองระพีพัฒน์ รังสิตประยูรศักดิ์ และหกวา รวมถึงการเร่งระบายน้ำออกทุ่งตะวันตก ส่งผลดีกับ กทม.ส่วนกลาง เพราะที่ทำให้มวลน้ำที่ปะทะคันกรุงเทพหมดพลังไปพอควร ประกอบกับพลังของน้ำที่ไหลลงมาทำลายนวนคร และบางกระดี ถูกกระจายแรงไปด้วย ตรอกซอยของเมืองใหญ่อย่างตลาดรังสิต ทำให้ตอนนี้น้ำไม่แรง ไม่เร่งระดับสูงขึ้นมากนักที่คันหลักหก แต่ยังประชิดและมีปริมาณมหาศาลอยู่"

    "หลานโทรมาบอกว่าที่บ้านในเมืองอยุธยา น้ำลดลงประมาณ 50 เซนติเมตร ตรงกับข้อมูลในภาพ ที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีชัดเจนทางฝั่งตะวันออก แต่ก็ยังมีน้ำไหลลงมากรุงเทพอีกมากเหลือเกิน หวังว่าคนทำงาน "หน้างาน" จะเก่งและแกร่งอย่างที่ผ่านมา เพื่อจะพาเรารอดผ่านไป หมายถึงกรุงเทพชั้นในนะครับ แต่ฝั่งธน และนครปฐมที่ติดกรุงเทพ "ของจริง" มาครับ ไล่ตั้งแต่นครชัยศรี เข้ามาทวีวัฒนา น่าจะกำลังซึมข้ามกาญจนาภิเษก มาตลิ่งชัน แต่ช้ามาก เพื่อมาสมทบกับน้ำจากด้านบนที่กำลังลงมาเต็มเมืงนนท์ฝั่งโน้นและบางกรวยลงมา ตอนนี้คันคลองมหาสวัสดิ์ รับศึกหนักครับ ข้ามมาฝั่งตลิ่งชันเมื่อไหร่ ก็เหมือนทวีวัฒนา ที่กำลังย้อยลงไปหาเพชรเกษม"

    "วันนี้คลองสามวา เพิ่งมาครับ และบางบัวทอง ปากเกร็ดฝั่งโน้น บางใหญ่ บางกรวย บางพลัด กรุงเทพตะวันตก นครชัยศรี สามพราน กำลังหนักครับ ตอนนี้เขาเบี่ยงน้ำขึ้นไปเก็บที่คลองรังสิตได้มาก สถานการณ์ กรุงเทพชั้นใน "น่าจะดีขึ้น" แต่อยู่ในเงื่อนไขเดิม คือ คันด้านเหนือ ต้องแข็งแรง จะเห็นว่าคนทำงานหน้างานของเรา เก่งและแกร่งมากครับ ทั้งกรมชล และกทม. สู้มาได้ถึงวันนี้ ตอนนี้ มีลุ้นกลับมา 50-50 เหมือนเดิมแล้วครับ!!!! แต่จัดการน้ำแล้วต้องเตือนภัยคนตะวันตก นครปฐม และตะวันออกให้ทันด้วยครับ"

    "ขณะที่คลองสามวา และหนองจอก น้ำคงจะขึ้นมาอย่างช้า ๆ หากคนทำงานสามารถรักษามวลน้ำใหญ่ให้หยุดอยู่แค่คลองหกวา และค่อย ๆ ปล่อยให้ส่วนเกินบางส่วนเอ่อผ่านเข้าทุ่งคลองสามวามาบ้าง ทั้งนี้หากเร่งจัดการปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำ โดยเฉพาะที่มอเตอร์เวย์ และบางนาตราด บริเวณจุดตัดคลองลาดกระบัง คลองหนองงูเห่า คลองจรเข้ใหญ่ และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตได้ ก็น่าจะรักษานิคมลาดกระบังและสุวรรณภูมิไม่ให้ต้องปะทะกับน้ำหลากทุ่งได้เต็มพลังอย่างที่น่าจะเป็น"

    "แต่ขณะเดียวกันที่ด้านใน ก็มีสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งมาเป็นระยะ ที่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่คันที่แข็งแรงน่าจะรักษาสภาพการณ์แค่เป็นเพียง "น้ำล้น" ออกไปได้ถึงรอบลอยกระทงเดือนหน้า แต่ที่น่าวิตกคือเมื่อมวลน้ำฝั่งบางกรวยเต็ม จะส่งผลถึงการเพิ่มระดับน้ำเจ้าพระยาในบริเวณตอนกลาง สามเสน เทเวศน์ ให้ล้นตลิ่งข้ามฝั่งมาได้หรือไม่ ขึ้นกับปริมาณและความแรงของน้ำฝั่งตะวันตก อีกแห่งที่น่าจับตาคือคันฝั่งลำลูกกา ที่มวลน้ำใหญ่กำลังพยายามข้ามคลองหกวา และส่งส่วนหน้ามาถึงสายไหมแล้ว ฝั่งถนนพหลโยธิน วิภาวดีและคลองต่าง ๆ ก็เป็นอีกจุดที่น้ำเข้ามาเรื่อย ๆ ดังนั้นพื้นที่ติดคลองคงต้องย้ายที่ย้ายของกันหนัก"

    "ปัญหาใหญ่ และเร่งด่วนตอนนี้คือ ฝั่งตะวันตก คือฝั่งธน และอำเภอต่าง ๆ ที่ติดกับกรุงเทพ ทั้งนนท์ และนครปฐม นนท์ ผมเตือนนะครับว่าอำเภอเมืองฝั่งโน้นมาได้อีกมาก บางกรวยจะต่อจากนั้น จนเต็มคล้ายบางใหญ่นะครับมีความเป็นไปได้ ในสามสี่วันนี้ น้ำจากด้านนี้กำลังปะทะกับคันคลองมหาสวัสดิ์ ตั้งแต่บางกอกน้อย ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ต่อ พุทธมณฑล และนครชัยศรี ตอนนี้ข้ามพุทธมณฑลได้เต็ม ๆ เข้าทวีวัฒนา และวันนี้กำลังเริ่มเข้าเขตบางแค ประมาณว่าจะถึงถนนเพชรเกษมในสามวัน บล็อคนี้น่าจะมาแน่ครับ"

    "น้ำในท่าจีนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ที่นครชัยศรี ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วมวลน้ำใหญ่เหนือนครชัยศรีเพิ่งผ่านบางเลนเข้าดอนตูม และจะสมทบกับคลองมหาคลองมหาสวัสดิ์ ตอนนั้นน้ำคงท่วมถึงกันหมดครับ ตั้งแต่ตลิ่งชัน ภาษีเจริญ บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ โดยพื้นที่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีน้ำเติมมาจากบางพลัดตลอดนะครับ คลองสาน ธนบุรี สามพราน กระทุ่มแบน น่าจะมีน้ำมาเยือนก่อนหนองแขม บางบอน จอมทอง ที่มีคันภาษีเจริญกั้นไว้ ผมประมาณว่าอีกสิบวันขึ้นไปก่อนจะชะลอยาวกับถนนเอกชัย และพระรามที่สอง ช่วงนี้น่าจะเป็นเดือนนะครับกว่าจะรู้ว่า เมืองสมุทรสาคร บางขุนเทียน และ พระสมุทรเจดีย์ จะมีน้ำท่วมหรือไม่อย่างไร แต่สามพรานกับมหาชัยมาทางลัดทางท่าจีนนะครับมาก่อน ในช่วงอาทิตย์นี้น่าจะได้เห็นครับ"

    "เมืองนครปฐมมีระดับสูงกว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 2 เมตร มวลน้ำตะวันตกที่ยังอยู่อีกไกล น่าจะเดินทางมาถึงในสองอาทิตย์ น่าจะเลี้ยวหนีนครปฐมไปลงท่าจีนที่นครชัยศรี แต่ตัวเมืองนครปฐมจะได้รับผลบ้างจากน้ำที่ล้นจากคลองต่าง ๆ โดยเฉพาะคลองเจดีย์บูชา ดังนั้น คนนครชัยศรี ต้องเตรียมรับน้ำท่วมอีกนานนะครับ แค่นี้ก่อนครับ อ้อนิดหนึ่งครับ ผมขอบอกวิธีใช้แผนที่น้ำท่วม อ.เสรีนะครับ หลังจากไปดูมาที่ทวีวัฒนา คือใช้ได้บนถนนใหญ่ครับ ในซอยบวกเพิ่มอีกพอประมาณ 0.5-1.5 ม. ตามแต่ระดับของบ้านเรา จะไม่พลาดครับ"


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    เฟซบุ๊ก annie-handicraft

    -http://hilight.kapook.com/view/64239-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เผยยุทธวิธีป้องกันน้ำ รอดน้ำท่วมหลังเดียวในหมู่บ้านชลลดา


    <!-- <iframe src="http://hilight.kapook.com/view/fb_button.php?id=64250" scrolling="no" frameborder="0" allowTransparency="true" style="border:none; overflow:hidden; width: 80px; height: 100px;"></iframe>
    //-->

    [​IMG]

    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก [ame="http://www.youtube.com/watch?v=I7_JYMxwsWY&feature=player_embedded"]Youtube.com โพสต์โดย ThaiPBSSpotPromote[/ame]

    หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพความเสียหายและความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ถูกนำเสนอเป็นข่าวใหญ่ในหน้าสื่อมวลชน เนื่องจากพื้นที่บางบัวทองเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ทำให้แทบทุกจุดมีน้ำท่วมสูงมาก ขณะเดียวกัน เพราะน้ำไหลเร็วและแรง จึงทำให้ชาวบ้านไม่สามารถอพยพย้ายออกมาได้ทัน ต้องติดอยู่ในบ้านนับหมื่น ๆ คน

    อย่างเช่นในหมู่บ้านชลลดา หมู่บ้านหรูขนาดใหญ่ที่เราได้ยินข่าวกันว่า หมู่บ้านแห่งนี้ถูกน้ำท่วมสูงมากกว่า 1.50 เมตรเต็มพื้นที่ จนไม่สามารถอาศัยอยู่ในชั้น 1 ได้แล้ว แต่ทว่า...รายการ "ที่นี่ไทยพีบีเอส" ทางช่องไทยพีบีเอส กลับได้เข้าไปพบกับบ้านหลังเดียวที่รอดพ้นจากการถูกน้ำท่วม และยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ในชั้น 1 ได้อย่างปกติ แม้ว่ารอบบ้านจะเต็มไปด้วยน้ำที่ท่วมสูงเป็นเมตร

    และบ้านหลังดังกล่าวมี ท.พ.ยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม เป็นเจ้าของ ซึ่งเมื่อผู้สื่อข่าวเข้าไปตรวจสอบก็พบว่า ภายในบ้านของคุณหมอนั้นแห้งสนิทจริง ๆ จากการที่คุณหมอได้สร้างแท่นปูนไว้เป็นคันกั้นน้ำไว้ให้ใกล้ตัวบ้านที่สุด เพราะเชื่อว่ายิ่งสร้างคันห่างจากตัวบ้านมากเท่าไหร่ น้ำก็จะยิ่งมีแรงดันมากขึ้นเท่านั้น

    [​IMG]

    คุณหมอยรรยง บอกว่า ได้รับคำแนะนำจากเพื่อนที่เป็นวิศวกร และสถาปนิกว่าควรจะสร้างคันกั้นน้ำอย่างไร จึงจะได้ผล จากนั้นจึงได้ไปหาซื้ออุปกรณ์มาสร้าง และหลังจากสร้างคันเสร็จเพียง 24 ชั่วโมง น้ำก็ทะลักท่วมหมู่บ้านพอดี

    "หลักการสำคัญก็คือพยายามทำผนังกั้นน้ำให้ชิดกับตัวบ้าน เหลือพื้นที่หลังคันให้น้อยที่สุด เพราะหากใช้พื้นที่มาก เราไม่สามารถควบคุมของน้ำได้ และเราก็ใช้วัสดุที่คนไม่คิดถึง คือแผ่นปูนสำเร็จแผ่นละประมาณ 200 บาท กว้าง 30-40 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เมตร ก็สามารถใช้ได้ดี และโบกปูนทับ แต่ด้านล่างสุดเราไม่ต้องโบกปูนทับ เพื่อลดแรงกดดันของน้ำ ให้น้ำไหลออกมาได้บ้าง แล้วค่อยปั๊มน้ำออก" คุณหมอยรรยง เล่าถึงกลยุทธป้องกันน้ำท่วมอย่างได้ผล

    [​IMG]

    คุณหมอยรรยงบอกอีกว่า วิธีนี้สามารถป้องกันน้ำเข้าบ้านได้ 100% และเชื่อว่าหากน้ำสูงอีก 50 เซนติเมตร คุณหมอก็ยังเอาอยู่ แต่หากสูงกว่านี้ก็ยังไม่แน่ใจนัก และที่คุณหมอต้องทำการป้องกันรอบตัวบ้านขนาดนี้ เป็นเพราะบ้านของเขามีคุณพ่อคุณแม่สูงอายุที่ไม่อยากออกจากบ้าน คุณหมอจึงต้องดำเนินการป้องกันภายในตัวบ้านแทน เหมือนกับการสู้เพื่อความอบอุ่นของครอบครัว

    นอกจากบริเวณรอบบ้านแล้ว อีกหนึ่งจุดอ่อนก็คือบริเวณท่อน้ำ และท่อระบายน้ำ ที่น้ำสามารถทะลักเข้ามาได้ ซึ่งคุณหมอใช้วิธีป้องกันด้วยการหาปั๊มดูดจากตู้ปลามาช่วยสูบ ซึ่งก็ช่วยให้น้ำไม่ท่วมภายในบ้านอย่างได้ผล

    และเมื่อหายห่วงจากการป้องกันน้ำท่วมในบ้านแล้ว คุณหมอก็ได้ใช้เวลาทั้งวันออกไปขับสปีดโบ๊ทส่วนตัวตระเวนลำเลียงข้าวปลาอาหาร ยารักษาโรค และถุงยังชีพ ไปแจกจ่ายช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม ถือเป็นน้ำใจดี ๆ ที่คุณหมอได้ทำเพื่อสังคม




    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/I7_JYMxwsWY?version=3&hl=th_TH width=640 height=510 type=application/x-shockwave-flash></EMBED>














    -http://hilight.kapook.com/view/64250-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สุขุมพันธุ์ รับหวั่นน้ำนครปฐมตลบหลัง เร่งระบายลงท่าจีน





    ผู้ว่าฯ กทม. เผยน้ำทะเลหนุนสูงผ่านไปแล้ว เจอกันอีกครั้งกลางเดือน พ.ย. แอบหวั่นน้ำจากนครปฐมตลบหลัง จึงให้ ศปภ. รีบระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีน ยอมรับแม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ก็ถือว่ายังไม่ปลอดภัย

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในวันนี้ (31 ตุลาคม) ว่า สถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงได้ผ่านไปเรียบร้อย แล้วจะมีอีกครั้งในกลางเดือนพฤศจิกายน ขณะนี้มวลน้ำเหนือเริ่มนิ่ง ระดับน้ำในคลองสองคงที่ และระดับน้ำในคลองรังสิตลดลง แต่น้ำในเขตดอนเมืองหลักสี่สูงขึ้น ส่วนเขตบางพลัด ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน บางแค ยังน่าเป็นห่วง เพราะน้ำจากจังหวัดนครปฐมมีโอกาสที่จะทะลักเข้าตลบหลังได้ ดังนั้นทาง กทม. จึงได้ประสานไปยัง ศปภ. เพื่อผันน้ำจาก จ.นครปฐม ไปทางแม่น้ำท่าจีน ก่อนที่จะทะลักเข้ากรุงเทพฯ

    แม้ว่าสถานการณ์น้ำจะดีขึ้น แต่ กทม. ยังไม่สามารถประกาศได้อย่างชัดเจนได้ เพราะถ้าหากเขตดอนเมือง หลักสี่ บางพลัด ทวีวัฒนายังมีปัญหา ก็ถือว่าสถานการณ์ยังน่าเป็นห่วงอยู่​

    [​IMG] กทม. เผยแผนที่เขตอพยพ-เฝ้าระวังพิเศษ



    [​IMG]


    คลิกดูภาพใหญ่ได้ ที่นี่







    ช่วงบ่ายของวันนี้ (31 ตุลาคม) ทางศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย กรุงเทพมหานคร ได้ออกประกาศให้ 2 เขต ใน กทม. เป็นพื้นที่อพยพเพิ่มเติม คือ เขตตลิ่งชัน และเขตหลักสี่ จาก 4 เขตเดิม ประกอบด้วย เขตสายไหม เขตดอนเมือง เขตบางพลัด และเขตทวีวัฒนา โดยแจกแจงรายละเอียดดังนี้

    พื้นที่อพยพ ได้แก่...

    [​IMG] เขตทวีวัฒนา
    [​IMG] ตลิ่งชัน
    [​IMG] บางพลัด
    [​IMG] หลักสี่
    [​IMG] ดอนเมือง
    [​IMG] สายไหม​

    พื้นที่เฝ้าระวัง ได้แก่...


    [​IMG] คลองสามวา
    [​IMG] คันนายาว
    [​IMG] หนองจอก
    [​IMG] มีนบุรี
    [​IMG] ลาดกระบัง​


    พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ...

    [​IMG] บางซื่อ
    [​IMG] จตุจักร
    [​IMG] ลาดพร้าว
    [​IMG] บางเขน
    [​IMG] วังทองหลาง​

    (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตค.54)​




    [​IMG] คาด 20 เขตกรุงเทพฯ พ้นน้ำท่วม




    กทม. ผนึกกำลังกับกรมชลประทาน เร่งระบายน้ำกู้วิกฤติ คาด 20 เขตพื้นที่กรุงเทพ รอดน้ำท่วม ชี้ภายใน 5 วัน น้ำที่คลอง 2 ลดแน่


    นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า จากการรื้อถอนประตูระบายน้ำ คลอง 9 10 11 12 และ 13 รวมถึงกรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มที่สถานีสูบน้ำคลองหกวาสายล่าง เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำบางประกงวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้สถานการณ์ที่คลอง 2 มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากปริมาณน้ำทรงตัว และเชื่อว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ เป็นวิธีที่ถูกต้อง ซึ่งคาดว่าภายใน 5 วัน ระดับน้ำคลองหกวาจะลดลงเหลือ 2 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากเดิม 2.88 เมตร

    และจากแนวทางดังกล่าว คาดว่า จะทำให้พื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่ไม่ติดกับริมคลอง ในเขตกรุงเทพ มีแนวโน้มว่าจะน้ำไม่ท่วม 80 เปอร์เซ็นต์นั้นก็ได้แก่ ดินแดง พญาไท บึ่งกุ่ม บางซื่อ สะพานสูง วัฒนา ประเวศ บางกะปิ สาทร ทุ่งครุ ราชเทวี​

    นอกจากนี้ นายธีระชน ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการประสานงานของ กทม. กับ กรมชลประทานว่า หลังจากได้หารือร่วมกันนั้น ล่าสุด ทั้ง 2 หน่วยงานมีความเข้าใจมากขึ้น ทำให้ด้านข้อมูล และการปฏิบัติการในพื้นที่ โดยเฉพาะเรื่องการระบายน้ำนั้นเป็นไปได้ด้วยดี และคาดว่าเบื้องต้นจะมีพื้นที่ 20 เขตของกรุงเทพจะไม่ถูกน้ำท่วม

    นายธีระชน ยังกล่าวอีกว่า ส่วนนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพ และจังหวัดสมุทธปราการทั้งหมดจะรอดจากน้ำท่วมอย่างแน่นอน ส่วนกรณีแนวทำไซฟ่อนหรือกาลักน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำเหนือลงพื้นที่ตะวันออก ที่ทาง ศปภ. และ กทม. ตั้งใจจะทำก่อนหน้านี้นั้น ขณะนี้ไม่จำเป็นต้องทำแล้ว เพราะทางกทม. ได้ตัดสินใจรื้อถอนประตูระบายน้ำคลอง 9 , 10 , 11 , 12 และ 13 ออก ทำให้มวลน้ำไหลได้สะดวกขึ้น

    อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่ กทม.ได้ประกาศเป็นพื้นที่เฝ้าระวังขณะนี้มีทั้งหมด 14 เขต ได้แก่...

    [​IMG] 1.มีนบุรี
    [​IMG] 2.หนองจอก
    [​IMG] 3.ลาดกระบัง
    [​IMG] 4.คลองสามวา
    [​IMG] 5.ดอนเมือง
    [​IMG] 6.หลักสี่
    [​IMG] 7.สายไหม
    [​IMG] 8.บางซื่อ
    [​IMG] 9.จตุจักร
    [​IMG] 10.บางพลัด
    [​IMG] 11.คันนายาว
    [​IMG] 12.บางเขน
    [​IMG] 13.ลาดพร้าว
    [​IMG] 14.วังทองหลาง​

    และอีก 3 แขวง ในพื้นที่เขตตลิ่งชัน ได้แก่...

    [​IMG] 1.แขวงฉิมพลี
    [​IMG] 2.แขวงตลิ่งชัน
    [​IMG] 3.แขวงบางละมาด​

    ส่วนในพื้นที่ ให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษ และเตรียมอพยพพร้อม ได้แก่ ...

    [​IMG] 1.บริเวณริมคลองเปรมประชากรทั้งสองฝั่ง ในเขตดอนเมือง หลักสี่ และจตุจักร
    [​IMG] 2.ริมคลองลาดพร้าว ในเขตจตุจักร ลาดพร้าว ห้วยขวาง และวังทองหลาง
    [​IMG] 3.ริมคลองสอง ในเขตสายไหม และบางเขน
    [​IMG] 4.คลองถนน ในเขตบางเขน และหลักสี่
    [​IMG] 5.คลองบางบัว ในเขตบางเขน หลักสี่ และจตุจักร ​

    ส่วนด้านศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย กทม. สรุปสถานการณ์น้ำประจำวันปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และบริเวณพระรามหก ขณะนี้มีปริมาณน้ำ 3,281 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวาน 28 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ​

    ภาพรวมสถานการณ์น้ำ ในคลองต่าง ๆ

    [​IMG] ระดับน้ำคลองหกวาสายล่าง วัดระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองสอง เขตสายไหม ใน 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา ระดับน้ำทรงตัว
    [​IMG] ระดับฝั่งธนบุรี ระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำทวีวัฒนา (คลองมหาสวัสดิ์ ศาลายา) 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร
    [​IMG] ระดับน้ำคลองเปรมประชากร ช่วงสน.ดอนเมือง (ตรงข้ามทางเข้าฐานทัพอากาศ) ระดับสูงล้นตลิ่ง ระดับน้ำทรงตัว
    [​IMG] ระดับน้ำคลองเปรมประชากร ช่วงวัดเทวสุนทร ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 26 เซนติเมตร คลองบางซื่อ ช่วงถนนพหลโยธิน ระดับวิกฤติ (ระดับเท่ากับตลิ่ง)
    [​IMG] คลองบางพรหม ช่วงถนนกาญจนาภิเษก ระดับวิกฤติ (ระดับน้ำล้นตลิ่ง) คลองบางพรหม ช่วงถนนพุทธมณฑล สาย 3 ระดับวิกฤติ (ระดับน้ำเท่ากับตลิ่ง)
    [​IMG] คลองบางแวก ช่วงพุทธมณฑล สาย 1 เขตบางแค ระดับเตือนภัย (ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 16 เซนติเมตร )
    [​IMG] คลองลาดพร้าว ช่วงวัดลาดพร้าว เขตลาดพร้าว ระดับวิกฤติ (ระดับน้ำเท่ากับตลิ่ง)
    [​IMG] คลองรังสิตประยูรศักดิ์ ช่วงคลองสาม สูงขึ้น 0.7 เซนติเมตร​

    สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ ...

    [​IMG] น้ำท่วมขัง ในพื้นที่เขตดอนเมือง เนื่องจากมีปริมาณน้ำไหลเข้าสู่คลองเปรมประชากร ทำให้ระดับน้ำในคลองเปรมประชากรสูงจนล้นตลิ่ง และมีน้ำล้นแนวคันกั้นน้ำจากคลองรังสิตด้านถนนพหลโยธิน
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ในพื้นที่เขตสายไหม เนื่องจากมีปริมาณน้ำไหลเข้าสู่คลองสอง (คลองถนน) และคลองพระยาสุเรนทร์ ทำให้ระดับน้ำในคลองสูงจนล้นตลิ่ง
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ในพื้นที่เขตบางพลัด เนื่องจากมีน้ำล้นจาก อ.บางกรวย จ.นนทบุรี และมีปัญหาแนวคันกั้นน้ำของเอกชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชำรุดเสียหาย (ดำเนินการแก้ไขแล้ว)
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ในพื้นที่เขตทวีวัฒนา เนื่องจากแนวป้องกันน้ำท่วมชั่วคราว (กระสอบทราย) บริเวณวัดปุรณวาส และคันกั้นน้ำคลองมหาสวัสดิ์ ช่วงคลองขุนศรีบุรีรักษ์ ซึ่งเป็นของเอกชนชำรุดเสียหาย อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไข
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.พหลโยธิน ตั้งแต่อนุสรณ์สถาน-สะพานใหม่ ทั้งสองฝั่ง
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.วิภาวดี ช่วงรังสิต-แยกหลักสี่ ทั้งสองฝั่ง
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.สรงประภา ตลอดสาย ทั้งสองฝั่ง
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.กำแพงเพชร 6 (โลคัลโรด) ตั้งแต่แฟลตทุ่งสองห้อง - เมืองเอก ทั้งสองฝั่ง
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.สายไหม ตั้งแต่วัดหนองใหญ่ ถึง ซ.เพิ่มสิน
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.สุขาภิบาล 5 เขตสายไหม ตลอดสาย
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.แจ้งวัฒนะ เป็นช่วง ๆ ใกล้คลองประปา
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.สิรินธร ช่วงหน้าหน่วยงานกรมทางหลวง - ปากซอยรุ่งประชา เต็มผิวจราจร
    [​IMG] น้ำท่วมขัง เชิงสะพานปิ่นเกล้า - หน้าห้างพาต้า เต็มผิวจราจร
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.อรุณอัมรินทร์ จากแยกอรุณอัมรินทร์-แยกศิริราช
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถนนจรัญสนิทวงศ์ ช่วงซอยจรัญสนิทวงศ์ 41 - 45 เต็มผิวจราจร
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.บรมราชชนนี แยกพุทธมณฑลสาย 3 ถึงตลาดพุทธมณฑล สูง 10 ซม.
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.บรมราชชนนี แยกพุทธมณฑลสาย 2 ถึงแยกพุทธมณฑลสาย 3 สูง 50 ซม.
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.ศาลาธรรมสพน์ หมู่บ้านอมรชัย ถึงแยกพุทธมณฑลสาย 3 สูง 50 ซม.
    [​IMG] น้ำท่วมขัง อุโมงค์บางพลัด ปิดการจราจรแล้ว
    [​IMG] น้ำท่วมขัง ถ.ทรงวาด ตลอดสาย
    [​IMG] กรณีแนวคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในซ.จรัญสนิทวงศ์ 80 ของเอกชนที่ชำรุด เจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ ดำเนินการซ่อมแก้ไขแนวป้องกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    [​IMG] กรณีแนวกำแพงบ้านเรือนประชาชนริมคลองพระโขนงบริเวณสมาคมหิมะทองคำ เจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ ดำเนินการซ่อมแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    [​IMG] กรณีแนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองมหาสวัสดิ์ชำรุดเสียหาย อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไข​


    [​IMG] ผู้ว่าฯ กทม. ย้ำเร่งผันขอ 50 เขต ไม่ประมาท


    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับ 2 วันที่ผ่านมา น้ำสูง สถานการณ์เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเป็นไปได้น้ำเหนือหมดแล้ว ย้ำเร่งระบายน้ำทั้งตะวันออก-ตะวันตก ขอทหารคุ้มกัน ซ่อมประตูน้ำริมถนนพหลโยธิน จ.ปทุมธานี

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยในรายการเปิดข่าวเด่นเจาะประเด็นดัง FM 102.75 MHz สถานการณ์น้ำกรุงเทพมหานครว่า ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา ปริมาณน้ำสูงสถานการณ์น้ำอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และปริมาณน้ำได้แผ่เข้ามาในกรุงเทพมหานครเป็นบริเวณกว้าง ขณะที่มองว่า ภาพรวมมีความเป็นไปได้ที่น้ำทางเหนือใกล้หมดแล้ว ดูจากน้ำขณะนี้มาในลักษณะแผ่แบบนิ่งไม่ใช่การทะลัก เหมือนช่วงต้นสัปดาห์ แต่ 50 เขต ไม่ประมาท ยังคงเตรียมความพร้อม ส่วนการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร มีการเปิดประตูระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำอยู่ตลอดเวลา อาทิโรงสูบน้ำบางเขน และยังมีการระบายออกตามธรรมชาติ ทั้งทางตะวันออกและตะวันตก

    ส่วนปัญหาความขัดแย้งของมวลชนเรื่องคันกั้นน้ำ ได้มีพยายามในการเจรจาอยู่ตลอด รวมถึงการซ่อมแซมคันกั้นน้ำที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้หากต้องการให้ กทม.เข้าไปซ่อมแซมประตูน้ำริมถนนพหลโยธิน จ.ปทุมธานี จะต้องขอให้หน่วยงานด้านความมั่นคงเข้ามาดูแล​



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กรุงเทพธุรกิจ , ไอ.เอ็น.เอ็น.
    [​IMG][​IMG],
    ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย กรุงเทพมหานคร




    -http://hilight.kapook.com/view/63235-


    ---------------------------------------------------

    ยิ่งลักษณ์ โต้ กทม. ยันน้ำเหนือยังไม่หมด



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

    ยิ่งลักษณ์ ยันน้ำเหนือยังลงมาไม่หมด จะทยอยลงมา แต่ไม่ท่วมเยอะเหมือนต่างจังหวัด พร้อมเตรียมงบกว่า 80,000 ล้านเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรม

    นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวย้ำว่า น้ำเหนือมวลใหญ่ที่จะไหลลงสู่กรุงเทพมหานคร ยังคงมีอยู่ แต่จะไม่ไหลลงสู่กรุงเทพมหานครในครั้งเดียว เพราะได้มีการระบายออกไปทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ดังนั้นระดับน้ำที่จะท่วมในเขตกรุงเทพมหานครจะมีระดับที่ไม่สูงมาก ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตรงกันกับทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่เคยได้ออกมากล่าวไว้ก่อนหน้านี้ แต่จะต่างกันตรงที่ น้ำเหนือจะทยอย ๆ มาไม่ได้ไหลมาในคราวเดียว ทั้งนี้ ตนยอมรับว่า น้ำขนาดประมาณ 10,000-20,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่กำลังจะไหลลงมาทางกรุงเทพฯ อาจจะได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มากนัก

    นางสาวยิ่งลักษณ์ ยังกล่าวอีกว่า ตนรู้สึกเห็นใจประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัด เพราะน้ำท่วมสูงกว่ากรุงเทพฯ และใช้เวลานานนับเดือนกว่าจะระบายได้หมด ทั้งนี้หลังจากวันนี้ (31 ตุลาคม) จะประเมินสถานการณ์น้ำอีกครั้งว่า จะผ่านพ้นวิกฤติไปได้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากไม่มีปัจจัยใด ๆ แทรกซ้อน หรือเป็นไปตามแผน สถานการณ์ก็ต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน ส่วนข่าวเรื่องน้ำทะเลจะหนุนสูงในวันลอยกระทงนั้น ตนยืนยันว่า ไม่มีอะไรน่ากังวลเพราะระดับน้ำจะไม่สูงเท่าที่เป็นอยู่ สำหรับทางด้านสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ตนคาดว่าภายใน 1 - 2 สัปดาห์ จะเริ่มระบายน้ำได้

    นายกรัฐมนตรียังกล่าวอีกว่า รัฐบาลได้เตรียมงบประมาณฟื้นฟูอุตสาหกรรมไว้ 80,000 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารต่าง ๆ จะปล่อยงวงเงินสินเชื่อรวม 300,00 กว่าล้าน โดยคาดว่า จะฟื้นฟูให้ได้เร็วที่สุดภายใน 3 เดือน ส่วนทางนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบ ก็จะเร่งให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยยกเว้นภาษี และขั้นตอนการนำเข้าอุปกรณ์ซ่อมแซมเครื่องจักร พร้อมชี้แจงให้นักลงทุนเข้าใจ ในเรื่องแผนการส่งเสริมการลงทุนระยะยาว

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ไทยPBS
    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64242-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2011
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คุณตัน...ไม่ตันน้ำใจ เปิดศูนย์ให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมพักฟรี


    [​IMG]



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก คุณตัน ภาสกรนที

    จากการที่เกิดเหตุมหันตภัยน้ำท่วมหลายจังหวัดประเทศไทย รวมไปจนถึงกรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดปัญหาขึ้นหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของอาหาร, เครื่องนุ่งห่ม และที่สำคัญคือที่อยู่อาศัย ซึ่งมีปัญหาขาดแคลนที่พักมากมาย แม้หลายฝ่ายจะเปิดศูนย์พักพิงให้เป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอรองรับผู้อพยพในขณะนี้

    และเมื่อวานนี้ (30 ตุลาคม) คุณตัน ภาสกรนที ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยเช่นเดียวกันนั้น ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก www.facebook.com/tanmaitan โดยประกาศให้ที่พักพิงสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมชั่วคราวฟรีที่จังหวัดชลบุรี เนื้อหาดังนี้

    "ฝากกระจายข้อมูลด้วยครับ ครอบครัวที่กำลังเดือดร้อนจากน้ำท่วมต้องการออกจาก กทม.ไปหาที่อยู่ฉุกเฉิน ผมมีอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น 20 ห้อง น้ำไฟพร้อมแต่ไม่มีเฟอร์นิเจอร์​ เป็นอาคารใหม่ อยู่ที่ จ.ชลบุรี ตรงข้ามเซ็นทรัล และ Big C ที่ชั้น 1 สามารถขายของได้ ส่วนชั้น 2-4 จะกั้นเป็นห้องพัก 1 ห้องนอนพักได้ 4-6 คน มีห้องน้ำพร้อม ทั้งหมดน่าจะเพียงพอเป็นที่พักสำหรับ 60 ครอบครัว ใครสนใจผมให้อยู่ฟรี 2 เดือนโดยไม่เสียค่าน้ำค่าไฟหรือจนกว่าสถานการณ์จะดี​ขึ้น

    เริ่มให้เข้าอยู่วันเสาร์ที่ 5 พ.ย มีข้อแม้คือควรอยู่ระยะยาวอย่าง​น้อย 1-2 เดือน และสามารถช่วยตัวเองได้ เช่น มีรถ มีเสื้อผ้า มีที่นอน และสำหรับใครที่เดือดร้อนสนใจขา​ยของก็สามารถติดต่อเข้ามาได้เพื่อขายอาหารและของใช้ที่จำเป็นสำ​หรับคนอื่น ๆ ไปด้วย

    แต่ทั้งนี้ผู้ที่จะเข้ามาพักอาศัยทางทีมงานต้องขอดูคว​ามจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประกอบการ​ตัดสินใจ ใครเดือดร้อนรีบติดต่อ พร้อมส่งขอมูลรายละเอียดความเสียหายสำหรับพิจารณามาที่ online@mai-tan.com แล้วผมกับทีมงานจะติดต่อกลับไปภ​ายในวันที่ 3 พ.ย. นี้ครับ

    ขออภัยที่มีพื้นที่ช่วยเหลือจำกัดและให้ความช่วยเหลือได้เพียงเ​ล็กน้อย...อย่าเพิ่งหมดกำลังใจครับ ทุกฝ่ายกำลังช่วยกันเต็มที่ทุกอ​ย่างจะค่อย ๆ ดีขึ้นถ้าใจเราไม่ยอมแพ้ครับ"




    ขอขอบคุณขอ้มูลจาก
    เฟซบุ๊ก คุณตัน ภาสกรนที



    -http://hilight.kapook.com/view/64248-

    .
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เผยคุณภาพน้ำประปา ต่ำกว่าเกณฑ์


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ค การประปานครหลวง กปน.


    เผยระดับคุณภาพน้ำประปาต่ำกว่าเกณฑ์ ขณะที่ กปน. ยืนยัน ยังผลิตน้ำประปาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีจำนวนเพียงต่อการบริโภค ไม่ประมาทจัดกำลังคุมเข้มคันกั้นน้ำหวั่นทะลักส่งผลต่อการผลิต แนะ ปชช. สำรองน้ำไว้ดื่ม

    ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติคุณภาพน้ำดิบ ได้เผยแพร่ผลสำรวคค่าเฉลี่ยออกซิเจนของโรงผลิตน้ำบางเขน และโรงผลิตน้ำสามเสน เมื่อวานนี้ (30 ตุลาคม) ว่า หลังจากที่เกิดปัญหามีการรื้อแนวพนังกั้นน้ำ ส่งผลให้มีสิ่งสกปรกไหลเข้าคลองประปาตามที่ได้นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

    โดยล่าสุดค่าเฉลี่ยออกซิเจน จากการสำรวจของโรงผลิตน้ำบางเขน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 0.63 มิลลิกรัมต่อลิตร และต่ำสุด 0.30 มิลลิกรัมต่อลิตร ขณะที่โรงงานผลิตน้ำสามเสน ค่าออกซิเจนสูงสุด 0.20 มิลลิกรัมต่อลิตร และต่ำสุด 0.00 ม.ก.ต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกยอมรับคือ 2 - 4 มิลลิกรัมต่อลิตร

    ทางด้านนายวิกรม สุวรรณชมพู ผู้ช่วยผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวยืนยันว่า ขณะนี้การประปานครหลวง ยังสามารถผลิตน้ำประปาได้ตามปกติ และมีจำนวนเพียงพอ ที่จะแจกจ่ายไปยังประชาชน และขอให้ประชาชนอย่าวิตกหรือกังวลว่า น้ำประปาอาจไม่มีคุณภาพหรืออาจมีการหยุดการผลิต เนื่องจากปัญหาต่างๆ ในตอนนี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้พยายามแก้ไขแล้ว โดยมีเพียงพื้นที่ฝั่งตะวันตก หรือ ฝั่งธนบุรี ที่น้ำยังคงมีกลิ่นและมีสีอยู่บ้าง เนื่องจากน้ำได้ไหลบ่าลงคลองอย่างผิดปกติ ทั้งนี้ หากไม่สบายใจ ประชาชนสามารถต้มน้ำก่อนบริโภคได้ แต่ยืนยันว่า คุณภาพของน้ำไม่ได้เลวร้าย

    นอกจากนี้ ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ กปน. ได้มีการวางแผนรองรับปริมาณน้ำที่มีจำนวนมาก และอาจส่งผลต่อการผลิตน้ำประปา โดยการเสริมแนวให้แข็งแรงและเฝ้าดูแลตลอด 24 ช.ม. โดยมีตำรวจน้ำมาช่วยดูแลและเฝ้าระวังด้วยอีกทางหนึ่ง

    อย่างไรก็ตาม ผู้ช่วยผู้ว่าการการประปานครหลวง ยังกล่าวด้วยว่า การที่ประชาชนมีการสำรองน้ำไว้นั้น ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ตนไม่อยากให้ตื่นตระหนกจนเกินไป เนื่องจากหากจะมีการหยุดผลิตน้ำหรืองดจ่ายน้ำ ทางเจ้าหน้าที่จะมีการประกาศแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ไอ.เอ็น.เอ็น. และ ข่าวสด

    [​IMG] [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64025-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    แนวทางการระบายน้ำของกรมชลประทาน และแนวโน้มสถานการณ์น้ำ



    [FONT=′Angsana New′][FONT=′TH SarabunIT๙′]วันนี้(31 ต.ค. 54) เวลา 10.00 น. ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยส่วนอุทกวิทยา สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ กรมชลประทาน [/FONT][FONT=′TH SarabunIT๙′]ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ "10.00 น. [/FONT][FONT=′TH SarabunIT๙′]Springnews[/FONT][FONT=′TH SarabunIT๙′] Update" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง Spring News ในประเด็น[/FONT][FONT=′TH SarabunIT๙′]เกี่ยวกับ "แนวทางการระบายน้ำของกรมชลประทาน" ว่า สภาพน้ำในเขื่อนต่างๆ ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ และได้มีการลดการระบายน้ำลงอย่างต่อเนื่อง สภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมา ระดับน้ำลดลงสู่ตลิ่งแทบจะทุกจุดแล้ว ยกเว้นที่อ.บางไทร ที่ยังมีระดับน้ำสูงอยู่[/FONT][FONT=′TH SarabunIT๙′]<?xml:namespace prefix = o /><o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=′Angsana New′][FONT=′TH SarabunIT๙′] [/FONT][/FONT]
    [FONT=′Angsana New′][FONT=′TH SarabunIT๙′]ส่วนน้ำที่ไหลหลากในทุ่ง ที่กำลังสร้างปัญหาให้กับพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งในฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกอยู่ในขณะนี้ นั้น ในด้านฝั่งตะวันออก น้ำได้ไหลหลากจากคลองระพีพัฒน์แยกตก คลองรังสิตประยูรศักดิ์ ไล่ลงมาจนถึงคลองหกวาสายล่าง ซึ่งขณะนี้ปริมาณน้ำบริเวณเหนือคลองระพีพัฒน์แยกตก อยู่ในระดับทรงตัวกับลดลง ส่วนที่บริเวณคลองหกวาสายล่างปริมาณน้ำยังคงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งได้มีการสูบน้ำระบายออกจากคลองอย่างต่อเนื่อง คาดว่าหลังจากน้ำทะเลหนุนสูงในปัจจุบันไปจนถึงวันที่ 3 พ.ย. 54 ปริมาณน้ำจะทรงตัวและจะลดลงเป็นลำดับในระยะต่อไป[/FONT][FONT=′TH SarabunIT๙′]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=′Angsana New′][FONT=′TH SarabunIT๙′] [/FONT][/FONT]
    [FONT=′Angsana New′][FONT=′TH SarabunIT๙′]สำหรับในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ที่มีปัญหาน้ำท่วมในเขตบางกอกน้อย บางพลัด นั้น น้ำที่ท่วมเป็นน้ำที่มาจากพื้นที่บางบัวทอง และคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ เนื่องจากระดับน้ำจะสูงขึ้นตามช่วงจังหวะน้ำทะเลหนุน คาดว่าหลังจากวันที่ 3 พ.ย. 54 การระบายน้ำจะเป็นไปด้วยดี เนื่องจากมีการใช้เครื่องสูบน้ำ ช่วยสูบระบายน้ำออกทางแม่น้ำท่าจีน รวมทั้ง การระบายน้ำผ่านทางคลองทวีวัฒนา ออกสู่คลองภาษีเจริญ โดยภาพรวมแล้ว คาดว่าหลังวันที่ 3 พ.ย. เป็นต้นไป สถานการณ์น้ำท่วมทั้งสองฝั่งของกรุงเทพมหานคร ปริมาณน้ำจะเริ่มลดลง[/FONT][FONT=′TH SarabunIT๙′]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=′Angsana New′][FONT=′TH SarabunIT๙′] [/FONT][/FONT]
    [FONT=′Angsana New′][FONT=′TH SarabunIT๙′]ในส่วนของปริมาณน้ำเหนือที่ยังท่วมขังอยู่ทางตอนบนของภาคกลาง คิดเป็นปริมาณน้ำที่ท่วมขังอยู่ในทุ่งประมาณร้อยละ 30 – 45 ของมวลน้ำทั้งหมด ส่วนอีกประมาณร้อยละ 30 จะเป็นน้ำที่อยู่ในลำน้ำต่างๆ ซึ่งปริมาณน้ำเหล่านี้ไม่ได้ไหลลงมาเป็นทัพใหญ่อย่างที่หลายฝ่ายวิตกกังวลกัน แต่จะค่อยๆทยอยไหลลงมาเป็นระลอกๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะถึงช่วงน้ำทะเลหนุนสูงอีกครั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน กรมชลประทาน จะได้เร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลในช่วงที่น้ำทะเลหนุนต่ำให้ได้มากที่สุด โดยการเพิ่มเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ ในจุดที่จะสามารถระบายน้ำได้เร็วยิ่งขึ้น สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมากก็คือ ความมั่นคงแข็งแรงของคันกั้นน้ำต่างๆ เพราะจะเห็นได้ว่าน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ ไม่ใช่น้ำล้นคันกั้นน้ำที่ทำไว้ แต่เป็นน้ำที่ไหลเข้ามาจากเหตุการณ์การพังทลายของคันกั้นน้ำ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม[/FONT][FONT=′TH SarabunIT๙′]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=′Angsana New′][FONT=′TH SarabunIT๙′] [/FONT][/FONT]
    [FONT=′Angsana New′][FONT=′TH SarabunIT๙′]อนึ่ง การระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกลงสู่แม่น้ำท่าจีน นั้น แม้การระบายน้ำจะทำได้น้อยกว่าฝั่งตะวันออก แต่ก็ได้มีการเร่งสูบระบายน้ำ โดยการใช้เครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงการระบายน้ำจะดีขึ้นโดยลำดับในระยะต่อๆไป ส่วนในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ได้มีการเปิดประตูระบายน้ำคลอง 8ถึงคลอง 12 และระบายน้ำผ่านไปยังคลอง 13 และคลอง 14 พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่ม เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำของพื้นที่ฝั่งตะวันออกให้สามารถระบายน้ำได้มากขึ้น[/FONT][FONT=′TH SarabunIT๙′]<o:p></o:p>[/FONT][/FONT]
    [FONT=′Angsana New′][FONT=′TH SarabunIT๙′] [/FONT][/FONT]
    [FONT=′Angsana New′][FONT=′TH SarabunIT๙′]ทั้งนี้ หากประเมินสถานการณ์น้ำในภาพรวมทั้งประเทศ คาดว่าสถานการณ์น้ำจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป ส่วนน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำต่างๆ กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุดต่อไป[/FONT][/FONT]

    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320052747&grpid=&catid=03&subcatid=0305-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รู้สู้ flood ตอนที่ 4 : การรับมือในภาวะน้ำท่วม



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=90>


    </TD><TD vAlign=top align=left width=560><STYLE> P { margin: 0px; } </STYLE>
    <IFRAME src="http://www.youtube.com/embed/9BmDfRqFnNQ" frameBorder=0 width=560 height=315 allowfullscreen></IFRAME>
    คลิปของจากทีม รู้ สู้! Flood ที่ให้ความรู้กับเรามาอีกแล้วจ้า ตอนที่ 4นี้เป็นข้อแนะนำเมื่อเราต้องอยู่กับน้ำอย่างมีสติ เพื่อให้เราอยู่และผ่านมันไปด้วยดี เมื่อเราใจพร้อม สติมี ทุกอย่างก็สบาย...!!

    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1319949436&grpid=&catid=03&subcatid=0305-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    "สายใต้ใหม่" ย้ายสถานีไปโรงเบียร์ฮอลแลนด์

    วันที่ 31 ต.ค. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมบริเวณถนนบรมราชชนนี ส่งผลให้นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) แถลงว่า ตั้งแต่เวลา 18.00 น. วันนี้เป็นต้นไป บขส.ต้องปิดสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ หรือ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี ไปใช้สถานที่ตรงโรงเบียร์ฮอลแลนด์ พระราม 2 ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กันเป็นสถานีขนส่งชั่วคราว

    ทั้งนี้ ผู้โดยสารสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่คอลเซ็นเตอร์ 1490 เรียก บขส. ได้ตลอด 24 ช.ม. หรือ สอบถามประชาสัมพันธ์ขนส่งสายใต้ใหม่ โทร. 02-894-6122

    -http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU1EQTFOamswTXc9PQ==&sectionid=-

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ธนบุรีวิกฤต น้ำท่วมรุกคืบหลายพื้นที่ ถนนหลักหลายเส้นปิดการจราจร <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">31 ตุลาคม 2554 18:05 น.</td></tr></tbody></table>


    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>


    [​IMG] [​IMG]


    เฝ้าระวังน้ำท่วมฝั่งธนบุรี หลังเป็นพื้นที่รับน้ำจากนครปฐม-นนทบุรี คาด มวลน้ำอาจไปถึงหน้าตลาดบางแค วันพรุ่งนี้ ขณะที่ถนนอุทยาน-จรัญสนิทวงศ์-บรมราชชนนี-กาญจนาภิเษก-สวนผัก-พุทธมณฑลสาย 1 สาย 3 น้ำท่วมหนัก และปริมาณน้ำยังไม่นิ่ง ด้าน กทม.เตรียมผันน้ำออกท่าจีน รับระบบระบายน้ำสู้ฝั่งตะวันออกไม่ได้

    สถานการณ์น้ำท่วมฝั่งธนบุรี วันนี้ (31 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น้ำที่เอ่อจากคลองทวีวัฒนา ยังคงไหลท่วมถนนพุทธมณฑลสาย 3 สาย 2 และเข้าถึงถนนกาญจนาภิเษก วงแหวนฝั่งตะวันตก ส่วนพื้นที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 เขตบางแค มีน้ำเอ่อท่วม เนื่องจากคลองเชือกหนัง และคลองบางพรหมที่รับน้ำมาจากคลองทวีวัฒนาไม่สามารถระบายได้ทัน โดยพื้นที่ดังกล่าว ท้ายซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 ซึ่งอยู่ฝั่งถนนกาญจนภิเษก เป็นเส้นทางเข้าวัดกำแพง แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ อาจจะเป็นพื้นที่รับน้ำต่อไป ทั้งนี้ มีการคาดว่า พรุ่งนี้ (1 พ.ย.) มวลน้ำก้อนนี้จะไหลถึงตลาดบางแค และอาจมีผลกระทบต่อการจราจรบนถนนเพชรเกษมได้

    ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องปิดการจราจรบนถนนกาญจนาภิเษก และให้รถทั้งหมดยูเทิร์นกลับไปใช้ถนนเพชรเกษม และพระราม 2 แทน หลังมวลน้ำไหลเข้าท่วมถนนกาญจนาภิเษก และซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 เขตบางแค

    ขณะที่พนักงานบริษัทเดินทางมาทำงานด้วยความลำบาก ส่วนใหญ่บ้านถูกน้ำท่วมต้องหยุดงานเกือบครึ่ง รวมทั้งไม่มีน้ำดื่มเพียงพอ ต้องให้บริษัทแม่ที่ต่างจังหวัดส่งน้ำดื่มมาให้พนักงานที่ยังคงทำงานอยู่

    ส่วนพื้นที่เขตอื่นในฝั่งธนบุรี อาทิ เขตบางพลัด และเขตตลิ่งชัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีปริมาณน้ำเยอะมากและยังไม่นิ่ง จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะที่เขตบางแค ซึ่งห่วงว่าน้ำจะตลบจาก จ.นครปฐม จะทำให้ในฝั่งธนบุรีเกิดปัญหาอย่างหนัก ขณะนี้ถนนสายหลักมีปัญหาแล้ว ได้แก่ ถนนอุทยาน ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนบรมราชชนนี ถนนกาญจนาภิเษก ถนนสวนผัก ถนนพุทธมณฑลสาย 1 สาย 3

    ทั้งนี้ สน.ตลิ่งชัน ได้รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ว่า ถนนบางระมาด จากถนนกาญจนาภิเษก ถึงถนนราชพฤกษ์ น้ำท่วมสูง 30-80 เซนติเมตร ถนนพุทธมณฑลสาย 1 จากถนนบรมราชชนนี ถึงทางรถไฟ น้ำท่วมสูง 30-50 เซนติเมตร ถนนบรมราชชนนีฝั่งขาเข้า จากต่างระดับฉิมพลีถึงต่างระดับราชพฤกษ์ น้ำสูง 30-50 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ส่วนขาออก จากไฟแดงแยกวัดมะกอก ถึงต่างระดับฉิมพลี น้ำท่วมสูง 30-50 เซนติเมตร

    ขณะที่ หน้าสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ น้ำท่วมสูง 40-50 เซนติเมตร ด้านในน้ำท่วม 5 เซนติเมตร นอกจากนี้ น้ำได้ตีวงล้อมเข้าทางด้านหลัง ซึ่งน้ำมาจากคลองคูบัว กระแสน้ำค่อนข้างไหลแรง สถานีขนส่งสายใต้ ได้ประสานงานขอรถ ขสมก.เพื่อรับ-ส่งผู้โดยสารจากสายใต้ไปยังตลาดบางแค เป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน

    สำหรับการแก้ไขสถานการณ์ฝั่งธนบุรี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม.ได้ขอให้ ศปภ.กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยผันน้ำสูบน้ำออกแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเมื่อคืนนี้ได้ตอบรับแล้ว โดยกรมทรัพยากรน้ำจะเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการระบายน้ำของฝั่งตะวันตกมีระบบไม่เทียบเท่าตะวันออก ฝั่งตะวันออกสามารถระบายน้ำได้เร็วกว่า เพราะฝั่งตะวันตกรับน้ำมาจากทั้งบางกรวย จ.นนทบุรี และ จ.นครปฐม มาสมทบอีก

    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000138765-

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2011
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    สถานการณ์น้ำนครปฐมเริ่มบานปลาย หลายอำเภอจมบาดาลลุ้นตี 2 มวลน้ำมามาก <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">31 ตุลาคม 2554 15:33 น.</td> </tr></tbody></table>

    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>


    นครปฐม - เมืองเจดีย์ใหญ่วิกฤตหนัก พุทธมณฑล นครชัยศรี บางเลน สามพราน จมบาดาล ชาวบ้านแห่อพยพออกจากพื้นที่ หวั่นคืนนี้ตี 2 มวลน้ำทะลักท่วมซ้ำ ขณะหน่วยงานประสานภาครัฐล้มเหลวการให้ความช่วยเหลือแจกของยังชีพบ้อท่าไม่ ถึงมือชาวบ้าน

    วันนี้ (31 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์สภาพอุทกภัยที่เกิดขึ้นทั้ง 7 อำเภอในจังหวัดนครปฐม โดยมีอำเภอพุทธมณฑล บางเลน นครชัยศรี และสามพราน เป็นพื้นที่ที่น่าห่วงเนื่องจากระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นจากทุกพื้นที่ที่ติด กับแม่น้ำท่าจีน รวมถึงประตูระบายน้ำ และคลองต่างๆ ที่มีระดับน้ำท่วมสูงขึ้นต่อเนื่อง การจราจรหรือสัญจรบนถนนสายรองและสายหลักหลายแห่งปิดกั้นไม่สามารถเดินทางได้

    โดยที่อำเภอนครชัยศรี น้ำจากแม่น้ำท่าจีนได้เอ่อเข้าท่วมถนนเข้าหลายสายที่มุ่งเข้าสู่อำเภอนคร ชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยที่ถนนเส้นหลักจากถนนเพชรเกษมถึงตลาดท่านา ระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร มีน้ำท่วมทั้งเส้นทางสูงกว่า 60 เซนติเมตร จนรถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านได้ นอกจากนี้ยังเข้าท่วมร้านค้าและบ้านเรือนที่อยู่สองฝั่งทั้งหมด อีกทั้งเส้นทางถนนเทศบาล 1 บางกระเบา ก็มีน้ำท่วมสูงประมาณ 70 เซนติเมตร จนรถเล็กไม่สามารถผ่านไปได้ ทำให้รถที่จะวิ่งเข้าอำเภอนครชัยศรี และอำเภอดอนตูม เหลือแค่เส้นถนนพุทธมณฑลสาย 8 ต้องเดินรถทางเดียว

    ส่วนหน้าศูนย์ราชการอำเภอ และที่ตลาดท่านา ได้มีน้ำรั่วซึมและมีน้ำเข้าท่วมขังหมดแล้วหลังจากทางเทศบาลตำบลนครชัยศรี ได้พยายามทำแนวเสริมป้อนกัน แต่ก็ไม่สามารถทานระดับน้ำไว้ได้ และเพิ่มเครื่องสูบน้ำอีกนับ 10 ตัว เพื่อเร่งระบายและป้องกันแนวกระสอบทราย ซึ่งในการนี้เขตพื้นที่อำเภอนครชัยศรีได้ถูกน้ำท่วมไปแล้วกว่า 20 ตำบล บางพื้นที่ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1.50 เมตร โดยเฉพาะที่ตำบลสำโรง ตำบลลานตากฟ้า ตำบลวัดแค ตำบลสัมปทวน ตำบลงิ้วราย ตำบลไทยาวาส ตำบลนครชัยศรี ตำบลบางกระเบา ตำบลขุนแก้ว และตำบลดอนแฝก ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะเป็นเส้นทางของมวลน้ำจากแม่น้ำท่าจีน และมวลน้ำที่มาทางคลองโยง และคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งในพื้นที่ตำบลลานตากฟ้า ตำบลงิ้วราย และตำบลไทยาวาส มีหลายหมู่บ้านและหลายชุมชน ได้ย้ายผู้คนออกจนหมดแล้วเนื่องจากบางที่มีน้ำท่วมสูงเป็นอย่างมาก โดยมีจุดรองรับที่ผู้อพยพมาปักหลักอาศัยอยู่ที่วัดลานตากฟ้า และขอให้กำลังเจ้าหน้าที่ช่วยอพยพออกมาอย่างต่อเนื่อง

    ส่วนภายในศูนย์พักพิงชั่วคราววิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี ซึ่งขณะนี้มีผู้อาศัยอยู่จำนวน 195 คนแล้ว ทั้งยังพบว่าขณะนี้ระดับโดยรอบศูนย์พักพิงได้เพิ่มสูงขึ้นมาก หากเข้าท่วมภายในศูนย์ฯ คงจำเป็นย้ายผู้ประสบภัยไปยังศูนย์ที่ปลอดภัยกว่า

    นายภูวเดช อินทร์พรหม ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 195 คน ซึ่งผู้ประสบภัยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นชาวอำเภอนครชัยศรี ส่วนหนึ่งอพยพมาจากอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี และอีกส่วนหนึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานในพื้นที่อำเภอนครชัยศรี และเนื่องจากระดับน้ำโดยรอบวิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้าได้เพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่องทุกวัน อาจจะทำให้น้ำเข้าท่วมขังภายในศูนย์พักพิงแห่งนี้ และจะต้องทำการอพยพผู้ประสบภัยทั้งหมดไปยังวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม หรือทางวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ซึ่งทั้งสองวิทยาลัยนี้ก็พร้อมที่รองรับ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหล่านี้ต่อไปอีกครั้งหมายถึงจะมีการอพยพคนออกจาก พื้นที่เป็นรอบที่สองหลังมีกระแสข่าวระดับน้ำยังท่วมสูงต่อเนื่อง

    ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่มูลนิธิสุขศาลานุเคราะห์ได้นำกำลังอาสาสมัครและร่วมกับเจ้า หน้าที่ของอำเภอนครชัยศรี ได้นำกำลังอพยพประชาชนในหลายๆ พื้นที่ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยถนนสายนครชัยศรี ศาลายานั้น ถูกตัดขาดจากกระแสน้ำสูง และต้องการระดมเจ้าหน้าที่เข้าไปตลอดเวลา

    ที่อำเภอบางเลน สถานการณ์น้ำท่วมขังยังคงวิกฤตต่อเนื่อง ถนนสาย 346 บางเลน-ลาดหลุมแก้ว บางช่วงรถเล็กหมดสิทธิ์สัญจร และระดับน้ำยังทั่วขังต่อเนื่อง โดยจากตรวจสอบพบกับชาวบ้านในตำบลบางภาษี นราภิรมณ์ บางหลวง และทั้ง 18 ตำบล จมบาดาลแล้วทั้งหมด ที่ตำบลนราภิรมย์ระดับน้ำสูงกว่า 3 เมตร เช่นเดียวกับตำบลบางบไทรป่าที่มีสภาพไม่ต่างกัน

    ส่วนที่ตำบลบางภาษี ชาวบ้านยังคงต้องอดทนและใช่ชีวิตอยู่บนผืนน้ำขนาดใหญ่ที่แปลงจากท้องนาหลาย หมื่นไร่ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนทุกครัวเรือน หลายครอบครัวยังไม่ได้รับถุงยังชีพไม่ทั่วถึง และมีผู้สูงอายุหลายรายยาเกี่ยวกับโรคประจำตัวโดยเฉพาะความดันและเบาหวาน กำลังจะหมดลง

    ก่อนหน้านี้ อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา มูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม โดย ม.ร.ว.ศรีเฉลิม กาญจนภู ผู้อำนวยการโครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา มูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม ได้ลงพื้นที่สำรวจชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่มี น้ำท่วมขังอยู่กว่า 2-3 เมตร ในพื้นที่ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน ซึ่งมีประชาชนประสานของความช่วยเหลือ โดยได้นำน้ำดื่มถุงยังชีพและเรือไปมอบให้ชาวบ้าน โดยพบว่ามีความต้องการที่จะใช้น้ำดื่มและส้วมเคลื่อนที่เป็นอย่างมาก จากนั้นได้สอบถามถึงสุขภาพของประชาชน โดยนำเรื่องเข้าประชุมเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในระยะสั้น และระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ ประชาชนที่ยังได้รับการช่วยเหลือที่ไม่ทั่วถึงต่างยกมือท่วมหัว และเปล่งเสียงทรงพระเจริญ หลังทราบว่ามูลนิธิฯ ได้นำถุงยังชีพไปให้เป็นหน่วยงานแรกหลังรอคอยมานานนับเดือน

    ส่วนที่อำเภอสามพราน ที่เกิดความขัดแย้งของประชาชนเมื่อวานนี้เมื่อชาวบ้านของหมู่ที่ 7 กับ หมู่ 8 ที่มีการยกพวกตะลุมบอนกัน หลังจากไม่พอใจที่มีการวางท่อระบายน้ำไปยังพื้นที่ ร้อนถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.โพธิ์แก้ว ต้องมาระงับเหตุ แต่เกิดเหตุได้บานปลายจึงต้องประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วทั้งจังหวัด ไประงับเหตุ ขณะนี้เหตุการณ์ได้สงบลงแล้วเนื่องจากน้ำได้เอ่อท่วมขังทั้ง 2 หมู่บ้านเท่าเทียมกัน

    พ.ต.ต.เชิดชัย ป้อชำนิ สว.สส.สภ.โพธิ์แก้ว เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่สายตรวจลงพื้นที่ตรวจสอบความเรียบร้อยเป็นระยะ เพื่อป้องกันความขัดแย้งของชาวบ้าน ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ น่าจะเกิดจากความเครียดที่สะสม แต่ตอนนี้เจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวังไว้ตลอด โดยตอนนี้จะขอประสานไปทางจังหวัดในการสนับสนุนเรือสำหรับตรวจการณ์ทางน้ำให้ กับบ้านเรือนของประชาชน ส่วนทางบกทำเป็นปกติ และประชาชนที่จะเดินทางเข้าออกกรุงเทพฯ ต้องใช้ถนนเพชรเกษมเพราะยังไม่มีน้ำท่วมขัง

    ล่าสุด ขณะนี้ จังหวัดนครปฐม มีพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 578,897 ไร่ สามารถแยกพื้นที่น้ำท่วมเป็นรายอำเภอได้ดังนี้ คือ อำเภอบางเลน จำนวน 323,255 ไร่, อำเภอกำแพงแสน จำนวน 67,366 ไร่, อำเภอนครชัยศรี จำนวน 71,708 ไร่, อำเภอดอนตูม จำนวน 64,975 ไร่, อำเภอพุทธมณฑล จำนวน 33,500 ไร่, อำเภอสามพราน จำนวน 11,243 ไร่ และอำเภอเมืองนครปฐม จำนวน 6,850 ไร่ รวมปริมาณน้ำที่ไหลเข้า จ.นฐ.ทั้งหมด ปริมาณน้ำ 105.87 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 1225.65 ลบ.ม./วินาที แต่น้ำไหลออกจาก จ.นฐ. ที่ อ.นครชัยศรี ปริมาณน้ำค่าเฉลี่ย 54.75 ล้าน ลบ.ม./วัน หรือ 633.69 ลบ.ม./วินาที สรุป ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าในพื้นที่มากกว่าปริมาณน้ำที่ไหลออกจากพื้นที่ จ.นฐ.จำนวน 51.15 ล้าน ลบ.ม./วัน พื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้น 43,935 ไร่

    โดยขณะนี้ประชาชนทุกอำเภอต่างผวากับข่าวที่แพร่สะพัดออกไปว่า ในช่วงเวลา 02.00 น.ของคืนนี้น้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้ง ทำให้ชาวอำเภอนครชัยศรี สามพราน และอำเภอบางเลน รวมถึงอำเภอเมืองนครปฐม ต่างเข้าจับตาข่าวทางสื่อต่างๆ เนื่องจากไม่สามารถรอรับความชัดเจนจากทางจังหวัดได้ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่าง ไรต่อไป

    ทั้งนี้ หลังจากมีการประกาศวันหยุดยังมีข้าราชการบางหน่วยงานได้หยุดงานอย่างต่อ เนื่อง ทั้งๆ ที่สมควรจะมาปฏิบัติหน้าที่ในช่วงวิกฤตในจังหวัด และข้าราชการะดับสูงบางคนได้แจ้งหมายเลขไว้ให้ประสานติดต่อก็ปิดเครื่อง หรือบางรายก็แสดงความไม่พอใจกับสื่อที่โทร.มาสอบถามสถานการณ์น้ำท่วมใน พื้นที่ ทำให้ตอนนี้การสื่อสารถึงความเชื่อมโยงในการช่วยเหลือและแก้ปัญหาติดขัดใน หลายส่วน

    รวมถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบก็ยังมีการนำถุงยังชีพมาเก็บไว้ไม่แจก จ่ายให้แก่ชาวบ้านทั้งๆ ที่มีของมาถึงที่หน่วยงาน แต่ก็ยังไม่แจกจ่ายให้ประชาชนที่เดือดร้อน หรือส่งต่อให้กับพื้นที่ที่เดือดร้อน โดยอ้างว่ารอให้พื้นที่ตนเองท่วมก่อนถึงจะแจกจ่ายเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ของ ยังชีพไม่ถึงมือประชาชน ซึ่งตอนนี้ส่วนใหญ่ได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่มจิตอาสาในการให้ความช่วยเหลือ นำถึงยังชีพส่งถือมือชาวบ้านที่เดือดร้อนในขณะนี้

    -http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000138684-

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    “ปลอด” เตือนฝั่งธนฯ เจอน้ำท่วมหนัก บ้าน “เหลิม” บางบอนไม่รอด <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">31 ตุลาคม 2554 17:26 น.</td></tr></tbody></table>

    “ปลอดประสพ” ชี้ปริมาณน้ำเหนือกว่า 4 พัน ลบ.ม.ค้างด้านเหนือของ กทม. คาดกระจายทั้งฝั่งตะวันออก-ตะวันตก เตือนพื้นที่ฝั่งธนบุรีเจอน้ำท่วมหนักเกือบเต็มพื้นที่ เชื่อบ้าน “เฉลิม” ย่านบางบอนไม่รอด

    วันนี้ (31 ต.ค.) นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีปริมาณน้ำจากภาคเหนือประมาณ 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ตกค้างอยู่บริเวณด้านเหนือของกรุงเทพฯ โดยคาดว่ามวลน้ำดังกล่าวจะกระจายไปด้านตะวันออกและตะวันตกของ กทม. ทั้งนี้พื้นที่ทางทิศเหนือของ กทม.คงต้องเจอกับสภาพน้ำทะลักเข้าท่วมต่อไป เนื่องจากยังคงต้องรับปริมาณน้ำที่มาจาก จ.ปทุมธานี และคลองต่างๆ ส่วนพื้นที่ฝั่งทางตะวันตกของ กทม. จะหนัก เพราะจะได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำของ จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง ดังนั้น ปริมาณน้ำจะไหลแผ่ขยายเป็นวงกว้าง เรียกได้ว่า ประมาณ 80-90% จนเกือบเต็มพื้นที่ของฝั่งธนบุรี

    ทั้งนี้ บ้านพักของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ย่านบางบอน ก็น่าจะถูกน้ำท่วมเช่นกัน จากนั้นน้ำก้อนนี้จะไหลผ่าน จ.สมุทรสาคร แต่จะเป็นไปในลักษณะค่อยๆ ไหล ไม่มีการไหลเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว

    “ตอนนี้มีมวลน้ำเหนือ กทม.ที่ยังตกค้างทั้งสิ้น ประมาณ 4,000 ล้าน ลบ.ม. ประกอบกับคงต้องใช้ระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ ถึงจะระบายน้ำมวลนี้กลับเข้าสู่แม่น้ำสายหลัก จากนั้นจึงลงสู่ทะเลอ่าวไทย สุดท้าย กทม.จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ” นายปลอดประสพกล่าว

    ขณะที่ กทม.ฝั่งตะวันออกปริมาณน้ำทุ่งรังสิตเริ่มคงที่ จึงสามารถตีความได้ 2 อย่าง คือ 1.ปริมาณน้ำที่ไหลมาจากภาคเหนือเริ่มหมดแล้ว 2.การผันน้ำเริ่มไปสู่ทิศตะวันออกของ กทม.มากขึ้น แสดงถึงสัญญาณที่ดี เนื่องจากหากมวลน้ำเริ่มคงที่ ไม่เพิ่มขึ้น จะทำให้แนวป้องกันต่างๆ เช่น บริเวณคลองหกวาสายล่าง คลองสอง ความกดดันจากแรงดันของน้ำจะลดลง จนแนวป้องกันสามารถต้านทานได้ มิเช่นนั้นหากยังมีปริมาณน้ำไหลมาสมทบ อาจจะทำให้แนวเขื่อนป้องกันแตกจนมีปริมาณน้ำมหาศาลไหลเข้าท่วมพื้นที่ของ ประชาชนได้

    ขณะที่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง น่าจะรอดพ้นจากน้ำท่วม เนื่องจากปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่พื้นที่ กทม.เป็นไปในลักษณะค่อยๆ ไหลซึมมาช้าๆ ไม่ใช่ไหลแบบ จ.พระนครศรีอยุธยา


    -http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000138750-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    10 บัญญัติขจัดโรคน้ำท่วม


    หากแม้นคันกั้นน้ำและประตูน้ำคือด่านป้องกันเมืองจากมวลน้ำมหาศาลแล้วไซร้ ตัวท่านก็คือด่านกั้นโรคที่สำคัญที่จะป้องกันมวลเชื้อโรคจำนวนมหาศาลที่จ้อง จะผ่านเข้าสู่ร่างกายไปอยู่ทุกขณะ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ เผย 10 บัญญัติขจัดโรคในช่วงน้ำท่วม

    เริ่มจากบัญญัติข้อแรก 'อย่าเพิ่งตัดเล็บเท้าหรือเล็บมือช่วงน้ำท่วม' รวม ถึงการตะไบเล็บด้วยในกรณีที่ต้องแช่น้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง เพราะจะเป็นการเปิดช่องให้เชื้อน้ำเน่าพากันแห่เข้าเท้าราวกับเป็นศูนย์อพยพ ชั้นดี

    บัญญัติข้อถัดมา 'อย่าให้มีหวัดหรือรีบรักษาภูมิแพ้คัดจมูกให้หาย' ไม่เช่นนั้นมีสิทธิ์กลายเป็นปอดบวม ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างได้ถ้าต้องเปียกติดน้ำอยู่นาน

    ต่อด้วยบัญญัติข้อสาม 'เริ่มเป็นหวัด ให้กินยากันไว้ก่อน' ใช้ยาสามัญอย่าง ยาแก้แพ้คลอเฟนิรามีนก็ได้ครับ ช่วยให้หลับได้แล้วหวัดที่เป็นน้อยอาจหายได้เลยครับ

    บัญญัติข้อสี่ 'เลี่ยงนอนทั้งหัวเปียก' และ เมื่อผมเปียกแล้วต้องสระผม เพราะความเย็นจากศีรษะส่งให้โพรงจมูกเย็นเป็นที่แบ่งตัวดีของไวรัสหวัด ให้สังเกตว่าเรามักเป็นหวัดเมื่อหัวเย็นครับ

    ในบัญญัติข้อห้า 'ลดการนอนเปิดแอร์' บ้านเรามีเด็กติดแอร์เยอะครับ เพราะคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ต้องเปิดแอร์ให้ลูกนอน ตอนน้ำท่วมอากาศชื้นอยู่แล้ว การเปิดแอร์จะทำให้อุณหภูมิศีรษะต่ำลงเป็นที่อาศัยของเชื้อหวัดดีกว่าปกติ

    ตามด้วยข้อหก 'ให้งีบหลับพักผ่อนบ้าง' จะเป็นกลางคืนหรือกลางวันก็ได้ ให้พักกันเข้าไว้ถ้าไม่อยากพลาดข่าวด่วนอาจสลับเวรกันนอนได้ ขอให้คิดว่าจะได้ตื่นมามีแรงสู้ต่อในวันรุ่งขึ้นครับ

    ส่วนบัญญัติประการที่เจ็ด 'งดการกินมากสิ่ง' ยิ่ง กินหลากหลายมากในตอนน้ำท่วมก็ยิ่งเพิ่มสิทธิ์ป่วยมากขึ้น เพราะความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่าง อี.โคไล จากน้ำสกปรกมีมากในช่วงนี้ครับ

    นอกจากนี้ บัญญัติข้อแปดให้ 'พักสมองด้วยการลองพักเสพสื่อน้ำท่วมเป็นระยะ' กำหนดเวลารับข่าวต่อวันเป็นรายชั่วโมง เพื่อลดความเครียดสะสมจากการจมอยู่กับข่าวที่น่าหดหู่

    และข้อเก้า 'ล้างมือล้างเท้าเป็นประจำ' เพราะ เป็นทางด่วนนำเชื้อน้ำท่วมเข้าตัวที่สำคัญ แค่ล้างมือ-เท้าอย่างเดียวยังไม่พอขอให้ซับแห้งทุกครั้ง จะได้ไม่ดูดเชื้อโรคเข้ามาเกาะง่าย

    บัญญัติสุดท้าย 'ล้างปากแปรงลิ้นและแปรงฟันทุกวัน' ไม่ว่าจะติดน้ำนานแค่ไหนเพราะช่องปากเป็นปราการด่านสำคัญที่รับเชื้อเข้าทางเดินอาหาร,เข้าหลอดเลือดและเข้าหัวใจได้

    แต่ที่สำคัญนอกเหนือจากบัญญัติทั้งหมดที่กล่าวมา นพ.กฤษดา เน้นเพิ่มว่า 'อย่าลืมรัก' คือความเมตตาที่มีให้กัน หากมองตากันด้วยสายตาแห่งรักที่คิดว่าจะช่วยอะไรกันได้บ้าง จะเห็นสายน้ำงามได้แม้ในห้วงทุกข์สาหัส.

    -takecareDD@gmail.com-


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=458&contentId=172633-

    .
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ยังไม่ได้ทันได้ใช้ผ้ายันต์ผืนนี้รับมือเลย น้ำไม่มาท่วมแถวนี้ซะละ..อุตส่าห์ yours welcome รอตั้งนาน...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010285.JPG
      P1010285.JPG
      ขนาดไฟล์:
      308.9 KB
      เปิดดู:
      27
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เสนอแผนป้องกันน้ำท่วมทุกมิติ-เดือน พ.ย.‘ภาคใต้’ระวังฝนหนัก


    กรุงเทพฯ ยังไม่คลายจากวิกฤติมหาอุทกภัย ช่วงเดือน พ.ย.เป็นต้นไป ‘ชาวใต้’ ให้ระวัง ‘เผชิญพายุ-ฝนหนัก’ จากลานีญาถี่ อิทธิพลลมมรสุมฯ อาจทำให้หลายจังหวัดในภาคใต้ต้องจมน้ำ พร้อมเสียงจากนักวิชาการถึง ‘มาตรการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบ’
    ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สภาพ การแปรปรวนของภูมิอากาศแบบผกผันในประเทศไทยช่วงปี 2553-2554 นั้น ก่อให้เกิดสภาพฝนไม่ตกตามฤดูกาล อีกทั้งรูปแบบฝนตกได้เปลี่ยนไปจากอดีตค่อนข้างมาก กล่าวคือ ตกครั้งละมาก ๆ บางพื้นที่ฝนตกต่อเนื่องหลายวัน แต่บางครั้งฝนก็ทิ้งช่วงยาวนาน หรือบางพื้นที่ไม่น่าจะมีฝนในบางช่วงเวลากลับตกหนัก ทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยหลายภูมิภาค ด้วยอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และความชื้นมาก ทั้งยังอยู่ในช่วงของปรากฎการณ์ลานีญา ทำให้เกิดร่องความกดอากาศต่ำ และมรสุม ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า สภาพอากาศแบบลานีญาที่พบในประเทศไทยนั้น เกิดถี่มากขึ้น จาก 4.6 ปีจะวนมา 1 ครั้ง แต่ขณะนี้เหลือ 2.6 ปีต่อ 1 ครั้ง

    “สำหรับฤดูฝนของ ภาคใต้ปีนี้ เป็นปีลานีญาที่ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ซึ่งเมฆฝน กลุ่มเมฆ และความชื้นมาก ประกอบกับการศึกษาลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และความชื้น ข้อมูลทางวิชาการบ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอุทกภัยใกล้เคียงกับปี 2543 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเอื้อให้เกิดพายุ และฝนตกหนัก ทั้งนี้ เดือน ต.ค.-ม.ค. เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล จะทำให้ลมมรสุมเกิดความแปรปรวน และอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย โดยเฉพาะเดือน พ.ย.

    สิ่งที่เป็นห่วงคือ
    ปีที่ผ่านมาบางพื้นที่ชั้นดินอุ้มน้ำเยอะ แล้วมีการปริจนเกิดถล่ม แต่บางพื้นที่ยังไม่ถล่ม หากปีนี้ลักษณะฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนหนักถึงหนักมาก เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจึงควรเตรียมพร้อมรับมือ ระวังอันตรายที่อาจเกิดจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม” ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว

    นอกจากนั้น ศ.ดร.ธนวัฒน์ เปิดเผยว่า จาก การศึกษาแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาชั้นนำของโลก พบว่าในอนาคตสภาพความแปรปรวนของภูมิอากาศจะมีความถี่ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคงก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม พายุโซนร้อน พายุฤดูร้อน แผ่นดินถล่ม ไฟป่า และหลุมยุบเกิดขึ้นกับประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบทำได้ยากขึ้น ดังนั้น การแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการองค์ความรู้เป็นสิ่งจำเป็น และต้องพิจารณาข้อมูลให้รอบด้านจากหลายมิติของปัญหาที่ซ้อนทับกัน

    ทั้งนี้ มาตรการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบ สำหรับพื้นที่สำคัญอย่างลุ่มน้ำเจ้าพระยา ศ.ดร.ธนวัฒน์ ได้เสนอคือ 1.ควรเร่งวางแผนแม่บทมาตรฐานการป้องกันน้ำท่วม โดยใช้สิ่งก่อสร้างของประเทศให้เป็นระบบเดียวกัน 2.ควรมีแผนระยะยาวสร้างระบบเส้นทางด่วนระบายน้ำท่วม (super express floodway) 3.ควรมีแผนพัฒนากรุงเทพฯ และเมืองบริวาร 4.ควรมีมาตรการควบคุมการใช้ที่ดิน และผังเมือง โดยใช้แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในการควบคุมปัญหาน้ำท่วมแบบไม่ต้องใช้โครง สร้าง 5.ควรมีมาตรการจัดเก็บภาษีน้ำท่วมทั้งทางตรง ทางอ้อม และการประกันภัยน้ำท่วมทั้งระบบ เพื่อจัดตั้งกองทุนชดเชยน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม

    6.ควรเร่งวางแผนแม่บทกำหนดระยะเวลาการเพาะปลูกในลุ่มน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ ให้สอดคล้องกับการแปรปรวน และการผกผันของสภาพภูมิอากาศของประเทศในอนาคต 7.ควรมีมาตรการควบคุมการใช้น้ำบาดาล เพื่อลดปัญหาแผ่นดินทรุด 8.ควรเร่งปรับปรุงระบบเตือนภัยล่วงหน้า และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำใหม่ทั้งระบบ ให้มีประสิทธิภาพ และทันเวลา และ 9.ควรจัดตั้งหน่วยงานดูแลเรื่องพิบัติภัยทั้งระบบ

    ยามนี้ การรับสารเพื่อตระหนัก พึงระวัง เตรียมป้องกัน ลดความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นจาก “อุทกภัย” อย่างรู้เท่าทัน และพร้อมรับมือ จึงจำเป็น ในขณะที่การสร้างระบบแก้ปัญหาที่ดีจากผู้เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญเช่น กัน.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์




    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=656&contentId=172815-

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    "ริโอ"ทวีตให้กำลังใจคนไทยน้ำท่วม

    [​IMG]


    "ริโอ" น้ำใจงาม "ทวีต" ข้อความให้กำลังใจคนไทยที่ประสบภัยน้ำท่วม บอกขอให้ผ่านไปด้วยดี และฟื้นฟูโดยเร็ว

    ริโอ เฟอร์ดินานด์ ปราการหลังจอมเก๋าของ "ผีแดง" แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แสดงความมีน้ำใจครั้งใหญ่ หลังใช้ทวิตเตอร์ของตนเอง (rioferdy5) ทวีตข้อความให้กำลังใจชาวไทยที่กำลังประสบอุทกภัยครั้งใหญ่อยู่ในขณะนี้ พร้อมทั้งอวยพรให้มหาอุทกภัยครั้งนี้ผ่านพ้นไปโดยเร็ว และให้คนไทยฟื้นฟูบ้านเมืองจากความเสียหายได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
    เฟอร์ดินานด์ อดีตกองหลังกัปตันทีมชาติอังกฤษ ได้ติดตามข่าวสารน้ำท่วมในไทยผ่านทางสถานีโทรทัศน์ของอังกฤษอย่างใกล้ชิดมา ตลอด และได้ทวีตข้อความแสดงความห่วงใด เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมาว่า "ขอให้ทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในกรุงเทพโชคดี หวังว่าพวกคุณจะผ่านพ้นมันไปได้ด้วยดี และฟื้นฟูจากความเสียหายได้โดยเร็ว"

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.html-

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=282&contentID=173170-


    http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=282&contentID=173170


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2011
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    'อีเอ็มบอล'กู้น้ำเน่า


    [​IMG]




    นาทีนี้ชาวกรุงเทพมหานครที่น้ำยังท่วมมาไม่ถึงหน้าบ้านก็ยังต้องคอยลุ้นกับ สถานการณ์แบบวันต่อวัน ขณะที่ชาวกรุงเทพฯ บางส่วนต้องเผชิญกับน้ำท่วมขัง และอีก 21 จังหวัดที่น้ำท่วมมานานร่วม 2 เดือน นอกจากจะต้องกังวลความเสียหายที่เกิดขึ้น แล้วยังต้องเครียดที่ต้องจำทนอยู่กับสภาพน้ำที่เน่าเสียแล้ว....

    ท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้น ทีมคลินิกเทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) เทพสตรี จ.ลพบุรี เล็งเห็นถึงการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียให้แก่คนในชุมชนท้องถิ่น ด้วยการผลิตอีเอ็มบอล (EM ball) หรือจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียและการเกษตร เพื่อปรับสภาพน้ำให้มีความสมดุลและพัฒนาคุณภาพของแหล่งน้ำในเขตชุมชน ป้องกันปัญหามลพิษทางกลิ่น ตลอดจนภัยเกี่ยวกับเชื้อโรคต่าง ๆ รวมถึงไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงซึ่งจะนำโรคติดต่อมาสู่คนได้

    ผศ.ธรณี เพ็ชรเสนา รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มรภ.เทพสตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ รศ.ดร.กวี ศิริโภคาภิรมย์ อธิการบดี มรภ.เทพสตรี ได้อนุมัติงบประมาณ 10,600 บาท สนับสนุนการทำอีเอ็มบอล ชนิดก้อนกลม จำนวน 20,000 ลูก ซึ่งระหว่างนี้อยู่ในขั้นการผลิตโดยนักศึกษาอาสาสมัครพร้อมด้วยชาวบ้านใน ชุมชนที่มาร่วมด้วยช่วยกัน สำหรับอีเอ็มบอลที่ผลิตได้ทั้งหมดนั้นจะส่งมอบให้แก่จังหวัดลพบุรี นำไปแจกจ่ายและดำเนินการหย่อนลงแหล่งน้ำเน่าเสียบริเวณบ้านเรือนประชาชนต่อ ไป

    เพื่อเป็นการวัดประสิทธิภาพของอีเอ็มบอลที่ทำขึ้น ก่อนหน้านี้ทีมงานคลินิกเทคโนโลยีได้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บตัวอย่างแหล่งน้ำ ท่วมขังบริเวณหมู่ 4 ต.ท่าแค ชุมชนวัดสำราญ และชุมชนโพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมีการทดสอบด้วยการหย่อนอีเอ็มบอลลงในแหล่งน้ำดังกล่าว คิดเป็นปริมาตรน้ำในพื้นที่ 10 ตารางเมตรต่ออีเอ็มบอล 1 ลูก จากนั้นจะใช้ระยะเวลา 1 สัปดาห์เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และพืช ซึ่งถูกเพาะอยู่ในลูกอีเอ็มบอลนั้น ทำหน้าที่แปรสภาพน้ำที่เน่าเสียให้กลับมีคุณภาพดีขึ้น

    “สาเหตุที่เราต้องมีการตรวจสอบว่าอีเอ็มบอลที่ใช้กับแหล่งน้ำท่วมขังในแต่ละ พื้นที่ได้ผลมากน้อยแค่ไหน เพราะบางแห่งสภาพน้ำอาจมีความใสอยู่บ้างและบางแห่งอาจไม่มีเลย รวมถึงบางจุดมีน้ำท่วมขังสูงและตื้นไม่เท่ากัน ซึ่งทั้งหมดจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีอีเอ็มบอลสามารถลดปัญหาน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นได้ในระดับ หนึ่งอยู่แล้ว แต่หากผลการทดสอบดังกล่าวออกมาก็จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจ เนื่องจากมีข้อมูลสำหรับการจัดการกับแหล่งน้ำเน่าเสียในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างได้ผลต่อไป” ผศ.ธรณี กล่าว

    สำหรับส่วนผสมอีเอ็มบอลสูตรของ มรภ.เทพสตรี “ผจก.คลินิกฯ” แจงว่า การทำอีเอ็มบอลในแต่ละท้องที่นั้น ไม่ได้มีกรรมวิธีแตกต่างกันมากนัก โดยส่วนประกอบและกระบวนการผลิต ได้แก่ การนำรำข้าวละเอียด ทราย และดินร่วน มาผสมรวมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน อย่างละ 1 กิโลกรัม จากนั้นให้นำภาชนะบรรจุสำหรับส่วนผสมกากน้ำตาล 4 ช้อนโต๊ะ (60 ซีซี) หัวเชื้ออีเอ็ม 2 ช้อนโต๊ะ (30 ซีซี) นำมารวมกันแล้วละลายด้วยน้ำกรองที่ปราศจากสารคลอรีน ปริมาตร 500 ซีซี จากนั้นจึงนำไปคลุกเคล้ากับส่วนผสมแรกเพื่อปั้นเป็นลูกบอลขนาดเท่ากำมือ หรือคิดเป็นน้ำหนักประมาณ 63 กรัม

    ทั้งนี้ในส่วนที่ต้องสังเกตให้ดีคือเรื่องของน้ำ ซึ่งหากใช้น้ำประปาจะทำให้มีคลอรีนผสมกลายเป็นตัวฆ่าจุลินทรีย์ที่มี ประโยชน์ ทำให้อีเอ็มบอลหมดประสิทธิภาพ นอกจากนี้ดินร่วนที่นำมาเป็นส่วนผสมหากเป็นดินที่มีคุณภาพดี จุลินทรีย์เยอะก็จะยิ่งทำให้อีเอ็มบอลใช้งานได้อย่างดียิ่งขึ้นด้วย และเมื่อปั้นส่วนผสมเสร็จเรียบร้อยให้ทิ้งไว้นาน 5-15 วัน ก่อนบรรจุใส่ถุง จากนั้นจะสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน 4-5 เดือน

    หมู่บ้านใดที่ประสบกับภาวะน้ำท่วมขังเน่าเสีย สามารถติดต่อปรึกษาและขอความรู้ในการแก้ปัญหาได้ที่ คลินิกเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.เทพสตรี โทร. 0-3642-7485-93 และหากชุมชนใดประสงค์จะให้วิทยากรลงพื้นที่ผลิตอีเอ็มบอลเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะ หน้าทันทีก็สามารถแจ้งได้ เพราะทางมหาวิทยาลัยมีวัตถุดิบสนับสนุนการผลิต อาทิ รำข้าวละเอียดและหัวเชื้ออีเอ็ม พร้อมกันนี้ อาจารย์ มรภ.เทพสตรี ยังฝากเตือนสำหรับประชาชนที่ลองทำใช้เองให้ระมัดระวังเรื่องความสะอาด ควรล้างมือทุกครั้งเพื่อไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกาย แม้จะไม่เป็นอันตรายแต่ปลอดภัยไว้ก่อนเป็นดี.



    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=651&contentID=172960-

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ชาวนราฯเหยียบกับระเบิดในสวนยางเจ็บ1


    [​IMG]

    คนร้ายลอบวางระเบิดในสวนยางพารา ประชาชน เจ็บ 1 ราย ใน อ.แว้ง จ.นราธิวาส พร้อมเขียนป้ายผ้าตุลาแห่งตากใบคนไทยต้องชดใช้


    เกิดเหตุคนร้ายลอบฝังระเบิดแบบเหยียบ ไว้ ในป่าสวนยางพารา บ้านน้ำขาว หมู่ 3 ต.กายูคละ อ.แว้ง จ.นราธิวาส ทำให้ชาวบ้านเหยียบกับระเบิดขาขาด 1 ราย คือ นายสุรพงศ์ สุวรรณโน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอำเภอแว้ง โดยพฤติกรรมของคนร้ายได้ตัดต้นไม้ขวางถนน พร้อมกับเขียนป้ายผ้า มีข้อความว่าตุลาแห่งตากใบคนไทยต้องชดใช้ด้วยชีวิต พร้อมทั้งคนร้ายยังได้ฝังระเบิดแบบตัดเหยียบไว้โดยรอบ ต่อมาได้มีชาวบ้านเข้าไปมุงดูเหตุการณ์ ได้เหยียบกับระเบิดเข้าจนเกิดระเบิดขึ้น ทำให้ได้รับบาดเจ็บดังกล่าว


    เมื่อ เวลา 06.30 น. วันนี้ ( 31 ตุลาคม 54 ) จนท.ตำรวจ สภ.แว้ง ได้รับแจ้งเกิดเหตุ คนร้ายลอบฝังระเบิดชนิดแบบเหยียบไว้ ในป่าสวนยางพารา ริมถนนสายบ้านกายูคละ- ยะกา บ้านน้ำขาว หมู่ 3 ต.กายูคละ อ.แว้ง จ.นราธิวาส ทำให้ชาวบ้านเดินเข้าไปเก็บขี้ยางในช่วงเช้า เหยียบกับระเบิดที่คนร้ายมาฝั่งไว้ ข้อเท้าขาขาด 1 ราย ทราบชื่อต่อมา นายสุรพงศ์ ศรีสุวรรโณ อายุ 39 ปี ชาวบ้านช่วยกันนำตัวส่งโรงพยาบาลอำเภอแว้ง ก่อนที่แพทย์ได้ทำการรักษา เบื้องต้น ส่งตัวต่อไปยังโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก โดยจากการสอบสวนของ เจ้าหน้าที่ทราบว่า ช่วงคืนที่ผ่านมา คนร้ายได้มีการโค่นต้นยาง ขวางถนน และโปรยตะปูเรือใบ พร้อมขึงป้ายผ้า ข้อความ ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งมีข้อความกล่าวว่า "ตุลาแห่งตากใบ ตราบใดผู้บงการฆ่าคนมลายู ยังครองอำนาจรัฐอยู่ ตราบนี้ชีวิตพี่น้องไทยพุทธต้องชดใช้" ทาง เจ้าหน้าที่ ได้มีการปิดล้อมพื้นที่ เพราะเกรงว่า จะมีระเบิดของคนร้าย เพราะประสาน เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด เข้าตรวจสอบ ในครั้งนี้


    จุด ที่2 เวลา 10. 10 น. วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งคนร้ายนำป้ายผ้าข้อความเดียวกันแขวงอยู่บนต้นไม้ในป่า ปากทางเข้าบ้านทำนบ หมู่ 5 ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส โดยใต้โคนต้นไม้พบระเบิดแบบกับเหยียบฝังอยู่ 1 ลูก จึงได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด ต่อมา เรือเอก ชานน เวชกามา หัวหน้า ชุดเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด (EOD.)ชุด1 หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือ นำกำลังเจ้าหน้าที่ทหารเข้าทำการกู้ระเบิดใช้เวลาประมาณ 15 นาที จึงสามารถเก็บกู้ไว้ได้อย่างปลอดภัยจากการตรวจสอบพบว่าเป็นระเบิดแบบกับ เหยียบบรรจุอยู่ในท่อ พีวีซีสีน้ำเงินเข้ม ขนาด1นิ้ว ประกอบระเบิดแบบพร้อมเหยียบ น้ำหนักประมาณ ครึ่งกิโลกรัม จึงได้นำกลับไปตรวจ ดีเอ็มเอ ของกลุ่มคนร้ายต่อไป


    ต่อมาในเวลา ไล่เลี่ยกันนายมูฮัมหมัดปาสุดี อีซอสาหะ อายุ 16 ปี และ ด.ช.รุสลัน ยูโซ๊ะ อายุ 10 ปี ได้เดินเข้าไปเพื่อช่วยบิดาและมารดาเก็บขี้ยางพาราภายในสวนซึ่งตั้งอยู่บ้าน คอลอกาเว ม.1 ต.ศรีสาคร อ.ศรีสาคร นายมูฮัมหมัดปาสุดี ได้เดินไปเหยียบกับระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ไว้ในท่อ พีวีซี. หนัก 1 กิโลกรัม ที่คนร้ายแฝงนำไปฝังไว้บริเวณทางเดินภายในสวนยางพารา จนทำให้นายมูฮัมหมัดปาสุดี ข้อเท้าซ้ายขาด ส่วน ด.ช.รุสลัน ถูกสะเก็ดระเบิดได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยที่บริเวณลำตัวและขาทั้ง 2 ข้าง



    โจรใต้บึ้มริมถนนยะลา ตำรวจเจ็บ 3
    ได้ เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดไว้ริมถนนสาย 410 ยะลา -- เบตง บริเวณช่วงบ้านป่าหวัง ม.11 ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา เพื่อหวังทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บันนังสตา ขณะขับรถยนต์สายตรวจผ่านมา ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 3 นาย ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอำเภอบันนังสตา และได้ทยอยส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ในที่เกิดเหตุนอกจากรถยนต์สายตรวจตราโล่ ถูกสะเก็ดระเบิดได้รับความเสียหายแล้ว ยังมีรถยนต์สิบล้อบรรทุกดินของบริษัทอัครพันธ์ ก่อสร้าง ถูกสะเก็ดระเบิดจนยางล้อหลังแตก
    ทั้งสองเส้น และจากการตรวจสอบพบว่า คนร้ายได้นำระเบิดน้ำหนักประมาณ 5 -- 10 กิโลกรัม ใส่ในถุงปุ๋ยไปวางตั้งไว้ที่เสาปูนริมถนน เมื่อเห็นรถยนต์สายตรวจผ่านมา จึงได้กดชนวนระเบิด ด้วยวิทยุสื่อสาร และเกิดระเบิดขึ้น ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บดังกล่าว



    พบระเบิดแสวงเครื่องโชคดีเก็บกู้ทำลายทัน
    ศูนย์วิทยุ สภ.จะกว๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า ที่บริเวณศาลาริมทาง ม.1 ต.ตะโล๊ะหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา
    ว่า พบวัตถุต้องสงสัยวางอยู่บริเวณศาลาที่พักริมทาง หลังรับแจ้งจึงได้นำกำลังเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมปิดกั้นพื้นที่ เพื่อไม่ให้ประชาชนและรถสัญจรไปมา เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเก็บกู้ระเบิดจากกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ยะลา เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ หลังจากการตรวจสอบ ก็พบว่าเป็นระเบิดชนิดแสวงเครื่อง จึงได้ยิงทำลาย ในเบื้องต้นเชื่อว่า เป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ ที่ต้องการสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

    Link : http://www.innnews.co.th/ชาวนราฯเหยียบกับระเบิดในสวนยางเจ็บ1--317989_06.html

    -http://www.innnews.co.th/%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A3-%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94--317989_06.html-

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เสี่ยงฆ่าตัวเกือบพัน-ผ่อนชำระค่าไฟได้

    สธ.ระดมทีมแพทย์จาก ตจว. เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจุดวิกฤติใน กทม. นนทบุรี ปทุมธานี ยอดผู้ป่วยสะสม 948,618 พบเสี่ยงฆ่าตัวตายเกือบพัน กฟภ.ช่วยผ่อนชำระค่าไฟได้ 3 เดือน ดีเอสไอเล็งประสานยีเอ็มซี-รถบัสขนขรก.ทำงาน "บีโอไอ"ออกมาตรการพิเศษช่วยโรงงาน ศูนย์นครนายกยังได้กว่า2พันคน

    31ต.ค.2554 นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่าได้สั่งทีมแพทย์เคลื่อนที่จากต่างจังหวัด 38 ทีม พร้อมให้บริการประชาชน กทม,นนทบุรีและปทุมธานี ด้านนพ.ไพจิตร วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวขณะนี้ได้ย้ายผู้ป่วยหนักที่อาการคงที่รวม 395 นาย ส่วนผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ มียอดผู้ป่วยสะสม 948,618 ราย โดยโรคน้ำกัดเท้า มาเป็นอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 70 ของผู้ป่วย ส่วนการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตทุกพื้นที่ พบผู้ป่วยเครียด 108,382 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยเครียดระดับสูง 5,459 ราย ซึมเศร้า 6,516 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 956 ราย ต้องติดตามดูแลใกล้ชิด 1,505 ราย โดยจะต้องรักษาด้วยยา 4,687 ราย

    น้ำท่วมผ่อนชำระค่าไฟได้3เดือน

    นายณรงค์ศักดิ์ กำมเลศ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมในส่วนของกฟภ. ว่ากฟภ.มีมาตรการช่วยเหลือโดยผู้ประสบภัยสามารถผ่อนชำระค่าไฟฟ้าได้ 3 เดือน

    เมื่อได้รับบิลค่าไฟฟ้าแล้ว สามารถไปที่สำนักงานการไฟฟ้า และแจ้งเจ้าหน้าที่ว่า เป็นผู้ประสบภัย ขอผ่อนชำระค่าไฟฟ้าได้ ซึ่งได้เริ่มผ่อนผันมาตั้งแต่เริ่มน้ำท่วมในหลายจังหวัดก่อนหน้านี้ โดยไม่ใช่การลดค่าไฟฟ้า แต่สามารถเลือกได้ว่า จะขอจ่ายหลังประสบอุทกภัยไป 3 เดือน เช่น ประสบเหตุเดือนก.ย. ก็ผ่อนผันไปจ่ายได้เดือนธ.ค. หรือผ่อนจ่ายรายเดือนได้ 3 งวด กฟภ.ไม่มีนโยบายจะเลิกจ่ายไฟฟ้า เพราะประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้


    ดีเอสไอเล็งประสานยีเอ็มซี-รถบัสขนขรก.ทำงาน


    นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังประสานรถบรรทุกทหารหรือรถบัสขนาดใหญ่เพื่อเป็นพาหนะในการรับส่ง ข้าราชการมาทำงานในวันที่ 1พ.ย. เนื่องจากบนถนนแจ้งวัฒนะมีน้ำท่วมสูงกว่า 70 ซ.ม. เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ ทั้งนี้บริเวณด้านหน้าอาคารดีเอสไอเริ่มถูกน้ำท่วมขัง ดังนั้นจะย้ายไปทำงานในสำนักงานซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 8 ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะอาคารบี และจะนัดประชุมผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญคดีพิเศษ และหัวหน้ากลุ่มงานคดี เพื่อวางแผนการสอบสวนคดีในช่วงน้ำท่วม เนื่องจากอาจมีสำนวนคดีระหว่างการสอบสวนที่ครบกำหนดผัดฟ้องฝากขัง

    สำหรับข้าราชการที่บ้านถูกน้ำท่วมเสียหาย ตนอนุญาตให้หยุดงานโดยไม่ถือเป็นวันลา ส่วนพนักงานสอบสวนที่มีสำนวนการสอบสวนค้างการพิจารณาอยู่ จะเร่งประชุมเพื่อวางแผนการทำงานเพื่อไม่ให้กระทบต่อรูปคดี


    "บีโอไอ"ออกมาตรการพิเศษช่วยโรงงานถูกน้ำท่วม


    นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ แจ้งว่า มีมาตรการยกเว้นเครื่องจักรใหม่ที่จะนำมาทดแทนเครื่องจักรที่เสียหายจากภัยน้ำท่วม และ ยังได้ ออกมาตรการเป็นกรณีพิเศษเรื่องวีซ่าและใบอนุญาตการทำงานให้กับบริษัทได้รับ การส่งเสริมการลงทุน และได้เป็นสื่อการประสานงานหาพื้นที่สำหรับโรงงาน หรือคลังสินค้าชั่วคราว เช่นพื้นที่ อ.บางฉาง จ.ระยอง ติดต่อ 038-687067 ถึง 71 ที่แหลมฉบัง จ.ชลบุรี 038-953000 พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเวลโกล์ว จ.ฉะเชิงเทรา โทร 038-571700 ถึง 2


    นายอำเภอลาดหลุมแก้วตรวจเยี่ยมและมอบถุงยังชีพ

    นายนรินทร์ วรรณมหินทร์ นาย อำเภอลาดหลุมแก้ว พร้อมด้วยคณะได้ออกตรวจเยี่ยมและมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบอุทกภัยใน พื้นที่ 7 ตำบลของอำเภอลาดหลุมแก้ว ประกอบด้วย ตำบลหน้าไม้ บ่อเงิน ลาดหลุมแก้ว ระแหง คูบางหลวง คูขวางและคลองพระอุดม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งทำให้ประชาชนมีขวัญและกำลังใจและมีความสุขที่นายอำเภอลาดหลุมแก้วมา เยี่ยมและมอบถุงยังชีพ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าทางราชการไม่ทอดทิ้งประชาชนให้ได้รับความยากลำบาก จากอุทกภัยตามลำพัง

    ขณะเดียวกันทางคณะหมอและพยาบาลจากโรงพยาบาลลาดหลุมแก้วยังได้ออกหน่วยแพทย์ เคลื่อนที่ตรวจรักษา และแจกจ่ายยาสามัญประจำบ้านที่จำเป็นให้แก่ประชาชนอีกด้วย เพราะในภาวะ น้ำ ท่วมเช่นนี้ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ซึ่งทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บด้วยโรคที่ตามมากับน้ำท่วมโดยเฉพาะ โรคเท้าเปื่อย ท้องเสีย โรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ได้

    นายกเทศบาลตำบลธัญบุรีวอนรัฐช่วยจัดอาหารให้ชาวบ้านด่วน

    นายธีรวัฒน์ หลีนวรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลธัญบุรี อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เปิดเผยว่าเนื่องด้วยขณะนี้ปริมาณจากคลองระพีพัฒน์ได้ไหลบ่าเข้าท้วมพื้นที่ ในเขตเทศบาลตำบลธัญบุรี 100% แล้วประชากรที่อพยพไปแล้วจำนวนร่วมสามหมื่นคนยังเหลือที่ไม่ยอมย้ายไปไหนอีก ประมาณสามหมื่นกว่าคนเนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินภายในบ้าน จึงเป็นปัญหาเกิดขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องเครื่องอุปโภคและบริโภคอย่าง เช่นน้ำดื่มอาหารแห้งที่ตอนนี้ประชาชนต้องการเป็นอย่างมากเนื่องจากน้ำท้วม ขังเป็นเวลานานประกอบกับสิ่งของที่ชาวบ้านหาซื่อตุนเอาไว้เริ่มหมดแล้ว จึงอยากจะวอนให้หน่วยงานภาครัฐเร่งเข้ามาช่วยเหลือประชาชนจำนวนมากแห่งนี้ โดยด่วน


    ศูนย์รับผู้ประสบภัยน้ำท่วมนครนายกยังว่างรับได้กว่า2พันคน


    นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดนครนายกได้จัดเตรียมสถาน ที่รองรับผู้พักพิงจำนวน 9 แห่งนั้น บัดนี้ทางจังหวัดได้เพิ่มสถานที่รองรับผู้พักพิงขึ้นอีก 1 แห่ง คือที่ศูนย์พัฒนาชุมชน ต.สาริกา รวมเป็น 10 แห่ง ขณะนี้มีผู้พักพิงมาอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดนครนายก จำนวน 1,870 คน แยกเป็นที่ ศูนย์ข้อมูลองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก ตำบลคลองใหญ่ อำเภอองครักษ์ จำนวน 192 คน อพยพมาจากจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์โรงเรียนนายร้อย จปร. ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก จำนวน 832 คน

    อพยพมาจากรังสิต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ศูนย์วัดประสิทธิเวช ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์จำนวน 330 คน อพยพมาจากเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีคลอง 6 ศูนย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์ จำนวน 270 คน อพยพมาจากจังหวัดปทุมธานี ศูนย์พัฒนาชุมชน ตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก จำนวน 57 คน อพยพมาจากจังหวัดกรุงเทพมหานคร ศูนย์สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ 189 คน ศูนย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 270 คน ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดนครนายกอีกหลายแห่งยัง ว่างอยู่ ยืนยันว่าเราสามารถรองรับผู้พักพิงได้อีก 2-3 พันคนและสามารถให้การดูแลได้จนกว่าระดับน้ำจะลดลงหรือสถานการณ์เข้าสู่ปกติ

    ทางด้านนางจรัส ใยเยื่อ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครนายก เปิดเผยว่า ได้ตรวจสอบเส้นทางน้ำคลอง 14 มีผักตบชวาขวางกั้นการไหลของน้ำ จึงประสานองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายกขอเครื่องจักรและกำลังคนเข้ากำจัด ผักตบชวา ส่งผลให้การไหลของน้ำเป็นไปตามปกติโดยน้ำไหลลงสู่ลุ่มแม่น้ำบางปะกงได้อย่าง มีประสิทธิภาพส่งผลให้ระดับน้ำท่วมขังในเขตจังหวัดนครนายก มีระดับลดลงอย่างน่าพอใจ ขอฝากประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสบอุทกภัยทั้งหลายที่ยังไม่มีที่พักอาศัยสามารถ มาอยู่อาศัยในศูนย์พักพิงฯที่จังหวัดนครนายกได้ ซึ่งผู้ประสบอุทกภัยสามารถเดินทางมาติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนครนายก ตำบลคลองใหญ่ อำเภอองครักษ์ ตรงข้าม มศว.องครักษ์ หรือโทรศัพท์ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ 037-316136-7สายด่วน 1784


    -http://www.komchadluek.net/detail/20111031/113530/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.html-



    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...