พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เตือนภัยจอดรถหนีน้ำ ระวังโดนทุบ




    [​IMG]

    [​IMG]
    รูปจากสถานการณ์จริง แต่ไม่ใช่รถคุณพงษ์ชัยในเนื้อหาข่าว

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก คุณ HoratiNo Ciane

    เตือนประชาชนเอารถจอดบนสะพาน หมั่นไปดูแลสม่ำเสมอ หวั่นผู้ไม่หวังดีขโมยรถ-ทุบกระจกลักทรัพย์สิน

    ในภาวะที่หลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทยกำลังเดือดร้อนและต้องประสบกับภัยพิบัติน้ำท่วม ทำให้ประชาชนหลายต่อหลายคนเป็นกังวลกับภัยน้ำที่อาจจะเข้าจู่โจมยานพาหนะคู่ใจ จึงนำรถไปจอดตามที่สูง เช่น ทางด่วน ทางยกระดับ สะพาน ไม่เว้นแม้แต่สะพานข้ามคลองเล็ก ๆ ที่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะพ้นวิกฤติครั้งนี้หรือไม่... อย่างไรก็ตาม นอกจากประชาชนที่มีรถจะกังวลกลัวว่าจะถูกน้ำท่วม ยังต้องมาระวังและเดือดร้อนจากกลุ่มมิจฉาชีพที่อาศัยช่วงชุลมุนเข้ามาขโมยรถ หรือมายกรถของคนอื่นไปดื้อ ๆ หรืออาจจะทุบกระจกรถเข้าไปขโมยทรัพย์สินภายในรถไป

    ยกตัวอย่างเช่น คุณพงษ์ชัย แซ่ตั้ง ที่แม้ว่าจะนอนเฝ้ารถมาตลอดตั้งแต่นำมาจอดไว้บนสะพานต่างระดับมุ่งหน้าขึ้นทางด่วนประชาชื่น ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี เพียงแค่คลาดสายตาประเดี๋ยวเดียวที่คุณพงษ์ชัยและภรรยา เดินลงจากสะพานเพื่อไปทำธุระส่วนตัวและซื้อเสบียงยังชีพที่ปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ซึ่งอยู่ห่างจากที่จอดรถเพียง 500 เมตร เมื่อกลับมาที่รถอีกครั้งก็พบว่ารถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นซีอาร์วี สีขาวสุดรัก ได้โดนมิจฉาชีพตัวแสบได้จัดการทุบกระจกรถหลังด้านซ้ายจนแตก และได้หยิบเอากระเป๋าสะพายของภรรยา ซึ่งภายในมีมีเงินสดจำนวน 50,000 บาท, โทรศัพท์ 1 เครื่อง, เอกสารและกุญแจบ้าน หายไปอย่างลอยนวล ซึ่งทางคุณพงษ์ชัย ได้ไปแจ้งความไว้ที่ สภ.เมืองนนทบุรี สาขารัตนาธิเบศร์แล้ว

    จากกรณีดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจหลาย ๆ นาย เคยได้ออกโรงเตือนมาแล้วว่า หากนำรถไปจอดหนีน้ำท่วมแล้ว ก็อย่าอพยพหนีหายจนลืมมาตรวจตราทรัพย์สินของตัวเอง เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่ารถของเราจะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเมื่อไร อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะมาตรวจตราให้นั้น ก็ไม่เพียงพอที่จะดูแลได้อย่างทั่วถึงครบทุกจุด จึงขอให้ประชาชนทุกคนคอยเฝ้าระมัดระวังทรัพย์สินของตัวเองไว้ด้วยเพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้น





    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก มติชนออนไลน์

    [​IMG]



    -http://hilight.kapook.com/view/64048-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    4 ขั้นตอนลดความเครียด รับมือกับภาวะน้ำท่วม


    เผยเคล็ดง่ายสี่ขั้นตอนลดความเครียดรับมือกับภาวะน้ำท่วม (กรมควบคุมโรค)

    นางจิตติมา ศรศาสตร์ปรีชา นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ กลุ่มพัฒนาวิชาการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทั้งที่ท่วมมานานหลายเดือนและน้ำลดแล้ว พบว่ามีผู้ประสบภัยที่มีภาวะความเครียดเพิ่มมากขึ้นจำนวนมาก เพราะผู้ประสบภัยน้ำท่วมต้องเผชิญปัญหาหลายด้านพร้อม ๆ กัน เช่น ความไม่สะดวกในการดำรงชีวิต ความเสียหายของบ้าน รถยนต์ และทรัพย์สินเงินทอง พื้นที่ทำการเกษตร มีภาระหนี้สิน หรือบางคนเกิดการเจ็บป่วย สูญเสียญาติพี่น้อง ทำให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรง วิตกกังวล และอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้ สำหรับอาการที่พบได้ในผู้ที่มีอาการเครียดคือ ปวดศีรษะ กระวนกระวาย ไม่ค่อยมีสมาธิ หลง ๆ ลืม ๆ บางรายอาจมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย

    นางจิตติมา กล่าวต่อว่า สถานการณ์น้ำท่วมเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นประชาชนผู้ประสบภัยควรได้มีแนวทางฟื้นฟูสุขภาพจิตใจที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม โดยมีคำแนะนำดังนี้

    [​IMG] 1) ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ทำความเข้าใจและยอมรับ ว่าภัยพิบัติไม่ได้เกิดกับเราคนเดียว แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก เราไม่ใช่เป็นผู้เคราะห์ร้ายอยู่คนเดียว ยังมีเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกจำนวนมาก อาจจะต้องใช้เวลาบ้างในการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น "ท้อแท้ได้ แต่อย่านาน และต้องลุกขึ้นเดินต่อ"

    [​IMG] 2) จัดลำดับความสำคัญของปัญหา พยายามนั่งพักให้จิตใจสงบนิ่ง แล้วรวบรวมสติมองปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เช่น แก้ปัญหาเฉพาะหน้า การอยู่ การกิน การนอน เรื่องการขับถ่าย การป้องกันโรคและสัตว์มีพิษ เป็นต้น

    [​IMG] 3) พยายามใช้ชีวิตเรียบง่าย ผู้ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมต้องปรับวิธีคิด และปล่อยวางเรื่องทรัพย์สินสิ่งของนอกกาย อนาคตยังมีโอกาสหาใหม่ได้ พยายามใช้ชีวิตเรียบง่ายเพื่อลดความรู้สึกเครียดลงบ้าง บางคนห่วงทรัพย์สินจนไม่ยอมอพยพ ควรมีการชั่งน้ำหนักข้อดีและเสีย "ชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด ชีวิตเรามีค่าสำหรับคนที่คุณรักและคนที่รักคุณ"

    [​IMG] 4) เอาใจใส่ ดูแลกันและกัน คนที่แข็งแรงกว่าต้องช่วยคนที่อ่อนแอ ต้องคอยให้กำลังใจกับคนที่รู้สึกหมดแรง ท้อแท้ ได้ระบายความรู้สึกแล้วก็ให้กำลังใจกัน

    สำหรับบางคนอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราจะต้องผ่านเหตุการณ์ภัยธรรมชาตินี้ไปให้ได้ ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งหลัก ตั้งสติให้ได้ แล้วลุกขึ้นเดินต่อ ร่วมมือร่วมใจกัน เป็นกำลังใจให้กัน เพื่อฟันฝ่าวิกฤตไปให้ได้ ดังนั้นขอให้ผู้ประสบภัยทุกคนมีความหวัง ให้เวลาเยียวยาจิตใจ ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องดีขึ้นแน่นอน ในส่วนของการเยียวยาจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยนั้นต้องทำควบคู่กันไปทั้งในส่วนของภาครัฐ สังคมรอบข้าง และที่สำคัญคือตัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบเอง

    นอกจากเยียวยาจิตใจแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ การดูแลสุขภาพร่างกายช่วงน้ำท่วมให้ปลอดภัยจากโรคและภัยสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด อุจจาระร่วง ตาแดง ไข้เลือดออก ไข้ฉี่หนู ฯลฯ หากประชาชนมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปตรวจรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หรือกรณีฉุกเฉินสามารถโทรติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เบอร์ 1669


    -http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/news/tv/2554_10_21_psyco.html-

    -http://health.kapook.com/view32572.html-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    [FONT=Tahoma,]คู่มือรับวิกฤตอุทกภัย การปฏิบัติตัวหลังน้ำลด
    [/FONT]

    [FONT=Tahoma,][​IMG][/FONT]

    [FONT=Tahoma,]วิกฤตอุทกภัยหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ไล่มาตั้งแต่ภาคเหนือ อีสาน กลาง และคาดว่าจะไล่ลุกลามเข้าสู่ภาคใต้ด้วยอิทธิพลของพายุต่างๆ

    คน ไทยต้องตั้งรับ รับมือ สู้กับมหาภัยน้ำท่วมครั้งนี้อย่างไร ข้อมูลจาก "คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม" ซึ่งจัดทำโดยหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความรู้เอาไว้ดังนี้

    เหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในรอบหลายปี ที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่น้ำท่วม โดยทางรัฐและหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบต้องกระทำการป้องกันและ ฟื้นฟู ระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญก่อน อาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนได้อย่างทันที ดังนั้น ประชา ชนจึงควรมีความพร้อมในการเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วมเพื่อป้องกัน และบรรเทาภัยที่จะเกิดขึ้นได้

    l การเตรียมการก่อนน้ำท่วม

    การ ป้องกันตัวเองและความเสียหายจากน้ำท่วม ควรเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหากรอให้เตือนภัยเวลามักไม่เพียงพอ รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ สอบถามหน่วยงานที่มีการจัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามดังต่อไปนี้

    - ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปี เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไร

    - เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่

    - เราจะได้รับการเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่

    - เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร

    - ถนนเส้นใดบ้างในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง

    l การทำแผนรับมือน้ำท่วม

    การ จัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัยเดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคำแนะนำที่กล่าว มา พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คนเร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งที่สำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย

    l ถ้าคุณมีเวลาเล็กน้อยหลังการเตือนภัย สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน คือ

    - หาทางรับสัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน และข้อมูลจากสถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์

    - จัดทำรายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลงโดยสถานที่แรกให้อยู่ ใกล้บริเวณบ้านและอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึงระดับการเตือนภัย น้ำท่วม

    l สิ่งที่ควรทำหลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม

    1.ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าว

    2.ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฏิบัติดังนี้

    - ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

    - อย่าพยายามนำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด

    - อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณน้ำหลาก

    3.ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว

    4.ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม

    5.ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง ควรปฏิบัติดังนี้

    - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊สถ้าจำเป็น

    - อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน

    - ปิดพื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน

    - ล็อกประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง

    - ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน

    6.หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึง แต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน

    - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน

    - ปิดแก๊สหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก๊ส

    - เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน

    - ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถึงบ้าน

    l น้ำท่วมฉับพลันคือ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำ หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย

    - ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที

    - ออกจากรถและที่อยู่ คิดอย่างเดียวว่าต้องหนี

    - อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม

    l ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน

    - ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล

    มี ผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมา ความสูงของน้ำแค่ 15 ซ.ม. ก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้น ถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับน้ำก่อน ทุกครั้ง

    - ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม

    การขับรถใน พื้นที่ที่น้ำท่วมมีความเสี่ยงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไปเพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 ซ.ม. พัดรถยนต์ จักรยานยนต์ให้ลอยได้

    - ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟ

    กระแส ไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิต เนื่องจากไฟดูดมากกว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    l หลังน้ำท่วมผ่านพ้น

    3 ขั้นตอนที่ควรทำในวันแรกๆ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม

    ขั้นตอนที่ 1 : เอาใจใส่ตัวเอง

    หลัง ผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบ ครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลากลับสู่ภาวะปกติ อย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมนั้นอาคารบ้านเรือน ได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลตัวเองและครอบครัว พร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับมาเหมือนเดิม อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด รวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้ายและปัญหาทางกาย โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

    1.ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยียวยารักษาได้ดี

    2.พูดคุยปัญหากับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวลจะช่วยให้ได้ระบายและผ่อนคลายความเครียด

    3.พักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ

    4.จัดลำดับสิ่งที่จำเป็น ต้องทำตามลำดับก่อนหลังและค่อยๆ ทำ

    5.ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนที่จะรับมือได้

    6.ดูแล เด็กๆ ให้ดี และโปรดเข้าใจเด็กมีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแปลกๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรือเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กเพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต

    7.ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่เคยน้ำท่วม

    ขั้นตอนที่ 2 : การจัดการดูแลบ้านของคุณ

    ที่ ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วม ส่วนใหญ่เกิดจากถูกไฟดูด หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากน้ำลด สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1.ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์

    2.ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่างๆ

    3.เดิน ตรวจตรารอบๆ บ้าน และเช็กสายไฟฟ้า สายถังแก๊ส ถ้าหากเกิดแก๊สรั่วจะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก๊สให้ระวังและรีบโทร.แจ้งร้าน ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย

    4.ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย

    5.ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน

    6.ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท หากได้กลิ่นแก๊สรั่วไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น

    7.เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง และอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ

    8.ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)

    9.เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ

    10.เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ และตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่างๆ

    11.ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย

    12.เก็บกวาดกิ่งไม้ หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน

    13.ตรวจ หารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำ ถ้าพบให้ปิดวาล์วตรงมิเตอร์น้ำ ไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยน้ำจากก๊อกน้ำ จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย

    14.ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้าๆ เนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนัง หรือพื้นห้องใต้ดิน

    15.กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำ เนื่องจากเชื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน

    l การรับมือเหตุน้ำท่วมครั้งต่อไป

    1.คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม

    2.ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการอพยพ

    3.เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด จากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย

    4.เตรียมเครื่องมือรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉินแหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอรี่สำรอง

    5.ผู้ คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และควรทราบแหล่งวัตถุที่จะนำมาใช้

    6.นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ ซึ่งน้ำท่วมไม�ถึง

    7.ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับการประกันความเสียหาย

    8.บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินและเก็บไว้ตามที่จำง่าย

    9.รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ ภายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง

    10.ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวิดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน

    11.เก็บ บันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างไกลจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์

    12.ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สังเกตได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ

    13.ถ้า คุณคือพ่อแม่ ซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณ ขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ
    [/FONT]


    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEkxTVRBMU5BPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHhNQzB5TlE9PQ==-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ศรีอยุธยา (11)

    ปี 2301 อยุธยาตั้งมาแล้ว 408 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 32 พระองค์ ปีนั้นได้พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเป็นพระองค์ที่ 33 อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็สละราชสมบัติให้พี่ชายคือพระเจ้าเอกทัศเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 34 ไม่มีใครรู้เลยว่าอีก 9 ปี พระนครอันรุ่งเรืองอย่างที่นักเดินเรือยุโรปบรรยายไว้เมื่อ 200 ปีก่อนหน้านั้นว่า “เจริญที่สุดในทวีปเอเชีย และยิ่งใหญ่ไพศาลแห่งหนึ่งในโลก” จะล่มสลายย่อยยับอัปราชัย

    ปรากฏการณ์นี้ยิ่งกว่าฟองสบู่แตกนับร้อยเท่า เพราะถึงขนาดสูญบ้านเสียเมืองเชียวแหละพี่น้องเอ๋ย!

    คนที่เรียนประวัติศาสตร์ไทยต้องรู้จักประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านไว้ด้วย ด้านหนึ่งต้องเข้าใจว่าเราทั้งหลายเป็นสังคมเครือญาติกัน ไม่เกี่ยวกันทางโน้นก็ดองกันทางนี้พรมแดนประชิดติดกัน ราษฎรไปมาหาสู่กัน สิ่งที่ไปมากับกองเกวียนไม่ได้มีแค่สินค้าปลากรอบเท่านั้น หากยังมีศิลปวัฒนธรรมรำฟ้อนละครโขนและดนตรีติดมาด้วย แม้กระทั่งภาษา ขนบธรรมเนียม ความเชื่อและแนวคิดต่าง ๆ ดังที่เราได้ภาษาเขมร พม่า มลายู และสูตรอาหารเขมร ลาว ญวน พม่า มลายูเข้ามามาก ลาวเขมรก็ได้ไปจากไทยมาก

    เรื่องระบำรำฟ้อนละครโขนที่เกี่ยงกันอยู่ก็เหมือนกัน เขมรเจริญมาก่อน รูปปั้นแกะสลักท่านางอัปสรตามปราสาทหินเขมรน่าจะแสดงว่าเขามีมาก่อน แต่พออิมพอร์ตเข้ามาสู่อยุธยาก็มีการดัดแปลงจนเปลี่ยนไป เช่น อ่อนช้อยขึ้น ประณีตขึ้นไม่ตวัดชายผ้านุ่งยกขาฉับ ๆ อย่างพม่า ไม่ยักไหล่กางแขนอย่างเขมร จะเป็นของเราแท้หน่อยก็บทละคร เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี แต่ถ้าเป็นอิเหนาก็ได้เค้ามาจากชวา “ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์” รามเกียรติ์ก็เป็นของสากล พระราม พระลักษมณ์ ทศกัณฐ์ หนุมานล้วนมาจากคัมภีร์แขกเล่มเดียวกัน

    ท่ารำที่เราดัดแปลงแล้วย่อมเป็นของเรา จะว่าเป็นของต่างชาติก็ไม่ถูก รวมความคือเขาก็ขึ้นทะเบียนตามแบบของเขาไป เราก็ขึ้นทะเบียนตามแบบของเรา สมัยอยุธยา พม่าตีกรุงแตก 2 ครั้งก็กวาดต้อนเชลยไปคงได้ครูละครหลวงจากอยุธยาไปบ้างล่ะน่า! ผมเคยไปดูโชว์ที่โรงแรมของคุณพันธ์เลิศ ใบหยก ในย่างกุ้ง เขาเรียก “ระบำโยเดีย” คล้าย ๆ รำอวยพรของไทย แต่พอยกขาตวัดชายผ้าพึ่บพั่บก็รู้ว่า “อ้อ! แปลงสัญชาติแล้ว”

    สมัยผมเป็นรองนายกฯ เคยไปประชุมรัฐมนตรีข่าวสารที่พนมเปญ ตกค่ำนายพลเตีย บันห์ มาเป็นเจ้าภาพเลี้ยง มีมโหรีและรำโชว์ ท่านเตีย บันห์ ชี้ให้ดูเครื่องดนตรีแล้วอธิบายว่าชิ้นโน้นเป็นไม้นวม ชิ้นนี้เป็นไม้แข็ง กลองนั้นเรียกว่ามโหระทึกเป็นของขอม ไทยมาตีเขมรได้ก็เอาท่ารำไปดัดแปลง สมัยรัชกาลที่ 5 ครูละครของไทยหนีมาเขมรได้เป็นหม่อมพระเจ้ากรุงพนมเปญชื่อหม่อมฉวีวาด ท่านเป็นครูสอนดนตรีและท่ารำไทยให้เขมร อะไรที่ดูเป็นไทยเกินไปท่านก็แปลงให้เป็นเขมร อะไรเคยเป็นของเขมรมาก่อนท่านก็สอนให้กลับไปรำแบบเก่า ของมาจากที่ไหน เราก็แปลงให้เข้ากับเราหมด ว่าแล้วก็ชี้ให้ดูสเต๊กบนโต๊ะกระซิบว่า “เหมือนสเต๊กอร่อยยังไงก็ต้องจิ้มแจ่ว!”

    อีกด้านหนึ่งที่เราต้องรู้จักประวัติศาสตร์เพื่อนบ้านคือ บางเรื่องอาจเป็นเหตุเป็นผลมากระทบกับเรา ถ้าเวียงจันทน์ไม่เกิดขบถเราก็ไม่ไปปราบ ป่านนี้พระแก้วมรกตอาจยังอยู่ที่เวียงจันทน์หรือไม่ก็ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ใน ฝรั่งเศส พนมเปญถ้าไม่รบกันเอง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็คงไม่ต้องส่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกออกไป ปราบจนข้างหลังทางนี้เกิดขบถพระยาสรรค์ขึ้น พม่าเองก็เถิดถ้าไม่รบกับมอญ บางทีเราอาจไม่ต้องเสียกรุง!

    ได้กล่าวแล้วว่าที่เรียกพม่าหรือที่ฝรั่งเรียกเบอร์มา วันนี้เปลี่ยนชื่อเป็นเมียนมาร์นั้น เดิมทีเป็นหลายอาณาจักรไม่ขึ้นแก่กัน พม่าแท้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่กรุงอังวะ พม่าสายไทยใหญ่แยกมาตั้งตนเป็นใหญ่ที่เมืองตองอู มอญอยู่ทางใต้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่กรุงหงสาวดี (วันนี้เรียกว่าบากัน) สามพวกนี้รบกันเองเป็นประจำ กลางสมัยอยุธยาราวรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราชจนถึงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้กษัตริย์ตองอูและญาติคือบุเรงนองตีหงสาวดีและกรุงอังวะ ได้ พม่าไทยใหญ่จึงรวมกับพม่าเดิมและมอญเป็นมหาอาณาจักรเดียวกัน แต่เมืองหลวงยังอยู่หงสาวดี

    ลูกพระเจ้าบุเรงนองคือพระเจ้านันทบุเรงเคยยกทัพไปตีอังวะซึ่งเป็นขบถแต่ไม่ ชนะ ภายหลังกษัตริย์พม่าแท้แห่งกรุงอังวะได้ตั้งตนเป็นใหญ่ชื่อพระเจ้าสีหสุ ธรรมราชายกทัพไปตีเมืองเล็กเมืองน้อยจนรวมอาณาจักรพม่าได้แทบทั้งหมด และมีอังวะเป็นศูนย์กลาง

    ถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศของไทย กษัตริย์พม่ายกทัพไปตีมอญหงสาวดีซึ่งยังแยกตัวเป็นอิสระอยู่ แต่หงสาวดีชนะ มอญกลับผงาดได้อีกครั้งสามารถยกไปตีอาณาจักรพม่าได้ เก่งไหมล่ะ! แต่เพียง 3 ปีต่อมา กำนันบ้านมุตโชโบ ชื่ออองใจยะ เชื้อสายพม่าชาวอังวะสามารถรวบรวมผู้คนได้ขับไล่มอญออกจากอังวะตีลงมาจนถึง ตองอู และหงสาวดี รวบรวมพม่ากลับเป็นมหาอาณาจักรหนึ่งเดียวอีกครั้ง สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าอลองมินตยาคยี คนทั้งปวงเรียกว่าพระเจ้าอลองพญา ตั้งเมืองหลวงที่บ้านมุตโชโบ (เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองรัตนสิงค์)

    เมื่อพระเจ้าเอกทัศขึ้นครองอยุธยานั้น มอญมิได้เป็นประเทศอีกต่อไปจนถึงวันนี้ พระเจ้าอลองพญาซึ่งพม่านับถือว่าเป็นมหาราชเท่ากับพระเจ้าบุเรงนอง และพระเจ้าสีหสุธรรมราชายังไล่ตามราวีพวกมอญจนหนีเข้ามาอยู่ในอยุธยาเป็นอัน มากเป็นต้นตระกูลชาวไทยเชื้อสายมอญมาจนบัดนี้ ข้าวแช่กะละแมปี่พาทย์มอญก็คงเข้ามาด้วยตอนนั้น!

    ทัพพม่ายกไปตีทวาย มะริด ตะนาวศรี ซึ่งเป็นชุมชนมอญแต่เป็นของไทย ครั้นไม่เห็นไทยตอบโต้ เท่านี้พระเจ้าอลองพญาก็ประเมินกำลังได้แล้วว่าอยุธยาใจเสาะ จึงยกทัพเข้ามาทางด่านสิงขรแถวประจวบคีรีขันธ์ ฝ่ายกรุงศรีอยุธยากลับไปฟังข่าวกรองสันติบาลสมัยนั้นว่าพม่าเข้ามาทางด่าน เจดีย์สามองค์เมืองกาญจน์และด่านแม่ละเมาเมืองตากจึงไปตั้งทัพดักรออยู่ที่ โน่น! นี่เรียกว่ายุทธการลับ ลวง พรางของพม่า

    พระเจ้าอลองพญานำทัพผ่านราชบุรีเข้ามาจนถึงชานกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าเอกทัศเห็นจวนตัวจึงขอให้พระเจ้าอุทุมพรที่ผนวชอยู่สึกมาว่าราชการ ช่วยรบทีเถิด เสร็จแล้วจะคืนราชสมบัติให้ ถึงตอนนี้ต้องบอกว่าสมเด็จพระเจ้าบรมโกศท่านมีวิสัยทัศน์ดีแท้ มองลูกชายท่านไม่ผิดเลยว่าเจ้าฟ้าองค์นี้รักษาบ้านเมืองไว้ไม่ได้

    พระเจ้าอุทุมพรเป็นผู้นำที่เก่ง พอสึกมามีอำนาจก็สั่งจับขุนนางที่สอพลอยุแหย่ให้คนแตกแยก และสั่งปล่อยขุนนางผู้ใหญ่ที่ต้องโทษถูกจำคุกอย่างไม่เป็นธรรมตามแผนปรองดอง แก้ไขไม่แก้แค้น จะเรียกว่า “คืนความเป็นธรรม” ก็ทันสมัยดี แล้วตั้งนักโทษที่ถูกปล่อยตัวมาเป็นแม่ทัพไปรบกับพม่าแต่พวกนี้ถูกพม่าฆ่า ตายหมด พม่าเข้าล้อมกรุงอยู่ข้างนอกได้ในปี 2303 จนถึงขนาดยิงปืนจากวัดกษัตราข้ามแม่น้ำไปตกในเมือง อีกทัพมาตั้งปืนใหญ่หน้าวัดหน้าพระเมรุหันปากกระบอกระดมยิงพระราชวังถูกยอด พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์หักลง

    นี่เองที่ว่าเหตุใดวัดหน้าพระเมรุเป็นวัดเดียวที่ไม่ถูกทำลายในสงคราม คำตอบคือพม่ายิงจากหน้าวัดข้ามไปอีกฟาก ครูเคยพานักเรียนไปดูวัดนี้หรือยัง!

    พระพุทธรูปวัดหน้าพระเมรุคงศักดิ์ สิทธิ์เอาการ พระเจ้าอลองพญาเห็นว่ายอดปราสาทหักเป็นลางร้ายของอยุธยา จึงทรงจุดชนวนปืนใหญ่จะยิงซ้ำอีกลูกกะถล่มพระมหาปราสาทที่ประทับ แต่ปืนใหญ่แตกพระเจ้าอลองพญาบาดเจ็บ พม่าเลิกทัพทันทีแล้วรีบยกทัพกลับทางด่านแม่ละเมา ยังไม่ทันพ้นเมืองตากพระเจ้าอลองพญาสิ้นพระชนม์ (พงศาวดารพม่าบันทึกว่าพระเจ้าอลองพญาไม่ได้ถูกระเบิด แต่เป็นโรคบิดต้องรีบกลับ) เป็นอันว่ายกนี้อยุธยายังไม่แตก!

    อยุธยา รู้ว่าแม่ทัพพม่าเจ็บจนหนีกลับไม่เป็นกระบวนก็ยังไม่กล้าสั่งให้ทหารตามไป ทางพม่า มังลอกพระราชโอรสองค์ใหญ่ได้ครองราชย์เป็นพระเจ้าบวรมหาธรรมราชา แต่ปกปิดไม่ให้คนรู้ว่าต้นราชวงศ์อลองพญาสวรรคตแล้ว กลับเเช่พระศพด้วยสมุนไพรห่อผ้าขาวยกขึ้นตั้งเหนือพระแท่น ปิดม่านไว้บาง ๆ แล้วให้มังลอกว่าราชการแทน ราว 4 ปีต่อมามังลอกสิ้นพระชนม์ มังระพระอนุชาที่เคยร่วมทัพกับพระเจ้าอลองพญาผู้เป็นพระชนกมาล้อมกรุงก็ขึ้น เป็นรัชกาลที่ 3 ชื่อพระเจ้าสิริสุธรรมมหาราชาธิบดี

    ทางอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าเอกทัศเพื่อทวงราชสมบัติก็เห็นพระเจ้าพี่ วางดาบพาดตักไว้ตรัสว่าศึกสงครามก็สงบแล้วเจ้าจะอยู่รออะไร พระเจ้าอุทุมพรจึงออกผนวชรอบสอง กลายเป็นขุนหลวงหาวัดไป

    พระเจ้ามังระยังโกรธอยุธยาไม่หาย คิดว่าอย่างน้อยน่าจะมาตีสั่งสอนอีกหน แต่คงเพราะมิได้คิดจะเอาบ้านเอาเมืองจริงจังหรือทางพม่าเองอาจเกิดความไม่ สงบภายในด้วยจึงไม่เสด็จมาเองอย่างคราวบุเรงนองและพระเจ้าอลองพญา กลับให้เนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาเป็นแม่ทัพเข้ามาทางเหนือคนหนึ่ง ทางใต้คนหนึ่ง

    กองทัพพม่ายกมาตั้งอยู่รอบอยุธยาชั้นนอก เนเมียวสีหบดีพักทัพอยู่ที่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ทหารพม่าออกปล้นฆ่าผู้คนฉุดลูกสาวชาวบ้านไปบำเรอทหาร ราษฎรบ้านบางระจันแขวงเมืองสิงห์เดือดร้อนจึงรวมตัวกันได้ราว 500 คนออกต่อสู้ ได้ผ้าประเจียดพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวชคุ้มกัน ชาวบ้านบางระจันต่อต้านพม่าได้ชัยชนะถึง 7 ครั้ง ครั้งที่ 8 สุกี้ (ภาษาพม่าเรียกซุกคยี) ตำแหน่งนายกอง เคยอยู่เมืองไทยรับอาสาเข้าตีค่ายบางระจันจนแตกเพราะบางระจันไม่มีอาวุธ ราษฎรก็เหนื่อยล้าเต็มที อยุธยาก็ไม่ยอมไปช่วย

    ถึงฤดูฝนน้ำหลากอย่างเช่นที่ท่วมใหญ่ในขณะนี้ ทหารพม่ามี 2 ทางเลือกคือรบต่อจนรู้แพ้รู้ชนะหรือจะรอบางระกำโมเดลแก้น้ำท่วมก่อนระหว่าง นี้ควรถอยกลับ ขณะนั้นเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธากำลังแย่งกันเป็นใหญ่ชิงนำทัพเพียงผู้ เดียว มังมหานรธาให้รบต่อ สั่งให้ทหารนุ่งโสร่งให้กระชับก็แล้วกัน แต่แล้วจู่ ๆ มังมหานรธาก็เสียชีวิตลงที่สีกุกใกล้เสนา

    คราวนี้เป็นเคราะห์ร้ายของอยุธยา เดิมเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธายังแตกคอกัน น้ำก็ท่วม เราพอรับมือได้ พอน้ำลดอำนาจตกเป็นของเนเมียวสีหบดีแต่ผู้เดียวการสั่งการก็เป็นเอกภาพ พม่าลุยเดินหน้าต่อ ยกทัพมาอยู่ที่วัดท่าการ้อง วัดภูเขาทอง วัดเต่า วัดแดง วัดเจดีย์แดง วัดสามวิหาร วัดนางปลื้ม วัดศรีโพธิ์รอบเกาะเมือง อยุธยาขนปืนประจำเมืองชื่อ “ปราบหงสา” และ “มหากาลมฤตยูราช” ออกมายิงตอบโต้ กระสุนก็ด้านบ้าง ตกไม่ไกลบ้าง ข้างพม่าก็ยิงเอา ๆ ทุกวันจนผู้คนขวัญหนีดีฝ่อ แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถก็ถูกกำจัดหมดตัวไปก่อนแล้วตั้งแต่สมัยพระเจ้า บรมโกศ

    วันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน พ.ศ.2310 เป็นวันเนาสงกรานต์ ชาวอยุธยากำลังฉลองสงกรานต์ ไม่ได้ตระหนักว่าภัยมาเยือนถึงชานกรุงเพราะเห็นพม่ามาล้อมอยู่กว่าปี ไม่เห็นทำอะไรได้คงนึกว่าเดี๋ยวพระก็ช่วยบันดาลให้ปืนใหญ่ระเบิดหรือไม่แม่ ทัพพม่าก็คงเป็นบิดลงท้องจู๊ด ๆ อย่างคราวก่อนโน้นอีกกระมัง

    บ่าย 3 โมงวันนั้น พม่าจุดไฟสุมเผารากกำแพงเมืองตรงหัวรอ และระดมยิงปืนใหญ่พร้อมกันจากทุกค่าย ราว 2 ทุ่มกำแพงเมืองก็พังลง พม่าเอาบันไดไม้ไผ่พาดกำแพงกรูเข้าเมืองจากทุกทิศ สุดปัญญาที่ใครจะรับมือได้ 2 ทุ่มวันนั้นกรุงศรีอยุธยาแตก หลังจากอยู่มา 417 ปี และนับถึงวันนี้ 244 ปี

    สุนทรภู่เคยไปยืนดูซากกำแพงเมืองอีกไม่กี่ปีต่อมาแล้วรำพึงว่า “กำแพงรอบขอบคูก็ดูลึก ไม่น่าศึกอ้ายพม่าจะมาได้”.

    วิษณุ เครืองาม
    -wis.k@hotmail.com-


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=171767-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    น้ำที่ท่วม-ส้วมฉุกเฉิน 'ต้องรู้หลักใช้' มีภัยเชื้อโรคต้องกลัว!


    สถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในไทยในยามนี้ นอกจากจะทำให้คนไทยจำนวนมากมายต้องเดือดร้อนในเรื่องการอยู่อาศัย อาหารการกิน การประกอบอาชีพ การเดินทางสัญจร หลายพื้นที่เรื่องการขาด ’น้ำใช้“ และการมีปัญหาเรื่องสุขา หรือ ’ส้วม“ ก็เป็นทุกข์เช่นกัน ซึ่งแม้รายรอบจะมีแต่ ’น้ำที่ท่วม“อยู่ และแม้จะได้รับแจก ’ส้วมฉุกเฉิน-ส้วมชั่วคราว“ แต่ก็ ’ใช่ว่าจะสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย“

    ’ภัยเชื้อโรค“ จาก 2 เรื่องนี้...ก็ ’ควรต้องกลัว!!“

    ทั้งนี้ กับ 2 เรื่องดังกล่าวนี้ ทางกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความห่วงใย พร้อมมีคำแนะนำที่น่าพิจารณา กล่าวคือ... ในภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้น การประยุกต์ใช้กรรมวิธีอย่างง่ายใน การผลิตน้ำสะอาดที่สามารถนำมาอุปโภคหรือเป็นน้ำใช้ (ไม่รวมถึงการเป็นน้ำดื่ม) ได้อย่างปลอดภัย นับว่ามีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการผลิตน้ำสะอาดสำหรับเป็นน้ำใช้ด้วยตนเองนั้น อุปกรณ์ที่จำเป็นประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1. โอ่ง ถังพลาสติก หรือภาชนะรองรับน้ำ จำนวน 2 ใบ 2. สารส้มก้อน 3. สารฆ่าเชื้อโรคคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์)

    ขั้นตอนการผลิตน้ำใช้เอง มี 4 ขั้นตอนคือ 1. เตรียมน้ำลงในภาชนะรองรับน้ำใบที่ 1 โดยเลือกใช้น้ำจากแหล่งน้ำในบริเวณที่ห่างจากแหล่งสุขาหรือโรงงานอุตสาหกรรม ต่าง ๆ ตักใบไม้ เศษไม้ หรือเศษสิ่งอื่น ๆ ที่อาจลอยอยู่บนผิวน้ำออก 2. แกว่งสารส้มในน้ำ แกว่งที่ความลึกประมาณ 2/3 ส่วนของความลึกน้ำจากผิวน้ำ แกว่งสารส้มจนสังเกตเห็นตะกอนเริ่มจับตัว ซึ่งอาจใช้เวลามากน้อยต่างกันไปตามปริมาตรและลักษณะน้ำ

    3. หลังจากขั้นตอนการแกว่งสารส้ม จะต้องทิ้งน้ำไว้จนกระทั่งตะกอนตกลงสู่ก้นภาชนะ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาที หรืออาจตั้งทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้นจึงตักหรือถ่ายน้ำส่วนที่ใสเข้าสู่ภาชนะบรรจุใบที่ 2 โดยน้ำที่ผ่านขั้นตอนนี้จะมีลักษณะใส แต่ก็ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค 4. เติมสารฆ่าเชื้อโรคคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์) ลงในภาชนะรองรับน้ำใบที่ 2 ซึ่งควรจะรู้ปริมาตรน้ำโดยคร่าว ๆ แล้วจึงเติมสารในปริมาณ 1 หยด ต่อน้ำ 1 ลิตร กวนผสมและปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อให้สารฆ่าเชื้อโรคออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    เมื่อ ผ่าน 4 ขั้นตอนแล้ว ก็จะได้น้ำที่ปลอดภัยเพื่อการเป็น ’น้ำใช้“ แต่อาจจะยังไม่เหมาะสมต่อการบริโภค เนื่องจากเป็นน้ำที่ผ่านการผลิตขึ้นเอง อาจไม่มีการควบคุมคุณภาพที่ดีเพียงพอ

    และก็มีคำเตือนเกี่ยวกับสารฆ่าเชื้อโรคคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์) ด้วยว่า สารนี้ต้องเก็บรักษาในที่มืด ที่สำคัญต้องเก็บให้พ้นมือเด็ก ห้ามรับประทานโดยตรง อย่าให้สารเข้าตาและสัมผัสผิวหนัง ถ้าสารถูกมือให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด ถ้าสารเข้าตาต้องรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง แล้วรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

    อีกเรื่องคือ การใช้ส้วมฉุกเฉิน-ส้วมชั่วคราวให้ปลอดภัย ซึ่งทางกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำไว้สรุปได้ว่า... การใช้จำเป็นต้องพึงระวังถึงการแพร่กระจายของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค ที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ซ้ำซ้อนขึ้นอีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งการป้องกันมีวิธีปฏิบัติอย่างง่ายคือการเติมสารเคมีลงไปในส้วมชั่วคราว โดยเฉพาะ “ส้วมถุงดำ” เพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อโรค และลดการแพร่กระจาย รวมถึงการสะสมตัวของเชื้อโรคในบริเวณน้ำท่วมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

    การ ’ฆ่าเชื้อโรคสำหรับส้วมชั่วคราวแบบที่ใช้ถุงดำ“ ให้ ’เติมปูนขาว“ เพื่อปรับสภาพให้เป็นด่าง ซึ่งจุลินทรีย์ก่อโรคจะถูกกำจัดไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการ เจริญเติบโต

    ปริมาณการเติมปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อโรค คร่าว ๆ คือ เติมปูนขาว 300 กรัม (1 ถ้วย) ต่อปริมาตรของเสียประมาณ 10 ลิตร หรือประมาณ 0.3 ลิตร ต่อปริมาตรของเสียประมาณ 10 ลิตร ดังนั้น การขับถ่ายใส่ถุงดำควรต้องเผื่อปริมาตรไว้สำหรับการเติมปูนขาวด้วย ในกรณีที่เลือกใช้ถุงดำขนาด 20 ลิตร ควรใส่ปูนขาวประมาณ 300 กรัม ซึ่งน่าจะใช้งานได้ประมาณ 5-10 ครั้ง (อาจใช้ได้ถึง 15 ครั้ง กรณีถ่ายหนักอย่างเดียว)

    รูปแบบการเติมปูนขาวทำได้ 3 แบบ คือ 1. แบ่งเติมทุกครั้งที่ขับถ่าย ประมาณ 15 กรัม (2 ช้อนโต๊ะ) ต่อการขับถ่าย 1 ครั้ง ไม่ว่าจะอุจจาระหรือปัสสาวะ 2. เติมตอนเริ่มต้นใช้ครึ่งหนึ่ง (150 กรัม) หลังจากใช้งานเสร็จอีกครึ่งหนึ่ง (150 กรัม) 3. เติมตอนเริ่มต้นใช้ครั้งเดียว (300 กรัม) โดยรูปแบบที่ 1 จะดีที่สุด ซึ่ง ควรใช้ถุงดำ 2 ชั้นเพื่อความแข็งแรง และใช้งานแล้วต้องมัดให้ดีเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและง่ายต่อการนำไปกำจัด ส่วนการเติมอีเอ็ม (EM) ในการใช้ส้วมถุงดำ ช่วยเรื่องการย่อยสลายสูงในเวลาสั้น ๆ แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อโรคโดยตรง

    ทั้งนี้ คำแนะนำ 2 เรื่องนี้ นับว่ามีประโยชน์มาก ทั้งกับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม แล้วมีปัญหาขาดน้ำใช้-ขาดส้วมแบบปกติ และกับฝ่ายที่จะไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในการเตรียมปัจจัยเพื่อการนี้ คือเตรียม “สารส้มก้อน-สารฆ่าเชื้อโรคคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์)” และ “ปูนขาว” ไปให้ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมด้วย

    ’เชื้อโรค“ อาจจะมากับน้ำที่ท่วม-เกิดในส้วมฉุกเฉิน

    ไม่กลัว-ไม่ป้องกัน ’ภัยซ้อนภัย“ อาจเกิดขึ้นได้!!!!!.



    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=23&contentId=171762-


    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รูปภาพ ภาพสุดซึ้ง น้ำตาแทบไหล ทหารไทย เป็นมากกว่ารั้วของชาติ


    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    <table id="Table_01" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_10.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_22.gif"> [​IMG]</td> <td>[​IMG] </td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_24.gif"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td background="http://202.183.165.44/images_play/box_w_35.gif"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>


    -http://play.kapook.com/photo/show-118789-


    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .




    "ปู"แถลงยอมรับกทม.ชั้นในท่วมแน่


    ยิ่งลักษณ์ ให้คนกทม.รับสภาพน้ำท่วม ระบุปริมาณน้ำมีมากเกินกว่าจะป้องกันได้-หลายปัจจัยเหนือการควบคุม คาดท่วมตั้งแต่ 10ซม.-1.5เมตร
    [​IMG]น้ำท่วมขังในพื้นที่ย่านเทเวศร์เมื่อวันที่ 25 ต.ค.
    เมื่อเวลา 20.30 น.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย สรุปสถานการณ์น้ำท่วมว่า พลังของน้ำก้อนใหญ่ที่ไหลลงสู่กรุงเทพฯมีแนวโน้มที่จะมากเกินกว่าพนังกั้น น้ำและมาตรฐานต่างๆจะป้องกันได้ จึงมีความเป็นไปได้สู่งที่น้ำจะทะลักเข้า พื้นที่ชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นในของกรุงเทพฯ
    ส่วนผลกระทบนั้นขึ้นอยู่กับระดับความสูงของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและขีด ความสามารถในการจัดการ เนื่องจากปัญหามีหลายประการ เช่น ความสูงต่ำในแต่ละพื้นที่กทม.ทำให้แต่ละพื้นที่จะมีน้ำท่วมไม่เท่ากันซึ่ง รัฐบาลได้กำกับทุกหน่วยงานและกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อป้องกันปัญหาความเสียหาย
    น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวอีกว่า แนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้ท่วมภาครัฐและเอกชนจะช่วยพยายามป้องกันอย่างเต็ม ที่ โดยฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ฝั่งธนบุรีที่รับน้ำเหนือมาจากปทุมธานี และ นนทบุรี ได้ล้นเข้าสู่เขตบางพลัด และจะเข้าสู่คลองมหาสวัสดิ์และแม่น้ำท่าจีนก่อนลงสู่ทะเล ซึ่งอาจมีน้ำท่วมในพื้นที่ 50 ซม.
    ขณะที่ด้านตอนเหนือของกทม.ได้มีมาตรการลดแรงกดดันของพลังน้ำด้วยการ พยายามปิดประตูน้ำคลองเปรมประชากรเพื่อบรรเทาในเขตดอนเมือง และเร่งระบายน้ำออกทางคลองรังสิตลงมาที่คลองหกวาเพื่อลดความเสียหายกทม.ชั้น ใน
    ส่วนด้านตะวันออก ได้แก่ เขตมีนบุรี หนองจอก ลาดพร้าวซึ่งมีคลองระพีพัฒน์ แสนแสบ หกวาสายล่าง มีมาตรการระบายน้ำออกทะเล ตามแนวคลองที่ขุดไว้ หากน้ำเข้ามาตามแนวทางเหล่านี้ก็จะไหลออกทะเลต่อไป อย่างไรก็ตามพื้นที่เหล่านี้อยู่ในเขตหลากน้ำจึงจะมีปริมาณน้ำท่วมสูงกว่า พื้นที่อื่น โดยมีระดับน้ำประมาณ 1-1.5เมตร
    “กรณีแล้วร้ายที่สุดหากไม่สามารถป้องกันได้ทั้ง 3จุด และมีปัจจัยอื่นๆเข้ามา เช่น แนวเขื่อนหรือพนังกั้นน้ำพัง และทะเลสูงกว่าที่คาดหมายไว้ จะมีระดับน้ำท่วม 10ซม.-1.50 เมตร โดยเราจะควบคุมให้เข้ากทม.น้อยที่สุดด้วยการใช้ระบบสูบน้ำทั้งหมดเพื่อระบาย น้ำ” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
    น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกและไม่อยู่ในความประมาทและควรอยู่ในความสงบ วันนี้ขอให้ประชาชนเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีค่าพ้นจากระดับท่วมขัง ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลระบบสาธารณูปโภคเต็มที่และป้องกัน ไม่ให้เกิดความขาดแคลนทั้งน้ำประปา ไฟฟ้าและสินค้าอุปโภคบริโภค
    นอกจากนี้ยังได้ขอให้ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ย้ายผู้อพยพไปยังพื้นที่อื่นทั้งในกทม.และจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ให้สั่งย้ายสิ่งของบริจาคจากสนามบินดอนเมืองชั้นล่าง ไปยังอาคารในสนามกีฬาแห่งชาติศุภชลาศัย เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมสิ่งของบริจาคตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.เป็นต้นไป


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/118294/%E0%B8%9B%E0%B8%B9-%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B9%88-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ปิ่นเกล้า-บางพลัดอ่วมหน้าวัดพระแก้วท่วม


    ปิ่นเกล้า-บางพลัดยังเผชิญน้ำท่วมสูงต่อเนื่อง จรัญฯซอย84น้ำสูง 1.5 เมตร ประชาชนทยอยอพยพออกจากพื้นที่ ถนนหน้าพระบรมมหาราชวังท่วม

    สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 25 ต.ค. พบว่ายังคงมีน้ำท่วมในหลายพื้นที่

    เมื่อเวลา 18.00 น. น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้เอ่อล้นคันกั้นบริเวณท่าเรือวังหลัง เข้าท่วมพื้นที่สูง 30 ซม. ส่งผลให้ต้องปิดให้บริการเรือข้ามฟาก ขณะที่บริเวณท่าน้ำพรานนก พบว่ามีน้ำเริ่มซึมเข้าท่วมร้านค้าชุมชน ในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งน้ำบางส่วนได้ไหลเข้าไปในรพ.ศิริราชแล้ว นอกจากนี้ในช่วงเย็นยังมีฝนตกหนักในพื้นที่กทม.ส่งผลให้น้ำเอ่อเข้าท่วมถนน หน้าพระลานด้านหน้าพระบรมมหาราชวังรวมทั้งน้ำบางส่วนได้ไหลเข้าไปภายในด้วย
    อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ได้ระดมกระสอบทรายมาวางกั้นบริเวณประตูก่อนจะเตรียมสูบน้ำที่เอ่อท่วมภายในออก

    [​IMG]


    [​IMG]

    ขณะที่สถานการณ์น้ำเอ่อท่วมบริเวณ ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย ที่เป็นผลมาจากน้ำล้นคันกั้นน้ำบริเวณสะพานพระราม 8 เมื่อวันที่ 24 ต.ค. ล่าสุดบริเวณ ซอย 19 และ 21 ช่วงตรงข้ามห้างสรรพสินค้าพาต้า ปิ่นเกล้า ยังมีปริมาณน้ำเอ่อเข้าท่วมพื้นผิวการจราจร 3 ช่องทาง ระดับความสูงประมาณ 20 ซม. ส่งผลให้การสัญจรผ่านบริเวณดังกล่าวเป็นไปอย่างลำบาก ขณะที่ร้านค้าที่ตั้งแผงค้าริมทางเท้า ต้องเคลื่อนย้ายแผงออกไว้อีกฝั่ง

    นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังประกาศปิดการจราจรทางเบี่ยงลงจากสะพานพระราม 8 ไปแยกอรุณอมรินทร์ ด้วย เนื่องจากมีน้ำท่วมขังสูง โดยให้รถตรงเข้าทางร่วมพระราม 8 เพื่อขึ้นไปยังคู่ขนานลอยฟ้าแทน

    [​IMG]
    บริเวณสะพานพระราม8


    ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในเขตบางพลัดที่พนังกั้นริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 71/1 และ 80 พังลงประมาณ 50 เมตร ส่งผลให้น้ำทะลักท่วมถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่สี่แยกบางพลัด ถึงซอยจรัญสนิทวงศ์ 89 ตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค. ล่าสุดในวันที่ 25 ต.ค.ยังคงมีน้ำท่วมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรถยนต์ไม่สามารถสัญจรผ่านบริเวณดังกล่าวได้ ขณะที่บางจุดระดับน้ำสูงถึงเอว

    ทั้งนี้ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่บริเวณหน้าซอยจรัญสนิทวงศ์ 84 โดยมีระดับน้ำสูงถึง 1.50 เมตร ขณะที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกดังกล่าวได้ทยอยเคลื่อนย้ายออกจากบ้านพัก อย่างต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่ทหาร และสภากาชาดไทย ได้นำรถบรรทุกขนาดใหญ่เข้ามาให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนแล้ว
    อย่างไรก็ตามจากเหจุน้ำท่วมดังกล่าวส่งผลให้ตลาดบางพลัด ตรงข้ามซอยจรัญสนิทวงศ์ 89 มีสินค้าอาหารเหลือน้อย เนื่องจากประชาชนออกมาซื้ออาหารกักตุน เพราะกลัวจะไม่ออกจากบ้านได้
    ด้านกำลังพลกองทัพภาคที่ 1 ร่วมกับหน่วยกู้ภัยน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ช่วยกันตอกเสาเข็มและวางกระสอบทราย เพื่อทำแนวกั้นใหม่ หลังจากพังลงระยะทางประมาณ 60 เมตรและแต่ยังไม่สามารถป้องกันน้ำได้
    ขณะที่ กรมชลประทานวัดระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงปากคลองตลาดพบว่ามีความสูง 2.72 เมตร เพิ่มจากวันที่ 24 ต.ค. 10 ซม. และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
    ***สภาพน้ำท่วมบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ช่วงซอย 71/1-ซอย84***

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1./118282/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-

    -http://goo.gl/OUITp-


    .

    ปิ่นเกล้า-บางพลัดอ่วมหน้าวัดพระแก้วท่วม - โพสต์ทูเดย์ ข่าวกทม.-ภูมิภาค

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เปิดแผนที่ระยะเวลาน้ำท่วมแต่ละเขตกทม.



    แผนที่แสดงระยะเวลาที่น้ำจะเข้าท่วมในพื้นที่แต่ละเขตของกรุงเทพฯจากการประเมินสถานการณ์ของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร


    [​IMG]

    ที่มา : หนังสือพิมพ์ M2F


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1./118138/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1--

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลไข้หวัด


    ฮัดเช้ย...ฮัดเช้ย หวัดเล่นงานอีกแล้วทำไงดี สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยช่วงนี้มิเพียงต้องระวังน้ำที่อาจมาโผล่อยู่ หน้าบ้านเมื่อตอนตื่นมายามเช้าแล้ว
    โดย..วรธาร ทัดแก้ว
    ฮัดเช้ย...ฮัดเช้ย หวัดเล่นงานอีกแล้วทำไงดี สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยช่วงนี้มิเพียงต้องระวังน้ำที่อาจมาโผล่อยู่ หน้าบ้านเมื่อตอนตื่นมายามเช้าแล้ว ยังต้องระวังฝนที่ตกเกือบทุกวันอีก เดี๋ยวแดด เดี๋ยวครึ้ม เดี๋ยวฝนเทลงมา อากาศเปลี่ยนบ่อยอย่างนี้ หันไปทางไหนก็มีแต่คนไอ จาม เป็นไข้หวัด แล้วจะรับมือหรือป้องกันไม่ให้ไข้หวัดมาเยือนได้ไงเนี่ย
    ฟ้าครึ้ม ฝนตก ลมแรงเสี่ยงรับไวรัสหวัด
    ภก.วินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการสำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. บอกสาเหตุของการเป็นหวัดว่า หวัดหรือไข้หวัด มักเกิดจากเชื้อไวรัสเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเชื้อเหล่านี้มีอยู่เป็นร้อยๆ ชนิดทั่วไปในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ยิ่งวันไหนท้องฟ้ามืดครึ้ม ลมแรง ก็จะยิ่งพัดไวรัสให้ฟุ้งกระจาย โอกาสที่เราจะสัมผัสไวรัสก็มีมากขึ้น
    คนที่เป็นหวัดมักมีอาการเป็นไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ยิ่งถ้ามีอาการเจ็บคอ ไอ มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หากอาการไม่รุนแรง เบื้องต้นไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง ให้พักผ่อนให้มาก ทำร่างกายให้อบอุ่น ส่วนใหญ่อาการก็จะทุเลาได้เอง แต่ถ้ามีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลมากๆ จนกระทบต่อคุณภาพชีวิต หรือการงาน ก็อาจกินยาแก้หวัดคัดจมูก โดยขอคำแนะนำจากเภสัชกรที่ร้านขายยาก็ได้
    [​IMG]

    “ตัวยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล มักเป็นยาสูตรที่มีตัวยาซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนประกอบ แต่หลายปีที่ผ่านมาสารซูโดอีเฟดรีนในยาบรรเทาหวัดคัดจมูกมีปัญหาการกว้าน ซื้อเพื่อนำไปแยกเป็นสารตั้งต้นผลิตสารเสพติด แต่เพื่อป้องกันการนำสารดังกล่าวไปใช้ในทางที่ผิด กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2554 ให้ยาบรรเทาหวัดคัดจมูกที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนประกอบในรูปแบบยาเม็ด แคปซูล และน้ำ ยกเว้นตำรับยาผสมที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องให้แพทย์สั่งจ่ายและให้ใช้เฉพาะในโรงพยาบาลของรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชนที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเท่านั้น”
    คำแนะนำการใช้ยาแก้หวัด
    ภก.วินิต กล่าวว่า การใช้ยาบรรเทาอาการหวัด อย. ได้แนะนำให้ใช้ยาตัวอื่นแทน เช่น ยาผสมที่มีตัวยาเฟนิลเอฟริน (Phenylephrine) แทนซึ่งมีสรรพคุณที่ใช้แทนได้ สำหรับยาสูตรผสมที่มีซูโดอีเฟดรีนที่ยังสามารถหาซื้อได้จากร้านขายยา จะเป็นยาแก้ไข้หวัดสูตรที่มีสารประกอบ 3 ตัวในเม็ดเดียว เช่น ซูโดอีเฟดรีนกับคลอเฟนิรามีนและพาราเซตามอล ที่อาจคุ้นเคยในชื่อทางการค้า เช่น ไทลีนอล โคล ดีคอลเจนพลัส ทิฟฟี่ ฟู เป็นต้น ยาเหล่านี้เท่านั้นที่ไม่ได้เข้าข่ายยาควบคุมพิเศษ
    “ยาสูตรที่มีสารประกอบ 3 ตัวในเม็ดเดียวกันนี้ มีส่วนผสมของยาลดไข้อยู่ด้วย จึงเหมาะกับคนที่มีไข้ร่วมกับอาการหวัดคัดจมูก แต่ถ้าไม่มีไข้ ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทาน เพราะร่างกายจะได้รับยาลดไข้โดยไม่จำเป็น” ผู้อำนวยการวินิต กล่าวเสริม ใครที่มีอาการไอร่วมด้วยก็อาจกินยาบรรเทาอาการไอ หรือยาขับเสมหะช่วยด้วย ซึ่งยาในกลุ่มนี้ผู้บริโภคควรขอคำแนะนำจากเภสัชกรอีกครั้ง”
    [​IMG]

    ต้องคอยสังเกตอาการ ถ้าไข้สูง ไข้ไม่ลด ไอนานติดต่อกันหลายวัน เสมหะข้นมีสีเขียว แสดงว่าอาจมีสาเหตุอื่นหรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งถ้ามีอาการอย่างนี้ ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะถ้ารักษาไม่ถูกต้องอาการจะยิ่งหนักมากขึ้น หรือบางคนอาจแพ้ยาบางชนิด เช่น อะม็อกซีซิลิน หรือแอมพลิซิลินได้
    วิธีป้องกันเป็นหวัด
    การป้องกันย่อมดีกว่าแก้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันหวัดคือพักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารที่สมดุล และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสามารถต้านทานเชื้อหวัดได้
    “ในช่วงนี้ให้พยายามเลี่ยงอย่าให้เปียกฝน หรือตัวชื้นอยู่นานๆ อย่าให้ร่างกายกระทบร้อนกระทบเย็นบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัดมีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก และเมื่อป่วยก็ควรหยุดงาน หยุดเรียน พักผ่อนให้หาย ปิดปากปิดจมูกเวลาต้องอยู่ใกล้ผู้อื่น และล้างมือบ่อยๆ อย่าให้ตนเองกลายเป็นพาหะนำโรคไปแพร่ให้คนอื่น เราก็จะหยุดวงจรหวัดระบาดได้ในที่สุด”
    นอกจากนี้ วิธีป้องกันไม่ให้เป็นหวัดในหน้าฝนให้ใช้ผ้าปิดปากและจมูกกันไว้หากต้องตาก ฝนจริงๆ เมื่อกลับมาบ้านแล้วควรรีบเช็ดผมให้แห้ง ถ้าสระผมได้ยิ่งดีจากนั้นรีบเช็ดและเป่าให้แห้งโดยเร็ว เพื่อทำให้อุณหภูมิเปลี่ยน และเชื้อไวรัสจะแบ่งตัวได้ลำบาก
    พร้อมกันนั้นรีบทำให้ร่างกายอบอุ่น รับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงๆ เช่น ฝรั่ง ส้ม แอปเปิล หรือรับประทานวิตามินซีเม็ด เพื่อช่วยเสริมสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไป และต้องไม่ลืมออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ กรณีที่ดูแลตัวเองอย่างดีแล้วแต่ก็ยังเป็นหวัด ควรปรึกษาเภสัชกรในการเลือกซื้อและใช้ยาให้เหมาะกับอาการตามความจำเป็น


    -http://www.posttoday.com/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1/118107/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94-


    -http://goo.gl/ySF3i-

    .

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลไข้หวัด - โพสต์ทูเดย์ ข่าวไลฟ์สไตล์

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    การเงิน แบงค์-ตลาดหุ้นเปิดตามปกติช่วง27-31ต.ค.


    ธปท.เผยธนาคารพาณิชย์-ตลาดหลักทรัพย์ ยังเปิดให้บริการตามปกติช่วงวันที่ 27-28,31 ต.ค. หลังรัฐประกาศเป็นวันหยุดพิเศษ
    นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวภายหลังหารือกับ ผู้บริหาร ธนาคารพาณิชย์ว่า ตามที่รัฐบาลประกาศให้วันที่ 27-28 และ 31 ต.ค. เป็นวันหยุดราชการพิเศษนั้น ในส่วนธปท.ยังเปิดดำเนินการตามปกติ โดย ธนาคารพาณิชย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังคงเปิดให้บริการตามปกติเช่น กัน
    ทั้งนี้ที่ประชุนเห็นว่าไม่ต้องการให้หยุด เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อภาคการค้าทั้งในและต่างประเทศได้ โดยธปท.จะพยายามรักษาระบบการเงินให้สามารถเดินได้เป็นปกติมากที่สุด ยกเว้นแต่จะเกิดสถานการณ์ที่จำเป็นจริงๆ
    ด้าน นายจงรัก รัตนเพียร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ประเด็นด้านสภาพคล่องยังไม่เป็นปัญหากับระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในขณะนี้ โดยการกู้ยืมระหว่างธนาคารยังอยู่ในระดับปกติหรืออาจจะชะลอตัวไปบ้างตาม สถานการณ์ หลังจากที่ความต้องการสินเชื่อขยายตัวได้มากในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนมาตรการของธปท.ที่เปิดให้ธนาคารพาณิชย์นำหลักทรัพย์รัฐบาลญี่ปุ่นเป็น หลักประกันในการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทนั้นถือเป็นมาตรการเสริมเพื่อเพิ่ม ความมั่นใจให้กับระบบการเงินมากกว่า

    -http://www.posttoday.com/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99/118279/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%8727-31%E0%B8%95-%E0%B8%84--

    .


    http://www.posttoday.com/เศรษฐกิจ-หุ้น/การเงิน/118279/แบงค์-ตลาดหุ้นเปิดตามปกติช่วง27-31ต-ค-


    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ศปภ.ย้ำผลิตน้ำประปาให้ปชช.ได้


    [​IMG]

    ผู้ว่าการประปาฯ ยัน ยังผลิตน้ำประปาให้ประชาชน กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ ได้ ด้านการไฟฟ้าฯ ยัน ผลิตไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอแน่นอน
    ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัย หรือ ศปภ. แถลงถึงมาตรการการดูแลระบบสาธารณูปโภคทั้ง น้ำประปา และ กระแสไฟฟ้า โดย นายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการการประปานครหลวง กล่าวยืนยันว่า สามารถผลิตน้ำประปา ให้กับประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และ สมุทรปราการ ได้ แม้ว่าจะอยู่ในภาวะประสบอุทกภัย โดยในส่วนความสะอาดของน้ำประปาที่ผลิตออกมา ถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และปลอดภัยต่อการอุปโภคบริโภค ซึ่ง นายพิชัย สงวนไชยไผ่วงศ์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง กล่าวยืนยันว่า สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ พร้อมให้ประชาชนมั่นใจได้ เนื่องจากมีระบบการจ่ายไฟแบบอัตโนมัติ และการจ่ายไฟสำรอง นอกจากนี้ก็ยังมีระบบติดตามระดับน้ำในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง ขณะเดียวกันยังแนะนำให้ประชาชนในการขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นสู่ที่สูง ก่อนที่น้ำจะไหลเข้าท่วม ประชาชนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้โทรศัพท์แจ้งมาได้ที่สายด่วนศูนย์ปฏิบัติการไฟฟ้านครหลวง หมายเลข 1130 หรือ 02-256-3222


    Link : http://www.innnews.co.th/ศปภ-ย้ำผลิตน้ำประปาให้ปชช-ได้--316899_01.html

    -http://www.innnews.co.th/%E0%B8%A8%E0%B8%9B%E0%B8%A0-%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%8A-%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1--316899_01.html-

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    นายกฯรับกทม.เสี่ยงท่วมทุกพื้นที่


    [​IMG]

    นายกรัฐมนตรี แถลงสั่งการทุกฝ่ายป้องกัน กทม. ยอมรับ น้ำมีมาก อาจทะลักเข้าพื้นที่ฝั่งตะวันออก น้ำอาจสูงถึงเมตรครึ่ง


    น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ว่า ได้สั่งการให้ทุกฝ่ายป้องกันให้ กทม.เสียหายน้อยที่สุด เพราะน้ำจากภาคเหนือ มีแนวโน้มสูงกว่าพนัง อาจทะลักพื้นที่ กทม.ทั้งชั้นใน กลาง และนอก โดยพื้นที่เสี่ยงที่สุดคือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และตามแนวพนังต่างๆ ซึ่งมีแนวทางป้องกันตั้งแต่ฝั่งตะวันตก และฝั่งธนบุรี ที่จะได้เร่งระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์ ส่วนแนวเจ้าพระยา จะดูแลพนังกั้นน้ำให้แข็งแรง แต่หากมีน้ำเกินกว่าศักยภาพของระบบ อาจมีผลต่อพื้นที่ธนบุรี และปริมณฑล ในที่ลุ่มน้ำอาจท่วมขังเฉลี่ยสูง 50 เซนติเมตร ส่วนตอนเหนือ มีมาตรการลดความกดดันของพลังน้ำ โดยปิด
    ประตูปาก คลองเปรมประชากร และเร่งระบายน้ำคลองรังสิต ลงคลองหกวา สายล่าง โดยหากเป็นไปตามแผน น่าจะควบคุมระดับน้ำไม่ให้ท่วมในพื้นที่สูงเกิน 50 ซ.ม. สำหรับฝั่งตะวันออก จะเร่งระบายน้ำลงทะเลตามแนวคลองที่ขุดไว้ แต่เนื่องจากฝั่งตะวันออก อยู่ในแนวหลากน้ำ อาจทำให้น้ำท่วมขังสูง 1 - 1.5 เมตร ได้

    นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า ในกรณีเลวร้ายที่สุด หากมีปัจจัยอื่น เช่น แนวกั้นน้ำพัง หรือ ระดับน้ำทะเลสูงกว่าคาดหมาย ทางรัฐบาลจะควบคุมให้น้ำเข้าพื้นที่น้อยที่สุด และท่วมขังจำนวนวันน้อยที่สุด ดังนั้นเพื่อไม่ประมาทประชาชนควรย้ายสิ่งของมีค่าไว้ที่สูง

    ทั้งนี้ได้มีการประสานงานย้ายผู้อพยพจากศูนย์ดอนเมืองไปสนามศุภชลาศัย




    Link : http://www.innnews.co.th/นายกฯรับกทม-เสี่ยงท่วมทุกพื้นที่--316925_01.html



    -http://www.innnews.co.th/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AF%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94--316925_01.html-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    นิทานเซน : เสน่ห์อย่างเซน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>26 ตุลาคม 2554 07:18 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=205 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=205>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left><CENTER> </CENTER><CENTER>-ภาพจาก nipic.com-</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>


    《禅的魅力》

    ยังมีสาวสะคราญนางหนึ่ง เป็นผู้มีความเพียบพร้อมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ฐานะตระกูลสูงส่ง เหนือกว่าผู้อื่นในทุกๆ ด้าน ซึ่งนางเองก็ทราบข้อนี้ดี แต่กลับไร้ซึ่งความสุข แม้อยากหาใครปรับทุกข์ด้วยก็มิมีแม้สักคนเดียว ดังนั้นนางจึงไปกราบนมัสการอาจารย์เซนอู๋เต๋อ และถามว่าทำอย่างไรนางจึงจะเพิ่มพูนเสน่ห์ในตนเอง เป็นที่รักใคร่ชื่นชมของผู้อื่น

    อาจารย์เซนอู๋เต๋อบอกกับนางว่า "ไม่ยาก ต่อจากนี้ไปหากสีกามีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใดก็ตาม จงเป็นไปด้วยจิตเมตตา พูดคำเซน ฟังเสียงเซน ปฏิบัติกิจของเซน มีจิตแห่งเซน เช่นนี้สีกาจะกลายเป็นผู้เปี่ยมด้วนเสน่ห์"

    เมื่อหญิงสาวนางนี้ได้ฟังคำแนะนำ ก็เอ่ยถามว่า "คำเซน เป็นเช่นใดเล่าท่านอาจารย์?"
    อาจารย์เซนอธิบายว่า "คำเซน คือคำพูดในเรื่องดีงาม พูดความจริง พูดอย่างอ่อนน้อม พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์"

    หญิงสาวยังคงถามต่อไป "แล้วเสียงเซน คือเช่นไร?"
    อาจารย์เซนอู๋เต๋อกล่าวต่อไปว่า "เสียงเซน คือการฟังเสียงทุกอย่างให้ลึกซึ้ง ทำเสียงก่นด่าให้เป็นเสียงแห่งความเมตตา ทำเสียงคำพูดให้ร้ายให้เป็นคำชื่นชม หากสีกาฟังเสียงร้องไห้ เสียงคำพูดบิดเบือน เสียงหยาบคาย โดยไม่ถือสา นั่นคือเสียงแห่งเซน"

    "ถ้าเช่นนั้น กิจของเซน เล่า เป็นอย่างไร?" หญิงสาวยังคงซักต่อ
    "การให้ทานคือกิจของเซน ทำสิ่งต่างๆ ด้วยความมีเมตตา ทำประโยชน์ให้สาธารณะ ล้วนเป็นกิจของเซน" อาจารย์เซนอู๋เต๋อกล่าว

    จากนั้นหญิงสาวจึงถามว่า "จิตแห่งเซน คือสิ่งใด?"
    อาจารย์เซนจึงกล่าวต่อไปว่า "จิตแห่งเซน คือจิตของเราท่าน จิตของปุถุชนและอริยชน จิตที่บรรจุทุกสรรพสิ่ง จิตที่โปรดสรรพสัตว์นั่นเอง"

    เมื่อหญิงสาวเข้าใจทั้งหมด จึงได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน ไม่โอ้อวดความมั่งมีต่อหน้าผู้อื่น ไม่มีจิตคิดว่าตนเองสวยสดงดงามยิ่งกว่าใคร ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน ให้ความเมตตาต่อผู้อื่น จากนั้นไม่นาง ผู้คนต่างร่ำลือกันว่า นางคือหญิงสาวที่มีเสนห์ที่สุด ผู้คนที่รายรอบต่างรักใคร่ชื่นชมนาง


    ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4


    -http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000136128-

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เตือนบางกอกน้อย ภาษีเจริญ รับมือ - น้ำถึงหลักสี่ 26 ต.ค.นี้

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ดร.เสรี ศุภราทิตย์</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เตือนบางพลัดจะท่วมเต็มพื้นที่ 1-2 วัน สูง 50 ซ.ม. น้ำจะไหลไปที่เขตบางกอกน้อย และภาษีเจริญ ส่วนคลองมหาสวัสดิ์คาดภายใน 3 วันจะมีปัญหารับน้ำมากระบายน้ำไม่ทัน ทางเหนือกทม.น้ำจะท่วมเต็มดอนเมืองอีก 2 วัน สูง 50 ซ.ม.จะไหลสู่เขตหลักสี่ 26 ต.ค.นี้ เขตสายไหมจะท่วมเต็มพื้นที่เช่นกัน

    เมื่อเวลา 00.20 น. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ว่า สถานการณ์น้ำที่กรุงเทพฝั่งตะวันตกหลังจากเขื่อนกั้นน้ำที่บางพลัดพังลง ทำให้มีน้ำล้นเข้าพืนที่บางพลัดตอนนี้หนักมาก คาดว่าน้ำจะใช้เวลา 1- 2 วัน จะท่วมเขตบางพลัดทั้งหมด ระดับน้ำจะสูง 50 ซ.ม. จากนั้นน้ำจะไหลไปที่เขตบางกอกน้อย หลังจากนั้นไปที่เขตภาษีเจริญ ให้ประชาชนเตรียมรับสถานการณ์ ขนของขึ้นที่สูงเกิน 1 เมตร

    สำหรับน้ำจาก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ขณะนี้ท่วมเต็มอ.ลาดหลุมแก้ว และ อ.บางบัวทอง กำลังไหลลงมาข้ามคันคลองมหาสวัสดิ์แล้ว น้ำส่วนหนึ่งจะไหลลงคลองประปา และลงคลองนราภิรมย์หรือคลองทวีวัฒนา ถ้าน้ำล้นคลองนราภิรมย์ น้ำทุกส่วนจะไหลลงคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งมีปริมาณน้ำมามากต้องสูบลงแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ศักยภาพในการสูบน้ำไม่ทันกับปริมาณน้ำที่มาก ทำให้น้ำจะไหลเร็วมาก ประชาชนบริเวณใกล้เคียงควรจะพิจารณาอพยพ คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน คลองมหาสวัสดิ์จะเริ่มมีปัญหา

    ทางด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร ถนนวิภาวดีรังสิต การสร้างคันกั้นน้ำที่ถนนไม่ได้ช่วยอะไรเลย การสร้างคันกั้นเพื่อต้องการให้ถนนแห้ง แต่ถนนก็ยังเปียกเหมือนเดิม ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นด้วย การสร้างคันกั้นน้ำจะทำให้น้ำเอ่อเหนือคัน น้ำจะอ้อมเข้าถนนวิภาวดีอยู่ดี อยากแนะนำให้ปล่อยน้ำไหลไปตามถนน ประกอบกับขณะนี้น้ำเหนือกำลังมา ตอนนี้เข้าเขตดอนเมือง ถ้ากั้นถนน น้ำจะสูงขึ้น ประชาชนต้องเตรียมรับสถานการณ์ ระดับน้ำท่วมจะสูงประมาณ 50 ซ.ม. คาดว่าเขตดอนเมืองน้ำจะท่วมเต็มภายในอีก 2 วัน โดยน้ำจะมาที่เขตหลักสี่ในวันพรุ่งนี้( 26 ต.ค.) หลังจากนั้นจะไหลเข้าเขตบางเขนต่อไป ส่วนที่เขตสายไหมพรุ่งนี้( 26 ต.ค.)ก็จะท่วมเต็มพื้นที่

    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000136337-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>วิกฤติน้ำท่วม เผยธาตุแท้คน 7 กลุ่ม แนะตื่นตัวอย่าตื่นกลัว</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>25 ตุลาคม 2554 23:24 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    วิกฤติน้ำท่วมสะท้อนพฤติกรรมคนไทย มศว.แบ่งคน 7 กลุ่ม คนอาสา คนทำหน้าที่ ผู้ประสบภัย คนเห็นแก่ตัว คนมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ฯลฯ แนะให้มีสติ ตื่นตัวแต่อย่าตื่นกลัว และให้มองปัญหาว่าสามารถคลี่คลายได้เสมอ

    ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่าผู้คนในสังคมจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นปรากฏการณ์ทางสังคมมากมาย โดยเฉพาะผู้คนในสังคมที่มีอยู่หลากหลายและสามารถแบ่งได้เป็น 7 ประเภท และแต่ละประเภทต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงตัวเองและต้องแก้ไขตัวเองด้วย มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาสังคมตามมาอีก

    1. กลุ่มคนที่เข้าช่วยเหลือ เผื่อแผ่ แป่งปัน แม้ว่าบุคคลที่เขาช่วยจะไม่ใช่ญาติหรือพี่น้อง หรือแม้แต่คนที่เขาไม่ชอบหน้า และแม้ว่าตัวเองจะไม่ประสบกับวิกฤติชะตากรรมนี้ เมื่อเห็นคนอื่นทุกข์ก็จะรีบเข้าไปช่วย ทั้งแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ อะไรที่สามารถช่วยได้ จะรีบเข้าช่วยเหลือ ด้วยจิตสำนึกมนุษยธรรม วิธีการปรับตัวและแก้ไข บุคคลประเภทนี้ ต้องเตือนตัวเองเรื่องของการทุ่มเทมากเกินไป เพราะการโหมกับบางสิ่งมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายทรุด อารมณ์แย่ และกลายมาเป็นกลุ่มเหยื่อแทน ท้ายที่สุดต้องการให้คนอื่นมาดูแลตัวเองแทน ต้องปรับตัวเองด้วยการมีการเปลี่ยนผลัดการทำงานเพื่อส่วนรวม ผลัดเวรกัน เปลี่ยนบทบาทการทำงานลงบ้าง

    2. กลุ่มคนที่ต้องทำตามหน้าที่ หรือภาระความรับผิดชอบ ซึ่งต้องทำงานโดยมีภาระหน้าที่และมีจิตใจที่อาสาอยากจะช่วยเหลือ และเห็นความทุกข์ของผู้อื่นก็พร้อมและยินดีเข้าช่วย โดยเก็บเรื่องราวและความทุกข์ของตัวเองไว้ก่อน แต่จะยึดหน้าที่ภาระรับผิดชอบเป็นหลัก วิธีการปรับตัวและแก้ไข จะต้องให้คนกลุ่มนี้มีเวลาพักพร้อมไปกับหาต้นทุนชีวิตให้ตัวเอง เพื่อจะได้มีแรงในการทำงานต่อไป เพราะการทำงานนานๆ และเห็นเหตุการณ์ใดๆ นานๆจะทำให้เกิดอาการล้า เหนื่อย และบางคนอาจจะคิดต่อไปว่า หน้าที่ก็ต้องทำ ตัวเองและครอบครัวยังเอาตัวไม่รอด จึงอยากให้กลุ่มคนกลุ่มนี้ได้พัก หาสิ่งที่เติมเต็มให้ตัวเองก่อน เพื่อจะได้มีแรงเติมเต็มในการทำงานต่อไป

    3. กลุ่มคนที่ร่วมด้วยช่วยกัน โดยเมื่อเราทุกข์ก็เห็นทุกข์ของคนอื่น จะช่วยกันประคับประคองกันและกัน ช่วยเหลืออะไรได้ก็จะช่วย ทำอะไรก็จะทำ และบุคคลกลุ่มนี้จะคิดว่าไม่ใช่ตัวเองคนเดียวที่ทุกข์ คนอื่นก็ทุกข์และประสบชะตากรรมเดียวกับเรา เขาจึงมีกำลังใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้อื่น วิธีการปรับตัวและแก้ไขต้องกระทำตนให้เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ หากรู้สึกแย่ก็พร้อมรับกำลังใจ หากพอจะประคับประคองใจได้ ก็ร่วมเป็นกำลังใจให้ผู้อื่น อยากให้บุคคลกลุ่มนี้เติมใจแกร่ง ดูแลตัวเองให้รอด เก็บแรงไว้เพื่อสร้างขึ้นมาใหม่ในวันข้างหน้าเพราะไม่ใช่ตัวเราคนเดียวที่ได้รับชะตากรรมนี้

    4. กลุ่มคนที่เอาตัวเองให้รอด เอาตัวเองให้พ้นคนอื่นเป็นอย่างไรไม่สนใจ แต่ตัวเองต้องไม่เป็นอะไรและเมื่อเขารอดค่อยว่ากันว่าจะทำอย่างไรต่อ กลุ่มคนประเภทนี้ถ้ามีใครเข้ามาช่วยเขาก็จะขอบคุณ แต่ถ้าใครรุกล้ำก็จะเดือดดาล หากตัวเขาเองเป็นอะไรไปหรือต้องประสบชะตากรรม เขาจะไม่ยอมและจะพยายามให้คนอื่นเป็นอย่างเขาด้วย วิธีการปรับตัวและแก้ไข คนกลุ่มนี้ต้องรู้จักคำว่า "เรา" ให้มากกว่า "ฉัน" คนกลุ่มนี้ต้องฝึกตั้งสติ ดับอารมณ์การสูญเสียลงบ้าง โดยเฉพาะคำพูดที่อยู่ในตัวตนที่ว่า ทำไมฉันต้องโดนทำไมบ้านฉันต้องโดนน้ำท่วม ทำไมคนอื่นไม่โดนอย่างฉัน ลดการคิดที่จะพูดว่า ฉันต้องได้ ฉันต้องรอด และต้องฝึกเสียสละ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้อื่นเพื่อจะร่วมกันสร้างสุขร่วมกับผู้อื่นบ้าง

    5. กลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น แต่ผวาวิตกกังวลจริต คิดไปต่างๆ นาๆ ในด้านลบด้านร้าย พร้อมยังแตกตื่นหรือตื่นตูมกับทุกเรื่องที่ร้ายๆ ได้ยินได้ฟังข่าวสารต่างๆ จิตเตลิดตลอดเวลา วิธีการปรับตัวและแก้ไขให้เลิกรับรู้เรื่องราวข่าวสารต่างๆ เปลี่ยนเรดาร์สายตา ดูเรื่องดี ฟังเรื่องบวก อื่นๆ บ้าง เ พื่อลดอาการรน แปลงความตระหนกตกใจ เป็นหาอะไรทำเพื่อป้องกัน ให้รู้สึกว่าได้ทำอะไรเพื่อคลายล็อคความรู้สึกแย่

    6. กลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ แต่ตั้งตัว ตั้งสติ เตรียมตัว เตรียมพร้อมเพื่อรับมืออย่างตื่นตัวแต่ไม่ได้ตื่นกลัว หรือทำให้แตกตื่น และตื่นตระหนก คิดแก้ปัญหาหาทางออกเพื่อรับมือกับสถานการณ์ วิธีการปรับตัวและแก้ไขกลุ่มตื่นตัว ตั้งสติ กลุ่มนี้ ให้เก็บใจ เก็บแรง เก็บกายไว้ เพื่อเป็นตัวแบบ และเป็นหลักให้กับกลุ่มอื่นด้วย มีเวลาพักให้กับตนเอง และช่วยเป็นแรงเสริมให้กลุ่มอื่นๆ บ้าง

    7. กลุ่มคนที่ไม่พายแต่เอาน้ำราน้ำตลอดเวลา วิพากษ์วิจารณ์คนอื่น เอาแต่พูด เหน็บหาเรื่องตำหนิได้เสมอ พร้อมทำให้สังคมแตกแยก คนกลุ่มนี้จะสนุกกับการทำให้ผู้อื่นตื่นตระหนก ชอบขยายเชื่อมโยงเนื้อหาสาระข้อมูลข่าวสาร แต่ไม่ได้ช่วยทำให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น มีแต่จะนั่งดูและพูดถึงคนอื่นในด้านลบอย่างเดียว วิธีการปรับตัวและแก้ไข ให้พูดน้อย ทำให้มาก เปลี่ยนการเสียดสี มาเป็นจิตอาสา เอาแรงมาปลอบขวัญคนดีกว่า เอามือเขียนสิ่งสร้างสรรค์ ส่งเสริมกำลังใจคนไทยในประเทศกันดีกว่า เพราะตอนนี้ เป็นเวลาช่วยกันมากกว่าจะโทษกัน

    ดร.จิตรา กล่าวว่า สำคัญมากในช่วงนี้ สำหรับทุกคน ทุกกลุ่ม คือ กายต้องรอด ต้องไม่เจ็บป่วย ใจต้องแกร่ง คือ จิตไม่ตก เพราะหากไม่มีแรง กาย แรงใจ เราจะไม่สามารถมองไกลไปถึงวันหน้าได้ อยากให้คนไทยทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ต้องประสบกับปัญหาอุทกภัยรู้จักตื่นตัว แทนการตื่นกลัว ตั้งสติให้ได้ แทน สติแตกแล้วมองปัญหาว่าสามารถคลี่คลายได้เสมอ


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000136314-

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    "FLOOD_REST" ตัวช่วยประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมด้วยตัวเอง


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ท่ามกลางวิกฤตน้ำท่วมที่ไหลหลากสร้างความเดือดร้อน และความเสียหายในหลาย ๆ จังหวัด และค่อย ๆ ทะลักเข้าท่วมแถบปริมณฑล บ้านเรือนในย่านปากเกร็ด บางบัวทอง จ.นนทบุรี หมู่บ้านในเขตคลองรังสิต จ.ปทุมธานี ได้รับผลกระทบสาหัส ขณะเดียวกัน น้ำก็รุกคืบเข้าบดขยี้ ไหลเข้าท่วมบางเขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้หลาย ๆ ครอบครัวในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมอกสั่นขวัญแขวนและเครียดกับการตั้งรับวิกฤตครั้งนี้เป็นอย่างมาก

    ไม่เพียงแต่วิกฤตน้ำท่วมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังเกิดวิกฤตสำลักข้อมูลข่าวสารที่สับสนปนเปเพราะได้รับข้อมูลเตือนภัยจากหลากหลายช่องทาง จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์ฯ ได้ทำการระดมผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาระบบและเครื่องมือสำหรับประชาชนได้ใช้ในยามฉุกเฉินออกมาเป็น "เครื่องมือช่วยประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมด้วยตัวเอง" เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิตตนเองและครอบครัว รวมทั้งลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน

    สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับ "เครื่องมือช่วยประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมด้วยตัวเอง" รศ.ชัยยุทธ สุขศรี อาจารย์จากภาควิชาวิศกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายให้ฟังว่า เป็นส่วนหนึ่งของระบบประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมด้วยตนเอง (Flood Risk Evaluation System for Thailand มีชื่อย่อว่า FLOOD_REST) โดยระบบนี้พัฒนาขึ้นจากข้อมูลและฐานข้อมูลที่เกิดจากการศึกษาวิจัยของจุฬาฯ และจากข้อมูลที่มีใช้งานอยู่แล้วในส่วนราชการ โดยข้อมูลที่นำเข้าในระบบปัจจุบัน ได้แก่

    1. ค่าระดับพื้นดินบางส่วนของเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร บางส่วนของอำเภอบางพลีและอำเภอเมืองสมุทรปราการ ข้อมูลจากโครงการศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ไลดาร์สำหรับงานวิศวกรรม โครงการความร่วมมือระหว่างกรมทางหลวง กรมแผนที่ทหาร และแคนนาดา ข้อมูลบันทึกโดยเลเซอร์สแกนเนอร์ (ไลดาร์) ปี 2548

    2. ค่าระดับของผิวถนนสายหลักของกรุงเทพมหานคร สำรวจเมื่อปี พ.ศ.2550

    3. พื้นที่ปิดล้อมเพื่อการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร

    นอกจากนี้ รศ.ชัยยุทธ กล่าวต่อไปว่า ระบบ FLOOD_REST เป็นแผนที่ออนไลน์ที่ทุกบ้านสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้รับรู้สภาพกายภาพที่ตั้งของที่อยู่อาศัย ทรัพย์สินของบุคคล และสถานประกอบการธุรกิจต่าง ๆ รวมทั้งเส้นทางน้ำ และระบบระบายน้ำ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลการป้องกัน (บรรเทา) และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยระบบพื้นที่ปิดล้อมของกรุงเทพมหานครได้

    ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นแผนที่ออนไลน์ ผู้ใช้แต่ละบ้านสามารถเข้าถึงได้สะดวกในรูปแบบโปรแกรมประยุกต์ที่แพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ โปรแกรมกูเกิ้ลแมพ และกูเกิ้ลเอิร์ธ ที่เว็บไซต์ www.chula.ac.th/flood_rest/ ซึ่งมีขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเองง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

    1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.chula.ac.th/flood_rest/ เลือกระบบการเข้าใช้เพื่อประเมินระดับน้ำท่วม ซึ่งมีให้เลือกทั้งดูบนมือถือ และคอมพิวเตอร์

    2. คลิกเลือกระบบใดระบบหนึ่ง

    3. หลังจากคลิกเข้าไปแล้ว จะปรากฎแผนที่ขึ้นมา ให้มองหาตำแหน่งที่อยู่อาศัยของคุณ

    4. เมื่อหาเจอแล้ว ด้านบนขวามือสุดจะมีเครื่องหมายบวกเล็ก ๆ ให้คลิกเข้าไปแล้วเลือกเครื่องหมายถูกที่ Google Hybrid เพื่อให้สามารถเห็นตำแหน่งบ้านของท่านได้ชัดเจนขึ้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตัวอย่างโปรแกรม Flood_REST ตัวช่วยประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> 5. ขยายเข้าไปใกล้ ๆ บริเวณพื้นที่บ้านของท่านให้มากที่สุด

    6. คลิกไปที่ตำแหน่งบริเวณใกล้ ๆ บ้าน ระบบจะปรากฎหน้าต่างแสดงค่าระดับพื้นผิวดินขึ้นมา จากนั้นป้อนค่าคาดการณ์ที่ทราบข่าวมา หรือจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ระบบก็จะแสดงตัวเลขของระดับน้ำที่มีความเสี่ยงต่อการท่วมบ้านให้เตรียมการวางแผนในการตั้งรับต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ค่าระดับพื้นผิวดินอยู่ที่ 1 เมตร และค่าระดับน้ำคาดการณ์ว่าจะท่วมอยู่ที่ 2.50 เมตร ความสูงของระดับน้ำที่จะท่วมก็อยู่ที่ 1.50 เมตร

    อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สามารถใช้ระบบตรวจสอบได้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีความแม่นยำระดับบวก-ลบ 30 เซนติเมตร และในพื้นที่เขตประเวศ กทม.และจ.สมุทรปราการ มีความแม่นยำระดับบวก-ลบ 10 เซนติเมตร

    "ประชาชนสามารถใช้ FLOOD_REST ประเมินระดับน้ำที่กำลังคุกคามและประเมินผลกระทบเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากระบบเป็นแผนที่ออนไลน์ เพียงแค่ป้อนค่าข้อมูลคาดการณ์ระดับน้ำท่วมซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกดูจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ โดยผลต่างระหว่างค่าระดับน้ำคาดการณ์และค่าระดับพื้นผิวดินที่มีความละเอียดถูกต้องสูงระดับ "เดซิเมตร" เลยทีเดียว นั่นจะเป็นประโยชน์ให้แต่ละบ้านสามารถประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมเพื่อใช้ในการเตรียมตัว เช่น กำหนดระดับการยกของขึ้นที่สูง ตำแหน่งที่ดอนที่อาจย้ายรถไปจอด ตลอดจนถึงความจำเป็นในการเตรียมการและตัดสินใจอพยพ" รศ.ชัยยุทธสรุปทิ้งท้าย

    ///////////////////////

    ข้อมูลประกอบข่าว

    สำหรับการพิจารณาค่าคาดการณ์น้ำท่วมเพื่อประเมินความเสี่ยง แต่ละบ้านสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมตามช่องทางดังต่อไปนี้

    - ข้อมูลระดับตลิ่งคลอง หรือระดับน้ำในคลองในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เว็บไซต์ dds.bangkok.go.th/Canal/

    - ข้อมูลระดับน้ำที่ประตูน้ำ และสถานีสูบน้ำต่าง ๆ ภายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เว็บไซต์ dds.bangkok.go.th/Scada/

    - ข้อมูลปริมาณน้ำท่วมบนถนน ณ เวลาปัจจุบัน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เว็บไซต์ dds.bangkok.go.th/Floodmon/

    โดยข้อมูลส่วนนี้มีความจำเป็นต้องไปอ้างอิงกับระดับถนนที่อยู่ในโปรแกรม Flood_REST เพื่อให้สามารถเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) ได้

    นอกจากนั้นแล้ว พื้นที่ที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาสายหลัก ยังสามารถพิจารณาข้อมูลระดับน้ำเจ้าพระยาประกอบการพิจารณาค่าคาดการณ์น้ำท่วม โดยข้อมูลระดับน้ำที่ตำแหน่งต่าง ๆ ตลอดลำน้ำเจ้าพระยา สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ของกรมชลประทาน www.rid.go.th ในรายงานการพยากรณ์สภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยเฉพาะส่วนที่ผ่านกรุงเทพมหานครอันได้แก่ สถานีปากเกร็ด (C.22A) สถานีสามเสน (C.12) สถานีสะพานพุทธ (C.4) และสถานีการท่าเรือ (C.53) ที่เว็บไซต์ water.rid.go.th/chao_scada/forecast

    ///////////////////////

    หมายเหตุ

    *** เนื่องจากตอนนี้มีผู้อ่านจำนวนมาก ไม่สามารถเข้าใช้ระบบ FLOOD_REST ได้ซึ่งทางผู้ดูแลระบบของจุฬาฯ ชี้แจงว่า กำลังปรับปรุงอยู่ คาดว่าน่าจะั้เข้าใช้ได้ตอนช่วงบ่าย ๆ

    ดังนั้น ในตอนนี้ท่านสามารถประเมิน "น้ำ" ที่อาจมีผลกระทบในเบื้องต้นไปก่อน โดยดูจากแผนที่ค่าระดับพื้นดินในพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการตามลิงค์นี้ www.chula.ac.th/flood_rest/contents/map_lidar_2548_hi.jpg

    เมื่อคลิกเข้าไปแล้ว ให้ขยายเข้าไปดูว่าพื้นที่ของท่านอยู่ในสัญลักษณ์สีอะไร แล้วดูว่ามีค่าระดับพื้นดินเท่าไร จากนั้นนำมาหักลบกับค่าคาดการณ์น้ำท่วมที่ท่านได้ทราบข่าวมา หรือจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ค่าระดับพื้นผิวดินในย่านอาศัยของท่านอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร และค่าระดับน้ำคาดการณ์ว่าจะท่วมอยู่ที่ 2.50 เมตร ความสูงของระดับน้ำที่จะท่วมบ้านคุณก็จะอยู่ที่ 1.50 เมตร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    -http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000136368-

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    รศ.เสรี เผยชื่อเขตเสี่ยง กทม. ถูกน้ำท่วมใน 1-2 วันนี้


    [​IMG]

    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยพีบีเอส

    รศ.ดร.เสรี คาดการณ์เขตเสี่ยงใน กทม. ถูกน้ำท่วมใน 1-2 วันนี้ โดยน้ำจากปทุมฯ จะไหลลงไปถึงบางซื่อ จตุจักร ลาดพร้าว คันนายาว บึงกุ่ม และมีนบุรี

    เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ได้กล่าวถึงประเมินสถานการณ์น้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครว่า ในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ จะมี 4 เขตในกรุงเทพมหานครเสี่ยงถูกน้ำท่วม ประกอบด้วย เขตหลักสี่ บางเขน คลองสามวา และหนองจอก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่จะรับน้ำที่ไหลทะลักมาจากเขตสายไหม และดอนเมือง ซึ่งถูกน้ำท่วมในหลายพื้นที่ไปก่อนหน้านี้แล้ว

    ขณะเดียวกัน รศ.ดร.เสรี ยังได้ประเมินด้วยว่า ในวันพรุ่งนี้ (27 ตุลาคม) น้ำที่ไหลทะลักท่วมในหลายเขตของวันนี้ (26 ตุลาคม) จะเดินทางไปถึงเขตบางซื่อ จตุจักร ลาดพร้าว คันนายาว บึงกุ่ม และมีนบุรี ในลำดับต่อไป จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตดังกล่าวเตรียมรับมือด้วย

    อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ รศ.ดร.เสรี ได้เคยคาดการณ์พื้นที่ที่จะถูกน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร โดยสมมติสถานการณ์ว่า หากกรุงเทพมหานครถูกน้ำท่วมทั้งหมด จะมีบางเขตที่มีน้ำท่วมสูงถึง 1-2 เมตร เช่น ทางตอนใต้ของเขตดอนเมือง ทางตอนเหนือและตะวันตกของเขตหนองจอก และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด (สีเขียว) ขณะที่บางจุดจะมีน้ำท่วมตั้งแต่ระดับ 10 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ตามความสูงของพื้นที่


    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64101-

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...