พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    ตะไคร้หอม สมุนไพรไล่ยุง


    [​IMG]



    นอกจากโรคน้ำกัดเท้าที่มาพร้อมน้ำท่วม น้ำขังแล้ว ‘ยุง’ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวัง เพราะเป็นพาหะนำโรค สำหรับสมุนไพรที่ใช้ไล่ยุง คือ ตะไคร้หอม มีสรรพคุณป้องกันยุงกัด

    วิธีการทำ ให้นำตะไคร้หอม 4-5 ต้น มาทุบ แล้ววางทิ้งไว้ในห้องมืด ๆ กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยที่ลอยออกมาจะช่วยไล่ยุงและแมลงออกไป แต่ถ้ามีน้ำมันสกัดตะไคร้หอมแล้ว ก็ให้นำมาทาตัวเพื่อป้องกันยุงกัด

    นอกจากนี้ ตะไคร้หอม ยังมีประโยชน์ทางยา ที่ช่วยแก้โรคริดสีดวงในปากและสามารถปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ได้


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=424&contentId=170245-


    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    <table style="margin-bottom: 10px; width: 960px; height: 214px;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="center" background="http://palungjit.org/images/footer-bg.gif" height="214" valign="top" width="960">
    กรุงเทพฯ จมน้ำ อยู่ใต้ทะเลอ่าวไทย เมื่อหลายพันปีมาแล้ว

    คอลัมน์ สุวรรณภูมิสังคมวัฒนธรรม
    โดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ
    </td></tr></tbody></table>[​IMG]





    <table align="left" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"> <tbody> <tr bgcolor="#400040"> <td>[​IMG]
    (บน) กระดูกหัวปลาวาฬที่ศาลศีรษะปลาวาฬในบริเวณพระราชวังเดิม กองทัพเรือ เป็นกระดูกที่พบอยู่ใต้ถุนศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน (ล่าง) ขวานหินและเศษภาชนะราว 2,500 ปีมาแล้ว งมได้จากแม่น้ำน้อย อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ วัดเชิงท่า เมืองลพบุรี) แสดงว่าตลอดลำน้ำเก่าก่อนมีแม่น้ำเจ้าพระยาเคยเป็นแหล่งอยู่อาศัยชั่วคราว หรือแสวงหาอาหารผ่านไปมาของคนยุคนั้น

    </td></tr></tbody> </table> กรุงเทพมหานคร (กทม.) ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของอ่าวไทย

    แต่ ในยุคดึกดำบรรพ์ ราว 12,000 ปีมาแล้ว พื้นที่ของกรุงเทพฯ จมอยู่ใต้ท้องทะเลอ่าวไทย เพราะอ่าวไทยในอดีตมีขอบเขตลึกเข้าไปในแผ่นดินที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา

    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยมีลายพระหัตถ์เล่าว่า "ขุดได้ซากปลาวาฬที่บางเขน ไม่ห่างสะพานพระราม 6 เท่าใดนัก"

    เหตุ ที่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นทะเล เมื่อประมาณ 12,000 ปีมาแล้ว เพราะน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นมากจากน้ำแข็งละลาย ทำให้ท้องทะเลแถบอ่าวไทย มีขอบเขตกว้างขวางสูงขึ้นไปถึงลพบุรีหรือเหนือขึ้นไปอีก

    ยุคดึกดำ บรรพ์ที่บริเวณกรุงเทพฯ ยังจมเป็นพื้นท้องทะเลอ่าวไทย เขตป่าเขาลำเนาไพรโดยรอบอ่าวไทยมี "มนุษย์อุษาคเนย์" ร่อนเร่เป็นกลุ่มเล็กๆ กระจัดกระจายแสวงหาอาหารตามธรรมชาติด้วยเครื่องมือทำด้วยหินและไม้ บางทีก็เอาเรือไม้แล่นหาอาหารตามทะเลโคลนตม

    มีเรื่องราวละเอียดอยู่ในหนังสือกรุงเทพฯ มาจากไหน? (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2548) จะสรุปสั้นๆ มาดังต่อไปนี้

    "ทะเลโคลน" ก่อนมีกรุงเทพฯ

    ทะเลอ่าวไทยยุคดึกดำบรรพ์ราว 12,000 ปีมาแล้ว มีขอบเขตกว้างขวางกว่าปัจจุบัน ดังนี้

    ทิศเหนือ ทะเลสูงขึ้นไปถึงบริเวณ จ.ลพบุรี หรือเหนือขึ้นไปอีก

    ทิศ ตะวันตก ทะเลเว้าเข้าไปถึงบริเวณ อ.เมือง และ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ต่ำลงมาที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ต่ำลงมาที่ อ.เมือง จ.ราชบุรี และต่ำลงมาที่ อ.เมือง จ.เพชรบุรี

    ทิศตะวันออก ทะเลเว้าเข้าไปถึงบริเวณ จ.สระบุรี จ.นครนายก จ.ปราจีนบุรี และเว้าไปถึง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

    เมื่อขอบเขตอ่าวไทยยุคดึกดำบรรพ์ล้ำเข้าไปมากกว่าปัจจุบัน แม่น้ำสายสำคัญๆ ที่ไหลลงทะเลจึงสั้นกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ คือ

    ปากน้ำเจ้าพระยา อยู่บริเวณ จ.นครสวรรค์-ชัยนาท

    ปากน้ำแม่กลอง อยู่ทาง จ.นครปฐม (แม่น้ำท่าจีนยังไม่มี)

    ปากน้ำบางปะกง อยู่ทาง จ.นครนายก-ปราจีนบุรี

    ปากน้ำป่าสัก อยู่ทาง จ.ลพบุรี เป็นต้น

    ทะเล อ่าวไทยยุคดึกดำบรรพ์ที่กว้างขวางดังกล่าวมิได้อยู่คงที่ เพราะแผ่นดินโดยรอบงอกออกไปเรื่อยๆ ตามปรากฏการณ์ธรรมชาติ อันเป็นผลจากการทับถมของตะกอนหรือโคลนตมที่ล้นทะลักไหลมากับน้ำในแม่น้ำสาย ต่างๆ ที่มีอยู่รอบอ่าวไทย ยุคโน้น

    ครั้นนานเข้าก็กลายเป็นทะเลโคลนตม ขยายพื้นที่กว้างออกไปเรื่อยๆ ช้าๆ ตามธรรมชาติ

    ในที่สุดโคลนตมที่ถมทับกลับกลายเป็นดินดอน แผ่กว้างเป็น "แผ่นดินบก" สืบเนื่องจนปัจจุบัน

    นอก จากจะถมทะเลให้เป็นแผ่นดินบกแล้ว โคลนตมจำนวนมหาศาลยังเป็นปุ๋ย ธรรมชาติดีที่สุด ที่ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวในสมัยหลังๆ

    เมื่อ ตะกอนจากแม่น้ำทะลักออกมาทับถมนานนับพันปี ในที่สุดอ่าวไทยก็ค่อยๆ หดลง บริเวณที่โคลนตมตกตะกอนก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่

    คนดึกดำบรรพ์ร่อนเร่ "ทะเลโคลน"

    3,000 ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักถลุงเหล็กทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ มีชุมชน บ้านเมืองขนาดเล็กๆ เกิดขึ้นทั่วไป มีคนจากที่ต่างๆ เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนประเทศไทยมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

    แต่บริเวณกรุงเทพฯ ยังเป็นทะเลโคลนตม จึงไม่มีคนตั้งหลักแหล่งถาวรได้ จะมีก็เพียงคนบางกลุ่มเคลื่อนไหวแสวงหาอาหารผ่านไปมา

    ยุคสุวรรณภูมิ-ทวารวดี ยังไม่มีกรุงเทพฯ

    สมัย แรกที่พุทธศาสนาจากชมพูทวีปแผ่มาถึง "สุวรรณภูมิ" หรือภูมิภาคอุษาคเนย์โบราณ เมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว หรือราว พ.ศ.500 กรุงเทพฯ ยังเป็นทะเลโคลนตมกว้างใหญ่ไพศาล

    ต่อมาราวหลัง พ.ศ.1000 เริ่มเกิดรัฐยุคแรกๆ ที่รู้จักทั่วไปในชื่อรวมๆ กว้างๆ ว่า "ทวารวดี" บริเวณกรุงเทพฯ ก็ยังคงเป็นทะเลโคลนตมอย่างเดิม

    แต่โคลนตมบางแห่ง แข็งตัวเป็นผืนแผ่นดินมากขึ้น มีป่าชายเลน ไม้โกงกาง ฯลฯ แล้วมีแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่หลายสาขา เป็นเส้นทางคมนาคมออกสู่ทะเลอ่าวไทย ขยายขึ้นเรื่อยๆ บางแห่งเป็นที่ดอนสูง มีผู้คนตั้งหลักแหล่งประปรายเป็นหย่อมๆ ห่างไกลกัน

    พบเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหินและโลหะตกค้างฝังดินและจมโคลนตมอยู่บ้างไม่มากนัก แสดงว่ามีผู้คนยุคดึกดำบรรพ์ผ่านไปมาบ้าง

    คนพื้นเมืองรุ่นแรก

    ครั้น หลัง พ.ศ.1600 มีบ้านเมืองและรัฐรุ่นใหม่เติบโตขึ้นโดยรอบอ่าวไทย โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น รัฐอโยธยาศรีรามเทพ (ที่ต่อมาเป็นกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งตั้งอยู่ตอนบนของอ่าวไทยเหนือกรุงเทพฯ ขึ้นไป

    ทางน้ำกว้างใหญ่ ผ่านบริเวณกรุงเทพฯ (ที่ต่อไปอีกนานมากจะได้ชื่อว่าเจ้าพระยา) ไหลคดเคี้ยวเป็นรูปโค้งเกือกม้า (Oxbow Lake) นับเป็นแม่น้ำเก่าแก่ดั้งเดิมของกรุงเทพฯ

    มีคนพื้นเมืองตั้งหลัก แหล่งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนชายเลนบ้างแล้ว เช่น พวกพูดภาษาตระกูลมาเลย์-จาม กับชวา-มลายู จนถึงตระกูลมอญ-เขมร กับลาว-ไทย

    กรุงเทพฯ อยู่ใต้ทะเลอ่าวไทย มีในแผนที่แสดงแนวชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยสมัยโบราณ เมื่อระหว่าง 6,000-3,000 ปีมาแล้ว (ดัดแปลงจาก Somboon Jarupongsakul, 1990, Geomorphology of the Chao Phraya Delta. Thailand, p. 63)


    [FONT=Tahoma,]หน้า 20,มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2554 [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2011
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เพิ่งจะมีเวลาว่าง..เช้านี้ขอนำภาพมหามงคลมาเป็นกำลังใจให้คนไทยได้สู้ภัยน้ำท่วมร่วมกัน...
    [​IMG]
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ขอเชิญร่วมมหากุศลเป็นเจ้าภาพร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลทอดกฐินตกค้างจำนวน ๘๔ วัด ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
    <O:p</O:p
    ด้วยในกาลกฐินประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ นี้ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมอบหมายให้กรมราชองครักษ์ดำเนินการสำรวจวัดที่ยังไม่มีเจ้าภาพจองทอดกฐิน ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งพบว่ามีวัดจำนวนทั้งสิ้น ๘๔ วัดยังไม่มีเจ้าภาพจองทอดกฐินในปีนี้ อันเป็นผลกระทบจากการก่อความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน จำนวน ๘๔ ไตร พร้อมพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง ให้กรมราชองครักษ์ คณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาในบวรพุทธศาสนา อัญเชิญไปถวายวัดทั้ง ๘๔ วัด ซึ่งมีพระสงฆ์จำพรรษาครบจำนวน ๕ รูป และอยู่ครบถ้วนไตรมาส<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในการนี้พระครูปภัสสรวรพินิจ เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และพระธวัชชัย ชาครธัมโม ( พระอาจารย์นิล ) ได้รับเป็นเจ้าภาพร่วมในการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน และการจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายแด่วัดทั้ง ๘๔ วัด เพื่อร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วย <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จึงขอเรียนเชิญท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายร่วมเป็นเจ้าภาพมหากุศลครั้งนี้ โดยผู้รับเป็นเจ้าภาพสามารถรับเป็นเจ้าภาพได้ทั้ง ๘๔ วัด โดยร่วมบุญตามกำลังศรัทธา หรือ รับเป็นเจ้าภาพกองกฐินกองละ ๓,๐๐๐ บาท จำนวน ๕๐๐ กอง โดยในเบื้องต้น ทางวัดห้วยมงคลจะได้จัดปัจจัยถวายแต่ละวัด วัดละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมผ้าไตรจีวร หากมีผู้ทำบุญมาเกินกว่าจำนวนที่ได้ตั้งไว้ ทางวัดจะจัดปัจจัยเฉลี่ยเท่าๆกันถวายแด่วัดทั้งหมดจำนวน ๘๔ วัด ทั้งนี้เจ้าภาพสามารถร่วมทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศลในการร่วมถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน และถวายผ้ากฐินสำหรับทุกวัดด้วย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สำหรับรายละเอียดและกำหนดการทอดกฐินมหากุศลในครั้งนี้ มีดังนี้
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    1. วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ <O:p</O:p
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดวังโต้ อ. นาทวี จ. สงขลา จำนวน ๒๐ วัด<O:p</O:p
    เวลา ๑๓.๐๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดมุจลินทร์ จ. ปัตตานี จำนวน ๓๐ วัด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2. วันจันทร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔<O:p</O:p
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐินที่วัดเขากง จ. นราธิวาส จำนวน ๓๔ วัด

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    รายชื่อวัด (ตามไฟล์แนบ ผมได้มาเพียง 80 วัดครับ)


    -------------------------------------------

    บัญชีที่ผมใช้สำหรับงานบุญนี้ ผมใช้บัญชีส่วนตัวผม

    ดังนั้น หากท่านผู้อ่านที่เคยร่วมทำบุญพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง มีความลังเล , สงสัย , เคลือบแคลง , ไม่มั่นใจ , ไม่แน่ใจ และกลัวว่าผมจะมีส่วนได้ส่วนเสียในเงินร่วมทำบุญนี้ ก็ไม่ต้องทำบุญครับ

    สำหรับท่านผู้อ่านที่เคยร่วมทำบุญพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ผมให้สิทธิในการร่วมทำบุญ แต่ผมขอให้อยู่ในดุลยพินิจของผมว่า จะให้ร่วมทำบุญได้หรือไม่ หากท่านใดที่ผมอนุญาตให้ร่วมทำบุญ ผมจะให้ท่านแจ้ง ชื่อ - นามสกุล และที่อยุ่มาให้ผมก่อน แล้วผมจะส่งหมายเลขบัญชีที่จะให้โอนเงินร่วมทำบุญไปให้อีกครั้งครับ

    ระยะเวลาในการร่วมทำบุญ สิ้นสุดในวันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2554 เวลา 18.00 น.ครับ

    โมทนาบุญทุกประการ

    sithiphong
    20/10/2554




    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    กทม. พร้อม! เตรียมศูนย์พักพิง 24 เขต รองรับกว่า 4 หมื่นคน

    -http://hilight.kapook.com/view/63935-




    [​IMG]


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย

    กรุงเทพมหานครเตรียมพร้อม ประกาศศูนย์พักพิงชั่วคราวรวม 24 เขต 173 ศูนย์พักพิง รองรับได้ 42,255 คน โดยแบ่งได้ดังนี้....

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตบางเขน รองรับได้ 3,300 คน

    [​IMG]โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เบอร์ติดต่อ 0-2521-0427, 081-804-8776 รับได้จำนวน 1,000 คน
    [​IMG]โรงเรียนบ้านคลองบัว-(เอี่ยมแสงโรจน์) เบอร์ติดต่อ0-2519-9104, 086-102-7193 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG]โรงเรียนบ้านบัวมล-(เจริญราษฎร์อุทิศ) เบอร์ติดต่อ 0-2519-8825, 089-132-2877 รับได้จำนวน 600 คน
    [​IMG]โรงเรียนประชาภิบาล เบอร์ติดต่อ 0-2521-0424, 081-984-7984 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG]โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม เบอร์ติดต่อ 0-2552-2079, 081-714-6422 รับได้จำนวน 700 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตสายไหม รองรับได้ 2,410 คน

    [​IMG] โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย เบอร์ติดต่อ 0-2531-3676, 081-875-9518 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนซอยแอนเนกซ์-(กาญจนาภิเษก-2) เบอร์ติดต่อ 0-2523-8976, 081-689-2472 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนสายไหม(ทัสนารมย์อนุสรณ์) เบอร์ติดต่อ 0-2536-0363, 089-124-5443 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนประชานุกูล-(ขำสนิทอนุเคราะห์) เบอร์ติดต่อ 0-2523-7649, 080-790-8079 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม เบอร์ติดต่อ 0-2523-6845, 089-887-4850 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม-(พิบูลสงคราม) เบอร์ติดต่อ 0-2521-0501, 089-531-8349 รับได้จำนวน 30 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดหนองใหญ่ เบอร์ติดต่อ 0-2533-3493, 081-824-7876 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนออเงิน-(อ่อนเหมอนุสรณ์) เบอร์ติดต่อ 0-2533-3494, 089-987-0706 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธิ์ เบอร์ติดต่อ 0-2519-8827, 086-997-8234 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย-1 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย-2 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดออเงิน รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดหนองใหญ่ รับได้จำนวน 30 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตคลองสามวา รองรับได้ 1,450 คน

    [​IMG] โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา เบอร์ติดต่อ 0-2175-3070, 086-908-2215 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง เบอร์ติดต่อ 0-2175-3076, 089-962-7904 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าสามวา เบอร์ติดต่อ 0-2993-1284, 089-213-0606 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุขใจ เบอร์ติดต่อ 0-2906-1632, 081-646-9167 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดศรีสุก เบอร์ติดต่อ 0-2988-6143, 089-149-8004 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่ เบอร์ติดต่อ 0-2989-7244, 084-008-4727 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดลำกระดาน เบอร์ติดต่อ 0-2569-1054, 086-000-4581 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด เบอร์ติดต่อ 0-2915-6511, 081-467-6495 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนบ้านแบนชะโด เบอร์ติดต่อ 0-2906-1319, 081-325-0188 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดแป้นทอง เบอร์ติดต่อ 0-2915-4279, 089-072-2963 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ เบอร์ติดต่อ 0-2914-0176, 086-983-4109 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดบัวแก้ว เบอร์ติดต่อ 0-2543-7305, 089-893-2853 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ เบอร์ติดต่อ 0-2543-7322, 089-987-1686 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร เบอร์ติดต่อ 0-2543-7042, 085-169-7366 รับได้จำนวน 50 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตหนองจอก รองรับได้ 8,700 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดแสนเกษม เบอร์ติดต่อ 0-2989-9575, 081-612-6072 รับได้จำนวน 400 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์ เบอร์ติดต่อ 0-2989-9821, 081-685-2053 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดพระยาปลา เบอร์ติดต่อ 0-2563-1118, 086-525-8386 รับได้จำนวน 600 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ) เบอร์ติดต่อ 0-2543-1160, 081-658-4876 รับได้จำนวน 1,000 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง เบอร์ติดต่อ 0-2543-1163, 086-795-0728 รับได้จำนวน 400 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าใหม่ เบอร์ติดต่อ 0-2543-1493, 089-795-4968 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร เบอร์ติดต่อ 0-2186-0506, 084-438-2038 รับได้จำนวน 700 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสามง่าม เบอร์ติดต่อ 0-2906-1013, 081-838-0755 รับได้จำนวน 600 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า เบอร์ติดต่อ 0-2989-7377, 0-2989-7377 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ เบอร์ติดต่อ 0-2988-6307, 089-125-857 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด เบอร์ติดต่อ 0-2988-6297, 081-584-4122 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสีชมพู เบอร์ติดต่อ 0-2988-6099, 081-346-5633 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง เบอร์ติดต่อ 0-2988-7224, 089-528-0936 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ เบอร์ติดต่อ 0-2989-9727, 089-989-1603 รับได้จำนวน 400 คน
    [​IMG] โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ เบอร์ติดต่อ 0-2543-1166, 0-2543-1166 รับได้จำนวน 1,000 คน
    [​IMG] โรงเรียนลำเจดีย์ เบอร์ติดต่อ 0-2988-6715, 089-134-2529 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนสังฆประชานุสรณ์ เบอร์ติดต่อ 0-2988-5967, 080-596-5511 รับได้จำนวน 1,000 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตคันนายาว รองรับได้ 400 คน

    [​IMG] โรงเรียนจินดาบำรุง เบอร์ติดต่อ 0-2510-5423, 085-127-8705 รับได้จำนวน 400 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตมีนบุรี รองรับได้ 2,450 คน

    [​IMG] โรงเรียนศาลาคู้ เบอร์ติดต่อ0-2186-0510, 081-382-5060 รับได้จำนวน 150 คน
    [​IMG] โรงเรียนบ้านเกาะ เบอร์ติดต่อ0-2543-8333, 081-385-3298 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น เบอร์ติดต่อ0-2543-8222, 089-787-9499 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์ (คลองสี่) เบอร์ติดต่อ0-2543-8452, 086-795-0728 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนคลองสาม เบอร์ติดต่อ0-2543-8111, 081-829-9539 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน เบอร์ติดต่อ0-2543-8669, 086-337-1510 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ เบอร์ติดต่อ0-2517-0906, 084-144-3343 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าบางชัน เบอร์ติดต่อ0-2517-2157, 089-980-1749 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดแสนสุข เบอร์ติดต่อ0-2540-7241, 081-689-5759 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนมีนบุรี เบอร์ติดต่อ0-2540-7137, 081-431-4614 รับได้จำนวน 200 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตลาดกระบัง รองรับได้ 1,615 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดบึงบัว เบอร์ติดต่อ 0-2360-5587, 089-899-0538 รับได้จำนวน 70 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์ เบอร์ติดต่อ 0-2737-3088, 086-570-5404 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนลำพะอง เบอร์ติดต่อ 0-2737-2206, 089-040-5089 รับได้จำนวน 150 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดทิพพาวาส เบอร์ติดต่อ 0-2738-6847, 089-046-5307 รับได้จำนวน 150 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดลาดกระบัง เบอร์ติดต่อ 0-2326-9653, 087-038-5701 รับได้จำนวน 80 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา เบอร์ติดต่อ 0-2326-9005, 081-421-9318 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดบำรุงรื่น เบอร์ติดต่อ 0-2360-9283, 089-885-9076 รับได้จำนวน 180 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดพลมานีย์ เบอร์ติดต่อ 0-2172-9743 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา เบอร์ติดต่อ 0-2326-6937, 089-495-2217
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส เบอร์ติดต่อ 0-2918-4656, 089-964-9338 รับได้จำนวน 30 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดลานบุญ เบอร์ติดต่อ 0-2329-0283, 086-577-5452 รับได้จำนวน 120 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสังฆราชา เบอร์ติดต่อ 0-2181-2213, 087-038-5701 รับได้จำนวน 135 คน
    [​IMG] โรงเรียนแดงเป้า-(สิงสุขบุรณะ) เบอร์ติดต่อ 0-2737-9319, 086-029-4799 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง เบอร์ติดต่อ 0-2543-9568, 086-828-7617 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบังโรงเรียนปากบึง เบอร์ติดต่อ 0-2543-9844, 081-551-4596 รับได้จำนวน 150 คน
    [​IMG] สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตดอนเมือง รองรับได้ 2,700 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดดอนเมือง เบอร์ติดต่อ 0-2566-2862, 081-869-3464 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนประชาอุทิศ เบอร์ติดต่อ 0-2929-2172, 084-427-3676 รับได้จำนวน 800 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดเวฬุวราราม เบอร์ติดต่อ 0-2565-2525, 086-378-0022 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา เบอร์ติดต่อ 0-2536-2196, 084-459-4774 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนพหลโยธิน เบอร์ติดต่อ 0-2531-3005, 081-343-8382 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนเปรมประชา เบอร์ติดต่อ 0-2573-4956, 081-692-0232 รับได้จำนวน 200 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตหลักสี่ รองรับได้ 3,050 คน

    [​IMG] โรงเรียนเคหะท่าทราย เบอร์ติดต่อ 02 589 9777 รับได้จำนวน 450 คน
    [​IMG] โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 1 เบอร์ติดต่อ 02 573 4835 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2 เบอร์ติดต่อ 02 573 4836 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนทุ่งสองห้อง เบอร์ติดต่อ 02 573 7908 รับได้จำนวน 400 คน
    [​IMG] โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลี อนุสรณ์) เบอร์ติดต่อ 02454 7569 รับได้จำนวน 400 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดหลักสี่ เบอร์ติดต่อ 02 573 7123 รับได้จำนวน 800 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตบางซื่อ รองรับได้ 310 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ เบอร์ติดต่อ 0-2585-1678, 081-807-7410 รับได้จำนวน 30 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสร้อยทอ เบอร์ติดต่อ 0-2585-6463, 083-199-2104 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส เบอร์ติดต่อ 0-2585-0627, 085-143-5953 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม เบอร์ติดต่อ 0-2585-1678, 081-807-7410 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนมัชฌันติการาม เบอร์ติดต่อ 0-2585-2201, 089-127-8049 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง เบอร์ติดต่อ 0-2585-7077, 087-066-7673 รับได้จำนวน 30 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดทองสุทธาราม เบอร์ติดต่อ 0-2585-6824, 081-726-1314 รับได้จำนวน 50 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตดุสิต รองรับได้ 550 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดจันทรสโมสร เบอร์ติดต่อ 0-2241-2655, 089-699-4559 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดราชผาติการาม เบอร์ติดต่อ 0-2241-0495, 081-828-3515 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดเทวราชกุญธร เบอร์ติดต่อ 0-2281-7938, 089-797-7550 รับได้จำนวน 200 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตพระนคร รองรับได้ 880 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดอินทรวิหาร เบอร์ติดต่อ 0-2281-9875, 081-752-0165 รับได้จำนวน 80 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดมหาธาตุ เบอร์ติดต่อ 0-2222-2869, 080-967-9105 รับได้จำนวน 80 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดพระเชตุพน เบอร์ติดต่อ 0-2222-0830, 081-920-8686 รับได้จำนวน 80 คน
    [​IMG] โรงเรียนราชบพิธ เบอร์ติดต่อ 0-2222-0867, 081-442-9136 รับได้จำนวน 80 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดตรีทศเทพ เบอร์ติดต่อ 0-2282-7851 รับได้จำนวน 80 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม เบอร์ติดต่อ 0-2281-2570, 087-089-7587 รับได้จำนวน 80 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดมหรรณพ์ เบอร์ติดต่อ 0-2224-1165, 089-770-3244 รับได้จำนวน 80 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดราชนัดดา เบอร์ติดต่อ 0-2221-0903, 089-773-0738 รับได้จำนวน 80 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดราชบูรณะ เบอร์ติดต่อ 0-2221-9844, 089-982-6341 รับได้จำนวน 80 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุทัศน์ เบอร์ติดต่อ 0-2221-4331, 081-308-0116 รับได้จำนวน 80 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดใหม่อมตรส เบอร์ติดต่อ 0-2281-7670, 081-382-6251 รับได้จำนวน 80 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตสัมพันธวงศ์ รองรับได้ 50 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดปทุมคงคา เบอร์ติดต่อ 0-2233-3216, 089-992-6329 รับได้จำนวน 50 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตบางคอแหลม 800 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดจันทร์นอก เบอร์ติดต่อ 0-2289-0148, 086-082-3033 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดจันทร์ใน เบอร์ติดต่อ 0-2289-3733, 086-971-0630 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดไทร เบอร์ติดต่อ 0-2289-0400, 085-229-0608 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดบางโคล่นอก เบอร์ติดต่อ 0-2289-0090, 089-745-1948 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม เบอร์ติดต่อ 0-2211-3966, 081-904-232 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดราชสิงขร เบอร์ติดต่อ 0-2289-0611, 081-422-2556
    [​IMG] โรงเรียนวัดลาดบัวขาว เบอร์ติดต่อ 0-2289-0664, 081-937-5705 รับได้จำนวน 100 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตยานนาวา รองรับได้ 900 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดช่องลม เบอร์ติดต่อ 0-2285-3466, 087-929-3492 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดช่องนนทรี เบอร์ติดต่อ 0-2284-2134, 089-825-9843 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดดอกไม้ เบอร์ติดต่อ 0-2294-0796, 089-021-5852 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดคลองภูมิ เบอร์ติดต่อ 0-2294-1985, 081-315-7560 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดคลองใหม่ เบอร์ติดต่อ 0-2294-3246, 081-279-4398 รับได้จำนวน 100 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตคลองเตย รองรับได้ 1,950 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดสะพาน เบอร์ติดต่อ 0-2742-9640, 081-843-8488 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดคลองเตย เบอร์ติดต่อ 0-2249-3412, 081-298-7874 รับได้จำนวน 350 คน
    [​IMG] โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา เบอร์ติดต่อ 0-2249-4499, 089-787-4968 รับได้จำนวน 800 คน
    [​IMG] โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ เบอร์ติดต่อ 0-2249-2189, 086-522-0590 รับได้จำนวน 500 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตบางพลัด รองรับได้ 550 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี เบอร์ติดต่อ 0-2424-3321, 089-498-7085 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส เบอร์ติดต่อ 0-2424-0200, 086-392-8899 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)เบอร์ติดต่อ 0-2434-3268, 081-930-8824 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดเทพากร เบอร์ติดต่อ 0-2424-4089, 089-990-0641 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดรวก เบอร์ติดต่อ 0-2424-2461, 081-685-3834 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดคฤหบดี เบอร์ติดต่อ 0-2424-4046, 087-980-1551 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์ เบอร์ติดต่อ 0-2424-0417, 086-991-6020 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม เบอร์ติดต่อ 0-2424-1208, 081-825-3733 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์ เบอร์ติดต่อ 0-2424-1374, 081-401-4072 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดวิมุตยาราม เบอร์ติดต่อ 0-2424-1025, 081-804-7422 รับได้จำนวน 50 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม เบอร์ติดต่อ 0-2424-1249, 089-141-3448 รับได้จำนวน 50 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตบางกอกน้อย รองรับได้ 990 คน

    [​IMG] โรงเรียนโฆสิตสโมสร รับได้จำนวน 60 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดระฆัง รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] ฐานทัพเรือ รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] วัดดุสิตาราม รับได้จำนวน 10 คน
    [​IMG] กองเรือเล็ก รับได้จำนวน 20 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดดุสิตาราม เบอร์ติดต่อ 0-2424-0418, 081-584-0763 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี เบอร์ติดต่อ 0-2424-0416, 081-868-2695 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุวรรณาราม เบอร์ติดต่อ 0-2424-4087, 089-457-0321 รับได้จำนวน 100 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตธนบุรี รองรับได้ 1,000 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร เบอร์ติดต่อ 0-2466-2655, 086-337-7210 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดบุคคโล เบอร์ติดต่อ 0-2468-0659, 081-495-2155, 0-2639-5520 รับได้จำนวน 500 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตคลองสาน รองรับได้ 1,400 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดเศวตฉัตร เบอร์ติดต่อ 0-2437-2327, 087-157-2690 รับได้จำนวน 300 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุวรรณ เบอร์ติดต่อ 0-2437-5585, 084-123-7170 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดพิชัยญาติ เบอร์ติดต่อ 0-2437-3768, 089-924-4327 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ เบอร์ติดต่อ 0-2437-9456, 081-849-4559 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดทองเพลง เบอร์ติดต่อ 0-2438-2657, 081-342-3999 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดนพคุณ เบอร์ติดต่อ 0-2437-2040, 081-694-9564 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุทธาราม เบอร์ติดต่อ 0-2438-8692, 089-661-4725 รับได้จำนวน 300 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตทวีวัฒนา รองรับได้ 3,200 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดปุรณาวาส เบอร์ติดต่อ 0-2441-9584, 081-318-8311 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส เบอร์ติดต่อ 0-2441-9584, 081-700-6968 รับได้จำนวน 100 คน
    [​IMG] โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม เบอร์ติดต่อ 0-2441-3073-4, 081-334-9561 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนคลองทวีวัฒนา เบอร์ติดต่อ 0-2441-9449, 085-813-8017 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ เบอร์ติดต่อ 0-2447-7430, 081-345-7489 รับได้จำนวน 600 คน
    [​IMG] โรงเรียนคลองบางพรหม เบอร์ติดต่อ 0-2441-3157, 081-834-2548 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนคลองต้นไทร เบอร์ติดต่อ 0-2448-1539, 081-009-9421 รับได้จำนวน 500 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตราษฏร์บูรณะ รองรับได้ 600 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดบางปะกอก เบอร์ติดต่อ 0-2427-2607, 081-311-3352 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส เบอร์ติดต่อ 0-2427-4626, 086-807-9821 รับได้จำนวน 200 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดราษฏร์บูรณะ รับได้จำนวน 200 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตหนองแขม รองรับได้ 2900 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดอุดมรังษี เบอร์ติดต่อ 0-2421-0220, 081-659-5337 รับได้จำนวน 800 คน
    [​IMG] โรงเรียนบ้านขุนประเทศ เบอร์ติดต่อ 0-2421-0075, 081-696-9180 รับได้จำนวน 400 คน
    [​IMG] โรงเรียนคลองบางแวก เบอร์ติดต่อ 0-2421-3821, 089-684-2468 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนประชาบำรุง เบอร์ติดต่อ 0-2421-0168, 086-567-3683 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม เบอร์ติดต่อ 0-2429-3714, 081-625-0544 รับได้จำนวน 500 คน
    [​IMG] โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล เบอร์ติดต่อ 0-2429-3655, 086-897-4607 รับได้จำนวน 200 คน

    ศูนย์พักพิงชั่วคราวเขตบางกะปิ รองรับได้ 100 คน

    [​IMG] โรงเรียนวัดเทพลีลา เบอร์ติดต่อ 0-2318-0675, 085-902-0540 รับได้จำนวน 100 คน


    หมายเลขช่วยเหลือการอพยพ ติดต่อ..

    1131
    02-241 1709
    02-504 3569
    02-534 1911


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    [​IMG] มติชนออนไลน์

    ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย


    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    บัญญัติ 21 ประการ ดูแลบ้านหลังน้ำท่วม




    [​IMG]



    [​IMG]


    บัญญัติ 21 ประการ ดูแลบ้านหลังน้ำท่วม
    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก อาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์

    หลังจากที่วิกฤติน้ำท่วมได้ถาโถมเข้ามาอย่างหนัก และเริ่มขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ บรรดาประชาชนทุกคนตอนนี้ก็คงเฝ้าระวัง และเตรียมตัวกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะนี้... ส่วนผู้ประสบภัยที่บ้านถูกน้ำท่วมไปแล้ว ก็คงได้แต่ทำใจ และภาวนาให้เหตุการณ์ร้าย ๆ เช่นนี้ผ่านพ้นไปได้สักที

    อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้กระปุกดอทคอมได้นำเสนอบทความของ อาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ในหัวข้อ "บัญญัติ 20 ประการเตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม" มาฝากกันแล้ว วันนี้เรามีบทความดี ๆ จากอาจารย์ยอดเยี่ยม มาฝากสำหรับผู้ประสบภัย ที่บ้านต้องจมอยู่ใต้บาดาล ...ไปดูกันซิว่า หลังน้ำลดแล้วมีวิธีดูแล และฟื้นฟูบ้านอย่างไรบ้าง ...


    [​IMG]

    1. น้ำท่วมแล้ว น้ำลดแล้ว บ้านมีปัญหา เริ่มต้นที่ไหนดี

    ความทุกข์ยากลำบากฉากแรกเพิ่งกำลังจะผ่านไปหลังน้ำลด แต่ความทุกข์ใหม่ กำลังเข้ามาแทนที่ เพราะสภาพ ของบ้าน อันถือว่าเป็นหนึ่ง ในปัจจัย 4 ของเรา มีสภาพที่น่าอึดอัด น่าอันตรายและเป็นรอยแผลที่หลายคน อยากจะเมินหน้าหนี

    หากคิดจะแก้ปัญหาบ้านหลังน้ำท่วม เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าปัจจุบัน (แม้ไม่ สามารถ จะเปรียบเทียบ เท่ากับอดีต) แนะนำในฐานะลูกหลาน พี่น้องว่าน่าจะ เริ่มต้นดังนี้

    [​IMG]1.) อย่าซีเรียสว่า ทำไมน้ำถึงท่วม ราชการหรือรัฐบาลไปอยู่ที่ไหน เพื่อน ๆ ในถิ่นอื่นทำไมบ้านเขา น้ำไม่ท่วม ฯลฯ เพราะนั่นไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหา "บ้านหลังน้ำท่วม" ที่เรากำลังจะคุยกันในบันทึกนี้

    [​IMG]2.) ทำการตรวจสอบด้วยจิตอันนิ่งๆว่า บ้านเราเกิดปัญหาใดเพิ่มขึ้นบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับ ก่อนน้ำท่วม เช่นรั้วเอียง ปาเก้ล่อน แมลงสาบหายไปไหน ค่าไฟเพิ่ม ฯลฯ และ ทำบันทึกไว้เป็นข้อ ๆ ให้อ่านง่ายจดจำง่าย (ภาษาฝรั่ง เขาเรียกว่าทำ Check List)

    [​IMG]3.) ถามตนเองว่าสภาพการเงินเราเป็นอย่างไร มีเงินจะใช้สำหรับการซ่อมแซมเท่าไร (รวมถึง การกู้ยืม แหล่งอื่น แต่ไม่รวม การโกง บ้านกินเมือง) จะได้วางแนวทางการจ่ายเงินอย่างมีขีดจำกัด และมีความเป็นไปได้

    [​IMG]4.) เปิดบันทึกนี้อ่านให้จบ อย่าโกรธหากบางตอนของบันทึกนี้มีรูปตลกเกินไป หรือเขียนแบบสบาย ๆเกินไปบ้างในบางประโยคครับ


    [​IMG]

    2. น้ำไม่ท่วมบ้าน แต่ท่วมถนนซอยหน้าบ้าน ต้องทำอะไรไหมหนอ

    [​IMG]น้ำไม่ท่วมตัวบ้าน หรือแม้แต่บริเวณสนามหญ้าในบ้าน แต่ท่วมที่ถนนหน้าบ้านอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ก็ไม่น่าจะวางใจนัก เพราะ ส่วนที่บ้านเรากับทางสาธารณะ จะต้องเชื่อมประสานกันมากที่สุด และเรามักจะมองข้ามไปก็คือ "ท่อระบายน้ำ" ที่ถ่ายเทน้ำจากบ้านเรา ระบายออกสู่ท่อระบายน้ำของหลวง

    [​IMG]ในยามที่น้ำท่วมทางสาธารณะ แน่นอนน้ำจะต้องท่วม ท่อระบายน้ำของหลวงท่านด้วย น้ำในบ้านเราก็เลยไม่ระบายออก แถมในทางกลับกัน น้ำในท่อระบายน้ำสาธารณะ อาจจะไหลกลับเข้าสู่บ้านเราได้

    [​IMG]เมื่อมีการไหลกลับเช่นที่ว่า นอกจากจะพาเอาน้ำเข้ามาแล้ว ยังน่าจะพาเอาเศษดินโคลนต่าง ๆ เข้ามาด้วย เมื่อน้ำค่อย ๆ ลดลง เศษดิน โคลน ก็จะกองติดอยู่ในท่อระบายน้ำบ้านเรา ท่อระบายน้ำบ้านเราที่เล็กอยู่แล้ว ก็จะเกิดอาการอุดตัน หรือมีพื้นที่ว่างเหลือน้อยกว่าปกติ แนวทางในการแก้ไขและข้อควรจะระวัง น่าจะมีดังต่อไปนี้

    [​IMG]หากเป็นท่อระบายน้ำระบบมีฝาเปิดตลอดแนว ก็เปิดฝาแล้วตักไอ้เจ้าดินโคลนเศษขยะนั้นออก

    [​IMG]หากเป็นท่อระบบไม่มีฝาเปิดตลอด ก็เอาไม้ยาว ๆ ควานดู (แบบที่เขาขุดลอกท่อระบายน้ำของ กทม. นั่นแหละครับ) หากทำไม่ได้ ทำไม่เป็น ทำไม่ไหว ขี้เกียจทำ ก็ไปจ้างคนอื่นเขาทำ แต่ขอร้องเถอะครับ อย่าเอาตัวมุดลงไป ในท่อแล้วทำเอง เพราะอาจไม่ได้กลับออกมา

    [​IMG]อย่าพยายามใช้น้ำฉีด เพราะจะเปลืองน้ำมากและยังคงทำความสะอาดท่อลำบาก แถมยังทำบาปกับคนอื่นเขา เพราะ เจ้าเศษโคลน ทั้งหลายจะระบายลงสู่ ท่อสาธารณะ ทำให้ท่อของหลวงท่าน อุดตันตื้นเขิน …อันเป็น สาเหตุ หนึ่ง ที่ทำให้น้ำท่วมบ้าน ท่วมเมือง เนื่องจากระบายน้ำไม่ได้ อย่างที่น่าจะเป็น

    [​IMG]เมื่อทำการกวาดล้างเสร็จแล้ว ลองตรวจสอบอีกครั้งดูว่าระดับน้ำในท่อระบายน้ำเรานั้นไหลไปทางไหน ขอให้แน่ใจว่า จะไหลออกจากบ้านเรา สู่ท่อสาธารณะ หากยังไหลกลับทางกัน กรุณากลับไปอ่าน ข้อที่หนึ่งใหม่

    [​IMG]หากหน้าบ้านท่านไม่มีท่อระบายน้ำสาธารณะ ก็ให้ตรวจสอบว่าน้ำไหลไปทางไหน ระบายออกทางไหน และให้ถือว่า จุดที่น้ำระบายออก จากบ้านเรา เป็นทางสาธารณะไปก่อน (หวังว่าบ้านท่านคงจะ ไม่ระบายน้ำ สะเปะสะปะ ผิดกฎหมายนะครับ)


    [​IMG]

    3. รั้วคอนกรีตที่แข็งแรงของผม ต้องตรวจดูอะไรหลังน้ำลดไหม

    น้ำคือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติ และธรรมชาติเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เกินกว่าที่มนุษย์จะไปท้าทายแข่งขัน รั้วคอนกรีตของท่าน คงจะไม่สามารถฝืนกฎนี้ได้

    [​IMG]ปัญหาที่อาจจะเกิดกับรั้วของท่านก็เป็นเรื่องจากยามน้ำท่วม ดินที่ฐานรั้วท่านอาจจะอ่อนตัวลง ความสามารถในการ รับน้ำหนัก อาจจะน้อยลง หรือระดับที่ดินในบ้านกับนอกบ้านท่านมีระดับแตกต่างกัน ยามเมื่อน้ำที่ท่วมลดลง อาจจะเกิดแรงดูด ทำให้รั้วของท่าน เอียงไปก็ได้ หรือในขณะที่น้ำท่วมรั้วของท่าน อาจต้องทำหน้าที่เป็น "เขื่อน" ที่ต้องรับน้ำหนักน้ำเป็นอย่างมาก ความสามารถในการรับน้ำหนักอาจ "คลาก" ความแข็งแรงลดลงไปได้ ดังนั้นเพื่อความมั่นใจกรุณาตรวจสอบ และหาแนวทางแก้ไขดังนี้

    [​IMG]ใช้สายตาของท่านเล็งดูว่ารั้วของท่านยังตั้งฉากอยู่ดีหรือไม่ หากมีการเอียงเล็กน้อยก็เอาไม้ค้ำยันด้านที่เอียงออก เอาไว้ก่อน มีสตางค์เมื่อไรก็รีบซ่อมทันที

    [​IMG]หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่ารั้วของท่านเอียงมาก เอียงจนแนวออกหรือจะออกนอกแนวศูนย์ถ่วง (C.G.) ต้องรีบซ่อมแซมทันที (โดยช่างก่อสร้าง ที่พอจะมีความรอบรู้) หากยังไม่มีงบประมาณ ก็ต้องค้ำยันไว้ อย่างแน่นหนามาก ๆ เพราะน้ำหนักรั้วที่แข็งแรงของท่านนั้นหนักมาก (ไม่เชื่อลองไปนอนให้รั้วพังทับดูก็ได้ไม่ว่ากัน)

    [​IMG]หากรั้วของท่านมีคานคอดิน (คานตัวล่างสุดที่อยู่ใกล้ระดับดิน) รับน้ำหนักรั้วอยู่ พอน้ำลดลง น้ำอาจพาดิน ใต้คานคอดินของท่าน ออกไปด้วย ก็จะเกิดรูโพรงใต้คานรั้วของท่าน อันอาจเป็นเหตุให้สัตว์ต่าง ๆ เดิน - วิ่ง - มุด - เลื้อย เข้าไปในบ้าน ของท่านได้ หรือไม่ก็ทำให้ดินของท่านไหลออกจากบ้านสู่ทางสาธารณะไปเรื่อย ๆ ภายหลัง (อันทำให้ดินของท่าน หมดสนาม และถนนสาธารณะต้องสกปรก) ก็ขอให้เติมดินอัดกลับเข้าไป ให้คงเดิม

    [​IMG]นอกจากจะตรวจดูที่รั้วบ้านแล้ว ท่านน่าจะต้องตรวจดูที่ประตูรั้วท่านด้วย เพราะประตูส่วนใหญ่ จะทำด้วยเหล็ก หรือไม้ (พวกอัลลอยด์ไม่ค่อยเป็นอะไร ยกเว้นบริเวณบานพับหรือกลอนที่อาจจะทำด้วยเหล็ก) อาจมีอาการผุกร่อนได้ ทำให้บานประตูไม่สามารถปิดได้เหมือนเดิม หรืออาจจะหลุดออกมาทั้งบาน !!! ทำการผูกรัดให้แข็งแรงเสีย มีเงินเมื่อไร อย่าลืมควักออกมาซ่อมแซมก็แล้วกัน


    [​IMG]


    4. ช่วยด้วย ต้นไม้บ้านหนู เขากำลังจะตายกันหมด

    น้ำท่วมคราวนี้คร่าชีวิตต้นไม้ไปมากมาย ทั้งพืชทางเศรษฐกิจและพืชที่เราปลูกกันไว้ในบ้าน หากบ้านใดน้ำท่วมเป็นเวลานาน ต้นไม้ต้นหญ้าขนาดเล็ก จะต้องตายหมดแน่นอน แนวทางการแก้ไขก็คือ ต้องเริ่มต้นปลูกกันใหม่ (ต้นไม้เขาตายไปแล้ว เรามิใช่เทวดาที่จะเรียก ให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้) แต่ต้นไม้บางต้นที่ยังไม่ถึงที่แต่ก็กำลังจะถึงที่ตาย มีแนวทางที่ เรา จะช่วยเหลือเยียวยาเขาได้ ลองทำดังนี้ดูนะครับคุณหนู

    [​IMG]อย่าให้ปุ๋ยเด็ดขาด (ทั้งปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยธรรมชาติ หรือปุ๋ยนางงามจักรวาล) เพราะน้ำท่วมทำให้รากต้นไม้ อ่อนแอ เขาต้องการ เวลาพักฟื้นตัว ไม่ใช่ต้องการปุ๋ย (อย่างคนอาการโคม่า ย่อมไม่ต้องการรับประทาน สเต๊ก เนื้อสันฉันนั้น)

    [​IMG]ขุดหลุมเล็กขนาดลึกสัก 50 ซม. ถึง 1 เมตร ไว้ข้าง ๆ ต้นไม้นั้น เพื่อให้น้ำที่ขังอยู่บริเวณรากไม้ไหลลงสู่หลุมที่เราขุด เป็นการช่วยอาการรากสำลักน้ำได้ แล้วก็คอยเอาเครื่องดูดน้ำเล็ก ๆ (ภาษาชาวบ้านเรียกเจ้าเครื่องนี้ว่า ไดรโว่ ราคาประมาณ สองถึงสามพันบาท) คอยสูบน้ำออก แต่หากไม่มีกะตัง จะซื้อเครื่องสูบน้ำนี้ ก็ต้องออกแรงขุดหลุม กว้างหน่อย (อย่ากว้างมาก จนต้นไม้เขาล้ม) แล้วใช้ขันหรือถังค่อย ๆ เอื้อมมือตักน้ำออก

    [​IMG]หากเห็นว่า รากต้นไม้ไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะยึดลำต้นเอาไว้ กรุณาอย่าอัดดินลงไปให้แน่นเป็นอันขาด ต้นไม้เขาจะรีบ ๆ ตาย ทันที ให้ใช้วิธีดามหรือค้ำยันลำต้นเอาไว้แทน รอจนรากเขาแข็งแรงเหมือนเดิม แล้วจึงเอาไม้ดามไม้ค้ำยันออก

    [​IMG]ขอให้หนูโชคดีในการรักษาต้นไม้เอาไว้ หากโชคร้ายเขาต้องตายจากไป กรุณาปลูกขึ้นมาใหม่ เพราะต้นไม้หนึ่งต้น ขนาดต้นมะม่วงบ้านเรา จะถ่ายเทความร้อนได้เท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน แถมยังมีร่มเงาให้เราอีก ผลิตอากาศบริสุทธิ์ ให้เราใช้ กรองเสียงและกรองฝุ่นออกจากตัวบ้านเรา เราจะได้ใช้ไฟฟ้าให้น้อยลง ประเทศเราจะได้ไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่าสร้างเขื่อน และน้ำก็จะท่วมประเทศไทยน้อยลง เราก็จะลำบากน้อยลง


    [​IMG]

    5. ปาเก้บ้านดิฉัน กลายเป็นปลาลอยน้ำ น่าปาทิ้งไหมคะ ?

    ก่อนอื่นต้องขอภาวนาว่าพื้นปาเก้ที่บ้านคุณนั้น เป็นปาเก้พื้นชั้นล่าง ไม่ใช่ปาเก้พื้นชั้นบน แต่ที่ว่าน่าจะปาทิ้งหรือไม่นั้น ผมขออนุญาต เล่าและอธิบายดังนี้

    [​IMG]ปาเก้เป็นไม้ซึ่งอยู่ได้ด้วยกาว ดังนั้น พื้นปาเก้จึงเป็น พื้นที่อ่อนแอ กับอาการ น้ำท่วม อย่างยิ่ง เพราะทั้งไม้ ก็จะบวมขึ้นมา กาวก็จะหลุดล่อน ดังนั้นเมื่อ น้ำท่วมพื้นปาเก้ก็ต้องมีปัญหาแน่นอน อย่าไปโทษช่างทำปาเก้ หรือ อย่าไป คิดอะไรมาก

    [​IMG]หากน้ำท่วมสัก 5-7 วัน นอกจากปาเก้จะหลุดล่อนลอยน้ำ ปูดโปนขึ้นมาแล้ว ยังจะมี อาการ "บูดเน่า" ให้เกิดกลิ่นเหม็น และอาจ เป็นอันตราย น้อย ๆ หากต้อง สูดดมอยู่ตลอด ทั้งวันทั้งคืน

    [​IMG]หากปาเก้เปียกน้ำสักเล็กน้อย ไม่ถึงกับหลุดล่อนปูดโปนไม่ต้องทำอะไรมาก เช็ดทำความสะอาด แล้วปล่อยทิ้งไว้ เปิดหน้าต่าง ประตู ให้อากาศถ่ายเท ความชื้นออกไป ไม่กี่วันปาเก้ก็อาจเข้ารูปเดิมปกติได้ แต่มีข้อที่น่าคิดก็คือ อย่าเอาน้ำมัน หรือแลคเกอร์ หรือแว็กซ์ ไปทาทับตอนที่ปาเก้ยังชื้นอยู่ เพราะ สารเหล่านั้น จะไปเคลือบ ผิวไม้ ทำให้ความชื้น ในเนื้อไม้ (และเนื้อพื้นคอนกรีต ใต้ปาเก้) ไม่ระเหยออกมา

    [​IMG]หากปาเก้มีอาการหนัก บิดงอ ปูดโปน เบี้ยวบูด ผุกร่อน เหม็นเน่า…กรุณาอย่าเสียดาย กรุณาเลาะออกมา หากเลาะออกมาแล้ว ยังอยู่ในสภาพดี ก็ผึ่งลมเอาไว้ให้แห้ง เผื่ออาจมีประโยชน์ในวันหลัง

    [​IMG]หากเลาะพื้นปาเก้ออกมีข้อคิดว่า หากจะปูอะไรทับแทนก็ต้องระวังเรื่องน้ำหนักของวัสดุที่จะปูแทนนั้น ว่าหนักมากไหม หากหนักมาก ก็ต้องดูระบบโครงสร้างบ้านเราด้วยว่ามีความแข็งแรงไหม (ถามช่างผู้รู้ ให้ช่วย ดูก็ได้) เพราะปาเก้นั้น เป็นไม้ น้ำหนักเบา พื้นที่หนึ่งตารางเมตร อาจจะหนักเพียง 5 กิโลกรัม แต่พื้นหินอ่อน หรือแกรนิต น้ำหนักรวมปูนทราย ที่ใช้ปู หนึ่งตารางเมตรอาจหนักตั้ง 120 กิโลกรัม

    [​IMG]หากจะปูปาเก้เช่นเดิม (เพราะชอบความเป็นไม้ที่ให้ความนุ่มนวล) หรือปูวัสดุอื่นที่ใช้ "กาว" เป็นตัว ประสาน กรุณาอย่า ปูทับลงทันที ต้องรอ ให้พื้นคอนกรีตแห้งก่อน (อาจใช้เวลาเป็นเดือน) แล้วจึงปูลงไปได้ ไม่เช่นนั้น รับรองว่าปูเท่าไรลงไป ก็ล่อนออกมาเท่านั้น


    [​IMG]

    6. ปลั๊กไฟบ้านผม น้ำท่วมไม่เป็นไร น้ำลดจะเป็นไรไหม ?

    แม้คำถามของคุณออกจะกวนกวนอยู่บ้าง แต่เราก็พยายามเข้าใจและเห็นใจ ว่าในขณะที่ น้ำท่วม นั้นท่านปิดวงจรไฟฟ้าทั้งบ้าน (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ปิดคัทเอ๊าท์) น้ำท่วมก็คงไม่เป็นไรอยู่แล้ว เพราะไม่มีกระแส ไฟฟ้าเดิน แต่พอ น้ำลด อยากจะเปิดไฟใช้ คงหวั่นเกรงเหมือนกัน ว่าจะเป็นอย่างไร เอาละ ครับ ผมขอสรุป แนวทาง ดังนี้ดีกว่า

    [​IMG]ลองเปิดคัทเอ๊าท์ให้มีกระแสไฟฟ้าเข้ามา (อย่าลืมต้องมีฟิวส์ที่คัทเอ๊าท์เสมอ) หากปลั๊กหรือจุดใดจุดหนึ่งยังชื้น หรือเปียกอยู่ คัทเอ๊าท์จะตัดไฟและฟิวส์จะขาด ลองเปลี่ยนฟิวส์แล้วทิ้งไว้สัก 1 วัน ให้ความชื้นระเหย ออกไปบ้าง แล้วดำเนินการใหม่ หากคัทเอ๊าท์ยังตัดไฟเหมือนเดิม กรุณาตาม ช่างไฟฟ้า ผู้รู้เรื่องมาแก้ไข (เสียเงินบ้างก็เป็นเรื่องจำเป็น) ดีกว่าเอาชีวิตเสี่ยงต่อไป

    [​IMG]หากผ่านข้อที่ 1 ลองทดสอบเปิดไฟฟ้าทีละจุด และทดสอบกระแสไฟฟ้า ในปลั๊ก แต่ละอันว่ามี ไฟฟ้ามาปกติ หรือไม่ (อาจหาซื้อ อุปกรณ์ตรวจ กระแสไฟฟ้า ขนาดเล็ก จาก ห้างไฟฟ้าทั่วไป รูปร่างหน้าตาคล้ายไขควง มาเสียบทดสอบดูก็จะสะดวกดี) หาก ทุกจุดทำงาน ปกติก็ถือว่า สบายใจได้ไปอีกระดับหนึ่ง หากมีปัญหา บางจุด ก็อาจรอสักนิดให้ความชื้นระเหยออกเช่นข้อแรก (แต่หากพอมีเงิน กรุณาอย่าเสี่ยงเลยครับ)

    [​IMG]ดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แต่ยังคงเปิดคัทเอ๊าท์เอาไว้ แล้ววิ่งไปดู มิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้านว่าเคลื่อนไหวหรือไม่ (อาจต้องรอสักพักโดยการจดตัวเลข หรือใช้โทรศัพท์ถ่ายรูปไว้) หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่า ไฟฟ้าในบ้านเราไม่น่าจะรั่ว แต่หากมิเตอร์หมุนแสดงว่า ท่านยังปิดการใช้ไฟฟ้าในบ้านท่านไม่หมด หรือไฟฟ้า ตามสาย ตามท่อ ตามจุด บางจุดในบ้านท่าน อาจจะรั่วได้รีบตามช่างไฟมาดูแล

    [​IMG]เรื่องไฟฟ้านี้เป็น เรื่องของผู้ใหญ่ ไม่ใช่เรื่องของเด็กเป็นเรื่องของคนขี้ขลาด ไม่ใช่เรื่องของผู้กล้าหาญ ดังนั้นกรุณาอย่าประมาท น้ำท่วมก็เสียหายมากพอแล้ว อย่าต้องมาจัดงานอัปมงคลตามหลังกันอีกเลย …ซีเรียสนะครับ !


    [​IMG]

    7. น้ำลดแล้ว ประสาทเสียมาก พอมีสตางค์ ทำยังไงกับระบบไฟฟ้าดี

    ถือว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังนับว่าโชคดีกว่าประชาชนอีกมาก ในประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเรา เพราะ ระบบไฟฟ้า เป็นสิ่งจำเป็นกับการดำรงชีพ แต่มีอันตรายสูง และเข้าใจยาก ตรวจสอบยาก เพราะเรา ไม่สามารถเห็น "ตัวกระแสไฟฟ้า" ได้เลย หากคุณพอจะมีงบประมาณ ในการปรับเปลี่ยน ระบบไฟฟ้า ในบ้านหลังน้ำท่วม เราขอแนะนำดังต่อไปนี้

    [​IMG]1. หากมีงบประมาณน้อย ตัดปลั๊กไฟที่อยู่ระดับต่ำ ๆ ในบ้านออกให้หมด (อาจจะตัดทิ้งเลย หรือจะเลื่อนตำแหน่งปลั๊ก นั้นขึ้นไปอยู่สูงกว่าพื้นห้องสักระดับ 1.10 เมตร ก็ได้)

    [​IMG]2. หากพอจะมีงบประมาณบ้าง ให้แยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 2 วงจร คือวงจรที่อยู่ด้านล่าง (ที่ซึ่งน้ำ อาจจะ ท่วมได้) และวงจรที่อยู่สูง ๆ (ที่น้ำไม่อาจท่วมถึง)

    [​IMG]3. หากมีงบประมาณหนักขึ้นไปอีก แยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 4 วงจร วงจรแรกสำหรับปลั๊กด้านล่าง (ยามน้ำท่วม) วงจรที่สอง เป็นวงจรสำหรับจุดที่ใช้ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป (ที่น้ำไม่ท่วม) จุดที่สาม สำหรับเครื่อง ปรับอากาศ (หากมี) เพื่อกันอาการไฟกระตุกเมื่อเครื่องปรับอากาศทำงาน จุดสุดท้ายเอาไว้ในครัว เพื่อยามออกจากบ้านนานนาน อยากปิดคัทเอ๊าท์ จะได้ไม่ต้องปิดหมด เพราะปิดหมดเจ้าตู้เย็นในครัว ก็จะหยุดทำงาน อาหารในครัวก็เน่าเสียหมด หรือยามเราไม่อยู่บ้าน อาจปล่อยทั้งกิจกรรม การใช้ไฟฟ้า ไว้เพียงในครัวเท่านั้น

    [​IMG]4. หากมีงบประมาณมากขึ้นไปอีก แยกวงจรให้มากเข้าไปอีกก็ได้ อาจแยกเป็นวงจรชั้นบน วงจรชั้นล่าง วงจรนอกบ้าน ฯลฯ (โดยยังยึดถือ วงจรตามข้อ 3 อยู่) แต่หากจะแยกวงจรมาก ๆ ดังนี้ และมีงบประมาณมาก ตามที่บอก น่าจะว่าจ้างวิศวกรไฟฟ้าเข้ามาคำนวณ จะประหยัด และปลอดภัยกว่า

    ปล. ขอแถมนอกเรื่องน้ำท่วมนิดเดียวครับว่า อย่าเดินสายไฟกับสายสัญญาณต่าง ๆ เช่นโทรศัพท์ ทีวี ฯลฯ รวมไว้ด้วยกัน เพระสายไฟจะมีคลื่นแม่เหล็กไปรบกวนสัญญาณ ทำให้การรับสัญญาณไม่ชัดเจน


    [​IMG]

    8. งูเงี้ยวเขี้ยวขอตะกวดแย้มังกรกิ้งกือ หนีน้ำมาอยู่เต็มบ้านเลย

    กรณีมีสัตว์ที่เราไม่พึงประสงค์เข้ามาอยู่ในบ้านของเรา คงจะต้องค่อย ๆ แยกประเภทสัตว์ต่างๆออกเป็นประเภทเสียก่อน เพราะสัตว์เหล่านั้นไม่มีสูตรสำเร็จที่จะจัดการให้หมดไปได้ด้วยวิธีเดียวกัน ซึ่งอาจจะแยกเป็นประเภทและการดำเนินการได้ดังนี้

    [​IMG]สัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่พอควร ทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษ เช่น งู ตะกวด จระเข้ ฯลฯ อะไรทำนองนี้ อย่าพยายามไปจับหรือจัดการเอง ทำการป้องกันบ้านและป้องกันตัวไม่ให้พวกเขามาทำอันตรายเรา (เราในที่นี้หมายถึงสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราด้วยนะครับ) ให้ติดต่อหน่วยราชการอาสา มาจัดการสัตว์ร้ายเหล่านี้

    [​IMG]สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ที่ไม่มีพิษ เช่น กิ้งกือ ไส้เดือน กิ้งก่า จิ้งเหลน ฯลฯ ก็ปล่อยเขาไว้ได้ บางท่านอาจจะรังเกียจ แต่ก็ทนนิดๆไว้ก่อน เอาเขาไปปล่อยในที่ที่สมควรปล่อย (ไม่รบกวนใคร)ก็ได้ หรืออาจจะปล่อยเขาเอาไว้เฉยๆก็ได้ ไม่นานเมื่อทุกอย่างเรียบร้อย เขาก็จะหายไปเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเขาเข้ามาในตัวบ้านเราโดยผ่านทาง "รู” ต่างๆในบ้านเรา ก็ต้องจัดการเอาเขาออกไปนะครับ

    [​IMG]แมลงต่าง ๆ ตั้งแต่ยุง แมงมุม ฯลฯ หรือแม้แต่มด ต้องไม่ให้เข้ามาในบ้านเรา ต้องพยายามปิดประตูหน้าต่าง ปิดรู ให้ดีเท่าที่จะทำได้ และคงต้องจัดการให้หมดไปตามปกติธุระ

    แมลงพิเศษ "ปลวก" ตอนนี้เขาคงยังไม่มา แต่อาจจะมาในอนาคตได้ ตอนนี้ยังไม่ต้องจัดการอะไร แต่พึงระวังไว้ว่า เมื่อน้ำลดไปไม่นาน จะต้องมีการป้องกันปลวกให้ดี เพราะโอกาสที่เขาจะมามีมากพอควรเลยครับ)

    สัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ที่ไม่เป็นอันตรายที่หลงทางมา เช่น สุนัข แมว หรือแม้กระทั่ง ม้า ก็น่าจะดูแลเขาในระยะแรกก่อน เพราะชีวิตเขาก็คงลำบากอยู่เหมือนกันในขณะน้ำท่วม แล้วหลังจากนั้นค่อยพิจารณาว่าเราจะต้องทำอย่างไรต่อไป (เช่นหาเจ้าของเดิม หาเจ้าของใหม่ ฯลฯ) อย่าเพิ่งไล่เขาออกไปไหนเลย ถือว่าทำบุญสร้างบุญกันครับ


    [​IMG]

    9. ส้วมเหม็น ส้วมเต็ม ส้วมราดไม่ลง ส้วม ส้วม ส้วม ส้วม

    หลังน้ำท่วม นอกจากปัญหาใกล้ตัวเรื่องระบบไฟฟ้า และวัสดุปูพื้นที่ถูกน้ำท่วมจะเป็นปัญหาที่พบเห็นเสมอ แล้ว เรื่องส้วม ๆ ดูจะเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าและหนักหนากว่ามาก เพราะเราไม่มีที่ จะถ่ายทุกข์ ทุกข์เลยบรรจุ อยู่เต็มตัวเรา พอเราถ่ายทุกข์ออกมาหน่อยทุกข์นั้นดันไม่ย่อยสลาย บ้านเรา ก็เลยมีทุกข์ ลอยตุ๊บป่องตุ๊บป่อง เต็มไปหมด

    เมื่อน้ำลดแล้ว ส้วมของบางท่านอาจจะยังคงมีปัญหาอยู่ บ้างอาจจะเป็นปัญหาดั้งเดิม บ้างก็เป็นปัญหา เกิดใหม่ บ้างก็จะ สอดประสานกลมเกลียวกัน ทั้งปัญหาเก่าและปัญหาใหม่ ผมใคร่ ขอสรุปรวมความ ปัญหาแห่งส้วม ออกเป็นข้อย่อย ๆ ได้ 8 ประการ (ทั้งปัญหาเก่าและปัญหาใหม่) ดังต่อไปนี้

    [​IMG]1. หากส้วมของท่านเป็นระบบบ่อเกรอะ-บ่อซึม (หมายถึงเมื่อของเสียย่อยสลายแล้ว จะซึมผ่านสู่พื้นดิน ระบบนี้เป็นระบบ ที่นิยมกันทั่วประเทศ เป็นเวลานาน) แล้ว บ่อซึม ของท่าน วางอยู่ ใน บริเวณที่พื้นดินชุ่มฉ่ำ (อาจจะเพราะน้ำท่วมก็ได้) สิ่งที่เกิด ก็คือบ่อซึม ไม่ยอมซึมน้ำออก (แถมยามน้ำท่วม นอกจากน้ำ จะไม่ไหลออก จากบ่อซึม น้ำที่ท่วม จะไหลย้อนเข้ามาในบ่อ และระบบย่อยสลายอีกด้วย) ปัญหาที่ตามมา ก็คืออาการ "ตุ๊บป่อง" ราดส้วมไม่ลง ใช้ส้วมไม่ได้ ส้วมจะเต็มบ่อยนั่นเอง แก้ไขได้ 2 ประการคือ หากพื้นดินชุ่มฉ่ำ เพราะน้ำท่วม ก็ขอให้รอสักนิด ให้พื้นดินแห้งสักหน่อย แต่หากพื้นดินชุ่มฉ่ำชื้น ตามธรรมชาติของพื้นที่ ก็กรุณาเปลี่ยนระบบ มาใช้เป็นระบบเครื่องกล สำหรับ ย่อยสลาย (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ถังส้วมสำเร็จ) ซึ่งจะทำหน้าที่ ย่อยสลายปฏิกูล ต่าง ๆ จนเป็น น้ำสะอาด แล้วก็ปล่อยลง ท่อระบายน้ำสาธารณะ ได้โดย ไม่ผิด กฎหมาย

    [​IMG]2. หากโถส้วมอยู่ระดับต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับระดับบ่อเกรอะ หรือถังส้วมสำเร็จรูป ทำให้ระนาบ ของท่อส้วม ไหลไม่สะดวก หรือบางครั้ง อาจจะมีอาการ ไหลย้อนกลับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยามน้ำท่วม ทำให้ระดับน้ำ ณ ถังส้วม อาจสูงกว่า ระดับโถส้วม) ทำให้เกิดอาการ ราดไม่ลง หรือตอนกดน้ำ ราดน้ำที่โถส้วม ทำให้ในโถส้วม มีแรงดัน สูงมากขึ้น หากน้ำไม่สามารถ ไหลลงไปได้ ก็จะเกิดอาการ แรงดันย้อนกลับ ทุกข์ทั้งหลายของเราจ ะกระฉอกขึ้นเปรอะเปื้อนได้

    [​IMG]3. อาจเกิดเพราะท่อส้วมแตกและอาจไปฝัง (หรือเกือบจะฝังในพื้นดิน) ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และราดส้วมไม่ลง หรือบางครั้ง เกิดอาการ ที่ตัดสินใจยาก เพราะบางครั้งราดลง บางครั้งราดไม่ลง เพราะไปเกี่ยวข้อง กับสภาพแวดล้อม อย่างมาก หากกรณีนี้เกิดขึ้นในขณะน้ำท่วม ยิ่งตัดสินใจยาก เพราะวันไหน ทุกข์ของเรา มีน้ำหนักมาก วันนั้นก็อาจจะราดไล่ลงไปได้ วันไหนทุกข์ของเรา มีมวลน้อย มีน้ำหนักน้อย ทั้งเสือกไสไล่ ราดเท่าไรก็ดื้อ ไม่ยอมลงสักที

    [​IMG]4. บางท่านอาจจะลืมใส่ท่ออากาศให้ส้วมหายใจ เวลาราดน้ำจะราดไม่ลง (เหมือนกับพยายาม กรอกน้ำใส่ขวด โดยไม่มีช่องอากาศ เหลือเลยที่ปากขวด จะกรอกน้ำไม่ลง) บางบ้าน อาจจะมีท่ออากาศ แต่ท่ออากาศอาจอุดตันได้ ไม่ว่าจะเกิดจากความสกปรก หรือเกิดจาก เศษผง เล็กลอยมาอุด ตอนที่น้ำท่วมก็ได้

    [​IMG]5.ขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึม หรือถังบำบัดสำเร็จขนาดเล็กเกินไป หลายครั้งพบปัญหา เพราะใช้อาคาร ผิดประเภท เช่นออกแบบไว้ ให้มีคนในบ้าน 5 คน แต่พอใช้จริง ใช้เข้าไปตั้ง 8-9 คน ปริมาณทุกข์ต่าง ๆ จึงมากกว่า ที่เคยคำนวณเอาไว้แต่แรก ถังส้วมจะเต็มบ่อยเต็มเร็ว เพราะมีช่องว่างน้อย ถ้าเป็นระบบบ่อซึม ก็มีพื้นผิวการซึมน้ำออกน้อย น้ำจึงซึมออกไม่ทัน

    [​IMG]6.ท่านอาจใส่สิ่งของที่ไม่น่าจะใส่ลงในโถส้วม หรือสิ่งของบางอย่างอาจจะลอยมากับน้ำท่วม เช่นแผ่นผ้าอนามัย ถุงยางอนามัย ถุงมืออนามัย หรือ แปรงขัดส้วมอนามัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ จะไม่ย่อยสลาย และเป็นสาเหตุ แห่งการอุดตัน

    [​IMG]7.ถังบำบัดสำเร็จบางรุ่นบางยี่ห้อ ต้องใช้เครื่องมือกลเข้าปั่นอากาศเข้าไปช่วยการย่อยสลาย ซึ่ง อุปกรณ์เหล่านี้ ต้องใช้กระแสไฟฟ้า เป็นตัวหนุนมอเตอร์ ในขณะที่น้ำท่วม ท่านอาจจะปิดไฟฟ้าไว้ ดังนั้น หากจะถ่ายทุกข์ อย่างมีความสุข อย่าลืมเสียบปลั๊กไฟฟ้ากลับเข้าที่เดิมนะขอรับ (เขาเรียกว่าเส้นผมบังส้วม)

    [​IMG]8. ถังบำบัดสำเร็จทุกยี่ห้อ จะต้องมีท่อให้น้ำไหล ออกจากถังบำบัดสู่ท่อระบายน้ำในบ้านเรา หรือสู่ท่อสาธารณะ จะต้องตรวจเช็คว่า ระดับของท่อที่ออกจากถังบำบัด ว่าต้องสูงกว่าระดับท่อระบายน้ำเสมอ มิเช่นนั้น จะเกิดอาการ ไหลย้อนกลับอีกแล้ว


    [​IMG]

    10. ผมต้องตรวจสอบอะไรเกี่ยวกับระบบประปาบ้าง

    ระบบประปาเป็นระบบที่เหมือนกับไม่มีปัญหา เพราะเหตุเกิดจากน้ำท่วม แต่หากมองข้ามไป อาจทำให้คุณ สูญเสีย ชีวิต อันเป็นที่รักยิ่งไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านที่มีระบบประปา ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ ขอแนะนำ การตรวจสอบดังต่อไปนี้

    [​IMG]1. คุณมีบ่อน้ำใต้ดิน หรือถังเก็บพักน้ำที่อยู่ในระดับที่น้ำท่วมถึงหรือไม่ หากคุณมี ก็ขอให้นึกเสมอว่า น้ำที่ท่วมถึงนั้น มิได้สะอาด เหมือนน้ำประปา (กรุณาอย่าฉุนเฉียว กลับว่าน้ำประปาบ้านเรานั้น แสนจะ ไม่สะอาด) ขอให้ทำการล้างถังน้ำ ที่น้ำท่วมถึง ให้สะอาดทั้งภายนอกภายใน (หากเป็นบ่อใต้ดิน ล้างเฉพาะ ภายในถัง ภายนอกคงไม่ต้องล้างกระมังครับ) อย่าเสียดายแรงงาน หรือเสียดายน้ำเลยนะครับ

    [​IMG]2. บ้านที่มีระบบปั๊มน้ำ กรุณาตรวจสอบอุปกรณ์ปั๊ม รวมถึงถังอัดลมว่าอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี การตรวจสอบ ขั้นต้น อาจจะตรวจสอบ จากเสียงเครื่องจักรทำงาน ว่าผิดปกติหรือไม่ ตรวจสอบแรงดันน้ำ ว่าเหมือนกับสมัยที่ น้ำไม่ท่วมหรือไม่ ตรวจสอบ ถังลมว่า สามารถเก็บแรงอัดได้ดี และยาวนาน ตามที่น่าจะเป็นหรือไม่ … หากมีสิ่งผิดปกติ อาจจะต้องปรับ - ถ่ายระดับน้ำ ระดับแรงดัน ในหม้อลม อีกทั้ง น่าจะตรวจสอบดูว่า มีเศษผง ที่ลอยมากับน้ำท่วม ติดอยู่หรือเปล่า

    [​IMG]3. หากกรณีที่ปั๊มน้ำถูกน้ำท่วม ไม่น่าจะใช้การต่อไปโดยทันที เพราะจะมีอันตรายจากความชื้น ในตัวมอเตอร์ที่อาจยัง สะสมอยู่ น่าจะไปหา ช่างมาตรวจสอบ ทำให้แห้งเสียก่อน ถ้าช่างยังไม่ยอมมา และคุณพอรู้เรื่อง เครื่องจักรกล บ้าง ก็ถอดเอาไปให้เขา ตรวจเช็ค (กรุณาอย่าเอาไปตากแดด แล้วคิดไปเองว่า ความชื้นหมดแล้ว เป็นอะไร ขึ้นมา ยามร้ายเมื่อหนีน้ำท่วมทัน แต่ไฟ กลับไหม้บ้านหมดครับ)


    [​IMG]

    11. ผนังบ้านแช่น้ำนาน ๆ เป็นอะไรไหม จะแก้ไขดูแลอย่างไร

    วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเกือบทุกอย่าง หากแม้โดนแช่น้ำไว้นาน ๆ ย่อมต้องมีอาการเสื่อมสภาพไป มากบ้าง น้อยบ้าง ตอบคำถามที่ว่า ผนังและสีทาบ้านที่ถูกน้ำท่วมแล้วเป็นอะไรหรือไม่ คงตอบว่า "เป็นอะไรแน่นอน" ขอให้คำปรึกษา ในการแก้ปัญหาดังต่อไปนี้

    [​IMG]1. หากผนังทำด้วยไม้ ไม่ต้องทำอะไรมากปล่อยให้แห้งก็เพียงพอแล้ว ยกเว้นแต่ส่วนที่อยู่ ในระยะระดับที่ น้ำขึ้นลง อาจจะผุไปบ้าง (ธรรมชาติของไม้ หากอยู่แห้ง ๆ ก็ไม่เป็นไร หากอยู่ใต้น้ำเลย ก็ไม่ค่อยเป็นไร แต่หากอยู่บริเวณระดับที่เดี๋ยวน้ำขึ้น เดี๋ยวน้ำลง จะมีปัญหาเรื่องการผุกร่อนได้ง่าย ดูได้ตามเสาโป๊ะ หรือเสา ที่ปักไว้ในน้ำ จะเห็นได้ว่า ส่วนที่จะผุกร่อนก่อนที่สุด คือ บริเวณระดับผิวน้ำที่เดี๋ยวแห้ง เดี๋ยวเปียก)

    เมื่อน้ำในบ้านลดลง เอาผ้าเช็ดทำความสะอาด ขจัดคราบความสกปรกออก เพื่อสุขภาพของคนในบ้าน และเพื่อให้ผิว ที่ทำความสะอาดแล้ว สามารถระเหย ความชื้นออกมาได้ง่าย ทิ้งไว้จนแน่ใจว่า ผนังของเรา แห้งดี จึงใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ ชโลมลงที่ผิว (อย่าทาแลคเกอร์ หรือน้ำยารักษาเนื้อไม้ หรือสีทาผนัง ก่อนที่จะ ให้ตัวผนังแห้ง เพราะจะทำใ ห้น้ำและความชื้น ระเหยไม่ออก จะเกิดอาการ "ชื้นและผุฝังใน")

    การทาสี หรือทายารักษาเนื้อไม้ อาจจะทาเฉพาะ ด้านในตัวบ้านก่อนก็ได้ แล้วทิ้งไว้สัก หลายเดือน จึงค่อยทาสีภายนอก ตัวอาคาร เพื่อให้มั่นใจจริง ๆ ว่า ผนังของเรา แห้งสนิทแล้ว

    (อย่าอายใคร หากบ้านเรา จะไม่สวยสัก 5-6 เดือน เพราะเรื่องน้ำท่วมนี้ ไม่ใช่ความผิดของเรา… เราเป็นเพียง ผู้รับกรรมเท่านั้น)

    [​IMG]2. หากผนังของท่านเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน ก็ดำเนินการในระบบที่คล้ายกับผนังไม้ ตามที่กล่าวแต่แรก แต่อาจจะต้อง ทิ้งเวลานานหน่อย เพราะการระบายความชื้น ของผนังก่ออิฐนั้น ยากกว่าผนังไม้

    มีสิ่งหนึ่งที่ ผนังไม้อาจแตกต่าง กับผนังก่ออิฐก็คือ "สิ่งที่อยู่ภายในผนัง" ไม่ว่าจะเป็นสายไฟฟ้า ท่อไฟฟ้า ท่อน้ำ ฯลฯ เราต้องตรวจสอบ สิ่งเหล่านี้ด้วยว่า อยู่ในสภาพเหมือนเดิม (รายละเอียด การดูแลตรวจสอบ กรุณาอ่านในข้อ การตรวจสอบระบบไฟฟ้า และระบบสุขาภิบาล) การให้ความชื้นระเหยออกง่าย ต้องพยายามไม่เอาสิ่งของ หรือตู้ โต๊ะ ตั้งติดไว้ที่ผนัง (ขอให้ทนความไม่สะดวกสบายสักพักเถอะครับ)

    แต่ก็กรุณา อย่าถึงกับเอา ไฟฟู่ มาเผาให้ผนังแห้งเร็ว เดี๋ยวกลายเป็น หนีน้ำท่วม ไปปะไฟไหม้ จะไม่คุ้มกัน บางคนอาจจะเอา ไฟ สปอตไลท์ มาส่อง ให้ความร้อน ผนังจะได้ระเหย เอาความชื้น ออกมาเร็ว ๆ ก็ไม่ค่อยคุ้มเท่าไร เพราะจะเสียค่า กระแส ไฟฟ้าจำนวนไม่น้อย (เก็บเงินค่าไฟฟ้าส่วนนี้ ไปใช้ในการซ่อมแซมบ้าน หลังน้ำท่วม ส่วนอื่น จะดีกว่า กระมังครับ)

    [​IMG]3. หากผนังของท่านทำด้วยยิบซั่มบอร์ด จะต้องเข้าใจในพื้นฐานและธรรมชาติของแผ่นยิบซั่มบอร์ด เสียก่อน ว่า เจ้าแผ่นนี้ เป็นเพียง ผงปูนยิบซั่ม ที่หุ้มด้วยกระดาษอย่างดี แต่ไม่ว่ากระดาษจะดีเพียงไร หากถูกน้ำท่วม สักพักเดียว รับรองว่า แอ่นยุ่ยกันเป็นแถว

    วิธีที่ดีที่สุด ก็คือเลาะเอาแผ่นยิบซั่มนี้ ออกจากตัวโครงเคร่าผนัง หากเป็นโครงเคร่าที่ทำด้วยโลหะ ก็สามารถติดแผ่นใหม่เข้าแทนที่ได้เลย แต่หากโครงเคร่าเป็นไม้ คงต้องทิ้งไว้สักหลายวัน ให้ความชื้น ในโครงไม้นั้น ระเหยออกเสียก่อน จึงค่อยบุแผ่นใหม่ เข้าแทนที่

    [​IMG]4. ผนังที่ทำด้วยโลหะ หรือผนังที่ทำด้วยกระจก ยามน้ำท่วมคงจะไม่เป็นอะไรมาก แต่เมื่อน้ำลดแล้ว น่าจะ ต้อง ตรวจสอบ ตามซอก ตามรอยต่อ ว่ายังมีน้ำ หรือเศษขี้ผง ฝังในอยู่หรือไม่ หากมี ก็ทำความสะอาดเสีย (สิ่งที่น่าจับตามอง สำหรับผนัง หรือโครงอลูมิเนียมก็คือ น้ำอาจขังในท่อ ของอลูมิเนียมครับ)

    [​IMG]5. ผนังชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นผนังกระดาษอัด ผนังสังกะสี ผนังไม้อัด ฯลฯ จะมีธรรมชาติ คล้ายกับผนังทั้งสี่ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ลองเปรียบเทียบดู แล้วแก้ไข ตามแนวทางนั้นๆ ขอให้โชคดีขอรับ


    [​IMG]

    12. สีทาบ้าน ทั้งสีน้ำ สีพลาสติก สีน้ำมัน ฯลฯ ต้องทำอะไรบ้าง

    เรื่องขอการแก้ไขเกี่ยวกับสีทาบ้าน ขอให้เป็นสิ่งสุดท้ายหรือเกือบสุดท้ายที่เราจะซ่อมแซมบ้าน กรุณา อย่าอายใคร ที่เขาจะมาหาว่า บ้านเราสีกระดำกระด่าง หรือสีลอกเป็นขี้กลาก ปล่อยคนที่เขาดูถูกเราไปเถอะ เพราะเรื่องน้ำท่วม มิใช่กรรมของเรา ที่ก่อขึ้นมา (อย่างน้อย ก็ไม่ใช่ทางตรง) เขาจะว่าอะไร จะดูถูกอย่างไร ก็ปล่อยเขาไป (แล้วทำบุญกรวดน้ำ ให้เขา ลดอวิชชา ที่ครอบงำจิตใจเขาด้วย)

    [​IMG]สีทุกชนิดที่เราใช้ทาบ้าน (ไม่รวมสีทาเรือ สีทาเครื่องบิน สีทาภายในถังน้ำ) เมื่อถูกความชื้นหนัก ๆ อย่างน้ำท่วมคราวนี้ จะต้อง มีอันเป็นไป เกือบทุกที่ ….

    [​IMG]ข้อคิดสำคัญ ในเรื่องของสีทาบ้าน ก็คือ ปัญหาของสีลอกสีล่อน หลัก ๆ ไม่เกิดเพราะ คุณภาพของสี แต่เกิดจาก ความไม่พร้อม ของพื้นผิวที่ทาสี หากพื้นผิว ที่จะทาสี เกิดความชื้น หรือมีสิ่งสกปรก ติดอยู่ ทาสีทับลงไปอย่างไร ก็ลอก ก็ล่อนออกหมด

    ดังนั้นขอให้ใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งทาสี ทำความสะอาดหรือลอกสีเดิมออก ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ (ลอกเฉพาะ ตรงที่มีปัญหา ไม่ใช่ลอกหมดทั้งบ้าน) ทิ้งไว้นาน ๆ (อาจจะหลายเดือน จนถึงหน้าแล้ง ฤดูร้อนก็นับว่าไม่สายเกินไป)


    [​IMG]

    13. เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า จมน้ำหมดเลย ทำไงดี

    ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า มอเตอร์ หรือเครื่องกลต่าง ๆ (อาจจะรวมได้ ไปจนถึง รถยนต์ด้วยก็ได้) ล้วนแต่เป็น เครื่องจักรกล ที่อย่างเราอย่างท่าน ไม่น่าประมาท หรือรู้มาก เข้าไปแก้ไข ซ่อมแซมเอง ขอความกรุณาอย่าเพิ่งใช้ ความสามารถส่วนบุคคล (หากไม่จำเป็นจริง ๆๆๆๆ)

    [​IMG]หากโดนน้ำท่วมแล้ว น้ำเจ้ากรรม ไหลเข้าไป ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว (แถมยังแช่ไว้ด้วย) ถอดออกไปให้ช่างผู้รู้ เขาตรวจสอบดูก่อน ดีกว่า กรุณาอย่าประมาท เอาไปตากแดด แล้วคิดว่าแห้งแล้ว เลยนำไปใช้ต่อ เพราะความชื้นบางส่วน อาจจะฝังอยู่ข้างใน พอเครื่องกลนั้น ทำงาน โดยใช้กระแสไฟฟ้า อาจทำให้เกิดปัญหา กับตัวบ้าน หรือเป็นอันตราย ถึงชีวิตได้

    [​IMG]นอกจากความชื้นที่ฝังอยู่ในตัวเครื่องแล้ว บรรดาฝุ่นผง เศษขยะ หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตบางประเภท ก็อาจจะฝังตัวหรือแอบซ่อนตัว (หรือเสียชีวิต) ค้างอยู่ภายในเครื่องด้วย หากเดินเครื่องจักรกลหมุน อาจจะเกิดการติดขัดและมีการฝืนกำลังกัน เครื่องอาจจะเสียหรือไฟไหม้ได้ (อาจจะไม่ได้เกิดโดยทันที แต่จะเกิดขึ้นภายหลังได้)

    หากแม้นจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องใช้เครื่องจักรกลนั้น(ซึ่งผมหวังว่าคงจะไม่มี) ยามจะใช้เครื่องกลเหล่านั้นน่ามีข้อคิด 3 ประการคือ

    [​IMG]1. ตลอดเวลาที่ใช้ต้องมีผู้ใหญ่ที่พอรู้เรื่องไฟฟ้าและเครื่องจักกลพื้นฐานอยู่ใกล้ๆเสมอ และอย่างน้อยน่าจะมี ๒ คนครับ เมื่อเกิดอะไรผิดปกติขึ้นมาต้องดับเครื่องปิดเครื่องโดยทันที

    [​IMG]2. ที่คัทเอ๊าท์ไฟฟ้าของตัวเครื่อง และคัทเอ๊าท์หลักของตัวบ้าน จะต้องมีฟิวส์ตัดไฟที่มีคุณภาพ ติดตั้งอยู่เสมอ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ต้องแน่ใจว่าวงจรไฟฟ้าจะถูกตัดออก

    [​IMG]3. เมื่อไรไม่จำเป็นจริง ๆ แล้ว ให้หยุดใช้เครื่องกลตัวนั้นทันที พอมีเวลาบ้าง และพอมีงบประมาณ กรุณานำไปให้ช่างผู้รู้ตรวจสอบ


    [​IMG]

    14. ประตูบ้านถูกน้ำท่วมบวมอลึ่งฉึ่ง ประตูเหล็กขึ้นสนิมหมดแล้ว

    ขอให้คิดว่าประตูหน้าต่างเวลาถูกน้ำท่วม จะเหมือนกับผนังที่ถูกน้ำท่วมเหมือนกัน การที่ประตูไม้บวมเป่งขึ้นมา ก็เหมือนกับ ผนังไม้ หรือผนังยิปซั่ม ที่ปูดโปนขึ้น ส่วนประตูเหล็กที่ขึ้นสนิมนั้น ก็เป็นเรื่องของโลหะที่แช่น้ำ เมื่อแห้งแล้วก็ต้องเป็นสนิมไปเป็นปกติธรรมดา แนวทางแก้ไขมีดังต่อไปนี้

    [​IMG]1. ประตูไม้ หรือวัสดุที่เหมือนกับไม้ที่บวมขึ้นมาหรือผุพัง ก็เหมือนกับประตูห้องน้ำเรา ที่หลายๆบ้านเป็น อันเกิดจากความชื้นในห้องน้ำ แก้ไขโดยการทิ้งไว้ให้แห้ง ซ่อมแซมพื้นผิว เท่าที่ตนเองจะทำได้ หรือหากหมดสภาพจริง ๆ และพอมีงบประมาณบ้าง ก็ซื้อใหม่ เปลี่ยนแปลงเสียเลย ก็ยังพอไหว

    [​IMG]2. ประตูเหล็กที่ขึ้นสนิม อาจจะไม่ถึงผุพัง (ยกเว้นแต่ผุมาก่อน) ก็จัดการ ขัดสนิมออก เช็ดให้ สะอาด แห้ง แล้วทาสีใหม่ทับลงไป ก็ถือได้ว่าเป็นอันเสร็จพิธี แต่ความน่าสนใจ ก็คือ ขอให้มั่นใจว่าน้ำหรือความชื้น ได้ออกไปหมดแล้ว ทั้งในท่อโครงเหล็กหรือบริเวณรอยต่อต่างๆ

    [​IMG]3. ประตูพลาสติกหรือวัสดุสังเคราะห์ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเป็นปัญหา เพราะวัสดุเหล่านั้นทนน้ำได้ แต่ที่ต้องตรวจสอบก็คือ อาจจะมีน้ำขังอยู่ภายในบานประตู(หรือหน้าต่าง) ระหว่างแผ่นสังเคราะห์ที่ประกบกันเป็นตัวบาน ต้องพยายามเอาน้ำออกให้หมด อาจจะต้องมีการเจาะรูเล็กๆสัก ๑-๒ รู เพื่อให้น้ำระบายออกได้

    [​IMG]4. หากประตูเกิดเอียงหรืออาการที่ภาษาช่างเรียกว่า "ประตูตก" อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อประตูหน้าต่าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ทำ ด้วยไม้ หรือวัสดุที่อมน้ำ) แช่น้ำนาน ๆ ประตูจะอมน้ำ จึงทำให้ตัวบานนั้น น้ำหนักมากขึ้น บานพับรับน้ำหนักไม่ไหว ประกอบกับตัววงกบ (โครงกรอบช่วงเปิด) เปื่อยยุ่ย เนื่องจาก การแช่น้ำ น๊อต หรือตะปูยึดเกาะได้ไม่เต็มที่ บานเลยเกิดอาการ เอียงลง…

    แก้ไขโดยพยายาม ใช้ค้ำยัน หรือลิ่มเล็ก ๆ สอดช่วยรับแรง ถ่ายน้ำหนัก ของ บาน เอาไว้ก่อน ค่อย ๆ รอจนความชื้นระเหยออก น๊อตตะปูก็จะยึดติดดีขึ้น น้ำหนักบานก็จะน้อยลง อาการก็จะกลับมาเหมือน เกือบปกติ (อาจจะไม่ปกตินัก แต่ก็นับว่า ไม่เป็นไร)


    [​IMG]

    15. บานพับ ลูกบิด รูกุญแจ เหล็กดัด หลังน้ำท่วมต้องทำอะไรบ้างดี

    เป็นคำถามที่ต่อเนื่องจากปัญหาที่แล้ว ซึ่งว่าด้วยเรื่องประตูหน้าต่างที่เกิดปัญหาขึ้นหลังน้ำท่วม บานพับ ลูกบิด กุญแจ เหล็กดัด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะก็เกิดปัญหาตามมา ขอตอบสั้น ๆ ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

    [​IMG]เช็ดน้ำและพยายามให้ความชื้นระเหยออกให้หมด หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

    [​IMG]หากเกิดสนิมตรงที่ใด ก็ขัดเอาสนิมเหล่านั้นออกเสียโดยเร็ว อย่าปล่อยทิ้งไว้ แต่ก็อย่าขัดแรงด้วยเครื่องมือขัดที่คมแข็งเกินไป เพราะอาจทำให้อุปกรณ์ประตูหน้าต่างที่ค่อนข้างบอบบางนั้นเสียหายได้ครับ

    [​IMG]ใช้น้ำยาหล่อลื่นสารพัดประโยชน์หยอดชโลม (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "โซเล็กซ์") ตามจุดต่อ ตามข้อต่อ ตามเฟือง และตามรูต่าง ๆ ให้ทั่ว (คงไม่ถึงขนาด เป็นมันเยิ้ม ๆ จะทำให้สิ่งของรอบข้างเลอะเทอะ และเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์)

    [​IMG]อย่าเพิ่งใช้จารบี หรือสารจำพวกขี้ผึ้งอุดหรือทา เพราะความชื้นทั้งหลายอาจจะยังระเหยออกไม่หมด จะทำให้ระเหยออก ได้ยากขึ้น ความชื้นเลยเกิดอาการ "ฝังใน" จะมีปัญหาภายหลัง

    [​IMG]หากยังเกิดปัญหาอีก กรุณาเริ่มทำใหม่ตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อนี้ รับรองว่ากว่า 90 % ปัญหาจะไม่หนี ไปนอกรอบ ที่กล่าวไว้


    [​IMG]

    16. น้ำท่วมฝ้าเพดาน แก้ไขอย่างไรได้บ้าง

    ผมเชื่อว่าซีเรียสและเป็นเรื่องจริงครับ แต่ขอภาวนาให้เป็นการท่วมฝ้าเพดานของห้องใต้ดิน ไม่ใช่ฝ้าเพดาน ของบ้านชั้นที่สองนะครับ น้ำท่วมฝ้าเพดานนี้ คงจะต้องใช้แนวทางแก้ไขคล้ายกับน้ำท่วมพื้นและท่วมผนังปนกัน สรุปความอีกครั้ง ได้ว่า

    [​IMG]1. ตรวจสอบถึงวัสดุฝ้าเพดานว่าทำด้วยอะไร หากเป็นวัสดุที่เปื่อยยุ่ยจากการถูกน้ำท่วมได้ เช่นฝ้ายิปซั่มบอร์ด หรือฝ้า กระดาษอัด คงจะต้อง เลาะออกแล้วเปลี่ยนใหม่ (หรือหากไม่มีงบประมาณ ก็ทิ้งเอาไว้โล่ง ๆ อย่างนั้นก่อน ไม่ต้องอายใคร ย้ำ ไม่ต้องอายใคร) หากเป็นฝ้า ประเภทที่ไม่เปื่อยยุ่ย และอมน้ำ อมความชื้นมาก ก็พยายามผึ่งให้แห้ง อย่าทาสี หรือน้ำยากันความชื้น ระเหยออก หากเป็นฝ้าโลหะ ให้ตรวจสอบสนิมจัดการขัดหรือเช็ดออกให้หมด

    [​IMG]2. สำรวจฝ้าเพดานทั้งผืนทุกห้องทุกที่ว่ามีน้ำขังอยู่หรือไม่ (เจาะหรือเปิดฝ้าเพดานแล้วโผล่ศีรษะ พร้อมส่อง ไฟฉาย ตรวจดู) หากพบ ต้องระบายน้ำออก ให้หมด โดยทันทีทันใด (เจาะรูตรงที่น้ำเป็นแอ่งขัง ณ จุดนั้นนั้น) อย่าขี้เกียจ ตรวจเช็คเป็นอันขาด

    [​IMG]3. ฝ้าเพดานส่วนใหญ่จะมีสายไฟ ดวงโคมติดอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นระบบเดินสายไฟฝังหรือสายไฟลอย ต้องตรวจสอบสภาพว่าดีสมบูรณ์ตามรายการ ที่เคยกล่าวไว้เรื่องของการตรวจสำรวจระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม

    [​IMG]4. มดและแมลงตลอดจนหนูหรือสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ อาจหลบเข้าไปในฝ้าเพดาน (แล้วหาทางออกไม่ได้) ต้องทำการไล่ออกให้หมด จึงจะปิดฝ้าเพดาน ไม่เช่นนั้นอาจจะรบกวนและเป็นอันตรายภายหลังได้


    [​IMG]

    17. มีน้ำผุดขึ้นกลางบ้าน แปลว่าอะไร ไม่เห็นสนุกเลย

    หากเป็นผมก็คงจะไม่สนุกเหมือนกันละครับ เพราะอยู่ดี ๆ ก็มีน้ำผุดขึ้นมากลางบ้าน ปัญหาที่คาดการณ์ (เพราะไม่ได้เห็น สถานที่จริง) น่าจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

    [​IMG]1. ระบบโครงสร้างเกิดอาการแตกร้าว ซึ่งอาจจะแตกร้าวอยู่เดิมแล้ว หรืออาจจะเกิดการแตกร้าวจากแรงดันน้ำ อันเนื่องมาจาก น้ำท่วม การแก้ไขก็คือพยายามหาแนวที่แตกร้าวนั้นให้พบ (ส่วนใหญ่ จะเป็นรอยแตก ที่พื้น หรือผนัง ส่วนล่าง) แล้วพยายามติดต่อสอบถามผู้รู้ต่อไป อย่าพยายามซ่อมเอง เพราะอาจยิ่งเกิดปัญหา และอาจ เป็นอันตรายได้

    [​IMG]2. รั่วเนื่องจากรอยต่อของพื้นกับผนังไม่สนิท หรือระหว่างพื้นกับพื้นไม่สนิทกัน อาจเพราะระบบ โครงสร้าง อาคาร เป็นโครงสร้าง ระบบพื้นสำเร็จ ที่ก่อสร้างไว้ ไม่เรียบร้อย

    หรือเพราะเป็นระบบโครงสร้าง เป็นระบบ พื้นวางถ่ายน้ำหนักบนดิน (Slab on Ground) ซึ่งออกแบบให้เนื้อคอนกรีตพื้นไม่ต้องเชื่อมประสานกับคาน แต่ให้ถ่ายน้ำหนักพื้นลงไปที่แผ่นดินเลย โครงสร้างระบบที่ว่านี้ จึงอาจมีรอยรั่วตรงบริเวณรอยต่อ เพราะปูนทรายที่อุดไว้เสื่อมสภาพ หรือเสียหายจากแรงดันน้ำ

    แนวทางแก้ไข คงต้องพยายามหาแนวที่น้ำรั่วเข้า ให้ได้ (จะมีรอยหรือเส้นที่มีสีเข้มกว่าปกติ) แล้วอุดรอยเหล่านั้น ให้เรียบร้อยอาจจะด้วยซิลิโคนที่ยาตู้ปลา ก็พอไหว

    [​IMG]3. เกิดจากรูที่บริษัทกำจัดปลวกเขาเจาะเอาไว้ ตอนที่จะฉีดอัดน้ำยากำจัดปลวก แล้วไม่มีการอุดปิด ให้เรียบร้อย แนวทางการแก้ไข ก็คือจัดการอุดเสียให้เรียบร้อย

    [​IMG]4. ท่อน้ำที่ฝังในพื้นเกิดการรั่วแตก หมายถึงที่พื้นห้องอาจจะมีการฝังท่อน้ำเอาไว้ และอาจมีการขยับตัวของโครงสร้างทำให้ท่อแตก และแรงดันน้ำทำให้เกิดน้ำพุเล็กๆเกิดขึ้นที่พื้นห้องครับ

    กรุณาอย่าตกใจ กับสิ่งที่เกิดนี้ พยายามหาเหตุให้พบ แล้วแก้ไขเสีย หากยังหาเหตุไม่พบ หรือหาพบแล้ว แต่ แก้ไข ไม่ได้ กรุณาติดต่อผู้รู้ ( ผู้รู้แปลว่าผู้รู้ ไม่ได้แปลว่า ผู้ไม่ค่อยรู้แต่ช่างพูด)


    [​IMG]


    18. เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เตียง เก้าอี้ หลังน้ำท่วม

    ขอให้คิดเสมือนว่าเฟอร์นิเจอร์นั้นเป็นเครื่องใช้ เป็นพื้นบ้านและเป็นผนังบ้านอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้น การแก้ไข เฟอร์นิเจอร์หลังน้ำท่วม ก็คงจะคล้ายกับการแก้ปัญหา เรื่องประตูหน้าต่าง เครื่องไม้ เครื่องมือ พื้นบ้าน ฝ้าเพดานบ้าน และผนังบ้านปน ๆ กันไป สรุปข้อคิดและแนวทางการแก้ไขไว้ดังต่อไปนี้

    [​IMG]1. พยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างรวดเร็ว

    [​IMG]2. เฟอร์นิเจอร์ที่อมน้ำมาก ๆ เช่น โซฟานวมหรือนุ่น ที่นอนหากไม่จำเป็นอย่าเอากลับมาใช้อีกเลย เพราะตอนน้ำท่วม จะพาเชื้อโรค และสิ่งไม่พึงประสงค์เข้าไปอยู่ภายในไม่น้อย แม้ตากแดดแห้งแล้ว เชื้อโรคร้าย ก็อาจยังคงอยู่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในระยะยาวได้

    [​IMG]3. เฟอร์นิเจอร์ประเภทติดกับที่ (Built In Furniture) ขอให้แก้ปัญหาเหมือนผนังและประตู คือต้อง ตรวจสอบ ความแข็งแรง ของโครงสร้าง สายไฟที่อาจจะฝังอยู่ในตู้ รูกุญแจและลูกบิด ทำการบำรุงรักษา ให้อยู่ ในสภาพ เรียบร้อย เหมือนเดิม หรือใกล้เคียงของเดิม

    [​IMG]4. คือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ ไม่ควรเอาไปตากแดดโดยตรง เพราะจะทำให้แตก เสียหายได้ อีกทั้งยาม จะทาสีทับลงไป ก็ขอให้มั่นใจว่า เขาแห้งแล้วจริง ๆ ไม่เช่นนั้นสีจะลอกหมด ความชื้นจะฝังใน


    [​IMG]

    19. น้ำท่วมช่องลิฟต์ ห้องเครื่อง หม้อแปลงไฟฟ้า

    น้ำท่วมลิฟต์ ห้องเครื่อง หม้อแปลงไฟฟ้า หรือส่วนที่เป็นเครื่องกลสำคัญต่างๆของอาคาร กรุณาอย่าซ่อมแซมเอง ให้เรียกบริษัท หรือช่างผู้รู้จริงมาตรวจสอบ และแก้ไขเสีย จะต้องเสียงบประมาณเท่าไรก็ต้องยอมนะครับ ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ และห้ามประมาทเด็ดขาดนะครับ


    [​IMG]

    20. อยากยกบ้านทั้งบ้านให้สูงขึ้น ทำยังไง อย่างไร เท่าไร

    การยกบ้านให้สูงขึ้น หมายถึงการยกตัวโครงสร้างทั้งหมดของบ้านให้มีระดับหนีน้ำท่วมบ้าน เป็นสิ่งที่น่า สนใจ แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงหากจะทำเองถ้าบ้านของท่านไม่ใช่บ้านไม้ และไม่ใช่บ้านที่มีน้ำหนักเบา เพราะหากเป็นบ้านที่ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก (ภาษาชาวบ้านเรียกว่าบ้านปูน) โครงสร้างของบ้านจะยึดติดเป็นเนื้อเดียวกัน หากยกบ้านขึ้น (ส่วนใหญ่จะด้วยแม่แรง แบบการยกรถยนต์) ตัวบ้านเอียง หรือบิด เพียงนิดเดียว บ้านก็จะแตกร้าว เสียหายวิบัติได้

    นอกจากนั้น บ้านปูนจะมีน้ำหนักมาก ทำให้ต้องมีเสาเข็มยาว ๆ มารับน้ำหนักบ้าน เสาเข็มนี้ ส่วนใหญ่ จะเป็นเสาเข็มปูน ที่มีเหล็กเส้น ผูกติดยึด ไว้กับตัวฐานราก เมื่อยก ตัวบ้านขึ้น ก็เป็นเพียงการยกแต่ตัวบ้าน ไม่สามารถยกเสาเข็ม ขึ้นมาด้วย การต่อฐานราก กับเสาเข็มใหม่ จึงเป็นเรื่องยาก ในอนาคตอาจมีปัญหาเรื่องบ้านทรุดบ้านร้าวได้

    นอกจากเรื่องโครงสร้างแล้ว เมื่อยกบ้านปัญหาพวกสายไฟ ท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ ก็จะเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องตามมา ที่จะต้องตัดออกทั้งหมด แล้วต่อใหม่เข้าไป เมื่อยกระดับบ้านเสร็จเรียบร้อย หากท่อเหล่านี้ อยู่ใต้พื้นบ้าน บริเวณกลางๆบ้าน ย่อมจะตัดออกจากกัน ตอนจะยกบ้าน ได้ยาก หากตัดไม่หมด แล้วยกขึ้น ก็อาจไปดึงโครงสร้างของบ้านส่วนอื่นๆเสียหายได้

    การต้องการจะยกระดับบ้านทั้งหลังขึ้นมา (บ้านปูน) เป็นเรื่องที่ต้องปรึกษาผู้รู้จริง และมีประสบการณ์เท่านั้น และส่วนผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็ต้องเป็นผู้รู้จริงด้วย มิเช่นนั้นท่านอาจจะเสียบ้านไปทั้งหลัง ส่วนราคาค่ายกบ้าน ก็แล้วแต่ระดับที่ยกขึ้น แล้วแต่ขนาดของตัวบ้าน แล้วแต่ลักษณะของตัวบ้าน โดยทั่วไป ราคาจะประมาณ 20% ถึง 400% ของราคาตัวบ้าน

    ส่วนบ้านไม้นั้น หากใช้เทคนิคไทยเดิมของเรา ผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องยากนัก (บ้านไม้ แปลว่า ทั้งโครงสร้าง และองค์ประกอบเป็นไม้ ไม่ใช่โครงสร้างเป็นปูน มีเพียงผนัง หรือพื้น เป็นไม้เท่านั้น)


    [​IMG]

    21. "ฝ่าวิกฤติด้วยความคิดบวก"

    ความคิดบวกหรือ Positive Thinking ฟังเสมือนกับเป็นลัทธิแก้อย่างหนึ่ง แต่ความจริงแล้วการมองภายในตนให้ครบถ้วนทุกด้าน แล้วเอาด้านที่เป็นบวกมาพิจารณาเป็นประเด็นในการจัดการปัญหา ชีวิตเราก็จะมีความสุขขึ้นไปพร้อมๆกับผู้รอบข้าง และ สังคมที่เราอยู่ร่วมนั้น

    การแก้ปัญหาทั้งหลายย่อมไม่มี "สูตรสำเร็จ" เป็นธรรมดา....
    บางทีเมื่อแก้ปัญหาด้วยการ "คิด" ไม่ได้.... ลองใช้การแก้ปัญหาด้วยการ "ยั้งคิด" บ้าง
    บางทีการแก้ปัญหาด้วย "ความรู้" ไม่ได้.... ลองใช้ "ความรู้สึก" ในการแก้ปัญหาบ้าง
    บางทีเราต้องไม่มองเฉพาะผล "ด้านนอก" แต่เราต้องเข้าใจปัญหาจาก "ภายใน" บ้าง
    พลังแห่งการฝ่าวิกฤติทั้งหลายอาจจะอยู่ตรงนั้นก็ได้

    หากเราฝึกตนให้เป็น "คนกล้า" ที่มิใช่ลืมตัวกลายเป็นคน "บ้าบิ่น" แก้ปัญหาตามอารมณ์
    โดยเราแยกความแตกต่างของ "ความรัก" และ "ความหลง" ได้ชัดเจนเพียงพอ
    โดยเรารอบรู้และเข้าใจทั้ง "วิชาการ" และ "มนุษย์" ได้อย่างสมดุล
    เราจะหา "ข้อมูล" เพื่อการ "วิเคราะห์" อันนำมาซึ่ง "บทสรุป" เพื่อการปฏิบัติทั้งหลายได้
    พลังแห่งการฝ่าวิกฤติทั้งหลายอาจจะอยู่ตรงนั้นก็ได้

    เราต้องไม่เป็นผู้ที่ "รู้มาก แล้ว คิดน้อย" หรือเป็นผู้ที่ "รู้น้อย แล้ว คิดมาก"
    เราน่าจะเป็นผู้ที่ "รู้น้อย ก็รู้ให้มากขึ้น เมื่อรู้มากพอแล้ว ก็อย่าลืมคิดให้มากขึ้น" ตามไปด้วย
    หากคิดมากขึ้นแล้ว ยังแก้ปัญหาไม่ได้..... ลอง "ยั้งคิด" ดูสักหน่อย
    พลังแห่งการฝ่าวิกฤติทั้งหลายอาจจะอยู่ตรงนั้นก็ได้

    ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ตุลาคม ๒๕๕๔

    สังคมไทยจะต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติให้ได้ เพราะธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่เหลือเกิน การใช้เทคโนโลยีไปฝืนพลังแห่งธรรมชาติมากเกินไป การทำร้ายธรรมชาติ จะเกิดผลเช่นนี้เรื่อยไป สังคมไทยจะต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติให้ได้ เพราะธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่เหลือเกิน การใช้เทคโนโลยีไปฝืนพลังแห่งธรรมชาติมากเกินไป การทำร้ายธรรมชาติ จะเกิดผลเช่นนี้เรื่อยไป

    สำหรับบัญญัติ 21 ประการ ดูแลบ้านหลังน้ำท่วมนั้น คงเป็นบทความดี ๆ ที่ช่วยแนะนำให้ผู้ประสบภัยทั้งหลาย ได้กลับไปดูแล ปรับปรุงและฟื้นฟูบ้านที่ถูกน้ำท่วม ให้กลับมาน่าอยู่เหมือนเดิมนะคะ ... กระปุกดอทคอมก็ขอได้แต่ภาวนาให้เหตุการณ์นี้ผ่านพ้นไปสักที "ฟ้าหลังฝน ต้องสดใสกว่าเดิมค่ะ" สู้สู้!


    ข่าวที่เกี่ยวข้อง
    บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม
    http://hilight.kapook.com/<WBR>view/63594



    -http://hilight.kapook.com/view/63917-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รวมสถานที่จอดรถ สำหรับผู้ประสบอุทกภัย

    -http://hilight.kapook.com/view/63484-




    [​IMG]


    ผู้ประกอบการ-เจ้าของธุรกิจใจดี เปิดอาคารสถานที่ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ให้สามารถนำรถยนต์ไปจอดได้ ล่าสุด อิมแพ็ค ประกาศเปิดพื้นที่อาคารชาเลนเจอร์ให้จอดรถหนีน้ำท่วม 10,000 คัน เริ่ม 21 ต.ค. 54 (อ่านรายละเอียดได้ที่ลำดับที่ 22 ค่ะ)

    ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ประสงค์จะนำรถไปจอด ให้โทรเช็คข้อมูลก่อนเข้าไปจอด เนื่องจากในขณะนี้อาจมีบางที่ที่เต็มแล้ว โดยสามารถติดต่อไปได้ ตามจุดต่าง ๆ ดังนี้

    1. สนามบินดอนเมือง ให้บริการจอดรถฟรี บริเวณอาคารจอดรถผู้โดยสาร ภายในประเทศ และอาคารคลังสินค้าสูง 5 ชั้น รับรถได้ 3,000 คัน ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ 0-2535-1533, 1466, 0-2535-1515, 1516, 0-2535-1349, 1630

    2. ห้างสรรพสินค้า ซีคอนสแควร์ เปิดพื้นที่ดาดฟ้า ชั้น 6 รองรับรถได้ถึง 750 คัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 7-16 ตุลาคม นี้ โดยสามารถจอดค้างคืนตลอดระยะเวลาดังกล่าวได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ฝ่ายสื่อสารการตลาด โทร.02-721-8888 ต่อ 313 , 314 หรือ Seacon Square (@seaconsquare) on Twitter, www.facebook.com/SeaconSquareFanPage

    3. บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา เปิดให้บริการจอดรถฟรี ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า, บางนา, พระราม 2, พระราม 3, แจ้งวัฒนะ, รัตนาธิเบศร์, รามอินทรา, เชียงใหม่ แอร์พอร์ต,เชียงราย, ขอนแก่น, อุดรธานี, ชลบุรี และเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-667-5555 ต่อ 4108 ,02 667 5555 ต่อ 4108

    4. ตลาดนัดบานาน่าสแควร์ ข้างโลตัสลพบุรี และตึกจอดรถของห้างโลตัสอีก 8 ชั้น รวมจอดรถได้กว่า 1,500 คัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณอู้ 089- 884-4839

    5. ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ (เหมาะสำหรับคนที่อยู่แถว สมุทรปราการ ประเวศ พัฒนาการ อ่อนนุช หรือแถวๆ นั้น) รองรับรถยนต์ได้ถึง 650 คัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-787-2191

    6. อาคาร HobbyLobby (แยกแคราย จ.นนทบุรี) ตรงข้ามเอสพลานาด รองรับรถยนต์ได้ 400 คัน สอบถามเพิ่มเติม โทร 081-906-9460

    7. อิมพีเรียลลาดพร้าว เปิดบริการจอดรถฟรีฉุกเฉินในบริเวณเขตพื้นที่ ลาดพร้าว วังทองหลาง ตลอด 24 ชั่วโมง ติดต่อ โทร.02-9349150

    8. ห้างบิ๊กซี เปิดให้บริการจุดจอดรถฟรีในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยสามารถติดต่อสอบถามไปได้ที่บิ๊กซี สาขาใกล้บ้านท่าน หรือโทรถามข้อมูลที่ 02-655-0666

    9. แฟชั่นไอส์แลนด์ เปิดให้จอดรถ เริ่มวันที่ 8 ตุลาคม ติดต่อ 0-2947-5000

    10. สนามบินสุวรรณภูมิ ให้จอดฟรี ถึงวันที่ 15 ต.ค. (อาจขยายเวลาออกไปอีก) สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-132-6535 หรือ ประชาสัมพันธ์ของสนามบิน 02-132-1888

    11. กองทัพอากาศ เปิดศูนย์รับผู้อพยพ และให้บริการจอดรถ ดังนี้

    1) บน.2 ลพบุรี รับผู้อพยพได้ 300-500 คน
    2) บน.4 ตาคลี จ.นคสวรรค์ รับผู้อพยพได้ 500-700 คน
    3) กรุงเทพมหานคร: สถานที่จอดรถ รร.นอ. จำนวน 1,000 คัน, หอประชุม 600 คัน, สวนสุขภาพ 100 คัน, พิพิธภัณฑ์ ทอ. 100 คัน, สนามกีฬาธูปะเตมีย์ 300 คัน

    โดยต้องเตรียมหลักฐานใช้ประกอบ จำนวน 2 ชุด (ติดด้านหน้ากระจกรถยนต์ จำนวน 1 ชุด) ได้แก่ สำเนาทะเบียนรถ, สำเนาบัตรประชาชาชน, หมายเลขโทรศัพท์ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ ที่ตั้งท่าอากาศยานดอนเมือง โทร 1111 ต่อ 5 (โทรได้ตลอดเวลา), ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ 025342096 ในเวลาราชการ, 02-5341700 ต่อ 15 นอกเวลาราชการ

    12. สถานีแอร์พอร์ตลิงก์ มักกะสัน ให้จอดรถฟรี 200 คัน บริเวณลานจอดรถชั้น 1 สถานีมักกะสัน สามารถนำรถมาจอดฟรีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยต้องนำสำเนาทะเบียนรถ และสำเนาบัตรประชาชน มาติดต่อเจ้าหน้าที่ บริเวณ ชั้น 3 ของสถานีมักกะสันชั้น 3 หรือโทรศัพท์หมายเลข 02-308-5600 ต่อ 2906 หรือ 2907 ตั้งแต่เวลา 07.00-23.00 น.


    13. ห้างสรรพสินค้าตั้ง ฮั่ว เส็ง ย่านบางพลัด ยินดีให้ที่จอดรถฟรี ติดต่อสอบถาม 0-2434-0448 ต่อ 1222, 1234, 8999 ติดต่อ พร้อมเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้ 1) สำเนาบัตรประชาชนของผู้ฝาก 2) สำเนาคู่มือ การจดทะเบียนรถ หน้าที่แสดงชื่อเจ้าของรถ และหน้าที่แสดงการชำระภาษีประจำปี


    14. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สามารถนำรถมาจอด ฟรี!! ที่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขา รัชโยธิน, รังสิต, สุขุมวิท, ปิ่นเกล้า และ เอสพลานาด งามวงศ์วาน-แคราย โดยเตรียมเอกสารดังนี้ 1) สำเนาบัตรประชาชน 2) สำเนาทะเบียนรถ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สาขา รัชโยธิน 02 5115427 ต่อ 190-191, สาขา รังสิต 02 5677047 ต่อ 106-107, สาขา สุขุมวิท 02 7412897, สาขา ปิ่นเกล้า 02 4349075, สาขา งามวงศ์วาน-แคราย 02 5807491 และ www.facebook.com/majorgroup

    แต่ล่าสุดทาง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ แจ้งว่า ที่จอดรถสำหรับผู้ประสบภัยเต็มแล้วในทุกสาขา


    15. รร.นายเรืออากาศ ดอนเมือง และพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ เปิดให้ผู้ประสบภัยจอดรถได้ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-5343624-7


    16. ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ประกาศเปิดพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเป็นพื้นที่จอดรถหนีน้ำท่วม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สายงานอำนวยการ โทร.08-1780-2829 สายงานพัฒนาธุรกิจการค้า โทร.08-9900-9536 สายงานพัฒนาฝีมือช่าง-ผลิตภัณฑ์ โทร.08-1780-2708 สายงานวิชาการ-เทคโนโลยีสารสนเทศ โทร. 08-9900-9535


    17. เมืองไทยประกันภัย เปิด 5 จุดรับจอดรถสำหรับลูกค้า พร้อมบริการฟรีรถลาก รถยก ในกรณีที่ลูกค้ามีที่พักอาศัย ที่อยู่ในเขตเสี่ยงจากเหตุน้ำท่วมในครั้งนี้ โดยบริษัทฯ ได้จัดเตรียมสถานที่จอดรถ เพื่อรับฝากรถของลูกค้าที่ทำประกันภัยรถยนต์ทุกประเภทตามจุดต่างๆ ดังนี้ โรงแรมเดอะแกรนด์ รัชดา ซอย.18 (ข้างบ. เมืองไทยประกันภัย สำนักงานใหญ่), ลานจอดรถตรงข้ามไบเทค บางนา, ลานจอดรถศูนย์การค้าเซ็นทรัลเพาเวอร์ หัวหมาก (บิ๊กซี ตรงข้าม ม. รามคำแหง), ลานจอดรถศูนย์การค้าโรบินสัน บางรัก และ ลานจอดรถศูนย์การค้าโรบินสัน รัชดา ทั้งนี้ลูกค้าของบริษัทฯ สามารถติดต่อ Call Center 1484 กด 6 เพื่อลงทะเบียนและนำรถมาจอดตามจุดจอดรถที่ทางบริษัทฯ ได้จัดเตรียมไว้ รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่เว็บไซต์ :::
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>แนะ “ธรรมศาสตร์โมเดล” แก้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน
    -http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000134493-
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>21 ตุลาคม 2554 13:49 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แบบจำลอง 3 มิติ แนวคิด "ธรรมศาสตร์โมเดล" โดยแฟนเพจ "ขบวนการเสรีไทยเฟซบุ๊ค" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำคันกั้นน้ำเป็นชั้นๆ และปล่อยน้ำให้ท่วมในพื้นที่บางส่วน จะช่วยป้องกันกรุงเทพฯ ชั้นในได้ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จากที่เคยวิเคราะห์ว่าโอกาสน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ 50-50 มาถึงวันนี้สถานการณ์ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้นแล้ว เลขาฯ "มูลนิธิสืบ" ออกมาแนะรัฐบาลให้ทำหน้าที่ "ตัดสินใจ" โดยใช้ "ธรรมศาสตร์โมเดล" เอาน้ำกั้นน้ำ ลดความแรงของกระแสน้ำ ทะยอยปล่อยให้มีเวลาการเคลื่อนย้ายและอพยพ พร้อมดึงนักวิชาการรุ่นพี่มาร่วมอธิบาย

    ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เผยแพร่คลิปผ่านยูทูปแนะนำวิธีแก้วิกฤตน้ำท่วมอีกครั้งเมื่อค่ำวันที่ 20 ต.ค.54 โดยหวังให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ "ตัดสินใจ" เพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน วิธีเบี่ยงน้ำของนายกฯ ไม่น่าจะ "เอาอยู่" และคันรังสิต -นครนายกไม่น่ารับปริมาณน้ำมากๆ ไหวแล้ว และจะทำให้เกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน ซึ่งเขาให้ความเห็นว่า หากเกิดน้ำท่วมหมดทุกพื้นที่จะไม่เหลือ "พื้นที่แห้ง" สำหรับบัญชาการ ไม่มีโรงพยาบาลสำหรับช่วยผู้คน และจะเกิดความโกลาหล หากรักษากรุงเทพฯ ชั้นในไว้ได้น่าจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติโดยรวมมากกว่า

    วิธีที่ศศินเสนอคือใช้ "ธรรมศาสตร์โมเดล" ที่เสนอโดย อภิชาติ สุทธิศิลธรรม หรือ “ลุงมูซา” ซึ่งจบปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมเคมี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยโมเดลดังกล่าวช่วยให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประสบความสำเร็จในการป้องกันน้ำท่วมจากการทำคันกั้นน้ำ แล้วปล่อยน้ำเข้าเป็นชั้นๆ ตามคันกั้นน้ำ เพื่อให้ “น้ำต้านน้ำ” และป้องกันคันกั้นน้ำพังจากระดับน้ำที่สูงเกิน

    แนวคิดดังกล่าวเมื่อเสนอใช้กับกรุงเทพฯ ซึ่งคิดว่าจะได้ผลเช่นเดียวกันนี้ จะทำให้มีพื้นที่ที่ต้องยอมให้น้ำท่วม แต่การสร้างคันกั้นน้ำลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้เรารักษาระดับน้ำไว้ได้ และมีเวลาในการเคลื่อนย้ายผู้คนออกจากพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลต้องบริหารจัดการ และให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงยอมรับว่ารัฐบาล "เอาไม่อยู่" และต้องมีการชดเชยความเสียตามความเป็นจริง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>อภิชาติ สุทธิศิลธรรม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>คลิปเสนอแนวคิด "ธรรมศาสตร์โมเดล" โดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

    <IFRAME src="http://www.youtube.com/embed/bmI5WnecYdA" frameBorder=0 width=420 height=315 allowfullscreen></IFRAME>
    </CENTER>




    <CENTER>อธิบายธรรมศาสตร์โมเดล โดย อภิชาติ สุทธิศิลธรรม

    <IFRAME src="http://www.youtube.com/embed/JKCNcnK1JbI" frameBorder=0 width=560 height=315 allowfullscreen></IFRAME>

    </CENTER>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR vAlign=baseline><TD vAlign=top width=21 height=19>[​IMG]</TD><TD align=left height=19>TAG : ธรรมศาสตร์โมเดล, น้ำท่วม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรียน พี่แอ๊วครับ

    ผมได้ไปแจ้งงานบุญให้กับเว็บพลังจิตแ่ล้วครับ

    (รายละเอียด ผมจะโทร.ไปแจ้งพี่อีกครั้งครับ)

    -http://palungjit.org/threads/%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2554-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-6-a.305846/page-11#post5265527-



    --------------------------------------------------------


    เรียน คุณWebSnow ,คุณMBNY , ทีมงานเว็บพลังจิต และสมาิชิกเว็บพลังจิตทุกๆท่าน

    ผมขอแจ้งวาระงานบุญ กฐินตกค้าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2554

    จากจดหมายของพี่แอ๊วส่งมาให้ผมและคุณPinkcivil

    เรียนคุณหนุ่ม และ คุณPinkcivilค่ะ


    พี่ ส่งรายละเอียดงานบุญใหญ่มาให้ค่ะ ต้องขอโทษด้วยที่ล่าช้า ตามสภาพค่ะตอนนี้ ต้องคอยเช็คสถานการณ์น้ำเป็นระยะๆ เพราะบ้านอยู่ในเขตเสี่ยงเช่นกัน

    ปี นี้ผู้คนลำบากกันมาก พระสงฆ์ก็ยิ่งลำบากใหญ่ แต่ถึงฤดูกาลกฐิน จะมากจะน้อยอย่างไรก็คงต้องดำรงคงไว้ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนนะคะ เราก็เลือกทำบุญที่มีอานิสงส์มากก็แล้วกันค่ะ


    ปี นี้มีมหากฐินโดยเสด็จพระราชกุศลมาให้พวกเราได้ร่วมบุญกันเหมือนปีที่แล้วค่ะ คือกฐินที่ไม่มีเจ้าภาพจองใน 3 จว.ชต. และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถท่านได้เป็นองค์อุปถัมภ์อยู่


    ถือ ว่าเราได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่กันนะคะ ปีนี้มีวัดตกค้างอยู่ 84 วัด ( เท่าพระชนมายุของในหลวงพอดีเลยนะคะ ) วัดทั้งหมดมีพระจำพรรษาครบ 5 รูป และพระสงฆ์อยู่ครบไตรมาส ถือว่าถวายกฐิน


    เป็น การสืบต่องานพระพุทธศาสนาตามพระธรรมวินัยนะคะ พระที่ท่านจำพรรษาอยู่ใน 3 จว.ชต. นี้ถือว่าท่านต้องมีกำลังใจสูงมาก เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อชีวิต และขาดแคลนไปทุกสิ่งทุกอย่าง


    เพราะ คนเข้าไปทำบุญได้ยาก ปีหนึ่งก็คงมีโอกาสที่จะได้รับปัจจัยไทยธรรมสักครั้งให้สมบูรณ์แบบ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าภัตตาหารตลอดทั้งปี รวมทั้งค่ายารักษาโรคด้วย


    พี่ ขอรบกวนคุณหนุ่ม ในการบอกกล่าวข่าวบุญนี้ไปยังพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ทั้งหลายนะคะ เหลือเวลาร่วมบุญแค่ประมาณ 10 วันเท่านั้นเองค่ะ !!!!


    กราบอนุโมทนา สาธุนะคะ

    ------------------------------------------------------------

    ขอเชิญร่วมมหากุศลเป็นเจ้าภาพร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลทอดกฐินตกค้างจำนวน ๘๔ วัด ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

    ด้วย ในกาลกฐินประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ นี้ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมอบหมายให้กรมราชองครักษ์ดำเนินการสำรวจวัดที่ยังไม่มีเจ้าภาพจองทอด กฐิน ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งพบว่ามีวัดจำนวนทั้งสิ้น ๘๔ วัดยังไม่มีเจ้าภาพจองทอดกฐินในปีนี้ อันเป็นผลกระทบจากการก่อความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน จำนวน ๘๔ ไตร พร้อมพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง ให้กรมราชองครักษ์ คณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาในบวรพุทธศาสนา อัญเชิญไปถวายวัดทั้ง ๘๔ วัด ซึ่งมีพระสงฆ์จำพรรษาครบจำนวน ๕ รูป และอยู่ครบถ้วนไตรมาส


    ใน การนี้พระครูปภัสสรวรพินิจ เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และพระธวัชชัย ชาครธัมโม ( พระอาจารย์นิล ) ได้รับเป็นเจ้าภาพร่วมในการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน และการจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายแด่วัดทั้ง ๘๔ วัด เพื่อร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วย


    จึง ขอเรียนเชิญท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายร่วมเป็นเจ้าภาพมหากุศลครั้งนี้ โดยผู้รับเป็นเจ้าภาพสามารถรับเป็นเจ้าภาพได้ทั้ง ๘๔ วัด โดยร่วมบุญตามกำลังศรัทธา หรือ รับเป็นเจ้าภาพกองกฐินกองละ ๓,๐๐๐ บาท จำนวน ๕๐๐ กอง โดยในเบื้องต้น ทางวัดห้วยมงคลจะได้จัดปัจจัยถวายแต่ละวัด วัดละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมผ้าไตรจีวร หากมีผู้ทำบุญมาเกินกว่าจำนวนที่ได้ตั้งไว้ ทางวัดจะจัดปัจจัยเฉลี่ยเท่าๆกันถวายแด่วัดทั้งหมดจำนวน ๘๔ วัด ทั้งนี้เจ้าภาพสามารถร่วมทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศลในการร่วมถวายผ้าพระกฐิน พระราชทาน และถวายผ้ากฐินสำหรับทุกวัดด้วย


    สำหรับรายละเอียดและกำหนดการทอดกฐินมหากุศลในครั้งนี้ มีดังนี้


    1. วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดวังโต้ อ. นาทวี จ. สงขลา จำนวน ๒๐ วัด
    เวลา ๑๓.๐๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดมุจลินทร์ จ. ปัตตานี จำนวน ๓๐ วัด


    2. วันจันทร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐินที่วัดเขากง จ. นราธิวาส จำนวน ๓๔ วัด

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    รายชื่อวัด (ตามไฟล์แนบ ผมได้มาเพียง 80 วัดครับ)
    ทางกรมราชองค์รักษ์แจ้งรายชื่อมาเพียง 80 วัด ส่วนอีก 4 วัดที่ยังไม่ได้รายชื่อวัดมา เนื่องจากความล่าช้าในการส่งรายชื่อมาให้ทางกรมราชองค์รักษ์ครับ

    <fieldset class="fieldset"> <legend>ไฟล์แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> <td>รายนามวัด_ที่จะรับถวายผ้าพระกฐิน.doc (122.5 KB, 1 views)</td> </tr> </tbody></table> </fieldset>


    ส่วนบัญชีที่ใช้ในการโอนเงินร่วมทำบุญ เป็นบัญชีส่วนตัวผม ซึ่งในสัปดาห์หน้าผมจึงจะโอนเข้าบัญชีของพี่แอ๊ว(คุณพิชญ์สินี ชาญปรีชญา)บัญชีผมจะแจ้งให้คุณWebSnow ,คุณMBNY ทราบทาง pm ครับ (ผมไม่ต้องการโพสเลขที่บัญชีลงหน้าบอร์ดครับ)



    โมทนาบุญทุกประการครับ


    .

    http://palungjit.org/threads/กฐินแสนกอง-ปี-2554-ปีที่-6-a.305846/page-11#post5265527

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    เรียน ท่านประธานชมรมพระวังหน้า , ท่านรองประธานชมรมพระวังหน้า ,ท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้า , ท่านผู้สนับสนุนชมรมพระวังหน้า และท่านผู้ที่เคยร่วมทำบุญกับผมทุกๆท่าน

    ผมขอแจ้งวาระงานบุญ กฐินตกค้าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2554

    จากจดหมายของพี่แอ๊วส่งมาให้ผมและคุณPinkcivil

    เรียนคุณหนุ่ม และ คุณPinkcivilค่ะ
    :p

    พี่ ส่งรายละเอียดงานบุญใหญ่มาให้ค่ะ ต้องขอโทษด้วยที่ล่าช้า ตามสภาพค่ะตอนนี้ ต้องคอยเช็คสถานการณ์น้ำเป็นระยะๆ เพราะบ้านอยู่ในเขตเสี่ยงเช่นกัน
    :p
    ปี นี้ผู้คนลำบากกันมาก พระสงฆ์ก็ยิ่งลำบากใหญ่ แต่ถึงฤดูกาลกฐิน จะมากจะน้อยอย่างไรก็คงต้องดำรงคงไว้ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนนะคะ เราก็เลือกทำบุญที่มีอานิสงส์มากก็แล้วกันค่ะ:p
    :p

    ปี นี้มีมหากฐินโดยเสด็จพระราชกุศลมาให้พวกเราได้ร่วมบุญกันเหมือนปีที่แล้วค่ะ คือกฐินที่ไม่มีเจ้าภาพจองใน 3 จว.ชต. และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถท่านได้เป็นองค์อุปถัมภ์อยู่:p
    :p

    ถือ ว่าเราได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่กันนะคะ ปีนี้มีวัดตกค้างอยู่ 84 วัด ( เท่าพระชนมายุของในหลวงพอดีเลยนะคะ ) วัดทั้งหมดมีพระจำพรรษาครบ 5 รูป และพระสงฆ์อยู่ครบไตรมาส ถือว่าถวายกฐิน:p
    :p

    เป็น การสืบต่องานพระพุทธศาสนาตามพระธรรมวินัยนะคะ พระที่ท่านจำพรรษาอยู่ใน 3 จว.ชต. นี้ถือว่าท่านต้องมีกำลังใจสูงมาก เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อชีวิต และขาดแคลนไปทุกสิ่งทุกอย่าง:p
    :p

    เพราะ คนเข้าไปทำบุญได้ยาก ปีหนึ่งก็คงมีโอกาสที่จะได้รับปัจจัยไทยธรรมสักครั้งให้สมบูรณ์แบบ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าภัตตาหารตลอดทั้งปี รวมทั้งค่ายารักษาโรคด้วย:p
    :p

    พี่ ขอรบกวนคุณหนุ่ม ในการบอกกล่าวข่าวบุญนี้ไปยังพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ทั้งหลายนะคะ เหลือเวลาร่วมบุญแค่ประมาณ 10 วันเท่านั้นเองค่ะ !!!!:p
    :p

    กราบอนุโมทนา สาธุนะคะ

    ------------------------------------------------------------

    ขอเชิญร่วมมหากุศลเป็นเจ้าภาพร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลทอดกฐินตกค้างจำนวน ๘๔ วัด ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
    :p
    ด้วย ในกาลกฐินประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ นี้ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมอบหมายให้กรมราชองครักษ์ดำเนินการสำรวจวัดที่ยังไม่มีเจ้าภาพจองทอด กฐิน ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งพบว่ามีวัดจำนวนทั้งสิ้น ๘๔ วัดยังไม่มีเจ้าภาพจองทอดกฐินในปีนี้ อันเป็นผลกระทบจากการก่อความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน จำนวน ๘๔ ไตร พร้อมพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง ให้กรมราชองครักษ์ คณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาในบวรพุทธศาสนา อัญเชิญไปถวายวัดทั้ง ๘๔ วัด ซึ่งมีพระสงฆ์จำพรรษาครบจำนวน ๕ รูป และอยู่ครบถ้วนไตรมาส:p
    :p

    ใน การนี้พระครูปภัสสรวรพินิจ เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และพระธวัชชัย ชาครธัมโม ( พระอาจารย์นิล ) ได้รับเป็นเจ้าภาพร่วมในการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน และการจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายแด่วัดทั้ง ๘๔ วัด เพื่อร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วย :p
    :p

    จึง ขอเรียนเชิญท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายร่วมเป็นเจ้าภาพมหากุศลครั้งนี้ โดยผู้รับเป็นเจ้าภาพสามารถรับเป็นเจ้าภาพได้ทั้ง ๘๔ วัด โดยร่วมบุญตามกำลังศรัทธา หรือ รับเป็นเจ้าภาพกองกฐินกองละ ๓,๐๐๐ บาท จำนวน ๕๐๐ กอง โดยในเบื้องต้น ทางวัดห้วยมงคลจะได้จัดปัจจัยถวายแต่ละวัด วัดละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมผ้าไตรจีวร หากมีผู้ทำบุญมาเกินกว่าจำนวนที่ได้ตั้งไว้ ทางวัดจะจัดปัจจัยเฉลี่ยเท่าๆกันถวายแด่วัดทั้งหมดจำนวน ๘๔ วัด ทั้งนี้เจ้าภาพสามารถร่วมทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศลในการร่วมถวายผ้าพระกฐิน พระราชทาน และถวายผ้ากฐินสำหรับทุกวัดด้วย:p
    :p

    สำหรับรายละเอียดและกำหนดการทอดกฐินมหากุศลในครั้งนี้ มีดังนี้
    :p
    :p
    1. วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ :p
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดวังโต้ อ. นาทวี จ. สงขลา จำนวน ๒๐ วัด:p
    เวลา ๑๓.๐๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดมุจลินทร์ จ. ปัตตานี จำนวน ๓๐ วัด:p
    :p

    2. วันจันทร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔:p
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐินที่วัดเขากง จ. นราธิวาส จำนวน ๓๔ วัด

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    รายชื่อวัด (ตามไฟล์แนบ ผมได้มาเพียง 80 วัดครับ)


    -------------------------------------------

    บัญชีที่ผมใช้สำหรับงานบุญนี้ ผมใช้บัญชีส่วนตัวผม

    ดังนั้น หากท่านผู้อ่านที่เคยร่วมทำบุญพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง มีความลังเล , สงสัย , เคลือบแคลง , ไม่มั่นใจ , ไม่แน่ใจ และกลัวว่าผมจะมีส่วนได้ส่วนเสียในเงินร่วมทำบุญนี้ ก็ไม่ต้องทำบุญครับ

    สำหรับท่านผู้อ่านที่เคยร่วมทำบุญพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ผมให้สิทธิในการร่วมทำบุญ แต่ผมขอให้อยู่ในดุลยพินิจของผมว่า จะให้ร่วมทำบุญได้หรือไม่ หากท่านใดที่ผมอนุญาตให้ร่วมทำบุญ ผมจะให้ท่านแจ้ง ชื่อ - นามสกุล และที่อยุ่มาให้ผมก่อน แล้วผมจะส่งหมายเลขบัญชีที่จะให้โอนเงินร่วมทำบุญไปให้อีกครั้งครับ

    ระยะเวลาในการร่วมทำบุญ สิ้นสุดในวันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2554 เวลา 18.00 น.ครับ

    โมทนาบุญทุกประการ

    sithiphong.20/10/2554

    . :p
    </td> </tr> </tbody></table>

    เรียนท่านประธานชมรมพระวังหน้า , ท่านรองประธานชมรมพระวังหน้า , ท่านผู้ช่วยเลขานุการชมรมพระวังหน้า , ท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้า และ ท่านผู้สนับสนุนชมรมพระวังหน้าทุกๆท่าน

    ตามที่ผมได้ส่ง Email เรื่องการเปิดประชุมงานบุญนี้ไปให้ทุกๆท่าน ผมรบกวนตอบกลับมาให้ผมทาง Email ด้วยนะครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ทางหลวงแนะเลี่ยงเส้นทางน้ำท่วม! <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ทีมข่าวอาชญากรรม</td> <td class="date" align="left" valign="middle">21 ตุลาคม 2554 14:38 น.</td></tr></tbody></table>

    [​IMG]

    พล.ต.ต.นรบุญ แน่นหนา ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง(ผบก.ทล.)


    ตำรวจทางหลวงแนะประชาชนที่จะเดินทางไปต่างจังหวัดช่วงหยุดหลายวัน และอพยพหนีน้ำท่วมเลี่ยงเส้นทางสำคัญ

    วันนี้ (21 ต.ค.) เมื่อเวลา 12.30 น. พล.ต.ต.นรบุญ แน่นหนา ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง (ผบก.ทล.) กล่าวแนะนำการใช้เส้นทางสำหรับประชาชนที่จะเดินทางออกต่างจากจังหวัด เนื่องจากวันหยุดยาว รวมทั้งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมว่า ในช่วง 3 วันที่ผ่านมาน้ำได้เข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และคาดว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในวันเสาร์-อาทิตย์ที่จะถึงนี้ โดยถนนสายเอเชียที่ใช้เดินทางสู่ภาคเหนือบริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และปทุมธานีมีน้ำท่วมสูงเป็นช่วงๆ ทำให้รถไม่สามารถผ่านได้ รวมทั้งบางเส้นมีประชาชนนำรถมาจอดหนีน้ำบนถนนและสะพาน ทำให้การจราจรติดขัดรถยนต์สัญจรลำบากตำรวจทางหลวงต้องร้องขอให้ประชาชนนำรถ ออกจากถนน

    พล.ต.ต.นรบุญกล่าวอีกว่า สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังภาคเหนือแนะนำให้ใช้เส้นทาง จาก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เข้า จ.อ่างทอง และ จ.สุพรรณบุรี พอผ่านได้แม้จะติดขัดในบางช่วง หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 11 ทาง จ.ปราจีนบุรี

    ส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้เส้นรังสิต เข้า อ.บ้านนา จ.นครนายก ไป จ.สระบุรี แต่รอดูสถานการณ์ว่าน้ำจะทะลักเข้าท่วมหรือไม่ หากท่วมก็สามารถเลี่ยงไปใช้อีกเส้นทางคือ ทาง จ.ฉะเชิงเทรา เข้าไปยัง จ.ปราจีนบุรี และเข้าทาง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

    สำหรับภาคตะวันออก และภาคใต้ การเดินทางยังไม่ประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม ซึ่งผู้ที่จะเดินทางควรศึกษาเส้นทางก่อน โดยสามารถติดตามจากสรุปสถานการณ์เส้นทางหลวงได้ทั้งทางเว็บไซต์ของตำรวจทาง หลวงที่จะมีการประเมินวันต่อวัน และสายด่วน 1193 เพื่อความสะดวกในการเดินทาง


    -http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9540000134540-



    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    น้ำท่วมห่วงเด็ก วิธีป้องกันภัยจมน้ำ


    ช่วงนี้หลายจังหวัดของประเทศไทยประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรง คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องดูแลเด็กๆ ให้ห่างไกลภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม โดยเฉพาะการจมน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่ง และสูงกว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรถึง 2 เท่า โดยในแต่ละปีมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตถึงเกือบ 1,500 คนหรือเฉลี่ยวันละ 4 คน ซึ่งช่วงที่พบมากมักเป็นช่วงที่ตรงกับการปิดเทอมซึ่งตรงกับช่วงนี้ ร่วมกับการมีน้ำท่วม

    ทุกปีกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวัน รณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ และมีคำขวัญว่า เด็กทั่วไทย ปลอดภัย ไม่จมน้ำ โดยมีนโยบายเร่งป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยจัดอบรมครูสอนทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และวางแผนจะเผยแพร่ไปทุกจังหวัด ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี เด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป ต้องว่ายน้ำเป็นครบ 100 เปอร์เซ็นต์

    พญ.พิมพ์ภัค ประชาศิลป์ชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า "จริงๆแล้วแค่เพียงระดับน้ำเพียง 1-2 นิ้ว ก็สามารถทำให้เด็กเล็กๆจมน้ำได้แล้ว และเด็กส่วนมากมักจมน้ำบริเวณแหล่งน้ำใกล้บ้าน ดังนั้นพ่อแม่ควรดูแลเด็กๆ อย่างใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยให้เด็กไปเล่นน้ำ จับปลา พายเรือ หรือว่ายน้ำตามลำพัง และควรให้เด็กๆยืนห่างจากขอบแหล่งน้ำเพื่อป้องกันการลื่นตกด้วย รวมถึงไม่ควรให้อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน เพราะความเย็นของน้ำจะทำให้เด็กเป็นตะคริวจมน้ำได้ โดยเฉพาะในสถานการน้ำท่วมแบบนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ ถ้าต้องเดินทางทางเรือก็ควรสวมเสื้อชูชีพให้เด็กๆตลอดเวลา"

    กรณีที่มีเหตุจมน้ำเกิดขึ้น พญ.พิมพ์ภัค ระบุว่า ควรสอนไม่ให้เด็กลงไปช่วยเหลือกันเอง ควรบอกให้ผู้ใหญ่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงช่วยเหลือแทน ขณะที่วิธีการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ถ้าเด็กรู้สึกตัวดี และหายใจเองได้ ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เด็ก และรีบเช็ดตัวเด็กให้แห้ง เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

    แต่ถ้าเด็กหายใจเองไม่ได้หรือหัวใจหยุดเต้น ให้รีบทำการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น และรีบเปิดทางเดินหายใจ โดยให้เด็กนอนราบกดหน้าผากและเชยคางขึ้นเบาๆ ถ้าเด็กยังไม่หายใจแต่ชีพจรยังเต้นอยู่ ให้ทำการเป่าปากต่อเพียงอย่างเดียว โดยทำ 20 ครั้ง/นาที และให้รีบนำเด็กส่งโรงพยาบาล ห้ามจับอุ้มพาดบ่า กระโดด หรือวิ่งรอบสนาม เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น

    ที่สำคัญแม้ว่า เด็กๆจะว่ายน้ำเป็น ผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้เด็กๆอยู่ตามลำพัง เพราะเด็กอาจได้รับอันตรายจากสัตว์มีพิษที่อาศัยอยู่ใต้น้ำ และถ้าเกิดอันตรายในระหว่างการเล่นน้ำ เด็กจะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที

    พญ.พิมพ์ภัค บอกด้วยว่า อุบัติเหตุอื่นๆ ที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ ไฟดูด อุบัติเหตุจากการเหยียบของมีคม อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบในบริเวณบ้าน การป้องกันง่ายๆทำได้โดยไม่ให้เด็กๆเดินเท้าเปล่า ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัทเอาท์ตัดไฟฟ้าในบ้าน ก่อนที่น้ำจะท่วมถึง และเก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณบ้าน

    ถ้ามีบาดแผลที่เกิดจากของมีคม ควรล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด แล้วไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและต้องตรวจเช็คว่าเด็กได้รับ การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักครบแล้วหรือยัง.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=711&contentId=171206-

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เช็คความพร้อม กทม.สู้ศึกน้ำเข้ากรุง


    รูป flood_bkk.pdf

    สถานการณ์น้ำที่ขณะนี้ไหลมาจ่อเคาะประตูเข้า กรุงเทพฯ ประชิดติดชายแดนอยู่ตอนนี้ ซึ่งผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) ก็ยอมรับว่ายังไม่ปลอดภัย แต่ก็ยังมั่นใจว่าจะคนกรุงจะไม่ผจญน้ำท่วมวิกฤตหนักเหมือนต่างจังหวัด เพราะยังมีวิธีบริหารจัดการน้ำ ซึ่งหากจะได้รับผลกระทบคงกรุงก็คงไม่ถึงขั้นอยู่ในบ้านไม่ได้ต้องกินนอนบน หลังคา มาดูว่าระบบป้องกันน้ำท่วม ที่กทม.ดำเนินการอยู่ในขณะนี้มีอะไรบ้าง
    ระบบป้องกันน้ำเข้า

    น้ำ ที่ไหลบ่ามาจากทางด้านเหนือของกรุงเทพมหานครที่สร้างความกังวลให้กับคน กรุงเทพฯขณะนี้ กทม. มีระบบป้องกันน้ำที่มาตามเส้นทางน้ำสายหลัก คือ แม่น้ำเจ้าพระยาและตามคลองต่าง ๆ เส้นทางหลัก คือแม่น้ำเจ้าพระยา กทม. มีการก่อสร้างแนวป้องกันที่เป็น เขื่อนหรือคันกั้นน้ำตลอดแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์ รวม 77 กิโลเมตร ซึ่งแล้วเสร็จไปแล้ว 75.7 กิโลเมตร เหลือที่ยังไม่แล้วเสร็จ 1.2 กิโลเมตร ซึ่งใช้กระสอบทรายกันในระดับเดียวกันแนวเขื่อน ป้องกันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ที่ระดับความสูง 2.50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งยังต่ำกว่าเขื่อนที่สร้างไว้

    นอก จากนี้การป้องกันน้ำเหนือที่ไหลบ่าจากด้านเหนือลงม ายังที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันนออกยังมีคันกั้นน้ำฝั่งตะวันออก อันเนื่องมาจากพระราชดำริเดิมเป็นคันดินยกสูง 2 เมตร ที่ป้องกันน้ำท่วมจากทุ่งฝั่งตะวันออกเข้าพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ ปัจจุบันได้ปรับเป็นแนวถนน โดยเริ่มจากซอยแอนเนกซ์ เขตบางเขน ยาวไปทางด้านตะวันออกตามแนวถนนสายไหม และวิ่งลงด้านใต้ตาม แนวถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า และถนนกิ่งแก้ว จนสุดเขตพื้นดินที่ตำบลตำหรุ จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 72 กิโลเมตร ป้องกันน้ำได้ที่ระดับ 2.00 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และกทม.ได้สร้างทำนบป้องกันตามแนวคลองแยก คลองหกวาสายล่าง คลอง แสนแสบ คลองนครเนื่องเขต คลองหลวงแพ่ง โดยในแนวคลองหกวาสายล่าง พื้นที่เขตสายไหม ที่เป็นชายขอบของกรุงเทพฯขณะนี้ได้เสริมแนวกระสอบทราย ให้สูงขึ้นอีก เพื่อให้ป้องกัน ระดับน้ำได้ที่ 3 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตลอดระยะทาง 6 กิโลเมตร พร้อมทั้งยกระดับถนนริมคลองสอง ซึ่งเป็นคลองตัดเชื่อมจากคลองระพีพัฒน์ ที่จะมีปริมาณน้ำจากที่คันกั้นริมคลองแตกหลายจุด ไหลลงมามากขึ้น กทม.ก็ได้ยกระดับถนนให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีก 30 เซนติเมตร ป้องกันน้ำได้ที่ระดับ 2.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

    การพักน้ำชั่วคราว

    การ พักน้ำชั่วคราว กทม.มีพื้นที่แก้มลิง เป็นที่เก็บกักน้ำไว้ชั่วคราวเพื่อรอให้ระดับน้ำในทางระบายน้ำลดแล้วจึงค่อย ระบายน้ำจากแก้มลิง ออกไปภายนอก ซึ่งการทำให้แก้มลิงมีประสิทธิภาพ คือการขุดลอก คูคลองต่าง ๆ ซึ่งกทม.มีคลองประมาณ 1,165 คลอง ความยาวรวม 2,284 กิโลเมตร เป็นคลองหลักเพื่อการระบายน้ำ ประมาณ 912 กิโลเมตร ซึ่งนอกจากการขุดลอกประจำปีแล้ว ยังต้องดูแลวัชพืชและขยะที่เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ รวมทั้งยังมีพื้นที่แก้มลิง 21 แห่ง เช่น บึงหนองบอน บึงมักกะสัน บึงพระราม9 บึงพิบูลวัฒนา บึงลำพังพวย บึงทรงกระเทียม บึงตากุ่ม บึงปูนซีเมนต์ไทย บึงสวนสยาม บึงเอกมัย สามารถเก็บกักน้ำได้รวม 12 ล้านลูกบาศ์กเมตร โดยแก้มลิงแห่งล่าสุดคือ โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย ซึ่งกทม.ร่วมกับกรมชลประทานดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อกลางปีที่ผ่านมา สามารถเก็บน้ำได้ถึง 6 ล้านลูกบาศ์กเมตร ทั้งนื้พื้นที่แก้มลิง จะช่วยลดปริมาณเครื่องสูบน้ำและขนาดทางระบายน้ำได้ เช่น ในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ในกรณีที่ฝนตกหนักประมาณ 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง หากมีแก้มลิงเก็บกักน้ำความจุด 100,000 ลูกบาศ์กเมตร สามารถใช้เครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก 1–5 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที แทนที่จะต้องใช้เครื่องสูบน้ำใหญ่ถึง 30 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที และการเก็บน้ำเพื่อชะลอการไหลของน้ำนั้น ทำให้เครื่องสูบขนาดเล็กมีเวลาพอที่จะสูบน้ำออกจากพื้นที่โดยน้ำไม่เอ่อท่วม ขัง

    ระบบการระบายน้ำออก

    กทม. มี ระบบระบายน้ำ ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบท่อ คลองและอุโมงค์ โดยอุโมงค์ ระบายน้ำ ขณะนี้มี 7 แห่ง เช่น อุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 26 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ระบบผันน้ำคลองเปรมประชากร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.4 เมตร อุโมงค์ระบายน้ำสุขุมวิท 36 เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เมตร อุโมงค์ระบายน้ำ สุขุมวิท 42 เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เมตร อุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.6 เมตร เป็นต้น ซึ่งเป็นอุโมงค์ขนา ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เมตร ซึ่งอุโมงค์พระราม 9 –รามคำแหง เป็นอุโมงค์ล่าสุดที่เปิดเดินเครื่อง เมื่อปี 53 และมีขนาดใหญ่สุด คือเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตรความยาว 5.1 กิโลเมตร ระบบท่อระบายน้ำ ในพื้นที่กรุงเทพฯมีระยะทางรวม 6,138 กิโลเมตรเชื่อมโยงเป็นโครงข่าย เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำออกจากพื้นที่ พร้อมทั้งมีสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ในพื้นที่ฝั่งพระนคร 102 แห่ง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 420 เครื่อง กำลังสูบ 1,057 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที ฝั่งธนบุรี มีสถานีสูบ 48 แห่ง เครื่องสูบน้ำ 265 เครื่อง กำลังสูบ 474 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที

    นอก จากนี้ในพื้นที่ชั้นในซึ่งเป็นศูนย์กลางเมือง กทม.ยังมีระบบพื้นที่ปิดล้อมย่อย ในการบริหารจัดการการระบายน้ำ ใช้คันกั้นน้ำ แนวคลอง และะแนวป้องกันน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา บล็อกพื้นที่เป็นส่วน ๆ เพื่อควบคุมน้ำในพื้นที่ป้องกันน้ำจากภายนอกและใช้เครื่องมือ ทั้งประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ซึ่งทั่วกรุงเทพฯมี ทั้งหมด 18 แห่ง ที่ใช้ระบบพื้นที่ปิดล้อมย่อย คิดเป็นพื้นที่ 168.06 ตารางกิโลเมตร เช่น พื้นที่ปิดล้อมหมู่บ้านเมืองทองธานี พื้นที่ปิดล้อมถนนรัชดาภิเษก พื้นที่ปิดล้อมบางกะปิ พื้นที่ปิดล้อมรามคำแหง พื้นที่ปิดล้อมปทุมวัน

    กรุงเทพ มหานคร มีระบบป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่ซับซ้อนมากกว่าในต่างจังหวัด ซึ่งคงเห็นว่าระบบบริหารจัดการ น้ำแตกต่างจากกต่างจังหวัด แน่นอนว่า แม้จะมีระบบมากแต่ก็ยังมีน้ำท่วมขังอยู่ในบางพื้นที่บางจุดแต่ก็ระบายไปได้ ภายในเวลาที่ควบคุม...ระบบต่าง ๆ มากขนาดนี้ ก็ไม่รู้ จะต้านทานมหัตภัยน้ำได้แค่ไหน



    ทีมข่าว กทม.


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=656&contentId=170835-


    .

    Daily News Online > Special Report > เช็คความพร้อม กทม.สู้ศึกน้ำเข้ากรุง


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • flood_bkk.pdf
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      99
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    แก้ปัญหาน้ำท่วมตามแนวพระราชดำริ รัฐบาลอย่าปล่อยให้เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา/ปิ่น บุตรี <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ปิ่น บุตรี</td> <td class="date" align="left" valign="middle">20 ตุลาคม 2554 18:39 น.</td> </tr></tbody> </table>

    [​IMG] <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">วิกฤติน้ำท่วมใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปแทบทุกหย่อมหญ้า</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> วิกฤตประเทศไทยกับเหตุการณ์อภิมหาน้ำท่วมใหญ่มโหฬารบานตะเกียงครั้ง นี้ นอกจากรัฐบาลปูนิ่มและศปภ.จะต้องแก้ปัญหาให้พ้นตัวไปวันๆแบบแก้ผ้าเอาหน้า รอดแล้ว หลังน้ำลดรัฐบาลยังจะต้องเผชิญกับปัญญาสารพัดสารพันที่ถาโถมเข้ามาจากวิกฤต ใหญ่ครั้งนี้ ให้ตามแก้กันอีกหลายเปลาะ

    ไม่ว่าจะเป็น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งด้านทรัพย์สินและด้านจิตใจ รวมไปถึงแรงงานจำนวนมากที่ต้องตกงานจากน้ำท่วมครั้งนี้,การฟื้นฟูประเทศ ซ่อมแซมถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน วัดวาอาราม สถานศึกษา สถานที่ราชการ เรือกสวนไร่นา และทรัพย์สินข้าวของที่เสียหายต่างๆจำนวนมาก การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศเยียวยาแก้ปัญหาในภาคเกษตร อุตสาหกรรม ภาคบริการ และอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม,การเร่งสร้างความเชื่อต่อนักลงทุนต่าง ชาติไม่ให้ย้ายฐานการผลิต

    เหล่านี้ถือเป็นปัญหาหลักๆ ทั้งปัญหาเร่งด่วนและปัญหาระยะสั้น ที่รัฐบาลต้องรีบเร่งดำเนินการแก้ไขหลังน้ำลดอย่างฉับพลันเร่งด่วน ซึ่งจะเป็นการสอบซ่อมพิสูจน์กึ๋น พิสูจน์ฝีมือรัฐบาลอีกครั้งว่าจะสอบผ่านหรือสอบตกซ้ำซากเหมือนการแก้ปัญหา น้ำท่วมที่ผ่านมาหรือเปล่า

    ในขณะที่ปัญหาระยะกลางนั้นรัฐบาลต้องปรับปรุงและบริหารจัดการระบบ ด้านการเตือนภัย การรับมือกับภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ไม่ใช่ทำกันมั่วซั่วไม่เป็นมวยเหมือนที่ผ่านมา

    ส่วนปัญหาระยะยาว(ซึ่งอันที่จริงก็ต้องลงมือทำอย่างเร่งด่วนควบคู่ไป กับปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง)ก็คือ การแก้ปัญหาและป้องกันเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในอนาคต

    ทั้งนี้มีเสียงบอกกล่าว เสียงสะท้อน จากประชาชนจำนวนมากว่า ต้องการให้รัฐบาล(ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลนี้ รัฐบาลหน้า หรือรัฐบาลไหนๆก็ตาม) น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้แก้ปัญหาน้ำท่วม และบริหารจัดการเรื่องน้ำในเมืองไทยแบบ“บูรณาการ”อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่จัดการแบบ“ปูรณาการ”อย่างที่เป็นอยู่

    ทั้งนี้เนื่องจากแผนบริหารจัดการน้ำและการรับมือปัญหาน้ำท่วมตามแนว พระราชดำรินั้น มีการมองปัญหาและดำเนินการแบบเป็นองค์รวม ทั้งดิน ป่า น้ำ โดยเรื่องของน้ำได้มีแยกย่อยออกเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา น้ำแล้ง น้ำเสีย และน้ำท่วม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องนำไปปฏิบัติมาเป็นเวลานับสิบปีแล้ว ดังกระแสพระราชดำรัสที่พระองค์ท่านได้พระราชทานไว้ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ที่ว่า

    “...การพัฒนาแหล่งน้ำนั้น ในหลักใหญ่ก็คือการควบคุมน้ำให้ได้ดังประสงค์ ทั้งปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือ เมื่อมีปริมาณน้ำมากเกินไป ก็ต้องหาทางระบายออกให้ทันการณ์ ไม่ปล่อยให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายได้ และในขณะที่เกิดภาวะขาดแคลน ก็จะต้องมีน้ำกักเก็บไว้ใช้อย่างเพียงพอ ทั้งมีคุณภาพเหมาะสมแก่การเกษตร การอุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค ปัญหาอยู่ที่ว่า การพัฒนาแหล่งน้ำนั้นอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง แต่ถ้าไม่มีการควบคุมน้ำที่ดีพอแล้ว เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น ก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนสูญเสียทั้งในด้านเศรษฐกิจและในชีวิตคามเป็น อยู่ของประชาชน ทั้งส่งผลกระทบเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง”

    สำหรับหลักการดำเนินแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณา ดำเนินการแก้ไข ป้องกัน หรือช่วยบรรเทาปัญหา ในช่วงฤดูน้ำหลากไม่ให้น้ำไหลบ่าเข้าไปท่วมสร้างความเสียหายต่อชุมชน พื้นที่ทำการเกษตรของราษฎร(รวมถึงพื้นที่อุตสาหกรรมดังที่ปรากฏในปีนี้ด้วย) ตลอดจนการเร่งระบายน้ำออกจากที่ลุ่ม ซึ่งแบ่งออกเป็นหลักใหญ่ๆ สรุปความได้ดังนี้

    การก่อสร้างคันกั้นน้ำ : เพื่อกั้นน้ำที่มีระดับสูงกว่าตลิ่งไม่ให้ไหลบ่าเข้าไปท่วมพื้นที่ต่างๆให้ ได้รับความเสียหาย วิธีนี้นิยมทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยการกั้นเป็นคันดิน(หรือคันกระสอบทรายที่กำลังทำกันอยู่ในขณะนี้)กั้นน้ำ ขนาดเล็กที่มีความสูงไม่มากนัก ขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งเข้าไปเป็นระยะพอประมาณ วิธีนี้เคยสามารถป้องกันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำตามลำคลองต่างๆไม่ให้ ไหลบ่าเข้ามาท่วมพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในและเขตเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

    การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ : เป็นการปิดกั้นลำน้ำตามธรรมชาติ เพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลลงมามากในฤดูน้ำหลาก จนเกิดเป็นเขื่อนหรือ“อ่างเก็บน้ำ”ขนาดต่างๆ ดังเช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี-สระบุรี เขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก โดยน้ำที่เก็บกักไว้ในเขื่อนยามปกติจะระบายออกทีละน้อยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเพาะปลูกในยามน้ำแล้ง ซึ่งเขื่อนทั้งสองสามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางตอน ล่างรวมถึง กทม.ได้ไม่น้อยเลย

    การก่อสร้างทางผันน้ำ : เป็นการผันน้ำในส่วนที่ล้นตลิ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมออกไปจากลำน้ำ และปล่อยให้น้ำส่วนใหญ่ที่ยังไม่ล้นตลิ่งไหลไปตามลำน้ำตามเดิม การสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับแม่น้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม จะต้องสร้างอาคารเพื่อควบคุมและบังคับน้ำ หรือสร้างประตูระบายน้ำที่เปิด-ปิดได้ตามความเหมาะสม เพื่อเชื่อมกับลำน้ำสายเก่า(สายใหญ่)ให้ไหลเข้าลำน้ำสายใหม่ได้โดยอัตโนมัติ ดังตัวอย่าง ทางผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง ผันเข้าแม่น้ำท่าจีน แล้วผันลงสู่ทุ่งบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนระบายออกสู่ทะเล

    การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม : พื้นที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ จำเป็นต้องทำการระบายน้ำออกด้วยการขุดคลองระบายน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม และให้สามารถเพาะปลูกได้ รวมถึงมีการก่อสร้างประตูระบายน้ำ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการกักเก็บน้ำ ในคลองและป้องกันน้ำจำด้านนอกไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้าไปในพื้นที่

    ตัวอย่างอันขึ้นชื่อของโครงการนี้ก็คือ โครงการแก้มลิงตามพระราชดำริ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัสอธิบายเกี่ยวกับแก้มลิงว่า

    “...ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปอกกล้วยแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวๆ แล้วเอาไปเก็บที่แก้ม จะกินกล้วยเข้าไปที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน แล้วจะนำมาเคี้ยวและกลืนกินเข้าไปภายหลัง ด้วยพฤติกรรมการนำเอากล้วยหรืออาหารมาสะสมไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนการกลืนนี้ จึงเป็นพฤติกรรมตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่น้ำท่วม ขังบริเวณทิศตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา...”

    แก้มลิง เป็นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ท่วมขังในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลให้ออกจาก พื้นที่ตอนบน ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ แล้วปล่อยให้ไหลลงไปเก็บพื้นที่แก้มลิงหรือคลองพักน้ำขนาดใหญ่บริเวณชายทะเล เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ให้ทำการระบายน้ำออกจากแก้มลิงทางประตูระบายน้ำ

    การปรับปรุงสภาพลำน้ำ : ทรงให้ขุดลอกคูคลอง ลำน้ำที่ตื้นเขิน และตกแต่งลำน้ำเพื่อช่วยให้น้ำไหลได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ในกรณีที่ลำน้ำมีแนวโค้งมากและเป็นระยะไกล ก็ให้พิจารณาขุดคลองลัดเชื่อมระหว่างแม่น้ำสายใหญ่ ดังกรณีของการขุดคลองลัดโพธิ์ จ.สมุทรปราการ ที่ช่วยย่นระยะทางการไหลของทางน้ำเดิมลงสู่ทะเลได้ถึง 17 กิโลเมตร

    การหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำและปริมาณปากแม่น้ำเจ้าพระยา(Hydrodynamic Flow Measurement) : วิธีการนี้เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของน้ำทะเลหนุน และปริมาณน้ำเหนือหลาก ผ่านเขตกทม. แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปบริหารจัดการน้ำเหนือที่ไหลผ่านลงมายังเขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

    และนั่นก็คือข้อมูลเบื้องต้นจาก 6 หลักใหญ่ๆในการป้องกัน แก้ปัญหา และบริหารจัดการเรื่องน้ำท่วมตามแนวพระราชดำริ ซึ่งนอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่นๆอีก อย่าง การสร้างฝายชะลอน้ำและกักเก็บน้ำ การใช้วิธีธรรมชาติ อย่าง การปลูกหญ้าแฝก(หรือที่นายกฯปูนิ่มเข้าใจผิดคิดว่าเป็นหญ้าแพรกนะค๊า)ช่วย ยึดคลุมดิน ลดการชะล้าง พังทลายของหน้าดิน การปลูกป่าและการรักษาป่าต้นน้ำ เพื่อช่วยดูดซับน้ำ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นต้น

    อย่างไรก็ดีในจะการดำเนินการโครงการใดโครงการหนึ่งหรือเชื่อมโยงกัน หลายโครงการ พระองค์ท่านทรงให้แนวทางไว้ว่า จำเป็นต้องมีการศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียด ดูความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ ประโยชน์ที่ได้รับกลับมา และความคุ้มค่าในการลงทุน ก่อนที่จะตัดสินใจลงมือดำเนินการ

    จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวพระราชดำริ และทรงดำเนินการก่อตั้งโครงการพระราชดำริต่างๆขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย ดินเสีย และแก้ปัญหาความเดือดร้อนอื่นๆอีกมากมายของพสกนิกรชาวไทยมานับเป็นสิบๆปี แล้ว

    เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาไม่ว่ากี่รัฐบาล นักการเมืองบ้านเรากับละเลย เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ไม่สนใจไยดี ทำให้ปัญหาต่างๆเกิดการสะสมกลายเป็นวิกฤติของประเทศชาติอยู่จนทุกวันนี้</td></tr></tbody> </table>

    -http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000134120-

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    'ชูวิทย์'อัดรัฐแก้ปัญหาน้ำเละ

    'ชูวิทย์' เหน็บรัฐ 'เอาปัญญาชนกรอกถุงทราย เอาปัญญาควายบริหาร' แก้ปัญหาน้ำท่วมเละ ฉะยับ จับ ปชช. เป็นตัวประกัน ชูภาพทางการเมือง

    นายชูวิทย์ กมล วิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ประธานสภาฯสั่งงดการประชุมสภาฯ เขาได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในหลายจังหวัด อาทิ นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ส่วน จ.สิงห์บุรี เข้าไปไม่ได้ เพราะน้ำท่วมสูงไม่มีเรือเข้า ทั้งนี้ พบว่า ที่จ.สุพรรณบุรี น้ำท่วมน้อยที่สุดสภาพน้ำเป็นปกติทุกอย่าง คือ ท่วมแค่บางอำเภอที่เป็นรอยต่อกับจังหวัดอื่นๆ


    “ประชาชนต่างมองได้สองมุม มุมหนึ่งผู้คนชื่นชมว่า คนที่ดูแล จ.สุพรรณบุรีดูแลการจัดการบริหารน้ำได้เป็นอย่างดี อีกมุมหนึ่งเป็นเสียงสะท้อนจากประชาชนจังหวัดข้างเคียง ที่ต่างก็ฝากค่อนขอด สะท้อนมาว่า คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่ให้ความร่วมมือกับจังหวัดข้างๆ น้ำท่วมเหมือนกันแต่เดือดร้อนไม่เท่ากัน วันนี้ ต้องยอมรับว่า สถานการณ์น้ำท่วมถูกโยงไปกับการเมืองเรียบร้อยแล้ว ในสายตาชาวบ้าน เพราะแค่ จ.สุพรรณฯ และ จ.ชัยนาทที่ติดต่อกัน สุพรรณไม่ท่วมแต่ข้ามไปเขตชัยนาทไม่ถึงกิโลเมตรท่วมทันที" นายชูวิทย์ กล่าว ว่าระดับน้ำเป็นเมตร ทางขาด ที่ชัยนาท ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.54 จนถึงวันนี้ เป็นเวลาหนึ่งเดือน ยังไม่มีการซ่อมแซมปรับปรุง ทั้งที่เป็นถนนสายหลัก พื้นที่จังหวัดน้ำท่วม กลับไม่ตั้งศูนย์ประสานงานประจำอำเภอ ตำบล เป็นศูนย์กลางบริหารงาน-แบ่งพื้นที่ดูแล ของเหล่าอาสาสมัคร แต่กลับปล่อยให้อยู่ด้วยตัวเอง ทุกอย่างเละตุ้มเป๊ะ ต่างคนต่างทำ สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ การทำงานเอาหน้าผ่านสื่อ
    หัวหน้าพรรครักประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาสำคัญที่พบเจอหลังนำถุงยังชีพไปแจกจ่ายในจังหวัดภาคกลาง พบว่า จังหวัดต่าง ๆ ไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ ให้ชาวบ้านหรือผู้นำชุมชนจัดการกันเอง ในลักษณะต่างคนต่างเอาตัวรอด คนที่ช่วยเหลือตัวเองได้ก็หนีมาอยู่บนริมถนน คนใจบุญเอาของไปแจกก็ได้แต่ในเขตเมืองและคนที่อยู่ริมถนน แต่คนที่อยู่รอบนอกถูกตัดขาด ไม่มีเรือออกไปยังมีตกค้างอีกเป็นจำนวนเรือนหมื่นเรือนพัน
    “ที่สำคัญเหล่าอาสาสมัคร องค์กรการกุศลต่างๆที่เสียสละด้วยจิตอาสาไปช่วยเหลือพี่น้องประสบภัยที่ เดือดร้อน ก็ไม่มีหน่วยงานราชการในจังหวัดในอำเภอนั้นๆมาดูแล ต้องอาศัยกินอยู่หลับนอนริมถนนเหมือนชาวบ้าน แทนที่จะมีการตั้งศูนย์ประสานงานของทางราชการประจำอำเภอ ตำบล เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางบริหารงานและแบ่งพื้นที่ดูแลของเหล่าอาสาสมัครแต่กลับ ปล่อยให้อยู่ด้วยตัวเอง ทุกอย่างจึงเละตุ้มเป๊ะ ต่างคนต่างทำ"
    เขาบอกว่า สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ การทำงานเอาหน้าผ่านสื่อ ไล่ไปตั้งแต่นักการเมือง ดาราจนถึงบริษัทเอกชน นักการเมืองเอาคนที่ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์มาทำงานมารับผิดชอบหน้าที่ ดาราขอให้แค่ได้ไปโผล่หน้าจอเพื่อเป็นข่าว ขณะที่บริษัทเอกชนต่าง ๆ ไปขึ้นป้ายแบนเนอร์ตามเสาไฟฟ้าจังหวัดต่างๆว่า ไปบริจาคที่นั้นที่นี้ ทุกอย่างล้วนเป็นการฉวยโอกาสทำงานเอาหน้าทั้งสิ้น จึงน่าสงสารประเทศไทย
    หัวหน้าพรรครักประเทศ กล่าวต่อว่า ที่แย่ที่สุด คือ การบริหารงานของศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่วันนี้ พี่น้องประชาชนไม่ให้ความเชื่อถือ เพราะบอกว่า น้ำไม่ท่วมแต่ก็ท่วมทุกที่ ข่าวสารที่ออกมาของทางการประชาชนไม่เชื่อถือเลย ต้องบอกดัง ๆ ว่า น้ำไม่ใช่ควัน ไม่ใช่ก๊าซที่จะสลายไปในอากาศ แต่กลับไม่มีการแจ้งเตือน เช่น ที่ย่านบางบัวทอง จ.นนทบุรี
    ทั้งนี้ หากจัดการบริหารน้ำอย่างจริงจัง จะสามารถป้องกันความเสียหายได้มากกว่านี้ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของความล้มเหลวในการบริหารจัดการของศูนย์ดังกล่าว คือ การปล่อยให้น้ำไหลลงคลองประปา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบที่ไว้ใช้อุปโภค บริโภค ในกทม.และปริมณฑล และการจอดรถตามสะพานข้ามแยก และทางด่วนต่างๆ ก็สะท้อนความล้มเหลวในการจัดการบริหารของรัฐ ที่รับแผนงานมาปฏิบัติ ซึ่งเขาไปที่ไหน ก็มีคนถามว่า กรุงเทพฯท่วมหรือไม่ แต่ส่วนตัวแล้วคิดว่า ท่วมแน่ ๆ
    "วันนี้ชาวบ้านว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง สังคมจึงอยู่กันเอาแบบตัวรอด เพราะรัฐบาลล้มเหลวในการแก้ไปหา ทั้งแผนเผชิญเหตุ แผนรับรอง แผนอพยพ แผนช่วยเหลือเอาคนออกนอกพื้นที่ หรือแผนดูแลรักษาความปลอดภัยที่จะให้ความมั่นใจต่อชาวบ้านในการถอนตัวออกจาก บ้านเรือน"
    นายชูวิทย์ กล่าว ต่อว่า กทม.วันนี้ ก็มีการเล่นการเมืองผ่านสื่อ โดยเอาคนที่ไม่เกี่ยวข้อง ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ เข้ามานั่งประชุม และออกภาพผ่านสื่อเพียงแค่หวังผล ในคะแนนนิยมจากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น จึงอยากจะเตือนว่า นักการเมืองที่ดีต้องอย่าเอาชาวบ้านเป็นตัวประกันเพื่อเล่นการเมือง เอาคนไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีประสบการณ์มาทำงานผ่านสื่อเพื่อสร้างภาพ สร้างฐานเสียงทางการเมืองให้ตัวเอง
    "เวลานี้ มีคำพูดสะท้อนผ่านสื่อในโซเชียลมีเดียว่า “เอาปัญญาชนมากรอกถุงทราย เอาปัญญาควายมาบริหารจัดการ สั่งการแต่ละอย่างเหมือนสั่งน้ำมูก” แผนเยียวยาต่าง ๆ ไม่มี มีแต่แผนตั้งรับ วัน ๆ จะเห็นแต่ภาพการดูงาน ดูเขื่อน ดูประตูระบายน้ำ นั่งดูแผนที่ ก็ไม่รู้ว่า จะดูไปทำไม ดูแล้วน้ำ มันจะลดลงหรือ จนเห็นภาพชาวบ้านลอยคอ เกาะกะละมัง แบกกระเป๋าหนีน้ำในน้ำเน่าจนชินตา"
    นายชูวิทย์ กล่าว ว่า ในช่วงแรกๆ เขาไม่อยากพูดมาก เพราะเห็นว่า เป็นเหตุวิกฤต แต่นี่ผ่านมาสองเดือนแล้ว รัฐบาลควรจะมีแผนจัดการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมได้มากกว่านี้ แต่นี่กลับปล่อยให้ต่างคนต่างพูด แม้ ศปภ.เองคนทั้งประเทศยังไม่เชื่อถือ บอกว่าไม่ท่วม แต่ก็ท่วมจนชาวบ้านเอือมระอา กรณีบางบัวทองและนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ถือว่า ชัดเจนที่สุด หากบอกว่า ป้องกันไม่ได้ก็ควรจะพูดความจริง และแจ้งเตือนเพื่อให้ประชาชนและผู้คนได้รู้ตัว ไม่ใช่ปล่อยให้หนีตายเอาตัวรอดแบบตัวใครตัวมัน

    สอนมวย 'เพรียวพันธ์' อย่ามัวแต่ 'จัดโผ-ล้างบาง' แนะ จัด ฉก. จับ “โจรน้ำท่วม”

    นายชูวิทย์ ยัง เรียกร้องให้พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร.คนใหม่ ที่เพิ่งได้รับตำแหน่งว่า อย่ามัวแต่ไปจัดโผเอาเด็กของตัวเอง ไปล้างบางขั้วอำนาจเก่า แต่เป็นเวลาที่ต้องจัดแผนเชิงรุก โดยสั่งการตั้งชุดเฉพาะกิจในแต่ละจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จัดเรือตรวจการของตำรวจอออกไปตรวจตาป้องกันการขโมยทรัพย์สิน ดูและทรัพย์สินของประชาชนเพื่อให้เขามีความเชื่อมั่น เขาจะได้อพยพออกมาในที่ปลอดภัย และจะได้ลดอัตราการสูญเสียของพี่น้องคนไทยได้อีก
    "วันนี้ ผมลงไปดูพื้นที่ในหลายจังหวัดสรุปได้ว้า ทุกอย่างยังเละ ขาดการประสานงาน ถุงยังชีพไปกองที่อบต.ไม่ถึงมือชาวบ้าน ผู้นำแจกจ่ายแต่พวกตัวเอง หากไม่เร่งดำเนินการที่สุดปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคม ความไม่พอใจในรัฐบาลจะตามมาเป็นเงาตามตัวหลังน้ำลดแน่นอน" นายชูวิทย์ ระบุ

    -http://www.komchadluek.net/detail/20111022/112564/%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B0.html-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    คิดดี : รวบรวม เกร็ด.....ก่อนน้ำท่วม

    วันเสาร์ ที่ 22 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น



    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=494&contentId=171155-


    1. ถุงทรายต้องเลือกและเรียงให้เป็น เลือกชนิดกรอกเต็มถุงปิดปากให้สนิท อย่าไปเอาถุงทรายที่มีทรายน้อย ๆ ในถุงเพราะจะกันน้ำได้ไม่ดี เวลาเรียงควรเรียงทางนอนให้เหลื่อมกันเล็กน้อยต้องซ้อนขึ้นไปให้สลับกัน เหมือนก่ออิฐ

    2. ผ้าพลาสติกหรือถังน้ำช่วยชีวิตได้ ต้องเรียงพลาสติกโดยมีถังน้ำวางกั้นข้างหน้าและพลาสติกทับขึ้นมา ข้างหลังพลาสติกเป็นไม้กระดานกันชื้น ก็เป็นอีกวิธีที่จะกันน้ำเข้าบ้าน

    3. รูระบายน้ำในห้องน้ำหรือท่อรอบ ๆ บ้านให้ใช้ถุงน้ำพลาสติกใหญ่ ๆ วางทับ เพราะเวลาน้ำท่วมที่บ้านจะไหลในรูเหล่านี้จนท่วม

    4. ถุงทรายช่วงนี้มีราคาแพง แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้ถุงน้ำใหญ่ ๆ (แบบเกลือจิ้มเกลือ) วางเป็นกำแพงถุงน้ำช่วยได้โดยมัดปากถุงแล้ววางเรียงเสริมแนวแบบถุงทราย

    5. เช็กกรมธรรม์ประกันทุกชนิดว่ามีการคุ้มครองภัยชนิดใดบ้างหรือครอบคลุมถึงตัว อสังหาฯ ของท่านแค่ไหน เพราะตอนนี้ไม่มีบริษัทประกันไหนรับทำเกี่ยวกับอุทกภัยหรือเกี่ยวกับน้ำแล้ว ถ้ามีค่าเบี้ยประกันคงสูงมากเลยทีเดียว หากท่านประสบภัยน้ำท่วมอยู่ตอนนี้ และมีแค่เพียงใบรับเงินแต่ขาดเอกสารแนบ บริษัทประกันอาจจะปฏิเสธ ในการอ้างสิทธิเพื่อเบิกเงินคุ้มครองเพราะเอกสารไม่สมบูรณ์

    6. การถมดิน ต้องถมดินเป็นคันกั้นรอบ โดยมีมุมเอียงที่ทำให้คันกั้น มีความแข็งแรงจะช่วยดันน้ำได้มาก

    7. รั้วบ้านก็เหมือนเขื่อนรับน้ำต้องเอากระสอบทรายมาวางกั้นไว้ให้ดี เพราะสามารถกันรั้วล้มได้

    8. หากน้ำท่วมเข้าไปในบ้านชั้นล่างแล้ว ต้องสับคัตเอาต์ลง เพราะป้องกันไฟรั่ว

    9. ช่วงนี้ต้องเกาะติดข่าวสารเป็นพิเศษ แต่อย่าเชื่อทั้งหมด ให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์แบบไม่ตื่นตระหนก จะได้ไม่เกิดความโกลาหล

    10. คอนกรีตบล็อกที่ก่อรอบบ้านอย่าลืมเจาะพื้นหรือผนังแล้วเสียบเหล็กหนวดกุ้ง เล็ก ๆ เพื่อยึดเอาไว้ คอนกรีตบล็อกหรืออิฐมอญให้แข็งแรงมากขึ้นเวลาน้ำท่วมจะได้ไม่ถล่ม เวลาน้ำมาจะกระแทกแรงมาก เจาะเหล็กเสียบลงพื้นด้วย เพิ่มความแข็งแรงและยึดติด

    11.เตรียมเรือ-เรือยาวหรือถังน้ำมันไว้เพื่อย้ายของ ขอแนะนำแผ่นโฟมยักษ์ก็ใช้ได้ดีเหมือนกัน

    12. ซุนวู บอก “หนี” คือสุดยอดวิชายุทธ์ในการรบ แบ่งเป็น

    12.1 ไปอยู่ที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง

    2.2 ของทั้งหมดที่มีค่า อาจจะต้องให้สิบล้อ ลากคอนเทเนอร์มาแล้วเอาของไปใส่ไว้ในนั้นเพื่อหนีน้ำทั้งหมด (กรณีนี้ บ.คอนเทเนอร์ต้องไว้ใจได้)

    13.พึงระลึกเสมอกำลังใจเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ “สู้ได้ ตายยาก”.

    ภาณุวัฒน์ สินธวัชต์
    ณัฐพล ปิยะตันติ
    lifeimage_ar@yahoo.com
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เปิดแผนที่แสดงระดับพื้นที่สูง-ต่ำในกทม.




    กรมชลเผยแผนที่น้ำท่วมลุ่มน้ำภาคกลางพบน้ำค้างทุ่งมีกว่า 1.1หมื่นล้านลบ.ม. อยุธยามีปริมาตรน้ำในพื้นที่สูงสุด5.6พันลบ.ม. ขณะที่ภาคเหนือตอนล่างยังเหลือน้ำค้างทุ่งอีก 4.2พันล้าน ลบ.ม.
    กรมชลประทานได้รายงานสถานการณ์พื้นที่น้ำท่วมลุ่มน้ำภาคกลางเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2554 พบว่ามี ปริมาณน้ำค้างทุ่ง รวม 11,746 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ในพื้นที่ทั้งหมด 5,859,263 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางฝั่งตะวันออก 4,340,044 ไร่ รวมปริมาณน้ำ 9,472 ล้าน ลบ.ม. และ ลุ่มน้ำฝั่งตะวันตก 1,519,219 ไร่ รวมปริมาณน้ำ 2,274 ล้านลบ.ม.
    ทั้งนี้กรมชลฯได้จำแนกพื้นที่น้ำท่วม ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย และปริมาตรน้ำในแต่ละพื้นที่ดังนี้
    ลุ่มน้ำภาคกลางฝั่งตะวันออก
    1.จ.สิงห์บุรี พื้นที่น้ำท่วม 392.92 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.6 เมตร ปริมาตรน้ำ 628.67 ล้าน ลบ.ม.
    2.จ.อ่างทอง พื้นที่น้ำท่วม 520.91 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.63 เมตร ปริมาตรน้ำ 849.08 ล้าน ลบ.ม.
    3.จ.อยุธยา พื้นที่น้ำท่วม 1,832.28 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.99 เมตร ปริมาตรน้ำ 5,646.24 ล้าน ลบ.ม.
    4.จ.ปทุมธานี พื้นที่น้ำท่วม 355.70 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1 เมตร ปริมาตรน้ำ 365.70 ล้าน ลบ.ม.
    5.จ.นนทบุรี พื้นที่น้ำท่วม 68.92 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.50 เมตร ปริมาตรน้ำ 34.46 ล้าน ลบ.ม.
    6.กรุงเทพฯ พื้นที่น้ำท่วม 11.95 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.40 เมตร ปริมาตรน้ำ 44.78 ล้าน ลบ.ม.
    7.จ.ลพบุรี พื้นที่น้ำท่วม 1,650 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.7 เมตร ปริมาตรน้ำ 2,887.5 ล้าน ลบ.ม.
    8.จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่น้ำท่วม 751.43 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.40 เมตร ปริมาตรน้ำ 300.57 ล้าน ลบ.ม.
    9.จ.ปราจีนบุรี พื้นที่น้ำท่วม 437.8 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.35 เมตร ปริมาตรน้ำ 153.23 ล้าน ลบ.ม.
    10.จ.สมุทรปราการ พื้นที่น้ำท่วม 42.28 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.40 เมตร ปริมาตรน้ำ 18.11 ล้าน ลบ.ม.
    ลุ่มน้ำภาคกลางฝั่งตะวันตก
    1.จ.ชัยนาท พื้นที่น้ำท่วม 579.10 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.58 เมตร ปริมาตรน้ำ 914.98 ล้าน ลบ.ม.
    2.จ.สุพรรณบุรี พื้นที่น้ำท่วม 1,307.86 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.75 เมตร ปริมาตรน้ำ 980.90 ล้าน ลบ.ม.
    3.จ.นครปฐม พื้นที่น้ำท่วม 365.05 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.50 เมตร ปริมาตรน้ำ 183.03 ล้าน ลบ.ม.
    4.จ.สมุทรสาคร พื้นที่น้ำท่วม 0.43 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.18 เมตร ปริมาตรน้ำ 0.08 ล้าน ลบ.ม.
    นอกจากนี้กรมชลประทานยังรายงานอีกว่าในลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง ยังเหลือน้ำค้างทุ่งอีกประมาณ 4,253 ล้าน ลบ.ม. โดยจังหวัดที่มีปริมาตรน้ำสูงสุดคือ จ.นครสวรรค์ ที่มีพื้นที่น้ำท่วม 1,787.70 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.35 เมตร ปริมาตรน้ำ 2,403.94 ลบ.ม.


    [​IMG]


    [​IMG]


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87/117436/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%AF%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ข้อมูลดีๆเตรียมรับมือน้ำท่วม


    รวมลิงค์ที่เป็นประโยชน์ สำหรับเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม
    กรุงเทพมหานครฯได้เปิดเว็บไซด์รายงาน สถานการณ์น้ำตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ ระบบตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก และ ระบบตรวจวัดน้ำท่วมบนถนน


    สถานการณ์น้ำท่วม สามารถเข้าไปที่ ศูนย์ข้อมูล ข่าวนํ้าท่วม ดู ข่าวน้ำท่วม ล่าสุด ร่วมแรง ส่งใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่นี่ -

    แผนที่ แสดงบริเวณพื้นที่ที่น้ำท่วม จากภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เข้าไปที่ Esri Flood Map (แผนที่น้ำท่วมโดย Esri Thailand)

    แผนที่น้ำท่วมอีกเว็บไซด์ แผนที่น้ำท่วม | www.HDYFlood.com หรือ Thailand Flood Monitoring System

    ร้องเรียนปัญหาความเดือดร้อน สายด่วน กทม. โทร 1555

    ผู้ที่เดือดร้อนต้องการให้ทีมงานอาสาฯไทยเข้าไปช่วยสามารถติดต่อผ่านทาง https://www.facebook.com/AsaThai

    ต้องการบริจาคสิ่งของให้ทีมงาน อาสาฯไทยติดต่อ 02-2700036

    คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม http://www.democrat.or.th/upload/pdf/cendru-flood-preparedness.pdf

    สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) 1784

    บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี 1669

    ศูนย์ความปลอดภัยการใช้รถใช้ถนน กรมทางหลวงชนบท 1146

    ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193

    การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

    สายด่วน กฟภ. 1129

    ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111

    ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส 02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

    ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 0-2243-6956




    ที่จอดรถ ที่ทางบก.จร.จัดเตรียมไว้ให้ประชาชนเข้าจอดรถ ทั่วกรุงเทพฯ มีทั้งหมด 109 จุด สามารถจอดรถได้ทั้งหมด 69,959 คัน

    1.อาคารจอดรถ กทม. ถนนไกรสีห์ จำนวน 400 คัน

    2.อาคารสนามม้า นางเลิ้ง จำนวน 100 คัน

    3.โรงแรมปรินซ์พาเลส จำนวน 50 คัน

    4.อาคารจอดรถ สวนสัตว์ดุสิต จำนวน 400 คัน

    5.ศูนย์การค้า SUPREME จำนวน 150 คัน

    6.บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำนวน 100 คัน

    7.ศูนย์การค้าเอสพลานาด จำนวน 500 คัน

    8. ศูนย์การค้าฟอร์จูน จำนวน 400 คัน

    9. อาคารไซเบอร์เวิลด์ จำนวน 300 คัน

    10. สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน(ศูนย์วัฒนธรรม) จำนวน 80 คัน

    11.ห้างแพลตตินัม จำนวน 150 คัน

    12. ห้างพันธุ์ทิพย์ จำนวน 100 คัน

    13. ห้างพาราเดียม จำนวน 100 คัน

    14. โรงแรมอมารีวอเตอร์เกท จำนวน 100 คัน

    15. ตึกชาญอิสระ ๒ จำนวน 50 คัน

    16.อาคารอิตัลไทย จำนวน 50 คัน

    รวมพื้นที่ บก.น. 1 ทั้งหมด 3,050 คัน

    17. บิ๊กซี แจ้งวัฒนะ จำนวน 69 คัน

    18.ห้าง ไอ ที หลักสี่ จำนวน 1,000 คัน

    19. ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะอาคารบี จำนวน 300 คัน

    20. สนามบินดอนเมือง จำนวน 3,000 คัน

    21. ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว จำนวน 3,000 คัน

    22.ห้างเมเจอร์ รัชโยธิน จำนวน 1,200 คัน

    23.ลานจอด รฟม.(รัชดา-ลาดพร้าว) จำนวน 2,000 คัน

    24. ลานจอดรถ BTS หมอชิตเก่า จำนวน 2,000 คัน

    25.ลานจอดรถ จตุจักร จำนวน 1,000 คัน

    26.ลานจอดรถ สวนรถไฟ จำนวน 200 คัน

    27.ตึก ปตท.(สนญ.) จำนวน 500 คัน

    28.ธนาคารออมสิน (สนญ) จำนวน 500 คัน

    29.ห้างเซ็นทรัล รามอินทรา จำนวน 300 คัน

    30.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 500 คัน

    31.มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 50 คัน

    32.ห้าง MAX VALUE จำนวน 50 คัน

    33.ตลาดบองมาเช่ จำนวน 100 คัน

    34.ห้างบิ๊กซี วงศ์สว่าง จำนวน 50 คัน

    35.โรงเรียนฤทธิยะ สายไหม จำนวน 200 คัน

    36.โรงเรียนสายไหม จำนวน 50 คัน

    37.โรงเรียนนายเรืออากาศ จำนวน 200 คัน

    38.ลานจอดรถ บุญถาวร จำนวน 150 คัน

    39.ลานจอดรถ โลตัส นวมินทร์ จำนวน 80 คัน

    40.ถนนคู้บอน (เลียบวงแหวน-แยกคลองสอง) จำนวน 200 คัน

    41.ถนนพระยาสุเรนทร์ (แยกคลองสอง-แยกลำกะโหลก) จำนวน 200 คัน

    42.ถนนเลียบคลองสอง ตลอดแนว จำนวน 150 คัน

    43.ห้าง THE MARKET (ถ.ประชาราษฎร์ สาย ๒) จำนวน 20 คัน

    รวมพื้นที่ บก.น. 2 จำนวน 17,069 คัน

    44. ม.เกษมบัณฑิต จำนวน 1,500 คัน

    45. ม.มหานคร จำนวน 2,000 คัน

    46.ม.เทคโนพระจอมเกล้า จำนวน 2,000 คัน

    47.สภ.ท่าอากาศสุวรรณภูมิ จำนวน 2,000 คัน

    48.ห้างเดอะมอลล์บางกะปิ จำนวน 3,000 คัน

    49.ห้างพันทิพย์บางกะปิ จำนวน 300 คัน

    50.โรงแรมเดอะมอลล์อินน์ จำนวน 50 คัน

    51.ห้างแฟชั่นไอแลนด์ จำนวน 1,500 คัน

    52.ห้างเพียวเพลส จำนวน 300 คัน

    53.ห้างอมอรินี่ จำนวน 300 คัน

    54.ห้างบิ๊กซีลาดพร้าว จำนวน 2,000 คัน

    55.ห้างซีคอนสแควร์ จำนวน 1,000 คัน

    56.ห้างพาราไดซ์พาร์ค จำนวน 600 คัน

    57.ริมถนนสาย ๓๕๑ จำนวน 50 คัน

    58.ศูนย์อัญมนีเจโมโปลิส จำนวน 200 คัน

    59.ม.รามคำแหง(บางนา) จำนวน 100 คัน

    60.ลานจอดรถบริษัทนัมเบอร์วัน จำนวน 100 คัน

    61.การกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 1,500 คัน

    62.ใต้ด่วนระหว่างด่วนศรีรัช-มอเตอร์เวย์ จำนวน 300 คัน

    63.ลานจอดรถร้าน ๑๓ เหรียญพระรามเก้า จำนวน 300 คัน

    รวมพื้นที่จอดรถ บก.น.4 จำนวน 11,600 คัน

    64. ห้างฟิวเจอร์ จำนวน 500 คัน

    65.ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม ๓ จำนวน 900 คัน

    66.ห้างบิ๊กซีเอกมัย จำนวน 1,000 คัน

    67.ห้างจัสโก้ สุขุมวิท 71 จำนวน 800 คัน

    68.ห้างบิ๊กซีราชดำริ จำนวน 250 คัน

    69.ห้างเซ็นทรัลชิดลม จำนวน 250 คัน

    70.ห้างเซ็นทรัลบางนา จำนวน 780 คัน

    71.เอสบีเฟอร์นิเจอร์ บางนา จำนวน 600 คัน

    72. ห้างบิ๊กซีพระราม 4 จำนวน 200 คัน

    73.ห้างโลตัสพระราม 4 จำนวน 200 คัน

    รวมพื้นที่จอดรถ บก.น.5 จำนวน 5,480 บาท

    74. ลานจอดรถดิโอลสยาม จำนวน 250 คัน

    75.อาคารศรีวรจักร์ จำนวน 100 คัน

    76.อาคารคลองถมเซ็นเตอร์ จำนวน 100 คัน

    77.อาคารจอดรถริเวอร์ซิตี้ จำนวน 200 คัน

    78.อาคารจอดรถเท็กซัส จำนวน 100 คัน

    79.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ จำนวน 3,000 คัน

    80.ห้างมาบุญครอง จำนวน 1,000 คัน

    81.ห้างสยามพารากอน จำนวน 3,000 คัน

    82.สนามกีฬาแห่งชาติ จำนวน 300 คัน

    83.อาคารจอดรถ ม.จุฬาฯ จำนวน 1,000 คัน

    84.อาคารจอดรถตึกเจมส์ทาวเวอร์ จำนวน 100 คัน

    85.โรงแรมมณเฑียร จำนวน 50 คัน

    86.อาคารจอดรถโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา จำนวน 50 คัน

    87.อาคารจอดรถโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน จำนวน 50 คัน

    จำนวนที่จอดรถพื้นที่ บก.น. 6 จำนวน 9,300 คัน

    88.ห้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า จำนวน 2,000 คัน

    89.ห้างเมเจอร์ปิ่นเกล้า จำนวน 800 คัน

    90.ห้างพาต้าปิ่นเกล้า จำนวน 100 คัน

    91.ห้างโลตัสปิ่นเกล้า จำนวน 500 คัน

    92.ถนนพุทธมณฑลสาย 1 จำนวน 300 คัน

    93.สนามหลวงธนบุรี จำนวน 500 คัน

    94.อาคารจอดรถ รพ.ยันฮี จำนวน 200 คัน

    95.ห้างตั้งฮั่วเส็ง จำนวน 300 คัน

    รวมพื้นที่จอดรถ บก.น.7 จำนวน 4,700 คัน

    96.โรงเรียนอิสลามวิทยาลัย จำนวน 300 คัน

    97.ห้างบิ๊กซีบางปะกอก จำนวน 100 คัน

    98.ห้างโลตัสบางปะกอก จำนวน 100 คัน

    99.ห้างเดอะมอลล์ท่าพระ จำนวน 100 คัน

    100.ห้างบิ๊กซีท่าพระ จำนวน 100 คัน

    101.โรงเรียนวัฒนาบริหารธุรกิจ จำนวน 80 คัน

    102.สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จ จำนวน 100 คัน

    103.ห้างบิ๊กซี จำนวน 100 คัน

    104.คู่ขนานถนนราชพฤกษ์ใต้สะพานบางสะแก จำนวน 300 คัน

    105.โรงแรมมาริออท จำนวน 100 คัน

    รวมพื้นที่จอดรถบก.น. 8 จำนวน 1,380 คัน

    106.มหาวิทยาลัยธนบุรี จำนวน 200 คัน

    107.มหาวิทยาลัยเอเซีย จำนวน 500 คัน

    108.มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 200 คัน

    109.ถนนกาญจนาภิเษกช่องคู่ขนานเข้า-ออก จำนวน 10,000 คัน



    กทม.15เขตที่ต้องจับตา
    1)เขตสาทร ย่านถนนจันทร์
    2)เขตพญาไท ถนนพหลโยธิน
    3)เขตพระโขนง ถ.สุขุมวิท จากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล
    4)เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท 39 และ 49
    5)เขตวังทองหลาง ถนนลาดพร้าว จากคลองลาดพร้าว-ห้างเดอะมอลล์
    6)เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์ จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจทั้งสองฝั่ง
    7)เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษก หน้าห้างโรบินสัน
    8)เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก แยกลาดพร้าว
    9)เขตราชเทวี ถนนเพชรบุรี จากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี
    10)เขตราชเทวี ถนนนิคมมักกะสัน
    11)เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประแจจีน
    12)เขตบางแค ถนนเพชรเกษม ซอย 63 (ซอยวัดม่วง)
    13)เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศ จากถนนนางลิ้นจี่- ซอยศรีบำเพ็ญ
    14)เขตประเวศ ถนน ศรีนครินทร์ ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง
    15)เขตพระนคร ถนนสนามไชยและถนนมหาราช

    Link : http://www.innnews.co.th/ข้อมูลดีๆเตรียมรับมือน้ำท่วม--314048_32.html


    -http://www.innnews.co.th/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%86%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1--314048_32.html-

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    คู่มือ รับมือ สถานการณ์น้ำท่วม




    อุทกภัยที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหาย แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและหน่วยงาน เป็นอย่างมาก ฉนั้นประชาชนจึงควรมีความพร้อมในการเตรียมรับสถานการ์น้ำท่วมเพื่อป้องกัน และบรรเทาภัย ที่จะเกิดขึ้นได้
    เหตุการณ์ อุทกภัยที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมาได้ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่น้ำท่วม โดยทางรัฐและหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบต้องกรทำการป้องกันและฟื้นฟู ระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญก่อน อาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนได้อย่างทันที ดังนั้นประชาชนจึงควรมีความพร้อมในการเตรียมรับสถานการ์น้ำท่วมเพื่อป้องกัน และบรรเทาภัยที่จะเกิดขึ้นได้

    การเตรียมการก่อนน้ำท่วม
    การป้องกันตัวเองและความสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหากรอให้มีการเตือนภัยเวลามักไม่เพียงพอ รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ สอบถามหน่วยงานที่มีการจัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามดังต่อไปนี้
    - ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปี เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไร
    - เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่
    - เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่
    - เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร
    - ถนนเส้นใดบ้าง ในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง

    การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไป
    1. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม
    2. ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขี้นตอนการอพยพ
    3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด จากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย
    4. เตรียมเครื่องมือรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉินแหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอร์รี่สำรอง
    5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และควรทราบแหล่งวัตถุที่จะนำมาใช้
    6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง
    7. ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับการประกันความเสียหาย
    8. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินและเก็บไว้ตามที่จำง่าย
    9. รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ ถายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง
    10. ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่างทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน
    11. เก็บ บันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างไกลจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์
    12. ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สังเกตุได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ


    ถ้าคุณคือพ่อแม่
    - ทำหารซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณ ขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ
    - ต้องการทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น
    - ต้องการทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานเรียนอยู่
    - เตรีมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ
    - จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกันน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน
    - ต้องมั่นใจว่าเด็กๆ ได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน


    การทำแผนรับมือน้ำท่วม
    การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัยเดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคำแนะนำที่กล่าว มา พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คนเร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งที่สำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย



    ถ้าคุณมีเวลาเล็กน้อยหลังการเตือนภัย :
    สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน
    - สัญญาเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์
    - รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลงโดยสถานที่แรกให้อยู่ ใกล้บริเวณบ้านและอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง

    ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม
    ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ

    1. การเฝ้าระวังน้ำท่วม : มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตุการณ์
    2. การเตือนภัยน้ำท่วม : เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม
    3. การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง : เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง
    4. ภาวะปกติ : เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

    สิ่งที่คุณควรทำ : หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม

    1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าว
    2. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฎิบัติดังนี้
    - ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้
    - อย่าพยายานำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด
    - อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณน้ำหลาก
    3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว
    4. ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม
    5. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง
    ควรปฎิบัติดังนี้
    - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊ซถ้าจำป็น
    - อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล่างจาน
    - พื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน
    - อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่ออยู่นอกบ้าน
    - ล็อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง
    - ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน
    6. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึง
    - อ่านวิธีการที่ทำให้ความปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน
    7. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน
    - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน
    - ปิดแก็ซหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก็ซ
    - เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน
    - ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถีงบ้าน

    น้ำท่วมฉับพลัน
    คือ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำ ที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย
    - ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที
    - ออกจารถและที่อยู่ คิดอย่างเดียวว่าต้องหนี
    - อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม



    ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน
    - ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล
    มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมาความสูงของน้ำแค่ 15 ซม. ก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับ น้ำก่อนทุกครั้ง

    - ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม
    การ ขับรถในพื้นที่ที่น้ำท่วมมีความเสียงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไปเพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 ซม. พัดรถยนต์จักรยสานยนต์ให้ลอยได้

    - ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย :
    กระแส ไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิต เนื่องจากไฟดูดมากกว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


    หลังน้ำท่วม

    3 ขั้นตอนที่คุณควรทำในวันแรก ๆ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม
    ขั้นตอนที่ 1 : เอาใจใส่ตัวเอง
    หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลากลับสู่ภาวะปกติอย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมนั้นอาคารบ้าน เรือน ได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลตัวเองและครอบครัว พร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับบ้านเหมือนเดิม อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด รวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้ายและปัญหาทางกาย โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

    1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยี่ยวยารักษาได้ดี
    2. พูดคุยปัญหากลับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวลจะช่วยให้ได้ระบายและผ่อนคลายความเครียด
    3. ผักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ
    4. จัดรำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับก่อนหลังและค่อย ๆ ทำ
    5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนที่จะรับมือได้
    6. ดูแลเด็กๆให้ดี และโปรดเข้าใจเด็กมีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแลก ๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรืเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กพึ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต
    7. ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่เคยน้ำท่วม

    ขั้นตอนที่ 2 การจัดการดูแลบ้านของคุณ
    ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วมส่วนใหญ่เกิดจากถูกไฟดูด หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากน้ำลดสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
    1.ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์
    2.ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่าง ๆ
    3.เดินตรวจตารอบ ๆ บ้าน และเซ็คสายไฟฟ้า สายถังแก็สโดยถ้าหากเกิดแก็สรั่วจะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก็สให้ระวังและรีบ โทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
    4.ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย
    5.ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน
    6.ปิดวาล์วแก็สให้สนิทหากได้กลิ่นแก็สรั่วก่อไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น
    7.เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง แลพอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
    8.ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)
    9.เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ
    10.เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ และตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
    11.ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย
    12.เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน
    13.ตรวจ หารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำถ้าพบให้ปิดวาฃ์วตรงมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยน้ำจากก๊อกน้ำ จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย
    14 ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรืพื้นห้องใต้ดิน
    15.กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำเนื่องจากเซื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน

    โรคที่มากับน้ำท่วม
    โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน
    เกิด ขึ้นได้ก็เพราะผิวหนังเท้าของเรา โดยเฉพาะที่ง่ามเท้าเกิดเปียกชื้นและสกปรก เวลาที่เท้าสกปรก สิ่งสกปรกจะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ทำให้เชื้อราหรือเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ ดี เท้าที่แช่น้ำหรือเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ผิวหนังที่เท้าอ่อนส่วนผิว ๆของหนังจะเปื่อยและหลุดออก เศษผิวหนังที่เปื่อยนี้จะทำให้เชื้อโรคที่ปลิวไปปลิวมาเกาะติดได้ง่าย และผิวที่เปื่อยก็เป็นอาหารของเชื้อราได้ดี เชื้อราจึงไปอาศัยทำให้เกิดแผลเล็กๆขึ้นตามซอกนิ้วเท้าเกิดเป็นโรคน้ำกัด เท้าขึ้น
    โรคน้ำกัดเท้า มักพบว่ามีอาการคันและอักเสบตามซอกนิ้วเท้า (หรือนิ้วมือ) และถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนด้วย ก็จะทำให้อักเสบเป็นหนอง และเจ็บปวดจนเดินลำบากได้

    ไข้หวัด
    ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุดโดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้ หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง


    โรคเครียดวิตกกังวล
    ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้ง ผลดีและผลเสีย

    โรคตาแดง
    โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา(conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตา ที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง

    โรคอุจาจระร่วง
    โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมักจะหาสาเหตุของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ อุจจาระร่วงไม่ได้ ก็จะให้การวินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงและลักษณะอุจจาระได้แก่ บิด (Dysentery) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไข้ทัยฟอยด์ (Typhoid fever) เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันไม่ใช่โรคดังกล่าวข้างต้น และอาการไม่เกิน 14 วัน ก็จะรายงานเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)



    แหล่งให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม
    หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม
    หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลน้ำท่วมต่าง ๆ

    1. ศูนย์รับบริจาคสิ่งของโคราช
    - หากต้องการบริจาคสิ่งของ ให้ไปที่ศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมานะคะ
    - ต้องการบริจาคเงิน ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 044-259-996-8, 044-259-993-4 หรือโอนมาได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.นครราชสีมา” เลขบัญชี 301-0-86149-4

    2. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา
    - สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-342652-4 และ 044-342570-7

    3. โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา
    - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง
    - ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก
    - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา” เลขที่บัญชี 301-3-40176-1

    4. กรมอุตุนิยมวิทยา
    - เว็บไซต์ tmd.go.th
    - สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) โทร. 02-383-9003-4, 02-399-4394
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz)โทร. 044-255-252
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) โทร. 055-284-328-9
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) โทร. 038-655-075, 038-655-477
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) โทร. 076-216-549
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) โทร. 077-511-421

    5. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    - เว็บไซต์ disaster.go.th
    - สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784
    - ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่คลิกที่นี่

    6. กรุงเทพมหานคร

    - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858


    7. สภากาชาดไทย

    - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603
    - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8
    - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976
    - สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป

    ข้อมูลจาก http://www.cendru.net


    Link : http://www.innnews.co.th/คู่มือ-รับมือ-สถานการณ์น้ำท่วม--315665_29.html


    .

    -http://www.innnews.co.th/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1--315665_29.html-


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2011
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ทางหลวง แนะเลี่ยงเส้นทางช่วงหยุดยาว
    ข่าวอาชญากรรม วันศุกร์ที่ 21 เดือนตุลาคม พ.ศ.2554 20:05 น.




    ตำรวจทางหลวง แนะประชาชนที่จะเดินทางไปต่างจังหวัด ช่วงหยุดหลายวัน และอพยพหนีน้ำท่วม เลี่ยงเส้นทางสำคัญ
    พล.ต.ต.นรบุญ แน่นหนา ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง กล่าวแนะนำการใช้เส้นทางสำหรับประชาชนที่จะเดินทางออกต่างจังหวัด เนื่องจากวันหยุดยาว รวมทั้งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ว่า ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา น้ำได้เข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และคาดว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่จะถึงนี้ โดยถนนสายเอเชีย ที่ใช้เดินทางสู่ภาคเหนือบริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และปทุมธานี มีน้ำท่วมสูงเป็นช่วงๆ ทำให้รถไม่สามารถผ่านได้ รวมทั้งบางเส้นมีประชาชนนำรถมาจอดหนีน้ำบนถนนและสะพาน ทำให้การจราจรติดขัด รถยนต์สัญจรลำบาก ตำรวจทางหลวงต้องร้อง
    ขอให้ประชาชนนำรถออกจากถนน

    นอก จากนี้ พล.ต.ต.นรบุญ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังภาคเหนือ แนะนำว่าให้ใช้เส้นทางจาก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เข้า จ.อ่างทอง และ จ.สุพรรณบุรี พอผ่านได้ แม้จะติดขัดในบางช่วง หรือ ใช้ทางหลวงหมายเลข 11 ทาง จ.ปราจีนบุรี

    ส่วนทางภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ใช้เส้นรังสิต เข้า อ.บ้านนา จ.นครนายก ไป จ.สระบุรี แต่รอดูสถานการณ์ว่าน้ำจะทะลักเข้าท่วมหรือไม่ หากท่วมก็สามารถเลี่ยงไปใช้อีกเส้นทางคือ ทาง จ.ฉะเชิงเทรา เข้าไปยัง จ.ปราจีนบุรี และเข้า อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา


    Link : http://www.innnews.co.th/ทางหลวง-แนะเลี่ยงเส้นทางช่วงหยุดยาว--316163_05.html



    .


    -http://www.innnews.co.th/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7--316163_05.html-

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...