พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ภาพรวมพลังบรรจุกระสอบทราย @คลอง 6 ธัญบุรี



    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]



    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ BlackTeaCat สมาชิกเว็บไซต์ pantip.com

    มี คนเคยบอกว่า ในวิกฤตมักมีโอกาส หรือมีเรื่องดี ๆ ซ่อนอยู่เสมอ เช่นเดียวกับสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ของไทยอีกคราวในปีนี้ แม้ว่าจะมีความเดือดร้อนและเสียหายเกิดขึ้นมากมายมหาศาล ทว่าอีกด้านหนึ่ง ก็ก่อให้เกิดมุมดี ๆ ของการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

    ข่าวน้ำท่วมปทุมธานีหลายจุด และจ่อทะลักเข้า กทม. ยังคงถูกเฝ้าระวังชนิดนาทีต่อนาที ทั้งนี้ก็เพื่อจำกัดขอบเขตของน้ำเพื่อให้กระทบต่อพี่น้องประชาชนให้น้อยที่ สุดเท่าที่จะทำได้... คันกั้นน้ำจึงเป็นเหมือนพระเอกจำเป็นในเวลานี้ และได้มีการวางแผนเสริมแนวกั้นน้ำทางด้านทิศใต้ของคลองรังสิต ตั้งแต่ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ (คลอง 1-7) เป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร โดยใช้กระสอบทรายประมาณ 1,500,000 ใบ

    วิทยาลัยการปกครอง คลอง 6 จ.ปทุมธานี ถูกตั้งให้เป็นศูนย์บรรจุกระสอบทรายจำนวนมหาศาลเหล่านั้น ...ที่นี่จึงเต็มไปด้วยอาสาสมัครมากหน้าหลายตาทุกเพศทุกวัยผลัดเปลี่ยนหมุน เวียนกันมาช่วยงาน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มี คุณ BlackTeaCat สมาชิกเว็บไซต์ pantip.com ไป ร่วมด้วย พร้อมทั้งเก็บภาพบรรยากาศที่แม้เจ้าตัวจะออกตัวว่า ไม่ได้ตั้งใจถ่ายสักเท่าไหร่ ....แต่มองอย่างไร ภาพของการรวมใจกัน ก็ช่างสวยงามเสียจริง ๆ

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    สำหรับใครที่อยากช่วยบรรจุกระสอบทรายเพื่อเป็นแนวกั้นน้ำท่วม สามารถไปได้ที่ วิทยาลัยการปกคลอง คลอง 6 จ.ปทุมธานี โดยใช้เส้นทางถนนรังสิต-นครนายก (ตัววิทยาลัยอยู่ทางซ้ายมือติดริมถนนใหญ่) สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.08-1341-2219


    -http://hilight.kapook.com/view/63827-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สปส.อุ้มลูกจ้างน้ำท่วมตกงาน แนะรีบขึ้นทะเบียนใน 30 วัน



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    สปส. คาดมีลูกจ้างตกงานจำนวนมาก หลังน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง และพื้นที่เศรษฐกิจในหลายจังหวัด แนะรีบขึ้นทะเบียนใน 30 วัน เร่งหางานให้ และช่วยเหลือตามสิทธิ

    นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมสถานประกอบการเสียหายหลายแห่งนั้น อาจมีการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก ซึ่งทาง สปส. พร้อมให้ความช่วยเหลือลูกจ้างกลุ่มนี้ตามสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน โดยลูกจ้างที่ตกงานจะต้องขึ้นทะเบียนหางานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐทั่ว ประเทศ ภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้าง เพื่อรับสิทธิดังกล่าว โดยเตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้

    - รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
    - บัตรประจำตัวประชาชน
    - หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน
    - สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน

    สำหรับเงื่อนไขในการรับประโยชน์ทดแทน คือ เป็นผู้ประกันตน ที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ที่นำส่งเงินสมทบ ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน นอกจากนี้ จะได้รับการช่วยเหลือในการบริการจัดหางานการฝึกอบรม และพัฒนาฝีมือแรงงานด้วย

    ส่วนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง มีอายุเกิน 55 ปีขึ้นไป จะได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีชราภาพ โดยได้รับเงินออมบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพ ตามเงื่อนไขในการรับประโยชน์ทดแทน

    [​IMG] ตกงาน แต่ต้องการส่งประกันสังคมต่อ ทำอย่างไร ?

    สำหรับผู้ประกันตนที่ประสงค์จะใช้สิทธิประกันสังคมต่อไป สามารถยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเอง ภายใน ระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายประกันสังคม รวม 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายด้วยสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ

    ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะต้องนำส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ 432 บาท ซึ่งปัจจุบันสามารถส่งเงินสมทบได้หลายช่องทาง

    [​IMG] ผู้ประสบอุทกภัย ที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาได้ทุกสถานพยาบาล

    ผู้ประกันตนที่ประสบอุทกภัย หากเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย ไม่สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลได้ สามารถเข้ารักษาได้ทุกสถานพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ทาง สปส.ได้ประสานให้สถานพยาบาลเบิกค่าบริการทางการแพทย์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จากสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/เขตพื้นที่ที่สถานพยาบาลตั้งอยู่โดยตรง

    [​IMG] มาตรการเยียวยาหลังน้ำลด

    สปส.ได้เตรียมเสนอมาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราร้อยละ 1-2 ของค่าจ้าง เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการและผู้ประกันตนที่ประสบอุทกภัย เป็นมาตรการชั่วคราวมีระยะเวลา 1-2 ปี ซึ่งจะนำเรื่องเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการประกันสังคมเพื่อขอความเห็นชอบต่อ ไป

    หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด สาขา/ที่ท่านสะดวก หรือ โทร.1506 ตลอด 24 ชั่วโมง


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    สำนักงานประกันสังคม


    -http://hilight.kapook.com/view/63830-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอปรบมือให้วัยรุ่นไทย ที่ต้องนำไปเป็นแบบอย่างสำหรับวัยรุ่นทั้งหลาย


    .---------------------------------------------------


    สุดยอด! ม.เทคโนโลยีสุรนารี สร้างเรือผ้าใบช่วยน้ำท่วม


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Suranaree University of Technology

    อาจารย์-นักศึกษาวิศวะ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ร่วมคิดค้นและผลิตเรือผ้าใบช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม สามารถสร้างได้เองด้วยทุน 2 พันบาท

    จากสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดในประเทศไทยขณะนี้ ทำให้เรือกลายเป็นพาหนะสำคัญในการสัญจร ช่วยเหลือ และอพยพผู้คน แต่ในหลายพื้นที่ก็ยังไม่มีเรือเพียงพอ ด้วยเหตุนี้นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ประกอบด้วย นายวัฒนา เพชรนอก, นายเดชอนันต์ กลั่นอักโข, นายสราวุธ ไปแดน, นายอำคา จินาวงศ์ และนายธนวัฒน์ จันทร์น้ำใส จึงร่วมกันผลิตเรือผ้าใบที่สามารถสร้างเองได้ หรือเรียกว่า "เรือน้ำใจปีบทอง" โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและเป็นผู้คิดค้น

    นายวัฒนา เพชรนอก หนึ่งในทีมงานผลิตเรือน้ำใจปีบทอง กล่าวว่า เรือเป็นสิ่งที่หายากและจำเป็นในภาวะน้ำท่วมแบบนี้ จึงต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้รู้ถึงวิธีการสร้างเรือด้วยตัวเอง ต้นทุนประมาณ 2,000 บาท โดยใช้วัสดุคือผ้าใบคลุมรถสิบล้อ ซึ่งทนการทิ่มทะลุสูงและเหล็กเส้นก่อสร้าง

    ส่วนวิธีการผลิตเรือน้ำใจปีบทอง คือ นำเหล็ก 3 ชนิดคือ เหล็ก 2 หุน 3 หุน และ 4 หุน ทำเป็นโครงเรือ หลังจากนั้นใช้ลวดมัดจุดเชื่อมต่อยึดให้แน่น และใช้ผ้าใบขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร เจาะตาไก่ร้อยเชือกผูกกับโครงเรือ ถ้ามีความชำนาญในการเชื่อมเหล็ก สามารถสร้างเสร็จได้ภายใน 2 ชั่วโมง และบรรทุกได้ประมาณ 400 กิโลกรัม

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    รศ.ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ ผู้คิดค้นเรือน้ำใจปีบทอง กล่าวว่า จากการทดลองเรือผ้าใบพบว่าได้ผลดีมาก และทาง มทส.จะให้งบประมาณในการสร้างเรือ รวมกับเงินบริจาคจากภาคเอกชนอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างเรือได้ 500 ลำ โดยเรือที่จะสร้างต่อไปนั้นจะเสริมกาบเรือด้วยขวดน้ำพลาสติก เพื่อช่วยในการเทียบท่าเรือ ป้องกันการฉีกขาด อีกทั้งยังช่วยในการทรงตัวของเรือขณะขึ้นลงอีกด้วย

    สำหรับ ผู้ที่สนใจนำแบบเรือน้ำใจปีบทองไปใช้ สามารถติดต่อไปได้ที่ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โทร. 044-224-410-1, 089-284-6920 หรือหากต้องการบริจาคเงินสมทบเพื่อสร้าง "เรือน้ำใจปีบทอง" ตามกำลังศรัทธา สามารถโอนเงินมาตามรายละเอียดดังนี้

    ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 707-214444-2 สาขา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และส่งสำเนาใบโอนเงินมาที่ ส่วนประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โทรศัพท์ 044-224-082-5 โทรสาร 044-224-080



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG]

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=420&contentID=169390-

    -http://hilight.kapook.com/view/63808-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ศรีอยุธยา(10)

    การสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มิได้มีความหมายเพียงว่าสิ้นราชวงศ์ปราสาท ทองเท่านั้น แต่หมายถึง การสิ้นสุดความเจริญทางการปกครอง การค้า การต่างประเทศ และความรุ่งเรืองทางวรรณคดีอีกด้วย

    ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา มีการฟื้นกฎหมายห้ามคนไทยแต่งงานกับคนต่างชาติต่างศาสนา (ยกเว้นจีน) ขุนนางมีฝีมือหลายคนถูกกำจัด พงศาวดารกล่าวว่าก่อนสวรรคตสมเด็จพระนารายณ์ทรงแช่งขุนนางสองพ่อลูกคือพระ เพทราชาและหลวงสรศักดิ์ไว้เป็นอันมาก โชคดีที่ระหว่างนั้นพม่ามีเรื่องไม่สงบภายในจึงมิได้ถือโอกาสยกทัพมาตี อยุธยาอย่างที่เคยทำ

    สิ้นสมัยสมเด็จพระเพทราชาก็เป็นสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ ที่จริงก็เกือบไม่ได้ขึ้นครองราชย์เพราะสมเด็จพระเพทราชามีพระราชโอรสอีก พระองค์ที่ประสูติ “ในเศวตฉัตร” คือเจ้าพระขวัญ แต่สมเด็จพระเจ้าเสือก็จับฆ่าแล้วเอาศพไปฝังที่วัดโคกพระยา สมเด็จพระเพทราชากริ้วมากจึงมอบราชสมบัติให้เจ้าพระพิไชยสุรินทร์ผู้เป็น หลาน

    ครั้นสมเด็จพระเพทราชาสวรรคตแล้ว เจ้าพระพิไชยสุรินทร์กลัวภัยจึงยกราชสมบัติถวายสมเด็จพระเจ้าเสือ นี่อาจเป็นเวรกรรมตามคำสาปแช่งของสมเด็จพระนารายณ์ก็ได้

    สมเด็จพระเจ้าเสือมีพระราชโอรสสำคัญ 2 พระองค์คือเจ้าฟ้าเพชร และเจ้าฟ้าพร เมื่อสมเด็จพระเจ้าเสือสวรรคต เจ้าฟ้าเพชรซึ่งครองตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯพระอุปราชได้เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 31 ลำดับที่ 3 ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทรงพระนามว่าสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าพระเจ้าท้ายสระ เพราะโปรดประทับที่พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ข้างสระน้ำ และด้วยความที่พอพระทัยเสวยปลาตะเพียน จนออกกฎหมายห้ามราษฎรจับกิน ถ้าฝ่าฝืนให้ปรับ 5 ตำลึง ผู้คนจึงเรียกอีกชื่อว่าขุนหลวงปลาตะเพียน

    ผู้ใหญ่เคยเล่าให้ฟังว่าเมนูปลาตะเพียนของพระเจ้าท้ายสระได้แก่ปลาตะเพียน ทอดกรอบ ปลาตะเพียนต้มเค็มไร้ก้าง วิธีทำคือวางอ้อยทุบรองก้นหม้อ ล้างปลาตะเพียนให้สะอาดแล้ววางเรียง ใส่น้ำตาลโตนด เกลือ หัวหอม จะใส่น้ำส้มมะขามเปียกด้วยก็ได้ แล้วปิดฝาเคี่ยวไว้ 2-3 วันจนก้างยุ่ยนุ่มนิ่มทั้งตัว

    กฎหมายนี้มาเลิกสมัยกรุงเทพฯ แต่คนรุ่นเก่าที่เคยกลัวก็ยังชินอยู่ไม่กล้าบริโภคสืบมาอีกหลายปี

    พระเจ้าท้ายสระตั้งน้องชายคือเจ้าฟ้าพรเป็นกรมพระราชวังบวรฯวังหน้า แปลว่าในระหว่างนั้นจะทำหน้าที่ช่วยราชการสำคัญ ๆ และต่อไปจะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งนี้มีตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาเป็นกษัตริย์ ก็ได้ตั้งสมเด็จพระนารายณ์มาแล้ว ภาษาทั่วไปเรียกว่า “พระบัณฑูรใหญ่” ถือว่าสูงศักดิ์เป็นที่ 2 รองจากพระเจ้าแผ่นดิน

    อยุธยาและปริมณฑลสมัยนั้นก็เหมือนสมัยนี้คือพอถึงหน้าฝนน้ำก็หลากจากเหนือลง มาท่วมไปทั่ว ถ้าน้ำกำลังพอดีชาวไร่ชาวนาก็ทำนาได้ดี ถ้าน้ำนองอยู่นานนาก็ล่ม พอย่างเข้าฤดูทำนาต้องทำพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีไหนน้ำน้อยต้องทำพิธีขอฝน ปีไหนน้ำมากได้เวลาจะเก็บเกี่ยวต้องมีพระราชพิธีไล่น้ำ บรรพบุรุษของเราอยู่มาได้ด้วยข้าว ปลาที่มากับน้ำ และความมากน้อยของน้ำเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว เราจึงมีพิธีทำขวัญข้าว ไหว้แม่โพสพ ขอขมาแม่คงคา เห่เรือ ทอดกฐินทางน้ำ

    จะว่าไปแล้วน้ำก็ช่วยรักษาบ้านเมืองไว้หลายครั้ง เวลาพม่าข้าศึกยกมาล้อมอยุธยาต้องหลีกฤดูน้ำหลากให้ดี เพราะช้างม้ากลัวน้ำ ถึงทหารพม่าเองก็เถอะ นุ่งแต่โสร่งอย่างนั้น น้ำมาปลาตอดลอดโสร่ง ปลิงเกาะ คงยุ่งเหมือนกัน

    พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกนั้นสร้างไว้หลายปีแล้ว ต่อมาน้ำท่วมกัดเซาะตลิ่งพังจวนถึงวิหาร เดิมทีพระเจ้าท้ายสระจะให้รื้อไปก่อใหม่แต่พระสงฆ์ทัดทานไว้จึงโปรดฯ ให้พระยาราชสงคราม ซึ่งเป็นตำแหน่งทางทหารตั้งจากผู้มีฝีมือทางช่างหรือการโยธาในการสร้างค่าย คูประตูหอรบ เรียกว่าเอ็นจิเนียร์ประจำชาติไปจัดการชะลอเลื่อนเคลื่อนย้ายโดยขุดดินใต้ องค์พระแล้วสอดไม้ซุงเข้ารองรับพระ ค่อย ๆ ฉุดลากจนย้ายพระนอนได้ ใช้เวลา 5 เดือน พระยาราชสงครามผู้นี้คือคนที่ไปขุดคลองโคกขามอันคดเคี้ยวจนตรงเชื่อมกันได้ พระราชทานชื่อว่าคลองมหาไชย

    ทหารคนไหนมีฝีมือทางช่างจะได้เป็นพระหรือพระยาราชสงครามตลอดมา สมัยรัชกาลที่ 5 พระราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นคนไปย้ายพระที่นั่งจากเกาะสีชังมาสร้างใหม่จนเป็นพระที่นั่งวิมานเมฆ เวลาทหารออกรบจึงมักเรียกว่า “ยุทธโยธา” คือรบไปสร้างไปรื้อไป ไม่ใช่เอาแต่รบลูกเดียว

    ก่อนสวรรคต พระเจ้าท้ายสระกลับไปยกราชสมบัติให้เจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรส ทีนี้พระมหาอุปราชเจ้าฟ้าพรซึ่งนั่งรอมานานแล้วก็ไม่ยอมสิครับ น้อยพระทัยว่าเสียแรงร่วมตายกันมา จำจะต้องรบกันให้ตายไปข้างหนึ่ง

    พ.ศ.2274-2275 เกิดสงครามใหญ่ที่สุดเท่าที่เกิดภายในประเทศเรียกว่าสงครามกลางเมือง (civil war) คือคนไทยรบกันเองคล้าย ๆ ที่ต่อมาอเมริกาทำสงครามเลิกทาส ฝ่ายหนึ่งนำโดยเจ้าฟ้าอภัยและน้องคือเจ้าฟ้าปรเมศวร์ อีกฝ่ายนำโดยเจ้าฟ้าพรผู้เป็นอา แต่ละฝ่ายมีรี้พลพอกัน ส่วนใหญ่เจ้าฟ้าอภัยจะชนะ แต่สุดท้าย
    พระมหาอุปราชก็จับตัวเจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าปรเมศวร์ได้ โปรดฯ ให้นำไปประหารพร้อมกับพวกที่เข้าด้วยช่วยเหลือนับไม่ถ้วน

    การที่เจ้าฟ้าพรทำศึกกลางเมืองกับหลานชายคือเจ้าฟ้าอภัยนั้นจะว่าขัดพระบรม ราชโองการเป็นขบถก็ว่าได้ แต่ประวัติศาสตร์ต้องอ่านกันหลายฉบับและพิจารณาหลายแง่ เจ้าฟ้าเพชร (พระเจ้าท้ายสระ) มิได้เป็นลูกรักของสมเด็จพระเจ้าเสือ พระราชชนกเคยกริ้วจนคว้าอาวุธจะทำร้ายแต่เจ้าฟ้าพรทรงออกรับแทน ตอนจะตั้งอุปราชเดิมก็จะทรงข้ามเจ้าฟ้าเพชรไปตั้งเจ้าฟ้าพรเพราะฉลาดหลัก แหลมกว่า แต่เจ้าฟ้าพรทูลขอให้ตั้งพี่ชายก่อน

    เมื่อพระเจ้าท้ายสระเป็นกษัตริย์ก็ทรงตั้งเจ้าฟ้าพรเป็นพระมหาอุปราช เท่ากับมีสัญญาลูกผู้ชายต่อกัน อยู่มาก็จะไปมอบราชสมบัติแก่เจ้าฟ้านเรนทร พระราชโอรสองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทรเห็นว่าควรมอบให้พระเจ้าอาจึงจะเป็นธรรม แล้วเสด็จออกผนวชเสีย พระเจ้าท้ายสระยังหาทาง “เบี้ยว” อีกจึงไปมอบให้เจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสองค์รอง คราวนี้เจ้าฟ้าพรก็เหลืออดสิครับ “อย่างนี้เบี้ยวกันชัด ๆ นี่หว่า”

    เจ้าฟ้าพรได้เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 32 ลำดับที่ 4 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง เรียกกันว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ อยู่ในราชสมบัติ 26 ปี แรก ๆ ท่านไม่ยอมทำศพพระเจ้าท้ายสระพี่ท่านจะให้เอาไปลอยน้ำ แต่พอขุนนางทัดทานก็ให้ทำพอเป็นพิธี ครั้งนั้นกรุงศรีอยุธยากลับรุ่งเรืองขึ้นใหม่ทางการค้า ศาสนา และวรรณคดี เราได้ส่งพระสงฆ์ไปเจริญศาสนไมตรีกับลังกาตามคำทูลขอของกษัตริย์ลังกา เดิมลังกาเคยมาเผยแผ่พุทธศาสนาในไทยตั้งแต่ครั้งสุโขทัย ได้บวชให้ชาวไทยเป็นอันมากเรียกกันว่าพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ หลักฐานยังปรากฏเป็นศิลปกรรม รูปทรงเจดีย์ บทสวดแบบลังกาในภาคใต้ของไทย

    ต่อมาลังกาถูกต่างชาติปกครองหลายปี มีการทำลายล้างพระและวัดจนหาพระสงฆ์ลังกาไม่ได้ (มีแต่เณร) เมื่อลังกาจะฟื้นพุทธศาสนาใหม่ก็หาอุปัชฌาย์ที่บริสุทธิ์ไม่ได้ จึงนึกได้ว่าพระไทยเคยบวชจากพระลังกาจึงขอนิมนต์พระไทยผู้ใหญ่ไปเป็น อุปัชฌาย์บวชกลับให้ชาวลังกาบ้าง เราส่งพระอุบาลีนำคณะไปทางเรือสำเภา ได้บวชให้กุลบุตรลังกาเป็นร้อยเป็นพัน พระในฝ่ายนี้เรียกว่าสยามวงศ์ ปัจจุบันลังกามีสมเด็จพระสังฆราช 2 องค์ เป็นฝ่ายลังกาวงศ์และสยามวงศ์ ทั้งยังหล่อรูปปั้นพระอุบาลีไว้บูชา ปีที่แล้วผมไปไหว้พระที่ศรีลังกาได้ไปเยี่ยมวัดที่พระอุบาลีเคยอยู่และ มรณภาพ เห็นแล้วปลื้มใจแท้

    อย่างไรก็ตามความอัปยศของกรุงศรีอยุธยาสมัยนี้คือแม้เจ้าฟ้าพรจะชนะจนได้ราช สมบัติ แต่เจ้านาย แม่ทัพนายกอง ทหารกล้าและขุนนางล้มตายมากมาย ที่รอดตายก็ทิ้งราชการหนีเข้าป่าไปเป็นโจรบ้าง ทำสวนทำนาบ้าง บ้านเมืองหาคนดี คนเก่ง คนกล้าไม่ได้ มีแต่การหวาดระแวงกันเอง ไม่รู้จักแก้ไขหรือปรองดอง มีแต่แก้แค้นและจับดองไว้! เรื่องนี้ทำไมพม่าจะไม่รู้ ฉะนั้นอีก 30 ปีเศษต่อมา พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา กรุงจึงแตกอย่างง่ายดาย!

    แม้กระนั้น 26 ปีของรัชกาลนี้ ราษฎรทั่วไปที่ไม่อยู่ฝ่ายใดก็เป็นสุขสบายดี ข้าศึกไม่มี ศาสนาเจริญ การค้าเจริญ กวีมีมากมาย ทำไร่ทำนาได้ผล มีโขนระบำรำฟ้อนให้ดู เรายังพูดถึงรัชกาลนี้ต่อมาอีกหลายสิบปีว่า “เมื่อครั้งบ้านเมืองดี” โดยเทียบกับสมัยก่อนหน้านั้นและหลังจากนั้น

    ในรัชกาลนี้มีเด็กสามัญชนที่ควรรู้จักมาเกิด 4 คน และเป็นเพื่อนรักกันด้วย รุ่นโตชื่อพ่อสิน รุ่นกลางชื่อพ่อทองด้วง รุ่นเล็กชื่อพ่อบุญมาและพ่อบุนนาค พ่อสินเป็นลูกจีนแม่ไทย พ่อทองด้วงและพ่อบุญมาเป็นพี่น้องกันเป็นลูกไทยเชื้อสายมอญและอาจมีเชื้อจีน ทางมารดาด้วยก็ได้ พ่อบุนนาคเป็นลูกไทยเชื้อสายเปอร์เซียต้นตระกูลเป็นมุสลิมแต่แม่เป็นไทย ระยะหลังบรรพบุรุษเปลี่ยนมานับถือพุทธ

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีพระราชโอรสที่สำคัญ 3 พระองค์คือ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เรารู้จักกันในนามเจ้าฟ้ากุ้ง ได้เป็นกรมขุนเสนาพิทักษ์) เจ้าฟ้าเอกทัศ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) และเจ้าฟ้าอุทุมพร (กรมขุนพรพินิต)

    เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรได้เป็นอุปราช แต่ด้วยนิสัยกวีปากหวานเจ้าชู้ ภายหลังลอบเป็นชู้กับพระสนมของพ่อจึงถูกโบยจนสิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้าองค์นี้แหละที่แต่ง “เรื่อย ๆ มาเรียง ๆ นกบินเฉียงไปทั้งหมู่” สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเห็นว่าเจ้าฟ้าเอกทัศไม่เฉลียวฉลาด โฉดเขลา ไม่พากเพียร ไม่กล้าหาญ ไม่ควรเป็นผู้ปกครองได้จึงข้ามไปตั้งเจ้าฟ้าอุทุมพรพระราชโอรสพระองค์เล็ก เป็นพระมหาอุปราช

    เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคต เจ้าฟ้าอุทุมพรจึงได้ครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 33 ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 แต่อยู่ได้ 10 วัน เจ้าฟ้าเอกทัศผู้เป็นพี่ทำท่าปรารถนาราชสมบัติ วังก็ไม่ย้ายจะยึดวังหลวงอยู่อย่างนั้น พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรคงรำคาญจึงถวายราชสมบัติแล้วเสด็จออกผนวช

    เจ้าฟ้าเอกทัศได้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 34 ลำดับที่ 6 ของราชวงศ์บ้านพลูหลวงและพระองค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 คนทั่วไปเรียกว่าพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ตามชื่อพระที่นั่งที่ไม่ทรงยอม ย้ายออก บางคนเรียกพระเจ้าเอกทัศ มีบ้างที่เรียกว่า “ขุนหลวงขี้เรื้อน” ตามพระโรคที่ทรงเป็น

    บัดนั้นพม่าซึ่งเล็งอยู่นานด้วยความแค้นตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรทรงทำ ยุทธหัตถีชนะเมื่อ 200 ปีก่อน ก็จับสายตามาที่พระมหานครแห่งนี้ และให้สัญญาณนัดหมายว่า “ไม่ต้องแก้ไข” แต่ได้เวลาแก้แค้นแล้ว!”.

    “อยุธยาและปริมณฑลสมัยนั้นก็เหมือนสมัยนี้คือพอถึงหน้าฝนน้ำก็หลากจากเหนือ ลงมาท่วมไปทั่ว ถ้าน้ำกำลังพอดีชาวไร่ชาวนาก็ทำนาได้ดี ถ้าน้ำนองอยู่นานนาก็ล่ม พอย่างเข้าฤดูทำนาต้องทำพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีไหนน้ำน้อยต้องทำพิธีขอฝน ปีไหนน้ำมากได้เวลาจะเก็บเกี่ยวต้องมีพระราชพิธีไล่น้ำ บรรพบุรุษของเราอยู่มาได้ด้วยข้าว ปลาที่มากับน้ำ และความมากน้อยของน้ำเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว เราจึงมีพิธีทำขวัญข้าว ไหว้แม่โพสพ ขอขมาแม่คงคา เห่เรือ ทอดกฐินทางน้ำ”

    วิษณุ เครืองาม
    -wis.k@hotmail.com-

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=170222-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    วิธีสร้างคันกระสอบทรายให้แข็งแรง


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลมีดินเหนียวอ่อน เป็นดินฐานราก วางกระสอบทรายไม่ถูกวิธีคันอาจยุบตัว และแนะนำของจำเป็น 9 อย่างที่ควรมีในถุงยังชีพ
    ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งเป็นเขตที่มีดินเหนียวอ่อนเป็นดินฐานราก การสร้างคันดินหรือกองกระสอบทรายสูงเกิน 3 เมตรจะเสี่ยงทำให้คันกั้นน้ำยุบตัวลง “ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์” อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศกรรมปฐพีและฐานราก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนะนำหลักการสร้างคันกระสอบทรายกั้นน้ำดังนี้

    1)ควรกั้นกระสอบทรายสูงไม่เกิน 3 เมตร และควรวางกระสอบทรายเป็นฐานกว้าง ขนาดความกว้างฐานต่อความสูง 4:1 เช่น ฐานกว้าง 4 เมตร วางกระสอบทรายสูง 1 เมตร

    2)หากจะวางกระสอบทรายสูงเกิน 3 เมตร ควรใช้เสาเข็มไม้ยาว 3-6 เมตร กดลงไปเป็นฐาน แล้วจึงวางกระสอบทรายแทรกรอบหัวเข็มเป็นฐาน ก่อนจะวางกระสอบทรายทับ

    3)ไม่ควรวางกระสอบทรายสูงในแนวดิ่งตรง แต่ควรวางให้มีความเอียงเป็นรูปสามเหลี่ยมพิรามิด โดยวางลาดเป็นอัตราส่วนความสูงต่อระยะราบเท่ากับ 1:2

    4)หากต้องการให้กำแพงกระสอบทรายแข็งแรง ควรผสมปูนซีเมนต์ในทราย อัตราส่วนทรายต่อปูน 6:1 คือผสมทราย 6 ส่วนกับปูน 1 ส่วน ก่อนบรรจุลงในถุง จะช่วยให้กระสอบทรายมีความแข็งแรงและเมื่อถุงกระสอบทรายยุ่ย ทรายจะไม่ไหลออก

    สำหรับข้อควรรู้เกี่ยวกับการสร้างคันกระสอบทรายกั้นน้ำ
    1)กระสอบทรายที่ทำจากพลาสติกจะยุ่ยและสลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงอาทิตย์ ทำให้ถุงทรายมีโอกาสแตกได้สูงหลังการใช้ 1 อาทิตย์
    2)ไม่ ควรสูบน้ำด้านที่อยู่ภายในคันกั้นน้ำออกจนแห้ง เพราะจะทำให้ระดับน้ำภายนอกกับภายในต่างกันอย่างมาก คันกระสอบทรายอาจพังทลาย จึงควรให้มีน้ำท่วมขังภายในบ้างเพื่อลดความต่างระดับของน้ำภายนอกกับภายใน
    3)การตั้งกระสอบทรายในแนวดิ่งจะมีโอกาสพังทลายง่าย

    ส่วนการจัดถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยนั้น “นพ.กฤษดา ศิรามพุช” ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ แนะนำว่า ภายในถุงยังชีพควรมีของ 9 อย่าง ดังนี้

    1)กระดาษชำระ กางเกงในกระดาษและผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เนื่องจากในสภาพที่ไม่มีห้องน้ำหรือส้วมกระดาษไม่พอ หากมีกระดาษชำระดีๆ อย่างหนานุ่มหรือได้เปลี่ยนชั้นในสะอาดๆ ก็จะทำให้รู้สึกสบายคลายทุกข์ไปได้มาก

    2)นมผู้ใหญ่ จำพวกเอ็นชัวร์หรือพีเดียชัวร์ที่เป็นนมผงสูตรผู้ใหญ่ใช้บำรุงร่างกาย มีสารอาหารที่จำเป็นอยู่มาก ควรแบ่งส่งไปเป็นกระป๋องเล็กพร้อมน้ำสะอาดไว้ชง ผู้ประสบภัยจะได้สะดวกหาที่เก็บให้พ้นน้ำง่าย

    3)ด่างทับทิม สำหรับผสมน้ำแช่แก้น้ำกัดเท้าหรือแช่ผักผลไม้ก่อนรับประทาน แทนยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดแบบน้ำที่อาจจัดส่งลำบาก

    4)สารส้ม ช่วยให้ผู้ประสบภัยทำน้ำใสไว้อาบเองได้

    5)น้ำเกลือปลอดเชื้อ หรือน้ำเกลือสเตอไรซ์ ใช้ล้างแผลปฐมพยาบาล

    6)ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เผื่อเป็นไข้หวัดหรือโรคปวดหัวจากความเครียด

    7)แชมพูถวายพระ พระสงฆ์องค์เณรต้องงดปฏิบัติกิจช่วงน้ำท่วม ญาติโยมก็ไม่สะดวกใส่บาตร ของใช้ที่จำเป็นอาจขาดอาทิ ผ้าเช็ดตัวสะอาด กระดาษชำระ สบู่และแชมพูเพราะพระสงฆ์ก็จำเป็นต้องใช้ทำความสะอาดร่างกาย แต่ควรเลี่ยงชนิดที่ใส่น้ำหอมแรงจนเกินไป

    8)อาหารสุนัข อาหารแมว

    9)โน้ตข้อความให้กำลังใจ อย่างสุดท้ายดูเหมือนไม่จำเป็น แต่หากลงไปช่วยพูดคุยไม่ได้ อย่างน้อยส่งข้อความที่เขียนจากใจลงไปก็จะได้เก็บไว้อ่าน เป็นกำลังใจที่ต่างคนต่างช่วยเติมให้กัน

    ทีมเดลินิวส์ ออนไลน์



    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=711&contentId=170267-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • b1.jpg
      b1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.9 KB
      เปิดดู:
      914
    • b2.jpg
      b2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.3 KB
      เปิดดู:
      897
    • b3.jpg
      b3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.4 KB
      เปิดดู:
      928
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    บัตรเครดิตหายมีคนนำไปรูด จะทำอย่างไร

    วันอังคารที่ 27 กันยายน 2011 เวลา 15:36 ชูชาติ คงครองธรรม


    สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมามีผู้เข้ามาทำการร้องเรียนและปรึกษาเกี่ยวกับ บัตรเครดิตหาย มากพอสมควร เรื่องเด่นสัปดาห์นี้จึงขอหยิบยกขึ้นมาอธิบายให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันและมี ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมายในเรื่องนี้ โดยเรื่องนี้เป็นเคสของ คุณจักรพันธ์ วนสุนทรวงศ์ ซึ่งได้ทำบัตรหายในงาน Commart Thailand และมีคนนำบัตรเครดิตที่ลักมาไปรูดซื้อสินค้าและทางธนาคารได้ให้ทางคุณจักรพันธ์ ชำระหนี้ที่เกิดขึ้น

    ในการใช้บัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ด้วยการลักมาจากผู้ถือบัตรแล้วนำไปปลอมลายมือชื่อของผู้ถือบัตรเครดิตให้ เหมือนลายมือชื่อที่ปรากฏทางด้านหลัง พนักงานร้านค้าที่รับบัตรจะต้องตรวจสอบดูว่า ลายมือชื่อของผู้ถือบัตรเครดิตในขณะนั้นเหมือนลายมือชื่อในบัตรหรือไม่ ถ้าลายมือชื่อของทั้งสองแตกต่างกัน พนักงานของร้านค้าจะต้องปฏิเสธการชำระหนี้ด้วยบัตรเครดิตดังกล่าว และหากพนักงานไม่ตรวจลายมือชื่อหรือตรวจแล้วมีความแตกต่าง แต่ทางพนักงานก็ยังคงรับอยู่ก็ต้องถือว่า เป็นการกระทำโดยประมาท ซึ่งทางร้านก็จะต้องรับผิดด้วย
    และในกรณีที่บัตรเครดิตหายและได้โทรศัพท์ ไปแจ้งให้ทางธนาคารเพื่อยกเลิกบัตรเครดิต เมื่อมีบุคคลอื่นนำบัตรไปใช้ซื้อสินค้าก่อนมีการแจ้งยกเลิก ผู้ถือบัตรย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบของตนได้ แต่ถ้ามีการใช้บัตรเครดิตนั้นซื้อสินค้าหลังมีการแจ้งยกเลิก ผู้ถือบัตรเครดิตนั้นไม่จำต้องรับผิดชอบจากการใช้บัตรเครดิตนั้น
    บางคนอาจจะถามว่าในเมื่อเราไม่ได้เป็นคนใช้บัตร ทำไมเราต้องรับผิดในมูลหนี้ที่เราไม่ได้ก่อขึ้น มันยุติธรรมแล้วหรือ ซึ่ง ในเรื่องนี้ถ้าไม่มีอะไรแอบแฝงก็น่าเห็นใจเพราะของก็ไม่ได้ใช้แต่กลับต้อง เสียเงินชำระหนี้อีก เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นก็ควรจะต้องระมัดระวังบัตร อย่าหลงลืมไว้ที่ใดเป็นอันขาด ควรเก็บไว้อย่างดีเช่นบุคคลทั่วไปควรระวัง แต่ถ้าผู้ถือบัตรทำบัตรหายโดยที่ไม่ได้ประมาทแต่อย่างใดแต่กลับถูกคนขโมยไป และนำไปรูดซื้อสินค้า ควรที่จะกระทำดังต่อไปนี้
    1.ต้องรีบไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเร็วที่สุดและลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
    2. ต้องนำหลักฐานคือใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันไปที่ธนาคารเพื่ออายัดบัตร
    3. ต้องแสดงตัวว่าเราไม่ได้ใช้บัตรเครดิต เช่น ลายเซ็นต์การรูดบัตรและที่สำคัญต้องแสดงเวลาว่าในขณะที่มีการรูดบัตรเราอยู่ คนละที่ พร้อมมีพยานรู้เห็นหรือยืนยันได้
    4. ยังไม่ต้องชำระเงิน เพราะถ้าจ่ายไปเท่ากับยอมรับในหนี้นั้น
    ส่วนทางธนาคารก็อาจยังคงเรียกเก็บเงินอยู่เหมือนเดิม ถึงแม้ว่าเราจะดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้วก็ตาม ซึ่งถ้าทางธนาคารฟ้องก็ต้องต่อสู้กันตามขั้นตอนของศาล จะชนะหรือแพ้ก็อยู่ที่การพิสูจน์ว่าหลักฐานที่ใช้อ้างอิงนั้น จะมีน้ำหนักมากน้อยเพียงใด


    -http://www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=1968:2011-09-27-08-44-30&catid=147:2011-08-30-03-45-47&Itemid=214-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    บังคับคดียึดทรัพย์เกินความจำเป็น

    วันพฤหัสบดีที่ 01 กันยายน 2011 เวลา 15:36 ชูชาติ คงครองธรรม

    กลับมาพบกันอีกแล้ว เมื่อคิดถึงเวลาแล้วช่างรวดเร็วเหลือเกิน ผ่านไปแล้วก็ยากที่จะหวนกลับคืนมา คงจะต้องเดินหน้าต่ออย่างเดียว เรื่องเด่นประจำสัปดาห์ก็เช่นเดียวกันคงต้องเดินหน้าต่อไปเพื่อให้สาระความ รู้และประโยชน์กับบุคคลทั่วไปอย่างไม่หยุดยั้ง วันนี้ขอเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์เกินความจำเป็น ลูกหนี้จะต้องทำอย่างไร เรื่องนี้เป็นคำถามมาเป็นจำนวนไม่น้อยที่ได้โทรศัพท์เข้ามาสอบถามยังศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค
    เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาส่วนมากมักจะขอให้ ศาลทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ทั้งหมด ปัญหาที่ตามมาก็คือ เมื่อมีการยึดแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขาย ก็ต้องมีการถอนการยึดซึ่งต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมศาลอีก และใครที่จะต้องเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมดังกล่าว ผู้ที่เสียค่าธรรมเนียมก็คือ ผู้แพ้คดีนั่นเอง
    บางคนมีข้อสงสัยว่า ในเมื่อเจ้าหนี้เป็นคนยึดเมื่อไม่มีการขายเกิดขึ้นต่อมามีการถอนการยึดค่า ธรรมเนียมดังกล่าวก็ต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้เป็นผู้ออกจึงจะถูก เพราะลูกหนี้เสียทรัพย์สินบางส่วนไปแล้วและจะต้องมาเสียค่าธรรมเนียมโดยที่ ตนเองไม่ได้เป็นคนกระทำ มันเป็นธรรมแก่ผู้แพ้คดีแล้วหรือ
    ปัญหาเช่นนี้ถ้าเกิดขึ้นกับลูกหนี้ ๆ จะหาทางออกอย่างไร หาก ในชั้นบังคับคดีเจ้าพนักงานยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ทั้งหมดเพื่อดำเนินการขาย ทอดตลาด ทั้งที่ทรัพย์ของลูกหนี้เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ เพราะฉะนั้นลูกหนี้จึงต้องระมัดระวังอย่าให้มีการยึดทรัพย์ของลูกหนี้เกิน ความจำเป็น เช่นเจ้าหนี้ทำการยึดที่ดินหลายแปลง ทั้งที่เพียงแปลงเดียวก็สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งถ้าหากยึดหลายแปลงต่อมามีการถอนการยึดโดยที่ไม่มีการขายลูกหนี้ก็จะต้อง รับผิดชอบเสียค่าถอนการยึดโดยเปล่าประโยชน์
    [​IMG]คำแนะนำและแนวทางแก้ไข
    ประการแรก ทางจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาล โดยให้ศาลเห็นว่าที่ดินที่เจ้าหนี้ทำการยึดหลายแปลงนั้น เกินความจำเป็น ความจริงแล้วถ้าหากนำทรัพย์สินหรือที่ดินของลูกหนี้เพียงแปลงเดียวก็สามารถ ชำระหนี้รวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมได้ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์สินหรือที่ดินดังกล่าว ออกมาขายเพียงแปลงเดียว
    ในส่วนของศาลเมื่อศาลได้รับคำร้องแล้วก็อาจจะให้มีการไต่สวนคำร้องนั้น เพื่อให้ได้ความว่า ถ้าหากขายที่ดินของลูกหนี้เพียงแปลงเดียวเงินที่ได้มาจากการขายทอดตลาดนั้น จะเพียงพอชำระหนี้รวมทั้งใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนอีกฝ่ายหนึ่งเพียงพอหรือ ไม่ ถ้าเพียงพอศาลอาจมีคำสั่งให้ทำการขายทอดตลาดที่ดินเพียงแปลงเดียวตามที่ ลูกหนี้ร้องขอมาก็ย่อมจะทำได้
    เพราะฉะนั้นลูกหนี้ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้คำนวณหนี้หรือทำการตรวจสอบให้ รอบคอบเวลาเจ้าหนี้ยึดก็ให้ยึดไปทั้งหมด เมื่อทำการยึดไปแล้วไม่ได้ขายและมีการถอนการยึดค่าธรรมเนียมของเจ้าหนี้ก็จะ ผลักภาระให้ทางลูกหนี้เป็นคนออกจึงทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบอย่างมาก ถ้าลูกหนี้มีความรอบคอบและตรวจสอบดูให้ละเอียดรู้วิธีการแก้ไขความเสียหาย ดังกล่าวก็จะไม่เกิดกับทางลูกหนี้อีกต่อไป

    -http://www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=1911:2011-09-01-09-01-36&catid=147:2011-08-30-03-45-47&Itemid=214-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    แตกตื่น !! แชร์ภาพดาวเทียมผ่านFacebook อ้าง 2 มวลน้ำก้อนใหญ่ ล้อมรอบ"กรุงเทพฯ"


    [​IMG]


    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ทางโลกของระบบโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก โดยเฉพาะทางเฟซบุ๊กได้มีการเผยแพร่และแชร์รูปภาพที่อ้างว่าเป็นการถ่ายจาก ภาพดาวเทียม วันที่ 17 ตุลาคม โดยแสดงให้เห็นถึงภาพน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ ในสัญลักษณ์สีฟ้า ที่เกิดขึ้นรอบบริเวณภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างภาคตะวันออก รวมถึงภาคกลาง ซึ่งหลายจังหวัดประสบกับภาวะน้ำท่วมอย่างหนักอยู่ขณะนี้ โดยมีการส่งต่อกันมาเรื่อยๆ โดยระบุข้อความว่า
    "ภาพถ่ายจากดาวเทียมล่าสุด 17 ตค. จะเห็นกลุ่มน้ำกลุ่มใหญ่ๆ ๒ กลุ่มเข้าล้อมรอบกรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว"


    ทั้งนี้ เมื่อมีการโพสต์รูปภาพดังกล่าวจากผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ก็มีการส่งต่อรูปภาพดังกล่าวเผยแพร่(แชร์) ผ่านเฟซบุ๊กเป็นจำนวนมาก สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้คนที่ได้เห็นภาพถ่ายดาวเทียมดังกล่าว เกี่ยวกับมวลน้ำที่กำลังเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร

    [​IMG]


    จากการตรวจสอบที่มาที่ไปของภาพดังกล่าวก็พบว่า รูปภาพดังกล่าวน่าจะมีที่มาใกล้เคียงกับการเผยแพร่ข้อมูลจากเว็บไซต์http://ictgis.totidc.net/mict/ ซึ่งเป็นระบบบูรณาการข้อมูล กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MICT) ที่แสดงข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ ผ่านระบบบูรณาการข้อมูล ที่เมื่อซุมเข้าไปเราจะเห็นพื้นที่ต่างๆ ที่ประสบกับภาวะน้ำท่วมในสัญลักษณ์สีฟ้า รวมถึงแสดงเส้นทางสัญจรของถนนต่างๆที่รถยนต์ไม่ว่าจะชนิดใดสามารถ หรือไม่สามารถใช้เส้นทางได้


    [​IMG]

    ภาพเปรียบเทียบการอ้างภาพถ่ายจากดาวเทียม กับ ภาพจากระบบบูรณาการข้อมูล MICT


    -http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1318849990&grpid=09&catid=&subcatid=-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2011
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    "โรคเครียด" จาก "น้ำท่วม" จิตแพทย์แนะ "ทำใจ"


    ศิราณี วงษ์โซ : เรื่อง

    กว่า 2 สัปดาห์ที่อุทกภัยครั้งใหญ่พัดพาน้ำไหลบ่าเข้าท่วมเกือบทุกหัวระแหงของ ประเทศไทย ตั้งแต่ภาคเหนือลงมาถึงที่ราบลุ่มภาคกลาง มวลน้ำมุ่งเข้าโจมตีเมืองหลายแห่งจนฝาย เขื่อน คันกั้นน้ำพังทลาย น้ำก้อนใหญ่ทะลักเข้าท่วมตัวเมือง แผ่ขยายทั่วอาณาบริเวณ หลายพื้นที่กลายเป็นทะเลในชั่วข้ามคืน

    ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ไปจนถึงร้านค้าขนาดเล็กและบ้านเรือนประชาชนล้วนได้รับความเดือดร้อน กันถ้วนหน้า ไร้ที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน เครื่องอุปโภคบริโภค หยุดงาน ขาดรายได้

    ผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อยไปจนถึงรายใหญ่แทบสิ้นเนื้อประดาตัวไปตาม ๆ กัน

    เนื่องจากขนย้ายสิ่งของหนีน้ำไม่ทัน หรือย้ายทันแต่ไม่รู้จะขนไปเก็บไว้ที่ไหน ก็ได้แต่นั่งมองข้าวของค่อย ๆ จมน้ำ

    บางคนต้องสูญเสียคนที่รัก สัตว์ที่เลี้ยง เพราะกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากพรากพวกเขาจากไปอย่างไม่มีวันกลับมา

    ต่างกับกระแสน้ำที่ยังท่วมขังและไม่รู้ว่าน้ำจะกลับมาอีกเมื่อไหร่

    หลายชีวิตต้องอาศัยพื้นถนนหลับนอน ศูนย์อพยพหลายแห่งมีผู้คนเข้าไปพักพิงจนแน่น

    นี่คือสภาพน้ำท่วมในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2554

    ผู้ประสบภัยย่อมเกิดความเครียด สิ้นหวัง หดหู่ จากการสูญเสียครั้งนี้

    ยากที่จะทำใจรับได้ในทันทีทันใด

    ขณะที่ชาวเมืองหลวงผู้รับข่าวสารจากทุกทาง ตกอยู่ในภาวะตื่นตระหนก เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำที่กำลังมุ่งเข้าสู่กรุงเทพฯแบบนาทีต่อนาที

    หลายครอบครัวเร่งกักตุนสินค้า วิ่งหาที่ปลอดภัยจอดรถกันให้วุ่น จนอาคารสูงหลายแห่งเต็มจนล้นเกือบทุกแห่ง

    ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลไปทุกหย่อมหญ้า เกิดความเครียดสะสม...จนถึงระดับคิด "ฆ่าตัวตาย"

    ทั้งหมดขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภัยพิบัติที่แต่ละคนได้รับและรับได้

    ฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเกิดความเครียด จิตตก วิตก กังวล ซึ่งควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดคิด

    กลุ่มเสี่ยง "วัยทำงาน-คนแก่"

    น.พ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข อธิบายว่า กลุ่มคนที่มีอาการเครียดเพราะน้ำท่วมเป็นกลุ่มคนที่กรมสุขภาพจิตเฝ้าระวัง คือ คนที่เครียดมากถึงมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีภาวะทางจิตเวชมาก่อน

    "สำหรับ คนทั่วไปที่ประสบอุทกภัย ในเวลานี้ยังไม่ถึงเวลาที่เค้าอยากจะฆ่าตัวตาย แต่จะเกิดหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปซักระยะหนึ่งแล้ว ฉะนั้นเราต้องเฝ้าดูคนเหล่านั้น ถ้าเขาไม่สนุกสนาน ร่าเริง แยกตัว บางครั้งก็พูดเรื่องความตาย ฝากลูกฝากหลาน พูดทำนองที่ว่า ถ้าเขาไม่อยู่แล้วจะทำอย่างไร รวมทั้งคนที่พอเครียดแล้วก็ดื่มเหล้า เครียดแล้วก็ดื่มเหล้า

    คนเหล่านี้ก็อาจทำร้ายตัวเองได้"

    เจ้า หน้าที่จำต้องเข้าไปดูเป็นพิเศษในพื้นที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ทำแบบประเมินแนวโน้มการฆ่าตัวตาย และเจ้าหน้าที่ทุกคนมีแบบประเมินในพื้นที่มีปัญหาก็จะเลื่อนตามระดับน้ำลงมา เรื่อย ๆ

    น.พ.อภิชัยบอกว่า โรคเครียดเกิดขึ้นได้กับหลายช่วงอายุ แต่ที่เฝ้าระวังคือ คนที่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 75-85 ปี กับกลุ่มวัยแรงงานอายุ 25-45 ปี โดยกลุ่มผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนการฆ่าตัวตายสูงที่สุด ขณะที่คนวัยทำงานจะมีจำนวนการฆ่าตัวตายมากที่สุดจึงต้องดูแลกลุ่มนี้เป็น พิเศษ

    "ผู้สูงอายุจะเกิดอาการซึมเศร้า ห่วงบ้าน ห่วงข้าวของเครื่องใช้ ส่วนกลุ่มคนทำงานก็กังวลเรื่องรายได้ ครอบครัว อนาคตเพราะกำลังอยู่ในช่วงสร้างเนื้อสร้างตัว แต่ทุกอย่างต้องจมหายไปกับน้ำ ทำให้สองกลุ่มนี้อาจเกิดภาวะเครียดจนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้" อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

    ฉะนั้นขอให้ทุกคนมีความหวัง ให้เวลาเยียวยาทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้น ขอเพียงแค่ทุกคนยังมีชีวิตอยู่

    ทางบรรเทาทุกข์

    น.พ.ไกร สิทธิ์ นฤขัตพิชัย กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า ตอนนี้คนที่ประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมต้องเผชิญปัญหาหลายด้านพร้อมกัน ความไม่สะดวกในการดำรงชีวิต ความเสียหายของบ้าน รถยนต์ และทรัพย์สินเงินทอง พื้นที่ทำการเกษตรที่เสียหาย มีภาระหนี้สิน หรือบางคนเกิดการเจ็บป่วย สูญเสียญาติพี่น้อง ทำให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรง วิตกกังวล และป่วยเป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้

    "แต่ละคนสามารถรับมือกับความเครียดได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับต้นทุนพื้นฐานด้านจิตใจแต่ละคนว่าแข็งแรงแค่ไหน"

    ความ เครียดสามารถแสดงอาการออกมาได้หลายรูปแบบ เบื้องต้นมักแสดงออกมาในรูปของความไม่สบายทางกาย เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ใจสั่น หายใจไม่ออก ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน บางรายถ้าอาการรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้จะเกิดอาการกลัว วิตกกังวลอย่างรุนแรง มีอาการตื่นตระหนก หายใจเร็วกว่าปกติ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เกร็งตามมือและเท้า กลัวว่าตัวเองกำลังจะตาย

    "แรง ปะทะจากเหตุการณ์อันเดียวกันบางคนล้ม บางคนไม่ล้ม คนที่ไม่โดนน้ำท่วมก็อาจจะเอื้อเฟื้อให้เพื่อนบ้านที่เดือดร้อน มีบ้านชั้นเดียวมาอาศัยให้ใช้ห้องน้ำ ห้องครัว มีอะไรก็แบ่งปันกันไป หรือไม่ก็ให้เวลารับฟังปัญหา ความรู้สึก ความคับข้องใจและเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน เราทุกคนอยู่ในเรือลำเดียวกัน เป็นผู้ร่วมชะตากรรม จำเป็นต้องช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่กัน"

    "ไม่ใช่ เราคนเดียวที่ถูกน้ำท่วม ธรรมชาติไม่ได้คิดที่จะทำร้ายเราคนเดียว และทุกอย่างก็ต้องมีเวลาสิ้นสุด เราจะเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่เมื่อเห็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เราจะเห็นว่าเขาได้รับทุกข์ที่ใหญ่กว่า" พ.ญ. ขนิษฐา อุดมพูนสิน แพทย์ประจำแผนกจิตเวช โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล พหลโยธิน กล่าว

    4 วิธีรับมือวิกฤต

    1.ยอม รับสิ่งที่เกิดขึ้น ทำความเข้าใจและยอมรับ ภัยพิบัติไม่ได้เกิดกับเราคนเดียว แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่ว่าเราเป็นผู้เคราะห์ร้ายอยู่คนเดียว ยังมีเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกมาก อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง

    "ท้อแท้ได้ แต่อย่านาน และต้องลุกขึ้นเดินต่อ"

    2.จัด ลำดับความสำคัญของปัญหา พยายามนั่งพักให้จิตใจนิ่งแล้วรวบรวมสติมองปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เช่น แก้ปัญหาเฉพาะหน้า การอยู่ การกิน การนอน เรื่องการขับถ่าย

    3.พยายามใช้ชีวิตเรียบง่าย คนที่ประสบกับปัญหาจะต้องปรับวิธีคิด และปล่อยวางเรื่องทรัพย์สินสิ่งของนอกกาย อนาคตยังมีโอกาสหาใหม่ได้ พยายามใช้ชีวิตเรียบง่ายเพื่อลดความรู้สึกเครียดลงบ้าง

    บางคนห่วงทรัพย์สินจนไม่ยอมอพยพ ควรมีการชั่งน้ำหนัก "ชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า"

    4.เอาใจ ใส่ ดูแลกันและกัน คนที่แข็งแรงต้องช่วยคนที่อ่อนแอ ต้องคอยให้กำลังใจกับคนที่รู้สึกหมดแรง ท้อแท้ ได้ระบายความรู้สึก แล้วก็ให้กำลังใจกัน

    วิกฤตครั้งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่รุนแรงมากใน ประวัติศาสตร์ของประเทศ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะผ่านไปได้สำเร็จ ต้องใช้เวลายอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วก็ตั้งหลัก ตั้งสติให้ได้

    "ทุกคนต้องร่วมมือกัน...เพื่อฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้"

    ระวังภัย 5 โรคที่มากับน้ำ

    กระทรวง สาธารณสุขแจ้งเตือนประชาชนเรื่องโรคระบาด ต้องเฝ้าระวังในเรื่องสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม คือเรื่องขยะ สิ่งขับถ่าย รวมถึงน้ำดื่มต้องสะอาด

    โรคระบาดที่มากับน้ำท่วมต้องเฝ้าระวัง 5 โรคหลัก ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู ไข้หวัด ตาแดง และไข้เลือดออก ส่วนโรคที่ป่วยกันมากคือ โรคน้ำกัดเท้า ให้ดูแลอย่าให้มีบาดแผลที่เท้า และให้ล้างเท้าให้สะอาดหลังจากลุยน้ำแล้วทุกครั้ง

    -http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1318851957&grpid=&catid=12&subcatid=-

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    นอภ.พุทธมณฑล ประกาศอพยพภายใน 24 ชั่วโมง <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">18 ตุลาคม 2554 17:23 น.</td></tr></tbody></table>

    นายอำเภอพุทธมณฑล นครปฐม ให้เจ้าหน้าที่แจ้งไปยังผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชนว่าให้แจ้งประชาชนว่าน้ำ อาจจะขึ้นอีก 1 เมตร ภายใน 24 ชม. จึงขอให้ประชาชนให้ขนย้ายสิ่งของ และเร่งทำแนวป้องกัน หากใครไม่สามารถอยู่ได้ให้อพยพไปยังศูนย์ที่เตรียมไว้

    สำหรับจุดอพยพของ อ.พุทธมณฑล 1.รร.กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ต.ศาลายา ติดต่อ รองผอ. 084-6626298 รับคนได้ 1,000 คน รถ 400 คัน 2.มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ต.ศาลายา ติดต่อนายธนากร 086-8807238 รับได้ 500 คน รถ 400 คัน

    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132923-



    นอภ.ปากเกร็ด ประกาศอพยพคน 3 ตำบลด่วน ชี้น้ำสูงต่อเนื่อง

    <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">18 ตุลาคม 2554 17:29 น.</td> </tr></tbody></table>

    นายอำเภอปากเกร็ด สั่งอพยพ 3 ตำบล "คลองพระอุดม-บางตะไนย์-คลองข่อย" หลังระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงต่อเนื่อง เตรียมศูนย์อพยพ 2 จุด "ร.ร.สวนกุหลาบ นนท์- ร.ร.ปากเกร็ด" รับคน ขณะที่ประตูน้ำพระยาบรรลือ-พิมลราช น้ำล้นบางบัวทองท่วมหนัก

    วันนี้(18 ต.ค.) นายวิสิทธิ์ พวงเพชร นายอำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.นนทบุรี ว่า ขณะนี้ได้ประกาศให้ชาวบ้านใน อ.ปากเกร็ด 3 ตำบล คือ ต.คลองพระอุดม ต.บางตะไนย์ และ ต.คลองข่อย ขนย้ายทรัพย์สินอพยพออกจากบ้านเรือนเป็นการด่วน หลังจากที่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ระดับน้ำที่ท่วมอยู่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีน้ำจาก จ.ปทุมธานี ไหลอ้อมผ่านมาทางพื้นที่ อ.บางบัวทองและเข้าสู่เขต อ.ปากเกร็ด ส่งผลให้แนวคันดินกั้นน้ำที่สร้างกั้นน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไว้พังหลายจุด ทำให้เกิดน้ำท่วมสูงตามถนนและบ้านเรือนของประชาชนทั้ง 3 ตำบล ทางอำเภอต้องขอกำลังเจ้าหน้าที่ทหารนำเรือและอุปกรณ์เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน ที่ถูกน้ำท่วมสูงและต้องการอพยพออกจากที่อยู่อาศัยตลอดทั้งวัน

    "ระดับน้ำในวันนี้มีความสูงถึง 3 เมตร 8 เซนติเมตร ทางอำเภอต้องประกาศให้ชาวบ้านอพยพหนีน้ำออกมาเพื่อความปลอดภัยทันที โดยได้เตรียมสถานรองรับให้กับประชาชนที่อพยพไว้แล้วด้วยกัน 2 จุด คือที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรีและที่โรงเรียนปากเกร็ด ขณะเดียวกันทาง อบต.บางพลับ ก็กำลังเร่งเสริมแนวกันน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับน้ำที่กำลังสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้เหลือเพียง ต.บางพลับเพียงตำบลเดียวที่ยังสามารถกันน้ำเอาไว้ได้"นายวิสิทธิ์กล่าว

    นอกจากนี้เมื่อเวลา 15.00 น. ปริมาณน้ำจำนวนมากที่ไหลมาจาก จ.ปทุมธานี ได้ล้นประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ และ ประตูระบายน้ำ พิมลราช ในอ.บางบัวทอง ส่งผลให้น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมหลายพื้นที่ใน อ.บางบัวทองเป็นวงกว้างแล้ว


    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132926-

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    ประกาศห้ามจอดรถบนทางด่วน เจอปรับแน่!


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไอเอ็นเอ็น

    รอง ผบช.น. ประกาศ สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ยังไม่น่าเป็นห่วง จึงห้ามประชาชนจอดรถบนทางด่วน เพราะสร้างปัญหาด้านการจราจร หากฝ่าฝืนจะถูกยกรถออกพร้อมปรับ 500 บาทเป็นอย่างต่ำ

    จากสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ ซึ่งน้ำได้ทะลักท่วมเข้าใกล้เขตกรุงเทพฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดเป็นนิคมอุตสาหกรรมนวนครที่่กำลังถูกน้ำทะลักเข้าท่วม ขณะที่ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เกิดความกังวลต่อสถานการณ์ว่าน้ำจะไหลเข้าท่วมเมืองหลวงหรือไม่ ทำให้ประชาชนทยอยเก็บข้าวของขึ้นที่่สูง ส่วนคนที่มีรถก็นำไปฝากไว้กับสถานที่รับฝากรถช่วยผู้ประสบภัย

    อย่างไรก็ตาม มีประชาชนบางคนที่ไม่ทราบว่าจะนำรถไปจอดไว้ที่ไหน เนื่องจากบางสถานที่่ที่จอดรถสำหรับน้ำท่วมเต็มแล้ว จึงได้นำรถไปจอดไว้บนทางด่วนกันเป็นจำนวนมาก

    ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) ได้ออกมากล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพฯ ในขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นวิกฤติ ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก็ยังไม่น่าเป็นห่วง ดังนั้นประชาชนยังสามารถใช้เส้นทางได้ตามปกติ ยกเว้นน้ำท่วมขังบริเวณย่านชานเมืองที่มาจากฝนที่ตกกระหน่ำเหมือนวันศุกร์ ที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่น้ำท่วมขังแยกเกษตรและลาดปลาเค้า ส่งผลให้รถติดถึงแยกสะพานควาย

    ทั้ง นี้ ถ้าสถานการณ์ไม่ถึงขั้นวิกฤติจริง ๆ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่อนุญาตให้ประชาชนนำรถไปจอดบนทางด่วน เนื่องจากอาจจะทำให้การลำเลียงของช่วยเหลือผู้ประสบภัยในต่างจังหวัดมีปัญหา ได้ ถ้าหากละเมิดจะถูกเจ้าหน้าที่ยกรถออกไปทันทีและปรับขั้นต่ำ 500 บาท



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก มติชนออนไลน์

    [​IMG]

    -http://hilight.kapook.com/view/63823-

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    “ปู”สั่งเปิดประตูระบายน้ำคลอง 1-6


    นายกฯ สั่งเปิดประตูระบายน้ำคลอง 1-6 เร่งระบายน้ำเหนือ ส่ง “ยงยุทธ” เจรจา วอนประชาชนให้ความร่วมมือ
    ที่ ศปภ. ดอนเมือง วันนี้(18 ต.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากตรวจสถานการณ์น้ำและแนวคันกั้นน้ำรอบ กทม. ว่า เท่าที่ดูสภาพน้ำตลอดแนวตั้งแต่คลองเปรมประชากร ไปจนถึงคลองระพีพัฒน์ ได้ข้อสรุปที่ให้เปิดประตูระบายน้ำทุกบาน ตั้งแต่คลอง1 ถึงคลอง 6 โดยทางกรมชลประทานจะพยายามประสานงานให้ปริมาณน้ำมีความสัมพันธ์กัน และมอบหมายให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ไปเจรจาและทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งคาดว่าคงจะให้ความร่วมมือ เพราะถ้าเราเปิดประตูระบายน้ำได้ ก็จะสามารถระบายน้ำออกได้ ขณะเดียวกันก็จะมีการเสริมแนวป้องกันบริเวณคลองรังสิตประยูรศักดิ์ให้แข็ง แรงขึ้น ส่วนบริเวณศูนย์อพยพภายในม.ธรรมศาสตร์รังสิตนั้น ทางศปภ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยป้องกันจำนวน 200 นายแล้วตามคำขอ เชื่อว่าจะสามารถป้องกันได้ ส่วนนิคมอุตสาหกรรมนวนครแม้ภาพรวมน้ำจะเข้าไปแล้วแต่ยังมีแนวคันกั้นของแต่ ละโรงงานที่น่าจะสามารถกอบกู้ได้ โดยเบื้องต้นมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปดูเครื่องจักร หากจุดใดขนย้ายได้ก็ให้เร่งดำเนินการ นอกจากนี้ยังได้บินสำรวจคันกั้นน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่ง รมว.คมนาคมได้ทำไว้ถึง 2 ชั้นและยังมีแนวคันชั้นนอกอีกก็น่าจะแข็งแรงพอ

    เมื่อถามว่าการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 6 ประตู จะส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราจะพยายามปล่อยน้ำลงตามแนวคลองออกไปทางด้านขวา ซึ่งอาจมีผลกระทบกับประชาชนบ้าง เราก็จะไปทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะสิ่งที่เราพยายามทำคือขอเปิดประตูระบายน้ำเพื่อใช้เป็นทางผ่านน้ำให้ น้ำระบายออกจากนิคมนวนครไปได้อย่างรวดเร็ว และเราก็จะระดมเครื่องสูบน้ำเร่งสูบน้ำทั้งหมดออกไปทางฝั่งตะวันออก ถ้าประชาชนและทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือก็จะทำให้ระบายน้ำออกไปได้เร็วขึ้น ส่วนที่ผู้ว่ากทม.ขอกระสอบทรายจำนวน 1 ล้านกระสอบเพื่อทำคันกั้นน้ำให้สูงขึ้นนั้น ได้ให้ความร่วมมือจัดส่งไปหมดแล้ว ส่วนจะป้องกันพื้นที่กทม.ไว้ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการที่เราจะขอร้องประชาชนในการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 6 ประตูได้หรือไม่

    น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังกล่าวถึงสาเหตุที่ไม่สามารถสู้กับน้ำได้เลยแม้แต่จุดเดียว ว่า เพราะน้ำมามากกว่าทุกปีถึง 3 เท่า และเราไม่สามารถระบายออกไปได้เลย ขณะเดียวกันก็มีพายุสะสมมา 2-3 เดือนแล้ว จะมาให้แก้ในเดือนที่ 3 คงเป็นไปไม่ได้ และสภาพภูมิประเทศปัจจุบันก็ไม่เอื้อต่อการระบายน้ำ ซึ่งในระยะยาวต้องมาวางแผนในภาพรวมให้ทิศทางการไหลของน้ำมีความสัมพันธ์กัน กับการวางผังเมือง เมื่อถามว่าตอนนี้ประชาชนเริ่มไม่เชื่อข้อมูลจากรัฐบาลโดยเฉพาะชาว กทม.ที่ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะรักษาพื้นที่ได้ เพราะที่ผ่านมาบอกว่าจะรักษาพื้นที่จุดนั้นจุดนี้ได้ แต่ทำไม่ได้ตามที่พูดเลย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ก็ต้องขอความเห็นใจจากประชาชนด้วย เพราะมันเป็นปัญหาใหญ่ และมีความเสียหายมากจริง ๆ การให้ข้อมูลแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการของ ศปภ.จะแถลงข่าวผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ส่วนการให้ข้อมูลความเคลื่อนไหวนั้น วันนี้มีหลายหน่วยงาน ซึ่งก็ต้องขอความร่วมมือจากทุกๆฝ่าย และบางครั้งก็มีเรื่องของข่าวลือเกิดขึ้น หรือบางครั้งสิ่งที่เราเตือนไปแต่ประชาชนอาจเห็นว่าน้ำยังไม่มาทั้งๆที่ความ จริงภาวะน้ำวันนี้มาเร็วกว่าที่คิด ประชาชนอาจรู้สึกว่าภาครัฐไม่ได้เตือน แต่ความจริงเราได้เตือนแล้ว บางจุดเราก็มีการเตือนไปยังหน่วยงานโดยตรง แต่อาจไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ขึ้น จึงไม่ได้ปฏิบัติตาม ดังนั้นเราอาจจะต้องคุยกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น.


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=420&contentID=170578-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รวมบัญชี สถานที่ ช่วยน้ำท่วม 44 จังหวัด


    งาน “รวมพลังไทย ช่วยภัยน้ำท่วม” สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยในพื้นที่ต่าง ๆ และเป็นศูนย์กลางในการรวมน้ำใจคนไทยและเร่งระดมความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแบบ บูรณาการทุกภาคส่วน
    ในงานมี ครม. ศิลปินดาราจากค่ายต่าง ๆ อาทิ คณะนางสาวไทยประจำปี 2553 พิงกี้-สาวิกา ,มาริโอ้ เมาเร่อ, บุ๋ม-ปนัดดา วงศ์ผู้ดี ,แอม-เสาวลักษณ์ ลีละบุตร ,ตอง-ภัครมัย โปตระนันท์ ,ปาน-ธนพร แวกประยูร ,แก้ม-ดิว เดอะสตาร์ ,ซานิ-ฝ้าย-ปอ-โบว์ จากบ้านเอเอฟ และนักแสดงจากค่ายโพลีพลัส มาร่วมรับโทรศัพท์จากประชาชนผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 02-3560333 จำนวน 50 คู่สาย ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มาร่วมรับโทรศัพท์ด้วย

    ทั้งนี้ผู้ที่มีความประสงค์จะร่วมบริจาค ยังสามารถบริจาคเข้ามาเลขที่บัญชี 067-0-06895-0 ชื่อบัญชีกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล


    บริจาคเงิน

    ศูนย์อาสาฯ มูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ธ.กรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงการคลัง เลขที่ 068-0-02-3607

    สำนักนายกฯ ธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล ประเภทออมทรัพย์เลขที่ 067-0-06895-0

    อสมท รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม 015-015-999-4 ธ.กรุงไทย สาขาอโศก

    ระบุ จะช่วยเหลือราษฎรที่ดินโคลนถล่ม ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ธ.กรุงไทย เลขบัญชี 537-0-20286-9 (ที่ว่าการอำเภอน้ำปาด โทร. 055-481-045)

    บัญชีมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 020-2-53333-8 ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทเวศร์

    สถานีโทรทัศน์ สปริง นิวส์ บัญชี “ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อผู้ประสบภัย” ธ.กรุงเทพ เลขที่ 196-075084-0

    มูล นิธิโอเพ่นแคร์เพื่องานอาสาฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติ ธ.ไทยพาณิชย์ 402-177853-3 เว็บไซต์อยู่ที่ SCB 402-177853-3 OpenCARE Volunteer Fund
    บัญชี “ครอบครัวข่าว 3 ช่วยผู้ประสบอุทุกภัย 54″ กระแสรายวัน ธ.กรุงเทพ สาขาอาคารมาลีนนท์ 014-3-00444-8

    AIS DTAC และ TrueMove ร่วมกับครอบครัวข่าว 3 ขอเชิญชวนลูกค้ามือถือทั้งแบบเติมเงินและรายเดือน บริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ผ่าน SMS ข้อความละ 10 บาท โดยพิมพ์ “3” หรือข้อความใดๆ และส่งมาที่หมายเลข 4567899 เงินบริจาคที่ได้รับทั้งหมดมอบให้ครอบครัวข่าว 3 โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

    บริจาคสิ่งของ

    อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม (พรรคประชาธปัตย์) ถ.เศรษฐศิริ เขตพญาไท Link -> อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม | Facebook
    เต๊นท์ดุสิตธานี สีลม ทุกวัน-2 ตุลาคม ต้องการข้าวสารถุง 5 กก. น้ำตาล น้ำปลา น้ำมันพืช อาหารแห้ง ไปอยุธยาอ่างทองสิงห์บุรี
    ศูนย์รับบริจาค อาสาดุสิต หอสมุดเทศบาลนครพิษณุโลก ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดพิษณุโลก | อาสาดุสิต
    สถานีวิทยุ FM 96.75 MHz เปิดศูนย์รับบริจาคสิ่งของที่จำเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถามที่ 0-5581-7716-7 เว็บไซต์ที่ เปิดรับบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยดินถล่มอ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์
    12-13 ก.ย.54 08.30-16.30 น.กาชาดต้องการอาสาสมัครบรรจุสิ่งของช่วยน้ำท่วม ณ สนง.บรรเทาทุกข์ ถ.อังรีดูนังต์ โทร.1664


    เพื่อความมั่นใจของท่านผู้ประสงค์จะบริจาค โปรดตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งค่ะ


    -http://news.hunsa.com/detail.php?id=33878-

    .

    รวมเบอร์โทรศัพท์ และบัญชี ช่วยเหลือน้ำท่วม



    เว็บไซต์เอ็มไทยนำสิ่งของเครื่องใช้และเงินบริจาค ช่วยฟื้นฟูภัยน้ำท่วมร่วมกับ ททบ.5
    29 ตุลาคม 2553 เว็บไซต์เอ็มไทย นำโดย นายปฐมพงศ์? สิรชัยรัตน์ ผู้จัดการอาวุโส แผนกธุรกิจเว็บไซต์เอ็มไทย(Mthai.com) บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (ในเครือ โมโน กรุ๊ป) ได้นำสิ่งของเครื่องใช้อุปโภค-บริโภค อาทิ อาหารแห้ง, นมกล่อง, ปลากระป๋อง, ยากันยุง และของใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้ประสบอุทกภัย พร้อมด้วยเงินบริจาค รวมมูลค่า 50,000 บาท มอบให้กับ พลเอก มาลัย คิ้วเที่ยง ประธานที่ปรึกษาสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ซึ่งทาง ททบ.5 เป็นสื่อกลางในการรวบรวมสิ่งของและเงินบริจาคเพื่อนำไปช่วยเหลือและฟื้นฟู ผู้ประสบอุทกภัยในหลายจังหวัด ซึ่งกำลังประสบปัญหาขาดแคลนสิ่งของอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นและได้รับความ เดือดร้อนอยู่ในขณะนี้
    —————————————————————————————————————-​
    ช่องทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัยนํ้าท่วมในหลายจังหวัด

    [​IMG]ททบ.5 บัญชีบริจาค “ช่วยภัยน้ำท่วม” ธ.ทหารไทย สาขาสนามเป้า บัญชีออมทรัพย์ 021-2-69426-9
    สอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-278 1698 และ 02-279 2598
    ช่อง 3 โครงการประตูใจ ครอบครัวข่าว 3 ร่วมกับ คุณตัน ภาสกรนที เปิด ‘กองทุนประตูใจ ครอบครัวข่าว’ รับบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม เพื่อจัดซื้อประตูให้แก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย บัญชีธ.กรุงเทพ สาขาอาคารมาลีนนท์ เลขที่บัญชี 014-300-4141
    ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่าน SMS
    พิมพ์คำว่า “น้ำใจไทย” หรือ “namjaithai” ส่งมาที่?? 4567899
    ข้อความละ 10 บาท ในเครือข่าย DTAC, AIS และ TRUE MOVE
    รายได้ทั้งหมดบริจาคเพื่อผู้ประสบอุทกภัย
    กรมทางหลวงเปิดสายด่วนให้ข้อมูลน้ำท่วม 1586
    กรม ทางหลวงได้เปิดสายด่วน? 1586? เพื่อให้ประชาชนสอบถามข้อมูลน้ำท่วมได้ตลอด? 24? ชั่วโมง? พร้อมสั่งการให้ทุกหน่วยงานในพื้นที่เสี่ยงภัยเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อม เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนอย่างเต็มที่? สำหรับประชาชนที่ต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง หรือต้องการความช่วยเหลือ? สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประชาสัมพันธ์? 02-354-6530, 02-354-6668-76? ต่อ? 2014,? 2031? ศูนย์บริการงานอุบัติเหตุ? สำนักบริหารบำรุงทาง? 02-354-6551? และตำรวจทางหลวง? 1193
    ธนาคารออมสินเชิญชวนบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
    ธนาคาร ออมสิน ขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมแบ่งปันน้ำใจให้ผู้ประสบอุทกภัยที่ได้รับความเดือดร้อน โดยท่านสามารถบริจาคเงินเข้าบัญชีได้ที่ ธนาคารออมสินสาขาสำนักพหลโยธิน บัญชีประเภทเผื่อเรียก ชื่อบัญชี ?ออมสินรวมใจช่วยภัยน้ำท่วม? บัญชีเลขที่ 028888888881 ทั้งนี้ ธนาคารได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเป็นกรณีพิเศษไว้แล้ว ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553
    โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา แจ้งเบอร์โทร- เบอร์บัญชีบริจาคช่วยผู้ป่วย-น้ำท่วม
    โรง พยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก ประชาชนแจ้งบริจาคได้ที่ 086 2512188 ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถโอนเงินบริจาคเข้าธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา เลขบัญชี 3013165804 และธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาหัวทะเล นครราชสีมา เลขบัญชี 7902605487
    อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย รับบริจาคของกินของใช้ เพื่อนำไปช่วยชาวบ้านที่น้ำท่วม 02-465-6165 มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน ได้ทั้งวัน
    ช่อง 3 เปิดบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ชื่อบัญชี ครอบครัวข่าวช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 2553 บัญชีกระแสรายวัน ธนาคารกรุงเทพ สาขามาลีนนท์ทาวเวอร์ เลขที่บัญชี 0143003689 หรือบริจาคเป็นสิ่งของที่อาคารมาลีนนท์ ถ.พระราม 4
    อสมท. เปิด บัญชีช่วยผู้ประสบภัย “อสมท.ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม” ธ.กรุงไทย ออมทรัพย์ # 015-0-12345-0 โทร 02-245-0700-4 และเชิญร่วมบริจาคสิ่งของนำไปช่วยเหลือผู้เดือดร้อนน้ำท่วม อาคารปฏิบัติการ ชั้น 1 ถ.พระราม9 09.00-22.00
    ทีวีไทยร่วมกับกองทัพอากาศ เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม รับบริจาคสิ่งของเพื่อจัดส่งอย่างเร่งด่วนโทร. 02-791-1385-7
    สำนักข่าวเนชั่น เปิดศูนย์รับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัย โทรศัพท์ 02-338-3333, 02 338-3000 กด 3
    ช่อง 7 สีเปิดรับบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนํ้าท่วมได้ที่ บัญชี “001-9-13247-1″ ชื่อบัญชี 7 สีช่วยชาวบ้าน ธ.กรุงศรีอยุธยา สำนักเพลินจิต สิ่งของช่วยเหลือที่ช่อง7 ซ.พหลโยธิน 18/1
    มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์ เพื่อผู้ประสบภัย ที่ATM/สาขา SCB ไม่มีค่าโอน? ช่วยผู้ประสบภัย SCB กระแสรายวัน 111-390911-5
    กทม. เปิดศูนย์รับบริจาคช่วยน้ำท่วม ลานหน้าศาลาฯกทม.เสาชิงช้า/กทม.2ดินแดง/สนง.เขต 50เขต เตรียมส่งเรือท้องแบน 20 ลำ ชุดแรกวันพฤหัสนี้

    สภากาชาดไทย
    บัญชีธ.ไทยพาณิชย์ ชื่อบัญชี ? สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย? # 045 304190 6 ออมทรัพย์
    กอง บัญชาการ กองทัพไทย เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย นำสิ่งของบริจาคได้ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ (อาคาร6) เวลาราชการ โทร.02-5751500
    ศูนย์รับบริจาคสิ่งของจังหวัดโคราช โทร 044259993-4, 044259996-8

    อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย

    พุธ นี้ (20 ตุลาคม) ต้องการอาสาฯ ที่ โรงแรมดุสิต ช่วยแพคของ 13:00-23:00 น. ก่อนทีมนำของบริจาคไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่โคราช? ส่วนใครต้องการบริจาคสิ่งของ มาได้ได้ตั้งแต่ 9:00-23:00 น.
    http://twitter.com/#!/SiamArsa
    อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย | Facebook
    กระทรวงคมนาคม ผู้ ที่มีความประสงค์จะร่วมบริจาคสามารถรวบรวมและนำส่งได้ที่สำนักงานปลัด กระทรวงคมนาคม ถนนราชดำเนินนอก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. หรือโอนเงินบริจาคผ่านธนาคารกรุงไทย สาขาสะพานขาว ชื่อบัญชี ?คค. ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย? บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 021-0-11932-2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์? 02-282-9559 , 02-283-3138 , 02-283-3066 และ 02-283-3309
    บขส.-ขสมก.
    เปิดศูนย์รับบริจาคเครื่องอุปโภค-บริโภค บริเวณประชาสัมพันธ์ ชั้น 1 อาคาร
    สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ(จตุจักร) และสถานีเดินรถ บขส.ทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กองประชาสัมพันธ์ โทร0-2936-2996 หรือ Call Center 1490 เรียก บขส.
    ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
    ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ร่วมกับ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (โทลล์เวย์) และกองทัพบก ตั้งจุดรับบริจาคสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ณ บริเวณประตูทางเข้าศูนย์การค้าฯ ชั้น บี (ร้านซูกิชิ) ฝั่งโรบินสัน
    ค่ายมือถือ 3 ค่าย คือ เอไอเอส ดีแทคและทรูมูฟ เชิญร่วมส่ง sms โดยพิมพ์ ข้อความ ‘น้ำใจไทย’ หรือ ‘namjaithai’ ส่งไปที่หมายเลข 4567899 ค่าบริการครั้งละ 10 บาท โดยรายได้จากค่าบริการ sms นำช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั้งหมด
    การทางพิเศษร่วมกับBECL เปิดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่อาคารด่านเก็บเงิน ทุกด่าน24ชม.และที่ศูนย์บริการที่เดียวเบ็ดเสร็จ ในเวลาราชการ
    ————————————————————————————————-
    ช่องทางช่วยเหลือพี่น้องภาคใต้

    หน่วยบรรเทาสาธารณภัย
    ศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเทศบาลนครหาดใหญ่ โทร. 074 200 000, 074 200 007 หรือสายด่วน 1559
    อ.เบตง เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็วออกช่วยเหลือ 24 ชม. โทร 073-230-478
    เขตพื้นที่เทศบาลตำบลเขาชัยสน สามารถประสานงานได้กับท่านนายกเทศมนตรี นายสมบูรณ์ เหล่าทอง โทร 081-095-8032
    หน่วยกู้ภัยสงขลา โทร. 074-312-800
    หน่วยกู้ภัยหาดใหญ่ (ศูนย์วิทยุกู้ภัยมิตรภาพสามัคคีท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) โทร .074-350-955
    ศูนย์นเรนทร สงขลา1669
    สายด่วน1132 เบอร์ติดต่อสอบถามสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดสงขลา
    ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา โทร.074-323-874, 074-313-126 โทรสาร074-313-126
    ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลาโทร.074-251-160-3 โทรสาร 074-251-166
    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลาโทร. 074-316-380-2 โทรสาร 074-316-382
    ศูนย์นเรนทร สงขลา โทร.1669
    การไฟฟ้าหาดใหญ่ โทร. 1129
    ร่วมบริจาคและส่งความช่วยเหลือ
    ศูนย์บริจาค มอ. มีความต้องการเวชภัณฑ์ยารักษาโรค ยาสามัญประจำบ้าน
    มอ. จะมีการตั้งศูนยรับบริจาคที่ตึกกิจกรรมนักศึกษาตั้งแต่เช้าโทรหาเยาวรัตน์ 087-287-8713 ประสานงานขอแรง นพ.สิทธิโชค อนันตเสรี ผช.คณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ สงขลานครินทร์ โทรศัพท์ 086-969-1017
    อ.เบตง เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว ออกช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมงโทรศัพท์ 073-230-478 แจ้งเหตุอุทกภัยในอ.หาดใหญ่ติดต่อ เทศบาลนครหาดใหญ่ 074-200-000และสามารถรับกระสอบทราย ได้ที่สนามกีฬากลางจิรนคร (เข้าทางด้านหลัง)
    กองทัพอากาศ รับบริจาคเรือยาง เรือท้องแบนติดเครื่องยนต์ เพื่อจัดส่งทาง C130 ไปช่วยภาคใต้ด่วน!!! โทร 02-5342096
    โรงพยาบาล มอ. รับบริจาคเลือด บริเวณชั้นสอง ที่ชั้น 2
    จ.สงขลา ต้องการขนาดเรือใหญ่ ช่วยชาวบ้านพื้นที่ห่างไกลอพยพ ติดต่อ อบจ.สงขลา 074-303-100
    ม.สงขลาฯ มีอาหารและที่พักให้ปชช. ใครเดือดร้อนมาได้เลย ติดต่อ 074-282954, 074-282216
    บัญชี ม.สงขลาฯ 5-653-000-221 ธ.ไทยพาณิชย์ รับบริจาคเงินช่วยน้ำท่วม
    รพ. มอ.หาดใหญ่ต้องการเลือดทุกกรุ๊ป จำนวนมาก บริจาคได้ที่ชั้น 2 ลอย รพ. มอ.หาดใหญ่
    ศูนย์ มอ.หาดใหญ่ ต้องการยาพาราเซตามอลชนิดน้ำสำหรับเด็ก ยาลดน้ำมูกสำหรับเด็ก เรือ,ยางในรถยนต์,กะละมัง ลำเลียงอาหารที่เตรียมไว้ช่วยเหลือน้ำท่วมด่วน! โทร.074-282-216,074-282-954
    มูลนิธิศุภนิมิต บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยนํ้าท่วมได้ที่ 02-381-8863-5
    นกแอร์ บัญชี ?นกรวมใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม? SCB 101-235586-1 หรือที่สนามบิน
    a day กลุ่ม Help BKK และชาวบริษัทเดย์โพเอทส์ รับบริจาคอาหารและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม ในวันพฤหัสที่ 4 พ.ย. ตั้งแต่บ่ายโมง ที่ออฟฟิศ a day ซ.เอกมัย 10 โทรติดต่อคุณออยเบอร์ 086-304-4819
    โดย ทีมข่าวMthai


    -http://news.mthai.com/general-news/90969.html-



    .

    รวมเบอร์โทรศัพท์ และบัญชี ช่วยเหลือน้ำท่วม - ข่าวทั่วไป, ข่าวเด่นประจำวัน

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    พระราชทานกำเนิดมูลนิธิ เมื่อได้ช่วยเหลือประชาชนในระยะแรกแล้ว ยังเหลือเงินอีกสามล้านบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า เงินสามล้านบาทนี้ ควรตั้งเป็นทุนเพื่อหาดอกผลสำหรับสงเคราะห์เด็ก ซึ่งครอบครัวต้องประสบวาตภัยภาคใต้ และขาดผู้อุปการะเลี้ยงดูประการหนึ่งและสำหรับสงเคราะห์ช่วยเหลือราษฎรผู้ ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศอีกประการหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานเงินสามล้านบาท ให้เป็นทุนประเดิมก่อตั้งมูลนิธิ และพระราชทานนามว่า “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ใน “พระบรมราชูปถัมภ์” กับทรงดำรงตำแหน่ง พระบรมราชูปถัมภกแห่งมูลนิธินี้ด้วย ชื่อของมูลนิธินี้หมายความว่า “พระราชา” และ “ประชาชน” อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน เป็นการแสดงน้ำพระทัยว่า เวลาทำงานควรจะได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย

    มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์โดยได้ทรงมีพระราชดำริว่าภัยธรรมชาติหรือสาธารณ ภัยอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ไม่มีผู้ใดจะคาดหมายได้ดังที่ได้เกิดขึ้นที่แหลมตะลุมพุกนครศรีธรรมราช และหลายจังหวัดภาคใต้

    มูลนิธิฯ ได้ทุนดำเนินงานจากเงินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน เงินอุดหนุนจากรัฐบาล จากผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาค จากทรัพย์สินซึ่งมีผู้ยกให้ และจากดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินอันเป็นทุนของมูลนิธิฯ

    การใช้จ่ายเงินของมูลนิธิฯ อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับ ซึ่งมีการควบคุม ตรวจสอบอย่างรอบคอบ การดำเนินงานยึดมั่นในพระบรมราโชบาย “...ให้ไปให้ความอบอุ่นไปช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยฉับพลัน ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือ มีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานต่อไป...”

    “...การช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้นจะต้องช่วยในระยะสั้นหมายความว่า เป็นเวลาที่ฉุกเฉินต้องช่วยโดยเร็ว และต่อไปก็จะต้องช่วยให้ต่อเนื่อง...ส่วนเรื่องการช่วยเหลือในระยะยาวก็มี ความจำเป็นเหมือนกัน... เป็นผลว่าเขาได้รับการดูแลเหลียวแลมาจนกระทั่งได้รับการศึกษาที่สามารถทำมา หากินได้โดยสุจริตและโดยมีประสิทธิภาพ เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ...”

    คณะกรรมการบริหารได้มอบหมายหน้าที่ให้กรรมการช่วยปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น ๖ ฝ่าย คือ ฝ่ายหาทุน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายบรรเทาทุกข์ ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์ และฝ่ายฝึกอบรม คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครต่างๆ ได้เสียสละเวลา กำลังกาย กำลังทรัพย์ ดำเนินตามพระบรมราโชบายตามเบื้องพระยุคลบาท ออกช่วยเหลือสงเคราะห์ประชาชน ผู้ทุกข์ยากเดือดร้อนทั่วราชอาณาจักร ยังสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพสกนิกรทั้งใกล้ไกล ที่ได้ทรงห่วงใยเอื้ออาทรอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะสนิทแน่นอยู่ในดวงกมลของคนไทยต่อไป


    วัตถุประสงค์ :

    1. เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ
    2. เพื่อให้การสงเคราะห์ด้านการศึกษา

    2.1 ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีเยี่ยมในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และเด็กกำพร้า หรืออนาถา ที่ครอบครัวประสบสาธารณภัย
    2.2 บูรณะ ซ่อมแซม ปรับปรุง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์

    3. เพื่อให้มีการป้องกันสาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ
    4. เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือเป็นส่วนรวมแก่ประชาชนที่ได้รับความทุกข์ยาก เดือดร้อนประการ อื่น ซึ่งคณะกรรมการบริหารพิจารณาเห็นสมควร และได้รับความเห็นชอบจากนายกมูลนิธิฯ

    [​IMG]
    กิจกรรมมูลนิธิ :

    1. มอบทุนพระราชทานการศึกษาสงเคราะห์ต่อเนื่องแก่นักเรียนกำพร้าที่ครอบครับประสบธารณภัยต่าง ๆ
    2. ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการสร้างโรงเรียนที่ประสบสาธารณภัย และสร้างโรงเรียนให้สำหรับบุตรหลานที่ประสบภัยในจังหวัดต่าง ๆ
    3. สงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยกรณีต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวม 1,258,822 ครอบครัว จำนวน 6,630,412 คน มอบสิ่งของพระราชทานแก่ผู้ประสบสาธารณภัยตามแผนปฏิบัติงานร่วมกันที่ ตกลงไว้กับกรมประชาสงเคราะห์ ได้แก่ เครื่องครัว เครื่องนอน วัสดุซ่อมแซมบ้าน ข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องใช้ ที่จำเป็นสำหรับครอบครัว ทุนพระราชทานการศึกษาสงเคราะห์ และความเดือนร้อนประการอื่น


    มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมป์

    .

    http://palungjit.org/threads/%E0%...ml#post4557010

    -http://palungjit.org/.179/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%81-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.22445/page-2233#post4557010-
    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กทม.เตรียมเปิดประตูชั้นในระบายน้ำเหนือ

    ผู้ว่าฯกทม.เผยเตรียมเปิดประตูชั้นในระบายน้ำเหนือออกทะเลหลังปริมาณฝนลด เตือนประชาชนเฝ้าระวังคันกั้นน้ำทุกจุดใกล้ชิด

    [​IMG]

    แผนที่แสดงแนวกั้นกระสอบทรายบริเวณคลองหกวาสายล่าง ที่ป้องกันน้ำท่วมเขตสายไหม


    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ภาพรวมสถานการณ์น้ำในวันที่ 18 ต.ค.ยังคงปกติ โดยคาดว่าปริมาณฝนจะลดลง กทม.จึงเตรียมเปิดประตูระบายน้ำในเขตพื้นที่ชั้นใน เพื่อเร่งระบายน้ำจากด้านเหนือลงสู่ด้านใต้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในย่านปริมณฑล โดยระดมกำลังทุกภาคส่วนป้องกันเขตสายไหม เสริมกระสอบทรายสูงอีก 50 ซม.
    ทั้งนี้ การเสริมแนวคันกั้นน้ำบริเวณคลองหกวาสายล่าง (ถนนเลียบคลองสอง) เขตสายไหม โดยต้องใช้กระสอบทรายถึง 2 ล้านใบ โดย กทม.ได้รับการประสานจากรัฐบาลว่าจะมอบกระสอบทรายจำนวน 1 ล้านใบ และภายในวันนี้รัฐบาลจะจัดส่งถุงใส่ทรายจำนวน 8 แสนใบ รถบรรทุกทราย 25 คัน รวม 1 หมื่นคิว และยังมีรถบรรทุกทรายของ กทม.ที่จะทยอยส่งมายังสถานที่บรรจุทรายอีก 50 คัน
    "ขณะนี้ความเสี่ยงของ กทม.อยู่ที่แนวคันกั้นน้ำชั่วคราวทุกแห่ง เช่น ที่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ เขตเทศบาลตำบลหลักหก คลองหกวาสายล่าง เขตสายไหม เพราะหากแนวคันกั้นน้ำพังจะทำให้น้ำทะลักเข้ามาได้ กทม.ขอความร่วมมือจากประชาชนให้ช่วยดูแลด้วย" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
    <ins>ยกระดับถ.เลียบคลองสองแล้วเสร็จวันนี้</ins>
    ในส่วนของความคืบหน้าการยกระดับถนนเลียบคลองสอง ให้สูงขึ้นอีก 30 ซม. นั้นคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันนี้ และจะเคลื่อนย้ายกำลังเจ้าหน้าที่ไปทำถนนยกระดับเพื่อเป็นแนวคันกั้นน้ำใน บริเวณซอยสายไหม 85 ให้สูงขึ้นอีก 30 ซม. โดยคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 วันครึ่ง
    <ins>วอนประชาชนเฝ้าระวังแนวคันกั้นน้ำอย่างใกล้ชิด</ins>
    สำหรับแนวคันกั้นน้ำทั้งหมดมีความเสี่ยงในการถูกทำลาย ขอความร่วมมือให้ประชาชนร่วมเฝ้าระวังแนวคันกั้นน้ำ ซึ่งกรุงเทพมหานครเองก็ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทำความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ด้วย
    ขณะที่ศูนย์ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครระบุว่า เมื่อน้ำเข้าสู่คลองรังสิตกรุงเทพมหานครได้เตรียมตั้งรับที่ประตูระบายน้ำ หลัก 6 อย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้น้ำทะลักเข้าพื้นที่ตอนเหนือของดอนเมือง และหากน้ำผ่านคันกั้นนี้มาแล้ว กรุงเทพมหานครยังมีถนนเป็นแนวกั้นอีกชั้นที่ถนนแจ้งวัฒนะ
    ส่วนด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร หากน้ำทะลักเข้ามาพื้นที่คลอง 1-10 น้ำจะลงมาที่คลองรังสิตเช่นกัน หากคลองรังสิตไม่สามารถรับน้ำไว้ได้ น้ำจะทะลักเข้ามาที่คลองหกวา ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้เร่งเสริมคันกระสอบทรายเพิ่มขึ้นอย่างเร่งด่วนแล้ว

    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1./116956/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    น้ำท่วมกายแต่ไม่ท่วมใจ พี่น้องไทย...สู้ๆๆ


    น้ำท่วมไทยปี 2554 สาหัสสากรรจ์นัก ตั้งแต่เกิดมาครั้งนี้ถือว่าหฤโหดสุด ตอนนี้คนที่ประสบภัยน้ำท่วมต้องเผชิญปัญหารอบด้าน
    โดย...หาตุ้ย
    น้ำท่วมไทยปี 2554 สาหัสสากรรจ์นัก ตั้งแต่เกิดมาครั้งนี้ถือว่าหฤโหดสุด ตอนนี้คนที่ประสบภัยน้ำท่วมต้องเผชิญปัญหารอบด้าน ทั้งความไม่สะดวกในความเป็นอยู่ การกิน การนอน รวมไปถึงการขับถ่าย หลายครอบครัวทั้งบ้าน รถยนต์ ทรัพย์สินเงินทอง พื้นที่การเกษตรเสียหายสิ้น หนี้สินจ่อท่วมตัว เกินที่จะทำใจยอมรับได้ บางคนต้องสูญเสียคนที่รัก เกิดเจ็บป่วย นานาปัญหาประดังเข้ามาพร้อมๆ กัน ทำให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรง บางคนเกิดอาการวิตกกังวลและป่วยเป็นโรคซึมเศร้า!!

    [​IMG]

    ภายใต้สภาวการณ์ความทุกข์บีบคั้นรอบทิศเช่นนี้ อย่าเพิ่งท้อแท้และสิ้นหวัง ชีวิตต้องก้าวต่อและขอให้เชื่อมั่นว่าทุกปัญหาย่อมมีทางแก้ และลองเอาคำแนะนำดีๆ ของบุคคลต่อไปนี้ไปปฏิบัติดู เชื่อว่าจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้
    ทำใจรับภัยน้ำท่วมด้วยพุทธวิธี
    คนไทยเดือดร้อนถ้วนหน้าจากวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่คราวนี้ การเยียวยาปัญหาต้องทำทั้งเฉพาะหน้าและหลังจากนั้นซึ่งเป็นเรื่องในระยะยาว แต่ในส่วนของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย แนะนำให้เรียนรู้วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ด้วย “พุทธวิธีทำใจรับภัยน้ำท่วม”
    ประการแรก ถือหลักตนเป็นที่พึ่งของตนไว้ให้มั่น เพราะการมาของน้ำนั้นรวดเร็ว รุนแรง ไม่สนว่าเป็นกลางคืน กลางวัน ห้ามยาก หากมัวแต่รอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐก็จะทำให้แก้ปัญหาอะไรไม่ทัน ต้องพึ่งตนเองก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่นต่อไป

    [​IMG]

    สอง...ต้องยอมเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ หรือยอมสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต ต้องไม่ลืมว่าวัตถุทรัพย์สินเสียไปแล้วหาใหม่อีกเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ถ้าชีวิตเสียไปแล้วก็เหมือนกับจบสิ้นทุกอย่าง อย่าเสียดายสมบัติยิ่งไปกว่าชีวิต ควรดูแลตนเองให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัยที่สุด
    สาม...รักษากำลังใจเอาไว้ให้ดี อย่าสูญเสียกำลังใจเพราะการสูญเสียกำลังใจก็เหมือนการสูญเสียทุกอย่าง
    ประการสุดท้าย รู้จักเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการเรียนรู้ว่าปัญหาน้ำท่วมมาจากสาเหตุอะไร แล้วช่วยกันแสวงหาวิธีแก้ไขที่ยั่งยืนสืบไปในอนาคต เหมือนคำกล่าวที่ว่า...ความทุกข์มาปลุกให้เราตื่น!
    “น้ำท่วมคราวนี้คนไทยควรจะตื่นตัวขึ้นมาอย่างพร้อมหน้าเพื่อร่วมกันแสวง หาวิธีรับมือภัยน้ำท่วมที่ได้ผลในอนาคต จงเรียนรู้จากน้ำ มองน้ำเป็นครู เพื่ออยู่ร่วมกับน้ำอย่างปลอดภัยไม่ยอมให้เกิดวิกฤตซ้ำซากจนกลายเป็นเทศกาล”
    อดได้ ทนได้ รอได้ ด้วยใจดี
    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก วัดสุนันทวนาราม จ.กาญจนบุรี ให้กำลังใจในมุมธรรมะว่า สถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นครั้งนี้เมื่อมองในแง่ธรรมะก็ถือว่าเป็น “เทวทูต” คือเทวดามาเตือนสติว่าชีวิตก็เป็นอย่างนี้ เป็นทุกข์ ไม่มีอะไรแน่นอน จึงไม่ควรใช้ชีวิตอยู่บนความประมาท การสูญเสียทรัพย์สินเงินทองเป็นความทุกข์ แต่ทุกข์มากกว่านั้นก็ยังมี สิ่งนั้นคือความตาย สูญเสียชีวิต และสิ่งนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนและทุกชีวิต
    “การดำเนินชีวิตหรือการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ไม่ว่าจะทุกข์ขนาดไหนก็ตาม เราตั้งมั่นอยู่ในความดีความถูกต้องในทุกสถานการณ์ อดได้ ทนได้ รอได้ ด้วยใจดี
    อดได้ คือ สิ่งที่เราต้องการแต่ไม่มี ทนได้ คือ มีในสิ่งที่เราไม่ต้องการ รอได้ คือ อยากจะได้ อยากจะทำเดี๋ยวนี้ แต่ยังทำไม่ได้ ด้วยใจดี คือ ด้วยใจสงบ ไม่ยินดี ยินร้าย หนักแน่น ไม่หวั่นไหว

    [​IMG]

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ความรักเสมอตนไม่มี หมายความว่า ให้เรารู้จักรักและเมตตาต่อตัวเอง คือทำจิตใจให้มีความสุขได้ในทุกสถานการณ์ พร้อมกันนี้ก็ให้มีสติระลึกรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ให้เอาลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร คือมีลมหายใจเป็นเพื่อนที่ดีอยู่ภายในจิตใจของเราเสมอ แม้แต่ในท่ามกลางวิกฤตการณ์ก็ตาม
    “จงยิ้มน้อยๆ ในใจ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย ทำใจสบายๆ และขอให้ทุกคนมีความหวังและมั่นใจว่าจะผ่านพ้นอุปสรรคครั้งนี้ไปได้ด้วยจิต ใจที่ดี อดได้ ทนได้ รอได้ ถึงแม้ว่าจะต้องตายก็พร้อมที่จะตายด้วยใจดี นี่คือความสำเร็จของชีวิต”
    น้ำท่วมบ้านหลังนอกได้ แต่อย่าให้ท่วมหลังใน (ใจ)
    ตั้งแต่สถานการณ์น้ำถล่ม จ.พระนครศรีอยุธยา เรื่อยมาถึงวันนี้ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต แห่งเสถียรธรรมสถาน ต้องเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ตลอด ทำให้ได้เห็นความทุกข์ของผู้ประสบภัยจริงๆ ซึ่งนอกจากสิ่งของที่ขนไปช่วยแล้วท่านยังได้เรียนรู้ที่จะเยียวยาจิตใจเขา เหล่านั้นไปพร้อมๆ กันด้วย
    “มีคุณยายคนหนึ่งหนึ่งน้ำกัดที่มือมากเลย บอกว่า แกหมดตัวแล้ว ไม่มีอะไรเหลือแล้ว...คุณแม่ก็เลยบอกคุณยายว่า คุณยายขา คุณยายยังเหลือชีวิตที่นั่งอยู่ตรงนี้ ถ้าคุณยายยังเหลือชีวิตอยู่ เรายังจะได้ทั้งหมดกลับคืนมานะคะ
    น้ำเปียกกายเราได้ แต่อย่าให้ใจเปียก น้ำท่วมบ้านหลังนอกเราได้ แต่อย่าให้ท่วมบ้านหลังในหรือใจของเรา ปรากฏว่าคุณยายจากที่หน้าตาเศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา ก็กลับมาสดใสขึ้นในทันที”
    แม่ชีย้ำอีกครั้งว่า เรื่องจิตใจหรือกำลังใจเป็นเรื่องสำคัญมาก ในยามทุกข์ยากลำบาก ทุกคนอย่าได้ท้อแท้ สิ้นหวัง แต่จงเข้มแข็ง อดทน ถึงจะไม่เหลืออะไร ก็ขอให้ “เหลือชีวิต” แล้วเชื่อว่าทั้งหมดจะได้คืนกลับมา
    รู้สึกเครียดก็จงระบายออกมาเถิด
    นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ แนะวิธีตั้งสติรับวิกฤตที่เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากการยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่าภัยพิบัติครั้งนี้ไม่ได้เกิด กับเราคนเดียว แต่มีเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกเยอะ พร้อมคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นที่สุดจะต้องผ่านไปได้ จากนั้นให้รวบรวมสติมองปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อช่วยลดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น

    [​IMG]


    “ปัญหามีหลายเรื่อง มีเรื่องสำคัญน้อยแต่ด่วน เช่น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการอยู่ การกิน การนอน ห้องน้ำ การขับถ่าย ปัญหาสำคัญต้องแก้ไขในระยะยาวก็มี เช่น การป้องกันน้ำท่วมจะทำอย่างไร ซึ่งก็เป็นเรื่องใหญ่แต่ไม่ด่วน การช่วยเหลือจากรัฐบาลหลังน้ำลด การเตือนภัย และอื่นๆ ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ต้องแก้แต่ก็ยังไม่ด่วนเท่าชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงที่ ประสบกับปัญหา”
    การจัดลำดับความสำคัญจะช่วยลดความวิตกกังวลไปได้ เรื่องไม่ด่วนวางไว้ก่อน อะไรด่วนมากที่สุดค่อยๆ แก้ไปทีละข้อ เพราะการที่แก้ปัญหาได้สำเร็จไปทีละอย่างจะช่วยทำให้เกิดความมั่นใจ กำลังใจก็จะค่อยๆ เกิดขึ้นจนกลายเป็นความเชื่อมั่นว่าจะสามารถผ่านวิกฤตนี้ไปได้
    “คนที่ประสบภัยต้องปรับวิธีคิดและปล่อยวางเรื่องทรัพย์สินสิ่งของนอกกาย อนาคตยังมีโอกาสหาใหม่ได้ พยายามใช้ชีวิตเรียบง่ายเพื่อลดการที่จะทำให้รู้สึกเครียดลงไป เพราะหลายคนเครียดเพราะเป็นห่วงทรัพย์สิน นอกจากนี้ก็ให้เอาใจใส่ดูแลกันและกัน คนแข็งแรงต้องช่วยคนที่อ่อนแอ ต้องคอยให้กำลังใจคนที่รู้สึกหมดแรง ท้อแท้ ให้คนที่รู้สึกเครียดได้ระบายความรู้สึก รับฟัง และให้กำลังใจเขา แค่นี้ก็จะช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น”
    ขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วมสู้ต่อไปครับ อย่าท้อแท้สิ้นหวัง เราคนไทยทั้งประเทศของเป็นกำลังให้ด้วยจิตเคารพ...สู้ๆ ครับ


    -http://www.posttoday.com/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/116837/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%86%E0%B9%86-


    http://www.posttoday.com/ไลฟ์สไตล์/ไลฟ์/116837/น้ำท่วมกายแต่ไม่ท่วมใจ-พี่น้องไทย-สู้ๆๆ
    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    พระเทพฯพระราชทานของช่วยน้ำท่วม

    [​IMG]



    สมเด็จ พระเทพฯ มีรับสั่งให้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมภายในที่ดิน ของมูลนิธิชัยพัฒนา รวมถึงสถานที่ราชการที่มีศักยภาพรองรับผู้ประสบภัย

    เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะข้าราชการกองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำโดย นายประดิษฐ์ อารย์โพธิ์ทอง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ สำนักราชเลขาธิการ ช่วยราชการกองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ลงพื้นที่ประสบอุทกภัย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อนำสิ่งของพระราชทานไปมอบให้ผู้ประสบภัย ได้แก่ ศูนย์ป้องกันภัยทางอากาศ อ.วังน้อย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย ประชาชนในพื้น อ.บ้านแพรก วัดชูจิตรธรรมาราม อ.วังน้อย วัดมฤคทายวัน ต.เทพมงคล อ.บางซ้าย และพระตำหนักสวนปทุม จ.ปทุมธานี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย


    พร้อมกันนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา มีพระราชกระแสรับสั่งให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัย โดยการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ในที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่มีความพร้อมและอยู่ใกล้พื้นที่ประสบอุทกภัย รวมถึงสถานที่ราชการที่มีศักยภาพสามารถรองรับผู้ประสบอุทกภัยได้ ปัจจุบันมูลนิธิชัยพัฒนามีศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมรวม 5 ศูนย์ ได้แก่ 1.ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 2.ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ในที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ โรงสีข้าวมูลนิธิชัยพัฒนา (ศูนย์สาธิตและพัฒนาพลังงานทดแทนแบบครบวงจร) อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 3.ศูนย์ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ โรงเรียนนารายณ์ศึกษา อ.เมือง จ.ลพบุรี 4.ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพภาคที่ 1 ประจำพื้นที่ภาคกลาง อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 5.ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ในที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ โครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา ต.บ่อพลับ อ.เมือง จ.นครปฐม
    ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้ใช้ที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาในที่ต่างๆ ในการดำเนินการให้ประชาชนสามารถใช้เป็นที่อพยพ และติดต่อประสานความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยด้วย

    -http://www.komchadluek.net/detail/20111018/112194/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AF%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1.html-

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ปราโมทย์ ไม้กลัด : แก้วิกฤตน้ำท่วมไม่น่าวิตกเลย จะสู้ไม่ได้เพราะปอดแหกกัน <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">18 ตุลาคม 2554 16:47 น.</td></tr></tbody></table>


    "พระเจ้าอยู่หัวท่านสร้างหลักว่าจะทำอะไรต้องเข้าใจและเข้า ถึง ปัญหาคือตอนนี้ทุกคนไม่รู้ว่าปัญหามันมาจากอะไร เพราะอะไร ธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน สภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ แต่ละพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำแตกต่างกัน และพฤติกรรมของน้ำในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน งานนี้ยังไงก็ต้องมีแม่ทัพ หากไม่มีผู้บัญชาการอย่างคนที่รู้จริงๆ แล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เวลานี้แก้ปัญหาเลอะเทอะสะเปะสะปะกันไปหมด"

    หมายเหตุ - ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) สัมภาษณ์ “ปราโมทย์ ไม้กลัด” อดีตอธิบดีกรมชลประทาน บุคคลอีกผู้หนึ่งที่เฝ้าติดตามวิกฤตปัญหาน้ำท่วมมาอย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันจะเกษียณอายุมาเป็นเวลานานถึง 12 ปีแล้ว แต่ด้วยประสบการณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องน้ำมาตลอดชีวิต จนถึงทุกวันนี้ หากไม่ติดตามปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ก็มักจะเดินทางเข้ามาสำรวจปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าเขื่อนกรมชลประทาน แทบทุกวัน ก่อนให้ข้อมูลด้วยความมั่นใจว่า ประชาชนในกทม.ไม่ควรตื่นตระหนกกับสถานการณ์ในขณะนี้เกินเหตุ

    00 อยากให้อาจารย์ประเมินสถานการณ์น้ำในกทม.จะรุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายวิตกหรือไม่

    ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านกรมชลประทาน ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้าขณะนี้เป็นกรณีเหมือนที่เคยเกิดในอดีต เป็นปกติไม่ได้มากมายชนิดที่จะต้องหวาดวิตก หากดูปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนบางไทรซึ่งเป็นต้นทางที่จะเข้า จ.ปทุมธานี นนทบุรีและกรุงเทพก็ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะแปรผันอย่างวิปริต แล้วน้ำที่ไหลจากเจ้าพระยาที่จะเข้ากรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ไหลพรวดพราด เหมือนน้ำที่ นครสวรรค์ และอยุธยา ระดับจะค่อยๆ เปลี่ยนไป ปริมาณจะค่อยๆ เปลี่ยนไป

    เวลานี้เราต้องดูระดับน้ำที่ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า ต้องตรวจวัดกันทุกวัน ในช่วงที่จะขึ้นสูงสุดทุกวัน ซึ่งระดับน้ำตรงนี้จะเปลี่ยนแปลงทุกวัน หากมีน้ำทะเลหนุนสูงก็จะมีช่วง 14-15 ต.ค. ซึ่งน้ำทะเล จะหนุนสูงที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าที่สันดอน ที่ช่วงนี้จะหนุนสูงกว่าปกติประมาณ 20 เซนติเมตร ระดับความสูงจะค่อยๆ เรียงลงมา ระดับอาจจะขึ้นสูงสุดในวันที่ 15 ต.ค. (ณ วันที่ 18 ต.ค. 2554 กทม.ระบุว่าน้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้งช่วง 28-30 ต.ค. 2554)

    00 แสดงว่าปริมาณน้ำในขณะนี้ไม่น่าวิตกและไม่จำเป็นต้องประกาศแผนฉุกเฉิน

    วิเคราะห์ตัวเลขแล้วไม่เห็นจะน่าวิตกเลย และตัวเลขแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน เพราะเมื่อก่อนยิ่งกว่านี้อีก การ ประกาศภาวะฉุกเฉินต้องหมายความว่ากทม.ล้มระเนระนาด เอาไม่อยู่ ผมก็สงสัยว่าเอาไม่อยู่คืออะไร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.และผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำกทม.ก็ยืนยันมาโดยตลอดว่า คันกั้นน้ำของเขาระดับที่กทม.ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าสูง 2.50 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง แล้วขึ้นเรื่อยไปที่ปทุมธานีและนนทบุรี แล้วยังไงต่อ จะบอกไม่แน่ใจไม่ได้ เพราะการจัดการน้ำไม่ใช่เรื่องของปีนี้ปีเดียว

    00 พายุบันยังที่กำลังจะมาทำให้คาดเดาปริมาณฝนเพิ่มขึ้นหรือไม่

    ยังไม่มาหรอก พายุจะเข้าหรือไม่ยังไม่ทราบ มันอยู่ไกลตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะมินดาเนา และเวียดนามอาจต้องรับเคราะห์ก่อนเรา ทิศทางของพายุเราจะโดนแค่หางๆ อาจจะผ่านภาคกลางหรือกทม.ฝนตกตรงๆ คงจะไม่เข้าไปที่ภาคเหนือแน่นอน เพราะร่องความกดอากาศมันเปลี่ยน ทิศทางเกิดในละติจูด 5 องศา ใกล้กับแนวศูนย์สูตรแล้ว แต่ตรงนี้จะทำให้เกิดฝนตก น้ำขัง ล้อมรอบสนามบินหนองงูเห่า ซึ่งขังก็ต้องสูบออกในพื้นที่ภาคตะวันออกนอกคันกั้นน้ำจะเกิดน้ำขัง ตั้งแต่เขต มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บึงกุ่ม พื้นที่พวกนี้จะเกิดน้ำขัง

    ซึ่งต้องเข้าใจว่า น้ำฝนขังมันคนละน้ำกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอาจจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลงนิดหน่อย เพราะฝนตกแผ่กระจายลงไปในทุ่ง ตกในกทม.ก็จะไม่ออกแม่น้ำ เพราะน้ำเยอะ ก็ต้องเกิดน้ำท่วมขัง กทม.ก็ต้องสูบออก มันแยกน้ำกันอยู่ในตัวแล้ว

    น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาจะมาจากอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ฝนตกในภาคกลางจะตกอยู่ในพื้นที่รวมกอง ทำให้มีน้ำขัง ออกเจ้าพระยาไม่ได้ เพราะเจ้าพระยาสูง และเหตุการณ์ที่จะเกิดไม่ใช่ 2-3 วันนี้ แต่อีก 7 วันข้างแน่นอน แต่ถ้าพายุมาเวียดนามจะต้องรับเคราะห์ก่อนไทย ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องมีสติแยกน้ำให้ออก ผมไม่กลัวหรอกหากฝนตกตรงๆ ในพื้นที่ขัง มันสูบออกได้ น้ำที่ผ่านกทม.เป็นน้ำข้างบนจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน อย่างเดียว ซึ่งยังไม่เคลื่อนลงมาเต็มๆ มันยังไม่รวมตัวเป็นจุดใหญ่ทีเดียวที่นครสวรรค์ ที่ต้องจับตาคือ แม่น้ำปิง ซึ่งเป็นสายน้ำที่แปรผัน เนื่องจากฝนตกที่ จ.กำแพงเพชร จ.ตาก

    เวลานี้มวลน้ำแม่น้ำปิงกำลังเคลื่อนย้ายมานครสวรรค์ ผมก็ตรวจสอบปริมาณน้ำที่นครสวรรค์ทุกชั่วโมง มันไม่มีขยับยังคงที่ 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แม่น้ำปิงมวลใหญ่มาก็ต้องขยับ แต่ตรงนี้อย่างนำไปโยงกับเขื่อนคันกั้นน้ำที่นครสวรรค์แตก เราต้องดูตัวมวลน้ำว่ามันขยับขึ้นหรือไม่ เป็น 4,600 -4,700 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที ก็ลงมาที่เขื่อนชัยนาท ซึ่งคงที่มาหลายวันที่ระดับ 3,640 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นี่คือมวลน้ำที่จะเข้ามาต่อเนื่องที่กทม.และมวลนี้จะมาสมทบกับแม่น้ำป่าสัก ตอนล่าง แม่น้ำป่าสักถ้าพายุไม่เข้าปริมาณน้ำก็ลงลงทุกวัน น้ำมวลนี้ไปไหนไม่ได้ ก่อนที่มากรุงเทพ ถึงเขื่อนเจ้าพระยา เขาก็แจกมาข้างๆ ลง ท่าจีน บางปะกง ก็เหลือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาในระดับคงที่

    00 ถ้าระดับน้ำไม่น่าวิตกเหตุใดประชาชนจึงแตกตื่นมาก

    ปัญหาหลักเกิดจากพื้นที่ 3 จุดใหญ่ๆ นครสวรรค์ ลพบุรี อยุธยา ระเบิดเอาไม่อยู่ คันกั้นน้ำพัง ก็เลยมาวาดภาพว่ากทม.คงจะเหมือนกัน ผมก็บอกหลายครั้งแล้วว่าไม่เหมือนมันคนละพฤติกรรมน้ำและคนละพฤติกรรมพื้นที่ บ้านหมี่ ท่าวุ้ง ลพบุรี พื้นที่เป็นท้องกะทะใหญ่ มีคันกั้นน้ำสู้ แต่ประตูระบายน้ำคันมันขาด ทำมาเป็น 10 ปีแล้ว

    00 ทำไมรัฐบาลจึงไม่อธิบายให้ประชาชนเข้าใจเหมือนอย่างที่อาจารย์กำลังอธิบาย

    ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่ากรมชลประทานไปไหนหมด ทำไมไม่พูด ธรรมดาเวลาเกิดเหตุการณ์วิกฤติอย่างนี้ต้องมีแม่ทัพน้ำ คอยบัญชาเหตุการณ์วิกฤติทั้งเรื่องน้ำและที่กั้นน้ำ จะมาบอกที่โน่นที่นี่พังของประชาชนพังก็ต้องบอกว่าที่พังของประชาชน กทม.ต้องตรวจสอบระบบคันกั้นน้ำของตัวเองว่าอยู่ดีหรือไม่ ก็ไม่พูด ผู้ว่าฯกทม.บอกว่า แข็งแรงๆ ก็ต้องกล้าฟันธง และต้องเชื่อมโยงไปที่นนทบุรี ปทุมธานีด้วยว่าสภาพคันน้ำน้ำยังดีอยู่หรือไม่ แข็งแรงหรือไม่ ตอนนี้ใครเป็นแม่ทัพน้ำ

    ในยุคก่อน ผู้หลักผู้ใหญ่ของกรมชลประทานจะมาบัญชาการเอง เพราะรู้เรื่องน้ำดีที่สุด แต่เวลานี้ไม่รู้อะไร และทำอะไรไม่ได้ นอกจากสู้ ก็ต้องถามว่าจะสู้หรือไม่ สู้ก็ต้องถามว่าสู้อย่างไร ทำไมไม่เอาเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ มาวางแนวทางกั้นน้ำฝนกทม.ที่เชื่อมกับปริมณฑล ต้องรู้ว่า น้ำท้ายคลองรังสิต เป็นอย่างไร ระบบวางไว้ให้แล้ว การป้องกันอยู่ที่ไหน ตรงไหนจำเป็นต้องเสริม ต้องซ่อมแซม ขณะนี้ไม่มีใครตอบได้

    00 ขณะนี้ดูเหมือนว่าระบบการบริหารจัดการและการป้องกันน้ำของแต่ละจังหวัดล้มเป็นโดมิโน

    มันต้องล้มครับ เพราะทุกแห่งสู้น้ำหมด ผมก็บอกว่าสู้ไม่ได้ทั้งหมด เพราะน้ำไม่สามารถไปอยู่ที่ที่เคยอยู่หรือที่ที่เคยรวมกองได้ มันก็สร้างตัวเองขึ้นมาเป็นระดับน้ำสูงพลังมันก็เยอะ คันทำไว้ไม่ดีก็ล้มระเนระนาดจนดูเหมือนน้ำเยอะ ทั้งๆ ที่มวลน้ำมันก็เท่าเดิม แต่ความสูงมันเยอะ แต่ทีนี้พอมาถึงกทม.มวลน้ำก็มวลเดิม แต่ความสูงไม่ได้เป็นอย่างนั้น มันแผ่กระจายลงมา สถานการณ์น้ำเป็นเรื่องที่ต้องเกาะติดเพื่อจะบอกเหตุการณ์ ว่าอะไรสำคัญที่สุด แต่ละจังหวัดที่เหตุการณ์เกิดขึ้น 10 กว่าปีไม่ใครสนใจจะแก้ปัญหาเลย ไม่มีจริง เมื่อปีกลายก็มีปัญหา ให้รวมตัวสร้างหลักคิด หลักทำ

    พระเจ้าอยู่หัวท่านก็สร้าง หลักว่า จะทำอะไรต้องเข้าใจและเข้าถึงนะ ปัญหาคือ ตอนนี้ทุกคนไม่รู้ว่าปัญหามันมาจากอะไร เพราะอะไร ธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน สภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ แต่ละพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำแตกต่างกัน และพฤติกรรมของน้ำในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน งานนี้ยังไงก็ต้องมีแม่ทัพ หากไม่มีผู้บัญชาการอย่างคนที่รู้จริงๆแล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เวลานี้แก้ปัญหาเลอะเทอะสะเปะสะปะกันไปหมด

    00 รัฐบาลยังพอมีเวลาที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือไม่

    ตอนนี้ทำอย่างนี้ถูกแล้ว คือ เผชิญภัย ด้วยการช่วยเหลือผู้ประชาชนไปก่อน โดยให้มหาดไทยเป็นแกน เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายรัฐบาลต้องตั้งสติว่า ในอนาคตข้างหน้าจะทำอย่างไร ไม่ใช่คิดแบบเดิม อยากจะทำอะไรต้องตั้งงบประมาณ เสนอครม.มาทำยังนี้ไม่สำเร็จ เพราะถ้าคิดโดยไม่รู้ ก็ทำอะไรไม่สำเร็จ ผมบอกได้เลยว่า สตางค์ แก้ปัญหาไม่ได้หรอก ตอนนี้หากเขื่อนหยุดพร่องน้ำลงมาก็อาจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

    00 การตั้งศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จะช่วยแก้ปัญหาได้หรือไม่

    ดูองค์ประกอบแล้วไปไม่ได้หรอก แต่ถ้าแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการช่วยเหลือประชาชนก็พอไปได้ แต่ควรให้มหาดไทยเป็นผู้ดูแล เพราะตอนนี้งานหลัก คือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยส่วนกรมชลฯควรจะถอยออกมาก่อน ส่วนกรมชลจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า สถานการณ์เป็นอย่างไร ประเมินให้เขาให้ถูก และต้องมีกระบวนการตั้งรับที่ชัดเจน คันกั้นน้ำ ที่ไหนมีจุดอ่อน ต้องสำรวจ เฝ้าระวัง วิธีการที่ดีที่สุดในเวลานี้ คือ ปกป้องไม่ให้น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปในเขตเศรษฐกิจ

    00 การพบปะระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์จะทำให้เหมือนมีการร่วมมือแก้ปัญหาหรือไม่

    แก้ปัญหาต้องดูว่าแก้ปัญหา อะไร แก้ปัญหาแบบนักการเมือง มันต้องมาแก้ปัญหาด้านเทคนิคการสู้น้ำกันก่อน ต้องเข้าใจระบบการแก้ไขปัญหาและการป้องกันของกทม. สมัยก่อนอุปกรณ์ไม่พร้อม เราก็สู้ได้ แต่ทีนี้จะสู้ไม่ได้ก็เพราะปอดแหกกัน ออกข่าวมา ระดับน้ำทะเลหนุนสูง มวลน้ำป่าสักมามากจะเกิดปัญหา พายุลูกใหม่กำลังจะเข้ามา พูดทิ้งไว้อย่างนี้ประชาชนก็กังวล

    00 แสดงว่าการแก้ไขปัญหาในอนาคตเราก็ต้องมาบริหารจัดการใหม่ โดยเฉพาะเรื่องชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม

    เราต้องเอาของจริงมาคิด ว่าตัวน้ำแต่ละปีเป็นยังไง ต้องเข้าภูมิประเทศแห่งนั้น ๆ เข้าภูมิประเทศของกทม. ทั้งฝั่งตะวันออก และตะวันตก กทม.เชื่อมกับสมุทรปราการ ออกปากอ่าว จะปกป้องกทม.ยังไงไม่ให้กระทบกับที่อื่น จะทำคันกั้นน้ำอย่างไรให้ไม่ให้กระทบถ้า อ่างทองทำคันกั้นน้ำ สิงห์บุรีทำคันกั้นน้ำ มันก็จะกระทบตลอดมาด้านล่าง กทม.เป็นพื้นที่แบนราบ ก็ต้องแยกเป็น 2 ส่วนว่า ด้านตะวันออกเป็นเขตเศรษฐกิจหรือเปล่า

    00 นักการเมืองไม่ควรเข้ามายุ่งเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหรือไม่

    ถ้าเป็นเรื่องเทคนิคคงต้องปล่อยให้ผู้มีความรู้เรื่องน้ำเป็นผู้ ตัดสินใจ แต่นักการเมืองต้องมาเป็นตัวช่วยในการช่วยเหลือประชาชน อนุมัติงบประมาณ พิจารณาหลักการในการแก้ไขปัญหาในครม. โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากนักเทคนิค แต่ขณะนี้ปัญหากลายเป็นว่าแม่ทัพน้ำในระบบราชการถูกนักการเมืองครอบงำหมด แล้ว จึงทำให้ไม่กล้าตัดสินใจทั้งที่การแก้ปัญหาอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติ นักน้ำ ผู้เชี่ยวชาญน้ำ จะต้องเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์หลัก

    ในหลวงเคยตรัส เมื่อปี 2533 ว่า ไม่มีใครต้องการให้เกิดภัยธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดแล้วเราต้องเข้าใจภัยธรรมชาติ และให้ภัยธรรมชาติเป็นครูที่จะสอนเรา ซึ่งผู้ปฏิบัติหรือผู้มีหน้าที่โดยตรงต้องนำไปแปลว่าจะทำอย่างไรการแก้ไข เรื่องน้ำ จะเดาส่งแบบหมอดูไม่ได้ กรมชลประทานในฐานะนักเทคนิค จะต้องมีบทบาทในการให้ความรู้ความเข้าใจกับนักการเมืองไม่ให้ถูกครอบงำได้ โดยนักการเมืองที่เป็นรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายอำนวยการมีบทบาทในการประสานเพื่อ ให้อำนวยความสะดวกให้คล่องตัว

    (ที่มา : ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2554)


    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132873-

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    พื้นที่ กทม.23 แห่งที่คาดว่าเสี่ยงน้ำท่วม


    พื้นที่ กทม.23 แห่งที่คาดว่าเสี่ยงน้ำท่วม (ไทยพีบีเอส)

    [​IMG]



    ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ระบุว่าจะมีน้ำท่วมเพิ่มใน 23 แห่งของกทม.ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า คันกั้นน้ำแตก พร้อมให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม กทม.จนถึงปลายเดือนนี้

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    แบบจำลองสถานการณ์น้ำท่วมของศูนย์การเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต แสดงให้เห็นว่ามวลน้ำขนาดใหญ่ที่กำลังไหลอยู่ทางตอนเหนือของ กทม. ที่อาจจะเข้าท่วมพื้นที่กทม.เพิ่มขึ้นอีก 23 แห่ง ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าคันกั้นน้ำหรือพนังกันน้ำไม่สามารถกั้นน้ำ หรือคันกันน้ำแตก แต่เครื่องสูบน้ำทุกแห่ง ต้องทำงานได้จริง

    โดย ฝั่งพระนครคาดว่าจะมีน้ำท่วม 6 แห่ง ได้แก่ ดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางคอแหลม ยานนาวา ยานนาวา และสาธร เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมขังได้ สูงประมาณ 1-2 เมตร ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 1 เมตร

    [​IMG]

    ส่วนฝั่งธนบุรี คาดว่าจะมีน้ำท่วม 17 แห่ง ได้แก่ ตลิ่งชัน อรุณอัมรินทร์ บางพลัด บางขุนนนท์ บางขุนศรี จอมทอง บางประกอกในเขตราษฎร์บูรณะ บางขุนเทียน บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย ธนบุรี บางแวกในเขตภาษีเจริญ หลักสอง บางแคและบางแคเหนือ และบางบอน เนื่องจากน้ำจากจังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี อาจจะไหลบ่าล้นคันกั้นน้ำลงมาและไหลเข้าท่วมพื้นที่ได้


    ทั้งนี้ทีมข่าวไทยพีบีเอสลงพื้นที่เขตบางคอแหลม พบว่า ประชาชน ที่อาศัยอยู่ระหว่างแนวถนนเจริญกรุงกับแม่น้ำเจ้าพระยา ได้นำกระสอบทรายทำเป็นคันกั้นน้ำ ขณะที่บางคนก่อคันคอนกรีตถาวรไว้ป้องกันน้ำท่วม แม้ว่าชุมชนวัดลาดบัวขาวจะอยู่ในแนวคันกั้นน้ำถาวร แต่พบปัญหาว่ามีน้ำเอ่อล้นมาตามท่อระบายน้ำ และเข้าท่วมในบางจุดของชุมชนแห่งนี้ ซึ่งชาวชุมชนที่นี่ยังมองว่าเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นสภาพที่เกิดขึ้นทุกปี แต่ไม่ประมาท และติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด

    ขณะ ที่เขตสาทรเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเกิดน้ำท่วม เนื่องจากมีพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 945 เมตร ซึ่งมีบางพื้นที่ไม่มีแนวคันกั้นน้ำ จึงเป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วม ซึ่งกระสอบทรายที่วางเป็นคันกั้นน้ำชั่วคราวซึ่งระดับเดียวกันกับคันกั้นน้ำ ถาวรของ กทม. เป็นแนวทางที่สำนักงานเขตสาทร มั่นใจว่าจะป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ได้ ขณะที่ปัจจัยของปริมาณน้ำฝน ก็เป็นสิ่งที่ทางสำนักงานเขตเป็นห่วง เพราะหากฝนตกหนักก็จะทำให้น้ำท่วมขังได้ แต่ น.ส.พรรณทิพา งามญาณ ผู้อำนวยการเขตสาทร ได้ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่รวมถึงเตรียมแผนในการอพยพไว้แล้ว


    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

    [​IMG]

    -http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A123-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-

    -http://hilight.kapook.com/view/63840-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7_21.jpg
      7_21.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.4 KB
      เปิดดู:
      906
    • 2_16.jpg
      2_16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95 KB
      เปิดดู:
      737
    • 3_18.jpg
      3_18.jpg
      ขนาดไฟล์:
      121.1 KB
      เปิดดู:
      761
    • 5_20.jpg
      5_20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.7 KB
      เปิดดู:
      705
    • 4_14.jpg
      4_14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.4 KB
      เปิดดู:
      653
    • 6_20.jpg
      6_20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      108.9 KB
      เปิดดู:
      725

แชร์หน้านี้

Loading...