พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    จุดอ่อน'การบริหารน้ำ' ใครต้องรับผิดชอบ ? : โต๊ะรายงานพิเศษ

    ปัญหาวิกฤติน้ำในเมืองไทยที่สำคัญ คือ “น้ำท่วม” กับ “น้ำแล้ง” มีการตั้งหน่วยงานรัฐขึ้นมาบริหารจัดการ “น้ำ” ไม่ต่ำกว่า 30 แห่งในหลายกระทรวง หากรวมงบประมาณของโครงการต่างๆ คาดว่าไม่ต่ำกว่าหลักแสนล้านบาทต่อปี แต่ภาพเหตุการณ์เศร้าสลดใจที่ชาวบ้านกว่า 8.5 ล้านคนใน 61 จังหวัดกลายเป็นเหยื่อน้ำท่วม รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งน้ำท่วมสูงปิดหลังคาตึกนั้น

    ทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจคนไทยทุกคนว่า จุดอ่อนการบริหารจัดการน้ำอยู่ตรงไหน และ ใครต้องรับผิดชอบ ?

    คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติระบุว่า ประเทศไทยมีน้ำท่าตามธรรมชาติร้อยละ 86 หรือปีละกว่า 2.1 แสนล้าน ลบ.ม. น้ำเหล่านี้ไหลมาจากลุ่มน้ำหลัก 25 ลุ่มน้ำ และลุ่มน้ำย่อย 254 ลุ่มน้ำ รวมทั้งหมดประมาณ 5.1 แสนตร.กม. เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน, ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งอันดามัน, ลุ่มน้ำสาละวิน ฯลฯ

    ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาการจัดการน้ำของไทยมี 3 ประการ คือ

    1.ปัญหาด้านนโยบายหลัก เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐกำหนดนโยบายและแผนงานฝ่ายเดียว จึงไม่เป็นนโยบายแห่งชาติ ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ขาดความเป็นธรรมและการนำไปปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพ

    2.ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กรบริหารจัดการน้ำ หน่วยงานภาครัฐทำงานซ้ำซ้อนกัน ขาดบูรณาการและขาดความเข้าใจในภาพรวมเรื่องน้ำ ที่สำคัญคือไม่มีข้อมูลเรื่องน้ำที่เพียงพอและไม่ทันเหตุการณ์

    3.ปัญหาด้านกฎหมาย ปัจจุบันให้อำนาจเฉพาะแก่หน่วยงานรัฐในการตัดสินใจ ก่อให้เกิดการจัดสรรน้ำที่ไม่เป็นธรรม และไม่สอดคล้องกับระบบนิเวศและวัฒนธรรมการจัดการน้ำในแต่ละท้องถิ่น

    รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ วิเคราะห์จุดอ่อนการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย ว่ามี 6 ประการหลัก คือ 1.มาไม่บอก 2.ทายไม่ถูก 3.เตือนไม่เชื่อ 4.ห้ามไม่ฟัง 5.คาดไม่ถึง และ 6.สูญเสีย

    “น้ำท่วมปีนี้ผู้ต้องรับผิดชอบคือ เจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 30 กรม เพราะไม่มีการประสานงานกัน ทำให้เกิดความอลหม่าน ต่างคนต่างเห็นเฉพาะปัญหาของตัวเอง เช่น คนดูแลเขื่อนก็เห็นแต่น้ำในเขื่อน คนพยากรณ์พายุเห็นแต่น้ำฝน คนดูแลหมู่บ้านป่าเห็นแต่น้ำในลำคลอง ไม่มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ วิธีเดียวที่จะบริหารจัดการปัญหาน้ำได้อย่างถาวรต้องมีกระทรวงน้ำ ที่สำคัญคือ สภาพแวดล้อมประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เมืองสร้างเพิ่ม พื้นที่ป่าลด ทางไหลของคูคลองน้ำไม่เหมือนเดิม จะใช้ข้อมูลเก่าๆ มาบริหารน้ำไม่ได้”

    ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำอธิบายต่อว่า ปัญหาน้ำเกิดจาก 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เกิดจากสภาพธรรมชาติเอง (water-related natural disaster) เช่น ปริมาณฝนที่ตกลงมากหรือสภาพทางน้ำที่ตื้นเขิน ความลาดชันของพื้นที่ ตลอดจนภาวะดินถล่มที่เกิดจากธรณีพิบัติ ฯลฯ ส่วนที่ 2 เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง เช่น ใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม ทำลายป่าต้นน้ำในพื้นที่สูงชันหรือรุกล้ำทางน้ำ การเข้าตั้งถิ่นฐานในเขตเสี่ยงภัยน้ำท่วม ฯลฯ สำหรับทางอ้อมเช่น สภาพภูมิอากาศแปรปรวนจากภาวะโลกร้อน นโยบายที่ผิดพลาด เช่น ส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่ลาดชันหรือในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ แม้กระทั่งนโยบายจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ผิดพลาด ฯลฯ

    รศ.ดร.กัมปนาท สรุปจุดอ่อนการบริหารจัดการน้ำของไทยว่า มักเป็น "เชิงรับ" มากกว่า "เชิงรุก" ไม่มีการเตรียมพร้อมในภาวะก่อนเกิดภัยน้ำท่วมหรือน้ำแล้ง เช่น การซักซ้อมเส้นทางอพยพหนีภัย การขุดลอกช่องทางระบายน้ำ การเตรียมระบบสำรองไฟฟ้า สำรองน้ำดื่มน้ำใช้ นอกจากนี้ยังไม่มี “การพยากรณ์จุดพิบัติของลุ่มน้ำ” (carrying capacity) ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่ถูกมองข้าม เช่น การทำนายขนาดและสภาพพายุ จุดที่จะเกิดฝน จุดเกิดน้ำท่วม รวม ถึงต้องมีการจำลองจุดเกิดดินถล่ม การทำนายที่ดีต้องแม่นยำ ปัจจุบันมี 30 กรมจากหลายกระทรวง ทำให้ไม่มีผู้รับผิดชอบที่แท้จริง รัฐบาลทำได้แค่บริจาคเงินหลังเกิดน้ำท่วมไปแล้ว

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา เครือข่ายนักวิชาการด้านน้ำร่วมกันจัดประชุมหัวข้อ “ทิศทางการวิจัยเพื่อการจัดการน้ำของชาติ” ได้ผลสรุปว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อบริหารน้ำให้มีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่คิดกันว่าทรัพยากรน้ำเป็นของทุกคน ทำให้ทุกคนใช้น้ำอย่างเสรีและไม่จำกัด ไม่เคยมีนโยบายประหยัดน้ำอย่างชัดเจย หรือการคำนึงถึงสิทธิการใช้น้ำอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

    ปัจจุบัน คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำเสนอ “ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ” เพื่อเป็นกฎหมายแม่ (Basic Laws) ในการบริหารจัดการน้ำของทุกกระทรวง โดยเฉพาะการบังคับให้หน่วยงานราชการ 30 แห่งเข้ามาทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับสูงสุดพร้อมทำงานประสานกับองค์การบริหารส่วน ตำบล (อบต.) 8,000 แห่งทั่วประเทศให้มากขึ้น ล่าสุดกฎหมายฉบับนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตาม มีบางกลุ่มต้องการให้ทบทวนเนื้อหาบางส่วนใหม่ เพื่อให้ความสำคัญต่อภาคประชาชนมากขึ้น เนื่องจากกลัวว่าทรัพยากรน้ำจะถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือสนับสนุนนายทุน มากเกินไป จนเกษตรกรไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม





    -http://www.komchadluek.net/detail/20111017/111981/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A.html-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    5 เทคนิคฝึกวินัยการเงินวัยรุ่น


    ทุกวันนี้ ครอบครัวไทยเผชิญกับปัญหาทางการเงินมากมาย หลาย ๆ ปัญหาอาจมาจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า บางปัญหามาจากปัจจัยภายใน จากสมาชิกในครอบครัวเองที่ไม่มีวินัยทางการเงินมากพอ โดยเฉพาะในลูกวัยรุ่นที่มักถูกสื่อโฆษณาต่าง ๆ ล่อใจให้หลงไปกับวัตถุได้ง่าย วันนี้เรามีเทคนิคบางประการเพื่อการฝึกวินัยทางการเงินที่ทำได้ง่ายสำหรับ ครอบครัวไทยมาฝากกัน เริ่มจาก

    <table align="Left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="350"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> 1. ฝากเงินให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก และเมื่อเขาโตพอ ให้เขาเก็บจากค่าขนมเท่าที่พวกเขาพอมีสมทบร่วมด้วย

    คุณพ่อคุณแม่อาจฝากเงินเข้าบัญชีให้ลูก ลองฝากเริ่มต้นเดือนละ 500 บาท ตั้งแต่ลูกเข้าเรียนชั้น ป.1 พอครบ 1 ปี ก็จะมีเงินเก็บแล้ว 6,000 บาทไม่รวมดอกเบี้ย (อันน้อยนิด) และเมื่อลูกจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เงินเก็บก้อนนี้ก็จะมีกลายเป็น 72,000 บาท (ไม่รวมดอกเบี้ยอันน้อยนิดด้วยเช่นกัน)

    แต่ถ้ายังฝากต่อไป และลูกโตขึ้น อาจมีเงินค่าขนมมาฝากได้มากกว่าเดิม สมมติฝากเพิ่มเป็นเดือนละ 1,000 บาท เมื่อจบปริญญาตรี เขาก็จะมีเก็บเงินได้อีก 48,000 บาท รวมเป็น 120,000 บาท ไม่น้อยเลยทีเดียว...

    ข้อแม้ของการฝากเงินนี้มีเพียงหนึ่งคือ ห้ามถอนออกมาใช้ไม่ว่ากรณีใด ๆ
    อีกประการหนึ่ง การกำหนดยอดเงินฝากในแต่ละเดือนจึงควรพิจารณาจากความเป็นไปได้ มีมากเก็บมาก มีน้อยเก็บน้อย แต่เก็บให้สม่ำเสมอ เดือนละเท่า ๆ กัน ก็เป็นการสร้างวินัยทางการเงินที่ดี ที่สำคัญ ในขณะที่ฝากเงิน ควรพาลูกไปด้วย และให้ลูกได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในธนาคาร

    2. สอนให้ลูกรู้จักการออมเงินในรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากการฝากธนาคาร

    การสอนให้ลูกวัยรุ่นรู้จักการออมเงินในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากการหยอดกระปุกก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ถ้าเริ่มต้นอย่างง่ายอาจใช้บัญชีเงินฝากประจำ เพราะการเบิกเงินจากบัญชีชนิดนี้ทำได้ยากกว่าบัญชีประเภทอื่น ๆ ดังนั้น ทั้งตัวคุณเองและลูก ๆ จะรู้สึกยุ่งยากลำบากใจหากต้องเสียเวลาไปเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าว ทำให้เงินก้อนนี้อยู่ได้ยาวนานมากกว่า มากไปกว่านั้น ลองมองไปถึงการออมเงินด้วยการทำประกันร่วมด้วยก็ได้

    3. ใช้บัตรเดบิต แทนบัตรเครดิต

    ยุคนี้มันก็ต้องมีบ้างกับบัตรเดบิตเพื่อความสะดวกในแง่ต่าง ๆ แต่สำหรับบัตรเครดิตนั้นคงยังไม่จำเป็นสำหรับลูก ๆ มากนัก เราคงจำกันได้กับโฆษณาบางชิ้นที่พ่อแม่ทำบัตรเครดิตให้ลูกเป็นของขวัญวันจบ การศึกษา แต่ถ้าไม่ได้สอนวินัยการใช้บัตรเครดิตก็อาจต้องมาใช้หนี้กันหัวโตอยู่ดี ส่วนบัตรเดบิตนั้น นอกจากช่วยจำกัดการใช้จ่ายไม่ให้ใช้จ่ายเกินเงินที่มีอยู่ในบัญชีแล้ว มันก็ใช้งานง่ายไม่ต่างกับเงินสด หรือบัตรเครดิตแต่อย่างใด แค่ต้องใช้อย่างมีจิตสำนึกเท่านั้นเองค่ะ

    4. ให้เขาทำงานพิเศษ

    หากพ่อแม่มองว่าการทำงานพิเศษก็เหมือนการหาประสบการณ์ แถมยังมีรายได้เพิ่มมาด้วยก็ควรอนุญาตให้ลูกไปทำงานพิเศษตามที่เขาสนใจ แต่ต้องเป็นงานพิเศษที่สุจริต ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ไม่ก่อความเสียหายแก่ส่วนรวม เช่น ถ้าลูกถนัดกีฬา หรือว่ายน้ำเก่ง ก็ลองเป็นอาจารย์สอนว่ายน้ำให้กับเด็ก ๆ เป็นต้น

    5. เป็นตัวอย่างที่ดีด้านการใช้เงิน

    พ่อแม่ควรเป็นต้นแบบด้านการบริหารเงิน ซึ่งสามารถทำได้ในหลาย ๆ ทาง ยกตัวอย่างเช่น
    - จ่ายบิลตรงตามกำหนด
    - มีบัตรเครดิต - บัญชีธนาคารเท่าที่จำเป็น ไม่ควรมีหลาย ๆ ใบ หรือใช้จนวงเงินเต็มแทบทุกใบ
    - มีวินัยทางการเงิน เก็บเงินอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
    - ให้ความสำคัญกับการรักษาสถานภาพทางการเงินของครอบครัว
    - ไม่นำเงินไปเล่นการพนัน หรือข้องแวะกับอบายมุขในรูปแบบต่าง ๆ

    เรื่องของการมีวินัยด้านการเงิน หลายท่านอาจจะรู้สึกว่าทำยาก และลำบาก แต่เราอยากบอกว่าลองทำดูเถอะค่ะ เพราะมันเป็นวัคซีนอีกตัวหนึ่งที่จำเป็น ซึ่งถ้าหากไม่ฉีดวัคซีนดังกล่าวให้กับลูก ๆ วัยรุ่นในปัจจุบันนี้แล้วล่ะก็ ยามที่เขาออกไปเผชิญโลกกว้าง บอกได้คำเดียวว่า "อันตรายค่ะ"

    -http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131897-


    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    แผนรองรับฉุกเฉินกรณีกรุงเทพน้ำท่วม


    โดยคณานันท์ ทวีโภค รักในหลวงเมื่อ 17 ตุลาคม 2011 เวลา 17:31 น.


    kananun หัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ



    เป็นแผนรองรับกรณีฉุกเฉินหากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงในเขตกรุงเทพมหานคร
    เนื่องจาก มีผู้อาศัยอยู่หน่าแน่นมาก ประชากร เกือบ 10 ล้านคน หากไม่ได้จัดเตรียมแผนฉุกเฉินสำรอง ย่อมเกิดความโกลาหลและความยากลำบากต่อพี่น้องประชาชนอย่างยิ่ง

    ตอนพิมพ์อยู่ก็ได้ข่าวมาตามที่คาดไว้อีกแล้ว ขอให้ส่งแชร์ด่วนที่สุดครับ

    ขอเริ่มที่ภาคประชาชนอย่างพวกเรากันก่อน

    เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมรุนแรงที่สุดเอาไว้ก่อน แต่ละบ้านแต่ละครอบครัวปรับแผน รับมือเป็นลำดับ(ตามสถานการณ์ ตามพื้นที่ ตามความพร้อม)
    -วิเคราะห์ก่อนว่าบ้านของเราเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมแค่ ไหน หากท่วมน้ำจะมาทางด้านไหนของเมือง น้ำไหลเข้าบ้านจากจุดไหนได้บ้าง ติดตามข่าว ปรับระดับการเตรียมพร้อม
    -กันน้ำเข้าบ้านเรือน
    -นำข้าวของเก็บขึ้นที่สูง เก็บของมีค่า และเอกสารสำคัญเอาไว้เป็นหมวดหมู่
    -จัดระเบียบ จัดเตรียมอาหารน้ำของใช้จำเป็นต่อชีวิตเอาไว้ใกล้มือ ใกล้ตัว
    -หากมีเครื่องกรองน้ำ มีภาชนะขวด ใส่น้ำได้ ให้กรอกน้ำดื่มสะอาดเตรียมเอาไว้ก่อน ให้มากที่สุด
    -อาหารเตรียมเอาไว้ สำรองให้ได้ 1 เดือนไม่จำเป็นต้องเป็นมาม่า ปลากระป๋อง ลองคิดให้แตกต่างดู อาหารที่ชอบจะได้ไม่เครียดเกินไป
    -ยาประจำตัว เน้น ยาแก้น้ำกัดเท้า ผื่นคัน แก้ไข้
    -หาอุปกรณ์ชูชีพ แพสำหรับทุกคนในบ้าน ในกรณีที่อาจต้องออกมาภายนอกบ้านหรืออพยพ ซึ่งอาจทำเองจากขวดน้ำพลาสติค
    -จัดหาวิทยุทีีใช้ถ่านไฟฉายมาเอาไว้สำหรับฟังข่าวสาร หากไม่มีไฟฟ้า
    -นำรถไปจอดในที่สูง
    -เตรียมหนังสือดีๆเอาไว้อ่าน หนังสือธรรมมะ เพลงเพราะๆ เพื่อปรับอารมณ์ไม่ให้เครียด
    -หากมีเวลาและความสามารถพอ ปลูกต้นไม้กินใบง่ายๆ ปักชำใส่กระถางแขวนเอาไว้ แยกเอาไว้ให้มากที่สุด
    -วางแผนอพยพ คิดหาข้อมูลสถานที่ที่ใกล้ที่สุด รวมทั้งวิธีการเดินทาง การเคลื่อนย้าย
    -หากเกิดน้ำท่วม ฝึกที่จะคิดในแง่บวก มองโลกในแง่ดี อย่าใช้อารมณ์กันในบ้าน เพราะจะทำให้บดบังสติปัญญาในการแก้ปัญหา
    -เอื้อเฟื้อ แบ่งปันกันในครอบครัว ช่วยเหลือเพื่อนบ้าน เตือนเพื่อนบ้านให้เตรียมตัวเอาไว้ จำเอาไว้ว่าหากคนรอบข้างคุณลำบาก นั่นคือเราทุกคนลำบากด้วยต้องช่วยกัน

    ความหวัง ความเชื่อมั่น การมองโลกในแง่ดีจะช่วยให้ผ่านพ้นเหตุการณ์ไปได้ครับ ขอให้ปลอดภัย

    ภาคของวัด(โบสถ์ มัสยิด)
    เนื่อง จากทุกๆคนเดือดร้อนกันไปหมด จนบางครั้งเราปล่อยปละละเลยหรือนึกถึงวัดและพระ และหลายต่อหลายครั้งยามยาก วัดนี่ล่ะที่เป็นที่พึ่งพิงในยามเกิดภัยพิบัติ
    -ถวายข้อมูลให้พระท่านได้ทราบและเตรียมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่
    -ช่วยพระท่านเตรียมขนของขึ้นที่สูง
    -ช่วยกันป้องกันเขตศาสนสถานสำคัญ
    -ช่วยพระท่านจัดเตรียมอาหารเสบียงในโรงครัว โรงทานของวัด
    -ช่วยพระท่านจัดเตรียมสถานที่ศาลาการเปรียญ หากวัดมีความพร้อมในการช่วยเป็นที่พึ่งพิงต่อชุมชนกรณีที่สามารถจัดตั้งเป็นศูนย์อพยพได้
    -ช่วยพระท่านจัดของสังฆทานที่มีอยู่ให้เป็นระเบียบเพื่อสามารถนำมาใช้ได้ทันที
    -รีบส่งข่าวนี้ให้พระท่านทราบโดยเร็วที่สุดครับ

    ภาครัฐ ถ้าจะกรุณาและเป็นไปได้
    -ใช้แรงงานจากทุกๆทัณฑสถานทำกระสอบทรายและส่งมาช่วยภายนอก
    -เร่งจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือแหล่ง อาหารน้ำสะอาด โดยขอความร่วมมือจาก ภาคเอกชน
    -เร่งประกาศจัดตั้งศูนย์อพยพ โดยขอความร่วมมือจากภาค วัด และเอกชน
    -ปิดกั้น ป้องกันน้ำท่วมเน้นที่จุดสำคัญต่อการให้่ความช่วยเหลือประชาชน และต่อการสื่อสาร การประสานงานจริงๆ
    -ขอความร่วมมือเอกชนในการเอื้อเฟื้อสถานที่เปิดใช้พื้นที่เป็นศูนย์อพยพ โดยเร็ว
    -มาตราการขั้นเด้ดขาดต่อผู้ทำลายซ้ำเติมผู้เดือดร้อนและประสพภัย เพื่อไม่ให้เกิดการจราจล การปล้นชิง โขมยและอาชญากรรม
    -ระดมสรรพกำลังเพื่อการให้ความช่วยเหลือ "ชีวิตของประชาชน"ก่อน

    ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องรักษาเอาไว้ให้ได้ วัตถุสร้างใหม่ หาใหม่ได้ ช่วยแชร์โดยด่วนครับ


    คืนนี้ลองติดตามชมช่องไทยพีบีเอสประมาณ 4ทุ่มครับ

    เตรียมตัวได้แล้วครับ

    ขอให้ทุกๆคนปลอดภัย ทุกข้อมูลมีไว้เพื่อช่วยชีวิตผู้คนให้มากที่สุด


    -http://palungjit.org/threads/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1.310525/-

    .

    http://palungjit.org/threads/แผนรองรับฉุกเฉินกรณีกรุงเทพน้ำท่วม.310525/

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    กทม.ยังไม่ปลอดภัยห่วงสายไหม-ดอนเมือง

    [​IMG]



    ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ระบุกทม.ยังไม่ปลอดภัยวิกฤตน้ำท่วมต้องเฝ้า ระวังต่อเนื่อง ห่วงสายไหม-ดอนเมือง ชาวรังสิตจับตาระดับน้ำประตูจุฬาลงกรณ์ใกล้ชิด
    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า สถานการณ์เฝ้าระวังน้ำท่วมในพื้นที่ กรุงเทพฯ ขณะนี้ยังถือว่าไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะพื้นที่ด้านเหนือของกทม. ในเขตสายไหมและดอนเมือง ยังถือน่าห่วงมากที่สุด เนื่องจากในพื้นที่ติดกันที่ข้ามคลองรังสิตไปยังมีสถานการณ์น้ำเหนือไหลบ่า ลงมา ประกอบกับมีข่าวว่า คันกันน้ำหลายแห่งแตก ซึ่งหากเป็นจริงอาจส่งผลกระทบไปถึงเขตคลองสามวาด้วย
    ส่วนแนวคันกั้นน้ำริมคลองหกวาได้เสริมกระสอบทรายระยะทาง 6 กม.เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อความไม่ประมาทได้สั่งการให้เพิ่มความสูงเป็น 50ซม.เป็นระยะทางอีก 1กม.
    นอกจากนี้ ได้สั่งการให้สำนักการโยธา ยกระดับถนนเลียบคลอง 2 สูงขึ้นอีก 30 ซม. ระยะทาง 1.25 กิโลเมตร เพื่อเป็นแนวคันกั้นน้ำ รวมถึงยกระดับพื้นซอยสายไหม 85 เพิ่มอีก 30ซม.ระยะทาง 1 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันออก ได้เพิ่มกระสอบทรายอีก 6 แสนใบ
    ทั้งนี้ ประชาชนที่ต้องการจะบริจาคทรายสามารถบริจาคได้ที่ศูนย์รับบริจาค กทม.หรือที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต
    ส่วนสถานการณ์น้ำล่าสุดปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนพระราม 6 มีความเร็วการไหลอยู่ที่ 4,238 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้(16ต.ค.) 36 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
    ขณะที่ น้ำทะเลหนุนสูงเมื่อเวลา 09.59 น. อยู่ที่ระดับ 1.08 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาวัดได้ที่ปากคลองตลาดเมื่อเวลา 07.00 น. อยู่ที่ 1.56 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 1.24 เมตร และขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารจากกรุงเทพมหานครอย่างใกล้ชิดและอย่า ตื่นตระหนก
    <ins>เฝ้าระวังระดับน้ำประตูจุฬาลงกรณ์รังสิตใกล้ชิด</ins>
    เจ้าหน้าที่และประชาชนในย่านชุมชนรังสิต ตลาดรังสิต และห้างฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ยังคงเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยระดับน้ำด้านหลังประตูน้ำจุฬาลงกรณ์อยู่ที่ 2.80 เมตร ขึ้นจากวานนี้ 10 ซม. ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงต้องอพยพออกมาเพื่อความปลอดภัย ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปีมีบางซอยน้ำท่วมแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ได้ตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกตลอดเวลา รวมถึงจุดกลับรถใต้สะพานคลอง 1 คลอง 2 ที่มีการนำกระสอบทรายเข้าไปเสริม ด้านประตูน้ำเชียงรากน้อย ด้านหลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตได้เสริมคันกั้นอีก 50 ซม.เพื่อป้องกันน้ำ


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1./116666/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1-%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สมาคมประกันวินาศภัยตั้งศูนย์รับแจ้งเคลมรับลูกค้าทุกบริษัท


    สมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า ทางสมาคมได้ตั้งศูนย์ประสานงาน และอำนวยความสะดวกผู้เอาประกันภัย ที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมเพื่อให้บริการผู้เอาประกันภัยที่ประสบ ภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วม โดยการประสานงานและอำนวยความสะดวกผู้เอาประกันภัยในการเรียกร้องค่าสินไหมทด แทนผู้เอาประกันภัย สามารถติดต่อศูนย์ฯ ของสมาคมประกันวินาศภัย ตั้งแต่เวลา 08.30–20.00 น. หมายเลขโทรศัพท์ 0-2256-6032–8

    -http://www.posttoday.com/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2/116780/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AF%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%A1-


    สมาคมประกันฯตั้งศูนย์รับเคลม - โพสต์ทูเดย์ ข่าวเศรษฐกิจ-หุ้น

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    อาคารสูงก็ต้องเตรียมรับมือน้ำท่วม


    โจนส์ แลง ลาซาลล์ ชี้หากเกิดภาวะน้ำท่วมขึ้น อาคารสูงในกรุงเทพฯ ต้องเตรียมพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์
    นางสุพินท์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์น้ำท่วม มาตรการป้องกันนับเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการมีแผนปฏิบัติการที่จัดเจนในการจัดการให้ผลกระทบเกิดขึ้นในวง จำกัด
    “จุดที่มีความเปราะบางมากที่สุดของอาคารสูงส่วนใหญ่ใน กรุงเทพฯ หากเกิดภาวะน้ำท่วม คือชั้นใต้ดินของตัวอาคาร ซึ่งมีระดับต่ำกว่าระดับพื้นผิวถนน” นางสุพินท์กล่าว


    อาคารส่วนใหญ่ใช้ชั้นใต้ดินเป็นที่จอดรถ ดังนั้น เมื่อมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดภาวะน้ำท่วม ฝ่ายจัดการอาคารควรแจ้งเตือนให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยในอาคารหลีกเลี่ยงการจอด รถในชั้นใต้ดิน แต่ควรจอดในที่จอดรถชั้นบนแทน
    อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ไม่มีที่จอดรถชั้นบน หรือที่จอดรถชั้นบนมีไม่เพียงพอ บางอาคารอาจยังจำเป็นต้องให้สามารถจอดรถในชั้นใต้ดินต่อไปได้ตราบเท่าที่ยัง ไม่เกิดภาวะน้ำท่วมขึ้น แต่ในกรณีดังกล่าว ฝ่ายจัดการอาคารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแผนรองรับ ว่าจะประกาศแจ้งให้เจ้าของรถรับทราบได้อย่างไร และจะสามารถให้รถเคลื่อนย้ายออกจากชั้นใต้ดินของอาคารอย่างมีประสิทธิภาพได้ อย่างไรเมื่อเกิดน้ำท่วม
    นอกจากนี้ อาคารสูงส่วนใหญ่ยังใช้ชั้นใต้ดินเป็นที่ตั้งของศูนย์ควบคุมระบบต่างๆ ของอาคาร อาทิ ระบบไฟ ระบบน้ำ ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบไอที รวมถึงระบบระบายน้ำ ทั้งนี้ อุปกรณ์และเครื่องมือไฟฟ้าหลายๆ ชิ้นอาจสามารถเคลื่อนย้ายไปไว้ในชั้นบนล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสียหายใน กรณีเกิดน้ำท่วม แต่มีอุปกรณ์งานระบบหลายๆ ส่วนที่อาจไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ ให้น้ำเข้าท่วมชั้นใต้ดินได้ เพื่อจำกัดความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
    • เตรียมวัสดุที่สามารถนำมาสร้างแนวป้องกันน้ำได้อย่างเร็ว อาทิ ถุงทราย เพื่อไม่ให้น้ำที่ท่วมภายนอกสามารถเข้ามาในตัวอาคารได้
    • วางแผนล่วงหน้าในกรณีที่จำเป็นต้องอุดจุดเชื่อมระหว่างระบบระบายน้ำของอาคาร กับท่อระบายน้ำในถนนนอกอาคาร เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม อาจเป็นไปได้ที่น้ำจากภายนอกจะทะลักเข้าอาคารผ่านท่อระบายน้ำ
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องสูบน้ำในอาคารอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
    • เตรียมน้ำมันสำรองให้เพียงพอสำหรับพลังงานสำรองฉุกเฉิน
    • เตรียมมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร เมื่อเกิดภาวะน้ำที่ท่วมในตัวอาคาร อาจจำเป็นต้องมีการตัดไฟในหลายๆ ส่วนเพื่อความปลอดภัย
    • ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานรัฐฯ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารสถานการณ์น้ำตลอดเวลา และสามารถดำเนินมาตรการต่างๆ ได้อย่างสอดคล้องและทันท่วงที
    • เตรียมแผนการสื่อสารประชาสัมพันธ์กับผู้ใช้หรืออยู่อาศัยในอาคาร เพื่อให้ผู้ใช้หรืออยู่อาศัยในอาคารได้รับทราบความคืบหน้าของสถานการณ์เป็น ระยะๆ ส่วนในกรณีที่จำเป็นจะต้องปิดอาคาร เจ้าของและฝ่ายจัดการอาคารจะต้องเตรียมแผนในการแจ้งให้ผู้ใช้อาคารได้รับ ทราบล่วงหน้า
    ภายหลังน้ำลด ระบบไฟฟ้าภายในอาคารอาจยังคงไม่ปลอดภัย ควรได้รับการตรวจสอบจากช่างไฟฟ้าที่ชำนาญการ ซึ่งจะเป็นผู้ที่บอกได้ว่า ระบบไฟต่างๆ ในอาคารอยู่ในสภาพพร้อมให้กลับมาใช้งานแล้วหรือไม่


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94/116488/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-

    .

    อาคารสูงก็ต้องเตรียมรับมือน้ำท่วม - โพสต์ทูเดย์ ข่าวบ้าน-คอนโด

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    การ์ตูนล้อเลียนวันน้ำท่วม สะท้อนความเป็นจริงของสังคมไทย

    [​IMG]


    เมื่อคลื่นน้ำหลากมาถล่มหลายจังหวัดของประเทศไทย ทุกสื่อต่างนำเสนอข่าวอุทกภัยอย่างครึกโครม ซึ่งภาพที่ปรากฏแก่สายตาทุกคนก็สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของสังคมไทยยามนี้ ได้เป็นอย่างดี
    ขณะที่หลายคนกำลังร้องไห้ เสียใจ ที่น้ำหลากมาคราวนี้ได้พัดพาเอาชีวิตของผู้เป็นที่รัก บ้านเรือน ทรัพย์สิน ที่ดิน ไร่นา เสียหายจนหมดเนื้อหมดตัว ยังมีคนกลุ่มหนึ่งกำลังแพคถุงยังชีพ รับโทรศัพท์แจ้งเหตุ และลงพื้นที่ไปช่วยเหลือพวกเขา
    ขณะที่หลายคนอพยพหนีออกจากบ้านที่ถูกน้ำท่วม กลับมีคนอีกกลุ่มหนึ่งฉวยโอกาสตอนไม่มีคนอยู่ เข้าไปขโมยทรัพย์สินภายในบ้านร้างที่เต็มไปด้วยน้ำ
    ขณะที่หลายคนกำลังนอนป่วยอยู่ในหมู่บ้านลึก ๆ และกำลังรอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ เวลาเดียวกัน คนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นผู้ประสบภัยอยู่ระหว่างทางที่เจ้าหน้าที่กำลังเข้า ไปช่วย เข้ามายื้อแย่งถุงยังชีพ อาหาร น้ำดื่ม และแย่งกันขึ้นเรือ จนเรือไม่สามารถแล่นเข้าไปยังจุดที่รับแจ้งเหตุใด
    ขณะที่บ้านกำลังถูกน้ำท่วมสูง คนอีกกลุ่มหนึ่ง เฮโลเข้ามาพังคันกั้นน้ำที่ถูกลำเลียงมาไว้ป้องกันไม่ให้น้ำไหลไปยังพื้นที่ อื่น เพราะคิดว่า "เราเดือดร้อน คนอื่นก็ต้องเดือดร้อนด้วย" หรือไม่ก็เข้ามาฉกกระสอบทรายของทางการ เพื่อเอาไปป้องกันบ้านตัวเอง
    ขณะที่ภาพเหตุการณ์อุทกภัยในภาคกลางเข้าขั้นวิกฤตถูกเผยแพร่ออกไป คนกรุงเทพมหานครจำนวนมากต่างตื่นตระหนก แห่ไปซื้อข้าวของ กระสอบทรายมาตุนไว้ พร้อม ๆ กับการหาที่จอดรถแห่งใหม่ที่น้ำจะท่วมไม่ถึง
    คงปฏิเสธไม่ได้ว่า วิกฤตการณ์ครั้งนี้ ทำให้เราเห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของคนได้เป็นอย่างดี แล้วคุณล่ะ? กำลังทำอะไรอยู่ ลองมาดูภาพการ์ตูนล้อเลียนไอเดียเจ๋ง ๆ จาก คุณ nonarav ที่โพสต์ไว้ในเว็บไซต์ pantip แล้วตอบตัวเองว่า คุณเป็นใครในภาพนี้



    -http://www.bangkok-today.com/node/10691-

    .

    การ์ตูนล้อเลียนวันน้ำท่วม สะท้อนความเป็นจริงของสังคมไทย | บางกอกทูเดย์

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    คลิป"คำอธิบาย"-“แผนผัง”คาดการณ์ระดับน้ำท่วมใน 6 พื้นที่เฝ้าระวัง!!!


    วันนี้(17 ต.ค.) รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เปิดเผยถึงการคาดการณ์ระดับน้ำท่วมในพื้นที่เฝ้าระวัง 6 จุด ดังนี้

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    <table cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td> โดยทุกพื้นที่จะมีการใช้สัญลักษณ์สีเพื่อแทนระดับน้ำท่วม คือ

    + สีฟ้า ระดับน้ำต่ำกว่า 1-2 เมตร

    + สีเขียว ระดับน้ำสูง 1-2 เมตร

    + สีชมพู ระดับน้ำสูง 2-3 เมตร
    + สีม่วง ระดับน้ำสูง 3 เมตรขึ้นไป

    ทั้งนี้ พื้นที่ที่น่าห่วงที่สุด คือจังหวัดปทุมธานี เนื่องจากบางจุดอาจมีน้ำท่วมสูงถึง 2-3 เมตร

    </td> </tr> <tr> <td height="10">

    </td> </tr> <tr> <td align="right"> วันที่ 17/10/2011</td></tr></tbody></table>


    -http://www.naewna.com/news.asp?ID=284315-

    .

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pthumthaanii.jpg
      pthumthaanii.jpg
      ขนาดไฟล์:
      93.3 KB
      เปิดดู:
      1,100
    • dnemuueng.jpg
      dnemuueng.jpg
      ขนาดไฟล์:
      64.9 KB
      เปิดดู:
      896
    • hnngcchk.jpg
      hnngcchk.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.9 KB
      เปิดดู:
      894
    • khlngsaamwaaok.jpg
      khlngsaamwaaok.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.4 KB
      เปิดดู:
      896
    • laadkrabang.jpg
      laadkrabang.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.4 KB
      เปิดดู:
      932
    • miinburii.jpg
      miinburii.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.5 KB
      เปิดดู:
      916
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ทิศทางอุตสาหกรรมกองทุนรวม กับเสรีทางการเงินที่กำลังมาถึง

    ตลาดทุนของโลกในปัจจุบันมีการแข่งขันกันที่สูง มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกันไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยปริมาณเงินทุนของโลกที่มีมากมาย เคลื่อนย้ายถ่ายเทไปทั่วโลก รวมถึงตลาดทุนของไทยที่ต้องมีการปรับตัวไปด้วยเช่นกันทั้งเพื่อการแข่งขัน และเพื่อผลประโยชน์ในด้านต้างๆ แต่สำหรับในประเทศไทยการลงทุนที่แท้จริงของผู้ลงทุนทั่วไปจากในอดีตจนถึง ปัจจุบันผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนที่มากขึ้น แต่เมื่อต้องปรับเปลี่ยนตลาดทุนไปเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการเงินที่กำลัง จะเกิดขึ้น 2555 ที่จะถึงนี้ สถาบันการเงินอย่างกองทุนรวมที่ดูแลเงินลงทุนของนักลงทุนไทยอยู่นั้น จะเป็นอย่างไรบ้าง... และผู้ลงทุนจะได้รับประโยชน์ รวมถึงจะต้องปรับการลงทุนอย่างไรบ้างเพือรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้

    นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) บอกว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการลงทุนมีพัฒนาที่เห็นได้ว่า คนมีความรู้ในเรื่องของการลงทุนที่มากขึ้น แต่ปัจจุบันมีสิ่งที่เกิดขึ้นคือจำนวนนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ซึ่งเป็นผู้คอย ให้ความรู้และแนะนำการลงทุนได้หายไป เนื่องจากมีการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นและมีการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ได้ส่งผลให้บุคคลากรด้านวิเคราะห์การลงทุนหายไป ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนซึ่งไม่ควรที่จะหายไป

    ทั้งนี้การเปิดตลาดเสรีด้านตลาดทุนที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2555 นั้น มองว่า สำหรับอุตสาหกรรมกองทุนรวมมีความเป็นเสรีอยู่แล้ว เป็นเรื่องที่ดีในการที่นักลงทุนสามารถที่จะไปลงทุนในต่างประเทศอื่นๆได้โดย ตรง ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนต้องลงทุนโดยผ่านตัวกลางคือ บลจ. แต่การที่จะเข้ามาลงทุนในไทยนั้นควรจะมีเกณฑ์ที่ปรับให้เข้ากับคนไทยด้วย เพราะผู้ลงทุนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมและยังไม่เข้าใจทั้งหมด ไม่ใช่ให้นักลงทุนไทยใช้มาตรฐานของต่างประเทศที่มักอ้างว่าตามมาตรฐานโลก ซึ่งอย่ายึดว่าโมลเดลของต่างประเทศจะดีที่สุด "เพราะไม่มีใครใส่รองเท้าของใครได้พอดี"

    หากเปิดตลาดเสรีแล้วทาง บลจ. ต่อไปทางสมาคม บลจ. ต้องทำให้กองทุนรวมจากต่างประเทศเข้ามาอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์อันเดียวกันไม่ใช้ กฎ กลต. ของประเทศของประเทศตนเอง นอกจากนี้ยังมองเห็นข้อดีของการเปิดเสรีอีกอย่างคือทำให้กองทุนรวมเกิดความ ตื่นตัวในการออกโปรดักส์ รวมถึง ในเรื่องของการทำการตลาดซึ่งปัจจุบันนักลงทุนเข้ามาซื้อกองทุนโดยไม่ได้ คำนึงถึงการลงทุนที่แท้จริงแต่เข้ามาซื้อเพราะโปรโมชั่นที่มี ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายแต่เป็นเรื่องทางจริยธรรม เพราะกองทุนรวมเป็นสถาบันการเงิน ซึ่งต้องรู้ว่าอาจจะมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้างได้ ขณะเดียวกันบุคคลากรต้องมีความรู้ในการลงทุนได้มากขึ้น

    ทั้งนี้ในอนาคตของอุตสาหกรรมกองทุนรวม คือ ควรที่จะมีการแสวงหาในสิ่งที่มีประโยชน์ซึ่งการลงทุนผ่าน บลจ. จะมีเพิ่มมากขึ้น ส่วนลูกค้าที่เข้ามาลงทุนนั้น ควรตั้งความหวังกับคนกลุ่มใหม่ตั้งแต่อายุ 18 ปี จนถึง 25 ปี เพราะคนกลุ่มนี้มีการตื่นตัวมีความท้าทายซึ่งในอนาคตจะขึ้นอยู่กับคนกลุ่ม นี้มาก ขณะที่ผู้คุมกฎควรที่จะปรับแนวคิดว่าเพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกิดขึ้น ขณะเดียวกันตลาดหลักทรัพย์ ควรจะคิดเรื่องใหญ่

    ขณะที่ นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ นายกสมาคมนักวาง แผนการเงินไทย บอกว่าสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตสหรับผู้ลงทุนคือ อยากเห็นผู้ลงทุนไทยมีที่ความรู้มากขึ้น เข้าใจการลงทุนมากขึ้นรวมถึงมองในภาพรวมและมองยาวขึ้น เป็นการลงทุน เพื่อ 10 -20 -30 ปีข้างหน้า อยากเห็นทางเลือกในการลงทุนที่มากขึ้นมีผู้ประกอบการที่มีจรรยาบรรณ ที่ดีและให้ความรู้แก่ผู้ลงทุนมากขึ้น

    เช่นเดียวกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่พูดไว้ก่อหน้านี้ว่า หัวใจของการดูแลเศรษฐกิจในประเทศอยู่ที่เรื่องของการลงทุน ไทยคงจะเติบโตโดยอิงกับการบริโภคในประเทศในอีก 4 - 5 ปี ข้างหน้า เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการลงทุนควบคู่กันไปด้วย ซึ่งควรจะลงทุนใน 2 อย่าง ที่สำคัญ คือ 1) ลงทุนสร้างความเข้มแข็งให้กับชนบท เพราะถ้าชนบทไทยยังเป็นเช่นปัจจุบันจะหวังพึ่งพิงเขาคงยากลำบาก ดังนั้นควรจะต้องมีการจัดสรรงบประมาณใหม่จัดระเบียบงบประมาณใหม่ที่เป็น ประโยชน์ไปสู่ชนบทมากขึ้น เช่น ระบบชลประทาน การพัฒนาการเกษตร วิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกในอนาคตราคาสินค้าเกษตรจะสูงแต่กลับไม่มีการมุ่งไป พัฒนาในภาคเกษตรให้ดีขึ้นเท่าที่ควร และ 2) การปรับเปลี่ยนประเทศซึ่งไม่ใช่ปฏิรูป เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีการลงทุนในด้านการศึกษาเทคโนโลยี และความรู้ต่างๆ โดยก่อนเกิดวิกฤติสัดส่วนการลงทุนของไทยประมาณ 40% ของ จีดีพี ปัจจุบันเหลือประมาณ 20% ของ จีดีพี เท่านั้น ยังไม่กลับไปเท่าช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเลย เพราะเอกชนไม่ลงทุนเท่าที่ควร

    ในอนาคตของประเทศไทยอยู่ที่เราเลือกไม่ใช่เป็นเรื่องของชะตากรรม อย่าให้เราเป็นเหมือนประเทศในยุโรปที่เจอวิกฤติแต่ก็ไม่มีการปฏิรูปตัวเอง แต่ควรจะอาศัยวิกฤติเปลี่ยนแปลงตัวเราเองเพราะไทยมีโอกาสที่สูงมาก เพียงแต่ต้องทำตัวเองให้ดีให้เนื้อหอม เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติทั้งจากนักลงทุนญี่ปุ่นและจีนที่จะมี เข้ามาในภูมิภาคนี้อีกมากในอนาคต แต่ปัจจุบันประเทศไทยการเมืองก็ ทิศทางได้แต่คิดแต่ไม่เคยทำจริงจัง ควรจะดูตัวอย่างของอินเดียซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่มีความแตกต่างของคนในสังคม สูงมากต่างคนต่างคิดต่างรักษาประโยชน์ของตัวเอง การเมืองก็ไม่เคยมีความคิดดีๆ ออกมามองแต่ประโยชน์พรรคพวก ไม่มองประโยชน์ของประเทศชาติ แต่คนอินเดียไม่รอการเมืองแล้วสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นซึ่งท้ายสุดก็ ย้อนกับไปเป็นแรงกดดันภาคการเมืองเอง

    ประเทศไทยเองก็ควรทำเช่นกัน กรณีปฏิรูปการศึกษาถ้ารอการเมืองก็คงไม่เกิด เราต้องทำไปเลยไม่ต้องรอการเมือง รากเหง้าของการคอรับชั่นคือส่วนที่ไม่ดีสุดเป็นมะเร็งร้ายสุดของเมืองไทย จำเป็นต้องมีคนดีที่จะนำ ในส่วนของหุ้นอย่ามองแค่หุ้นขึ้นหรือลง หุ้นตกก็อย่าตื่นตกใจ ถ้าทำตัวเองให้แข็งแรง สร้างความเข้มแข็งและความเชื่อมั่นให้กับภาคประชาชนเราก็จะผ่านสถานการณ์นี้ ไปได้

    -http://www.manager.co.th/MutualFund/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131374-

    .

    http://www.manager.co.th/MutualFund/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131374

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    กปน.ยันแนวกั้นคลองประปาแข็งแรง วอนอย่ากักตุนน้ำ



    [​IMG]

    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุุกดอทคอม
    ขอขอลคุณภาพประกอบจาก การประปานครหลวง

    ผู้ ว่า กปน. มั่นใจแนวกั้นคลองประปาแข็งแรงดี วอนประชาชนอย่ากักตุนน้ำ-อย่าขโมยกระสอบทราย แนะพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมรอบนอก หากมีปัญหาก๊อกจมน้ำ-ท่อแตก โทรสายด่วน 1125 ตลอด 24 ชั่วโมง

    จากรายงานข่าว ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำดิบ (ฉบับที่ 6) ประจำวันที่ 16 ตุลาคม ระบุว่า นายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการประปานครหลวง (กปน.) ได้ออกตรวจแนวคลองประปาในบริเวณที่อาจจะถูกน้ำท่วม ได้แก่ สถานีสูบน้ำดิบสำแล จ.ปทุมธานี และคลองประปา บริเวณท่อลอด คลองรังสิต ซึ่งในขณะนี้ได้ทำแนวกั้นน้ำสูงกว่าระดับน้ำ 70 เซนติเมตรแล้ว ทั้งยังได้สั่งการเพิ่มเหล็กค้ำยันกระสอบทรายเสริมความแข็งแกร่ง

    นายเจริญ กล่าวว่า ได้ ขอแรงสนับสนุนจากกองพลทหารปืนใหญ่ ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.) ร่วมกับชาวบ้านหมู่ 3 ตำบลบ้านใหม่ จ.ปทุมธานี เสริมแนวป้องกันบริเวณคลองรังสิต ซึ่งสามารถเป็นแนวป้องกันคลองประปาได้ด้วย และยืนยันว่าจะดูแลคลองประปาให้ดีที่สุด ขอเพียงแค่ประชาชนอย่าตื่นตระหนกจนถึงขั้นที่ต้องกักตุนน้ำดื่ม เพราะการทำเช่นนี้อาจจะทำให้ไม่มีน้ำส่งไปบรรเทาทุกข์พี่น้องต่างจังหวัด อย่างเพียงพอ

    นอกจากนี้ ผู้ว่า กปน. ยังกล่าวว่า อยากให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด เพราะยิ่งถ้าใช้น้ำมากเท่าใด ก็จะเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำทิ้งมากขึ้นเท่านั้น รวมถึงขออย่าขโมยถุงทรายที่กั้นแนวคลองประปา เพราะเกรงว่าจะทำให้น้ำเสียทะลักเข้าคลอง จนส่งผลต่อน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาได้

    ส่วนในพื้นที่รอบนอกของ กทม. ที่เสี่ยงน้ำท่วม แต่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของ กปน. ได้แก่ เขตหนองจอก มีนบุรี คลองสามวา และพื้นที่อื่น ๆ รวมถึง จ. สมุทรปราการ และนนทบุรี สามารถแจ้งปัญหาเรื่องก๊อกจมน้ำไม่สามารถใช้การได้ หรือมีท่อแตกรั่วภายในได้ที่ ศูนย์บริการประชาชน โทร. 1125 ตลอด 24 ชั่วโมง




    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    การประปานครหลวง, การประปานครหลวง


    -http://hilight.kapook.com/view/63802-

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    [FONT=Tahoma,]ทะลัก"นวนคร"แล้ว อุดไม่อยู่ กทม.ตั้งพนังอีกชั้น

    "รังสิต-องครักษ์"30กม. เตือนคนกรุง-ปลายตค. ให้�ระวัง10วันอันตราย คลองลัดท่าจีนใกล้เสร็จ เพิ่มระบายน้ำเป็น2เท่า


    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    โกลาหล - เจ้า หน้าที่และชาวบ้านเร่งเสริมกระสอบทรายสกัดน้ำที่ทะลักท่วมนิคมฯนวนคร จ.ปทุม ธานี ภายหลังพนังกั้นน้ำแตก ขณะที่ประชา ชนต้องอพยพหนีน้ำด่วน เมื่อ 17 ต.ค.

    </td></tr></tbody></table>กั้นไม่อยู่! น้ำทะลักนิคมอุตสาห กรรมนวนครแล้วอพยพอลหม่าน เจ้าหน้าที่ระดมกู้ส่งชีนุกยกคอนเทนเนอร์กั้นกระแสน้ำแต่ต้านไม่อยู่ นิคมฯขอกรมชลฯเปิดประตูระบายน้ำ 5 บานทันทีเชื่อรักษานิคมฯได้ "เติ้ง"แนะเจาะคันดินใต้รางรถไฟไล่น้ำลงเจ้าพระยา "ปู"สั่งเพิ่มพนังกั้นอีกชั้น เลียบคลองรังสิต-องครักษ์ ยาว 30 กิโล เมตร ป้องกันกทม.ให้ได้ บิ๊กอ๊อดลุยตรวจ 3 คลองลัดท่าจีนขุดได้เกือบครึ่ง เชื่อเสร็จได้วันนี้ แล้วระบายน้ำได้เพิ่ม 2 เท่า แต่ผู้ว่าฯกทม.ยังไม่มั่นใจกรุงไม่ท่วม ขอประชาชนเฝ้าระวังคันกั้นน้ำ จับตาดอนเมือง-สายไหม อาจารย์ม.รังสิต เตือนระวัง 10 วันอันตราย 28-30 ต.ค. เพราะน้ำเหนือถึงกรุง ประกอบน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นอีก 30 ซ.ม. หวั่นสูงกว่าคันกั้น

    "ปู"สั่งทำพนังกั้นกรุงอีกชั้น

    วัน ที่ 17 ต.ค. ที่ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) นายวิม รุ่งวัฒนะจินดา พร้อมด้วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ในฐานะโฆษก ศปภ. แถลงถึงแนวทางป้องกันน้ำท่วมพื้นที่กทม.ชั้นในว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้สร้างพนังกั้นเพิ่มน้ำอีก 1 ชั้น บริเวณถนนเลียบคลองรังสิต-องครักษ์ ตั้งแต่คลอง 1-15 เป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร โดยทางศปภ.จะติดตามสถานการณ์น้ำและจะแถลงข่าวทุก 2 ช.ม. เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบความคืบหน้า นอกจากนี้ยังขอรับบริจาคเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้วขึ้นไป เพื่อใช้ในการเร่งสูบน้ำ ดังนั้นหากประชาชนมีความประสงค์จะร่วมบริจาค ให้ติดต่อที่ 1111 กด 5

    ศอส.สรุปตายแล้ว 307 ราย

    นาย วิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะรอง ผอ.ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) เผยว่า ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 27 จังหวัด 186 อำเภอ 1,463 ตำบล 10,999 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 779,522 ครัวเรือน 2,320,169 คน และมีผู้เสียชีวิต 307 ราย สูญหาย 3 คน สำหรับสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ยังอยู่ในภาวะวิกฤต โดยเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำร้อยละ 99 เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำร้อยละ 99 เขื่อนแควน้อยมีปริมาณน้ำร้อยละ 100 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำร้อยละ 136

    บิ๊กอ๊อดตรวจคลองลัดท่าจีน

    เมื่อเวลา 10.00 น. ที่บริเวณคลองทรงคนอง จ.นครปฐม พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว. กลาโหม พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร มทภ.1 พร้อมด้วยคณะนายทหารระดับสูงเดินทางตรวจความคืบหน้าภารกิจขุดลอกคูคลองลัด แม่น้ำท่าจีน 3 แห่งคือ คลองลัดงิ้วราย คลองลัดทรงคนอง คลองลัดท่าข้าม

    โดย พล.ท.นิพนธ์ ปานมงคล เจ้ากรมการทหารช่าง รายงานว่าความคืบหน้าการขุดลอกคลองงิ้วราย ซึ่งมีระยะทาง 2 ก.ม. กว้าง 10-15 เมตร ลึก 3 เมตร ร่นระยะทางการไหลได้ 11 ก.ม. ปัจจุบันได้ผลงาน 400 ม. ส่วนคลองทรงคนองระยะทางยาว 2.14 ก.ม. กว้าง 30-40 ม. ลึก 4 ม. ร่นระยะทางการไหลได้ 10 ก.ม. ปัจจุบันได้ผลงาน 1,500 ม. คลองท่าข้ามยาว 1.3 ก.ม. กว้าง 40-50 ม. ลึก 4 ม. ร่นระยะทางการไหลได้ 9 ก.ม. ปัจจุบันได้ผลงาน 400 ม. คิดเป็นผลการดำเนินการขุดทั้ง 3 ได้ 42.06 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะเสร็จทันภายในวันที่ 18 ต.ค.

    ช่วยระบายน้ำได้2เท่า

    จาก นั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์กล่าวว่า หากขุดลอกเสร็จเรียบร้อย น้ำจะไหลเร็วเพิ่มเป็น 2 เท่าส่วนหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) รับผิดชอบ 2 คลองในจ.สมุทรสาคร กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งมีระยะยาวกว่าตรงนี้ โดยเราได้ติดตั้งเครื่องดันน้ำไว้ในแม่น้ำท่าจีนหลายจุด เพื่อระบายน้ำออก คิดว่าสามารถระบายน้ำออกทางนี้ได้ โดยไม่ให้น้ำเข้าพื้นที่กทม.

    พล.อ.ยุทธ ศักดิ์กล่าวถึงกรณีนายกฯ มอบ หมายให้กองทัพดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย 5 จังหวัดว่า ได้แบ่งให้กองทัพภาค โดยอยู่ในพื้นที่ของกองทัพภาคที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) กองทัพภาคที่ 3 ครอบคลุมทั้ง 5 จังหวัด ทั้งนี้ เชื่อว่าไม่จำเป็นต้องประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะแผนเดิมที่ใช้อยู่ยังดำเนินการได้ ส่วนจ.ปทุมธานีที่มีปัญหาเพราะประชาชนไม่ยอมให้สร้างพนังกั้นน้ำนั้น จากการลงพื้นที่ทหารกับประชาชนในพื้นที่ร่วมมือกันดี

    กทม.แจงท่วมเพราะฝน

    เมื่อ เวลา 10.00 น. ที่ศาลาว่าการกทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในกทม.ว่า ปริมาณน้ำในกทม.มีมาก แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง วันนี้น้ำทะเลหนุนสูง 1.08 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลดลงจากวัยอาทิตย์ที่สูง 1.11 เมตร ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ที่ 2.07 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งยังคงใกล้เคียงกับวันที่ 16 ต.ค. ขณะที่น้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา วัดที่ประตูระบายน้ำอ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 3,775 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำในคลองที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังปกติ ส่วนน้ำในคลองทวีวัฒนาสูงขึ้นประมาณ 10 ซ.ม. แต่ยังไม่มีปัญหา

    สำหรับ ปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อวันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมามาจากฝนตกหนัก วัดปริมาณน้ำฝนที่เขตประเวศได้ 86 ม.ม. ซึ่งได้ระบายน้ำแห้งได้ใน 1-2 ชั่วโมง ยังคงเหลือเขตสะพานสูง ซึ่งเป็นที่พื้นที่ลุ่มต่ำ ทำให้น้ำขัง 5 จุด สูง 10-20 ซ.ม. จะเร่งแก้ไขให้แล้วเสร็จ ขณะนี้พบปัญหาน้ำรั่วซึมตามแนวป้องกันริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจุดที่เป็นแนวป้องกันชั่วคราว เช่น ท่าเตียน ท่าพระจันทร์ ได้ซ่อมแซม โดยใช้กระสอบทรายอุดรอยรั่วแล้ว ส่วนที่เขตบางซื่อ บริเวณท่าน้ำบางโพ ทางสำนักการระบายน้ำ (สนน.) และสำนักการโยธา (สนย.) ได้ตั้งแบริเออร์ 100 ตัว พร้อมทั้งน้ำดินไปอัดช่องว่างเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เกิดความแน่นหนาป้องกันน้ำไหลซึม จากเดิมได้ที่ใช้กระสอบทรายสร้างคันกั้นน้ำชั่วคราวเท่านั้น

    ขอปชช.เฝ้าคันกั้นน้ำ

    ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวต่อว่า ขอบคุณกรมชล ประทานที่ปิดประตูระบายน้ำคลอง 1 ครึ่งหนึ่ง แต่สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง เพราะน้ำได้ทะลักเข้าพื้นที่กทม.เหนือ ซึ่งมีประชาชนกว่า 127,728 ครัวเรือน ดังนั้น กทม.จึงร่วมกับกองทัพบก กองทัพอากาศ และประชาชน ทำแนวคันกั้นน้ำชั่วคราว ตามแนวคลองหกวาล่าง เขตสายไหม ระยะทาง 7 กิโลเมตร จากเดิม 6 กิโลเมตร พร้อมทั้งเพิ่มความสูงเป็น 50 ซ.ม. ขณะเดียวกันจะยกระดับถนนเลียบคลองสองและถนนสายไหม ซ.สายไหม 85 ให้สูงขึ้นอีก 30 ซ.ม. เพื่อป้องกันคันกั้นน้ำอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้กทม.ได้กระจายกระสอบทรายอีก 600,000 ใบ ส่วนใหญ่ไปในพื้นที่ตะวันออก และกำลังพยายามหาทรายเพิ่มอีก

    "ศปภ.อาจ จะมั่นใจว่ากทม.ปลอดภัย แต่ ผมไม่คิดว่ากทม.ปลอดภัย ยังไม่พ้นอันตราย แต่ก็ยังไม่ถึงวิกฤต ดังนั้นจึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเขตสายไหมและดอนเมือง อยากให้ประชาชนช่วยเฝ้าระวังดูแลคันกั้นน้ำ ถ้าคันกั้นน้ำที่สายไหมแตกจะมีผลถึงคลองสามวาด้วย อย่างไรก็ตามวันนี้ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ถอนกำลังจากหลักหก เพื่อมาช่วยทำคันกั้นน้ำที่เขตสายไหม" ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว

    กทม.-จับตา10วันอันตราย

    นาย เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต เผยว่า วันที่ 18 ต.ค.ไปจนถึงวันที่ 28-30 ต.ค.54 ถือเป็นช่วง 10 วันอันตราย ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมในเขตกทม. เพราะจากการติดตามข้อมูลของศูนย์ พบว่าปริมาณน้ำไหลผ่านที่ จ.นครสวรรค์ 4,600 ลบ.ม.ต่อวินาที เริ่มชะลอตัว แสดงว่าน้ำเหนือผ่านนครสวรรค์มาแล้วอีกประมาณ 7 วัน จะถึง จ.ปทุมธานี และ จ.นนทบุรี จากนั้นอีก 3 วัน หรือประมาณวันที่ 28 ต.ค. น้ำจะมาถึงกทม. ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่น้ำทะเลจากอ่าวไทยจะหนุนขึ้นสูงอีกครั้งหนึ่งและ จะหนุนสูงขึ้นกว่าเมื่อวันที่ 15 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยกองทัพเรือคำนวณว่าน้ำเจ้าพระยาจะสูงขึ้น 30 ซ.ม. ซึ่งจะอยู่ระดับ 2.59 เมตร ในขณะที่คันกั้นน้ำสูงเพียง 2.50 เมตร น้ำจึงอาจทะลักคันกั้นของกทม.ได้

    น้ำทะลัก"นวนคร"

    สำหรับ การระดมกำลังกั้นนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุม ธานี เมื่อเวลา 11.00 น. เกิดเหตุพนังกั้นน้ำยาวประมาณ 5 เมตร ที่บริเวณบ่อบำบัดน้ำเสีย แตกพังลง ทำให้น้ำที่ท่วมสูงอยู่บริเวณด้านนอกแนวเขื่อนไหลทะลักเข้ามาภายในอย่างรวด เร็ว โดยระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และมีฝนตกโปรยปรายลงมาซ้ำ ขณะที่ชาวบ้าน-ทหารจำนวนมาก ยังคงช่วยกันเสริมกระสอบทราย หวังจะช่วยอุดแนวกั้นน้ำที่แตกลงให้ได้<table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    พนังแตก - ภาพถ่ายมุมสูงนาทีพนังกั้นน้ำทางทิศเหนือของนิคมอุตสาหกรรมนวนครแตกพังเป็น ช่องกว้างประมาณ 5 เมตร ส่งผลให้น้ำด้านนอกทะลักเข้าภายในนิคมฯอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 17 ต.ค.

    </td></tr></tbody></table>

    ขณะ ที่ชาวบ้านและพนักงานที่อาศัยอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ต่างอพยพหนีออกมาจากนอกพื้นที่ โดยใช้เส้นทางเข้าออกของนิคม ซึ่งมีทางออกแค่ด้านหน้าเท่านั้น จึงทำให้การจราจรติดขัดเป็นอัมพาต ผู้คนต่างแย่งกันหนีขึ้นสะพานลอย บริเวณเส้นทางถนนพหลโยธินหน้านิคมนวนคร เส้นทางทั้งฝั่งขาเข้า และขาออกติดขัดเป็นทางยาว

    สำหรับนิคมอุตสาห กรรมนวนคร มีโรงงาน 227 โรงงาน พื้นที่กว่า 8,000 ไร่ พนักงานกว่า 180,000 คน เงินลงทุนภายในนิคม กว่า 1 แสนล้านบาท มีประชากรอาศัยอยู่ในหมู่บ้านไทยธานี หอพัก และโดยรอบภายในนิคมกว่า 30,000 หลังคาเรือน ประชาชนกว่า 1 แสนคน

    ใช้ชีนุกเร่งกู้

    ต่อ มาเมื่อเวลา 12.00 น. กองทัพบกได้ส่ง เฮลิคอปเตอร์ชีนุก 2 ลำ จากศูนย์การบินทหารบก จ.ลพบุรี เพื่อมาช่วยลำเลียงตู้คอนเทนเนอร์ที่ทางนิคมได้เตรียมไว้ 14 ตู้ โดยในเบื้องต้นมีแผนที่จะใช้ตู้คอนเทนเนอร์ 6 ตู้ เพื่อเข้าไปปิดผนังดินกั้นน้ำที่เกิดรอยแตก และต่อมาเมื่อเวลา 13.00 น. เฮลิคอปเตอร์ชีนุกได้บินขึ้นไปเพื่อนำตู้คอนเทนเนอร์บริเวณวัดพืชนิมิตร 3 ตู้แรกไปวางนอกแนวคันดินเพื่อลดความแรงของกระแสน้ำซึ่งสามารถลดกระแสน้ำที่ ไหลเข้านิคมฯได้ดี

    ต่อมาเวลา 16.00 น. ได้เกิดรอยแตกเพิ่มเติมบริเวณคันดินกั้นน้ำวัดพืชนิมิตร ส่งผลให้กระแสน้ำได้ไหลเข้าบริเวณนิคมอย่างรวดเร็ว ประชาชนในพื้นที่และทหารต่างเร่งระดมนำกระสอบทรายเข้าเสริมในจุดดังกล่าว เจ้าหน้าที่ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ชีนุกลำเลียงตู้คอนเทนเนอร์มาหย่อนลง เพื่อปิดกระแสน้ำที่จุดดังกล่าว แต่ด้วยกระแสน้ำที่ไหลบ่าเข้ามาแรงส่งผลให้ตู้คอนเทนเนอร์ไม่สามารถกั้นรอย แตกของน้ำดังกล่าวได้ ทำให้คันดินในบริเวณดังกล่าวเกิดการทรุดตัวและน้ำไหลเข้าภายในนิคมอย่างรวด เร็วและเป็นจำนวนมาก กระทั่งน้ำได้เข้าท่วมพื้นที่ในตัวนิคมกว่า 10 เปอร์เซ็นต์

    ขอเปิดคลองระบายน้ำ

    พล.อ.วิชา ศิริธรรม ประธานกรรมการคณะอนุกรรมการ บริษัทนวนคร จำกัด มหาชน กล่าวว่า ขอให้รัฐบาลสั่งให้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 5 ประตูที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนน้ำที่ล้อมนิคมฯอยู่ในขณะนี้คือ ประตูระบายน้ำคลองเชียงรากน้อย ประตูระบายน้ำคลองเชียงรากใหญ่ ประตูระบายน้ำคลองระพีพัฒน์ ประตูระบายน้ำคลองเปรมประชากร และประตูระบายน้ำสารพันธ์แค่เปิดประตูน้ำดังกล่าว 1 วัน ก็จะสามารถช่วยนิคมฯให้อยู่รอดได้ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในสายตานักลงทุนต่างประเทศได้อย่างมหาศาล

    ศปภ.สั่งอพยพด่วน

    เมื่อ เวลา 12.30 น.ที่ศปภ. พล.ต.อ.พงศพัศ พร้อมนายวิม โฆษกศปภ. ร่วมแถลงข่าวประกาศเตือนพร้อมการอพยพประชาชน ภายในและโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี โดยพล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า สำหรับสถานที่พักพิงชั่วคราวของประชาชนมีทั้งหมด 4 แห่ง คือ 1.ทียูโดม มธ.ศูนย์รังสิต ที่จะรองรับประชาชนได้ 3,000 คน 2.บริเวณวัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง รองรับได้ 5,000 คน 3.ที่ทำการอ.ธัญบุรี รองรับได้ 20,000 คน และ 4.บริเวณศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ ที่ศูนย์การประชุมทรงกลม รองรับได้ 1,000 คน

    โดยประชาชนที่ไม่มีรถ ยนต์ส่วนตัว ให้ไปรวมตัวกันด้านหน้านิคมอุตสาหกรรมนวนคร ฝั่งถนนพหลโยธิน โดยจะมีรถขสมก. 200 คัน รถทหาร และรถตำรวจ ช่วยขนย้ายประชาชนไปยังจุดพักพิงต่างๆ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คอยอำนวยความสะดวกในแต่ละจุด อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนที่อพยพไม่ต้องห่วงที่พักอาศัย เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าไปดูแลความปลอดภัยในทรัพย์สินให้โดยทันที

    "ปู"เสียใจกั้นนวนครไม่ได้

    ที่ ศปภ. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ไม่สามารถปกป้องนิคมอุตสาหกรรมนวนครไว้ได้ว่า ขอแสดงความเสียใจ ความจริงเราระดมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ไปป้องกันนิคมอุตสาห กรรมนวนคร โดยเตรียมการไว้หลายวันแล้ว แต่ปัญหาคือกระแสน้ำแรงมาก ประกอบกับน้ำทะเลหนุนสูง รวมทั้งมีฝนตกลงมาทั้งคืน จึงทำให้น้ำเข้ามาแรงมากเกินกว่าแนวคันกั้นน้ำที่ทำไว้จะรับไหว

    อย่าง ไรก็ตามตนสั่งการให้อพยพผู้คน และเข้าไปช่วยกู้ในส่วนของอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว และจะหารือกับรัฐมนตรีทุกกระทรวง โดยเฉพาะรมว.อุตสาหกรรมเพื่อมองภาพรวมในการช่วยเหลือนักธุรกิจและผู้ประสบ ภัยทั้งหมด โดยเบื้องต้นจะได้รวบรวมข้อมูลอุตสาหกรรม ซึ่งมี 2 ประเภท คือที่มีประกัน และไม่มีประกัน จึงต้องหารือกันว่ารัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างไร ส่วนตัวเลขความเสียหายในเบื้องต้นนั้น กำลังให้เจ้าหน้าที่ทำเรื่องรายงานเข้ามา

    เมื่อถามว่าหลังจากนิคม อุตสาหกรรมนวนครแตก จะมีแนวทางป้องกันพื้นที่กทม.ได้อย่างไร นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ยังมีจุดอื่นๆ ที่เราทำแนวคันกั้นน้ำไว้ จะต้องไปเร่งสำรวจความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งได้มอบให้กองทัพรวบรวมทุกสรรพกำลังที่มีอยู่ รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปช่วยดูแลบริเวณรอยต่อของกทม.ทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าคันกั้นน้ำมีความแข็งแรงเพียงพอ

    เร่งทำแผนฟื้นฟู

    เมื่อ ถามว่าพื้นที่เขตดอนเมืองและสายไหมเป็นจุดเสี่ยงหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ขอประเมินก่อน แต่ยืนยันว่าเราจะปกป้องเมืองหลวงให้ดีที่สุด เมื่อถามว่าจะระบายน้ำไปจ.ปทุมธานีแทน เพื่อไม่ให้น้ำเข้ากทม.ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จะดูในพื้นที่ที่จะมีผลกระทบและเสียหายน้อยที่สุด และขอความร่วมมือประชาชนไม่ให้ทำลายแนวกั้นน้ำต่างๆ มิเช่นนั้นจะไม่สามารถปกป้องส่วนไหนได้เลย สุดท้ายความเสียหายก็จะกระทบโดยรวม เราจึงต้องช่วยกันกู้แนวคันกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพดีและแข็งแรงที่สุด และกู้ขวัญกำลังใจของพวกเรา ตนและรัฐบาลก็จะเร่งทำแผนฟื้นฟูและดูแลประชาชน รวมทั้งภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด

    "ประชา"ลุยตรวจก่อนท่วม

    ก่อน หน้านี้เมื่อเวลา 10.00 น. พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก ผอ.ศปภ. พร้อมด้วยนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เดินทางไปตรวจสถานการณ์คันกั้นน้ำที่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมนวนคร โดยเมื่อไปถึงได้พูดคุยกับพล.อ.ชัยณรงค์ หนุนภักดี ประธานกก.บห. นิคมอุตสาหกรรมนวนคร เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันนิคม แต่ระหว่างที่หารือกันนั้น มีเจ้าหน้าที่ตะโกนบอกว่าน้ำมาแล้ว และเมื่อทั้งหมดหันไปมองที่พื้นก็เห็นว่าน้ำกำลังไหลมาที่เท้าทำให้ทุกคน ต้องกึ่งเดินกึ่งวิ่งขึ้นที่สูง

    ส่วนพล.ต.อ.ประชาและคณะรีบขึ้นรถ ออกจากจุดดังกล่าวเพื่อมาที่สนามกีฬาภายในนิคม ในขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารและป่าไม้ต่างวิ่งหนีน้ำที่กำลังเอ่อไล่หลังออกมา ด้านนอก และพยายามวิทยุ โทรศัพท์ แจ้งไปยังจุดต่างๆ ว่าขณะนี้คันดินกั้นน้ำแตกแล้วให้แต่ละโรงงานเตรียมตัวรับมือด้วย และเพียงไม่กี่นาทีก็เกิดการโกลาหลขึ้น โดยคนงาน ประชาชนทั่วไปที่อยู่ภายในนวนคร พยายามบอกต่อกันว่าคันกั้นน้ำด้านหลังนวนครแตกแล้วทำให้หลายคนพยายามขับรถ ยนต์ มอเตอร์ไซค์ ขนลูกหลาน และข้าวของ พยายามหนีน้ำ

    พ้อจม-ปชช.ต้านทำคันกั้น

    ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดระยะเวลาการตรวจพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนครของพล.ต.อ.ประชาและนายชลิต ทั้ง 2 คนมีสีหน้าเคร่งเครียดและอิดโรย อย่างเห็นได้ชัด โดยนายชลิตปรารภว่าประชาชนในหลายจุดยังขัดขวางการทำคันกั้นน้ำของเจ้า หน้าที่ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ทั้งที่กรมชลประทานพยายามกำหนดเส้นทางเดินของน้ำแล้ว แต่เมื่อไม่ได้รับความร่วมมือในหลายจุดจึงเกิดปัญหา

    ทางด้านพล.ต.อ. ประชาได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวด้วยสีหน้าอิดโรย ว่า "ไม่เครียดมากและแม้ว่าผมจะไม่ค่อยได้นอนมา 7 วัน 7 คืน แล้วก็ยังสู้ และเราต้องสู้ได้ ผมยังไม่ยอม แม้ว่าน้ำจะมาพร้อมๆ กันทั้งศอก เข่า หมัด พร้อมๆ กัน"

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่น้ำทะลักเข้าท่วมนิคม ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่มีกำหนดการจะเข้าให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ ป้องกันนิคม ต้องยกเลิก เพราะเดินทางเข้าไปไม่ได้ นายอภิสิทธิ์จึง เดินทางไปที่หมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี ต.ประชาธิปัตย์ อ.เมือง จ.ปทุมธานี แทน

    สั่งกู้10โรงงานด่วน

    เมื่อเวลา 15.15 น. นายวิมพร้อมพล.ต.อ. พงศพัศร่วมแถลงข่าวอีกครั้ง โดยนายวิมกล่าวว่า น้ำท่วมพื้นที่โรงงานไปแล้ว 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด มีโรงงานเสียหาย 10 แห่งที่ถูกน้ำท่วม 1.50-2 เมตร โดยนายกฯ ได้สั่งการให้กองทัพไทยเร่งระบายน้ำดังกล่าวออกโดยเร็วเพื่อกอบกู้โรงงาน ทั้ง 10 แห่งให้ได้ และระดมกำลังและยุทโธปกรณ์และสรรพกำลังทั้งหมดไปทำแนวกั้นน้ำที่สอง โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ ชีนุก ขนตู้คอนเทนเนอร์ที่มีอยู่ภายในนวนครไปเป็นพนังกั้นน้ำชั้นที่ 2 ทั้งนี้สถานการณ์ทางกองทัพรายงานว่าสามารถกั้นน้ำในแนวกั้นที่สองได้บางส่วน แล้ว <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    ทีมกู้พนัง - เจ้าหน้าที่และคนงานพยายามเข้าไปซ่อมพนังกั้นนิคมฯนวนคร จ.ปทุมธานี ตรงจุดที่แตกเป็นช่องกว้างประมาณ 5 เมตร แต่ด้วยกระแสน้ำที่รุนแรงทำให้ต้องล่าถอยออกมา เมื่อ 17 ต.ค.

    </td></tr></tbody></table>

    พล.ต.อ. พงศพัศกล่าวว่า สำหรับการอพยพประชาชนจากนวนคร ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยมีประชาชนออกจากพื้นที่ ประมาณ 2,000 คน โดยแบ่งเป็น 1,000 คน กลับไปที่อยู่อาศัยของตัวเอง และอีก 1,000 คน กระจายไปอยู่ตามศูนย์พักพิงต่างๆ ทั้งนี้ ศูนย์พักพิงที่ มธ.ศูนย์รังสิต และวัดพระธรรมกาย ได้ปิดรับประชาชนแล้ว เนื่องจากประชาชนเข้าไปพักพิงจนเต็มพื้นที่

    เมื่อเวลา 18.00 น. นายบรรหาร ศิลปอาชา ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เดินทางมาตรวจเยี่ยมนิคมอุตสาหกรรมนวนคร พร้อมเสนอให้ติดต่อไปที่การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อขอเจาะคันดินใต้แนวรางรถไฟที่อยู่ทางทิศตะวันตกของนิคมเพื่อระบายน้ำ ที่ขังอยู่ ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งคิดว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแล้วในตอนนี้

    ตลาดไทท่วมแล้ว

    สำหรับ สถานการณ์น้ำท่วมในจ.ปทุมธานี ที่ตลาดไท หมู่ 9 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ซึ่งอยู่ติดกับคลองแอน 1-2 น้ำได้ท่วมขังสูงขึ้น ซึ่งถนนสายย่อยช่วงไฟแดงคลองหลวงโฮมเพลส มุ่งหน้าด้านหลังตลาดไทปิดแล้ว รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ พ่อค้าแม่ค้าในตลาดกล่าวว่า ปริมาณน้ำเริ่มท่วมขังตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. แล้ว ซึ่งร้านค้าในแถบนี้ต้องทยอยปิดตัว เกรงว่าน้ำจะเข้าไปในร้าน ซึ่งเจ้าหน้าที่ของตลาดบอกว่า หากน้ำยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะตัดไฟในส่วนของด้านหลังตลาดทั้งหมด ส่วนภายในตัวตลาดไทนั้นยังคงมีการซื้อขายกันอย่างปกติ เนื่องจากน้ำได้ท่วมเฉพาะบริเวณด้านหลัง ส่วนภายในได้ทำคันกั้นสูง 1.5 เมตรป้องกันไว้แล้ว

    ปทุมฯ-เสริมคัน"ระพีพัฒน์"

    ที่ คลองระพีพัฒน์ พระสงฆ์ร่วมกับชาวบ้านที่อาศัย ต.คลองสอง ต.คลองสาม ต.คลองสี่ ต.คลองห้า ต.คลองหก ต.คลองเจ็ด อ.คลอง หลวง ช่วยกันลำเลียงกระสอบทรายเสริมคันกั้นน้ำเลียบคลองระพีพัฒน์ เขตติดต่อ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากมีน้ำซึมและเริ่มล้นจากคันดินกั้นน้ำ ที่สูงจากพื้นถนนกว่า 2 เมตร ระยะกว่า 10 กิโลเมตร เนื่องจากกลัวว่าหากจุดใดคันของดินพังลงมา ปริมาณน้ำมหาศาลจาก อ.วังน้อย จะทะลักเข้ามาท่วมแถบ อ.คลองหลวงทั้งหมด โดยประชาชนขอร้องให้รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่ทหารมาช่วยบริเวณดังกล่าวด่วน เพราะหากรับมือไม่ไหวจะส่งผลกระทบสูงและมวลน้ำเหล่านี้จะมุ่งหน้าไป อ.ธัญบุรี อ.ลำลูกกา ซึ่งเป็นเขตติดต่อดอนเมือง กทม.

    จมถึงเมืองชั้นในแล้ว

    สำหรับ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันตกของ จ.ปทุมธานี ทั้งในเขต อ.สามโคก อ.เมือง อ.ลาดหลุมแก้ว ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงมากจากระดับพื้นถนนประมาณ 2-3 เมตร และทะลักเข้าสู่พื้นที่ชั้นใน 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว โดยเฉพาะตลาดระแหง 100 ปี อ.ลาดหลุมแก้ว ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ถูกน้ำท่วมจนได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารและอาสาสมัครมูลนิธิเร่งนำเรือเข้าอพยพชาวบ้านออกมาอยู่ที่สูง

    ขณะ ที่ชาวบ้านได้นำรถยนต์ รถจักรยาน ยนต์ มาจอดไว้ในที่สูงเพื่อความปลอดภัยจากน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นสะพานต่างระดับ สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งทรัพย์สินข้าวของเครื่องใช้ ก็นำมาไว้บนถนนที่น้ำยังท่วมไม่ถึง แต่ก็ยังถูกกลุ่มมิจฉาชีพแอบแฝงเข้ามาโจรกรรมทรัพย์สินของมีค่าไปหลายที่ แล้ว

    ทุกข์ซ้ำ-ค่าเรือมหาโหด

    ที่อ.สามโคก น้ำเข้าท่วมโรงพัก สภ.สาม โคก สูงกว่า 10 ซ.ม. ทำให้ในห้องควบคุมผู้ต้องขังซึ่งอยู่ชั้นล่างถูกน้ำท่วมแล้ว จึงได้ประสานไปยังสภ.สวนพริกไทย ที่น้ำยังไม่ท่วม ได้รับฝากผู้ต้องขังไว้ให้ ซึ่งสภ.สามโคก เพิ่งก่อสร้างขึ้นมาใหม่ชั้นแรกสูงกว่าพื้นถนนกว่า 1.20 ม. แต่ขณะนี้น้ำได้เข้าท่วมบนพื้นที่ทำงานทุกส่วน ทำให้การเดินทางมาติดต่อราชการจะต้องใช้เรือพายเท่านั้น ส่วนที่สภ.เมืองปทุมธานี ตอนนี้น้ำได้ท่วมโรงพักหมดแล้วไม่สามารถใช้การได้ ซึ่งประชาชนที่ต้องการติดต่อราชการด่วนสามารถเดินทางไปที่ตู้ยามบริการชั่ว คราวโรงเรียนปทุมวิไล

    ทั้งนี้ประชาชนอ.สามโคก นอกจากประสบภัยน้ำท่วมแล้วยังถูกผู้ให้บริการเรือจากแยกสันติสุขไปถึงอำเภอ สามโคก ราคาเที่ยวละ 200 บาทต่อคน ซึ่งถือว่าแพงมาก จึงอยากให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลด้วย

    พหลโยธินก็ท่วม

    ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณเส้นทางคู่ขนานถนนพหลโยธิน ฝั่งขาออก ตั้งแต่รังสิตถึงมธ.ศูนย์รังสิต ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ระยะทางกว่า 5 ก.ม. ถูกน้ำท่วมสูง 20-30 ซ.ม. การสัญจรในเส้นทางดังกล่าวเป็นไปด้วยความลำบาก บางจุดน้ำท่วมสูง 50-80 ซ.ม. รถเล็กไม่สามารถวิ่งได้ ทำให้การจราจรในเส้นทางด่วนติดขัด

    ส่วนชาวบ้านในหลายหมู่บ้านที่ อยู่ติดถนนพหลฯ บริเวณหน้าโลตัส ทางหลวงรังสิต หมู่บ้านพัฒนาเจริญรุ่ง หมู่บ้านไวท์เฮ้าส์ ชุมชนซอยบุญคุ้ม ชุมชนประทานพร สนามกอล์ฟไพล์เฮิร์ท จนถึงทางเบี่ยงเข้าถนนเชียงราก ข้าง ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ต้องทำคันดินกั้นบริเวณด้านหน้าหมู่บ้านเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมจาก ด้านหน้า เพราะด้านหลังของแต่พื้นที่ต้องรับปริมาณน้ำจากร่องน้ำข้างทางรถไฟติดกับ คลองเปรมประชากรที่ระดับน้ำเริ่มเพิ่มสูงขึ้นจนล้นและเข้าท่วมในบางจุด จนส่งผลทำให้ไหลเข้าท่วมถนนพหลฯ ด้านหน้าได้

    ส่วนเส้นทางถนนเชียง ราก ด้านข้างม.ธรรม ศาสตร์ ศูนย์รังสิต น้ำในคลองเปรมประชากรเอ่อล้นเข้าท่วมทั้งสองช่องทาง ระดับน้ำท่วมสูง 30-50 ซ.ม. ระยะทาง 500 เมตร การสัญจรในเส้นทางดังกล่าวต้องใช้ความระมัดระวัง และที่ใต้สะพานข้ามคลองเปรมฯ ทางกลับรถไม่สามารถใช้การได้

    "กรุงเก่า"ประท้วงกั้นน้ำ

    ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อเวลา 11.00 น. ชาวบ้านกว่า 300 คน จากบ้านปากคลองข้าวเม่า ต.ธนู อ.อุทัย และชาวบ้าน ต.หันตรา และ ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา รวมตัวกันประท้วงและขัดขวางการทำงานของกรมชลประทานที่พยายามตอกแผ่นชีตไพล์ ที่สะพานข้ามคลองข้าวเม่า ถนนสายเอเชีย หลักก.ม.ที่ 14-15 เพื่อปิดน้ำในคลองข้าวเม่า จากแม่น้ำป่าสักจำนวนมหาศาล ผ่านไปยังทุ่งหันตรา เข้าไปยังทุ่งอ.อุทัย ผ่านนิคมอุตสาห กรรมโรจนะ ไหลต่อไปในพื้นที่อ.วังน้อย และไหลเข้าพื้นที่ฝั่งตะวันออกของอ.บางปะอิน และท้ายที่สุดไหลไปที่คลองหนึ่ง จ.ปทุมธานี เพื่อชะลอน้ำให้เข้าพื้นที่จ.ปทุมธานี และกทม.ช้าลง เนื่องจากชาวบ้านต้องการให้น้ำระบายไปโดยเร็ว โดยมีนายเรวัต ประสงค์ นายอำเภออุทัย เข้าเจรจากับชาวบ้าน แต่ก็ไม่เป็นผล ทำให้กรมชลประทานต้องหยุดการทำงาน

    จับขโมยร้านสะดวกซื้อ

    ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อกลางดึกวันที่ 16 ต.ค. ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.พระนครศรีอยุธยาร่วมกับตำรวจน้ำออกตรวจภายใน บริเวณเกาะเมืองเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาวิ่งผ่านไปยังร้านสะดวกซื้อแฟมิ ลี่มาร์ท ใกล้ตลาดหัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา พบคนร้ายกำลังรื้อข้าวของว่ายน้ำออกหลังร้าน จึงนำเรือไปสกัดจับได้ ชื่อนายชัยชาญ กลีบยี่โถ อายุ 34 ปี ระหว่างนั้นรับแจ้งว่าที่ร้าน 7-11 ใกล้กับท่ารถอยุธยา-กรุงเทพฯ พบคนร้าย 2 คน ภายในร้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจลงน้ำเข้ามาล้อมจับกุมได้ 2 คน ชื่อนายประวิทย์ เข็มปัญญา อายุ 30 ปี และนายพงศกร ไพรสาลี อายุ 25 ปี สอบสวนทราบว่าเกิดจากความอดอยากเพราะอาหารไม่เพียงพอ

    "สุพรรณฯ"ค้านเปิดประตูน้ำ

    ที่ จ.สุพรรณบุรี ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก สำนักชลประทานที่ 12 ประชาชนจาก 5 อำเภอ กว่า 500 คนรวมตัวเรียกร้องไม่ให้เปิดประตูระบายน้ำที่อ.สามชุกเพิ่มขึ้น เพราะเกรงจะได้รับผลกระทบกับผู้ที่อยู่ใต้ประตูน้ำหลายอำเภอ ตั้งแต่สามชุก ศรีประจันต์ เมือง บางปลาม้า และสองพี่น้อง เพราะขณะนี้ก็ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องแล้วกว่า 2 เดือน

    ที่ จ.อ่างทอง ชาวบ้านต.หัวไผ่ ประมาณ 10 คน ถูกนำส่งร.พ.อ่างทอง เนื่องจากอาหารเป็นพิษ จากการรับประทานข้าวมันไก่ที่มีผู้บริจาค ส่วนที่ต.ชัยฤทธิ์ อ.ไชโย น้ำท่วมขังนานกว่า 1 เดือนแล้ว น้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นทั้งตำบล ชาวบ้านเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาดูแล

    ร.ต.ท.รัฐภูมิ ขมสวัสดิ์ ร้อยเวร สภ.บางจัก อ.วิเศษชัยชาญ รับแจ้งพบศพชายลอยอยู่ในน้ำข้างสวนกล้วยบริเวณหมู่ที่ 6 ต.คลองขนาก อ.วิเศษชัยชาญ จึงรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบศพนายมานิตย์ ถีระแก้ว อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 11/1 หมู่ที่ 6 ต.คลองขนาก อ.วิเศษชัย ชาญ ข้อมือขวาพันติดอยู่กับข่ายดักปลาจนแน่น สอบสวนทราบว่าก่อนเกิดเหตุนายมานิตย์ได้มาวางข่ายดักปลา แล้วถูกตาข่ายพันมือจนจมน้ำเสียชีวิต

    ที่จ.สิงห์บุรี ประชาชนในตลาดเทศบาลเมืองอยู่ในภาวะตื่นตระหนกหลังจากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ผุดขึ้นเป็นช่องใหญ่บริเวณถนนวิไลจิตใกล้กับโรงสูบน้ำ ทำให้ต้องระดมทหารจากค่ายพิบูลสงคราม จ.ลพบุรี 50 นาย และประชาชนอีกจำนวนหนึ่งมาช่วยกันทำคันล้อมกั้นน้ำเอาไว้

    นครสวรรค์ยังวุ่น

    ที่ จ.นครสวรรค์ ที่ศูนย์อพยพโรงเรียนนครสวรรค์มีผู้อพยพหลายรายที่มีอาการป่วย เป็นไข้หวัด หลายรายมีอาการอาเจียน ท้องเสียกลางดึก เจ้าหน้าที่รีบนำส่งศูนย์เฉพาะกิจโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ที่ศูนย์เครื่องมือกล ข้าง ร.ร.ประชานุเคราะห์ คาดว่าน่าจะเกิดจากการเก็บอาหารที่รับแจกไว้นานจนอาหารเสียและรับประทานเข้า ไป นอกจากนี้ยังมีความขาดแคลนนมผง แพมเพิร์ส สำหรับทารก ทางศูนย์ได้ประสานขอให้ทางนักจัดรายการสถานีวิทยุช่วยอ่านออกรายการขอรับการ บริจาคนม และของใช้ทารก นอกจากนี้ในศูนย์อพยพแห่งอื่น ยังมีปัญหาทะเลาะวิวาท แย่งชิงน้ำดื่ม รวมทั้งเมาสุราอาละวาด

    มี รายงานว่าผู้ประสบภัยที่มีบ้านพักอยู่บนถนนเลี่ยงเมืองเทศบาลจากสันคู-สถานี จ่ายไฟฟ้าย่อยเขาขาด ไฟฟ้าไม่ติดมา 3 วันแล้ว ร้องขอให้ทางการไฟฟ้าปล่อยกระแสไฟให้ประชาชนได้ใช้ และมีรายงานว่ามีเด็กชายถูกไฟฟ้าชอร์ตเสียชีวิตที่ซอยเข้าโรงแรมไพลิน ถนนเลี่ยงเมืองเทศบาล

    สั่งกวดขันโก่งราคา

    ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ช่วงกลางดึกเมื่อคืนวันที่ 16-17 ต.ค. มีเรือรับจ้างแอบลอยลำเข้ามาในบริเวณบ้านเรือนประชาชนหลังโรงเรียนนครสวรรค์ ผู้อพยพตื่นไปเห็นจึงรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำศูนย์ออกไปตรวจสอบ พอเห็นตำรวจเรือดังกล่าวก็รีบติดเครื่องหนีไปทันที

    พล.ต.ท.อาจิณ โชติวงศ์ ผบช.ภ.ภาค 6 พร้อมคณะเดินทางมาตรวจสอบความสงบเรียบร้อยการทำงานของตำรวจ ตรวจสอบ สภ.ที่ถูกน้ำท่วมเพื่อการปรับปรุงแก้ไข และกำชับให้ตำรวจดูแลความสงบของประชาชน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ดูแลไม่ให้โจรออกลักทรัพย์สิน พร้อมทั้งให้บริการรับ-ส่งประชาชนเข้าออกตามบ้านพัก นอกจากนี้ยังให้ตำรวจร่วมกับพาณิชย์จังหวัดออกตรวจสอบราคาสินค้าป้องกันพ่อ ค้าแม่ค้าฉวยโอกาสขายของแพงเกินปกติ

    ส่วนการทำคันกั้นน้ำบนถนน พหลโยธินตั้งแต่สี่แยกเดชาติวงศ์ถึงสามแยกเวียงดอย เจ้าหน้าที่ทางหลวงชนบทพร้อมกำลังทหารกำลังเร่งทำคันกั้นน้ำ โดยจะเร่งดำเนินการให้เสร็จเร็วที่สุด แต่ติดขัดที่ยังต้องเปิด-ปิดการจราจรบางช่วงให้สามารถเดินทางได้ ขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว แต่ยังต้องใช้รถขนาดใหญ่หรือรถยกสูงสัญจรไปมา

    จัดระบบค่าโดยสาร

    ผู้ สื่อข่าวรายงานอีกว่า ประชาชนที่ติดอยู่ในบ้านมาเป็นวันที่ 7 เริ่มมีความเครียดมากขึ้น เพราะถูกต้องตัดน้ำตัดไฟ เริ่มขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม เพราะการช่วยเหลือยังไปไม่ทั่วถึงและไม่สม่ำเสมอ เพราะเรือที่จะออกไปช่วยเหลือมีข้อจำกัดมาก อีกทั้งเรือหางยาวรับจ้างที่วิ่งให้บริการคิดราคาตามอำเภอใจบางรายเจอราคา สูงลิ่วเที่ยวละ 500-1,000 บาท ดังนั้น นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าฯนครสวรรค์ จึงมอบให้ นายบุญยืน พฤกษโชค ประมงจังหวัดไปจัดระเบียบการให้บริการและราคาต้องเป็นธรรมด้วยการขึ้น ทะเบียนเรือทุกลำทำให้ราคาค่าโดยสารลดลงมาอยู่ระหว่าง 20-120 บาท บางคนก็ไปขอรับน้ำขวดจากในศูนย์อพยพแล้วนำไปวางขายนอกศูนย์

    เขื่อนล้น-พิมายท่วม

    ที่ จ.นครราชสีมา ภายหลังจากที่เกิดฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำภาย ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งของจังหวัด มีปริมาณน้ำเกินระดับกักเก็บหมดแล้วทุกแห่ง และพร่องน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลำน้ำมูน ซึ่งเป็นลำน้ำที่ต้องรองรับปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำทุกแห่งของจังหวัด โดยน้ำที่เอ่อล้นตลิ่งลำน้ำมูน ได้เอ่อเข้าท่วมศูนย์ราช การอำเภอพิมาย จ.นครราชสีมาแล้ว ส่งผลให้ขณะนี้สถานีตำรวจภูธรพิมาย ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำมูน ถูกน้ำทะลักเข้าท่วมบริเวณด้านหน้าปิดเส้นทางเข้าออกสูงประมาณ 30-60 ซ.ม. เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเร่งนำกระสอบทรายกว่า 1,000 ใบ มาทำแนวพนังกั้นน้ำ

    ที่ จ.บุรีรัมย์ น้ำเหนือจาก จ.นครราชสีมา และลำน้ำสาขา ที่ไหลมาสมทบลงลำน้ำมาศ ได้เอ่อท่วมถนนสาย 226 บริเวณสะพานข้ามระหว่าง ต.หนองคู อ.ลำปลายมาศ กับอ.ห้วย แถลง จ.นคราชสีมา สูงเกือบ 30 ซ.ม. รถสัญจรด้วยความลำบาก

    ขณะที่โรงงานตัดเย็บ 3 บริษัท ที่อยู่ภายในศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสาน ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ ได้เร่งขนย้ายเครื่องจักร และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตขึ้นสู่ที่สูงพร้อมได้ก่ออิฐบล็อก และวางแนวกระสอบทรายกั้นรอบอาคาร และบริเวณโรงงาน

    น้ำมูนสูง-เร่งดันออก

    ที่ จ.อุบลราชธานี มีฝนตกต่อเนื่องช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา ทำให้แม่น้ำมูนปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 30 ซ.ม. จังหวัดและสำนักงานเจ้าท่า ต้องนำเรือลากจูงเรือและเรือหางยาวกว่า 20 ลำ เร่งผลักดันน้ำจากบริเวณสะพาน 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ เพื่อให้ระดับน้ำที่กลับมาสูงขึ้นปรับตัวลดลงให้เร็วที่สุด เนื่องจากจะมีมวลน้ำปริมาณมากของแม่น้ำชี ที่ไหลมาจาก จ.ยโสธร และมวลน้ำของแม่น้ำมูนที่ไหลมาจาก จ.ศรีสะเกษ จะลงมาสมทบในพื้นที่อีก 2-3 วันข้างหน้า

    นวนครจมหมดแล้ว

    สำหรับสถานการณ์ล่าสุด ที่นิคมอุตสาห กรรมนวนคร เมื่อเวลา 20.00 น. ที่ศปภ. นายวิม โฆษกศปภ. แถลงว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำได้เอ่อเข้าท่วมเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้โรงงานทั้ง 227 แห่ง ได้รับผลกระทบทั้งหมด แต่ยังมีบางส่วนที่มีการสร้างพนังขึ้นมากั้นน้ำ แต่จะต้องดูปริมาณน้ำในคืนนี้ว่าจะรับได้มากแค่ไหน ส่วนเรื่องพนักงานได้อพยพออกมาเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เราจำเป็นต้องเปิดประตูน้ำที่คลองหกให้ไหลเข้าคลองรังสิต เพื่อลดแรงดันน้ำ ส่วนการระบายน้ำที่คลองระพีพัฒน์ ไปยังคลอง 2-3 ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้ว



    กทม.ใช้ 3มาตรการรับมือน้ำเหนือ

    เมื่อ เวลา 21.15 น.วันที่ 17 ต.ค. ที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. แถลงว่า เมื่อเวลา 19.00 น. ที่ผ่านมา ได้รับการประสานจากรัฐบาลว่าไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำจากคลอง 8 คลอง 9 จ.ปทุมธานีได้ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำในคลองดังกล่าว และคลองเชื่อมต่างๆ ในกทม.มีระดับน้ำสูงถึง 3.50 เมตร กทม. จึงจำเป็นต้องกำหนด 3 มาตรการเร่งด่วนเพื่อปกป้องเขตสายไหมและดอนเมือง ได้แก่ 1. เสริมแนวคันกั้นน้ำบริเวณคลองหกวา สูง 3 เมตร ระยะทาง 6 ก.ม.คาดว่าต้องใช้กระสอบทราย 1.2 ล้านกระสอบ โดยเริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 17 ต.ค.นี้ เพราะจากการคำนวณ กทม.มีเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง จึงต้องทำงานแข่งกับเวลาทุกนาที 2. สร้างคันกั้นน้ำตั้งแต่คลอง 8-12 ระยะทาง 15 ก.ม.ความสูง 3 เมตร ใช้เวลาดำเนินการ 7 วัน แต่จะหาวิธีให้ร่นระยะเวลาให้เหลือ 3-4 วัน และ 3. กทม.จะร่วมมือกับกรมทางหลวงชนบทปิดจุดอ่อนบริเวณถนนพหลโยธินข้ามคลองรังสิต และถนนสุวินทวงศ์ เพราะน้ำอาจจะตลบเข้ากทม.ได้

    "ไม่อยากให้ประชาชน ตื่นตระหนก กทม.ขอเวลาประเมินสถานการณ์ให้ชัดเจนก่อน แต่ขณะนี้ประชาชนควรนำของมีค่าขึ้นที่สูงได้ทันที หากทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ได้ ควรทำไปก่อน ยืนยันว่ากทม.จะดูแลประชาชนอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะเขตสายไหมซึ่งเป็นด่านหน้าของกทม. และอยากให้ประชาชนในเขตดอนเมืองตื่นตัวด้วยเช่นกัน"ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าว

    ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวอีกว่า ที่รัฐบาลได้บอกว่าจะมอบกระสอบทราย 1 ล้านใบ อยากให้ส่งมาให้เร็วที่สุด ไม่อยากให้เกินสัปดาห์หน้า นอกจากนี้ที่รัฐบาลจะส่งนักโทษ 300 คนมาช่วย ยังมั่นใจว่ารัฐบาลรักษาคำพูด ขณะเดียวกันขอเชิญชวนประชาชนร่วมมือกับกทม.ต่อสู้ปัญหาให้พ้นภัยน้ำท่วม ครั้งนี้ โดยกทม.ได้ตั้งศูนย์ที่โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ตนอยากให้ประชาชนดูแลบ้านตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น ถ้าความผิดพลาดเกิดจากคนอื่น ตนจะไม่รับผิดชอบ แต่ถ้าเกิดจากความผิดพลาดของตัวเองก็จะรับผิดชอบ แต่จะให้ลาออกจากตำแหน่ง คงง่ายเกินไป
    [/FONT]

    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakU0TVRBMU5BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHhNQzB4T0E9PQ==-

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอปรบมือให้

    ลองพิจารณาดูครับว่า จะมีธนาีคารไหนบ้างที่ช่วยเหลือลูกค้าบ้าง หากมีธนาคารไหนที่ช่วยเหลือลูกค้าในยามวิกฤตเช่นนี้ ต่อๆไปหากต้องการกู้เงิน ก็ให้ไปกู้กับธนาคารที่ได้ช่วยเหลือลูกค้าครับ

    ---------------------------------------

    แบงก์อิสลามพักหนี้-ปล่อยกู้ดอกถูก


    คลังมอบธนาคารอิสลามออก 3 มาตรการยิ้มสู้ฟื้นฟูอาชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปล่อยกู้ดอกเบี้ยถูก พักหนี้ให้ 3 เดือน
    นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัรมช.คลัง เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เร่งจัดทำมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ภายใต้โครงการ ยิ้มสู้ฟื้นฟูอาชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อแบ่งเบาภาระของลูกค้าและประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบ ใน 3 มาตรการได้แก่
    มาตรการที่แรกสำหรับลูกค้ารายเดิมที่ไม่ประสงค์จะขอวงเงินสินเชื่อที่ได้ รับความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม จะได้รับการพักชำระทั้งเงินต้นและกำไร (พักชำระหนี้) เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นเดือนที่ 4 – 6 ชำระเฉพาะอัตรากำไรเท่านั้น ส่วนเดือนที่ 7- 24 ชำระหนี้ตามปกติ โดยคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1 และหลังจากเดือนที่ 25 หรือเข้าปีที่ 3 ธนาคารจะคิดอัตรากำไรตามปกติ
    มาตรการที่สอง สำหรับลูกค้ารายเดิมที่ประสงค์จะขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม
    มาตรการที่สาม สำหรับลูกค้ารายใหม่ที่ประสงค์จะขอวงเงินสินเชื่อ โดยแบ่งตามประเภทสินเชื่อ อาทิ สินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง ซ่อมแซมหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย สินเชื่อวงเงินทุนหมุนเวียน และเบิกถอนเงินสด ทั้งนี้ ระยะเวลาในการผ่อนชำระเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ปี – 30 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของวงเงินสินเชื่อ โดยธนาคารเริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค.นี้ เป็นต้นไป
    นอกจากนี้ ได้ให้ธนาคารอิสลาม ดำเนินการช่วยเหลือโรงครัวอาหารฮาลาล 2 แห่ง บริเวณอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลภูเขาทอง ซึ่งเป็นศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยที่มีมุสลิมกว่า 2,000 คน และบริเวณศูนย์ราชการบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา มีมุสลิมที่ต้องการอาหารฮาลาลอยู่ประมาณ 1,500 คน โดยโรงครัวอาหารฮาลาลดังกล่าวจะจัดอาหาร 3 มื้อให้กับผู้ประสบอุทกภัยทุกวันจนกว่าน้ำจะลด


    -http://www.posttoday.com/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99/116791/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81-

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    เตือนกิ่งแก้ว-ร่มเกล้าเก็บของขึ้นที่สูง


    กรมชลฯเตือนพื้นที่นอกคันกั้นกิ่งแก้ว-ร่มเกล้าเก็บของขึ้นที่ สูง1ม.คาดน้ำท่วมสูง80ซม. ขณะที่ระดับน้ำคลอง4รังสิตใกล้ล้นคันดินระดมเสริมกระสอบทรายเพิ่ม
    กรมชลประทานได้แจ้งเตือนให้ราษฎรในเขต​พื้นที่ด้านนอกคันกั้นน้ำพระราชดำ ​ริตามแนวถนนกิ่งแก้ว ถนนร่มเกล้า ให้เก็บของขึ้นที่สูงและหรื​อทำแนวป้องกันไม่น้อยกว่า 1.00 ม.- 1.50 ม. เนื่องจากคาดว่าจะได้รับผลกระทบน้ำท่วมที่ระดับความสูงประมาณ 50-80 ซม.
    นอกจากนี้ยังเตือนพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้​าพระยา บริเวณอ.บางบัวทอง บางใหญ่ และบางกรวย จ.นนทบุรี ว่าเป็นพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ​จากน้ำท่วมเช่นกัน โดยให้ประชาชนบริเวณดังกล่าว เตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงประมาณ 1.50 - 2.00 ม.และติดตามการแจ้งเตือนจากส่วนราชการอย่างใกล้ชิด
    ด้าน เขตทวีวัฒนา แจ้งว่าระดับน้ำคลองมหาสวัสดิ์ เขตวัฒนาสูง 1.9 เมตร ต่ำกว่าคันกั้นที่ความสูง 2.5 เมตร โดยยังเชื่อว่าสามารถรับมือได้ ส่วนที่น่าจะกังวลคือฝั่งนนทบุรี และฝั่งนครปฐมจุดศาลายา ซึ่งที่นนทบุรี หากจำนวนน้ำมีปริมาณมากกว่า 2.5 เมตร ก็จะล้นคันกั้น
    ขณะที่ระดับน้ำในคลอง 4 รังสิต เริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤตใกล้จะล้นคันดินที่ทำไว้สูง 2 เมตรแล้ว ซึ่งทางอำเภอคลองหลวงได้ประสานขอกำลังจากทหารมาช่วยเสริมแนวกระสอบทรายให้ สูงขึ้นอีก ไม่เช่นนั้นน้ำจะท่วมเข้าคลองรังสิตได้


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1./116891/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    วิกฤตน้ำท่วมอาจส่งผลแรงเท่าปี 40


    น้ำท่วมใหญ่ในปีนี้อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างรุนแรงจนใกล้เคียงกับ ปี พ.ศ.2540 ทุกฝ่ายควรมีแผนตั้งรับ
    โดย...ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส

    [​IMG]
    โสภณ พรโชคชัย


    ความเสียหายของนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครที่มีโรงงาน 44 แห่ง และนิคมอุตสาหกรรมโรจนะที่มีโรงงานอีก 150 แห่ง เป็นลางร้ายสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงแผนการป้องกันน้ำท่วมที่อ่อนแอ ที่ทุกฝ่ายมุ่งเน้นช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม จนอาจหลงลืมการวางแผนป้องกันภาคธุรกิจเอกชน ที่เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ ปล่อยให้ภาคเอกชนดำเนินการตามอัตภาพเอง การป้องกันน้ำท่วมให้กับนิคมอุตสาหกรรมของภาคเอกชน ไม่ใช่หมายถึงการช่วยเหลือ ‘นายทุน’ แต่หมายถึงการปกป้องกลไกgเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ บางท่านอาจคิดเห็นว่า ควรให้น้ำท่วมกรุงเทพมหานครเพื่อ ‘เฉลี่ยทุกข์’ ซึ่งอาจเป็นการคิดตามอำเภอใจหรือเป็นไปตามอารมณ์ความรู้สึกในห้วงน้ำท่วม แต่หากในเร็ววันนี้เกิดน้ำท่วมใหญ่เข้าสู่เขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร เมื่อนั้นก็จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานของมหานครแห่งนี้ที่สร้างสมมาเป็นมูลค่า นับล้านล้านบาท เสียหายลงได้ ซึ่งเป็นการทำลายสมองหรือศูนย์รวมประสาทของประเทศ ทำให้การทำการหน้าที่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหยุดชะงักลง ก่อความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    หากนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมย้ายฐานการผลิต หรือฐานสำนักงานสาขาไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย หรืออื่น ๆ ก็จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจของไทยเสื่อมทรุดลง ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจของไทยขึ้นอยู่กับการส่งออก ไม่ใช่การใช้สอยกันภายในประเทศแบบ ‘อัฐยายซื้อขนมยาย’ ตามคำโฆษณาชวนเชื่อ ดังนั้นที่บางท่านอาจให้ข้อสังเกตว่าหลังน้ำท่วมใหญ่ กิจการก่อสร้าง ซ่อมแซมสาธารณูปโภคจะเติบโตขนานใหญ่ แต่กิจการเหล่านี้ก็มีการหน้าที่เพียงเพื่อ ‘ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ’ ไปเท่านั้น ไม่ได้มีบทบาทในการเพิ่มความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด
    ผลกระทบของน้ำท่วมครั้งนี้ อาจส่งผลให้เศรษฐกิจเสื่อมทรุดลงทันที โดยทั้งนี้คนทำงานในกรุงเทพมหานครและคนงานโรงงานต่าง ๆ อาจตกงานหรือได้ค่าจ้างลดลงจากความสามารถในการส่งออกที่ลดลงไปชั่วระยะเวลา หนึ่ง รายได้หลักของครัวเรือนในชนบทมักได้จากการผลิตภาคการเกษตรเพียงส่วนน้อย แต่ส่วนมากได้จากการส่งเงินจากลูกหลานผู้ทำงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไปยังชนบท รวมทั้งเงินตราจากการทำงานในต่างประเทศอีกส่วนหนึ่ง หากมีคนตกงานหรือมีรายได้ลดลงนับแสน ๆ คน ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    ยิ่งกว่านั้นทำเลที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมอาจเปลี่ยนไปเป็นภาคตะวันออก หรือบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ที่ราบลุ่ม ทำให้ทำเลซื้อที่อยู่อาศัยอาจเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ที่ดินบริเวณที่ต่อไปอาจเป็นพื้นที่น้ำท่วม ‘ซ้ำซาก’ อาจมีราคาลดลงได้ ดังนั้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่เหล่านี้จึงอาจได้รับผลกระทบเชิงลบ ได้โดยตรง ที่สำคัญที่สุดก็คือ หากเศรษฐกิจตกต่ำลง การผิดนัดสัญญาโอนบ้าน การผิดนัดสัญญาผ่อนส่งบ้าน ก็จะเกิดขึ้น สถาบันการเงินที่ต่างแข่งขันกันอำนวยสินเชื่อกันอย่างประมาท ณ ระดับ 100% ของมูลค่าตลาดในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ ก็อาจได้รับความเสียหายไปด้วย
    หากบริษัทผู้ประกอบการประสบปัญหาในการขายบ้านและปิดกิจการลง สถาบันการเงินก็อาจสะดุดหยุดลงเช่นกัน จากประสบการณ์ใน พ.ศ.2540 ปรากฏว่า ผู้ผ่อนบ้านหลายรายยินดีที่จะทิ้งการผ่อนส่งบ้าน แต่ไม่ทิ้งการผ่อนส่งรถเพื่อเก็บไว้เป็นเครื่องมือการผลิต เช่น การ ‘เปิดท้ายขายของ’ เป็นต้น ในสถานการณ์นี้ ผู้ซื้อบ้านที่ดีที่จองซื้อบ้านกับโครงการต่าง ๆ โดยไม่ได้รับมาตรการการคุ้มครองผู้ซื้อเพราะไม่มีการนำพระราชบัญญัติคุ้ม ครองคู่สัญญา (Escrow Account) มาใช้ ก็อาจจะได้รับความเดือดร้อนไปด้วย อาจซ้ำรอยเมื่อ พ.ศ.2540 ที่เกิดกรณีซื้อบ้านแล้วได้แต่กระดาษ (สัญญาซื้อบ้าน) หรือได้แต่เสาบ้าน (สร้างบ้านไม่เสร็จตามสัญญา)
    ดังนั้นจึงอาจเกิดข้อกังวลว่า ธุรกิจที่อยู่อาศัยที่กำลังได้รับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นอย่างสูงจากบรรดา ผู้ประกอบการในขณะนี้ อาจพังทลายลงตามภาวะเศรษฐกิจที่สะดุดลงอย่างกะทันหันด้วยวิกฤติน้ำท่วมที่ รุนแรงและทอดระยะเวลายาวนานเกินความคาดหมาย ดังนั้นวิกฤติตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ทางศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่า อสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส คาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดขึ้นใน พ.ศ.2556 อาจเกิดขึ้นเร็วกว่ากำหนด 1 ปี
    ในสถานการณ์ขณะนี้ ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จึงควรทบทวนแผนกลยุทธ์ของบริษัทของตนเอง เสียใหม่ โอกาสที่จะเพิ่มการผลิตปีละ 20-30% อาจมีความเป็นไปได้น้อยลง วิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 ได้ให้ข้อสรุปแก่ผู้ประกอบการว่า หากสามารถคาดเดาถึงวิกฤติได้ล่วงหน้า การหยุดการผลิตเพิ่ม การเร่งขายสินค้าที่ยังมีอยู่ในมือ การใช้หนี้ให้หมดโดยเร็ว อาจเป็นทางออกสำคัญในการป้องกันปัญหาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94/116351/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B5-40-


    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    โทลเวย์ขอรัฐจัดระเบียบรถหนีน้ำท่วม


    โทลเวย์ไม่ห้ามรถจอดบนทางด่วนหนีน้ำท่วมแนะรัฐส่งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือจัดระเบียบหวั่นจราจรอัมพาต
    นายธานินทร์ พานิชชีวะ กรรมการผจก.บริษัททางยะระดับดอนเมือง จำกัด(ดอนเมืองโทลเวย์) เปิดเผยว่า ตอนนี้มีรถกว่าร้อยคันขึ้นไปจอดบนทางด่วน การจะไปยกรถลงมาคงเป็นเรื่องลำบาก เพราะด้านล่างบ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วม หากว่ากันตามกฏหมายไม่อนุญาตให้นำขึ้นมาจอด แต่เราเป็นคนไทยต้องช่วยเหลือกัน ดังนั้นการเข้ามาจอดคงต้องจัดระเบียบ เพื่อไม่ให้การจราจรเป็นอัมพาต แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดประสานเข้ามา แต่พร้อมให้ความร่วมมือ เพราะไม่ใช่สถานการณ์ปกติ
    "บนทางด่วนรถวิ่งค่อนข้างเร็ว ถ้ามีการจอดรถจะเกิดอันตรายโดยเฉพาะทางขึ้นทางลง อาจมองไม่เห็นชนกันมีอุบัติเหตุใหญ่ตามมา อีกเรื่องคือการลำเลียงการลำเลียงผู้ป่วยและอาหารถ้ากรณีน้ำท่วมถนนด้านล่าง การช่วยเหลือก็ไม่มีทางจะวิ่ง จึงขอความร่วมมือเพื่อความปลอดภัย ผมยังเห็นใจ ถ้าจะจอดกันจริง ๆ ก็คงต้องขอให้จอดซ้ายสุดต้องขอความร่วมมือตรงนี้"นายธานินทร์ กล่าว


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/116883/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กทม.ระวังน้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่ง

    “ประยุทธ์”ยังหวังกู้”นวนคร” เตือน กทม.ระวังน้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่ง สั่งระวังจุดน้ำล้น เร่งซ่อมคันกั้นน้ำ รับน้ำท่วมภาคกลางยังวิกฤติ โวยคนไทยไม่ยอมกัน ต้องให้ท่วมเท่าๆกัน วอนหยุดโทษใครผิด-ถูก หวังน้ำท่วมสร้างความสามัคคี

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ปัญหาหาน้ำท่วมในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนครว่า นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กองทัพไทย กองทัพบก ร่วมกับหน่วยราชการและผู้บริหารในส่วนของนวนครทั้งหมด ดูแลพื้นที่นคมอุตสหากรรมนวนคร แต่เนื่องจากปริมาณน้ำที่ไหลลงมามีมากและสะสม ทำให้ท่วมกินพื้นที่ประมาณ 90% ของนวนคร

    พล.อ.ประยุทธ์กล่าว ว่า มีโรงงาน 10% ที่ดูแลตัวเองได้ ไม่มีน้ำเข้าไปในพื้นที่เลย ทั้งนี้กองทัพภาคที่1 ได้พยายามซ่อมแซมแนวพนังกั้นน้ำที่ชำรุดมี2แนวทางด้านทิศเหนือ สถานการณ์ขณะนี้ยังพอประทังได้ แต่ถ้าน้ำที่ลงมาทางด้านเหนือไม่ได้ถูกระบายไปด้านตะวันออกและตะวันตกลงทะเล จะทำให้ปริมาณน้ำสะสมมากขึ้นและจะทำลายคั้นดินต่างๆ โดยกองทัพไทย กองทัพบก พยายามดูแลอย่างเต็มที่ทุกพื้นที่ ทุกคนเตรียมการไว้ล่วงหน้าดี ที่สำคัญต้องพยายามแก้ปัญหาให้ได้ และต้องไม่ตื่นตระหนก ค่อยๆบริหารจัดการที่ดี “เรายังมีความหวังว่าจะกู้ให้ได้

    พล.อ.ประยุทธ์กล่าว ต่อว่า ส่วนนิคมอื่นๆ เราไม่ได้ทิ้ง แต่รอให้ระดับน้ำทรงตัว และทำคันกั้นใหม่ ดูดน้ำออกเป็นโซนๆ เพื่อจะกู้แต่ละโรงงานกลับมาให้ได้ เพราะถ้าน้ำไหลอยู่เราทำอะไรไม่ได้ ส่วน กทม. ที่ต้องเฝ้าระวังคือพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณทางน้ำ คลองส่งน้ำที่ต้องระวังน้ำล้นตลิ่ง ขอให้ฟังการประกาศของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของกรุงเทพฯ ก็ให้ฟังประกาศของ กทม. ส่วนทหารส่งกำลังไปสนับสนุนบางจุดที่ร้องขอมา ขอให้เชื่อมั่น

    "สำหรับที่ กทม.ออกมาเตือน 10 วันอันตรายนั้น เราก็ต้องระวังทุกคันกั้นน้ำที่มีอยู่ ตวรจตรา หาจุดที่น้ำล้นและซ่อมแซม ส่วนการผันน้ำ ต้องฟังทาง ศปภ. ซึ่งเขาจะผันน้ำไปทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออก แต่ปัญหาคือประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำจะโดนก่อนคือน้ำล้นตลิ่ง ความเสี่ยงอยู่ตรงนี้ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม และถ้าพื้นที่ตรงนี้ท่วมแล้วต่อไปก็จะเข้าในโซนชั้น 2 ชั้น 3 ”พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

    ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ประชาชนรู้สึกว่า รัฐบาลแก้ปัญหาตามน้ำ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คงไม่ใช่ เราอย่าพูดว่า ใครผิดใครถูก แต่ต้องดูว่าจะบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนอย่างไร โดยไม่ให้เสียชีวิต อย่าไปโทษกัน ต้องทบทวนว่าเมื่อเกิดขึ้นจะแก้ปัญหาอย่างไรในครั้งต่อไป ต้องเข้าใจว่าน้ำที่มาเป็นล้านลูกบาศก์เมตร วิธีเดียวคือการกระจายน้ำออกให้เร็วที่สุด ไปตามคลองส่งน้ำ คลองที่เราไปขุดลอกไว้ แต่ถ้าท้ายน้ำยังตันอยู่ น้ำทะเลยังสูงก็ระบายได้ช้า ส่วนกองทัพบกก็เร่งขุดลอกคลองเพื่อระบายน้ำ แต่ปริมาณน้ำเหนือยังลงไปไม่ถึงตรงนั้น ต้องรอให้น้ำลงไป และจะระบายลงทะเลนั้นก็ต้องดูว่าน้ำทะเลหนุนสูงหรือไม่ แต่น้ำหนุนสูงในวันที่ 18 ต.ค.และอีกช่วยหนึ่งคือ 28 กับ 30 ต.ค. ส่วนศูนย์อพยพที่ไม่เพียงพอนั้น ต้อง เพิ่มเติมและถ้าไม่มีพื้นที่ หน่วยทหารก็พร้อมที่จะรับ

    พล.อ.ประยุทธ์กล่าว ต่อว่า ช่วงนี้ระดับน้ำยังอยู่ในช่วงวิกฤติ ปริมาณน้ำหลายล้านลูกบาศก์เมตรที่ยังไม่ลงสู่ทะเล พื้นที่ภาคกลางวิกฤติทั้งหมด เพราะปริมาณน้ำในเขตมีมากน้ำในลำคลองก็มีสูง น้ำทะเลหนุน การป้องกันเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะที่เราทำทั้งหมดไม่ใช่เขื่อน พนังกั้นน้ำถาวรแต่เป็นแค่ชั้นดิน กับกระสอบทรายที่เรียงไว้ พอน้ำมาก็พัง
    <ins style="width: 300px; height: 250px; display: inline-table; position: relative; border: 0pt none;"><ins style="width: 300px; height: 250px; display: block; position: relative; border: 0pt none;"></ins></ins>

    ส่วนน้ำที่จะไหลลงภาคใต้ ขณะนี้ ทางแม่ทัพภาคที่4 ได้รายงานแล้วว่า และได้ประชุมเตรียมการ ใช้แผนการที่ใช้แก้ปัญหาทุกปี และตอนนี้ให้กองทัพภาคที่4 เตรียมแผน จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัย เรื่องปัญหาน้ำท่วม คนไทยเราเป็นคนไม่ยอม หากเห็นตรงไหนท่วม แล้วอีกที่ไม่ท่วมก็เกิดปัญหา สงสัยต้องให้ท่วมกันทั้งหมด เฉลี่ยความทุกข์สุขให้เท่าๆกัน นี่คือคนไทยไม่มีใครเหมือนประเทศไทย คนไทยเก่งกว่าเพื่อนไม่ว่า ประเทศรอบบ้านที่ไหนก็สู้คนไทยไม่ได้ ทั้งยอกย้อน ซ่อนเงื่อนครบหมด คนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไตหรอก แต่อยู่กันแถวๆนี้ จงภูมิใจเถอะว่าเราเป็นเจ้าของพื้นที่แห่งประวัติศาสตร์ชาติพันธ์ ตอนนี้ทหารถูกใช้งานเยอะมากทั้งดูแลสถานการณ์ภาคใต้ หรือ ดูแลชายแดน พอมาตีกันในกรุงเทพหรือมีปัญหาน้ำท่วมก็ใช้ทหารชุดเดิมในการแก้ไขปัญหาน้ำ ท่วมครั้งนี้คงทำให้เรารักและสามัคคีกันมากขึ้น






    .


    -http://www.komchadluek.net/detail/20111018/112133/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87.html-

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    เปิดโมเดล!ฝ่าวิกฤติกทม.'ตัดถนน 8 สาย'ระบายน้ำ

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]


    [​IMG]




    ปิดโมเดล'River Network Model'ฝ่าวิกฤติกทม.จมน้ำ เสนอตัดถนน 8เส้นฝั่งตะวันออกจี้รัฐตัดสินใจด่วนแก้โจทย์ใหญ่สกัดน้ำ1.7หมื่นล้านลบ .ม.เข้ากรุง

    สถานการณ์น้ำท่วมยังคง วิกฤติในหลายพื้นที่ ปริมาณมวลน้ำขนาดใหญ่ 1.7 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร คือโจทย์ใหญ่ที่รัฐและหน่วยงานราชการทั้งหมดต้องเร่งระดมแนวทางเพื่อเร่ง ระบายน้ำลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด เพราะมิฉนั้นกทม.(โซนเสี่ยงขั้น 2และ3 )และอีกหลายจังหวัดใกล้เคียงคงต้องจมอยู่กับน้ำ 1-2 เดือนเป็นแน่
    ในประเด็นดังกล่าว ชวลิต จันทรรัตน์ วิศวกรแหล่งน้ำ บริษัททีมกรุ๊ป ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่ปรึกษาซึ่งมีประสบการณ์ด้านการจัดการน้ำมานาน ได้ทดลองแบบจำลองที่เรียกว่า "RIVER NETWORK MODEL" เพื่อประเมินทิศทางพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและทางออกในการระบายน้ำ

    เนื่องจากในปีนี้มีฝนตกมากกกว่าปกติถึง 40% ก่อนที่จะไหลลงมายัง "ปิง- วัง- ยม-น่าน "ก่อนที่จะลงสู่เจ้าพระยา ขณะเดียวกันเขื่อนที่มีอยู่หลายแห่งก็ไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำที่มากขึ้น ได้ ทำให้วันนี้มีมวลน้ำข้างอยู่1.6-1.7 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) โดยประมาณ 7-8 พันล้านเป็นน้ำค้างทุ่งและอีกประมาณ 1 หมื่นล้านลูกบาทศ์เมตรอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา
    ทั้งนี้มวลน้ำ 1.7 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร เป็นการคำนวณตั้งแต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ซึ่งขณะนี้กำลังไหลเข้ามากรุงเทพ และเมื่อนำมาคำนวณรวมกับปัจจัยน้ำทะเลหนุนเสริม และความอ่อนแอของพนังกั้นน้ำในพื้นที่ต่างๆ บริเวณแนวกันของกทม.พบว่า มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องเร่งตัดสินใจเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด ทางออกแรกคือการให้พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็น flood way หรือพื้นที่ระบายน้ำ

    ชวลิต ขยายเพิ่มเติมว่าหลังจากได้ข้อมูลจากโมเดลน้ำ เราพบว่า มวลน้ำทั้งหมดตั้งแต่ชัยนาท มี ประมาณ 1.7 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร รวมลุ่มน้ำเจ้าพระยา และน้ำค้างทุ่งทั้งหมดจะมีน้ำไหลเข้า จ.พระนครศรีอยุธยา เฉลี่ย 600 ล้านลบ.ม.ต่อวัน ขณะที่หน่วยงานราชการ ได้พยายามเร่งระบายน้ำออกได้ แต่สามารถระบายลงไปได้วันละ 450 ล้านลบ.ม.เพราะฉะนั้นจะเหลือน้ำประมาณ 150 ล้านลบ.ม.ที่ไหลแทรกไปตามพื้นที่ต่างๆ เช่น ทะลักเข้าไปในพื้นที่ปทุมธานี และ นนทบุรีในพื้นที่ ซึ่งหากไม่"หาที่ใหม่ให้น้ำ"หรือเร่งระบายออก น้ำที่สะสมเข้ามา วันละ 150 ล้านลบ.ม.ต่อวันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและเชื่อว่าพนังกั้นน้ำที่ปกป้องกทม.อยู่วันนี้ ก็จะไม่สามารถรับแรงกระแทกของน้ำได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นในหลายจุดแล้ว เช่นบริเวณปทุมธานี
    เขาได้เสนอว่าเพื่อแก้ปัญหาในปริมาณน้ำที่เหลือ 150 ล้านลบ.ม.ต่อวันระบายลงสู่อ่าวไทยได้มากที่สุด จำเป็นต้องเร่งระบายเพราะไม่อย่างนั้น จะไม่สามารถรักษาพื้นที่ กทม. เอาไว้ได้

    " สิ่งที่ต้องทำตอนนี้ก็คือ การเร่งระบายน้ำ 150 ล้านลบ.ม. เพื่อไม่ให้ กทม. ต้องรับน้ำ ถ้าเป็นไปได้ ต้องเจาะทะลุพื้นที่ฝั่งตะวันออก คือเจาะตัดขาดถนนหลายๆ สาย เพื่อให้น้ำผ่านได้เร็วขึ้น เพราะเท่าที่ประเมินตอนนี้เราเห็นว่าหากไม่เร่งระบายพนังกั้นน้ำในหลาย พื้นที่อาจจะสู้ไม่ไหว"
    แม้ว่ารัฐบาลจะเลือกพื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ระบายน้ำ เนื่องจากฝั่งตะวันตก แม่น้ำท่าจีนคดเคี้ยวทำให้ระบายได้ไม่มาก แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ฝั่งตะวันออก ก็มีถนน 50 สาย ที่ขวางเส้นทางน้ำ ชวลิต จึงเสนอว่า หากต้องการเร่งระบายน้ำ สิ่งที่ต้องทำก็คือ การตัดถนน 8 เส้นในฝั่งตะวันออก เช่น ถนนบริเวณ ต.หนองเสือ ปทุมธานี และถนนบริเวณบางน้ำเปรี้ยวเพื่อตัดน้ำลงไปสู่ทะเลที่บริเวณคลองด่าน
    " เราได้เสนอแนวทางนี้กับกรมชลประทานไปแล้ว แต่ในรายละเอียดหน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลาง ท้องถิ่น ต้องมาพิจารณาร่วมกันว่าจะตัดถนนสายไหนบ้าง ที่ระบายได้ดีที่สุดและผลกระทบน้อยที่สุด"

    ชวลิต บอกว่า การเจาะถนน ต้องตัดสินใจภายในวันนี้เพราะปริมาณการไหลของน้ำในปัจจุบันอยู่ที่ 3 เมตรต่อวินาที ซึ่งถือว่าเร็วมากขณะที่จำนวนน้ำ 150 ล้านลบ.ม. จะทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มความสูงมากขึ้นตามกำแพงกั้นและที่สุดกำแพงอ่อนแอก็จะ พังทลายลง
    เขาบอกว่า หากมีการตัดสินใจเจาะถนนสิ่งที่ต้องเตรียมดำเนินการ คือ การประสานกับท้องถิ่นเตรียมพื้นที่อพยพ โซนสีแดงต้องเข้าช่วยเหลือผู้อพยพ โดยหาสถานที่อพยพ เพื่อย้ายคนออกไปในพื้นที่ หากบางคนต้องการอยู่บ้านต้องแจ้งทะเบียนเพื่อสามารถแจกจ่ายอาหารได้ ส่วนโซนสีเหลืองต้องแจ้งให้เก็บของ และจอดรถในที่สูง สิ่งเหล่านี้คือ เรื่องที่หน่วยงานราชการต้องเตรียมการทั้งหมด หากมีการตัดสินใจตัดถนนเพื่อระบายน้ำ
    ส่วนประชาชน ชวลิต บอกว่า" อย่าแตกตื่น ติดตามข่าวทางราชการให้มาก เพราะว่าข้อมูลเป็นความจริงทุกหน่วยงานกำลังช่วยกันอยู่แล้ว " อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าปีนี้ปริมาณน้ำ 5 แม่สายหลัก มีจำนวนมากกว่าทุกปี ถึง 1.4 เท่า ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน และ เจ้าพระยา ดังนั้นทุกคนจึงต้องช่วยกันแบ่งเบาความเดือดร้อนร่วมกัน
    -----
    พื้นที่เสี่ยง 3 ระดับ"น้ำท่วม" กทม.
    กลุ่มบริษัททีม ได้วิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ โดยได้จัดทำแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในระดับต่างๆ และพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาอุทกภัย
    1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 3 (สีแดง : เสี่ยงสูงสุด)
    1.1 เป็นพื้นที่น้ำท่วมแน่นอน พื้นที่ที่อยู่นอกคันพระราชดำริ จะมีสภาพการท่วมเช่นเดียวกับปี 2538 แต่ระดับสูงกว่า ประมาณ 0.50 เมตร น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร จะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน จำเป็นต้องอยู่กับน้ำให้ได้ หรืออพยพไปอยู่ที่อื่น
    1.2 พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ทางตะวันออกของกรุงเทพฯ นี้ จะเป็นทางที่น้ำจะไหลจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงสู่ทะเลโดยน้ำจะใช้เวลาในการเดินทางมาก ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอวังน้อย อำเภอหนองเสือ ทางตะวันออกของอำเภอธัญบุรี พื้นที่ทางตะวันออกของเขตหนองจอก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของคลองพระองค์ไชยานุชิต
    คันป้องกันน้ำท่วมต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ และหากมีน้ำรั่วเข้ามาในพื้นที่ใดก็จะมีระดับน้ำท่วมสูง 1.0 ถึง 2.0 เมตร แล้วแต่ความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่
    1.3 พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้แก่ อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอบางใหญ่ และพื้นที่ด้านตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก ที่อยู่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไป และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน
    ส่วนการเตรียมตัวในพื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ให้ขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร จอดรถยนต์ไว้ในที่สูง และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
    2. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 2 (สีส้ม)...(สนามบินสุวรรณภูมิน้ำไม่ท่วม)
    พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 น้ำท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร
    2.1 ฝั่งตะวันออก ได้แก่พื้นที่ ฝั่งตะวันออกของอำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง พื้นที่ที่อยู่เหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ พื้นที่ที่อยู่เหนือถนนสายไหม และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนบางบำหรุไปบางพลี

    2.2 ฝั่งตะวันตก ได้แก่ พื้นที่จังหวัดนนทบุรีที่อยู่ทางตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก มาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่อำเภอสามพรานที่อยู่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองสมุทรสาครที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน และพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตจอมทอง
    ส่วนการเตรียมตัว ให้เตรียมย้ายของมีค่าขึ้นที่สูง เตรียมวางแผนหาที่จอดรถยนต์ในที่สูง ติดตามข่าวและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
    3. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 1 สีเหลือง
    3.1 เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงปานกลาง เป็นพื้นที่น้ำไม่ท่วมในปี 2538 แต่มีความเสี่ยงที่จะท่วมได้ในปี 2554 นี้ ได้แก่ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัดนนทบุรี และพื้นที่กรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระดับ 2 และ ระดับ 3 ดังกล่าวข้างต้น

    3.2 พื้นที่นี้หากมีการท่วม น้ำจะท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร
    3.3 ในการเตรียมตัวนั้นขอให้ติดตามข่าวและเฝ้าระวัง
    ฟังคลิปสัมภาษณ์ ชวลิต จันทรรัตน์



    -http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20111014/413729/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5!%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99-8-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3.html-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เปิด!สูตรป้องกันกทม.ฝั่งตะวันออกฉบับ'สุรยุทธ์ จุลานนท์'

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


    'สุรยุทธ์ จุลานนท์'เป็นปธ.การประชุมวางแผนรับมือน้ำท่วมฝั่งตะวันออก ระบุ 5 ปัจจัยทำให้การระบายน้ำสุดอืด อาจจะส่งผลให้ต้องน้ำท่วมขังถึงพ.ย.

    สถานการณ์อุทกภัยในหลาย จังหวัดภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งอยู่ในขั้นวิกฤติ และเริ่มส่งผลต่อพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ฝั่งตะวันออก คือ เขตมีนบุรี เขตคลองสามวา เขตหนองจอก และเขตลาดกระบังแล้ว โดยตัวเลขล่าสุดมีประชาชนเดือดร้อนกว่า 10,000 ครัวเรือนนั้น ปัญหาที่หลายฝ่ายกำลังตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์กันมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ เหตุใดการระบายน้ำลงทะเลจึงมีปัญหาล่าช้า ไม่ทันกับมวลน้ำมหาศาลที่ทะลักเข้ามา
    และดูเหมือนศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ยังไม่เคยให้คำตอบชัดๆ เลยแม้แต่ครั้งเดียว
    ล่าสุด เมื่อวานนี้ (17 ต.ค.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กทม.ฝั่งตะวันออก โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธาน ปรากฏว่าข้อมูลจากการศึกษาวิจัยของสถาบันฯ สามารถตอบคำถามที่เป็นปัญหาคาใจของหลายฝ่ายได้ระดับหนึ่ง
    ดร.คมสัน มาลีสี รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อธิบายว่า น้ำเหนือที่ตรงเข้าสู่ฝั่งตะวันออกของ กทม. จะผ่านมาทางคลองสิบสาม ระดับน้ำล่าสุดอยู่ที่ 2.40 เมตร ส่วนคลองอื่นๆ ในพื้นที่ เช่น คลองลำปะทิว ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นตลอด ไม่ลดลงเลย ขณะนี้คลองสิบสามล้นแล้ว คลองหกวาทั้ง 3 สายดันน้ำไปทางแม่น้ำบางปะกงก็ไม่ได้ เพราะน้ำเต็มหมด เช่นเดียวกับคลองประเวศบุรีรมย์ แต่น้ำยังขึ้นสูงทุกวัน วันละ 2-3 เซนติเมตร คาดว่าอีก 1 สัปดาห์น้ำจะเพิ่มสูงอีกประมาณ 30 เซนติเมตร และถนนทุกสายในย่านนี้จะเต็มไปด้วยน้ำ
    "สรุปก็คือน้ำจะไม่ทะลักท่วมแบบกะทันหันเหมือนที่เราเห็นที่พระนครศรี อยุธยา ปทุมธานี และ นครสวรรค์ เพราะน้ำที่ท่วมจะเป็นลักษณะน้ำเอ่อ แต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ลดลง" ดร.คมสัน กล่าว
    รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ระบุอีกว่า หากมีฝนตกลงมาเพิ่ม ซึ่งแนวโน้มก็จะมีฝนตกเกือบทุกวัน ถนนสายหลักหลายสายในพื้นที่อาจใช้การไม่ได้ เช่น ถนนร่มเกล้า ถนนฉลองกรุง ถ้าคิดจะดันน้ำเข้าไปทางคลองพระโขนง ก็จะทำให้แถวๆ อ่อนนุช พระโขนงน้ำท่วม แม้จะไม่รุนแรงมากก็ตาม ส่วนสถานการณ์ของนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เลวร้ายที่สุดน้ำจะท่วมสูงไม่เกิน 1.30 เมตร แต่ทางนิคมฯ ได้ทำคันกั้นน้ำเอาไว้ค่อนข้างสูงและแข็งแรงพอสมควร จึงมั่นใจว่าป้องกันได้
    สำหรับขีดความสามารถในการสูบน้ำฝั่งตะวันออก จากการลงพื้นที่สำรวจสถานีสูบน้ำจริงแต่ละแห่ง โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้าน จ.สมุทรปราการ กับด้าน จ.ฉะเชิงเทรา พบว่า
    - ด้าน จ.สมุทรปราการ มีสถานีสูบน้ำที่สำคัญ คือ สถานีสูบน้ำตำหรุ บางปลาร้า บางปลา สุวรรณภูมิ เจริญราษฎร์ คลองด่าน และ ชลหารวิจิตร สามารถระบายน้ำได้เต็มศักยภาพ 31.69 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
    - ด้าน จ.ฉะเชิงเทรา ผ่านโครงการพระองค์ไชยานุชิตลงแม่น้ำบางปะกง มีสถานีสูบน้ำที่สำคัญ คือ สถานีสูบน้ำบางขนาก ท่าไข่ ท่าถั่ว ปากตะคอง เทพรังสรรค์ และพระยาวิสูตร สามารถระบายน้ำได้เต็มศักยภาพ 6.7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
    รวมการระบายน้ำทั้ง 2 ด้าน หากสูบได้เต็มศักยภาพ 38.39 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่สภาพความเป็นจริงระบายได้เพียง 50% หรือ 19.20 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เท่านั้น โดยปัญหาที่พบ คือ
    1. มีขยะทั้งขยะจม ขยะลอย และผักตบชวาอุดตันที่หน้าสถานีสูบน้ำจำนวนมาก
    2. เครื่องสูบน้ำไม่สามารถสูบน้ำได้ 100% เพราะระดับเครื่องที่ตั้งสูงเกินกว่าระดับน้ำด้านหน้าสถานี อันสืบเนื่องจากปัญหาดินทรุดและสร้างมานาน
    3. การดึงน้ำจากบริเวณที่น้ำท่วมขังไปถึงเครื่องสูบน้ำไม่สัมพันธ์กันหรือน้ำขาดช่วง เช่น มีถนนกั้นทางน้ำอยู่
    4. เครื่องสูบน้ำทำงานหนัก ต้องพักหรือชำรุด
    5. สถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิไม่มีเครื่องสำรองกรณีต้องพักหรือเสียหาย
    ทั้งหมดนี้เมื่อผนวกกับสภาพพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มแอ่งกระทะ ทำให้ทุกฝ่ายคาดการณ์ตรงกันว่า 4 เขตฝั่งตะวันออกของ กทม. มีโอกาสน้ำท่วมขังยาวถึงสิ้นเดือนพ.ย.
    คลิป พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นั่งเป็นประธานประชุม

    -

    -http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20111018/414293/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94!%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C-%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C.html-

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    พระว.วชิรเมธีแนะ 6 วิธี "คิด" อย่างมีสุขภาพ (จิต) ดี <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">18 ตุลาคม 2554 11:31 น.</td></tr></tbody></table>

    <table align="Left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="250"><tbody><tr><td align="center" valign="Top" width="250">[​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี </td></tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> อาจกล่าวได้ว่า "ความคิด" นั้น มีผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตและความสุขในการดำรงชีวิตของแต่ละคน สังเกตง่าย ๆ หากวันนี้ "คิดบวก" หรือ "มองโลกในแง่ดี" โลกก็จะเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ในขณะที่วันไหน ชีวิตเต็มไปด้วยความทุกข ์แสนสาหัส มองไปที่ไหนก็มีแต่ความขัดใจ ฟังใครพูดจาก็ขัดหู ใครยืนอยู่ตรงหน้าก็ขวางหูขวางตาเต็มไปหมด ลองพิจารณาใจของคุณดูว่า วันนั้นคุณ "คิดลบ" หรือ "มองโลกในแง่ร้าย" อยู่หรือเปล่า

    เห็นได้ว่า ความคิดสัมพันธ์กับอารมณ์ ความรู้สึก และสามารถทำให้คุณดูอ่อนวัย หรือแก่เกินวัยได้เช่นเดียวกัน วันนี้ทีมงาน Life & Family มีเรื่องราว "การคิด" ตามศาสตร์ในโลกตะวันออกผ่านแนวคิดทางพระพุทธศาสนาของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัยมาฝากกัน โดยพระนักคิดท่านนี้ได้กล่าวถึงวิธี "คิด" อย่างมีสุขภาพดีตามหลักพุทธธรรมไว้ 6 แบบ คือ

    1. คิดแบบอริยสัจ หรือคิดแบบแก้ปัญหา

    เป็นวิธีคิดที่เป็นสากล ใช้ได้ตลอดกาล และเป็นวิธีคิดที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกยกย่องพระพุทธเจ้ามาก โดยวิธีคิดแบบอริยสัจมี 4 ขั้นตอน คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ถ้าเกิดปัญหาขึ้นในชีวิตให้กำหนดรู้ว่า ความทุกข์ที่เราเจออยู่นี้คืออะไรแน่ ทุกข์เราต้องกำหนดรู้ต้องศึกษา แต่คนส่วนใหญ่ เมื่อเกิดปัญหา เกิดความทุกข์ขึ้นมา กลับหลอมรวมตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา แทนที่ทุกข์จะมีไว้สำหรับเห็น ก็กลับกลายเป็นทุกข์มีไว้สำหรับเป็น เมื่อมีความทุกข์ควรจะศึกษาให้ชัดว่า ที่ว่าทุกข์ ทุกข์นี้คืออะไรแน่ เมื่อกำหนดชัดแล้ว ศึกษาต่อไปว่าสาเหตุมันอยู่ที่ตรงไหน ตามไปดูให้รู้ถึงสาเหตุ และเมื่อค้นพบสาเหตุแล้ว ดูว่าจะแก้มันอย่างไร ลองตั้งสมมติฐานขึ้นมา นี่คือนิโรธ เมื่อตั้งสมมติฐานแล้วตั้งค้างไว้ก็ไม่เกิดอะไรขึ้นต้องลงมือแก้ทุกข์ จากนั้นก็ลงมือแก้ทุกข์ นั่นคือมรรค 8 ตามที่เราทราบกัน

    2. คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย

    ความคิดในลักษณะนี้ อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ปรากฏการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและชีวิตของเราล้วนมีที่มา ทุกสิ่งที่เราประสบพบอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความทุกข์ ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ มีที่มาทั้งหมด แต่เรามักไม่ค่อยคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย เพราะคนส่วนใหญ่จะคิดแบบผิด ๆ 3 วิธีคือ คิดแบบแล้วแต่กรรมเก่า คิดแบบแล้วแต่พระเจ้าบันดาล และคิดแบบแล้วแต่โชคชะตาจะพาให้เป็นไป ทั้ง ๆ ที่ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์เรา สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ทั้งหมด ถ้าเราเข้าใจวิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย มนุษย์ทุกคนที่มีความทุกข์ มีศักยภาพที่จะพ้นทุกข์อย่างทัดเทียมกัน

    3. คิดแบบมองโลกในแง่ดี

    หลาย ๆ ท่านคงได้ยินกันบ่อยกับคำว่า positive thinking เพราะมีคนพูดถึงกันมาก แต่การมองโลกในแง่ดีนี้มีอยู่ 2 แบบ คือ มองโลกในแง่ดีแบบคนโง่ และมองโลกในแง่ดีแบบคนฉลาด ทั้งนี้ การมองโลกในแง่ดีแบบคนโง่ คือ สอบตกก็สอบใหม่ได้ไม่เห็นเป็นไร เรียนนาน ๆ ความรู้ยิ่งแน่น มองแบบนี้มันก็ไม่ทุกข์ สอบตกก็ยังร้องเพลงได้ มันไม่ทุกข์ในปัจจุบัน แต่มันจะทุกข์ในอีก 10 - 20 ปีข้างหน้า ซึ่งแท้ที่จริงการมองโลกในแง่ดีต้องมองด้วยสติ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระอานนท์ในกรณีของนางจิญจมานวิกาว่า "อานนท์ เธอก็คิดสิว่าเราเกิดมาอยู่ในสังคม เธอ ฉัน คนทั้งโลก เราเปรียบเสมือนช้างศึกก้าวสู่สงคราม ต้องพร้อมที่จะยอมรับศาสตราวุธจากทิศทั้งสี่ เมื่อเราก้าวสู่สงครามชีวิต" เพราะฉะนั้น สุข ทุกข์ สมหวัง ผิดหวัง เศร้าเสียใจ เราต้องเจอแน่

    <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="left" valign="Top" width="400">
    </td> </tr> <tr><td style="vertical-align: top;">
    </td></tr><tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> 4. คิดแบบอยู่กับปัจจุบัน

    วิธีการอยู่กับปัจจุบัน คือ การฝึกสติตามแนววิปัสสนากรรมฐาน พระพุทธองค์ทรงเป็นตัวอย่างที่ดี ครั้งหนึ่งทรงนั่งสมาธิอยู่กับปัจจุบันอย่างสงบใต้โคนต้นไม้ ใกล้ ๆ บริเวณนั้น มีฟ้าผ่าโคชาวนาตายไป 7 ตัว พอฝนซาฟ้าสว่างมีคนไปกราบถามพระพุทธองค์ว่า ทรงได้ยินเสียงฟ้าผ่าไหม ทรงตอบว่า “ไม่ได้ยินเลย” เหตุที่พระพุทธองค์ไม่ได้ยิน เพราะพระองค์ไม่ได้ส่งใจออกไปตามเสียงฟ้าเสียงฝน แต่เก็บใจไว้ในที่ที่ควรอยู่ นั่งนิ่ง ๆ แต่เป็นการนิ่งอย่างตื่นรู้ คนที่มีสติอยู่กับปัจจุบัน ข้างนอกยุ่งอย่างไร ใจเขาก็มีความสุข

    5. คิดแบบรู้ทันธรรมดา

    ธรรมดาของโลกนี้เป็นสิ่งสากล คนทั่วโลกจะพบเหมือนกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเกิดมาบนกองเงินกองทอง หรือเกิดมาในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ สัจธรรมนี้ไม่เคยมีใครหนีพ้น นั่นคือไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ ไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่แท้ ซึ่งมันเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในตัวของเราและครอบงำไปทั่วโลก เราจะต้องรู้จักคำ “รู้ทันธรรมดา” แล้วท่องไว้ในใจ

    6. คิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม

    เราอยู่ในโลกนี้ เราเสพบริโภคปัจจัยสี่ ปัจจัยสี่ที่เราบริโภคจะมีอยู่ 2 คุณค่า คือ คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม เวลาพระจะฉันภัตตาหาร พระพุทธเจ้าจะให้ท่องหรือพิจารณา ท่านเรียกว่าบทปฏิสังขาโย บทนี้เป็นบทพิจารณาปัจจัยสี่ ถ้าเราพิจารณาอย่างมีปัญญา เราจะบริโภคปัจจัยสี่อย่างเห็นคุณค่าที่แท้ เช่น เวลาเราบริโภคอาหารท่านก็ให้พิจารณาว่า อาหารนี้ที่เรารับประทานเข้าไป ไม่ใช่เพื่อเล่นเพื่อสนุกสนาน เพื่อเมามัน เพื่อเกิดพลังทางกาย แต่เรากินเพื่อกำจัดความหิว กินเพื่อให้ร่างกายมีแรงศึกษาธรรมะ กินเพื่อบำบัดเวทนาเก่า และป้องกันเวทนาใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น และเมื่อมีเรี่ยวแรง แล้วก็ไม่ใช่เพื่อเมามัน หรือเพื่อความสวยความงาม แต่เพื่อจะได้ทำประโยชน์ต่อไป นี่คือคุณค่าแท้ในการกินอาหาร

    ดังนั้น ในเชิงของพระพุทธศาสนา ความคิด เป็นเรื่องของการมีสัมมาทิฏฐิ หรือการคิดชอบ ที่เปรียบเป็นนาวาที่พาชีวิตให้ไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องและมีความสุขได้ การคิดดีนำไปสู่การมีอารมณ์ดี สะท้อนถึงสุขภาพจิตที่ดี การลดความโกรธ ความเครียด สร้างทัศนคติในเชิงบวก ก็จะนำมาซึ่งความสุขสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และอายุที่ยืนยาว ทั้งตัวเราและคนในครอบครัวก็พลอยจะมีความสุขตามไปด้วย


    -http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000130597-

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สอนลูกให้รู้จักพวกฉกฉวยสถานการณ์จากน้ำท่วม/สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">18 ตุลาคม 2554 06:56 น.</td> </tr></tbody></table>

    สถานการณ์ช่วงนี้ไม่ชวนให้ผู้คนอยาก ทำอะไร เพราะจิตใจหดหู่ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารของผู้ประสบอุทกภัยที่พบเห็นอยู่ทุก วี่วัน มีผู้คนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นทุกขณะ ภาพความเดือดร้อนของผู้คนที่ต้องอพยพ วิตกกังวล ทุกข์ร้อน หรือบางคนต้องสิ้นเนื้อประดาตัวก็มีไม่น้อย

    แต่ท่ามกลางความเดือดร้อน เราก็ยังเห็นน้ำใจของผู้คนมากมายที่อาสาสมัครหลั่งไหลจากทุกสารทิศ และพยายามหาทางช่วยเหลือผู้คนในหลากหลายพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยจากผู้คนใน หน่วยงาน องค์กร และหลายภาคส่วน ซึ่งมักเกิดขึ้นทุกครั้งที่บ้านเมืองของเราประสบเหตุเภทภัยอย่างใดอย่าง หนึ่งเสมอ นั่นคือความสวยงามของนิสัยคนไทยที่ไม่เคยทอดทิ้งกัน

    อย่างไรก็ดี เหรียญมีสองด้าน เรามีคนที่มีน้ำใจมากมาย แต่เราก็พบเห็นผู้คนไม่ดีก็มีจำนวนไม่น้อย ที่ฉกฉวยสถานการณ์จากความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

    ข่าวคราวที่เกิดขึ้นทั้งจากภาพข่าว และจากคนที่รู้จักพบว่ามีหลายพื้นที่ที่ความช่วยเหลือเข้าไปไม่ถึง เพราะอยู่ห่างไกลและยากต่อการเข้าถึง ทำให้มีผู้คนแย่ๆ ที่ฉกฉวยสถานการณ์ในการเข้าไปเสนอตัวช่วยเหลือด้วยการคิดเงินราคาแพง เช่น กรณีที่มีคนต้องการใช้เรือเพื่อออกจากบ้านเพราะไม่สามารถสัญจรได้ และความช่วยเหลื อเข้าไปไม่ถึง เลยมีความจำเป็นต้องใช้เรือเดินทาง และต้องจ้างเรือรับจ้าง ปรากฏว่าผู้รับจ้างก็คิดราคาค่าจ้างสูงถึงหลักพันบาท เพราะรู้ว่าอย่างไรคนเหล่านั้นไม่มีทางเลือก ต้องใช้บริการอยู่ดี

    "ทำไมคนเหล่านั้นถึงทำอย่างนี้ล่ะครับ ทั้งที่คนเขากำลังเดือดร้อน"

    คำถามของลูกชายที่ดิฉันก็สะอึกเหมือนกัน เพราะเป็นเช่นนั้นจริงๆ เป็นการซ้ำเติมผู้เดือดร้อนหนักเข้าไปอีก ไม่รู้ว่าคนเหล่านั้นจิตใจทำด้วยอะไร

    ตามมาด้วยหัวขโมยจำนวนมากที่ผู้คนต้องอพยพหนีภัยน้ำท่วม แต่ตัวเองกลับเข้าไปขโมยทรัพย์สินของคนอื่น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาหนักใจอย่างยิ่ง และเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่ยอมเคลื่อนย้ายตัวเองออกจาก พื้นที่ที่ประสบอุทกภัย

    หรือแม้แต่สถานการณ์ล่าสุดที่ดิฉันไปซื้อของแล้วพบว่าสินค้าราคาสูงจนน่าตกใจ จนเกิดคำถามจากลูกชายอีกครั้งว่า

    "ทำไมสินค้าถึงราคาแพงขึ้นล่ะครับ ก็ผู้คนกำลังเดือดร้อนอยู่ แล้วเขาจะมีเงินซื้อของได้อย่างไร"

    และ…ก็ต้องอึ้งอีกครั้ง เพราะเป็นเรื่องจริงที่พวกเราคนไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วมที่ยังคง สร้างความเสียหายอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินความเสียหายกันรายวัน แต่ความเสียหายที่ชัดเจนจะปรากฏอีกครั้งอย่างแท้จริงก็เมื่อหลังน้ำลด

    จริงอยู่ราคาสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับความเสียหายจากน้ำท่วมต้องมี ราคาสูงอย่างแน่นอนก็ยังพอเข้าใจได้ แต่ก็มีสินค้าอีกจำนวนมากที่ฉวยสถานการณ์ขึ้นราคาล่วงหน้าซ้ำเติมสถานการณ์ เข้าไปอีก

    ไหน ๆ ลูกก็ตั้งคำถามแล้ว ก็น่าจะถือโอกาสตั้งคำถามให้กับลูกๆ หรือกระตุ้นให้ลูกตั้งคำถามในสถานการณ์เช่นนี้ก็ไม่เลวนะคะ และถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกก็สอนลูกให้รู้ว่าท่ามกลางสถานการณ์น้ำท่วมก็มีทั้ง คนดีและไม่ดีได้ด้วยเช่นกัน

    สอนอะไรได้บ้าง ?

    หนึ่ง สอนให้ลูกรู้จักการให้ การมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รวมไปถึงการสอนให้รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่นจากข่าวผู้ประสบอุทกภัย สถานการณ์จริง อาจจะชี้ให้เห็นถึงผู้คนที่อาสาสมัครไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย เขาช่วยเหลือผู้อื่นชนิดที่ไม่หวังผลตอบแทน พ่อแม่ควรจะยกย่องคนเหล่านั้นให้ลูกฟังอย่างสม่ำเสมอ และอาจจะชักชวนให้ลูกร่วมเป็นอาสาสมัครด้วยก็ได้

    สอง ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น อาจจะยกสถานการณ์ที่เห็นผู้คนฉกฉวยสถานการณ์และเอาเปรียบผู้อื่น ก็หยิบยกขึ้นมาพูดว่ามันไม่ดีอย่างไร และเป็นการซ้ำเติมผู้ที่เดือดร้อนขนาดไหน ถ้าเป็นเราเดือดร้อนจะทำอย่างไร

    สาม สอนให้มีความซื่อสัตย์ ไม่หลอกลวง ทั้งกาย วาจา และใจ อาจยกตัวอย่างเรื่องราคาสินค้าที่พบว่าราคาแพงและไม่สมเหตุผล หรือกักตุนสินค้า หรือโก่งราคาสินค้า จะนำไปสู่อะไร ผู้คนจะยิ่งเดือดร้อนขนาดไหน และถ้าลูกเติบโตมาในครอบครัวค้าขาย ก็ไม่ควรมีพฤติกรรมเหล่านั้น ต้องฝึกไม่ให้ลูกเห็นความสำคัญของเงินมากกว่าจิตใจ

    สี่ สอนให้มีอดทน ถ้าครอบครัวของคุณเป็นผู้ประสบภัยเสียเอง ก็ต้องฝึกให้ลูกมานะอดทนต่อความยากลำบาก ไม่ท้อถอยแม้มีปัญหามากมายเข้ามาในชีวิต ต้องรู้จักต่อสู้กับอุปสรรคที่เกิดขึ้นให้ได้ ที่สำคัญต้องถูกต้องชอบธรรมโดยไม่ทำร้ายผู้อื่น

    ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของการฝึกให้ลูกมีธรรมประจำใจ เป็นคนดีต่อไปในอนาคต ในเมื่อเราต้องเจอะเจอทั้งคนดีและไม่ดี ก็ควรสอนให้ลูกมีภูมิคุ้มกันในชีวิตที่ดีในการแยกแยะได้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี รวมถึงใครเป็นคนดีและคนไม่ดี

    และสุดท้าย ให้ลูกได้เลือกชีวิตที่จะเป็นคนดี


    -http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132261-

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...