พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ไม่สะดวก ไม่จน

    ขมน้ำตาล หวานบอระเพ็ด : ไม่สะดวก ไม่จน โดย...พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ

    สมัยก่อนมีคำกล่าวว่า ขอเพียงให้คนเรามีปัจจัยสี่ครบถ้วน ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ซึ่งปัจจัยสี่ที่กล่าวถึงกันนั้น ประกอบด้วย อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค แต่เมื่อโลกพัฒนาก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และคนเราก้าวตามการพัฒนารูปแบบดังกล่าวไปติดๆ ก็เริ่มมีคำกล่าวว่า ปัจจัยที่ห้า เกิดขึ้น



    เวลาต่อมาปัจจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตถูกปรับเปลี่ยนไปอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการใช้คำศัพท์ต่างชาติเข้ามาเปรียบเทียบ ประกอบไปด้วย 4C คือ บัตรเครดิต (Credit Card) รถยนต์ (Car) ถัดมาคือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cell Phone) และ C ถัดมาคือ ที่อยู่อาศัยแบบรังนกกระจอก หรือ คอนโดมิเนียม (Condominium) เมื่อบัตรเครดิตและโทรศัพท์เคลื่อนที่พัฒนามาถึงทุกวันนี้ ผู้คนที่ใช้ชีวิตแบบสมัยใหม่จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพกพาเงินสด ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แม้จะยังไม่มีเงินเก็บเหลืออยู่ในธนาคารก็ยังสามารถซื้อเครื่องใช้ไม้สอยได้ แล้วเมื่อถึงเวลาที่ผู้ให้บริการเรียกเก็บเงินจึงค่อยจ่ายหรือค่อยทยอยผ่อน จ่ายก็ยังได้อีก
    ความสะดวกสบายดังกล่าวที่ว่ามานี้เอง เป็นตัวทำให้คนสมัยนี้หาเงินไม่พอใช้ หรือเป็นหนี้เป็นสินล้นพ้นตัว หลายคนต้องย้ายที่ทำงาน เพราะทนถูกทวงถามหนี้สินจน ไม่มีใจทำงาน แล้วก็โทษเจ้าหนี้ว่าใช้วิธีการทวงที่ไร้คุณธรรม ทั้งที่ต้นตอปัญหาคือตัวเองที่ไม่ควบคุมการจับจ่ายใช้สอยให้พอเพียงแก่ฐานะ ของตนเอง
    วิธีการป้องกันการเกิดหนี้และช่วย ให้เงินรายรับที่หามาได้ มีเหลือเก็บมากขึ้นเท่าที่ผมได้ทดลองทำในช่วงเวลาประมาณครึ่งปีที่ผ่านมา และได้ผลทันตาเห็นคือ หนึ่งไม่พกบัตรเครดิตติดตัวอย่างเด็ดขาด อยากจะซื้อหาอะไรก็ใช้เงินสดๆ เพราะจะทำให้เรารู้สึกเสียดายที่เห็นเงินถูกจ่ายออกไป และหมายความว่าเราต้องมีเงินจริงอยู่แล้วถึงตัดสินใจซื้อ ไม่ได้เอาเงินที่อาจจะมีหรืออาจจะไม่มีในอนาคตมาก่อหนี้ซื้อของ
    สองไม่ พกบัตรเอทีเอ็ม ติดตัวหรือไม่ใช้บัตรเอทีเอ็มเลย เมื่อต้องการใช้เงินก็ถือสมุดเงินฝากไปเบิกกับธนาคารโดยตรง จะได้รู้ว่ายอดเงินในธนาคารของเรายังมีเหลืออยู่เท่าใด และทำให้เรายุ่งยากในการที่จะเอาเงินออกมาใช้ จนบางครั้งเกิดอาการ “ขี้เกียจ” ทำให้ไม่ต้องไปถอนเงินออกมาหรืองดการใช้จ่ายไป
    และสามให้ วางแผนไปเบิกเงินจากธนาคารสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ให้ยอดเงินที่เบิกเพียงพอกับรายจ่ายที่เราตั้งงบประมาณไว้ในแต่ละสัปดาห์ การทำแบบนี้จะทำให้เราเกิดความประหยัดขึ้นโดยอัตโนมัติในช่วงปลายสัปดาห์ เพราะเราจะรู้สึกว่าเงินสดในกระเป๋าของเราเหลือน้อยลงไปแล้วนั่นเอง
    สี่หลีก เลี่ยงการไปเดินตามห้างสรรพสินค้าโดยไม่จำเป็น ถ้าจะไปซื้อข้าวของเครื่องใช้ก็ให้เดินตรงไปซื้อที่แผนกนั้นๆ แล้วมุ่งหน้ากลับบ้าน จะได้ไม่เกิดกิเลสเมื่อเห็นของใหม่ๆ ที่วางโชว์เอาไว้ และหากเป็นเครื่องใช้ส่วนตัวหรืออาหารสดที่ต้องซื้อมาเก็บ ให้ซื้อเฉพาะที่เพียงพอต่อการใช้หนึ่งเดือนสำหรับของใช้ และเพียงพอสำหรับหนึ่งสัปดาห์สำหรับอาหาร อย่าไปหวังว่าซื้อครั้งละมากๆ จะทำให้ได้ส่วนลดหรือของแถม เพราะหากเราเห็นว่ามีของมากจะทำให้เราเกิดการใช้อย่างไม่ประหยัดเกิดขึ้น
    ประการที่ห้า ที่ผมใช้มานานแล้วคือเรื่องของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผมใช้ชนิดที่มีลูกเล่นน้อยที่สุด เพราะหวังประโยชน์จากการโทรออกและรับสายเข้าเท่านั้น ทำให้ผมไม่ต้องไปเสียค่าบริการเสริมทั้งหลาย ที่มีรอล่อหลอกเงินในกระเป๋ามากมาย ไม่เว้นแม้แต่เพียงแค่การตั้งเสียงเรียกเข้าหรือเสียงรอสาย
    ทั้งห้าประการที่ผมได้ทดลองทำมาในช่วงเวลาหกเจ็ดเดือนที่ผ่านมา พบว่าผมสามารถลดรายจ่ายลงไปได้มาก เพียงแค่ผมยอมลด “ความสะดวกทางด้านการเงิน” ลงไปเท่านั้น โดยไม่จำเป็นที่จะต้องดิ้นรนหารายรับเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด หรือเท่ากับว่าถ้ามีรายรับเพิ่มมากขึ้น ผมก็จะมีเงินเก็บเหลือเพิ่มมากพอที่จะไปซื้อรถมาขับเล่นอีกสักคันไงครับ

    -http://www.komchadluek.net/detail/20110920/109593/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%99.html-

    .

     
  2. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    พี่ๆทุกท่านที่อยู่ทางภาคกลางก็ดูแลตัวเองด้วยนะครับผม อย่าประมาทนะครับ
     
  3. นายเฉลิมพล

    นายเฉลิมพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +460
    ยินดีครับ

    ได้ร่วมบริจาคไป 2 ครั้งแล้วครับและจะบริจาคอีกครับ

    ขอเอาใจช่วยทุกคนนะครับที่ประสพอุทกภัยครั้งนี้ขอให้ปลอดภัยทุกคนครับ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  5. Lee_bangkok

    Lee_bangkok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,751
    ค่าพลัง:
    +4,741
    ดีครบยามบ่ายนะครับผม ทุกท่านคงสบาย วันหยุดแถวบ้านผมน้ำท่วมครับ มีใครไม่ท่วมบ้างไหมครับผม
    ขอน้อมนำบุญมาฝากทุกท่านนะครับ สำหรับการถวายสังฆทาน 71 รูปช่วงเข้าพรรษานี้ครับ
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เปิดแผน กทม.รับมือ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 ตุลาคม 2554 20:06 น.


    กทม.แนะชุมชนใกล้ลำคลอง เตรียมขนของหนีน้ำสูงอย่างน้อย 1 เมตร ยืนยันยังไม่แจ้งอพยพใดๆ เปิดเว็บไซต์ สายด่วน ให้ประชาชนตรวจสอบข่าวสาร เปิดรายชื่อ 78 ศูนย์อพยพกทม.ฝั่งตะวันออก

    สรุปข้อมูลเพื่อการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในกรณีการรับมือน้ำท่วม พร้อมเปิด 78 ศูนย์อพยพฝั่งตะวันออก

    ข้อสรุปหลักภาพรวม กทม.ทั้งหมด
    - มีการเปิดประตูน้ำตามคลองต่างๆ ทุกคลองเพื่อให้น้ำผ่าน ดังนั้น จะเกิดภาวะระดับน้ำสูงขึ้นจนอาจล้นตลิ่งจนถึงระดับครึ่งแข้งได้
    - ในกรณีฝนตกซึ่งจะมีมากในช่วงเวลานี้ อันเนื่องมาจากพายุต่างๆ ที่มาแล้ว และกำลังจะมาอีก ทาง กทม.จะทำการปิดประตูน้ำเพื่อไม่ให้น้ำเข้าท่วมพื้นที่ ดังนั้น จะเกิดกรณีน้ำขังจากฝนตกบ้าง ซึ่งบางครั้งอาจถึงหัวเข่า และเมื่อฝนหยุดตกแล้ว จะทำการเปิดประตูระบายน้ำดังเดิม
    - พื้นที่ชุมชนที่อยู่ใกล้ลำคลองต่างๆ ทุกลำคลองจะพบกับปัญหาน้ำล้นตลิ่ง จนถึงน้ำท่วมขัง ดังนั้น แนะนำว่า ควรจะขนของหนีน้ำ (ควรจะมีระดับสูงตั้งแต่ 1.00 เมตรขึ้นไป เพราะเรายังไม่อาจคาดได้ในเรื่องของมวลน้ำก้อนใหญ่ที่จะตามเข้ามาใน 2-3 วันข้างหน้า ดังนั้น กทม. แจ้งเตือนมา ระดับที่ปลอดภัย คือ 0.60-0.80 เมตร)

    ขณะนี้ขอยืนยันว่า จะยังไม่มีการแจ้งเตือนให้มีการอพยพใดๆ ทั้งสิ้น แต่ยังคงไว้ให้มีการเตรียมการในเรื่องของการขนของหนีน้ำเท่านั้น

    ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถตรวจสอบได้ทางหน้า เว็บไซต์ดังนี้
    1.www.ndwc.go.th
    2.Facebook page ที่ศปภ.ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
    3.Twitter page ที่ GCC_111, GCC-192, Nailek507
    - กรณีที่เกิดข่าวจากการพูดแบบปากต่อปาก ขอให้ตรวจสอบมาที่ 1111 ต่อ 5, 1784 หรือ 191

    หลักเกณฑ์และแผนการอพยพ ทางกรุงเทพมหานครได้จัดเตรียมแผนในภารกิจอพยพในครั้งนี้โดยได้กำหนดขั้นแรก คือ

    1.การจัดทำแผนที่ประสบภัยน้ำท่วม ทั้ง ทุ่งตะวันตกชุมชนริมน้ำและแนวตะวันออก โดย 1.1 สำรวจชุมชนและแผนที่ที่ได้รับผลกระทบ 1.2 สำรวจจำนวนครัวเรือนและลงทะเบียนผู้รับผลกระทบ 1.3 กำหนดพื้นที่พักพิงใกล้เคียง

    2.การเคลื่อนย้ายผู้รับผลกระทบ 2.1 รถขนย้าย 2.2 เรือขนย้าย 2.3 บุคลากรเจ้าหน้าที่เทศกิจ และ อภปร.2.4 การประสานเส้นทางการควบคุมการจราจร 2.5 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย คนพิการ และหน่วยแพทย์กู้ชีพ 2.6 การเตือนภัย

    3.ศูนย์พักพิงซึ่งจะได้จัดเตรียมสถานที่พักและเครื่องนอน รวมทั้งปัจจัยสี่ และอุปกรณ์ดำรงชีพจัดบุคลากรสนับสนุนให้ข้อมูลข่าวสาร ดูแลสัตว์เลี้ยงที่ผู้อพยพมาออกมาด้วยและการจัดนักจิตวิทยา เข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจซึ่งจะต้องกระทำการอย่างทันที

    4.ศูนย์ประสานงานกลางที่จะต้องดูแลทรัพย์สินบ้านเรือนของมีค่า สำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือ รวมทั้งการกระจายของรับบริจาค และสนับสนุนความช่วยเหลือ การอนุมัติงบประมาณประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการแจกคู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม

    5.การฟื้นฟูหลังน้ำลดซึ่งมีทั้งการเคลื่อนย้ายกลับที่พัก การสนับสนุนงบประมาณเยียวยาความเสียหายการซ่อมแซมทางกายภาพ และการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำเพิ่มเติมให้สมบูรณ์

    ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ
    1.เมื่อแจ้งเตือนน้ำท่วม จะมีการแจ้งล่วงหน้าประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อทำการเก็บของรถยนต์หรือจักยานยนต์ ควรหาอาคารสูงเพื่อจอดรถ ตรวจสอบได้จากห้างสรรพสินค้าต่างๆ

    2.ผู้อาศัยที่มีบ้านพักริมคลองหรือบ้านชั้นเดียว ควรมีการเก็บเสื้อผ้าเครื่องใช้จำเป็นให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย กรณีต้องอพยพหนีน้ำ (สำหรับพื้นที่เสี่ยงที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและ กทม.ประกาศ)

    3.การจะไปซื้ออาหารมากักตุนเพื่อสำรองไว้ แนะนำว่า ควรจะสำรองไว้เพียงแค่ 2 วันเท่านั้น เพราะเมื่อเกิดเหตุจริง จะมีการดำเนินการเรื่องการแจกของพร้อมอาหารปรุงสำเร็จและน้ำดื่ม (ขอให้เข้าใจว่า ข่าวลือที่เกิดขึ้นนั้นอาจมีการนำเอาประโยชน์ทางธุรกิจมาใช้เพื่อให้ได้กำไร ซึ่งเป็นการฉวยโอกาสของภาคธุรกิจบางส่วนเท่านั้น)สำหรับผู้ที่มั่นใจว่า สามารถพำนักอยู่ที่บ้านได้ ควรมีการเตรียมเตาและถังแก็สให้อยู่ในที่พ้นน้ำเพื่อความสะดวกในการปรุง อาหาร เนื่องจากอาจมีการตัดไฟฟ้า

    4.การเตรียมเครื่องใช้ที่จำเป็น ควรเตรียมเครื่องใช้เด็ก ยากันยุง ยาประจำตัว ยาสามัญ สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ผ้าเช็ดตัว ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ก น้ำดื่ม

    5.ควรประจุไฟแบตเตอรี่ให้เต็ม เมื่อเกิดเหตุใช้โทร.ออกแค่จำเป็นเท่านั้น

    พื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมกรุงเทพฯ

    1.พื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำ
    1.1 พื้นที่ทุ่งรังสิต ซึ่งจะทำการรับน้ำ และแยกมวลน้ำออกไปทาง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา ลาดกระบัง และทางพุทธมณฑลสาย 1 และ 2 ถนนกาญจนาภิเษก

    1.2 พื้นที่เสี่ยงตามคลอง 9 จุดที่จะมีการรับและระบายน้ำลงสู่อุโมงค์
    1.2.1 คลองบางพรม (ถ.กาญจนาภิเษก)
    1.2.2 คลองฉิมพลี - คลองบางแวก (พุทธมณฑลสาย 1)
    1.2.3 คลองบางแวก (ถ.รัชดาภิเษก)
    1.2.4 คลองเปรมประชากร (ดอนเมือง)
    1.2.5 คลองลาดพร้าว (วัดลาดพร้าว) ปากคลองตลาด - คลองบางซื่อ (ฝั่งขวา ถ.พหลโยธิน)
    1.2.6 คลองมหาสวัสดิ์ (ทั้งสองฝั่ง ถ.พุทธมณฑลสาย 2)

    1.3 พื้นที่ประกาศ 15 จุดแนะนำให้ทำการเก็บของหนีน้ำ ได้แก่
    1.3.1 เขตสาทร ย่านถนนจันทร์เซนต์หลุยส์ สาธุประดิษฐ์
    1.3.2 เขตพญาไท ถนนพหลโยธิน ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ
    1.3.3 เขตพระโขนง ถนนสุขุมวิท จากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล
    1.3.4 เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท 39 และ 49
    1.3.5 เขตวังทองหลาง ถนนลาดพร้าว จากคลองลาดพร้าว-ห้างเดอะมอลล์
    1.3.6 เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์ จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจทั้งสองฝั่ง
    1.3.7 เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษก หน้าห้างโรบินสัน
    1.3.8 เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก แยกลาดพร้าว
    1.3.9 เขตราชเทวี ถนนเพชรบุรี จากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี
    1.3.10 เขตราชเทวี ถนนนิคมมักกะสัน
    1.3.11 เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประแจจีน
    1.3.12 เขตบางแค ถนนเพชรเกษมซอย 63 (ซอยวัดม่วง)
    1.3.13 เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศ จากถนนนางลิ้นจี่-ซอยศรีบำเพ็ญ
    1.3.14 เขตประเวศ ถนนศรีนครินทร์ ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง
    1.3.15 เขตพระนคร ถนนสนามไชย และถนนมหาร 1) เขตสาทร ย่านถนนจันทร์ เซนต์หลุยส์ สาธุประดิษฐ์

    เปิด 78 ศูนย์อพยพ กทม.ฝั่งตะวันออก
    สำหรับศูนย์อพยพที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้สั่งการให้สำนักงานเขตฝั่งตะวันออกและ 13 เขตที่อาศัยอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ ทำการจัดเตรียมศูนย์พักพิงชั่วคราวให้กับชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยล่าสุดได้มีการรวบรวมชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงทั้งสิ้น 191 ชุมชน จำนวน 78 ศูนย์อพยพ ใน 4 เขตฝั่งตะวันออกของ กทม.ได้แก่

    1.เขตมีนบุรี จำนวน 31 ชุมชน มีสถานที่รองรับผู้ได้รับผลกระทบ 10 ศูนย์อพยพ ประกอบด้วย 1.โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์) 2.โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์ (คลองสี่) 3.โรงเรียนคลองสาม 4.โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน 5.โรงเรียนศาลาคู้ 6.โรงเรียนบ้านเกาะ 7.โรงเรียนบ้านเกาะ 8.วัดใหม่ลำนกแควก 9.โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น และ 10.โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ ทั้งนี้ สามารถประสานได้ที่ นางเฉลิมศรี เฉียงอุทิศ เจ้าหน้าที่เขตมีนบุรี เบอร์โทรศัพท์ 087-980-3681

    2.เขตหนองจอก จำนวน 73 ชุมชน มีสถานที่รองรับผู้ได้รับผลกระทบ 32 ศูนย์อพยพ ประกอบด้วย 1.โรงเรียนวัดแสนเกษม 2.โรงเรียนวัดใหม่เจริษราษฎร์ 3.โรงเรียนวัดพระยาปลา 4.โรงเรียนวัดหนองจอก(ภักดีนรเศรษฐ) 5.โรงเรียนสามแยกท่าไข่ 6.โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์ 7.โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง 8.โรงเรียนหลวงแพ่ง 9.โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา 10.โรงเรียนสุเหร่าใหม่ 11.โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย 12.โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร 13.โรงเรียนวัดสามง่าม 14.โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า 15.โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ

    16.โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด 17.โรงเรียนลำบุหรี่พวง 18.โรงเรียนวัดสีชมพู 19.โรงเรียนอิสลามลำไพร 20.โรงเรียนบ้านเจียรดับ 21.โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร 22.โรงเรียนสุเหร่านาดับ 23.โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง 24.โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร 25.โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม 26.โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง 27.โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์ 28.โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ 29.โรงเรียนลำบุหรี่พวง 30.โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ 31.โรงเรียนสิริวังวิทยาคาร และ 32.โรงเรียนสังฆประชานุสรณ์ ทั้งนี้ สามารถประสานได้ที่ นายดำรงค์ รื่นสุข เจ้าหน้าที่เขตหนองจอก เบอร์โทรศัพท์ 081-648-5557

    3.เขตลาดกระบัง จำนวน 32 ชุมชน มีสถานที่รองรับผู้ได้รับผลกระทบ 16 ศูนย์อพยพ ประกอบด้วย 1.โรงเรียนวัดบึงบัว 2.โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์ 3.โรงเรียนลำพะอง 4.โรงเรียนวัดทิพพาวาส 5.โรงเรียนวัดบึงบัว 6.โรงเรียนวัดลาดกระบัง 7.โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา 8.โรงเรียนวัดบำรุงรื่น 9.โรงเรียนวัดราชโกษา 10.โรงเรียนประสานสามัคคี 11.โรงเรียนวัดพลมานีย์ 12.โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์ 13.โรงเรียนแสงหิรัญ 14.โรงเรียนตำบลขุมทอง 15.โรงเรียนตำบลขุมทอง และ16.โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส ทั้งนี้ สามารถประสานได้ที่ นายโฆษิต ธรรมโฆษิต เจ้าหน้าที่เขตลาดกระบัง เบอร์โทรศัพท์ 086-9801-6439

    4.เขตคลองสามวา จำนวน 55 ชุมชน มีสถานที่รองรับผู้ได้รับผลกระทบ 20 ศูนย์อพยพ ประกอบด้วย โรงเรียนวัดบัวแก้วสุเหร่าคลองหนึ่ง 1.โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์สุเหร่าคลอง1 2.โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง 3.โรงเรียนสุเหร่าสามวา 4.โรงเรียนวัดสุขใจ 5.โรงเรียนวัดศรีสุก 6.โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่ 7.โรงเรียนวัดลำกระดาน 8.โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด 9.โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่ 10.โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด 11.โรงเรียนบ้านแบนชะโด 12.โรงเรียนวัดแป้นทอง 13.โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ 14.โรงเรียนวัดบัวแก้ว 15.โรงเรียนวัดบัวแก้ว วัดสุขใจ วัดสุทธิสะอาด 16.โรงเรียนสุเหร่าแสบแสบ 17.โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร 18.โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร 19.โรงเรียนวัดบัวแก้ว และ 20.โรงเรียนบ้านแบนชะโด ทั้งนี้ สามารถประสานได้ที่ นายชลอ เฉียงอุทิศ เจ้าหน้าที่เขตคลองสามวา เบอร์โทรศัพท์ 087-017-0111

    ส่วน 13 เขตที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำที่ กทม.สำรวจ ได้แก่ 1.เขตบางซื่อ ได้แก่ ชุมชนพระราม 6 (ฝั่งติดแม่น้ำ) และชุมชนปากคลองบางเขนใหม่ 2.เขตดุสิต ได้แก่ ชุมชนเขียวไข่กา ชุมชนราชผาทับทิมร่วมใจ (เชิงสะพานกรุงธน) ชุมชนซอยสีคาม (ซอยสามเสน 19) ชุมชนปลายซอยมิตรคาม (ซอยสามเสน 13) และชุมชนวัดเทวราชกุญชร (ถนนศรีอยุธยา) 3.เขตพระนคร ได้แก่ ชุมชนท่าวัง ชุมชนท่าช้าง และชุมชนท่าเตียน 4.เขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่ ชุมชนวัดปทุมคงคา (ท่าน้ำสวัสดี) และชุมชนตลาดน้อย 5.เขตบางคอแหลม ได้แก่ ชุมชนวัดบางโคล่นอก ชุมชนหน้าวัดอินทร์บรรจง ชุมชนซอยมาตานุสรณ์ และชุมชนหลังโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

    6.เขตยานนาวา ได้แก่ ชุมชนโรงสี (ถนนพระราม 3) 7.เขตคลองเตย ได้แก่ ชุมชนสวนไทรริมคลองพระโขนง 8.เขตบางพลัด ได้แก่ ชุมชนวัดฉัตรแก้ว 9.เขตบางกอกน้อย ได้แก่ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ ชุมชนปากคลองน้ำตาล-คลองพิณพาทย์ ชุมชนตรอกวังหลัง และชุมชนดุสิต-นิมิตรใหม่ 10.เขตธนบุรี ได้แก่ ชุมชนปากคลองบางกอกใหญ่ 11.เขตคลองสาน ได้แก่ ชุมชนเจริญนครซอย 29/2 12.เขตราษฎร์บูรณะ ได้แก่ ชุมชนดาวคะนอง และ 13.เขตทวีวัฒนา ได้แก่ ชุมชนวัดปรุณาวาส

    ทั้งนี้ กทม.ได้ เตรียมศูนย์อพยพจำนวน 23 ศูนย์อพยพ พร้อมจัดกำลังเจ้าหน้าที่รวมถึงนักสังคมสงเคราะห์คอยดูแล ประกอบด้วย 1.โรงเรียนวัดสร้อยทอง ประสานได้ที่ นายนพดล วรวิชา เบอร์โทรศัพท์ 083-425-8944 2.โรงเรียนมัชฌันติการาม 3.โรงเรียนวัดจันทรสโมสร ประสานได้ที่ ว่าที่รอ.ตรีทรงศร กัลยาสุนทร เบอร์โทรศัพท์ 086-060-2211 4.โรงเรียนวัดราชผาติการาม 5.โรงเรียนวัดเทวราชกุญธร 6.วัดอินทรวิหาร ประสานได้ที่ นายถวิล ทวีวัน เบอร์โทรศัพท์ 081-929-8622 7.วัดมหาธาตุ 8.โรงเรียนวัดพระเชตุพน 9.วัดปทุมคงคา ประสานได้ที่ นายสมบัติ พหุรวงษ์ เบอร์โทรศัพท์ 089-992-6329 10.โรงเรียนวัดจันทร์ใน ประสานได้ที่ นางพรพิมล ม่วงศรีจันทร์ เบอร์โทรศัพท์ 081-925-0383 11.โรงเรียนวัดลาดบัวขาว

    12.โรงเรียนวัดบางโคล่นอก 13.โรงเรียนวัดจันทร์นอก 14.โรงเรียนวัดช่องลม ประสานได้ที่ นายมานะชัย กฤตอำไพ เบอร์โทรศัพท์ 086-335-9584 15.วัดสะพาน 16.โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลนี ประสานได้ที่ นางฤทธิพร ชัยสุรินทร์ เบอร์โทรศัพท์ 086-765-7889 17.โรงเรียนวัดดุสิต ประสานได้ที่ นางอริษา แสวงผล เบอร์โทรศัพท์ 081-643-2775 18.โรงเรียนมัธยมวัดดุสิต 19.โรงเรียนสตรีวัดระฆัง 20.โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร ประสานได้ที่ นายยงยุทธ ศรัทธาธรรมกุล เบอร์โทรศัพท์ 081-820-8886 21.วัดเศวตฉัตร ประสานได้ที่ นายสุภกิจ สุรจินตนาภรณ์ เบอร์โทรศัพท์ 081-823-5534 22.โรงเรียนวัดบางปะกอก ประสานได้ที่ นายสมนึก การีมี เบอร์โทรศัพท์ 089-789-8390 และ 23.โรงเรียนวัดปุรณาวาส ประสานได้ที่ นายวิชาญ เหรียญวิไลรัตน์ เบอร์โทรศัพท์ 081-700-6968

    สถานที่อพยพหนีน้ำท่วมต่างจังหวัด
    จ.นครสวรรค์ 5 แห่ง ได้แก่ ร.ร.นครสวรรค์ 2, วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์, ร.ร.วัดคีรีวงค์, สนามกีฬากลางจังหวัด และ วิทยาเทคโนโลยีภาคเหนือ

    จ.ลพบุรี 9 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การบินทหารบก, กองบิน 2 กองพลทหารปืนใหญ่, ศูนย์การบินทหารปืนใหญ่, ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร, หน่วยบัญชาการรบสงครามพิเศษ, กรมทหารราบที่ 31 รอ., ร.ร.ค่ายนารายณ์ศึกษาถายใต้หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ, รพ.อานันทมหิดล และที่พักชั่วคราวริม ถ.สายบ้านหมี่-บางงา (20 จุด)

    จ.อุทัยธานี 5 จุด สนามกีฬากลาง, กองร้อย อส.จังหวัด, ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน, ร.ร.พุทธมณฑล และวัดสังกัสรัตนคีรี

    จ.สิงห์บุรี เตรียมพื้นที่อพยพ 18 แห่ง ศาลาปึงเกงม่า, วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี แห่งที่ 2,ตลาดปากบาง, ตลาดวัดกุฎีทอง, ตลาดไม้ดัด, ตลาดชันณสูตร, เชิงกลัด, ร.ร.วัดพิกุลทอง, วิทยาลัยเทคนิค 2, วัดวิหารขาว, อนุบาลท่าช้าง, วัดสาธุ, วัดท่าข้าม, วัดโพธิ์ศรี, วัดสระบาป,วัดสิงห์, วัดพริก และวัดพิกุลทอง

    จ.ชัยนาท เตรียมพื้นที่อพยพ 28 แห่ง ได้แก่ วัดธรรมามูลวรวิหาร, คันคลองชลประทานพหลโยธิน, ลานตากข้าว ต.เขาท่าพระ, วัดท่าช้าง, ถ.หางน้ำสาคร ,หลังโรงงาน EIKO ,วัดดักคะนน, ถ.สายชัยนาท-เขื่อน, ถ.สาย 340, ถ.ชัยนาท-ตาคลี ร.ร.ชัยนาทพิทยาคม 2, ถ.สาย 311 ชัยนาท-สิงห์บุรี, ถ.สายคันคลองมหาราช ,ถ.พหลโยธิน อ.สรรพยา ,สวนเฉลิมพระเกียรติ หน้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อน, ถ.บ้านเหลมหว้า, วัดเขาแก้ว, ถ.บ้านเขาดิน, วัดปากคลองมะขามเฒ่า, ร.ร.วัดสิงห์ สะพานคลองมอญ, เต็นท์ริมคลองอนุสาสนนันท์, เต็นท์ถนนสายริมน้ำเจ้าพระยา, วัดโคก-ท่าฉนวน, เต็นท์ริมถนน ท่าอู่-หางน้ำสาคร, ศาลาวัดพิกุลงาม,ศาลาวัดศรีมณีวรรณ, เต็นท์ริมคันคลองเขตเทศบาลคุ้งสำเภา, วัดทับขี้เหล็ก และบริเวณคันคลอง ต.วังไก่เถื่อน

    จ.อ่างทอง เตรียมพื้นที่อพยพ 40 แห่ง (ไม่มีรายละเอียด) จ.พระนครศรีอยุธยา เตรียมศูนย์อพยพ 102 จุด ที่ศูนย์อพยพ 11 อำเภอ (ไม่มีรายละเอียด) ศาลากลาง จ.พระนครศรีอยุธยาและศูนย์อพยพฝั่งตรงข้ามศาลากลางจังหวัด

    จ.สระบุรี 3 แห่ง คือ ค่ายอดิศร, กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ และ กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์

    จ.พระนครศรีอยุธยา 102 แห่ง เป็นศูนย์อพยพในพื้นที่ 11 อำเภอ, ศาลากลางจังหวัด และศูนย์อพยพประชาชนฝั่งตรงข้ามศาลากลางจังหวัด

    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000129181-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ตรวจแถวช่องทาง “ตามภัยน้ำท่วม” ออนไลน์

    ท่ามกลางความหวั่นใจของคนไทยทั่วประเทศถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิด ขึ้น หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าสามารถติดตามข่าวสารและการเตือนภัยทันเหตุการณ์ได้จาก โลกออนไลน์เกิน 10 ช่องทาง ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถือ รวมถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถต่ออินเทอร์เน็ตจะสามารถรับข่าว “น้ำมา” ทั้งจากสื่อมวลชน หน่วยงานรัฐและเอกชน รวมถึงภาคประชาชนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ

    1. สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร - ระบบข้อมูลของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานครจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเบื้องต้นและชัดเจน ปัจจุบันให้บริการแล้วมากกว่า 4 ระบบซึ่งมีการการันตีว่าได้ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสถานการณ์ตลอดเวลา

    - ระบบโทรมาตร ประกอบด้วยแผนภาพแสดงระดับน้ำ ณ สถานีตรวจวัด กทม. สามารถตรวจแนวโน้มระดับน้ำ รวมถึงกราฟแสดงปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่

    - ระบบตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก สามารถดูกราฟระดับน้ำในแต่ละพื้นที่ ดูความเคลื่อนไหวของระดับน้ำในตลิ่งซ้ายและขวาของแต่ละสถานี

    - ระบบตรวจวัดน้ำท่วมบนถนน ประกอบด้วยข้อมูลกราฟระดับน้ำท่วม รายการน้ำท่วมปัจจุบัน และรายงานสรุปทุกสถานี รวมถึงรายงานจุดพื้นที่น้ำท่วมย้อนหลัง

    - ข้อมูลภาพเรดาร์ตรวจฝนผ่านระบบ Internet Server เป็นเรดาร์ตรวจฝนที่แสดงผลการตรวจแบบกึ่งเวลาจริงจากสถานีเรดาร์โดยตรง ควรต้องรอตรวจสอบความถูกต้องก่อนเพราะเรดาร์สามารถตรวจจับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ ฝนบนอากาศได้ด้วย เช่น อาคาร เครื่องบิน เป็นต้น

    2. กรมชลประทาน - หน่วยงานดูแลน้ำของประเทศไทย

    - ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ให้ข้อมูลแผนผังสภาพน้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกและตะวันตก รวมถึงข้อมูลระดับน้ำขึ้นน้ำลง

    - รายงานสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยา รายงานข้อมูลระดับน้ำในแต่ละสถานี

    3. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) - องค์การมหาชนที่รวบรวมข้อมูลจากดาวเทียมมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายแง่มุม เช่นเดียวกับมุมวิกฤติน้ำท่วมที่เกิดขึ้น

    - ระบบติดตามภัยน้ำท่วมประเทศไทย ประกอบด้วยแผนที่ตำบลที่น้ำท่วมอยู่ในปัจจุบัน และตำบลที่คาดว่าน้ำจะท่วมในช่วงเวลา 4 วัน สามารถตรวจสถานการณ์น้ำท่วมรายจังหวัด พื้นที่วิกฤต และการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมในอนาคต

    - ระบบติดตามพายุด้วยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ระบบนี้จะทำให้คุณได้ข้อมูลก่อนชมข่าวพยากรณ์อากาศ

    4. กรมทางหลวงชนบท - ผู้สัญจรถนนควรตรวจข้อมูลจากกรมทางหลวงชนบท เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ประสบภัยน้ำท่วม

    - ระบบบริหารจัดการงานอุทกภัย แผนที่แสดงเส้นทางหลวงที่ประสบภัยน้ำท่วม สามารถดูได้ทั่วประเทศไทย

    5. กรมทรัพยากรน้ำ - หน่วย งานที่ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์และกำหนดพื้นที่เลี้ยงภัยเกี่ยวกับน้ำ รวมถึงการเสนอแผนแม่บท มาตรการ รวมทั้งประสานการนำแผนไปสู่การปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขวิกฤติน้ำ

    - สรุปสถานการณ์น้ำ รายงานการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำ 24 ชั่วโมงของกรมทรัพยากรน้ำ

    นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแหล่งข้อมูลน้ำและการประบายน้ำ ยังมีเฟซบุ๊ก (Facebook) เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่สามารถใช้เป็นทั้งช่องทางรายงานภัย ให้กำลังใจ รวมถึงการรวบรวมความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และข้อมูลจากทวิตเตอร์ (Twitter) บริการรับส่งข้อความสั้นทันเหตุการณ์ซึ่งเป็นหนึ่งในช่องทางการรับข่าวน้ำ ท่วมที่ทันใจที่สุด สามารถติดตามได้จาก tags คือ #ThaiFlood และ #BKKFlood และอื่นๆซึ่งมีการเผยแพร่ข่าวสารโดยประชาชนออนไลน์อย่างว่องไว

    ทั้งหมดนี้สามารถติดตามเพิ่มเติมได้จากลิงก์ข่าว Update ช่องทางส่งข่าว ชาวมหา’ลัยใจงามช่วยน้ำท่วม

    หรือต้องการแอปพลิเคชันสำหรับแอนดรอยด์ เปิดแอปฯ แอนดรอยด์เช็ค “น้ำท่วม” ตลอด 24 ชั่วโมง

    -http://www.manager.co.th/CBizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9540000128891-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    ฉะเชิงเทราเตือนน้ำท่วมใน 10 วัน รอรับน้ำผันจากอยุธยา



    สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม

    เมือง ฉะเชิงเทรา ออกประกาศเตือนภัยฉุกเฉินแล้ว หลังถูกเลือกเป็นช่องทางระบายน้ำออกจากอยุธยา ลงแม่น้ำบางปะกง เตือนน้ำก้อนใหญ่จะมาถึงใน 10 วัน

    เมื่อช่วงเย็นวันนี้ (10 ตุลาคม) เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ได้แจ้งเตือนภัยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ในย่านเศรษฐกิจ เขตชุมชนเมืองของจังหวัด ให้เก็บข้าวของหนีน้ำขึ้นไว้ในที่สูง เนื่องจากน้ำในแม่น้ำบางปะกงจะเอ่อล้นออกมาท่วมตัวเมือง โดยจะมีระดับสูงถึงประมาณ 50 ซ.ม.

    ทั้งนี้ หนังสือแจ้งเตือนดังกล่าว ออกโดยสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 10 ต.ค. 54 เพื่อให้นำเผยแพร่ออกผ่านทางสื่อมวลชนในท้องถิ่น โดยระบุข้อความว่า

    "ประกาศศูนย์วิเคราะห์สถานการณ์น้ำ จ.ฉะเชิงเทรา แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำในแม่น้ำบางปะกง และลุ่มน้ำสาขาที่จะเอ่อล้นตลิ่งเนื่องจากน้ำเหนือที่ไหลจากแม่น้ำ ปราจีนบุรี แม่น้ำนครนายก คลองรังสิต และจากรอยต่อกรุงเทพฯ ที่ระบายลงสู่แม่น้ำบางปะกง และลุ่มน้ำสาขา ประกอบกับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนสูงสุด ในห้วงระหว่าง วันที่ 9-15 ต.ค. 54 จะทำให้แม่น้ำบางปะกง มีระดับสูงเกินกว่าปกติ 50 ซ.ม. โดยเฉพาะในห้วงเวลาระหว่าง 18.00 น.-22.00 น. จ.ฉะเชิงเทรา จึงได้ประกาศแจ้งเตือน ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ทั้งสองฝั่งตลอดแนว รวมทั้งที่อาศัยอยู่ริมฝั่งคลองสาขา ให้เตรียมขนย้ายสิ่งของมีค่าไว้ในที่สูงตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป"


    [​IMG]


    ด้าน นางสุมิตรา ศรีสมบัติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า พื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ได้ถูกเลือกให้เป็นเส้นทางระบายน้ำออกจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ที่กำลังถูกน้ำท่วมอย่างหนักและไม่มีช่องทางระบายออกลงสู่ทะเล หลาย ฝ่ายจึงมีความเห็นตรงกันว่า จะใช้ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นเส้นทางการระบายน้ำ ผ่านลงสู่แม่น้ำบางปะกง ก่อนที่จะถูกปล่อยออกสู่ทะเล เนื่องจากเป็นเพียงช่องทางเดียวที่จะเกิดความเสียหายน้อยที่สุด

    ทั้งนี้ ระดับน้ำที่จะถูกระบายผ่านเข้ามานั้น จะเป็นมวลน้ำจำนวนมาก จนทำให้แม่น้ำบางปะกงเอ่อล้นออกนอกลำน้ำ และ จะไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่รวม 6 อำเภอ คือ อ.คลองเขื่อน อ.เมือง อ.บ้านโพธิ์ อ.บางปะกง อ.บางคล้า บางส่วน อ.บางน้ำเปรี้ยว บางส่วน โดยระดับน้ำจะท่วมสูงถึงประมาณ 1-2 เมตร ซึ่งคาดว่ามวลน้ำจำนวนดังกล่าวนี้ จะมาถึงยังในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา อีกประมาณ 10 วันข้างหน้า

    ขณะที่ปริมาณน้ำในพื้นที่นั้น ขณะนี้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำคลองระบม และอ่างสียัด เต็มล้นแล้วทั้ง 2 อ่าง และได้มีการเร่งระบายน้ำออกจากอ่างสียัดอย่างต่อเนื่อง ถึงวันละ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนอ่างแควระบมนั้นได้ชะลอการระบายลงแล้ว

    ที่มา ไอ.เอ็น.เอ็น.
    [​IMG]

    -http://hilight.kapook.com/view/63584-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ถุงยังชีพ ช่วยน้ำท่วม ควรมีอะไรบ้าง



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    สถานการณ์ อุทกภัยกลับมาอีกครั้ง และดูเหมือนว่าในปี พ.ศ.2554 นี้ ภาพของความเสียหายจะยิ่งทวีความรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา ๆ หลายเท่า นำไปสู่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกว่าครึ่งค่อนประเทศ หลายหน่วยงานจึงเปิดรับบริจาคเงิน สิ่งของอุปโภค บริโภค เพื่อบรรจุเป็น "ถุงยังชีพ" ส่งไปให้ถึงมือของพี่น้องผู้ประสบภัย ขณะเดียวกัน หลายบ้าน หลายครอบครัว โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงถูกน้ำท่วม ต่างก็เร่งกักตุนอาหาร สิ่งของอุปโภคบริโภค เพื่อจัดเตรียมเป็นถุงยังชีพ เอาไว้ช่วยเหลือตัวเองในยามที่ต้องรับมือกับสภาพบ้านจมน้ำ

    วันนี้ กระปุกดอทคอม จึงนำข้อมูลจากสภากาชาดไทยมาบ อก กันว่า ข้าวของที่ควรเตรียมไว้ในถุงยังชีพ ควรมีอะไรบ้าง เพื่อที่พี่น้องประชาชนจะได้เตรียมตัวรับมือ หรือจะได้หาซื้อเพื่อส่งต่อไปยังผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ได้รับความเดือดร้อน จากทุกสารทิศต่อไป


    [​IMG]

    สำหรับสิ่งของจำเป็นที่ควรมีใน "ถุงยังชีพ" ประกอบด้วย

    [​IMG] 1. อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง พร้อมที่เปิดกระป๋อง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ผักกาดดองกระป๋อง ปลาราดพริก น้ำพริกกระปุก เนื้อเค็ม ไข่เค็ม หมูหยอง หมูแผ่น ฯลฯ ในปริมาณที่เพียงพอต่อการบริโภคไม่น้อยกว่า 3 วัน

    [​IMG] 2. ข้าวหอมมะลิกระป๋อง และข้าวสาร หรือหากเดินทางไปแจกด้วยตนเอง อาจซื้อข้าวเหนียวนึ่งกับเนื้อหรือหมูทอดใส่ถุงเพราะไม่บูดง่าย

    [​IMG] 3. น้ำดื่ม เครื่องดื่มแพ็คกล่อง และขนมปังกรอบ ขนมถุงต่าง ๆ ที่เด็กชอบ นมถั่วเหลืองและน้ำผลไม้ สำหรับถวายพระฉันหลังเพล

    [​IMG] 4. นมผง และขวดนมสำหรับเด็กเล็ก พร้อมด้วยกระติกน้ำร้อนขนาดเล็ก ชนิดเสียบไฟได้

    [​IMG] 5. กระบอกไฟฉายพร้อมถ่าน ควรมีถ่านสำรองด้วยหลาย ๆ ชุด เทียนไข และไฟแช็ค

    [​IMG] 6. ชุดปฐมพยาบาล และยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้น้ำกัดเท้า ยาทาแผลสด ยาดม ยาหม่อง ยาแก้ไข้แก้หวัด ยาแก้ไอ เจ็บคอ เกลือแร่ซอง ยาแก้ท้องเสีย โลชั่นกันยุง ยาแก้คัน และยารักษาเชื้อรา-น้ำกัดเท้า

    [​IMG] 7. กระดาษทิชชู และกระดาษชำระแบบเปียก ใช้สำหรับการชำระล้างเพื่อสุขอนามัย

    [​IMG] 8. ถุงดำสำหรับใส่ขยะ พร้อมเชือกฟางหรือหนังยาง สำหรับมัดปากถุง

    [​IMG] 9. ผ้าอนามัย และยาคุมสำหรับผู้หญิง ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กเล็กและคนแก่ กระโถน ถุงก๊อบแก๊บพร้อมที่นั่งถ่ายแบบของคนป่วย

    [​IMG] 10. เสื้อชูชีพ จำเป็นมากสำหรับคนแก่ คนป่วย และเด็ก ที่ควรมีไว้ประจำตัว

    [​IMG] 11. รองเท้าแตะยาง เสื้อกันฝน หมวกกันแดด ร่ม เสื้อยืด สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าขาวม้า ผ้าถุง กางเกงในกระดาษ หน้ากากกันฝุ่น

    [​IMG] 12. นกหวีด เพื่อส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ

    [​IMG] 13. เชือกไนลอนเส้นยาว ๆ สำหรับผูกของ ตากผ้า ฯลฯ

    [​IMG] 14. กระจกเล็ก ๆ เอาไว้สะท้อนแสงขอความช่วยเหลือ

    [​IMG] 15. แผ่นพลาสติกและเทปกาว เพื่อใช้ในการทำที่หลบภัยภายในที่พัก


    ทั้ง หมดนี้ เป็นรายการสิ่งของจำเป็นเบื้องต้น ซึ่งท่านที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมสามารถจัดเตรียมและนำไปมอบ ให้ได้ด้วยตนเอง หรือผ่านหน่วยงานต่าง ๆ ที่เปิดรับได้ หรือ สำหรับคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะถูกน้ำท่วม ก็สามารถจัดเตรียมสิ่งของเหล่านี้ไว้ล่วงหน้าก่อนก็มีประโยชน์ไม่น้อยค่ะ

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก สภากาชาดไทย

    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/52955-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ส้วมเฉพาะกิจ ปลดทุกข์ ผู้ประสบภัยน้ำท่วม



    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ Diamondoid แห่งเว็บไซต์พันทิป

    จากสถานการณ์น้ำท่วมที่กำลังวิกฤติอย่างมากในขณะนี้ ส่งผลให้บรรดาประชาชนหลายภูมิภาคต่างเดือดร้อน ทั้งทางด้านที่อยู่อาศัย การคมนาคม บ้านเรือนเสียหาย ที่ทำมาหากิน ต่างจมหายลงไปในพริบตา... และถึงแม้ว่า จะมีธารน้ำใจหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ทั้งเงินทอง ทั้งอาหารที่มาช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบภัย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมต้องการมากพอ ๆ กับอาหาร และที่อยู่อาศัย นั่นก็คือ "ห้องน้ำ"

    ...ผู้ประสบภัยจะทราบกันเป็นอย่างดีว่า เวลาน้ำท่วม การขับถ่าย จะเป็นไปอย่างยากลำบาก ทั้งปัญหาน้ำในส้วมล้นเอ่อขึ้นมา บางบ้านห้องน้ำถูกน้ำท่วมจนมิดไม่สามารถขับถ่ายได้ วันนี้คุณ Diamondoid แห่งเว็บไซต์พันทิป ได้มีไอเดียมาเนรมิต "ส้วมเฉพาะกิจ" แบบง่าย ๆ มาแนะนำให้ผู้ประสบภัยกันค่ะ

    งบประมาณของ "ส้วมเฉพาะกิจ" สนนราคาอยู่ที่ 200 บาท โดยมีอุปกรณ์ และวิธีการทำดังต่อไปนี้...

    [​IMG] เก้าอี้พลาสติกไม่มีพนักพิง (ที่รองรับน้ำหนักได้ และมั่นคง) 1 ตัว
    [​IMG] ถุงดำขนาด 30x40 นิ้ว
    [​IMG] จุลินทรีย์ EM สำหรับดับกลิ่น 1 ขวด
    [​IMG] กระดาษทิชชู่
    [​IMG] ตัวหนีบ 4 ตัว
    [​IMG] ยางรัด

    วิธีทำ "ส้วมเฉพาะกิจ"


    [​IMG]

    - นำเก้าอี้พลาสติกมาเจาะรูตรงกลาง

    [​IMG]

    - นำถุงดำมาใส่ลงไปตรงกลาง จากนั้นใช้ตัวหนีบ หนีบถุงติดไว้กับเก้าอี้กันมันหลุดออกจากกัน

    [​IMG]

    - และเมื่อขับถ่ายเสร็จ ก็เทจุลินทรีย์อีเอ็มเอาไว้เทใส่ดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ เสร็จแล้วก็ใช้หนังยางมัดถุงดำเอาไว้

    ... เอ้า! ใครจะนำเอาไอเดีย "ส้วมเฉพาะกิจ" ไปใช้ หรือจะร่วมมือกันทำ แล้วนำไปบริจาคให้ผู้ประสบภัยก็ได้ไม่ว่ากันนะคะ ....เพราะการไม่มีที่ขับถ่ายนั้น ถือว่าเป็นทุกข์อย่างแสนสาหัสอย่างหนึ่งเลยทีเดียว


    -http://hilight.kapook.com/view/63552-

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    สภากาชาดไทย ระดมขอรับบริจาคโลหิต ช่วยผู้ป่วยในจังหวัดประสบวิกฤติอุทกภัย


    ศูนย์ บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ระดมขอรับบริจาคโลหิตช่วยผู้ป่วยในจังหวัดที่ประสบวิกฤติอุทกภัยทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดภาคกลาง พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์และ ลพบุรี เนื่องจากโรงพยาบาลไม่สามารถออกรับบริจาคโลหิตได้ และยังมีผู้ป่วยต้องการโลหิตในการรักษาเป็นจำนวนมาก
    แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า หลังจากเกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดทั่วประเทศกว่า 30 จังหวัด และสถานการณ์ก็ยังคงวิกฤติอยู่ในขณะนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยเฉพาะจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางที่ประสบกับภาวะวิกฤตอย่างหนัก อาทิ พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี พิษณุโลก ฯลฯ เนื่องจากโรงพยาบาลประจำจังหวัดไม่สามารถออกหน่วยรับบริจาคโลหิตได้ และยังคงมีผู้ป่วยต้องได้รับโลหิตในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากนั้น
    ทำให้ขณะนี้ ศูนย์บริการโลหิตฯ ต้องจัดส่งโลหิตไปสำรองยังภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 3 แห่ง อาทิ ภาคบริการโลหิตฯ จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และ พิษณุโลก ทุกวัน รวมวันละ 400 ยูนิต เพื่อ นำไปส่งต่อให้แก่โรงพยาบาลจังหวัดที่ประสบวิกฤติอุทกภัยในภาคกลางทั้งหมด ซึ่งยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย เนื่องจาก ทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สามารถจ่ายโลหิตได้เพียงวันละ ประมาณ 1,400 - 1,500 ยูนิตเท่านั้น และจะต้องแบ่งจ่ายโลหิตให้แก่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯและปริมณฑลอีก วันละ 1,000 ยูนิต และจังหวัด อื่นๆ อีกประมาณ 100 ยูนิต เท่านั้น โดยจะต้องมีโลหิตสำรองวันละกว่า 3,000 ยูนิต จึงจะเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย
    จึงเชิญชวนประชาชนร่วมระดมบริจาคโลหิต เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในจังหวัดที่กำลังประสบวิกฤตอุทกภัยอย่างหนักในขณะนี้ สามารถบริจาคโลหิตได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จังหวัด ชลบุรี อุบลราชธานี สงขลา เชียงใหม่ ภูเก็ต และ งานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหิน สอบถามโทร.0-2256-4300,0-2263-9600ต่อ1101



    -http://www.redcross.or.th/news/information/12245-


    .

    สภากาชาดไทย ระดมขอรับบริจาคโลหิต ช่วยผู้ป่วยในจังหวัดประสบวิกฤติอุทกภัย | Welcome to The Thai Red Cross Society

    .
     
  12. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    กว่าจะเป็นมะเร็งตับ! ต้องรู้ก่อนสาย

    วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น
    [​IMG][​IMG] [​IMG] [​IMG]


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen4 style="LEFT: 0px; POSITION: relative; TOP: 0px; webkit-border-horizontal-spacing: 2px; webkit-border-vertical-spacing: 2px" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY style="VERTICAL-ALIGN: middle"><TR id=ext-gen3><TD class=" on" id=ext-gen9 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 2px; FONT-SIZE: 12px; PADDING-BOTTOM: 0px; WIDTH: 72px; PADDING-TOP: 0px; FONT-FAMILY: Verdana, Geneva, Arial, Helvetica, sans-serif">เนื้อหาข่าว</TD><TD id=ext-gen15 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 2px; FONT-SIZE: 12px; PADDING-BOTTOM: 0px; WIDTH: 57px; PADDING-TOP: 0px; FONT-FAMILY: Verdana, Geneva, Arial, Helvetica, sans-serif">รูปภาพ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    [​IMG]



    [​IMG]

    'เงิน' อาจจะไม่สามารถซื้อสุขภาพอันแข็งแรงกลับคืนมาได้ หากโรคภัยร้ายคุกคามในระยะรุนแรงไปแล้ว เช่นกรณี 'สตีเฟน จ็อบส์' อดีตซีอีโอของแอปเปิล ผู้คิดค้นและบุกเบิกอุปกรณ์ไอทีทันสมัย และมหาเศรษฐีคนหนึ่ง แม้จะมีทรัพย์สินกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังต้องลาโลกไปในวัยเพียง 56 ปี ด้วยโรคมะเร็งตับ

    เมื่อกล่าวถึงโรคมะเร็งตับแล้ว ในงานสัมมนาของบริษัทโรช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับได้พูดคุยอย่างเข้ากระแสกับข่าวการสูญเสียคนดังอย่าง สตีเฟน จ็อบส์ โดยรศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า ไวรัสตับอักเสบ บี ถือเป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง ตับวาย และโรคมะเร็งตับ

    นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นเพชฌฆาตเงียบ เนื่องจากระยะการดำเนินโรค(ชนิดเรื้อรัง)กินเวลานานหลายปี ซึ่งระหว่างนั้นจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติให้ผู้ป่วยรู้ตัวได้เลย โดยเฉพาะในไทย มีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี 3.5 ล้านรายในปัจจุบัน ขณะที่โรคมะเร็งตับซึ่งเป็นปลายทางการพัฒนาโรคของไวรัสตับอักเสบ บีนั้น คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มโรคมะเร็ง

    เหตุที่ทำให้โรคไวรัสตับอักเสบ บี สร้างความสูญเสียได้มาก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า โรคดังกล่าวติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อเอชไอวีถึง 50-100 เท่า โดยติดต่อได้หลายช่องทาง อาทิ จากมารดาสู่ทารกในระหว่างตั้งครรภ์หรือตอนคลอด ติดต่อทางเลือดจากการได้รับเลือดที่ปนเปื้อนเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ และการติดเชื้อเพราะใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาดในการทำฟัน สัก หรือเจาะตามร่างกาย

    จากการติดต่อที่ง่ายและไม่รู้ตัวของโรคไวรัสตับอักเสบ บี นั้น รศ.นพ.ทวีศักดิ์ จึงเตือนให้ทุกคนควรตรวจหาเชื้อไวรัสร้ายดังกล่าว โดยวิธีการตรวจที่แนะนำคือ การวัดปริมาณเปลือกของไวรัสตับอักเสบ บี หรือเอส-แอนติเจน (HBsAg) ซึ่งโดยทั่วไปจะค่าใช้จ่ายในการตรวจอยู่ที่หลักร้อย และทราบผลได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ทั้งนี้ หากผลการตรวจชี้ว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี ก็จะได้เข้าสู่ขั้นตอนการรักษาซึ่งมีทั้งการรับประทานยาและการฉีดยาอย่างต่อเนื่อง

    ด้าน รศ.นพ.ธีระ พิรัชวิสุทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับ ผอ.สถาบันโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อัพเดตวิธีการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ที่สอดรับกับแนวคิดการรักษาเฉพาะบุคคล (Personalised Healthcare) ว่า ขณะนี้มีวิธีใหม่ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ด้วยยาในกลุ่มเพ็คอินเตอร์เฟอรอน (peginterferon) เป็นหลัก ใช้ต่อเนื่องระยะ 48 สัปดาห์ จะมีประสิทธิภาพต่อสู้กับโรคสองแนวทางคือ การต่อสู้กับไวรัสโดยตรง และในเวลาเดียวกันจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าจัดการกับเชื้อโรค

    สำหรับวิธีรักษาด้วยยากลุ่มเพ็คอินเตอร์เฟอรอนนั้น รศ.นพ.ธีระ เผยว่า เหมาะสมที่จะใช้กับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี ที่มีอายุมาก ผลตรวจเปลือกของไวรัสตับอักเสบ บี เป็นบวก มีค่าเอนไซม์ในเซลล์ตับสูงกว่าปกติ 2 เท่า และที่พบว่าจำนวนไวรัสชนิดนี้มีมากเกิน 1 พันล้านตัว

    เมื่อการแพทย์คิดหาวิธีที่ดีในการตรวจและรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี อย่างนี้แล้ว หากไม่อยากป่วยตายด้วยโรคมะเร็งตับไปอีกราย คนรักษ์สุขภาพทั้งหลายคงไม่ละเลยตรวจหาความผิดปกติของตับ.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์





     
  13. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    7 ชาสมุนไพร แก้ปัญหาสุขภาพ

    วันอังคาร ที่ 11 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น
    [​IMG][​IMG] [​IMG] [​IMG]


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen4 style="LEFT: 0px; POSITION: relative; TOP: 0px; webkit-border-horizontal-spacing: 2px; webkit-border-vertical-spacing: 2px" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY style="VERTICAL-ALIGN: middle"><TR id=ext-gen3><TD class=" on" id=ext-gen9 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 2px; FONT-SIZE: 12px; PADDING-BOTTOM: 0px; WIDTH: 72px; PADDING-TOP: 0px; FONT-FAMILY: Verdana, Geneva, Arial, Helvetica, sans-serif">เนื้อหาข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    ชาอุ่นๆ นอกจากจิบเพื่อความรู้สึกที่สดชื่นขึ้น และดื่มช่วยย่อยหลังมื้ออาหารแล้ว ชาสมุนไพรต่างๆ ยังมีสรรพคุณช่วยแก้ไขและป้องกันปัญหาสุขภาพได้ด้วย วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์ คัดชาสมุนไพร 7 ชนิด ซึ่งเป็นที่นิยมตามท้องตลาดนั้น มีประโยชน์ต่อสุขภาพดังต่อไปนี้...

    เริ่มจาก 'ชาอบเชย' หรือชาชินนามอน ช่วยขับเหงื่อ ขับลม ลดอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้เวียนหัวและคลื่นไส้อาเจียน หากเติมน้ำผึ้งแท้ลงไป ประโยชน์ของน้ำผึ้งยังช่วยบำรุงธาตุด้วย

    ต่อมา 'ชาเปปเปอร์มินต์' ช่วยขจัดกลิ่นปาก โดยกลิ่นหอมของเปปเปอร์มินต์ เมื่อสูดดมแล้วจะช่วยแก้ปวดหัว เมารถ เมาเรือ และทำให้หลับง่าย

    ส่วน 'ชากระเจี๊ยบ' ดื่มเพื่อแก้กระหายน้ำ ชุ่มคอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ทั้งยังสามารถลดและป้องกันการจับตัวของไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง

    ขณะที่ 'ชาตะไคร้' มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แก้วิงเวียน บรรเทาอาการแน่นหน้าอก แก้หวัด แก้ไอ

    ด้านประโยชน์ของ 'ชามัลเบอร์รี่' หรือชาใบหม่อน บำรุงเส้นผม เล็บ และกระดูก ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน เพราะใบหม่อนลดการดูดซึมน้ำตาล

    สำหรับ 'ชากุหลาบ' กลิ่นหอมของชาช่วยลดความเครียด ให้รู้สึกผ่อนคลาย หลับง่าย ดื่มแล้วลดความดันโลหิตสูง ช่วยประจำเดือนมาปกติ และบำรุงผิวพรรณ

    สุดท้าย 'ชามะตูม' แก้ร้อนใน แก้อ่อนเพลีย ทำให้รู้สึกสดชื่นและบำรุงกำลัง นอกจากนี้ยังเสริมประสิทธิภาพให้ระบบย่อยอาหาร ลดอาการจุกเสียด ขับเสมหะด้วย

    ทั้งนี้ ไม่ควรดื่มชาในตอนท้องว่าง เพราะอาจทำให้บางคนมีอาการท้องผูก ขับถ่ายลำบาก.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์





     
  14. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    น้ำท่วมค่อนข้างน่ากลัวนะครับ เตรียมตัวย้ายของขึ้นที่สูง หากมีน้ำขึ้นสูงมากควรหาที่อยู่อื่น มีสติ อย่าตระหนกครับ หุ หุ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    พร้อมรับมือ!! กับบัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม

    [​IMG]


    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์


    คงปฏิเสธไม่ได้ว่า...สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยตอนนี้กำลังวิกฤติ หลายต่อหลายจังหวัดต่างต้องจมอยู่ใต้บาดาล ส่วนอีกหลายจังหวัด ก็กำลังเตรียมตัวเฝ้าระวัง และรับมือกันอย่างเต็มที่... แต่ถึงจะเตรียมพร้อมอย่างไร ถ้าน้ำไหลหลากมาอย่างรวดเร็ว ก็อาจจะเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้ เราควรเตรียมตัว เตรียมใจ และตั้งสติอย่างเต็มร้อย เพื่อฝ่าฟันสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มาพร้อมความทุกข์จากภัยธรรมชาติที่ไม่อาจต้านทานได้ ...

    วันนี้ เรามีบทบัญญัติดี ๆ เกี่ยวกับการเตรียมบ้านก่อนน้ำท่วมจาก อาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ มาฝากกันค่ะ เราไปดูกันซิว่า... วิธีเตรียมบ้านให้พร้อมต้องทำอย่างไรบ้าง ....


    [​IMG]


    [​IMG]บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม



    [​IMG]

    [​IMG]1. ดูทางน้ำที่จะมาสู่บ้านเรา แล้วจะไปทางไหนได้บ้าง


    ขอให้คิดว่าเราเหมือนกำลังตั้งค่ายคูประตูหอรบอยู่ เราต้องรู้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีเราทางทิศใดได้บ้าง และหากเกิดความพลาดพลั้งขึ้นมา เราจะหนีไปทางไหนได้บ้าง ซึ่งข้าศึกอาจจะเข้ามาตีเราหลายทางก็ได้ และเราก็อาจจะมีทางหนีไปหลายทางก็ได้ บางครั้งข้าศึกไม่ได้มาตีแค่ 2-3 ทาง แต่ทำการ "ล้อม" เราเอาไว้ทุกด้านก็ได้ ทำให้ทางหนีของเราถูกปิดกั้นไว้หมด


    หากเมื่อรู้แนวทางเหล่านั้นแล้ว ก็ขอให้เริ่มวางแผนที่จะ "หยุดน้ำ หยุดข้าศึกที่จะเข้ามาโจมตีเรา" ซึ่งการหยุดยั้งน้ำหรือข้าศึกนั้น มีหลายวิธีที่ต้องจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการ "สร้างเขื่อนชั่วคราว" ด้วยกระสอบทราย หรือเอาแผ่นวัสดุใด ๆ มาอุดก็ได้ การปิดกั้นนั้นมีหลายวิธี ซึ่งใช้ความเข้าใจพื้นฐาน บวกกับสอบหาข้อมูล ก็จะพอทราบกันเองได้ครับ


    [​IMG]

    [​IMG]2. กำแพงบ้านไว้กันน้ำได้ แต่ต้องระวังรั้วพัง

    ตามปกติแล้ว รั้วบ้านที่เป็นคอนกรีตหรือก่ออิฐ จะเปรียบเสมือนกำแพงเมืองที่จะกันน้ำไม่ให้เข้ามาในบ้านของเรา แต่เราต้องไม่ลืมว่าน้ำหนักของน้ำที่ขังหรือถาโถมเข้ามากดที่ด้านข้างของ กำแพงรั้วเรา จะทำให้รั้วบ้านของเราเกิดการเอียง หรือแตกร้าว หรือพังลงมากได้ เพราะรั้วบ้านทั่วไป วิศวกรท่านจะไม่ได้ออกแบบไว้ให้รับแรงหรือน้ำหนักที่กระทำด้านข้างได้มากนัก

    ทางป้องกันที่ง่ายที่สุดก็คือ เราหากระสอบทรายมาวางไว้อีกด้านหนึ่งของรั้วบ้านเรา (ในบ้านเรา) วางไว้ติดชิดกับรั้วไปเลย ยามเมื่อรั้วจะเอียงเพราะว่าน้ำที่ท่วมกดน้ำหนักมาอีกด้านหนึ่ง กระสอบทรายก็จะทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักเอาไว้ ถ่ายแรงจากรั้วมา รั้วก็ยังตั้งตรงอยู่ได้ “กำแพงเมืองของเราก็ไม่แตก หรือล้มครืนลงมา” ครับผม


    [​IMG]


    [​IMG]3. น่าจะมี "ปืน" ไว้สู้ฝน สู้น้ำท่วม จัดการกับ "รูรั่ว"

    บ้านหลายหลังที่มีรูมีรอยแตกเล็ก ๆ ตามผนังหรือช่องหน้าต่าง ตามรอยต่อของผนังกับเสาและคาน หรือแม้แต่ตามรั้วบ้าน ซึ่งบางครั้งเราไม่มีเวลา (หรืองบประมาณ) ที่จะแก้ไขได้ที่ต้นเหตุ จะตามช่างมาซ่อมแซมหรือก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หรือไม่ทันเวลาเสียแล้ว

    ดังนั้น เราก็น่าจะมีวัสดุอุดประสานรอยจำพวก ซิลิโคน หรืออะคริลิค หรือโพลี่ยูริเทน เอาไว้ เพื่ออุดรอยเหล่านี้ ซึ่งเราน่าจะทำได้ด้วยตัวเอง (โดยเฉพาะในจังหวะที่เศรษฐกิจไม่ดี หรืออยากจะฝึกตัวเองเป็นช่างบ้าง) แต่การที่เราจะใช้วัสดุ ประสานที่มีความยืดหยุ่นและอยู่ในหลอดแข็งๆนี้ได้ เราจะต้องมีอุปกรณ์การ "ฉีด" ซึ่งภาษาช่างทั่วไปเขาเรียกกันว่า "ปืน" ซึ่งราคาไม่แพงเลยครับ

    บางครั้ง ท่านอาจจะต้อง "พกปืน" ไว้ในบ้านของท่านสักชุด เพื่อช่วยเหลือตัวเองในการต่อสู้ ป้องกันน้ำไม่ให้ไหลเข้ามาในบ้านของเราครับ

    [​IMG]

    [​IMG]4. อย่าให้ต้นไม้ล้มทับบ้าน ยามน้ำท่วมและพายุมา

    ต้นไม้ทั้งหลายที่อยู่ในบ้านหรือใกล้บ้านเราจะเป็นอันตรายยามมีพายุมา เพราะต้นไม้อาจจะล้ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ที่ล้อมจากที่อื่นมาปลูก เพราะต้นไม้เหล่านั้นไม่มี "รากแก้ว" ครับ) หรือกิ่งต้นไม้บางประเภทที่ค่อนข้างเปราะ (เช่น ต้นประดู่กิ่งอ่อน) อาจจะหักลงมาสู่ตัวบ้านเรา ต้องทำการเล็มกิ่งหรือตัดกิ่งบางกิ่งออกไปเสีย

    ยามเมื่อน้ำท่วม ระดับน้ำใต้ดินจะสูงมาก (หรือน้ำท่วมเข้ามาได้จริงๆ) รากของต้นไม้จะแช่น้ำเป็นเวลานาน รากต้นไม้จะเน่าได้ แล้วความสามารถในการยึดเกาะกับดินก็จะน้อยลง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ใหญ่ที่ไม่มีรากแก้ว) ต้นไม้ก็อาจจะล้มลงได้ ต้องทำการค้ำยันลำต้นเอาไว้ให้ดี ก่อนน้ำจะท่วมครับ

    สิ่งที่น่าคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องการให้ปุ๋ย ซึ่งตอนที่น้ำท่วมห้ามให้ปุ๋ยต้นไม้ครับ เพราะจะทำให้รากเน่าเร็วขึ้น (ต้นไม้ที่โดนน้ำท่วมก็เหมือนคนป่วย เขาไม่ต้องการอาหารดี ๆ (แต่ย่อยยาก) ครับ ขอให้หายป่วยเสียก่อนค่อยกินอาหารดี ๆ เยอะ ๆ ได้ครับ)


    [​IMG]


    [​IMG] 5. ตรวจสอบถังน้ำใต้ดิน

    บ้านใครมีถังน้ำใต้ดิน ต้องตรวจสอบ "ฝา" ของถังน้ำให้ดี ๆ เพราะเวลาน้ำท่วม ถังน้ำจะอยู่ใต้น้ำด้วย หากฝาของถังน้ำมีระบบป้องกันน้ำเข้าไม่ดี น้ำสกปรกที่ท่วมเข้ามา ก็จะไปปนกับน้ำสะอาดในถังน้ำของเรา ปัญหาเรื่องโรคภัยต่าง ๆ ก็จะตามเข้ามาหาตัวเราโดยทันทีครับ

    หากเราไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำเล็ดลอดเข้ามาในถังของเราได้ ก็ขอให้ต่อท่อน้ำตรงจากท่อประปาหน้าบ้านเรา เข้ามาที่ตัวบ้านของเราเลย (โดยปกติแล้ว บ้านที่มีถังน้ำใต้ดินจะมีวาล์วหมุนเปิดทางให้น้ำประปาจากหน้าบ้านเรา วิ่งผ่านตรงเข้ามาในบ้านโดยไม่ลงไปที่ถังน้ำใต้ดินได้ ต้องหาวาล์วตัวนี้ให้เจอ แล้วต่อตรงเข้ามาเลยดีกว่า น้ำจะเบาลงหน่อย แต่ก็ยังเป็นน้ำสะอาดครับ)

    [​IMG]


    [​IMG] 6. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้านอกบ้าน ตัดกระแสไฟเสีย

    ภายนอกบ้านของเราจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างเช่น ปั๊มน้ำ เครื่องปรับอากาศ หรือแม้กระทั่งไฟสนาม และกริ่งหน้าบ้าน ต้องหาสวิตร์ตัดไฟให้พบว่า จะต้องตัดไฟตรงไหนไม่ให้ไฟฟ้าวิ่งเข้าไปที่อุปกรณ์เหล่านั้นได้ ยามเมื่อน้ำท่วมเข้ามา ต้องทำการตัดไฟตรงนั้นเสีย (แม้กระทั่งยามจะเข้านอน ถ้าไม่แน่ใจว่าน้ำจะท่วมเข้ามาตอนเราหลับอยู่หรือเปล่า ก็ต้องปิดสวิตช์ไฟฟ้าของอุปกรณ์เหล่านั้นเสีย ตื่นมาตอนเช้า หากน้ำยังไม่ท่วม ก็ค่อยเปิดสวิตช์ใหม่อีกครั้งหนึ่งครับ)

    ส่วนการย้ายเครื่องมือย้ายอุปกรณ์เหล่านั้นในตอนนี้ หากแน่ใจว่าน้ำท่วมแน่ และมีช่างมาช่วยย้าย ก็อาจจะย้ายได้ แต่หากไม่มีช่างมาช่วย ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำเอง ก็อาจจะต้องยอมให้อุปกรณ์เหล่านั้นแช่น้ำไปก่อนตอนน้ำท่วม

    [​IMG]

    [​IMG] 7. ป้องกัน งู เงี้ยว เขี้ยว ขอ ตะกวด และสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ

    ยามน้ำท่วม มิใช่เพียงมนุษย์และสัตว์เลี้ยงของเราเท่านั้นที่ต้องหนีน้ำท่วม แต่เหล่าสัตว์ต่าง ๆ ก็ต้องหนีน้ำกันด้วย และการหนี้น้ำท่วมที่ดีที่สุด ก็คือการเข้ามาในบ้านของเรา เพราะบ้านของเราพยายามกันน้ำท่วมอย่างดีที่สุดแล้ว

    ปัญหาก็คือ เหล่าสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ที่ทั้งเลื้อยและทั้งคลานเข้ามาในบ้านเรา เป็นสิ่งที่เราไม่ต้อนรับ และอาจเป็นผู้ทำอันตรายเราด้วย ดังนั้นเราต้องมั่นใจว่า "รู" ต่าง ๆ ของบ้านเราจะต้องโดน "อุด" เอาไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรูที่ประตูหน้าต่าง หรือที่ผนังบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "รูจากท่อระบายน้ำ" ที่พื้นบ้านของเรา (เขาชอบมาทางนี้กันครับ)

    บางท่านอาจจะมีการโรย "ปูนขาว" ล้อมรอบบ้านเอาไว้ด้วยก็ได้ (แต่ต้องมั่นใจว่าโรยรอบบ้านจริง ๆ และไม่ถูกน้ำท่วม หรือถูกฝนชะล้างจนหายไปหมดครับ) เพราะปูนขาวจะกันสัตว์เหล่านี้ได้ครับ นอกจากนี้ก็น่าจะเตรียมยาฉีดกันแมลง ติดบ้านไว้ด้วยครับ


    [​IMG]

    [​IMG] 8. เรื่องส้วม ส้วม ส้วม สุขา สุขา

    เป็นเรื่องของความสุขที่เปลี่ยนไปเป็นความทุกข์ทุกครั้งที่เกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบส้วมที่เป็นระบบบ่อเกรอะ บ่อซึมแบบเดิม ที่น้ำจากการบำบัดจะต้องซึมออกสู่ดิน แต่พอน้ำท่วม น้ำจากดินภายนอกจะซึมเข้ามาในบ่อ ก็ทำให้บ่อเกรอะเต็มไปด้วยน้ำ ส้วมก็จะเกิดอาการ "อืด และ ราดไม่ลง" หากน้ำจากภายนอกท่วมมาก มีแรงดันมาก ก็อาจจะเกิดอาการ "ระเบิด" ทำให้สิ่งปฏิกูลต่างๆ พุ่งกลับมาที่โถส้วม ความสุขหายไป ความทุกข์ปล่อยออกไม่ได้

    ในกรณีนี้ ต้องยอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ต้องป้องกันไม่ให้สิ่งปฏิกูลทั้งหลายพุ่งกลับออกมาทางโถส้วม ต้องปิดโถส้วมให้ดี หากเป็นโถส้วมนั่งราบที่มีฝาปิด ก็ต้องปิดฝาให้แน่น เอาเชือกผูกเอาไว้ หากเกิดอาการพุ่งขึ้น ก็จะไม่เรี่ยราดทำความสะอาดยาก กรณีนี้ทำเฉพาะโถส้วมชั้นล่างก็พอ เพราะน้ำคงไม่ท่วมถึงชั้นสองครับ (เพราะหากท่วมถึงชั้นสอง เราคงไม่ได้อยู่ในบ้านได้แล้ว)

    กรณีที่เป็นบ่อบำบัดสำเร็จ ซึ่งเขาจะทำงานโดยไม่ต้องมีบ่อเกรอะบ่อซึม ในเวลาปกติเขาจะบำบัดจนเสร็จภายในถังเอง แล้วก็จะระบายน้ำที่บำบัดเสร็จแล้วลงท่อระบายน้ำนอกบ้านของเรา ยามเมื่อน้ำท่วม น้ำจากบ่อบำบัดจะไหลระบายออกไปไม่ได้ เพราะระดับน้ำที่ท่วมอยู่สูงกว่าบ่อบำบัด ซึ่งเป็นการแก้อะไรไม่ได้ ต้องปล่อยไว้อย่างนั้นครับ

    ถังบำบัดสำเร็จบางรุ่นจะมีมอเตอร์อัดอากาศเข้าไป (ซึ่งในบ้านส่วนใหญ่จะไม่ใช้รุ่นนี้) ก็ต้องตรวจดูว่ามอเตอร์อยู่ที่ไหน หากมอเตอร์น่าจะอยู่ในระดับที่น้ำท่วมถึง ก็ต้องตัดกระแสไฟไม่ให้เข้าไปสู่ตัวเครื่องกลนั้นครับ

    ทั้งนี้สิ่งที่ต้องระวังก็คือ "ท่อหายใจ" ที่เป็นท่อระบายอากาศของระบบส้วมของเรา ต้องมั่นใจว่าท่อหายใจนั้นจะต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำที่มีโอกาสท่วม หากท่อหายใจของเราอยู่ระดับต่ำ ก็ต้อง "ต่อท่อ" ให้มีระดับสูงขึ้นให้ได้ จะต่อแบบถาวรก็ได้ (หากมีช่างมาทำ หรือเราทำเป็น) หรือจะต่อแบบท่อไม่ถาวร ก็คือเอาสายยางธรรมดา มาครอบท่อหายใจเดิม แล้วก็ยกให้ปลายท่อนั้นอยู่สูงขึ้นกว่าระดับน้ำที่คาดหมายว่าจะท่วมครับ

    ท่อหายใจนี้จะเป็นอุปกรณ์สำคัญมากในการช่วยระบายความดันภายในระบบส้วมของเรา ไม่ให้สิ่งปฏิกูลมีแรงดันมากเกินไปครับ

    [​IMG]


    [​IMG] 9. ปลั๊กไฟ สวิตช์ไฟ ตรวจสอบและแยกวงจร

    เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของบัญญัติ 20 ประการของบทความนี้ เพราะอันตรายที่มองไม่เห็นก็คือเรื่องของ "ไฟฟ้า" ครับ แต่ในขณะเดียวกัน ไฟฟ้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตเสียแล้ว

    หากบ้านของเรามีการแยกวงจรไฟฟ้าไว้ตั้งแต่แรก คือวงจรไฟฟ้านอกบ้าน วงจรไฟฟ้าชั้นล่าง และวงจรไฟฟ้าชั้นบน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้านอกบ้านเมื่อน้ำท่วมนอกบ้าน หากน้ำสูงขึ้นมาจนเข้าในตัวบ้าน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้าชั้นล่าง หากน้ำสูงขึ้นถึงชั้นสอง น่าจะหาทางออกจากบ้านเพื่อย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว เพราะสวิตช์หลักของบ้านโดยทั่วไปจะอยู่ที่ชั้นล่างระดับประมาณ 1.8 เมตรจากพื้นห้องครับ

    กรณีที่บ้านไหนโชคดี วงจรไฟฟ้าชั้นล่างแยกวงจรออกมาเป็นระดับปลั๊กด้านล่างและระดับสวิตซ์บน ก็ค่อย ๆ ตัดวงจรปลั๊กชุดล่างก่อนตามระดับน้ำที่ท่วมขึ้นมา

    หากกรณีที่ไม่มีการจัดวงจรเอาไว้อย่างเป็นระบบตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เราต้องค่อยๆทำการทดสอบอย่างใจเย็น ๆ ว่าปลั๊กหรือสวิตช์ชุดใดจะมีการตัดวงจรไฟฟ้าจากคัทเอาท์หลักบ้าง แล้วทำโน้ตบันทึกเอาไว้ หากเมื่อน้ำท่วมเมื่อไร ก็จะได้ทราบว่าเราต้องตัดวงจรชุดใดก่อน (ตัดวงจรส่วนที่ถูกน้ำท่วม) อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากหน่อยที่จะตรวจสอบ แต่ก็ต้องใจเย็น ๆ และตั้งใจที่จะตรวจสอบครับ

    ในกรณีที่วงจรบางวงจรที่ควบคุมทั้งปลั๊กหรือสวิตช์ตัวล่างกับปลั๊กหรือ สวิตช์ตัวบน ก็จำเป็นต้องตัดวงจรทั้งหมด ห้ามเสี่ยงโดยเด็ดขาดครับ

    อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่สามารถขนย้ายได้ในตอนนี้ ก็อาจขนย้ายขึ้นไปไว้ชั้นบนก่อน ยังไม่ต้องใช้ตอนนี้ก็ได้เช่น เตาไฟฟ้า เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องตีไข่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องชาร์จโทรศัพท์ ฯลฯ ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังต้องใช้งานอยู่ ก็ต้องเตรียมการขนย้ายขึ้นข้างบนเอาไว้เลย เช่นเครื่องไมโครเวฟ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ การขนย้ายยุ่งยาก และหาที่วางยาก เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ ก็ต้องวางแผนว่าจะเอาอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต หากยังใช้อยู่แล้วยามน้ำท่วมขึ้น จะมีคนช่วยขนหรือไม่ หรือจะทิ้งเอาไว้อย่างนั้น

    เรื่องไฟฟ้าเป็นอันตรายที่มองไม่เห็น และน้ำเป็น "สื่อไฟฟ้า" ด้วย ดังนั้นเรื่องไฟฟ้าในบ้าน จึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องมีการตรวจสอบและเตรียมการครับ

    [​IMG]


    [​IMG] 10. ตรวจสอบว่าประตูหน้าต่างแน่นหนาและแข็งแรง

    เพราะว่าประตูบ้านของเรา (ไม่ว่าจะเป็นประตูที่รั้วบ้าน หรือประตูที่ตัวบ้านเรา) และหน้าต่าง เป็นจุดหนึ่งที่ถือว่ามีความอ่อนแอมากที่สุด มีโอกาสที่จะบิด หรือเผยอตัว หรืออาจจะหลุดออกมาทั้งบาน หากมีแรงดันน้ำมาก ๆ ดันเข้ามา

    ดังนั้นเราจึงต้องตรวจสอบความแข็งแรงให้ดี ต้องพยายามที่จะใช้ "กลอน" ช่วยรับน้ำหนักทางด้านข้างด้วย การลงกลอนในบานประตูและหน้าต่างที่ไม่ได้ใช้เป็นปกติธุระ น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะป้องกันน้ำวิ่งเข้ามาที่ตัวบ้านของเราได้ครับ

    หากหนักหนาจริง ๆ ประตูหน้าต่างของเราดูจะอ่อนแอรับแรงดันน้ำไม่ไหวจริง ๆ ก็ต้องเอาไม้มาตีพาดขวางช่วยรับแรง หรือเอาของหนักๆมาวางช่วยดันประตูเอาไว้ (ต้องเป็นประตูด้านที่เราไม่ใช้โดยปกตินะครับ ไม่เช่นนั้นอาจจะมีปัญหาตอนที่เราจะหนีออกจากบ้าน หรือตอนที่คนเขาจะเข้ามาช่วยเราในบ้าน ยามเกิดวิกฤติครับ)


    [​IMG]


    [​IMG]11. เตรียมระบบสื่อสารทุกประเภทเอาไว้ให้พร้อม

    ระบบสื่อสารทุกอย่างที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นระบบโทรศัพท์ปกติ หรือโทรศัพท์มือถือ ระบบอินเทอร์เน็ตทั้งมีสายและไร้สาย วิทยุ โทรทัศน์ หรือ อุปกรณ์สื่อสารพิเศษอย่างอื่น (เช่น ระบบดาวเทียม วอร์คกี้ทอร์คกี้ เป็นต้น) เพราะการรับข่าวสาร และการติดตามข่าวสารเรื่องภัยน้ำท่วมที่จะมาถึงตัวเราเป็นเรื่องสำคัญ และไม่น่าจะเกิดความผิดพลาดในทุกวินาที

    และหากน้ำท่วมแล้ว การขอความช่วยเหลือหรือสอบถามข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ ณ วินาทีวิกฤตินั้นแน่นอน อีกทั้งระบบสื่อสารที่เรามีนั้น มิได้ใช้เพียงการที่เราช่วยตัวเอง แต่อาจจะมีผู้เดือดร้อนคนอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือต้องการคำปรึกษาจากเรา ก็สามารถติดต่อกับเราได้ ต้องคนละไม้คนละมือเสมอ ทุกคนล้วนลำบากทั้งสิ้นครับ

    [​IMG]


    [​IMG] 12. ชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างเตรียมพร้อม 24 ชั่วโมง

    อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างมีความจำเป็นยามเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ มือถือ หรือแม้กระทั่งกล้องถ่ายภาพ ฯลฯ จะต้องมีการชาร์จไฟไว้ให้เต็มร้อยตลอดเวลา เพราะยามน้ำท่วม ระบบไฟฟ้าทั้งหมดอาจติดขัดครับ

    นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องชาร์จไฟให้เต็มที่แล้ว การใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเมื่อไฟฟ้าปกติไม่มา จะต้องประหยัดไฟด้วย เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์เหล่านั้นจะทำงานได้เต็มที่ยามฉุกเฉิน อีกทั้งต้องเตรียมอุปกรณ์อื่นเสริมอีกด้วย เช่น ไม้ขีดไฟ เทียนไข เป็นต้น

    [​IMG]

    [​IMG] 13. ย้ายของทุกอย่างให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม

    ข้าวของในบ้านของเรา ไม่ใช่เพียงเรื่องของอุปกรณ์ไฟฟ้าเท่านั้นที่เราจะต้องมีการจัดการย้ายให้ อยู่ในที่ที่เหมาะสม แต่หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดว่ามีความสำคัญ และอาจจะเสียหายได้เมื่อมีน้ำท่วม ตั้งแต่รถยนต์ ถังกาซ เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ของขวัญ รูปภาพ ฯลฯ ขอให้ย้ายไปสู่ที่ที่เหมาะสม ซึ่งที่ที่เหมาะสมนั้นอาจจะอยู่ในตัวบ้านของเรา หรือจะย้ายออกไปเก็บไว้นอกบ้าน สถานที่อื่นที่คิดว่าปลอดภัย

    มีข้อมูลว่า เมื่อน้ำท่วม หลายคนเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากการ "ห่วงของ" ต้องลุยน้ำกลับไปกลับมาเพื่อขนของออกจากบ้าน และหลายครั้งที่ขนของออกมาแล้ว แต่ไม่มีที่วาง ก็จำต้องวางไว้ในที่ที่ไม่ปลอดภัย ปรากฏว่าของที่อุตส่าห์ขนออกมาด้วยความเสียดายหรือความผูกพันนั้น ถูกผู้ชั่วร้ายใจทรามขโมยต่อเอาไปอีกด้วย

    แต่ของที่เราจะย้ายนั้น ไม่ได้หมายความว่าเป็นของทุกอย่างไปเลย เลือกเฉพาะที่เราคิดว่าต้องย้ายเท่านั้น ของบางอย่างที่แช่น้ำได้ไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องขนย้ายก็ได้

    [​IMG]


    [​IMG]14. ใช้พลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำให้เป็นประโยชน์

    วัสดุส่วนใหญ่จะกลัวน้ำ หรือไม่สามารถที่จะสู้กับน้ำได้ แต่พลาสติกเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำ ดังนั้นอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นพลาสติก น่าจะต้องมีการเตรียมการเอาไว้ใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นถังน้ำพลาสติก ท่อพลาสติก กระดานพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าหรือแผ่นพลาสติก ที่เราจะเอาไว้ใช้หุ้มอุปกรณ์หรือส่วนต่าง ๆ ของบ้านเรา ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ฯลฯ แม้กระทั่งการหุ้มป้องกันตัวเรา หรืออวัยวะบางส่วนของตัวเราครับ

    ขอให้หาซื้อผ้าหรือกระดานพลาสติกเก็บเอาไว้ใกล้มือเรา ยามฉุกเฉิน พลาสติกจะเป็นวัสดุอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์มากจนคาดไม่ถึงได้ครับ และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ "ห่วงยาง" ครับ

    [​IMG]

    [​IMG]15. เตรียมอาหาร น้ำดื่ม และยาให้พร้อม

    เพราะยามน้ำท่วมแล้ว เราอาจจะต้องติดอยู่ในบ้านของเราก็ได้ สิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีพของเราก็คือ "อาหาร" ที่ต้องเตรียมเอาไว้ ทั้งอาหารที่ต้องมีการปรุงด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า (หรือก๊าซ) กับอาหารที่สามารถกินได้เลย โดยไม่ต้องมีการปรุง และต้องเตรียมเรื่อง "น้ำดื่ม" เอาไว้ด้วย เตรียมให้เพียงพอสำหรับทุกคนประมาณ 3 วันครับ

    ยาเป็นสิ่งสำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่เราต้องเตรียมเอาไว้ (ในที่ที่ปลอดภัย) ยาหลัก ๆ ก็คือ ยาแก้ปวด ยากแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า ยาล้างแผล ยาแก้แพ้ ยากันแมลงและยาของโรคประจำตัวของทุกคน

    มีผู้หวังดีแนะนำบอกต่อว่า อย่าสะสม "สุรา" เอาไว้ตอนน้ำท่วม เพราะน้ำท่วมนาน ๆ อาจจะมีคนกลุ้มใจ แล้วใช้สุราแก้ความกลุ้มใจ จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยมากขึ้น ส่วนเหล่าขวดสุราที่เก็บสะสมเอาไว้ ไม่ต้องขนไปไกลก็ได้ เพราะขวดสุราเหล่านั้น เขาสามารถแช่น้ำได้ ไม่มีปัญหาประการใด

    [​IMG]

    [​IMG] 16. บ้านชั้นเดียว ต้องตรวจสอบหลังคาด้วย

    สำหรับบ้าน 2 ชั้น หลังคาบ้านจะมีผลมากยามเมื่อฝนตกหนัก ๆ ในกรณีน้ำท่วมนั้นหลังคาไม่ค่อยมีผลมากเท่าไร เพราะน้ำท่วมจากข้างล่างขึ้นไป หากท่วมถึงหลังคาชั้นสอง เราก็น่าจะย้ายไปอยู่ที่อื่นก่อนหน้านั้นแล้ว

    แต่กรณีที่เป็นบ้านชั้นเดียว น้ำอาจจะท่วมชั้นล่างของบ้านอย่างรวดเร็ว หลังคาหรือส่วนของหลังคาจึงเป็นพื้นที่หลบภัยได้ชั่วคราวพื้นที่หนึ่ง เราจึงต้องตรวจสอบทางหนีทีไล่ของเรา กรณีที่เราต้องขึ้นไปหนีภัยบนหลังคา ซึ่งเราอาจจะขึ้นไปทางฝ้าเพดานของเรา (กรุณาอย่าลืมตัดวงจรไฟฟ้าที่บ้านทั้งหมดก่อนจะขึ้นไปบนฝ้าเพดานสู่หลังคานะ ครับ)

    [​IMG]

    [​IMG] 17. ระวังโจร ระวังมาร ระวังผู้ชั่วร้าย

    เป็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าสลดใจที่สังคมน่าอยู่และเห็นอกเห็นใจของเมืองไทย เรา ได้ถูกลัทธิวัตถุนิยมเข้าครอบงำไปหลายส่วนแล้ว ดังนั้นเราจึงได้ข่าวเนือง ๆ ว่า มีผู้ชั่วร้ายที่อยากได้ประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก เข้ามารังแกจี้ปล้นประชาชนที่กำลังลำบากทุกข์เข็ญ

    ยามน้ำท่วม เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังยุ่งกับภารกิจอย่างอื่น เหล่าคนชั่วก็จะออกอาละวาดรังแกผู้ที่กำลังเดือดร้อน มีการขโมย จี้ปล้น ฉกชิงวิ่งราว ให้เราได้ทราบอยู่เป็นประจำ และมีความเป็นไปได้ว่าหนึ่งในอนาคตนั้นอาจจะเป็นตัวเราและบ้านของเรา

    ดังนั้น การเตรียมการป้องกันโจร จึงเป็นอีกประการหนึ่งที่เราต้องเตรียมการ อย่าเก็บของมีค่าเอาไว้ในบ้านของเรา เอาไปฝากที่อื่นก่อนดีกว่า เงินทองไม่จำเป็นที่ต้องพกมากมาย และคอยเฝ้าสังเกตบุคคลที่น่าสงสัย การส่งเสียงดัง ๆ ในบางครั้ง จะเป็นอาวุธป้องกันตัวเราได้

    [​IMG]

    [​IMG] 18. เพื่อนบ้าน ต้องร่วมด้วยช่วยกัน

    ในกรณีนี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องของการต่อสู้ป้องกันโจรประการเดียว แต่หมายถึงในทุก ๆ กรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เรา "ขอความช่วยเหลือ" จากเพื่อนบ้าน แต่หมายถึงการที่ "เราจะช่วยเหลือเพื่อนบ้าน" ด้วย รวม ๆ กันก็หมายถึง "การสร้างชุมชนเข้มแข็ง" เพราะความรักที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้เสมอยามที่คนเรามีความลำบากร่วมกัน

    อย่าต่อสู้หรือป้องกันภัยทั้งหลายคนเดียว ต้องสื่อสารกัน ต้องจับมือกัน และวางแนวทางการป้องกัน การต่อสู้ที่เป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น แล้วเราจะมีโอกาส หากตอนนี้เหล่าเพื่อนบ้านยังไม่มีการเคลื่อนไหวร่วมกัน เราก็อาจจะเป็นแกนตัวเล็ก ๆ ที่จะเป็นผู้เริ่มต้นได้ครับ อย่าอาย อย่ากลัวใครเขาหมั่นไส้ครับ หากเราเป็นคนดี มีจิตใจดี ทุกคนจะเข้าใจครับ

    [​IMG]

    [​IMG]19. เตรียมทางหนีทีไล่เพื่อออกจากบ้าน

    ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า การป้องกันน้ำท่วมก็เหมือนการป้องกันเมืองจากการโจมตีของข้าศึก ซึ่งเราอาจจะป้องกันเอาไว้ได้หรือป้องกันไม่ไหวก็ได้ หากถึงที่สุดแล้ว เราไม่มีทางต่อสู้ได้แน่ ๆ พ่ายแพ้แล้ว การเตรียม "ทางหนี" เป็นเรื่องที่จำเป็น หากเราเตรียมทางหนีเอาไว้แต่แรก เราก็สามารถหนีได้ หนีทัน เกิดความเสียหายน้อยลง

    ทางหนีจากกรณีน้ำท่วมบ้าน อย่าคิดเพียงทางหนีออกจากบ้าน แต่ต้องคิดให้จบว่าหนีออกไปแล้ว จะหนีด้วยอะไร มีเรือหรือห่วงยางหรือไม่ มีเชือกสาวตัวเองหรือไม่ จะพกอะไรติดตัวไปบ้าง (ที่สามารถพกพาแบกหามไปได้) และจะมุ่งหน้าไปทางทิศใด มุ่งหน้าไปไหน และจะไปหยุดที่ใด พักที่ใด กับใคร ทุกอย่างต้องคิดเป็นกระบวนการ และคิดให้จบวงจรไว้แต่แรกครับ

    [​IMG]

    [​IMG]20. ตั้งจิตให้มั่น ตอนนี้ "สติ" สำคัญที่สุด

    อย่าเสียเวลากับการเกรี้ยวโกรธ อย่าเพิ่งด่าอะไรใคร อย่าโทษฟ้าดิน ยังมีเวลาและโอกาสอีกมากมายที่จะทำเช่นนั้น เวลานี้เป็นเวลาที่เราต้องตั้งสติ และคิด และเตรียมการอย่างเป็นระบบ เราต้องรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ อย่างทันต่อเหตุการณ์จากคนที่เชื่อถือได้ (ระวังคำพูดนักการเมืองนิดนะครับ) ต้องฟังวิทยุ หรือแม้แต่ติดตามทางอินเทอร์เน็ต (เช่น thaiflood.com หรือ flood.gistda.or.th เป็นต้น)


    [​IMG]

    ค่อย ๆ กลับไปอ่านตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 19 แล้วอาจจะเพิ่มข้ออื่น ๆ ที่เราคิดออกเข้าไปอีกได้ เมื่ออ่านแล้วก็ตรวจสอบ และลงมือทำทันที.... ตอนนี้ "สติ" สำคัญที่สุด...


    กระปุกดอทคอมหวังว่า บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่กำลังประสบภัยในครั้งนี้ ... ขอให้ทุกท่าน เตรียมตัว และตั้งสติ ที่จะรับมือให้ดี ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดนะคะ ...แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกันค่ะ ^ ^


    -http://hilight.kapook.com/view/63594-

    .

     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กรุงเทพฯ เตรียมแผนอพยพประชาชน 9 เขต



    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3

    จากสถานการณ์น้ำท่วมทั่วทั้งภาคกลาง ทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวล เพราะเกรงว่าน้ำจะไหลทะลักเข้ามาท่วมกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ตอนปลายของแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนจะไหลลงสู่อ่าวไทย อีกทั้งระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลจากภาคเหนือและภาคกลางตอนบนมายัง กรุงเทพฯ ก็มีปริมาณสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้น

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวว่า กรุงเทพฯ ยังสามารถรับมือกับน้ำได้อยู่ ถึงแม้ว่าปริมาณน้ำในคลองจะสูงขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับปกติ จึงอยากขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก และทางกรุงเทพฯ ก็ไม่ประมาท โดยได้สั่งการทุกสำนักงานเขตเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากน้ำเหนือที่ระบายลงมา น้ำทะเลหนุนสูงสุด และปริมาณน้ำฝน จึงต้องจับตาใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วง 16 - 18 ตุลาคมนี้

    พร้อมกันนี้ ทางกรุงเทพฯ ต้องจับตาเฝ้าระวังจุดเสี่ยง 27 ชุมชน นอกแนวเขื่อนกั้นน้ำ และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ พร้อมเตรียมแผนอพยพประชาชนไปยังโรงเรียนฝึกอาชีพของกรุงเทพฯ ทั้ง 10 แห่ง อีกทั้งยังเปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก โดยเร่งให้วางระบบรับมือต่าง ๆ

    อย่างไรก็ตาม ล่าสุดวันนี้ (11 ตุลาคม) ทางกรุงเทพฯ เตรียมแผนอพยพประชาชน 9 เขตแล้ว เนื่องจากคาดว่าอาจจะเกิดน้ำท่วมได้ ดังนี้

    [​IMG] 1. เขตคลองสามวา
    [​IMG] 2. เขตหนองจอก
    [​IMG] 3. เขตคันนายาว
    [​IMG] 4. เขตบึงกุ่ม
    [​IMG] 5. เขตบางกะปิ
    [​IMG] 6. เขตสะพานสูง
    [​IMG] 7. เขตประเวศ
    [​IMG] 8. เขตลาดกระบัง
    [​IMG] 9. เขตมีนบุรี


    ส่วนพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่น้ำเข้าท่วมบางส่วนใน 11 เขตเตือนภัยของ กทม.แล้ว ได้แก่

    [​IMG] 1. เขตบางแค
    [​IMG] 2. เขตคลองสามวา
    [​IMG] 3. เขตภาษีเจริญ
    [​IMG] 4. เขตทวีวัฒนา
    [​IMG] 5. เขตสายไหม
    [​IMG] 6. เขตบางเขน
    [​IMG] 7. เขตมีนบุรี
    [​IMG] 8. เขตหนองจอก
    [​IMG] 9. เขตตลิ่งชัน
    [​IMG] 10. เขตคันนายาว
    [​IMG] 11. เขตลาดกระบัง

    โดยบริเวณชุมชนตลาดมีนบุรี บ้านเรือนของประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณริมคลอง ระหว่างคลองสามวาและคลองแสนแสบนั้น ขณะนี้น้ำล้นตลิ่ง เอ่อเข้าท่วมจนถึงหน้าบ้านแล้ว ทำให้ชาวบ้านต้องนำกระสอบทรายที่ได้รับแจกจากสำนักงานเขต ทำเป็นที่กั้นน้ำไว้ แต่เนื่องจากกระสอบทรายที่เขตมีนบุรีแจกจ่ายไปให้พี่น้องประชาชน ครัวเรือนละ 25 ถุง ไม่เพียงพอ ขณะนี้เหลือเพียง 10 เซนติเมตรเท่านั้น น้ำก็จะเข้าไปภายในตัวบ้านแล้ว



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

    ไอเอ็นเอ็น
    [​IMG]

    มติชนออนไลน์
    [​IMG]

    รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3


    -http://hilight.kapook.com/view/63235-


    .

     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รวมสถานที่จอดรถฟรี สำหรับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม


    [​IMG]

    ผู้ประกอบการ-เจ้าของธุรกิจใจดี เปิดอาคารสถานที่ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ให้สามารถนำรถยนต์ไปจอดได้ตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ดังนี้

    1. สนามบินดอนเมือง ให้บริการจอดรถฟรี บริเวณอาคารจอดรถผู้โดยสาร ภายในประเทศ และอาคารคลังสินค้าสูง 5 ชั้น รับรถได้ 3,000 คัน ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ 0-2535-1533, 1466, 0-2535-1515, 1516, 0-2535-1349, 1630

    2. ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต สามารถนำรถมาจอดได้ที่บนอาคารจอดรถของศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม เป็นต้นไปโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สอบถามได้ละเอียดได้ที่ 02-958-0011 กด 0

    3. ห้างสรรพสินค้า ซีคอนสแควร์ เปิดพื้นที่ดาดฟ้า ชั้น 6 รองรับรถได้ถึง 750 คัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 7-16 ตุลาคม นี้ โดยสามารถจอดค้างคืนตลอดระยะเวลาดังกล่าวได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ฝ่ายสื่อสารการตลาด โทร.02-721-8888 ต่อ 313 , 314 หรือ Seacon Square (@seaconsquare) on Twitter, www.facebook.com/SeaconSquareFanPage

    4. บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา เปิดให้บริการจอดรถฟรี ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่น เกล้า, บางนา, พระราม 2, พระราม 3, แจ้งวัฒนะ, รัตนาธิเบศร์, รามอินทรา, เชียงใหม่ แอร์พอร์ต,เชียงราย, ขอนแก่น, อุดรธานี, ชลบุรี และเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-667-5555 ต่อ 4108 ,02 667 5555 ต่อ 4108

    5. ตลาดนัดบานาน่าสแควร์ ข้างโลตัสลพบุรี และตึกจอดรถของห้างโลตัสอีก 8 ชั้น รวมจอดรถได้กว่า 1,500 คัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณอู้ 089- 884-4839

    6. ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ (เหมาะสำหรับคนที่อยู่แถว สมุทรปราการ ประเวศ พัฒนาการ อ่อนนุช หรือแถวๆ นั้น) รองรับรถยนต์ได้ถึง 650 คัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-787-2191

    7. อาคาร HobbyLobby (แยกแคราย จ.นนทบุรี) ตรงข้ามเอสพลานาด รองรับรถยนต์ได้ 400 คัน สอบถามเพิ่มเติม โทร 081-906-9460

    8. อิมพีเรียลลาดพร้าว เปิดบริการจอดรถฟรีฉุกเฉินในบริเวณเขตพื้นที่ ลาดพร้าว วังทองหลาง ตลอด 24 ชั่วโมง ติดต่อ โทร.02-9349150

    9. เดอะมอลล์ สาขารามคำแหง ฝั่งเดอะมอลล์ 2 เปิดให้จอดรถที่ชั้น 3, ส่วนเดอะมอลล์ 3 เปิดให้จอดรถที่ ชั้น 3b ขึ้นไป ติดต่อ 02-310-1000 ต่อฝ่ายธุรการ

    10. แฟชั่นไอส์แลนด์ เปิดให้จอดรถ เริ่มวันที่ 8 ตุลาคม ติดต่อ 0-2947-5000

    11. สนามบินสุวรรณภูมิ ให้จอดฟรี ถึงวันที่ 15 ต.ค. (อาจขยายเวลาออกไปอีก) สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-132-6535 หรือ ประชาสัมพันธ์ของสนามบิน 02-132-1888

    12. กองทัพอากาศ เปิดศูนย์รับผู้อพยพ และให้บริการจอดรถ ดังนี้

    1) บน.2 ลพบุรี รับผู้อพยพได้ 300-500 คน
    2) บน.4 ตาคลี จ.นคสวรรค์ รับผู้อพยพได้ 500-700 คน
    3) กรุงเทพมหานคร: สถานที่จอดรถ รร.นอ. จำนวน 1,000 คัน, หอประชุม 600 คัน, สวนสุขภาพ 100 คัน, พิพิธภัณฑ์ ทอ. 100 คัน, สนามกีฬาธูปะเตมีย์ 300 คัน

    โดยต้องเตรียมหลักฐานใช้ประกอบ จำนวน 2 ชุด (ติดด้านหน้ากระจกรถยนต์ จำนวน 1 ชุด) ได้แก่ สำเนาทะเบียนรถ, สำเนาบัตรประชาชาชน, หมายเลขโทรศัพท์ ติดต่อ สอบถามเพิ่มเติมที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ ที่ตั้งท่าอากาศยานดอนเมือง โทร 1111 ต่อ 5 (โทรได้ตลอดเวลา), ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ 025342096 ในเวลาราชการ, 02-5341700 ต่อ 15 นอกเวลาราชการ

    13. สถานีแอร์พอร์ตลิงก์ มักกะสัน ให้จอดรถฟรี 200 คัน บริเวณลานจอดรถชั้น 1 สถานีมักกะสัน สามารถนำรถมาจอดฟรีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยต้องนำสำเนาทะเบียนรถ และสำเนาบัตรประชาชน มาติดต่อเจ้าหน้าที่ บริเวณ ชั้น 3 ของสถานีมักกะสันชั้น 3 หรือโทรศัพท์หมายเลข 02-308-5600 ต่อ 2906 หรือ 2907 ตั้งแต่เวลา 07.00-23.00 น. ​

    14. ห้างสรรพสินค้าตั้ง ฮั่ว เส็ง ย่านบางพลัด ยินดีให้ที่จอดรถฟรี ติดต่อสอบถาม 0-2434-0448 ต่อ 1222, 1234, 8999 ติดต่อ พร้อมเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้ 1) สำเนาบัตรประชาชนของผู้ฝาก 2) สำเนาคู่มือ การจดทะเบียนรถ หน้าที่แสดงชื่อเจ้าของรถ และหน้าที่แสดงการชำระภาษีประจำปี ​

    15. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สามารถ นำรถมาจอด ฟรี!! ที่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขา รัชโยธิน, รังสิต, สุขุมวิท, ปิ่นเกล้า และ เอสพลานาด งามวงศ์วาน-แคราย โดยเตรียมเอกสารดังนี้ 1) สำเนาบัตรประชาชน 2) สำเนาทะเบียนรถ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สาขา รัชโยธิน 02 5115427 ต่อ 190-191, สาขา รังสิต 02 5677047 ต่อ 106-107, สาขา สุขุมวิท 02 7412897, สาขา ปิ่นเกล้า 02 4349075, สาขา งามวงศ์วาน-แคราย 02 5807491 และ www.facebook.com/majorgroup


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG]



    [8 ตุลาคม] ดอนเมือง-มธ. เปิดจอดรถฟรี ช่วยน้ำท่วม คนแห่จอดเพียบ

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ณ เวลานี้ ประเทศไทยในหลายพื้นที่กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก สถานที่ไม่เคยน้ำท่วมมาปีนี้ท่วมหนัก และยิ่งนับวันสถานการณ์อาจจะยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เพราะยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ทางกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนให้เตรียมรับมือระวังน้ำท่วมและ ฝนตกหนัก ทำให้สถานการณ์น้ำท่วมประเทศไทยยังไม่มีทีท่าจะคลี่คลาย

    อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องคาดว่า น้ำจากต่างจังหวัดจะไหลบ่าเข้ามากรุงเทพฯ ภายใน 3 วันนี้ ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่เมืองหลวงจมอยู่ใต้บาดาล และทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินได้ โดยเฉพาะรถยนต์ ที่จอดอยู่ตามถนน หรือตามพื้นที่ข้างล่าง อาจจะได้รับความเสียหาย

    ทั้ง นี้ เพื่อช่วยบรรเทาและเยียวยาความเดือดร้อนจากน้ำท่วม บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้เปิดสนามบินดอนเมืองให้ประชาชนเข้ามาจอดรถฟรี ที่อาคารจอดรถผู้โดยสารภายในประเทศ ซึ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น และอาคารคลังสินค้าสูง 5 ชั้น พร้อมสำรองอาคารจอดรถผู้โดยสารระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอาคาร 7 ชั้นไว้อีกด้วย โดยประชาชนที่จะนำรถไปจอดสามารถแจ้งความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ทราบ และเจ้าหน้าที่จะคอยให้ความช่วยเหลือต่อไป

    คนแห่ขับรถหนีน้ำฝากดอนเมืองแน่น

    ประชาชน แห่ฝากรถ สนามบินดอนเมือง แน่น ยัน ไม่กระทบการบินของท่าอากาศยาน

    นายสมชัย สวัสดีผล รักษาการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ภายในท่าอากาศยานดอนเมือง ที่เปิดให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล นั้น ในการให้บริการจอดรถฟรี ซึ่งสามารถรองรับได้ทั้งสิ้น 1,000 คัน แต่ขณะนี้พื้นที่บริเวณอาคารคลังสินค้า 4 รองรับได้ 400 คัน ได้มีประชาชนมาใช้บริการเต็มพื้นที่แล้ว เหลือเพียงบริเวณชั้น 5 รองรับได้ 450 คัน บริเวณที่ว่างด้านอาคารจอดรถ 5 ชั้น 100 คัน ซึ่งประชาชนจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ และหากพื้นที่ดังกล่าวเต็ม ทาง ทอท. จะพิจารณาพื้นที่ส่วนอื่น เพื่อรองรับเพิ่มเติม

    อย่างไรก็ตาม นายสมชัย กล่าวว่า การเปิดให้จอดรถฟรี ภายในดอนเมือง จะไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยด้านการบินของท่าอากาศยานดอนเมือง เนื่องจากแยกส่วนกับที่ทำการบินอย่างชัดเจน


    [​IMG]


    คมนาคม สั่งปิดถนนสายเอเชียกว่า 10 กิโลเมตร

    พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลฝ่ายอำนวยการร่วมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เปิดเผยว่า บริเวณถนนสายเอเชีย เส้นทางหลักที่จะมุ่งหน้าสู่ภาคเหนือ มีปริมาณน้ำท่วมสูงกว่า 70 เซนติเมตร ในระยะทาง 10 กิโลเมตร ทางกระทรวงคมนาคม จึงประกาศปิดการจราจร และให้ใช้เส้น ทางหลวงหมายเลข 1 พหลโยธิน และทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง - สุพรรรณบุรี เพื่อเดินทางแทน ซึ่งในขณะนี้ พบว่าถนนหมายเลข 340 เริ่มมีปริมาณน้ำไหลเข้าท่วมบริเวณริมถนนบ้างแล้ว ซึ่งได้สั่งการให้เฝ้าระวัง และเร่งทำคันดินกั้นน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมอย่างเร่งด่วน

    อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการซ่อมแซมถนนสายเอเชียนั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ เพราะน้ำยังมีระดับสูงมาก และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก รวมทั้งวัตถุดิบที่จะนำมาซ่อมถนน โดยเฉพาะทรายและหินนั้นหาซื้อได้ยาก จึงจำเป็นต้องชะลอการซ่อมถนนในจุดดังกล่าว และยอมให้น้ำท่วมถนนต่อไปก่อน

    มธ.เปิดพื้นที่ให้ปชช.เข้าพัก-รับฝากรถ

    ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานระดับน้ำ เมื่อเวลา 18.00 น. ของวันนี้ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า (สะพานพุทธ) 2.13 เมตร ลดลงจากเมื่อ 1 ชั่วโมงก่อน 3 ซ.ม. ขณะที่ระดับคันกั้นน้ำของกรุงเทพมหานคร อยู่ที่ระดับ 2.50 ม. เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง

    ขณะเดียวกัน มีรายงานผลการสำรวจว่า ไม่พบกลุ่มฝนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเวลา 19.00 น. ด้วย ขณะที่ระดับน้ำตามคลองต่างๆ อาทิ แสนแสบเก่า ลดลง 0.52 ซ.ม. หลังเขตบางกะปิ เพิ่มขึ้น 0.03 ซ.ม. คลองทวี - ภาษี เพิ่มขึ้น 0.46 ซ.ม. ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุด ที่บางนาเวลา 1.15 ม. ต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 0.82 ม.

    ด้าน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จะเปิดรับลงทะเบียนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในวันพรุ่งนี้ และจะจัดที่พักพักใน ม.ธรรมศาสตร์ ที่พักบริเวณยิมเนเซียม 2 รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้จอดรถได้ โดยเริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป


    มธ.ตั้งโรงครัวช่วยผู้ประสบภัยปทุม-อยุธยา

    มธ. จัดตั้งโรงครัว ช่วยผู้ประสบภัยในพื้นที่จ.ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา ประกอบอาหารมอบให้ ปชช.มื้อกลางวันจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

    นาย ศิริพงศ์ อริยสุนทร ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธานศูนย์รับบริจาค และอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัย มหาวิทยาธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ประกาศเรื่องการจัดตั้งโรงครัวช่วยผู้ประสบภัยในพื้นที่จ.ปทุมธานี และจ.พระนครศรีอยุธยา โดยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา ชั้นที่ 1 มธ.ศูนย์รังสิต อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี จะดำเนินการประกอบอาหาร เพื่อมอบให้ประชาชนผู้เดือดร้อนในช่วงเวลาอาหารกลางวันของทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น จึงขอเชิญชวน ประชาชนร่วมบริจาคเงิน หรือ วัตถุดิบในการประกอบอาหารให้แก่ศูนย์ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. หรือ ติดต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4440-79 ต่อ 1269-1270


    ศธ.สั่งเปิดเรียนใช้เป็นที่พักปชช.น้ำท่วม

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สั่งเปิดโรงเรียน ใช้เป็นที่พักผู้ประสบภัยน้ำท่วม ให้ กรมอาชีวะ ทำกล่องบรรจุหินเพื่อใช้ทำคันกั้นน้ำ

    นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และได้จัดหางบประมาณช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยทุกพื้นที่แล้ว โดยมอบหมายให้โรงเรียน สถาบันการศึกษาในสังกัด เปิดบริการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้ใช้เป็นสถานที่เก็บของที่เคลื่อนย้ายมาจากบ้านที่ถูกน้ำท่วม และใช้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว

    พร้อมกันนี้ได้มีการประสานงานให้หน่วยงานในสังกัดที่มีคณะแพทยศาสตร์ จัดหาแพทย์อาสาสมัครเข้ามาบริการตรวจและรักษาผู้เจ็บป่วยด้วย ตลอดจนมอบหมายให้กรมอาชีวะ จัดทำกล่องบรรจุหิน เพื่อนำมาใช้ในการทำคันกั้นน้ำแทนดิน เนื่องจากแข็งแรงกว่าด้วย

    ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดงบประมาณ สำหรับใช้ซ่อมแซมความเสียหายจากน้ำท่วมไว้แล้ว กว่า 740 ล้านบาท จากโรงเรียนที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น กว่า 2 พันแห่ง

    มธ.เปิดพื้นที่ให้ปชช.เข้าพัก-รับฝากรถ

    กรมชลฯ รายงานระดับน้ำที่สะพานพุทธ ลดลง 3 ซ.ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และไม่พบปริมาณฝนใน กทม. - ปริมณฑล ด้าน มธ. เตรียมเปิดพื้นที่ให้ ปชช. เข้าพัก พรุ่งนี้

    ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานระดับน้ำ เมื่อเวลา 18.00 น. ของวันนี้ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า (สะพานพุทธ) 2.13 เมตร ลดลงจากเมื่อ 1 ชั่วโมงก่อน 3 ซ.ม. ขณะที่ระดับคันกั้นน้ำของกรุงเทพมหานคร อยู่ที่ระดับ 2.50 ม. เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง

    ขณะเดียวกัน มีรายงานผลการสำรวจว่า ไม่พบกลุ่มฝนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเวลา 19.00 น. ด้วย ขณะที่ระดับน้ำตามคลองต่างๆ อาทิ แสนแสบเก่า ลดลง 0.52 ซ.ม. หลังเขตบางกะปิ เพิ่มขึ้น 0.03 ซ.ม. คลองทวี - ภาษี เพิ่มขึ้น 0.46 ซ.ม. ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุด ที่บางนาเวลา 1.15 ม. ต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 0.82 ม.

    ด้าน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จะเปิดรับลงทะเบียนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในวันพรุ่งนี้ และจะจัดที่พักพักใน ม.ธรรมศาสตร์ ที่พักบริเวณยิมเนเซียม 2 รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้จอดรถได้ โดยเริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ข่าวสด และ ไอ.เอ็น.เอ็น.

    [​IMG] [​IMG]




    .

    -http://hilightad.kapook.com/view/63484-

    .

     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>รับมือสถานการณ์ “ไฟดูด” ความเสี่ยงที่มากับ “น้ำท่วม”</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>12 ตุลาคม 2554 10:30 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG] [​IMG]

    จากมหาอุทกภัยที่กำลังถล่มประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ ทำให้มีผู้เดือดร้อนจำนวนมหาศาล มีผู้เสียชีวิตจำนวนไม่น้อย และอีกมากมายที่จำต้องทิ้งบ้านเอาไว้จมบาดาล ออกจากพื้นที่มาอยู่ในศูนย์พักพิงที่เปิดขึ้นจากน้ำใจคนไทยเพื่อซับน้ำตาคนไทยด้วยกันที่มีอยู่หลายแห่ง และนอกจากการจมน้ำเสียชีวิตแล้ว สาเหตุหนึ่งที่เป็นข่าวอยู่ในระยะหลังของเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ คือการเสียชีวิตจากการถูกไฟดูด จึงมีทิปเล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญและเป็นเคล็ดลับในการที่จะช่วยชีวิตได้จากเหตุการณ์ไฟดูด

    [​IMG]

    ข้อมูลจากฝ่ายป้องกันอุบัติภัย การไฟฟ้านครหลวง ระบุว่า ผู้ที่จะเข้าไปช่วยต้องรู้จักวิธีที่ถูกต้องในการช่วยเหลือผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าจะต้องมีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ “ห้าม” ใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้า หรือตัวนำที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าจนได้รับอันตรายไปด้วยอีกต่อหนึ่ง, หากทำได้ ให้รีบหาทางตัดกระแสไฟฟ้าโดยฉับไว จะด้วยการถอดปลั๊ก หรืออ้าสวิตช์ออกก็ได้ จากนั้นให้ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกที่แห้ง สายยาง หรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยาง หรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วถึงผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือเขี่ยสายไฟให้หลุดออกจากตัวผู้ประสบอันตราย แต่หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงให้พยายามหลีกเหลี่ยง แล้วรีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงให้เร็วที่สุด และประการสำคัญ คือ “อย่า” ลงไปในน้ำกรณีที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณที่มีน้ำขัง ต้องหาทางเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้น หรือตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยไปช่วยผู้ประสบอันตราย

    หลังจากช่วยออกมาได้แล้ว หากปรากฏว่าผู้เคราะห์ร้ายที่ช่วยออกมานั้นหมดสติไม่รู้สึกตัว หัวใจหยุดเต้น และไม่หายใจ ซึ่งสังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้นดังนี้ คือ ริมฝีปากเขียว สีหน้าซีดเขียวคล้ำ ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยมาก หรือไม่เคลื่อนไหว ชีพจรบริเวณคอเต้นช้าและเบามาก ถ้าหัวใจหยุดเต้นจะคลำชีพจรไม่พบ ม่านตาขยายค้างไม่หดเล็กลง หมดสติไม่รู้สึกตัว ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลทันที เพื่อให้ปอดและหัวใจทำงาน โดยวิธีการผายปอดด้วยการให้ลมทางปาก หรือที่เรียกว่า “เป่าปาก” ร่วมกับการนวดหัวใจก่อนนำผู้ป่วยส่งแพทย์

    [​IMG]

    และจากกรณีมีการส่งต่อข้อความในโซเชียลเน็ตเวิร์กสุดฮิตอย่าง “ทวิตเตอร์” กรณีมีความคลาดเคลื่อนจนก่อความสบสนเกี่ยวกับการสับสะพานไฟ (คัตเอาต์) ในพื้นที่น้ำท่วมนั้น จากการสอบถามไปยัง Call Center ของการไฟฟ้าที่หมายเลขโทรศัพท์ 1129 ได้แจ้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องหากต้องการตัดไฟภายในบ้านที่น้ำท่วมว่า

    ในกรณีที่มิเตอร์ไม่จมน้ำ แต่น้ำท่วมแล้ว จำเป็นต้องตัดไฟภายในบ้านเพื่อความปลอดภัย ผู้ทำการตัดไฟต้องสับคัตเอาต์ลง ซึ่งต้องอยู่บนพื้นที่แห้ง ตัวแห้ง หรือหากอยู่บนเรือต้องเป็นเรือพลาสติก หรือเรือไม้เท่านั้น ไม่สามารถตัดไฟเมื่อตัวอยู่บนเรือโลหะได้ เพราะโลหะเป็นสื่อนำไฟฟ้า ก่อนสัมผัสมิเตอร์ หรือคัตเอาต์ ให้สังเกตว่า ไม่มีสายไฟฟ้าจมน้ำอยู่ จึงจะสับคัตเอาต์ได้ แต่ในกรณีมิเตอร์จมน้ำแล้ว แนะนำให้สับสะพานไฟในบ้านลงทันที ผู้สับต้องอยู่ในที่แห้ง บนเรือที่ไม่นำไฟฟ้า หรือหากมีไม้แห้งหรือสื่อไม่นำไฟฟ้าสามารถใช้เกี่ยวสับสะพานไฟลงได้ก็จะเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น แต่ตัวต้องแห้ง อุปกรณ์เกี่ยวต้องแห้งสนิท และพื้นยืนก็ห้ามมีน้ำหรือความชื้นเด็ดขาด

    กรณีที่มิเตอร์จมน้ำและสับคัตเอาต์ลงแล้ว ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือมิเตอร์นั้นหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่จมน้ำอย่างน้อย 1 เมตร ถือว่าเป็นระยะปลอดภัยที่ต่ำที่สุด เพราะไม่แน่ใจว่ามีกระแสไฟฟ้าค้างไหม แต่ถ้าจะให้ดีต้องห่าง 3 เมตร และถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าต้องการตัดไฟในพื้นที่ชุมชน ต้องให้ผู้นำชุมชนติดต่อมา เป็นตัวแทน การไฟฟ้าไม่สามารถจะตัดบ้านใดบ้านหนึ่งได้ เพราะแม้ตัดเฉพาะบ้านก็ยังมีกระแสไฟฟ้าวิ่งในสายไฟหลัก ถ้าตัดจะกระทบบ้านหลายหลัง บางหลังมีผู้ป่วยที่อาจต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่้ใช้ไฟฟ้า การตัดไฟจึงจำต้องได้รับการยอมรับจากทุกบ้านในชุมชนนั้น และให้ตัวแทนหมู่บ้านเป็นผู้มาร้องขอ สามารถแจ้งตัดไฟ 1129


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000129598-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. Lee_bangkok

    Lee_bangkok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,751
    ค่าพลัง:
    +4,741
    สบายดีไหมครัทุกท่านน้ำท่วมกันบ้างยัง
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ทนายเผย คําทํานายหลวงพ่อฤาษีลิงดํา ที่ลือในเว็บไม่จริง

    [​IMG]



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Facebook Yingluck Shinawatra, luangporruesi.com

    หลังจากก้าวเข้ามาทำงานด้านการเมืองได้ไม่นาน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้รับคัดเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย และการก้าวเข้ามารับตำแหน่งผู้นำสูงสุดในฝ่ายบริหารประเทศ ย่อมทำให้หลายคนจับตามองการทำงานและการบริหารงานของเธอ ว่าจะแก้ไขปัญหาการเมืองที่วุ่นวายมานานแสนนานได้อย่างไร???

    ขณะที่ล่าสุด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องเจอกับบททดสอบอันยิ่งใหญ่ นั่นคือการแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วมหนัก ที่ตอนนี้หลายพื้นที่กำลังประสบปัญหาอยู่ และนับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ประชาชนเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก และปัญหาเหล่านี้นายกฯ หญิงจะผ่านบททดสอบได้หรือไม่ ก็ต้องติดตามกันต่อไป


    [​IMG]


    อย่างไรก็ตาม ในขณะที่หลายคนกำลังจับจ้องการทำงานของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็มีคนกล่าวอ้างว่า นายกฯ หญิงคนนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดี ทั้งการเมืองและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพราะตรงกับทำนาย พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดจันทาราม (ท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี ที่ทำนายไว้เมื่อปีพ.ศ. 2518 และตอนนี้ คำทำนายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ก็ได้ถูกเผยแพร่สะพัดตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ว่าจะมีนารีขี่ม้าขาวมาช่วยประเทศไทย จนทำให้ประชาชนหลายต่อหลายคนต่างสนใจ และพากันวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่าง ๆ นานา ว่า นารีขี่ม้าขาวคนนั้น คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใช่หรือไม่?? และเธอจะสามารถช่วยบ้านเมืองที่เดือดร้อน กลับสู่ความสงบสุขดังคำทำนายหลวงพ่อฤาษีลิงดำได้จริงหรือ??

    ล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายศุภเดช สืบตระหง่าน ทนายความ ผู้รับมอบอำนาจจากวัดจันทาราม (ท่าซุง) ได้ออกมาปฏิเสธว่า คำทำนายดังกล่าวว่า เป็นคำทำนายที่ถูก "กล่าวอ้าง" ขึ้นเท่านั้น ไม่ได้มาจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำแต่อย่างใด

    ทั้งนี้ ก็ยังไม่มีใครทราบว่าใครเป็นคนประพันธ์คำทำนายนี้ขึ้นมา พร้อมขอเตือนว่ากรุณาอย่าคัดลอกหรือตัดทอนทั้งภาพและเสียงส่วนใดส่วนหนึ่งไปทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อน คำบรรยายทั้งหมดนี้ทำให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจผิด จะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2537 และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

    สำหรับ คำทำนายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ที่ถูกกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นคำกลอน โดยมีใจความดังนี้ ....

    คำทำนายที่เคยมีมาช้านานนัก เริ่มประจักษ์ให้เห็นเร้นไม่ได้
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยทำนาย เมื่อถึงปลายรัชกาลผ่านเข้ามา
    ประเทศชาติจะรุ่งเรืองและเฟื่องฟุ้ง น้ำมันผุดขึ้นมาจนเห็นค่า
    พวกกาขาวจะบินรี้หนีเข้ามา เป็นประชาชนเต็มพระนคร

    ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุกสิงขร
    ออกพระนามลือชื่อดั่งทินกร องค์อมรเอกบุรุษแห่งแผ่นดิน
    ชาวประชาจะปีติยิ้มสดใส แต่อกไหม้หนอนกินข้างในสิ้น
    จะมีพวกกาฝากคอยกัดกิน เพื่อให้ได้สิ่งถวิลสมจินตนา

    จะมีการต่อตีกันกลางเมือง ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า
    คอรัปชั่นจะกัดกร่อนทั้งพารา ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร
    ข้าราชการตงฉินถูกประณาม สามคนหามสี่คนแห่มาลากไส้
    เกิดวิกฤติผิดเพี้ยนโดยทั่วไป โกลาหลหม่นไหม้ไร้ความดี

    ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว ถ้วนทุกทั่วจะมุดขุดรูหนี
    ไม่แน่ใจสิ่งที่ทำนำความดี เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน
    พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ
    เกิดวิกฤติธรรมชาติอุบาทว์ครัน พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย

    แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำระสาย
    เกิดการปราบจลาจลชนล้มตาย เลือดเป็นสายน้ำตานองสองแผ่นดิน
    ข้าเป็นนายนายเป็นข้าน่าสมเพช ผู้มีบุญมีเดชจะสูญสิ้น
    ทั้งพฤฒาจารย์ลือระบิล จะร่วงรินดุจใบไม้ต้องสายลม

    ความระทมจะถมทับนับเทวศ ดั่งดวงเนตรมืดบอดสุดขื่นขม
    คนที่ดีจะก้มหน้าสุดระทม ส่วนคนชั่วหัวร่อทำท่าดัง
    จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว ควงคทามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง
    ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง สายน้ำหลั่งกรากเชี่ยวหวาดเสียวใจ

    ศิวิไลซ์จะบังเกิดในสยาม หลังฝนคร้ามลั่นครืนจะยืนได้
    จะเข้าสู่ยุคมหาชนพาไป เปลี่ยนเมืองใหม่ศักราชแห่งประชา
    คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา
    ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา ยามเมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพ




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    watsriwanaram.com, watthasung.com


    -http://hilight.kapook.com/view/63614-

    .
    <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...