พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.bangkok-museum.go.th/sirin page.html


    พระหายโศก

    [​IMG]



    สวัสดีค่ะ เมื่อไม่นานมานี้บังเอิญได้ไปอ่านหนังสือพิมพ์เล่มหนึ่งซึ่งมีบทความจากสภาวะปัญหาที่รุมเร้าจิตใจมนุษย์อยู่ในไม่เว้นแต่ละวัน ก่อให้เกิดผลกระทบนานับประการทั้งต่อสภาพจิตใจของมนุษย์ และการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก การผิดหวัง ก่อให้เกิดภาวะของความเศร้าซึม ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์แล้วว่าปัจจุบันคนไทยเป็นโรคอันเกิดจากภาวะซึ่มเศร้าถึง ๕ เปอร์เซนต์ของจำนวนประชากรทั้งหมดหรือกว่า ๓ ล้านคนของประชากรทั้งหมดในประเทศที่ประสบอยู่กับภาวะการซึมเศร้านี้ นพ.อภิชัย มงคล ได้กล่าวถึงโรคซึมเศร้าว่าเป็นสาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย ซึ่งเกิดจากการผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า Serotonin มีการสื่อประสาทลดลง ทำให้คนมีความรู้สึกท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ไม่สนุกสนานกับชีวิตประจำวันและมักหวนระลึกถึงความไม่สมหวังที่ผ่านมานอนไม่หลับ หรือหลับก็มักจะตื่นขึ้นมากลางดึกและฝันร้ายบ่อยครั้ง คนใกล้ชิดต้องตระหนักและยอมรับว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคไม่ใช่นิสัยส่วนตัว ที่ชอบคิดมาก น้อยใจ ย้ำคิดย้ำทำ ความสามารถในการทำงานลดลง ซึ่งถ้าพบคนใกล้ตัวเป็นเช่นนี้แนะนำให้ไปพบแพทย์และออกกำลังกาย หรืออาจจะหาวิธีผ่อนคลายอย่างอื่นตามที่ผู้ป่วยชอบ
    หากยังเลือกวิธีที่จะทำให้ผ่อนคลายไม่ได้ เราขอเสนอทางเลือกหนึ่งคือการลองเข้ามาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ อาจเป็นคำแนะนำที่ดูน่าเบื่อ บางคนอาจคิดไปได้ว่าไปพิพิธภัณฑ์จะยิ่งทำให้ซึมเศร้าเข้าไปใหญ่ ไม่มีอะไรให้ดูเลย (ทั้งๆที่โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ทั้งหมดมีกว่า ๑๒,๐๐๐ ชิ้น) วันนี้จึงขอนำโบราณวัตถุชิ้นที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งมาให้ชมกันโดยไม่ต้องมาถึงพิพิธภัณฑ์ให้วุ่นวาย
    เพื่อให้เป็นเหมือนอาหารเรียกน้ำย่อยให้ท่านได้เกิดความอยากที่จะเข้ามาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์มากขึ้น
    พระหายโศก คือโบราณวัตถุที่คัดเลือกมาแนะนำให้รู้จัก เพราะไหนๆ ก็เริ่มต้นด้วยเรื่องของโรคซึมเศร้า ดังนั้นพระหายโศกจึงน่าจะเหมาะสมกับกรณีนี้มากที่สุดสำหรับประวัติ การสร้างนั้นยังไม่มีที่มาชัดเจน บัญชีทะเบียนโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร บันทึกไว้เพียงว่าย้ายมาจากพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระบรมมหาราชวัง
    เมื่อวันที่ ๑๓ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ องค์พระพุทธรูปและฐานหล่อขึ้นจากสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๕ ซม. สูง ๔๙ ซม. มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปซึ่งจัดอยู่ในศิลปะแบบล้านนา คือ มีพระพักตร์กลม พระโอษฐ์อิ่มแสดงอาการอมยิ้มแสดงถึงความสุข มีพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม และพระวรกายที่อวบอ้วนสมบูรณ์ พระอุระนูน ชายจีวรที่เหนือพระอังสาซ้ายสั้น และเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย บนฐานรูปบัวงอนหรือเรือสำเภา ที่ด้านหน้าฐานเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา และมีจารึกอักษรไทยด้านหลังฐานว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2007
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://members.thai.net/bird/documents/1-3-07.htm

    <TABLE height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD align=middle width="3%" bgColor=#ffffff>

    </TD><TD class=tahoma12grey555555 width="77%" bgColor=#ffffff>ชื่อ สนามหลวง
    สถานที่ตั้ง สนามหลวง คือบริเวณที่โล่งกว้างขวางที่สุดในเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ทางด้านเหนือของ
    พระมหาราชวัง
    ประวัติความเป็นมา
    คำว่าสนามหลวงมีความหมายสองอย่างคือ สนามใหญ่ เหมือนทะเลหลวง ซึ่งแปลว่าใหญ่ อีกความ หมายคือ สนามของหลวง มิใช่ของคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ ก่อนที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจะสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณที่สนาม หลวงปัจจุบันเป็นที่ราบลุ่ม ใช้เป็นที่ทำนาได้เป็นอย่างดี ส่วนบริเวณที่ดอนคือตอนที่ตั้งพระบรมมหาราชวัง
    เมื่อโปรดให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวังหน้าทางด้านเหนือขึ้นไป สนามหลวงจึงมีบริเวณแคบกว่าเท่าที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือมีอาณาเขตทางด้านเหนือเพียงแค่ถนนพระจันทร์ เชื่อมกับถนนที่ตัดผ่านสนามหลวง ตอนเหนือเท่านั้น ส่วนบริเวณตอนเหนือเลยขึ้นไปจากนั้นเป็นบริเวณของวังหน้าหรือพระราชวังบวรสถาน ( ต่อมาโปรดฯ ให้เรียกพระบวรราชวัง ในรัชกาลที่ ๔) ซึ่งยังมีแนวกำแพงเสมาเก่าปรากฎอยู่ทางด้านใต้ของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปัจจุบัน

    ความคิดเรื่องการสร้างสนามหลวงของบรรพบุรุษไทยในยุคนั้น จะเกี่ยวกับการวางผังเมืองอย่างไร ก็ไม่ อาจเดาได้ แต่ที่แน่นอนคือเป็นการสร้างที่โล่งไว้ สำหรับประชุมคนจำนวนมากมายในที่แห่งเดียว ในยาม ศึกสงครามจะได้เป็นที่ชุมนุมกองทัพของบรรดาเหล่าทหารโดยสะดวก ทั้งยังอยู่ใกล้กับบริเวณวังหลวงและ วังหน้าด้วย ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงตัดสินพระทัยย้าย พระนครจากฟากธนบุรีมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ทรงตั้งกำหนดเขตพระบรมมหาราชวัง
    ขึ้นที่บางกอก โดยโปรดให้ย้ายพวกจีนที่ตั้งรกรากอยู่เดิม ร่นให้ไปทางใต้ที่สำเพ็งและให้ขุดคูพระนครชั้นใน ล้อมรอบพระบรมมหาราชวังกับวังหน้า และโปรดให้เว้นที่ดินระหว่างวังหลวงกับวังหน้าไว้เป็นท้องสนาม
    หลวง สร้างกรุงเสร็จไม่นาน พม่าก็ยกทัพใหญ่มาตีไทยหลายครั้ง เราได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประชุมทัพ ก่อน ยกไปปราบพม่าข้าศึกให้แตกพ่ายไปทุกครั้ง ก่อนที่ข้าศึกจะมีโอกาสล่วงล้ำเข้ามาถึงพระนครได้อย่างสะดวก เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากใช้เป็นที่ประชุมทัพแล้ว ยังเป็นที่รวมคน ชุมนุมเล่นสนุกในเทศกาลต่าง ๆ

    ประวัติศาสตร์ยังบันทึกไว้อีกว่า ท้องสนามหลวงได้ใช้เป็นที่จัดงานพระราชพิธียิ่งใหญ่ครั้งแรก คืองานพระเมรุ พระบรมอัฐิ พระบรมราชชนกแห่งรัชกาลที่ ๑ ต่อจากนั้นได้ใช้เป็นสถานที่เพื่องานประกอบพระราชพิธี พระบรมศพของพระมหากษัตริย์ พระราชินีและของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงสุด โดยเฉพาะพระบรมศพของ พระมหากษัตริย์ ทางสำนักพระราชวังจะเตรียมพระเมรุมาศและกระบวนแห่พระบรมศพ ซึ่งจัดเป็น พระราชพิธีใหญ่หลวงที่สุด และรองลงมาก็จะเป็นพระบรมศพของพระเอกอัครมเหสี พระราชพิธีพระเมรุมาศ จะจัดขึ้นที่ท้องพระเมรุหรือท้องสนามหลวงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น จนประชาชนเรียกสนามหลวงด้วยนามใหม่ ว่า "ทุ่งพระเมรุ" ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงเห็นว่าเป็นอัปมงคลเพราะว่า
    เหมือนกับเป็นที่ทำงานศพของเจ้านายเป็นประจำ ทั้ง ๆ ที่ความจริงนาน ๆ จะมีเพียงครั้งหนึ่ง และต้องเป็น งานใหญ่มาก จึงโปรดให้งดเรียกชื่อดังว่าท้องพระเมรุหรือทุ่งพระเมรุ จึงโปรดให้ออกประกาศว่าด้วย ท้องสนามหลวงและสนามชัย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ หลังจากนั้นสนามหลวงหรือสนามชัย จึงได้ชื่ออย่างเป็นทาง การตามประกาศพระบรมราชโองการในรัชกาลที่ ๔ ว่า "ท้องสนามหลวง" ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ ในยามที่บ้าน เมืองเป็นปรกติสุข ไม่มีศึกสงคราม ไม่ใช้ท้องสนามหลวงเป็นที่ประชุมทัพ ได้ใช้สนามหลวงโดยเฉพาะตอน หน้าวัดมหาธาตุใช้เป็นที่ทำนาได้เป็นอย่างดี

    ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้สร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น บริเวณพิธีพิรุณศาสตร์และพืชมงคล มีกำแพงล้อมรอบหอพระสำหรับทำการพระราชพิธี เมื่ออัญเชิญ พระคันธารราษฎร์ออกมา มีพลับพลาหอตัดลม ฉางข้าว และโรงละครสำหรับเล่นบวงสรวง

    ในสมัยรัชกาลที่๕ มีการยุบเลิกตำแหน่งพระราชวังบวรฯ (วังหน้า) สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของวังหน้าที่อยู่ตอนสนามหลวงส่วนที่ เหลือจึงถูกรื้อลง พร้อมด้วยสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่รัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างขึ้นด้วย สนามหลวงจึงมีอาณาเขต ขยายออกไปดังที่เห็นในปัจจุบันและมีการปลูกต้นมะขามรอบสนามและปรับพื้นที่อย่างขนานใหญ่
    การรื้อวังหน้าสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริว่า วังหน้าชำรุดทรุดโทรมลงมาก จะลงทุนบูรณะก็ไม่ เป็นประโยชน์ จึงให้รักษาไว้เฉพาะแต่ที่สำคัญ ๆ จึงโปรดให้รื้อป้อมปราการสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริเวณวังชั้นนอกด้านตะวันออก เปิดเป็นท้องสนามเชื่อมกับของเดิมขึ้นมาทางเหนือ บริเวณท้องสนามหลวงเดิม จึงนับได้ ว่าเล็กกว่าปัจจุบันกว่าครึ่ง กล่าวคือ ทิศเหนือติดถนนพระจันทร์ ซึ่งตัดตรงมาจากท่าพระจันทร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงทิศตะวันออกตัดกับถนนสนามชัยเป็นสามแยก หรือกล่าวได้อีกอย่างว่า ทิศเหนืออยู่ติดถนนคอนกรีต ผ่านกลางสนามหลวงในปัจจุบันนี้ ทิศตะวันออกติดกับถนนสนามชัย ซึ่งผ่านมาจากริมกำแพง พระบรมมหาราชวังด้านตะวันออก ถึงหัวมุมวัง ซึ่งเป็นป้อมเผด็จดัสกร ตรงไปติดกับถนนพระจันทร์เป็น สามแยก ณ จุดใกล้เคียงกับใจกลางสนามแล้วเลี้ยวขวาเลียบกำแพงพระราชวังบวรหรือวังหน้าไปทะลุ สะพานเชี่ยว อยู่ข้าง ๆ สะพานผ่านพิภพลีลา ทิศใต้ติดกับพระบรมมหาราชวัง ทิศตะวันตกเป็นถนนหน้า พระธาตุ

    หลังจากเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกเมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ทรงเห็นว่าควรมีการก่อสร้างเพิ่มเติม เพื่อความเจริญของบ้านเมือง จึงโปรดให้สร้างถนนราชดำเนินในขึ้นมา ต่อจากถนนสนามชัยเป็นเส้นตรงไปบรรจบคลองคูเมืองชั้นใน ที่สะพานผ่านพิภพลีลาแล้วหักออกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ตามลำดับสู่พระราชวังดุสิต ถนนสนามชัยจึงถูกลบออก และขยายสนามหลวงมาทางทิศตะวันออก ติดกับถนนราชดำเนินใน แล้วแต่งให้เป็นรูปไข่ได้ส่วนสวยงาม ปลูกต้นมะขามโดยรอบสองแถว สนามหลวงจึงเป็นบริเวณกว้างขวาง อยู่กึ่งกลางพระนคร ใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์อย่างคุ้มค่า

    ความสำคัญต่อชุมชน
    สนามหลวงมีประวัติความเป็นมาและความสำคัญอย่างยิ่ง คู่กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสมบัติของชาติของ ประชาชนทุกคน ได้เป็นสถานที่ใช้ประกอบพระราชพิธี หรือประเพณีตามเทศกาลอยู่ตลอดมา เช่น พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จัดงานวันขึ้นปีใหม่ งานเทศกาลสงกรานต์ งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา และงานสำคัญ ๆ ในอดีตอีกมากมาย เช่นงานสมโภชรับเสด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรป งานพิธีประกาศสงครามโลกครั้งที่ ๑ ในรัชกาลที่ ๖ หรืองานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษในรัชกาลปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๐๐) ตลอดจนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นและชมกีฬาว่าวในฤดูร้อน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://techno.obec.go.th/news@classroom/article_detail.php?ID_Article=00000208&all_rows=&page=


    <TABLE class=FixText borderColor=#cccccc cellSpacing=0 cellPadding=2 width=550 align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#eeeeee bgColor=#eeeeee><TABLE width=550 align=center border=0><TBODY><TR class=FixText borderColor=#cccccc><TD vAlign=top borderColor=#eeeeee width=527 bgColor=#eeeeee>
    ระวังยาสีฟันยี่ห้อดัง.....


    ระวังยาสีฟัน-สบู่-น้ำยาบ้วนปาก เจือปนสารก่อมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย เทค เผยผลวิจัยสินค้าหลายยี่ห้อ อาทิ คอลเกต เดนทอล เซนโซดายน์ ระบุมีสารไทรโคซานผสมอยู่ ซึ่งจะมีปฏิกิริยากับน้ำคลอรีน ก่อให้เกิดก๊าซคลอโรฟอร์ม ถ้าร่างกายคนเราได้รับก๊าซชนิดนี้เข้าไปมากๆ จะทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรคตับหรือร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็ง เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกตรวจสอบและออกกฎระเบียบควบคุมสารเคมีตัวนี้


    รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาเตือนรัฐบาลทั่วโลกเร่งตรวจสอบสินค้าอุปโภคประเภทยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก น้ำยาล้างจาน และสบู่ ซึ่งมีส่วนผสมของสารต่อต้านแบคทีเรีย "ไทรโคซาน" หลังจากวิจัยพบว่าสารไทรโคซานที่ผสมอยู่ในยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากยี่ห้อดังๆ เช่น คอลเกต เดนทอล เซนโซดายน์ และ อควาเฟรช จะทำปฏิกิริยากับน้ำประปาผสมน้ำยาคลอรีน (ในประเทศอังกฤษ) จะส่งผลทำให้เกิดก๊าซคลอโรฟอร์ม ซึ่งถ้าร่างกายคนเราได้รับก๊าซชนิดนี้เข้าไปมากๆ จะทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรคตับ หรือร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็ง


    รายงานข่าวอีฟนิ่ง สแตนดาร์ด ระบุว่า สารไทรโคซานมีคุณสมบัติในการต่อต้านแบคทีเรีย และบริษัทผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องอุปโภคทำความสะอาดร่างกายและทำความสะอาดเครื่องใช้ต่างๆ มักนำมาใช้เป็นส่วนผสม โดยผลิตภัณฑ์ยี่ห้อดังๆ ตามท้องตลาดที่พบว่ามีส่วนผสมของสารไทรโคซาน เช่น ยาสีฟันคอลเกต โทเทิล เฟรช (Colgate Total Fresh) ยาสีฟันคอลเกต โทเทิล (Colgate Total) ยาสีฟันเซนโซดายน์ โทเทิล แคร์ (Sensodyne Total Care) น้ำยาบ้วนปากเดนทอล (Dentyl mouthwash) ยาสีฟันอควาเฟรช (Aquarfresh) ยาสีฟันของห้างเทสโก้ รวมทั้งน้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างมือ และสบู่อีกหลายยี่ห้อที่มีไทรโคซานเป็นส่วนผสม



    พบว่าเมื่อสารไทรโคซานในผลิตภัณฑ์ทำปฏิกิริยากับน้ำประปาผสมคลอรีนในประเทศอังกฤษ จะทำให้เกิดก๊าซคลอโรฟอร์ม ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคขึ้นมา โดยถ้าร่างกายได้รับคลอโรฟอร์มในปริมาณมากๆ อย่างต่อเนื่องผ่านการหายใจหรือผ่านการดูดซึมทางผิวหนังอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคซึมเศร้า โรคตับ หรือร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็ง

    "นี่คืองานวิจัยชิ้นแรกที่ชี้ให้เรารู้ว่าสินค้าอุปโภค เช่น สบู่ต่อต้านแบคทีเรีย สามารถทำให้เกิดก๊าซคลอโรฟอร์มขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง ต้องเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกตรวจสอบและออกกฎระเบียบควบคุมสารเคมีตัวนี้อย่างใกล้ชิด"

    ด้านนายไจล์ส วัตสัน นักพิษวิทยาประจำกองทุนเพื่อสัตว์ป่า (WWF) เตือนผู้บริโภคว่า แม้การทำปฏิกิริยาระหว่างสารไทรโคซานกับน้ำคลอรีนจะก่อให้เกิดก๊าซคลอโรฟอร์มในปริมาณไม่มากนักและผลกระทบต่อร่างกายจากก๊าซตัวนี้ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจน แต่ร่างกายผู้บริโภคอาจค่อยๆ สะสมสารตัวนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ในกรณีที่ใช้สินค้าเป็นระยะเวลานานๆ

    ดังนั้น ถ้าผู้บริโภคยังไม่แน่ใจในความปลอดภัยควรตรวจดูฉลากส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ก่อนจะซื้อว่ามีส่วนผสมของสารไทรโคซานหรือไม่ ถ้ามีก็ควรหลีกเลี่ยง

    วันเดียวกัน ภก.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวถึงการใช้สารไทรโคซานในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายในประเทศไทย ว่าขณะนี้ยังมีการอนุญาตให้ใช้อยู่ จัดอยู่ในประเภทเครื่องสำอาง ส่วนใหญ่มักจะเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ประเภทสบู่ยา ส่วนยาสีฟันพบว่ามีใช้บ้างแต่น้อย เพียง 1-2 ยี่ห้อเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลที่ระบุว่าเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งนั้น มีการรายงานเข้ามาเป็นระยะๆ แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ว่าสารดังกล่าวก่อให้เกิดมะเร็งจริง จึงยังคงอนุญาตให้ใช้ แม้แต่ประเทศในกลุ่มอียูก็ยังอนุญาตให้ใช้สารดังกล่าวอยู่ เนื่องจากหลักฐานไม่ชัดเจน แต่ในส่วนของอย.ได้ติดตามข้อมูลทางวิชาการในเรื่องนี้มาโดยตลอด และได้สั่งให้ตรวจสอบข้อมูลการใช้สารดังกล่าวในประเทศไทยแล้วว่ามีผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ใช้สารตัวนี้ เบื้องต้นจากการทบทวนข้อมูลต่างๆ แล้ว พบว่ายังไม่น่าตกใจเท่าไร.


    พรรณมณี ชูเชาวน์

    ข้อมูลจาก

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD borderColor=#eeeeee bgColor=#eeeeee><HR></TD></TR><TR><TD borderColor=#e1e1e1 bgColor=#e1e1e1>วันที่: 03 ตุลาคม 2549 </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://techno.obec.go.th/news@classroom/article_detail.php?ID_Article=00000210&all_rows=&page=

    <TABLE class=FixText borderColor=#cccccc cellSpacing=0 cellPadding=2 width=550 align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#eeeeee bgColor=#eeeeee><TABLE width=550 align=center border=0><TBODY><TR class=FixText borderColor=#cccccc><TD vAlign=top borderColor=#eeeeee width=527 bgColor=#eeeeee>
    [FONT=Tahoma, Arial, Helvetica, sans-serif]ประโยชน์ของโทรศัพท์มือถือที่คุณอาจยังไม่ทราบ[/FONT]
    [FONT=Tahoma, Arial, Helvetica, sans-serif] 1. หมายเลขสากลฉุกเฉิน 112 ใช้ได้ทั่วโลก ถ้าเกิดเราหลงไปอยู่ในเขตที่ไม่มีสัญญาณเลย แต่มีเหตุด่วนเหตุร้าย
    ให้กด 112 แล้วมันจะหาเบอร์ให้เองอัตโนมัติแม้แต่เราล็อคปุ่มก็ยังกดเบอร์นี้ได้..ลองดูสิ

    หมายเหตุ – ถ้าอยู่ดาวอังคารคงใช้ไม่ได้...ฮ่า

    2. ใช้ในกรณีที่ลืมกุญแจไว้ในรถ...สำหรับรถที่ใช้ Remote Key
    ถ้ารถล็อคไปแล้ว แต่เรามีกุญแจสำรองอยู่ที่บ้าน ให้โทรไปหาคนที่อยู่ที่บ้านด้วยมือถือ(เราต้องโทรไปหาเบอร์มือถือของเขาด้วยนะ) เมื่อเขารับแล้วให้บอกเขาให้กดปุ่ม unlock บนกุญแจสำรอง ในขณะที่เราถือมือถือห่างจากประตูรถประมาณ 1 ฟุต
    (คนที่อยู่บ้านที่เราวานให้กดต้องเอากุญแจไปจ่อใกล้กับมือถือของเขาในขณะที่กดปุ่ม) ประตูรถจะเปิดออกเหมือนกับเรากดปุ่มรีโมทด้วยตัวเองเลยแหละ ระยะทางไม่มีปัญหาแม้ว่ารถกับบ้านจะอยู่ห่างกันเป็น ร้อย ๆ กม. ก็ตาม

    3. กรณีแบ็ตใกล้จะหมด กด *3370# สำหรับมือถือ Nokia ถ้าเกิดถ่านเหลือน้อยเต็มทีจนใกล้ดับ แต่เราจำเป็นต้องโทรออก ให้ กด* 3370# มันจะรีดพลังสำรองที่ซ่อนออกมา
    แล้วแสดงให้เห็นว่าเพิ่มพลังถ่านให้ขึ้นมาอีก 50% และมันจะชดเชยส่วนสำรองนี้ในการชาร์จแบ็ตครั้งต่อไป

    4. ถ้าโทรศัพท์หาย ต้องการทำให้ใช้ไม่ได้ตลอดไป
    ในกรณีนี้เราต้องใช้หมายเลข serial number ประจำเครื่องซึ่งมี 15- 17 หน่วย การที่จะทราบหมายเลขนี้ก็ไม่ยาก ให้ กด *#06# แล้วหมายเลขประจำเครื่องก็จะขึ้นมาให้เห็นทันทีเลยเหมือนเล่นกล จดไว้แล้วเก็บไว้ให้ดี..... ที่นี้ถ้ามือถือหายหรือตกหล่น ให้โทรไปที่ศูนย์แล้วแจ้งหมายเลขให้เขาไป เขาก็จะบล็อคเครื่องของเราให้ แล้วทีนี้มือถือที่หายไปจะใช้ไม่ได้อีกเลย ถึงแม้ว่าคนขโมยไปจะเปลี่ยน Sim card มันก็จะยังใช้ไม่ได้อยู่ดี
    ...ได้อย่างเดียวคือไว้เขวี้ยงหัวหมาหรือหลังคาบ้านคนอื่น
    (อาจจะหลอกไปขายต่อได้..ถ้าคนซื้อต่อเขาไม่รู้....)

    พรรณมณี ชูเชาวน์
    ข้อมูลจาก
    http://www.lawthai.org/forums/view.php?qID=265
    [/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD borderColor=#eeeeee bgColor=#eeeeee><HR></TD></TR><TR><TD borderColor=#e1e1e1 bgColor=#e1e1e1>วันที่: 11 ตุลาคม 2549 </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://techno.obec.go.th/news@classroom/article_detail.php?ID_Article=00000206&all_rows=&page=

    <TABLE class=FixText borderColor=#cccccc cellSpacing=0 cellPadding=2 width=550 align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#eeeeee bgColor=#eeeeee><TABLE width=550 align=center border=0><TBODY><TR class=FixText borderColor=#cccccc><TD vAlign=top borderColor=#eeeeee width=527 bgColor=#eeeeee>
    เตือนเพื่อนๆให้ระวังมุขพวกเด็กปั้ม

    เคยไปเติมน้ำมัน ปตท.สาขาที่อยู่ติด รพ.ตำรวจ ตรงข้ามโรงแรมไฮแอท (ข้างๆ พระพรหมที่โดนทุบนั่นหละ) เติม แก๊สโซฮอลล์ 500 บาท ตามปกติ ต้องเดินลงไปดูอยู่แล้ว เมื่อวานก็เดินลงไปดูเช่นกัน แต่ก็พลาดตรงที่ว่าไม่ได้ดูแต่แรกเลยว่าเด็กปั้มมันกดเครื่องหรือป่าว ตอนลงไปดู มันก็เอาหัวจ่ายเสียบไว้ที่ฝาถังแล้ว พอเดินไปดูเด็กปั๊มคนที่เติมให้ก็วิ่งมาบอกทันทีว่า"
    โอ้ พี่คับ โทษๆ เพื่อนมันไปโดน เครื่องมันเลยตัด เดี๋ยวเติมให้อีก290 นะ" แล้วมันก็ชี้ให้ดูที่เด็กปั้มอีกคนที่อยู่แถวเครื่องหัวจ่าย ก็เลยเหลือบไปดูที่เครื่อง ก็เห็นตัวเลขอยู่ที่ 210 ก็ไม่เอะใจอะไร ก็เลยบอกว่านั้นก็เติมอีก 290 แล้วเดี๋ยวเขียนบิลมาด้วย ทีนี้ก็ยืนดูมันกด มันก็เติมให้อีก 293 บาท (ทำทีว่ากดเกินให้เรา3 บาท) แล้วมันก็พูดว่า "โอ๊ เกิน ไม่เป็นไรครับพี่ช่างมัน" แล้วมันก็เอาหัวจ่ายไปเสียบเก็บเข้าเครื่อง (ตอนนั้นแอบดีใจ เพราะได้เกินมา 3 บาท ) ทีนี้ระหว่างรอบิล ก็เลย start รถรอไว้ กะว่าจะรีเซ็ทตัวRSMจะได้ดูว่า500บาทนี้จะวิ่งได้กี่โล ก็เหลือบไปเห็นเข็มน้ำมันมันขึ้นมานิดเดียว เลยรีบหันไปถามเด็กปั้มว่า "เฮ้ย ทำไมเข็มมันไม่ขึ้นอะ นี่มันไม่ใช่ 500บาทแล้ว ปกติมันต้องได้เกือบครึ่งถังหนิ ทำไมคราวนี้ได้นิดเดียว" มันก็รีบตอบว่า"ก็ได้เท่านี้แหละครับน้ำมันมันขึ้นคับ" ก็เลยหันไปดูอีกทีกะว่าเข็มมันอาจจะขึ้นมาอีกระหว่างเราคุยกัน มันก็ไม่กระดิกแล้ว แล้วยังไงถ้า 500บาท ได้แค่นี้ เต็มถังคงต้องสองพันว่าบาทแน่ ซึ่งมันไม่ใช่แน่นอน เพราะเต็มถังมันประมาณ 1400 บาทเท่าที่จำได้ ก็เลยหันไปบอกอีกทีว่ามันไม่ใช่แน่ มันก็ยืนยันว่า ใช่แน่นอน ครับพี่ น้ำมันมันขึ้น พี่ไปดูที่เครื่องก็ได้มันขึ้นที่เครื่อง" มันก็พาไปดู
    ตรง cashier พอไปดูปุ๊บ คนที่หน้าจอ cashier มันก็กดให้ดูแล้วบอกว่า "นี่ไงพี่ 210 กะ 293บาท"
    เราก็บอกว่า "210 นี่มันของมอไซค์ที่เติมก่อนหน้าหรือป่าว" มันก็บอกว่า "โหพี่ มอไซค์มันเติมเต็มถังไม่ถึง 200หรอก" เราก็ไม่รู้จะทำไง เลยเดินงงๆ มาเลื่อนรถ หัวก็คิดว่าโดนโกงแน่แต่จับไม่ได้ ก็ไม่รู้ทำไงก็เลยเลื่อนไปจอดแถวๆที่เค้าเติมลมกัน แล้วเดินไปขอดูที่เครื่องอีกที ทีนี้ขอดูรายระเอียดเลยว่าก่อน 210 มันเป็นเท่าไหร่เพราะจำได้ว่าก่อนหน้าเราเติมมันเป็นมอไซด์ มันก็คลิกให้ดูเร็วๆว่า "นี่ไงพี่ 293, 210, 40บาท แล้วก็..." เราเลยบอกว่า "เดี๋ยวก่อน ขอดูชัดๆ" ก็เลยไปดูที่หน้ารวมรายการแล้วอ่านรายละเอียด ปรากฏว่า 293บาท มันคือ แกสโซฮอลล์ ส่วน 210 กะ 40บาท ก่อนหน้ามันเป็น ไร้สาร91 เราก็บอกว่า นี่ไงนี่มัน แกซโซฮอลล์มีแค่ 293บาท ก่อนหน้ามันเป็น 91 งั้นเติมให้อีก 210" มันก็รีบบอกว่า "อ๋อ เออ ใช่ๆ งั้นถอยมาเลยครับ เดี๋ยวเติมให้อีก" มันเลยเติมให้อีก 210บาท ทีนี้พอเติมเสร็จปุ๊บคนที่ cashier ก็ตะโกนมาว่า "เฮ้ย เติมให้แค่ 207บาท พอ เพราะเมื่อกี้ เติมไป 293" แล้วมันก็หันมาบอกว่า "เกินสามบาท" ทีนี้เราก็ทำไม่สน ไม่จ่ายด้วย แล้วก็ขับออกมาเลย สะใจได้มาอีก 3 บาท
    แต่ก็แค้นไม่หาย ตกเย็นเลิกงานเลยไปที่สถานีตำรวจกะแจ้งความ (ตำรวจบอกแจ้งได้ ถึงเราจะจับผิดเค้าได้แต่ก็แจ้งได้) ทีนี้ตำรวจเลยพาไปซ้อนมอไซค์ที่ปั้มไปชี้ตัว เจอตัวด้วย แต่มันไม่มีพยาน แล้วผู้จัดการปั๊มไม่อยู่แล้ว เลยไม่ได้เอามันเข้าคุกเลยเสียดายมาก บอกตำรวจเลยว่ากะกวาดล้างเลย แต่รู้มั๊ย มันทำเป็นแก๊งรู้กันทั้ง cashier ทั้งเด็กปั๊ม มันหาเงินง่ายกว่าเราอีก เราไม่ยอมหรอกถ้าโกงคันละสองร้อย ทั้งวันมันจะได้เงินเท่าไหร่ก็คิดดูสิ สรุป วันนี้ตำรวจเค้าคงทำเรื่องต่อมั้ง หรือไงก็ไม่รู้ แต่อย่างน้อย มันคงกล้าน้อยลงไปสักพัก ตำรวจเค้าบอกด้วยว่าที่ปั้มนี้มีหลายครั้งแล้ว แสดงว่ามันไม่เข็ดกันหรอกตำรวจบอกว่าทีหลังเจอให้แจ้งเดี๋ยวนั้นเลย จับเดียวนั้นได้เลย เพราะมันอยู่กันครบทั้งขบวน.

    ข้อควรสังเกตุ ว่าโดนโกง
    1. มันจะให้เลื่อนรถขึ้นหน้าไปจนไม่เห็นเครื่องหัวจ่าย
    2. มันจะเอาหัวจ่ายมาเสียบแต่ไม่กด
    3. มันจะใช้มุข เพื่อนโดน เครื่องเลยตัด แล้วจะเติมให้อีกจน ครบจำนวน
    4. มันจะแกล้งจงใจเติมเกินให้เรานิดนึง เราจะมัวแต่ดีใจ จนลืมคิดเรื่องโดนโกง (อันนี้แยบยลมาก)
    5. ถ้าเราถาม มันจะบอกให้ไปดูที่ cashier แล้วคนที่รู้กันที่ cashier กดแต่ตัวเลขให้ดูโดยไม่กดให้ดูชนิดน้ำมัน
    ระวังๆกันนะ!!ไม่รู้ปั๊มไหนจะมีอย่างนี้อีก.

    พรรณมณี ชูเชาวน์
    ข้อมูลจาก
    www.torakhong.org
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD borderColor=#eeeeee bgColor=#eeeeee><HR></TD></TR><TR><TD borderColor=#e1e1e1 bgColor=#e1e1e1>วันที่: 03 ตุลาคม 2549 </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.oursiam.net/content/display.php?id=113&category=2




    <TABLE class=box cellSpacing=0 cellPadding=3 width=650 align=center bgColor=#ffffe6><TBODY><TR vAlign=top bgColor=navy height=20><TD align=middle>เสียงนางร้องไห้ในวังหลวง</TD></TR><TR vAlign=top><TD class=normal-text align=right>[​IMG] [​IMG] [​IMG] </TD></TR><TR vAlign=top><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=560 align=center><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD class=small-text>


    <CENTER>เสียงนางร้องไห้ในวังหลวง

    </CENTER>
    [​IMG]


    <CENTER> </CENTER>
    <CENTER>ขบวนนางร้องไห้ในงานพระบรมศพ รัชกาลที่ ๕
    ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย ณ ท้องสนามหลวง</CENTER>การแสดงออกซึ่งความโศกเศร้าอาลัย ต่อประยูรยาทที่ล่วงลับไปนั้น นับเป็นการระบายออกมาจากห้วงลึกแห่งความรู้สึกของจิตใจอย่างแท้จริงในรูปของคราบน้ำตา ซึ่งมีอยู่ในตัวของปุถุชนทั่วไปทุกเชื้อชาติศาสนา แต่ในขณะเดียวกันก็มีพิธีกรรมอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งดูเหมือนแปลก แต่เป็นเรื่องจริงที่มีอยู่ในเกือบทุกประเทศนั้น นั่นก็คือการเสแสร้งร้องไห้และรำพึงรำพันต่อการล่วงลับของบุคคลสำคัญในแผ่นดิน เพียงเพื่อแสดงประกอบเกียรติยศตามประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ดังเช่น ประเพณี "นางร้องไห้" ของไทยที่จะนำเสนอต่อไปนี้
    ประเพณีนางร้องไห้ นับเป็นพิธีเก่าแก่ที่ยึดถือปฏิบัติมานานตั้งแต่ครั้งสมัยโบราณ มีปรากฏให้พบเห็นอยู่ทั่วโลก เช่น จีน อินเดีย มอญ กรีก โรมัน ออสเตรเลีย และไทย ฯลฯ ท่านพระยาอนุมานราชธน นักปราชญ์ไทยคนสำคัญท่านหนึ่งได้กล่าาวถึงเรื่องนางร้องไห้ไว้ตอนหนึ่งว่า...
    "โดยธรรมเนียมจีนเวลายกอาหารไปเซ่นศพ พวกลูกหลานจะร้องไห้สะอึกสะอื้นกันเป็นอย่างมาก ปากก็พร่ำรำพันถึงคุณงามความดีของผู้ตายอย่างเรื่อยเจื้อย"เกินกว่าร้องไห้อาลัยรักตามธรรมดา เพราะออกมาพ้นศพแล้วตามที่เคยเห็น ดูก็หายโศกเศร้าได้ทันที ตมธรรมเนียมอาหรับพอสิ้นใจ ตกเป็นหน้าที่ของผู้หญิงต้องร้องไห้รำพันว่า โอ้...ท่านของฉัน... โอ้...ที่พึ่งของฉัน... โอ้...เป็นเคราะห์กรรมของฉัน... และอะไรอื่น ๆ ในอย่างนี้ ต้องร้องไห้อย่างนี้เป็นระยะเวลาตลอดคืน รุ่งขึ้นก็เอาศพไปฝัง ต่อจากวันฝังก็เป็นหน้าที่ของผู้หญิงจะต้องร้องไห้รำพันทุกวันพฤหัสบดีจนกว่าจะครบสามสัปดาห์จึงเลิกร้องไห้
    ..ประเพณีมอญก็มีพวกรับจ้างร้องไห้ เสียงร้องฟังโหยหวนจนเราอามาตั้งชื่อทำนองเพลงว่า มอญร้องไห้ ที่ต้องร้องไห้เป็นทำนองโอดครวญ เขาอ้างว่า ต้นเหตุมาแต่ครั้งพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงปาฏิหาริย์ให้พระบาททะลุออกมานอกโลง เพื่อให้พระมหากัสสปบูชา ฝ่ายพุทธบริษัทที่มิได้บรรลุพระอรหันต์ผล ร้องไห้กันระงม จึงสืบเป็นประเพณีมา เมื่อบิดามารดาหรือครูบาอาจารย์ตายไป ลูกหลานและศิษย์ต้องไปร้องไห้แสดงกตัญูกตเวที จึงเกิดมีผู้เชียวชาญร้องไห้รำพันรับจ้างร้องเป็นพิเศษ"
    ในประเทศอินเดียก็มีผู้หญิงรับจ้างเป็นนางร้องไห้เช่นกัน เมื่อมีผู้ไปว่าจ้างร้องไห้ หญิงเหล่านี้ก็จะสวมใส่เสื้อผ้าฉีกขาด และสยายผมให้ยุ่งเหยิงดูไม่เป็นระเบียบ เมื่อมาถึงก็ห้อมล้อมศพแล้วแสร้งทำร้องไห้โหยหวนครวญครางไปพร้อม ๆ กัน จากนั้นก็รำพึงรำพันถึงความดีของผู้ตาย และแสดงความอาลัยอาวรณ์ในทำนองไม่น่าพลัดพรากด่วนจากไป โดยรำพึงรำพันซ้ำ ๆ อยู่เช่นนี้หลายครั้ง จนกว่าจะยกศพออกไปจึงจะได้รับค่าจ้างเป็นอันเสร็จพิธี ความจริงแล้วการเศร้าโศกร้องไห้ของบรรดาญาติมิตรในครอบครัวถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาของทุกเชื้อชาติ แต่ที่เห็นว่าแปลก เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ก็เพราะว่ามีการว่าจ้างเหล่านารีมานั่งร้องไห้รำพึงรำพันเป็นพิธีกรรม
    สำหรับประเพณีนางร้องไห้ของไทยนั้น นิยมกระทำกันเฉพาะในหมู่พระราชวงศ์ชั้นสูงระดับพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี พระราชชนนี และพระมหาอุปราช (วังหน้า) ซึ่งได้ยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ดังที่ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ซึ่งได้ทรงบันทึกการจัดงานพิธีพระศพของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีในรัชกาลที่ ๓ ไว้ตอนหนึ่งว่า..."ณ วันพุธ เดือน ๑๑ แรม ๔ ค่ำ ยกพระโกศเสด็จพระยานุมาศตั้งแห่เป็นขนาดกระบวนเครื่องสูง ประดับพร้อมเทวดาประณมมือถือดอกบัว ประณมเรียงเคียงพระโกศ สนั่นโสตสำเนียงเสียงนางร้องไห้ ประสานเสียงกลองประโคมก้องไตรภพ พระศพสมเด็จเสด็จสถิตมหาปราสาท"

    นอกจากนี้ในหนังสือพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ได้ทรงกล่าวถึงเพลงกล่อมบทนางร้องไห้ในงานพระบรมศพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ไว้ว่า มีนางร้องไห้ร้องกลอม ๕ บท คือ เพลง ๑. พระยอดฟ้าสุเมรุทอง
    ๒. พระทูลกระหม่อมแก้ว
    ๓. พระร่มโพธิ์ทอง
    ๔. พระเสด็จผ่านพิภพแห่งใด ข้าพระบาทจะขอตามเสด็จไป
    ๕. พระเสด็จสู่สวรรค์ชั้นใด

    จะสังเกตว่าในรัชกาลต่อ ๆ มา การขับกล่อมบทนางร้องไห้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั้ง ๕ บท เพียงแต่มีการสลับบทร้องเท่านั้น ผู้ที่จะมาขับร้องกล่อมต้องเป็นผู้หญิงล้วนอันได้แก่ เจ้าจอม พระสนม นางกำนัล และผู้ที่ถวายตัว รวมทั้งมีต้นเสียงอีก ๔ คน โดยที่คัดเลือกจากผู้ที่มีน้ำเสียงไพเราะกังวาน เป็นผู้ร้องนำ ดังเช่นที่เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ ในรัชกาลที่ ๕ ได้หวนพิไรรำพันถึงครั้งอดีตในงานพระบรมศพของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ ไว้ตอนหนึ่งว่า งานพระบรมศพของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนั้น ต้นเสียงร้องมีอยู่ ๔ คน และท่านก็เป็นหนึ่งในจำนวน ๔ คนนั้น เมื่อต้นเสียงร้องแล้ว จะมีลูกคู่หญิงอีกราว ๘๐-๑๐๐ คน ทำหน้าที่ร้องรับ ร้องซ้ำๆกันหลายรอบ และจะต้องไปร้องกล่อมที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งเป็นที่ตั้งพระบรมศพ เนื้อร้องทั้งหมดมีอยู่ ๕ บทด้วยกัน ดังเช่นในรัชกาลก่อนๆที่ผ่านมา เพียงแต่มีสลับกันในบางบท ดังนี้
    <TABLE style="FONT-WEIGHT: bold; FONT-SIZE: 12px; COLOR: navy; FONT-FAMILY: MAS Sans Serif" cellSpacing=0 cellPadding=3 width=500 align=center><TBODY><TR><TD>๑. พระร่มโพธิ์ทอง</TD><TD></TD><TD>พระพุทธเจ้าข้าเอย</TD></TR><TR><TD>พระทูนกระหม่อมแก้ว</TD><TD></TD><TD>พระพุทธเจ้าข้าเอย</TD></TR><TR><TD colSpan=3></TD></TR><TR><TD>๒. พระเสด็จไปสู่สวรรค์ชั้นใด</TD><TD></TD><TD>ละข้าพระบาทยุคลไว้ พระพุทธเจ้าข้าเอย</TD></TR><TR><TD>พระทูนกระหม่อมแก้ว</TD><TD></TD><TD>พระพุทธเจ้าข้าเอย</TD></TR><TR><TD colSpan=3></TD></TR><TR><TD>๓. พระยอดพระฟ้าสุเมรุทอง</TD><TD></TD><TD>พระพุทธเจ้าข้าเอย</TD></TR><TR><TD>พระทูนกระหม่อมแก้ว</TD><TD></TD><TD>พระพุทธเจ้าข้าเอย</TD></TR><TR><TD colSpan=3></TD></TR><TR><TD>๔. พระเสด็จผ่านพิภพแห่งใด</TD><TD></TD><TD>ข้าพระบาทจะตามเสด็จไป พระพุทธเจ้าข้าเอย</TD></TR><TR><TD>พระทูนกระหม่อมแก้ว</TD><TD></TD><TD>พระพุทธเจ้าข้าเอย</TD></TR><TR><TD colSpan=3></TD></TR><TR><TD>๕. พระทูนกระหม่อมแก้ว </TD><TD></TD><TD>พระพุทธเจ้าข้าเอย</TD></TR><TR><TD>พระทูนกระหม่อมแก้ว</TD><TD></TD><TD>พระพุทธเจ้าข้าเอย</TD></TR><TR><TD colSpan=3></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ ในรัชกาลที่ ๕</CENTER>เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ ในรัชกาลที่ ๕ นับเป็นเจ้าจอมรุ่นสุดท้าย ซึ่งเป็นที่โปรดปรานมากที่สุดท่านหนึ่งในบรรดาเจ้าจอมทั้งหมด ท่านมีรูปโฉมที่งดงามมาก ดังจะเห็นได้จากภาพถ่ายเมื่อครั้งยังสาว รวมทั้งกิริยามารยาทเรียบร้อย สมเป็นกุลสตรีชาววัง จึงเป็นที่โจษขานของบรรดานางในทั่งไป นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้วข้างต้น ท่านยังมีน้ำเสียงกังวานอ่อนหวานไพเราะ ดุจดังเสียงน้ำเซาะทราย สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงถึงกับทรงโปรดเกล้าฯ ให้ท่านเป็นผู้ขับร้องในบทพระราชนิพนธ์เรื่องเงาะป่า ในงานเฉลิมฉลองขึ้นพระที่นั่งอัมพรสถาน ณ พระราชวังสวนดุสิต เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๕ ( พ.ศ. ๒๔๔๙) ท่านได้บันทึกเหตุการณ์ไว้ตอนหนึ่งว่า..."งานขึ้นพระที่นั่งอัมพร ทรงเป็นโต้โผเล่นละครเรื่องเงาะป่า เก็บเงินคนดูเพื่อพระราชทานเป็นทุนให้นายคะนัง (เป็นเด็กเงาะป่าเผ่าซาไกที่ทรงโปรดเกล้าฯ นำมาชุบเลี้ยงไว้ : ผู้เขียน) งานนั้นต้องเตรียมซ้อมละครกันหลายวัน ข้าพเจ้าต้องเหน็ดเหนื่อยมาก ในวันงานพระมาดาเธอฯ ประชวรพระยอดพระชงค์ เสด็จไม่ได้ ข้าพเจ้าถูกเกณฑ์เป็นแม่งานแทนท่านหลายอย่าง ยังคอยระวังรับใช้ล้นเกล้าฯ ในเรื่องตั้งเครื่อง เพราะว่าเสด็จเป็นเจ้าของละครอยู่ภายในโรงละครตลอดเวลา จึงมีข้าพเจ้าวิ่งเต้นอยู่คนเดียว พระสนม กำนัลอื่นถูกเหณฑ์เป็นผู้ดูละครเก็บเงินหมด ถึงบทข้าพเจ้าร้อง ก็ต้องไปนั่งขับร้องประจำโรง ร้องเสร็จก็อยู่ที่ล้นเกล้าฯ ซึ่งประทับอยู่ในที่นั้น..."
    สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงได้นิพนธ์บทร้อยกรองพรรณาถึงความไพเราะของน้ำเสียงท่านไว้ดังนี้
    แม่เสียงเพราะเจ้าเอย
    น้ำเสียงเจ้าเสนาะ
    เหมือนหนึ่งใจพี่จะขาด
    เจ้าร้องลำนำ ยิ่งซ้ำพิศวาส
    พี่ไม่วายหมายมด
    รักแม่เสียงเพราะเอยฯ
    ภายหลังเสร็จจากงานฉลองขึ้นพระที่นั่งอัมพรสถานในวันเดียวกันนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชทานกำไลทองเป็นของกำนัลพิเศษแก่ท่านโดยเฉพาะ ที่ตัวกำไลนั้นทรงจารึกคำกลอนพระราชนิพนธ์ไว้อย่างไพเราะและมีความหมายลึกซ้งมาก ปรากฏดังนี้
    กำไรมาศชาตินพคุณแท้
    ไม่ปรวนแปรเปนอย่างอื่นย่อมยืนสี
    เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที
    จะร้ายดีขอให้เห็นเปนเสี่ยงทาย
    ตาปูทองสองดอกตอกสลัก
    ตรึงความรักรับไว้อย่าได้หาย
    แม้นรักร่วมสวมไว้ให้ติดกาย
    เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย ฯ
    ตัวกำไรทองวงนี้เป็นรูปตะปูทรงเหลี่ยมไขว้กัน เป็นเนื้อทองคำบริสุทธิ์บิดไปมาได้ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้พระราชทานสวมให้ด้วยพระราชหัตถ์ของพระองค์เอง และได้สวมติดมือมาโดยตลอดกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิต หลังจากนั้นทายาทได้ทูลเกล้าฯ ถวายคืน เพื่อเห็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ อนเป็นถิ่นสถานที่เคยพำนักและมีความสุขมากที่สุด ซึ่งยากจะลืมเลือนจากควาทรงจำตลอดจนชั่วชีวิต เรื่องราวประเพณีร้องไห้ของไทยนั้น ได้มาสิ้นสุดในรัชกาลที่ ๕ เป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรด เพราะทรงเห็นว่าไม่ใช่เป็นการร้องไห้อย่างแท้จริง แต่เป็นการร้องไห้ตามแบบพิธี ดังนั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการยกเลิกตั้งแต่นั้นมา ดังเช่นหลักฐานบันทึกที่ทรงระบุไว้ในพระราชพินัยกรรมของพระองค์ไว้ตอนหนึ่งว่า "ในเวลาตั้งพระบรมศพที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และในเวลาอื่น ๆ ต่อไปนี้ตลอด ห้ามมิให้มีนางร้องไห้ ถ้าผู้ใดรักใคร่ข้าพเจ้าจริง ปราถนาจะร้องไห้ ก็ร้องไห้จริง ๆ เถิด อย่าร้องไห้อย่างเล่นละครเลย"
    นอกจากนี้เมื่อครั้งในงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชชนก (ร.๕) พระองค์ได้ทรงกำชับไปถึงเสด็จอธิบดีฝ่ายในให้ทรงตรวจตราดูแลมิให้นางร้องไห้เกิดขึ้นเป็นอันขาด เพราะเกรงว่าจะส่งเสียงรำคาญเป็นที่อับอายของชาวต่างชาติ ดังที่ปรากฎในพระราชหัตถเลขาไว้ตอนหนึ่งว่า...
    "อนึ่ง มีสิ่งที่รู้สึกดล่งใจอย่างหนึ่ง คือ นางร้องไห้ได้หยุดไปแล้ว ในเวลาก่อน ๆ เมื่อลงไปพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พอถึงเวลาประโคมพระบรมศพ และนางร้องไห้เริ่มส่งเสียงขึ้น ให้รู้สึกรกหูเสียจริง ๆ จะข่มใจให้นึกชอบเท่าไรก็ไม่ได้เลย เพราะอดรู้สึกไม่ได้ว่ามันเป็นของไม่จริงจัง ช่สงเรียกชื่อผิดเสียจริง ๆ เพราะมันไม่ใช่ร้องไห้ แต่เป็นร้องเพลงแท้ ๆ และเพลงนั้นเนื้อร้องก็ซ้ำซากไม่เห็นไพเราะอะไร ได้ยินเขาเล่ากันว่าทูลหม่อมปู่ (ร.๔) เมื่อเสด็จไปเยี่ยมพระศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ ได้ฟังนางร้องไห้มีพระราชกระแสท้วงว่า "ก็ถ้าใคร ๆ จะขอตามเสด็จไปเสียหมดแล้ว ใครจะอยู่รับใช้พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่เล่า" ครั้งนั้นเลยต้องดนางร้องไห้ ในระหว่างทูลกระหม่อมปู่เสด็จลงไปอยู่ที่พระที่นั่งมหาปราสาท ฉันเดาว่าบางทีจะเกิดเหตุ เพราะนางร้องไห้ได้ส่งเสียงขึ้นในขณะที่พระกำลังสวดมนต์"
    อย่างไรก็ตาม ประเพณีนางร้องไห้ในงานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินนั้น นับเป็นราชประเพณีไทยเก่าแก่ที่มีมาแต่ครั้งสมัยโบราณ อันถือเป็นเครื่องประกอบพระเกียรติยศประดับพระบารมี เพื่อเป็นการแสดงว่าพระสนม เจ้าจอม และท้าวนางฝ่ายใน ตลอดจนข้าหลวงนางในทั้งปวง เป็นข้าภายใต้ร่มพระบารมีจึงพากันแสดงความโศกเศร้าอาลัย และร้องคร่ำครวญถวายความจงรักภักดีเมื่อเจ้าชีวิตของตนเสด็จสู่สวรรคต...
    แหล่งข้อมูล

    ร้อยเรียงเวียงวัง : รวบรวมจากคอลัมน์ "รอบรั้ว-ริมวัง" ในนิตยสารเปรียว, กิติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR bgColor=#e3e3e3><TD class=normal-text>โดยคุณ : ศิตาลี [​IMG] [​IMG] วันที่ : 27-09-2549 เวลา : 18:30:42 จำนวนผู้ดู : 239 คน</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2007
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ลองดูอีกนิดนึงรับรองไม่ผิดหวังจริงๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา เยือนถิ่น "วังหน้า" ตามหารอยอดีตต้นกรุงรัตนโกสินทร์
    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000110424

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เยือนถิ่น "วังหน้า" ตามหารอยอดีตต้นกรุงรัตนโกสินทร์</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>16 สิงหาคม 2548 17:21 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> โดย...หนุ่มลูกทุ่ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>"พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน" ในพระราชวังบวรสถานมงคล ที่ประทับของพระมหาอุปราช หรือวังหน้า</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จำได้ไหมว่าฉันเคยพาไปเที่ยวที่ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร" มาแล้ว และยังพอจำได้ไหมที่ฉันเคยบอกไว้ว่า เดิมที่ตรงนี้เป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือ "วังหน้า" มาก่อน แล้วถ้าฉันจะถามต่อไปว่า รู้ไหมว่า วังหน้าคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร เอ...จะมีใครตอบคำถามนี้ฉันได้บ้างไหมหนอ

    บางคนยังบอกด้วยซ้ำว่า แหม... ตั้งแต่หนุ่มลูกทุ่งชวนไปเที่ยวพิพิธภัณฑสถานฯ เมื่อหลายเดือนครั้งกระนู้น จนป่านนี้ก็ยังไม่ได้ไปเลย แล้วจะให้รู้หรือให้จำอะไรได้…

    โธ่ !! ไอ้ฉันก็ประเภทนิยมในลูกตื๊อเป็นยิ่งนัก ถ้าใครยังไม่ได้ไป ฉันก็อยากจะชวนไป ยิ่งช่วงนี้เขามีงาน "ยอยศวังหน้า" จัดแสดงอยู่อีก ฉันก็ยิ่งอยากให้ทุกคนมีโอกาสได้ไปเที่ยวชมสมบัติที่ดีงามและทรงคุณค่าของชาติในมุมมองอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=230 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=230>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>"พระบรมรูปของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท" วังหน้าองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อันที่จริง เรื่องราวของวังหน้านั้นอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก เอาเป็นว่าฉันจะเล่าคร่าวๆ ว่า "วังหน้า" ก็คือพระราชวังที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกในทางการว่า "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรืออีกนัยหนึ่งก็เรียก พระมหาอุปราช ว่า "วังหน้า"ด้วย ซึ่งสาเหตุที่เรียกพระมหาอุปราชว่าวังหน้านั้นก็มีที่มาจากการจัดกระบวนทัพในสมัยโบราณ ซึ่งจัดเป็นทัพหน้า ทัพกลาง (ทัพหลวง) และทัพหลัง

    โดยที่พระมหาอุปราชมีตำแหน่งเป็นจอมทัพหน้า เสด็จไปก่อนทัพพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเสด็จไปเป็นทัพหลวง แม้แต่พระราชวังที่ประทับของพระมหาอุปราชในพระนครก็ตั้งตามตำแหน่งทัพด้านรับหน้าศึก พระมหาอุปราชจึงขึ้นชื่อว่าฝ่ายหน้าหรือวังหน้าเป็นประเพณีสืบมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

    ซึ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราช "กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท" หรือชื่อเดิมว่า บุญมา ผู้ที่ทรงผ่านศึกร้อนหนาวมาพร้อมกันให้เป็นพระมหาอุปราช จึงนับว่าพระองค์ท่านเป็นวังหน้าพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพระองค์ท่านยังได้โปรดให้สร้าง พระราชวังบวรสถานมงคล เป็นพระราชวังที่ประทับของผู้ทรงดำรงพระอิสริยยศ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า โดยเริ่มสร้างพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังในปี พ.ศ. 2325

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระประธานที่ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นอกจากวังหน้า "กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท" แล้ว ที่รู้จักกันดีอีกพระองค์หนึ่งก็คือ "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" ในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้ยกเลิกตำแหน่งนี้เมื่อวังหน้าพระองค์สุดท้ายคือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทิวงคต เมื่อพุทธศักราช 2428 ในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมเวลาที่มีตำแหน่งวังหน้า 6 พระองค์ในสมัยรัตนโกสินทร์คือ 103 ปี

    ในอดีตอาณาเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลนั้นกว้างขวางมาก แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งเป็นสนามหลวง และถนน และเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยช่างศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งสถานที่เหล่านี้ล่ะ ที่จะเป็นที่ให้เราได้ย้อนกลับไปดูไปเห็นว่าวังหน้าเป็นอย่างไร

    แต่ตอนนี้ฉันจะยังไม่เข้าไปที่พระราชวังบวรสถานมงคลหรือตอนนี้ที่กลายมาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพราะว่าฉันจะไปที่ "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร" ก่อน ซึ่งวัดแห่งนี้ถือว่ามีความสำคัญ เพราะว่าเป็นวัดที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่พร้อมๆ กับการสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล

    ก่อนจะเป็นวัดที่ผู้คนเรียกชื่อกันอย่างคุ้นเคยว่า "วัดมหาธาตุ" นั้น วัดนี้เคยมีชื่ออยู่หลายชื่อ โดยเริ่มแรกตั้งแต่สมัยอยุธยามีชื่อว่า วัดสลัก จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดนิพพานาราม และเมื่อรัชกาลที่ 1โปรดเกล้าฯ ให้เป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดพระศรีสรรเพชญ และเปลี่ยนเป็น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช

    และหลังจากกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จสวรรคตรัชกาลที่ 1 ทรงเปลี่ยนนามพระอารามใหม่ว่า "วัดมหาธาตุ" ส่วนคำว่า "ยุวราชรังสฤษดิ์" มาเติมในสมัยรัชกาลที่ 5 จนท้ายที่สุดก็เป็น “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร” ในปัจจุบัน และที่วัดนี้ยังมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ชื่อ "มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย" สำหรับเป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ แม่ชี และบุคคลทั่วไปด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=210 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=210>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระเจดีย์ทองศรีรัตนมหาธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระมณฑป วัดมหาธาตุฯ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อย่าเพิ่งมึนกับชื่อวัด เพราะยังมีสิ่งดีๆ ที่น่าชมในวัดอีกมาก อย่างเช่น “พระอุโบสถ” ซึ่งจะแตกต่างจากโดยทั่วไปคือ ไม่มีมุขหน้าหลังทางเข้าออกมีสองด้านและขนาดใหญ่กว่าพระอุโบสถอื่น ส่วนพระประธานขนาดใหญ่ลงรักปิดทอง ก็เป็นฝีมือของพระยาเทวารังสรรค์ซึ่งถือว่าเป็นยอดฝีมือช่างวังหน้า

    นอกจากนี้ “พระมณฑป” ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของพระอุโบสถนั้น ภายในได้ประดิษฐานพระเจดีย์ทองศรีรัตนมหาธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นศิลปะแบบรัชกาลที่ 1 ซึ่งถือเป็นเจดีย์แบบฉบับของเจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์ยุคแรก ตลอดทั้งองค์ลงรักปิดทองคำเปลวที่สวยงาม

    แต่ที่จะขาดไม่ได้ก็คือ "พระบรมรูปของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท" วังหน้าผู้ทรงสถาปนาวัดและประดิษฐานอยู่หน้าวิหารโพธิลังกา ก่อนหน้านี้ฉันก็ผ่านไปผ่านมาและให้นึกสงสัยว่าเป็นพระบรมรูปของพระองค์ใด กระทั่งครั้งนี้ได้มีโอกาสตามรอยวังหน้าจึงได้ถึงบางอ้อ รู้แล้วว่าพระบรมรูปในท่าประทับยืนประนมมือถือดาบหันพระพักตร์ออกสู่สนามหลวงนี้ก็คือพระอนุชาแห่งรัชกาลที่ 1 และยังเป็นแม่ทัพคนสำคัญของกองทัพไทยในสมัยเริ่มก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=230 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=230>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>จิตรกรรมฝาผนังรอบๆ วัดพระแก้ววังหน้าที่สวยงามและทรงคุณค่า</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หลังจากถวายความเคารพพระบรมรูปแล้วฉันก็เดินไปตามถนนหน้าพระธาตุเข้าสู่เขตวังหน้าชั้นใน นั่นก็คือ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ฉันนึกสนุกๆ ว่าถ้าย้อนไปในอดีต นักศึกษาสาวๆ สวยๆ ที่ฉันเดินผ่านก็คงเป็นสาวชาววังผู้อ้อนแอ้นอรชร ส่วนชายหนุ่มอย่างฉันก็คงไม่มีสิทธิ์เดินผ่านไปได้โดยง่ายแน่ แต่ในเมื่อเป็นยุคปัจจุบัน เขตวังชั้นในที่เห็นและเป็นอยู่ตอนนี้ จึงเหลือเพียงซากแนวกำแพงวังซึ่งอยู่ที่โรงอาหารเป็นนิทรรศการขนาดย่อมไว้ให้ศึกษา

    ฉันเดินออกประตูหลังของธรรมศาสตร์ ต่อไปที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ เพราะที่นี่มี "วัดบวรสถานสุทธาวาส" หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดพระแก้ววังหน้า เพราะเป็นวัดที่อยู่ในเขตพระราชวังบวรสถานมงคลเช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่อยู่ในเขตพระราชวัง โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพงเสพ พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้น ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ใช้เป็นพระเมรุพิมานประดิษฐานพระบรมศพเจ้านายหลายพระองค์เวลาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแทนพระเมรุใหญ่ที่สนามหลวง

    ฉันชื่นชมความงามของจิตรกรรมฝาผนังรอบๆ วัดพระแก้ววังหน้าอยู่เป็นนานสองนาน เพราะล้วนเป็นภาพที่สวยงามและทรงคุณค่าคือนอกจากจะเป็นภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าทั้ง 28 พระองค์แล้ว ยังจะเห็นว่าเพราะระยะการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์นั้นนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสภาพบ้านเมืองและประเพณีวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัยผ่านภาพจิตรกรรม นับว่าเป็นอีกหนึ่งบทบันทึกประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นๆ ได้เป็นอย่างดี

    จากนั้นฉันก็ไปสิ้นสุดการเยือนถิ่นวังหน้า ณ ที่ "พระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งได้เปลี่ยนมาเป็น "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร" รวมไปถึงพื้นที่เขตวังหน้าอื่นๆ ก็เพื่อใช้เป็นสถาบันการศึกษาและสถานที่ราชการสำคัญ ฉันจะไม่เล่าซ้ำล่ะว่าที่แห่งนี้มีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร เพราะฉันเคยมาแล้วครั้งหนึ่ง เหลือแต่คุณๆ นั่นล่ะ ที่น่าจะหาโอกาสมาสัมผัสและเยี่ยมเยือนถิ่นวังหน้ากันสักครั้ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=230 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=230>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>"วัดบวรสถานสุทธาวาส" หรือวัดพระแก้ววังหน้า ที่อยู่ในวิทยาลัยนาฏศิลป์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    วันนี้-30 ก.ย. 48 มีนิทรรศการ "ยอยศวังหน้า" ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ภายในงานมีการจัดแสดงถึงพระอิสริยยศ พระกรณียกิจ ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ศิลปกรรมและวิถีชีวิตของชาววังหน้า พร้อมทั้งมีการนำปืนใหญ่ขนาดเล็กหรือ "ปืนหามแล่น" จำนวน 54 กระบอก สมัยอยุธยาตอนปลายอายุประมาณ 200-250 ปี ซึ่งขุดพบขณะวางท่อสายไฟในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมื่อปี 2541 มาจัดแสดงเป็นครั้งแรก พร้อมลูกปืนใหญ่ พระพุทธรูป พระเครื่องโคนสมอ พระบุเงิน ฯลฯ รวมไปถึงโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องใช้ของวังหน้าผู้ครอบครองพระบวรราชวังแห่งนี้

    สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2224-1333

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" แหล่งรวมของดีของไทย ที่ไม่ไปไม่รู้
    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000055522

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" แหล่งรวมของดีของไทย ที่ไม่ไปไม่รู้</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>26 เมษายน 2548 15:59 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=280 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=280>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> บอกตรงๆ ว่า ความคิดในเรื่องการไปเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้วนเวียนอยู่ในความคิดฉันสักเท่าไรนัก ด้วยภาพที่ติดอยู่ในหัวว่าพิพิธภัณฑ์คือสถานที่ที่มีบรรยากาศเอื่อยๆ เฉื่อยๆ เต็มไปด้วยความรู้ที่เข้าไม่ถึง และออกจะน่าเบื่อ ฉันก็เลยยังไม่มีอารมณ์อยากจะไป แม้จะรู้ว่าที่นี่แหละที่รวบรวมเอาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตกว่าร้อยกว่าพันปีมาจัดแสดงให้คนอย่างฉันได้รับรู้ถึงอดีตของตัวเอง

    แต่พอดีเมื่อเร็วๆ นี้ฉันรู้มาว่า ในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ทางพิพิธภัณฑ์เขาจะมีมัคคุเทศก์อาสาสมัครมาคอยนำชมให้ฟรี ฉันก็เลยตัดสินใจจะลองไปชมดูสักที ไม่ใช่ว่าฉันเห็นแก่ของฟรีหรอกนะ แต่ฉันว่าการมีคนนำชมพิพิธภัณฑ์แบบนี้ก็ย่อมจะได้ความรู้มากกว่าเดินดุ่มๆ เดาสุ่มไปเองคนเดียว แล้วฉันก็อยากจะรู้ๆ กันไปเลยว่าบรรยากาศของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเหมือนกับที่ฉันคิดไว้หรือเปล่า

    สิบโมงเช้าวันอาทิตย์ ฉันจึงเข้าไปแจ้งความประสงค์ขอมัคคุเทศก์นำชมตรงฝ่ายประชาสัมพันธ์ และก็ได้ "พี่หน่อง" พรสวรรค์ พุฒเทศ และ "พี่หนุ่ย" วิสิทธิ์ บุญโต มาเป็นผู้นำชมในวันนี้ ฉันขอเรียกว่าพี่ไกด์ก็แล้วกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธสิหิงส์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พี่ไกด์ทั้งสองคนนี้ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์แต่อย่างใด แต่เป็นผู้ที่ผ่านการอบรมจากทางพิพิธภัณฑ์แล้ว และในยามว่างๆ อย่างวันเสาร์-อาทิตย์นั้นก็มาช่วยนำนักท่องเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ ส่วนในวันธรรมดานั้นต่างคนต่างก็มีงานประจำของตัวเองทำ แต่อาศัยว่ามีความรู้และความรักเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์จึงมาช่วยด้วยใจ (แล้วก็ได้แต่ใจกลับไป เงินไม่ได้จ้ะ)

    พี่ไกด์ทั้งสองเริ่มบรรยายความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ว่า เดิมที่ตรงนี้เป็นพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า ที่สร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับวังหลวง (พระบรมมหาราชวัง) และวังหลัง (บริเวณ ร.พ.ศิริราช) ในวังหน้านี้มีพระที่นั่งและตำหนักงดงามหลายหลัง ซึ่งปัจจุบันก็กลายมาเป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุทั้งหลาย ฉันเริ่มต้นการชมพิพิธภัณฑ์ที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมานซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยแรกก่อตั้งอาณาจักร จนเมื่อมาถึงสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน

    ห้องจัดแสดงนี้ตกแต่งไว้อย่างน่าดูทีเดียว มีการนำเสนอเรื่องราวในสมัยต่างๆ ด้วยแผ่นป้ายรายละเอียด โบราณวัตถุจัดแสดง รวมทั้งยังมีข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ทัชสกรีน และหุ่นจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ที่เคลื่อนไหวได้พร้อมเสียงบรรยายรายละเอียด ซึ่งอันนี้เด็กๆ คงจะชอบ

    ฉันเพิ่งได้ชมแค่เพียงห้องแรกเท่านั้น แต่พี่ไกด์ทั้งสองก็ช่วยกันเล่าถึงเกร็ดประวัติศาสตร์ต่างๆ ให้ฟัง จนสมองน้อยๆ ของฉันจำแทบไม่หมด ต้องบอกว่ามุมมองของพี่ไกด์นี้ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องต่างๆ ซึ่งฉันไม่ขอบอกดีกว่าว่าเรื่องอะไรบ้าง ใครอยากรู้ก็ต้องมาฟังเอาเอง แต่จะบอกให้ว่า หากอยากรู้เรื่องอะไรที่เป็นประเด็นร้อนๆ ก็ลองถามมาเถอะ ไม่ว่าจะเรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรื่องพระเจ้าตากสินกับรัชกาลที่ 1 เรื่องการขอมงกุฎกรุวัดราชบูรณะคืนจากอเมริกา ฯลฯ พี่ไกด์เขายินดีแสดงความคิดเห็นให้ฟัง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สองมัคคุเทศก์ พี่หน่อง (เสื้อขาว) และพี่หนุ่ย กำลังชี้ชวนกันดูภาพจิตรกรรมฝาผนัง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จากห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย ฉันไปชมพระพุทธสิหิงส์ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ต่อ พอย่างเท้าเข้าไปก็ได้กลิ่นน้ำอบจากเทศกาลสงกรานต์หอมฟุ้งทีเดียว แต่ไกด์บอกฉันว่า พระพุทธสิหิงค์ที่เขานำออกไปสรงน้ำในวันสงกรานต์นั้นเป็นองค์จำลอง เพราะน้ำอบที่ใช้สรงกันนั้นมีฤทธิ์เป็นกรด หากนำองค์จริงไปสรงอาจจะทำให้องค์พระเสื่อมสภาพได้ อย่าลืมว่าท่านมีอายุเป็นพันๆ ปีแล้ว

    จิตรกรรมฝาผนังของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ พี่ไกด์บอกฉันว่าเวลาดูจิตรกรรมฝาผนังต้องเริ่มจากด้านหลังพระประธาน และวนไปทางขวา สำหรับภาพจิตรกรรมด้านบนนั้นเป็นภาพเทพชุมนุม ส่วนด้านล่างลงมาเป็นภาพพุทธชาดก ซึ่งในส่วนนี้จะมีภาพที่สอดแทรกความเป็นไปในยุคนั้นๆ ด้วย เช่น มีภาพของคนฝรั่ง หรือแขกปะปนอยู่กับชาวเมือง ซึ่งแสดงถึงสภาพบ้านเมืองของไทยที่มีการค้าขายกับต่างชาติ ซึ่งรายละเอียดยิบย่อยพวกนี่ถ้าฉันมาดูเอง ก็คงจะไม่สังเกตเห็นหรอก

    ในพระที่นั่งแห่งนี้ยังมีอะไรน่าสนใจอีกมาก พี่ไกด์ชี้ให้ฉันเงยหน้าดูขื่อไม้ด้านบน ซึ่งเป็นการแกะสลักไม้ทั้งชิ้น แล้วปิดทองประดับกระจก ซึ่งมีขื่อที่เป็นงานจำหลักไม้อย่างนี้ที่นี่ที่เดียวเท่านั้น แม้แต่ที่วังหลวงก็ไม่มี เพราะครูช่างของวังหน้านั้นเคยเป็นครูช่างวังหลวงอยุธยามาก่อน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เณรน้อยกำลังมุงดูหุ่นจำลองเหตุการณ์พระนเรศวรทรงปีนค่าย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จากนั้นเราไปต่อยังพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ซึ่งใช้เป็นที่จัดนิทรรศการหมุนเวียนของทางพิพิธภัณฑ์ ซึ่งขณะนี้กำลังมีนิทรรศการในหัวข้อ "สำริด: โลหะที่เปลี่ยนโลก" ซึ่งก็มีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่ทำจากสำริดในยุคสมัยต่างๆ ทั้งเครื่องประดับกำไล อาวุธหอกดาบ ไปจนถึงกลองมโหระทึก รวมทั้งมีวิธีการหล่อสัมฤทธิ์ด้วย นิทรรศการนี้จะจัดไปถึง 26 มิ.ย. นี้ ใครอยากมาดูก็ต้องรีบมาดูกัน

    โบราณวัตถุต่างๆ ในหมู่พระวิมาน ที่มีชื่อคล้องจองกันว่า พระที่นั่งวสันตพิมาน พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ และพระที่นั่งพรหมเมศธาดาก็น่าสนใจไม่น้อย ภายในแบ่งย่อยเป็นห้องต่างๆ อีกมากมาย เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ในพระที่นั่งวสันตพิมาน จัดแสดงเครื่องถ้วยชามสังคโลก ทั้งของสุโขทัยเองและที่นำเข้าจากประเทศจีน ในห้องมุขเด็จด้านตะวันตกจัดแสดงงานจำหลักไม้อย่างบานประตูวิหารวัดสุทัศน์ฯ ที่ถูกไฟไหม้เสียหายไปส่วนหนึ่ง พระที่นั่งอุตราภิมุข จัดแสดงบรรดาเหล่าศิลาจารึกเก่าแก่ที่พบในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ส่วนที่พระที่นั่งบูรพาภิมุขก็เป็นที่จัดแสดงเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ

    และหากอยากจะไปชมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ค้นพบในยุคสมัยต่างๆ ทั้งยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ และศิลปวัตถุในยุคต่างๆ เช่น ศิลปะลพบุรี ศิลปะทวารวดี ฯลฯ ก็ต้องไปที่อาคารมหาสุรสิงหนาถ และอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุเหล่านี้ไว้ มีทั้งเทวรูป พระพุทธรูปต่างๆ โดยงานชิ้นเด่นๆ ก็เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะสมัยศรีวิชัย พระคเณศ จากประเทศอินโดนีเซีย เป็นศิลปะชวา ธรรมจักรกับกวางหมอบ ศิลปะสมัยทวารวดี เป็นต้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บานประตูวัดสุทัศน์ซึ่งรัชกาลที่ 2 ทรงจำหลักลวดลายบางส่วนด้วยพระองค์เอง ในห้องมุขเด็จด้านตะวันตก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ต้องบอกตามความเป็นจริงว่า แม้จะมีเวลาทั้งวันแต่ฉันก็ยังชมพิพิธภัณฑ์ได้ไม่ทั่ว ยังเหลือโรงราชรถ ซึ่งจัดแสดงราชรถที่ใช้ในกระบวนแห่พระบรมศพ และโบราณสถานอย่างพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ เก๋งจีนนุกิจราชบริหาร หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราชที่ฉันยังไม่ได้ไปชม แต่ก็แปลกดีที่ฉันเดินอยู่ในพิพิธภัณฑ์ได้ทั้งวันได้โดยไม่รู้สึกเบื่อ คงเป็นเพราะตัวโบราณวัตถุเองก็มีความน่าสนใจอยู่แล้ว บวกกับมีคนคอยเสริมความรู้และแทรกมุกตลกเป็นระยะๆ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ฉันยังไม่มีโอกาสได้ชมในวันนี้ ก็จะขอมาดูในวันหลังคงไม่เสียหายอะไร

    *************************

    สี่โมงเย็นเป็นเวลาที่พิพิธภัณฑ์จะปิดลง ฉันเดินกลับบ้านพร้อมกับคิดถึงคำที่พี่ไกด์หน่องและพี่ไกด์หนุ่ยบอกไว้ว่า การมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์นั้นก็เป็นเหมือนทางเลือกของการพักผ่อนอย่างหนึ่ง เป็นการพักผ่อนที่เปลืองเงินน้อยกว่าการดูหนังฟังเพลงเยอะ อีกอย่างหนึ่งในแต่ละวันคนเราใช้เวลาทำอะไรตั้งมากมาย แต่เมื่อได้มาที่นี่แล้วจะรู้สึกเหมือนกับว่าได้หยุดเวลาเอาไว้กับอดีต ซึ่งบางทีการมองย้อนไปในอดีตก็เป็นเรื่องที่มีความสุขได้เหมือนกัน แม้ว่าอดีตของที่นี่จะเป็นอดีตที่ออกจะนานไปสักหน่อยก็ตาม อีกอย่างหนึ่งโบราณวัตถุเหล่านี้ ถ้ามองในแง่ศิลปะแล้ว ก็จะมีคุณค่าตรงที่ช่วยจรรโลงจิตใจ ทำให้จิตใจอ่อนโยนลงได้ด้วย

    หากใครมีเวลาว่างในวันหยุด ฉันก็อยากให้ลองมาใช้บริการมัคคุเทศก์อาสาสมัครที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครนี้ดู ไม่แน่ทัศนคติที่ว่า "พิพิธภัณฑ์น่าเบื่อ" อาจเปลี่ยนไปเหมือนกับฉันก็ได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ประวัติพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร
    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000055539
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>26 เมษายน 2548 15:04 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2402 แต่เดิมเป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือวังหน้าซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งและพระตำหนักอันนับเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการต่างๆ นับว่าเป็นบ่อเกิดของพิพิธภัณฑ์ในสมัยต่อมา

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มิวเซียม" ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเแลิมพระชนมายุครบ 21 พรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417

    ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2430 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทิวงคต จึงได้มีประกาศยกเลิกตำแหน่งพระอุปราช ทำให้สถานที่ในพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานจากหอคองคอเดียไปตั้งจัดแสดงที่พระราชวังบวรสถานมงคลเฉพาะด้านหน้า 3 องค์ โดยใช้พระที่ นั่งด้านหน้าคือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์วังหน้า"

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้น และได้จัดพระที่นั่งศิวโมกขพิมานให้เป็นสถานที่จัดแสดงศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย ตำราโบราณ เรียกว่าหอสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา

    ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จึงได้เข้าสังกัดกับกรมศิลปากร และได้ประกาศตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2477
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>26 เมษายน 2548 14:47 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และโรงละครแห่งชาติ มีรถประจำทางสาย 3, 6, 9, 15, 19, 30, 32, 33, 53, 59, 64, 65, 70, 80, 84, 123, 165, ปอ. 3, ปอ.6, ปอ.7, ปอ.39, ปอ.80, ปอ.91, ปอ.พ.8 ผ่าน

    อัตราค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท เด็ก นักเรียน นักศึกษา (ในเครื่องแบบ) ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาอื่นไม่เสียค่าเข้าชม

    เปิดให้เข้าชมวันพุธ-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ และอังคาร) เวลา 09.00-16.00 น. โดยในวันพุธ-ศุกร์ จะมีเจ้าหน้าที่นำชมทั่วไป ส่วนในวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีมัคคุเทศก์อาสาสมัครนำชมตั้งแต่เวลา 10.00-12.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2224-1333
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ดูความรู้ทางโลกแล้ว ทีนี้ลองมาดูความรู้ทางธรรม ด้านพุทธวงศ์บ้าง ค่อยๆ ดูเก็บเป็นความรู้ให้กับชีวิตตนเอง นับเป็นมงคลประการหนึ่งเช่นกัน ขยันอ่านมากก็รู้มาก ไม่อ่านเลยก็ไม่รู้ หรืออ่านน้อยก็รู้แบบงูๆ ปลาๆ ผิดๆ ถูกๆ นับว่าเป็นอัปมงคลแก่ชีวิตจริงๆ ถ้าอ่านไม่ทันก็อ่านในวันหลังก็ได้เน้อ.....
    http://www.budpage.com/budboard/show_content.pl?b=1&t=7038
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา สมเด็จพระพี่นางสองพระองค์ในรัชกาลที่ ๑
    http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?showtopic=920

    Jan 4 2007, 12:20 PM

    -นักอ่านรุ่นใหม่ขอทราบเรื่อง สมเด็จพระพี่นางสองพระองค์ในรัชกาลที่ ๑ ว่าทรงเสกสมรสกับใคร สมัยนั้นเรียกท่านว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ หรือสมเด็จพระพี่นาง ทรงมีพระโอรสธิดาอีกเท่าใด นอกจาก กรมพระราชวังหลังใน สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ และ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ใน สมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อย ซึ่งต่างก็เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระพี่นางทั้งสองพระองค์แล้วทรงมีพระโอรสธิดากันอีกกี่พระองค์ ใครบ้าง-

    คำถามค่อนข้างจะเป็นทางการคล้ายออกข้อสอบ แต่ก็แสดงว่าผู้ถามสนใจเรื่องเจ้านาย และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่น้อยทีเดียว เพราะเรียกสมเด็จพระพี่นางว่า “สมเด็จ (เจ้าฟ้า)” เรียกพระราชโอรสในสมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อยว่า “เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์” ไม่มีคำว่า ‘สมเด็จ’ เนื่องจากเป็นเจ้าฟ้าอย่างที่เรียกกันว่า เจ้าฟ้าชั้นที่ ๓

    ชั้นที่ ๑. สมเด็จเจ้าฟ้า ชั้นทูลกระหม่อมหรือทูนกระหม่อม
    ชั้นที่ ๒. สมเด็จเจ้าฟ้า ชั้นสมเด็จ
    ชั้นที่ ๓. เจ้าฟ้า (หลานเธอ)

    ขอตอบคำถามด้วยการเล่าอย่างไม่เป็นทางการนัก ตามลักษณะเฉพาะของ ‘เวียงวัง’

    เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงประดิษฐานพระบรมราชวงศ์จักรี มีจดหมายเหตุ หรือพระราชพงศาวดารจดไว้หลายฉบับ แต่ที่ชอบที่สุดนั้น เป็นฉบับโรงเรียนสวนกุหลาบ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเลือกคัด เพื่อใช้เป็นตำราเรียนในโรงเรียนหลวงสวนกุหลาบ เมื่อจัดตั้งโรงเรียนหลวงสวนกุหลาบสังกัดกรมทหารมหาดเล็กที่สมเด็จฯ พระองค์นั้นทรงเป็นผู้บังคับการกรมอยู่ พระราชพงศาวดารฉบับโงเรียนสวนกุหลาบนี้ ว่า สมเด็จฯ ทรงคัดมาจากหนังสือสมุดไทย ของเจ้าพระยาทิพากรวงค์นั่นเอง

    ในพระราชพงศาวดารจดไว้ว่า

    “ครั้นเสร็จการปราบดาภิเษกแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสให้ สมเด็จพระอนุชาธิราช เสด็จเถลิงพระราชมณเฑียรดำรงที่มหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสฐานมงคล ว่าราชการพระนครกึ่งหนึ่งโดยดังโบราณจารีตราชประเพณี มหากษัตริยธิราชเจ้าแผ่นดิน แต่ก่อนมา...ฯลฯ...จึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดตั้ง พระองค์ใหญ่ตำหนักเขียว เปนสมเด็จพระพี่นางเธอ กรมพระยาเทพยสุดาวดี เจ้ากรมตั้งเป็นพระยา...ฯลฯ...ฯลฯ...”

    แล้วตั้งพระเชฐภคินีพระองค์น้อยตำหนักแดงเปน สมเด็จพระพี่นางเธอ กรมพระศรีสุดารักษ์...ฯลฯ...”

    พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระราชนิพนธ์ มีพระราชวิจารณ์ว่า เพราะเจ้ากรมของสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ เป็นพระยา ศักดินาสูงกว่าเจ้ากรมของสมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อย สมัยก่อนนั้นไม่นิยม (หรือบังอาจ) ออกพระนามเจ้านาม จึงใช้ออกชื่อเจ้ากรมแทน เป็น สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้า กรมพระยาเทพสุดาวดี และ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์

    ส่วนที่ถามว่า ออกพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ หรือ สมเด็จพระพี่นางเธอ นั้น ในจดหมายเหตุหรือพระราชพงศาวดาร ไม่เป็นที่แน่นอน บางแห่งก็ว่า “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ” บางแห่งก็ว่า “สมเด็จพระพี่นางเธอ” แต่ โดยพระเกียรติยส น่าจะเป็น “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ” มากกว่า เพราะแม้เจ้าฟ้า พระเจ้าลูกยาเธอและลูกเธอ ยังเป็น “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ (ลูกเธอ) เจ้าฟ้า” สมเด็จพระโสทรเชษฐภคินี เมื่อแรกประดิษฐานพระบรมราชวงศ์ พระเกียรติยศน่าจะยิ่งกว่า

    แต่ถ้าออกพระนามอย่างไม่เป็นทางการ โดยคล่องปาก ก็คงจะออกพระนามแต่เพียงว่า “สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ และ สมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อย”

    ในพระราชพงศาวดาร เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ท่านคงจะออกพระนามตามคนเก่าคนแก่สมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เป็นชาววังว่า “พระองค์ใหญ่ตำหนักเขียว” และ “พระองค์เล็กตำหนักแดง” จึงได้ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารฉบับของท่าน

    ในจดหมายเหตุความทรงจำ กรมหลวงนรินทรเทวี ปรากฏว่าทรงเรียก สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ว่า “สมเด็จตรัสสา เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี” และ “สมเด็จตรัสสา เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์”

    เรื่องที่เรียกกันว่า “พระองค์ใหญ่ตำหนักเขียว” และ “พระองค์น้อยตำหนักแดง” นั้น ปรากฏในพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ เรื่อง “ประถมวงศ์” ทรงพระราชาธิบายว่า

    “เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ได้เสดจเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว กรมสมเดจพระเทพสุดาวดี กรมสมเดจพระศรีสุดารักษ์ ทั้งสองพระองค์ ก็ได้ตามเสดจเข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวังก่อน กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี มีพระตำหนักอยู่ข้างหลังพระมหามณเฑียรเรียกว่า พระตำหนักใหญ่ (ทาสีเขียว ชาววังจึงเรียกว่าตำหนักใหญ่บ้าง ตำหนักเขียวบ้าง-จุลลดาฯ) ได้ว่าราชการทั่วไปแทบทุกอย่าง แลว่าการวิเสศ ในพระคลังเงินทองสิ่งของต่างๆ ในพระราชวังชั้นในทั้งสิ้น

    กรมสมเดจพระศรีสุดารักษ์นั้น มีพระตำหนักอยู่เบื้องหลังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แลพระวิมานรักษาเรียกว่า ตำหนักแดง ได้ทรงทำราชการทรงกำกับเครื่องใหญ่ในโรงวิเสศต้น แลการสดึงแลอื่นๆ เปนหลายอย่าง กรมสมเดจพระเทพสุดาวดี แลกรมสมเดจพระศรีสุดารักษ์ทั้งสองพระองค์นั้น ได้เสดจดำรงทรงพระชนม์อยู่มานาน ในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ถึง ๑๕ ปี...”

    เล่าถึง สมเด็จพระพี่นางเธอพระองค์ใหญ่ ก่อน

    พระภัสดา สมเด็จพระพี่นางเธอพระองค์ใหญ่ นามเดิมว่า “หม่อมเสม” รับราชการเป็นพี่พระอินทรรักษา เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ซ้ายฝ่ายพระราชวังบวร ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) รัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ

    พระอินทรรักษา (เสม) เป็นบุตรชายใหญ่ของพระยากลาโหมราชเสนา อธิบดีกรมกลาโหมฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล

    พระอินทรรักษา คงจะเสียชีวิตเสียก่อนในปลายสมัยอยุธยา จึงปรากฏแต่ว่า องค์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ได้ทรงพาพระโอรสธิดาออกจากที่ซ่อนในกรุงเก่าหนีพม่าลงมายังกรุงธนบุรี และเพราะท่านทรงคุ้นเคยกับพระเจ้าตากสินมหาราชมาก่อนจึงนำพระธิดา ถวายตัวทำราชการฝ่ายในในวังหลวงกรุงธนบุรี ส่วนพระโอรส ๓ พระองค์ก็ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวงใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

    พระโอรสทั้ง ๓ และพระธิดา ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ เมื่อประดิษฐานพระบรมราชวงศ์ คือ

    ๑. เจ้าฟ้าทองอิน
    ๒. เจ้าฟ้าบุญเมือง
    ๓. เจ้าฟ้าทองจีน
    และ ๔. พระธิดา-เจ้าฟ้าทองคำ

    ๑. เจ้าฟ้าทองอิน ประสูติสมัยกรุงเก่า พ.ศ.๒๒๘๙ ในรัชสมัย พระเจ้าบรมโกศ ทรงผนวชและจำพรรษาในสำนักพระอาจารย์ทอง เจ้าอาวาสวัดท่าหอย ปากคลองตะเคียนริมคลองคูจาม

    รัชสมัยกรุงธนบุรี ได้เป็น พระยาสุริยอภัย ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ ได้รับเครื่องประกอบอิสริยยศ เสมอเจ้าพระยา

    ถึงรัชสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดฯสถาปนาเป็ฯ พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ โดยเหตุที่ทรงเป็นนักรบเข้มแข็ง เป็นที่โปรดปรานใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และ สมเด็จฯกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (ซึ่งจดหมายเหตุออกพระนามคู่กันเสมอว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สองพระองค์)

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา ขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) เป็นพระองค์เดียวในกรุงรัตนโกสินทร์

    ๒. เจ้าฟ้าบุญเมือง ประสูติ พ.ศ.๒๒๙๖ สมัยกรุงเก่า เข้ารับราชการในสมัยกรุงธนบุรี เป็นที่นายจ่าเรศ แล้วโปรดฯ เลื่อนเป็นพระอภัยสุริยา (คล้ายกับบรรดาศักดิ์พระยาสุริยอภัย ของพี่ชาย) ปลัดเมืองนครราชสีมา

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดฯสถาปนา เป็น พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศร์บดินทร์ ว่ากันว่าทรงเป็นหมัน จึงไม่มีเชื้อสายสืบราชสกุล

    ๓. เจ้าฟ้าทองจีน ประสูติ พ.ศ.๒๓๐๐ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระชันษาเพียง ๑๐ ขวบ ในรัชสมัยกรุงธนบุรี เป็นมหาดเล็กหลวง โปรดฯ เลื่อนเป็นที่หลวงฤทธิ์นายเวร ปลายรัชสมัยกรุงธนบุรีนั้น แล้วโปรดฯให้เป็นอุปทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับจีนในแผ่นดินพระเจ้าเฉียนหลง โดยมีพระยามหานุภาพเป็นราชทูต หัวหน้าคณะ

    เมื่อกลับมาก็พอดีผลัดแผ่นดินขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ เป็นต้นราชสกุล ‘นรินทรางกูร ณ อยุธยา’

    คนทั้งหลายมักออกพระนามว่า ‘เจ้าปักกิ่ง’ เพราะเหตุที่กลับมาจากกรุงปักกิ่ง

    ส่วนเจ้าฟ้าทองคำ นั้นสิ้นพระชนม์เสียแต่เมื่อต้นรัชกาลที่ ๑


    สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์

    ฉบับที่ ๒๔๕๒ เรื่องพระราชวังดุสิต ในตอนท้ายพลั้งมือเขียนลงไปว่า เจ้าจอมมารดาเอิบ เป็นท่านเดียวของ ‘ก๊กอ.’ ที่มีพระเจ้าลูกเธอ

    ที่จริงตั้งใจจะเขียนว่า ‘เจ้าจอมมารดาอ่อน’ ผู้ซึ่งเป็นพี่สาวคนใหญ่ (เป็นท่านเดียวที่มีพระเจ้าลูกเธอ ท่านจึงเป็น ‘เจ้าจอมมารดา’)

    ผู้อ่านหลายท่านทักท้วงเรื่องนี้มาจากหลายทาง ขอขอบพระคุณทุกท่าน ที่ได้กรุณาแสดงความสนใจอย่างยิ่งต่อบทความนี้ หากมีที่พลาดพลั้งอีกก็หวังว่าจะกรุณาทักท้วงมาอีก

    เล่าต่อถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์น้อยในรัชกาลที่ ๑

    ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระสรีสุดารักษ์ได้เสกสมรสกับเจ้าขรัวเงิน (สันนิษฐานกันว่า คำว่า ‘เจ้าขรัว’ นั้น ใช้สำหรับคหบดีเชื้อสายจีนผู้มั่งคั่ง และมีคนเคารพนับถือ สันนิษฐานอีกเช่นกันว่า คำนี้อาจเลือนๆ กลายเป็น ‘เจ้าสัว’ หรือ ‘เจ๊สัว’ ก็เป็นได้)

    เจ้าขรัวเงิน เป็นบุตรคนที่ ๔ ของมหาเศรษฐี ซึ่งสืบเชื้อวงศ์ลงมาแต่มหาเสนาบดีเมืองปักกิ่ง ซึ่งหนีมาอยู่เมืองไทย แต่ครั้งราชวงศ์หมิงเสียแก่แมนจู เพราะไม่ยอมตัดมวยไว้หางเปียตามพวกแมนจู มารดาของเจ้าขรัวเงิน เป็นน้องร่วมบิดามารดากับภรรยาของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)

    เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) นั้น ท่านเป็นลูกพี่ลูกน้อง กับ กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ (หม่อมมุก) พระภัสดา กรมหลวงนรินทรเทวี (พระองค์เจ้ากุ พระเจ้าน้องนางเธอ ในรัชกาลที่ ๑) แล้วยังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) ผู้เป็นบิดาของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ด้วย ท่านเหล่านี้ จึงเกี่ยวดองกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์

    พระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ มีปรากฏพระนามอยู่ ๕ พระองค์ สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์พระองค์หนึ่ง

    ๑. เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ (ในรัชกาลที่ ๑ สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ถึงรัชกาลที่ ๔ โปรดฯให้ใช้ว่า “พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์)

    ฯเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์มีพระชันษาน้อยกว่า กรมพระราชวังหลัง (พระโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์ใหญ่ ๓ พรรษา) ในแผ่นดินธนบุรี ไม่ปรากฏว่ารับราชการตำแหน่งใด ดังพระโอรสสามพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่

    ฯเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ไม่สู้จะเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า) เท่าใดนัก ตามพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ ประจักษ์ชัด ว่า ‘วังหน้า’ โปรดปรานกรมพระราชวังหลังมากกว่า

    ทั้งนี้หากพูดกันอย่างทั่วๆ ไป ก็ต้องว่า คงเป็นเพราะกรมพระราชวังหลังท่านเป็นนักรบ รบเก่ง มาแต่ในรัชสมัยกรุงธนบุรี จนได้เป็นพระยาสุริยอภัย ส่วนฯเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ท่านไม่ใช่นักรบ ไม่ปรากฏว่ารับราชการใดๆ ในแผ่นดินธนบุรีดังกล่าว

    มีคำกล่าวถึงรัชสมัย ๔ แผ่นดิน ต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ในรัชกาลที่ ๑ นั้นใครเป็นนักรบเป็นคนโปรด รัชกาลที่ ๒ ใครเป็นกวีเป็นคนโปรดรัชกาลที่ ๓ ใครสร้างวัดเป็นคนโปรด และรัชกาลที่ ๔ ใครพูดฝรั่งรู้วิชาการฝรั่งเป็นคนโปรด

    ในรัชกาลที่ ๑ นั้น ผู้คนในแผ่นดิน ตลอดจนพระราชพงศาวดาร และจดหมายเหตุ เมื่อเอ่ยถึงพระเจ้าอยู่หัวจะใช้ว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์” เสมอ

    ครั้งหนึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เป็นแม่ทัพถือพลทหารห้าพันยกกองทัพเรือไปตีเมืองไซ่ง่อนคืนให้แก่องเชียงสือ (เจ้าญวนซึ่งหนีกบฎเข้ามาพึ่งพระบารมีในรัชกาลที่ ๑) พร้อมทั้งกองทัพไทยยกไปทางเขมร รวมกับกองทัพเขมรซึ่งเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ผู้สำเร็จราชการไทยกำกับดูแลเจ้านายเขมรอยู่ในขณะนั้น) เกณฑ์ให้ยกขนาบไปอีกทางหนึ่ง

    ปรากฏว่าทัพเรือของฯกรมหลวงเทพหริรักษ์ เสียทีแก่ข้าศึกถูกตีแตก ต้องถอยหนีเข้าไปพักพลอยู่ในกรุงกัมพูชา

    เมื่อกลับถึงพระนคร พระราชพงศาวดารจดไว้ว่า

    “ครั้นมาถึง ณ วันศุกร เดือนสาม แรมสิบค่ำ หนังสือบอกราชการทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ เข้ามาถึงพระนคร สมุหนายก นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทรงพระพิโรธ ดำรัสให้มีตราหากอบทัพกลับเข้ามาพระนคร แล้วลงพระราชอาญาจำสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ แลข้าราชการผู้ใหญ่ ซึ่งเสียทัพกับทั้งเรือรบเรือลำเลียง เครื่องสาตราอาวุธปืนใหญ่น้อยทั้งสิ้นแก่ข้าศึกนั้น

    ครั้นนานมาสมเด็จพระเจ้าพี่นางทั้งสองพระองค์ กราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ จึงทรงพระกรุณาโปรดฯในกรมหลวงเทพหริรักษ์ กับทั้งท้าวพระยาข้าราชการ ซึ่งรับพระราชอาญาอยู่ในเวนจำนั้น ให้พ้นโทษด้วยกันทั้งสิ้น”

    เมื่อต้น พ.ศ.๒๓๔๖ ศึกพม่าครั้งที่ ๔ พม่าจะยกมาตีเชียงใหม่ ซึ่งเวลานั้นพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าครองนคร เป็นประเทศราชขึ้นแก่กรุงรัตนโกสินทร์

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงโปรดฯให้ ฯกรมหลวงเทพหริรักษ์ และเจ้าพระยายมราชยกทัพขึ้นไปทัพหนึ่ง เจ้าอนุคุมทัพลาวเวียงจันทน์ทัพหนึ่ง ยกไปรักษาเมืองเชียงใหม่ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทก็เสด็จยกทัพตามขึ้นไปด้วย

    กองทัพพม่าเข้าล้อมเมืองเชียงใหม่ ขณะที่กองทัพของ ฯกรมหลวงเทพหริรักษ์ เจ้าพระยายมราช เข้าตีลำพูนที่พม่ารักษาเมืองอยู่แตก และยับยั้งทัพอยู่ที่ลำพูน

    ฝ่ายกรมพระราชวังมหาสุรสิงหนาท เมื่อยกทัพวังหน้าตามไปนั้น ไปทรงพระประชวรที่เมืองเถิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงโปรดฯให้กรมพระราชวังหลัง ยกทัพตามขึ้นไปยังเมืองเถิน

    “กรมพระราชวังหลังเห็นเสด็จยกขึ้นไปถึงเมืองเถิน เห็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงพระประชวนพระอาการมาก พระองค์ซูบผอมอยู่แล้วลงบันทมอยู่ในพระสาคร กรมพระราชวังหลังก็ทรงพระกันแสง

    แลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรฯ ตรัศกับการพระราชวังหลังว่า จะขึ้นไปช่วยเมืองเชียงใหม่นั้น เห็นจะไม่ได้แล้ว ให้กรมพระราชวังหลัง เสด็จขึ้นไปแทนพระองค์เถิด จึ่งพระราชทานพระแสงดาบให้กรมพระราชวังหลังขึ้นไปด้วยพระองค์หนึ่ง แล้วให้มหาดไทร่างตราใจความนั้นว่า ให้กรมพระราชวังหลังเสด็จขึ้นไปแทนพระองค์ ถ้ากรมพระราชวังหลังเสด็จขึ้นไปถึงกองทัพกรุง (กองทัพหลวง-จุลลดาฯ) แล้วให้เร่งรดมเข้าตีพม่าเอาเมืองเชียงใหม่คืนให้จงได้ อย่าให้คิดว่าพี่น้องเอาแต่การแผ่นดินตามอาญาทัพศึก

    เมื่อกรมพระราชวังหลังจะทูลลากรมพระราชวังบวรฯ ออกจากเมืองเถินนั้น เห็นพระองค์ทรงพระประชวนมากอยู่ ก็ทรงพระกันแสงมิใคร่จะเสด็จไป จึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ ตรัศกับกรมพระราชวังหลังว่า เจ็บไข้ยังไม่เป็นไรดอก จะเอาชีวิตรไว้ถ้าให้ได้ เร่งขึ้นไปเถิด”

    (พระราชพงศาวดาร ร.๑ ฉบับ ร.ร. สวนกุหลาบ)

    รับสั่งว่าจะทรงคอยท่า ก็ทรงคอยอยู่จนกระทั่ง กรมพระราชวังหลังทรงได้ชัยชนะกลับมา

    ในพระราชพงศาวดารจดเรื่องราวเอาไว้ตั้งแต่กองทัพวังหน้าซึ่งกรมพระราชวังหลังเป็นแม่
    ทัพยกไปเอาไว้ว่า

    “ฝ่ายกองทัพพระเจ้าหลานเธอ กรมหลวงเทพหริรักษ์ แลกองทัพกรมขุนสุนทรภูเบศร์ (กรมขุนสุนทรภูเบศร์ เดิมชื่อจีนเรือง เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับกรมพระวังบวรมหาสุรสิงหนาท เมื่อสถาปนาพระบรมวงศ์ จึงโปรดฯให้เป็นเจ้าทรงกรมโดยเฉพาะองค์เดียว ลูกหลานมิได้เป็นเจ้าด้วย-จุลลดาฯ) ก็เร่งยกทัพออกจากเมืองลำพูนไปช่วยเมืองเชียงใหม่ ตั้งค่ายล้อมพม่าไว้ แลกรมพระราชวังหลัง ทูลลาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรฯ จากเมืองเถิน แล้วรีบขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ ไปทางริมแม่น้ำ ไปถึงกองทัพที่ตั้งอยู่เมืองเชียงใหม่ กรมพระราชวังหลังจึ่งให้หานายทัพนายกองมาพร้อมกัน แล้วเชิญท้องตรารับสั่งอ่านให้ฟัง แล้วกรมพระราชวังหลังจึ่งมีพระราชบัญชา สั่งให้นายทัพนายกองให้ตีพม่าให้แตกในเวลาพรุ่งนี้ ไปกินเข้าเช้าในเชียงใหม่ให้จงได้ ถ้าผู้ใดย่อท้อก็จะทำโทษตามอัยการศึก

    นายทัพนายกองพร้อมกันทั้งทัพกรมพระราชวังหลัง แลทัพในพระราชวังน่า แลทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ ยกรดมคนเข้าตีค่ายพม่า ซึ่งล้อมเมืองเชียงใหม่ แต่เวลาสามยาม...ฯลฯ...”

    กรมพระราชวังหลังนั้น ท่านเคยเป็น ‘ยอดทหาร’ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาแล้ว ในการตีค่ายพม่าครั้งนี้เห็นได้ว่าทรงใช้วิธีการของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งตีค่ายเมืองจันทบุรีนั่นเอง

    ปรากฏว่ากองทัพไทย ปีนค่ายพม่าได้ทุกค่าย พม่าแตกหนีไปแต่ไม่มีผู้ใดติดตามจับพม่า อินแซหวุ่นแม่ทัพใหญ่หนีไปได้ แล้วพระยาเชียงใหม่ จัดพวกลาวในเมืองเชียงใหม่พันเสศ ให้ตามพม่าติดไปทีเดียว สั่งพวกลาวว่าถ้าพบพม่าแล้วอย่าให้จับเป็น พวกลาวเห็นพม่าก็จับฆ่าเสียสิ้น”

    (พระราชพงศาวดาร ร.๑ ฯ)

    กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท นั้น เมื่อพระโรคค่อยคลายก็เสด็จกลับพระนครพร้อมกับกรมพระราชวังหลัง

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จทรงเยี่ยมพระประชวน และทรงถามข้อราชการ กรมพระราชวังบวรฯ ก็กราบทูลกล่าวโทษฯกรมหลวงเทพหริรักษ์ กับเจ้าพระยายมราชว่าไปถึงเมืองลื้อแล้วถอยทัพลงมาตั้งอยู่ใต้ทางเมืองลื้อ

    “ต่อทัพวังน่า ขึ้นไปถึงเมืองลำพูนแล้ว จึ่งได้ยกขึ้นไป แลกองทัพซึ่งยกไปตีพม่าที่ล้อมเมืองเชียงใหม่นั้น พวกกองทัพวังน่าตีได้ก่อน ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์แลทัพเมืองเวียงจันทน์นั้นก็มาไม่ทัน (พระองค์) จึงปรับโทษกรมหลวงเทพหริรักษ์ เจ้าพระยายมราชให้ไปตีเมืองเชียงแสนกับด้วยเจ้าอนุ” (พระราชพงศาวดาร ร.๑ ฯ)

    “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงตรัสว่า กรมพระราชวังหลังตีพม่าแตกไปแล้ว ทำไมจึ่งไม่รีบยกติดตามไปกระทำมันเสียให้ยับเยิน กรมพระราชวังบวรฯ จึ่งกราบทูลแก้ไขว่า กรมพระราชวังหลังเห็นว่าข้าพระพุทธเจ้าป่วยมากอยู่ ภอตีทัพแตกก็รีบกลับลงมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึ่งหายขัดเคืองกรมพระราชวังหลัง”

    (พระราชพงศาวดาร ร.๑ ฯ)

    ทั้งสามพระองค์ สวรรคต ทิวงคต และสิ้นพระชนม์ ในเวลาไล่เลี่ยกัน

    สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๔๖

    พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๓๔๘

    กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๔๙
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา ราชวงศ์ต่าง ๆ ของสยามประเทศ, โดย ท่านถุงไฟ
    http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?showtopic=1367

    ราชวงศ์สุโขทัย เป็นราชวงศ์กษัตริย์ในกรุงศรีอยุธยา ที่สืบเชื้อสายจากกษัตริย์สุโขทัย ประกอบด้วย

    ๑. สมเด็จพระมหาธรรมราชา หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ ทรงปรับปรุงพระนครเพื่อรับมือข้าศึก เสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ เสด็จสวรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๓ ครองราชย์ทั้งสิ้น ๒๑ ปี

    ๒. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ ทรงประกาศอิสรภาพจากการเป็นประเทศราชของพม่า ทรงทำสงครามเพื่อกอบกู้เอกราช ทรงปรับปรุงการปกครองเพื่อดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมากขึ้นเพื่อความมั่นคงของราชอาณ
    าจักร เสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๓ เสด็จสวรคตเมือ พ.ศ. ๒๑๔๘ ครองราชย์ทั้งสิ้น ๑๕ ปี

    ๓. สมเด็จพระเอกาทศรถ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๓ ทรงประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับการเรียกเก็บภาษีอากรรูปเเบบใหม่เพิ่มขึ้น เสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๘ เสด็จสวรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๓ ครองราชย์ทั้งสิ้น ๑๕ ปี

    ๔. สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๔ เสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๓ เสด็จสวรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๓ ครองราชย์ไม่ถึงปี

    ๕. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ ทรงประกาศใช้กฎหมายการศาล เสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๓ เสด็จสวรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๑ ครองราชย์ทั้งสิ้น ๘ ปี

    ๖. สมเด็จพระเชษฐาธิราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับญี่ปุ่นในปี พ.ศ. ๒๑๗๓ เสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๑ เสด็จสวรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๓ ครองราชย์ทั้งสิ้น ๒ ปี

    ๗. สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๓ เสด็จสวรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๑๘๐ ครองราชย์ทั้งสิ้น ๖ ปี
    <!--IBF.ATTACHMENT_13585-->

    --------------------


    ราชวงศ์สุพรรณภูมิ เป็นราชวงศ์ที่สองที่ได้ครองกรุงศรีอยุธยา กษัตริย์แห่งราชวงศ์นี้เชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากผู้ปกครองเมืองสุพรรณบุรี ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ ๑๑ พระองค์

    ๑. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ - มีพระนามเดิมว่า พะงั่ว ทรงเป็นผู้ร่วมสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระองค์ได้ครองเมืองสุพรรณบุรี เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เสด็จสวรรคต ได้นำกำลังจากเมืองสุพรรณบุรีมาประชิดกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระราเมศวรได้อัญเชิญพระองค์เข้าเมืองแล้วถวายพระราชสมบัติให้ พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๓ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๑

    ๒. พระเจ้าทองลัน - ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๓ แต่ครองราชสมบัติได้เจ็ดวัน สมเด็จพระราเมศวรก็ได้นำกำลังจากเมืองลพบุรีเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาแล้วกุมตัวพระเจ้าท
    องลันไปสำเร็จโทษ

    ๓. สมเด็จพระอินทราชาที่ ๑ - ทรงเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ มีพระนามเดิมว่า นครอินทร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๒ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๒ จากการร่วมกับออกญามหาเสนา นำกำลังเข้ายึดอำนาจ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๗

    ๔. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ - ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระอินทราชาที่ ๑ มีพระนามเดิมว่า สามพระยา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๗ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๑

    ๕. สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตร - ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๑ เสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกเมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๖ กระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๑

    ๕. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ - ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตร มีพระนามเดิมว่า อินทราชา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๑ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๔

    ๕. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ - ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตร และเป็นพระอนุชาต่างมารดาของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ มีพระนามเดิมว่า เชษฐาธิราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๕ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระเชษฐาเมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๔ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒

    ๖. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ - ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ มีพระนามเดิมว่า อาทิตยวงศ์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒ เสด็จสวรรคตด้วยไข้ทรพิษเมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๖

    ๗. สมเด็จพระรัฏฐาธิราช - ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๖ ในปีถัดมาสมเด็จพระเจ้าไชยราชาธิราชได้นำกำลังเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาแล้วกุมตัวสมเด็จ
    พระรัฏฐาธิราชไปสำเร็จโทษ

    ๘. สมเด็จพระไชยราชาธิราช - ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติจากการนำกำลังเข้ายึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๗๖ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๙ ด้วยสาเหตุไม่ชัดเจน

    ๙. พระยอดฟ้า - ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๙ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๘๙ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ ด้วยสาเหตุไม่ชัดเจน

    ๑๐. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ - ไม่มีพงศาวดารฉบับใดระบุว่า พระองค์เป็นพระราชโอรสของกษัตริย์พระองค์ใด แต่สันนิษฐานว่าเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ทรงเสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๕ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ จากการที่ขุนนางกลุ่มหนึ่ง นำโดยขุนพิเรนทรเทพ ได้นำกำลังเข้ายึดอำนาจจากขุนวรวงศาธิราช แล้วถวายพระราชสมบัติให้แก่พระองค์ ถึงปี พ.ศ.๒๑๐๗ ได้ทรงสละราชสมบัติให้กับสมเด็จพระมหินทราธิราช ซึ่งเป็นพระราชโอรส แล้วเสด็จลาผนวช กระทั่งในปี พ.ศ.๒๑๑๑ พม่าได้ยกกำลังเข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหินทราธิราชจึงได้อัญเชิญให้พระองค์ลาผนวชแล้วถวายราชสมบัติคืน จึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นครั้งที่ ๒ แต่ทรงครองราชสมบัติได้อีกประมาณ ๒ เดือน ก็เสด็จสวรรคตเพราะอาการประชวร

    ๑๑. สมเด็จพระมหินทราธิราช - ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.๒๐๘๒ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๗ กระทั่งปี พ.ศ.๒๑๑๑ได้ถวายพระราชสมบัติคืนให้แก่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ แต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ได้เสด็จสวรรคตในปีเดียวกันนั้น พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นครั้งที่ ๒ และในปีนั้นกรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่ฝ่ายพม่า พระองค์ได้ถูกกุมตัวไปยังเมืองหงสาวดี แต่ได้เสด็จสวรรคตระหว่างการเดินทาง


    <!--IBF.ATTACHMENT_13586-->

    --------------------
    ราชวงศ์อู่ทอง เป็นชื่อสมมุติที่นักประวัติศาสตร์ ใช้เรียกราชวงศ์แรกที่ปกครองกรุงศรีอยุธยา เพื่อความสะดวกในการศึกษาประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา โดยกำหนดเอาพระนามตามตำนานของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ที่ทรงพระนามว่า "ท้าวอู่ทอง" มาเป็นชื่อราชวงศ์

    จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทตำนานและพงศาวดาร ทำให้เชื่อได้ว่า "ราชวงศ์อู่ทอง" เป็นความสัมพันธ์กันทางเครือญาติระหว่างเมืองลพบุรีกับเมืองสุพรรณบุรี แต่อย่างไรก็ตามความเป็นมาของราชวงศ์นี้ยังคงคลุมเครืออยู่ พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง มี ๓ พระองค์ ได้แก่

    ๑. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ - ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.๑๘๕๗ ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๒ พระชนมายุ ๕๕ พรรษา ในปัจจุบันนิยมเรียกขานพระองค์ในอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าอู่ทอง

    ๒. สมเด็จพระราเมศวร - ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกสืบต่อจากสมเด็จพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๒ แต่ได้สละพระราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ซึ่งเป็นพระปิตุลาของพระองค์ ที่เสด็จมาจากเมืองสุพรรณบุรี และตั้งราชวงศ์สุพรรณภูมิปกครองกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระองค์นั้นได้ไปครองเมืองลพบุรี เมื่อสมเด็จพระบรมราชธิราชที่ ๑ เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์ของ พระเจ้าทองจัน (บางฉบับเขียน ทองลัน) ได้สืบราชสมบัติต่อ แต่ด้วยยังทรงพระเยาว์อยู่ จึงถูกสมเด็จพระราเมศวรปลงพระชนม์ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๑๙๓๑ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๑๙๓๘

    ๓. สมเด็จพระรามราชาธิราช - ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวร เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๙ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๘ ถึงปี พ.ศ.๑๙๕๒ ต่อมาทรงมีปัญหากับขุนนางหลายคน ออกญามหาเสนจึงอัญเชิญ สมเด็จพระอินทราชาธิราช อันเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณภูมิ ซึ่งขณะนั้นทรงปกครองเมืองสุพรรณบุรีอยู่ ขึ้นครองราชย์แทนสมเด็จพระรามราชาธิราช แล้วให้สมเด็จพระรามราชาธิราชไปครองเมืองปทาคูจาม

    สำหรับราชวงศ์อู่ทองนี้ มีการตีความเชื่อมโยงกับตำนานของทางภาคเหนือหลายฉบับ เช่น ตำนานโยนกเชียงแสน สิงหนวัติกุมาร จุลยุทธกาลวงศ์ ซึ่ง ประมวลความตามตำนานได้ว่า พระราชวงศ์เชื้อสายจากพระเจ้าสิงหนวัติ และพระเจ้าพรหม ซึ่งครองอยู่เมืองเชียงราย ได้หนีภัยสงครามมาตั้งเมืองใหม่ในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเมืองว่า "เมืองไตรตรึงษ์" ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นต้นเรื่องของตำนาน ท้าวแสนปม ผู้เป็นราชบุตรเขยของราชาแห่งเมืองไตรตรึงษ์ ท้าวแสนปมทรงสร้างเมือง "เทพนคร" ขึ้นใกล้ๆ กับเมืองไตรตรึงษ์ และทรงเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาพระเจ้าอู่ทองจึงย้ายเมืองมาสร้างเมืองอยุธยา จากความเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้นักประวัติศาสตร์บางท่าน สมมุติชื่อราชวงศ์นี้ว่า "ราชวงศ์เชียงราย" ด้วยเช่นกัน


    <!--IBF.ATTACHMENT_13587-->

    --------------------

    ราชวงศ์ปราสาททอง เป็นราชวงศ์ที่ ๕ ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา ๕๘ ปี (พ.ศ. ๒๑๗๒ - พ.ศ. ๒๒๓๑) สถาปนาราชวงศ์โดยสมเด็จเจ้าฟ้าปราสาททองด้วยการยึดอำนาจจากสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ กษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยพระองค์สุดท้าย ราชวงศ์ปราสาททองมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ ๔ พระองค์เป็นลำดับดังนี้

    ๑. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ผู้สถาปนาราชวงศ์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๓๐ พรรษา ครองราชย์เป็นเวลา ๒๗ ปี (พ.ศ.๒๑๗๒-๒๑๙๙)

    ๒. สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๑๙๙) พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์ได้เพียง ๒ วัน (๗-๘ สิงหาคม) ก็ถูกพระนารายณ์ (พระอนุชา) ร่วมกับพระศรีสุธรรรมราชา ทำการยึดอำนาจและประหารชีวิต

    ๓. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๑๙๙)พระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นพระเจ้าอาของเจ้าฟ้าไชย อยู่ในราชสมบัติได้เพียง ๒เดือน ๑๘ วัน พระนารายณ์ก็ชิงราชสมบัติและสำเร็จโทษพระศรีสุธรรมราชา

    ๔. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๒๓๑)พระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง เมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระนารายณ์ทรงร่วมกับ พระเจ้าอา(พระศรีสุธรรมราชา) ชิงราชสมบัติจากพระเชษฐา(เจ้าฟ้าไชย)และต่อมาทรงยึดอำนาจจาก พระศรีสุธรรมราชา แล้วจึงสถาปนาพระองค์ "ปราบดาภิเษก"เป็นพระมหากษัตริย์

    สมัยของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ถือได้ว่ากรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองถึงขีดสุด ทรงติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศ แต่ผลของการดำเนินนโยบายที่ล่อแหลมของพระองค์และการที่ทรงสนพระทัยในคริสต์ศาสนา ทำให้บรรดาขุนนางไทยและพระสงฆ์เกิดความรู้สึกต่อต้านชาวต่างชาติ เมื่อพระองค์ทรงประชวร ได้ทรงแต่งตั้งให้พระเพทราชารักษาราชการ โดยยังไม่ได้มอบราชสมบัติให้ผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นพระอนุชา โอรสบุญธรรมหรือพระธิดาของพระองค์ พระเพทราชาจึงยึดอำนาจ พระปีย์(โอรสบุญธรรม)ถูกลอบสังหาร

    สมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคตเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑ พระเพทราชาก็ขึ้นครองราชสมบัติและสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงสืบต่อมา พระอนุชาของพระนารายณ์คือ เจ้าฟ้าอภัยเทศและเจ้าฟ้าน้อยถูกสำเร็จโทษจึงเป็นอันสิ้นสุดของราชวงศ์ปราสาททอง

    กบฏมักกะสัน คือกลุ่มกบฎมุสลิม ช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณ 300 คน ตั้งบ้านเรือนอยู่ย่านคลองตะเคียน นอกพระนครศรีอยุธยา ได้สมคบกับเจ้านายพื้นเมืองกลุ่มอื่นๆ ก่อความวุ่นวายขึ้น แต่ถูกปราบปรามจนต้องลงเรือหนีล่องตามแม่น้ำผ่านไปทางบางกอก เมื่อถูกสกัดกั้นจากกองทหารยุโรปที่รักษาเมือง พวกทหารพื้นเมืองกับพวกแขกมักกะสันเลยผสมโรงกันก่อความวุ่นวายทั่วเมืองธนบุรี ทั้งๆ ที่มีอาวุธประจำตัวเพียงอย่างเดียวคือกริช แต่กองทหารยุโรปมีปืนทันสมัย ก็ต้องล้มตายมากกว่าจึงปราบลงได้ ถูกบันทึกไว้หนังสือจดหมายเหตุของฟอร์บัง



    <!--IBF.ATTACHMENT_13588-->

    --------------------

    ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นชื่อราชวงศ์ลำดับที่ ๖ แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนการเสียกรุง ใน ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์นี้ทั้งสิ้น ๖ พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ใน ปี พ.ศ. ๒๒๓๑ ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ใน ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ รวมระยะเวลา ๗๙ ปี

    โดยชื่อราชวงศ์บ้านพลูหลวงนี้ มาจากหมู่บ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี อันเป็นถิ่นกำเนิดเดิมของสมเด็จพระเพทราชา โดยลำดับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีดังนี้

    ๑. สมเด็จพระเพทราชา - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๓๑ - พ.ศ. ๒๒๔๖ (๑๕ ปี)

    ๒. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๔๖ - พ.ศ. ๒๒๕๑ (๖ ปี)

    ๓. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๕๑ - พ.ศ. ๒๒๗๕ (๒๕ ปี)

    ๔. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๗๕ - พ.ศ. ๒๓๐๑ (๒๖ ปี)

    ๕. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๐๑ (๒ เดือน)

    ๖. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๐๑ - ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ (๙ ปี)

    ราชวงศ์บ้านพลูหลวงนี้ เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่า อาณาจักรอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ด้วยมีความขัดแย้งตลอดราชวงศ์ ผู้คนแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย เช่น การชิงราชสมบัติเมื่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ระหว่างพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่กินระยะเวลายาวนานถึง ๑ ปี หรือการช่วงชิงราชสมบัติมาจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เมื่อตอนต้นราชวงศ์ด้วย


    <!--IBF.ATTACHMENT_13589-->

    --------------------

    ราชวงศ์พระร่วง เป็นราชวงศ์ในอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งมีสัญลักษณ์แห่งราชวงศ์ คือ พระบรมรูปหล่อจำลองพระร่วง พระลือ ในซุ้มพระร่วงพระลือที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงราชวรวิหาร เมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตามความเชื่อของคนรุ่นเก่าแก่ในจังหวัดสุโขทัย ระบุว่า ที่นี่คือนิวาสถานดั้งเดิมหรือต้นกำเนิดของราชวงศ์โบราณในประวัติศาสตร์แห่งกรุงสุโข
    ทัยในอดีต


    บุคคลตามจารึกในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับราชวงศ์พระร่วง ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัยในพุทธศักราช 1781 ได้แก่

    ปู่ขุนจิต-ขุนจอด (จารึกสาบานพบที่วัดมหาธาตุสุโขทัย ระบุว่าเป็นบรรพบุรุษของราชวงศ์พระร่วง)
    พ่อขุนศรีนาวนำถม (พ่อขุนน้ำท่วม) ณ เมืองเชลียง (ก่อนขยายไปสร้างศรีสัชนาลัย)
    พ่อขุนผาเมือง (โอรสพ่อขุนศรีนาวนำถม)
    นางเสือง

    พระมหากษัตริย์ ในราชวงศ์มี 9 พระองค์ (ช่วงที่แคว้นสุโขทัยเป็นอิสระประมาณ 200 ปี จากพุทธศักราช 1781-1893) คือ

    1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระนามเดิม ขุนบางกลางท่าว / บางกลางหาว
    2. พ่อขุนบาลเมือง
    3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามจารึก (ยกเว้นหลักที่ 1) เรียกท่านว่า "รามราช" อ่าน ราม-ราด หรือ เจ้ารามราช
    4. พญาเลอไท
    5. พญางั่วนำถุม--------- เชื้อสายทางพ่อขุนผาเมือง
    6. พระมหาธรรมราชาที่ 1 ลิไท ช่วงยุคทองของสุโขทัยในด้านพุทธศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
    7. พระมหาธรรมราชาที่ 2 ลือไท
    8. พระมหาธรรมราชาที่ 3 ไสยลือไท (ตกเป็นประเทศราชของอยุธยาในปี พ.ศ. 1921)
    9. พระมหาธรรมราชาที่ 4 บรมปาล (แคว้นสุโขทัยแยกศูนย์กลางเป็น 2 ส่วนคือกำแพงเพชรและสุโขทัย)

    พระราชวงศ์ ที่ปรากฎในยุคนี้

    สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามณีเชื้อสายทางพ่อขุนผาเมืองแห่งเชลียง
    พ่อนมไสดำหรือพนมไสดำ ข้าราชบริพารในสมัยพญาลิไท
    พระราชชนนีพญาลิไทซึ่งสำเร็จราชการแทนพระองค์
    พระมหาเทวีสมัยสุโขทัยตอนปลาย
    พระศรีเทพาหูราชสมัยสุโขทัยตอนปลาย
    พญากำแหงพระราม (พระเชษฐาพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองกำแพงเพชร)

    ราชวงศ์พระร่วงหลังแคว้นสุโขทัยถูกผนวกเข้ากับอยุธยา (เท่าที่มีชื่อในเอกสารทางประวัติศาสตร์)

    พระยายุทธิษฐิระ (พระอนุชาในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
    พระนางเจ้าสาขะ (พระมารดาในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)
    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
    ตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ของกษัตริย์อยุธยาต้องมาจากราชวงศ์พระร่วง
    พระสุริโยทัย
    ออกญาพิษณุโลก (สมเด็จพระมหาธรรมราชาเจ้าฟ้าสองแควพิษณุโลก)
    พระองค์ทอง (พระสุพรรณกัลยา)
    พระองค์ดำ (สมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
    พระองค์ขาว (สมเด็จพระเอกาทศรถ)
    หม่อมเจ้าหญิงในราชวงศ์พระร่วง สมัยพระนารายณ์มหาราช
    เจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    ออกญาโกษาธิบดี (ปาน / เหล็ก)
    <!--IBF.ATTACHMENT_13590-->

    --------------------

    โดย Zhou yU
    ผมขอขยายความนิดนะครับ เนื่องจากต่อเนื่องจากถึงราชวงศ์จักรี<!--sizec--><!--/sizec-->

    หลายท่านคงจำตอนที่พระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงได้ ตอนนั้นมีขุนนางมอญสองท่าน คือ พระยาเกียรติและพระยารามได้กลับมาที่กรุงศรีอยุธยาด้วย พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ถาวร โดยที่พระยารามได้สมรสกับหญิงชาวกรุงศรีฯ และมีบุตรธิดาจนสืบเชี้อสายมาถึงเจ้าแม่วัดดุสิต (ซึ่งผมสันนิษฐานว่าน่าจะสมรสกับเชี้อพระวงศ์ข้างสุโขทัย เนื่องจากพระยารามเป็นบุคคลสำคัญซึ่งทำให้พระนเรศวรทรงรอดพ้นจากการถูกปองร้ายได้ ดังนั้นการแต่งงานกับบุคคลชั้นสูงก็ม่ะช่ายเรื่องแปลก)

    เจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีลูกชายสองท่าน คือ เหล็ก และ ปาน สองท่านนี้ได้เป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดีทั้งคู่ ที่สำคัญ เจ้าพระยาโกษาปาน เป็นบรรพบุรุษของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชด้วยครับ<!--IBF.ATTACHMENT_13602-->

    --------------------
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระคาถาโสฬสมงคล<O:p</O:p
    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    โสฬะสะมังคะลัญเจวะ นะวะโลกุตตะระธัมมะตา จัตตาโรจะมะหาทีปา ปัจจะพุทธามะหามุนี ตรีปิฏะกะธัมมักขันต์ ฉะกามะวะจะราตะถา ปัญจะทะสะภะเวสัจจัง ทะสะมังสีละเมวะจะ เตรัสสะธุตังคาจะ ปาฏิหารัณจะทะวาทัสสะ เอกะเมรู จะ สุราอัฏฐะ ทะเวจันทังสุริยังสัคคา สัตตะโพฌังคาเจวะ จุททัสสะ จักกะวัตติจะ เอกาทะสะวิสะณุราชา สัพเพเทวามังปะลายันตุ สัพพะทา เอเตนะ มังคะละ เตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม ฯ<O:p</O:p
    ( หัวใจพระคาถา โสฬสมงคล
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จากกระทู้(ร่วมทำบุญ"งานบุญคุณแผ่นดิน"และจัดตั้งโรงทานเพื่อทำอาหารเลี้ยงพระสงฆ์จำนวน ๕,๐๐๐ รูป และ ภาพบรรยากาศงาน "บุญคุณแผ่นดิน" 16 ธ.ค. 49 ณ ทุ่งลุมพลี )

    ในงานบุญคุณแผ่นดิน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 นั้น ผมได้รับแจกพระพิมพ์ และได้บูชาผ้ายันต์หลวงพ่อเพชร มา ผมมีความประสงค์จะมอบให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ ดังนี้

    1.พระพิมพ์ พระอาจารย์นพวรรณ อธิษฐานจิตเดี่ยว (มีจำนวน 1 องค์)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 300 บาท

    [​IMG]

    พระอาจารย์นพวรรณ ผู้อธิษฐานจิตพระพิมพ์
    [​IMG]

    2.หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ (มีจำนวน 1 องค์)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท

    [​IMG]

    ผู้อธิษฐานจิต
    [​IMG]

    3.เหรียญ 50 สตางค์ (มีจำนวน 1 เหรียญ)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท

    [​IMG]

    ปู่ฤาษีเกตุแก้ว องค์ขวาสุด ผู้อธิษฐานจิตเหรียญ 50 สตางค์
    [​IMG]


    4.ผ้ายันต์หลวงพ่อเพชร วาจาสิทธิ์ (มีจำนวน 1 ผืน)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 500 บาท

    [​IMG]


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2007
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระพิมพ์และวัตถุมงคลที่ผมได้จากงานบุญคุณแผ่นดิน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 นั้น ผมได้มาอย่างละ 1 องค์เท่านั้น

    สาเหตุที่ผมนำมาให้บูชากัน เนื่องจากว่า ท่านอื่นๆที่ไม่ได้ไปงานบุญคุณแผ่นดิน ซึ่งเป็นการจัดงานระดับชาติ ได้มีวัตถุมงคลในงานไว้สักการะบูชา ผมเองนั้นได้ไปงาน และได้ทำบุญต่างๆ ก็เพียงพอแล้ว จึงไม่ได้เก็บพระพิมพ์และวัตถุมงคลภายในงาน

    ผมเองเสียดายครับ แต่ก็เพื่องานสร้างพระเจดีย์ ผมยอมเสียสละได้ครับ และอีกประการหนึ่งก็คือ ผมเองตายไปก็นำอะไรติดตัวไปไม่ได้สักอย่าง นำไปแต่บุญและกรรมเท่านั้น

    โมทนาสาธุครับ
    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร<O:p</O:p

    จะเป็นภาพถ่ายหรือรูปหล่อของหลวงปู่ท่าน หรือพระพิมพ์ที่หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตไว้ย่อมใช้ได้ทั้งสิ้น หลวงปู่ท่านโปรดผู้ประพฤติอยู่ในศีลธรรม ชอบอาหารมังสะวิรัติ ชอบฟังคำสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ชอบบูชาด้วยดอกมะลิสด น้ำฝน 1 แก้ว เทียนหนักหนึ่งบาท 1 คู่ ธูปหอม 5 ดอก (คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด) ) การปฏิบัติธรรมสังวรณ์ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยศีล 5 เป็นอย่างน้อย ย่อมเป็นสิ่งพึงพอใจของหลวงปู่และทั้งยังให้ความสุชความเจริญทั้งคดีโลกและคดีธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ

    สำหรับพิมพ์อรหันต์ พิมพ์ปิดตา และพิมพ์มหากัจจายนะซึ่งเป็นองค์เดียวกันแต่ปางต่างกันหากจะอาราธนาอย่างพิศดารก็ย่อมกระทำได้ กล่าวคือพิมพ์อรหันต์ใหญ่ พิมพ์อรหันต์กลางและพิมพ์อรหันต์น้อย อยู่ในหมวดพระมหากัจจายนะรูปงามซึ่งเป็นรูปเดิมก่อนการอธิษฐานวรกายให้ต่อท้ายด้วยคาถาดังนี้

    พิมพ์อรหันต์
    อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม
    (เชยยะ อ่านว่า ไชยะ ; รูปะวะระ แปลว่า รูปงาม)
    *** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม ***

    สำหรับสำหรับพิมพ์พระปิดตาซึ่งเป็นปางอธิษฐานวรกายให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วยพระคาถาต่อไปนี้
    พิมพ์พระภควัมปติ(ปิดตา)
    ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    *** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***

    สำหรับพิมพ์พุงพลุ้ยที่นิยมเรียกกันว่า พระสังกัจจายน์ คำนี้ไม่มีศัพท์นี้ในภาษาบาลี ที่ถูกต้องคือ พระมหากัจจายนะ เถระเจ้าอัน
    เป็นปางหลังจากที่นิมิตวรกายแล้ว ให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วย พระคาถาต่อไปนี้
    อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    ***โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***
    จะเห็นว่าตัดเอาคำว่า รูปะวะระออกไปเพราะสิ้นความงดงามแล้ว

    พระพิมพ์ของคณะพระเทพโลกอุดรนั้นทุกรูปแบบทุกพิมพ์ทรงมีอานุภาพครอบจักรวาล อาราธนาทำน้ำมนต์ประสิทธิ์ยิ่งนัก โดยให้นำเอาพระแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเรียบร้อยแล้ว บูชาด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียน แล้วอธิษฐานตามความมุ่งหมาย เสร็จแล้วให้รีบนำพระขึ้นเช็ดน้ำด้วยสำลีหรือผ้าสะอาด ผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปบรรจุตลับ องค์พระจะไม่ละลายลบเลือนและไม่ควรแช่ในน้ำนานเกินควร จงทะนุถนอมให้จงดี เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว

    สำหรับท่านที่มีพระอันเป็นทิพยสมบัติอันทรงคุณค่า โดยได้รับสืบทอดมาจากบรรพชนหรือได้รับจากทางใดทางหนึ่งก็ตาม เสมือนมีแก้วสารพัดนึกอยู่กับตัว ไม่จำเป็นต้องขวนขวายในอิทธิวัตถุอื่นอีก<O:p</O:p

    วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร

    คำบูชาบรมครูพระโลกอุดร
    นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯลฯ ( 3 จบ )<O:p</O:p
    โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร ปฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรา นุสาสะโก โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต อิฐะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ ปะระมะสาริกะธาตุ วะชิรัญจา ปิวานิตัง โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง เวเรนะ สุภาสิตัง โลกุตตะโร จะ มหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม

    บทสวด แบบย่อหรืออาราธนาพระพิมพ์ (ได้ทุกทรงพิมพ์)<O:p</O:p
    โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
    หรือภาวนา ๓ จบ , ๗ จบ , ๙ จบ (เช้า-เย็น ตื่นนอนและก่อนนอน)<O:p</O:p
    โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ

    หมายเหตุ : บทความที่นำมาเสนอนี้ได้รับการอนุญาตในการคัดลอกและเรียบเรียงเพื่อเผยแพรเป็นวิทยาทานจากท่าน อาจารย์ ประถม อาจสาครเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นพระคุณและความกรุณาอย่างยิ่ง<O:p</O:p

    ผมขอเสริมนะครับ ท่านสามารถอาราธนาเป็นภาษาไทย ได้นะครับ ถ้ายังจำบทสวดของท่านไม่ได้ครับ

    ท่านที่ห้อยพระหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่ท่านเมตตาเสกให้นั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องไปในสถานที่อโคจรทั้งหลาย ผมมีบทสวดที่ใช้ในการนี้มาฝากทุกท่านครับ

    ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อิติภะคะโว
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด โสภะคะวา

    หรือก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อะระหัง
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด หังระอะ

    บทแผ่เมตตาโบราณ<O:p</O:p
    นะเมตตา โมเมตตา ปะวาเสนตัง อะหังโหมิ สุจิตตาปะมาทาตุ สุจิตโตปะโมทาตุ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บทแผ่เมตตาอันยิ่งใหญ่<O:p</O:p
    มหาโคตะโมปาทะเกอิ จะอะปาทะเกอิ เมเมตตังเมตตัง

    สำหรับท่านที่ได้บูชาพระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตไว้ให้นั้น ผมขอเรียนชี้แจงให้ทราบกันนะครับว่า การวางพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลต่างๆ ต้องวางไว้ในที่เหมาะสม ควรใช้พวงมาลัยไว้พระพิมพ์ (เป็นการไหว้หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และเทวดาผู้ที่รักษาพระพิมพ์) พวงมาลัยที่ใช้ไหว้นั้น ต้องเป็นพวงมาลัยที่มีดอกรัก ,ดอกมะลิ ,ดอกกุหลาบ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ห้ามใช้พวงมาลัยที่เป็นดอกดาวเรืองโดยเด็ดขาด ส่วนการวางพวงมาลัย ควรหาพานมาเพื่อใช้ในการวางพวงมาลัยครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หากท่านใดที่ได้ทำบุญไม่ว่าจะเป็นการทำบุญเรื่องอะไรก็ตาม ควรที่จะกรวดน้ำให้กับผู้เสก,ผู้สร้าง และเทวดาประจำองค์พระพิมพ์ด้วยทุกๆครั้งนะครับ<O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
    **************************************************


    ไหว้ 5 ครั้ง<O[​IMG]</O[​IMG]



    ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ )<O[​IMG]</O[​IMG]



    วัดเทพศิรินทราวาส<O[​IMG]</O[​IMG]

    [​IMG]

    คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html<O[​IMG]</O[​IMG]

    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาไร ตามแต่เหมาะต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวนั้น ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประณมมือว่า<O[​IMG]</O[​IMG]
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตามของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโน สนฺทิฆฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 3 ว่าพระสังฆคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโยทกฺขิเนยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    นั่งพับเพียบประณมมือตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้ว กราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ข้า ฯ ขอ กราบไหว้คุณท่านบิดาและมารดา<O[​IMG]</O[​IMG]
    เลี้ยงลูกเฝ้ารักษา แต่คลอดมาจึงเป็นคน<O[​IMG]</O[​IMG]
    แสนยากลำบากกายไป่คิดยากลำบากตน<O[​IMG]</O[​IMG]
    ในใจให้กังวลอยู่ด้วยลูกทุกเวลา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยามกินพอลูกร้องก็ต้องวางวิ่งมาหา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยามนอนห่อนเต็มตาพอลูกร้องก็ต้องดู<O[​IMG]</O[​IMG]
    กลัวเรือดยุงไรมดจะกวนกัดรีบอุ้มชู<O[​IMG]</O[​IMG]
    อดกินอดนอนสู้ ทนลำบากหนักไม่เบา<O[​IMG]</O[​IMG]
    คุณพ่อแม่มากนักเปรียบน้ำหนักยิ่งภูเขา<O[​IMG]</O[​IMG]
    แผ่นดินทั้งหมดเอามาเปรียบคุณไม่เท่าทัน<O[​IMG]</O[​IMG]
    เหลือที่ จะแทนคุณ ของท่านนั้น ใหญ่อนันต์<O[​IMG]</O[​IMG]
    เว้นไว้ แต่เรียนธรรม์ เอามาสอนพอผ่อนคุณ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สอนธรรมที่จริงให้ รู้ไม่เที่ยงไว้เป็นทุน<O[​IMG]</O[​IMG]
    แล้วจึงแสดงคุณ ให้เห็นจริงตามธรรมดา<O[​IMG]</O[​IMG]
    นั่นแหละจึงนับได้ ว่าสนองซึ่งคุณา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ใช้ค่าข้าวป้อนมาและน้ำนมที่กลืนกิน ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผุ้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ข้า ฯ ขอนอบน้อมคุณแด่ท่านครู ผู้อารี<O[​IMG]</O[​IMG]
    กรุณาและปรานีอุตส่าห์สอนทุก ๆ วัน<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยังไม่รู้ ก็ได้รู้ ส่วนของครูสอนทั้งนั้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    เนื้อความทุกสิ่งสรรพ์ดีชั่วชี้ ให้ชัดเจน<O[​IMG]</O[​IMG]
    จิตมากด้วยเอ็นดูอยากให้รู้เหมือนแกล้งเกณฑ์<O[​IMG]</O[​IMG]
    รักไม่ลำเอียงเอนหวังให้แหลมฉลาดคม<O[​IMG]</O[​IMG]
    เดิมมืดไม่รู้แน่เหมือนเข้าถ้ำเที่ยวคลำงม<O[​IMG]</O[​IMG]
    สงสัยและเซอะซมกลับสว่างแลเห็นจริง<O[​IMG]</O[​IMG]
    คุณส่วนนี้ควรไหว้ ยกขึ้นไว้ ในที่ยิ่ง<O[​IMG]</O[​IMG]
    เพราะเราพึ่งท่านจริงจึงได้รู้ วิชาชาญ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]

    (บทประพันธ์สรรเสริญคุณมารดาบิดา และ ครูบาอาจารย์ของ ท่านอาจารย์ จางวางอยู่ เหล่าวัตร วัดเทพศิรินทราวาส<O[​IMG]</O[​IMG]

    ลิขสิทธิ์เป็นของ ท่านเจ้าคุณพระโศภนศีลคุณ (หลวงปู่หลุย พาหิยาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส)
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ต่อไปนี้ไม่ต้องประณมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่อง และร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้งพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณมีมารดาบิดา เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือพระมหากษัตริย์ ทั้งเทพยดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยกมือไม่ขึ้น ก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นเครื่องพยุงตนให้เป็นคนดี ไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดี ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และ ตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มขั้นของตน ๆ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญญาณวรเถระ )

    http://72.14.235.104/search?q=cache:...h&ct=clnk&cd=7

    [​IMG]

    สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท เกิดในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2415 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรนาย ทองสุก และนางย่าง

    เมื่ออายุ 8 ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุณี (พุฒ ปุณณกเร) ปฐมวัยอาวาสวัดเขาบางทราย

    เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาที่วัดเขาบางทราย และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชบพิธอุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2435 ที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2439 ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดเทพศิรินทราวาส

    "ตาบุญ (พระยาธรรมปรีชา) ผู้เป็นอาจารย์สอนบาลีของ
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มอบช้างเผือกส่งเข้ามาให้ "
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร) สอบไล่ภาษาบาลี ในมหามงกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1ทุกชั้นเป็นลำดับมา

    พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะที่พระอัมราภิลักขิต เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลปราจีนบุรี ต่อมาได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา

    พ.ศ.2471 โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    พ.ศ.2476กรรมการเถรสมาคมมีมติให้ท่าน เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระสังฆราชเจ้าซึ่งสิ้นพระชนม์ ประมวลเกียรติคุณพิเศษสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร)เป็นพระเถระบริหารงานพระศาสนาถึง 5 แผ่นดิน คือแต่รัชกาลที่ 5-9 เป็นพระราชาคณะแต่อายุ 28 ปี เป็นสมเด็จพระราชาคณะแต่อายุ 57 ปี นับเป็นพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พรรษาน้อยกว่า พระเถระหลายรูปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่อายุ 28 ปี ถึง 80 ปีรวม 53 ปี นับว่ายาวนานที่สุดไม่มีใครเทียบได้
    เมื่อสอบนักธรรม หรือบาลีจะสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นทุกประโยคเป็นรูปเดียวในสังฆมณฑล ดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวง แม่กองบาลีสนามหลวง องค์เดียวกัน
    ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2494เวลา 10.30 น. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเระ)มรณภาพด้วยโรคเนื้องอกที่ตับรวมอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

    ความคิดเห็นส่วนตัวผม
    ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ท่านบอกกับผู้ที่ไปกราบท่านว่า ขอให้ทุกๆวันได้ไหว้ 5 ครั้ง จะได้เป็นศิริมงคลกับตนเอง จะเหมือนกับชื่อของท่าน (เจริญ) ครับ ท่านเจ้าคุณนรเอง ก็มีความเคารพในท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)มาก โดยท่านเจ้าคุณนรเอง เวลาเดินผ่านกุฎิของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)ทุกครั้ง ท่านเจ้าคุณนร ก็จะก้มลงกราบที่กุฎิอยู่ทุกครั้งครับ

    .*********************************************.

    วันนี้ข้าพเจ้า,ภรรยา และครอบครัว ได้........... ขอให้ คุณบิดา มารดา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ , คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้งหมด ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์,พระมหาโพธิสัตว์และพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ และทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน ผู้มีพระคุณ ญาติกาครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติสี่สกุลเจ็ดชั่วโคตรของข้าพเจ้า เจ้ากรรมนายเวร ปู่ ย่า ตา ยาย เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า ,เทวดาประจำองค์พระพิมพ์ทุกองค์ ,พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,สมเด็จพระเอกาทศรถ,สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ,พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ,พระยาพิชัยดาบหัก ,กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ,กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ,พระสยามเทวาธิราช ,พระภูมิ-เจ้าที่ที่บ้านข้าพเจ้า ,แม่ย่านางรถของข้าพเจ้า,ผู้ที่เสียสละให้กับแผ่นดินไทยทุกท่าน ,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างพระพิมพ์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร-พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าทุกท่าน-พระพิมพ์ของวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้วทุกท่าน,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างวัตถุมงคลของวังหน้า-กรุวัดพระแก้ว-วัตถุมงคลหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทุกประเภทที่ข้าพเจ้ามีอยู่ , เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย แม่พระโพสพ พระภูมิ-เจ้าที่ พระมหาฤาษีและพระฤาษีทุกๆตน พระพิรุณ พยายมราช นายนิริยบาล ทั้งท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบนจนถึงที่สุด พรหมาเบื้องต่ำตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษย์โลก โดยรอบสุดขอบจักรวาลอนันตะจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัยและเทพยดาทั้งหลายตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา ขอให้มาอนุโมทนาในบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ทำในครั้งนี้ด้วยเทอญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อิมินาปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้า,ภรรยา และครอบครัว ได้ .............................. ขออุทิศส่วนกุศลให้แก่ คุณบิดา มารดา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้งหมด ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ,พระมหาโพธิสัตว์และพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ ,ตัวข้าพเจ้าและทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน ผู้มีพระคุณ ญาติกาครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติสี่สกุลเจ็ดชั่วโคตรของข้าพเจ้า เจ้ากรรมนายเวร ปู่ ย่า ตา ยาย เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า ,เทวดาประจำองค์พระพิมพ์ทุกองค์ ,พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,สมเด็จพระเอกาทศรถ,สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ,พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ,พระยาพิชัยดาบหัก ,กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ,กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ,พระสยามเทวาธิราช ,พระภูมิ-เจ้าที่ที่บ้านข้าพเจ้า ,แม่ย่านางรถของข้าพเจ้า,ผู้ที่เสียสละให้กับแผ่นดินไทยทุกท่าน ,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างพระพิมพ์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร-พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าทุกท่าน-พระพิมพ์ของวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้วทุกท่าน, ท่านผู้เสกทุกท่าน เจ้าของและผู้สร้างวัตถุมงคลของวังหน้า-กรุวัดพระแก้ว-วัตถุมงคลหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทุกประเภทที่ข้าพเจ้ามีอยู่ , เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย แม่พระโพสพ พระภูมิ-เจ้าที่ พระมหาฤาษีและพระฤาษีทุกๆตน พระพิรุณ พยายมราช นายนิริยบาล ทั้งท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบนจนถึงที่สุด พรหมาเบื้องต่ำตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษย์โลก โดยรอบสุดขอบจักรวาลอนันตะจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัยและเทพยดาทั้งหลายตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ท่านได้สุข ขอให้สุขยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศไปให้นี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันและอนาคตเบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ

    พุทธังอนันตัง ธัมมังจัรวาลัง สังฆังนิพพานัง ปัจจโยโหนตุ
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รูปหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่พระอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านได้ลงพระคาถาให้บนรูปหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร รูปที่ไม่มีพระคาถาหรือตัวอักษรนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับผมครับ
    (ผมขอสงวนลิขสิทธิ์ สำหรับผู้ที่นำไปเป็นการค้าหรือการหาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมในทุกๆกรณี)

    [​IMG] [​IMG]

    โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ

    ขอกราบนมัสการหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ,หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า (หรือหลวงปู่อิเกสาโร)
    กราบ กราบ กราบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2007
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระปัจเจกพุทธเจ้า<O:p</O:p

     พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ซึ่งบำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยกำไรแสนกัป ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เช่นเดียวกับพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นพระพุทธศาสนา โดยมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเหมือนอย่างสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ก็ยังทรงมีพระคุณต่อโลกอันประมาณมิได้ <O:p</O:p
     พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เองที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น และไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมที่เป็นกำลังทั้งหลาย <O:p</O:p
     พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่มีบารมีแก่กล้าพอที่จะเข้าถึงธรรมอันประเสริฐถึงชั้นที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ และพระปัจเจกพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นเฉพาะในยุคที่ว่างพระพุทธศาสนาเท่านั้น ในกาลที่ว่างพระพุทธศาสนานั้น บุคคลทั้งหลายย่อมปราศจากศีลธรรม ประกอบแต่กรรมอันเป็นอกุสล พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สามารถสั่งสอนผู้ที่ไร้ศีลธรรมให้บรรลุถึงธรรมอันประเสริฐยิ่งปานนั้นได้ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงพระมหากรุณาได้เฉพาะผู้ที่ทรงโปรดได้เท่านั้น ไม่ใช่โปรดได้ทั่วไปทั้งหมด <O:p</O:p
     พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นทรงสงเคราะห์สัตว์โลกให้ตั้งอยู่ในทาน ศีล เมื่อสัตว์โลกเหล่านั้นละร่างกายไปแล้ว ก็ไปสู่สุคติภูมิ อันมีสวรรค์เป็นต้น ทรงสงเคราะห์บุคคลที่ตกทุกข์ได้ยาก แต่มีศรัทธาเต็มเปี่ยมให้ได้เป็นมหาเศรษฐี ด้วยการออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วทรงมารับบิณฑบาต กับบุคคลนั้น <O:p</O:p
     ในกาลที่ว่างเว้นจากพระศาสนา พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ไม่มีใครเสมอเหมือน สมดังคำพระบรมศาสดาได้ประทานไว้ ในปัจเจกพุทธาปทาน ความว่า <O:p</O:p
    "...ในโลกทั้งปวงเว้นเราเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย..."<O:p</O:p
     จึงได้มีพระคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าปรากฎขึ้นในโลก บูชาภาวนาสืบกันมาถึงสมัยหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง เป็นที่สุด ปรากฎผลเลอเลิศ ทั้งในด้านพระกรรมฐาน และลาภผลมั่นคงไม่มีประมาณ ต่อเนื่องมาไม่ขาดสาย <O:p</O:p
     ลำดับนี้ ขอฟังปัจเจกพุทธาปทาน พระอานนท์เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อัน สำรวมแล้ว ได้ทูลถามพระตถาคต ผู้ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันว่า ทราบด้วยเกล้าฯ ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไรท่าน เหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นนักปราชญ์? ในกาลครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคสัพพัญญูผู้ประเสริฐ แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสตอบท่าน พระอานนท์ผู้เจริญ ด้วยพระสุรเสียงไพเราะว่า <O:p</O:p
     พระปัจเจกพุทธเจ้า สร้างบุญในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมในศาสนาของพระชินเจ้า ด้วยมุข คือ ความสังเวชนั้นแล <O:p</O:p
     ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อมบรรลุปัจเจกโพธิญาณได้แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย <O:p</O:p
     ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย <O:p</O:p
     เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้ ของท่านเหล่านั้น <O:p</O:p
     ท่านทั้งหลาย จงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี <O:p</O:p
     ท่านทั้งปวงปรารถนานิพพานอันเป็นโอสถวิเศษ จงมีจิตผ่องใส ฟังถ้อยคำดี อันอ่อนหวานไพเราะของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสรู้เอง คำพยากรณ์โดยสืบๆ กันมาเหล่าใด ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน โทษ เหตุ ปราศจากราคะ และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุโพธิญาณด้วยประการใด <O:p</O:p
    -พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะว่า ปราศจากราคะ มีจิตปราศจากกำหนัดในโลกอันกำหนัด ละธรรมเครื่อง เนิ่นช้า การแพ้และความดิ้นรน แล้ว จึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ณ สถานที่ เกิดนั้นเอง ท่านวางอาญาในสรรพสัตว์ ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งในสัตว์ เหล่านั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา หวังประโยชน์เกื้อกูล เที่ยวไปผู้เดียว เปรียบเหมือนนอแรด ฉะนั้น ท่านวางอาญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียน แม้ผู้หนึ่งในสัตว์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาบุตร ที่ไหนจะปรารถนาสหาย เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคล ผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็น โทษอันเกิดแต่ความเสน่หา จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ผู้มีจิตพัวพัน ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย ย่อมทำตนให้เสื่อมประโยชน์ ท่านมองเห็นภัยนี้ ในความสนิทสนม จึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยว กันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภริยา ดังหน่อไม้ไผ่ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p></O:p>
    -ฉะนั้น ท่านเป็นวิญญูชนหวังความเสรี จึงเที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น เหมือนเนื้อที่ไม่ถูกผูกมัด เที่ยวหาเหยื่อ ในป่าตามความปรารถนา ฉะนั้น ต้องมีการปรึกษากันในท่ามกลางสหาย ทั้งในที่อยู่ ที่บำรุง ที่ไป ที่เที่ยว ท่านเล็งเห็นความไม่โลภ ความเสรี จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    ฉะนั้น การเล่น (เป็น) ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางสหาย ส่วนความรักในบุตรเป็นกิเลสใหญ่ ท่านเกลียด ความวิปโยคเพราะของที่รัก จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ท่านเป็นผู้แผ่เมตตาไปในสี่ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมี ตามได้ เป็นผู้อดทนต่อมวลอันตรายได้ ไม่หวาดเสียว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน สงเคราะห์ได้ยาก ท่านเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรคนอื่น จึงเที่ยว ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p></O:p>
    -ฉะนั้น ท่านปลงเครื่องปรากฏ (ละเพศ) คฤหัสถ์ กล้าหาญ ตัดกามอันเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์ เปรียบเหมือน ไม้ทองหลางมีใบขาดหมด เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้นเสียแล้ว พึงดีใจ มีสติเที่ยว ไปกับสหายนั้น ถ้าจะไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว ดังช้างมาตังคะ ละโขลง อยู่ในป่า ความจริง เราย่อมสรรเสริญสหายสมบัติ พึงส้องเสพสหายที่ ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านี้ ก็พึง คบหากับกรรมอันไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ท่านเห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่องที่นายช่างทองทำสำเร็จสวยงาม กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p></O:p>
    -ฉะนั้น การเปล่งวาจา หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น พึงมีกับเพื่อนอย่างนี้ ท่านเล็งเห็นภัยนี้ต่อไป จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร หวาน อร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่างๆ ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ความจัญไร หัวฝี อุบาทว์ โรค กิเลสดุจลูกศร และภัยนี้ ท่านเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ท่านครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้ คือ หนาว ร้อน ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน แล้วเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ท่านเที่ยวไปผู้เดียว เช่นนอแรด เปรียบเหมือน ช้างละโขลงไว้แล้ว มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีสีกายดังดอกปทุมใหญ่โต อยู่ในป่านานเท่าที่ต้องการ <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุติอันเกิดเองนี้ มิใช่ ฐานะของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่ จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก ถึงความแน่นอน มีมรรคอัน ได้แล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลอื่นไม่ต้องแนะนำ เที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ท่านไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีโมโหดุจน้ำฝาดอันกำกัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลก ทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นสหาย ผู้ลามก ผู้มักชี้อนัตถะ ตั้งมั่นอยู่ในฐานะผิดธรรมดา ไม่พึงเสพสหาย ผู้ขวนขวาย ผู้ประมาทด้วยตน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ ท่านรู้ ประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับ นอแรด ฉะนั้น ท่านไม่พอใจในการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่เพ็งเล็งอยู่ คลายยินดีจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวคำสัตย์ เที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ท่านละบุตร ภริยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก เผ่าพันธ์ และกามทั้งหลายตามที่ตั้งลง เที่ยวไปผู้เดียว เช่น กับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ในความเกี่ยวข้องนี้มีความสุขนิดหน่อย มีความ พอใจน้อย มีทุกข์มากยิ่ง บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า ความเกี่ยวข้องนี้ ดุจลูก ธนู พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์ ทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาทำลายข่าย แล้วไม่กลับมา ดังไฟไหม้เชื้อ ลามไปแล้วไม่กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว รักษามนัส อันราคะไม่ชุ่มแล้ว อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น พึงละเครื่องเพศคฤหัสถ์แล้ว ถึงความตัดถอน เหมือนไม้ทอง กวาวที่มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ไม่พึงทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวในสกุล เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น พึงละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕ ประการ พึงบรรเทาอุปกิเลสเสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษ อันเกิดแต่สิเนหาแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงทำสุข ทุกข์ โทมนัสและโสมนัสก่อนๆ ไว้เบื้องหลัง ได้อุเบกษา สมถะ ความหมดจดแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น พึงปรารภ ความเพียรเพื่อบรรลุนิพพาน มีจิตไม่หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มี ความเพียรมั่น (ก้าวออก) เข้าถึงด้วยกำลัง เรี่ยวแรง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ไม่พึงละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติ ธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย เที่ยว ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p></O:p>
    -ฉะนั้น พึงปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ ประมาท เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันพิจารณา แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ไม่พึงสะดุ้งในเพราะเสียง ดังสีหะ ไม่ขัดข้อง อยู่ในตัณหาและทิฏฐิ เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ในโลก ดุจดอกปทุม ไม่ติดน้ำ พึง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น พึงเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง เป็นราชาของเนื้อ มีปกติประพฤติข่มขี่ ครอบงำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น พึงเจริญเมตตา วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติทุกเวลา ไม่พิโรธด้วย สัตว์โลกทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น พึงละราคะ โทสะและโมหะ พึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสีย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้น ชีวิต พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น ชนทั้งหลายมีเหตุ เป็นประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ หาได้ยากใน วันนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามองประโยชน์ตน ไม่สะอาด พึงเที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด <O:p</O:p
    -ฉะนั้น พึงมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรม วิเศษ พึงรู้แจ้งธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์มรรคและโพชฌงค์ (พึงรู้แจ้ง องค์มรรคและโพชฌงค์) นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ ทั้งมวลได้ มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง เปรียบดังราชสีห์ เช่นกับนอแรด<O:p</O:p
     พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ มีอินทรีย์ระงับ มีใจสงบ มีจิตมั่นคง มีปกติ ประพฤติด้วยความกรุณาในสัตว์เหล่าอื่น เกื้อกูลแก่สัตว์ รุ่งเรืองในโลกนี้และโลกหน้า เช่นกับประทีป ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่สัตว์ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวงหมดแล้ว เป็นจอมแห่งชน เป็นประทีปส่องโลกให้สว่าง เช่นกับรัศมีแห่งทองชมพูนุท เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นดีของโลก โดยไม่ต้องสงสัย บริบูรณ์อยู่เนืองนิตย์ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปในโลกทั้งเทวโลก ชนเหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้ว ไม่ทำเหมือนดังนั้น ชนเหล่านั้นต้องเที่ยวไปในสังขารทุกข์บ่อยๆ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นคำไพเราะ ดังน้ำผึ้งรวงอันหลั่งออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว ประกอบการปฏิบัติตามนั้น ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เห็นสัจจะ คาถาอันโอฬารอันพระปัจเจกพุทธชินเจ้าออกบวชกล่าวแล้ว คาถาเหล่านั้นพระตถาคตผู้สีหวงศ์ศากยราชผู้สูงสุดกว่านรชน ทรงประกาศแล้ว เพื่อให้รู้แจ้งธรรม คาถาเหล่านี้ พระปัจเจกเจ้าเหล่านั้นรจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่อความอนุเคราะห์โลก อันพระสยัมภูผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อยังความสังเวช การไม่คลุกคลีและปัญญาให้เจริญ ฉะนี้แล <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    คำถามเกี่ยวกับพระปัจเจกพุทธเจ้า<O:p</O:p

    <O:p</O:p

     พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชาอย่างไร? <O:p</O:p
    พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดกังวลในฆราวาส ตัดกังวลในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวล ในความสั่งสม ปลงผมและหนวดแล้ว ครองผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความ เป็นผู้ไม่มีกังวล เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชาอย่างนี้<O:p</O:p
     พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อนสองอย่างไร? <O:p</O:p
    พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้เดียวเสพอาศัยเสนาสนะ คือ ป่าและป่าชัฏ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากลม แต่ชนผู้สัญจรไปมา สมควรทำกรรม ลับแห่งมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่ง ผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐาน จงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสองอย่างนี้<O:p</O:p
     พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่าละตัณหาอย่างไร? <O:p</O:p
    พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้เดียวไม่มีใครเป็นเพื่อนอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิต ไปอยู่ เริ่มตั้งความเพียรมาก กำจัดมารพร้อมทั้งเสนามารที่ไม่ปล่อยสัตว์ให้พ้นอำนาจ เป็นพวก พ้องของผู้ประมาท ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งตัณหาอันมีข่าย แล่นไป ซ่านไป ในอารมณ์ต่างๆ บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน ย่อม ไม่ล่วงพ้นสงสาร อันมีความเป็นอย่างนี้และมีความเป็น อย่างอื่น. ภิกษุผู้มีสติ รู้โทษนี้และตัณหาเป็นแดนเกิด แห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น เว้นรอบ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่าละตัณหาอย่างนี้<O:p</O:p
     พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียวอย่างไร? <O:p</O:p
    พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละราคะ เสียแล้ว ชื่อว่าผู้เดียวเพราะปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละโทสะเสียแล้ว ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละโมหะเสียแล้ว ชื่อว่าผู้เดียวเพราะไม่มี กิเลสโดยส่วนเดียว เพราะท่านละกิเลสเสียแล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียวเพราะ ปราศจากราคะโดยส่วนเดียวอย่างนี้<O:p</O:p
     พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะไปตามเอกายนมรรคอย่างไร?
    (สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘) <O:p</O:p
    ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่งความสิ้นไป แห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล ย่อมทรงทราบ ธรรมอันเป็นทางเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว. พุทธาทิบัณฑิต ข้ามก่อนแล้ว จักข้ามและข้ามอยู่ซึ่งโอฆะด้วยธรรมอันเป็น ทางนั้น ดังนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียวเพราะไปตามเอกายนมรรคอย่างนี้<O:p</O:p
     พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะตรัสรู้ซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างไร?
    (ญาณในมรรค ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญา เป็นเครื่องพิจารณา ปัญญาเป็นเครื่องเห็นแจ้งสัมมาทิฏฐิ) <O:p</O:p
    ท่านกล่าวว่า ปัญญาเครื่องตรัสรู้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตรัสรู้แล้ว ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยปัจเจกพุทธญาณ <O:p</O:p
    -ตรัสรู้ว่า สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา <O:p</O:p
    -ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็น ปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและ มรณะ <O:p</O:p
    -ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะ ดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทาน ดับภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับชราและมรณะจึงดับ. ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ตรัสรู้ว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิด อาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับอาสวะ <O:p</O:p
    -ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ ตรัสรู้เหตุเกิด ความดับ โทษและอุบายเป็น เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ... แห่งอุปาทานขันธ์ ๖ ตรัสรู้เหตุเกิด ความดับ โทษและ อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งมหาภูตรูป ๔ <O:p</O:p
    -ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ตรัสรู้ ตามตรัสรู้ ตรัสรู้พร้อม ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้ ควรตามตรัสรู้ ควรตรัสรู้พร้อม ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้ง ทั้งหมดนั้น ด้วยปัจเจกโพธิญาณ เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียวเพราะตรัสรู้ ปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    คาถาบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า<O:p</O:p

    สัพเพ ปัจเจกะสัมพุทธา นิโรธะฌานะโกวิทา นิราละยา นิราสังกา อัปปะเมยยา มะเหสะโย ทูเรปิ วิเนยเย ทิสสะวา สัมปัตตา ตังขะเณนะ เต สันทิฏฐิกะผะเล กัตตะวา สะทา สันติง กะโรนตุ โน <O:p</O:p
    พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งปวง ทรงปรีชาญาณในนิโรธสมาบัติและฌาณสมาบัติ
    ทรงปราศจากความกำหนัดยินดี หมดความรังเกียจ ทรงคุณอันหาประมาณมิได้ ทรงแสวงหาคุณอันประเสริฐ ทรงมีมหาทานบารมีเป็นเลิศ
    พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ เห็นหมู่เวไนยสัตว์แม้ในที่ใกล้ไกล ก็ทรงพระเมตตาเสด็จไปช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้น ให้ได้รับประโยชน์โดยพลัน โปรดประทานความสงบร่มเย็นทั้งทางโลกและทางธรรม แก่พวกข้าพระองค์ในกาลทุกเมื่อเถิด.<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...