พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ton344 [​IMG]
    สวัสดีครับลุงสิทธิพงษ์ ต้น&ตั้มไปเที่ยววัดบ้านแหลมมาได้ไปกราบหลวงปู่เทพโลกอุดรด้วยครับคุณลุงเดาซิครับว่าคนไหนต้นคนไหนตั้ม
    Attachment 145075
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลานเสื้อขาวของลุงสิทธิพงศ์ แขวนพระสมเด็จวังหน้า
    สุดจ๊าบไปเลย ข รับ
    (bb-flower
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันนี้ ข้าพเจ้าได้ทำบุญ ได้ถวายภัตตาหาร ,ปัจจัย ,พระพุทธรูป แด่พระอริยสงฆ์องค์หนึ่ง ข้าพเจ้าขอเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย ,พระพุทธเจ้า ,พระธรรมเจ้า ,พระสังฆเจ้า ข้าพเจ้าขออธิษฐานว่า ความไม่มีจงอย่าได้เกิดกับข้าพเจ้า จนกว่าข้าพเจ้าจะเข้าสู่พระนิพพานเทอญ<O:p</O:p

    วันนี้ข้าพเจ้า ได้ได้ถวายภัตตาหาร ,ปัจจัย ,พระพุทธรูป แด่พระอริยสงฆ์องค์หนึ่ง ขอให้ คุณบิดา มารดา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ , คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้งหมด ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์,พระมหาโพธิสัตว์และพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ และทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน ผู้มีพระคุณ ญาติกาครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติสี่สกุลเจ็ดชั่วโคตรของข้าพเจ้า เจ้ากรรมนายเวร ปู่ ย่า ตา ยาย เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า ,เทวดาประจำองค์พระพิมพ์ทุกองค์ ,พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,สมเด็จพระเอกาทศรถ,สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ,พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ,พระยาพิชัยดาบหัก ,กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ,กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ,พระสยามเทวาธิราช ,พระภูมิ-เจ้าที่ที่บ้านข้าพเจ้า ,แม่ย่านางรถของข้าพเจ้า,ผู้ที่เสียสละให้กับแผ่นดินไทยทุกท่าน ,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างพระพิมพ์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร-พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าทุกท่าน-พระพิมพ์ของวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้วทุกท่าน,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างวัตถุมงคลของวังหน้า-กรุวัดพระแก้ว-วัตถุมงคลหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทุกประเภทที่ข้าพเจ้ามีอยู่ , เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย แม่พระโพสพ พระภูมิ-เจ้าที่ พระมหาฤาษีและพระฤาษีทุกๆตน พระพิรุณ พยายมราช นายนิริยบาล ทั้งท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบนจนถึงที่สุด พรหมาเบื้องต่ำตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษย์โลก โดยรอบสุดขอบจักรวาลอนันตะจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัยและเทพยดาทั้งหลายตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา ขอให้มาอนุโมทนาในบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ทำในครั้งนี้ด้วยเทอญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อิมินาปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้า,ภรรยา และครอบครัว ได้ ได้ถวายภัตตาหาร ,ปัจจัย ,พระพุทธรูป แด่พระอริยสงฆ์องค์หนึ่ง ขออุทิศส่วนกุศลให้แก่ คุณบิดา มารดา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้งหมด ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ,พระมหาโพธิสัตว์และพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ ,ตัวข้าพเจ้าและทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน ผู้มีพระคุณ ญาติกาครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติสี่สกุลเจ็ดชั่วโคตรของข้าพเจ้า เจ้ากรรมนายเวร ปู่ ย่า ตา ยาย เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า ,เทวดาประจำองค์พระพิมพ์ทุกองค์ ,พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,สมเด็จพระเอกาทศรถ,สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ,พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ,พระยาพิชัยดาบหัก ,กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ,กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ,พระสยามเทวาธิราช ,พระภูมิ-เจ้าที่ที่บ้านข้าพเจ้า ,แม่ย่านางรถของข้าพเจ้า,ผู้ที่เสียสละให้กับแผ่นดินไทยทุกท่าน ,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างพระพิมพ์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร-พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าทุกท่าน-พระพิมพ์ของวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้วทุกท่าน, ท่านผู้เสกทุกท่าน เจ้าของและผู้สร้างวัตถุมงคลของวังหน้า-กรุวัดพระแก้ว-วัตถุมงคลหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทุกประเภทที่ข้าพเจ้ามีอยู่ , เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย แม่พระโพสพ พระภูมิ-เจ้าที่ พระมหาฤาษีและพระฤาษีทุกๆตน พระพิรุณ พยายมราช นายนิริยบาล ทั้งท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบนจนถึงที่สุด พรหมาเบื้องต่ำตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษย์โลก โดยรอบสุดขอบจักรวาลอนันตะจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัยและเทพยดาทั้งหลายตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ท่านได้สุข ขอให้สุขยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศไปให้นี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันและอนาคตเบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ

    พุทธังอนันตัง ธัมมังจัรวาลัง สังฆังนิพพานัง ปัจจโยโหนตุ

    ***********************************************
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2007
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.sakulthai.com/DSakulcolu...367&stissueid=2479&stcolcatid=2&stauthorid=13

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="90%" bgColor=#ffffff><TABLE width="100%" align=right border=0><TBODY><TR vAlign=center><TD width="20%">
    [​IMG]
    </TD><TD width="50%" bgColor=#666666>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ฉบับที่ 2479 ปีที่ 48 ประจำวันอังคารที่ 23 เมษายน 2545[/FONT] </TD><TD width="30%" bgColor=#990000> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]บทความ-สารคดี[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]</TD><TD bgColor=#cccccc colSpan=2>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]วังหน้า สมัยรัชกาลที่ ๑[/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD class=BorderRight colSpan=3>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] มีผู้ถามว่าบริเวณของวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้นแค่ไหน<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    ที่จริงเคยเล่าผ่านไปผ่านมาหลายครั้งแล้ว<O:p> </O:p>
    ครั้งนี้ขอย้อนเล่าเรื่องวังหน้าสักเล็กน้อยก่อน<O:p> </O:p>
    เมื่อแรกสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในพระนิพนธ์ว่า ที่เรียกว่าวังหน้านั้นเพราะที่ตั้งอยู่หน้าวังหลวง<O:p> </O:p>
    แต่แล้วก็ทรงพระดำริว่า วังหน้านั้นมีทั้งพม่าซึ่งเรียกพระมหาอุปราชว่า ‘อินแซะมิน’ ภาษาพม่า ‘อิน’ แปลว่า ‘วัง’ ‘แซะ’ แปลว่า ‘หน้า’ ‘มิน’ แปลว่า ‘ผู้เป็นเจ้า’ รวมความว่าผู้เป็นเจ้าของวังหน้า ฝ่ายเมืองทางเหนือเช่น เมืองเชียงใหม่ เจ้าอุปราชก็เรียกกันในพื้นเมืองว่า ‘เจ้าหอหน้า’ มาแต่โบราณ<O:p> </O:p>
    ดังนั้น จึงทรงวิเคราะห์สันนิษฐานว่า คำว่า วังหน้า (ตลอดจน วังหลวง และวังหลัง) น่าจะเกิดแต่ลักษณะการจัดทัพแต่โบราณมา ที่จัดเป็นทัพหน้า ทัฑหลวง (และทัพหลัง) พระมหากษัตริย์ย่อมเสด็จเป็นทัพหลวง ผู้ที่เป็นรองพระมหากษัตริย์ลงมาคือพระมหาอุปราช ย่อมเสด็จเป็นทัพหน้าไปก่อนทัพหลวงเป็นประเพณี จึงเกิดเรียกพระมหาอุปราชว่า ฝ่ายหน้า เรียกที่ประทับว่า วังฝ่ายหน้า แล้วเลยกลายเป็น ‘วังหน้า’ โดยสะดวกปาก<O:p> </O:p>
    ส่วนที่มาเรียกวังหน้าว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ทรงสันนิษฐานว่า คงเรียกมาแต่ครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะครั้งที่พระศรีสุธรรมราชา พระเจ้าอาของสมเด็จพระนารายณ์ฯขึ้นครองราชย์ ทรงตั้งพระนารายณ์ฯ<O:p> </O:p>
    เป็นพระมหาอุปราช เสด็จไปประทับวังหน้าตามตำแหน่ง ต่อมาเกิดรบพุ่งกันกับพระศรีสุธรรมราชา พระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์ฯ มีชัยได้ราชสมบัติ แต่ก็เสด็จประทับอยู่วังหน้าต่อมาอีกหลายปี ซึ่งคงเรียกวังหน้าว่า ‘พระราชวังบวรสถานมงคล’ ในตอนนี้ และเมื่อเสด็จไปเฉลิมพระราชมณเฑียรวังหลวงแล้ว ก็มิได้ทรงตั้งผู้ใดเป็นมหาอุปราชไปประทับยังพระราชวังบวรสถานมงคลอีกเลยจนตลอดรัชกาล<O:p> </O:p>
    <TABLE width="20%" align=right border=0><TBODY><TR><TD width="100%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="100%">พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วังหน้ารัชกาลที่ ๔ ต้นสกุล จรูญโรจน์</TD></TR><TR><TD width="100%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="100%">พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น ๓ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ต้นสกุล อิศรศักดิ์<O:p> </O:p>
    พระราชโอรส วังหน้ารัชกาลที่ ๓ ประสูติแต่ พระอัครชายา พระองค์เจ้าดาราวดี พระธิดาใน วังหน้ารัชกาลที่ ๑</TD></TR><TR><TD width="100%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="100%">พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น ๕ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระโอรสใน วังหน้ารัชกาลที่ ๕ ต้นสกุล รัชนี</TD></TR><TR><TD width="100%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="100%">พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น ๕ พระองค์เจ้ากาญจโนภาสรัศมี กรมหมื่นชาญไโชยบวรยศ ต้นสกุล กาญจนะวิชัย พระโอรส ใน วังหน้ารัชกาลที่ ๕</TD></TR></TBODY></TABLE> และดังที่เคยเล่ามาแล้ว ว่า คำว่า ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ (และ ‘กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข’) นั้น บัญญัติเป็นทางการในรัชสมัยพระเทพราชา ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช<O:p> </O:p>
    มีคำว่า ‘กรม’ หมายถึงเป็นกรมสังกัดวังหน้า (และกรมสังกัดวังหลัง)<O:p> </O:p>
    สถานที่ประทับเรียกว่าพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า และพระราชวังบวรสถานพิมุขหรือวังหลัง เรียกเจ้านายตามสะดวกปากว่า ‘วังหน้า’ ดังที่เคยเรียกกันมาแต่โบราณ เพิ่ม ‘วังหลัง’ ขึ้นอีกองค์หนึ่งเป็น ‘วังหลัง’ องค์เดียวในกรุงศรีอยุธยา แต่เป็นได้ไม่ยืดยาว พระเพทราชาทรงระแวงว่าจะคิดเอาราชสมบัติจึงจับสำเร็จโทษเสีย<O:p> </O:p>
    เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์<O:p> </O:p>
    สมเด็จพระอนุชาธิราชได้เป็นพระมหาอุปราชวังหน้าตามท้องที่ของวังหน้าขณะนั้น<O:p> </O:p>
    คือแบ่งเขตปกครองกึ่งพระนครท้องที่ของวังหน้าจึงแบ่งกึ่งกลาง ตั้งแต่แนวถนนกลางสนามหลวง (ในปัจจุบัน) ที่ตรงกับถนนพระจันทร์ เป็นแนวไปจนประมาณวัดเทพธิดาโอบไปตามริมคลองบางลำพูจนจรดป้อมพระสุเมรุ (ต้องจินตนาการลงภาพถนนราชดำเนินกลางออกให้หมด นึกถึงแต่ภาพที่ยังเป็นป่าละเมาะรุกๆ มีคลองหลอดหรือคลองวัดเทพธิดาตัดจากคลองคูเมืองเดิมไปออกคลองรอบกรุงใหม่ แต่เวลานั้นยังไม่มีวัดเทพธิดา)<O:p> </O:p>
    ทีนี้เฉพาะพระราชวังบวรสถานมงคล<O:p> </O:p>
    อาณาเขตของพระราชวังบวรฯ นั้น ในสมัยปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว<O:p> </O:p>
    เอาเป็นว่าตั้งแต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นไปทั้งแถบจนถึงโรงละครแห่งชาติ ล้วนแต่เป็นบริเวณวังหน้าทั้งสิ้น<O:p> </O:p>
    ด้านที่หันลงแม่น้ำคือด้านตะวันตก เป็นหลังพระราชวังบวรฯ เพราะพระราชวังบวรฯหันหน้าไปทางสนามหลวง (ปัจจุบัน) หันหลังให้แม่น้ำ แต่พระบรมมหาราชวัง สร้างหันหน้าไปทางเหนือ ด้านหลังจดวัดโพธิ์ หันข้างซ้ายไปทางแม่น้ำ<O:p> </O:p>
    ด้านหลังพระราชวังบวรฯติดแม่น้ำดังกล่าว จึงเอากำแพงพระนครเป็นกำแพงวังชั้นนอก<O:p> </O:p>
    ส่วนด้านหน้า ในสมัยรัชกาลที่ ๑ กำแพงวังล้ำเข้าไปในสนามหลวงปัจจุบันมีคูนอกกำแพง มีถนนหน้าวัง (อยู่ใกล้) ถนนราชดำเนินในปัจจุบัน แสดงว่าอาณาเขตวังล้ำเข้ามามาก)<O:p> </O:p>
    ด้านนี้ถนนที่เรียกกันว่าถนนหน้าพระธาตุในปัจจุบัน เดิมมีประตูวังสำหรับเสด็จออกไปวังหลวง ชื่อประตูพรหมทวาร ส่วนที่ล้ำออกไปในสนามหลวง (ปัจจุบัน) อยู่ระหว่างกำแพงวังชั้นนอกกับชั้นกลางนั้นเป็นโรงช้าง โรงม้า โรงปืนใหญ่ โรงหัดทหาร<O:p> </O:p>
    ทีนี้ด้านเหนือคือตรงโรงละครแห่งชาติ คือด้านติดคูเมืองเก่า มีกำแพงเมืองและมีถนนข้างคู ปลายถนนลงสู่ท่าช้างของวังหน้า ที่ยังเรียกกันว่าท่าช้างวังหน้าต่อๆ มา<O:p> </O:p>
    ส่วนด้านที่ติดถนนพระจันทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีกำแพงวังหน้า และมีคูตลอดกำแพงทั้งด้านนี้และด้านตะวันออก เอาเป็นว่าพระราชวังบวรฯนั้น มีน้ำล้อมรอบกำแพงพระราชวังชั้นนอกทั้ง ๔ ด้าน<O:p> </O:p>
    และที่เรียกว่า ‘ถนน’ นั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นเพียงถนนแคบๆ พอให้กระบวนแห่พระราชยานผ่านได้ พื้นถนนยังปูด้วยอิฐจะแคง คือตะแคงเอาด้านข้างขึ้นปูให้ชิดๆ เพราะมั่นคงแข็งแรงกว่าปูเป็นแผ่นแบนๆ บนพื้นดิน<O:p> </O:p>
    สนามหลวงในสมัยนั้นเล็กกว่าสมัยนี้ เดิมเป็นทุ่งนาใช้ปลูกข้าวได้ เรียกกันว่าทุ่งพระเมรุ เพราะเป็นที่ทำพระเมรุพระบรมศพและพระศพ อยู่ระหว่างกลางวังหลวงวังหน้า เวลาทำพระเมรุจะกำหมดให้พระเมรุอยู่ตรงกลางพลับพลาวังหลวงตั้งข้างใต้ พลับพลาวังหน้าตั้งข้างเหนือเครื่องมหรสพของวังหลวงกับวังหน้าเล่นกันคนละฝ่ายสนาม<O:p> </O:p>
    ทุ่งพระเมรุนี้ในรัชกาลที่ ๔ โปรดฯบัญญัติให้เรียกว่าท้องสนามหลวง คู่กันกับ ท้องสนามไชย (สนามชัย)<O:p> </O:p>
    ที่เล่ามานี้ คงพอจะจินตนาการกันได้ถึงบริเวณวังหน้า ซึ่งมีกำแพงวังชั้นนอก มีคูรอบกำแพงด้านใต้และตะวันออก<O:p> </O:p>
    วังหน้ามีกำแพงวัง ๓ ชั้น เช่นเดียวกับวังหลวง<O:p> </O:p>
    กำแพงชั้นนอกมีป้อมเป็นระยะเหมือนกัน มีอยู่ด้วยกัน ๑๐ ป้อม แต่ที่ได้ยินกันต่อๆ มาจนเป็นที่รู้จักกันดี คือป้อมพระจันทร์ กับป้อมพระอาทิตย์<O:p> </O:p>
    ประตูวังชั้นนอกรื้อหมดแล้วเช่นเดียวกับป้อม มีทั้งหมด ๑๕ ประตู ชื่อคล้องจองกัน แต่สันนิษฐานว่า คงจะมิใช่ประตูสร้างในรัชกาลที่ ๑ ทั้งหมดอาจจะสร้างใหม่ขึ้นบ้าง ชื่อที่คล้องจองกันคงจะขนานนามในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นโปรดฯแปลงนาม ขนานนามหลายอย่างหลายประการให้ไพเราะ และมีความหมายขึ้นกว่าเดิม<O:p> </O:p>
    แต่ที่น่าเล่า คือประตูพระราชวังบวรฯ ชั้นกลางซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๘ ประตู มีชื่อคล้องจองเช่นกัน ดังนี้<O:p> </O:p>
    มหาโภคราช โอภาสพิมาน อลงการโอฬาร สุดายุรยาตร นาฎจรวี นารีจรจรัล สุวรรยาภิรมย์ อุดมโภไค<O:p> </O:p>
    ทั้งวังหลวงและวังหน้ามีประตูที่เรียกกันว่าประตูดิน และประตูผี เหมือนๆ กัน<O:p> </O:p>
    ประตูดินวังหน้า คือประตูนารีจรจรัล<O:p> </O:p>
    ประตูมีวังหน้า คือประตูสวรรยาภิรมย์<O:p> </O:p>
    ส่วนประตูดินวังหลวง คือประตูศรีสุดาวงศ์ เป็นประตูเข้าออกของฝ่ายในที่มิใช่เจ้านาย และสำหรับออกไปสู่เขตถนนที่อยู่ระหว่างกำแพงชั้นกลางกับชั้นนอก ซึ่งบริเวณนี้ ว่าเป็นที่ชุมนุมของพวกชาววังเวลาออกไป ‘อุโมงค์’ หรือ ‘ศรีสำราญ’ ดังที่ในหนังสือเรื่อง ‘สี่แผ่นดิน’ ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช บรรยายไว้ บรรดาบุรุษส่วนมากข้าราชการหนุ่มๆ มักจะมาคอยเกี้ยวพาราศีหรือดูตัวหญิงชาววังกันที่นี่<O:p> </O:p>
    ในเรื่องขุนช้างขุนแผน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ตอนหนึ่ง เป็นตอนที่พระพันวษาทรงพระพิโรธพวกทหารที่ไปจับขุนแผน แต่ต้องพ่ายแพ้ขุนแผนกลับมา ทรงบริภาษเกี่ยวไปถึงประตูดินว่า<O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>
    “อ้ายชาติหมากาลีเห็นขี้เสือ วิ่งแหกแฝกเฝือไม่แลเหลียว<O:p> </O:p>
    ดีแต่จะเย่อหยิ่งนั้นสิ่งเดียว ลอยลากหางเกี้ยวประตูดิน<O:p> </O:p>
    หวีผมหย่งหน้าอ้ายบ้ากาม ศึกเสือสงครามไม่เอาสิ้น”<O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>
    ในสมัยรัชกาลที่ ๒ เกิดสำนวนว่า ‘เจ้าชู้ประตูดิน’ สำนวนนี้มาจากท้าวศรีสัจจา (มิ) ซึ่งเป็นผู้ว่าการฝ่ายในพระราชวังที่ทำการของท่านอยู่ตรงประตูศรีสดาวงศ์ภายในคนทั้งปลงจึงเรียกท่านว่า “ท่านเจ้าคุณประตูดิน”<O:p> </O:p>
    ‘ลอยลากหาง’ คือลักษณะการแต่งกายลำลองของหนุ่มเจ้าชู้ที่มาคอยเกี้ยวผู้หญิง คือไม่นุ่งโจง แต่ปล่อยหางกระเบน เรียกว่านุ่งลอยชาย พาดผ้าแตะไหล่สองไหล่<O:p> </O:p>
    ประตูผีนั้น ชื่อก็บอกอยู่ตรงๆ แล้วว่า เป็นประตูสำหรับเชิญพระศพเจ้านาย หรือนำศพเจ้าจอม ตลอดจนข้าราชการบริหารฝ่ายในออกไปทำพิธีภายนอก<O:p> </O:p>
    ประตูวังหลวงชั้นกลางที่เรียกกันว่าประตูผี คือประตูกัญญรวดี ส่วนชั้นนอก คือ ประตูพิทักษ์บวร สองประตูนี้มักจะปิดอยู่เสมอ นานๆ จึงจะเปิดในกรณีย์พิเศษดังกล่าว
    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=article&sid=148

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=15 background=themes/3D-Fantasy/images/left2.gif></TD><TD width="100%" bgColor=#eeeeee>สะพายกล้องท่องรอบกรุง:

    วังหน้า-ที่ประทับของมหาอุปราช ปัจจุบันคือ ?


    ติดประกาศ Tuesday 13 Sep 05@ 10:39:13 ICT โดย admin</TD><TD width=15 background=themes/3D-Fantasy/images/right3.gif> </TD></TR><TR><TD width=15 height=15>[​IMG]</TD><TD align=middle background=themes/3D-Fantasy/images/middle.gif height=15> </TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=15 background=themes/3D-Fantasy/images/left3.gif> </TD><TD width="100%" bgColor=#ffffff>[​IMG] “เคยไปช้อปปิ้งที่วังหลังกันหรือไม่”
    “วังหลัง” ตั้งอยู่ตรงโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งสร้างขึ้นมาพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) และพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) จัดเป็นแหล่งช้อปปิ้งแห่งหนึ่งที่มีผู้คนมาจับจ่ายสินค้าไม่น้อย เพราะที่นี่มีทั้งเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า รวมไปถึงของอร่อยนานาชนิด
    แต่วันนี้ไม่ได้จะพาไปเที่ยววังหลังหรอกนะ แต่จะพาไปรู้จักวังหน้าต่างหาก


    “วังหน้า” มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “พระราชวังบวรสถานมงคล” เป็นที่ประทับของมหาอุปราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นเมื่อปี 2325 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระที่นั่ง 3 องค์ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ให้เป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุต่าง ๆ จากหอคองคอเดีย และเปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่ พ.ศ. 2430 จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระที่นั่งและหมู่พระวิมานทั้งหมดในวังหน้าให้เป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน เมื่อปี พ.ศ. 2477 และเปลี่ยนชื่อเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” สืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

    มาถึงหน้าพิพิธภัณฑ์ราวสิบเอ็ดโมง เดินเข้าไปถึงก็เห็นป้าย “จำหน่ายตั๋ว” ชี้ไปทางซ้าย จึงเดินเข้าไปเพื่อซื้อบัตรเข้าชม ราคา 20 บาท โชคดีนะที่เกิดมาเป็นคนไทย ไม่เช่นนั้นต้องเสียเงินถึงสองเท่าแน่ะ สามารถมาชมพิพิธภัณฑ์ได้ในวันพุธ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ยกเว้นเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์) ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น.
    [​IMG]
    เมื่อซื้อบัตรเข้าชมเสร็จ ก็เดินเข้าไปสู่ “พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน”ซึ่งอยู่ทางซ้ายมืออาคารหลังนี้จัดแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ โบราณวัตถุสำคัญที่ไม่ควรพลาดชมคือ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกสุโขทัย) (Sukhothai Stone Inscription) ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญในการแสดงประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ส่วนในสมัยอยุธยา มีภาพจำลองสงครามระหว่างไทยกับพม่าในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีปุ่มกดฟังเสียงบรรยาย ซึ่งมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ที่ประทับใจมากที่สุดคือ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงขนาดจำลอง แต่สามารถกดดูภาพยนตร์ได้ เหมือนกับว่าเราได้เข้าไปดูหนังในโรง ยังไงอย่างงั้น เรื่องที่จัดแสดง เช่น พระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 7 ภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ถ้ามาเที่ยวชม อย่าลืมลองกดดูนะ

    [​IMG] [​IMG] หลังจากได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยกันมาเพียงพอแล้ว จะพาไปชม “พระที่นั่งพุทไธสวรรย์” ที่ใคร ๆ ก็กล่าวขวัญกันว่ามีภาพจิตรกรรมงดงามน่าชมมาก เห็นทีจะต้องเข้าไปยลด้วยสายตาตัวเองเสียหน่อยแล้ว
    พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธสิหิงค์” มีพุทธลักษณะแบบศิลปะสุโขทัย ซึ่งทำด้วยสำริด จิตรกรรมฝาผนังภายในองค์พระที่นั่ง เขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติฝีมือช่างวังหน้าในรัชกาลที่ 1 จัดเป็นภาพเขียนศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ที่เก่าแก่ที่สุด ฉันนั่งดูเด็กซึ่งคาดว่าคงเป็นนักศึกษาสาขาจิตรกรรม กำลัง drawing ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วยความรู้สึกชื่นชม อยากวาดได้บ้างจัง จะได้เก็บภาพมาฝาก แต่เผอิญว่าไม่มีพรสวรรค์ทางด้านนี้เสียด้วยสิ
    อาคารต่อมาคือ “พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย” ตั้งอยู่ด้านหลังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เดิมเป็นมุขเด็จหน้าพระวิมานที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จออกให้เข้าเฝ้า ในสมัย ร. 3 กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ ทรงสร้างให้เป็นท้องพระโรง พระที่นั่ง และให้เป็นที่ประดิษฐานพระศพของวังหน้าตั้งแต่ ร. 3 ลงมา รวมถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันใช้เป็นห้องจัดนิทรรศการหมุนเวียน
    วันที่เข้าไปชมพระที่นั่งองค์นี้จัดนิทรรศการเรื่อง “ยอยศวังหน้า” โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงได้แก่ ปืนใหญ่ขนาดเล็กหรือ "ปืนหามแล่น" จำนวน 54 กระบอก ที่ขุดได้เมื่อปี 2541 พร้อมลูกปืนใหญ่ พระพุทธรูป พระเครื่องโคนสมอ พระบุเงิน ฯลฯ รวมไปถึงโบราณวัตถุที่ระบุว่าเป็นเครื่องใช้ในสมเด็จพระบวรราชเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ผู้ครอบครองพระบวรราชวังแห่งนี้

    [​IMG]
    จากนั้นก็ได้เดินไปชม “โรงราชรถ” ซึ่งจัดแสดงราชรถที่ใช้ในการพระบรมศพและเครื่องประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สิ่งน่าสนใจในโรงราชรถคือ พระโกศจันทน์ทรงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สร้างด้วยไม้จันทน์หอม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ สร้างโดยส่วนช่างสิบหมู่ ส่วนจิตรกรรมและศิลปะประยุกต์ กรมศิลปากร (ใช้เวลาสร้าง 3 เดือน)

    [​IMG] ชมโรงราชรถเสร็จแล้ว เดินออกมาเลี้ยวขวาไปเจอร้านอาหาร และมองไปที่ข้อมือ ปรากฏว่าเที่ยงกว่าแล้ว ฉันจึงไม่รอช้าที่จะเข้าไป อาคารนี้เป็นอาคารชั้นเดียวที่ไม่ใหญ่นัก มีร้านขายอาหารและน้ำอย่างละหนึ่งร้าน จึงฝากท้องไว้กับที่นี่หนึ่งมื้อ
    อิ่มท้องแล้ว ทำให้มีเรี่ยวแรงเดินชมพิพิธภัณฑ์ต่อ อาคารที่ติดกับร้านอาหารคือ “อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์”จัดแสดงประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ฉันได้ชมพระพุทธรูปปางลีลาซึ่งมีความงามเป็นพิเศษต่างจากพระพุทธรูปปางอื่น ๆ ในสมัยสุโขทัย ส่วนที่ห้องรัตนโกสินทร์ มีสิ่งน่าสนใจคือ กลองมโหระทึก 3 ใบซึ่งตั้งอยู่กลางห้อง เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 – 25

    อาคารที่ต่อจากอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์คือ “อาคารมหาสุรสิงหนาท”อาคารนี้มีสองชั้น ชั้นล่างห้องแรกจัดแสดงเรื่องอารยธรรมอินเดีย และศิลปะเอเชีย ส่วนห้องถัดมาจัดแสดงประวัติศาสตร์ศิลปะลพบุรี
    ชั้นบนทางซ้ายมือ จัดแสดงศิลปะทวารวดี โบราณวัตถุที่สำคัญในสมัยนี้ คือ ธรรมจักรและกวางหมอบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพุทธประวัติตอนแสดงปฐมเทศนา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11 – 13 ถัดมาเป็นศิลปะชวา และศิลปะศรีวิชัย โบราณวัตถุที่สำคัญ คือ พระโพธิสัตว์ปัทมปานี ซึ่งมีความสมบูรณ์งดงามมาก เป็นศิลปะศรีวิชัย ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะชวาภาคกลาง พุทธศตวรรษที่ 14
    ทางขวามือ เป็นห้องจัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ และพัฒนาการของเมืองเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์

    ส่วนสุดท้ายของพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนของประณีตศิลป์และชาติพันธุ์วิทยา จัดแสดงเครื่องดนตรี เครื่องถม เครื่องถ้วย เครื่องทอง เครื่องมุก เครื่องไม้จำหลัก เครื่องสูง ผ้าโบราณ หัวโขน ฯลฯ จัดแสดงใน “อาคารหมู่พระวิมาน”
    [​IMG] [​IMG]
    ค่าเข้าชม 20 บาทที่เสียไปในวันนี้เทียบไม่ได้เลยกับความรู้ที่ได้รับ ใครที่ยังไม่เคยเข้ามาชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ วันนี้ก็ยังไม่สายที่คุณจะเข้ามาชม และขอการันตีเลยว่า มาแล้วจะทำให้คุณรักเมืองไทยของเรามากขึ้นอย่างแน่นอน

    <TABLE bgColor=#00ccff><TBODY><TR><TD> การเดินทาง
    รถประจำทางสาย 15, 19, 30, 32, 33, 39, 43, 53, 59, 64, 70, 80, 82 และ 123
    แหล่งข้อมูล
    คู่มือนำชมกรุงรัตนโกสินทร์ สำนักพิมพ์สารคดี
    </TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    เรื่อง : ทีมงาน "นายรอบรู้" (น้อย)
    ภาพ : ทีมงาน "นายรอบรู้" (น้อย) และสำนักพิมพ์สารคดี
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.lannaworld.com/story/narrative/narrative6.php

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff height=798><TABLE height=27 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=444 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#002100 height=19><CENTER>[FONT=Angsana New, AngsanaUPC][SIZE=+2]ความรักเพื่อแผ่นดิน : จากล้านนาถึงท่าพระจันทร์.....[/SIZE][/FONT][FONT=Angsana New, AngsanaUPC][SIZE=+2][SIZE=+1]สมโชติ อ๋องสกุล[/SIZE][/SIZE][/FONT] </CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(พ.ศ.2522-2524) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ.2525-ปัจจุบัน)[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ความรักเพื่อแผ่นดินภาคแรก[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]หลังจากเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง เมื่อ พ.ศ.2101 เป็นต้นมามีความพยายามเคลื่อนไหวเพื่อ "ฟื้นม่าน" (ต่อต้านพม่า) ภายในเชียงใหม่เป็นระยะซึ่งประสบผลสำเร็จบ้างในช่วงพม่ามีปัญหาการเมืองภายในเช่น ช่วง พ.ศ.2270-2306 ภายใต้การนำของเทพสิงห์แห่งเมืองยวม แต่ไนนานพม่าก็มาปราบได้อีก จน ถึง พ.ศ.2317 กองทัพหลวงจากกรุงธนบุรีได้ร่วมกับขุนนางในท้องถิ่นนำโดยพญาจ่าบ้าน(บุญมา)เจ้ากาวิละพร้อมน้องๆ ก็สามารถขับพม่าออกจากเชียงใหม่ได้สำเร็จเมื่อคืนวันเพ็ญ เดือน 5(เหนือ)ตรงกันคืนวันเสาร์ที่ 14 มกราคม-15 มกราคม พ.ศ.2317 พม่าต้องถอยกำลังไปตั้งมั่นที่เชียงแสน[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ถวายนัดดานารีครั้งที่หนึ่ง
    พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม)บันทึกเรื่องราวหลังฟื้นม่านในเชียงใหม่สำเร็จแล้วตอนหนึ่งดังนี้ [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]"วันพฤหัสบดี เดือน ยี่ แรม 3 ค่ำ เสด็จอยู่ ณ พระตำหนักริมน้ำเมืองเชียงใหม่
    ทรงตรัสว่า พระยาลาวมีชื่อสวามิภักด์เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ได้ทำราชการช่วยรบพม่ามีความชอบ ทรงพระราชทานพระแสงปีนยาว ปืนสั้น หอก เสื้อผ้าแก่พระยาจ่าบ้านให้ถือพระราชอาชญาสิทธิ์เป็นพระยาวิเชียรปราการครองเมืองเชียงใหม่....ในวันนั้นพระยาวิเชียรปราการถวายนัดดานารีเป็นบาทบริจาริกาผู้หนึ่ง ( พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีและจดหมายเหตุรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี ประชุมพงศาวดาร เล่ม 40 กรุงเทพ:คุรุสภา 2512 หน้า 67-68 ) แต่พระเจ้าตากไม่ทรงรับเพราะถือว่า"เป็นการพรากลูกเขา"
    จึงพระราชทานคืนพร้อมเงิน 1 ชั่ง และผ้า 1 สำรับ ดังพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีบันทึกว่า " ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเงิน 1 ชั่ง ผ้าสำรับหนึ่งแล้วส่งตัวนารีผู้นั้นคืนให้พระยาวิเชียรปราการ" (
    เรื่องเดียวกัน หน้า 68)[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ถวายนัดดานารีครั้งที่สอง
    ทัพหลวงกรุงธนบุรีออกเดินทางจากเชียงใหม่มาถึงลำปางซึ่งมีพระยากาวิละรอรับเสด็จพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีบันทึกว่า "ครั้นรุ่ง ณ วันอังคาร เดือนยี่ แรม 8 ค่ำ ยกจากห้างฉัตรมาประทับแรมลำปาง เพลาบ่าย 4 โมงเสด็จมานมัสการลาพระบรมธาตุ บูชาด้วยดอกไม้ทอง เงินแล้วโปรยเงินพระราชทานแก่ลาวเป็นอันมาก...อนึ่งพระยากาวิละถวายนัดดานารีเป็นบาทบริจาริกาผู้หนึ่ง[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]พระเจ้าตากโปรดให้นำนัดดานารีคืนพระยากาวิละและพระราชทานเงิน 1 ชั่งพร้อมผ้าสำรับหนึ่งเพราะไม่ประสงค์"พรากลูกเขา" เหมือนดังได้พระราชทานให้พระยาวิเชียรปราการที่เชียงใหม่ แต่พระยากาวิละ
    และพระยาอุปราชาแห่งลำปางกราบทูลดังบันทีกว่า "บัดนี้เจ้าตัวก็สมัคร บิดามารดาญาติพี่น้องทั้งปวงก็ยอมพร้อมกันอันจะเป็นโทษด้วยพลัดพรากจากบิดามารดา" พระเจ้าตากจึงทรงรับไว้[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ดังพระราชพงศาวดารบันทึกว่า"ทรงพระดำริเห็นว่าตั้งใจสวามิภักดิ์เป็นแท้แล้วจึ่งพาตามเสด็จฯมาด้วย" [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]นัดดานารีจากนครลำปางก็เข้าสู่ราชสำนักกรุงธนบุรีตามความประสงค์ของเจ้ากาวิละแห่งนครลำปาง
    ความรักของแม่ทัพเอก ช่วงเวลาที่พระยากาวิละรับเสด็จทัพหลวงแห่งกรุงธนบุรีและถวายนัดดานารีเป็นบาทบริจาริกานั้น แม่ทัพเอกแห่งกรุงธนบุรีคือเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ(บุญมา)ได้มีโอกาสเห็นโฉมของแม่นางศรีอโนชาน้องสาวของพระยากาวิละรู้สึกต้องใจ จึงให้คนมาทาบทามขอนางดังพงศาวดารบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]"..เจ้าพระยาสุรสีห์ ก็มีใจรักใคร่ยังนางศรีอโนชาราชธิดาอันเป็นน้องเจ้ากาวิละ จึงใช้ขุนนางผู้ฉลาดมาขอเจ้าทั้ง 7 พระองค์พี่น้องมีเจ้าชายแก้ว พระบิดาเป็นประธานรำพึงเห็นกัลยาณมิตรอันจักสนิทต่อไปภายหน้าก็เอายังนางศรีอโนชาถวายเป็นราชเทวีแห่งเจ้าพระยาเสือคือเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นแล.."[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1](ดู พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์ กับหอคำมงคลฉบับสอบทานเอกสารโดยศักดิ์ รัตนชัย อ้างในทิว วิชัยขัทคะ "พระอัครชายาเธอเจ้าศรีอโนชา" เจ้าหลวงเชียงใหม่ กรุงเทพ:คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่ 2539 หน้า226 )[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]เมื่อเจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา)ได้รับเจ้าศรีอโนชาจากเจ้าชายแก้วผู้เป็นพ่อและเจ้ากาวิละผู้เป็นพี่พร้อมเจ้านายแห่งนครลำปางแล้วก็"เสด็จเมือ"ทางเมืองสวรรคโลก
    กลับกรุงธนบุรีให้เจ้าศรีอโนชาเป็นท่านผู้หญิงแห่งบ้านปากคลองบางลำพู กล่าวได้ว่า หลังศึกฟื้นม่านที่เชียงใหม่ปี พศ.2317สาวงามจากนครลำปางก็ได้ติดตามเป็นบาทบริจาริกาจอมทัพแห่งกรุงธนบุรี 1
    คนและติดตามเป็นเทวีของแม่ทัพแห่งกรุงธนบุรีอีก 1 คนโดยทั้งสองต่างได้"ถวายงาน"เพื่อแผ่นดิน
    สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกรุงธนบุรีกับล้านนา เรื่องราวของนัดดานารีผู้ติดตามพระเจ้าตากไม่พบบันทึกสืบต่อ แต่เรื่องราวของเจ้าศรีอโนชามีปรากฏอย่างโดดเด่นยิ่ง[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ความรักที่บ้านปากคลองบางลำพูในสมัยกรุงธนบุรี บ้านพักหรือตำหนักของพระยาสุรสีห์(บุญมา)
    แม่ทัพเอกอยู่ที่ปากคลองบางลำพู ใกล้วัดตองปุหรือวัดชนะสงคราม เจ้าศรีอโนชาได้อยู่ที่บ้านพักแห่งนี้และมีธิดาด้วยกัน 1 คนเมื่อ พศ.2320 ต่อมาเมื่อบิดาได้รับสถาปนาเป็นวังหน้า จึงเรียกธิดาว่าเจ้าฟ้าพิกุลทอง [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ความรักแผ่นดินของคนยวน ปากเพรียว
    หลักฐานร่วมสมัยกรุงธนบุรีคือจดหมายเหตุควาทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวีกล่าวว่าปลายรัชกาลกรุงธนบุรี"เกิดโกลี" เมื่อธิดา(เจ้าฟ้าพิกุลทอง)อายุได้ 4 ขวบนั้น กรุงธนบุรีก็มีเหตุร้าย ขณะแม่ทัพใหญ่ 2
    พี่น้องคือเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ไปราชการทัพที่เวียตนามและเขมร พระยาสรรค์และพวกไปยกกำลังเข้าปล้นบ้านพระยาสุริยอภัย หลานพระเจ้ากรุงธนบุรีเพื่อก่อกบฎ[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]หนังสือไทยรบพม่าได้บันทึกบทบาทของเจ้าศรีอโนชาหรือเจ้าศิริรจนาตอนนี้ว่า "เมื่อเกิดการรบขึ้นนั้น เจ้าศิริรจนา ท่านผู้หญิงของพระยาสุรสีห์อยู่ที่บ้านปากคลองบางลำภู รู้ข่าวว่าข้าศึกมาปล้นบ้านเจ้าพระยาสุริยอภัยจึงคิดอ่านกับพระยาเจ่ง พระยาราม นายกองมอญเพื่อปราบกบฎ ขณะเดียวกันตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ บันทึกว่า "เจ้าศรีอโนชาได้ใช้ดั้น(จดหมาย)ไปหาชาวปากเพรียวเข้ามา แล้วมีอาชญาว่าคันสูยังอาษาพระยาสิงพระยาสันได้ ในมื่อกูมีชีวิตกูบ่หื้อสูได้ทำการบ้านเมือง จะหื้อสูสะดวกค้าขายตามสะบายเท่าเว้นไว้แต่การกูต้องประสงค์ว่าฉันนั้น[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ชาวปากเพรียวอาษาเข้ายับ(จับ)เอาพระยาสิงห์พระยาสันได้แล้วฆ่าเสีย เจ้าศรีอโนชา"หงายเมือง"ได้ไว้แล้วไปเชิญเจ้าพระยาจักรีพระยาสุรสีห์สองพี่น้องเข้ามาผ่านพิภพขึ้นเสวยราชย์.." (ดู ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี 2539 หน้า118)[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ปากเพรียวในเอกสารก็คือสระบุรี
    ชาวปากเพรียวที่อาสาเข้ามาคงเป็นคนลาวหรือยวนในสังกัดของเจ้าศรีอโนชาจึงสามารถมีจดหมาย(ดั้น)สั่งไปมาปราบกบฎได้[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]บริเวณปากเพรียวนี้ต่อมาเป็นที่อยู่ของชาวยวนเชียงแสนจำนวนมากหลังจากพระเจ้ากาวิละพี่ชายของเจ้าศรีอโนชานำทัพตีเชียงแสนแตกเมื่อ พศ.2347 หลักฐานดังกล่าวแสดงถึงบทบาทของเจ้าศรีอโนชาในฐานะเป็นอยู่เบื้องหลังของการสถาปนาราชวงศ์จักรีอย่างชัดเจน [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ความรักที่วังหน้า "ท่าพระจันทร์"
    หลังจากปราบดาภิเษกและสถาปนาราชวงศ์จักรีเมื่อ พศ.2325 แล้ว เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง)ก็สถาปนาเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ส่วนพระอนุชาคือเจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา)ก็ได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท(พศ.2286-2366) กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทโปรดฯให้สร้างพระราชวังบวรอย่างใหญ่โตบน"พื้นที่ท่าพระจันทร์"ประกอบด้วยพระราชมณเฑียรที่ประทับสร้างเป็นวิมาน 3 หลัง พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พระพิมานดุสิดาโปรดให้สร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ที่ทรงนำไปจากเชียงใหม่โปรดให้สร้างทุกอย่างในวังหน้าบนพื้นที่ท่าพระจันทร์เหมือนในวังหลวงเช่นโรงช้าง โรงม้า ศาลาลูกขุน คลัง วัดพระแก้ววังหน้าฯลฯ ต่างกันตรงที่ตำหนักข้างในวังหลวงสร้างด้วยไม้ แต่ตำหนักชั้นในวังหน้าสร้างเป็นตึก[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]โดยเฉพาะตำหนักของเจ้ารจจาหรือเจ้าศรีอโนชาพระอัครราชา
    สร้างเป็นหมู่ตำหนักยกหลังคาเป็นสองชั้น และตำหนักของเจ้าฟ้าพิกุลทองพระราชธิดา รอบวังหน้ามีป้อม 10 ป้อมเช่นป้อมพระจันทร์ ป้อมพระอาทิตย์ฯลฯ นอกกำแพงพระราชวังบวรฯด้านใต้มีวัดแห่งหนึ่ง เดิมชื่อวัดสลัก กรมพระราชวังบวรฯโปรดให้เรียกว่าวัดนิพพานราม และเมื่อจะทำสังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ.2331 โปรดให้เรียกว่าวัดพระศรีสรรเพชญ์ ทรงออกผนวชวัดนี้ 15 วัน ปี พศ.2345 พม่ายกทัพมาตีเชียงใหม่ กรมพระราชบวรฯยกทัพขึ้นปราบ แต่เมื่อถึงเมืองเถินอาการนิ่วกำเริบทรงมอบอำนาจให้กรมพระราชวังหลังคุมทัพแทนแล้วทรงกลับกรุงเทพเมื่อ พ.ศ.2346 และสวรรคตที่พระที่นั่งบูรพาภิมุข พระชนมายุ 60 พรรษา (ดู มรว.แสงโสม เกษมศรีและวิมล พงศ์พัฒน์ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่1ถึงรัชกาลที่ 3(พศ.2325-2394) กรุงเทพ:คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2515 หน้า 20-21,34-36)[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]พระอัครชายาเจ้าศรีอโนชากับความรักเพื่อแผ่นดิน
    หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทสวรรคตแล้ว ไม่พบบันทึกเรื่องราวของพระอัครชายาเจ้าศรีอโนชา แต่คงอยู่ในพระราชบวรจนสิ้นพระชนม์และคงมีการนำอัฐิมาไว้ที่นครลำปาง เพราะปัจจุบันยังที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระอัครชายาเจ้าศรีอโนชาที่วัดพระธาตุลำปางหลวง นครลำปาง ส่วนพระราชธิดาคือเจ้าฟ้าพิกุลทอง ได้ทรงกรมเป็นกรมขุนศรีสุนทรเมื่อปีมะโรง พศ.2351 และสิ้นพระชนม์เมื่อปีมะเมีย
    พ.ศ.2353 พระชันษา 34 ปี นับเป็นนัดดาของพระเจ้ากาวิละแห่งนครเชียงใหม่[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]พระอัครชายาเจ้าศรีอโนชา"แม่หญิงแห่งล้านนา"ได้สร้างวีรกรรม"หงายเมือง"ให้สองพี่น้องแม่ทัพเอกแห่งกรุงธนบุรีผู้เป็นอดีตขุนนางแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ปราบดาภิเษกและสถาปนาราชวงศ์ใหม่ ซึ่งสองพี่น้องผู้เป็น"วังหลวง"และ"วังหน้า"แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตระหนักและยกย่อง พระนางจึงเป็นพลังสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชวงศ์จักรีกับตระกูลเจ้าเจ็ดตนแห่งล้านนา[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ความรักของเจ้าศรีอโนชาจึงเป็นความรักเพื่อแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่และพิเศษสุดคือเป็นความรักเพื่อสองแผ่นดินทั้งแผ่นดินของพ่อแม่พี่น้องคือล้านนาและแผ่นดินของฝ่ายสวามีคือกรุงรัตนโกสินทร์
    ความรักเพื่อแผ่นดินของ"วังหน้า" บริเวณที่ตั้งพระราชวังบวรสถานมงคลหรือ"วังหน้า"ซึ่งเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทและพระอัครชายาเธอเจ้าศรีอโนชาเป็น"แผ่นดินทางการเมือง"ที่มีประวัติศาสตร์ระทึกใจตลอด 2 ศตวรรษนับแต่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ใน พศ.2325เป็นต้นมา[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]เพราะราชธรรมเนียมที่กำหนดไว้คือ"เมื่อสิ้นพี่ก็จะต้องเป็นของน้อง" ดังนั้นทั้งวังหลวงและวังหน้าจึงมีทุกอย่างเสมอเหมือนกัน การถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองก็ต้องมี 2 ชุดทั้งวังหลวงและวังหน้า แต่น้องผู้เป็น"วังหน้า"ต้องสิ้นพระชนม์ก่อนพี่ผู้เป็น"วังหลวง" ดังนั้นจึงมีเรื่องเล่าว่าระหว่างทรงประชวร
    กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดฯให้เชิญพระองค์ขึ้นเสลี่ยงเสด็จออกไปวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์(ต่อมาเรียกวัดมหาธาตุ)เพื่อนมัสการพระประธานในพระอุโบสถทรงจับพระหัตถ์อุทิศถวายพระแสงเพื่อเป็นพุทธบูชาเพื่อให้ทำเป็นราวเทียน เป็นที่มาของรูปแบบพระบวรอนุสาวรีย์หน้าวัดมหาธาตุในปัจจุบัน
    ครั้งนั้นเล่ากันว่าทรงบ่นว่า"ของนี้กูอุตสาห์ทำด้วยความคิดและเรี่ยวแรงเป็นหนักหนา...ต่อไปก็จะเป็นของท่านผู้อื่น..และทรงแช่งตอนหนึ่งว่า"..นานไปใครที่มิใช้ลูกกู ถ้ามาเป็นเจ้าของเข้าครอบครอง
    ขอผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข.."(สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ"ตำนานวังหน้า"
    ประชุมพงศาวดารภาค 13 อ้างในสมโชติ อ๋องสกุล "วังหน้า:ประวัติศาสตร์เมื่อ 200 ปี บนดินแดนธรรมศาสตร์" 2525)[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]การเมืองที่พลิกผันชุดแรกของดินแดนนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญทิวงคตในวันที่ 28 สิงหาคม พศ.2428 รัชกาลที่ 5 ก๋โปรดฯให้ยุบเลิกตำแหน่งวังหน้าและสถาปนาตำแหน่งพระบรมโอรสาธิราชขึ้นแทนเพื่อเปลี่ยนธรรมเนียมการสืบราชสมบัติ"จากพี่มายังน้อง"เป็น"จากพ่อมายังลูก"เรื่องราวของ"วังหน้า"ก็กลายเป็นตำนานที่ไม่ค่อยเปิดเผยตั้งแต่นั้นมา พื้นที่อาคารส่วนหนึ่งของดินแดนนี้ก็ถูกปรับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โรงละคอนแห่งชาติ[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ส่วนตำหนักฝ่ายในเช่นตำหนักของเจ้าฟ้าพิกุลทองซึ่งอยู่ด้านท่าพระจันทร์ต่อมาถูกรื้อเป็นที่สมบัติของกระทรวงกลาโหมเป็นที่ตั้งทหารกองต่างๆตามลำดับคือเป็นที่ตั้งกองทหารเรือ เป็นที่ตั้งกองทหารรักษาพระองค์ราบที่ 11 เป็นกองพันทหารราบที่ 4 และ 5 [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ความรักเพื่อแผ่นดินภาคสอง[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีสตรีสูงศักดิ์จากล้านนา"ถวายงาน"ด้วยความรักเพื่อแผ่นดินอีก2 คนคือ[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1](1)เจ้าทิพเกษร ธิดาของเจ้าสุริยะและเจ้าสุวัณณา ถูกส่งมาถวายงานเมื่อ พ.ศ.2446 และได้ประสูติพระราชโอรสถวายรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2427 พระราชทานนามว่าพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ (แปลว่าศรีเมืองเชียงใหม่) ต่อมาทรงกรมเป็นกรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี
    เป็นเจ้าฟ้าของสยามประเทศพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จากต่างประเทศ โดยทรงเป็นดอกเตอร์วิทสตาดส์ วิสเซนซัพท์ มหาวิทยาลัยทุบบิงเงิน ประเทศเยอรมัน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วกลับมารับราชการดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพลำพัง (กรมการปกครอง)แต่ทรงอัตวินิบาตกรรมจบชีวิตหนุ่มวัย 28 ปีด้วยพระแสงปืนเมื่อ 12 มกราคม 2455 (ดู สมโชติ อ๋องสกุล "คนบ้าในสังคมไทยและสังคมล้านนา" พลเมืองเหนือ ปีที่ 1 ฉบับที่ 12 วันที่ 7-13 มกราคม 2545 หน้า 24-25)[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1](2)พระราชชายาเจ้าดารารัศมี (พศ.2416-2476)พระธิดาองค์ที่ 11 ของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 และแม่เจ้าทิพเกษร ถวายงานด้วยความรักเพื่อแผ่นดินเมื่อ พศ.2429 ประสูติพระราชธิดาถวายรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2432 พระราชทานนามว่าพระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี
    ทรงมีชีวิตรักในพระบรมมหาราชวังพิเศษยิ่งกว่าผู้ใดเพราะพระราชบิดาได้มอบเงินจำนวนหนึ่งให้สร้างพระตำหนักในเขตพระราชฐาน เป็นตำหนักตึก 3 ชั้น รัชกาลที่ 5 โปรดเรียกเป็นการส่วนพระองค์ว่า"เรือนนางดารา" มีต้นไม้หอมจากเมืองเหนือคือต้นพะยอมส่งกลิ่นหอมทั่วเขตพระราชฐานชั้นในถึงกับทรงมีพระราชหัตถเลขาเมื่อ รศ.126 ตอนหนึ่งว่า "จะบอกข่าวที่ควรจะยินดีอย่างหนึ่งต้นพยอมที่ไปปลูกเรืองนางดาราออกดอกแล้ว นึกว่าแผ่นดินพระจุลจอมเกล้าจะไม่เห็นดอกพยอม ก็มาได้เห็นเช่นนี้จะว่ากระไร
    (พระราชหัตถเลขา ร.5 ถึงพระยาวรพงษ์พิพัฒน์จางวางมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม รศ.126อ้างใน สมโชติ อ๋องสกุล"ไม้พะยอมเชิงดอยสุเทพ:ประวัติศาสตร์อันยาวนานสู่วิกฤตการณ์และบทเรียนชาวเชียงใหม่" ภาคเหนือฉบับฉลองชัยสู่ปีที่ 6 )[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงถวายงานด้วยความรักเพื่อแผ่นดินทำให้สองราชสำนักผูกพันกันแนบแน่นตราบถึงปัจจุบัน[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ความรักเพื่อแผ่นดินภาคสาม

    การเมืองที่พลิกผันชุดที่สองของดินแดน"วังหน้า"หรือ"ท่าพระจันทร์"เกิดขึ้นใน พ.ศ.2477 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายปรีดี พนมยงค์(พศ.2443-2526)ตั้ง"ตลาดวิชา"เรียกว่า"มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" ได้ซื้อที่ท่าพระจันทร์อันเป็นโรงทหาร กองพันทหารราบ ร.พัน 4 ร.พัน 5 ประมาณ 18 ไร่ 2 งาน ซึ่งตั้งราคาไว้จำนวน 749,518 บาทคณะรัฐมนตรีซึ่งมีนายปรีดีร่วมด้วยลดเหลือ 5 แสนบาทจ่ายงวดแรกเมื่อ พศ.2477 จำนวน 2 แสนบาท ต่อมาซื้อบริเวณที่ตั้งคลังเก็บอาวุธเพิ่มอีก 7 ไร่ 1 งาน
    แล้วสร้างอาคารตึกโดม ออกแบบโดยนายหมิว อภัยวงศ์(พศ.2448-2506)ในราคา 18,200 บาท ในปีแรก(2477)มีผู้สมัครเรียน 7,094 คน ช่วงปี2477-2496 มีผู้สำเร็จการศึกษาเป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต(ธ.บ.)จำนวน 5,427 คน[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ขณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเปิดตั้งแต่ พศ.2459 ผลิตบัณฑิตมาถึง พศ.2475 ได้เพียง 68 คน (ดู ชาญวิทย์ เกษตรศิริและคณะ สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2535)ดินแดน"ท่าพระจันทร์"ได้กลายเป็นสถาบันการศึกษาที่ทรงพลังของสังคมไทยตั้งแต่นั้นมาโดยมี"แม่โดม"เป็นสัญลักษณ์ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง(พศ.2484-2488)ดินแดนแห่งนี้คือที่ชุมชนของคนรักแผ่นดินในนาม"เสรีไทย" การเมืองที่พลิกผันได้ทดสอบความรักในแผ่นดินของลูกแม่โดมครั้งแรกเมื่อหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 8 พย.2490 นายปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองต้องหนีออกนอกประเทศ [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]รัฐบาลส่งหลวงวิจิตรวาทการ(กิมเหลียง) รักษาการณ์แทน(พศ.2493-2495)ครั้นหลังกบฎแมนฮัตตัน 29 มิย. 2494 ทหารบกก็เข้ายึด มธก.ทำให้นักศึกษาไม่มีที่เรียนเป็นเวลา 6 เดือน ทหารได้เตรียมการซื้อที่ดินกลับคืนเพื่อตั้งเป็นกองทหาร แต่ในเดือนตุลาคม 2494 "ลูกแม่โดม"จำนวน 3 พันคนเดินขบวนไปคัดค้านที่รัฐสภา และในวันที่ 5 พย.2494 ลูกแม่โดมผู้รักแผ่นดินก็รวมพลัง"รักแผ่นดิน"ยึดมหาวิทยาลัยกลับคืนได้สำเร็จ ทำให้เรียกวันที่ 5 พย.ว่า"วันธรรมศาสตร์สามัคคี" ครั้งนั้นเปลื้อง วรรณศรี เขียนบทกวีเมื่อ 2495 ตอนหนึ่งว่า [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]สิ่งเหล่านี้ที่โดมโหมจิตข้า ให้แกร่งกล้าเดือนปีที่ไม่หวั่น
    หากขาดโดมเจ้าพระยาท่าพระจันทร์ ก็ขาดสัญญลักษณ์พิทักษ์ธรรม[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]การเมืองที่พลิกผันชุดต่อมาทำให้ดินแดน"ท่าพระจันทร์"ได้กลายเป็น"พื้นที่สาธารณะ"(public
    space) ของประชาชนผู้รักแผ่นดินเมื่อได้เป็นสถานที่ของการก่อตัวของเหตุการณ์ใหญ่ในประวัติศาสตร์
    2 เหตุการณ์คือ 14 ตุลาคม 2516และ 6 ตุลาคม 2519 ก่อน 6 ตุลาคม 2519 "คนรักแผ่นดิน"ถูกแยกเป็น 2 ขั้วซ้าย-ขวา นำสู่เหตุการณ์ขวาพิฆาตซ้ายสุดหฤโหดใน 6 ตุลาคม 2519 ครั้นหลังเหตุการณ์ดังกล่าวคนรักแผ่นดินก็ถูกแบ่งเป็น 2 ขั้วอีกครั้งด้วยกระแสการพัฒนาแผ่นดิน"แม่โดม"คือหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาโดยเริ่มโครงการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตตั้งแต่ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (2520-2524) และดำเนินการตามแผนท่ามกลางการคัดค้านของผู้รักแผ่นดิน"ท่าพระจันทร์"เป็นระยะจนถึง 28 พ.ย.2539 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็มีมติให้นักศึกษาปริญญาตรีของคณะดั้งเดิมทั้งหมดของวิทยาเขตท่าพระจันทร์ไปเรียนที่ศูนย์รังสิตทั้งหมด เพื่อพัฒนาพื้นที่"แม่โดม"ท่าพระจันทร์เป็นเขต"ธุรกิจการศึกษา"("education business enterprise")[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]มติดังกล่าว นับเป็นมติที่แบ่งขั้ว"ผู้รักแผ่นดิน แม่โดม "ซึ่งไม่เพียงแต่คณาจารย์ข้าราชการ นักศึกษา
    บัณฑิตแต่รวมถึง"ประชาชน"ผู้ถือว่า"ดินแดนของแม่โดม"เป็นสมบัติสาธารณะของสังคมไทย การแบ่งขั้วเมื่อก่อน 6 ตุลาคม2519เกิดจากการเมืองภายนอกแต่ครั้งนี้ผู้แบ่งขั้วกลับเป็นคนภายใน ผู้เป็นเลือดเนื้อของ"แม่โดม"เอง ไม่ฟังเสียงของประชาคมและไม่ฟังเสียงของ"พ่อ"ที่ชื่อสัญญา ธรรมศักดิ์(พศ.2460-2545)
    ที่กล่าวไว้เมื่อครั้งมีชีวิตอันเป็นทางออกที่เหมาะสมตอนหนึ่งว่า"คณะต่างๆยังคงอยู่ที่นี่(ท่าพระจันทร์)แต่จะเปิดคณะใหม่ที่รังสิต เพราะงบประมาณเรามีน้อย ไม่อาจจะทุ่มสร้างคณะใหม่ทั้งหมดได้
    อีกอย่างหนึ่งถ้าจะย้ายคณะใดไปก็จะลำบากแก่อาจารย์และนักศึกษาในการเดินทางไปกลับ"(ดู
    หนังสือศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์กับธรรมศาสตร์ เนื่องในโอกาสอายุครบ 84 ปี 4 เมษายน 2534 หน้า 39)[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ยิ่งเมื่อมองเจตนารมย์ของ"พ่อ"ที่ชื่อปรีดี พนมยงค์(พศ.2443-2526)ผู้ก่อตั้ง"ตลาดวิชา"เพื่อประชาชนและเพื่อระบบประชาธิปไตยอันเป็นจิตวิญญานของ"ธรรมศาสตร์และการเมือง" "ลูกแม่โดม"ผู้มีโอกาสทำหน้าที่ฝ่ายบริหารควรต้องทบทวนมติของสภามหาวิทยาลัย 28 พ.ย.2539 แม้จะอ้างว่าทำไปเพราะ"รักแผ่นดินแม่โดม"หรือทุกศูนย์ได้สร้าง"โดม"เป็นสัญลักษณ์แล้วก็ตาม จิตวิญญาน มธก.และคำแนะนำของ"พ่อ"(สัญญา)คือคำตอบสุดท้าย[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ความรักเพื่อแผ่นดิน 2 ภาคแรกจบลงด้วยความภาคภูมิใจของ"ผู้รักแผ่นดิน"แต่ภาคสามยังไม่จบเพราะมี"วาระแฝงเร้น"จึงยากที่ "ลูกแม่โดม" ที่เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดจะฟังคำแนะนำของ"พ่อ"สัญญา ธรรมศักดิ์และเสียงจากประชาคม บัดนี้ฯพณฯ"สัญญา ธรรมศักดิ์"(พศ.2460-2545)อดีตข้าหลวงยุติธรรมนครเชียงใหม่ ผู้ได้รับความรักความเคารพจากชาวเชียงใหม่อย่างสูงจนมีการจัดงานขันโตกดินเนอร์ขึ้นครั้งแรกเพื่อเสี้ยงส่งฯพณฯเมื่อปีพ.ศ.2496 ได้ทำหน้าที่"ผู้รักแผ่นดิน"ทั้งในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    นายกรัฐมนตรี ประธานองคมนตรีอย่างสมบูรณ์แล้ว [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ผู้เขียนในฐานะเป็นข้าราชการที่ได้รับการบรรจุที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ พศ.2522 ขอกราบคารวะดวงวิญญานของ ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ด้วยความเคารพยิ่งและเห็นว่าคำแนะนำของฯพณฯสัญญา
    ธรรมศักดิ์คือทางออกของ"ผู้รักแผ่นดิน"ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]จากหนังสือพิมพ์พลเมืองเหนือ ฉ.17 วันที่ 11-17 กุมภาพันธ์ 2545[/SIZE][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#002100 height=2> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.dailynews.co.th/dailynew..._mark.aspx?Newsid=93500&NewsType=1&Template=2

    [​IMG]

    ราชนิกุล ราชวงศ์..กษัตริย์ไทย
    12/7/2549


    การสืบสกุล สากลนิยมนับเชื้อสายทางผู้เป็นบิดา ทำให้เราทราบว่าตนเองสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด ใช้สำหรับสามัญชนทั่วไป แต่สำหรับเชื้อพระราชวงศ์แล้ว จะเรียกว่า ราชสกุล บุคคลที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์จึงถูกเรียกว่า ราชนิกุล

    ราชสกุล แปลว่า สกุลของพระราชา หมายถึง สกุลของผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ มีนามของราชสกุลเป็นนามสกุล มักจะเป็นพระนามพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    รัฐฎา บุนนาค เล่าให้ฟังว่า ราชสกุลเริ่มขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ทำให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้ ทราบว่าใครเป็นพี่น้องหรือสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด สำหรับพระราชวงศ์นั้น ท่านใดสืบเชื้อสายมาจากพระราชโอรสพระองค์ใดของพระมหากษัตริย์ โปรดให้ใช้พระนามของพระราชโอรสพระองค์นั้นเป็นนาม ราชสกุล

    “สำหรับสมาชิกในราชสกุลจากลำดับชั้นหม่อมหลวงลง มาให้ใช้นามสกุลอันเป็นราชสกุลโดยมีคำว่า “ณ อยุธยา” ต่อท้าย แรกเริ่มมีการใช้นามสกุล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ใช้ว่า ณ กรุงเทพ ต่อมาเปลี่ยนคำต่อราชสกุล ณ กรุงเทพ เป็น ณ อยุธยา แทน โดยมีพระราชวินิจฉัยว่า กรุงเทพ เป็นคำขึ้นต้นชื่อพระนคร 2 แห่ง คือ กรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ แต่พระราชวงศ์จักรีเป็นราชสกุลที่สืบมาตั้งแต่ในสมัยพระนครศรีอยุธยา จึงโปรดให้ใช้คำว่า ณ อยุธยา ต่อท้าย”

    ส่วนคำว่า ราชินิกุล สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายความหมายของคำว่า ราชินิกุล ต่างกับคำว่า ราชนิกุล ไว้ว่า ราชนิกุล หมายถึง เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมชนกนาถ ราชินิกุล เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ต่างกันอีกอย่างหนึ่ง คือ ราชนิกุล ย่อมเป็นเชื้อเจ้า เพราะสืบสายลงมาจากเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ในพระราชวงศ์ร่วมสกุลอันเดียวกัน ดั่งใช้นามสกุลว่า ณ อยุธยา อยู่ในปัจจุบันนี้ แต่ราชินิกุลนั้น เพราะสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ย่อมมีพระญาติเป็นสกุลอื่นต่างกันทุกองค์ ราชินิกุลจึงมีหลายสกุล

    ราชสกุล เป็นสกุลที่สืบสายมาจากพระเจ้าแผ่นดินมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 มาถึงปัจจุบัน สำหรับสายพระพี่พระน้อง บางครั้งเรียกกันว่า ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือ พระปฐมบรมราชวงศ์ คือ มิได้สืบสายโดยตรงลงมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มี 6 ราชสกุล คือ

    เจษฎางกูล - สืบสายจากพระองค์เจ้าลา พระอนุชาต่างพระชนนี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ

    เทพหัสดิน - สืบสายจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์น้อย ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ

    นรินทรกุล - สืบสายจาก กรมหลวงนรินทรเทวี พระน้องนางเธอต่างพระชนนี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
    นรินทรางกูล - สืบสายจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ พระโอรสในสมเด็จกรมพระยาเทพสุดาวดี สมเด็จพระพี่นางเธอ พระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ

    มนตรีกุล - สืบสายจาก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง พิทักษมนตรี พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์

    อิศรางกูร - สืบสายจาก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนดิศรานุรักษ์ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์

    ราชสกุลในรัชกาลที่ 1 มี 8 ราชสกุล คือ

    ฉัตรกุล - สืบสายจาก กรมหมื่นสุรินทรรักษ์

    ดวงจักร - สืบสายจาก กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์

    ดารากร - สืบสายจาก กรมหมื่นศรีสุเทพ

    ทัพพะกุล - สืบสายจาก กรมหมื่นจิตรภักดี

    พึ่งบุญ - สืบสายจาก กรมหลวงรักษ์รณเรศ

    สุทัศน์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์ กรมหมื่นไกรสรวิชิต

    สุริยกุล - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศ (พระองค์เจ้าชายสุริยา)

    อินทรางกูร - สืบสายจาก กรมหมื่นอินทรพิพิธ

    บวรราชสกุล (วังหลัง - สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์ เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข) ในรัชกาลที่ 1 มี 2 ราชสกุล คือ

    ปาลกะวงศ์ - สืบสายจาก กรมหมื่นนราเทเวศร์

    เสนีวงศ์ - สืบสายจาก กรมหมื่นเสนีบริรักษ์

    บวรราชสกุล (วังหน้า - สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ในรัชกาลที่ 1 มี 4 ราชสกุล คือ

    นีรสิงห์ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายเณร

    ปัทมสิงห์ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายบัว

    สังขทัต - สืบสายจาก กรมขุนนรานุชิต

    อสุนี - สืบสายจาก กรมหมื่นเสนีเทพ

    ราชสกุลในรัชกาลที่ 2 มี 20 ราชสกุล คือ กปิตถา - สืบสายจาก กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์

    กล้วยไม้ - สืบสายจาก กรมหมื่นสุนทรธิบดี

    กุญชร - สืบสายจาก กรมพระพิทักษ์เทเวศร์

    กุสุมา - สืบสายจาก กรมหมื่นเทพสุนทร

    ชุมแสง - สืบสายจาก กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา

    เดชาติวงศ์ - สืบสายจาก กรมสมเด็จพระเดชาดิศร

    ทินกร - สืบสายจาก กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์

    นิยมิศร - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายเนียม

    นิลรัตน์ - สืบสายจาก กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา

    ปราโมช - สืบสายจาก กรมขุนวรจักรธรานุภาพ

    พนมวัน - สืบสายจาก กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์

    ไพฑูรย์ - สืบสายจาก กรมหมื่นสนิทนเรนทร์

    มรกฎ - สืบสายจาก กรมขุนสถิตย์สถาพร

    มหากุล - สืบสายจาก กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์

    มาลากุล - สืบสายจาก สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์

    เรณุนันทน์ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายเรณู

    วัชรีวงศ์ - สืบสายจาก กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์

    สนิทวงศ์ - สืบสายจาก กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

    อรุณวงศ์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวงศ์ กรมหลวงวรศักดาพิศาล

    อาภรณ์กุล - สืบสายจาก เจ้าฟ้าชายอาภรณ์
    บวรราชสกุล (วังหน้า - สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรม พระราชวังบวรเสนานุรักษ์) ในรัชกาลที่ 2 มี 10 ราชสกุล คือ

    บรรยงกะเสนา - สืบสายจาก กรมขุนธิเบศร์บวร

    พยัคฆเสนา - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายเสือ

    ภุมรินทร - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายภุมริน

    ยุคันธร - สืบสายจาก กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์

    รองทรง - สืบสายจาก กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ

    รังสิเสนา - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายโย

    รัชนิกร - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายรัชนิกร

    สหาวุธ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายชุมแสง

    สีสังข์ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายสีสังข์

    อิศรเสนา - สืบสายจาก กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิ์เดช
    ราชสกุลในรัชกาลที่ 3 มี 13 ราชสกุล คือ

    โกเมน - สืบสายจาก กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์

    คเนจร - สืบสายจาก กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์

    งอนรถ - สืบสายจาก พระองค์ชายงอนรถ

    ชมพูนุท - สืบสายจาก กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์

    ชุมสาย - สืบสายจาก กรมขุนราชสีหวิกรม

    ปิยากร - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายเปียก

    ลดาวัลย์ - สืบสายจาก กรมหมื่นภูมินทรภักดี

    ลำยอง - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายลำยอง

    ศิริวงศ์ - สืบสายจาก สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์

    สิงหรา - สืบสายจาก กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ

    สุบรรณ - สืบสายจาก กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล

    อรณพ - สืบสายจาก กรมหมื่นอุดมรัตนราษี

    อุไรพงศ์ - สืบสายจาก กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ
    บวรราชสกุล (วังหน้า - สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ) ในรัชกาลที่ 3 มี 5 ราช สกุล คือ

    เกสรา - สืบสายจาก กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ์

    กำภู - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายกำภู

    นันทิศักดิ์ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายเริงคนอง

    อนุชะศักดิ์ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายนุช

    อิศรศักดิ์ - สืบสายจาก เจ้าฟ้าอิศราพงษ์
    ราชสกุลในรัชกาลที่ 4 มี 27 ราชสกุล คือ

    กมลาศน์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร

    กฤดากร - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์

    เกษมศรี - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ

    เกษมสันต์ - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์

    คัคณางค์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร

    จักรพันธุ์ - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์

    จันทรทัต - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา

    จิตรพงศ์ - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (พระองค์เจ้าจิตรเจริญ)

    ชยางกูร - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป

    ชุมพล - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

    ไชยันต์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย

    ดิศกุล - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    ทวีวงศ์ - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์

    ทองแถม - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ

    ทองใหญ่ - สืบสายจาก พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

    เทวกุล - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

    นพวงศ์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงษ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส

    ภาณุพันธุ์ - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

    วรวรรณ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

    วัฒนวงศ์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์

    ศรีธวัช - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ

    ศุขสวัสดิ์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดิ์ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช

    โศภางค์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายศรีเสาวภางค์

    สวัสดิกุล - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์

    สวัสดิวัตน์ - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัตน์วิศิษฎ์

    สุประดิษฐ์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาทนิภาธร

    โสณกุล - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
    บวรราชสกุล (วังหน้า - พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในรัชกาลที่ 4 มี 11 ราชสกุล คือ

    จรูญโรจน์ - สืบสายจาก กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ

    โตษะณีย์ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายโตสินี

    นวรัตน์ - สืบสายจาก กรมหมื่นสถิตยธำรงสวัสดิ์

    นันทวัน - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายนันทวัน

    พรหเมศ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายพรหมเมศ

    ภาณุมาศ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายภาณุมาศ

    ยุคนธรานนท์ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายยุคนธร

    วรรัตน์ - สืบสายจาก กรมหมื่นพิศาลบวรภักดิ์

    สายสนั่น - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายสนั่น

    สุธารส - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายสุธารส

    หัสดินทร - สืบสายจาก กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์
    ราชสกุลในรัชกาลที่ 5 มี 15 ราชสกุล คือ

    กิติยากร - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

    จักรพงศ์ - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

    จิรประวัติ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระ องค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช

    จุฑาธุช - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย

    ฉัตรชัย - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
    บริพัตร - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
    ประวิตร - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี
    เพ็ญพัฒน์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
    มหิดล - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
    ยุคล - สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์
    รพีพัฒน์ - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
    รังสิต - สืบสายจาก สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
    วุฒิชัย - สืบสายจาก พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
    สุริยง - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
    อาภากร - สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
    บวรราชสกุล (วังหน้า - สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรม พระราชวังบวรวิไชยชาญ) ในรัชกาลที่ 5 มี 9 ราชสกุล คือ
    กาญจนวิชัย - สืบสายจาก กรมหมื่นชาญชัยบวรยศ
    กัลยาณวงศ์ - สืบสายจาก กรมหมื่นกวีพจนสุปรีชา
    รัชนี - สืบสายจาก พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
    รุจจวิชัย - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายรุจาวรฉวี
    วรวุฒิ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายวรวุฒิอาภรณ์
    วิบูลยพรรณ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายวิบูลย พรรณรังษี
    วิสุทธิ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายบวรวิสุทธิ์

    วิไลยวงศ์ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าวิลัยวรวิลาส

    สุทัศนีย์ - สืบสายจาก พระองค์เจ้าชายสุทัศนนิภาธร
    ราชสกุลในรัชกาลที่ 7 มี 1 ราชสกุล คือ

    ศักดิเดชน์ ภาณุพันธ์ - สืบสายจาก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจีรศักดิสุประภาต (พระโอรสบุญธรรม )
    จุฑานันทน์ บุญทราหาญ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://pioneer.chula.ac.th/~tanongna/history/documents/wangna/mongkon.htm

    <TABLE height=56 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=766 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=626></TD><TD width=74></TD></TR><TR><TD height=66></TD><TD vAlign=top>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]​
    </TD><TD></TD></TR><TR><TD height=30></TD><TD></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=766 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=67 height=227></TD><TD vAlign=top width=624><!-- #BeginEditable "body" -->
    [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, Fixedsys][FONT=MS Sans Serif, Angsana New, Fixedsys][FONT=Angsana New, AngsanaUPC]กรมพระราชวังบวรสถานมงคล[/FONT][/FONT][/FONT][FONT=Angsana New, AngsanaUPC] [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชรัชทายาท มีความสำคัญรองลงมาจากพระเจ้าแผ่นดิน มีอำนาจรักษาพระนครได้กึ่งหนึ่ง เรียกเป็นสามัญว่า "วังหน้า" [/FONT][/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ตำแหน่งพระมหาอุปราชหรือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นยังไม่มีการตั้งพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีแต่ตำแหน่งลูกหลวงไปครองเมืองต่างๆ เมืองลูกหลวงได้แก่ เมืองพิษณุโลก สุพรรณบุรี ลพบุรี สวรรคโลก สิงห์บุรี กำแพงเพชร และชัยนาท เมืองหลานหลวงได้แก่เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี กฎมนเทียรบาล กล่าวถึงยศเจ้านายว่า พระราชกุมารที่เกิดด้วยพระอัครมเหสีเป็นสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า พระราชกุมารที่เกิดด้วยแม่ยั่วเมือง เป็นพระมหาอุปราช พระราชกุมารที่เกิดด้วยลูกหลวงเป็นพระเจ้าลูกเธอกินเมืองเอก เกิดด้วยหลานหลวง เป็นพระเจ้าลูกเธอกินเมืองโท เกิดด้วยพระสนมเป็นพระเยาวราช ตามหลักฐานที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารนั้น มีเจ้าไปครองเมืองไม่กี่พระองค์ และเมื่อเริ่มประเพณีตั้งวังหน้าประทับในพระนคร จึงเลิกประเพณีการตั้งเจ้านายไปครองเมือง [/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]การตั้งพระมหาอุปราชเริ่มมีเค้าในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๑ (พระมหาธรรมราชา) แต่ยังไม่ได้ตั้งเป็นตำแหน่งพระมหาอุปราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับ ณ พระราชวังจันทรเกษม ซึ่งตั้งอยู่หน้าวังหลวง คำว่า "วังหน้า" คงจะเกิดขึ้นสมัยนี้ ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นครองราชย์ ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเอกาทศรถให้รับพระราชโองการ มีพระเกียรติยศเสมอพระเจ้าแผ่นดิน ถึงรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๓ (สมเด็จพระเอกาทศรถ) จึงตั้งเจ้าฟ้าสุทัศน์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เป็นพระมหาอุปราช รับพระบัณฑูร อีก ๖ รัชกาลต่อมา คือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๔ (เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์) สมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ (พระเจ้าทรงธรรม) สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ (พระเชษฐาธิราช) สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๕ (พระเจ้าปราสาททอง) และสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๖ (เจ้าฟ้าชัย) ไม่มีการตั้งพระมหาอุปราช เริ่มตั้งอีกครั้งหนึ่งในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๗ (พระศรีสุธรรมราชา) คือ ทรงตั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชภาคินัย เป็นพระมหาอุปราช ประทับที่พระราชวังจันทรเกษมตามตำแหน่ง[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ไม่ได้ทรงตั้งผู้ใดเป็นพระมหาอุปราช เมื่อสวรรคตพระเพทราชาจึงปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ทรงตั้งหลวงสรศักดิ์ บุตรบุญธรรมเป็นพระมหาอุปราชประทับ ณ วังหน้า และทรงตั้งนายจบคชประสิทธิ์ ผู้มีความชอบช่วยให้ได้ราชสมบัติขึ้นเป็นเจ้า พระราชทานวังหลังให้เป็นที่ประทับ แล้วจึงให้บัญญัตินามเรียกสังกัดวังหน้าว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เรียกสังกัดวังหลังว่า กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข นอกจากนี้ยังตั้งเจ้าพระยาสุรสงครามให้มียศเสมอกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขด้วย [/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]รัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ (ขุนหลวงสรศักดิ์) ทรงตั้งพระเจ้าฟ้าเพชร พระราชโอรสองค์ใหญ่เป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงตั้งเจ้าฟ้าพร พระราชโอรสองค์น้อยเป็นพระบัณฑูรน้อย เจ้าฟ้าเพชรได้ครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ (พระเจ้าท้ายสระ) ทรงตั้งเจ้าฟ้าพร พระอนุชาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตอนปลายรัชกาล สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ ทรงมอบราชสมบัติแก่เจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสองค์ที่ ๒ แทนที่จะมอบแก่พระมหาอุปราช จึงเกิดศึกกลางเมือง พระมหาอุปราชทรงมีชัยชนะ เสด็จขึ้นปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พระเจ้าบรมโกศ) แต่ยังคงประทับ ณ วังหน้าตามเดิม[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิาชที่ ๓ (พระเจ้าบรมโกศ) ทรงแต่งตั้งพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ๒ ครั้ง ครั้งแรก พ.ศ. ๒๒๘๔ ทรงอุปราชาภิเษก เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ประทับในพระราชวังหลวง เพราะสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ยังประทับที่วังหน้า ต่อมาเกิดเพลิงไหม้วังหน้าใน พ.ศ. ๒๒๘๗ จึงย้ายมาประทับในพระราชวังหลวง ครั้นปลูกสร้างพระราชมนเทียรในวังหน้าเสร็จแล้ว จึงโปรดให้พระมหาอุปราชเสด็จไปประทับตามตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์นี้ ต่อมาได้รับพระราชอาญาจนสิ้นพระชนม์[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พระเจ้าบรมโกศ) ทรงมีพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าอีก ๒ พระองค์ คือ เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ทรงพระราชดำริว่าเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตมีพระปรีชาสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งพระมหาอุปราชมากกว่าเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี จึงทรงแต่งตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตเป็นพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ประทับอยู่ในพระราชวังหลวง มิได้ออกไปประทับ ณ วังหน้า ส่วนเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้นได้เสด็จออกทรงผนวช[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชได้เพียงปีเดียว สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ก็เสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตได้ครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ อยู่ในราชสมบัติไม่นานก็ถวายราชสมบัติแก่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระเชษฐา แล้วเสด็จออกทรงผนวช เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ได้บรมราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ ในรัชกาลของพระองค์ไม่มีพระมหาอุปราช ตราบจนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว บ้านเมืองเป็นจลาจล เพราะต่างฝ่ายต่างตั้งตนเป็นเจ้าพระยาวชิรปราการ (สิน) เจ้าเมืองกำแพงเพชรสามารถกู้อิสรภาพปราบก๊กต่างๆ และรวมคนไทยเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ณ กรุงธนบุรี ราชธานีแห่งใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ และตลอดรัชกาลของพระองค์ก็ไม่ได้ตั้งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โรงละครแห่งชาติและวิทยาลัยนาฏศิลปในปัจจุบัน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๔๕ อีกสามปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงพระราชทานอุปราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรให้ดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่โปรดให้ประทับที่พระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี และประทับอยู่จนกระทั่งสิ้นรัชกาลที่ ๑ อนึ่ง ในคราวเดียวกันนี้ ได้โปรดให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงเสนานุรักษ์เป็นพระบัณฑูรน้อย ด้วย[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]พ.ศ. ๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ สมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และเสด็จประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล ตามตำแหน่ง[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]หลังจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้วใน พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สืบมา ได้โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดินดังเช่นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงยกย่องสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและโปรดให้แก้ไขประเพณีฝ่ายพระราชวังบวรฯ ให้สมพระเกียรติยศสมเด็จพระอนุชาธิราช หลายประการ เป็นต้นว่า เปลี่ยนคำเรียกวังหน้าทางราชการจาก "พระราชวังบวรสถานมงคล" เป็น "พระบวรราชวัง" ให้เรียกพระราชพิธีอุปราชาภิเษกเป็น "พระราชพิธีบวรราชาภิเษก" เปลี่ยนพระนามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ จากแบบเดิมว่า "พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" เป็นพระนามอย่างพระเจ้าแผ่นดิน ว่า"สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศรังสรรค์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" และเปลี่ยนคำขานรับสั่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จาก "พระบัณฑูร" เป็น "พระบวรราชโองการ" ฉะนั้นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลนี้จึงมีพระเกียรติยศสูงกว่าสมัยใด พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับ ณ พระบวรราชวังตามตำแหน่ง[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพระชนม์เพียง ๑๕ พรรษา คณะพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีปรึกษากันอัญเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นับเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกที่มิได้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน และพระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงแต่งตั้งเอง[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]พ.ศ. ๒๔๒๘ กรมพระราชขวังบวรวิไชยชาญสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ประกาศยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชฝ่ายหน้า แล้วประกาศสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ดำรงตำแหน่งรัชทายาทตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชฝ่ายหน้า จึงยกเลิกตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา คงมีแต่ประเพณีการสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ตำแหน่งรัชทายาท ซึ่งยังปฏิบัติสืบมาจนปัจจุบัน[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]พระนามกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ในระหว่างที่ยังดำรงพระชนม์ชีพในแต่ละรัชกาล เรียกพระนามตำแหน่งว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลเหมือนกัน ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถวายพระนามกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๓ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและสะดวกแก่การขานพระนาม ดังนี้[/FONT]
    • [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๑ ถวายพระนามว่า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท[/FONT]
    • [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๒ ถวายพระนามว่า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์[/FONT]
    • [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๓ ถวายพระนามว่า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ส่วนในรัชกาลของพระองค์เอง ได้สถาปนาพระยศสมเด็จพระอนุชาธิราชเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดิน จึงปรากฏพระนามดังกล่าวมาแล้ว[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ปรากฏในสาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๗ ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนคำนำหน้าพระนามกรมพระราชวังบวรสถานมงคลรัชกาลที่ ๑-๓ จากคำว่า "กรมพระราชวังบวร" เป็น "สมเด็จพระบวรราชเจ้า" ทุกพระองค์ พระนามกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติให้เรียกว่า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ดู กรมศิลปากร. อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ก เล่ม ๑. กรุงเทพฯ ๒๕๒๖, หน้า ๑๒๕-๑๓๐.[/FONT]
    <HR>
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]บรรณานุกรม[/FONT]​
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยพระยศเจ้าต่างกรม และยศขุนนาง. โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. ๒๔๖๕.[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดาร กับเรื่องราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช. โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๗๙.[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๓ ตำนานวังหน้า. โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕. บริษัทรัฐภักดีจำกัด, ๒๔๙๓.[/FONT]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.yingthai-mag.com/detail.asp?ytcolumnid=693&ytissueid=612&ytcolcatid=2&ytauthorid=46

    นิตยสารหญิงไทย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="100%" height=30><TABLE style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="99%"><TBODY><TR><TD class=txtintro vAlign=bottom noWrap width="18%">บทความ</TD><TD vAlign=bottom width="82%">
    [​IMG]ฉบับที่ 612 ปีที่ 26 ปักษ์แรก เดือนเมษายน พ.ศ. 2544​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top height=459><TABLE style="BACKGROUND-POSITION: right 50%; BACKGROUND-IMAGE: url(/images/back/bg_02.gif); BACKGROUND-REPEAT: repeat-y" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width="89%" height=455><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>บันทึกวัฒนธรรม: การพิพิธภัณฑ์ไทย...ในสมัยรัชกาลที่ 7</TD></TR><TR><TD>
    โดย สายทิพย์
    </TD></TR></TBODY></TABLE><STYLE><!--.Normal {font-size:12.0pt; font-family:"Times New Roman";}--></STYLE><LINK href="../CSS%20folders/shadeorange.css" type=text/css rel=stylesheet>ระยะเวลาสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ บ้านเมืองประสบกับภาวะวิกฤตินานาประการ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เหล่าข้าราชการผู้มีอำนาจกระด้างกระเดื่อง หลายเหตุการณ์ทางการเมืองมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินของพระองค์ แต่นั่นมิได้ทำให้พระองค์ทรงย่อท้อ กลับยิ่งทรงพยายามแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ด้วยพระสติปัญญา และยิ่งไปกว่านั้น พระองค์มิได้ทรงละเลยพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงวัฒนธรรมของประเทศแต่อย่างใด ตลอดระยะเวลาของการดำรงสิริราชสมบัตินั้น “งานพิพิธภัณฑสถาน” นับเป็นหนึ่งในพระราชภารกิจที่ทรงให้การสนับสนุนเสมอมา
    [​IMG]พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้พระราชทานพื้นที่ทั้งหมดของพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ให้เป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของพิพิธภัณฑสถาน และพระราชวังบวรสถานมงคล หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วังหน้า” นั้น ในอดีตต้นรัตนโกสินทร์คือพระราชวังอันเป็นที่ประทับของผู้มีตำแหน่งเป็น “พระมหาอุปราช” หรือ “กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท” พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลห (ร.1)
    “วังหน้า” เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ด้านหน้าวังหลวง มีอาณาเขตตั้งแต่วัดสลัก (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์) ขึ้นไปทางเหนือจนจดคลองคูเมืองเดิม (คลองโรงไหม) เขรพระราชวังบวรสถานมงคลแบ่งออกเป็นชั้นใน ชั้นกลาง ชั้นนอกเหมือนอย่างพระราชวังในกรุงศรีอยุธยา มีประตูทั้งหมด 11 ประตู คือ ประตูพรหมทวาร ประตูพิศาลสุนทร ประตูบวรยาตรา ประตูศักดาพิไชย ประตูอำไพพิมล ประตูมงคลสถิต ประตูพิจิตรเจษฎา ประตูสุดายุรยาตร ประตูวรนาฏจรลี ประตูนารีจรจรัล และ ประตูไกรสรลีลาศ โดยเฉพาะประตูพรหมทวารเป็นประตูที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จออกเพื่อเข้าพระบรมมหาราชวังเป็นประจำ
    พระราชมณเฑียรที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสร้างขึ้นเป็นที่ประทับในครั้งแรกนั้นสันนิษฐานว่าคงสร้างด้วยเครื่องไม้เช่นเดียวกับในพระบรมมหาราชวัง แต่ลักษณะเป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐาน เพราะได้หักพังและมีการรื้อถอนสร้างใหม่ในสมัยหลัง พระที่นั่งสำคัญๆ ที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างขึ้นใหม่ อาทิ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเต็มทั้ง 4 ด้าน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงอัญเชิญมาจากเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2330 พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน (พระที่นั่งทรงปืน) พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หมู่พระวิมาน พระที่นั่งวสันตพิมาน พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระที่นั่งพรหมเมศธาดา พระที่นั่งพิมุขมณเฑียร พระที่นั่งปฤษฎางคภิมุข พระที่นั่งบูรพาภิมุข พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือวัดพระแก้ววังหน้า พระตำหนักแดง ฯลฯ
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า “งานพิพิธภัณฑสถานนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษามรดกของชาติไว้ไม่ให้สูญหาย ทั้งยังเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้แก่ประชาชนและถือเป็นเกียรติยศของประเทศ” พระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและการฝีมือช่างต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยว่ามีส่วนสำคัญต่อความเป็นชาติ ควรที่คนไทยทุกคนต้องช่วยกันรักษาและทำนุบำรุงให้เจริญขึ้น นอกจากนั้นแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นผู้ริเริ่มในการพระราชทานสิ่งของที่เป็นศิลปะล้ำค่าต่างๆ แก่ “พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร” ด้วยโดยทรงมุ่งหวังที่จะปฏิบัติเพื่อเป็นตัวอย่างแก่คนทั่วไปในการมอบสิ่งของหรือให้ยืมของแก่พิพิธภัณฑสถานสำหรับจัดแสดง
    พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่องานพิพิธภัณฑสถานของชาตินอกจากจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งราชบัณฑิตยสภาขึ้น ในปี พ.ศ. 2469 และโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ราชบัณฑิตยสภายกพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของพระราชวังบวรสถานมงคลเป็น “พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร” แล้วยังได้โปรดฯให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร และพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งโบราณวัตถุและศิลปวัตถุออกนอกประเทศ พ.ศ. 2469 แล้วพระองค์ยังเสด็จฯพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสภานสำหรับพระนคร เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 และได้พระราชทานโบราณวัตถุและศิลปวัตถุไว้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑสถานและเพื่อจัดแสดงจำนวนมาก
    โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานพระนคร เท่าที่สามารถสำรวจและสืบค้นถึงประวัติที่มาได้ในปัจจุบันนั้น ส่วนหนึ่งเป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวายในคราวที่พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี บรมราชินี เสด็จประพาสสถานที่ต่างๆ ส่วนหนึ่งเป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวายในคราวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2469 และอีกส่วนหนึ่งเป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่เป็นของส่วนพระองค์ที่พระราชทานยืมแก่พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ซึ่งอาจจำแนกตามลักษณะและประโยชน์ใช้สอยได้เป็น 8 ประเภทคือ
    ประติมากรรมรูปเคารพทางศาสนา รูปบุคคล และรูปบุคคลกับสัตว์ โบราณวัตถุและศิลปวัตถุประเภทนี้มีทั้งที่เป็นศิลปะในประเทศไทย อันได้แก่ ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) ศิลปะศรีวิชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18) ศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 12-18) ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20) ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-24) ศิลปะรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 24-25 ) และศิลปะต่างประเทศ อันได้แก่ ศิลปะอินเดียแบบคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 10-11) และแบบราชวงศ์ปาละ (ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15) ศิลปะลังกาแบบหลังสมัยเมืองโปลนนารุวะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 21-24) ศิลปะอินโดนีเซียหรือชวาตะวันออก (ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17) ศิลปะจามแบบเมืองอินทรปุระ (ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17) ศิลปะพม่าแบบเชียงรุ้ง (ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23) และแบบเมืองมัณฑเลย์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 24-25) ศิลปะทิเบต-เนปาล (ราวพุทธศตวรรษที่ 23-24) ศิลปะญี่ปุ่น (ราวพุทธศตวรรษที่ 15-19 ) ศิลปะจีน (ราวพุทธศตวรรษที่ 24 ) อันส่วนใหญ่มักเป็นพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ นอกจากนั้น เป็นเทวรูป ธรรมจักรกับกวางหมอบ ประติมากรรมรูปบุคคล ประติมากรรมรูปบุคคลกับสัตว์ และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม
    ตราประทับ และเหรียญที่ระลึก ตราประทับที่พระองค์พระราชทานทั้งหมดเป็นตราประทับดินเผาในวัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) ในขณะที่เหรียญที่ระลึกจะเป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่ระลึกในการฉลองพระนครครบ 150 ปี (พ.ศ. 2475)
    เครื่องใช้ทางศาสนาหรือพิธีกรรม โบราณวัตถุและศิลปวัตถุประเภทนี้มีจำนวนไม่มากนัก บางรายการสามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นเครื่องใช้ทางศาสนาหรือพิธีกรรมโดยแท้จริง อันได้แก่ ธรรมาสน์ ไม้จำหลักในศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 23-24) ได้จากวัดค้างคาว จังหวัดนนทบุรี และพระนังคัลที่น่าเชื่อถือว่าคงใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญครั้งรัชสมัยของพระองค์ เป็นต้น แต่บางรายการก็เพียงเป็นข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเครื่องใช้ทางศาสนาหรือพิธีกรรม อันได้แก่ ตะเกียงโรมันสำริด (พุทธศตวรรษที่ 6-7) พบที่พงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ปงปังหรือกลองสองหน้า ศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 12-18) ซึ่งไม่ทราบถึงประวัติที่มา และกุณฑีรูปหงส์ ศิลปะล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 21) ที่พระองค์ท่านทรงได้จากการเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2468 เป็นต้น
    ผ้าและเครื่องแต่งกาย พระองค์ท่านได้พระราชทานผ้าและเครื่องแต่งกายแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำนวนหลายรายการ ซึ่งมีทั้ง ผ้ายกละคร ผ้ายกพื้นสีต่างๆ ผ้ายกไหม ผ้ายกทอง ผ้าพิมพ์ และฉลองพระองค์ผ้าเยียรบับ โดยส่วนใหญ่เป็นมรดกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงนงคราญอุดมดี และผ้าที่ทรงได้จากการเสด็จพระพาสชวาหรืออินโดนีเซีย พ.ศ. 2473
    เครื่องถ้วยไทยและเครื่องถ้วยต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นของส่วนพระองค์ที่พระราชทานยืมแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ไว้จัดแสดง มีเพียงจำนวนน้อยไม่กี่รายการเท่าใดนัก ที่พระราชทานเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์เลย สำหรับเครื่องถ้วยไทยนั้น ทั้งหมดเป็นเครื่องเบญจรงค์และเครื่องลายน้ำทอง ส่วนเครื่องถ้วยต่างประเทศจะเป็นเครื่องถ้วยเวียดนาม
    เครื่องจักสาน เท่าที่สามารถสำรวจและสืบค้นได้นั้น เครื่องจักสานทั้งหมดจะเป็นจำพวกกระบุงสานมีฝาปิด ซึ่งเป็นของที่พระองค์ท่านได้มาจากพวกม้อย เมื่อคราวเสด็จประพาสอินโดจีน พ.ศ. 2473
    เครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่พระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครทั้งหมด เป็นเครื่องดนตรีที่ทรงได้มาในคราวเสด็จประพาสอินโดจีน พ.ศ. 2473 โดยมีทั้งเครื่องดนตรีชวา หรืออินโดนีเซีย เครื่องดนตรีเขมรหรือกัมพูชา และเครื่องดนตรีของพวกม้อย
    อาวุธ ทั้งหมดเป็นอาวุธที่ทรงได้มาในคราวเสด็จประพาสอินโดจีน พ.ศ. 2473 เช่นเดียวกันกับเครื่องจักสานและเครื่องดนตรี และส่วนใหญ่จะเป็นอาวุธของพวกม้อย
    พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อ “การพิพิธภัณฑ์ไทย” นั้น ได้แก่ การวางรากฐานของพิพิธภัณฑสถานให้เป็นไปตามแนวทางที่เป็นสากลมากขึ้น โดยทรงเข้าพระทัยในความจำเป็นของกิจการพิพิธภัณฑสถานในฐานะที่เป็นสถานที่ช่วยบำรุงความรู้ให้กับประชาชน รากฐานที่ทรงให้การสนับสนุนในรัชสมัยของพระองค์ทั้งในด้านการสนับสนุนการดำเนินการ เช่น การก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม การป้องกันอัคคีภัย หรือในด้านกฎหมายที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ของการดำเนินการพิพิธภัณสถานนั้นนับเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนามาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.navy.mi.th/navyboard/boarditem.php?id=29474

    id = 29474
    select * from wboard1 where ID=29474
    <TABLE borderColor=#66cc99 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="85%" align=center border=1><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#000066>วัดอภัยทายาราม อนุสรณ์ ๒๐๐ ปี สมานฉันท์ จักรี-ธนบุ</TD></TR><TR><TD align=right bgColor=#660000>จาก writer anywhere, too_jariya@hotmail.com ส่งเวลา 12:33:31 วันพฤหัสบดีที่ 27 เม.ย.49</TD></TR><TR><TD bgColor=#0066ff>"วัดอภัยทายาราม" หรือที่ชาวบ้านยังเรียกกันในปัจจุบันว่า "วัดมะกอก" ตั้งอยู่ติดกับเขตโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า หันหน้าเข้าสู่คลองสามเสน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ เป็นวาระที่วัดอภัยทายารามมีอายุครบ ๒๐๐ ปีพอดี แต่ด้วยความเป็นมาที่สับสน ทำให้วัดนี้มิได้มีการเฉลิมฉลองโอกาสอันเป็นมงคลอย่างน่าเสียดาย ดังนั้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมาจึงมีเพียงการฉลองอายุเจ้าอาวาสครบ ๙๐ ปีเพียงวาระเดียว ทั้งที่วัดแห่งนี้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

    สาเหตุอย่างหนึ่งอาจมาจากประวัติวัด "อย่างเป็นทางการ" ของกรมการศาสนาซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒ ก็ใช้อ้างอิงไม่ได้ โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างวัดแห่งนี้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอยู่หลายข้อ รวมไปถึงการระบุเจ้านายผู้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ผิดองค์

    ประวัติการปฏิสังขรณ์วัด "ตัวจริง" ได้ถูกจารึกเป็นเพลงยาวไว้บนแผ่นไม้สักลงรัก เขียนทอง เก็บรักษาไว้ที่วัดมาตลอดโดยมิได้เคลื่อนย้ายไปไหน แต่ก็มิได้มีการอนุรักษ์ซ่อมแซม จนปัจจุบันเพลงยาวที่จารึกไว้ได้ลบเลือนจนยากที่จะอ่านได้ความ

    อย่างไรก็ดีคุณบุญเตือน ศรีวรพจน์ แห่งสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ได้พบเพลงยาวฉบับตัวเขียนในสมุดไทย เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเนื้อหาตรงกันกับเพลงยาวที่จารึกไว้บนแผ่นไม้ของวัด และได้เขียนแนะนำไว้พอสังเขปแล้วในหนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนเมษายน ๒๕๔๘ ทำให้เราได้ "ความสมบูรณ์" ในการปฏิสังขรณ์วัดอภัยทายารามเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจากนี้ทัศน์ ทองทราย ก็ได้บันทึกประวัติวัด "จากคำบอกเล่า" ของเจ้าอาวาสวัดองค์ปัจจุบัน ไว้ในหนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดียวกัน

    แต่ในวาระที่วัดอภัยทายารามได้มีอายุครบ ๒๐๐ ปี ในปีนี้ นอกจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดจากเพลงยาวและประวัติวัดจากคำบอกเล่าแล้ว ยังควรพิจารณาแง่มุมอื่นๆ ที่ยังไม่เคยถูกพูดถึงมาก่อน โดยเฉพาะในประเด็นของ "ชื่อวัด" และวัตถุประสงค์ในการปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้



    ปฏิสังขรณ์วัดบ้านนอกเสมอด้วยวัดหลวง

    วัดอภัยทายาราม เดิมเป็นวัดที่ทรุดโทรม ซึ่งน่าจะสร้างมาก่อนแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมา "เจ้าฟ้าเหม็น" พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และยังเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ คงเสด็จมาพบเข้า เห็นว่าวัดนั้นเสื่อมโทรมไม่สมกับเป็นที่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ ดังที่เพลงยาวได้กล่าวไว้ดังนี้

    ในอารามที่ปลายซองคลองสามเสน

    เหนบริเวณเปนแขมคาป่ารองหนอง

    ไม่รุ่งเรืองงามอรามด้วยแก้วทอง

    ไร้วิหารห้องน้อยหนึ่งมุงคา

    ไม่ควรสถิศพระพิชิตมาเรศ

    น่าสังเวทเหมือนเสดจ์อยู่ป่าหญ่า

    ทั้งฝืดเคืองเบื้องกิจสมณา

    พระศรัดทาหวังประเทืองในเรืองธรรม

    เมื่อเสด็จมาพบเข้าดังนี้ ก็มีพระประสงค์จะทำการกุศล จึงทรงสั่งการให้เกณฑ์ไพร่มาเตรียมการปฏิสังขรณ์ใหญ่ ณ วัดแห่งนี้ ตั้งแต่ปีจุลศักราช ๑๑๕๙ (พ.ศ. ๒๓๔๐)

    ครั้นถึงปีจุลศักราช ๑๑๖๐ (พ.ศ. ๒๓๔๑) เจ้าฟ้าเหม็นจึงเสด็จถวายพระกฐินและวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ เป็นการเริ่มต้นการปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ คือสร้างใหม่ทั้งวัด อย่างไรก็ดีวันเดือนปีที่ปรากฏในเพลงยาวนั้นยังคลาดเคลื่อนกับปฏิทินอยู่บ้างเล็กน้อย คือกำหนดพระฤกษ์วันเสด็จในการถวายพระกฐินและวางศิลาฤกษ์เพลงยาวได้ระบุว่าเป็น "สุริยวารอาสุชมาล กาลปักทวาทัสมี ปีมเมียสำฤทศกปรมาร" ถอดคำแปลออกมาเป็น วันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๖๐ ซึ่งตามปฏิทินนั้นเดือนแรมดังกล่าวจะตรงกับวันจันทร์ ไม่ใช่วันอาทิตย์ นอกจากนี้ในบทอื่นๆ ที่กล่าวถึงวันเดือนปี ก็จะคลาดเคลื่อนทุกครั้ง จึงเป็นการยากที่จะถอดวันเดือนปีในเพลงยาวให้เป็นวันเดือนปีในปฏิทินสุริยคติที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

    วัดอภัยทายารามเมื่อแรกปฏิสังขรณ์นั้นยิ่งใหญ่และงดงามอย่างยิ่ง เสนาสนะทุกสิ่งอันล้วนวิจิตรบรรจงและอลังการ เทียบเคียงได้กับวัดสำคัญๆ ในสมัยนั้น และสิ่งที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าวัดนี้เป็น "วัดสำคัญ" นอกกำแพงพระนครคือ "พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระองค์" เสด็จพระราชดำเนินมาในการพระราชกุศลด้วยพระองค์เอง คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ และ "วังหน้า" กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความขัดแย้งและหวาดระแวง

    ที่ตั้งของวัดจะอยู่ค่อนข้างไกลจากศูนย์กลางของเมืองในขณะนั้น สามารถจัดได้ว่าเป็น "วัดบ้านนอก" ดังนั้นการเสด็จทั้ง ๒ พระองค์ในครั้งนี้ย่อมมีนัยยะอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งต้อง "สืบสวน" กันอย่างละเอียดเพื่อหาเหตุผลของการเสด็จพระราชดำเนินมายัง "วัดบ้านนอก" ในครั้งนั้น

    ขณะที่ "พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระองค์" เสด็จพระราชดำเนินนั้น วัดยังอยู่ระหว่างก่อสร้างคือเมื่อเดือนยี่ ปีจุลศักราช ๑๑๖๓ (พ.ศ. ๒๓๔๔) จึงไม่ได้เสด็จมาเพื่อเฉลิมฉลองหากแต่มาทรงผูกพัทธสีมา "จผูกพัดเสมาประชุมสงฆ" แต่ถึงกระนั้นก็เสด็จมาทางชลมารคด้วยกระบวนเรือ "มหึมา"

    สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสององค์

    ผู้ทรงธรรม์อันสถิศมหาสถาร

    ก็เสดจ์ด้วยราชบริพาน

    กระบวนธารชลมาศมหึมา

    ถึงประทับพลับพลาอาวาศวัด

    ดำรัดการที่สืบพระสาสนา

    สท้านเสียงดุริยสัทโกลา

    หลดนตรีก้องประโคมประโคมไชย

    เสจพระราชานุกิจพิทธีกุศล

    เปนวันมนทณจันทรไม่แจ่มไส

    ประทีปรัตนรายเรืองแสงโคมไฟ

    เสดจ์คันไลเลิกกลับแสนยากร

    การปฏิสังขรณ์ใหญ่วัดอภัยทายารามใช้เวลาทั้งสิ้น ๘ ปี จึงแล้วเสร็จในเดือน ๓ ปีจุลศักราช ๑๑๖๘ (พ.ศ. ๒๓๔๙) ผ่านมาครบ ๒๐๐ ปีในปีนี้พอดี เมื่อการปฏิสังขรณ์สำเร็จบริบูรณ์จึงมีการเฉลิมฉลองขึ้นเป็นงานใหญ่ ๗ วัน ๗ คืน มีมหรสพ ละคร การละเล่นอย่างยิ่งใหญ่ และเทียบเท่ากับงานเฉลิมฉลองระดับ "งานหลวง" ทั้งสิ้น องค์ประธานผู้ทรงปฏิสังขรณ์วัดเสด็จร่วมงานฉลองครบทุกวันจนจบพิธี แล้วขนานนามวัดว่า "อไภยทาราม"

    ส้างวัดสิ้นเงินห้าสิบเก้าชั่ง

    พระไทยหวังจไห้เปนแก่นสานต์

    ตั้งทำอยู่แปดปีจึ่งเสจการ

    ขนานชื่อวัดอไภยทาราม

    สิ่งที่น่าสนใจและเป็นปริศนาชวนให้ค้นหาคำตอบของวัดอภัยทายาราม ทั้งที่ปรากฏอยู่ในเพลงยาวและอื่นๆ ไม่ใช่การปฏิสังขรณ์อย่างยิ่งใหญ่ ไม่ใช่การสร้างเสนาสนะอย่างวิจิตรบรรจง หรือแม้แต่งานฉลอง ๗ วัน ๗ คืน ด้วยการละเล่นดุจเดียวกับงานหลวง สิ่งเหล่านี้มีฐานะเป็นแต่เพียง "พยาน" สำคัญ ที่จะนำไปสู่การไขคำตอบสำคัญ ซึ่งก็คือเหตุอันเป็นที่มาของชื่อวัด "อไภยทาราม" นั่นเอง



    วัดอไภยทาราม

    ไม่ได้ตั้งตามพระนามเจ้าฟ้าเหม็น

    นามวัด "อภัยทายาราม" เป็นนามที่ตั้งขึ้นใหม่ในชั้นหลัง เดิมนามวัดตามที่ปรากฏในเพลงยาวขนานนามว่า "อไภยทาราม" ซึ่งก็น่าจะเป็นนามพระราชทาน ชื่อ "อไภยทาราม" นี้อาจจะดูเหมือนว่าเป็นการตั้งตามพระนามของเจ้าฟ้าเหม็น ผู้ทรงปฏิสังขรณ์วัด ซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ แต่พระนาม "เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์" ของเจ้าฟ้าเหม็นนั้น มิได้ใช้โดยตลอด เนื่องด้วยมีพระราชดำริเห็นว่าเป็นนามอัปมงคล!

    ที่มาที่ไปของพระนามอัปมงคล เริ่มต้นและเกี่ยวพันกับพระชาติกำเนิดของเจ้าฟ้าเหม็น ในฐานะผู้ที่ทรงอยู่กึ่งกลางระหว่างความขัดแย้งของพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชบิดา และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ คือพระอัยกา หรือ "คุณตา" ซึ่งได้สำเร็จโทษพระราชบิดาเจ้าฟ้าเหม็นเมื่อคราวเปลี่ยนแผ่นดิน

    เจ้าฟ้าเหม็นเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ พระสนมเอก ท่านผู้นี้เป็นธิดาของเจ้าพระยาจักรี หรือต่อมาเสด็จขึ้นปกครองแผ่นดินเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ ๑ ในพระราชวงศ์จักรี เจ้าฟ้าเหม็นประสูติในแผ่นดินกรุงธนบุรีในปีพุทธศักราช ๒๓๒๒ ต่อมาอีกเพียง ๓ ปี "คุณตา" เจ้าพระยาจักรี ก็ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าอยู่หัว สถาปนาพระราชวงศ์ใหม่ โดยได้สำเร็จโทษ "เจ้าตาก" พระราชบิดาของเจ้าฟ้าเหม็น พร้อมกับพระญาติบางส่วน ในเหตุการณ์ครั้งนั้น ถือเป็นอันสิ้นแผ่นดินกรุงธนบุรี

    หลังจากเหตุการณ์ล้างครัว "เจ้าตาก" จบลง ยังเหลือพระราชวงศ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอีกบางส่วนที่ได้รับการยกเว้น รวมทั้งเจ้าฟ้าเหม็นด้วย เนื่องจาก "คุณตา" ทรงอาลัยหลานรักพระองค์นี้ยิ่งนัก ดังนั้นตลอดรัชกาลที่ ๑ แม้เจ้าฟ้าเหม็นจะทรงถูก "ตัด" ออกจากราชการบ้านเมืองทั้งสิ้น แต่ก็ยังทรงเป็น "พระเจ้าหลานเธอ" พระองค์โปรดของพระเจ้าแผ่นดินอยู่ตลอดรัชกาล

    พระนามพระราชทานแรกของเจ้าฟ้าเหม็น ที่เป็นนาม "พ่อตั้ง" คือ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ พระนามนี้ใช้ในแผ่นดินกรุงธนบุรี ครั้นต่อมาเมื่อเปลี่ยนแผ่นดินแล้ว พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ก็มีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนพระนามเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ในแผ่นดินก่อน ด้วยไม่สมควรที่จะใช้เรียกขานในแผ่นดินใหม่นี้

    "พระบาทสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่าเจ้าตากขนานพระนามพระราชนัดดาให้เรียก เจ้าฟ้าสุพันธวงษ์ ไว้แต่เดิมนั้น จะใช้คงอยู่ดูไม่สมควรแก่แผ่นดินประจุบันนี้ จึ่งพระราชทานพระนามใหม่ว่า สมเดจ์พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศ นเรศรสมมติวงษ พงษอิศวรราชกุมาร..."

    อย่างไรก็ดีพระนามเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ที่คาดว่าเป็นพระนามที่นำไปขนานนาม "วัดอไภยทาราม" นั้น ตามความเป็นจริงพระนามนี้ใช้อยู่เพียงระยะสั้น ก็มีพระราชดำริให้เลิกเสียและเปลี่ยนพระนามใหม่อีกครั้ง

    "ภายหลังข้าราชการกราบบังคมทูลหาสิ้นพระนามไม่ กราบทูลแต่ว่า เจ้าฟ้าอภัย จึ่งทรงเฉลียวพระไทย แล้วมีพระราชดำรัศว่า ชื่อนี้พ้องต้องนามกับเจ้าฟ้าอภัยทัต เจ้าฟ้าปรเมศ เจ้าฟ้าอภัย ครั้งแผ่นดินกรุงเก่า ไม่เพราะหูเลย จึ่งพระราชทานโปรดเปลี่ยนพระนามไหม่ว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ์ร นเรศว์รสมมติวงษ พงษอิศวรราชกุมารแต่นั้นมาฯ" (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ฉบับตัวเขียน), อมรินทร์, ๒๕๓๙, น. ๔๓)

    เหตุการณ์นี้บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ฉบับตัวเขียน) ในช่วงปีจุลศักราช ๑๑๔๕ (พ.ศ. ๒๓๒๖) เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ จึงเท่ากับว่าพระนามเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ใช้อยู่ไม่เกิน ๒ ปี จึงยกเลิกเสีย ด้วยว่าเป็นพระนามอัปมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของ กล่าวคือพระนาม "เจ้าฟ้าอภัย" ที่ใช้ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยานั้น เจ้าของพระนามล้วนแต่ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ทุกพระองค์

    นอกจากนี้หลักฐานการเปลี่ยนพระนามยังสอดคล้องกับการอ้างถึงพระนามที่เปลี่ยนใหม่ เมื่อทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกให้ "ทรงกรม" ในปีพุทธศักราช ๒๓๕๐ หลังจากที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดอไภยทาราม ๑ ปี ขณะนั้นทรงใช้พระนามเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์อยู่แล้ว

    "โปรดตั้งพระราชนัดดา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เป็นกรมขุนกษัตรานุชิต ๑ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอพระองค์นี้ ครั้งกรุงธนบุรีมีพระนามว่า เจ้าฟ้าสุพันธวงศ์ ครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระราชทานพระนามใหม่ว่า เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ข้าราชการขานพระนามโดยย่อว่า เจ้าฟ้าอภัย ได้ทรงสดับรับสั่งว่า พ้องกับพระนามเจ้าฟ้าอภัยทัต ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ และเจ้าฟ้าอภัยครั้งแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ซึ่งไม่เป็นสวัสดิมงคลแก่ผู้มีพระนามนั้น จึงโปรดให้เปลี่ยนพระนามใหม่ว่า เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์" (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์, กรมศิลปากร, ๒๕๓๑, น. ๑๐๒)

    ดังนั้นหากกำหนดระยะเวลาโดยสังเขปเกี่ยวกับพระนามเจ้าฟ้าเหม็น ควรจะได้ดังนี้ เจ้าฟ้าเหม็น เป็นพระนามลำลอง คงใช้ตลอดพระชนมายุ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ ใช้แต่แรกเกิดในสมัยกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๒-๕) เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ใช้เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเวลา ๒ ปี (พ.ศ. ๒๓๒๕-๖) เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ใช้เรื่อยมาจนกระทั่งทรงกรม (พ.ศ. ๒๓๒๖-๕๐) และกรมขุนกษัตรานุชิต ใช้เป็นพระนามสุดท้าย (พ.ศ. ๒๓๕๐-๒)

    ระยะเวลาของการใช้พระนามแต่ละพระนามนั้น ชี้ให้เห็นว่า พระนามเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์นั้นถูกยกเลิกโดยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๒๖ หรือเป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ ก่อนที่จะทรงปฏิสังขรณ์วัดอไภยทารามในปีพุทธศักราช ๒๓๔๙ เป็นเวลานานถึง ๒๓ ปี นอกจากนี้พระนามอภัยธิเบศร์ ยังได้รับพระราชวิจารณ์ว่า "ไม่เป็นสวัสดิมงคลแก่ผู้มีพระนามนั้น" จึงไม่มีเหตุผลสมควรที่จะนำพระนามที่เลิกใช้ไปนานแล้วและเป็นอัปมงคลกลับมาใช้ใหม่ โดยนำไปตั้งเป็นชื่อวัด อันควรแก่นามสิริมงคลเท่านั้น

    ดังนั้นหากชื่อวัดอไภยทารามไม่ได้ตั้งตามพระนามเจ้าฟ้าเหม็นแล้ว ชื่อวัดแห่งนี้ย่อมจะมีนัยยะอย่างใดอย่างหนึ่งแอบแฝงไว้หรือไม่?



    แผนการ "ตา" ปกป้องหลาน

    เมื่อเริ่มมีการลงมือปฏิสังขรณ์วัดนั้นตกอยู่ในปีพุทธศักราช ๒๓๔๑ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ มีพระชนมพรรษามากแล้วถึง ๖๒ พรรษา แม้จะไม่ถึงเกณฑ์ชรามากนัก แต่ก็ไม่สามารถประมาทได้ ด้วยเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่าง "วังหน้า" และ "วังหลวง" ยังคงมีแฝงอยู่ตลอดรัชกาล ซึ่งต่อมาอีกเพียง ๑๐ ปีหลังจากการปฏิสังขรณ์วัด ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ด้วยพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา จึงเป็นไปได้ว่าการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงเห็นชอบให้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้อย่างยิ่งใหญ่ เพราะมีพระราชประสงค์มากไปกว่าการสร้างวัดเพื่อการกุศลเท่านั้น

    ย้อนกลับไปเมื่อปีมะโรง พุทธศักราช ๒๓๓๔ เกิดเหตุใหญ่ขึ้นที่เรียกว่า "วิกฤตวังหน้า" ถึงขั้นที่กรมพระราชวังบวรฯ ไม่เสด็จลงเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ เหมือนอย่างเคย เหตุจากความหวาดระแวงที่สะสมกันเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อมีพิธีตรุษ วังหลวงได้ลากปืนใหญ่ขึ้นป้อมเล็งตรงมายังวังหน้า กรมพระราชวังบวรฯ เห็นว่าวังหลวงอาจจะมีประสงค์ร้าย ก็มีรับสั่งให้คนไปสืบความ ครั้นได้ความว่า ปืนนั้นเพื่อการพิธีตรุษ ก็ทรงคลายพระพิโรธลง เหตุการณ์ครั้งนี้หมิ่นเหม่ถึงขั้นที่จะเกิดศึกกลางเมือง ตามที่ปรากฏอยู่ในนิพานวังน่า ดังนี้

    เพราะพระปิ่นดำรงบวรสถาน

    กระหึ่มหาญหุนเหี้ยมกระหยับย่ำ

    เหมือนจะวางกลางเมืองเมื่อเคืองคำ

    พิโรธร่ำดั่งจะรุดเข้าโรมรัน

    ครั้นทรงทราบว่าพระจอมบิตุลา

    ให้พลกัมพูชาลากปืนขัน

    ประจุป้อมล้อมราชวังจันทร์

    จึงมีบันฑูรสั่งให้สืบความ

    ตรัสให้มาตุรงค์ตรงรับสั่ง

    มิไปฟังราชกิจก็คิดขาม

    มาสืบเรื่องพระไม่ปลงจะสงคราม

    ก็ประณามทูลบาทไม่พาดพิง

    ว่าคำขอมน้อมพจมานสาร

    ไม่หาญเสน่หาพระนุชยิ่ง

    แต่พิธีตรุศยืนลากปืนจริง

    ยังนึกกริ่งกริ้วนั้นพอบันเทา

    ยังมีเหตุการณ์ใหญ่อีกครั้งหนึ่งอันเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพี่น้องสองวัง คือในปีพุทธศักราช ๒๓๓๘ หลังการถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกนาถ เมื่อวังหน้า "ลักไก่" ซ่อนฝีพายฝีมือจัดไว้ในงานแข่งขันเรือพาย ฝ่ายข้าราชการวังหลวงทราบเข้าก็ถวายรายงานให้พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงมีพระราชดำรัสว่า เล่นดังนี้จะเล่นด้วยที่ไหนได้ และทรงให้เลิกการแข่งเรือระหว่างสองวังตั้งแbต่นั้นมา เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้กรมพระราชวังบวรฯ ไม่เสด็จลงเฝ้าอีกเป็นเวลานาน

    นอกจากนี้ข้อบาดหมางระหว่างสองวังและความหวาดระแวงยังเกิดขึ้นอีกหลายเรื่อง รวมไปถึงการที่กรมพระราชวังบวรฯ ทรงกราบทูลขอพระราชทานเบี้ยหวัดเพิ่ม สำหรับแจกจ่ายข้าราชการ แต่ก็ทรงถูกปฏิเสธ

    แม้ว่าการกระทบกระทั่งกันอยู่เนืองๆ เช่นนี้ ที่ไม่ถึงขั้นตัดรอนขาดจากกัน ก็เพราะมีสมเด็จพระพี่นางทั้ง ๒ พระองค์ทรงเป็น "กาวใจ" ประสานความแตกร้าวนี้อยู่เสมอ

    อย่างไรก็ดีเหตุการณ์สุดท้ายที่เป็นหลักฐานว่าพี่น้องสองวังนี้ยังคง "คาใจ" กันอยู่จนวาระสุดท้าย เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เสด็จมาทรงเยี่ยมพระอาการประชวรของกรมพระราชวังบวรฯ ก็ยังมีเหตุการณ์กระทบกระทั่งของทหารรักษาพระองค์ทั้ง ๒ วัง จนกระทั่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงแสดงออกอย่างชัดเจนเมื่อมีพระราชปรารภในช่วงปลายพระชนมายุ ที่ทรงห่วงวังหน้าและลูกหลานวังหน้า เกรงว่าจะถูกเบียดเบียนจากวังหลวง

    "ของใหญ่ของโตดีดีของกูสร้าง ใครไม่ได้ช่วยเข้าทุนอุดหนุนให้แรง กูสร้างขึ้นด้วยกำลังข้าเจ้าบ่าวนายของกูเอง นานไปใครมิใช่ลูกกู ถ้ามาเป็นเจ้าของเข้าครอบครอง ขอผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข" (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๓, คุรุสภา, ๒๕๐๗, น. ๔๗)

    แน่นอนว่าไม่ใช่แต่เพียงวังหน้าเคืองวังหลวงเท่านั้น เหตุการณ์ "กบฏวังหน้า" ก็ทำให้วังหลวงเคืองวังหน้าด้วยเช่นกัน ถึงขั้นตัดรอนไม่เผาผีกัน

    "รักลูกยิ่งกว่าแผ่นดิน ให้สติปัญญาให้ลูกกำเริบจนคิดประทุษร้ายต่อแผ่นดิน เพราะผู้ใหญ่ไม่ดีจะไม่เผาผีแล้ว" (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์, กรมศิลปากร, ๒๕๓๑, น. ๙๕)

    เรื่องราวความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้านี้ ย่อมส่งผลทางตรงต่อสวัสดิภาพของเจ้าฟ้าเหม็นโดยตรง หากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เสด็จสวรรคตเสียก่อนกรมพระราชวังบวรฯ เนื่องจากกรมพระราชวังบวรฯ ทรงเป็นผู้ถวายคำแนะนำให้ "กำจัด" เจ้าฟ้าเหม็นเมื่อคราวปราบดาภิเษก ทรงเป็นเจ้าของวรรคทองที่ว่า "ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก" นั่นเอง

    "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังฯ เสด็จลงมาเฝ้า กราบทูลว่าบรรดาบุตรชายน้อยๆ ของเจ้าตากสิน จะรับพระราชทานเอาไปใส่เรือล่มน้ำเสียให้สิ้น คำบุราณกล่าวไว้ ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก ซึ่งจะเลี้ยงไว้นั้นหาประโยชน์ไม่ จะเป็นเสี้ยนหนามไปภายหน้า" (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, คลังวิทยา, ๒๕๑๖, น. ๔๖๐)

    แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วถึง ๑๙ ปี แต่ต้องยอมรับว่าไม่มีใครลืมความเป็น "ลูกเจ้าตาก" ของเจ้าฟ้าเหม็นได้ ซึ่งต้องทรงแบก "แอก" นี้ไว้จนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต

    ย้อนหลังไป ๒ ปี ก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงผูกพัทธสีมาที่วัดอไภยทาราม สมเด็จพระพี่นางทั้ง ๒ พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ลงในปีเดียวกัน โดยเฉพาะกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี พระพี่นางพระองค์ใหญ่ ที่ทรงชุบเลี้ยงเจ้าฟ้าเหม็นแทนพระมารดามาแต่ประสูติ เท่ากับร่มโพธิ์ร่มไทรหรือเกราะป้องกันภัยของเจ้าฟ้าเหม็นได้สิ้นลงไปด้วย เหลือแต่เพียง "คุณตา" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ อีกเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น

    การที่ "พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระองค์" จะเสด็จพระราชดำเนินพร้อมกันได้นั้น ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารมักจะเป็น "งานยักษ์" เช่น ในงานพระศพสมเด็จพระพี่นาง (พ.ศ. ๒๓๔๒) หรือในงานฉลองวัดพระเชตุพนฯ ปีเดียวกับที่เสด็จวัดอไภยทาราม ดังนั้นการที่พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาบำเพ็ญพระกุศลพร้อมกันที่ "วัดบ้านนอก" ของ "ลูกเจ้าตาก" จึงไม่ใช่เรื่องปรกติในเวลานั้น



    วัดอไภย คือวัดไม่มีภัย

    คำว่า อไภย พจนานุกรมฉบับหมอบรัดเลย์เริ่มทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แปลไว้ว่า ไม่มีไภย, เช่นคนอยู่ปราศจากไภย มีราชไภย เปนต้นนั้น. พจนานุกรมฉบับหมอคาสเวลในสมัยรัชกาลที่ ๓ แปลว่า อะไภย นั้นคือขอโทษ เหมือนคำพูดว่าข้าขออไภยโทษเถิด ส่วนพจนานุกรมสมัยใหม่ฉบับมติชนแปลว่า ยกโทษให้ไม่เอาผิด และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า ยกโทษให้, ความไม่มีภัย

    จากความหมายของชื่อวัดดังกล่าวนี้ กับการที่กรมพระราชวังบวรฯ ผู้ที่ทรงเคยสั่งฆ่าเจ้าฟ้าเหม็น โดยเสด็จฯ มายังวัดแห่งนี้พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ มายัง "วัดอไภย" ซึ่งไม่ใช่ตั้งตามพระนามของเจ้าฟ้าเหม็นนี้ ย่อมมีนัยยะแห่งการ "สมานฉันท์" ระหว่างกรมพระราชวังบวรฯ กับเจ้าฟ้าเหม็น ประการหนึ่ง และอาจหมายรวมถึงการ "ยกโทษ" หรือ "ขอโทษ" แก่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปด้วยในเวลาเดียวกัน

    จะเห็นได้ว่าวัดอไภยทาราม เมื่อแรกปฏิสังขรณ์นั้นไม่ใช่แค่การ "สร้างวัดให้หลานเล่น" แน่ แต่เป็นการสร้างขึ้นอย่างจริงจัง มีเสนาสนะครบบริบูรณ์อย่างวัดหลวง มีพระอุโบสถ เจดีย์ใหญ่ ลวดลายจิตรกรรมวิจิตรบรรเจิด มีการเกณฑ์ไพร่มาทำงานนับพันคน นิมนต์พระสงฆ์เกือบ ๒,๐๐๐ รูป มีงานฉลอง การละเล่น ละครของหลวง ๗ วัน ๗ คืน สิ่งเหล่านี้คงไม่ได้สะท้อนเพียงเพราะองค์ผู้ปฏิสังขรณ์เป็น "เจ้าฟ้า" หรือ "หลานรัก" เท่านั้น แต่สิ่งอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ล้วนแต่เหมาะสมกับการยกโทษหรือขอโทษ สำหรับราชภัยในอดีต

    อย่างไรก็ดีเมื่อวัดนี้สร้างเสร็จจนมีงานฉลองในปีพุทธศักราช ๒๓๔๙ นั้น กรมพระราชวังบวรฯ ก็ทิวงคตไปก่อนหน้าแล้วในปีพุทธศักราช ๒๓๔๖ แผนการสมานฉันท์จึงไม่จำเป็นอีกต่อไป และวัดอไภยทารามก็ไม่สามารถคุ้มครองเจ้าฟ้าเหม็นได้ตามพระราชประสงค์ ความพยายามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ในการปกป้องหลานรัก จบลงเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต

    เพราะหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน เจ้าฟ้าเหม็นก็ถูกสำเร็จโทษสิ้นพระชนม์ในต้นรัชกาลที่ ๒ แห่งพระราชวงศ์จักรี

    ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.aksorn.com/LIB/libshow.asp?sid=1016&sara=soc_04&level=S


    <TABLE class=px15 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="100%"></TD></TR><TR><TD vAlign=top width="100%" height=1><!-- รายละเอียดข้อมูลที่ค้นหาพบ --><!--SID=1016
    rCnt=1
    เรื่อง วังหลังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
    Link=0
    --><TABLE class=px15 cellSpacing=0 cellPadding=2 border=0><TBODY><TR><TD>เรื่อง : </TD><TD>วังหลังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์</TD></TR><TR><TD>สาระ : </TD><TD>ประวัติศาสตร์</TD></TR><TR><TD>กลุ่มสาระฯ : </TD><TD>สังคมศึกษา</TD></TR><TR><TD>ข้อมูลระดับ : </TD><TD>มัธยมศึกษา</TD></TR></TBODY></TABLE>

    วังหลังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


    <HR>
    [​IMG]


    ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีการแบ่งการปกครองภายในพระนครออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ วังหลวง วังหน้า และวังหลัง ซึ่งรูปแบบนี้สืบเนื่องมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา
    • วังหลวง มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน
    • วังหน้า มีกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นประมุขและมีอำนาจรองมาจากพระมหากษัตริย์
    • วังหลัง มีกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขเป็นประมุข
    ซึ่งสองตำแหน่งแรก คือ วังหลวงและวังหน้านั้นเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป แต่ตำแหน่งวังหลังหรือกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขนั้นน้อยคนที่จะรู้จักและคุ้นเคย เพราะในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงดำรงตำแหน่งวังหลังเพียงพระองค์เดียวทำให้เรื่องของวังหลังค่อยๆ เลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คน

    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่า ตำแหน่งวังหลังมีการสถาปนาครั้งแรกสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชา โดยใช้รูปแบบของการจัดวังที่ประทับเป็นชื่อเรียก ให้วังหลวงรักษาพระนครทางเหนือ วังหน้ารักษาพระนครทางด้านตะวันออก และวังหลังรักษาพระนครทางด้านตะวันตก ตำแหน่งวังหลังมีการสถาปนาต่อมาอีกหลายพระองค์ อาทิรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชวังหน้า และโปรดกล้าฯให้เจ้าฟ้าพระองค์น้อยดำรงตำแหน่งวังหลัง เป็นต้น
    ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชภิเษกแล้ว พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระบรมวงศานุวงศ์ให้ดำรงพระอิสริยศตามโบราณราชประเพณี โดยโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าพระยาสุรสีห์ พระราชอนุชาดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชวังหน้า และโปรดกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าหลานเธอ โอรสของสมเด็จพระเจ้าพี่นาง พระองค์ใหญ่เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระอนุรักษ์เทวศน์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข

    [​IMG]
    สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระอนุรักษ์เทวศน์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข มีพระนามเดิมว่า ทองอิน เป็นโอรสของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระเทพสุดาวดี ในสมัยกรุงธนบุรี พระองค์ทรงรับราชการในตำแหน่ง พระยาสุริยอภัย กระทั่งปลายแผ่นดินกรุงธนบุรีได้ประกอบความดีความชอบในการระงับเหตุการณ์วุ่นวายจากกบฏพระยาสรรค์ โดยทรงคุมสถานการณ์ภายในกรุงธนบุรีเพื่อรอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จกลับมาจากการสงครามที่กรุงกัมพูชา และเมื่อสมเด็จพระมหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกตั้งราชวงศ์ใหม่เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พระองค์ได้ตอบแทนความดีความชอบของพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) โดยโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมหลวงอนุรักษ์เทวศน์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2325
    ต่อมากรมหลวงอนุรักษ์เทวศน์ได้ประกอบความดีความชอบในการพระราชสงครามหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้งสงครามเก้าทัพ จึงโปรดกล้าฯสถาปนากรมหลวงอนุรักษ์เทวทัศน์เป็นกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า “สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระอนุรักษ์เทวศน์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข” พระองค์ประทับ ณ พระราชวังหลังบริเวณตำบลสวนลิ้นจี่ ฝั่งธนบุรี หรือปัจจุบันคือบริเวณโรงพยาบาลศิริราชและชุมนแถบวัดระฆังโฆสิตาราม
    สมเด็จฯ กรมพระราชบวรสถานภิมุขทิวงคตเมื่อปี พ.ศ.2349 สิริรวมพระชนมายุได้ 61 พรรษาและนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีการสถาปนาตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขหรือวังหลังอีกเลยจนถึงปัจจุบัน

    <HR>
    แหล่งที่มาของข้อมูล พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระราชหัตถเลขา, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1
    www.aksorn.com/lib/s/soc

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/sheet3/sheet_history/Rama1/Ram1_3_history.htm



    <TABLE width="75%"><TBODY><TR><TD colSpan=7><OBJECT codeBase=http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,29,0 height=67 width=43 classid=clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000>






















    </p>&nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    &nbsp
    <embed src="../../../vdo/sn.swf" quality="high" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" type="application/x-shockwave-flash" width="43" height="67"></embed></OBJECT>

    </TD></TR><TR><TD width="17%">หน้าแรก</TD><TD width="71%" colSpan=5>
    โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์


    </TD><TD width="12%">
    </TD></TR><TR><TD>เกี่ยวกับผู้ทำ
    </TD><TD colSpan=5>กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

    </TD><TD>

    </TD></TR><TR><TD>สารบัญ</TD><TD></TD><TD>หน้าที่พลเมือง
    </TD><TD>เศรษฐศาสตร์
    </TD><TD>ประวัติศาสตร์
    </TD><TD>ภูมิศาสตร์
    </TD><TD>แบบฝึกหัด

    </TD></TR><TR><TD>Ram 1</TD><TD colSpan=5>
    สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

    </TD><TD>รัชกาลที่ 1

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="75%" border=0><TBODY><TR><TD width="26%" bgColor=#ffffff>1.พระราชประวัติ</TD><TD width="58%" rowSpan=11>
    <TABLE width="59%" border=1><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="59%" border=1><TBODY><TR><TD>คชสีห์
    </TD><TD>ราชสีห์
    </TD><TD>บัวแก้ว
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=221 width="93%"><TBODY><TR><TD height=215>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    </TD><TD vAlign=top width="16%">

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>2.การสร้างราชธานี</TD><TD vAlign=top width="16%">

    </TD></TR><TR><TD>3.การปกครอง</TD><TD vAlign=top width="16%">

    </TD></TR><TR><TD>4.เศรษฐกิจ</TD><TD vAlign=top width="16%">

    </TD></TR><TR><TD>5.การศาสนา</TD><TD vAlign=top width="16%">

    </TD></TR><TR><TD>6.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณ</TD><TD vAlign=top width="16%">

    </TD></TR><TR><TD>7.กวีและวรรณกรรม</TD><TD vAlign=top width="16%">

    </TD></TR><TR><TD>8.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ</TD><TD vAlign=top width="16%">

    </TD></TR><TR><TD></TD><TD vAlign=top width="16%">

    </TD></TR><TR><TD></TD><TD vAlign=top width="16%">

    </TD></TR><TR><TD></TD><TD vAlign=top width="16%">

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="80%" border=1><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    </TD><TD width="40%" bgColor=#ff0000>พระมหากษัตริย์

    </TD><TD width="31%" bgColor=#ffffff colSpan=2>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="80%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#66ff99 colSpan=2>กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า )

    </TD><TD width="40%"></TD><TD width="31%" bgColor=#66ff99 colSpan=2>
    กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง )

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="80%" border=1><TBODY><TR><TD colSpan=2>สมุหพระกลาโหม

    </TD><TD width="40%"></TD><TD width="31%" bgColor=#ffffff colSpan=2>
    สมุหนายก(มหาดไทย)

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="80%" border=1><TBODY><TR><TD width="24%" bgColor=#66ffcc>นครบาล
    </TD><TD width="23%" bgColor=#66ffcc>ธรรมาธิกรณ์
    </TD><TD width="4%"></TD><TD width="22%" bgColor=#66ffcc>โกษาธิบดี
    </TD><TD width="27%" bgColor=#66ffcc>เกษตราธิการ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE width="80%" border=1><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    </TD><TD width="40%" bgColor=#ff0000>สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี

    </TD><TD width="31%" bgColor=#ffffff colSpan=2>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="80%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#66ff99 colSpan=2>
    กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า )


    1. กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา)

    2. กรมพระราชวังบวรมหาอิศรสุนทร (เจ้าฟ้าฉิม)



    </TD><TD width="19%"></TD><TD width="39%" bgColor=#66ff99 colSpan=2>
    กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง )

    (นายทองอินหรือพระยาสุริยอภัย)

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="80%" border=1><TBODY><TR><TD colSpan=2>สมุหพระกลาโหม
    (ตราคชสีห์)


    </TD><TD width="40%"></TD><TD width="31%" bgColor=#ffffff colSpan=2>
    สมุหนายก

    (ตราราชสีห์)

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="80%" border=1><TBODY><TR><TD width="25%" bgColor=#66ffcc>พระยายมราช (นครบาล)
    (ตราพระยมทรงสิงห์)

    </TD><TD width="23%" bgColor=#66ffcc>พระยาธรรมา (ธรรมาธิกรณ์)
    (ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ)

    </TD><TD width="2%"></TD><TD width="23%" bgColor=#66ffcc>พระยาโกษาธิบดี (พระคลัง)
    (ตราบัวแก้ว)

    </TD><TD width="27%" bgColor=#66ffcc>พระยาพลเทพ (เกษตราธิการ)
    (ตราพระพิรุณทรงนาค)


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <TABLE width="75%" border=0><TBODY><TR><TD>ด้านการปกครอง

    1. การปกครองในราชธานี หรือระเบียบบริหาราชการส่วนกลาง
    ยังคงใช้ตามแบบกรุงศรีอยุธยาคือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่ายได้แก่
    1.1 ฝ่ายทหาร คือเสนาบดีกรมพระกลาโหม ( สมุหพระกลาโหม ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
    1.2 ฝ่ายพลเรือน คือ เสนาบดีกรมมหาดไทย ( สมุหนายก ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
    นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ ช่วยบริหารงาน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย
    1.2.1 กรมพระนครบาล ( กรมเวียง )
    1.2.2 กรมพระธรรมาธิกรณ์ ( กรมวัง )
    1.2.3 กรมพระโกษาธิบดี ( กรมคลัง )
    1.2.4 กรมพระเกษตราธิการ ( กรมนา )
    กรมเวียง หรือ กรมเมือง เสนาบดีคือ พระยายมราช มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลราษฎรในเขตกรุง รักษาความสงบเรียบร้อยและปราบโจรผู้ร้าย มีตราพระยมทรงสิงห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำตำแหน่ง
    กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการในราชสำนัก จัดการพระราชพิธีทั่วไป รวมทั้งพิจารณาคดีที่พระมหากษัตริย์จะต้องวินิจฉัยด้วย จึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมาธิกรณ์ หมายถึง ผู้วินิจฉัยคดีพิพาท ให้เป็นธรรม ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (เทวดาทรงพระโค ) เป็นสัญลักษณ์
    กรมคลัง หรือ กรมท่า มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ใช้ตราบัวแก้วเป็นสัญลักษณ์ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น ฝ่ายการเงิน มีหัวหน้าคือ พระยาราชภัคดี
    ฝ่ายการต่างประเทศ มีหัวหน้าคือ พระยาศรีพิพัฒน์
    ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก มีหัวหน้าคือ พระยาพระคลัง
    กรมนา มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าว ค่านา จัดเก็บและรักษาเสบียง อาหารสำหรับพระนคร พิจารณาคดีเกี่ยวกับที่นา ใช้ตราพระพิรุณทรงนาคเป็นสัญลักษณ์

    2. การปกครองหัวเมือง หรือ ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองหัวเมือง คือการบริหารราชการแผ่นดินตามหัวเมืองต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
    2.1 หัวเมืองชั้นใน
    2.2 หัวเมืองชั้นนอก
    2.3 หัวเมืองประเทศราช

    หัวเมืองชั้นใน เดิมเรียกว่าเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน จะตั้งอยู่รอบเมืองหลวง ถือว่าเป็นบริวารของเมืองหลวง เมืองชั้นในไม่ได้เป็นเมืองอย่างแท้จริง เพราะไม่มีเจ้าเมืองปกครอง มีแต่ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง ทำหน้าที่ดูแล ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง การบริหารงานต้องรับคำสั่งจากเสนาบดีจัตุสดมภ์ หรือฟังคำสั่งจากเมืองหลวง หัวเมืองชั้นใน มีความสำคัญเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา

    หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้จัดแบ่งเป็นระดับชั้น ตามขนาด จำนวนพลเมือง ความสำคัญ แบ่งเป็นชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และอาจมีเมืองเล็ก ๆ ( เมืองชั้นจัตวา ) อยู่ใต้สังกัด เจ้าเมืองเหล่านี้ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน แต่ต้องปฏิบัติตามพระราชโองการและนโยบายจากเมืองหลวงตามเขตความรับผิดชอบกล่าวคือหัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือและภาคอิสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก
    หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ อยูในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม
    หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมท่า ( พระยาพระคลัง )
    หัวเมืองที่สังกัดกรมท่า มี 9 เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี สมุทรสงคราม ชลบุรี บางละมุง ระยองจันทบุรี ตราด
    เมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเอง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ พิษณุโลก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ถลาง และสงขลา
    เมืองชั้นโท ตรี และจัตวา เสนาบดีที่รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง

    หัวเมืองประเทศราช หรือ เมืองขึ้น เป็นเมืองของชาวต่างชาติต่างภาษา หรือ ประเทศเหล่านั้นยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของไทย มีเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ ปกครองกันเอง ตามจารีตประเพณีของแต่ละชาติ การเป็นเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ จะต้องบอกหรือเข้ามากราบบังคมทูล ขอให้เป็นผู้แต่งตั้งให้ โดยเมืองขึ้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการ และต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาให้ โดยปรกติจะจัดส่ง 3 ปีต่อครั้ง ต้องเกณฑ์ทัพมาช่วยถ้ามีศึกสงคราม
    ประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ ล้านนา (เชียงใหม่ ) ล้านช้าง หรือ ลาว ( หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ) เขมร ( กัมพูชา ) หัวเมืองมลายู ( ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู )

    ด้านกฎหมายและการศาลไทย
    กฎหมายไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์ธรรมสัตกัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง ในการตัดสินคดีความนั้นจะมีพรมหมณ์ ที่เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง จำนวน 12 คนไปผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าใครผิดใครถูก จากนั้นจึงส่งเรื่องไปให้ตุลาการบังคับคดี หรือ ลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ลูกขุนตัดสิน
    พระธรรมศาสตร์ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งเทียบได้กับกฎหมายแม่บทของไทยในปัจจุบันคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะตราพระราชกำหนดกฎหมายใด ๆ ต้องคำนึงถึงพระธรรมศาสตร์ จะทรงตรากฎหมายให้ขัดกับพระธรรมศาสตร์ไม่ได้ กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศอีกประเภทหนึ่งคือ พระราชศาสตร์ เป็นพระราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เป็นบทบัญญัติปลีกย่อย จากพระธรรมศาสตร์ เรียกว่า สาขาคดี
    ในการไต่สวนพิจารณาคดีในสมัยโบราณ เนื่องจากยังขาดความรู้ในเรื่องการสอบสวน จึงนิยมใช้วิธีการแบบจารีตนครบาล โดยการทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เช่น ตอกเล็บ เฆี่ยนตี ลุยเพลิง เสี่ยงเทียน บีบขมับ
    การแก้ไขกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ชำระกฎหมาย อันเนื่องมาจาก อำแดงป้อมฟ้องหย่า นายบุญศรีผู้เป็นสามี มีอาชีพเป็นช่างเหล็กหลวง ซึ่งอำแดงป้อมมีชู้ แต่กลับมาฟ้องหย่าสามี ในสมัยนั้นถ้าภรรยาฟ้องหย่าตามกฎหมายภรรยาจะได้ทรัพย์สินก่อนแต่งงานเป็นของตน รัชกาลที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงโปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าทูลละอองธุลีพระบาท ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 นาย ฝ่ายลูกขุน 3 นาย ฝ่ายราชบัณฑิต 4 นาย รวม 11 นาย ร่วมกันชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการในแผ่นดิน ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ลงมา โดยจัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เมื่อชำระเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้รวม 3 ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง ศาลหลวงชุดหนึ่ง โดยให้ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญทุกเล่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="75%" border=1><TBODY><TR><TD>Copyright By Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
    186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khongteay Khongteay Bangkok Thailand
    e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
    Tel; 089-200-7752 mobile

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.pop.co.th/travel/scoop/bkk/musuem1.php

    พิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>รู้สึกเหมือนกันมั้ยคะว่าช่วงนี้กรุงเทพเรานี่รถไม่ค่อยติดสักเท่าไหร่แล้ว อาจจะเป็นเพระาช่วงนี้เด็ก ๆ ทั้งหลายที่เค้าอยู่ในช่วงปิดเทอมกันแล้ว ก็เลยส่งผลให้รถบนถนนลดน้อยลงไปมากทีเดียว เด็ก ๆ ต่างก็อยู่บ้านพักผ่อนกันมากขึ้น แต่ปิดเทอมทั้งทีจะปล่อยให้เวลาเปล่าประโยชน์ไปฌแย ๆ กับนั่ง นอน อยู่แต่บ้านก็ใช่ที่นะคะ ชวนเด็ก ๆ ในบ้านของคุณออกไปเที่ยวข้างนอกกันดีกว่าค่ะ ที่เราจะแนะนำให้คุณ ๆ ไปกันในวันนี้ก็ต้องเหมาะสำหรับเด็ก ๆ อย่างแน่นอน ที่ทั้งเพลิดเพลิน และทั้งได้รับความรู้กลับบ้านไปกันเต็มกระเป๋า กรุงเทพมหานคร ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งของมหานครที่เก่าแก่ และมีชื่อเมืองยาวที่สุดในโลก ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ที่สืบทอดมายาวนาน สามารถพบเห็นได้ทั่วทุกภาคของประเทศ วิถีชีวิตความเป็นไทย มีรากฐานถ่ายทอดจากบรรพบุรุษผ่านมาหลายชั่วคน หลายยุคสมัย สมญา "เสน่ห์แห่งตะวันออก" เป็นที่เลื่องลือไปทั่วทุกส่วนของโลก และยังมีชื่ออีกมากมายที่ประเทศไทยได้รับการขนานนาม ไม่ว่า "มหานครแห่งศิลปวัฒนธรรม" "เมืองแห่งความสุขสันต์" หรือ "สยามเมืองยิ้ม" ทำให้ในกรุงเทพมีพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของสิ่งต่าง ๆ เรียงรายอยู่มากมายนับไม่ถ้วนทั้งที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติ ไปจนถึงพิพิธภัณฑ์ที่แสดงความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีของชาติเรา จะมีที่ไหนน่าสนใจอย่างไรบ้างตามไปกันเลยค่ะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD class=museumtx>1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาต
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2417 โดยรัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างขึ้นในเขตพระราชฐานของพระราชวัง (วังหน้า) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระบรมมหาราชวัง บนถนนหน้าพระธาตุ ทางทิศตะวันตกของสนามหลวงถือเป็นพิพิธภัณฑสถานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องศิลปไทยมากที่สุดแห่งหนึ่ง ด้วยเหตุที่พิพิธภัณฑ์มีขนาดใหญ่ การเข้าชมให้เกิดอรรถรส จึงควรเริ่มตามลำดับยุคของสมัยประวัติศาสตร์ เช่น ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย วัฒนธรรมต่างๆ เหตุการณ์บ้านเมืองของไทย เริ่มจากกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ ซึ่งใช้เทคนิคในการนำเสนอที่ทันสมัย น่าสนใจ
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีการบรรยายภาษาอังกฤษสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทุกวันพุธ และ วันพฤหัสบดี เรื่องศิลปะวัฒนธรรมไทยและศาสนา เริ่มตั้งแต่ 09.30 น. เป็นต้นไป นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายเป็นภาษาเยอรมัน (วันพฤหัสบดี) ภาษาฝรั่งเศส (วันพุธ) และภาษาญี่ปุ่น (วันพุธ) พิพิธภัณฑ์เปิดทำการ วันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่ 09.00-16.00 น.
    ค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท ต่างชาติ 40 บาท
    ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2224-1333-6

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>2.พระที่นั่งวิมานเมฆ
    พระที่นั่งวิมานเมฆ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2411 เพื่อเป็นพระราชวังฤดูร้อนในเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เป็นอาคารไม้สัก 3 ชั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2444 ได้มีการย้ายนำมาปลูกใหม่ในบริเวณพระราชวังดุสิต เป็นที่ประทับซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดปรานมากแห่งหนึ่ง ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงโปรดเกล้าให้ซ่อมแซมและเปิดใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2535 เพื่อเฉลิมฉลองกรุงเทพฯ ที่มีอายุครบ 200 ปี
    พระที่นั่งวิมานเมฆเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป แต่ใช้วิธีการก่อสร้างแบบไทย นับตั้งแต่การใช้ไม้สักทองตลอดทั้งหลัง ไม่มีการใช้ตะปูตอกแม้แต่ตัวเดียว
    นอกจากนี้ ยังมีเครื่องพิมพ์ดีดอักษรไทยที่เก่าแก่ที่สุด กระเบื้องเคลือบ หรือเซรามิกแบบไทย เครื่องเรือนแบบยุโรป และภาพเขียนจีน เป็นต้น พระที่นั่งวิมานเมฆ เปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.30-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2281-8803 หรือ 0-2281-8824
    </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>3.พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี
    พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี อยู่ในคลองบางกอกน้อย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ใกล้กับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นอู่เก็บเรือที่ใช้ในพระราชพิธีชลมารค ในจำนวนเรือหลายลำที่ขึ้นคานนั้น เรือสุพรรณหงส์เป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ด้วยความยาว 5 เมตร ใช้ฝีพาย 50 คน พนักงานถือฉัตรร่ม 7 คน เจ้าหน้าที่ถือหางเสือ 2 คน ต้นหน 2 คน เจ้าหน้าที่ธง 1 คน คนเคาะจังหวะ 1 คน และคนให้จังหวะเสียง 1 คน เรือสุพรรณหงส์ เป็นเรือต้น สำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีทางชลมารค จึงถือเป็นเรือที่สำคัญที่สุด ช่วงเวลาที่คนไทยจะได้ชมเรือสุพรรณหงส์ ลอยแล่นกลางแม่น้ำ คือวันพระราชพิธีทอดกฐิน ซึ่งจะมีขึ้นหลังวันออกพรรษา ระหว่างปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี เปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น.
    ค่าเข้าชม คนละ 30 บาท
    สอบถามรายละเอียด โทร. 0-2424-0004
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=15>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>4.วังสวนผักกาด
    วังสวนผักกาด สร้างโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฎพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต โดยการรื้อบ้านเก่า 5 หลัง จากเชียงใหม่ มาสร้างใหม่ในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2495 วังสวนผักกาด เป็นเรือนไม้แบบไทยๆ ที่เรียบง่ายและงดงาม มีการจัดภูมิทัศน์โดยรอบ พระองค์เจ้าจุมภฎฯ ผู้สร้างวังสวนผัดกาด ทรงเป็นผู้อุทิศพระองค์เพื่องานศิลปะ ภายในวังมีเครื่องดนตรีโบราณ จนถึงเศียรพระพุทธรูปในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภาพถ่ายเมืองไทยสมัยโบราณ ซึ่งบันทึกภาพโดยชาวยุโรป วังสวนผักกาดเปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.
    ค่าเข้าชม คนละ 50 บาท
    สถานที่ตั้ง : ถนนศรีอยุธยา ตัดถนนราชปรารภ โทร. 0-2245-4934, 0-2245-6368, 0-2246-1775-6
    </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>5.พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
    พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในวังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร กรมสรรพสามิต และพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณ์ไทย โดยจัดทำเป็นสถานที่รวบรวมเงินตราที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้า ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนกลาง โดยแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องเงินพดด้วง เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร ห้องนิทรรศการงานครบรอบ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย และอื่นๆ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมโดยไม่ต้องเสียค่าเข้าชมทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดของธนาคาร ตั้งแต่เวลา 10.00-12.00 น. และ 14.00-16.00 น.
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2283-5265, 0-2283-5284
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>6.หอศิลปเจ้าฟ้า
    หอศิลปเจ้าฟ้า ตั้งอยู่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ตรงข้ามโรงละครแห่งชาติ เริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดหอศิลปเจ้าฟ้า มีการแสดงภาพเขียนทั้งเก่าและใหม่มากมายจากศิลปินที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งรวมถึงภาพฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่โปรดฯ ให้นำมาแสดงให้ประชาชนได้ชมทั่วกัน หอศิลปเจ้าฟ้า เปิดให้ชมวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดราชการ
    ค่าผ่านประตูสำหรับคนไทย คนละ 10 บาท ส่วนชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท นักเรียน นักศึกษาไม่ต้องเสียค่าผ่านประตู ในกรณีที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะต้องทำเรื่องเสนอเพื่อการจัดเตรียมสถานที่
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2282-2639-40
    </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>7.พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และท้องฟ้าจำลอง
    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และท้องฟ้าจำลอง ตั้งอยู่ใกล้สามแยกเอกมัย ข้างๆ สถานีขนส่งสายตะวันออก ถนนสุขุมวิท เป็นศูนย์รวมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ มีการแสดงนิทรรศการฉายภาพยนตร์ และจัดบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และท้องฟ้าจำลอง เปิดทำการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. ท้องฟ้าจำลองมีการแสดงเรื่องระบบสุริยจักรวาล ในวันอังคาร-อาทิตย์ เว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-14.30 น.
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2392-5952 หรือ 0-2391-0544
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>8.พิพิธภัณฑ์บ้านคำเที่ยง
    พิพิธภัณฑ์บ้านคำเที่ยง เดิมเป็นบ้านเก่าอายุกว่า 150 ปี อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเจ้าของได้บริจาคให้แก่สยามสมาคม นำมาก่อสร้างที่กรุงเทพฯ เป็นเรือนไทยภาคเหนือที่สมบูรณ์แบบ ภายในจัดแสดงเครื่องเรือนและเครื่องใช้ตามวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยก่อน รวมทั้งการจัดสวนที่สวยงาม ที่นับวันจะหาดูได้ยาก พิพิธภัณฑ์บ้านคำเที่ยง เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์ จันทร์ และวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น.
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2661-6470-7
    </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>9.พิพิธภัณฑ์ บ้านจิมทอมป์สัน
    พิพิธภัณฑ์ บ้านจิม ทอมป์สัน ตั้งอยู่บนถนนพระราม 1 ซึ่งเจ้าของได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทำธุรกิจด้านผ้าไหมไทย และทำให้ชื่อเสียงของผ้าไหมไทยโด่งดังขจรขจายไปทั่วโลก พิพิธภัณฑ์ได้เปิดดำเนินการหลังจากที่ จิม ทอมป์สัน ได้เดินทางหายสาบสูญไปที่ประเทศมาเลเซีย พิพิธภัณฑ์ บ้านจิม ทอมป์สัน เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น.
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2216-7368, 0-2632-8100
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>10.พิพิธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    นิทรรศการถาวรที่ร้อยเรื่องราว เนื้อหาสาระทางประวัติศาสตร์ พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ของราชวงศ์จักรี กษัตริย์พระองค์แรกภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยของสยามประเทศ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี รวมทั้งวิวัฒนาการการเมือง การปกครองในระบบประชาธิปไตยของประเทศไทย ราชภัณฑ์ส่วนพระองค์ พระบรมฉายาลักษณ์และโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ที่ตั้ง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนหลานหลวง เขตป้อมปราบฯ
    เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน วันอังคาร-อาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุด) ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
    ค่าเข้าชม บุคคลทั่วไปเสียค่าเข้าชม 40 บาท
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2280-3433-6, 0-2280-3413-4
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>11.พิพิธภัณฑ์พระ กำนันชูชาติ
    การจัดสร้างพระพุทธรูปนั้น ได้มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่นำมาจัดสร้าง ศิลปะหรือรูปแบบ ดังนั้นพระพุทธรูปจึงไม่ได้เป็นเพียงประติมากรรมและศิลปวัตถุที่งดงามเท่านั้น แต่ยังถือเป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ทรงคุณค่าอีกด้วย ภายในพิพิธภัณฑ์พระ กำนันชูชาติ จัดแสดงพระบูชา ตั้งแต่สมัยคุปตะจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ กว่า 200 องค์ และพระเครื่องอีกกว่า 3,000 องค์ เช่น สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ A ที่สวยงามมาก บางขุนพรหมวัดเกศชัยโย ชุดเบญจภาคี พระกริ่งสุริยะวรมัน สามารถเข้าชมและศึกษาได้อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านพระเครื่องและพระบูชา ที่ตั้ง ถนนพุทธมณฑล สาย 2 เขตทวีวัฒนา
    เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00-16.30 น.
    ค่าเข้าชม บุคคลทั่วไปเสียค่าเข้าชม 100 บาท
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2448-1795
    </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>12.พิพิธภัณฑ์ ตราไปรษณียากร
    การสะสมตราไปรษณียากร (แสตมป์) เป็นที่นิยมในทุกชนชั้นในกรุงเทพได้เริ่มกิจการเมื่อปี พ.ศ. 2424 แสตมป์ชุดแรกของไทยสั่งพิมพ์ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พิมพ์ด้วยวิธีแกะแม่พิมพ์ แล้วพิมพ์บนกระดาษที่ไม่มีลายน้ำ ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงประวัติการไปรษณีย์ไทย ตราไปรษณียากร และแผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึก ตั้งแต่ชุดแรกจนถึงปัจจุบัน ขั้นตอนการจัดสร้าง และวิธีการพิมพ์ตราไปรษณียากรไทยภาพร่างต้นแบบตราไปรษณียากร ฯลฯ ที่ตั้ง ถ.พหลโยธิน ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 หลังที่ทำการโทรเลขสามเสนใน
    เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2271-2439, 0-2614-2637
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>13.พิพิธภัณฑ์บางกอกดอลล์
    พิพิธภัณฑ์บางกอกดอลล์ ตั้งอยู่ที่ซอยรัชตภัณฑ์ หรือซอยหมอเหล็ง ถนนราชปรารภ บริเวณแยกมักกะสัน เขตราชเทวี เป็นที่รวบรวมตุ๊กตาจากนานาชาติ อาทิ ตุ๊กตาไทยแบบต่างๆ เช่น ตุ๊กตารำไทยที่ลอกแบบจากวรรณกรรมรามเกียรติ ตุ๊กตาในชุดชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ตุ๊กตาเด็กไทยโบราณ เปิดให้ชมทุกวัน เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ เวลา 08.00-17.00 น.
    สอบถามที่ โทร. 0-2245-3008 และ 0-2245-2512
    </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>14.บ้าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
    บ้านของหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ตั้งอยู่ที่ถนนสาทร เป็นกลุ่มเรือนไทยภาคกลางที่สมบูรณ์แบบหลังหนึ่ง อายุกว่า 100 ปี ซึ่งประกอบด้วยเรือนไทยในรูปทรงที่ต่างกัน ตามประโยชน์ใช้สอย เช่น เรือนพัก เรือนรับรอง ศาลา ฯลฯ เรือนไทยทุกหลังสร้างตามแบบอย่างเรือนไทยโบราณทุกขั้นตอน เครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอย การจัดสวน ตกแต่งโดยรอบ ล้วนเป็นสิ่งที่ควรค่าในการศึกษา เรียนรู้ เปิดให้ผู้สนใจเข้าชม วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.
    ค่าเข้าชม บุคคลทั่วไปเสียค่าเข้าชม 50 บาท
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2286-8185, 0-2286-3907
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>15.พิพิธภัณฑ์เด็ก แห่งกรุงเทพมหานคร
    พิพิธภัณฑ์เด็กของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 5 ไร่ ภายในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เพื่อสนองพระราชประสงค์ขององค์ "สมเด็จแม่แห่งชาติ" เพื่อให้เยาวชนได้ใช้เป็นสถานที่ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน รูปแบบภายในเป็นการนำเสนอความรู้ต่างๆ รวม 8 ภาค ได้แก่ ภาคธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาควิทยาศาสตร์ ภาคเทคโนโลยี ภาควัฒนธรรมและสังคม ภาคร่างกายคนเรา ภาคสันทนาการและการออกกำลังกาย ภาคกิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก และภาคเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมุ่งเน้นสาระความบันเทิง ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาให้เยาวชนของชาติ ได้มีทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ใหม่ๆ ทันสมัย ในการที่จะเติบโตและก้าวไกล เป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไป เปิดทำการ อังคาร-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.30 น. ถึง 17.30 น.
    ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 70 บาท เด็ก 50 บาท
    ขอข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2618-6509
    </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>16.พิพิธภัณฑ์หินแปลก
    บนถนนเจริญกรุง ระหว่างซอย 26 และ 28 คือที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์หินแปลก ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของเมืองไทยและของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่รวบรวมก้อนหินนานาชนิด จากการสะสมของบรรยง เลิศนิมิตร เจ้าของฉายาราชาแห่งก้อนหินของเมืองไทย เขาเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ในปี พ.ศ. 2542 เพื่อจัดแสดงก้อนหินจำนวนกว่าสองพันก้อนจากที่เขาสะสมเอาไว้นับแสนก้อน เขาแบ่งก้อนหินในพิพิธภัณฑ์ออกเป็นก้อนหินจากแม่น้ำ ทะเล และภูเขาตามแหล่งที่พบ ความน่าอัศจรรย์ของก้อนหินเหล่านี้คือรูปร่างอันแปลกตา ซึ่งสามารถเปรียบเทียบเป็นสิ่งของต่างๆ ได้มากมาย นอกจากนี้ บนชั้นสามของอาคารแห่งนี้ ยังเป็นที่จัดแสดงที่เขี่ยบุหรี่จากทั่วโลก ซึ่งได้สะสมเอาไว้มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่สวยงาม และน่าสนใจทั้งสิ้น พิพิธภัณฑ์หินแปลกเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 10.00-17.30 น.
    ค่าเข้าชม สำหรับผู้ใหญ่ 50 บาท สำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษา 20 บาท
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2236-5666, 0-2236-5655
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=museumtx>17. พิพิธภัณฑ์เรือจิ๋วและอู่เรือจิ๋ว
    คุณกมล วิบูลกิจธนากร อยู่ในวงการต่อเรือมาหลายสิบปี ด้วยความชอบเป็นส่วนตัว จึงสนใจศึกษาเรื่องนี้มาโดยตลอด ประกอบกับมีฝีมือทางช่าง จึงมีผู้ว่าจ้างให้ประดิษฐ์เรือลำเล็ก เพื่อใช้เป็นกระเช้าดอกไม้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการประดิษฐ์เรือจิ๋ว
    จากนั้นมาจึงได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เรือจิ๋ว จัดแสดง "อู่ต่อเรือจริงๆ" รวมทั้งได้เปิดสอนวิธีการต่อเรือให้กับผู้ที่สนใจรูปแบบของเรือที่ผลิต มีทั้งเรือของไทยและเรือต่างประเทศ เช่น เรือเสด็จประพาสต้น เรือกระแซง เรือสำเภาจีน เรือหมู เรืออีโปง ฯลฯ โดยเฉพาะเรือโบราณบางชนิด ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ เนื่องจากไม่สามารถหาดูได้ในปัจจุบัน หมู่บ้านบัวขาว เขตมีนบุรี เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน วันจันทร์-เสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2517-2080
    </TD><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG][​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ในคราวเสด็จพระราชกุศล ปีพ.ศ. 2444 ที่ล้นเกล้าในหลวงรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้หล่อพระพุทธชินราชจำลองเป็นพระประธานที่วัดเบญจมบพิธ มีการจัดสร้างพระพิมพ์พุทธชินราช เนื้อปัญจสิริ และวรรณอื่นๆให้เป็นที่ระลึก ดังนั้น เป็นการจัดสร้างภายหลังจากที่สมเด็จโตสิ้นชีพิตักษัยครับ แต่อย่างไรก็ตามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกพระในสมัย 2444 ต้องเข้มขลังแน่นอนครับ ลองเช็คช่วงเวลาอายุของพระสมัยนั้นนะครับ ว่ามีองค์ใดบ้าง แต่ขอบอกว่า ไม่น่าจะธรรมดาครับ เพราะ อัฐิธาตุของพระองค์ท่านก็ประดิษฐานที่ใต้ฐานพระพุทธชินราชซึ่งเป็นพระประธานของวัดหลวงแห่งนี้ครับ..
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เป็นจริงอย่างที่คุณนักรบโบราณบอกจริงๆครับ พระแก้วมี 2 ที่ คือ พระแก้ววังหน้า(วัดบวรสถานสุทธาวาส ในวิทยาลัยนาฏศิลป์) กับ พระแก้ววังหลวง(วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต) อันนี้ ต้องแยกให้ออก ทำใจเป็นกลางๆ แล้วลองศึกษาข้อเท็จจริงว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ไม่อิงกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

    เรื่องของวัตถุมงคล หากนำเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง มีสิทธิ์ทำให้เสียคนได้อยู่เหมือนกันครับ ผู้คนมากมายที่เสาะแสวงหาพระเครื่องพระสมเด็จที่สมเด็จโตท่านเสก องค์ละเป็นแสน เป็นล้าน เพราะเป็นการประเมินราคาให้กับวัตถุที่มี"ความรู้สึก"ว่ามีปริมาณน้อย และหายาก คนที่มีอายุในสมัยนี้ ( ณ วันที่ 11 ก.พ. พ.ศ.2550)มีผู้ใดเคยเห็นสมเด็จโตท่านบ้าง หากมีคนผู้นั้นต้องมีอายุขั้นต่ำ ประมาณ 135 ปี (ท่านสิ้นชีพิตักษัย พ.ศ.2415) หากมากล่าวถึงเรื่องราวของพระสมเด็จที่มีอายุมากกว่า 130 ปีนั้น หากไม่ยึดพงศาวดาร หรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็ไม่ทราบจะหาอะไรยึดได้อีกแล้วครับ ต้องแยกกันเป็น 2 เรื่อง เรื่องของเหตุและผล กับ เรื่องของความรู้สึก เรื่องของพระสมเด็จเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์เป็นเหตุเป็นผล ส่วนเรื่องพลัง หรือพระมีอิทธิคุณแรง หรือไม่แรงเป็นเรื่องความรู้สึก และเป็นอจินไตย และปัจจัตตัง

    ผมอยากให้ลองจินตนาการนะครับ เราท่านต่างไม่ทันสมเด็จโตท่านทั้งนั้น อาจมองไม่เห็นภาพชัด แต่หากเรายกตัวอย่างซักเรื่องนะครับ เราท่านต่างรู้จัก และเกิดทันในสมัยหลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ ซึ่งท่านก็ยังมีชีวิตอยู่ ท่านมีเมตตาสูงมาก ท่านสงเคราะห์ผู้คนวัดวาอารามอื่นๆมากมายครับ ลองไปสอบยันดูก็ได้ครับว่า ตั้งแต่ท่านเริ่มสงเคราะห์คนในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา วัตถุมงคลวัดใดไม่มีชื่อท่านร่วมในพิธีพุทธาภิเษก ดังนั้นจะบอกว่าหลวงพ่อคูณเสกเฉพาะพระเครื่องที่จัดสร้างที่วัดบ้านไร่เท่านั้นไม่ได้ครับ หากวัตถุมงคลที่วัดบ้านไร่หมดลง ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้คนที่ศรัทธาในองค์หลวงพ่อคูณ และอยากหาวัตถุมงคลของท่านมาสวมใส่คุ้มภัยจะหาจากวัดอื่นที่มีท่านร่วมในพิธีปลุกเสกไม่ได้ หรือต้องเป็นพระเครื่องของวัดบ้านไร่เท่านั้นที่เป็นของแท้ก็หาไม่ เป็นเพียงความรู้สึกของคนเท่านั้นครับว่า ท่านประจำวัดไหนก็ต้องเป็นวัดนั้น ดังนั้นพระเครื่องในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา กว่า 80%ของพระเครื่องมีหลวงพ่อคูณร่วมในพิธีปลุกเสกทั้งนั้นครับ

    จากกรณีศึกษานี้ก็เช่นกันครับ หากวันนี้มีผู้คนกลุ่มหนึ่งค้นพบว่า สมเด็จโตท่านไม่ได้ปลุกเสกพระเครื่องเพียง 3 วัดคือวัดระฆังโฆษิตราราม วัดใหม่อมตรสและวัดไชโยวรวิหาร แต่มีที่วัดอื่นๆด้วยโดยเฉพาะเป็นวัดหลวง และพิธีหลวงท่านที่ศรัทธา และสนใจอยากได้พระเครื่องที่มีอิทธิคุณ ที่สมเด็จโตท่านฝากไว้บนแผ่นดินไทยนี้ ท่านจะสนใจไม๊ครับ? ไม่ต้องเอาเรื่องราคามาคุยกันครับ เอาเป็นว่าหากมีจริงท่านจะสนใจไม๊ก่อน หากท่านตอบว่า ก็สนใจ คราวนี้ หากราคาจากการประเมินของคนทั่วไปที่ไม่ได้ให้สนใจนั้นก็ตีให้ต่ำเต็มที ท่านยังจะไม่สนใจหรือครับ??? ของดีราคาแสนถูกท่านไม่สนใจ แบบนี้ก็ไม่รู้จะแนะนำยังไงกับท่านแล้วครับ อย่าให้ความรู้สึกของคำว่า"พุทธพาณิชย์"เข้ามาในใจแม้แต่น้อยนะครับ เพียงนึกว่า อยากได้พระทีสมเด็จโตท่านเสกซักองค์ที่สามารถคุ้มภัยให้กับเราเท่านั้นก่อน เอาเหตุผล และความรู้สึกเข้าไปจับทีละด้าน แล้วท่านจะพบว่า ท่านก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีโอกาสได้ของจริงกับเขาบ้างครับ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2007
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    นำพระ(เณร)บางส่วนมาให้ชมกันครับ ระวังในการเช่าหาครับ รับประกันว่าเป็นเณร 100% เริ่มด้วยพระบรมครูโลกอุดร พิมพ์อธิษฐานฤทธิ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010397.jpg
      P1010397.jpg
      ขนาดไฟล์:
      839.4 KB
      เปิดดู:
      272
    • P1010398.jpg
      P1010398.jpg
      ขนาดไฟล์:
      840.9 KB
      เปิดดู:
      141
  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ก่อนอื่นสำหรับผู้เข้ามาใหม่ อาจจะนึกว่าผมนึกลบหลู่ครูอาจารย์ ผมไม่มีเจตนาเช่นนั้นครับ... โบราณท่านไม่ให้พูดว่าพระปลอม พระไม่แท้ แต่ท่านให้เรียกเณร หรือ อ่อนพรรษาครับ เป็นวิทยาทานครับ ว่าสิ่งที่คุณหนุ่มพูด หรือพยายามบอกนั้นจริงครับ แท้ก็มี ปลอมก็มีครับ ต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ ทั้งรูป และนามควบคู่กันครับ

    ชุดที่ 2 นี่ก็เป็น"พยายาม"ให้เป็นพระบรมครูโลกอุดร พิมพ์เดินจงกลมสีเขียว พิมพ์ใหญ่ ชุดนี้จะทำเป็นสีประจำวัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010399.jpg
      P1010399.jpg
      ขนาดไฟล์:
      434.2 KB
      เปิดดู:
      166
    • P1010400.jpg
      P1010400.jpg
      ขนาดไฟล์:
      453.5 KB
      เปิดดู:
      155
  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ชุดที่ 3 "พยายาม"ให้เป็นพระบรมครูโลกอุดร พิมพ์ธุดงค์สีเขียว พิมพ์เล็ก ชุดนี้จะทำเป็นสีประจำวัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010401.jpg
      P1010401.jpg
      ขนาดไฟล์:
      458.3 KB
      เปิดดู:
      114
    • P1010402.jpg
      P1010402.jpg
      ขนาดไฟล์:
      463 KB
      เปิดดู:
      180
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    มาดู"ความพยายาม" ขององค์นี้อีกบ้างว่าจะให้เหมือนองค์ไหนอีก ...

    เป็น"ความพยายามในการทำให้เหมือน"พระวังหน้า พิมพ์วันทาใหญ่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010403.jpg
      P1010403.jpg
      ขนาดไฟล์:
      521.7 KB
      เปิดดู:
      145
    • P1010404.jpg
      P1010404.jpg
      ขนาดไฟล์:
      472.6 KB
      เปิดดู:
      128

แชร์หน้านี้

Loading...