พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/พระราชวังบวรสถานมงคล

    พระราชวังบวรสถานมงคล

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->สารานุกรมประเทศไทย
    <CENTER>...
    [​IMG]

    </CENTER>

    พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พระราชวังบวรสถานมงคลเป็นพระราชวังที่ประทับของผู้ทรงดำรงพระอิสริยยศ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งทรงดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้สร้างขึ้น โดยเริ่มสร้างพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. 2325 การก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ใช้พื้นที่ตั้งแต่ทิศเหนือของวัดสลัก (ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) ขึ้นไปจดคลองคูเมือง (คือคลองหลอด) และได้ทำผาติกรรมที่ดินส่วนหนึ่งทางด้านเหนือของวัดสลักเข้ามาเป็นเขตพระราชวังบวรสถานมงคลด้วย อาณาเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลเดิมกว้างขวางมาก แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งเป็นสนามหลวง และถนน และเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยช่างศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    พระราชวังบวรสถานมงคลเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของผู้ดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและในฐานะที่เป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช จึงมีความสำคัญมาก พระราชวังแห่งนี้ใช้เวลาสร้าง 3 ปีแล้วเสร็จและมีการฉลองพระราชวังพร้อมกับการสมโภชพระนครและฉลองพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. 2328 พระราชวังบวรสถานมงคลมีงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญ เช่น พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ตั้งแต่ พ.ศ. 2330 พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน ซึ่งเป็นท้องพระโรง รวมทั้งพระราชมณเฑียร ซึ่งมีพระที่นั่งอยู่ในหมู่เดียวกัน 11 องค์ คือ
    พระที่นั่งตรงที่เป็นท้องพระโรงหลัง
    นอกจากนี้ ยังมีพระที่นั่งพิมานดุสิดา(พื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และได้รื้อไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จไปประทับ
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ โปรดให้สร้าง พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ขึ้นเพื่อเป็นที่เสด็จออกแขกเมืองและบำเพ็ญพระราชกุศล รวมทั้งเป็นที่ตั้งพระศพกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีอุปราชาภิเษก นอกจากนี้สมเด็จพระบวราชเจ้ามหาศักดิพลเสพยังโปรดให้ซ่อมแซมพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ และเปลี่ยนนามเป็น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และสร้างวัดขึ้นในพระราชวังด้วย คือ วัดบวรสถานสุทธาวาสซึ่งเรียกกันว่า วัดพระแก้ววังหน้า
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นพระมหาอุปราชแต่ให้มีพระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว นามของวังหน้าหรือพระราชวังบวรสถานมงคลโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า พระบวรราชวัง ขณะที่วังหลวงเรียกว่า พระบรมมหาราชวัง ในสมัยนี้มีการปรับปรุงพระบวรราชวังครั้งใหญ่ให้สมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น สร้าง
    ซึ่งเป็นที่ประทับ นอกจากนี้ยังมีพระที่นั่งบวรปริวัติซึ่งทรงสร้างค้างไว้ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อจนเสร็จเรียบร้อย รวมทั้งเก๋งนุกิจราชบริหารด้วย
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทรงดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นพระองค์สุดท้าย เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารขึ้นแทนใน พ.ศ. 2429 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทรงสร้าง พระที่นั่งสาโรชรัตนประพาส ต่อจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. 2428 แล้ว พระบวรราชวัง หรือ พระราชวังบวรสถานมงคลก็มิได้เป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชอีก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ดัดแปลงสนามวังหน้าเป็นส่วนหนึ่งของสนามหลวง และรื้อป้อมปราการต่าง ๆ ลง และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานไปไว้ที่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยใน พ.ศ. 2430 และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครใน พ.ศ. 2469 ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วิทยาลัยช่างศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงละครแห่งชาติ และท้องสนามหลวงตอนเหนือฟากตะวันตก
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระบวรราชเจ้า_กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

    สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->[​IMG] [​IMG]
    พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์


    สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิม บุญมา เป็นพระราชภาตาร่วมพระราชชนกชนนี กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔ ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกทองดี และพระชนนีหยก ประสูติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีกุน พ.ศ. ๒๒๘๖ มีนิวาสถานอยู่หลังป้อมเพชร ในกรุงศรีอยุธยา เมื่อทรงเจริญวัยได้รับราชการเป็นมหาดเล็กตำแหน่งนายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคิณี พระอนุชาร่วมพระชนก ประกอบด้วย

    <TABLE class=toc id=toc summary=สารบัญ><TBODY><TR><TD>สารบัญ

    [ซ่อนสารบัญ]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดงสารบัญ"; var tocHideText = "ซ่อนสารบัญ"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] กรุงศรีอยุธยาแตก

    ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่ายกมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นพระนครอ่อนแอมาก พระยาวชิรปราการ (พระเจ้าตากสิน) จึงพาสมัครพรรคพวกตีฝ่าออกจากพระนครศรีอยุธยา มุ่งไปรวบรวมกำลังที่หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ที่ชลบุรี เพื่อจะรบสู้ขับไล่ข้าศึกจากพระนคร เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกบ้านเมืองสับสนเป็นจลาจล กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็น นายสุดจินดา ได้เสด็จลงเรือเล็กหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา และมุ่งจะเสด็จไปยังเมืองชลบุรีด้วยเช่นกัน ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ได้นำครอบครัว และบริวาร อพยพหลบภัยข้าศึกไปตั้งอยู่ ณ อำเภออัมพวา เมืองสมุทรสงครามซึ่งแต่เดิมขึ้นกับ เมืองราชบุรี
    ก่อนที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท จะเสด็จไปถึงชลบุรี ได้เสด็จไปพบพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่อำเภออัมพวาก่อน ได้ทรงชวนให้เสด็จไปหลบภัย ณ ชลบุรี ด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ยังไม่พร้อม แต่ได้พระราชทานเรือใหญ่ พร้อมเสบียงอาหาร และพระราชดำริให้ไปฝากตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และทรงแนะนำให้เสด็จไปรับท่านเอี้ยง พระชนนีของ พระยาตากสิน ซึ่งอพยพไปอยู่ที่บ้านแหลม พร้อมทั้งทรงฝากดาบคร่ำ และแหวน ๒ วง ไปถวายเป็นของกำนัลด้วย
    เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึก ข้าศึกได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม เก็บรวบรวมทรัพย์สินมีค่า แล้วยกทัพกลับไป ให้ทหารรักษาการอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น และที่ธนบุรี บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย แยกเป็นก๊กเป็นเหล่าถึง ๖ ก๊ก พระยาตากสิน เป็นก๊กหนึ่งรวบรวมไพล่พลตั้งอยู่ที่จันทบุรี เข้าตีพม่าข้าศึกที่รักษากรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น สมเด็จพระเจ้าตากสิน สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๓๑๑ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ในขณะนั้นทรงได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็น พระมหามนตรี เจ้าพระตำรวจในขวา

    [แก้] การทำศึกสงคราม

    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ทรงร่วมศึกสงครามขับไล่อริราชศัตรูปกป้องพระราชอาณาจักรตลอดพระชนมชีพของพระองค์ ได้เสด็จไปในการพระราชสงครามทั้งทางบก และทางเรือ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถึง ๑๖ ครั้ง และในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อีก ๘ ครั้ง ได้แก่
    • พ.ศ. ๒๓๑๐ ตีค่ายโพธิ์สามต้นของข้าศึก
    • พ.ศ. ๒๓๑๑ ตีค่ายพม่าที่บางกุ้ง และที่สมุทรสงคราม ขณะนั้นทรงมีบรรดาศักดิ์เป็น พระมหามนตรี และเสด็จไปรับพระเชษฐาธิราช จาก อำเภออัมพวา เข้ามารับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และทรงรับสถาปนาเป็น พระราชวรินทร์
    • พ.ศ. ๒๓๑๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงยกกองทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพิษณุโลก และยกไปปราบชุมนุมเจ้าพิมายที่นครราชสีมา พระมหามนตรี และพระราชวรินทร์ได้ร่วมการสงครามที่ด่านขุนทด มีชัยชนะในเวลา ๓ วัน ความชอบในการสงครามครั้งนี้ พระราชวรินทร์ได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์ และพระมหามนตรี เป็นพระยาอนุชิตราชา จางวางตำรวจ
    • พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ และพระยาอนุชิตราชา ยกทัพไปปราบกรุงกัมพูชา ตีได้เมืองเสียมราฐ
    • พ.ศ. ๒๓๑๓ พระยาอนุชิตราชาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็น พระยายมราช ได้ยกทัพไปร่วมกับทัพหลวงปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองสวางคบุรี และได้หัวเมืองเหนือไว้ในพระราชอำนาจทั้งหมด เมื่อเสร็จราชการศึกครั้งนี้ ได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก เป็นผู้ปกป้องพระราชอาณาจักรฝ่ายเหนือ และได้ยกทัพไปตีทัพโปมยุง่วนที่มาล้อมเมืองสวรรคโลก
    • พ.ศ. ๒๓๑๕ เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช ได้ยกทัพไปปราบพม่าที่ยกมาตีเมืองลับแล หรืออุตรดิตถ์ และเมืองพิชัยจนแตกพ่ายไป
    • พ.ศ. ๒๓๑๖ เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช และพระยาพิชัย ได้ยกทัพไปรบถึงประจัญบาน กับทัพโปสุพลาที่เมืองพิชัย จนข้าศึกแตกพ่าย ครั้งนี้เองที่พระยาพิชัยได้รับสมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"
    • พ.ศ. ๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งขณะนั้นเป็น เจ้าพระยาจักรี กับเจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช ยกทัพหัวเมืองเหนือไปตีเมืองเชียงใหม่ มีชัยชนะ และเจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราชได้คุมทัพเหนือไปล้อมทัพพม่า
    ที่เขาชะงุ้ม ตีค่ายพม่าที่เขาชะงุ้ม และปากแพรกแตกจนพม่ายอมแพ้
    • พ.ศ. ๒๓๑๘ เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช และเจ้าพระยาจักรี ได้รับพระราชบัญชาให้ยกทัพจากพิษณุโลกไปขับไล่โปสุพลา ที่ยกมาตีเมืองเชียงใหม่ และต่อมาอะแซหวุ่นกี้ ยกมาล้อมเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาทั้งสองจึงนำไพล่พลออกจากพิษณุโลกไปตั้งมั่นที่เมืองเพชรบูรณ์ ต่อมาพม่าถอนกำลัง จึงได้คุมกำลังเมืองนครราชสีมาติดตามตีทัพที่กำลังถอยแตกกลับไป
    • พ.ศ. ๒๓๒๐ ได้ยกทัพจากกรุงธนบุรีไปสมทบทัพเจ้าพระยาจักรีที่นครราชสีมา ตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองอัตบือ สุรินทร์ สังขะ ขุขันธ์ ไว้ได้ จากความชอบในการพระราชสงครามครั้งนี้ เจ้าพระยาจักรี ได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก"
    • พ.ศ. ๒๓๒๑ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช เกณฑ์ทัพเรือจากกัมพูชา ไปล้อมเมืองเวียงจันทน์ ๔ เดือนจึงตีได้ และตีหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นลาวจนจดตังเกี๋ยของญวนไว้ได้ด้วย และในครั้งนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อัญเชิญพระพุทธมหามุนีรัตนปฏิมากร กลับคืนเวียงจันทน์มาประดิษฐานที่กรุงธนบุรีด้วย
    • พ.ศ. ๒๓๒๔ เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช เป็นแม่ทัพหน้าร่วมกับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีกัมพูชา แต่ต้องเสด็จกลับกรุงธนบุรี เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระประชวร บ้านเมืองเกิดจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เสด็จปราบดาภิเษก
    เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ และสถาปนากรุงเทพมหานคร เป็นราชธานี เจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระนามนี้ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดระเบียบเกี่ยวกับพระเกียรติเจ้านาย ให้ขานพระนามว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
    ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ทรงร่วมการพระราชสงคราม ระหว่าง พ.ศ.๒๓๒๕ ถึง พ.ศ.๒๓๔๕ รวม ๘ ครั้ง คือ
    • พ.ศ. ๒๓๒๘ สงครามเก้าทัพ รบกับทัพพระเจ้าปดุง ที่ยกทัพเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ แม้มีไพร่พลน้อยกว่าข้าศึก แต่ทรงทำกลอุบายลวงข้าศึก จนสามารถมีชัยชนะ ในปีนั้น ยังได้เสด็จนำทัพเรือไปตีพม่าที่ไชยา และเสด็จไปปราบปัตตานีที่เอาใจออกห่าง และตีเมืองกลันตัน ตรังกานู
    เป็นเมืองขึ้นของไทยด้วย
    • พ.ศ. ๒๓๒๙ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้เสด็จนำทัพไปรบกับพระเจ้าปดุง ที่เข้ามายึดตำบลท่าดินแดง และสามสบ ได้ตีทัพพม่าแตก
    • พ.ศ. ๒๓๓๐ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองลำปางคืน และตีทัพพม่าที่ป่าซางแตก เสร็จการสงครามนี้ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงใหม่ มาประดิษฐาน ณ พระราชวังบวรสถานมงคล ที่กรุงเทพฯ
    • พ.ศ. ๒๓๓๖ เสด็จไปตีเมืองทวายสำเร็จ
    • พ.ศ. ๒๓๔๐ เสด็จยกทัพไปป้องกันเมืองเชียงใหม่ ตีพม่าที่ลำพูน และเชียงใหม่แตก
    • พ.ศ. ๒๓๔๕ ได้เสด็จไปขับไล่กองทัพข้าศึกออกจากเชียงใหม่ แต่เมื่อเสด็จไปถึงเมืองเถิน ทรงพระประชวรโรคนิ่ว ต้องประทับรักษาพระองค์เมื่อเสด็จกลับกรุงเทพฯ พระอาการประชวรกำเริบ ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๔๖ พระชนมายุ ๖๐ พรรษา
    นอกจากจะทรงอุทิศพระองค์เสด็จไปในการศึกสงครามกอบกู้เอกราช และป้องกันพระราชอาณาจักรตลอดพระชนมชีพ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยังทรงเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่บ้านเมือง ทรงอุปถัมภ์บำรุงการพระศาสนา ศิลปวรรณกรรม และสถาปัตยกรรม เป็นต้นว่า โปรดให้สร้าง พระราชวังบวร (ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร โรงละครแห่งชาติ และวิทยาลัยนาฎศิลป์) ทรงสร้างกำแพงพระนครตั้งแต่ประตูวัดสังเวชวิศยารามจนถึงวัดบวรนิเวศ และทรงสร้างป้อมอิสินธร ป้อมพระอาทิตย์ ป้อมพระจันทร์ ป้อมยุคนธร (ซึ่งรื้อลงแล้ว) คงเหลือแต่ป้อมพระสุเมรุ และทรงสร้างประตูยอดของบรมมหาราชวัง คือ ประตูสวัสดิโสภา ประตูมณีนพรัตน์ ประตูอุดมสุดารักษ์ และทรงสร้างโรงเรือที่ฟากตะวันตก ทรงสถาปนาวัดมหาธาตุ วัดชนะสงคราม (วัดตองปุ) วัดโบสถ์ วัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง) วัดราชผาติการาม (วัดส้มเกลี้ยง) วัดปทุมคงคา (วัดสำเพ็ง) วัดครุฑ วัดสุวรรณคีรี (วัดขี้เหล็ก) วัดสุวรรณดาราราม ทรงสร้างหอมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วิหารคต วัดเชตุพนฯ เป็นต้น พระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติเป็นที่แซ่ซร้องสดุดีเทิดทูนของพสกนิกร ไทยตลอดมา
    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระราชโอรสธิดารวม ๔๓ องค์ พระธิดาองค์ใหญ่คือ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร" ซึ่งประสูติแต่ "พระอัครชายาเธอ เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา" พระราชขนิษฐาใน "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑" พระราชโอรส ทรงเป็นต้นราชสกุลอสุนี สังขทัต ปัทมสิงห์ และนีรสิงห์

    [แก้] พระโอรส-ธิดา


    [แก้] ประสูติก่อนอุปราชาภิเษก (ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน)

    • เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง (พ.ศ. 2320-2353) ประสูติในเจ้าศิริรจจา (พระอัครชายาเธอ เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา) พระขนิษฐาในพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนศรีสุนทร ในรัชกาลที่ 1
    • พระองค์เจ้าชายลำดวน (พ.ศ. 2322-2347) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาขะ
    • พระองค์เจ้าหญิงเกสร (พ.ศ. 2322) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแก้ว สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าชายอินทปัต (พ.ศ. 2323-2346) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตัน
    • พระองค์เจ้าชายก้อนแก้ว (พ.ศ. 2324) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาล่า สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าชายช้าง (พ.ศ. 2324) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปุย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    [แก้] ประสูติเมื่ออุปราชาภิเษกแล้ว

    • พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์ (พ.ศ. 2326) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาฉิม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
    • พระองค์เจ้าชายอสุนี (พ.ศ. 2326-2351) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาขำ ทรงได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นเสนีเทพ เมื่อ พ.ศ. 2351 ในรัชกาลที่ 1 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 ทรงเป็นต้นสกุล อสุนี
    • พระองค์เจ้าหญิงโกมล (พ.ศ. 2326) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแก้วศาลาลอย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าหญิงบุนนาค (พ.ศ. 2328) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าหญิงดาราวดี (พ.ศ. 2328) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย เสกสมรสกับ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2328) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสุวรรณา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าหญิงโกสุม (พ.ศ. 2328) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพ่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
    • พระองค์เจ้าหญิงกำพุชฉัตร (พ.ศ. 2329) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานักองค์อี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าหญิงปัทมราช (พ.ศ. 2330) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานุ้ย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2330) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาฉิม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1
    • พระองค์เจ้าชายมั่ง (พ.ศ. 2331) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกศ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าชายสิงหราช (พ.ศ. 2331) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาล่า สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าหญิงกลัด (พ.ศ. 2332) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามีใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าหญิงฉิมพลี (พ.ศ. 2332) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดางิ้ว สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
    • พระองค์เจ้าชายสังกะทัต (พ.ศ. 2332) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา กรมหมื่นนรานุชิต ในรัชกาลที่ 3 ทรงได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนนรานุชิต ในรัชกาลที่ 4 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล สังขทัต
    • พระองค์เจ้าหญิงแก้ว (พ.ศ. 2332) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแจ่ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2334) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานักองค์เภา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1
    • พระองค์เจ้าหญิงศรีสุดาอับสร (พ.ศ. 2334) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเพ็ง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าหญิงลมุด (พ.ศ. 2334-2417) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามีน้อย
    • พระองค์เจ้าชายบัว (พ.ศ. 2335) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศรี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 ทรงเป็นต้นสกุล ปัทมสิงห์
    • พระองค์เจ้าหญิงปุก (พ.ศ. 2335) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานักองค์เภา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าหญิงดุษฎี (พ.ศ. 2335) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเสม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าชายสุก (พ.ศ. 2335) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าชายเพ็ชรหึง (พ.ศ. 2336) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชู สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
    • พระองค์เจ้าหญิงวงศมาลา (พ.ศ. 2336) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานักองค์อี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าหญิงกนิษฐา (พ.ศ. 2336) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าหญิงกำพร้า (พ.ศ. 2337) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบับภา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
    • พระองค์เจ้าหญิงกลิ่น (พ.ศ. 2337) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาภู่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าหญิงรุ่ง (พ.ศ. 2337) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลับจีน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2337) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาล้อม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
    • พระองค์เจ้าชายนพเก้า (พ.ศ. 2338) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2338) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตุ๊ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2339) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1
    • พระองค์เจ้าชายสุด (พ.ศ. 2340) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1
    • พระองค์เจ้าชายเณร (พ.ศ. 2343) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาไผ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล นีรสิงห์
    • พระองค์เจ้าชายหอย (พ.ศ. 2343) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตานี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1
    • พระองค์เจ้าชายแตน (พ.ศ. 2344) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตานี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระบวรราชเจ้า_กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์

    สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->สารานุกรมประเทศไทย
    <CENTER>...
    [​IMG]

    </CENTER>

    สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ (พ.ศ. ๒๓๑๖ - ๒๓๖๐) เป็นพระราชโอรสลำดับที ๗ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า จุ้ย
    สมเด็จเจ้าฟ้าจุ้ย ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนเสนานุรักษ์ ใน พ.ศ. ๒๓๓๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระเชษฐาของพระองค์ได้อุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จเจ้าฟ้าจุ้ยได้รับพระราชทานให้เป็น พระบัณฑูรน้อย ช่วยราชการพระเชษฐา
    ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงราชาภิเษกเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อุปราชาภิเษก เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ เป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ตำแหน่งพระมหาอุปราช
    สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ทรงเป็นแม่ทัพหลวงไปรบกับพม่า และจัดการกับหัวเมืองทางใต้ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๕๗ ทรงเป็นแม่กองตั้งเมืองใหม่เป็นเมืองด่านหน้าทางทะเล พระราชทานชื่อว่า นครเขื่อนขันธ์ นอกจากนั้นยังทรงปฏิสังขรณ์วัดเก่า ๒ วัด คือ วัดลิงขบ พระราชทานชื่อว่า วัดบวรมงคล และวัดเสาประโคน พระราชทานชื่อว่า วัดดุสิตาราม และทรงสร้างวัดใหม่ ชื่อว่า วัดทรงธรรม
    กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ทรงสมรสกับพระธิดาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๐ ขณะพระชนมายุ ๔๔ พรรษา ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตำแหน่งวังหน้าจึงว่างมาตลอดรัชสมัย
    <TABLE class=toc id=toc summary=สารบัญ><TBODY><TR><TD>สารบัญ

    [ซ่อนสารบัญ]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดงสารบัญ"; var tocHideText = "ซ่อนสารบัญ"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] พระโอรส-ธิดา


    [แก้] ประสูติก่อนอุปราชาภิเษก

    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2334) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าตากสิน เจ้าจอมมารดาสำลีถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าชายประยงค์ (พ.ศ. 2334-2400) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็นกรมหมื่นธิเบศวร์บวร ในรัชกาลที่ 2 เป็น กรมขุนธิเบศวร์บวร ในรัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นต้นสกุล บรรยงกะเสนา
    • พระองค์เจ้าหญิงประชุมวงศ์ (พ.ศ. 2337) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าชายปาน (พ.ศ. 2337) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นอมรมนตรี ในรัชกาลที่ 3 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าหญิงนัดดา (พ.ศ. 2339) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าหญิงขนิษฐา (พ.ศ. 2341-2419) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2342) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
    • พระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศ (พ.ศ. 2343-2417) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช เมื่อ พ.ศ. 2405 ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล อิศรเสนา
    • พระองค์เจ้าหญิงสุวรรณ (พ.ศ. 2344) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาก้อนทอง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าชายไม้เทศ (พ.ศ. 2345) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเหมใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
    • พระองค์เจ้าชายภุมริน (พ.ศ. 2345) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 ทรงเป็นต้นสกุล ภุมรินทร
    • พระองค์เจ้าหญิงอำพัน (พ.ศ. 2346-2424) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปิ่น
    • พระองค์เจ้าชายภุมเรศ (พ.ศ. 2346) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นอมเรศรัศมี ในรัชกาลที่ 4 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าหญิงนฤมล (พ.ศ. 2347) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    [แก้] ประสูติเมื่อทรงเป็นพระบัณฑูรน้อย

    • พระองค์เจ้าหญิงงาม (พ.ศ. 2349) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาก้อนทอง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าชายเสือ (พ.ศ. 2349) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล พยัคฆเสนา
    • พระองค์เจ้าชายใย (พ.ศ. 2350) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล รังสิเสนา
    • พระองค์เจ้าชายกระต่าย (พ.ศ. 2350) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าชายทับทิม (พ.ศ. 2351) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าหญิงมณฑา (พ.ศ. 2352) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าชายฤกษ์ (พ.ศ. 2352-2435) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ทรงผนวชเป็นสามเณรตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ได้รับเลื่อนพระยศเป็น สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 8 ของกรุงรัตนโกสินทร์
    [แก้] ประสูติเมื่ออุปราชาภิเษกแล้ว

    • พระองค์เจ้าชายแฝด (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์
    • พระองค์เจ้าหญิงแฝด (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
    • พระองค์เจ้าหญิงปทุเมศ (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเยี่ยม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
    • พระองค์เจ้าหญิงเกสร (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปิ่น สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
    • พระองค์เจ้าชายชุมแสง (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล สหาวุธ
    • พระองค์เจ้าชายสาททิพากร (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2354) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาม่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าหญิงนุ่ม (พ.ศ. 2354-2421) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานิ่ม
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2355) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานก (ต่อมาเจ้าจอมมารดานกได้เฉลิมนามเป็น ท้าวสมศักดิ์) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
    • พระองค์เจ้าชายยุคันธร (พ.ศ. 2355) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2410 ในรัชกาลที่ 4 ว่ากรมทหารช่าง เมืองญวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นต้นสกุล ยุคันธร
    • พระองค์เจ้าชายสีสังข์ (พ.ศ. 2356) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอี่ยม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 ทรงเป็นต้นสกุล สีสังข์
    • พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์ (พ.ศ. 2356) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศรี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
    • พระองค์เจ้าชายรัชนิกร (พ.ศ. 2357) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลับ (จินตหรา) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล รัชนิกร
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2357) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาม่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าชายทัดทรง (พ.ศ. 2359) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแจ่ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
    • พระองค์เจ้าชายรองทรง (พ.ศ. 2359-2419) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาภู่ (อิเหนา) ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ เมื่อ พ.ศ. 2410 ในรัชกาลที่ 5 ทรงว่าการโรงทอง ทรงเป็นต้นสกุล รองทรง
    • พระองค์เจ้าชายสุดวอน (พ.ศ. 2360) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามี (บุษบา) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
    • พระองค์เจ้าหญิงสุดศาลา (พ.ศ. 2360) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาม่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระบวรราชเจ้า_กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์

    สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->สารานุกรมประเทศไทย
    <CENTER>...
    [​IMG]

    </CENTER>

    สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ (๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ - ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕) พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอรุโณทัย เป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่เจ้าจอมนุ้ยใหญ่ ธิดาเจ้าพระยานคร (พัฒน์)
    พระองค์เจ้าอรุโณทัย ได้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ ใน พ.ศ. ๒๓๕๐ ทรงกำกับราชการกลาโหมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ มีข่าวพม่าจะยกทัพเข้ามาตีไทย ทรงเป็นแม่ทัพคุมไพร่พลไปตั้งที่เมืองเพชรบุรี ทำศึกร่วมกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ซึ่งยกทัพไปตั้งที่เมืองราชบุรี และกาญจนบุรี เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ จึงทรงอุปราชาภิเษกกรมหมื่นศักดิพลเสพย์ เป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช
    สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ทรงสร้าง วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือที่เรียกว่า วัดพระแก้ววังหน้า นอกจากนี้ยังทรงสร้างวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ล่องแพมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร การก่อสร้างวัดบวรนิเวศวิหารยังไม่เสร็จสิ้น สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕
    หลังกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงตั้งผู้ใดเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เดิมทรงหมายมั่นจะสถาปนา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ ซึ่งเป็นพระปิตุลา แต่มีผู้ถวายฎีกาอยู่เสมอว่า กรมหลวงรักษ์รณเรศ กระทำการกระด้างกระเดื่อง ทุจริตต่อหน้าที่ รับสินบน อีกทั้งยังมีการส้องสุมกำลังผู้คน เมื่อทรงสอบสวนแล้วเป็นจริง จึงทรงให้สำเร็จโทษกรมหลวงรักษ์รณเรศ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๑

    [แก้] พระโอรส-ธิดา


    [แก้] ประสูติก่อนอุปราชาภิเษก

    • พระองค์เจ้าหญิงอรุณ (พ.ศ. 2348-2428) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย
    • พระองค์เจ้าหญิงสำอาง (พ.ศ. 2350-2412) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคุ้มใหญ่
    • พระองค์เจ้าชายสว่าง (พ.ศ. 2358-2404) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดางิ้ว
    • พระองค์เจ้าหญิงอัมพร (พ.ศ. 2358-2360) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแสง
    • พระองค์เจ้าหญิงสังวาล (พ.ศ. 2359-2423) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเฟือง
    • พระองค์เจ้าชายกำภู (พ.ศ. 2360-2419) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคำ ทรงเป็นต้นสกุล กำภู
    • พระองค์เจ้าชายกัมพล (พ.ศ. 2360-2366) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตานี
    • พระองค์เจ้าชายอุทัย (พ.ศ. 2360-2392) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดางิ้ว
    • พระองค์เจ้าชายเกสรา (พ.ศ. 2360-2416) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคุ้มเล็ก ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ เมื่อ พ.ศ. 2408 ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล เกสรา
    • พระองค์เจ้าชายเนตร (พ.ศ. 2361-2377) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเฟือง
    • พระองค์เจ้าชายขจร (พ.ศ. 2363-2377) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานิ่ม
    • พระองค์เจ้าชายอิศราพงศ์ (พ.ศ. 2363-2404) ทรงประสูติในพระองค์เจ้าดาราวดี พระธิดาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2394 ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล อิศรศักดิ์
    • พระองค์เจ้าหญิงอัมพา (พ.ศ. 2364-2366) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาฉิมสิงหฬ
    • พระองค์เจ้าชายนุช (พ.ศ. 2364-2417) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเฟือง ทรงเป็นต้นสกุล อนุชะศักดิ์
    • พระองค์เจ้าชายแฉ่ง (พ.ศ. 2365-2387) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดางิ้ว
    [แก้] ประสูติเมื่ออุปราชาภิเษกแล้ว

    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2367-2370) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2368) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาฉิมสิงหฬ
    • พระองค์เจ้าชายเริงคนอง (เรียกกันว่า พระองค์ชายป๊อก) (พ.ศ. 2372-2425) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม ทรงเป็นต้นสกุล นันทิศักดิ์
    • พระองค์เจ้าหญิงบรรเทิง (พ.ศ. 2372-2427) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาภู ทรงเสกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
    • พระองค์เจ้าชายอินทวงศ์ (พ.ศ. 2372-2398) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพัน
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->สารานุกรมประเทศไทย
    <CENTER>...
    [​IMG]

    </CENTER>

    [​IMG] [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว


    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๒ ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๑ เมื่อทรงมีพระชนมพรรษาได้ ๔๓ พรรษา มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศ รังสรรค์ มหรรต วรรคโชไชย มโหฬารคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจักรพรรดิราช บวรนาถบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
    <TABLE class=toc id=toc summary=สารบัญ><TBODY><TR><TD>สารบัญ

    [ซ่อนสารบัญ]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดงสารบัญ"; var tocHideText = "ซ่อนสารบัญ"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] พระราชประวัติ

    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2351 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 50 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชมารดาคือ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี หรือเป็นที่รู้จักอย่างดีคือ เจ้าฟ้าน้อย พระองค์ทรงเป็นพระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    [แก้] ขณะยังทรงพระเยาว์

    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นที่รู้จักกันในพระนามว่า เจ้าฟ้าน้อย เป็น พระราชโอรสลำดับที่ ๕๐ และเป็นพระราชกุมารลำดับที่ ๒๗ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๑ ประสูติที่พระราชวังเดิม คลองบางกอกใหญ่ และมีคุณหญิงนก ไม่ทราบนามสกุล เป็นพระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว <SUP class=reference id=_ref-0>[1]</SUP>
    เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้เข้ารับราชการในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ปรากฏว่ามีความชอบในราชการ และทรงได้รับการแต่งตั้งให้ทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ (พระชนมายุ ๒๔ พรรษา)
    นับย้อนไปในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี สืบมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์นั้น พระเจ้าแผ่นดินมักจะทรงสถาปนาให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ที่เกิดจากพระอัครมเหสี เป็นพระมหาอุปราช ซึ่งจะทรงดำรงตำแหน่งเป็น พระเจ้าแผ่นดินต่อจากพระองค์ แต่บางรัชกาลก็ทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอที่มีความชอบต่อแผ่นดินขึ้นเป็น พระมหาอุปราช (เรียกในราชการว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า) และตามหลักฐานเท่าที่มีปรากฏใน พระราชพงศาวดารของไทยเรา การที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งพระอนุชาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่สอง นั้น มีเฉพาะ สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถเท่านั้น ก่อนที่จะมาถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอไว้ในตำแหน่งพระมหาอุปราช และให้มีพระราชอิสริยยศเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดินนั้น มีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญเป็นเพราะพระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้านของพระมหาอุปราชพระองค์นี้ที่ได้เป็นกำลังสำคัญของชาติ
    ตั้งแต่เมื่อครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ โดยเฉพาะพวกฝรั่งชาว ตะวันตก และพร้อมกับเป็น พระกำลังที่สำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ทรงเข้าร่วมการเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาเบาริง ซึ่งเป็นสนธิสัญญา ที่มีชื่อเสียงโด่งดังกับราชทูตประเทศอังกฤษ พระเกียรติยศชื่อเสียง ในด้านความรอบรู้ของใต้ฝ่าละอองธุลี พระบาทในภาษา หลายภาษา และในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นสูงหลายวิชา ซึ่งทรงรอบรู้ผิดไปจากคนในหมู่ชาติตะวันออกมาก ซึ่งก็ได้แพร่สะพัดถึงสหรัฐอเมริกา ด้วยทรงทราบชื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทุกคนด้วย

    [แก้] พระราชอัชฌาสัย และพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

    [​IMG] [​IMG]
    พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว


    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชอัธยาศัยต่างจากพระเชษฐามาก เพราะฝ่ายแรกชอบสนุกเฮฮา ไม่มีพิธีรีตองอะไร ส่วนฝ่ายหลังค่อนข้างเงียบขรึม ฉะนั้นจึงมักโปรดในสิ่งที่ไม่ค่อยจะตรงกันนัก แต่ถ้าเป็นความสนิทสนมส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงทำอะไรก็มักนึกถึงพระราชอนุชาอยู่เสมอ เช่น คราวหนึ่งเสด็จขึ้นไปปิดทองพระพุทธรูปใหญ่วัดพนัญเชิง ก็ทรงปิดเฉพาะพระพักตร์ เว้นพระศอไว้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงปิดต่อ นอกจากนี้ทั้ง ๒ พระองค์ ก็ทรงล้อเลียนกันอย่างไม่ถือพระองค์ และส่วนมากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จะเป็นฝ่ายเย้าแหย่มากกว่า
    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงพระปรีชาสามารถมาก ทรงรอบรู้งานใน ด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น งานด้านกองทัพบก กองทัพเรือ ด้านต่างประเทศ วิชาช่างจักรกล และวิชาการปืนใหญ่ ทรงรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีจนสามารถที่จะทรงเขียนโต้ตอบจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ กับ เซอร์ จอห์น เบาริง ราชทูตอังกฤษ ที่เดินทางมาเจริญพระราชไมตรีกับประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ (ค.ศ.๑๘๕๕) ซึ่งข้อความในสนธิสัญญานั้น ถ้าเอ่ยถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จะมีคำกำกับว่า The First King ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ จะมีคำกำกับว่า The Second King สำหรับในภาษาไทยนั้น ตามสนธิสัญญา ทางไมตรีกับประเทศอังกฤษ ในบทภาค ภาษาไทยจะแปลคำว่า The First King ว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์เอก ส่วนคำว่า The Second King นั้นจะแปลว่า พระเจ้าประเทศสยามพระองค์ที่ ๒ พระบาทสมเด็จประปิ่นเกล้า ฯ มีพระนามปรากฏอยู่ในประกาศในอารัมภบทให้ดำเนินการเจรจาทำสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วย ในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒ คู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พระองค์มีสายพระเนตรที่กว้างไกล ในด้านการ ต่างประเทศ ทรงรอบรู้ข่าวสารในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี ทรงทราบพระราชหฤทัยดีว่า ถ้าหากทรง ดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวแล้วไซร้ ไทยเราจะเสียประโยชน์ ส่วนบรรดาฝรั่งที่รู้จักมักคุ้นกับวังหน้ามักจะยกย่องชมเชยว่า ทรงเป็นสุภาพบุรุษเพราะพระองค์มีพระนิสัยสุภาพ โดยเฉพาะกับพระราชชนนี กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ด้วยแล้ว ทรงแสดงความเคารพเกรงกลัวเป็นอันมาก
    นอกจากนี้ทรงโปรดการท่องเที่ยวไปตามหัวบ้านหัวเมือง ทั้งเหนือและใต้ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะมีพระอาการประชวรกระเสาะกระแสะอยู่เสมอ จึงต้องเสด็จไปเที่ยวรักษาพระองค์ตามหัวเมือง อยู่เนือง ๆ กล่าวกันว่า มักเสด็จไปประทับตามถิ่น ที่มีบ้านลาว เสด็จไปประทับที่บ้านสัมปะทวน แขวงนครไชยศรีบ้าง ทางเมืองพนัสนิคมบ้าง แต่เสด็จไปประทับที่ตำหนัก บ้านสีทา จังหวัดสระบุรีเสียโดยมาก แต่แท้ที่จริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ได้เคยเสด็จไปเที่ยวประพาสตามหัวเมือง ต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิสเรศรังสรรค์แล้ว เพราะทรงประจักษ์แจ้งแก่พระปรีชาญาณว่า การเสด็จประพาสหัวเมืองเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมือง ด้วยสามารถทรงทราบทุกข์สุขของไพร่ฟ้าประชาชนได้เป็น อย่างดีซึ่งดีกว่ารายงานในกระดาษมากนัก

    [แก้] พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต

    หลังจากพระราชพิธีบวรราชาภิเษกแล้ว ๑๐ ปี พระองค์ก็เริ่มทรงพระประชวรบ่อยครั้ง หาสมุฏฐานของพระโรคไม่ได้ เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๒ แรม ๖ ค่ำ เวลาเช้าย่ำรุ่ง ตรงกับ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา ทรงอยู่ในอุปราชาภิเษกสมบัติทั้งสิ้น ๑๕ พรรษา

    [แก้] พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ กับการทหารเรือ

    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงใฝ่พระราชหฤทัยในวิชาการด้านจักรกลมาก และเพราะเหตุที่พระองค์โปรดการทหาร จึงทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นพิเศษ เท่าที่ค้นพบพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ นั้น ก็มักจะ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร และเป็นเครื่องแบบทหารเรือด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่มีการบันทึกพระราชประวัติ ในส่วนที่ทรงสร้างหรือวางแผนงานเกี่ยวกับ กิจการทหารใด ๆ ไว้บ้างเลย แม้ในพระราชพงศาวดาร หรือในจดหมายเหตุต่าง ๆ ก็ ไม่มีการบันทึกผลงานพระราชประวัติใน ส่วนนี้ไว้เลย และแม้พระองค์เองก็ไม่โปรดการบันทึก ไม่มีพระราชหัตถเลขา หรือมีแต่ไม่มีใครเอาใจใส่ทอดทิ้ง หรือทำลายก็ ไม่อาจทราบได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีงานเด่น ที่มีหลักฐานทั้งของฝรั่ง และไทย กล่าวไว้ แม้จะน้อยนิดแต่ก็แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มที่ ล้ำหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน
    ผลงานนั้นคือการทหารเรือ การทหารเรือ ของไทยเรานั้น เริ่มมีเค้าเปลี่ยนจากสมัยโบราณเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ และผู้ที่เป็นกำลังสำคัญ ในกิจการด้านทหารเรือในสมัยนั้น คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และ จมื่นไวยวรนาถ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ : ช่วง บุนนาค) ด้วยทั้ง ๒ ท่านนี้มีความรู้ในวิชาการต่อเรือในสมัยนั้น เป็นอย่างดี จึงได้รับหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชาการทหารเรือในสมัยนั้น
    ต่อมาได้แบ่งหน้าที่กันโดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงบังคับบัญชาทหารเรือ วังหน้า ส่วนทหารเรือบ้านสมเด็จอยู่ในปกครองบังคับบัญชาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในยามปกติทั้ง ๒ ฝ่าย นี้ ไม่ขึ้นแก่กันแต่ขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงฝึกฝนทหารของพระองค์ โดยใช้ทั้งความรู้และความสามารถ และ ยังทรงมุ่งพระราชหฤทัยในเรื่องการค้าขายให้มีกำไร สู่แผ่นดินด้วยมิใช่สร้าง แต่เรือรบเพราะได้ทรงสร้างเรือเดินทะเล เพื่อการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงนำเอาวิทยาการ สมัยใหม่ของยุโรป มาใช้ฝึกทหารให้มีสมรรถภาพเป็นอย่างดี ทรงให้ร้อยเอก น็อกส์ (Thomas George Knox) เป็นครูฝึกทหารวังหน้า ทำให้ทหารไทยได้รับวิทยาการอันทันสมัยตามแบบ ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป
    การฝึกหัดใช้คำบอกทหารเป็น ภาษาอังกฤษทั้งหมดเริ่มมีเรือรบกลไฟเป็นครั้งแรก ชื่อเรืออาสาวดีรส๓ และเรือยงยศอโยชฌิยา๔ (หรือยงยศอโยธยา) ซึ่งเมื่อครั้งเรือยงยศอโยชฌิยา ได้เดินทางไปราชการที่สิงคโปร์ ก็ได้รับคำชมเชยจากต่างประเทศเป็นอันมาก ว่าพระองค์มี พระปรีชาสามารถทรงต่อเรือได้ และการเดินทางในครั้งนั้นเท่ากับเป็นการไปอวดธงไทยในต่างประเทศ ธงไทยได้ถูกชัก ขึ้นคู่กับธงอังกฤษ ที่ฟอร์ทแคนนิ่งด้วย และแม้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ก็ทรงโปรด ฯ ให้เป็นทหารเรือเช่นกัน ประวัติของเรือที่พระองค์ทรงมีใช้ในสมัยนั้น ตามที่พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์ ได้รายงานเล่าไว้ในหนังสือ ประวัติทหารเรือไทย มีดังนี้
    ๑. เรือพุทธอำนาจ (Fairy) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด ๒๐๐ ตัน มีอาวุธปืนใหญ่ ๑๐ กระบอก เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ ไปราชการทัพรบกับญวน ใช้เป็นเรือพระที่นั่งของแม่ทัพ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ยกกองทัพไปรบกับญวน ตีเมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน)
    ๒. เรือราชฤทธิ์ (Sir Walter Scott) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ เป็นเรือแบบเดียวกันกับพุทธอำนาจ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ ไปราชการทัพรบกับญวน
    ๓. เรืออุดมเดช (Lion) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด ๓๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ ได้ใช้ไปราชการทัพรบกับญวน พ.ศ. ๒๓๘๗ ได้นำสมณทูตไปลังกา
    ๔. เรือเวทชงัด (Tiger) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๖ เป็นเรือชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด ๒๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ
    ๕. เรือพุทธสิงหาศน์ (Cruizer) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นเรือชนิดชิพ ขนาด ๔๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ
    ๖. เรือมงคลราชปักษี (Falcon) ซื้อเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ เดิมเป็นเรือของชาวอเมริกัน ชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด ๑๐๐ ตัน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงซื้อมา แล้วดัดแปลงใช้เป็นเรือรบ เรือพระที่นั่งของพระองค์
    เกียรติประวัติของการทหารเรือไทยสมควรจะต้องยกถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์เป็น ผู้ที่ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการทหารเรือในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีเรือรบต่างประเทศเข้ามาเยี่ยม ประเทศไทยคราวใดพระองค์ก็มักหาโอกาสเสด็จไปเยี่ยมเยียนเรือรบเหล่านั้นเสมอ เพื่อจะได้ทรงทราบว่าเรือรบต่าง ประเทศเขาตกแต่งและจัดระเบียบเรือกันอย่างไร แล้วนำมาเป็นแบบอย่างให้กับเรือรบของไทยในเวลาต่อมา
    จากพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำในเรื่องเรือสมัยใหม่ ซึ่งผู้คนในสมัยนั้นไม่มีใครเชื่อเลยว่าเหล็กจะลอยน้ำได้แต่พระองค์ได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้ปรากฏ ทรงต่อเรือรบ กลไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน ทรงแตกฉานเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษจนสามารถติดต่อ กับชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดีพระสหาย และพระอาจารย์ เป็นชาว อเมริกันเสียเป็นส่วนมากทรงหมกมุ่นกับกิจการทหารเรือมาตั้งแต่ต้น ด้วยเหตุนี้จึงถือได้ว่าพระองค์ทรงเป็น ผู้บัญชาการ ทหารเรือ พระองค์แรก และควรถวายพระนามว่า ผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า สมควรได้รับการถวายพระเกียรติยศขั้นสูงสุด จากเราชาวกองทัพเรือ ตั้งแต่นี้และตลอดไป

    [แก้] พระโอรส-ธิดา


    [แก้] ประสูติก่อนบวรราชาภิเษก

    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๗๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๘๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามาลัย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
    • พระองค์เจ้าชายยอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร (พ.ศ. ๒๓๘๑-๒๔๒๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม ทรงบวรราชาภิเษกเป็น กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. ๒๓๘๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากุหลาบ
    • พระองค์เจ้าหญิงดวงประภา (พ.ศ. ๒๓๘๑-๒๔๓๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามาลัย
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๘๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตาด
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๘๒) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาใย
    • พระองค์เจ้าหญิงบุปผา (พ.ศ. ๒๓๘๒) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๘๒) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบาง
    • พระองค์เจ้าชายสุธารส (พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๔๓๖) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากุหลาบ ทรงเป็นต้นสกุล สุธารส
    • พระองค์เจ้าหญิงสุดาสวรรค์ (พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๔๕๕) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามาลัย
    • พระองค์เจ้าชายวรรัตน์ (พ.ศ. ๒๓๘๔-๒๔๔๙) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกด ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ เมื่อ พ.ศ ๒๔๒๔ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นต้นสกุล วรรัตน์
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๘๔) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว
    • พระองค์เจ้าหญิงตลับ (พ.ศ. ๒๓๘๔) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
    • พระองค์เจ้าชายปรีดา (พ.ศ. ๒๓๘๕) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๘๗) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบาง
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. ๒๓๘๗) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเพื่อน
    • พระองค์เจ้าชายภาณุมาศ (พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๔๓๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอี่ยม ทรงเป็นต้นสกุล ภาณุมาศ
    • พระองค์เจ้าชายหัสดินทร์ (พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๔๒๙) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหนู ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นต้นสกุล หัสดินทร
    • พระองค์เจ้าชายเนาวรัตน์ (พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๔๓๓) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นสถิตย์ธำรงศักดิ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นต้นสกุล นวรัตน์
    • พระองค์เจ้าชายเบญจางค์ (พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๔๑๙) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเพื่อน
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. ๒๓๙๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาด๊า
    • พระองค์เจ้าชายยุคนธร (พ.ศ. ๒๓๙๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแย้ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นต้นสกุล ยุคนธรานนท์
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๙๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
    • พระองค์เจ้าหญิงราษี (พ.ศ. ๒๓๙๑-๒๔๔๒) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเยียง
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. ๒๓๙๒) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอี่ยม
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. ๒๓๙๒) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาด๊า
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. ๒๓๙๒) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเท้ย
    • พระองค์เจ้าชายกระจ่าง (พ.ศ. ๒๓๙๒) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเพื่อน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕
    • พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์ (พ.ศ. ๒๓๙๓-๒๔๕๙) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม
    • พระองค์เจ้าชายวัชรินทร์ (พ.ศ. ๒๓๙๓) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตาด
    • พระองค์เจ้าหญิงจำเริญ (พ.ศ. ๒๓๙๓-๒๔๕๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
    • พระองค์เจ้าหญิงถนอม (พ.ศ. ๒๓๙๓-๒๔๒๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพัน
    [แก้] ประสูติเมื่อบวรราชาภิเษกแล้ว

    • พระองค์เจ้าชายโตสินี (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๕๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ ทรงเป็นต้นสกุล โตษะณีย์
    • พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๔๕๖) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาขลิบ ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖
    • พระองค์เจ้าชายนันทวัน (พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๔๓๔) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหนู ทรงเป็นต้นสกุล นันทวัน
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. ๒๓๙๖) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจัน
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๙๖) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. ๒๓๙๗) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลับ
    • พระองค์เจ้าชายวัฒนา (พ.ศ. ๒๓๙๗) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาลำภู
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๙๗) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
    • พระองค์เจ้าหญิงภัควดี (พ.ศ. ๒๓๙๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลอย สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๔๘๓ ในรัชกาลที่ ๘
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๙๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาช้อย
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๓๙๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
    • พระองค์เจ้าหญิงวรภักตร์ (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๒๗) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาส่วน
    • พระองค์เจ้าหญิงวิลัยทรงกัลยา (พ.ศ. ๒๓๙๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาขลิบ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕
    • พระองค์เจ้าหญิงเฉิดโฉม (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๘๙) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสีดา
    • พระองค์เจ้าหญิงประโลมโลก (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๓) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแก้ว
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. ๒๓๙๙) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลับ
    • พระองค์เจ้าชายพรหเมศ (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๓๔) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพรหมา ทรงเป็นต้นสกุล พรหเมศ
    • พระองค์เจ้าหญิงโศกส่าง (พ.ศ. ๒๓๙๙) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหงส์
    • พระองค์เจ้าหญิงพิมพับสรสร้อย (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๖๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาวันดี
    • พระองค์เจ้าชายจรูญโรจน์เรืองศรี (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๕๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาช้อย ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นต้นสกุล จรูญโรจน์
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. ๒๔๐๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
    • พระองค์เจ้าชายสนั่น (พ.ศ. ๒๔๐๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอ่อน ทรงเป็นต้นสกุล สายสนั่น
    • พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. ๒๔๐๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาช้อย
    • พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. ๒๔๐๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสายบัว
    • พระองค์เจ้าหญิงสอางองค์ (พ.ศ. ๒๔๐๓-๒๔๖๕) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาวันดี
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/ภาพ:Seal-prapinklao.png


    ภาพ:Seal-prapinklao.png

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->[​IMG]
    ดาวน์โหลดรุ่นที่มีความละเอียดสูง (1364x1382, 822 กิโลไบต์)

    [แก้] คำอธิบายโดยย่อ

    พระราชลัญจกรพระจุฑามณี
    พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

    [แก้] สัญญาอนุญาต

    <TABLE class=boilerplate id=pd style="BORDER-RIGHT: #8888aa 2px solid; PADDING-RIGHT: 5px; BORDER-TOP: #8888aa 2px solid; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; BORDER-LEFT: #8888aa 2px solid; WIDTH: 80%; PADDING-TOP: 5px; BORDER-BOTTOM: #8888aa 2px solid; POSITION: relative; BACKGROUND-COLOR: #ffffdd" align=center><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]

    [​IMG]</TD><TD>นี่คือภาพ ธง หรือ ตราสัญลักษณ์ ของหน่วยงาน ที่มีลิขสิทธิ์.
    การนำเสนอภาพธง หรือ ตราสัญลักษณ์ใด ๆ ในบทความของวิกิพีเดีย อาจถือได้ว่าเป็นการใช้งานโดยชอบธรรม (fair use) ตามบทบัญญัติของกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐอเมริกา. การใช้ภาพธง หรือ ตราสัญลักษณ์นี้มิได้หมายความว่าได้รับการรับรองโดยองค์กรของวิกิพีเดียหรือมูลนิธิวิกิมีเดีย ดู วิกิพีเดีย:เครื่องหมายและสัญลักษณ์ และ วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์.
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- Pre-expand include size: 1514 bytesPost-expand include size: 1518 bytesTemplate argument size: 0 bytesMaximum: 2048000 bytes--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:54464-0!1!0!!th!2 and timestamp 20070208113038 -->ประวัติ

    อธิบาย: (ป) = รุ่นปัจจุบัน, (ลบ) = ลบเวอร์ชันเก่า, (ย้อน) = ย้อนกลับไปเป็นเวอร์ชันเก่า
    คลิกบนวันที่เพื่อดูไฟล์ที่อัปโหลดในวันนั้น.
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ



    กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->สารานุกรมประเทศไทย
    <CENTER>...
    [​IMG]

    </CENTER>

    [​IMG] [​IMG]
    สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ


    กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พ.ศ. ๒๓๘๐ - ๒๔๒๘) พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือ พระองค์เจ้ายอดยิ่งประยุรยศบวรราโชรสรัตนราชกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเอม
    บางตำรากล่าวว่า พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้ายอร์จ วอชิงตัน ตามชื่อของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรก จอร์จ วอชิงตัน (พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๔๒) <SUP class=reference id=_ref-0>[1]</SUP>
    <TABLE class=toc id=toc summary=สารบัญ><TBODY><TR><TD>สารบัญ

    [ซ่อนสารบัญ]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดงสารบัญ"; var tocHideText = "ซ่อนสารบัญ"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] การแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งวังหน้า เพราะขณะนั้นพระราชโอรสองค์โต คือ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ยังทรงพระเยาว์เพียง ๑๒ พรรษา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกแย่งชิงราชบัลลังก์ และทรงตั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งถูกสงสัยมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระชนม์ ว่าคิดจะชิงราชสมบัติ จึงได้เสนอให้ทรงแต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่ง เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่ง เป็น กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ แต่ไม่ได้ตั้งให้เป็นวังหน้า
    ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต ๑ วัน ได้มีการประชุมพระญาติวงศ์และขุนนาง ที่ประชุม อันมีสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ (่ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เป็นประธาน ตกลงที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตามคำเสนอของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ แต่เรื่องนี้ไม่เป็นมติเอกฉันท์ของที่ประชุม เพราะพระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ทรงคัดค้านว่า การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลนั้น ตามโบราณราชประเพณีเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของที่ประชุม ซึ่งทำความไม่พอใจให้แก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ท่านจึงได้ย้อนถามว่า "ที่ไม่ยอมนั้น อยากจะเป็นเองหรือ" กรมขุนวรจักรธรานุภาพ จึงตอบว่า "ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม" จึงเป็นอันว่าที่ประชุมเห็นสมควรที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล <SUP class=reference id=_ref-1>[2]</SUP>

    [แก้] กรณีวิกฤตการณ์วังหน้า

    ดูเพิ่ม วิกฤตการณ์วังหน้า
    เนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สนับสนุนให้ได้เป็นแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ จึงทรงเกรงพระทัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นอันมาก
    ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๑๘ ทรงริเริ่มปฏิรูปปรับปรุงการปกครองประเทศให้ทันสมัย โดย โยงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ (Auditing Office ปัจจุบันคือ กระทรวงการคลัง) เพื่อรวมรวมการเก็บภาษีมาอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการเก็บรายได้ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้านายและขุนนางเก่าแก่เป็นอันมาก โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเดิมมีรายได้แผ่นดินถึง ๑ ใน ๓ มีทหารในสังกัดถึง ๒๐๐๐ นาย และมีข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการสะสมอาวุธ มีความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า จนเกือบจะเกิดสงครามกลางเมือง ซึ่งเรียกเหตุการณ์ขัดแย้งนี้ว่า วิกฤตการณ์วังหน้า <SUP class=reference id=_ref-2>[3]</SUP><SUP class=reference id=_ref-3>[4]</SUP>
    กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และเข้าไปคบค้าสนิทสนมกับนายโทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง เชื่อว่ามีแผนการจะแบ่งดินแดนเป็นสองส่วนคือ ทางเหนือถึงเชียงใหม่ ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าครอง ทางใต้ให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญครอง นัยว่าเมื่อแบ่งสยามให้เล็กลงแล้วจะได้อ่อนแอ ง่ายต่อการเอาเป็นเมืองขึ้น
    เหตุการณ์บาดหมางเกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่ง เกิดระเบิดขึ้นที่ตึกดินในวังหลวง ไฟไหม้ลุกลามไปถึงพระบรมมหาราชวัง ทางวังหลวงเข้าใจว่าวังหน้าเป็นผู้วางระเบิด และไม่ส่งคนมาช่วยดับไฟ ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ก็เสด็จหลบหนีไปอยู่ในสถานกงสุลอังกฤษไม่ยอมเสด็จออกมา เหตุการณ์ตึงเครียดนี้กินเวลาถึงสองสัปดาห์ จนกระทั่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เดินทางกลับจากราชบุรี เข้ามาไกล่เกลี่ย โดยฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสถือว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นการเมืองภายในของสยาม และไม่ได้เข้ามาก้าวก่าย
    กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงเป็นเจ้านายที่มีความสามารถหลายด้าน ด้านนาฏกรรม ทรงพระปรีชา เล่นหุ่นไทย หุ่นจีน เชิดหนัง และงิ้ว ด้านการช่าง ทรงชำนาญเครื่องจักรกล ทรงต่อเรือกำปั่น ทรงทำแผนที่แบบสากล ทรงสนพระทัยในแร่ธาตุ ถึงกับทรงสร้างโรงถลุงแร่ไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ทรงได้รับประกาศนียบัตรจากฝรั่งเศส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาช่าง <SUP class=reference id=_ref-4>[5]</SUP>
    สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคตเมื่อวันศุกร์ เดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๒๔๗ (๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๘) พระชนมายุ ๔๘ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใด ตำแหน่งกรมพระราชวีงบวรสถานมงคลว่างลง จนถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ จึงทรงสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นมกุฎราชกุมาร และยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช ตั้งแต่นั้นมา

    [แก้] พระโอรส-พระธิดา


    [แก้] ประสูติก่อนอุปราชาภิเษก

    • พระองค์เจ้าชายแฝด (ไม่มีพระนาม) (พ.ศ. ๒๔๐๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมหลวงปริก เจษฎางกูร
    • พระองค์เจ้าหญิงปฐมพิสมัย (พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๒๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากรุด
    [แก้] ประสูติเมื่ออุปราชาภิเษกแล้ว

    • พระองค์เจ้าชายวิไลวรวิลาศ (พ.ศ. ๒๔๑๒) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเข็ม ทรงเป็นต้นสกุล วิไลยวงศ์
    • พระองค์เจ้าชายกาญจโนภาสรัศมี (พ.ศ. ๒๔๑๒-๒๔๖๓) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปริกเล็ก ณ นคร ทรงได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นชาญไชญบวรยศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นต้นสกุล กาญจนะวิชัย
    • พระองค์เจ้าชาย (ไม่มีพระนาม) (พ.ศ. ๒๔๑๓) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเวก
    • พระองค์เจ้าชาย (ไม่มีพระนาม) (พ.ศ. ๒๔๑๓) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาละม้าย
    • พระองค์เจ้าหญิงภัททาวดีศรีราชธิดา (พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๔๒) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเลี่ยมเล็ก
    • พระองค์เจ้าชายกัลยาณประวัติ (พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๗๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเลี่ยมใหญ่ ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นกวีสุพจน์ปรีชา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ในรัชกาลที่ ๖ ทรงเป็นต้นสกุล กัลยาณะวงศ์
    • พระองค์เจ้าหญิงธิดาจำรัสแสงศรี (พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๔๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเขียวใหญ่
    • พระองค์เจ้าหญิงฉายรัศมีหิรัญพรรณ (พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๗๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปุ้ย
    • พระองค์เจ้าหญิง (ไม่มีพระนาม) (พ.ศ. ๒๕๑๕) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเวก
    • พระองค์เจ้าหญิงกลิ่นแก่นจันทนารัตน์ (พ.ศ. ๒๔๑๕-๒๔๑๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจั่น
    • พระองค์เจ้าชายสุทัศนนิภาธร (พ.ศ. ๒๔๑๕-๒๔๖๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมหลวงนวม ปาลกะวงศ์ ทรงเป็นต้นสกุล สุทัศนีย์
    • พระองค์เจ้าชายวรวุฒิอาภรณ์ (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๕๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาป้อม ทรงเป็นต้นสกุล วรวุฒิ
    • พระองค์เจ้าชายโอภาสไพศาลรัศมี (พ.ศ. ๒๔๑๖-๓๕๕๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
    • พระองค์เจ้าชาย (ไม่มีพระนาม) (พ.ศ. ๒๔๑๖) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอิน
    • พระองค์เจ้าหญิงอับสรศรีราชกานดา (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๖๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาต่วน
    • พระองค์เจ้าชายรุจาวรฉวี (พ.ศ. ๒๔๑๗) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสมบุญ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ ทรงเป็นต้นสกุล รุจจวิชัย
    • พระองค์เจ้าหญิงเทวีวิไลยวรรณ (พ.ศ. ๒๔๑๘) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสุ่นใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘
    • พระองค์เจ้าชายวิบูลยพรรณรังษี (พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๔๕๑) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเขียวเล็ก ทรงเป็นต้นสกุล วิบูลยพรรณ
    • พระองค์เจ้าชายรัชนีแจ่มจรัส (พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๔๕๖) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเลี่ยมเล็ก ทรงได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ในรัชกาลที่ ๖ ทรงเป็นต้นสกุล รัชนี
    • พระองค์เจ้าชายไชยรัตนวโรภาส (พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๔๔๐) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปริกใหญ่
    • พระองค์เจ้าหญิงวิมลมาศมาลี (พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๔๖๔) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจั่น
    • พระองค์เจ้าหญิงสุนทรีนาฎ (พ.ศ. ๒๔๒๓) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสุ่นเล็ก
    • พระองค์เจ้าหญิงประสาทสมร (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๕๖) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดายิ้ม
    • พระองค์เจ้าชายบวรวิสุทธิ์ (พ.ศ. ๒๔๒๖-๒๔๕๓) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสอาด ทรงเป็นต้นสกุล วิสุทธิ
    • พระองค์เจ้าหญิงกมุทมาลี (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๕๔) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เชื้อ อิศรางกูร
    • พระองค์เจ้าหญิงศรีสุดสวาดิ (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๙) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแข
    [แก้] อ้างอิง

    1. <LI id=_note-0> http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=211 <LI id=_note-1> ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ เล่ม ๒. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๐๔. <LI id=_note-2> http://library.uru.ac.th/webdb/images/sakulthai16.htm การแก้ไขวิกฤตชาติ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าหัว <LI id=_note-3> http://www.yanravee.com/index.php?option=com_content&task=view&id=72&Itemid=31 รัชกาลที่ ๕ กับการเสด็จอินเดีย พ.ศ. ๒๔๑๔ และความเข้าใจต่อการปฏิรูปแห่งรัชสมัย
    2. http://www.thairath.co.th//thairath1/2548/column/bible/apr/17_4_48.php
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/สยามมกุฎราชกุมาร

    สยามมกุฎราชกุมาร

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->สารานุกรมประเทศไทย
    <CENTER>...
    [​IMG]

    </CENTER>

    สยามมกุฎราชกุมาร คือพระยศมกุฎราชกุมารของประเทศไทย เป็นพระยศของผู้ที่จะสืบราชสมบัติต่อจากพระมหากษัตริย์ไทย โดยองค์สยามมกุฎราชกุมารจะดำรงพระยศนี้ไปจนกว่าพระมหากษัตริย์ จะสวรรคตหรือสละราชสมบัติ
    พระยศนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงกำหนดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 เพื่อเป็นรัชทายาท แทนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า และตำแหน่งพระมหาอุปราช ซึ่งใช้สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
    สยามมกุฎราชกุมาร มีอยู่ 3 พระองค์ คือ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช_เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ_สยามมกุฎราชกุมาร

    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->สารานุกรมประเทศไทย
    <CENTER>...
    [​IMG]

    </CENTER>

    [​IMG] [​IMG]
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร


    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๗ แรม ๑๒ ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๔๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๑
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙ มีพระนามตามจารึกสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรสมมติเทพยวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสูริย์ขัตติยสันตติวงศ์ อุกฤษฐพงศ์วโรภโตสุชาต ธัญญลักษณวิลาสวิบุลยสวัสดิ์สิริวัฒนราชกุมาร มุสิกนาม
    นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เป็นตำแหน่งรัชทายาท แทนตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
    [​IMG] [​IMG]
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงฉายร่วมกับเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช และเจ้าจอมมารดาเปี่ยม


    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ประชวรด้วยพระโรคอวัยวะภายในพระอุระพิการ เสด็จทิวงคตเมื่อวันศุกร์ เดือน ๒ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีมะเมียฉศก จ.ศ. ๑๒๕๖ ตรงกับวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ขณะทรงมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา ๖ เดือน กับ ๗ วัน
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช_เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ_สยามมกุฎราชกุมาร

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    (เปลี่ยนทางมาจาก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร)
    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->สารานุกรมประเทศไทย
    <CENTER>...
    [​IMG]

    </CENTER>

    <TABLE class="infobox biography" style="WIDTH: 300px; TEXT-ALIGN: left"><TBODY><TR><TH colSpan=2></TH></TR><TR><TH style="FONT-SIZE: larger; TEXT-ALIGN: center" colSpan=2>พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว</TH></TR><TR><TD style="TEXT-ALIGN: center" colSpan=2>[​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว</TD></TR><TR><TH>พระนามเต็ม</TH><TD>พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถมหาสมมตวงศ์ อดิศัยพงศ์วิมลรัตน์วรขัตติราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรสันตติวงศวิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหาร อดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมาลย์ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยวิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ บุริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุทธสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศล ประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินคร วรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษฏาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัยพุทธาธิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์ อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว</TD></TR><TR><TH>พระนามเดิม</TH><TD>สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษย์บรมนราธิราช จุฬาลงกรณนาถราชวโรรส มหาสมมติขัตติยพิสุทธิ์ บรมมกุฎสุริยสันตติวงศ์ อดิศัยพงศ์วโรภโตสุชาติคุณสังกาศวิมลรัตน ทฤฆชนมสวัสดิ ขัตติยราชกุมาร</TD></TR><TR><TH>พระราชสมภพ</TH><TD>วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง
    ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๓</TD></TR><TR><TH>เสวยราชสมบัติ</TH><TD>วันเสาร์ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี</TD></TR><TR><TH>เสด็จสวรรคต</TH><TD>วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา</TD></TR><TR><TH>พระโอรสธิดา</TH><TD>รวมทั้งสิ้น ๑ พระองค์</TD></TR><TR><TH>วัดประจำรัชกาล</TH><TD>ไม่มี (โปรดฯ ให้สร้างวชิราวุธวิทยาลัยขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล)</TD></TR></TBODY></TABLE>พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม ๑๖ ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้วและการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
    พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างแล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕ ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ที่ทรงพระมหากรุณาพระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชนเพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรกเพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้วจะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย อีกด้วย
    ใน พ.ศ.๒๕๒๔ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก
    <TABLE class=toc id=toc summary=สารบัญ><TBODY><TR><TD>สารบัญ

    [ซ่อนสารบัญ]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดงสารบัญ"; var tocHideText = "ซ่อนสารบัญ"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] พระราชประวัติ

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ
    ๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ.๒๔๒๑-๒๔๓๐)
    ๒. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๒๓-๒๔๖๘)
    ๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๓๐)
    ๔. จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ.๒๔๒๕-๒๔๖๓)
    ๕. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๓๐)
    ๖. พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ.๒๔๓๒-๒๔๖๗)
    ๗. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ.๒๔๓๕-๒๔๖๖) และ
    ๘. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๓๖-๒๔๘๔)
    [​IMG] [​IMG]
    พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 6



    [แก้] พระคู่หมั้น พระมเหสี และพระสนม

    ๑. ม.จ.หญิงวัลลภาเทวี วรวรรณ พระคู่หมั้น ได้สถาปนาเป็น "พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี" แต่ภายหลังทรงถอนหมั้น และโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี"
    ๒. ม.จ.หญิงลักษมีลาวัณ (นามเดิม ม.จ.หญิง วรรณวิมล วรวรรณ) พระขนิษฐาของพระองค์เจ้าวัลลภาเทวี หลังอภิเษกสมรส ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" แต่สุดท้ายประทับแยกกัน
    ๓. คุณเปรื่อง สุจริตกุล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระสนมเอกที่ "พระสุจริตสุดา"
    ๔. คุณประไพ สุจริตกุล (น้องของคุณเปรื่อง) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "พระอินทราณี" พระสนมเอก ต่อมาได้รับสถาปนาพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี" ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า "สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา"
    ๕. คุณเครือแก้ว อภัยวงศ์ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น เจ้าจอมสุวัทนา และได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น "พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี" ในที่สุด

    [แก้] พระราชธิดา

    รวมทั้งสิ้น ๑ พระองค์ ประสูติแต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี คือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประสูติ ณ วันอังคารที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘ (ก่อนหน้าพระองค์เสด็จสวรรคตเพียงวันเดียว)ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง

    [แก้] เหตุการณ์สำคัญ

    พ.ศ.๒๔๓๖
    • เสด็จฯไปทรงศึกษาด้านกฎหมาย อักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และวิชาการทหาร ที่โรงเรียนนายร้อยแซนเฮิร์สต์ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา เป็นระยะเวลา ๙ ปี และได้เสด็จกลับจากอังกฤษผ่านสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
    พ.ศ. ๒๔๔๗
    พ.ศ. ๒๔๕๒
    • เสด็จฯเยือนเมืองสวรรคโลก ขณะที่ยังทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช (ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง)
    • เสด็จฯเยือนหัวเมืองปักษ์ใต้ ขณะที่ยังทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช (ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือจดหมายเหตุเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘)
    พ.ศ. ๒๔๕๓
    • ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย) —
    • ยกฐานะโรงเรียนมหาดเล็ก เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ต่อมาคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) —
    • ตั้งกองเสือป่า ซึ่งเป็นรากฐานของกรมการรักษาดินแดน หรือ หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง ในปัจจุบัน—
    • เกิดภาวะวิกฤติทางการเงินที่ธนาคารสยามกัมมาจล ทุนจำกัด จนต้องปลด ผู้จัดการธนาคารสยามกัลมาจล ที่เป็นคนไทยออกไป ฐานก่อความวุ่นวายทางการเงินของธนาคารโดยการปล่อยกู้ไม่รู้ประมาณ แล้วยึดสวนสาธารณะซึ่งเป็นที่ของ ผู้จัดการธนาคารสยามกัลมาจล เพื่อชำระหนี้ ก่อนให้ นาย ปี. ชวาซ์ ผู้จัดการแผนกต่างประเทศซึ่งเป็นฝรั่งปรัสเซีย (เยอรมนี) เข้าทำหน้าที่แทนโดยนำกำไรจากแผนกต่างประเทศ มาแซมทุนพอแก้ไขภาวะวิกฤตทางการเงินไปได้ —
    พ.ศ. ๒๔๕๔
    • ตั้งกองลูกเสือ เมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔ —
    • จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ มีการเชิญราชวงศ์จากยุโรปและญี่ปุ่นให้เสด็จมาทรงร่วมการพระราชพิธีในกรุงสยาม นับเป็นการรับพระราชอาคันตุกะจำนวนมาก เป็นครั้งยิ่งใหญ่ครั้งแรกของประเทศ—
    • ฝรั่งเอาเครื่องบิน (สมัยนั้นเรียกเครื่องเหาะ) มาบินครั้งแรกที่สนามม้าสระปทุม (สนามม้าราชกรีฑาสโมสร - สนามฝรั่ง) เมื่อ ๒๙ ธันวาคม ๒๔๕๔
    • เกิดร.ศ. ๑๓๐ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง และหากไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จก็ต้องการลอบปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๔ (นับอย่างใหม่ ปี พ.ศ. ๒๔๕๕)แต่สามารถจับกุมควบคุมสถานการณ์ได้
    พ.ศ. ๒๔๕๕
    • แปรสภาพกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคม เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๕
    • จัดระเบียบข้าราชการกระทรวงยุติธรรมใหม่ แยกฝ่ายธุรการและฝ่ายตุลาการออกจากกัน หลังจากเกิดเหตุวุ่นวายในกระทรวงยุติธรรมเนื่องจากกรณีละคอนพญาระกาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่หมิ่นประมาท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถึงขั้นต้องถวายบังคมลาออกจากราชการเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม —
    • ตั้งสถานเสาวภา
    • ตั้งวชิรพยาบาล เมื่อ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ โดยใช้ที่ดินที่ใช้สร้างสวนสาธารณะของอดีตผู้จัดการธนาคารสยามกัลมาจล ทุนจำกัด สินใช้ (ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน)) ซึ่งได้นำมาชำระหนี้ซึ่งตนก่อไว้กับธนาคารสยามกัลมาจล ทุนจำกัด —
    • จัดให้มีงานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งแรก
    พ.ศ.๒๔๕๖
    • ตราพระราชบัญญัติคลังออมสิน (ต่อมาคือ ธนาคารออมสิน) บังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ —
    • แยกกรมรถไฟออกเป็นกรมรถไฟสายเหนือ และ กรมรถไฟสายใต้ ตามเงื่อนไขสัญญาการกู้เงิน ๔ ล้านปอนด์ เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้เพื่อเชื่อมกับทางรถไฟของสหรัฐมลายู โดยให้นายหลุยส์ ไวเลอร์ ชาวปรัสเซีย ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือต่อไป และได้แต่งตั้งนายเฮนรี่ กิตตินส์ ชาวอังกฤษ เป็นวิศวกรใหญ่ผู้ความคุมงานการสร้างทางรถไฟสายใต้ โดยรั้งตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายใต้ เนื่องจากนายเฮนรี่เป็นชาวอังกฤษผู้ที่รักษาผลประโยชน์ให้รัฐบาลสยามได้ดี และ มีประสบการณ์ในการสร้างทางรถไฟแคนาดาไปฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก มาก่อนที่จะทำงานในกรมรถไฟหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕
    • จัดตั้งกรมสหกรณ์ —
    • เปิดกิจการวิทยุโทรเลข —
    • สถาปนา บริษัทซีเมนต์สยามจำกัดสินใช้ เครือซีเมนต์ไทยเมื่อ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ —
    • เปิดการไฟฟ้าหลวงสามเสน (ปัจจุบันคือ การไฟฟ้านครหลวงสำนักงานสามเสน) เพื่อแข่งขันกับโรงไฟฟ้าวัดเลียบของบริษัทไฟฟ้าสยามจำกัดสินใช้ ของชาวเดนมาร์ก—
    • ประกาศใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชในราชการ —
    • ตราพระราชบัญญัตินามสกุล แต่กว่าจะบังคับใช้ได้โดยสมบูรณ์กับราษฎรทุกคนก็เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไปแล้ว ในรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่ผู้ขอพระราชทานกว่า ๖,๐๐๐ นามสกุล ดูรายละเอียดที่ http://www.amed.go.th/AboutUs/palace/sur_content.htm
    • เกิดภาวะวิกฤตทางการเงิน ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ เนื่องจากแบงค์จีนสยามทุนล้มละลาย ทำให้ฐานะทางการเงินของธนาคารสยามกัมมาจลและ บรรดาโรงสีข้าวตกอยู่ในภาวะคับขัน ด้วยเนื่องจาก
    ๑) เจ้าหน้าที่ของแบงค์จีนสยามทุนได้ยักย้ายเอาหนี้ไปใส่ในบัญชีของธนาคารสยามกัมมาจลและ ฉ้อโกงเอาทุนและกำไรของธนาคารธนาคารสยามกัมมาจลไปใส่แบงค์จีนสยามทุน และ ได้มีการเลี่ยงภาษีอีกด้วย ๒) แบงค์จีนสยามทุนจำกัด ได้ปล่อยกู้ให้โรงสีข้าวเป็นจำนวนมาก ถ้าฝนแล้ง ข้าวขาดแคลน โรงสีก็เสี่ยงกับธุรกิจตกต่ำ เมื่อแบงค์จีนสยามทุน ตกอยู่ในภาวะล้มละลาย เจ้าของโรงสีพากันขาดแห่งเงินกู้เพื่อดำเนินหรือฟื้นฟูกิจการต่อไปได้ —
    พ.ศ. ๒๔๕๗
    • ตั้งกองบินขึ้นในกองทัพบก เริ่มสร้างสนามบินดอนเมือง ซึ่งเปิดใช้งานเมื่อ ๘ มีนาคม ๒๔๕๗ —
    • เปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    • ตั้ง วชิรพยาบาล
    • เริ่มให้บริการน้ำประปา เมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗ —
    • ตั้งโรงเรียนพยาบาลของสภากาชาดไทย —
    • ตั้งเนติบัณฑิตยสภา
    • มีพระบรมราชานุมัติให้กู้ยืมเงินเพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้ จากรัฐบาลสหรัฐมลายูเพิ่มอีก ๗๕๐,๐๐๐ ปอนด์ ตามคำกราบบังคมทูลของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรวรฤทธิ์ เนื่องจาก เงินกู้ ๔ ล้านปอนด์เพียงพอสำหรับทางรถไฟสายใต้ที่เชื่อมฝั่งตะวันตก ตามความต้องการของพ่อค้าจีน พ่อค้าแขกเมืองปีนังเท่านั้น แต่ไม่พอสำหรับทางรถไฟผ่านมณฑลปัตตานีไปเชื่อมทางรถไฟที่ฝั่งกลันตัน —
    พ.ศ. ๒๔๕๘
    • เสด็จฯ เยือนหัวเมืองปักษ์ใต้ ครั้งแรกหลังจากเสวยราชย์ แม้ทางรถไฟสายใต้ยังไม่เชื่อมต่อกันสมบูรณ์ —
    • เริ่มการสร้างสะพาน ๒ หอ (สะพานปางยางใต้)สะพาน ๓ หอ (สะพานปางยางเหนือ)และสะพาน ๕ หอ (สะพานปางหละ) หลังจากได้รับสะพานหอสูงซึ่งเป็นเครื่องเหล็กจากปรัสเซีย —
    พ.ศ. ๒๔๕๙
    พ.ศ. ๒๔๖๐
    • แต่งตั้งกรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธินขึ้นเป็นเจ้ากรมรถไฟหลวง เมื่อ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ แทนเจ้ากรม หลุยส์ ไวเลอร์ ชาวปรัสเซีย เพื่อจัดการรวมกรมรถไฟหลวงสายเหนือ และ กรมรถไฟหลวงสายใต้เข้าด้วยกัน และ เพื่อกำจัดอิทธิพลเยอร์มันออกไปด้วย
    • ประกาศสงครามกับเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ มีการ ปลดเจ้าหน้าที่ชสวปรัสเซียและออสเตรียออกจากตำแหน่ง ทั้งในกรมรถไฟและในธนาคารสยามกัมมาจล พร้อมสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชนชาติศัตรู ซึ่งกว่าจะถอนออกได้ก็ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ —
    • เกิดเหตุน้ำท่วมปีมะเส็ง ทางรถไฟขาดหลายช่วง ต้องหยุดการเดินรถ ๔ - ๕๗ วัน
    • เสด็จฯ เยือนหัวเมืองปักษ์ใต้ ครั้งที่ ๒ —
    • เปลี่ยนธงชาติ จากธงช้างเผือกมาเป็นธงไตรรงค์ —
    • ตั้งกรมมหาวิทยาลัย —
    • เลิกการพนันบ่อนเบี้ย —
    • เปลี่ยนแปลงการนับเวลาให้สอดคล้องกับสากล คือใช้คำว่า ก่อนเที่ยง (ก.ท. - AM) และหลังเที่ยง (ล.ท. - PM) —
    • แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร —
    • กำหนดคำนำหน้านามสตรี จากอำแดงเป็นนางและ นางสาวตามธรรมเนียมสากล —
    • ออก พระราชบัญญัติห้ามส่งเงินแท่งและเหรียญบาทออกนอกประเทศ เนื่องจากเนื้อเงินแพงกว่าหน้าเหรียญทำให้มีคนหากำไรโดยการลักลอบหลอมเหรียญบาทเป็นเงินแท่งส่งไปขายเมือง จนต้องลดความบริสุทธิ์เนื้อเงินจาก เงิน ๙๐ ทองแดง ๑๐ เป็น เงิน ๕๐ ทองแดง ๕๐ แม้ที่สุดจะแก้เป็น เงิน ๖๕ ทองแดง ๓๕
    • รถไฟหลวงไปถึงสถานี นาประดู่ (สถานีสำคัญระหว่างจังหวัดปัตตานีและยะลา)
    [​IMG] [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


    พ.ศ. ๒๔๖๑
    • ตั้งดุสิตธานี ทดลองการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย พร้อมอกหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต และ ดุสิตสมัย—
    • ตราธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนคราภิบาล —
    • ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ฉบับแรก —
    • ตั้งกรมสาธารณสุข —
    • ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ในยุโรป เมื่อได้รับชัยชนะจึงเป็นเหตุให้สยามมีอำนาจเจรจาต่อรองขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ได้ทำไว้แต่รัชกาลก่อนๆ ได้ —
    • อุโมงค์ขุนตานทะลุถึงกันสำเร็จ
    • เริ่มใช้ธนบัตร ๑ บาท ตราครุฑ แทนการใช้เหรียญกษาปณ์เงิน ๑ บาท ที่ถูกยกเลิกไม่ให้ใช้เป็นที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย —
    • รถไฟหลวงสายใต้ เปิดเดินได้ถึงปาดังเบซาร์ เมื่อ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ โดยให้กรมรถไฟสหพันธรัฐมลายูเป็นผู้รับผิดชอบเนื่องจากสถานีปาดังเบซาร์อยู่ในเขตแดนมลายู (ห่างจากหลักเขตกรุงสยามไปทางใต้ประมาณ ๓๐๐ เมตร) แล้วให้แบ่งรายได้และค่าใช้จ่ายกับกรมรถไฟหลวง ครึ่งหนึ่ง
    พ.ศ.๒๔๖๒
    • วางระเบียบการเรียกเก็บเงินรัชชูปการ ซึ่งเป็นการเสียเงินปีละ ๖ บาท ในยุคที่ข้าวสารถังละ ๕๐ สตางค์ ซึ่งถ้าเสียรัชชูปการแล้วก็จะมีการออกตั๋วสีเหลืองขนาดเท่าตั๋วจำนำ พิมพ์คำว่า "๖ บาท" ตัวโตๆ ถ้าไม่เสียรัชชูปการ (หรือเสียค่าตั๋วส่วย) ก็โดนส่งไปทำงานโยธา พวกที่ต้องยกเว้นไม่ต้องเสียรัชชูปการคือ พวกเจ้านายตั้งแต่ระดับพระองค์เจ้าขึ้นไป ทหารตำรวจ และประชาชนที่ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว —
    • เริ่มการใช้เวลามาตรฐาน (+๗ ชั่วโมงเมื่อที่ยบกับเวลามาตรฐานกรีนิช) —
    • เกิดภาวะฝนแล้ง ทำให้ข้าวตายเป็นจำนวนมาก ถึงขั้นต้องขุดหัวมัน หัวเผือก หัวกลอยและ เก็บขุยไผ่ (เมล็ดต้นไผ่ที่ร่วงมาเมื่อไผ่ออกดอกก่อนจะแห้งตาย) กินประทังชีวิต จนรัฐบาลต้องประกาศ พระราชกำหนดห้ามการส่งออกข้าวไปต่างประเทศ ซึ่งจะยกเว้นเฉพาะข้าวที่ได้มีการทำสัญญาการซื้อขายไว้ก่อนหน้าการประกาศพระราชกำหนด —
    • ทหารไทยได้รับชัยชนะกลับจากงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป —
    • สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จสวรรคต ณ วังพญาไท เมื่อ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ —
    พ.ศ. ๒๔๖๓
    • แก้ไขสนธิสัญญาใหม่กับสหรัฐอเมริกาสำเร็จเป็นประเทศแรก —
    • เปิดการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศระหว่าง กรุงเทพ-นครราชสีมา —
    • สตรีในพระราชสำนัก เริ่มนุ่งซิ่น ไว้ผมยาว —
    • รถไฟหลวงสายใต้ เปิดเดินได้ถึงตันหยงมัส (สถานีซึ่งอยู่ระหว่างเมือง นราธิวาสเก่าที่ระแงะและ นราธิวาสใหม่ที่บางนรา) —
    • ตั้งกระทรวงพาณิชย์เพื่อแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากฝนแล้งปี พ.ศ. ๒๔๖๒ โดยโปรดฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทบุรีนฤนาถ ต่อมาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท เป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์—
    • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอผู้ทรงเป็นพระรัชทายาท (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) เสด็จทิวงคตจากอาการไข้หวัดใหญ่ ขณะเสด็จไปประทับพักผ่อนพระวรกายที่สิงคโปร์ เมื่อ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๓ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๕๐ นาที หลังออกจากเสด็จจากกรุงสยามเมื่อ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๓ ต่อมาได้เชิญพระศพกลับกรุงสยามด้วยรถไฟขบวนพิเศษ —
    • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (บิดาแห่งกฎหมายไทย)สิ้นพระชนม์ ด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ หลังทรงพระประชวร ทรงระบุว่ามีพระอาการปวดพระเศียรขั้นคิดอะไรไม่ออก มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้จัดการถวายพระเพลิงพระศพที่กรุงปารีสแล้วเชิญพระอัฐิกลับกรุงสยามในเวลาต่อมา —
    พ.ศ. ๒๔๖๔
    • ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ฉบับแรก บังคับใช้ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๔ —
    • กำหนดคำนำหน้านาม เด็ก เป็นเด็กชาย เด็กหญิง —
    • รถไฟหลวงสายใต้ เปิดเดินได้ถึงสุไหงโกลก เมื่อ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ โดยให้กรมรถไฟหลวงเป็นผู้รับผิดชอบเนื่องจากสถานีสุไหงโกลกอยู่ในเขตแดนสยาม (ห่างจากหลักเขตกรุงสยามริมฝั่งแม่น้ำโก-ลกประมาณ ๑๓๐๐ เมตร) แล้วให้แบ่งรายได้และค่าใช้จ่ายกับกรมรถไฟสหรัฐมลายู ครึ่งหนึ่งตามข้อกำหนดในสนธิสัญญา—
    • รถไฟหลวงสายเหนือ เปิดเดินได้ถึงเชียงใหม่ เมื่อ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๔ (นับอย่างใหม่ต้อง พ.ศ. ๒๔๖๕)—
    • สภากาชาดไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตสภากาชาด
    พ.ศ. ๒๔๖๕
    • ตราข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ชั่วคราว ซึ่งมีผลทำให้ยุบกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย แล้วแปรสภาพกระทรวงนครบาลเป็น มณฑลกรุงเทพ (หรือกรุงเทพมหานคร) ซึ่งประกอบด้วย พระนคร ธนบุรี นนทบุรี สมุทรสาคร พระประแดง และ สมุทรปราการ
    • สถาปนากรมตำรวจเมื่อ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๕
    • เปิดสถานเสาวภา
    • เริ่มสร้างสะพานพระรามหก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ โดยบริษัทไดเดย์จากฝรั่งเศสเป็นผู้รับเหมา
    • เริ่มเดินรถด่วนเชียงใหม่และ รถด่วนระหว่างประเทศ
    พ.ศ. ๒๔๖๖
    พ.ศ. ๒๔๖๗
    พ.ศ. ๒๔๖๘
    • แก้ไขสัญญากับประเทศในภาคพื้นยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศสสำเร็จแม้จะมีอุปสรรคคือ มีการฆาตกรรมภรรยาท่านทูตฝรั่งเศสประจำกรุงสยามขณะดำเนินการเจรจา —
    • มีพระราชพินัยกรรม
      • พระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช) ถูกตัดออกจากสายการสืบราชสันตติวงศ์ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช มีพระมารดาผู้ไม่เป็นที่พึงเคารพ —
      • หากพระนางเจ้าสุวัทนาฯ ซึ่งทรงพระครรภ์อยู่ ประสูติพระราชโอรส ก็ให้พระราชโอรสได้สืบราชสมบัติต่อไป แต่ถ้าไม่มีพระราชโอรสก็มีพระราชประสงค์ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ทรงรับเป็นรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล
    • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (ต้นราชสกุล กฤดากร) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน สิ้นพระชนม์ที่วังมะลิวัลย์ (ปัจจุบันเป็นที่ทำการของสำนักงานองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(Food and Agriculture Organization of the United Nations - FAO)) เมื่อ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘
    • ขยายเส้นทางรถรางจากยศเส ผ่านถนนพระราม ๑ ไป ประตูน้ำ, จากแยกบางรักไป ประตูน้ำ โดยผ่านถนนสีลมและถนนราชดำริ โดยการแก้เส้นทางสายดุสิตให้สั้นเข้าแล้วนำรางมีร่องไปสร้างทางสายยศเส สายสีลม และ สายราชดำริ เพื่อรองรับงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ที่จะจัดขึ้นที่ทุ่งศาลาแดง (สวนลุมพินี)ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๖๘ —
    • เกิดพายุหมุน ทำลายสิ่งก่อสร้างในทุ่งศาลาแดงที่จะเป็นอาคารประกอบงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ - คล้ายเป็นลางร้ายที่จะต้องผลัดแผ่นดิน —
    • วันอังคารที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในรัชกาลที่ ๖
    • เสด็จสวรรคต เมื่อเวลา ๗ ทุ่ม ๔๕ นาที (๑ นาฬิกา ๔๕ นาที) ของวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๖๘ หลังจากที่ทรงพระประชวรด้วยอาการพระอันตะ (ลำไส้) ทะลุ จากแผลผ่าตัดพระนาภีที่เกิดอาการอักเสบขั้นทะลุบริเวณพระนาภี (ผิวหนังหน้าท้อง)อย่างกระทันหัน —
    • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตในรัชกาลที่ ๖ และทรงกำหนดให้วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันเถลิงราชย์ของพระองค์
    • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร และใต้ฐาน พระร่วงโรจนฤทธิ์ ณ พระวิหารด้านทิศเหนือ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช_เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ_สยามมกุฎราชกุมาร

    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา
    <!-- start content -->สารานุกรมประเทศไทย
    <CENTER>...
    [​IMG]

    </CENTER>

    <TABLE class=toccolours style="FONT-SIZE: 11px; FLOAT: right; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; WIDTH: 20em"><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: larger"><CENTER>พระราชวงศ์ไทย</CENTER></TD></TR><TR><TD style="TEXT-ALIGN: center">[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG] [​IMG]
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารฉายภาพพร้อมเครื่องราชอิสริยยศ


    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
    ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนจิตรลดา แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และโรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซท ประเทศอังกฤษ จากนั้นทรงไปศึกษาต่อ ที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ และสำเร็จการศึกษา จากวิทยาลัยการทหารดันทรูน แคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย
    หลังจากเสด็จกลับประเทศไทย ทรงรับราชการทหาร และศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 เมื่อ พ.ศ. 2520 และทรงผนวช เมื่อ พ.ศ. 2521 จากนั้นทรงศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุ่นที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2525 และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จากประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2533 <SUP class=reference id=_ref-0>[1]</SUP>

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชธิดาที่ประสูติ แต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ 1 พระองค์ คือ
    ทรงมีพระราชโอรสที่ประสูติแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ 1 พระองค์ คือ
    ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาอีก 5 องค์ ที่ประสูติแต่หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา (คุณยุวธิดา ผลประเสริฐ ปัจจุบันคือ คุณสุธาริณี วิวัชรวงศ์)
    • หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล (ประสูติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2522) <SUP class=reference id=_ref-1>[2]</SUP>
    • หม่อมเจ้าวัชรเรศร มหิดล (ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2524)
    • หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล (ประสูติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526)
    • หม่อมเจ้าวัชรวีร์ มหิดล (ประสูติเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2528)
    • หม่อมเจ้าหญิงบุษยน้ำเพชร มหิดล (พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์)

    [​IMG] [​IMG]
    จากซ้ายไปขวา ม.จ.วัชรเรศร, ม.จ.วัชรวีร์, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร, ม.จ.บุษยน้ำเพชร, หม่อมสุจาริณี, ม.จ.จักรีวัชร, ม.จ.จุฑาวัชร



    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ ทรงอบรมหลักสูตรการขับเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีชั้นสูง จากฝูงบินที่ 425 ฐานบินวิลเลียม มลรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2523, 2526 และ 2534 ทรงพระปรีชาสามารถขับเครื่องบินหลายรุ่นด้วยพระองค์เอง เช่น เอฟ-5 เอฟ 16 เฮลิคอปเตอร์ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน ให้กับนักบินของกองทัพอากาศไทย<SUP class=reference id=_ref-2>[3]</SUP>








    [แก้] ข้อมูลอ้างอิง

    1. <LI id=_note-0> สกุลไทย : 16 มกราคม 2533 <LI id=_note-1> วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ
    2. สกุลไทย : 7 สิงหาคม 2533
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5043183/K5043183.html





    ***<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#204080 colSpan=2 rowSpan=2>
    • [​IMG] <!--WapAllow0=Yes--><!--pda content="begin"--><B><BIG><BIG><!--Topic-->ใครพอจะเเนะนำหนังสือเกี่ยวกับประวัติของวัดบวรสถานสุทธาวาสได้บ้างครับ </BIG></BIG></B>
    • <!--MsgIDBody=0-->ตอนนี้สงสัยเกี่ยวกับ
      1. ใบเสมาไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนครับ
      2. อาคารสำคัญในวัดนอกจากพระอุโบสถมีอะไรบ้างครับ
      ดูในแผนที่เก่าๆ ก็เขียนไว้แต่ชื่อวัดว่าวัดพระเเก้ววังหน้า/วัดบวรสถานสุทธาวาส
      <!--MsgEdited=0-->
      [SIZE=-1]แก้ไขเมื่อ 13 ม.ค. 50 00:58:04[/SIZE] <!--MsgFile=0-->
      <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=150 bgColor=#ffffff height=150>[​IMG]
      [SIZE=-2][คลิกเพื่อชมภาพขนาดจริง][/SIZE]
      </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>จากคุณ : <!--MsgFrom=0-->น่ารักอย่างกะยักษ์วัดแจ้ง [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=0-->13 ม.ค. 50 00:45:05 <!--MsgIP=0-->] <!--InformVote=0--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[0], 0);</SCRIPT>[​IMG] [​IMG] <!--EcardSend=0--><!--pda content="end"--><!--Begin Console-->​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    *************************************************


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    • [​IMG] <!--WapAllow7=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 7 <!--InformVote=7--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[7], 7);</SCRIPT><!--EcardManage=7--><!--EcardSend=7-->

      <!--MsgIDBody=7-->1. ประวัติการสร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส
      สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้น โดยในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงพระอุโบสถก่ออิฐถือปูน วัดบวรสถานสุทธาวาสสร้างอยู่ในบริเวณอุทยานชั้นนอกด้านทิศเหนือของพระราชวังบวรสถานมงคล

      ท้าวความไปในบริเวณที่เป็นวัดบวรสถานสุทธาวาสเดิมในสมัยวังหน้า รัชกาลที่ ๑
      - ในสมัย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลรัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างพระตำหนักภายในอุทยาน ต่อมาพระองค์ทรงพระราชทานอุทิศให้นักนางแม้น มารดาของพระสนมนักองค์อี ซึ่งเป็นพระธิดาของสมเด็จพระอุไทยราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชาได้บวชเป็นชีอยู่จำศีลภาวนา ครั้งนั้นเรียกว่า วัดหลวงชี ต่อมาวัดหลวงชีชำรุดทรุดโทรม

      -ในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ฯในรัชกาลที่ ๒ โปรดให้รื้อวัดหลวงชีออกหมด ทรงปรับให้เป็นสวนเลี้ยงกระต่าย

      - ในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๓ พื้นที่พระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าทรุดโทรมหนัก จึงโปรดให้บูรณะหมดทั้งพระราชวัง รวมทั้งโปรดให้สร้างวัดขึ้นใหม่ในบริเวณสวนกระต่ายหรือวัดหลวงชีเดิม พระราชทานนามว่าวัดบวรสถานสุทธาวาส โดยเรียกเป็นสามัญว่า วัดพระแก้ววังหน้า เพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อทรงแก้บนเมื่อครั้งเสด็จยกทัพไปปราบกบฏเวียงจันทน์

      ๒. พื้นที่บริเวณวัดบวรสถานสุทธาวาส แต่เดิมนั้นหากได้ศึกษาในแผนผังของพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดโดยกรมแผนที่สำรวจซึ่งหม่อมราชวงศ์ลม้าย นายเสมเป็นผู้เขียนไว้ซึ่งมีการแก้ไขในปี ๒๔๖๑ จะเห็นได้ว่า บริเวณวัดบวรสถานสุทธาวาสนั้น มิได้มีอาคารหรือศาสนสถานรายล้อมแต่ประการใด เนื่องจากมีกำแพงและเขตประตูล้อมรอบ

      ๓.พระพุทธรูปในพระอุโบสถไม่ทราบชื่อครับ แต่เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ๒ พระหัตถ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลองค์ที่ ๓ โปรดให้หล่อขึ้นแต่ยังไม่แล้วเสร็จ พระองค์เสด็จทิวงคตก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างต่อจนเสร็จ

      **ในความเป็นจริงแล้ว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชดำริจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานเป็นพระประธาน จึงโปรดให้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องประวัติพระพุทธสิหิงค์บนผนังทั้งสี่ด้าน แต่จนสิ้นรัชกาลก็มิได้อัญเชิญ ยังคงประดิษฐานอยู่ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนถึงปัจจุบัน


      *** ถ้าท่านใดมีโอกาสได้ไปในพระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้านะครับ จิตรกรรมฝาผนังงดงามมากๆ แนะนำให้ไปชมกัน

      แล้วก็หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

      - หนังสือ ตำนานวังหน้า:ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๓ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

      - กรมพระราชวังบวรสถานมงคลกับงานศิลปกรรมแบบพระราชนิยม ของกรมศิลปากร


      <!--MsgEdited=7-->[SIZE=-1]แก้ไขเมื่อ 15 ม.ค. 50 16:15:34[/SIZE] <!--MsgFile=7-->

      จากคุณ : <!--MsgFrom=7-->. (เด็กท้ายวัง) [​IMG][​IMG] - [ <!--MsgTime=7-->15 ม.ค. 50 16:09:36 <!--MsgIP=7-->] <!--pda content="end"-->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • K5043183-5.jpg
      K5043183-5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66 KB
      เปิดดู:
      49
    • K5043183-4.jpg
      K5043183-4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.6 KB
      เปิดดู:
      1,152
    • K5043183-1.jpg
      K5043183-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.2 KB
      เปิดดู:
      1,147
    • 043.jpg
      043.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.9 KB
      เปิดดู:
      1,928
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2007
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.sakulthai.com/DSakulcolu...884&stissueid=2584&stcolcatid=2&stauthorid=13


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom noWrap align=middle width="14%">บทความ-สารคดี </TD><TD style="BACKGROUND: url(/images/lines/vertical01.gif) repeat-x left bottom" vAlign=bottom width="46%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=bottom height=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom noWrap width="14%">[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="11%" height=119>
    </TD><TD width="3%">[​IMG]</TD><TD width="86%"><TABLE height="100%" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระที่นั่งสุทธาศวรรย์
    โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์</TD></TR><TR><TD vAlign=bottom>ฉบับที่ 2584 ปีที่ 50 ประจำวัน อังคาร ที่ 27 เมษายน 2547</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="10%" height=20>[​IMG]</TD><TD vAlign=top width="90%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top height=135></TD><TD vAlign=top>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    <TABLE width="20%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>โบสถ์วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) อดีตเป็นวัดในเขตวังหน้า ไม่มีพระภิกษุ เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    ปัจจุบันเป็นสถานที่ไหว้ครู และครอบครูของบรรดานาฏศิลปินและดุริยางคศิลปิน
    โบสถ์นี้มันปรากฏในละครโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์เรื่องจักรๆวงศ์ๆ สมมุมติเป็นปราสาทราชฐานท้าวพญามหากษัตริย์ในเรื่องบ่อยๆ

    </TD></TR></TBODY></TABLE> -วังหลวงมีพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ปราสาทบนกำแพงพระบรมมหาราชวัง เคยได้ทราบว่า วังหน้าก็มีพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ด้วยเช่นกัน-
    และ
    -ที่เรียกกันว่า ‘สวนอนันต์’ นั้นอยู่ที่ไหน เป็นพระราชวัง เหมือนพระราชวังสวนดุสิต ใช่ไหม-
    เรื่องแรกก่อน
    พระที่นั่ง ‘สุทธาสวรรย์ปราสาท’ (เดิมเขียนเอาไว้ว่า ‘สุทธาศวรรย์’) นั้น ทราบกันแล้วว่า สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๑ ไม่ได้พระราชทานชื่อ หลังคาไม่มียอด เป็นพระที่นั่งโถง จึงเรียกกันว่า พระที่นั่งพลับพลาสูง จนถึงรัชกาลที่ ๓ หลังจากทรงสร้างพระตำหนักใหม่ถวายสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงแล้ว จึงโปรดฯให้ซ่อมพระที่นั่งพลับพลาสูง สร้างหลังคาเป็นยอดปราสาท พระราชทานชื่อว่า ‘พระที่นั่งสุทธาศวรรย์ปราสาท’
    (ต่อไปนี้ ‘สวรรย์’ ขอใช้ว่า ‘ศวรรย์’ ตามแบบเก่า)
    ทีนี้ ‘พระที่นั่งสุทธาศวรรย์’ ในวังหน้า
    ชื่อ ‘สุทธาศวรรย์’ เหมือนกัน แต่ไม่มีคำว่า ‘ปราสาท’ ต่อท้าย
    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ในรัชกาลที่ ๑ สร้างขึ้นแต่แรกเป็นหนึ่งในพระราชมณเฑียรสถาน ๕ พระที่นั่ง คือ
    ๑. พระที่นั่งพิมานดุสิดา เป็นหอพระกลางสระ
    ๒. พระที่นั่งสุทธาศวรรย์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์
    ๓. พระที่นั่งวสันตพิมาน เป็นพระวิมาน คือที่ประทับหลังใต้
    ๔. พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ เป็นพระวิมานหลังกลาง
    ๕. พระที่นั่งพรหเมศรังสรรค์ เป็นพระวิมานหลังเหนือ
    ว่าเฉพาะพระที่นั่งสุทธาศวรรย์
    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท วังหน้า ร.๑ โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ที่อัญเชิญมาจากเมืองเชียงใหม่ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท สวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานที่โบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    ถึงรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ทรงสร้างพระแท่นเศวตฉัตรเป็นที่เสด็จออกแขกเมืองและทำการพระราชพิธี
    เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์สวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า โปรดฯให้ประดิษฐานพระศพไว้ในพระที่นั่งสุทธาศวรรย์นี้
    ถึงรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ทรงซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ใหม่ ทรงย้ายพระแท่นเศวตฉัตรไปไว้ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยที่ทรงสร้างใหม่ แล้วทรงเปลี่ยนชื่อเดิมจาก ‘พระที่นั่งสุทธาศวรรย์’ เป็น ‘พระที่นั่งพุทไธศวรรย์’ (ปัจจุบันใช้ ‘พุทไธสวรรย์’)
    ที่ทรงเปลี่ยนชื่อนั้น ด้วยเหตุผลสามประการคือ
    ๑. ทรงพระราชดำริ ว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอย่างเดิม
    ๒. ชื่อพระที่นั่งสุทธาศวรรย์ เหมือนกับ พระที่นั่งสุทธาศวรรย์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง จึงทรงเปลี่ยนหลีกไป
    ๓. อีกประการหนึ่ง ทรงสร้างพระที่นั่งเพิ่มเติม และแกชื่อพระที่นั่งองค์เดิมบ้าง ให้คล้องจองกัน คือ
    วสันตพิมาน
    วายุสถานอมเรศ
    พรหเมศธาดา (เปลี่ยนจากพรหเมศรังสรรค์)
    อิศราวินิจฉัย (สร้างใหม่)
    พุทไธศวรรย์ (เปลี่ยนจากสุทธาศวรรย์)
    รังสรรค์จุฬาโลก (เปลี่ยนจากพิมานดุสิดา)
    ศิวโมกข์พิมาน (พระที่นั่งเดิม)
    ไหนๆเล่าเรื่องวังหน้าแล้ว ขอเล่าเติมถึงวัดบวรสถานสุทธาวาส อีกสักเล็กน้อย
    วัดนี้ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ใน ร.๓ แรกสร้าง เรียกกันว่า ‘วัดพระแก้ววังหน้า’ จนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงได้พระราชทานชื่อว่า ‘วัดบวรสถานสุทธาวาส’
    ตรงที่สร้างวัดนี้ สมัยวังหน้ารัชกาลที่ ๑ เคยเป็นสวน (อุทยาน) เสด็จประพาส ครั้งเมื่อนักองเองเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในรัชกาลที่ ๑ มีพระพี่นางเข้ามาด้วยสามองค์ คือนักองเม็ง นักองเภา และนักองอี นักองทั้งสามนี้ สมเด็จพระบวรราชมหาสุรสิงหนาททรงรับเป็นเจ้าจอม ทว่านักองเม็งประชวรสิ้นชีพ จึงเหลือแต่นักองเภา และนักองอี
    นักองเภามีพระองค์เจ้าหญิง ๒ พระองค์
    นักองอี มีพระองค์เจ้าหญิง ๒ พระองค์เช่นกัน ว่ากันว่านักองอีนั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ โปรดปรานมาก
    นักองอี มีมารดา บวชเป็นชี กับบริษัท บริวารชีด้วยกันมาอยู่ด้วย สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ จึงพระราชทานที่อุทยานให้เป็นสำนักของนักนางแม้นและบริษัทบริวารผู้คนจึงเรียกกันว่า ‘วัดหลวงชี’
    ถึงรัชกาลที่ ๒ ไม่มีวัดหลวงชีแล้ว สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ จึงโปรดให้เป็นสวนเลี้ยงกระต่ายและอุทยานเสด็จประพาสตามเดิม
    ถึงรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ จึงทรงสร้างวัดพระแก้ววังหน้า หรือวัดบวรสถานสุทธาวาส ปรากฏอยู่ทุกวันนี้
    อันพระองค์เจ้าหญิงกำพุชฉัตร พระราชธิดาในเจ้าจอมมารดานักองอีนั้น ท่านเป็นกวี ทรงนิพนธ์เรื่อง ‘นิพพานวังหน้า’ เมื่อสมเด็จพระชนกนาถเสด็จสวรรคต ไว้อย่างไพเราะจับใจ เช่นรำพันตอนเคยเสด็จประพาสสวนที่มีพระที่นั่งพิมานดุสิดา (หรือ รังสรรค์จุฬาโลก) อยู่กลางเกาะ ตอนหนึ่งว่า
    <TABLE width="51%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>“เสาวคนธ์ระคนกลิ่นบุหงา จำปาแขกเมื่อแขกมาถวายถม
    มณฑาหอมหวนหอมยิ่งตรอมตรม จะจากชมชวนชมระบมทรวง
    ยี่หุบหุ้มกลีบหุ้มขยายแย้ม ลำเจียกแหลมกลิ่นแหลมล้วนของหลวง
    ลำดวนเย็นหอมเย็นดูเด่นดวง พิกุลร่วงดอกร่วงลงดาดดิน
    เสาวรสทรงรสตลบฟุ้ง ดังจันทร์ปรุงประปรุงระคนกลิ่น
    การะเกดแก้วเกดอินทนิล บุหรงบินรีบบินไปจากรัง
    ให้หนักจิตจิตหวนรัญจวนโหย ฤดีโดยโดยดิ้นถวิลหวัง
    เหมือนอกเราเราจะร้างนิราศวัง จึงโศกสั่งสั่งสวนอยุธยาฯ”

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    สวัสดีครับลุงสิทธิพงษ์ ต้น&ตั้มไปเที่ยววัดบ้านแหลมมาได้ไปกราบหลวงปู่เทพโลกอุดรด้วยครับคุณลุงเดาซิครับว่าคนไหนต้นคนไหนตั้ม
    DSC_0322.JPG
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0332.JPG
      DSC_0332.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      35
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ขอทายว่าคนซ้าย
    ถะๆๆๆๆๆๆๆๆๆถูกต้องนะคร๊าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ

    เพราะห้อยพระครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นะมะการะสิทธิคาถา
    พระนิพนธ์ของสมเด็จพระพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ___________________<O:p</O:p

    ใช้แทนสัมพุทเธ
    โย จักขุมา โมหะมะลาปะกัฏโฐ สามัง วะ พุทโธ
    สุคะโต วิมุตโต มารัสสะ ปาสา วินิโมจะยันโต ปาเปสิ
    เขมัง ชะนะตัง วิเนยยัง ฯ พุทธัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
    โลกัสสะ นาถัญจะ วินายะกัญจะ ตันเตชะสา เต ชะยะ
    สิทธิ โหตุ สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ
    ธัมโม ธะโช โย วิยะ ตัสสะ สัตถุ ทัสเสสิ โลกัสสะ
    วิสุทธิมัคคัง นิยยานิโก ธัมมะธะรัสสะธารี สาตาวะโห สันติกะโร
    สุจิณโณ ฯ ธัมมัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ โมหัปปะทาลัง
    อุปะสันตะทาหัง ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ
    สัมพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ
    สัทธัมมะเสนา สุ คะตานุโค โย โลกัสสะ ปาปูปะกิเล
    สะเชตา สันโต สะยัง สันตินิโยชะโก จะ สวากขาตะธัมมัง
    วิทิตัง กะโรติ ฯ สังฆัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
    พุทธานุพุทธัง สะมะสีละทิฏฐิง ตันเตชะสา เต ชะยะ
    สิทธิ โหตุ สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ
    __________________

    ขึ้นสวดมนต์สิบสองตำนาน

    สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง ปะริตตานุภาโว
    สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา
    อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ ฯ สะมันตา จักกะวาเฬสุ
    อัตรา คัจฉันตุ เทวะตา สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ
    สัคคะโมกขะทัง ฯ
    สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข
    วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน
    เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม
    ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง
    สาธะโว เม สุณันตุ ฯ ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
    ธัมมัส สะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล
    อะยัมภะทันตา ฯ

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
    ( ว่า ๓ หน )

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง
    คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
    สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
    ปัญจะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสา
    ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ
    หันตวา สัพเพ อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ
    อะเสสะโต ฯ สัมพุทเธ ปัญจะปัญญาสัญจะจะตุวีสะติ สะหัส
    สะเก ทะสะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสัง
    ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ
    หันตวา สัพเพ อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ
    อะเสสะโตฯ สัมพุทเธ นะวุตตะระสะเต อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก
    วีสะติสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสัง สังฆัญจะ
    อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ
    อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

    ( ถ้าไม่สวด สัมพุทเธ จะสวด นะมะการะสิทธิคาถา
    ซึ่งอยู่หน้าต้นแทนก็ได้ )
    ______________________

    นะโมการะอัฏฐะกะ

    นะโม อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ มะเหสิโน นะโม
    อุตตะมะธัมมัสสะ สวากขาตัสเสวะ เตนิธะ นะโม มะหาสังฆัสสาปิ
    วิสุทธะสีละทิฏฐิโน นะโม โอมาตยารัทธัสสะ ระตะนัตตะยัสสะ
    สาธุกัง นะโม โอมะกาตี ตัสสะ ตัสสะวัตถุตตะยัสสะปิ นะโม
    การัปปะภาเวนะ วิคัจฉันตุ อุปัททะวา นะโม การานุภาเวนะ
    สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา นะโม การัสสะ เตเชนะ วิธิมหิ โหมิ
    เตชะวา ฯ
    ( นะโมการะอัฏฐะกะนี้สวดในสมัยที่ควร )
    _____________________

    เริ่มมังคะละสุตตัง

    เย สันตา สันตะจิตตา ติสะระณะสะระณา เอตถะ
    โลกันตะเร วา ภุมมาภุมมา จะ เทวา คุณะคะณะคะหะณัพยาวะฏา
    สัพพะกาลัง เอเต อายันตุ เทวา วะระกะนะ กะมะเย เมรุราเช
    วะสันโต สันโต สันโต สะเหตุง มุนิวะระวะจะนัง โสตุมมัคคัง ฯ
    สัพเพสุจักกะวาเฬสุ ยักขา เทวา จะ พรัหมุโน ยัง อัมเหหิ กะตัง
    ปุญญัง สัพพะสัมปัตติ สาธะกัง สัพเพ ตัง อะนุโมทิตวา
    สะมัคคา สาสะเน ระตา ปะมาทะระหิตา โหนตุ อารักขาสุ
    วิเสสะโต สาสะนัสสะ จะ โลกัสสะ วุฑฒี ภะวะตุ
    สัพพะทา สาสะนัมปิ จะ โลกัญจะ เทวา รักขันตุ สัพพะทา
    สัทธิง โหนตุ สุขี สัพเพ ปะริวาเรหิ อัตตะโน อะนีฆา
    สุมะนา โหนตุ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ ฯ
    ยัญจะ ทวาทะสะ วัสสานิ จินตะยิงสุ สะเทวะกา
    จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานิงสุ มังคะลัง จักกะ
    วาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง กาลัง โกลาหะลัง
    ชาตัง ยาวะ พรัหมเวสะนา ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ
    สัพพะปาปะวินาสะนัง ยัง สุตวา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตา
    สังขิยา นะรา เอวะมาทิคุณูเปตัง มังตะลันตัมภะณามะ เห ฯ
    ____________________

    มังคะละสุตตัง

    เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง
    วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ
    อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา
    อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา
    เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา
    เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา
    ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิฯ
    พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง
    อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ฯ
    อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา ปูชา
    จะ ปูชะนียานัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ปะฏิรูปะเทสะ
    วาโส จะ ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ
    เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย
    จะ สุสิกขิโต สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ
    มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห อะนากุลา จะ
    กัมมันตา เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ
    ญาตะกานัญจะ สังคะโห อะนะวัชชานิ กัมมานิเอตัม
    มังคะละมุตตะมัง ฯ อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ
    สัญญะโม อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ
    คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา กาเลนะ
    ธัมมัสสะวะนัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ขันตี จะ โสวะจัสสะตา
    สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัม
    มังคะละมุตตะมัง ฯ ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ
    ทัสสะนัง นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ
    ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ อะโสกัง
    วิระชัง เขมัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ เอตาทิสานิ กัตวานะ
    สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง
    มังคะละมุตตะมันติ ฯ
    ________________________

    เริ่มระตะนะสุตตัง

    ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะปาระมิโย
    ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโยติ
    สะมะติงสะ ปาระมิโย ปูเรตวา ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส
    จะริยา ปัจฉิมมัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง
    ปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง
    สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง นะวะ
    โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิตวา เวสาลิยา
    ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัสมา
    อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตวา
    โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาฌัมปะฏคคัณหันติ
    ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร โรคามะนุสสะ ทุพภิกขะสัมภูตันติวิธัมภะยัง
    ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
    __________________________

    ระตะนะสุตตัง

    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ
    อันตะลิกเข สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ
    สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง ตัส์มา หิ ภูตา นิสาเมถะ
    สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ ทิวา จะ
    รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัส์มา หิ เน รักขะถะ
    อัปปะมัตตา ฯ ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สะเคสุ
    วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
    อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ
    โหตุ ฯ ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สัก์ยะมุนี
    สะมาหิโต นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม
    ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยีสุจิงสะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
    สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง
    ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย ปุคคะลา
    อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ เต
    ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ
    มะหัปผะลานิ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
    สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
    นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ เต ปัตติปัตตา อะมะตัง
    วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา อิทัมปิ สังเฆ
    ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ยะถินทะขีโล ปะถะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะ
    กัมปิโย ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ
    อะเวจจะ ปัสสะติ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย อะริยะสัจจานิ
    วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ กิญจาปิ เต
    โหติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ
    โหตุ ฯ สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา
    ชะหิตา ภะวันตุ สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง
    วาปิ ยะทัตถิกิญจิ จะตูหะปาเยหิ จะวิปปะมุตโต ฉะจาภิฐานานิ
    อะภัพโพ กาตุง อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
    สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ
    ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา อะภัพโพ โส
    ตัสสะ ปะฏิฐฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ
    วุตตา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
    สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
    คิมหานะมาเส ปะฐะมัส์มิง คิมเห ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง
    อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ อิทัมปิ พุทเธ
    ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ วะโร
    วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง
    อะเทสะยิ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
    สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ
    สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง เต ขีระพีชา
    อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป อิ
    ทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวา
    อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ ปูชิตัง พุทธัง
    นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยานีธะ ภูตานิ สะมา คะตานิ
    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ
    ปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยานีธะ ภูตานิ
    สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง
    เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ___________________
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เริ่มกะระณียะเมตตะสุตตัง

    ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
    ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ
    สุตโต ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง
    ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
    ___________________

    กะระณียะเมตตะสุตตัง

    กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง
    อะภิสะเมจจะ สักโก อุชู จะ สุหุชู สุวะโจ จัสสะ
    มุทุ อะนะติมานี สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ
    จะ สัลละหุกะวุตติ สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะ
    คัพโภ กุเลสุ อะนะ นุคิทโ ธ นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ
    เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ
    สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา เย เกจิ ปาณะภู
    ตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ทีฆา วา เย
    มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา ทิฏฐา วา
    เย จะ อัทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร ภูตา วา สัมภะ
    เวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา นะ ปะโร ปะรัง
    นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ พยาโรสะนา
    ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ มาตา
    ยะถานิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข เอวัมปิ
    สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง เมตตัญจะ
    สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ
    จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรังอะสะปัตตัง ติฏฐัญจะรัง
    นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ เอตัง
    สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ทิฏฐิญ
    จะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ
    วิเนยยะ เคธัง นะหิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ
    ___________________

    เริ่มขันธะปะริตตัง

    สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนา
    เสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ
    สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ
    ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ
    ___________________

    ขันธะปะริตตัง

    วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม
    ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะระเกหิ จะ
    อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม จะตุปปะ
    เทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม มา มัง อะปา
    ทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก มา มัง จะตุปปะโท
    หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท สัพเพ สัตตา สัพเพ
    ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ
    มา กิญจิ ปาปะมาคะมา อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ
    ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ
    อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระภู มูสิกา กะตา
    เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง
    นะโม ภะคะวะโต นะโม สันตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ
    ___________________

    ฉัททันตะปะริตตัง

    วะธิสสะเมนันติ ปะรามะสันโต กาสาวะมัททักขิ ธะชัง
    อิสีนัง ทุกเขนะ ผุฏฐัสสุทะปาทิ สัญญา อะระหัทธะโช
    สัพภิ อะวัชฌะรูโป สัลเลนะ วิทโธ พยะถิโตปิ สันโต
    กาสาวะวัตถัมหิ มะนัง นะทุสสะยิ สะเจ อิมัง นาคะวะ
    เรนะ สัจจัง มามัง วะเน พาละมิคา อะคัญฉุนติฯ
    ___________________

    เริ่มโมระปะริตตัง

    ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ
    สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะรา จิรัสสัง วายะมัน
    ตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรัหมะมันตันติ อักขาตัง
    ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
    ___________________

    โมระปะริตตัง

    อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ
    ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง
    ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย
    พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมฌม เต เม นะโม เต จะ
    มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม
    วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา
    โมโร จะระติ เอสะนาฯ อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ
    หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ
    รัตติง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม
    เต จะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง
    กัตวา โมโร วา สะมะกัปปะยีติฯ
    ___________________

    เริ่มวัฏฏะกะปะริตตัง

    ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง ยัสสะ
    เตเชนะ ทาวัคคิ มะหาสัตตัง วิวัชชะยิ เถรัสสะ
    สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ
    มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
    ___________________

    วัฏฏะกะปะริตตัง

    อัตถิ โลเก สีละถุโณ สัจจัง โสเจยยะนุททะยา
    เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา
    ธัมมะพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะวัส
    สายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง สันติ ปักขา อะปัตตะนา
    สันติปาทา อะวัญจะนา มาตา ปิตา จะ นิกขันตา ชาตะ
    เวทะ ปะฏิกกะมะ สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง มะหาปัช
    ชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะกะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา
    สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติฯ
    ___________________

    เริ่มธะชัคคะสุตตัง

    ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน
    ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพู
    ปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา คะณะนา นะ
    จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
    ___________________

    ธะชัคคะสุตตัง

    เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง
    วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ
    โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต
    ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ
    ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพยุฬ
    โห อะโหสิ ฯ อะถะโข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท
    เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคา
    มะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
    โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง
    อุลโลเกยยาถะ มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
    ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
    โส ปิหิยยิสสะติ โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
    อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกย
    ยาถะ ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง
    อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
    โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ
    เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ วะรุณัสสะ
    หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ
    ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิส
    สะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโล
    เกยยาถะ อีสานัสสะ หิโว เทวะ ราาชัสสะ ธะชัคคัง
    อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
    โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติฯ
    ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะ
    มินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ปะชาปะติสสะ วา
    เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วะรุณัสสะ วา
    เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วา
    เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง
    วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วาโส ปะหิยเยถาปิ โนปิ
    ปะหิยเยถะ ตัง กิสสะเหตุ สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท
    อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภิรุ ฉัมภี อุตราสี
    ปะลายีติฯ อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ
    ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง
    วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง
    วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง
    สะมะเย อันุสสะเรยยาถะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
    สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
    พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
    ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
    โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ
    ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
    สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง
    เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
    ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
    โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ
    สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ
    กะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะ
    ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน
    ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ
    อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ สังฆัง หิ โว ภิกขะเว
    อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
    โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ ตะถา
    คะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค
    วีตะโทโส วีตะโมโห อะภิรุ อัจฉัมภี อะนุตราสี อะปะ
    ลายีติฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อิทัง วตวานะ สุคะโต
    อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา อะรัญเญ รุกขะมูเล วา
    สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง
    ตุมหากะ โน สิยา โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะ
    เชฏฐัง นะราสะภัง อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง
    สุเทสิตัง โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
    อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
    เอวัมพุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภะยัง
    วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ
    ___________________

    เริ่มอาฏานาฏิยะปะริตตัง

    อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
    อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ ปะริสานัญจะ
    ตัสสันนะมะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสสี มะหาวีโร
    ปะริตตันตัมภะณะนะ เห ฯ
    ___________________

    อาฏานาฏิยะปะริตตัง

    วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิส
    สะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ
    นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระ
    เสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ
    วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
    อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง
    ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง เย จาปิ นิพพุตาโลเก
    ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะ
    สาระทา หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ
    นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
    ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส สะระณัง
    กะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร โกณฑัญโญ ชะนะ
    ปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ สุมาโน สุมาโน ธีโร
    เรวะโต ระติวัฑฒะโน โสภีโต ถุณะสัมปันโน อะโนมะ
    ทัสสี ชะนุตตะโม ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ
    สาระถี ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
    สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ อัตถะทัสสี
    การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
    ติสโส จะ วะทะตัง วะโร ปุนโน จะ วะระโท พุทโธ
    วิปัสสี จะ อะนูปะโม สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู
    สุขะทายะโก กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญ
    ชะโห กัสสะโป สิริสัมปันโน โคระโม สักยะปุงคะโว ฯ
    เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อัเนกะสะตะโกฏะโย
    สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
    สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต
    ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง สีหะนาทัง นะทันเตเต
    ปะริสาสุ วิสาระทา พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะ
    ฏิวัตติยัง อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
    ทวัตติงสะ ลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา พยา
    มัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา
    สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา มะหัปปะภา
    มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา
    สัพเพสานัง สุขาวะหา ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา
    เลณา จะ ปาณินัง คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ
    หิเตสิโน สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรา
    ยะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา
    มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน
    ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา สะทา สุเขนะ รักขันตุ
    พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต
    สัพพะภะเยนะ จะ สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตา
    ปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง
    ภะวะ ฯ เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
    เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯ
    ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ
    ตุมเห อันุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ทักขิณัสมิง
    ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
    อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ
    นาคา มิหิทธิกา เตหิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ
    สุเขนะ จะ อุตตะรัสมิง ทิสา ภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
    เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
    ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทิกขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ
    วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต มะหาราชา
    โลกะปาลา ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
    อาโรเยนะ สุเขนะ จะ อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา
    เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
    อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ฯ
    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม
    สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ
    สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม
    สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
    สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
    ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ
    เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
    ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสถี ภะวันตุ
    เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
    ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
    หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะ เตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ
    ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา ธัมมะ
    ระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง
    ธัมมะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา
    วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง
    วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา
    นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต
    ภะวัตตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ
    นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ
    สุขัง พะลัง ฯ
    ______________________
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เริ่มอังคุลิมาละปะริตตัง

    ปะริตตัง ยัมภะณันตัสสะ นิสินนัฏฐานะโธวะนัง
    อุทะกัมปิ วินาเสติ สัพพะเมวะ ปะริสสะยัง โสตถินา
    คัพภะวุฏฐานัง ยัญจะ สาเธติ ตัง ขะเณ เถรัสสังคุลิมา
    ลัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง
    ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
    ___________________

    อังคุลิมาละปะริตตัง

    ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชา
    นามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ
    โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ ยะโตหัง ภะคินิ
    อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง
    ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ
    คัพภัสสะ ฯ ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต
    นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ
    สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ
    _________________________

    เริ่มโพชฌังคะปะริตตัง

    สังสาเร สังสะรันตานัง สัพพะทุกขะวินสะเน
    สัตตะ ธัมเม จะ โพชฌังเค มาระเสนัปปะมัททิโน
    พุชฌิตวา เยปิเม สัตตา ติภะวามุตตะกุตตะมา อะชาติง
    อะชะราพยาธิง อะมะตัง นิพภะยัง คะตา เอวะมาทิคุณู
    เปตัง อะเนกะคุณะสังคะหัง โอสะถัญจะ อิมัง มันตัง
    โพชฌังคันตัมภะณามะ เห ฯ
    ___________________


    <O:p</O:pโพชฌังคะปะริตตัง

    โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิโพชฌังคา จะ ตะถาปะเร สะมาธุเปกขะ
    โพชฌังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
    ภาวิตา พะหุลีกะตา สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ
    จะ โพธิยา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ
    สัพพะทา ฯ เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ
    กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
    เต จะ ตัง อะภินันทิตวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ เอเตนะ
    สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ เอกะทา
    ธัมมะราชาปิ เคลัญเญ นาภิปีฬิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ
    ภะณาเปตวานะ สาทะรัง สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา
    วุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ
    สัพพะทา ฯ ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ
    มะเหสินัง มัคคาหะตะกิเลสา วะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ
    ___________________

    เริ่มอะภะยะปะริตตัง

    ปุญญะลาภัง มะหาเตชัง วัณณะกิตติมะหายะสัง
    สัพพะสัตตะหิตัง ชาตัง ตัง สุณันตุ อะเสสะโต
    อัตตัปปะระหิตัง ชาตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ
    ___________________

    <O:p></O:p>

    อะภะยะปะริตตัง

    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป
    สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง
    คะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห
    ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ
    สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ
    วินาสะเมนตุ ฯ
    ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
    โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
    เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
    สัพเพ เทวา นุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา ทานัง
    ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา ภาวะนาภิระตา
    โหนตุ คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ
    สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
    อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโสฯ
    ____________________

    เริ่มชะยะปะริตตัง

    ชะยัง เทวะมะนุสสานัง ชะโย โหตุ ปะราชิโต
    มาระเสนา อะภิกกันตา สะมันตาทวาทะสะโยชะนา
    ขันติเมตตา อะธิฏฐานา วิทธังเสตวานะ จักขุมา
    ภะวาภะเว สังสะรันโต ทิพพะจักขุง วิโสธะยิ ปะริยา
    ปันนาทิโสตถานัง หิตายะ จะ สุขายะ จะ พุทธะกิจจัง
    วิโสเธตวา ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
    ___________________

    ชะยะปะริตตัง

    มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
    ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัช
    เชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ ชะยันโต โพธิยา มูเล
    สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ
    ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิวโปกขะเร
    อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนัก
    ขัตตัง สุมังคะลัง ปุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุกขะโณ สุมุหุตโต
    จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจารีสุปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง
    ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทัก
    ขิณานิ กัตวานะละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
    โส อัตถะลัทโธ สุขิโต วิรุฬโห พุทธะสาสะเน อะโรโค
    สุขิโต โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ สา อัตถะลัทธา
    สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน อะโรคา สุขิตา โหหิ สะหะ
    สัพเพหิ ญาติภิ เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสา
    สะเน อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ ฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะ
    ธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ ภะวะตุ
    สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆา
    นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา ปะริต
    ตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ นักขัตตะยักขะ
    ภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา
    เตสัง อุปัททะเว ฯ นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะ
    นิวาระณา ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ

    จบสิบสองตำนานบริบูรณ์<O:p</O:p
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จากกระทู้ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    พระพิมพ์ชุดพิเศษ 1
    พระวังหน้า พระพุทธเจ้ากุกุธสันโธ และหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรอธิษฐานจิตครับ
    [​IMG]
    <O:p</O:p
    มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,500 บาท ,มีพระพิมพ์ 3 พิมพ์ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.พระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า จำนวน 8 องค์<O:p</O:p
    2.พระจิตรดา จำนวน 12 องค์<O:p</O:p
    3.พระพิมพ์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี จำนวน 4 องค์

    เมื่อโอนแล้วแจ้งยอดเงินและชื่อที่อยู่เพื่อจัดส่งไว้ในกระทู้ หรือส่งข้อความส่วนตัวมาที่ผม แล้วผมจะจัดส่งให้ครับ

    ขอขอบพระคุณและโมทนาสาธุกับทุกท่านที่เมตตาครับ<O:p</O:p

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    สำหรับพระชุดพิเศษ 1 ผมจะหยุดมอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ วันที่ 31 มีนาคม 2550 เวลา 18.00 น. ยกเว้นไว้แต่ท่านที่จองไว้เท่านั้นครับ

    ส่วนพระชุดพิเศษ 2 ,พระขรรค์และกฤช ผมยังมอบให้กับผู้ร่วมบุญอยู่ครับ

    วันที่ 1 มีนาคม 2550 ผมจะมีพระพิมพ์ชุดใหม่ ซึ่งเป็นพระพิมพ์ของวังหน้าที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรอธิษฐานจิตให้ หรือบางพิมพ์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านอธิษฐานจิตด้วย มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ครับ

    [​IMG]
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2007
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE style="WIDTH: 633pt; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=845 border=0 x:str><TBODY><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl46 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; WIDTH: 288pt; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3; mso-ignore: colspan" align=left width=385 colSpan=4 height=26>รายละเอียดและยอดคงเหลือ พระพิมพ์ชุดพิเศษ 1</TD><TD class=xl47 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; WIDTH: 106pt; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" width=141></TD><TD class=xl47 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; WIDTH: 89pt; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" width=119></TD><TD class=xl48 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; WIDTH: 75pt; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" width=100></TD><TD class=xl48 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; WIDTH: 75pt; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" width=100></TD></TR><TR style="HEIGHT: 6.75pt; mso-height-source: userset" height=9><TD class=xl46 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; HEIGHT: 6.75pt; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" height=9></TD><TD class=xl46 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl46 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl46 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl47 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl47 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl48 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl48 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #99ccff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl29 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" align=left height=26>No.</TD><TD class=xl49 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow" align=left>พระพิมพ์</TD><TD class=xl30 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffff99">จำนวน(องค์)</TD><TD class=xl50 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow">บูชา</TD><TD class=xl39 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99">บูชาแล้ว(องค์)</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc">คงเหลือ(องค์)</TD><TD class=xl60 style="BORDER-RIGHT: black 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" colSpan=2>ยังไม่หมด/หมดแล้ว</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl29 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" align=right height=26 x:num>1</TD><TD class=xl49 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow" align=left>สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า</TD><TD class=xl30 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" x:num>8</TD><TD class=xl51 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow" x:num="1500">1,500.00</TD><TD class=xl39 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>8</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(C4-E4)">0</TD><TD class=xl60 style="BORDER-RIGHT: black 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" colSpan=2>หมดแล้ว</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl29 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" align=right height=26 x:num>2</TD><TD class=xl49 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow" align=left>พระพิมพ์จิตลดา</TD><TD class=xl30 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" x:num>12</TD><TD class=xl51 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow" x:num="1500">1,500.00</TD><TD class=xl39 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>7</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(C5-E5)">5</TD><TD class=xl60 style="BORDER-RIGHT: black 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" colSpan=2>ยังไม่หมด</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl29 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" align=right height=26 x:num>3</TD><TD class=xl49 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow" align=left>พระพิมพ์สมเด็จโต</TD><TD class=xl30 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" x:num>4</TD><TD class=xl51 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow" x:num="1500">1,500.00</TD><TD class=xl39 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>2</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(C6-E6)">2</TD><TD class=xl60 style="BORDER-RIGHT: black 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" colSpan=2>ยังไม่หมด</TD></TR><TR style="HEIGHT: 11.25pt; mso-height-source: userset" height=15><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; HEIGHT: 11.25pt; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" height=15></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl24 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=4 height=26>รายละเอียดและยอดคงเหลือ พระพิมพ์ชุดพิเศษ 2</TD><TD class=xl24 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl24 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl25 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl25 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD></TR><TR style="HEIGHT: 6.75pt; mso-height-source: userset" height=9><TD class=xl24 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; HEIGHT: 6.75pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" height=9></TD><TD class=xl24 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl24 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl24 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl24 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl24 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl25 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl25 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffff; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl31 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" align=left height=26>No.</TD><TD class=xl56 style="BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3">พระพิมพ์</TD><TD class=xl57 style="BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl58 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua"></TD><TD class=xl32 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff">จำนวน(องค์)</TD><TD class=xl32 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff">บูชา</TD><TD class=xl40 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99">บูชาแล้ว(องค์)</TD><TD class=xl45 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc">คงเหลือ(องค์)</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl33 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" height=26 x:num>1.</TD><TD class=xl59 style="BORDER-RIGHT: black 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=3>สมเด็จวังหน้า เนื้อจูซาอั้ง(สีแดง) ปิดทองร่องชาด</TD><TD class=xl32 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num>20</TD><TD class=xl34 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num="1800">1,800.00</TD><TD class=xl41 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>9</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E11-G11)">11</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl33 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" height=26 x:num>2.</TD><TD class=xl59 style="BORDER-RIGHT: black 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=3>สมเด็จวังหน้า เนื้อสีขาว ปิดทองร่องชาด</TD><TD class=xl32 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num>20</TD><TD class=xl34 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num="1500">1,500.00</TD><TD class=xl41 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>7</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E12-G12)">13</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl33 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" height=26 x:num>3.</TD><TD class=xl59 style="BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=2>สมเด็จวังหน้า เนื้อปัญจศิริ</TD><TD class=xl58 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua"></TD><TD class=xl32 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num>30</TD><TD class=xl34 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num="1300">1,300.00</TD><TD class=xl41 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>4</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E13-G13)">26</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl33 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" height=26 x:num>4.</TD><TD class=xl59 style="BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=2>พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อขาว</TD><TD class=xl58 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua"></TD><TD class=xl32 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num>15</TD><TD class=xl34 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num="1200">1,200.00</TD><TD class=xl41 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>4</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E14-G14)">11</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl33 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" height=26 x:num>5.</TD><TD class=xl59 style="BORDER-RIGHT: black 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=3>พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อขาวแตกลายงา</TD><TD class=xl32 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num>10</TD><TD class=xl34 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num="1100">1,100.00</TD><TD class=xl41 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>1</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E15-G15)">9</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl33 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" height=26 x:num>6.</TD><TD class=xl59 style="BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=2 x:str="พระพิมพ์ปิดตาวังหน้า สองหน้า ">พระพิมพ์ปิดตาวังหน้า สองหน้า </TD><TD class=xl58 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: aqua"></TD><TD class=xl32 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num>30</TD><TD class=xl34 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffff" x:num="1000">1,000.00</TD><TD class=xl41 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>3</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E16-G16)">27</TD></TR><TR style="HEIGHT: 10.5pt; mso-height-source: userset" height=14><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; HEIGHT: 10.5pt; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" height=14></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl26 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=4 height=26>รายละเอียดและยอดคงเหลือ พระขรรค์และกฤช</TD><TD class=xl26 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl26 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl27 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl27 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD></TR><TR style="HEIGHT: 6.75pt; mso-height-source: userset" height=9><TD class=xl26 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; HEIGHT: 6.75pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" height=9></TD><TD class=xl26 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl26 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl26 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl26 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl26 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl27 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl27 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl35 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" align=left height=26>No.</TD><TD class=xl52 style="BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3">พระชรรค์และกฤช</TD><TD class=xl53 style="BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl54 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime"></TD><TD class=xl36 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc">จำนวน(องค์)</TD><TD class=xl36 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc">บูชา</TD><TD class=xl42 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99">บูชาแล้ว(องค์)</TD><TD class=xl45 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc">คงเหลือ(องค์)</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl37 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" height=26 x:num>1.</TD><TD class=xl55 style="BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" align=left>กฤช ท้าวเวสสุวรรณ</TD><TD class=xl53 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl54 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime"></TD><TD class=xl36 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num>1</TD><TD class=xl38 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num="3000">3,000.00</TD><TD class=xl43 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>1</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E21-G21)">0</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl37 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" height=26 x:num>2.</TD><TD class=xl55 style="BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" align=left>พระขรรค์ พญาครุฑ</TD><TD class=xl53 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl54 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime"></TD><TD class=xl36 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num>1</TD><TD class=xl38 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num="3000">3,000.00</TD><TD class=xl43 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99"></TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E22-G22)">1</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl37 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" height=26 x:num>3.</TD><TD class=xl55 style="BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=2>พระขรรค์ พระพรหม 4 หน้า</TD><TD class=xl54 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime"></TD><TD class=xl36 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num>2</TD><TD class=xl38 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num="2500">2,500.00</TD><TD class=xl43 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>2</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E23-G23)">0</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl37 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" height=26 x:num>4.</TD><TD class=xl55 style="BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3; mso-ignore: colspan" align=left colSpan=2>กฤช พระพรหม 4 หน้า</TD><TD class=xl54 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime"></TD><TD class=xl36 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num>2</TD><TD class=xl38 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num="2500">2,500.00</TD><TD class=xl43 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>1</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E24-G24)">1</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl37 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" height=26 x:num>5.</TD><TD class=xl55 style="BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" align=left>พระขรรค์ พระกริ่ง</TD><TD class=xl53 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl54 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime"></TD><TD class=xl36 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num>2</TD><TD class=xl38 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num="2000">2,000.00</TD><TD class=xl43 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>1</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E25-G25)">1</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl37 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" height=26 x:num>6.</TD><TD class=xl55 style="BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" align=left>กฤช พระกริ่ง</TD><TD class=xl53 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl54 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime"></TD><TD class=xl36 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num>2</TD><TD class=xl38 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num="2000">2,000.00</TD><TD class=xl43 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99"></TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E26-G26)">2</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl37 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" height=26 x:num>7.</TD><TD class=xl55 style="BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" align=left>พระขรรค์ พญานาค</TD><TD class=xl53 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl54 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime"></TD><TD class=xl36 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num>1</TD><TD class=xl38 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num="2000">2,000.00</TD><TD class=xl43 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>1</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E27-G27)">0</TD></TR><TR style="HEIGHT: 19.5pt; mso-height-source: userset" height=26><TD class=xl37 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 19.5pt; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" height=26 x:num>8.</TD><TD class=xl55 style="BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" align=left>กฤช พญานาค</TD><TD class=xl53 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl54 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: lime"></TD><TD class=xl36 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num>1</TD><TD class=xl38 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" x:num="2000">2,000.00</TD><TD class=xl43 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99" x:num>1</TD><TD class=xl44 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT-COLOR: windowtext; BORDER-TOP-COLOR: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc" x:num x:fmla="=SUM(E28-G28)">0</TD></TR><TR style="HEIGHT: 10.5pt; mso-height-source: userset" height=14><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; HEIGHT: 10.5pt; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3" height=14></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD><TD class=xl28 style="BORDER-LEFT-COLOR: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM-COLOR: #e0dfe3; BORDER-TOP-COLOR: #e0dfe3; BACKGROUND-COLOR: #993366; BORDER-RIGHT-COLOR: #e0dfe3"></TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...