พระพุทธศาสนา...พระโบราณ...พระในตำนาน...

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย บรรพชนทวา, 12 กันยายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระผู้เป็นดวงตาของโลก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฎขึ้นแห่งบุคคลผู้เป็นเอก เป็นความปรากฎแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริย ๖ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่างๆ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล บุคคลผู้เป็นเอกเป็นไฉนคือ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฎขึ้นแห่งบุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เป็นความปรากฎแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ เป็นการทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่างๆ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชา และวิมุติ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๐/๓๐)

    สิ่งที่เป็นไปไม่ได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ(คือสัมมาทิฏฐิ) จะพึงยึดถือสังขารใดๆโดยความเป็นสภาพเที่ยงนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารอะไรๆโดยสภาพเที่ยงนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือสัมมาทิฏฐิจะพึงยึดถือสังขารอะไรๆโดยความเป็นสุขนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารอะไรๆโดยความเป็นสุขนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ(คือสัมมาทิฏฐิ) จะพึงยึดถือธรรมอะไรๆโดยความเป็นตนนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือธรรมอะไรๆโดยความเป็นตนนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิคือสัมมาทิฏฐิ จะพึงฆ่ามารดาบิดานั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงฆ่ามารดาบิดานั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิคือสัมมาทิฏฐิ จะพึงฆ่าพระอรหันต์นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงฆ่าพระอรหันต์นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิคือสัมมาทิฏฐิ จะเป็นผู้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนซึ่งเป็นผู้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตห้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิคือสัมมาทิฏฐิ จะพึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปุถุชนจะพึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิคือสัมมาทิฏฐิ พึงถือศาสนาอื่นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือศาสนาอื่น เป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ จะพึงเสด็จขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุเดี่ยวกันนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นในโลกธาตุอันหนึ่งนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิของพระองค์ จะเสด็จขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุเดี่ยวกันนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์เดียว จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นในโลกธาตุอันหนึ่งนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สตรีจะพึงสำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุรุษจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุรุษจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สตรีจะพึงเป็นท้าวสักกะ จะพึงเป็นมาร จะพึงเป็นพรหมนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุรุษจะพึงเป็นท้าวสักกะ จะพึงเป็นมาร จะพึงเป็นพรหมนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจแห่งกายทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคลผู้กระทำกายทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจแห่งบุคคลผู้มีวจีทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจแห่งบุคคลผู้มีวจีทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  2. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    มิจฉาทิฏฐิบุคคลเพียงคนเดียวนำความฉิบหายมาสู่หมู่ชนเป็นอันมาก

    เอกปุคฺคโล ภิกฺขเว โลเก อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชชติ พหุชนาหิตาย พหุชนาสุขาย พหุโน ชนสฺส อนตฺถาย อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสาน° กตโม เอกปุคฺคโล มิจฺฉาทิฏฺฐิโก โหติ วิปริต ทสฺสโน โส พหุชน° สทฺธมฺมา วุฏฐาเปตฺวา อสทฺธมฺเม ปฏิฏฺฐา เปติ อย° โข ภิกฺขเว เอกปุคฺคโล โลเก อุปปชฺชมาโน อุปปชฺชติ พหุชนาหิตาย พหุชนาสุขาย พหุโน ชนสฺส อนตฺถาย อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสาน°ฯ(อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๒๐/๔๔)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเพียงคนเดียวเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความผาสุกแก่คนเป็นอันมาก เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทพยดา และมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลเพียงคนเดียวนั้นคือใคร คือบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต เขาทำให้คนอีกเป็นจำนวนมากออกไปจากสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเพียงคนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลกแล้ว ย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นความผาสุกแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทพยดา และมนุษย์ทั้งหลาย


    สัมมาทิฏฐิบุคคลเพียงคนเดียวนำความสุขมาให้ชนเป็นอันมาก

    เอกปุคฺคโล ภิกฺขเว โลเก อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชชติ พหุชนาหิตาย พหุชนาสุขาย พหุโน ชนสฺส อตฺฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสาน° กตโม เอกปุคฺคโล สมฺมาทิฏฺฺฐิโก โหติ อวิปรีต ทสฺสโน โส พหุชน° อสทฺฺธมฺมา วุฏฺฐาเปตฺวา สทฺธมฺเม ปฏิฏฺฺฐา เปติ อย° โข ภิกฺขเว เอกปุคฺคโล โลเก อุปปชฺชมาโน อุปปชฺชติ พหุชนาหิตาย พหุชนาสุขาย พหุโน ชนสฺส อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสาน°ฯ(อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๒๐/๔๔)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเพียงคนเดียวเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อหิตประโยชน์แก่เทพยดา และมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลเพียงคนเดียวนั้นคือใคร คือบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เพราะเขาทำให้คนอีกเป็นอันมากออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเพียงคนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลกแล้ว ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความผาสุกแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อหิตประโยชน์สุขแก่เทพยดา และมนุษย์ทั้งหลาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  3. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    สัตว์เกิดในทุคติมากกว่าสุคติ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดในปิติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในเทพยดามีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน ในปิติวิสัย มากกว่าโดยแท้

    สัตว์ที่จุติจากเทพยดากลับมาเกิดในเทพยดามีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากเทพยดาไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดในปิติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากเทพยดา กลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากเทพยดาไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน ในปิติวิสัย มากกว่าโดยแท้

    สัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดในปิติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากนรก ไปเกิดในเทพยดามีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน ในปิติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดรัจฉานกลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดรัจฉานไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดในปิติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดรัจฉานไปเกิดในเทพยดามีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดรัจฉานไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดในปิติวิสัย มากกว่าโดยแท้

    สัตว์ที่จุติจากปิติวิสัยกลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากปิติวิสัยไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดในปิติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากปิติวิสัยไปเกิดในเทพยดามีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากปิติวิสัยไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดในปิติวิสัย มากกว่าโดยแท้

    เปรียบเหมือนในสกลชมพูทวึปนี้มีส่วนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์ มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์เพียงเล็กน้อย แต่มีที่ดอนที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งตอ และหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมากโดยแท้


    ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่าง

    เทวเม ภิกขฺเว ธมฺมา ตปนียา กตเม เทฺว อิธ ภิกฺขเว เอกจฺจสฺส กายทุจฺจริต° กต° โหติ อกต° โหติ กายสุจริต° วจีทุจฺจริต° กต° โหติ อกต° โหติ วจีสุจริต° มโนทุจฺจริต° กต° โหติ อกต° โหติ มโนสุจริต° โส กายทุจฺจริต° เม กตนฺติ ตปฺปติ อกต° เม กายสุจริตนฺติ ตปฺปติ วจีทุจฺจริต° เม กตนฺติ ตปฺปติ อกต° เม วจีสุจริตนฺติ ตปฺปติ มโนทุจฺจริต° เม กตนฺติ ตปฺปติ อกต° เม มโนสุจริตนฺติ ตปฺปติ อิเม โข ภิกฺขเว เทฺว ธมฺมา ตปนียาฯ(อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๒๐/๖๓)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำแต่กายทุจริต ทำแต่วจีทุจริต ทำแต่มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต เขาย่อมเดือดร้อนอยู่มากว่า เรากระทำแต่กายทุจริต มิได้กระทำกายสุจริต กระทำแต่วจีทุจริต มิได้กระทำวจีสุจริต กระทำแต่มโนทุจริต มิได้กระทำมโนสุจริต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่างนี้แล


    ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่าง

    เทฺวเม ภิกขฺเว ธมฺมา อตปนียา กตเม เทฺว อิธ ภิกฺขเว เอกจฺจสฺส กายสุจริต° กต° โหติ อกต° โหติ กายทุจฺจริต° วจีสุจริต° กต° โหติ อกต° โหติ วจีทุจฺจริต° มโนสุจริต° กต° โหติ อกต° โหติ มโนทุจฺจริต° โส กายสุจริต° เม กตนฺติ น ตปฺปติ อกต° เม กายทุจฺจริตนฺติ น ตปฺปติ วจีสุจริต° เม กตนฺติ น ตปฺปติ อกต° เม วจีทุจฺจริตนฺติ น ตปฺปติ มโนสุจริต° เม กตนฺติ น ตปฺปติ อกต° เม มโนทุจฺจริตนฺติ น ตปฺปติ อิเม โข ภิกฺขเว เทฺว ธมฺมา อตปนียาฯ(อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๒๐/๖๐)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำแต่กายสุจริต มิได้กระทำกายทุจริต กระทำแต่วจีสุจริต มิได้กระทำวจีทุจริต กระทำแต่มโนสุจริต มิได้กระทำมโนทุจริต เขาย่อมไม่เดือดร้อนว่า เรากระทำแต่กายทุจริต มิได้กระทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต มิได้กระทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่างนี้แล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  4. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผล ๕ อย่าง

    ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลกระทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษเหล่านี้ย่อมได้แก่ผู้นั้นคือ

    ๑) อตฺตาปิ อตฺตาน° อุปวทติ แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
    ๒) อนุวิจฺจ วิญญู ครหนฺติ วิญญูชนทั้งหลายใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้
    ๓) ปาปโก กิตฺตสทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉติ กิตติศัพท์อันชั่วร้ายย่อมกระฉ่อนไป
    ๔) สมฺมุฬฺโห กาล° กโรติ เป็นคนหลงทำกาละกริยา
    ๕) กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา อปาย° ทุคฺคติ° วินิปาต° นิรย° อุปปชฺชติ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบายทุคติสุคติ วินิจบาตนรก(อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๒๐/๗๓)

    ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลกระทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้ ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว


    ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผล ๕ ประการ

    ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลกระทำซึ่งกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้ผู้กระทำนั้นย่อมได้คือ

    ๑) อตฺตาปิ อตฺตาน° อุปวทติ แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
    ๒) อนุวิจฺจ วิญญู ปส°สนฺติ ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
    ๓) กลฺยาโน กิตฺตสทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉติ กิตติศัพท์อันดีย่อมกระฉ่อนไป
    ๔) อสมฺมุฬฺโห กาล° กโรติ ไม่หลงทำกาละกริยา
    ๕) กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุคติ° สคฺค° โลก° อุปปชฺชติ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลกระทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้ผู้นั้นพึงหวังได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  5. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ธรรม ๒ อย่างเป็นไปเพื่อวิชชา

    เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา วิชฺชาภาคิยา กตเม เทฺว สมโถ จ วิปสฺสนา จฯ สมโถ ภิกฺขเว ภาวิโต กิมตฺถมนุโภติ จิตฺต° ภาวิยติ จิตฺฺต° ภาวิต° กิมตฺถมนุโภติ โย ราโค โส ปหียติฯ วิปสฺสนา ภิกฺขเว ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ ปญฺญา ภาวิยติ ปญฺญา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ ยา อวิชฺชา สา ปหียตีติฯ(อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๒๐/๗๗)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างย่อมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
    สมถะ(คือการทำจิตให้เป็นสาธิ เพื่อดับนิวรสทั้ง ๕ เพื่อฌาน อภิญญา) วิปัสสนา(คือการทำจิตให้เกิดปัญญาเห็นนามรูปตามความเป็นจริง คือไม่เกี่ยวเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพื่อมรรคผลนิพพาน)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้

    ราคุปกฺกิลิฏฺฐ° วา ภิกฺขเว จิตฺต° น วิมุจฺจติ อวิชฺชูปกฺกิลิฏฐา วา ปญฺญา น ภาวิยติ อิติ โข ภิกฺขเว ราควิราคา เจโตวิมุตฺติ อวิชฺชาวิราคา ปญฺญ วิมุตฺตีติฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุติ(คือความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ ได้แก่ผู้เจริญสมถะ) เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุติ(คือความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา ได้แก่ผู้เจริญวิปัสสนา)


    พละมี ๒ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละมี ๒ อย่าง ๒ (อังคุตตรนิกาย ทกนิบาต ๒๐/๖๖) อย่างนี้เป็นไฉน
    ๑. ปฏิสังขารพละ
    ๒. ภาวนาพละ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิสังขารพละเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ผลของกายทุจริตนั้นชั่วช้าทั้งในชาตินี้ และในภพเบื้องหน้า ผลของวจีทุจริตนั้นชั่วช้าทั้งในชาตินี้ และในภพเบื้องหน้า ผลของมโนทุจริตนั้นชั่วช้าทั้งในชาตินี้ และในภพเบื้องหน้า ครั้นเขาพิจารณาดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิสังขารพละ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ในพละ ๒ อย่างนั้นภาวนาพละนี้เป็นพละของพระเสขะ เมื่อบุคคลนั้นอาศัยพละที่เป็นของพระเสขะแล้วย่อมละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้โดยเด็ดขาด ครั้นละราคะ ละโทสะ ละโมหะแล้ว ย่อมไม่ทำกรรมที่เป็นอกุสล ย่อมไม่เสพกรรมที่เป็นบาป ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ภาวนาพละ


    มารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีพรหม สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์ สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดาบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะมารดาบิดามีอุปากะมาก บำรุงเลี้ยงแสดงโลกนี้แก่บุตร

    พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร.............ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร
    อาหุเนยฺยา จ ปุตตาน............ปชาย อนุกมฺปกาฯ
    ตสฺมา หิ เน นมสฺเสยฺย...........สกฺกเรยฺยาถ ปณฺฑิ โต
    อนฺเนน อถ ปาเนน.................วตฺเถน สยเนน จ
    อุจฺฉาทเนน นหาปเนน...........ปาทาน° โธวเนน จ
    ตาย ปริจภิยาย.......................มาตาปิตูสุ ปณฺฑิตา
    อิเธว น° ปสฺสนฺติ....................เปจฺจ สคฺเค ปโมทติฯ
    มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์บุตรท่านเรียกว่า พรหม ท่านเรียกว่า บุรพาจารย์ และเรียกว่า อาหุไนยบุคคล เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ และสักการะมารดาบิดาด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้าทั้ง ๒ เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดานั้นแล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้เอง เขาละไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  6. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    อธิปไตย ๓

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้ ๓ (อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๑๘๖) อย่างเป็นไฉน คือ

    ๑) อัตตาธิปไตย
    ๒) โลกาธิปไตย
    ๓) ธรรมาธิปไตย

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “อัตตาธิปไตย” เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนต้นไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมี และความไม่มีเช่นนั้น แต่เพราะเหตุว่าเราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โส กะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว เป็นผู้มีความทุกข์เหล่านี้ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์เหล่านี้ท่วมทับแล้ว ไฉนการกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฎ การที่เราจะแสวงหากามที่ละได้แล้วด้วยการออกบวชเป็นบรรพชิตนั้น เป็นความเลวทรามอย่างยิ่ง ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย เธอย่อมสำเหนียกว่าความเพียรที่เราปรารภแล้วจะไม่ย่อหย่อน สติที่เราตั้งมั่นแล้วจะไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจะไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจะมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำตนเองให้เป็นใหญ่แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า “อัตตาธิปไตย”

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “โลกาธิปไตย” เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนต้นไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมี และความไม่มีเช่นนั้น แต่ว่าเราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว ถูกทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนการกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฎ การที่เราออกบวชเป็นบรรพชิตเช่นนี้ พึงตรึกถึงกามวิตกก็ดี ตรึกถึงพยาบาทวิตกก็ดี ตรึกถึงวิหิงสาวิตกก็ดี ก็โลกสันนิวาสอันใหญ่โตนี้ย่อมมีสมณะพราหมณ์ที่มีฤทธิ์ มีทิพย์จักษุ รู้จิตของคนอื่นได้ สมณะพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมีดวงตาอันแลเห็นได้ไกล แม้ใกล้ๆเราก็มองไม่เห็น ท่านย่อมรู้ชัดซึ่งจิต ด้วยจิตสมณะพราหมณ์เหล่านั้นก็ย่อมจะรู้เราดังนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซิ เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ ถึงเทวดาผู้มีฤทธิ์ มีทิพย์จักขุ ที่รู้จิตของคนอื่นได้นั้นก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แต่ไกล ซึ่งถึงแม้เราจะอยู่ใกล้เราก็มองไม่เห็นท่าน ท่านย่อมรู้ชัดซึ่งจิตด้วยจิตเทวดาเหล่านั้นย่อมรู้เราว่าเป็นดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซิ เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ เธอย่อมสำเหนียกว่าความเพียรที่เราปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจะไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจะมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำโลกให้เป็นใหญ่แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า “โลกาธิปไตย”

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “ธรรมาธิปไตย” เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้อยู่นป่าก็ดี โคนไม้ก็ดี เรือนบ้านก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมี และความไม่มีเช่นนั้น แต่ว่าเราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนการกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฎ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน เพื่อพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แล และการที่เราออกบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จะเป็นผู้เกียจคร้านมัวเมาประมาทอย่างนี้ ย่อมไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย เธอย่อมสำเหนียกว่าความเพียรที่เราปรารภแล้วจะไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจะไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจะไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเรียกว่า “ธรรมาธิปไตย”

    นตฺถิ โลเก รโห นาม.............ปาปกมฺม° ปกุพฺพโต(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๑๘๙)
    อตฺตา เต ปุริส ชานาติ..........สจฺจ° วา ยทิ วา มุสา
    กลฺยาณ° วต โภ สกฺขิ............อตฺตาน° อติมญฺญสิ
    โย สนฺต° อตฺตนี ปาป°..........อถ น° ปริคูหสิ
    ปสฺสนฺติ เทวา จ ตถาคตา จ
    โลกสฺมิ พาล° วิสม° จรนฺต°
    ตสฺมา หิ อตฺตาธิปโก สโต จเร
    โลกาธิโป จ นิปโก จ ฌายี
    ธมฺมาธิโป จ อนุธมฺมจารี
    ขึ้นชื่อว่าความลับไม่มีในโลกสำหรับผู้ทำบาปกรรมอยู่ ดูก่อนบุรุษ จริงหรือเท็จตัวของท่านเองย่อมรู้ได้ และผู้เจริญท่านสามารถที่จะทำความดีได้ แต่ท่านดูหมิ่นตนเองเสียก่อน อนุ่ง ท่านได้ปิดความชั่วซึ่งมีอยู่ในตน ท่านนั้นเป็นคนพาล ประพฤติตึงๆหย่อนๆ อันเทวดา และพระตถาคตย่อมเห็นได้ เพราะฉะนั้นแหละคนที่มีตนเป็นใหญ่ ควรมีสติเที่ยวไป คนที่มีโลกเป็นใหญ่ ควรมีปัญญา และเพ่งพินิจ คนที่มีธรรมเป็นใหญ่ ควรประพฤติโดยสมควรแก่ธรรม มุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจัง ย่อมจะไม่เลวลง อนึ่ง บุคคลใดมีความเพียรข่มขี่มาร ครอบงำมัจจุผู้ทำที่สุดเสียได้ แล้วถูกต้องธรรมอันเป็นที่สิ้นชาติ บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นย่อมเป็นผู้รู้แจ้งโลก มีเมธาดี เป็นมุนีผู้หมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  7. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ความเมา ๓ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเมา ๓ ประการเป็นไฉน ความเมา ๓ ประการนี้ คือ

    ๑) โยพฺพนมโท ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว
    ๒) อาโรคฺยมโท ความเมาในความไม่มีโรค
    ๓) ชีวิตมโท ความเมาในชีวิต

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับซึ่งเมาด้วยความเมาในความเป็นหนุ่มสาว ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ ครั้นแล้วเมื่อกายแตกตายไป ย่อมเข้าสู่อบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับซึ่งความเมาในความไม่มีโรค ด้วยความเมาในชีวิตย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ ครั้นแล้วเมื่อกายแตกตายไป ย่อมเข้าสู่อบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    พยาธิธมฺม ชราธมฺมา............อโถ มรณธมฺมิโน(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๑๘๖)
    ยถา ธมฺมา ตถา สนฺตา..........ชิคุจฺฉนฺติ ปุถุชฺชนาฯ
    อหญฺเจต° ชิคุจฺเฉยฺย°............เอว° ธมฺเมสุ ปาณิสุ
    น เมต° ปฏิรูปสฺส...................มม เอว°วิหาริโนฯ
    โสห° เอว° วิหรนฺโต...............ญตฺวา ธมฺม° นิรูปธิ°
    อาโรเคฺยย โยพฺพนสฺมิ°.........ชีวิตสฺมิญฺจ โย มโท
    สพฺเพ มเท อภิโภสฺมิ.............เนกฺขมฺม° ทฏฺฐุ เขมโตฯ
    ตสฺส เม อหุ อุสฺสาโห............นิพฺฺพาน° อภิปสฺสโต
    นาหุ ภพฺโพ เอตรหิ................กามานิ ปฏิเสวิตุ°
    อนิวตฺติ ภวิสฺสามิ...................พฺรหฺมจริยปรายโนฯ
    ปุถุชนผู้มีความป่วยไข้ ความแก่ และความตายเป็นธรรมดา มีอยู่ตามธรรมดา แต่พากันรังเกียจการที่เราพึงรังเกียจ ความป่วยไข้ ความแก่ และความตาย ที่มีอยู่ในหมู่สัตว์ซึ่งมีธรรมดาอย่างนี้ ข้อนั้นไม่สมควรแก่เราผู้มีปกติอยู่เช่นนี้ เรานั้นเป็นอยู่เช่นนี้ เราจักยังธรรมที่หมดอุปธิ เห็นเนกขัมมะโดยความเป็นธรรมอันเกษม ย่อมครอบงำความเมาในความไม่มีโรค ในความเป็นหนุ่มสาว และในชีวิตเสียได้ทั้งหมด ความอุตสาหะได้เกิดแล้วแก่เราผู้เห็นนิพพานด้วยปัญญาอันยิ่ง บัดนี้ เราไม่ควรที่จะกลับไปเสพกาม เราจักเป็นผู้ไม่ถอยหลัง จักเป็นผู้มีพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  8. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ลักษณะของสังขตธรรม (สังขตธรรม คือ ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้นได้ หมายถึงเบญจขันธ์ อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๑๙๒)

    ตีณีมานิ ภิกฺขเว สงฺขตสฺส สงฺขตลกฺขณานิ กตมานิ ตีณิ อุปฺปาโท ปญฺญายติ วโย ปญฺญายติ ขีตสฺส อญฺญถตฺต ปญฺญายติ อิมานิ โข ภิกฺขเว ตีณิ สงฺขตสฺส อสงฺขตลกฺขณานิฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการนั้นเป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฎ ๑ ความเสื่อมปรากฎ ๑ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฎ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล


    ลักษณะของอสังขตธรรม

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลักษณะของสังขตธรรมมี ๓ ประการดังนี้ คือ
    ๑) น อุปฺปาโท ปญฺญายติ ไม่ปรากฎความเกิดขึ้น
    ๒) น วโย ปญฺญายติ ไม่ปรากฎความเสื่อมไป
    ๓) น ขีตสฺส อญฺฺญถตฺต° ปญฺญายติ เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่ปรากฎความแปรปรวน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  9. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    คนชราควรทำบุญ

    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคทรงประทับอยู่ที่เชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นมีพราหมณ์ ๒ คน เป็นคนชราอายุ ๑๒๐ ปี ชวนกันไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วกล่าวสารภาพว่า ผู้ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชราแก่เฒ่า ล่วงการผ่านวัยมาโดยลำดับ มีอายุได้ ๑๒๐ ปี แต่มิได้สร้างความดี มิได้ทำกรรมอันเป็นที่ต้านทานความขลาดไว้ ขอพระโคดมผู้เจริญ ทรงโอวาทสั่งสอนพวกข้าพระองค์ถึงข้อที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่พวกข้พระองค์สิ้นกาลนานเถิด

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ โลกนี้ถูกชรา พยาธิ มรณะ นำเข้าไปอยู่แล เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ มรณะ นำเข้าไปอยู่เช่นนี้ ความสำรวมทางกาย ความสำรวมทางวาจา ความสำรวมทางใจในโลกนี้ย่อมเป็นที่ต้านทานเป็นที่หลีกเร้น เป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดหน่วงของเขาผู้ละโลกนี้ไปแล้ว

    อุปนียติ...............................ชีวิตมปฺปมายุ°(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๑๙๘)
    ชรูปนีตสฺส...........................น สนฺติ ตาณา
    เอต° ภย°............................มรเณ เปกฺขมาโน
    ปุญฺญานิ..............................กยิราถ สุขาวหานิฯ
    โยธ กาเยน สญฺญโม สาจาย อุท เจตสา
    ต° ตสฺส เปตสฺส สุขาย โหติ
    ย° ชีวมาโน ปกโรติ ปุญฺญ°ฯ
    ชีวิตถูกชรานำเข้าไปใกล้ต่อความมีอายุสั้น ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปใกล้แล้วย่อมไม่มีที่ต้านทาน ฉะนั้น เมื่อบุคคลเล็งเห็นภัยในความตายนี้ จึงควรทำบุญทั้งหลายอันนำความสุขมาให้ ความสำรวมทางกาย ทางวาจา ทางใจในโลกนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสุขแก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว และผู้ที่สร้างสมบุญไว้แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่


    ทานที่บริจาคออกไปเหมือนของที่พ้นแล้วจากไฟไหม้

    อาทิตฺตสฺมิ° อคารสฺมิ°..........ย° นีหรติ ภาชน°(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๑๙๙)
    ต° ตสฺส โหติ อตฺถาย...........โน จ ย° ตตฺถ ฑยฺหติ
    เอว° อาทิตฺตเก โลเก...........ชราย มรเณน จ
    นีหเรเถว ทาเนน...................ทินฺน° โหติ สุนีหต°ฯ
    โยธ กาเยน สญฺญโม............วาจาย อุท เจตสา
    ต° ตสฺส เปตสฺส สุขาย โหติ
    ย° ชีวมาโน ปกโรติ ปุญฺญ°
    เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ สิ่งของที่นำออกไปได้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เขา ส่วนสิ่งของที่ถูกไฟไหม้อยู่ในเรือนนั้น หาเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เขาไม่ฉันใด เมื่อโลกถูกชรา และมรณะแผดเผาแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลจึงควรนำเอาออกมาด้วยการให้ทาน เพราะสิ่งที่ให้ไปแล้วย่อมเป็นอันบุคคลนำออกมาดีแล้ว ความสำรวมทางกาย ความสำรวมทางวาจา ความสำรวมทางใจในโลกนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสุขแก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว และผู้ซึ่งได้สร้างสมบุญไว้แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  10. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ปาฏิหารย์ ๓ อย่าง

    พระผู้มีพระภาคตรัสแก่สังคารวะพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ปาฏิหาริย์มี ๓ อย่าง(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๒๑๗) ๓ อย่างนี้เป็นไฉน คือ
    ๑) อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
    ๒) อาเทศนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์
    ๓) อนุศาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์

    ดูก่อนพราหมณ์ “อิทธิปาฏิหาริย์” เป็นไฉน ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวแปลงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแปลงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฎก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่ให้แตกเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ รูปคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูก่อนพราหมณ์ นี้แลเรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์

    ดูก่อนพราหมณ์ “อาเทศนาปาฏิหาริย์” เป็นอย่างไร ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พูดดักใจได้ โดยนิมิตว่าใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิตของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ว่า ถึงหากเธอจะพูดดักใจกับคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไม่ ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ก็แต่ว่าพอได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้วย่อมพูดดักใจได้ว่าใจของท่านเป็นอย่างนี้ ถึงหากเธอจะดักใจกับคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไม่ ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้เลย แต่พอได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ย่อมพูดดักใจได้ว่าใจของท่านเป็นอย่างนี้ ถึงหากเธอจะพูดดักใจกับคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่

    ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ ถึงได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ ก็แต่ว่าได้กำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้าสมาธิอันไม่มีวิตกวิจาร ด้วยใจของตนว่าท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วย ประการใด จักตรึกวิตก ชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการฉะนี้ ถึงหากเธอจะพูดดักใจจากคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไม่ ดูก่อนพราหมณ์ นี้เรียกว่า อาเทศนาปาฏิหาริย์

    ดูก่อนพราหมณ์ “อนุศาสนีปาฏิหาริย์” เป็นไฉน ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น จงมนสิการอย่างนั้น อย่าได้มนสิการอย่างนั้น จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนั้นอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ นี้เรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  11. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหอมทวนลม

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระอานนท์ว่า

    น ปุปฺผคนฺโธ ปฏิวาตเมติ°(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๒๙๑)
    น จนฺทน ตครมลฺลิกา วา
    สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ
    สพฺพา ทิสา สปฺปริโส ปวายติฯ
    กลิ่นดอกไม้หอมฟุ้งทวนลมไม่ได้ กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา หรือกลิ่นกะลัมพักก็หอมฟุ้งทวนลมไปไม่ได้ ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษย่อมหอมฟุ้งทวนลมไปได้ เพราะสัตบุรุษย่อมฟุ้งไปทุกทิศ


    ผู้ประกอบอธิจิตพึงกำหนดนิมิตในใจ ๓ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงกำหนดนิมิตไว้ในใจ ๓ (อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๓๒๙) อย่างตลอดกาลตามกาล คือ
    ๑) พึงกำหนดสมาธินิมิตไว้ในใจ
    ๒) พึงกำหนดปัคคาหะนิมิตไว้ในใจ
    ๓) พึงกำหนดอุเบกขานิมิตไว้ในใจ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงกำหนดเฉพาะแต่สมาธินิมิตไว้ในใจโดยส่วนเดียวเท่านั้น ย่อมเป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงกำหนดเฉพาะแต่ปัคคาหะนิมิตไว้ในใจโดยส่วนเดียวเท่านั้น ย่อมเป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงกำหนดเฉพาะแต่อุเบกขานิมิตไว้ในใจโดยส่วนเดียว ย่อมเป็นเหตุให้จิตเป็นไม่ตั้งมั่นเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะโดยชอบ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุผู้ประกอบอธิจิตกำหนดไว้ซึ่งสมาธินิมิต ปัคคาหะนิมิต อุเบกขานิมิตตลอดกาลตามกาล เมื่อนั้นจิตนั้นย่อมอ่อนควรแก่งาน ผุดผ่อง ไม่เสียหาย แน่วแน่เป็นอย่างดี เพื่อความสิ้นอาสวะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  12. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    โลกมีทั้งคุณมีทั้งโทษ

    โน เจต° ภิกฺขเว โลเก อสฺสาโท อภวิสฺส นยิท° สตฺตา โลเก สารชฺเชยฺยุ° ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว อตฺถิ โลเก อสฺสาโท ตสฺมา สตฺตา โลเก สารชฺชนฺติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณในโลกนี้จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงกำหนัดในโลก แต่เพราะคุณในโลกนี้มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดอยู่ในโลก

    โน เจต° ภิกฺขเว โลเก อาทีนโว อภวิสฺส นยิท° สตฺตา โลเก นิพฺพินฺเทยฺยุ° ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว อตฺถิ โลเก อาทีนโว ตสฺมา สตฺตา โลเก นิพฺพินฺทนฺติฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าโทษในโลกนี้ไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในโลก แต่เพราะโทษของโลกมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงพึงเบื่อหน่ายในโลก


    ทางที่พ้นไปจากโลกมีอยู่

    โน เจต° ภิกฺขเว โลเก นิสฺสรณ° อภวิสฺส นยิท° สตฺตา โลกมฺหา นิสฺสเรยฺยุ° ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว อตฺถิ โลเก นิสฺสรณ° ตสฺมา สตฺตา โลกมฺหา นิสฺสรนฺติฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบายเพื่อออกไปในโลกนี้ จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมไม่ออกไปจากโลกได้ แต่เพราะอุบายอันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนั้นมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออกไปจากโลกได้


    ผู้ใดไม่รู้โลกทั้ง ๓ นี้แล้วจักพ้นจากโลกไปไม่ได้

    ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว สตฺตา โลกสฺส อสฺสาทญฺจ อสฺสาทโต อาทีนวญฺจ อาทีนวโต นิสฺฺสรณญฺจ นิสฺสรณโต ยถาภูต° นาพฺภญฺญาสุ° เนวดาว ภิกฺขเว สตฺตา สเทวกา โลกา สมารกา สพฺรหฺมกา สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย นิสฺสฏา วิส°ยุตฺตา วิปฺปมุตฺตา วิมริยาทิ°กเตน เจตสา วิหริ°สุฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ซึ่งคุณของโลก โดยความเป็นคุณซึ่งโทษของโลกโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเครื่องออกไปจากโลกตามความเป็นจริงเพียงใด สัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป พ้นไปจากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ มีใจปราศจากเขตแดนอยู่ไม่ได้เพียงนั้น


    เมื่อรู้โลกทั้ง ๓ อย่างนี้จึงพ้นจากโลกได้

    ยโต จ โข ภิกฺขเว สตฺตา โลกสฺส อสฺสาทญฺจ อสฺสาทโต อาทีนวญฺจ อาทีนวโต นิสฺฺสรณญฺจ นิสฺสรณโต ยถาภูต° อพญญาสุ° อถภิกฺขเว สตฺตา สเทวกา โลกา สมารกา สพฺรหฺมกา สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย นิสฺสฏา วิส°ยุตฺตา วิปฺปมุตฺตา วิมริยาทิ°กเตน เจตสา วิหรนฺติฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดสัตว์ทั้งหลายรู้ซึ่งคุณของโลก โดยความเป็นคุณซึ่งโทษของโลกโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายอันเป็นเครื่องออกไปจากโลกตามความเป็นจริงเมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมออกไป หลุดไป พ้นไปจากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ มีใจปราศจากเขตแดน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  13. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    การร้องไห้ความเป็นบ้าความเป็นเด็ก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การขับร้องคือ การร้องไห้ในวินัยของพระอริยเจ้า การฟ้อนรำ คือความเป็นบ้าในวินัยของพระอริยเจ้า การหัวเราะจนเห็นฟันพร่ำเพรื่อ คือความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยเจ้า เพราะเหตุนั้นแหละเธอทั้งหลายจงละเสียโดยเด็ดขาดในการขับร้อง ฟ้อนรำ เมื่อท่านทั้งหลายเบิกบานในธรรมก็ควรเพียงแต่ยิ้มแย้ม(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๓๓๕)

    สิ่งที่ไม่รู้จักอิ่ม ๓ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ อย่างนี้ไม่มี ๓ (อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๕๕๑)อย่างเป็นไฉน คือ

    ๑) การเสพความหลับ ย่อมไม่มีวันอิ่ม
    ๒) การดื่มสุราเมรัย ย่อมไม่มีวันอิ่ม
    ๓) การเสพเมถุนธรรม ย่อมไม่มีวันอิ่ม


    เหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๓๓๕,๕๕๑) ๓ อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่างนั้นเป็นไฉน คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความโลภ เกิดจากความโลภ มีความโลภเป็นเหตุ มีความโลภเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมใดที่บุคคลใดทำด้วยความโกรธ เกิดจากความโกรธ มีความโกรธเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความหลง เกิดจากความหลง มีความหลงเป็นเหตุ มีความหลงเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่างนั้นเป็นไฉน คือ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑ อโมหะ ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความไม่โลภ ด้วยความไม่โกรธ ด้วยความไม่หลง กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีสุขเป็นผลกำไร กรรมนั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม ไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม


    บุคคล ๓ จำพวกที่จะต้องไปนรก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้เมื่อไม่ละกรรม ๓ อย่างนี้จักต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปนรก บุคคล ๓ จำพวกนั้นเป็นไฉน คือ

    ๑) ผู้ที่ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารี
    ๒) คนที่ตามกำจัดท่านที่มีพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ประพฤติพรหมจรรย์หมดด้วยกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันไม่มีมูล
    ๓) คนที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มี ถึงความเป็นผู้ตกไปในกามทั้งหลาย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล เมื่อไม่ละบาปกรรม ๓ อย่างนี้จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  14. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ความสะอาด ๓ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ อย่างนี้(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๔๓๙) อย่างนั้นเป็นไฉน คือ
    ๑) กายโสเจยฺย° ความสะอาดกาย
    ๒) วจีโสเจยฺย° ความสะอาดวาจา
    ๓) มโนโสเจยฺย° ความสะอาดใจ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะอาดกายนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กายสะอาด

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วจีสะอาดเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า วาจาสะอาด

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะอาดใจนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มากด้วยความอยากได้ มีจิตไม่ผูกพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ


    วิตกที่เป็นบาปเหมือนแมงวัน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมักใหญ่ใฝ่สูงคือ อภิฌา กลิ่นดิบคือ พยาบาท แมลงวันคือ วิตกที่เป็นบาปเป็นอกุศล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า แมลงวันจักไม่ไต่ตอม จักไม่กัดคนที่ทำให้มักใหญ่ใฝ่สูงชุ่ม เพราะกลิ่นดิบนั้นแลไม่เป็นฐานะที่จะหนีได้

    อคุตฺต° จกฺขุโสตสฺมิ°...............อินฺทฺริเยสุอส° วุต°(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๓๖๑)
    มกฺฺขิกานุปติสฺสนฺติ...................สงฺกปฺปา ราคนิสฺสิตาฯ
    กฏฺวิยโต ภิกฺขุ..........................อามคนฺเธ อวสฺสุโต
    อารกา โหติ นิพฺพานา..............วิฆาตสุเสว ภาควาฯ
    คาเม วา ยทิ วา รญฺเญ............อลทฺธา สมมตฺตโน
    จเร พาโล ทุมฺเมโธ..................มกฺขิกาหิปุรกฺขโตฯ
    เย จ สีเลน สมฺปนฺนา...............ปญฺญายูปสเม รตา
    อุปสนฺตา สุข° เสนฺติ................นาสยิตฺวาน มกฺขิกา
    แมลงวันคือ ความดำริที่อิงราคะย่อมไม่ตอมบุคคลผู้ไม่คุ้มครองในจักษุ และโสตะ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำตนให้เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูงชุ่มเพราะกลิ่นดิบ ย่อมอยู่ห่างไกลจากนิพพานโดยแท้ เป็นผู้มีส่วนแห่งความคับแค้นถ่ายเดียว คนพาลสันดานเขลา ถูกแมลงวันทั้งหลายไต่ตอม ย่อมไม่ได้เพื่อนที่เสมอด้วยตน พึงเที่ยวไปในบ้านบ้าง ในป่าบ้าง ส่วนชนผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในธรรมอันเป็นที่เข้าไปสงบด้วยปัญญา เป็นผู้สงบระงับอยู่เป็นสุข แมลงวันย่อมไม่อาศัยเขา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  15. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ อย่างย่อมตกนรก

    พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระอนุรุทธะว่า ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ อย่าง เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ธรรม ๓ อย่างนั้นเป็นไฉน คือ
    ๑) มาตุคามในโลกนี้ เวลาเช้าถูกมลทินคือ ความตะหนี่กลุ้มรุมจิตใจอยู่ครองเรือน
    ๒) เวลาเที่ยง มีความริษยากลุ้มรุมจิตใจอยู่ครองเรือน
    ๓) เวลาเย็น มีกามราคะกลุ้มรุมจิตใจอยู่ครองเรือน

    ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ อย่างนี้แลเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก


    สิ่งที่ปิดบังไว้จึงเจริญ ๓ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ (อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๓๖๔)อย่างนี้ปิดบังไว้จึงจะเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๓ อย่างนั้นเป็นไฉน คือ

    ๑) มาตุคามปิดบังเอาไว้จึงจะงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม
    ๒) มนต์ของพราหมณ์ ปิดบังเข้าไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง
    ๓) มิจฉาทิฏฐิ ปิดบังเข้าไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้ง ๓ อย่างนี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้ง ๓ อย่างนี้เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง ๓ อย่างนั้นเป็นไฉน คือ

    ๑) ดวงจันทร์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
    ๒) ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
    ๓) ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ดีแล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง


    ประพฤติดีเวลาใดเวลานั้นชื่อว่าฤกษ์ดี

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น

    สุเนกฺขตตฺ° สุมง°คล°.............สุปภาต° สุหุฏฺฐิต°
    สุขโณ สุมุหุตฺโต จ.................สุยิฏฺฐ° พฺรหฺมจาริสุ
    ปทกฺขิณ° กายกมฺม°...............วาจากมฺม° ปทกฺขิณ°
    ปทกฺขิณ° มโนกมฺม°...............ปณิธิ เต ปทกฺขิณา
    ปทกฺขิณานิ กตฺวาน................ลภนฺตตฺเถ ปทกฺขิเณฯ
    เต อตฺถลทฺธา สุขิตา..............วิรูฬฺหา พุทฺธสาสเน
    อโรคา สุขิตา โหถ.................สห สพฺเพหิ ญาติภิฯ(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๓๗๙)
    สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดี ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย กายกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวา วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา มโนกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวา ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวา ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับความสุข จงได้รับความงอกงามในพระพุทธศาสนา จงไม่มีโรคถึงความสุขพร้อมด้วยญาติทั้งมวล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  16. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้เป็นพาล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นคนพาล ไม่เฉียบแหลม ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนที่ปราศจากคุณสมบัติ เป็นผู้ประกอบไปด้วยโทษ นักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมอันมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน คือ
    ๑) อนนุวิจฺจ อปริโยคาเหตฺวา อวณฺณารหสฺส วณฺณ° ภาสติ ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว กล่าวสรรเสริญคุณของผู้ที่ไม่ควรสรรเสริญ
    ๒) อนนุวิจฺจ อปริโยคาเหตฺวา วณฺณารหสฺส อวณฺณ° ภาสติ ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว กล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ
    ๓) อนนุวิจฺจ อปริโยคาเหตฺวา อปฺปสาทนีเย ฐาเน ปสาท° อุปท°เสติ ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
    ๔) อนนุวิจฺจ อปริโยคาเหตฺวา ปสาทนีเย ฐาเน อปฺปสาท° อุปท°เสติ ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ควรเลื่อมใส

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล ไม่เฉียบแหลม ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนปราศจากคุณสมบัติ ย่อมเป็นผู้ประกอบไปด้วยโทษ นักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบต่อกรรมอันมิใช่บุญเป็นอันมาก


    ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้เป็นบัณฑิต

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนให้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ เป็นผู้หาโทษมิได้ นักปราชญ์ไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน คือ
    ๑) อนุวิจฺจ ปริโยคาเหตฺวา อวณฺณารหสฺส อวณฺณ° ภาสติ ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว จึงกล่าวติเตียนผู้ที่ควรติเตียน
    ๒) อนุวิจฺจ ปริโยคาเหตฺวา วณฺณารหสฺส วณฺณ° ภาสติ ใคร่ครวญสืบสวนรอบคอบแล้ว จึงกล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ
    ๓) อนุวิจฺจ ปริโยคาเหตฺวา อปฺปสาทนีเย ฐาเน อปฺปสาท อุปท°เสติ ใคร่ครวญสืบสวนรอบคอบแล้ว ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
    ๔) อนุวิจฺจ ปริโยคาเหตฺวา ปสาทนีเย ฐาเน ปสาท° อุปท°เสติ ใคร่ครวญสืบสวนรอบคอบแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ควรเลื่อมใส

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนให้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ เป็นผู้หาโทษมิได้ ทั้งนักปราชญ์ทั้งหลายไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก

    โย นินฺทิย° ปสฺสต°.................ต° วา นินฺทติ โย ปสฺสิโย
    วิจินาติ มุเขน โส กลิ.............กลินา เตน สุข° น วินฺทติฯ
    อปฺปมตฺโต อยฺ กลิ.................โย อกฺเขสุ ธนปราชโย
    สพฺพสฺสาปิ สหาปิ อตฺตนา.....อยเมว มหตฺตโร กลิ
    โย สุคเตสุ มนฺ ปโทสเย.........สต° สหสฺสาน° นิรพฺพุทานฺ
    ฉตฺติ°สติ ปญฺฺจจ อพฺพุทานิ....ยมรีย° ครหิย° นิรย° อุเปติ
    วาจ° มนญฺจ ปณธาย ปาปกนฺฯ (อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๔)
    ผู้ใดย่อมสรรเสริญผู้ที่ควรนินทา หรือย่อมนินทาผู้ที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าค้นหาโทษด้วยปาก ย่อมไม่ได้ประสบสุขเพราะโทษนั้น ความพ่ายแพ้ การพนันด้วยทรัพย์ทั้งหมดพร้อมด้วยตน ยังมีโทษน้อย แต่การยังจิตให้ประทุษร้ายในท่านผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้แหละ เป็นโทษใหญ่กว่า(โทษการพนัน) ผู้ที่ตั้งวาจา และใจอันเป็นบาปไว้ ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก สิ้นแสน ๓๖ นิรัพพุทธะ และ ๕ อัพพุทธะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  17. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ผู้ปฏิบัติผิดย่อมประสบบาป ผู้ปฏิบัติถูกย่อมประสบบุญ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔ จำพวกเป็นคนพาล ไม่ฉลาด ไม่ใช่สัตบุรุษ บริหารตนให้ปราศจากคุณสมบัติ เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ ทั้งนักปราชญ์ทั้งหลายติเตียน และย่อมประสบกรรมอันมิใช่บุญเป็นอันมาก บุคคลทั้ง ๔ จำพวกนั้นเป็นใครบ้าง คือ มารดา ๑ บิดา ๑ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔ จำพวกนี้แลเป็นคนพาล ไม่ฉลาด ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ปราศจากคุณสมบัติ เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ นักปราชญ์ทั้งหลายติเตียน และย่อมประสบกรรมอันมิใช่บุญเป็นอันมาก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔ จำพวกเป็นบัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้เสื่อมเสีย เป็นผู้ไม่มีโทษ ทั้งนักปราชญ์ก็สรรเสริญ และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก บุคคล ๔ จำพวกนั้นเป็นใครบ้าง คือ มารดา ๑ บิดา ๑ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติชอบ และบุคคล ๔ จำพวกนี้แลเป็นบัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ บริหารตนให้ปราศจากคุณสมบัติ ย่อมบริหารตนไม่ให้เสื่อมเสีย เป็นผู้ไม่มีโทษ ทั้งนักปราชญ์ก็สรรเสริญ และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก

    มาตริปีตรี จาปิ.......................โย มิจฺฉาปฏิปชฺชติ
    ตถาคเตจ สมฺพุทฺเธ................อถวา ตสฺส สาวเก
    พหุญฺ จ โส ปสวติ..................อปุญฺญ° ตาทิโส นโรฯ
    ตาย อธมฺมจริยาย..................มาตาปิตูสุ ปณฺฑิตา
    อิเธว นฺ ครหนฺติ......................เปจฺจาปายญฺจ คจฺฉติฯ
    มาตริ ปีตริ จาปี......................โย สมฺมาปฏิปชฺชติ
    ตถาคเต จ สมฺพุทฺเธ...............อถวา ตสฺส สาวเก
    พหุญฺจ โส ปสวติ....................ปุญฺญ°ปิ ตาทิโส นโรฯ
    ตาย ธมฺมจริยาย.....................มาตาปีตูสุ ปณฺฑิตา
    อิเธว น° ปส°สนฺติ...................เปจฺจ สคฺเค ปโมทตีฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๕)
    นรชนใดปฏิบัติในมารดาบิดา และพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระตถาคต นรชนเช่นนั้นย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนนรชนนั้นในโลกนี้ทีเดียว เพราะเหตุที่ไม่ประพฤติธรรมในมารดา บิดา และเขาละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่อบาย ส่วนนรชนใดปฏิบัติชอบในมารดาบิดา ในพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระตถาคต นรชนเช่นนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้ทีเดียว เพราะเหตุที่เขาประพฤติธรรมในมารดา บิดา เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  18. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    บุคคล ๔ จำพวกที่ปรากฎอยู่ในโลก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฎอยู่ในโลก ๔ จำพวกนั้นเป็นไฉน คือ
    ๑) อนุโสตคามี ปุคฺคโล บุคคลผู้ไปตามกระแส
    ๒) ปฏิโสตคามี ปุคฺคโล บุคคลผู้ไปทวนกระแส
    ๓) ฐิตตฺโต ปุคฺคโล บุคคลผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว
    ๔) ติณโร ปารคโต ถเล ติฏฐติ พราหมโณ บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๖)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไปตามกระแสนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเสพกามทั้งหลาย และย่อมกระทำกรรมอันเป็นบาป นี้เราเรียกว่า บุคคลผู้ไปตามกระแส

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไปทวนกระแสนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่เสพกาม และย่อมไม่กระทำกรรมอันเป็นบาป แม้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ เพราะประกอบด้วยทุกข์บ้าง เพราะประกอบด้วยโทมนัสบ้าง ก็ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ นี้เราเรียกว่า บุคคลผู้ไปทวนกระแส

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีตนตั้งอยู่แล้วเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นโอปปาติกะ(สัตว์ที่ถือการเกิดแบบผุดขึ้นเป็นตัวเป็นตน เลยหมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในพุทธวาส)กำเนิดแล้ว ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป นี้เราเรียกว่า บุคคลผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่นี้ เราเรียกว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฎอยู่ในโลก

    เยเกจิ กาเมสุ อสญฺญาตา ชนา
    อวีตราคา อิธ กามโภคิโน
    ปุนปฺปุน° ชาติชรูปคา หิ เต
    ตณฺหาธิปนฺนา อนุโสตคามิโนฯ
    ตสฺมา หิ ธีโร อิธุปฏฺฐิตาสติ
    กาเม จ ปาเป จ อเสวมาโน
    สหาปิ ทุกฺเขน ชเหยฺย กาเม
    ปฏิโสตคามีติ ตมาหุ ปุคฺคล°ฯ
    โย เว กิเลสานิ ปหาย ปญฺจ
    ปริปุณฺณเสโข อปริหานธมฺโม
    เจโตวสิปฺปตฺโต สมาหิตินฺทฺริโย
    ส เว ฐิตตฺโตติ นโร ปวุจฺจติฯ
    ปโรปรา ยสฺส สเมจฺจ ธมฺมา
    วิธูปิตา อตฺถคตา น สนฺติ
    ส เวทคู วุสิตพฺรหฺมจริโย
    โลกนฺตคู ปารคโตติ วุจฺจติฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๒๑๗)
    ชนเหล่าใดในโลกนี้ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยังไม่ปราศจากราคะมีปกติบริโภคกาม ชนเหล่านั้นแลถูกตัณหาครอบงำแล้ว เข้าถึงชาติ และชราบ่อยๆ ชื่อว่าไปตามกระแส เพราะฉะนั้นธีรชนในโลกนี้เป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้วไม่เสพกาม และไม่ทำกรรมอันเป็นบาป แม้ประกอบด้วยทุกข์ก็ละกามได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่าไปทวนกระแส นรชนใดแลละกิเลส ๕ ประการเสียได้ เป็นผู้มีการศึกษาบริบูรณ์ มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดาถึงความเป็นผู้ชำนาญในกิจ มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว นรชนนั้นแล นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า ผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล และอกุศลอันบุคคลใดกำจัดหมดแล้ว ถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีอยู่ บุคคลนั้นเป็นผู้จบเวทย์อยู่จบพรหมจรรย์แล้วถึงที่สุดแห่งโลก นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่าผู้ถึงฝั่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  19. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    บุคคลผู้ยังหมู่ให้งาม ๔ จำพวก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลเป็นผู้ฉียบแหลม ได้รับแนะนำดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหูสูตร เป็นผู้ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมยังหมู่ให้งาม ชน ๔ จำพวกนั้นเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๑ ภิกษุณี ๑ อุบาสก ๑ อุบาสิกา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับแนะนำดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหูสูตร เป็นผู้ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมยังหมู่ให้งาม

    โย โหติ พฺยตฺโต จ วิสารโท จ
    พหุสฺสุโต ธมฺมธโร จ โหติ
    ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
    ส ตาหิโส วุจฺจติ สงฺฆโสภโนฯ
    ภิกฺขุ จ สีลสมฺปนฺโน..............ภิกฺขุนี จ พหุสฺสุตา
    อุปาสโก จ โย สทฺโธ............ยา จ สทฺธา อุปาสิกา
    เอเต โข สงฺฆ° โสเภนฺติ........เอเต หิ สงฺฆโสภนาฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๑๓-๒๓)
    บุคคลใดเป็นผู้ฉลาดแกล้วกล้า เป็นพหูสูตร ผู้ทรงธรรม ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลเช่นนั้นเราเรียกว่า ผู้ยังหมู่ให้งาม ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา เป็นผู้มีศรัทธาสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นพหูสูตรเหล่านี้แล ย่อมยังหมู่ให้งามแท้จริง บุคคลแหล่านี้เป็นผู้ยังหมู่ให้งาม


    เห็นความเกิดความดับจึงชื่อว่าเห็นชอบ

    รูปโสขุมฺมต° ญตฺวา................เวทนานญฺจ สมฺภว°
    สญฺญา ยโต สมุเทติ...............อตฺถ° คจฺฉติ ยตฺถ จ
    สงฺขาเร ปรโต ยตฺวา...............ทุกฺขโต โน จ อตฺตโต
    ส เว สมฺมทฺทโส ภิกฺขุ.............สนฺโต สนฺติปเท รโต
    ธาเรติ อนฺติม° เทห°................เชตฺวา มาร° สวาหน°ฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๗)
    ภิกษุใดรู้ความที่รูปขันธ์เป็นของละเอียด รู้ความเกิดแห่งเวทนา รู้ความเกิด และแห่งความดับแห่งสัญญา รู้จักสังขารโดยความไม่เที่ยง โดยเป็นทุกข์ และโดยความเป็นอนัตตา ภิกษุนั้นแลเป็นผู้เห็นชอบ เป็นผู้สงบ ยินดีในสันติบทชำนะมาร พร้อมทั้งเสนามาร ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด


    ผู้มีอคติ ๔ ย่อมเสื่อม

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถคงอคติ ๔ ประการนี้อคติ ๔ ประการเป็นไฉน บุคคลย่อมถึงฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ ย่อมถึงโมหาคติ ย่อมถึงพยาคติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการถึงอคติ ๔ ประการนี้แล

    ฉนฺทา โทสา ภยา โมหา.........โย ธมฺม° อติวตฺตติ
    นิหียติ ตสฺส ยโส......................กาฬปกฺ เขว จนฺทิมาฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๑๐)
    ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อมดุจพระจันทร์ข้างแรมฉะนั้นขึ้น

    ฉนฺทา โทสา ภยา โมหา..........โย ธมฺม° นาติวตฺตติ
    อาปูรติ ตสฺส ยโส.....................สุกฺกปกฺเขว จนฺทิมาฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๒๓)
    ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยมดุจพระจันทร์ข้างขึ้นฉะนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  20. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    แม้พระพุทธเจ้าก็ยังเคารพในธรรม

    เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา............เย จ พุทฺธา อนาคตา
    โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ..............พหุนฺน° โสกนาสโน
    สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน..............หริ°สุ วิหาติ จ
    อถาปี วิหริสฺสนฺติ...................เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา
    ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน.............มหตฺตมภิกงฺขตา
    สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สร°....พุทฺธาน สาสนน°ฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๒๗)
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตเหล่าใดด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตเหล่าใดด้วย และพระพุทธเจ้าในบัดนี้ด้วยผู้ยังความโศกของสัตว์เป็นอันมากให้เสื่อมคลาย ล้วนเคารพพระสัทธรรมอยู่ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักษาตนจำนงความเป็นใหญ่เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงทำความเคารพพระสัมธรรม


    ธรรมเป็นเครื่องสงเคราะห์โลก ๔ ประการ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังควัตถุ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ทาน การให้ ๑ เปยยวัชชะ ความเป็นผู้มีวาจาน่ารัก ๑ อัตถจริยา ความประพฤติเป็นประโยชน์ ๑ สมานัตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล

    ทานญฺจ เปยฺยวชฺชญฺจ...........อตฺถจริยา จ ยา อิธ
    สมานตฺตตา จ ธมฺเมสุ...........ตตฺถ ตตฺถ ยถารห°
    เอเต โข สงฺคหา โลเก...........รถสฺสาณีว ยายโตฯ
    เอเต จ สงฺคหา นาสฺสุ...........น มาตา ปุตฺตการณา
    ลเภถ มาน° ปูช° วา...............ปิตา วา ปุตฺตการณาฯ
    ยสฺมา จ สงฺคหา เอเต............สมเวกฺขนฺติ ปณฺฑิตา
    ตสฺมา มหตฺต° ปปฺโปนฺติ........ปาส°สา จ ภวนฺติเต(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๔๒)
    การให้ ๑ ความเป็นผู้มีวาจาน่ารัก ๑ ความประพฤติประโยชน์ในโลกนี้ ๑ ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอในธรรมนั้นๆตามสมควร ๑ ธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องสงเคราะห์โลก ประดุจสลักเพลาควบคุมรถที่แล่นไปอยู่ไว้ได้ ฉะนั้นถ้าธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้ไม่พึงมีแล้วไซร้ มารดา หรือบิดาไม่พึงได้รับความนับถือ หรือบูชาจากบุตร ก็เพราะเหตุที่บัณฑิตเห็นธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้ ฉะนั้นพวกเขาจึงถึงความเป็นใหญ่ และเป็นที่น่าสรรเสริญฉะนี้


    ผู้ที่เป็นมหาบุรุษ

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์ได้ตรัสแก่วัสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธว่า

    โย เวท สพฺพสตฺตาน°............มจฺจุปาสา ปโมจน°
    หิต° เทวมนุสฺสาน°.................เญยฺยธมฺม° ปกาสยิ
    ยญฺจ ทิสฺวา จ สุตฺวา จ...........ปสีทติ พหุชฺชโน
    มคฺคามคฺคสฺส กุสโล..............กตกิจฺโจ อนาสโว
    พุทฺโธ อนฺติมสารีโร................มหาปุริโสติ วุจฺจติ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๔๒)
    บุคคลใดรู้แจ้งหนทางอันจะปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวงเสียได้จากบ่วงแห่งมัจจุราช ประกาศเญยธรรมอันเกื้อกูลแก่เทวดา และมนุษย์ อนึ่ง ชนเป็นอันมากย่อมเลื่อมใส เพราะเห็น หรือสดับ บุคคลใดเราเรียกบุคคลนั้นซึ่งเป็นผู้ฉลาดต่อธรรมอันเป็นทาง และมิใช่ทาง ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะมิได้เป็นผู้รู้แล้ว มีสรีระในภพเป็นที่สุดว่า เป็นมหาบุรุษ


    ผู้หนักในสัทธรรมย่อมเจริญ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฎอยู่ในโลก คือ บุคคลผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในสัทธรรม ๑ บุคคลผู้หนักในความลบหลู่ ไม่หนักในสัทธรรม ๑ บุคคลผู้หนักในลาภ ไม่หนักในสัทธรรม ๑ บุคคลผู้หนักในสักการะ ไม่หนักในสัทธรรม ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ปรากฎอยู่ในโลก คือ เป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ ๑ เป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ ๑ เป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในลาภ ๑ เป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ ๑ แล้วตรัสว่า

    โกธมกฺขครุ ภิกฺขุ...................ลาภสกฺการคารโว
    น เต ธมฺเม วรูหนฺติ................สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเตฯ
    เย จ สทฺธมฺมครุโน................วิหฺสุ วิหรนฺต จ
    เต เว ธมฺเม วิรูหนฺติ...............สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเตติฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๖๐)
    ภิกษุผู้หนักในความโกรธ และความลบหลู่ หนักในลาภ และสักการะ พวกเธอย่อมไม่งอกงามในธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว ส่วนภิกษุใดเป็นผู้หนักในสัทธรรมอยู่แล้ว และกำลังเป็นผู้หนักในสัทธรรมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นแลย่อมงอกงามในธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว


    ที่สุดโลกมิได้ถึงด้วยการไป

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแก่โรหิตตัสสะเทวบุตรว่า ดูก่อนอาวุโส สัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่จุติ ไม่อุบัติในโอกาสใด เราไม่กล่าวโอกาสนั้นว่าเป็นที่สุดแห่งโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึง ควรไป และเราย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะไปไม่ถึงที่สุดแห่งโลก แต่เราย่อมบัญญัติโลก เหตุเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก และปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งโลกในอัตภาพอันมีประมาณวาหนึ่งมีสัญญา และมีใจนี้เท่านั้น

    คม เนน น ปตฺตพฺโพ..............โลกสฺสนฺโต กุทาจน°
    น จ อปฺปตฺวา โลกนฺต°...........ทุกฺขา อตฺถิ ปโมจน°ฯ
    ตสฺมา หเว โลกวิทู สุเมโธ
    โลกนฺตคู วุสิตพฺรหฺมจริโย
    โลกสฺส อนฺต° สมิตาวิ ญตฺวา
    นาสิ°สติ โลกมิ ม°ปรญฺจาติ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๖๔)
    ในกาลๆหนๆที่สุดแห่งโลกอันใครๆไม่พึงถึงด้วยการไป และการเปลื้องตนให้พ้นจากทุกข์ย่อมไม่มี เพราะไม่ถึงที่สุดแห่งโลก เพราะฉะนั้นแลท่านผู้รู้แจ้งโลกมีเมธาดี ถึงที่สุดแห่งโลก มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นผู้มีบาปอันสงบรู้ที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่หวังโลกนี้ และโลกหน้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...