พระพุทธศาสนา...พระโบราณ...พระในตำนาน...

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย บรรพชนทวา, 12 กันยายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    โปรดอนาถบิณฑิกะ

    พระผู้มีพระภาคตรัสแก่อนาถบิณฑิกะเศรษฐีว่า
    สพฺพทา เว สุข° เสติ พฺราหฺมโณ ปรินิพฺพุโต(วินัย จุลมรรค ๗/๑๐๖)
    โย น ลิมฺปติ กาเมสุ สีติภูโต นิรูปธิฯ
    สพฺพา อาสตฺติโย เฉตฺวา วิเนยฺย หทเย ทร°
    อุปสนฺโต สุข° เสติ สนฺติ° ปปฺปุยฺย เจตโสฯ
    พราหมณ์ ผู้ดับทุกข์ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขแท้ทุกเวลา ผู้ใดไม่ติดในกาม มีใจเย็น ไม่มีอุปธิ ตัดความเกี่ยวข้องทุกอย่างได้แล้ว บรรเทาความกระวนกระวายในใจ ถึงความสงบแห่งจิต เป็นผู้สงบระงับแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข

    เรื่องความเคารพ

    ครั้งหนึ่ง พระภิกษุสงฆ์ไม่มีความเคารพยำเกรงซึ่งกัน และกัน พระภิกษุผู้อ่อนพรรษาไม่เคารพภิกษุผู้แก่พรรษา และมีคุณวุฒิสูงกว่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

    เย วุฑฺฒมปจายนฺติ นรา ธมฺมสฺส โกวิทา(วินัย จุลมรรค ๗/๑๑๗)
    ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ ปาสสา สมฺปราโย จ สุคฺคติฯ
    ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดในธรรม ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ ย่อมเป็นผู้อันมหาชนสรรเสริญในปัจจุบันนี้ ทั้งในสัมปรายภพของคนเหล่านั้น ย่อมมีสุคติแล

    ทรงอุปมานิวรณ์ ๕ ที่ละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้ โรค เรือนจำ ทาส ทางไกลกันดาร

    มหาบพิตร(วินัย จุลมรรค ๗/๑๑๗) เปรียบเหมือนบุรุษที่กู้หนี้ไปประกอบการงาน การงานของเขาบรรลุผลสำเร็จ เขาได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมหมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็นผลกำไรของเขาก็มีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงดูภริยา เขาย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราได้กู้ไปประกอบการงาน บัดนี้การงานของเราได้บรรลุผลสำเร็จแล้ว และทรัพย์ที่เป็นผลกำไรของเราก็ยังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยาดังนี้ เขาย่อมได้รับความปราโมทย์ ได้รับความโสมนัส เพราะความไม่เป็นหนี้นั้นเป็นเหตุ

    มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษกำลังได้ถึงซึ่งความอาพาธ มีความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย ครั้นอยู่ต่อมา เขาได้หายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย เขาย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้อาพาธ ถึงความลำบากเจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกายเป็นปกติดังนี้ เขาย่อมได้รับความปราโมทย์ ได้รับความโสมนัส เพราะความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ

    มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษที่ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา เขาได้พ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์ใดๆเลย เขาย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้เราพ้นจากเรือนจำนั้นแล้วโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และไม่ต้องเสียทรัพย์ใดๆเลยดังนี้ เขาย่อมได้รับความปราโมทย์ ได้รับความโสมนัส เพราะการพ้นจากเรือนจำนั้นเป็นเหตุ

    มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษที่ตกเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาได้พ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ เขาย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราได้พ้นจากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจดังนี้ เขาย่อมได้รับความปราโมทย์ ได้รับความโสมนัส เพราะมีความเป็นไทแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ

    มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีทรัพย์ มีโภคทรัพย์ เมื่อเดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า สมัยต่อมา เขาได้ข้ามหนทางกันดารนั้นได้ บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดี เขาย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคทรัพย์ เมื่อเดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราได้ข้ามหนทางกันดารนั้น บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดีแล้วดังนี้ เขาย่อมได้รับความปราโมทย์ ได้รับความโสมนัส เพราะภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ

    มหาบพิตร ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕* ประการเหล่านี้ ที่ยังละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตนเหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการพ้นเรือนจำ เหมือนความเป็นไทแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉะนั้นแล

    *นิวรณ์ ๕ มี ๑) กามฉันทะความพอใจในกาม เหมือนความเป็นหนี้ ๒) พยาบาท คือความผูกโกรธ เหมือนโรค ๓) ถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาท้อถอยต่ออารมณ์ เหมือนเรือนจำ ๔) อุทธัจจะกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน เหมือนความเป็นทาส ๕) วิจิกิจฉา คือความสงสัย เหมือนทางไกลกันดาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  2. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    วิธีข่มใจเมื่อกระทบต่ออนิฏฐารมณ์

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกับท่านมีอยู่ ๕ ประการ
    ๑) กล่าวโดยกาลอันสมควร หรือไม่สมควร
    ๒) กล่าวด้วยเรื่องจริง หรือไม่จริง
    ๓) กล่าวด้วยคำอ่อนหวาน หรือคำหยาบคาย
    ๔) กล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ๕) มีจิตเมตตา หรือมีโทสะในภายในก็ตาม

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยการอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน หรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตา หรือมีโทสะในภายในก็ตาม

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนั้นพวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจะไม่แปรปรวน เราจะไม่เปล่งวาจาลามก เราจะอนุเคราะห์เขาด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้นดังนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังกล่าวมาฉะนี้แล

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือจอบ และตระกร้ามาแล้วกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า เราจักกระทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดิน ดังนี้ แล้วเขาก็ขุดลงตรงที่นั้นๆโกยขี้ดินทิ้งในที่นั้นๆ บ้วนน้ำลายลงในที่นั้นๆแล้วกล่าวสำทับว่า เจ้าอย่าเป็นแผ่นดิน เจ้าอย่าเป็นแผ่นดิน อยู่ดังนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินได้หรือไม่

    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าแผ่นดินอันใหญ่นี้ลึกหาประมาณมิได้ เขายอมกระทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินไม่ได้ง่ายเลย ทั้งบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากโดยเปล่าประโยชน์เป็นแน่แท้ ดังนี้

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาครั่งก็ตาม สีเหลือง สีเขียว หรือสีเหลืองแก่ก็ตามมาแล้ว กล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า เราจะเขียนรูปต่างๆในอากาศนี้ กระทำให้เป็นรูปเด่นชัดดังนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่างๆในอากาศนี้ กระทำให้เป็นรูปเด่นชัดได้หรือไม่

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะธรรมดาอากาศนี้ย่อมเป็นของไม่มีรูปร่างชี้ให้เห็นไม่ได้ เขาจะเขียนรูปในอากาศนั้นทำให้เป็นรูปเด่นชัดไม่ได้ง่ายเลย ทั้งบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากโดยเปล่าประโยชน์เป็นแน่แท้ ดังนี้

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาคบหญ้าที่จุดไฟมาแล้ว ได้กล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า เราจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่งด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วนี้ อย่างนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่งด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วได้หรือไม่

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำลึกสุดที่จะประมาณ เขาจะทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่งขึ้นด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วไม่ได้ง่ายเลย ทั้งบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากโดยเปล่าประโยชน์เป็นแน่แท้ ดังนี้

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกระสอบหนังแมวที่นายช่างหนังฟอกไว้ดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่น และสำลี เป็นกระสอบที่ดีได้ไม่ดังก้อง ถ้ามีบุรุษถือเอาไม้ หรือกระเบื้องมาพูดขึ้นอย่างนี้ว่า เราจักทำกระสอบหนังแมวที่เขาฟอกไว้ดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่น และสำลีที่ตีได้ไม่ดังก้องนี้ ให้เป็นของมีเสียงดังก้องด้วยไม้ หรือกระเบื้องดังนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะกระทำกระสอบหนังแมวที่เขาฟอกไว้ดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่น และสำลีที่ตีได้ไม่ดังก้องนี้ ให้กลับมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้ หรือกระเบื้องได้หรือไม่

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า กระสอบหนังแมวที่เขาฟอกไว้ดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่น และสำลีที่ตีได้ไม่ดังก้อง แม้เขาจะกระทำกระสอบหนังแมวนั้นให้กลับเป็นของมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้ หรือกระเบื้องไม่ได้ง่ายเลย บุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากโดยเปล่าประโยชน์เป็นแน่แท้ ดังนี้

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย หากจะมีโจรด้อมมองเอาเลื่อยที่มีที่จับทั้ง ๒ ข้างมาเลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ แม้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ถ้าภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตคิดร้ายต่อโจรนั้น ภิกษุ หรือภิกษุณีรูปนั้นไม่ชื่อว่า เป็นผู้ทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นต่อสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนี้เธอทั้งหลายจงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจะไม่แปรปรวน เราจะไม่เปล่งวาจาลามก เราจะอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจะมีเมตตาจิต ไม่มีความโกรธเกิดขึ้นภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลผู้นั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้นดังนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังกล่าวมานี้

    จุดประสงค์ของการประพฤติพรหมจรรย์

    อิติ โข พฺราหฺฺมณ นยิท° พฺรหฺมจริย° ลาภสกฺการสิโลกานิส°ส°
    น สีลสมฺปทานิส°ส° สมาธิสมฺปทานิส°ส° น ญาณทสฺสนานิส°ส°
    ยา จ โข อย° พฺราหฺมณ อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ เอตทตฺถมิท°
    พฺราหฺมณ พฺรหฺมจริย° เอต° สาร° เอต° ปริโยสาน°ฯ
    ดูก่อน พราหมณ์ พรหมจรรย์นี้มิใช่มีลาภสักการะ และความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทรรศนะเป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุดดังพรรณนามาฉะนี้


    ทรงฉลาดในโลกนี้ และโลกหน้า

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงประทับที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เมืองอุกะเวลา แคว้นวัชชี ครั้งนั้นได้ทรงเห็นนายโคบาลแห่งชาวมคธรัฐ นำโคข้ามฟากจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

    อย° โลโก ปรโลโก ชานตา สุปฺปกาสิโต
    ยญฺจ มาเรน สมฺปตฺต° อปฺปตฺต° ยญฺจ มจฺจุนา
    สพฺพ° โลก° อภิญฺญาย สมฺพุทฺเธน ปชานตา
    วิวฏ° อมตทฺวาร° เขม° นิพฺพานปตฺติยา
    ฉนฺน° ปาปิมโต โสต° วิทฺธสฺต° วินฬีกต°
    ปามุชฺชพหุลา โหถ เขม° ปตฺเถถ ภิกฺขโวฯ
    โลกนี้ และโลกหน้าเราผู้รู้อยู่ประกาศดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง ทราบชัดซึ่งสัตว์โลก ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้ ทั้งที่เป็นโลกอันมัจจุถึงไม่ได้ด้วยความรู้ยิ่ง จึงได้เปิดอริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมต เพื่อให้ถึงนิพพานอันเป็นแดนเกษมกระแสแห่งมารอันลามก เราได้ตรัสแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความเหิมแล้ว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจึงมีความปราโมทย์มาก ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษมเถิด ดังนี้

    ความหมายของคำว่า พราหมณ์

    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคทรงประทับอยู่ที่เชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ทรงตรัสธรรมะที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์แก่พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะว่า

    พาหิตฺวา ปาปเก ธมฺเม เย จรนฺติ สทา สตา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๗๗)
    ขีณสญฺโญชนา พุทฺธา เต เว โลกสฺมิ พฺราหฺมณาฯ
    ชนเหล่าใดลอยบาปทั้งหลายได้แล้ว มีสติอยู่ทุกเมื่อ มีสังโยชน์สิ้นแล้ว ตรัสรู้แล้ว ชนเหล่านั้นแลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ในโลก

    ความสะอาดมิได้มีเพราะน้ำ

    ทรงตรัสแก่ชฏิลที่คยาสรีสะ ใกล้บ้านคยาว่า

    น อุทเกน สุจิ โหติ พเหฺวตฺถ นฺหายตี ชโน(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๘๑)
    ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมโม จ โส สุจี จ พฺราหฺมโณฯ
    ความสะอาดย่อมไม่มีเพราะน้ำ (แต่) ชนเป็นอันมากยังอาบอยู่ในน้ำนี้ สัจจะ และธรรมะมีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลเป็นผู้สะอาด และเป็นพราหมณ์

    ผู้บรรลุนิพพานแล้วย่อมพ้นจากคติทั้งปวง

    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นกุลบุตรพาหิยะทารุจีริยะ ได้ทูลขอร้องให้พระพุทธองค์ทางแสดงธรรมโปรด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ดูก่อน พาหิยะท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังก็สักแต่ว่าฟัง เมื่อทราบก็สักแต่ว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งก็สักแต่ว่ารู้แจ้ง ดูก่อน พาหิยะ ในการใดแล เมื่อท่านเห็นจงมีความรู้สึกสักว่าเห็น เมื่อท่านได้ยินจงมีความรู้สึกสักแต่ว่าได้ยิน เมื่อได้ทราบ ก็สักแต่ว่าได้ทราบ เมื่อรู้แจ้งก็สักแต่ว่ารู้แจ้ง ในการนั้นท่านย่อมไม่มี ในการใดท่านไม่มี ในการนั้นท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้ง ๒ นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์

    ลำดับนั้นจิตของพาหิยะทารุจีริยะ กุลบุตรก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้ว ไม่นาน แม่โคอ่อนก็ขวิดพาหิยะทารุจีริยะ สิ้นชีวิตในที่นั้น

    พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายได้กราบทูลถึงคติของพาหิยะทารุจีริยะนั้นเป็นอย่างไร ภพเบื้องหน้าเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    ยตฺถ อาโป จ ปฐวี เตโช วาโย คาธติ(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๘๕)
    น ตตฺถ สุกฺกา โชตนฺติ อาทิจฺโจ นปฺปกาสติ
    น ตตฺถ จนฺทิมา ภาติ ตโม ตตฺถ น วิชฺชติ
    ยทา จ อตฺตนาเวทิ มุนิ โมเนน พฺราหฺมโณ
    อถ รูปา อรูปา จ สุขทุกฺขา ปมุจฺจติฯ
    ดิน น้ำไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฎ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี แต่เมื่อใด พราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้(สัจจะ ๔)แล้วด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมหลุดพ้นจากรูป และนาม จากสุข และทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  3. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ความสิ้นตัณหาเป็นสุขในโลก

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันว่า บรรดาพระราชา ๒ พระองค์นี้คือ พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ และพระเจ้าปเสนทิโกศล องค์ไหนหนอมีพระราชทรัพย์มากกว่ากัน มีสมบัติมากกว่ากัน มีแว่นแคว้นมากกว่ากัน มีพาหนะมากกว่ากัน มีกำลังมากกว่ากัน มีอานุภาพมากกว่ากัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    ยญฺจ กามสุข° โลเก ยญฺจิท° ทิวิย° สุข°(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๙๗)
    ตณฺหกฺขยสุขสฺส เต กล° นคฺฆนฺติ โสฬสิฯ
    กามสุขในโลก และทิพยสุขก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ (ที่จำแนกออกเป็น ๑๖) ผลแห่งความสุขคือ ความสิ้นตัณหา

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ทอดพระเนตรเห็นเด็กเหล่านั้นเอาท่อนไม้ตีงูอยู่ จึงตรัสว่า

    สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหิ°สติ(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๘๘)
    อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุข°ฯ
    สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หิ°สติ
    อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส ลภเต สุข°ฯ
    ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตน แต่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ต่อความสุขด้วยท่อนไม้ ผู้นั้นย่อมไม่ได้ความสุขในโลกหน้า ส่วนผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตน แล้วไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ต่อความสุขด้วยท่อนไม้ ผู้นั้นย่อมได้ความสุขในโลกหน้า

    ครั้งหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะ ไม่สามารถอดกลั้นเอาไว้ได้ เกิดความริษยาในพระผู้มีพระภาค และพระสงฆ์สาวก ด่า บริภาษ กริ้วกราด เบียดเบียนด้วยวาจาที่หยาบคายไม่ใช่ของสัตบุรุษ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

    คาเม อรญฺเญ สุขทุกฺขผุฏฺฐา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๘๙)
    เนวตฺตโต โน ปรโต ทเหถ
    ผุสนฺติ ผสฺสา อุปธ ปฏิจฺจ
    นิธูปธิ เกน ผเสยฺยุ ผสฺสาฯ
    ท่านทั้งหลาย อันสุข และทุกข์ถูกต้องแล้วในบ้าน ในป่า สุข และทุกข์นี้มิได้ตั้งอยู่ในตน สุข และทุกข์นี้มิได้ตั้งอยู่ในผู้อื่น แต่เพราะผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องเพราะอาศัยอุปธิ ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องนิพพานอันไม่มีอุปธิ

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ได้ตรัสแก่อุบาสกชาวบ้านอิจฉานังคละ ผู้เข้าเฝ้าว่า

    สุข° วต ตสฺส น โหติ กิญฺจิ
    สงฺขาตธมฺมสฺส พหุสฺสตสฺส
    สกิญฺจน° ปสฺส วิหญฺมาน°
    ชโน ชนมฺหิ ปฏิพนฺธรูโปฯ
    กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ท่านผู้ใด ความสุขย่อมมีแก่ท่านผู้นั้นหนอ ผู้มีธรรมอันนับได้แล้วเป็นพหูสูตร ท่านจงดูบุคคลผู้มีกิเลสเครื่องกังวลเดือดร้อนอยู่ ชนผู้ปฏิพัทธ์ในชนย่อมเดือดร้อนฉะนี้

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จออกบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นปริพาชกได้รับทุกข์เวทนาอันกล้าเผ็ดร้อน ดิ้นไปดิ้นมา จึงตรัสว่า

    สุขิโน วต เย อกิญฺจนา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๘๙)
    เวทคุโน หิ ชนา อกิญฺจนา
    สกิญฺจน° ปสฺส วิหญฺญมาน°
    ชโน ชนสฺมิ° ปฏิพทฺธจิตฺโตฯ
    ชนผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลมีความสุขหนอ ชนผู้ถึงเวทย์(คืออริยมรรคญาณ)เท่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ท่านจงดูชนผู้มีกิเลสเครื่องกังวลเดือดร้อนอยู่ ชนผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในชนย่อมเป็นผู้เดือดร้อนฉะนี้

    ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงประทับที่วิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นอุบาสกผุ้หนึ่งมีบุตรชายคนเดียว แต่ได้ถึงซึ่งกาลกิริยา อุบาสกมีความเศร้าโศกมาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

    ปียรูปสฺสาทคทฺธิตา เส(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๙๓)
    เทวกายา ปุถุมานุสา จ
    อฆาวิโน ปริชุนฺนา
    มจฺจุราชสฺส วส° คจฺฉนฺติฯ
    เย เว ทิวา จ รตฺโต จ
    อปฺปมตฺตา ชหนฺติ ปิยรูป°
    เต เว ขณนฺติ อฆมูล°
    มจฺจุโน อามิส° ทุรติวตฺต°ฯ
    หมู่เทวดา และหมู่มนุษย์เป็นจำนวนมาก ยินดีแล้วด้วยความเพลิดเพลินในรูปอันเป็นที่รัก ถึงความทุกข์ เสื่อมหมดแล้ว(จากสมบัติ) ย่อมไปสู่อำนาจแห่งมัจจุราช พระอริยบุคคลเหล่าใดแลไม่ประมาทแล้ว ทั้งกลางวัน และกลางคืนย่อมละรูปอันเป้นที่รักเสียได้ พระอริยบุคคลนั้นย่อมขุดขึ้นได้ ซึ่งอามิสแห่งมัจจุราช อันเป็นมูลแห่งวัฏฏะทุกข์ที่ล่วงได้โดยยาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  4. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ความทุกข์ย่อมครอบงำผู้ที่ตั้งอยู่ในความประมาท

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่ากุณฑิฐานวัน ใกล้พระนครกุณฑิยา สมัยนั้นนางสุปะวาสาอันเป็นธิดาของพระเจ้าโกลิยะ นางตั้งครรภ์ถึง ๗ ปี มีครรภ์หลงอยู่ถึง ๗ ปีได้รับทุกข์เวทนากล้า นางได้อดกลั้นทุกขเวทนานั้นด้วยการตรึก ๓ ข้อคือ ตรึกถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบหนอ ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ปฏิบัติดีแล้วหนอ ปฏิบัติเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ พระนิพพานซึ่งเป็นที่ไม่มีทุกข์เห็นปานนี้ เป็นสุขดีหนอ

    ครั้งนั้น นางสุปะวาสาโกลิยะได้ให้สามีของนางเดินทางไปเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกแล้วได้ถวายบังคมกราบทูลถึงทุกข์เวทนาที่นางได้รับจากการทรงครรภ์ถึง ๗ ปี มีครรภ์หลงอยู่ถึง ๗ ปี เมื่อนางได้เกิดทุกข์เวทนาขึ้นครั้งใด นางก็ได้อาศัยการตรึกถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม พระสงฆ์ และพระนิพพานอันเป็นที่ดับทุกข์ เพื่อกลั้นทุกข์เวทนานั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ขอพระนางสุปะวาสาโกลิยะธิดา จงเป็นผู้มีความสุขหาโรคมิได้ คลอดบุตรหาโรคมิได้เถิด เมื่อพระองค์ทรงตรัสลงจบแล้ว จากนั้นนางสุปะวาสาโกลิยะก็คลอดบุตรโดยง่าย ไม่มีโรคย่างน่าอัศจรรย์ อยู่มาวันหนึ่งนางจึงทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระสงฆ์ไปฉันภัตตาหารถึง ๗ วันเป็นการฉลอง

    เมื่อพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกอันมีพระสารีบุตร ผู้เป็นธรรมเสนาบดี เมื่อได้รับการถวายภัตตาหารจากนางแล้ว บุตรชายของนางสุปะวาสาโกลิยะได้เข้าไปหาพระสารีบุตร พระสารีบุตรจึงถามว่า พ่อหนู เธอสบายดีหรือ พอเป็นไปดอกหรือ ไม่มีทุกข์อะไรๆเลยหรือ

    ทารกนั้นตอบว่า ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมจักสบายอย่างไรได้ จะพอเป็นไปได้แต่ที่ไหนกระผมอยู่ในท้องเปื้อนด้วยโลหิตถึง ๗ ปี

    ขณะนั้นพระนางสุปะวาสาโกลิยะธิดา ทรงมีพระทัยชื่นชมเบิกบานเกิดปีติโสมนัสว่า บุตรของเราได้สนทนากับพระธรรมเสนาบดี พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าพระนางสุปะวาสาโกลิยะธิดาทรงมีพระทัยชื่นชมเบิกบานเกิดปีติโสมนัส จึงตรัสถามนางสุปะวาสาโกลิยะธิดาว่า ดูก่อน พระนาง พระนางปรารถนาพระโอรสเห็นปานนี้อีกหรือไม่

    พระนางสุปะวาสาโกลิยะธิดากราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ หม่อมฉันยังปรารถนาเห็นปานนี้อีก ๗ คนเจ้าค่ะ พระผู้มีพระภาคจึงทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า
    อสาต° สาตรูเปน ปิยรูเปน อปฺปิย°(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๙๗)
    ทุกฺข° สุขสฺส รูเปน ปมตฺตมติวตฺตติฯ
    ทุกข์อันไม่น่ายินดีย่อมครอบงำคนผู้ประมาท โดยความเป็นของน่ายินดี ทุกข์อันไม่น่ารักย่อมครอบงำคนผู้ประมาท โดยความเป็นของน่ารัก ทุกข์ย่อมครอบงำบุคคลผู้ประมาทโดยความสุขดังนี้

    ประโยชน์ถ้าอยู่ในอำนาจของผู้อื่นนำทุกข์มาให้

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ได้ตรัสแก่นางวิสาขาซึ่งเข้ามากราบทูลว่า ประโยชน์บางอย่างของนางเนื่องในพระเจ้าปเสนทิโกศล แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ยังทรงประโยชน์นั้นให้สำเร็จคามความประสงค์ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

    สพฺพ° ปรวส° ทุกฺข° สพฺพ° อิสฺสริย° สุข°(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๙๙)
    สาธารเณ วิหญฺญนฺติ โยคา หิ ทุรติกฺกมฯ
    ประโยชน์ทั้งหมด ถ้าอยู่ในอำนาจของผุ้อื่น นำทุกข์มาให้ ความเป็นใหญ่ทั้งหมดนำสุขมาให้ เมื่อมีสาธารณประโยชน์ที่จะทำให้สำเร็จ สัตว์ทั้งหลายย่อมเดือดร้อนเพราะว่ากิเลสเครื่องประกอบสัตว์ทั้งหลายก้าวล่วงได้โดยยาก

    ผลแห่งกรรม

    ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงประทับที่วิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี สมัยนั้นภิกุรูปหนึ่งนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค อดกลั้นทุกข์เวทนาอันกล้า เผ็ดร้อนซึ่งเกิดแต่ผลแห่งกรรมเก่า มีสติสัมปัชชัญญะไม่พรั่นพรึงอยู่ พระผู้มีพระภาค ทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น จึงตรัสว่า

    สพฺพกมฺมชหสฺส ภิกฺขุโน(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๐๒)
    ภูนมานสฺส ปุเรกฺขต° รช°
    อมฺมสฺส ฐิตสฺส ตาทิโน
    อตฺโถ นตฺถิ ชน° ลเปตเวฯ
    ภิกษุละกรรมทั้งหมดได้แล้ว กำจัดกรรมเป็นดังธุลีที่ตนทำไว้แล้วในกาลก่อน ไม่มีการยึดถือว่าของเราดำรงมั่นคง ประโยชน์ที่จะกล่าวกับชน(ว่าท่านจงทำยาเพื่อเรา) ย่อมไม่มี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  5. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ถอนกามเสียได้เป็นสุข

    ครั้งนั้น พระนันทะพุทธอนุชาเป็นโอรสของพระมาตุจฉาได้ออกบวชโดยไม่เต็มใจ ครั้นบวชแล้วไม่สามารถจะถอนความรักความห่วงใยในชนบทกัลยาณีได้ แต่ครั้นอยู่ต่อมา พระองค์ทรงใช้ความพยายามอบรมจนพระนันทะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พ้นจากอาสวะกิเลสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงทรงตรัสว่า

    ยสฺส ติณฺโณ กามปงฺโก มทฺทิโต กามกณฺฏโก
    โมหกฺขย อนุปฺปตฺโต สุขทุกฺเขสุ น เวธตี สุ ภิกฺขุฯ
    ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว ย่ำยีหนามคือ กามได้แล้ว ภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะสุข และทุกข์

    ณ ที่นั้น เมื่อพระองค์ทรงเสด็จออกจากสมาธิคือ อาเนญชสมาธิแล้วตรัสแก่พระอานนท์ว่า

    ยสฺส ชิโต กามกณฺฏโก
    อกฺโกโส จ วโธ จ พนฺธนญฺจ
    ปพฺพโต วิย โส ฐิโต อเนโช
    สุขทุกฺเขสุ น เวธตี ส ภิกฺขุฯ
    ภิกษุใดชนะหนามคือกาม ชนะการด่า การฆ่า แม้การจองจำได้แล้ว ภิกษุนั้นมั่นคงไม่หวั่นไหวในสุข และทุกข์

    ครั้งหนึ่ง ณ สถานที่นั้น พระผู้มีพระภาคเห็นพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เบื้องหน้า จึงเปล่งอุทานขึ้นว่า

    ยถาปิ ปพฺพโต เสโล อจโล สุปติฏฺฐิโต(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๑๓)
    เอว° โมหกฺขยา ภิกฺขุ ปพฺพโตว น เวธติฯ
    ภิกษุผู้ดุจภูเขาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความสิ้นโมหะ เหมือนภูเขาหินไม่หวั่นไหวตั้งอยู่ด้วยดีฉะนั้น

    ครั้งนั้นได้เห็นพระโมคคัลลานะ นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง มีกายคตาสติอันตั้งไว้ดีแล้วในภายใน จึงตรัสว่า

    สติ กายคตา อุปฏฺฐิตา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๑๓)
    ฉสุ ผสฺสายตเนสุ ส°วุโต
    สสต° ภิกฺขุ สมาหิโต
    ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโนฯ
    ภิกษุเข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว สำรวมแล้วในผัสสายตนะ มีจิตตั้งมั่นแล้วเนืองๆ พึงรู้ความดับกิเลสของตน

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับที่พระวิหารเวฬุวัน ได้ตรัสแก่ท่านปิลันทวัจนะ ผู้เกิดในสกุลพราหมณ์ ๕๐๐ ชาติไม่เจือปนเลยว่า

    ยมฺหิ น มายา วตฺตติ น มาโน(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๑๔)
    โย ขีณโลโภ อมฺโน นิราโส
    ปนุณฺณโกโธ อภินิพฺพุตตฺโต
    โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุฯ
    มายา มานะ ย่อมไม่เป็นไปในผู้ใด ผู้ใดมีความโลภสิ้นแล้ว ไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง บรรเทาความโกรธได้แล้ว มีจิตเย็นแล้ว ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้นชื่อว่เป็นสมณะ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ ดังนี้

    ผู้ไม่อาศัยศิลปเลี้ยงชีพชื่อว่า ภิกษุ

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับที่วิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี พระภิกษุสงฆ์ได้สนทนากันว่า ใครหนอย่อมรู้ศิลปะ และใครศึกษาศิลปะอะไร ศิลปะอย่างไหน เป็นยอดแห่งสิลปะทั้งหลาสย แล้วก็นั่งถกเถียงกันอยู่ บางท่านก็ว่าศิลปะในการฝึกช้างเป็นยอดแห่งศิลปะ บางท่านก็ว่าศิลปะในการฝึกม้าเป็นยอดแห่งศิลปะดังนี้ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเช่นนั้น จึงตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตร ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา กล่าวกถาเห็นปานนี้ไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายเมื่อประชุมกันแล้วพึงกระทำอาการ ๒ อย่างคือ ธรรมีกถา หรือดุษณียภาพ อันเป็นอริยะ แล้วตรัสเป็นคาถาว่า

    อสิปฺปชีวี ลหุ อตฺถกาโม
    ยตินฺทฺริโย สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต
    อโนกสารี อมโม นิราโส
    หนฺตฺวา มาร° เอกขโร ส ภิกฺขุฯ
    ผู้ไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ ผู้เบาปรารถนาประโยชน์ มีอินทรีย์สำรวมแล้ว พ้นวิเศษแล้วนะรรมทั้งปวง ไม่มีที่อยู่เที่ยวไป ไม่ยึดถือว่าของเรา ไม่มีความหวัง ผู้นั้นกำจัดมารได้แล้ว เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว ชื่อว่า ภิกษุ

    ทรงเห็นหมู่สัตว์กำลังเดือดร้อนอยู่

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้โพธิใกล้ริมฝั่งแม้น้ำเนรัญชราเสวยวิมุติสุขอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้ว ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ที่เดือดร้อนอยู่เป็นอันมาก และถูกความเร่าร้อนเป็นอันมากที่เกิดจากราคะบ้าง เกิดจากโทสะบ้าง เกิดจากโมหะบ้าง เผาผลาญอยู่ จึงทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า

    โลกนี้เกิดความเดือดร้อนแล้ว ถูกผัสสะครอบงำแล้ว ย่อมกล่าวถึงโลกโดยความเป็นตัวตน ก็โลกย่อมสำคัญโดยประการใด ขันธปัญจกะอันเป็นวัตถุแห่งความสำคัญนั้นย่อมเป็นอย่างอื่นจากประการที่ตนสำคัญนั้น โลกข้องแล้วในภพ มีความแปรปรวนเป็นอื่น ถูกภพครอบงำแล้วเพลิดเพลินในภพนั่นเอง(สัตว์) โลกย่อมเพลิดเพลินสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย โลกกลัวสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นพุทธ ก็บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้เพื่อจะละภพนั้นแล สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวความหลุดพ้นจากภพด้วยภพ(สัตตทิฏฐิ) เรากล่าวว่า สมณะพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ไม่หลุดพ้นไปจากภพ
    ก็สมณะพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกล่าวความสลัดออกจากภพ ด้วยความไม่มีภพ(อุจเฉทิฏฐิ) เรากล่าวว่าสมณะพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดไม่สลัดออกไปจากทุกข์

    ก็ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอุปธิทั้งปวง ความเกิดแห่งทุกข์ย่อมไม่มี เพราะสิ้นอุปทานทั้งปวง ท่านจงดูโลกนี้ สัตว์ทั้งหลายเป็นจำนวนมากถูกอวิชชาครอบงำ หรือยินดีแล้ว ในขันธปัญจกะที่เกิดแล้วย่อมไม่พ้นไปจากภพ

    ก็ภพเหล่าใดเหล่าหนึ่งในส่วนทั้งปวง(ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง) โดยส่วนทั้งปวง(สวรรค์ อบาย และมนุษย์) เป็นต้น ภพทั้งหมดนั้นไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา บุคคลผู้เป็นขันธปัญจกะ กล่าวคือ ภพตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้อยู่ ย่อมละภวตัณหาได้ ทั้งไม่เพลิดเพลินในวิภวะตัณหา ความดับด้วยอริยมรรค เป็นเครื่องสำรอกไม่มีส่วนเหลือเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลายโดยประการทั้งปวงเป็นนิพพาน ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ทุกข์สุขนั้น ผู้ดับแล้ว เพราะไม่ถือมั่น ภิกษุนั้นครอบงำมาร ชนะสงคราม ล่วงภพได้ทั้งหมด เป็นผู้คงที่ฉะนี้แล(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๒๑)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  6. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    โทษของการตั้งจิตไว้ผิด

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท นายโคบาลคนหนึ่งเกิดความเลื่อมใสศรัทธาทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์รับภัตตาหารของตน เมื่อพระองค์ทรงรับภัตตาหารแล้วเสด็จหลีกไปไม่นาน นายโคบาลผู้นั้นถูกบุรุษผู้หนึ่งลอบปลงชีวิต พระผู้มีพระภาคทรงทราบความนั้นจึงตรัสว่า

    ทิโสทิ ส° ยนฺต° กยิรา เวรี วา ปน เวริน°(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๓๑)
    มิจฺฉาปณิหิต° จิตฺต° ปาปิโย น° ตโต กเรฯ
    โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจกแล้ว พึงทำความฉิบหาย หรือความทุกข์ให้(ซึ่งกันและกัน) หรือคนมีเวรเห็นคนมีเวรแล้ว พึงทำความฉิบหาย หรือความทุกข์ให้(ซึ่งกันและกัน) แต่จิตที่ตั้งไว้ผิดย่อมทำให้เขาเลวกว่านั้น

    จิตที่อบรมดีแล้วย่อมมีโทษน้อย

    ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตร และโมคคัลลานะปลงผมใหม่ๆ นั่งเข้าสมาธิกลางแจ้ง มียักษ์ตนหนึ่งซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิได้ประหารศีรษะพระสารีบุตร แต่ไม่สามารถจะยังความหวั่นไหวในทุกข์เวทนาเกิดขึ้นแก่พระสารีบุตรได้ พระผู้มีพระภาคทรงทราบเช่นนั้น จึงเปล่งอุทานว่า

    ยสฺส เสลุมปม° จิตฺต° ฐิต° นานุปกมฺปติ(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๓๓)
    วิรตฺต° รชนีเยสุ โกปเนยฺเย น กฺุปปติ
    ยสฺเสว° ภาวิต° จิตฺต° กุโต ต° ทุกฺขเมสฺสติฯ
    จิตของผู้ใดเปรียบด้วยภูเขาหิน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ไม่กำหนัดในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่โกรธเคืองในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธเคือง จิตของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน

    อีกครั้งหนึ่ง พระสารีบุตรผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัดไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร หมั่นประกอบในอิจิตอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    อธิเจตโส อปปมชชโต มุนิโน โมนปเถสุ สิกขโต(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๓๗)
    โสกา น ภวนติ ตาทิโน อุปสนตสส สตีมโตฯ
    ความโศกทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีจิตยิ่ง ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาอยู่ในครองแห่งมุนี เป็นผู้คงที่สงบ มีสติทุกเมื่อ

    ทรงสอนให้อดทนต่อคำกล่าวร้าย

    ครั้งหนึ่ง พวกอัญญะเดียรถีย์มีความริษยาในสมเด็จพระผู้มีพระภาค เพราะตนเองเสื่อมจากลาภสักการะ จึงจ้างนางสุนทรีปริพาชิกาให้ไปวัดเชตวันอยู่เนืองๆ แล้วอัญญะเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ก็ลอบฆ่านางสุนทรีปริพาชกาเสีย แล้วนำไปหมกไว้ในคูรอบพระวิหารเชตวัน แล้วอัญญะเดียรถีย์เหล่านั้นได้ไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล กราบทูลว่านางสุนทรีปริพาชิกาของอาตมาภาพหายไป พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสถามว่าพระคุณเจ้าสงสัยว่านางหายไปไหนเล่า

    อัญญะเดียรถีย์บอกว่า หายไปในพระวิหารเชตวัน จากนั้นจึงได้พากันไปค้นวิหารเชตวัน ไปขุดศพนางสุนทรีปริพาชิกาที่ตนหมกไว้ข้างวิหาร แล้วกุข่าวร้ายขึ้นว่า สมณศากยบุตรเหล่านั้นเป็นผู้ฆ่านางสุนทรีปริพาชิกา ชาวนครสาวัตถีทั้งหลายที่ไม่ทราบถึงเล่ห์กลของพวกเดียรถีย์ก็พากันด่าบริภาษ ขึ้งเคียดเบียดเบียนพระสงฆ์ด้วยวาจาหยาบคาย พระสงฆ์ไม่สามารถที่จะอดกลั้นต่อคำกล่าวร้ายเช่นนั้นได้ จึงนำความนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เสียงเหล่านี้จักอยู่ได้ไม่นาน เลย ๗ วันไปแล้วก็จักหายไปเอง แล้วตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ถ้าอย่างนั้นจงพูดแก่มนุษย์ทั้งหลายที่ด่าบริภาษ ขึ้งเคียดเบียดเบียนด้วยวาจาหยาบคาย มิใช่วาจาของสัตตบุรุษแก่เขาว่า(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๓๙)

    คนที่พูดไม่จริง กับคนที่กระทำบาปกรรมแล้ว พูดว่ามิได้ทำย่อมเข้าถึงนรก คนทั้ง ๒ จำพวกนี้มีกรรมอันเลวทราม เมื่อละไปแล้วย่อมเป็นผู้เสมอกันในโลกหน้า แล้วตรัสเป็นคาถาว่า

    ตุทนฺติ วาจาย ชนา อสญฺญตา
    ปเรหิ สงฺคามคต°ว กุญชร°
    สุตฺวาน วากฺย° ผรุส° อุทีริต°
    อธิวาสเย ภิกฺขุ อทุฏฺฐจิตฺโตฯ
    ชนทั้งหลายผู้ไม่สำรวมแล้ว ย่อมทิ่มแทงชนเหล่าอื่นด้วยวาจา เหมือนเหล่าทหารที่เป็นข้าศึกทิ่มแทงกุญชรผู้เข้าสู่สงครามแล้วด้วยลูกศรฉะนั้น ภิกษุผู้มีจิตไม่ประทุษร้าย ฟังคำอันหยาบคายที่ชนทั้งหลายเปล่งขึ้นแล้ว พึงอดกลั้นไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  7. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    สรรเสริญผู้ประพฤติพรหมจรรย์

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เวฬุวัน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นอุปเสนคันตบุตรได้เกิดความปริวิตกในใจว่าเป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา เราออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยอันมีพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เรื่องพรหมจรรย์ของเรามีศีล มีธรรมะอันดีงาม เราเป็นผู้กระทำบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแน่วแน่อันดี เราเป็นอรหันต์ขีณาสพ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ชีวิตของเราเจริญ ความตายของเราเจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงตรัสว่า

    ย° ชีวิต° น ตปติ มรณนฺเต น โสจติ(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๔๒)
    สเจ ทิฏฺฺฐปโท ธีโร โสกมชฺเฌ น โสจติ
    อุจฺฉินฺนภวตณฺหสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน
    วิกฺขีโณ ชาติส°สาโร นตฺถิ ตสฺส ปุนพฺภโวฯ
    ชีวิตย่อมไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อน ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศกในที่สุดแห่งมรณะ ถ้าว่าผู้นั้นมีบทอันเห็นแล้วไซร้ เป็นนักปราชญ์ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางแห่งสัตว์ผู้มีความโศก ภิกษุผู้มีภวตัณหาอันตัดขาดแล้ว มีจิตสงบ มีชาติสงสารสิ้นแล้ว ย่อมไม่มีภพใหม่

    ความรักอื่นเสมอด้วยตนไม่มี

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่นางมัลลิกาเทวีว่า

    สพฺพา ทิสา อนุปริตมฺม เจตสา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๕๔)
    เนวชฺฌคา ปิยตรมตฺตนา กฺวจิ
    เอวมฺปิ โส ปุถุ อตฺตา ปเรส°
    ตสฺมา น หิ°เส ปร° อตฺตกาโมฯ
    ใครๆตรวจตราด้วยจิตทั่วทุกทิศแล้ว หาได้พบผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหนๆไม่เลย สัตว์เหล่าอื่นก็รักตนมากเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น

    ผู้ฉลาดควรประพฤติพรหมจรรย์

    พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระอานนท์ว่า

    เย เกจิ ภูตา ภวิสฺสนฺติ เย จาปิ(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๕๔)
    สพฺเพ คมิสฺสนฺติ ปหาย เทห°
    ต° สพฺพชานิ กุสโล วิทิตฺวา
    อาตาปิโย พฺรหฺมจรย° จเรยฺยาฯ
    สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้เกิดแล้ว และแม้จักเกิด สัตว์ทั้งหมดนั้นจักต้องละร่างกายนี้ไป ท่านผู้ฉลาดเมื่อทราบความเสื่อมทั้งปวงนั้นแล้วจึงเป็นผู้มีความเพียร ประพฤติพรหมจรรย์

    เมื่อเราเกลียดทุกข์ก็ไม่ควรก่อทุกข์แก่ผู้อื่น

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นเด็กรุ่นหนุ่มมากมายด้วยกันกำลังจับปลากันอย่างสนุกสนาน พระผู้มีพระภาคจึงเสด็จเข้าไปหาเด็กรุ่นหนุ่มเหล่านั้นแล้วตรัสถามว่า พ่อหนูทั้งหลาย เธอทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ ความทุกข์ไม่เป็นที่รักของเธอทั้งหลายมิใช่หรือ เด็กเหล่านั้นกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ไม่เป็นที่รักของข้าพระองค์ทั้งหลายเลย พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

    สเจ ภายถ ทุกฺขสฺส สเจ โว ทุกฺขมปฺปิย°(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๕๐)
    มากตฺถ ปาปก° กมฺม° อาวิ วา ยทิ วา รโห
    สเจ จ ปาปก° กมฺม° กริสฺสถ กโรถ วา
    น โว ทุกฺขา มุตฺตยตฺถิ อุเปจฺจาปิ ปลายต°ฯ
    ถ้าท่านทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่รักของท่านทั้งหลายแล้วไซร้ ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ทำบาปกรรม ที่งในที่แจ้ง และในที่ลับเลย ถ้าท่านทั้งหลายจักทำ หรือทำอยู่ที่บาปกรรมแล้วไซร้ ท่านทั้งหลายแม้ท่านจะเหาะหนีไป ก็ย่อมไม่พ้นไปจากความทุกข์ได้เลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  8. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ในธรรมวินัยนี้มีความอัศจรรย์ ๘ ประการ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ก็มีธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ย่อมพากันยินดีอยู่ในธรรมวินัย ธรรม ๘ ประการนั้นเป็นไฉน

    ๑)ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง เปรียบเหมือนมหาสมุทรลาดลุ่มลึกไปตามลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหวฉะนั้น ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีประการหนึ่ง ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วพากันยินดีอยู่ในธรรมวินัยนี้

    ๒)ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราไม่ล่วงสิกขาบท ที่เราบัญญัติแล้ว แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เปรียบเหมือนมหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอไม่ล้นฝั่ง ฉะนั้น ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วนี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาประการที่ ๒

    ๓)ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผุ้มีสีล มีบาปธรรม มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญาณว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าในชุ่มด้วยราคะ เป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่ยอมอยู่ร่วมกับบุคคลนั้นประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แต่เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา เปรียบเหมือนมหาสมุทรไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพ และคลื่นย่อมซัดเอาซากศพในมหาสมุทรเข้าหาฝั่งให้ชึ้นบก ฉะนั้น ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม ...นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๓

    ๔)ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย วรรณะ ๔ จำพวกคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตแล้วย่อมละชื่อ และโคตรเดิม ถึงกาลนับว่าเป็นพระสมณศากยบุตรทั้งนั้น เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่ๆคือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิระวดี สรภู มหิ แม่น้ำใหญ่เหล่านั้น เมื่อไหลไปถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละชื่อ และโคตรเดิมถึงกาลนับว่าเป็นมหาสมุทรนั่นเอง ฉะนั้น นี้เป็นคำอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๔

    ๕)ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุเป็นอันมากจักปรินิพพานด้วยอนุปาทิ เสสะนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าบกพร่อง หรือเต็มด้วยภิกษุนั้น เปรียบเหมือนแม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมลงในมหาสมุทร และสายฝน ก็ตกลงในมหาสมุทร มหาสมุทรไม่ปรากฎว่าพร่อง หรือเต็ม แม้ข้อนี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๕

    ๖)ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือ วิมุติรส เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรสเดียวคือ รสเค็ม ฉะนั้น นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๖

    ๗)ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้มีรัตนมากมายหลายชนิด ในธรรมวินัยนั้นมีรัตนเหล่านี้คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรัพย์ ๕ พละ ๕ โภชฌงค์ ๗ อริยมรรคที่องค์ ๘ เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรัตนมากมายหลายชนิดในมหาสมุทรนั้นมีรัตนเหล่านี้คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ศีลาแก้วประพาส เงิน ทอง ทับทิม แก้วมรกต ฉะนั้น นี่ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๗

    ๘)ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ ในธรรมวินัยนั้นมีสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆเหล่านี้คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาบัน พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามี พระอานาคามี ท่านปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอานาคามี พระอรหันต์ท่านปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ เปรียบเหมือนมหาสมุทรย่อมเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้นมีสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆเหล่านี้คือ ปลาติมิ ปลาติมิติมิงคละ อสูรย์ คนธรรพ์ แม้มีร่างกายใหญ่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ฉะนั้น ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นี่ก็เป็นธรรมอันอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๘

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า

    ฉนฺนมติวสฺสติ วิวฏ° นาติวสฺสติ
    ตสฺมา ฉนฺน° วิวเรก เอวนฺต° นาติวสฺสติฯ
    ฝนคือ กิเลส ย่อมรั่วรดสิ่งที่ปกปิด ย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิด เพราะฉะนั้นพึงเปิดสิ่งที่ปกปิดไว้เสีย ฝนคือ กิเลสย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิดนั้นอย่างนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  9. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระอริยเจ้าย่อมไม่ยินดีในบาป

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระโสณะว่า
    ทิสฺวา อาทีนว° โลเก ญตฺวา ธมฺม° นิรูปธิ(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๖๖)
    อริโย น รมติ ปาเป ปาเป น รมตี สุจิฯ
    พระอริยเจ้าย่อมไม่ยินดีในบาป ท่านผู้สะอาดย่อมไม่ยินดีต่อบาป เพราะได้เห็นโทษในโลก เพราะได้รู้ธรรมอันไม่มีอุปธิ

    ให้พิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิ

    ครั้งหนึ่ง พระกังขาเรวัตตะนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง พิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิของตนอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงทราบจึงตรัสว่า

    ยา กาจิ กงฺขา อิธ หุร° วา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๖๖)
    สกเวทิยา วา ปรเวทิยา วา
    ฌายิโน ปชหนฺติ สพฺพา
    อาตาปิโน พฺรหฺมจรย จรนฺตาฯ
    ความสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งในอัตภาพนี้ หรือในอัตภาพอื่น ในความรู้ของตน หรือในความรู้ของผู้อื่น บุคคลผู้เพ่งพินิจความเพียร ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นได้ทั้งหมด

    ผู้มีสติหลงลืมไม่พึงอวดอ้างว่าเป็นบัณฑิต

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท ได้ยินเสียงมาณพทั้งหลายเปล่งเสียงอื้ออึงในที่ไม่ไกล จึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

    ปริมุฏฺฐา ปณฺฑิตา ภาสา วาจาโคจรภาณิโน(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๖๘)
    ยาวิจฺฉนฺติ มุขายาม° เยน นีตา น ต° วิทูฯ
    ชนทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม อวดอ้างตนว่าเป็นบัณฑิต พูดตามอารมณ์(พูดเท็จ) พูดยืดยาวตามความปรารถนา ย่อมไม่รู้สึกถึงเหตุที่ตนพูดชักนำผู้อื่นนั้น

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแก่ท่านจูฬะปันถกะว่า

    ฐิเตน กาเยน ฐิเตน เจตสา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๖๘)
    ติฏฺฐ° นิสินฺโน อุท วา สยาโน
    เอต° สติ° ภิกฺขุ อธิฏฺฐหาโน
    ลเภถ ปุพฺพาปริย° วิเสส°
    ลทฺธาน ปุพฺพาปริย° วิสส°
    อทสฺสน° มจฺจุราชสฺส คจฺเฉติฯ
    ภิกษุมีกายตั้งมั่นแล้ว มีจิตตั้งมั่นแล้ว ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ย่อมควบคุมสตินี้ไว้อยู่ เธอย่อมได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลาย ครั้นได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น เบื้องปลายแล้ว ย่อมถึงสถานที่เป็นที่ไม่เห็นแห่งมัจจุราช

    สิ่งที่จะเห็นได้ต้องอาศัยกาลเวลามี ๔ อย่าง

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า

    ๑)มหาบพิตร ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย เมื่อมนสิการจึงทราบได้ ถ้าไม่มนสิการก็ไม่ทราบ ผู้มีปัญญาย่อมทราบได้ ผู้ไม่มีปัญญาย่อมไม่ทราบ
    ๒)ความเป็นผู้สะอาด จะทราบได้ด้วยการปราศรัย ลัความสะอาดนั้นจะพึงทราบได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย
    ๓)กำลังใจจะทราบได้ก็ในยามประสบอันตราย และกำลังใจนั้นแลจะทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย
    ๔)ปัญญาจะทราบได้ด้วยการสนทนา ก็ปัญญานั้นจะทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๓๒)

    บรรพชิตไม่ควรประพฤติธรรมเพื่อให้มีแผล

    พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า

    น วายาเมยฺย สพฺพตฺถ นาญฺญสฺส ปุริโส สิยา*
    นาญฺญ° นิสุสาย ชีเวยฺย ธมฺเมน น วณี จเรฯ
    บรรพชิตไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป ไม่ควรเป็นคนรับใช้ของผู้อื่น ไม่ควรอาศัยสิ่งอื่นเป็นอยู่ ไม่ควรประพฤติธรรมให้มีแผล
    *หมายความว่า ไม่พึงแสดงธรรมเพื่อทรัพย์ เป็นต้น หรือไม่พึงทำจารกรรมเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์ เป็นต้น หรือไม่ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์เพื่อปรารถนาในหมู่เทพชั้นใดชั้นหนึ่ง

    ผู้เห็นผิดย่อมไม่ล่วงพ้นสงสาร

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารเชตุวัน ครั้งนั้นอัญญะเดียรถีย์ได้ถกถียงกันด้วยทิฏฐิต่างๆไม่เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคจึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อัญญะเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหาย ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพที่ไม่ใช่ธรรม ก็บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน พูดจาทิ่มแทงซึ่งกัน และกันด้วยหอกคือปาก ว่าธรรมต้องเป็นเช่นนี้ ธรรมย่อมไม่เป็นเช่นนั้น แล้วตรัสเป็นคาถาว่า

    อหงฺการปสุตาย° ปชา ปรงฺฺการูปสญฺฺหิตา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๙๒)
    เอตเทเก นาพฺภญฺญ°สุ น น° สลฺลนฺติ อทฺทสุ°
    เอตญฺจ สลฺล° ปฏิคจฺจ ปสฺสโต
    อห° กโรมีติ น ตสฺส โหติ
    มานุเปตา อย° ปชา มานคนฺถา มานวินิพฺพทฺธา
    ทิฏฺฐีสุ พฺยารพฺภกตา ส°สาร° นาติวตฺตติฯ
    หมู่สัตว์นี้ขวนขวายแล้วในทิฏฐิว่า ตน และโลกเราเป็นผู้สร้างสรรค์ประกอบด้วยทิฏฐิว่าตน และโลกผู้อื่นสร้างสรรค์ สมณะพราหมณ์พวกหนึ่งไม่รู้จริงซึ่งทิฏฐินั้น ไม่ได้เห็นทิฏฐินั้นว่า เป็นลูกศร ก็เมื่อผู้พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งความเห็นอันวิปริตนั้นว่าเป็นดุจลูกศร ความเห็นว่าเราสร้างสรรค์ก็ย่อมไม่ปรากฎแก่ผู้นั้น ความเห็นว่าผู้อื่นสร้างสรรค์ก็ย่อมไม่ปรากฎแก่ผู้นั้น หมู่สัตว์นี้ประกอบแล้วด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด ถูกมานะผูกพันไว้ กระทำความขวยขวายในเพราะทิฏฐิทั้งหลาย เขาย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  10. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เมื่อล่วงส่วนสุดทั้ง ๒ เสียได้ย่อมพ้นทุกข์

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นได้มีนักเลง ๒ พวกในนครราชคฤห์ มีจิตปฏิพัทธในหญิงแพศยาคนเดียวกัน ผลสุดท้ายได้เกิดการทะเลาะวิวาทประหัตประหารซึ่งกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาสตราบ้าง นักเลงเหล่านั้นถึงความตายในที่นั้นก็มี ถึงความทุกข์ปางตายก็มี พระผู้มีพระภาคทรงทราบความนั้น จึงตรัสว่า

    ยญฺจ ปตฺต° ยญฺจ ปตฺตพฺพ° อุภยเมต° รชานุกิญฺณ°(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๙๔)
    อาตุรสฺสานุสิกฺขโต
    เย จ สิกฺขาสารา สีลพฺพตฺต° ชีวิต° พฺรหฺมจริย° อุปฏฺบานสารา อยเมโก อนฺโตฯ
    อิจฺเจเด อุโก อนฺตา กฏสิวฑฺฒนา กฏสิโยทิฏฐี วฑฺเฒนฺติฯ
    เอเต เต อุโภ อนฺเต อนภิญญาย โอลียนฺตเอเกอติธาวนฺต เอเกฯ
    เย จ โข เต อภิญฺญาย ตตฺร จ นาเหสุ° เตน จ อมญฺญีสุ
    วฏฺฏ° เตส° นตฺถิ ปญฺญาปนายฯ
    เบญจกามคุณที่บุคคลถึงแล้ว และที่บุคคลจะพึงถึง ทั้ง ๒ นี้เกลื่อนกล่นไปด้วยุลีคือ ราคะแก่บุคคลผู้เร่าร้อนสำเหนียกตามอยู่
    การศึกษาอันเป็นสาระ ศีล พรต พรหมจรรย์ การอุปฐากอันเป็นสาระ นี้เป็นส่วนสุดที่ ๑
    อนึ่งการประกอบตนพัวพันด้วยความสุขในกาม ของบุคคลผู้กล่าวอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มีนี้เป็นส่วนสุดที่ ๒
    ส่วนสุดทั้ง ๒ นี้เป็นที่เจริญแห่งตัณหา และอวิชชา ตัณหา และอวิชชาย่อมยังทิฏฐิให้เจริญ สมณพราหมณ์บางพวกไม่รู้ส่วนสุดทั้งนั้น ย่อมจมอยู่(ในสงสารด้วยอำนาจการถือมั่นสัสสตทิฏฐิ) สมณพราหมณ์บางพวกย่อมแล่นไป(ด้วยอำนาจการถือมั่นอุจเฉททิฏฐิ)
    ส่วนท่านผู้รู้ส่วนสุดทั้ง ๒ อย่างนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่ตกไปในส่วนสุดทั้ง ๒ อย่างนั้น และได้ละส่วนสุดทั้ง ๒ อย่างนั้น วัฏฏะของท่านผู้ที่ดับไม่มีเชื้อเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อจะบัญญัติ

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแก่พระสารีบุตร พระลกุณฐกภัททิยะว่า

    อจฺฉิชฺชิ วฏฺฏ° พฺยาคา นิราส°(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๙๙)
    วิสุกฺขา สริตา น สนฺทติ
    ฉนฺน° วฏฺฏ° น วตฺตติ
    เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส
    บุคคลตัดวัฏฏะได้แล้ว บรรลุถึงพระนิพพานอันไม่มีตัณหา ตัณหาที่บุคคลให้เหือดแห้งแล้วย่อมไม่แล่นไป วัฏฏะที่บุคคลตัดได้แล้ว ย่อมไม่เป็นไปนี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์

    ครั้งหนึ่งชาวนครสาวัตถี โดยมากเป็นผู้หมกมุ่นอยู่ในกาม พระองค์ทรงตรัสว่า

    กาเมสุ สตฺตา กามสงฺคสตฺตา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๙๙)
    ส°โยชเน วชฺชมปสฺสมานา
    น หิ ชาตุ สโยชนสงฺคสตฺตา
    โอฆนฺตเรยยุ° วิปุล° มหนฺต°
    สัตว์ทั้งหลายข้องแล้วในกาม ข้องแล้วด้วยกาม และธรรมเป้นเครื่องข้องไม่เห็นโทษในสังโยชน์ ข้องแล้วด้วยธรรมอันเป็นเครื่องข้องคือสังโยชน์ ย่อมข้ามโอฆะอันกว้างใหญ่ไม่ได้เลย

    ความมืดมนเกิดขึ้นเพราะกาม

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    กามนฺธา ชาลสนฺฉนฺนา ตณฺหาฉทนจฺฉาทิตา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๑๒๐)
    ปมตฺตพนฺธุนา พนฺธา มจฺฉาว กุมฺมินามุเข
    สัตว์ทั้งหลายผู้มืดมนเพราะกาม ถูกตัณหาซึ่งเป็นจุดข่ายปกคลุมไว้แล้ว ถูกเครื่องมุงคือตัณหาปกปิดไว้แล้ว ถูกกิเลสมาร และเทวปุตตมารผูกพันไว้แล้วย่อมไปสู่ชรา และมรณะ เหมือนปลาที่ปากไซ เหมือนลูกโคที่ยังดื่มนมไปตามแม่โคฉะนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  11. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    อาสวะเป็นมูลรากของอวิชชา

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นพระอัญญาโกณฑัญญะนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง พิจารณาถึงความหลุดพ้น คือความสิ้นไปแห่งตัณหา พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

    ยสฺส มูล° ฉมา นตฺถิ ปณฺณา นตฺถิกุโต ลตา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๐๑)
    ต° ธีร° พนฺธนา มุตฺต° โก ต° นินฺทิตุมรหติ
    เทวาปิ น° ปสฺสนฺติ พฺรหฺมุนาปิ ปส°สิโตฯ
    พระอริยบุคคลใดไม่มีอวิชชามาเป็นมูลราก ไม่มีแผ่นดินคืออาสวะนิวรณ์ และอโยนิโส และมนสิการไม่มีเถาวัลย์คือ มานะอติมานะ เป็นต้น ใบคือความมัวเมา ความประมาท มายา และสาเถยยะ เป็นต้น จะมีแต่ที่ไหน ใครเล่าจะควรนินทาพระอริยบุคคลนั้น ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก แม้เทวดา แม้พรหม ก็ย่อมสรรเสริญพระอริยบุคคลนั้น

    ครั้งหนึ่งได้ทรงตรัสแก่พระมหากัจจายนะ ซึ่งกำลังนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง มีกายคตาสติตั้งมั่นดีแล้วเฉพาะหน้าว่า

    ยสส สิยา สพพทา สติ สตต กายคตา อุปฏฐิตา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๐๒)
    โน จสส โน เจ เม สิยา น ภวิสสติ น จ เมภวิสสติ
    อนปุพพวิหารี ตตถ โสกาเลเนว ตเร วิสตติกฯ
    ผู้ใดเมื่อตั้งกายคตาสติไว้มั่นแล้วเนืองๆ ในกาลทุกเมื่อว่า อะไรๆที่ชื่อว่าจะพ้นจากขันธปัญจกนั้นไม่มี อะไรๆที่ชื่อว่าเป็นของเราก็ไม่มี อะไรๆที่ชื่อว่าตนจักพ้นจากขันธ์ก็ไม่มี และอะไรที่เนื่องในตนจักไม่มีแก่เราผู้นั้นมีปกติอยู่ในสังขารนั้น พึงข้ามตัณหาได้โดยกาลเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค

    ททฺทส° อนต° นาม น หิ สจฺจ° สุทสฺสน°(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๐๗)
    ปฏิวิทฺธา ตณฺหา ชานโต ปสฺสโต นตฺนิ กิญฺจน°
    ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่านิพพาน อันไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่ใช่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสด้วยอนุปุพพวิหารตามเห็นอยู่เครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผุ้รู้อยู่เห็นอยู่

    สภาพของพระนิพพาน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจะไม่พึงปรากฎในโลกนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฎ

    ที่ใดมีความรักที่นั้นมีความทุกข์

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นนางวิสาขามหาอุบาสิกาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยอาการเศร้าโศกถึงหลานรักของนางที่ทำกาลลง พระพุทธองค์ตรัสถามว่า
    วิสาขา เธอปรารถนาบุตร และหลานเท่ากับจำนวนมนุษย์ในพระนครสาวัตถีนี้หรือ
    วิสาขากราบทูลว่า
    หม่อมฉันปรารถนาบุตร และหลานเท่ากับจำนวนมนุษย์ในพระนครสาวัตถีเจ้าค่ะ
    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
    วิสาขา มนุษย์ในพระนครสาวัตถีนี้ตายวันละเท่าไร
    วิสาขากราบทูลว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มนุษย์ในพระนครสาวัตถีนี้ตายวันละ ๑๐ คนบ้าง ๙ คนบ้าง ๘ คนบ้าง ๗ คนบ้าง ๖ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ๔ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ๑ คนบ้าง ที่จะว่างจากคนตายนั้นไม่มีเลย
    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    วิสาขา ถ้าเช่นนั้น เธอมิต้องร้องไห้ผ้าเปียกตลอดทุกวันหรือ
    วิสาขากราบทูลว่า
    ไม่ใช่อย่างนั้นเจ้าค่ะ หม่อมฉันพอเพียงแล้วกับบุตรหลาน
    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    วิสาขา ผู้ใดมีความรักถึงร้อย ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึงร้อย ผู้ใดมีรักถึงเก้าสิบ ผู้นั้นก็ทุกข์ถึงเก้าสิบ ผู้ใดมีรักถึงแปดสิบ ผู้นั้นก็ทุกข์ถึงแปดสิบ ผู้ใดมีรักถึงสี่สิบ ผู้นั้นก็ทุกข์ถึงเสี่สิบ ผู้ใดมีรักถึงยี่สิบ ผู้นั้นก็ทุกข์ถึงยี่สิบ ผู้ใดมีรักถึงสิบ ผู้นั้นก็ทุกข์ถึงสิบ ผู้ใดมีรักถึงห้า ผู้นั้นก็ทุกข์ถึงห้า ผู้ใดมีรักถึงสี่ ผู้นั้นก็ทุกข์ถึงสี่ ผู้ใดมีรักถึงสาม ผู้นั้นก็ทุกข์ถึงสาม ผู้ใดมีรักถึงสอง ผู้นั้นก็ทุกข์ถึงสอง ผู้ใดมีรักถึงหนึ่ง ผู้นั้นก็ทุกข์ถึงหนึ่ง ผู้ใดไม่มีสิ่งอันเป็นที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีความทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นไม่มีความเศร้าโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส
    แล้วตรัสเป็นคาถาว่า
    เยเกจิ โสกา ปริเทวตา วา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๒๕)
    ทุกฺขา จ โลกสฺมิ° อเนกรูปา
    ปิย° ปฏิจฺจ ภวนฺติ เอเต
    ตสฺมา หิ เต สุขิโน วีตโสกา
    เยส° ปิย° นตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก
    ตสฺมา อโสก° วิรช° ปตฺถยาโน
    ปิย° น กยิราถ กุหิญฺจิ โลเกติฯ
    ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี อันมากมายหลายอย่างนี้มีอยู่โนโลก ก็เพราะอาศัยสัตว์ หรือสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อไม่มีสัตว์ หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความทุกข์ เหล่านี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มีสัตว์ หรือสังขารอันเป็นที่รักโนโลกไหนๆ ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ใดปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลีแล้วไม่พึงทำสัตว์ หรือสังขารให้เป็นที่รักโนโลกไหนๆ

    คติของพระขีณาสพย่อมรู้ไม่ได้

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นพระทัพพมัลลบุตรได้เหาะขึ้นไปสู่เวหาส นั่งขัดสมาธิเข้าสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์อยู่ในอากาศกลางหาว เมื่อออกจากสมาบัติแล้วปรินิพพาน สรีระก็ถูกไฟเผาไหม้ด้วยอำนาจเตโชธาตุ เขม่าก็ไม่ปรากฎเลย พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

    อโยฆนหตฺตสฺเสว ชลโต ชาตเวทสฺส
    อนุปุพฺพปสนฺตสฺส ยถา น ญายเต คติ
    เอว° สมฺมาวิมุตฺตาน° กามพนฺโธฆตาริน°
    ปญฺญาเปตุ° คติ นตฺถิ ปตฺตาน° อจล° สุข°
    คติของพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ ข้ามเครื่องผูกคือกาม และโอฆะได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความสุขอันหาความหวั่นไหวมิได้ ไม่มีเพื่อจะบัญญัติ เหมือนคติแห่งไฟลุกโพลงอยู่ที่ภาชนะสัมฤทธิ์ เป็นต้น อันนายช่างเหล็กตีด้วยค้อนเหล็ก ดับสนิท ย่อมรู้ไม่ได้ ฉะนั้น

    บุญนำมาซึ่งความสุข

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข อันน่าปรารถนา อันน่าใคร่ น่ารัก น่ายินดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรารู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง ซึ่งวิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่ายินดี ที่ตนเสวยแล้วสิ้นกาลนานแห่งบุญทั้งหลายที่ตนกระทำไว้สิ้นกาลนาน เราเจริญเมตตาตลอด ๗ ปีแล้ว ไม่กลับมาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปป์(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๐๐)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  12. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เหตุที่ได้มาซึ่งฤทธิ์ ๓ ประการ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อกัปป์ฉิบหายอยู่ เราเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสรา เมื่อกัปป์เจริญอยู่ เราย่อมเข้าถึงวิมานแห่งพรหมที่ว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อเราเป็นพรหม เป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ใครครอบงำไม่ได้ เป็นผู้สามารถเห็นอดีต เห็นอนาคต เป็นผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ อยู่ในวิมานพรหมนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เป็นท้าวสักกะจอมเทพ ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นธรรมราชา มีมหาสมุทรสาคร ๔ เป็นขอบเขตเป็นผู้ชนะวิเศษแล้ว ถึงความเป็นผู้มั่งคั่งในชนบท ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง จะกล่าวไปใยถึงความเป็นพระเจ้าประเทศราชเล่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรมอะไรหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรม ๓ ประการของเราคือ ทาน ๑ ทมะ ๑ สัญญมะ ๑ แล้วตรัสว่า

    ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย อายตคฺค° สุขุทฺริย°
    ทานญฺจ สมจริยญฺฺจ เมตฺตจิตฺตญจ ภาวเย
    เอเย ธมฺเม ภาวยิตฺวา ตโย สุขสมุทฺทเย
    อพฺยาปชฺช° สุข° โลก° ปณฺฑิโต อุปปชฺชติฯ
    กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญนั่นแลอันสูงสุดต่อไป ซึ่งมีสุขเป็นผลกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ ความประพฤติสงบ ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิตครั้นเจริญธรรม ๓ ประการนี้ อันเป็นเหตุเกิดแห่งความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขฯ


    ธรรมอย่างหนึ่งที่ยังประโยชน์ทั้ง ๒ ให้เกิดขึ้น

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    อปฺปมาท° ปส°สนฺติ ปญฺญกิริยาสุ ปณฺฑิตา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๔๒)
    อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณฺหาติ ปณฺฑิโต
    ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโล โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
    อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติฯ
    บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท ในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตไม่ประมาทแล้วย่อมยึดประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๑ ประโยชน์ในสัมปรายภพ ๑ นักปราชญ์กล่าวว่า ผู้ยังประโยชน์ทั้ง ๒ ให้เกิดขึ้นนั้นเป็นบัณฑิต


    คนกล่าวเท็จจะไม่ทำบาปไม่มี

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลล่วงธรรมอย่างหนึ่งแล้ว เรากล่าวว่า บาปกรรมใดๆที่เขาจะไม่กระทำนั้นไม่มีเลย ธรรมอย่างหนึ่งคือ “สัมปชามุสาวาท” แล้วตรัสว่า

    เอกธมฺม˚ อตีตสฺส มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๔๓)
    วิติณฺณปรโลกสฺส นตฺถิ ปาป˚ อการิย˚ฯ
    บาปกรรมที่สัตว์ผู้เป็นคนมักพูดเท็จ ล่วงธรรมอย่างนี้แล้ว ถึงข้ามโลกหน้าเสียแล้ว จะไม่กระทำไม่มีเลย


    ธรรม ๒ ประการเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อตายไปพึงหวังได้ทุคติ ธรรม ๒ ประการนั้นเป็นไฉนคือ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองอินทรีย์ในทวารทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ แล้วตรัสต่อไปว่า

    จกฺขุโสตญฺจ ฆานญฺจ ชิวฺหา กาโย ตถา มโน(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๔๗)
    เอตานิ ยสฺสทฺ วารานิ อคุตฺตานิ จ ภิกขุโน
    โภชนมฺหิ อมตฺตญฺฺญ อินฺทฺฺริเยสุ อส˚วุโต
    กายทุกฺข˚ เจโตทุกฺฺข° ทุกฺข˚ โส อธิคจฺฉติ
    ฑยฺหมาเนน กาเยน ฑยฺหมาเนน เจตสา
    ทิวา วา ยทิ วา รตฺติ˚ ทุกฺข˚ วิหรติ ตาทิโส
    ภิกษุใดไม่คุ้มครองทวารเหล่านี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ และไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ภิกษุนั้นถึงความทุกข์คือ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ภิกษุเช่นนั้นดุจมีกายถูกไฟคือ ทุกข์แผดเผาอยู่ ดุจมีใจถูกไฟคือ ความทุกข์แผดเผาอยู่ และย่อมอยู่เป็นทุกข์ทั้งกลางวันกลางคืน

    จกฺขุโสตญฺจ ฆานญฺจ ชิวฺฺหา กาโย อโถ มโน(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๔๘)
    เอตานิ ยสฺส ทฺวารานิ สุคุตฺฺตานิ จ ภิกฺขุโน
    โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺูญู อินฺทฺริเยสุ จ ส˚วุโต
    กายสุข˚ เจโตสุข˚ สุข˚ โส อธิคจฺฉติ
    อฑยฺหมาเนน กาเยน อฑยฺฺหมาเนน เจตสา
    ทิวา จ ยทิ วา รตฺติ˚ สุข˚ วิหรติ ตาทิโส
    ภิกษุใดคุ้มครองดีแล้วซึ่งทวารเหล่านี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ รู้จักประมาณในโภชนะ และสำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมถึงความสุขคือ สุขกาย สุขใจ ภิกษุเหล่านั้นมีกายไม่ถูกไฟคือ ทุกข์แผดเผา มีใจไม่ถูกไฟคือ ความทุกข์แผดเผา ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งกลางวันกลางคืน


    พรหมจรรย์นี้เพื่อใคร

    พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้มิใช่ประพฤติเพื่อจะหลอกลวงคน มิใช่อยู่ที่ประพฤติเพื่อประชาชน ไม่ใช่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงค์คือ ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ไม่ใช่ประพฤติเพราะคิดว่าชนทั้งหลายจงรู้จักว่า เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุย่อมอยู่เพื่อความสำรวม และเพื่อการละ แล้วตรัสว่า

    ส°วรตฺถ° ปหานตฺถ° พฺรหฺมจรย° อนีติย°(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๕๑)
    อเหสยิ โส ภควา นิพฺพาโนคธคามิน°
    เอส มคฺโค มหตฺเถหิ อนุยาโต มเหสิภิ
    เย เย ต° ปฏิปชฺชนฺติ ยถา พุทฺเธน เทสิต°
    ทุกฺขสฺสนต° กริสฺสนฺฺติ สตฺถุ สาสนการิโนฯ
    พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องกำจัดจัญไร อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่งคือ นิพพาน เพื่อความสำรวม และเพื่อการละ ทางนี้พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีประโยชน์ใหญ่ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ทรงดำเนินไปแล้ว ชนเหล่าใดเมื่อปฏิบัติพรหมจรรย์นั้น ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ชนเหล่านั้นเมื่อกระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  13. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    วิตก ๒ ประการ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิตก ๒ ประการคือ เขมะวิตก ๑ วิเวกะวิตก ๑ ของพระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นไปเนืองๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตมีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียน วิตกนี้แลเป็นของพระตถาคตนั้น ผู้มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มาแห่งความยินดี ยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียนย่อมเป็นไปเนืองๆว่าเราจะไม่เบียดเบียนใดๆ ผู้สะดุ้งมั่นคงให้ลำบากด้วยการกระทำนี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีความสงัดเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความสงัด ย่อมเป็นไปเนืองๆว่า อกุศลเราละได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น แม้เธอทั้งหลายก็จงเป็นผู้มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียนอยู่เถิด ให้เป็นไปเนืองๆว่าเราทั้งหลายจักไม่เบียดเบียนสัตว์อะไรๆให้สะดุ้ง หรือให้ผู้มั่นคงได้รับความลำบากด้วยการกระทำนี้
    แล้วตรัสว่า

    ตถาคต° พุทฺธ° อสยฺหสาหิน°(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๕๔)
    เทฺว วิตกฺกา สมุทาจรนฺติ น°
    เขโม วิตกฺโก ปฐโม อุทีริโต
    ตโต วิเวโก ทุติโม ปกาสิโตฯ
    ตโมนุท° ปารคต° มเหสิ
    ต° ปตฺติปตฺต° วสิม° อนาสว°
    วิสนฺตร ตณฺหกฺขเย วิมุตฺต°
    ต° เว มุนิ° อนฺติมเทหธาริ°
    มารชห° พฺรูมิ ชราย ปารคุ°ฯ
    สเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺฐิโต
    ยถาปิ ปสฺเส ชนต° สมนฺตโต
    ตถูปม° ธมฺมมย° สุเมโธ
    ปาสาทมารุยฺห สมนฺตจกฺขุ
    โสกาวติณฺณ° ชนตมฺมเปตโสโก
    อเวกฺขติ ชาติชราภิภูต°
    วิตก ๒ ประการของพระตถาคตผู้ครอบงำมารอันผู้อื่นไม่พึงครอบงำได้ย่อมเป็นไปเนืองๆ พระตถาคตผู้เป็นพระพุทธเจ้าได้แสดงเขมะวิตกข้อที่ ๑ ลำดับนั้นได้ประกาศวิเวกะวิตกข้อที่ ๒ เรากล่าวมุนีผู้บรรเทาความมืด ผู้ถึงฝั่งผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง ผู้ถึงคุณอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายพึงถึง ผู้มีความชำนาญ ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้ข้ามวัฏฏทุกข์อันเป็นยาพิษ ผู้น้อมไปแล้วในธรรมอันเป็นที่สิ้นตัณหา ผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุดแล้วแลว่าผู้ละมาร ผู้ถึงฝั่งแห่งชรา พระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาดี มีพระจักษุรอบคอบ ผู้ปราศจากความโศกซึ่งสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม(ปัญญา) ย่อมพิจารณาเห็นหมู่ชนผู้ยังข้ามความโศกไม่ได้ ผู้ถูกชาติ และชราครอบงำ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาหิน พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบฉะนั้น


    เทศนาโดยปริยาย ๒ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนา ๒ ประการ ของพระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมมีโดยปริยาย ๒ ประการเป็นไฉนคือ ธรรมเทศนาประการที่ ๑ นี้ว่า เธอทั้งหลายจงเห็นบาปโดยความเป็นบาป ธรรมเทศนาประการที่ ๒ นี้ แม้ว่า เธอทั้งหลายครั้นเห็นบาปโดยความเป็นบาปแล้ว จงเบื่อหน่าย จงคลายกำหนัด จงปลดเปลื้องในบาปนั้น(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๕๕)

    อวิชชาเป็นหัวหน้าอกุศล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งการถึงพร้อมของอกุศลธรรม คิออหิวิกะ อโนตัปปะ ย่อมเป็นไปตาม

    วิชชาเป็นหัวหน้าของกุศล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งการถึงพร้อมของกุศลธรรม คิอหิริ และโอตตัปปะ ย่อมเป็นไปตาม

    ยา กาจิมา ทุคฺคติโย อสฺมิ° ดลเก ปรมฺหิ จ(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๕๖)
    อวิชฺชามูลกา สพฺพา อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา
    ยโต จ โหติ ปาปิจฺโฉ อหิริโก อนาทโร
    ตโต ปาป° ปสวติ อปาย° เตน คจฺฉติฯ
    ตสฺมา ฉนฺทญฺจ โลภญฺจ อวิชฺชญฺจ วิราชย°
    วิชฺช° อุปฺปาทย° ภิกฺขุ สพฺพา ทุคฺคติโย ชเหฯ
    ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ และในโลกหน้าทั้งหมดมีอวิชชาเป็นมูล อันความปรารถนา และความโลภห่อหุ้มก็เพราะเหตุที่บุคคลเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่มีหิริ ไม่เอื้อเฟื้อ ฉะนั้นจึงต้องประสบบาป ต้องไปสู่อบายภูมิเพราะบาปนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุใดสำรอกฉันทะ โลภะ และอวิชชาได้ ยังวิชชาให้บังเกิดขึ้นอยู่ ย่อมละทุคติทั้งปวงได้


    ธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองโลก ๒ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขธรรม ๒ ประการนี้ย่อมรักษาโลก ๒ ประการเป็นไฉนคือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสุขธรรม ๒ ประการนี้จะไม่พึงรักษาโลกแล้วไซร้ โลกนี้ก็จะไม่ปรากฎว่าผู้นั้นเป็นมารดา น้า ป้าภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู โลกก็จะถึงซึ่งความปะปนกันไป เหมือนอย่างแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัข สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น

    เยส° เจ หิริโอตฺตปฺป° สพฺพทา จ น วิชฺชติ(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๕๘)
    โวกฺกนฺตา สุกฺกมูลา เต ชาติมรณคามิโนฯ
    เยสญฺจ หิริโอตฺตปฺปิ สทา สมฺมา อุปฏฺฺฐิตา
    วิรูฬฺหพฺรหฺมจริยา เต สนฺโต ขีณปุนพฺภวาติฯ
    ถ้าสัตว์เหล่าใด ไม่มีหิริ และโอตตัปปะในกาลทุกเมื่อไซร้ สัตว์เหล่านั้นไม่มีสุขธรรมอันเป็นมูลเสียแล้ว ย่อมเป็นผู้ถึงชาติ และมรณะ ส่วนสัตว์เหล่าใดเข้าไปตั้งหิริ และโอตตัปปะไว้โดยชอบโดยกาลทุกเมื่อ สัตว์เหล่านั้นมีพรหมจรรย์งอกงามเป็นผู้สงบ มีภพใหม่สิ้นไปแล้ว


    ธรรมชาติที่ควรละ และควรเจริญ

    ชาติ ภูต° สมุปฺปนฺน° กต° สงฺขตมทฺธุว°(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๕๙)
    ชรามรณสงฺขต° โรคนิทฺธ° ปภงฺคณ°
    อาหารเนตฺติปฺปภว° นาล° ตทภินนฺทิตุ°
    ตสฺส นิสฺสรณ° สนฺต° อตฺถฺกาวจร° ธุว°
    อชาต° อสมุปฺปนฺน° อโสก° วิรช° ปท°
    นิโรโธ ทุกฺขธมฺมาน° สงฺขารูปสโม สุโขฯ
    ธรรมชาติอันเกิดแล้วมีแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืนระคนด้วยชรา และมรณะ เป็นรังแห่งโรค ผุพัง มีอาหาร และตัณหาเป็นแดนเกิด ไม่ควรเพื่อยินดีในธรรมชาตินั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาตินั้น เป็นบทอันระงับ ไม่ใช่อยู่ในวิสัยของการนึกคิด ยั่งยืน ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ความดับแห่งทุกขธรรมทั้งหลาย คือความที่สังขารสงบระงับ เป็นสุข
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  14. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    นิพพานธาตุ ๒ อย่าง

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉนคือ
    ๑)สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    ๒)อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนได้แล้ว ยังสังโยชน์ในภพให้ขาดไปโดยรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้นยังเสวยอารมณ์ทั้งที่พอใจ และไม่พอใจ ยังเสวยสุข และทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใด เป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนได้แล้ว ยังสังโยชน์ในภพให้ขาดไปโดยรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตตภาพนี้แหละของภิกษุนี้นั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว ดับเย็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการฉะนี้แล

    เทฺว อิมา จกฺขุมตา ปกาสิตา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๕๙)
    นิพฺพานธาตุ อนิสฺสิเตน ตาทินา
    เอกา หิ ธาตุ อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา
    สอุปาทิเสสา ภวเนตฺติสงฺขยา
    อนุปาทิเสสา ปน สมฺปรายิกา
    ยมฺหิ นิรุชฺฌนฺติ ภวานิ สพฺพโสฯ
    เย เอตทญฺญาย ปท° อสงฺขต°
    วิมุตฺตจิตฺตา ภวเนตฺติสงฺขยา
    เต ธมฺมสาราธิคมกฺขเย รตา
    ปห°สุ เต สพฺพภวานิ ตาทิโนติฯ
    นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคตผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ชื่อว่า สอุปาทิเสสนิพพาน เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุอีกอย่างหนึ่งเป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวงอันมีในเบื้องหน้าชื่อว่า อนุปาทิเสสนิพพาน ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้ว มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานอันเป็นที่สิ้นกิเลส เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด


    การแสวงหา ๓ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้เป็นไฉนคือ

    กาเมสนา การแสวงหากาม
    ภเวสนา การแสวงหาภพ
    พรหมจริเยสนา การแสวงหาพรหมจรรย์
    สมาหิโต สมฺปชาโน สโต พุทฺธสฺโส สาวโก(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๖๖)
    เอสนา จ ปชานาติ เอสนานญฺจ สมฺภว°
    ยตฺถ เจตา นิรุชฺฌนฺติ มคฺคญฺจ ขยคามิน°
    เอสนาน° ขยา ภิกฺขุ นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตฯ
    สาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้รู้ทั่ว มีสติ ย่อมรู้ชัดซึ่งการแสวงหาทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งการแสวงหาทั้งหลาย และมรรคอันให้ถึงความสิ้นไปแห่งการแสวงหาทั้งหลาย ภิกษุหายหิวแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งการแสวงหาทั้งหลาย

    กาเมสนา ภเวสนา พฺรหฺมจริเยสนา สห(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๖๗)
    อิติ สจฺจปรามาโส ทิฏฐิฏฺฐานา สมุสฺสยา
    สพฺพราควิรตฺตสฺส ตณฺหกฺขยวิมุตฺติโน
    เอสนาปฏินิสฺสฏฺฺฐฏฺา ทิฐิฏฺฐานา สมูหตา
    เอสนาน° ขยา ภิกฺขุ นิราโส อกถงฺกถีติฯ
    การแสวงหากาม การแสวงหาภพ กับการแสวงหาพรหมจรรย์ การยึดมั่นว่าจริง ดังนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เกิดขึ้น การแสวงหาทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ พระอรหันต์ผู้ไม่ยินดีแล้วในความยินดีทั้งปวง ผู้น้อมไปในธรรมอันเป็นที่สิ้นตัณหา สละคืนเสียแล้ว ถอนขึ้นได้แล้ว ภิกษุเป็นผุ้ไม่มีความหวัง ไม่มีความสงสัย เพราะความสิ้นไปแห่งการแสวงหาทั้งหลาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  15. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    บุตร ๓ จำพวก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตร ๓ จำพวกนี้มีปรากฎอยู่ในโลกคือ
    ๑)อติชาตบุตร คือ บุตรที่เลิศกว่ามารดาบิดา หรือเผ่าพงศ์
    ๒)อนุชาตบุตร คือ บุตรที่เสมอกับมารดาบิดา หรือเผ่าพงศ์
    ๓)อวชาตบุตร คือ บุตรที่เลวกว่ามารดาบิดา หรือเผ่าพงศ์

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อติชาตบุตรเป็นอย่างไร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาของบุตรในโลกนี้ ไม่ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือ สุรา และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก

    ส่วนบุตรของมารดาบิดาเหล่านั้น เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือ สุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีศีล มีธรรมอันดีงาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรอย่างนี้แลคือ อติชาตบุตร

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุชาตบุตรเป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาของบุตรในโลกนี้ ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือ สุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีศีล มีธรรมอันงาม

    ส่วนบุตรของมารดาบิดาเหล่านั้น ก็ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันดีงาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรอย่างนี้แลคือ อนุชาตบุตร

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวชาตบุตรเป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาของบุตรในโลกนี้ ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือ สุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม

    ส่วนบุตรของมารดาบิดาเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรอย่างนี้แลคือ อวชาตบุตร

    อติชาต° อนุชาต° ปุตฺตมิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา(ขุททกนิกาย อุทาน ๒๕/๒๘๐)
    อวชาต° น อิจฺฉนฺติ โย โหติ กุลคนฺธโนฯ
    เอเต โข ปุตฺตา โลกสฺมิ° เย จ ภวนฺติ อุปาสกา
    สทฺธาสีเลน สมฺปนฺนา วทญฺญู วิตมจฺฉรา
    จนฺโท อพฺภฆนา มุตฺโต ปริสาสุ วิโรจเรฯ
    บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาอติชาตบุตร และอนุชาตบุตร ไม่ปรารถนาอวชาตบุตรซึ่งเป็นผู้ทำลายตระกูล ส่วนบุตรเหล่าใดเป็นอุบาสก บุตรเหล่านั้นแลชื่อว่าเป็นบุตรในโลก บุตรเหล่านั้นมีศรัทธาถึงพร้อมด้วยศีลผู้โอบอ้อมอารีรู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ย่อมรุ่งเรืองในบริษัททั้งหลายเปรียบเหมือนพระจันทร์ที่พ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  16. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    กิเลสเกิดเพราะความเกี่ยวข้อง

    ส°สคฺคา วนโถ ชาโต.............อส°สคฺเคน ฉิชฺชต(ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ๒๕/๒๘๔)
    ปริตฺต° ทารุมารุยฺห..................ยถา สีเท มหณฺณเว
    เอว° กุสีตมาคมฺม...................สาธุชีวีปิ สีทติฯ
    ตสฺมา ต° ปริวชฺเชยฺย..............กุสีต° หีนวีรย°
    ปวิวิตฺเตหิ อริเยหิ....................ปหิตตฺเตหิ ฌายิภิ
    นิจฺจ° อารทฺธวิริเยหิ................ปณฺฑิเตหิ สหาวเสติฯ
    กิเลสเกิดเพราะความเกี่ยวข้อง บุคคลย่อมตัดเสียได้เพราะความไม่เกี่ยวข้อง แม้บุคคลผู้มีความเป็นอยู่ดี แต่อาศัยบุคคลผู้เกียจคร้าน ย่อมจมลงในสมุทรคือ สงสาร เปรียบเมือนบุรุษขึ้นสู่แพไม้น้อยๆ ย่อมจมลงในมหรรณพฉะนั้น เพราะเหตุนั้นบุคคลจึงเว้นจากบุคคลผู้เกียจคร้าน มีความเพีบรอันเลวนั้นเสีย พึงอยู่ร่วมกับพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้สงัดแล้ว ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ผู้มีปกติเพ่งผู้ปรารถนาความเพียรเป็นนิจ ผู้เป็นบัณฑิต


    ทางเสื่อมแห่งพระโพธิญาณ

    กมฺมาราโม ภสฺสรโต..............นิทฺทาราโม จ อุทฺธโต(ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ๒๕/๒๘๕)
    อภพฺโพ ตาทิโส ภิกขุ.............ผุฏฺฐ° สมฺโพธิมุตฺตม°ฯ
    ตสฺมา หิ อปฺปกิจฺจสฺส.............อปฺปมิทฺโธ อนุทฺธโต
    ภพฺโพ โส ตาทิโส ภิกฺขุ.........ผุฏฺฐ° สมฺโพธิมุตฺตมนฺติฯ
    ภิกษุผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ยินดีในการคุย ชอบหลับ และฟุ้งซ่าน ผู้เช่นนั้นไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงเป็นผู้มีกิจน้อย เว้นจากความหลับ ไม่ฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้เช่นนั้นควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด

    อนวญฺญตฺติสญฺญตฺโต............ลาภสกฺการคารโว(ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ๒๕/๒๘()
    สหนนฺทิ อมจฺเจหิ...................อารา ส°โยชนกฺขยา
    โยธ ปุตฺเต ปสุ° หิตฺวา............วิวาโห สงฺคหานิ จ
    ภพฺโพ โส ตาทิโส ภิกฺขุ.........ผุฏฺฺฐ° สมฺโพธิมุตฺตมนฺติฯ
    บุคคลผู้ประกอบด้วยการไม่ให้ผู้อื่นดูหมิ่นตน ผู้หนักในลาภสักการะ มีปกติยินดีกับด้วยอำมาตย์ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ห่างไกลจากความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ละบุตร ปศุสัตว์ การให้กระทำวิวาหะ และการหวงแหนเสียได้ ภิกษุผู้เช่นนั้นๆ เป็นผู้ควรเพื่อจะบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  17. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    บุคคล ๓ จำพวกอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลอนุเคราะห์โลก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้เมื่ออุบัติขึ้นในโลกย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนั้นเป็นไฉน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคตพระองค์นั้นทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ ๑ นี้แล เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

    อีกประการหนึ่ง สาวกของพระศาสดาพระองค์นั้นแหละ เป็นอรหันต์ขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ สาวกนั้นแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ ๒ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

    อีกประการหนึ่ง พระสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้นแหละ ยังเป็นผู้ศึกษาปฏิบัติอยู่ มีพระปริยัติธรรมสดับมามาก ประกอบด้วยศีล และวัตร แม้พระสาวกนั้นก็แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ ๓ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

    สตฺถา หิ โลเก ปฐโม มเหสี(ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ๒๕/๒๙๒)
    ตสฺสนฺวโย สาวโก ภาวิตตฺโต
    อถาปโร ปาฏิปโทปิ เสกฺโข
    พหุสฺสุโต สีลวตูปปนฺโนฯ
    เอเต ตโย เทวมนุสฺสเสฏฐา
    ปภงฺกรา ธมฺมมุทีริยนฺคา
    อปาปุรนฺติ อมตสฺส ทฺวาร°
    โยคา ปโมจนฺติ พหุชน° เตฯ
    เย สตฺถวาเหน อนุตฺตเรน
    สุเทสิต° มคฺคมนุกฺกมนฺติ
    อิเธว ทุกฺขสฺส กโรนฺติ อนฺต°
    เย อปฺปมตฺตา สุคตสฺส สาสเนฯ
    พระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ เป็นบุคคลที่ ๑ ในโลก ต่อมาคือพระสาวกผู้เกิดตามพระศาสดานั้น ผู้มีตนอันอบรมแล้ว และพระสาวกอื่นอีก แม้จะยังศึกษา และปฏิบัติอยู่ ได้สดับมามากประกอบด้วยศีลวัตร บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐสุดในเทวดา และมนุษย์ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้นส่งแสงสว่างแสดงธรรมอยู่ ย่อมเปิดประตูแห่งอมตะนิพพาน ย่อมช่วยปลกเปลื้องชนเป็นอันมากจากโยคะ ชนทั้งหลายผู้ปฏิบัติตามอริยมรรคที่พระศาสดาผู้นำพวก ผู้ยอดเยี่ยมทรงแสดงดีแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระสุคต ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในอัตภาพนี้ได้โดยแท้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  18. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ธรรมเครื่องกำจัดนิวรณ์

    นาห° ภิกฺขเว อญฺญ° เอกธมม°ปิ สมนุปสฺสามิ เยน° อนุปฺปนฺโน วา กามจฺฉนฺโท นุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺโนวา กามจฺฉนฺโท ปหียติ ยถยิท° ภิกฺขเว อสุภนิมิตฺต°อสุภนิมิตฺต° ภิกฺขเว โยนิโส มนสิกโรโต อสุปฺปนฺโน เจว กามจฺฺฉนฺโท นุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺโน จ กามจฺฉนฺโท ปหียติฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๐/๔)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่น แม้อย่างหนึ่งที่จะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้เหมือนอศุภนิมิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจอศุภนิมิตโดยแยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้นย่อมละได้

    เมตฺต° ภิกฺขเว เจโตวิมุตติ° โยนิโส มนสิกโรโต อนุปฺปนฺโน เจว พฺฺยาปาโท นุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺโน จ พฺยาปาโท ปหียติฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจเมตตาวิมุติโดยแยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วอันบุคคลย่อมละได้

    ภิกฺขเว อนุปฺปนฺโน เจว ถีนมิทฺธ° นุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺนญฺจ ถีนมิทฺธ° ปหียติฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลปรารภความเพียรแล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้นย่อมละได้

    ภิกฺขเว อนุปฺปนฺนญฺ เจว อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจ° นุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺนญฺจ อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจ° ปหียติฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตสงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้นย่อมละได้

    ภิกฺขเว โยนิโส มนสิกาโร โยนิโส ภิกฺขเว มนสิกโรโต อนุปฺปนฺนา เจว วิจิกิจฺฉา นุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺนา จ วิจิกิจฺฉา ปหียติฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยแยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้นย่อมละได้


    จิตที่ไม่ได้อบรมดีแล้วนำทุกข์มาให้

    นาห° ภิกฺขเว อญฺญ° เอกธมฺม°ปิ สมนุปสฺสามิ ย° เอว° อภาวิต° อพหุลีกต° ทุกฺขาธิวาห° โหติ ยถยิท° ภิกฺขเว จิตฺต° จิตฺต° ภิกฺขเว อภาวิต° อพหุลีกต° ทุกฺขาธิวาห° โหติฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๐/๗)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่น แม้อย่างหนึ่งที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้


    จิตที่อบรมดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้

    นาห° ภิกฺขเว อญฺญ° เอกธมฺม°ปิ สมนุปสฺสามิ ย° เอว° ภาวิต° พหุลีกต° สุขาธิวาห° โหติ ยถยิท° ภิกฺขเว จิตฺต° จิตฺต° ภิกฺขเว ภาวิต° พหุลีกต° สุขาธิวาห° โหติฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๐/๑๑)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่น แม้อย่างหนึ่งที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้


    เมื่อจิตเศร้าหมองแล้วต้องไปสู่ทุคติ

    อิธาห° ภิกฺขเว เอกจฺจ° ปุคฺคล° ปทุฏฺฐจิตฺต° เอว° เจตสา เจโตปริจฺจ ปชานามิ อิมมฺหิ เจ อย° สมเย ปุคฺคโล กาล° กเรยฺย ยถาภต° นิกฺขิตฺโต เอว° นิรเย ต° กิสฺส เหตุ จิตฺต° หิสฺส ภิกฺขเว ปทุฏฺฐ° เจโตปโทสเหตุ จ ปน ภิกฺขเว เอวมิเธกจฺเจ สตฺตา กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา อปาย° ทุคฺคติ° วินิปาต° นิรย° อุปปชฺชนฺติฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๐/๗)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้วย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า ถ้าบุคคลผู้นี้พึงทำกาละในสมัยนี้ ย่อมตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น ข้อนี้เพราะอะไร เพราะจิตของเขาถูกโทษประทุษร้าย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่จิตประทุษร้าย สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก


    เมื่อจิตผ่องใสแล้วย่อมไปสู่สุคติ

    อิธาห° ภิกฺขเว เอกจฺจ° ปุคฺคล° ปสนฺนจิตฺต° เอว° เจตสา เจโตปริจฺจ ปชานามิ อิมมฺหิ เจ อย° สมเย ปุคฺคโล กาล° กเรยฺย ยถาภต° นิกฺขิตฺโต เอว°สคฺเค ต° กิสฺส เหตุ จิตฺต° หิสฺส ภิกฺขเว ปสนฺน° เจโตปสาทเหตุ จ ปน ภิกฺขเว เอวมิเธกจฺเจ สตฺตา กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุคติ° สคฺค° โลก° อุปปชฺชนฺติฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๐/๑๑)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้วย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลผู้นี้พึงทำกาละในสมัยนี้ ย่อมตั้งอยู่ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเทอดไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะจิตของเขาผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  19. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    จิตเศร้าหมองเพราะอุปกิเลส

    ปภสฺสรมิท° ภิกฺขเว จิตฺต° ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐ°ฯ*
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา


    *พุทธภาษิตบทนี้มีการตีความกันออกไปหลายอย่าง บางท่านอธิบายว่า หมายถึงจิตเดิมบริสุทธิ์เป็นประภัสสร แต่มาเศร้าหมองในภายหลัง โดยยกตัวอย่างเด็กที่เกิดมาใหม่ๆในขณะนั้นว่า ยังไม่มีกิเลส กิเลสนั้นเกิดขึ้นในภายหลัง แล้วเข้าใจต่อไปถึงสภาพของจิตว่า เดิมทีเดียวบริสุทธิ์เป็นพุทธ จึงมีการปฏิบัติเพื่อไปสู่จิตเดิมขึ้น การตีความไปในลักษณะเช่นนั้นเข้าใจว่า ผู้อธิบายไม่ได้ค้นคว้าในอภิธรรม และไม่ได้ดูในอรรถกถา ผสมกับความเห็นผิดของตนมีอยู่ จึงตีความเอาว่าต้องเป็นเช่นนั้น ความจริงแล้วเรื่องจิตเดิมไม่มีกล่าวอยู่ในพระไตรปิฎก หรืออรรถกถาเลย เป็นเรื่องของนิกายเซ็นทางฝ่ายมหายานเท่านั้น ไม่ใช่พุทธพจน์ตามหลักพุทธศาสนานั้น จิตมีการเกิดดับไปตามเหตุปัจจัยไม่มีเดิมเลย

    ความในบาลีบทนี้มีความหมายดังนี้ ในมโนรถปุรณีอรรถกถา ท่านอธิบายคำว่า ปภัสสร ว่า “ปภสฺสรนฺติ ปณฺฑธ° ปริสุทฺธ°” แปลว่า คำว่า ปภัสสร หมายความว่า ขาวคือ หมดจด

    “จิตฺตนฺติ ภวงฺตจิตฺต°” แปลว่า คำว่า จิต ได้แก่ ภวังคจิต

    ความตอนนี้ จึงได้ใจความว่า จิตปภัสสรนั้น ก็คือ ภวังคจิตนั่นเอง คำว่า ภวังคจิต คือ จิตที่ยังไม่ขึ้นสู่วิถีทางทวารทั้ง ๖ ได้แก่ จิตที่เกิดเมื่อเรารับรู้อารมณ์จนสุดวิถีไปแล้วหรือในขณะนอนหลับสนิท จิตที่เกิดในขณะนอนหลับนั้นแหละเรียกว่า ภวังคจิต เพราะคนที่นอนหลับ ความโลภ ความโกรธ ความหลงตลอดจนความริษยา พยาบาทใดๆๆม่เกิดขึ้นเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จิตของคนนอนหลับไม่มีกิเลส กิเลสยังคงมีอยู่ในลักษณะสงบนิ่งเป็นอนุสัยกิเลส อยู่ในความเกิดดับสืบต่อของจิตนั้น ต่อเมื่อใดมีอารมณ์ภายนอกมากระทบทางทวารทั้ง ๖ กิเลสที่นอนอยู่อย่างสงบนั้นก็จะฟุ้งซ่านขึ้นมาทันที จิตนั้นก็เศร้าหมอง กิเลสชนิดนี้เรียกว่า ปริยุฏฐานกิเลส หรืออุปักกิเลส

    ในอรรถกถาท่านอธิบายแยกศัพท์ออกไปโดยละเอียดดังนี้

    “กิ° ปน จิตฺตสฺส วณฺโณ นาม อตฺตีติ” หากถามว่า ที่ชื่อว่าวรรณะมีอยู่แก่จิตหรือ “นตฺถิ” ตอบว่า ไม่มี

    “นีลาทีนญฺหิ อญฺญตรวณฺณ° โหตุ สุวณฺณวณฺณ° วา ย°กิญฺจิ อรรถกถา ปภสฺสรนฺติ วุจฺจติ” จริงอยู่ในบรรดาวรรณะมีสีเขียวเป็นต้น หรือวรรณะใดวรรณะหนึ่งก็ตาม แม้วรรณะแห่งทองอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เรียกว่าปภัสสร เพราะเป็นวรรณะบริสุทธิ์

    “อิทมฺปิ นิรุปกฺกิเลสตาย ปริสุทฺธนฺติ ปภสฺสร°” แม้จิตนี้ก็เป็นจิตบริสุทธิ์ เพราะไม่มีอุปักกิเลส ดังนั้นจึงชื่อว่าปภัสสร

    “ตญฺจ โขติ ต° ภวงฺคจิตฺต°” ก็จิตปภัสสรนั้นแล คือ ภวังคจิต

    “อาคนฺตุเกหีติ อสหชาเตหิ ปจฺฉา ชวนกฺขเณ อุปฺปชฺนเกหิ” คำว่า อาคันตุเกหิ หรือ อาคันตุกะกิเลสนั้น ย่อมเกิดขึ้นในขณะแห่งชวนะในภายหลัง อันมิได้เกิดร่วมกัน

    “อุปกฺกิเลเสหีติ ราคาทีหิ อุปกฺกิลิฏฺฐตฺตา อุปกฺกิลิฏฺฐตฺตา อุปกฺวิลิฏฺฐ° นามาติ วุรฺจติ” คำว่า อุปักกิเลสนั้น อธิบายว่า ภวังคจิตนั้นท่านกล่าวว่า ชื่อว่าเข้าไปเศร้าหมองแล้ว เพราะเข้าไปเศร้าหมองด้วยราคะเป็นต้น

    ความในอรรถกถานี้ ผู้ค้นคว้าทางพระไตรปิฎกโดยเฉพาะอภิธรรมปิฎกย่อมทราบดี ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าใจก็จงศึกษาสภาวของจิตในอภิธรรมเทอญ


    จิตผ่องใสเพราะพ้นจากอุปกิเลส

    ปภสฺสรมิท° ภิกฺขเว จิตฺต° ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺต°ฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๐/๗)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง เพราะจิตนั้นแลพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  20. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ผู้เจริญเมตตาจิตเพียงลัดนิ้วมือเดียวมีอานิสงส์มาก

    อจฺฉราสงฺฆาตมตฺต°ปิ เจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เมตฺตจิตฺต° อาเสวติ อย° วุจฺจติ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อริตฺตชฺฌาโน วิหรติ สตฺถุสาสนกฏร โอวาทปฏิกโร อโมฆ° รฏฺฺฐปิณฺฑ° ภุญฺชติ โก ปน วาโท เย น° พหุลีกโรนฺติฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๐/๘)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุส้องเสพเมตตาจิต แม้ชั่วการเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ได้ทำตามคำสอนของพระศาสดา เป็นผู้ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไปใยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า


    อกุศลเกิดได้เพราะใจเป็นหัวหน้า

    เยเกจิ ภิกฺขเว ธมฺมา อกุสลา อกุสลภาคิยา อกุศลปกฺขิกา สพฺเพ เต มโนปุพฺพงฺคมา มโน เตส° ธมฺมาน° ปฐม° อุปฺปชฺชติ เนฺวเทว กุสลา ธมฺมาฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๐/๙)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนอกุศลที่เป็นไปในฝักฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมเกิดทีหลัง


    กุศลเกิดได้เพราะใจเป็นหัวหน้า

    เยเกจิ ภิกฺขเว ธมฺมา กุสลา กุสลภาคิยา กุศลปกฺขิกา สพฺเพ เต มโนปุพฺพงฺคมา มโน เตส° ธมฺมาน° ปฐม° อุปฺปชฺชติ เนฺวเทว กุสลา ธมฺมาฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๐/๑๐)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในส่วนกุศลที่เป็นไปในฝักฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมเกิดทีหลังเทียว


    ความเสื่อมที่ชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมใดๆในโลก

    อปฺปมตฺติกา เอสา ภิกฺขเว ปริหานิ ยทิท° ญาติปริหานิ เอต° ปฏิกิฏฺฺฐ° ภิกฺขเว ปริหานีน° ยทิท° ปญฺญปริหานิฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๑/๑๒)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมญาติมีประมาณน้อย แต่ความเสื่อมแห่งปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้งหลาย

    อปฺปมตฺติกา เอสา ภิกฺขเว วุฑฺฒิ ยทิท° ญาติวุฑฺฒิ เอตทคฺค° ภิกฺขเว วุฑฺฒีน° ยทิท° ปญฺญวุฑฺฒิ ตสฺมา ติห ภิกฺขเว เอว° สิกฺขิตพฺพ° ปญฺญาวุฑฺฒิยา วฑฺฒิสฺสามาติ เอว° หิ โว ภิกฺขเว สิกฺขิตพฺพ°ฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๑/๑๓)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยญาติมีประมาณน้อย เพราะความเจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าบรรดาความเจริญทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจะเจริญโดยความเจริญด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมแห่งโภคะมีประมาณน้อย ความเสื่อมแห่งปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้งหลาย

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยโภคะมีประมาณน้อย ความเจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าเราทั้งหลายจะเจริญโดยความเจริญปัญญา

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้

    อปฺปมตฺติกา เอสา ภิกฺขเว ปริหานิ ยทิท° ยโสปริหานิ เอต° ปฏิกิฏฺฺฐ° ภิกฺขเว ปริหานีน° ยทิท° ปญฺญปริหานีติฯ(อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ๒๑/๑๗)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมยศมีประมาณน้อย ความเสื่อมปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้งหลาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...