พระพุทธศาสนา...พระโบราณ...พระในตำนาน...

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย บรรพชนทวา, 12 กันยายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ชาติที่บำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ

    ๑) พระโพธิสัตว์ทรงบรรลุอานิสงค์เหล่านั้นมาแล้ว เมื่อครั้งพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมอยู่ ได้ทรงบำเพ็ญทานบารมีอันหาประมาณมิได้ ดังเช่นในเวลาที่เสวยพระชาติเป็นอกิตติพราหมณ์ สังขพราหมณ์ พระเจ้าธนญชัยราช พระเจ้ามหาสุทัสสนะ มหาโควินทะ พระเจ้านิมิมหาราช จันทกุมาร วิสัยหเศรษฐีพระเจ้าสีวิราช พระเจ้าเวสสันดร เป็นต้น แต่โดยเฉพาะเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นยสบัณฑิต ทรงกระทำการบริจาคชีวิตให้เป็นทานตามที่ปรากฎในปฏิญญาบุรพจรรยาอย่างนี้ว่า
    ภิกฺขาย อุปคตํ ทิสฺวา สกตฺตาน ปริจฺจชํ
    ทาเนน เม สโม นตฺถิ เอสา เม ทานปารมี
    เราเห็นยาจกเข้ามาขอแล้ว ได้สละตนของตนให้เป็นทาน
    ผู้ที่จะเสมอเราด้วยทานไม่มี นี้เป็นทานบารมีของเรา

    เมื่อกระทำการบริจาคชีวิตเป็นทานอย่างนี้ ทานบารมีในครั้งนั้น จัดเป็นปรมัตถบารมี

    ๒) เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญศีลบารมี ดังเช่นในเวลาที่เสวยพระชาติเป็นสีลวนาคราช จัมเปยยนาคราช ภูริฑัตตนาคราช พญาช้างฉัททันต์ ราชบุตรของพระเจ้าชัยทิสราช อลีนสัตตุกุมาร เป็นต้น แต่โดยเฉพาะเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นสังขปาลนาคราชได้ทรงกระทำการบริจาคชีวิตตน ตามที่ปรากฎในปฏิญญาณบุรพจรรยาอย่างนี้ว่า
    สูเลหิปิ วิชฺฌยนฺโต โกฏฺฏยนฺโตปิ สตฺติหิํ
    โภชปุตฺเต น กุปฺปามิ เอสา เม สีลปารมี
    เราแม้จะถูกแทงด้วยหลาว ถูกพุ่งด้วยหอก
    ก็ไม่ยอมโกรธบุตรของนายพราน นี้เป็นศีลบารมีของเรา

    เมื่อกระทำการบริจาคชีวิตอย่างนี้ ศีลบารมีที่บำเพ็ญในครั้งนั้น จัดเป็นปรมัตถบารมี

    ๓) เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมะบารมี ได้ทรงสละราชสมบัติออกบวช ดังเช่นในเวลาที่เสวยพระชาติเป็นโสมนัสกุมาร หัตถิปาลกุมาร อโยฆรบัณฑิต เป็นต้น ก็นับชาติประมาณไม่ได้เหมือนกันโดยเฉพาะ เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นจุฬสุตโสมได้ทรงกระทำสละราชสมบัติออกบวชโดยไม่มีความเกี่ยวข้องเยื่อใยในราชสมบัติ ตามที่ปรากฎในปฏิญญาณบุรพจรรยาอย่างนี้ว่า
    มหารชฺชํ หตฺถคตํ เขฬปิณฺฑํว ฉฑฺฑยิํํ
    จชโต น โหติ ลคฺคนํ เอสา เม เนกฺขมฺมปารมี
    เราได้สละราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ที่อยู่ในเงื้อมหัตถ์ ดังหนึ่งก้อนเขฬะ
    เมื่อได้สละแล้ว ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง นี้เป็นเนกขัมมบารมีของเรา

    เมื่อทรงสละราชสมบัติแล้วออกผนวชไม่เกี่ยวข้องอย่างนี้ เนกขัมมะบารมีที่ทรงบำเพ็ญในครั้งนั้น จัดเป็นปรมัตถบารมี

    ๔) เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี ดังเช่นในเวลาที่เสวยพระชาติเป็นวิธูรบัณฑิต มหาโควินทบัณฑิต กุททาลบัณฑิต อรกบัณฑิต โพธิปริพาชกมโหสถบัณฑิต เป็นต้น ก็นับชาติประมาณไม่ได้เหมือนกัน แต่โดยเฉพาะ เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิตในสัตตุภัสตชาดก ในคราวที่เกิดเรื่องกระทอข้าวสัตตุ ได้ทรงแสดงงูที่อยู่ในกระทอ ตามที่ปรากฎในปฏิญญาบุรพจรรยาอย่างนี้ว่า
    ปญฺญาย ปวิจินนฺโต พฺราหฺมณ โมจยี ทุขาํ
    ปญฺญาย เม สโม นตฺถิ เอสา เม ปญฺญปารมี
    เราใคร่ครวญด้วยปัญญาเปลื้องพราหมณ์ ให้พ้นจากทุกข์ได้
    ผู้ที่จะเสมอเราด้วยปัญญาไม่มี นี้เป็นปัญญาบารมีของเรา

    เมื่อแสดงงูที่อยู่ในกระทอ ปัญญาบารมีที่ทรงบำเพ็ญในครั้งนั้น จัดเป็นปรมัตถบารมี

    ๕) เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี ก็ได้ทรงบำเพ็ญมาโดยนับชาติไม่ได้เหมือนกัน แต่โดยเฉพาะ เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระมหาชนกทรงว่ายข้ามมหาสมุทร ตามที่ปรากฎในปฏิญญาบุรพจรรยาอย่างนี้ว่า
    อตีรทสฺสี ชลมชฺเฌ หตา สพฺเพว มานุสา
    จิตฺตสฺส อญฺญถา นตฺถิ เอสา เม วิริยปารมี
    เมื่อเราว่ายน้ำอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทรไม่เห็นฝั่ง พวกมนุษย์ก็พากันตายหมด
    จิตของเราก็มิได้แปรเป็นอื่น นี้เป็นวิริยบารมีของเรา

    เมื่อว่ายข้ามมหาสมุทรอยู่ วิริยบารมีที่ทรงบำเพ็ญในครั้งนั้น จัดเป็นปรมัตถบารมี<O:p</O:p

    ๖) เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญขันติบารมี ครั้งที่เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส พระโพธิสัตว์เจ้าได้ทรงอดกลั้นต่อความทุกข์อันใหญ่ เหมือนกับไม่มีจิตใจ ตามที่ปรากฎในปฏิญญาบุรพจรรยาอย่างนี้ว่า
    อเจตนํว โกฏฺเฏนฺเต ติณฺเหน ผรสุนา มม
    กาสิกราเช น กุปฺปามิ เอสา เม ขนฺติปารมี
    เมื่อพระเจ้ากาสีประหารเราซึ่งหาเจตนามิได้ ด้วยขวานอันคมกล้า
    เราก็มิได้โกรธแค้นพระเจ้ากาสีเลย นี้เป็นขันติบารมีของเรา

    เมื่อทรงอดกลั้นทุกข์ใหญ่ เหมือนกับไม่มีจิตใจ ขันติบารมีที่ทรงบำเพ็ญในครั้งนั้น จัดเป็นปรมัตถบารมี

    ๗) เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมี โดยเฉพาะในครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาสุตโสม พระโพธิสัตว์เจ้าได้ทรงสละชีวิตเพื่อรักษาสัจจวาจาไว้ ตามที่ปรากฎในปฏิญญาบุรพจรรยาอย่างนี้ว่า
    สจฺจวาจํ อนุรกฺขนฺโต จชิตฺวา มม ชีวิตํ
    โมเจสิํ เอกสตํ ขตฺติเย เอสา เม สจฺจปารมี
    เราได้ยอมสละชีวิตของเรา เพื่อรักษาสัจจวาจาไว้
    ได้ปลดปล่อยกษัตริย์ร้อยเอ็ดพระองค์ให้พ้นจากทุกข์ นี้เป็นสัจจบารมีของเรา

    เมื่อทรงสละชีวิตรักษาสัจจวาจาไว้ สัจจบารมีที่ได้ทรงบำเพ็ญในครั้งนั้น จัดเป็นปรมัตถบารมี

    ๘) เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี โดยเฉพาะในครั้งที่เสวยพระชาติเป็นมูคปักขบัณฑิต พระโพธิสัตว์เจ้าได้ทรงสละชีวิตเพื่อรักษาพรตไว้ ตามที่ปรากฎในปฏิญญาบุรพจรรยาอย่างนี้ว่า
    มาตาปิตา น เม เทสฺสา นปิ เทสฺสํ มหายสํ
    สพฺพญฺญตํ ปิยํ มยฺหํ ตสฺมา วตมธิฏฺฐหิ
    เราจะเกลียดมารดาบิดาก็หามิได้ ทั้งเราเจะเกลียดยศใหญ่ก็หามิได้
    แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอธิษฐานพรต

    เมื่อทรงสละชีวิตอธิษฐานพรตอยู่ อธิษฐานบารมีที่ได้ทรงบำเพ็ญในครั้งนั้น จัดเป็นปรมัตถบารมี<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    ๙) เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี โดยในครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราช พระโพธิสัตว์เจ้ามิได้ใยดีแม้แต่ชีวิต แผ่เมตตาจิตไป ตามที่ปรากฎในปฏิญญาบุรพจรรยาอย่างนี้ว่า
    น มํ โกจิ อุตฺตสติ นปิหํ ภายามิ กสฺสจิ
    เมตฺตาพเลนุปตฺถทฺโธ รมามิ ปวเน ตทา
    ใครๆก็ไม่หวาดกลัวเรา ทั้งเราก็ไม่หวาดกลัวใคร
    อันกำลังแห่งเมตตาค้ำจุนแล้ว ยินดีอยู่ในป่าตลอดกาล

    เมื่อไม่ใยดีในชีวิตแผ่เมตตาอยู่ เมตตาบารมีที่ได้ทรงทรงบำเพ็ญในครั้งนั้น จัดเป็นปรมัตถบารมี<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    ๑๐)เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่เสวยพระชาติเป็นโลมหังสกุมาร แม้เมื่อพวกเด็กชาวบ้านรบกวนด้วยการถ่มน้ำลายรด เป็นต้น และด้วยการนำดอกไม้ของหอม เป็นต้น มาให้ก็วางเฉย ตามที่ปรากฎในปฏิญญาบุรพจรรยาอย่างนี้ว่า
    สุสาเน เสยฺย กปฺเปมิ ฉวฏฺฐิก อุปธายห
    โคมณฺฑลา อุปติตฺวาน รูป ทสฺเสนฺตินปฺปก
    เราอยู่ในป่าช้า หนุนกระดูกซากศพ
    พวกเด็กล้อมวงกัน แสดงอาการน่าเกลียดต่างๆ

    เมื่อเสวยสุขทุกข์ เพราะเด็กชาวบ้านรบกวน และเพราะนำดอกไม้เครื่องหอมมาให้ก็วางเฉย อุเบกขาบารมีที่ได้ทรงทรงบำเพ็ญในครั้งนั้น จัดเป็นปรมัตถบารมี<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  2. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ภาคดุสิตพิภพ

    โกลาหล ๓ ประการ
    เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จอุบัติขึ้นบนชั้นดุสิตนั้น ได้บังเกิดพุทธโกลาหลขึ้นในโลก คือในโลกเรานี้มีโกลาหลเกิดขึ้น ๓ ประการ(ในปฐมสมโพธิ์แสดงไว้ ๕ โดยเพิ่ม มังคลโกลาหล และโมไนยโกลาหล ในที่นี้แสดงตามอรรถกถาชาดกบาลีว่า “โลกสฺมิํ หิ ตีณิโกลาหลานิ อุปฺปชฺชนฺติ กปปโกลาหลํ พุทฺธโกลาหลํ จกฺกวตฺติโกลาหลนฺติ”)
    ประการที่ ๑ เรียกว่า กัปป์โกลาหล
    ประการที่ ๒ เรียกว่า พุทธโกลาหล
    ประการที่ ๓ เรียกว่า จักกวัตติโกลาหล

    ที่เรียกว่า “กัปป์โกลาหลนั้น ท่านอธิบายว่า เมื่อกาลเวลาในโลกเราล่วงไปได้ประมาณหนึ่งแสนปี การตั้งกัปป์ใหม่จักมีขึ้น เทพยดาเหล่ากามาวจรที่ร่วมกับชนชาวโลก จะพากันปล่อยเศียรสยายผมร้องไห้ เช็ดน้ำตา นุ่งผ้าแดงแปลงรูปให้ผิดไป แล้วเที่ยวไปตามถิ่นมนุษย์ป่าวประกาศไปอย่างนี้ว่า
    “ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ตั้งแต่นี้ไปประมาณแสนปี จักตั้งกัปป์ขึ้น โลกนี้จักพินาศ มหาปฐพีก็จักพินาศ พญาเขาสิเนรุราชก็จักโอนเอนระเนนพินาศ ตลอดถึงพรหมโลกก็จักพินาศ ดูกรท่านนิรทุกข์ ท่านจงพร้อมใจกันเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาเถิด จงบำรุงมารดา บิดา จงเคารพยำเกรงผู้เป็นหัวหน้าสกุล ในกาลนี้เรียกว่า กัปป์โกลาหล”

    ที่เรียกว่า “พุทธโกลาหล” นั้น ท่านอธิบายว่า เมื่อกาลเวลาล่วงไปได้ประมาณหนึ่งพันปี พระสัพพัญญูพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกเทวดาเหล่าโลกบาลจะเที่ยวไปประกาศแก่ชาวโลกว่า
    “ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ตั้งแต่นี้ไปอีกหนึ่งพันปี พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก กาลนี้เรียกว่า พุทธโกลาหล”


    ที่เรียกว่า “จักกวัตติโกลาหล” นั้น ท่านอธิบายว่า เมื่อกาลเวลาล่วงไปหนึ่งร้อยปี พระเจ้าจักรพรรดิจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกเทวดาจักพากันเที่ยวป่าวประกาศแก่ชาวโลกว่า
    “ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ตั้งแต่นี้ไปอีกร้อยปี พระเจ้าจักรพรรดิจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก กาลนี้เรียกว่า จักกวัตติโกลาหล”

    โกลาหลทั้ง ๓ นี้เป็นโกลาหลใหญ่ ในกาลนั้นเทวดาในหมื่นสกลจักรวาลได้ฟังเสียงว่า จะเกิดพุทธโกลาหล จึงพากันมาประชุมในที่แห่งเดียวกัน เมื่อทราบว่าใครจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงพากันไปเฝ้าพระโพธิสัตว์พร้อมกัน เพื่ออาราธนา เมื่ออาราธนา บุพพนิมิตก็ปรากฎ ในครั้งนั้นเทวดาทั้งหมดพร้อมทั้งท้าวจาตุมหาราช ท้าวสักกะ ท้าวสุยาม ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมมานรดี ท้าวปรนิมมิตวสวัตตี และท้าวมหาพรหมในแต่ละจักรวาลมาประชุมร่วมกันในจักรวาลเดียวกัน

    เมื่อเสร็จการประชุมกันแล้ว ก็พากันไปเฝ้าพระบรมโพธิสัตว์ ณ ดุสิตพิภพ กราบทูลอาราธนาว่า “ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมทั้ง ๑๐ ประการ ไม่ได้บำเพ็ญเพื่อปรารถนาสักกสมบัติ มารสมบัติ จักกวัตติสมบัติ พรหมสมบัติ แต่ทรงบำเพ็ญเพื่อปรารถนาความเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อขนสัตว์รื้อสัตว์ให้พ้นไปจากโลกอันเป็นทุกข์ ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บัดนี้เป็นเวลาที่ควรจะตรัสเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บัดนี้เป็นสมัยที่ควรจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  3. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    มหาวิโลกนะ ๕ ประการ

    เมื่อพระโพธิสัตว์ได้รับอาราธนาจากเทพยดาทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว แต่ก็ยังไม่รับอาราธนาทันที ทรงพิจารณามหาวิโลกนะทั้ง ๕ ประการเสียก่อน


    มหาวิโลกนะ ๕ ประการนั้น มีดังนี้คือ กาล ทวีป ประเทศ สกุล และอายุพระมารดา

    ในกาล ๕ ประการนี้ พระองค์ทรงพิจารณา กาล ก่อน ว่าเป็น กาล หรืออกาล ในกาลทั้ง ๒ นี้ ท่านกล่าวว่า ในกาลใดอายุสัตว์เกินกว่าแสนปีก็ไม่จัดเป็นกาล เป็นอกาล ที่เป็นอกาลเพราะเหตุใด
    “เพราะในกาลเช่นนั้น ชาติ คือความเกิด ชรา คือความแก่ มรณะ คือความตาย ย่อมไม่ปรากฎแก่สัตว์ทั้งหลาย(เพราะอายุสัตว์ทั้งหลายยืนมาก) อนึ่ง พระธรรมเทศนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พ้นจากไตรลักษณ์ก็ไม่มี ฉะนั้น เมื่อพระองค์ทรงแสดงถึงเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัตว์ทั้งหลายที่ฟังก็ไม่เข้าใจว่า พระองค์แสดงเรื่องอะไรกัน แล้วก็ย่อมจะไม่เชื่อฟัง เมื่อไม่เชื่อฟัง ไม่ปฏิบัติตาม การบรรลุถึงมรรคผลก็ไม่มี เมื่อไม่มีผู้รู้ตาม คำสอนของพระพุทธองค์ก็เกิดประโยชน์ ฉะนั้นกาลนี้จึงจัดเป็น “อกาล” แม้อายุของสัตว์ทั้งหลายน้อยกว่าร้อยปี ก็เป็นอกาลเหมือนกัน เพราะอะไร?
    เพราะในกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนาแน่น คนที่มีกิเลสหนาแน่น ถึงจะสั่งสอนสักเท่าใด ก็ไม่ตั้งอยู่ในคำสั่งสอนได้ คำสั่งสอนของพระองค์ก็จักสูญหายไปอย่างรวดเร็วเหมือนรอยขีดในน้ำฉะนั้น เพราะฉะนั้น กาลนั้นจึงจัดเป็นอกาล”
    “ในกาลใดอายุสัตว์ทั้งหลายต่ำกว่าแสนปีลงมาถึงร้อยปี เป็นอย่างต่ำจัดเป็นกาล”
    ในเวลานั้นอายุของสัตว์มีกำหนด ๑๐๐ ปีเป็นอายุขัย พระโพธิสัตว์จึงเห็นว่าเป็นกาลที่ควรจะเสด็จลงมาเกิดในมนุษย์โลกได้แล้ว


    ต่อไปจึงพิจารณาทวีปที่จะเกิดต่อไป ได้พิจารณาทวีปทั้ง ๔ (คือชมพูทวีป อมรยานทวีป อุตรกุรุทวีป บุพวิเทหทวีป) เห็นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่เกิดในทวีปทั้ง ๓ (คืออมรยานทวีป อุตรกุรุทวีป บุพวิเทหทวีป) เสด็จอุบัติแต่ในชมพูทวีปเท่านั้น

    ต่อไปจึงพิจารณาดูโอกาสว่า ชมพูทวีปนั้นกว้างใหญ่ไพศาล พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในบริเวณไหนของชมพูทวีป ก็พบมัชฌิมประเทศ มัชฌิมประเทศนั้นอาณาเขตด้านยาวประมาณ ๓๐๐ โยชน์ ด้านกว้าง ๒๕๐ โยชน์ โดยรอบ ๙๐๐ โยชน์ ในประเทศที่กำหนดนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดีมหาศาลที่มีศักดิ์ใหญ่ย่อมบังเกิดขึ้น จึงได้ตกลงพระทัยว่า เราจักบังเกิดในนครกบิลพัสคุ์

    ต่อจากนั้นจึงได้พิจารณาดูสกุล ทรงเห็นว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่เกิดในสกุลแพศย์ ในสกุลสูทร พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมบังเกิดในสกุลทั้ง ๒ เท่านั้นคือ สกุลกษัตริย์ หรือสกุลพราหมณ์ที่โลกสมมุติ บัดนี้ชาวโลกยอมรับนับถือสกุลกษัตริย์ เราจักเกิดในสกุลกษัตริย์ พระเจ้าสุทโธทนมหาราชจักเป็นบิดาของเรา

    ต่อจากนั้นจึงพิจารณาดูพระพุทธมารดา ทรงเห็นว่า ธรรมดาผู้ที่จะเป็นพระพุทธมารดานั้น จะต้องเป็นหญิงที่ไม่เหลาะแหละในชาย ต้องไม่เป็นนักเลงสุรา ต้องได้บำเพ็ญบารมีมาตั้งแสนกัปป์ ตั้งแต่เกิดก็ต้องรักษาศีล ๕ บริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย พระมหามายาราชเทวีพระองค์นี้เป็นหญิงเช่นกัน พระมหามายาราชเทวีจักเป็นมารดาของเรา แต่พระชนมายุของพระนางได้เท่าไร ทรงเห็นว่า พระนางจะมีอายุเกินกว่า ๑๐ เดือนไป ๗ วัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  4. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ทรงรับคำอารธนาของเทพยดา

    เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาดูมหาวิโลกนะทั้ง ๕ แล้ว จึงตอบแก่เทพยดาว่า“ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ กาละนี้เป็นกาละที่สมควรจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้แล้ว” เพื่อจะสงเคราะห์พวกเทวดาจึงให้ปฏิญญาแล้วตรัสว่า ขอท่านทั้งหลายจงกลับไปเถิด เมื่อส่งเทวดากลับแล้ว พระองค์พร้อมด้วยเทวดาเหล่าชั้นดุสิตก็เสด็จเข้าไปยังนันทวันในดุสิตบุรี (สวนนันทวันนี้มีอยู่ในเทวโลกทุกชั้น) เทวดาในนันทวันกล่าวกันว่า “ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงจุติจากที่นี้ไปเกิดในสุคติภพเถิด ต่างพากันระลึกถึงกุศลกรรมอย่างนี้แล้วเที่ยวไปในที่นั้นๆ แล้วจุติไปถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางมหามายาราชเทวี”

    เสด็จลงสู่ปฏิสนธิในพระครรภ์

    ในกาลครั้งนั้น พระนครกบิลพัสด์กำลังมีงานพิธีเดือน ๘ มหาชนพากันเล่นนักษัตร ตั้งแต่วันเพ็ญเดือนอาสาฬหะไป ๗ วัน พระนางมหามายาราชเทวีทรงเล่นนักษัตรที่ปราศจากสุรา แต่สมบูรณ์ด้วยเครื่องประดับมีดอกไม้ และของหอม ในวันที่ ๗ ตั้งแต่เช้าก็สรงของหอม พระราชทานทรัพย์เป็นมหาทานถึงสี่แสนประดับพระองค์ด้วยสรรพาภรณ์วิภูสิต เสวยโภชนาหารสุทธาวาส ทรงอธิษฐานองค์อุโบสถประทับ ณ ห้องสิริไสยาศอันประดับ และตกแต่งแล้วประทับ ณ แท่นสิริไสยาศเสด็จสู่พระบรรทม

    พระมารดาทรงพระสุบินนิมิต

    เมื่อพระนางมหามายาราชเทวีบรรทมหลับแล้ว ได้ทอดพระเนตรเห็นพระสุบินนิมิตว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ยกพระองค์พร้อมกับพระแท่นบรรทมเข้าไปยังป่าหิมพานต์แล้ววางไว้บนพื้นศิลาประมาณ ๖๐ โยชน์ ภายใต้ต้นสาละมีปริมณฑลประมาณ ๗ โยชน์ แล้วยืนเฝ้าอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง จากนั้นก็มีพระนางเทพีของท้าวมหาราชเหล่านั้นได้นำพระนางไปยังสระอโนดาด ช่วยกันสรงเพื่อชำระมลทินมนุษย์ให้หมดจด แล้วให้ทรงภูษาทิพย์ ลูบไล้ด้วยทิพยคันธชาติ ประดับด้วยดอกไม้ทิพย์ จากที่นั้นไม่ไกลนัก มีวิมานทองตั้งอยู่ที่ภูเขาเงินทางด้านปราจีนลาดด้วยทิพยไสยาศสูงหน่อยหนึ่ง แล้วให้นอนในที่นั้น ในขณะนั้นพระโพธิสัตว์เป็นพระยาช้างเศวตกุญชร เที่ยวอยู่ที่ภูเขาทองซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลนัก ลงจากภูเขาทองมาแล้วขึ้นเขาเงินทางด้านอุตรทิศ ถือดอกปทุมเงินด้วยงวงมีสีเหมือนพวงเงินบรรลือโกญจนาทแล้วเข้ายังวิมานทองทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ณ มาตุไสยาศเหมือนกับทำลายพระปรัศเบื้องขวาเข้าอยู่ในพระกุจฉิประเทศ พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิ ณ วันนักษัตร เดือนอุตตราษาท(ในญาโณทัย แสดงว่า พระสิทธัตถะโคดมพุทธเจ้า เสด็จลงสู่ปฏิสนธิในพระครรภ์ ปีระกา วันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ(เดือน ๘) ตรงกับวันพฤหัสบดี ลัคนาสถิตราศีพฤษ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  5. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พราหมณ์ทำนายพระสุบิน

    พอรุ่งขึ้นเช้า พระเทวีตื่นจากบรรทมแล้ว กราบทูลพระสุบินนั้นแก่พระเจ้าสุทโธทนมหาราช โปรดให้เชิญพราหมณ์ปาโมกข์ประมาณ ๖๔ คนมาแล้ว รับสั่งให้จัดอาสนะอันควรค่าบนภาคพื้นอันฉาบทาโคมัยสด กระทำมงคลสักการะด้วยข้าวตอก เป็นต้น ให้จัดภาชนะทองภาชนะเงินใส่ข้าวปายาสที่ปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดจนเต็ม ปิดฝาทองฝาเงิน ไว้เรียบร้อย พระราชทานเลี้ยงพราหมณ์ที่เชิญมานั่งอยู่นั้น เมื่ออังคาสพราหมณ์จนอิ่มหนำแล้ว จึงทรงแจ้งสุบินนิมิตแก่พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น แล้วตรัสถามว่า จักเป็นอย่างไรบ้าง
    พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อย่าได้ทรงดำริอย่างไรเลย พระราชเทวีทรงพระครรภ์ เป็นชายมิใช่สตรี มหาบพิตรจะได้พระราชโอรส พระราชโอรสนี้ ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกผนวชจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก

    ธรรมดาของพระโพธิสัตว์

    เมื่อพระโพธิสัตว์ปฏิสนธิแล้ว ตั้งแต่วันถือปฏิสนธิก็มีเทพบุตร ๔ องค์ถือพระขรรค์มาทำการรักษาพระโพธิสัตว์ และพระมารดา เพื่อคุ้มกันมิให้มีอันตราย มารดาพระโพธิสัตว์ก็มิได้มีจิตกำหนัดในบุรุษอื่น พระมารดาพระโพธิสัตว์สมบูรณ์ด้วยลาภยศเนืองนอง ทรงพระสำราญไม่ลำบากพระกาย และทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ เหมือนมองเห็นเส้นด้ายทอที่เขาร้อยไว้ในแก้วมณีอันใสสะอาด เพราะพระครรภ์ที่พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิเป็นเหมือนห้องในเจดีย์ ไม่สมควรที่สัตว์อื่นจะอยู่ร่วม หรือเกิดร่วม ฉะนั้นเมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาก็จักเสด็จทิวงคตไปสู่สวรรค์ชั้นดุสิต หญิงอื่นๆบางทีคลอดบุตรยังไม่ถึง ๑๐ เดือนบ้าง เลย ๑๐ เดือนบ้าง นั่งคลอดบ้าง นอนคลอดบ้างฉันใด แต่มารดาของพระโพธิสัตว์นั้นไม่เหมือนอย่างนั้น
    พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงพระครรภ์ได้ ๑๐ เดือนจึงประสูติ นี้เป็นธรรมดาของพระมารดาของพระโพธิสัตว์ พระมหามายาราชเทวีทรงพระครรภ์พระโพธิสัตว์ครบถ้วน ๑๐ เดือนเหมือนน้ำมันในบาตร

    พระมารดาเสด็จนครเทวทหะ

    เมื่อพระนางพระครรภ์แก่ก็ปรารถนาจะเสด็จไปยังเรือนพระญาติ จึงทูลลาพระเจ้าสุทโธทนมหาราชว่า ขอเดชะ หม่อมฉันปรารถนาจะไปยังเทวทหนครซึ่งเป็นฝ่ายสกุลของหม่อมฉัน พระราชาก็ทรงโปรดประทานอนุญาต เมื่อมีพระบรมราชานุญาตแล้ว โปรดให้เตรียมทางเสด็จตั้งแต่นครกบิลพัสดุ์ถึงนครเทวทหะให้ประดับตกแต่งทั้ง ๒ ฟากทางที่เสด็จผ่านด้วยต้นกล้วย แล้วตั้งหม้อน้ำ ประดับธงชัย และธงผ้า โปรดให้พระเทวีประทับบนพระวอทอง มีอำมาตย์พันคนแห่หามตามเสด็จเป็นขบวนใหญ่ ในระหว่างนครกบิลพัสดุ์ และนครเทวทหะนั้น มีมงคลสาลวันนามว่า ลุมพินี ตั้งอยู่ในระหว่างนครทั้ง ๒
    ในสมัยนั้น ดอกสาละกำลังบานไสวเป็นอันเดียวกันตั้งแต่กกถึงปลายกิ่งในระหว่างกิ่ง และระหว่างดอก หมู่ภมรต่างพรรณ ๕ อย่าง หมู่วิหคนานาชนิดบินคู้ด้วยสำเนียงอันไพเราะ บริเวณทั่วไปในสวนลุมพินีเสมือนดังสวนจิตรลดาบนสรวงสวรรค์ เป็นเสมือนภาคพื้นที่เขาจัดไว้เพื่อพระราชาที่มีอานุภาพใหญ่ พระเทวีทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้นแล้ว ก็ประสงค์จะทรงกีฬาในสาลวันนั้น อำมาตย์ทั้งหลายจึงเชิญพระเทวีเสด็จลงเข้าประทับยังสวนนั้น พระนางเธอเสด็จเข้าประทับ ณ ควงไม้สาลมงคล ทรงประสงค์เหนี่ยวกิ่งสาละ กิ่งสาละก็น้อมลงมาเหมือนยอดหวายอันต้องเพลิงถึงพระหัตถ์พระนางเธอ พระนางเธอก็เหยียดพระหัตถ์จับกิ่งสาละนั้นไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  6. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระโพธิสัตว์ประสูติ

    ทันใดนั้นพระนางเธอก็ประชวรพระครรภ์จะประสูติ มหาชนก็พากันถอยออกมาจัดการกั้นม่านถวายพระนางเธอ พระนางเธอทรงจับกิ่งสาละประสูติพระโอรสในขณะนั้น ขณะนั้นท้าวมหาพรหมทั้ง ๔ ผู้มีจิตบริสุทธิ์ ทรงถือข่ายทองมารองรับพระโพธิสัตว์ วางไว้ตรงพระพักตร์พระมารดา ทรงปลอบพระนางว่า “ขอพระเทวีจงทรงดีพระทัยเถิด พระโอรสผู้มีศักดาใหญ่ประสูติแล้ว อันธรรมดาสัตว์ทั้งเหล่าอื่น เมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว ย่อมเปรอะเปื้อนด้วยครรภ์มลทินอันไม่สะอาด แต่พระโพธิสัตว์มิได้เป็นอย่างนั้น พระบรมโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ เหมือนพระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ เหมือนบุรุษลงจากพะอง ทรงเหยียดพระหัตถ์ทั้ง ๒ ประทับยืนอยู่ เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากครรภ์มลทิน เสด็จออกจากพระครรภ์รุ่งเรืองสว่างไสว เหมือนแก้วมณีที่วางไว้บนผ้ากาสิกพัสตร์”

    เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้วอย่างนั้น ขณะนั้นมีท่ออุทกธารไหลมาจากอากาศ ๒ ท่อ เพื่อโสรจสรงพระโพธิสัตว์ และพระมารดาให้ความอบอุ่นแก่พระโพธิสัตว์ และพระมารดาอย่างดี ครั้นแล้วท้าวมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ก็ทรงรับจากพระหัตถ์ท้าวมหาพรหมซึ่งยืนรับอยู่ด้วยข่ายทอง ด้วยหนังชมดอันอ่อนนุ่มไม่ระคายพระวรกาย ต่อจากนั้นมนุษย์ก็รับจากมือของท้าวมหาราชด้วยผ้าละเอียด

    เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ออกจากมือพวกมนุษย์แล้ว ก็ประทับยืน ณ ภาคพื้นดินผินพระพักตร์สู่เบื้องบูรพาทิศ หมื่นจักรวาลมีพื้นเนื่องเป็นอันเดียวกัน พวกเทวดา และมนุษย์พากันมาบูชาพระโพธิสัตว์ เจ้าด้วยของหอม และดอกไม้ ต่างพากันกล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ว่า “ข้าแต่มหาบุรุษ ไม่มีใครอื่นในหมื่นโลกธาตุนี้จะเสมอด้วยพระองค์ หาผู้อื่นยิ่งกว่ามิได้แล้ว”

    ขณะนั้นพระโพธิสัตว์ทรงตรวจดูทิศทั้ง ๑๐ ไม่พานพบผู้เสมอเหมือนแล้ว กำหนดว่านี้เป็นทิศอุดรแล้ว เสด็จย่างพระบาทไป ๗ ก้าว ท้าวมหาพรหมถือฉัตรกั้นตามเสด็จ ท้าวสุยามถือพัดวาลวิชนีตามเสด็จ ทวยเทพนอกนั้นพากันถือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่เหลือก็ตามเสด็จไปยังประเทศนั้น แล้วหยุดในก้าวที่ ๗ ทรงบรรลือสีหนาทเปล่งอาภิสวาจาว่า
    เราเป็นยอดของโลก เราเป็นใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก ความเกิดของเราครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้าย บัดนี้ความเกิดอีกมิได้มี ดังนี้

    พระโพธิสัตว์เสด็จกลับนครกบิลพัสดุ์ กาลเทวิลดาบสเข้าเฝ้า

    เมื่อทางพระนครทั้ง ๒ ทราบข่าวพระนางเธอประสูติพระโอรส จึงพร้อมใจกันไปเชิญเสด็จพระบรมโพธิสัตว์กลับเข้าไปยังนครกบิลพัสดุ์ ในวันนั้นทวยเทพต่างพากันโจษกันว่า พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ประสูติแล้ว พระกุมารพระองค์นี้จักได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ควงไม้มหาโพธิ ต่างจึงมีความร่าเริงอยู่ในชั้นดาวดึงส์ พากันยกธงชัย และธงแผ่นผ้าประกอบกีฬานักษัตรทั่วถึงกัน

    ในสมัยนั้นกาลเทวิลดาบส ผู้ได้สมาบัติ ๘ เป็นกุลุปกะ(พระประจำตระกูล) ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช เห็นทวยเทพพากันร่าริงกันมาก จึงถามว่า “ทำไมท่านจึงร่าเริงกันนัก มีเหตุอะไร หรือจงบอกให้เราทราบบ้าง”

    เทพยดาเหล่านั้นตอบว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติ พระกุมารนั้นจักได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศพระธรรมจักรด้วย เราจักได้เห็นพระพุทธลีลาศอันหาที่สุดมิได้ เราทั้งหลายจักได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ท่าน เพราะเหตุนี้แล เราทั้งหลายจึงมีความร่าเริงบันเทิงใจกัน”

    กาลเทวิลดาบสได้ฟังเช่นนั้น จึงรีบเดินทางเข้าไปยังพระราชนิเวศน์นั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวายแล้วถวายพระพรว่า
    “ถวายพระพร ได้ทราบว่า พระราชโอรสของมหาบพิตรประสูติแล้ว อาตมภาพขอเฝ้าพระกุมารนั้น”
    พระราชาจึงให้นำพระกุมารผู้ประดับแล้วมาให้นมัสการพระดาบส แต่พระบาททั้งคู่แห่งพระบรมโพธิสัตว์ กลับไปประดิษฐานอยู่เบื้องบนชฎาพระดาบส ทั้งนี้เพราะบุคคลอื่นที่พระบรมโพธิสัตว์จะควรใหว้โดยอัตภาพนั้นมิได้มี ถ้าผู้ไม่รู้ก็อาจจะวางพระกุมารหันพระเศียรไว้แทบเท้าพระดาบส ถ้าทำเช่นนั้นศีรษะพระดาบสจะต้องแตกออกเป็น ๗ ภาค พระดาบสคิดว่า เราไม่ควรทำให้ตัวเราพินาศ จึงลุกจากอาสนะไปประคองอัญชลีต่อพระโพธิสัตว์ พระราชาเห็นอัศจรรย์ดังนั้นจึงบังคมพระโอรสของพระองค์

    พระดาบสผู้นี้ระลึกชาติได้ถึง ๘๐ กัปป์ ระลึกชาติในอดีตได้ ๔๐ กัปป์ อนาคต ๔๐ กัปป์ เมื่อเห็นพระลักษณะของพระบรมโพธิสัตว์ จึงใคร่ครวญดูว่า พระกุมารนี้จักได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่หนอ ก็ทราบด้วยอนาคตังสญาณว่า จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย จึงแย้มสรวลให้รู้ว่า พระกุมารนี้เป็นอัจฉริยะบุรุษแท้ แล้วใคร่ครวญต่อไปว่า เราจะอยู่ทันเห็นพระกุมารนี้เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่หนอ ก็ทราบว่า เราจักไม่ได้ห็นเสียแล้ว จะต้องตายเสียก่อนในระหว่าง ถึงพระพุทธเจ้าจะได้ตรัสรู้อีกตั้งร้อยองค์พันองค์ ก็ไม่อาจจะโปรดอาตมาได้(เพราะอานิสงค์ของอรูปฌานนั้น ต้องไปเกิดในอรูปภพมีอายุยืนถึง ๘ หมื่น ๕ พันมหากัปป์ จึงได้จุติลงมา) เพราะเราตายไปจากนี้ต้องไปเกิดอรูปภพ เราจักไม่ได้เห็นอัจฉริยบุรษเห็นปานนี้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า นี้จัดเป็นความเสื่อมอย่างใหญ่หลวงของเรา ดำริเช่นนี้แล้วก็ร้องไห้

    คนทั้งหลายเห็นเช่นนั้นจึงถามว่า “พระผู้เป็นเจ้าของเราหัวเราะอยู่เมื่อตะกี้นี้เอง แล้วกลับร้องไห้ พระผู้เป็นเจ้าเห็นอันตรายใดๆ จักมีแก่พระลูกเจ้านี้หรือ”

    พระดาบสตอบว่า “ไม่มีอันตรายใดๆแก่พระลูกเจ้าดอก พระลูกเจ้าจักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่โดยไม่ต้องสงสัย”
    จึงถามต่อไปอีกว่า “เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไมท่านจึงร้องไห้เล่า”
    พระดาบสตอบว่า“เราคิดเห็นว่าเราจะมีชิวิตอยู่ไม่ได้ทันเห็นพระมหาบุรุษ เห็นปานนี้ได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้า นี้เป็นความเสื่อมอย่างใหญ่หลวงของเรา เราเศร้าโศกถึงตนเอง เราจึงร้องไห้”

    ต่อจากนั้นพระดาบสจึงใคร่ครวญดูว่า ในหมู่ญาติของท่านมีใครบ้างจะได้เห็นพระกุมารนี้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็เห็นมีแต่หลานชายซึ่งเป็นบุตรของน้องสาวชื่อ “นาลกะ” จึงรีบไปบ้านน้องสาว แล้วสั่งแก่นาลกะว่า ต่อจากนี้ไปอีก ๓๕ ปี พระเจ้าลูกเธอในพระเจ้าสุทโธทนมหาราชซึ่งประสูติแล้ว พระเจ้าลูกเธอพระองค์นั้น เป็นหน่อพุทธางกูร จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ปรากฎว่า อยู่ต่อมาอีก ๓๕ ปี นาลกะก็ออกบวช และได้ฟังธรรมจากพระตถาคตเจ้า พระพุทธองค์ได้แสดงนาลกะปฏิปทาให้ฟัง แล้วท่านก็เข้าป่าหิมพานต์บำเพ็ญสมณธรรมอย่างอุกฤษฏ์ จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เมื่อบรรลุธรรมแล้วมีชีวิตอยู่ได้ ๗ เดือน ยืนพิงภูเขาทองแห่งหนึ่งด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  7. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    วันที่ ๕ เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ ทำพิธีขนานพระนาม

    เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้วได้ ๗ วัน หมู่พระญาติจึงจัดการทำพิธีสนานพระเศียรพระโพธิสัตว์เพื่อการขนานพระนามตามพิธีพราหมณ์ จึงจัดการตกแต่งพระราชฐานด้วยจตุคันธชาติ ๔ ชนิด เกลี่ยดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่ ๕ หุงข้าวปายาสล้วนๆ ครั้นเชิญพราหมณ์ผู้เรียนจบไตรเพทประมาณ ๑๐๘ คนมายังพระราชฐาน ครั้นเลี้ยงพราหมณ์เหล่านั้นแล้วถวายไทยทานต่างชนิดตามสมควร จึงโปรดให้ทำนายพระลักษณะว่าพระกุมารจักเป็นอย่างไร

    พราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้น ได้เลือกพราหมณ์ไว้ ๘ คน ดังมีรายนามต่อไปนี้ รามพราหมณ์ ธชพราหมณ์ ลักขณพราหมณ์ สุชาติมันตีพราหมณ์ โภชพราหมณ์ สุยามพราหมณ์ โกญฑัญญพราหมณ์ สุทัตตพราหมณ์

    พราหมณ์ทั้ง ๘ คนนี้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ทำนายพระลักษณะ ในพราหมณ์ทั้ง ๘ คนนั้น พราหมณ์ ๗ คนชูนิ้วมือแล้วพยากรณ์คติเป็น ๒ ว่า คนที่ประกอบด้วยพระลักษณะเช่นนี้ ถ้าอยู่ครองเรือนจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจักได้เป็นพระพุทธเจ้า จึงพรรณาสิริสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหมด แต่ในหมู่พราหมณ์ทั้ง ๘ คนนั้น มีพราหมณ์คนหนึ่งซึ่งหนุ่มกว่าเขาทั้งหมด ชื่อ โกญฑัญญะ ได้ตรวจดูพระลักษณะของพระโพธิสัตว์อย่างละเอียดละออแล้วทราบว่า เหตุที่จะให้มหาบุรุษนี้ครองเรือนได้มิได้มี พระมหาบุรุษนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียวเท่านั้น จึงยกนิ้วมือขึ้นนิ้วเดียวแล้วพยากรณ์ลงเป็นหนึ่งเพราะว่าโกญฑัญญพราหมณ์ผู้นี้ มีกฤษฎาภิหารเป็นปัจฉิมภวิกสัตว์(โกญฑัญญพราหมณ์เป็นคนไม่มีโรคหนุ่มกว่าพราหมณ์ทั้ง ๗ นั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงเจริญวัยโดยลำดับ และเสด็จออกมหาภิเนษกรมแล้ว เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงกำหนดว่า ภูมิภาคนี้เป็นรัมณียสถาน ควรแก่การบำเพ็ญเพียร จึงประทับในสถานที่นั้น อัญญาโกญฑัญญพราหมณ์ทราบว่า พระมหาบุรุษเสด็จออกมหาภิเนษกรมแล้ว จึงไปตามหาบุตรพราหมณ์ทั้ง ๗ ที่เข้าพิธีพยากรณ์ชวนให้ออกบวช แต่ปรากฎว่า บุตรพราหมณ์ทั้ง ๗ นั้น ไม่ยอมบวชเสีย ๓ คน ออกบวช ๔ คน แล้วยกให้อัญญาโกญฑัญญะเป็นหัวหน้า ต่อมาคนทั้ง ๕ นี้แหละได้นามว่า ปัญญจวัคคียเถระ) จึงครอบงำพราหมณ์ทั้ง ๗ ด้วยปัญญา พิจารณาเห็นลงเป็นหนึ่งแน่ว่า เหตุที่จะให้ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะเช่นนี้อยู่ครองเรือนมิได้มี คนเช่นนี้ต้องเป็นพระพุทธเจ้าแน่อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้นจึงยกนิ้วแล้วพยากรณ์ลงเป็นหนึ่ง

    เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นกลับไปยังเรือนของตนแล้ว จึงเรียกลูกมาสั่งว่า ลูกรักของพ่อ พ่อแก่แล้ว พ่อจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ทันเห็นพระราชกุมารอันเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เมื่อพระกุมารนั้นบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พวกเจ้าจงออกมาบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด อยู่ต่อมาพราหมณ์ทั้ง ๗ คนนั้นก็ดับขันธ์ไปตามยถากรรม

    ครั้งนั้นพระราชาจึงตรัสถามว่า ลูกของเราเห็นอะไร จึงจะออกบวช
    พราหมณ์ตอบว่า เห็นบุพพนิมิตทั้ง ๔ จึงออกบวช
    ตรัสถามว่า อะไรบ้าง
    ตอบว่า คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช

    พระราชาจึงรับสั่งว่า ตั้งแต่นี้ต่อไป ห้ามมิให้ใครที่มีรูปร่างลักษณะเช่นนั้นเข้ามาหาลูกเราเป็นอันขาด เราไม่มีความต้องการให้ลูกเราเป็นพระพุทธเจ้า เราต้องการจะเห็นลูกเราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวยราชสมบัติเป็นอิสราธิบดีแห่งมหาทวีปทั้ง ๔ อันมีทวีปน้อย ๒๐๐๐ เป็นบริวาร แวดล้อมด้วยราชบริษัทปริมณฑล ๓๖ โยชน์เที่ยวไปในพื้นคคนัมพร

    เมื่อตรัสดังนี้แล้ว จึงโปรดให้ตั้งอารักขาไว้ในทิศทั้ง ๔ เพื่อป้องกันมิให้คนที่มีรูปร่างลักษณะทั้ง ๔ นั้นเข้ามาสู่ทัศนวิสัยของพระกุมารได้

    ในวันนั้นพระประยูรญาติทั้ง ๒ ฝ่ายมาประชุมกันในมงคลสถาน ทุกคนที่มาในที่นั้น ต่างก็ทูลเกล้าถวายโอรสองค์ละองคทรงปฏิญญาว่า หรือจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราทั้งหลายจะถวายราชบุตรคนละคน ถ้าพระกุมารนี้ได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็จะมีขัตติยสมณะตามเสด็จไป ถ้าพระกุมารนี้ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็จะได้มีขัตติยกุมารแวดล้อมตามเสด็จไป

    พระราชาก็โปรดให้เลือกนางนมที่ทรงอุดมรูป ปราศโทษโดยประการทั้งปวงบำรุงเลี้ยงพระโพธิสัตว์ พระบรมโพธิสัตว์ทรงพระเจริญวัยด้วยศิริโสภาคย์อันใหญ่ยิ่ง มีบริวารเป็นอันมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  8. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เสด็จพิธีแรกนาขวัญ

    จำเนียรกาลผ่านไป พระโพธิสัตว์มีพระชนม์ได้ ๗ พรรษา อยู่มาวันหนึ่ง เป็นวันวัปปมงคลพระราชพิธีแรกนาขวัญ วันนั้นชาวเมืองต่างพากันประดับเมืองกบิลพัสดุ์ทั่วไปดุจเทพวิมาน คนทั้งหลายรวมทั้งทาส และกรรมกรทั้งหมดพากันแต่งกายอย่างสวยงามด้วยผ้าใหม่ ประดับกายด้วยของหอม และดอกไม้ พากันไปประชุมยังราชสกุล พระราชาทรงนำคนทั้งหลายให้ไถนาจำนวนพัน

    ในวันนั้นไถร้อยเจ็ดคันอันพร้อมด้วยเชือกร่วมโคหุ้มด้วยเงิน ส่วนคันไถที่พระราชาทรงนั้นหุ้มด้วยทองสีสุก เขาโค เชือก ปฏัก หุ้มด้วยทองคำ พระราชาพร้อมด้วยบริวารหมู่ใหญ่เสด็จออกจากเมือง โปรดให้เชิญพระราชโอรสตามเสด็จด้วย

    ในที่ประกอบพระราชพิธีนั้น มีต้นหว้าใหญ่ต้นหนึ่งมีใบหนาเงาทึบ พระราชาโปรดให้จัดที่สิริไสยาสน์แห่งพระกุมารภายใต้ต้นหว้าใหญ่นั้น เบื้องบนโปรดให้คาดเพดานประดับดาวทองแวดวงด้วยม่านตั้งการอารักขา เมื่อท้าวเธอประดับพระองค์เสร็จแล้ว จึงเสด็จไปยังที่ประกอบพิธีพร้อมด้วยหมู่อำมาตย์

    ในงานพระราชพิธีนั้น พระราชาทรงจับไถทอง พวกอำมาตย์จับไถเงินร้อยเจ็ดไถ ฝ่ายชาวนาจับไถที่เหลือนอกนั้น คนทั้งหลายก็พากันจับไถ แล้วไถมาทางโน้นทางนี้ พระราชาทรงไถจากด้านในไปหาด้านนอก จากด้านนอกไปหาด้านใน ในที่นั้นเกิดเป็นสมบัติใหญ่ขึ้น พวกนางนมที่อยู่เวรเฝ้าพระบรมโพธิสัตว์ต่างก็พากันออกมานอกม่าน ด้วยปรารถนาว่าจะดูสมบัติพระราชา

    ทรงบำเพ็ญสมาธิจนได้ปฐมฌาน

    ขณะนั้นพระบรมโพธิสัตว์มองดูข้างโน้นข้างนี้แล้ว ไม่เห็นใครอยู่ในที่นั้นเลย จึงรีบลุกขึ้นนั่งขัดบัลลังก์เจริญอานาปานสติคือ กำหนดลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ยังปฐมฌานให้บังเกิดขึ้นในขณะนั้น

    นางนมต่างก็ไปมัวเพลินอยู่กับของกิน ของใช้เสีย จึงกลับช้าไปเล็กน้อย เงาของต้นไม้ที่เหลือนอกจากต้นหว้านั้นก็บ่ายไปตามแสงตะวัน แต่เงาของต้นหว้านั้นปรากฎเป็นปริมณฑลตรงอยู่ นางนมระลึกได้ว่า พระลูกเจ้าประทับอยู่พระองค์เดียว จึงรีบแหวกม่านเข้าไปภายใน เห็นพระบรมโพธิสัตว์นั่งคู้บัลลังก์บนพระแท่นไสยาสน์ และปาฏิหาริย์นั้น จึงพากันไปกราบทูลให้พระบิดาทรงทราบ

    ขอเดชะ พระกุมารประทับนั่งอย่างนี้ เงาของต้นไม้อื่นคล้อยไปตามดวงตะวัน แต่เงาของต้นหว้าใหญ่เป็นปริมณฑลตรงอยู่

    พระราชาจึงรีบเสด็จมา ได้ทอดพระเนตร เห็นปาฏิหาริย์นั้น แล้วทรงบังคมพระราชโอรสของพระองค์ ทรงรับสั่งว่า “ลูกรักของพ่อ นี้พ่อไหว้เจ้าเป็นครั้งที่ ๒ แล้ว”
    [​IMG]

    ทรงแสดงศิลปวิทยาแก่หมู่พระญาติ และอภิเษกสมรส

    จำเนียรกาลผ่านไป พระบรมโพธิสัตว์มีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระราชบิดาโปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลังอันควรแก่ฤดูทั้ง ๓ หลังหนึ่งมีพื้น ๙ ชั้น หลังหนึ่งมีพื้น ๗ ชั้น หลังหนึ่งมีพื้น ๕ ชั้น แล้วโปรดให้นางสนมอยู่เฝ้าบำรุง พระบรมโพธิสัตว์อยู่ท่ามกลางความแวดล้อมของนางฟ้อนอันสวยงาม ดุจเทพบุตรอยู่ท่ามกลางความแวดล้อมของนางเทพอัปสรฉะนั้น ถูกบำเรอด้วยดนตรีอันมีสตรีล้วนๆไม่มีบุรุษเลย พระโพธิสัตว์ได้ประทับอยู่ ณ ปราสาททั้ง ๓ ฤดูนี้ โดยมีพระนางยโสธรามารดาพระราหุลเป็นอัครมเหสี

    เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยสมบัติอันยิ่งใหญ่เช่นนั้น วันหนึ่งในหมู่พระญาติต่างพูดกันว่า พระสิทธัตถะราชกุมาร มัวแต่เล่นกีฬาอยู่เท่านั้น ไม่ทรงศึกษาศิลปอะไร เมื่อสงครามปรากฎเกิดขึ้นจะทำอย่างไรกัน

    พระราชาจึงโปรดให้พระบรมโพธิสัตว์เข้าเฝ้า แล้วรับสั่งว่า ลูกรักของพ่อ พวกพระญาติต่างพากันพูดว่า สิทธัตถไม่เล่าเรียนอะไร ได้แต่เล่นกีฬาเท่านั้น พ่อจงสำคัญกาลที่ควรเถิด

    พระบรมโพธิสัตว์จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ไม่มีศิลปะอะไรที่ข้าพระบาทจะต้องศึกษาอีกแล้ว ขอพระองค์ได้โปรดประกาศให้ชาวพระนครมาชมข้าพระบาทแสดงศิลปะเถิด ตั้งแต่นี้ต่อไปอีก ๗ วัน ข้าพระบาทจักแสดงศิลปแก่หมู่พระญาติ

    พระราชาก็ทำตามประสงค์ พระบรมโพธิสัตว์โปรดเชิญนายขมังธนูทั้ง ๔ ที่มีชื่อคือ อักขณเวธี ผู้ยิงธนูไวดุจฟ้าแลบ วาลเวธี ผู้ยิงธนูแม่นแม้ขนทรายก็ไม่ผิด สรเวธี ผู้สามารถยิงสวนลูกธนูที่ยิงมาได้ สัททเวธี ผู้ยิงธนูตามเสียงที่ได้ยิน มาประชุมพร้อมกัน แล้วทรงแสดงธนูศิลป ๑๒ ประการให้หมู่พระญาติได้ทัศนา ตั้งแต่นั้นหมู่พระญาติก็คลายความสงสัยในพระบรมโพธิสัตว์

    ทรงเสด็จประพาสพระราชอุทยาน

    อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ปรารถนาจะประพาสพระราชอุทยาน จึงรับสั่งให้หานายสารถีเข้าเฝ้าแล้วโปรดให้จัดรถถวาย นายสารถีรับบัญชาแล้วก็รีบจัดแจงรถอันงามมีค่ามาก ด้วยเครื่องสรรพาลังการ เทียมด้วยมงคลสินธพทั้ง ๔ มีสีเหมือนดอกโกมุทแล้วรับเสด็จพระบรมโพธิสัตว์ เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ประทับราชรถดังหนึ่งทิพยวิมานแล้ว ก็บ่ายพระพักตร์ไปยังพระราชอุทยาน


    แหล่งข้อมูลภาพ: http://www.tairomdham.net/index.php?topic=3730.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  9. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พบเทวฑูตทั้ง ๔

    เทวดาทั้งหลายคิดว่า เวลานี้เป็นเวลาใกล้ที่พระสิทธัตถราชกุมารจะตรัสรู้ เราจักร่วมกันแสดงบุพพนิมิต เทวบุตรตนหนึ่งจึงแสดงเป็นคนแก่เฒ่าหลังโกง ฟันหัก ผมหงอก ตัวโค้ง ถือไม้เท้าเดินงกๆเงิ่นๆ อีกตนหนึ่งแสดงเป็นเจ็บหนัก นอนจมอยู่บนกองมูตร และกรีสของตน คนอื่นต้องคอยช่วยพยุงกายให้ลุก ให้กิน ให้นอน อีกตนหนึ่งแสดงเป็นคนตาย อีกตนหนึ่งแสดงเป็นสมณะ

    เมื่อพระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น จึงทรงเป็นทุกข์เศร้าพระทัย ทรงดำริว่า ขึ้นชื่อว่าความเกิดแล้ว เป็นของที่น่ารังเกียจ เพราะเมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จึงปรากฎ ความเจ็บจึงปรากฎ ความตายจึงปรากฎแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว และทรงพอพระทัยในเพศแห่งบรรพชิต เพราะบรรพชิต เป็นผู้ประพฤติธรรม การประพฤติธรรมเป็นความดี การประพฤติกุศลเป็นความดี การกระทำบุญเป็นคนดี การไม่เบียดเบียนกันเป็นความดี การอนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์เป็นความดี”


    พระบรมโพธิสัตว์ทรงน้อมพระทัยในการบรรพชา พระบรมโพธิสัตว์ได้ทรงกีฬาตลอดทั้งวันในพระราชอุทยานนั้น ทรงสรงในมงคลโบกขรณี เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ประทับพระแท่นมงคลศิลาปรารถนาจะทรงแต่งพระองค์ ในลำดับนั้นนางบำเรอของพระบรมโพธิสัตว์ถือเอาภูษาทรงต่างสีชนิดเครื่องทรงต่างๆ และเครื่องหอม เครื่องลูบไล้ ยืนเฝ้าอยู่รอบพระองค์

    สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงทราบว่า มารดาพระราหุลประสูติพระโอรส จึงให้ส่งข่าวไปว่า ขอพระลูกของเราจงยินดีเถิด พระบรมโพธิสัตว์ทรงทราบข่าวนั้นแล้ว ตรัสว่า“ห่วงเกิดแล้ว เครื่องพันธนาการได้เกิดขึ้นแล้ว(ราหุลํ ชาตํ พนฺธนํ ชาตํ)”

    พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงตรัสถามผู้นำข่าวไปทูลว่า โอรสของเราตรัสอย่างไรบ้าง เมื่อทราบแล้ว จึงโปรดเกล้าว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พระนัดดาของเราจงมีนามว่า“ราหุล” ดังนี้

    พระบรมโพธิสัตว์จึงประทับรถพระที่นั่งกลับเข้าพระนครด้วยยศใหญ่ และด้วยพระสิริโสภาคย์น่ารื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง ในขณะนั้น ขัตติยกัญญานามว่า “กิสาโคตมี” พระมาตุจฉาประทับอยู่ ณ ปราสาทชั้นบน ทอดพระเนตรเห็นพระรูปสิริแห่งพระบรมโพธิสัตว์ทำประทักษิณพระนคร ทรงปีติโสมนัสมาก จึงทรงเปล่งอุทานว่า
    “พระกุมารนี้ เป็นโอรสของพระมารดาใด พระมารดานั้นก็ดับเข็ญ เป็นโอรสของพระบิดาใด พระบิดานั้นก็ดับเข็ญ พระกุมารนี้เป็นพระสามีของนารีใด นารีนั้นก็ดับเข็ญ ดังนี้”

    พระโพธิสัตว์เจ้าได้สดับเช่นนั้นแล้ว จึงทรงดำริว่า พระนางเธอทรงรับสั่งอย่างนี้ เมื่อพระมารดาได้เห็นอัตภาพของเราเช่นนี้พระทัยก็ดับเข็ญ พระทัยพระชนกก็ดับเข็ญ พระทัยของประชาบดีก็ดับเข็ญ ก็เมื่ออะไรเล่าดับ พระทัยจึงจะได้ชื่อว่าดับเข็ญ

    เมื่อพระโพธิสัตว์มีพระหฤทัยหน่ายในกิเลส จึงทรงปริวิตกว่า เมื่อไฟคือ ราคะดับจึงจะได้ชื่อว่าดับเข็ญ เมื่อไฟคือโทสะดับ จึงจะได้ชื่อว่าดับเข็ญ เมื่อไฟคือ โมหะดับ จึงจะได้ชื่อว่าดับเข็ญ เมื่อกิเลสทั้งปวงอันมีมานะ และทิฏฐิ เป็นต้น พร้อมทั้งความกระวนกระวายดับแล้ว จึงจะได้ชื่อว่า ดับเข็ญ พระนางเธอได้ทรงประกาศคำเช่นนี้แก่เรา และเราก็ท่องเที่ยวแสวงหาความดับ(นิพพาน)อยู่ ฉะนั้นวันนี้เราควรสละฆราวาสออกบวชแสวงหาพระนิพพานต่อไป จึงทรงเปลื้องมุกดาหารราคาประมาณแสนกษาปน์จากพระศอ ถวายพระนางกิสาโคตมี และมีพระดำรัสว่า นี้จงเป็นส่วนของอาจารย์สำหรับพระนาง พระนางเธอทรงปีติโสมนัสอย่างยิ่ง

    พระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้เสด็จไปยังปราสาทของพระองค์ด้วยพระศิริโสภาคย์อันยิ่งใหญ่ แล้วเสด็จเข้าบรรทมในที่ศิริไสยาศ

    ในขณะนั้นเหล่านางสนมกำนัลทั้งหลายต่างพากันประดับประดาร่างกายด้วยสรรพาภรณ์ครบถ้วน ต่างก็พากันมาขับร้อง ประโคมดนตรีอย่างไพเราะ แต่พระโพธิสัตว์เจ้ามิได้ทรงเพลิดเพลินในการฟ้อนรำนั้น เพราะทรงมีพระทัยหน่ายในกิเลส จึงเสด็จเข้าสู่นิทรารมย์อยู่ครู่หนึ่ง เหล่าหญิงสนมกำนัลทั้งหลายต่างคิดกันว่า พระองค์ทรงบรรทมหลับแล้ว เราจะมาขับร้องบรรเลงกันให้ลำบากทำไม จึงต่างคนก็วางดนตรีแล้วหลับไปด้วยความเหนื่อยอ่อน

    ขณะนั้นดวงประทีปที่เติมไว้ด้วยน้ำมันหอมยังโพลงอยู่ พระโพธิสัตว์ตื่นบรรทมนั่งคู้บัลลังก์บนพระแท่นที่ไสยาศ ทอดพระเนตรเห็นหญิงสาวสนมกำนัลทั้งหลายเหล่านั้นกำลังนอนหลับทับเครื่องดนตรีอยู่ บางนางก็นอนน้ำลายไหล ตัวเนื้อก็เปรอะเปื้อนไปด้วยน้ำลาย บางนางก็นอนกัดฟัน บางนางก็นอนกรนเสียงดังดุจกา บางนอนก็นอนละเมอ บางนางก็นอนอ้าปาก บางนางก็นอนผ้าหลุดลุ่ยสำแดงอวัยวะลับให้ปรากฎ

    พระบรมโพธิสัตว์ทอดพระเนตรอาการอันน่ารังเกียจเช่นนี้แล้ว ก็ยิ่งเกิดความเบื่อหน่ายในกามคุณยิ่งขึ้น ภาคพื้นซึ่งใหญ่กว้างประดับประดาสวยงามราวกับที่ประทับของท้าวสักกะเทวราช กลับปรากฎแก่พระบรมโพธิสัตว์เหมือนป่าช้าผีดิบที่เขานำเอาซากศพมาทิ้งไว้เกลื่อนกลาด ฉะนั้น ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ปรากฎดุจเรือนที่ถูกไฟไหม้ ยามนั้นทรงเปล่งอุทานว่า ที่นี่วุ่นวายจริง ที่นี่ขัดข้องจริง ทรงน้อมพระทัยไปในการบรรพชายิ่งขึ้น ทรงดำริว่า วันนี้เราต้องออกมหาภิเนษกรมให้จงได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  10. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เสด็จออกมหาภิเนษกรม

    พระโพธิสัตว์ทรงเสด็จลุกจากที่บรรทมเสด็จไปข้างประตู สั่งนายฉันนะสารถีผู้ซื่อสัตย์ให้จัดม้าพร้อมทั้งเครื่องม้า แล้วเสด็จไปยังห้องบรรทมของพระนางพิมพา ทรงเปิดพระทวารเข้าไปภายใน ขณะนั้นไฟในห้องบรรทมสว่าง พระกุมารราหุลบรรทมหลับสนิท พระนางวางพระหัตถ์เหนือพระเศียรพระโอรส พระบรมโพธิสัตว์ประทับยืนที่พระธรณีประตูทอดพระเนตรแล้ว ดำริว่า ถ้าเราจักผลักพระหัตถ์พระเทวีออกแล้วอุ้มโอรสของเราไซร้ พระเทวีก็จะตื่นบรรทม การไปของเราก็เกิดอุปสรรคขึ้น ต่อเมื่อใดเราบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เราจึงกลับมาเยี่ยมโอรสของเรา

    พระบรมโพธิสัตว์เสด็จลงจากปราสาทประทับนั่งบนหลังอัศวราชกัณถกะมุ่งออกจากพระนครพร้อมด้วยนายฉันนะ

    ครั้งนั้นมารผู้มีใจบาป กล่าวทัดทานว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าออกไปเลย จากวันนี้ไปอีก ๗ วัน จักรรัตนจักปรากฎแก่ท่าน ท่านจักได้เสวยราชเป็นจักรพรรดิครองทวีปใหญ่ทั้ง ๔ และยังมีทวีปน้อยอีกนับถึง ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ท่านจงกลับพระนครเถิด"

    พระโพธิสัตว์จึงตรัสว่า “ดูกรมาร เราก็รู้ว่าจักรรัตนจักเกิดแก่เรา แต่เราไม่ต้องการราชสมบัติ เราจักให้หมื่นโลกธาตุบรรลือลั่น เราจักเป็นพระพุทธเจ้า”

    พระบรมโพธิสัตว์มิได้อาลัยทรงสละจักรพรรดิสมบัติอันจะถึงเงื้อมหัตถ์ ดุจบ้วนก้อนเขฬะจากปลายพระชิวหา เสด็จออกจากเมืองบ่ายหน้าไปทางทิศทางที่ควรไป ท่ามกลางราตรีนั้น ท้องนภากาศดารดาดด้วยนักขัตตดารา

    พระบรมโพธิสัตว์เสด็จไปด้วยสิริโสภาคย์นี้ ผ่านแดนอาณาจักรทั้ง ๓(เมืองกบิลพัสดุ์ สาวัตถี เวสาลี) โดยคืนเดียวเท่านั้นก็บรรลุถึงริมฝั่งอโนมานที เห็นเป็นสถานที่ที่ควรแก่การบรรพชา จึงตรัสเรียกนายฉันนะเข้าเฝ้า แล้วตรัสว่า “ฉันนะ เธอจงนำเครื่องอาภรณ์ของเรา และม้ากัณถกะกลับไป เราจักบวชที่ตรงนี้

    เมื่อฉันนะนำเครื่องอาภรณ์ และม้ากลับไปแล้ว พระบรมโพธิสัตว์ก็ทรงอธิษฐานบรรพชา ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานทีนั้น จากนั้นก็เสด็จจาริกแสวงหาโมกขธรรมไปตามลำดับ จนกระทั่งบรรลุถึงสวนอนุปิยอัมพวัน เสด็จจากสวนอนุปิยอัมพวันก็บรรลุถึงกรุงราชคฤห์ ตอนเช้าได้เสด็จออกบิณฑบาตไปตามคามนิคมนั้นชาวนครราชคฤห์เห็นพระรูปโฉมอันงามสง่า ต่างก็พากันศรัทธาโจษขานกันไปต่างๆนานา เมื่อเสด็จออกบิณฑบาตได้อาหารมาแล้ว ก็ทรงบริโภค ครั้งแรกก็ทรงอึดอัดด้วยอาหารอันเป็นปฏิกูลนั้น เพราะตลอดพระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระองค์ไม่เคยทอดพระเนตรเห็นอาหารเช่นนี้มาก่อนเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงประทานโอวาทแก่พระองค์เองว่า “ดูกรสิทธัตถะ ท่านเกิดในสกุลที่มีอาหารมากสมบูรณ์หาได้ง่าย สถานที่บริโภคก็ดีมีอาหารอันเลิศรสต่างๆ ข้าวสาลีก็มีกลิ่นหอมอบไว้ถึง ๓ ปี ต่อมาได้เห็นสมณผู้ทรงศีลถือบังสุกุลเป็นวัตรรูปหนึ่ง จึงคิดว่า เมื่อไรหนอเราจึงจักได้บวชเช่นนี้บ้าง เราจักเที่ยวบิณฑบาตฉัน เมื่อคิดดังนี้แล้วจึงออกบวช บัดนี้เราจะทำอย่างไรกับอาหารที่ได้มานี้” ครั้นพระองค์ประทานโอวาทแก่พระองค์เองแล้ว จึงหมดความรังเกียจบริโภคอาหารนั้นจนได้

    ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธ ทรงทราบการโจษขานของชาวนครเช่นนั้น จึงเสด็จมายังที่พำนักของพระบรมโพธิสัตว์ ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถยิ่งนัก ทรงถวายอิสริยสมบัติแก่พระบรมโพธิสัตว์ แต่พระบรมโพธิสัตว์ทรงปฏิเสธ โดยถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพรมหาบพิตรพระราชสมภารอาตมภาพไม่ต้องการวัตถุกาม และกิเลสกาม อาตมภาพออกบวชก็เพื่อปรารถนาพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ”

    แม้พระราชาจะทรงอ้อนวอนเพียงใด ก็ไม่สามารถยังพระหฤทัยของพระบรมโพธิสัตว์ให้ยินดีได้ จึงกราบทูลว่า “พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ หากได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอเสด็จมายังแคว้นของหม่อมฉันก่อน”

    พระบรมโพธิสัตว์ได้ถวายพระปฏิญญาต่อพระราชาแล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับ ได้เข้าไปศึกษายังสำนักของท่านอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร(ท่านอาฬารดาบสกาลามโคตรสอนถึงอากิญจัญญายตนฌาน และอุทกดาบสรามบุตรสอนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน) ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ทรงดำริว่าไม่ใช่ทางแห่งความตรัสรู้ จึงไม่พอใจในสมาบัติภาวนานั้น ปรารถนาจะตั้งมหาปธานความเพียรใหญ่ เพื่อแสดงเรี่ยวแรง และความเพียรของพระองค์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก จึงเสด็จดำเนินแสวงหาพระโพธิญาณต่อไป

    เสด็จถึงอุรุเวลาประเทศ ดำริว่า ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริงหนอ แล้วเสด็จเข้าพำนักในสถานที่นั้น ทรงตั้งมหาปธานความเพียรใหญ่

    ฝ่ายบรรพชิตอีก ๕ รูปมีท่านอัญญาโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า ได้เที่ยวจาริกไปในคามนิคมชนบทน้อยใหญ่ ได้ประสพพระบรมโพธิสัตว์ในสถานที่นั้น บรรพชิตทั้ง ๕ จึงพากันไปอยู่ในสำนักแห่งพระโพธิสัตว์ โดยคิดว่า บัดนี้สิทธัตถะจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ จึงพากันบำรุงรับใช้พระบรมโพธิสัตว์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  11. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    อุปมา ๓ ข้อเกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์

    ๑) สมณะพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายยังไม่ปลีกออกจากกามยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงในกาม ยังกระหายในกาม ยังมีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังไม่สามารถสงบระงับละกามนั้นได้ด้วยดี สมณะพราหมณ์เหล่านั้นแม้จะได้เสวยทุกข์เวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อน เพราะความเพียรนั้นก็ดี หรือมิได้เสวยเลยก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อยังปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเกิดขึ้นได้ เปรียบเหมือนไม้ที่หุ้มด้วยยาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ บุรุษจะพึงนำมาสีกันเข้าก็ไม่อาจสามารถให้เกิดไฟขึ้นได้ บุรุษนั้นก็จะถึงซึ่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากกายเปล่า

    ๒) สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดมีกายปลีกออกจากกาม แต่ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม มีความกระหายในกาม มีความเร่าร้อนเพราะกาม ไม่สามารถยังกามให้สงบระงับได้ด้วยดีในภายใน สมณะพราหมณ์เหล่านั้นถึงแม้จะเสวยทุกข์เวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน อันเกิดจากความเพียรนั้น ถึงแม้จะมิได้เสวยก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อที่จะรู้ เพื่อที่จะเห็น เพื่อยังปัญญาอันเป็นเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าให้เกิดขึ้นได้ เปรียบเสมือนไม้สดที่หุ้มด้วยยาง ถึงแม้จะตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ ก็ไม่สามารถอาจสีให้เกิดไฟได้ ซ้ำร้ายก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบากกายเปล่า

    ๓) สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดมีกาย และใจปลีกออกจากกาม ไม่มีความพอใจในกาม ไม่เสน่หาในกาม ไม่หลงอยู่ในกาม ไม่กระหายในกาม ไม่เร่าร้อนเพราะกาม ยังกามให้สงบระงับได้ด้วยดีภายใน สมณะพราหมณ์เหล่านั้นแม้จะได้เสวยทุกข์เวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน เพราะความเพียรก็ตาม หรือไม่ได้เสวยก็ตาม ก็ควรเพื่อที่จะรู้ เพื่อที่จะเห็น เพื่อที่จะยังปัญญาอันเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าให้เกิดขึ้นได้ อุปมาเหมือนไม้ที่แห้งเกราะ ทั้งยังวางอยู่บนบกไกลน้ำ ย่อมอาจสีให้เกิดไฟตามความต้องการได้

    ทรงบำเพ็ญทุกขกิริยา

    จากนั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างแรงกล้า ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์(กดฟันด้วยฟัน) กดพระตาลุด้วยพระชิวหา(กดเพดานด้วยลิ้น) ทรงข่มจิตด้วยใจ บีบให้แน่น ร้อนจัด เหงื่อไหลออกจากรักแร้ จนกระทั่งได้รับทุกข์เวทนาอย่างแสนสาหัส ก็ไม่สามารถตรัสรู้ได้

    จากนั้นพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญความเพียรอันแรงกล้าขึ้นไปอีก ด้วยการกลั้นลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ทั้งทางปาก ทางจมูก จนกระทั่งลมดันออกทางช่องหูทั้ง ๒ ก็ยังไม่สามารถตรัสรู้ได้ จึงกลั้นลมให้สูงขึ้นไปอีก คือกลั้นลมอัสสาสปัสสาสะ ทั้งทางปาก ทางจมูก และทางช่องหู จนกระทั่งลมเสียดแทงขึ้นบนศีรษะ ได้รับทุกข์เวทนาอย่างแรงกล้า ดุจศีรษะถูกเชือดด้วยมีดโกนอันคมกริบฉะนั้น ครั้นกลั้นลมอัสสาสปัสสาสะเช่นนั้นไปอีก ลมอันกล้าเหล่านั้นก้เสียดแทงท้องให้เกิดทุกข์เวทนาอย่างแรงกล้า ก็ไม่สามารถเป็นทางแห่งความตรัสรู้ได้ พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญทุกรกิริยาให้กล้าแข็งขึ้นไปอีก โดยทรงยับยั้งด้วยพระกระยาหาร มีข้าวสารประมาณเมล็ดงาเดียว เป็นต้น ในที่สุดทรงอดพระกระยาหารโดยเด็ดขาด พวกเทวดาต้องช่วยกันใส่โอชาแทรกเข้าทางขุมขน ถึงกระนั้นพระวรกายของพระบรมโพธิสัตว์ก็ถึงความซูบผอมลงยิ่งนัก เพราะอดพระกระยาหาร ผิวพรรณที่เคยเปล่งปลั่งดังทองก็กลายเป็นผิวดำคล้ำ มหาปุริสลักษณะทั้ง ๓๒ ประการ ก็หายหมด ถูกเวทนาครอบงำจนถึงวิสัญญีภาพล้มสลบลง ณ ที่นั้น

    อวัยวะน้อยใหญ่ของพระโพธิสัตว์เหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก ตะโพกปรากฎเหมือนเท้าอูฐ กระดูกสันหลังผุดเกิดขึ้นเหมือนเถาวัฏฏนาวฬี ซี่โครงนูนขึ้นเป็นร่องๆ ดุจดังกลอนศาลาเก่าที่เครื่องมุงหล่นโซมอยู่ฉะนั้น ดวงตาลุ่มลึกเข้าไปในเบ้าตา ประหนึ่งดวงดาวปรากฎในบ่อน้ำอันลุ่มลึกฉะนั้น ผิวบนศีรษะเหี่ยวแห้งดุจผลน้ำเต้าที่ถูกแดดแผดเผาฉะนั้น ผิวหนังท้องแห้งติดกระดูกสันหลัง เมื่อลุกขึ้นถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ก็ซวนเซล้มลงในที่นั้น เมื่อเอาฝ่ามือลูบตัว ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ ก็ยังไม่สามารถจะตรัสรู้ได้

    พระบรมโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทุกขกิริยาอยู่อย่างนี้ถึง ๖ ปี ก็ไม่สามารถตรัสรู้ได้ จึงทรงเปลี่ยนพระทัยเสด็จออกบิณฑบาตเพื่อได้อาหารอาหารมาเสวย ครั้นเสวยพระกระยาหารตามปกติ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการก็ปรากฎตามเดิม พระวรกายก็กลับมีพระฉวีวรรณเช่นเดิม

    ฝ่ายภิกษุเบญจวัคคีย์เห็นเช่นนั้นก็ดำริกันว่า พระโพธิสัตว์นี้แม้ทรงบำเพ็ญทุกขกิริยาตั้ง ๖ ปี ก็ยังไม่อาจตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณได้ บัดนี้ได้เสด็จเที่ยวบิณฑบาตตามคามนิคม เป็นต้น นำอาหารมาเสวยเช่นเดิม จะอาจตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณได้อย่างไร บัดนี้ พระโพธิสัตว์ได้คลายความเพียร เวียนเข้าหาความมักมาก กิริยาที่พวกเรานึกถึงคุณพิเศษจากสำนักท่านผู้นี้ก็เหมือนคนที่ต้องการสนานศีรษะ นึกถึงหยาดน้ำค้างฉะนั้น พวกเราจะได้ประโยชน์อะไรในท่านผู้นี้ เมื่อดำริเช่นนี้แล้วก็พากันละมหาบุรุษนั้นไปเสีย มุ่งหน้าเดินทางไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

    ครั้งนั้นยังมีนางทาริกาคนหนึ่งชื่อ“สุชาดา” นางเกิดในเรือนของเสนะกุฎุมพีในเสนานิคมอุรุเวลาประเทศ ได้เจริญเติบโตรุ่นสาว นางทำความปรารถนาไว้ที่ต้นไทรแห่งหนึ่งว่า ถ้าข้าพเจ้าได้สามีที่มีชาติสกุลสมกันแล้ว ขอให้ได้ลูกชายเป็นคนหัวปี จะสละทรัพย์ประมาณแสนหนึ่งทำพลีกรรมแก่ท่านทุกๆปี ความปรารถนาของนางก็ถึงซึ่งความสำเร็จ นางจึงกระทำพลีกรรมในวันเพ็ญเดือน ๖ อันเป็นวันครบ ๖ ปีที่พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทุกขกิริยา นางได้กวนข้าวมธุปายาสเพื่อกระทำพลีกรรมแก่เทวดานั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  12. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ทรงสุบินนิมิต ๕ ประการ

    ในราตรีนั้นพระบรมโพธิสัตว์ทรงบรรทมแล้วเกิดพระสุบินนิมิต(ทรงตรัสเล่าด้วยพระองค์เอง สุบินสูตร อังคุตตรนิกายปัญจกนิบาต) ปรากฎ ๕ ประการคือ
    ๑) อย° มหาปฐวี มหาสย° อโหสิ พระองค์เสด็จบรรทมเหนือมหาปฐพีเป็นแท่นที่พระบวรสิริมหาไสยาสน์
    หิมวา ปพฺพตราชา พิมฺโพหน° อโหสิ พระยาเขาหิมพานต์เป็นพระเขนย(บ่ายพระเศียรไปทางทิศอุดร)
    ปุรตฺถิเม สมุทฺเท วาโม หตฺโถ โอหิโต อโหสิ พระหัตถ์ซ้ายเหยียดพาดไปหย่อนลงในมหาสมุทร ด้านปุริมทิศ(ทิศตะวันออก)
    ปจฺฉิเม สมุทฺเท ทกฺขิโณ หตฺโถ โอหิโต อโหสิ พระหัตถ์ขวาเหยียดพาดหย่อนไปในมหาสมุทรด้านทิศปัจฉิม(ตะวันตก)
    ทกฺขิเณ สมุทฺเท อุโภ ปาทา โอหิตา อเหสุ° พระบาททั้ง ๒ เหยียดพาดหย่อนลงไปในมหาสมุทรด้านทิศทักษิณ(ทิศใต้)

    ๒) ติณชาต นาภิยา อุคฺคนฺตวา นภ° อาหจฺจ ฐิตา อโหสิ หญ้าคางอกขึ้นมาแต่ พระนาภีแล้ว สูงขึ้นจนจดนภากาศ

    ๓) เสตา กินี กณฺหสีสา ปาเทหิ อุสฺสกฺกิตฺวา ยาว ชานุมณฺฑลา ปฏิจฺฉาเทสุ° กิมิชาติหมู่หนอนทั้งหลาย ตัวสีขาว ศีรษะดำ ไต่ขึ้นมาแต่พระบาททั้ง ๒ (ปกปิดพระบาท และพระชงค์) ตลอดจนถึงพระชาณุมณฑล(เข่า)

    ๔) จตฺตาโร สกุณา นานาวณฺณา จตูหิ ทิสาหิ อาคนฺตฺวา ปาทมูเล นิปติติตฺวา สพฺพเสตา สมฺปชฺชีสุ นกทั้งหลาย ๔ จำพวก มีสีต่างๆกัน(เป็น ๔ สี) บินมาจากทิศทั้ง ๔ แล้วมาหมอบอยู่ใกล้พระบาทแห่งพระองค์แล้วก็กลับกลายสรีระกายเป็นสีขาวเหมือนกันหมดทั้ง ๔ จำพวก

    ๕) สมาโน มหโต มิฬฺหปพฺพตสฺส อุปรูปริ จงฺกมติ อลิปฺปมาโน มิฬฺเหน พระองค์ทรงเสด็จจงกรมไปมาในเบื้องบนแห่งภูเขาใหญ่อันเต็มไปด้วยคูถ แต่พระบาทจะได้แปดเปื้อนด้วยคูถ แม้แต่น้อยหนึ่ง ก็หามิได้

    ทรงทำนายพระสุบิน

    พระสุบินนิมิตข้อที่ ๑ นั้น พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า ข้อที่พระองค์เสด็จบรรทมเหนือแผ่นมหาปฐพีนั้น มีขุนเขาหิมพานต์เป็นเขนย พระหัตถ์ซ้ายหย่อนลงในมหาสมุทรทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาเหยียดพาดหย่อนไปในมหาสมุทรด้านทิศตะวันตก พระบาททั้ง ๒ เหยียดพาดหย่อนลงในมหาสมุทรด้านทิศทิศใต้ สุบินนิมิตข้อนี้ปรากฎเพื่อเป็นมิมิตให้ทราบว่า พระโพธิสัตว์เจ้าจักได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณโดยเที่ยงแท้แน่นอน

    พระสุบินนิมิตข้อที่ ๒ หญ้าคาได้ขึ้นจากพระนาภีสูงจดท้องฟ้านั้น ปรากฎเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า พระองค์จักได้ตรัสรู้พระอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ แล้วประกาศด้วยดี ให้ปรากฎแจ่มแจ้งในสันดานแห่งเทวดา และมนุษย์ อินทร์ พรหมทั้งปวง

    พระสุบินนิมิตข้อที่ ๓ หมู่หนอนมีสีขาว ศีรษะดำ ได้ไต่ขึ้นมาแต่พระบาททั้ง ๒ ปกปิดถึงพระชาณุมณฑล ปรากฎเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า คฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวเป็นจำนวนมาก ได้ถึงตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต

    พระสุบินนิมิตข้อที่ ๔ นก ๔ เหล่ามีสีต่างๆกัน บินมาจากทิศทั้ง ๔ แล้วหมอบลงใกล้พระบาททั้ง ๒ แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัวนั้น ปรากฎเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า วรรณทั้ง ๔ เหล่านี้ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ ออกบวชในพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ทำให้แจ้งซึ่งวิมุติอันยอดเยี่ยม

    พระสุบินนิมิตข้อที่ ๕ เสด็จจงกรมไปมาในเบื้องบนแห่งภูเขาใหญ่อันเต็มไปด้วยคูถ แต่ไม่แปดเปื้อนพระบาทแม้แต่น้อย ปรากฎเพื่อเป็นมิมิตให้ทราบว่าตถาคตได้จตุปัจจัยลาภ มีจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร แต่ก็ไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญา เปลื้องตนออกบริโภค

    เมื่อรุ่งสว่างแล้ว พระบรมโพธิสัตว์ทรงทำการปฏิบัติ ในสรีระกิจแล้ว เมื่อกำลังรอเวลาภิกขาจาร ได้เสด็จมานั่งยังควงไม้แต่เช้าตรู่ ยังควงไม้ทั่วบริเวณนั้นสว่างไสวด้วยพระรัศมีของพระองค์

    นางปุณณทาสีมาเห็นพระบรมโพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้ เห็นต้นไม้รอบบริเวณนั้น มีสีเป็นทองไปหมด ด้วยพระรัศมีที่สร้านออกจากพระวรกายของพระบรมโพธิสัตว์ นางจึงเกิดความคิดว่า วันนี้เทวดาของพวกเราเห็นจะลงมาจากต้นไม้เพื่อคอยพลีกรรมด้วยมือของตนเอง จึงรีบนำความนั้นไปแจ้งแก่นางสุชาดา นางสุชาดาได้ฟังดังนั้นก็ดีใจยิ่งนัก รีบจัดถาดทองใส่ข้าวมธุปายาสจนเต็มแล้วปิดด้วยถาดทองห่อด้วยผ้าขาว ทูลถาดไว้บนศีรษะเดินทางไปยังควงไม้ไทรใหญ่นั้น ครั้นเห็นพระบรมโพธิสัตว์ก็เกิดความโสมนัสเป็นกำลัง รีบย่อกายเข้าไปตั้งแต่เห็น ด้วยสำคัญว่าเป็นรุกขเทวดา นางลดถาดลงจากศีรษะเปิดถาดแล้วถือถาดน้ำที่อบด้วยของหอมอย่างดี ด้วยคนโททองแล้วน้อมเข้าไปถวายพระบรมโพธิสัตว์

    นางสุชาดาวางถาดทองที่รองข้าวปายาสที่พระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ และพระมหาบุรุษแลดูนางสุชาดา นางกำหนดอาการนั้นไหว้แล้วพูดว่า“ท่านเจ้าขา ขอท่านจงรับข้าวปายาสพร้อมกับถาดที่ดิฉันได้เสียเพื่อท่านแล้วจงไปตามชอบใจเถิด” แล้วกล่าวว่า “ความปรารถนาของดิฉันสำเร็จแล้วอย่างใด ขอจงสำเร็จแก่ท่านเหมือนฉะนั้นเถิด” นางมิได้อาลัยถาดทองราคาประมาณแสนหนึ่ง ประหนึ่งภาชนะดินเก่าฉะนั้น แล้วอำลาหลีกไป

    จากนั้นพระบรมโพธิสัตว์เจ้าเสด็จลุกจากที่ประทับแล้วกระทำทักษิณต้นไม้ ทรงถือถาดไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา วางถาดลง ณ ฝั่งท่าที่พระบรมโพธิสัตว์นั้น พระโพธิสัตว์เจ้าหลายแสนหยั่งลงสรงสนานในวันตรัสรู้ ซึ่งประดิษฐานไว้ดีแล้วลงสู่ท่าน้ำ ทรงนุ่งห่มผ้าอันเป็นธงไชยของพระอรหันต์ ซึ่งเป็นเครื่องทรงของพระพุทธเจ้าหลายแสนองค์ ประทับนั่งผินพระพักตร์ทางด้านบูรพาทิศ ทรงปั้นข้าวปายาสประมาณเท่าเม็ดตาลสุกรวม ๔๙ ปั้น แล้วทรงเสวย

    พระบรมโพธิสัตว์เจ้าเสวยข้าวปายาสนั้นแล้ว ทรงถือถาดอธิษฐานว่า ถ้าข้าพเจ้าจักอาจเป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้ ขอถาดทองของข้าพเจ้านี้จงลอยทวนกระแสน้ำ ถ้าข้าพเจ้าจักไม่อาจเป็นพระพุทธเจ้า ขอถาดใบนี้จงลอยไปตามน้ำ เมื่ออธิษฐานดังนี้แล้วทรงลอยถาดลงในน้ำ ถาดใบนั้นได้ตัดกระแสน้ำลอยไปกลางแม่น้ำแล้วลอยทวนกระแสน้ำ จมลงที่น้ำวนแห่งหนึ่งไปยังพิภพกาละนาคราช

    พระโพธิสัตว์เจ้าทรงประทับพักผ่อนกลางวันที่สารวัณอันประดิษฐ์ดอกบานสพรั่งริมฝั่งแม่น้ำ เวลาที่ดอกไม้ทั้งหลายหล่นจากขั้วในยามเย็น จึงเสด็จบ่ายพระพักตร์ตรงไปยังโพธิพฤกษ์ ในระหว่างทางนั้นโสตถิยะพราหมณ์ถือหญ้าเดินสวนทางมา รู้อาการของมหาบุรุษแล้ว ได้ถวายหญ้า ๘ กำมือแก่มหาบุรุษ พระมหาบุรุษทรงรับหญ้าคาเสด็จยังโพธิมณฑลประทับยืนผินพระพักตร์ทางทิศอุดรด้านใต้โพธิพฤกษ์นั้น พระบรมโพธิสัตว์ทรงดำริว่า สถานที่นี้เห็นจะไม่ใช่ที่ซึ่งจะบรรลุพระโพธิญาณ จึงทรงทำประทักษิณเสด็จไปยังทิศภาคเบื้องปัจฉิมทิศ ประทับยืนบ่ายพระพักตร์ทางด้านบูรพาทิศแล้วทรงดำริว่า สถานที่นี้เห็นจะไม่ใช่ที่ซึ่งจะบรรลุพระโพธิญาณ จึงทรงทำประทักษิณเสด็จไปยังทิศาภาคเบื้องทิศอุดร ประทับยืนผินพระพักตร์ทางด้านทักษิณ แล้วทรงดำริว่า สถานที่นี้เห็นจะไม่ใช่ที่ซึ่งจะบรรลุพระโพธิญาณ จึงทรงทำประทักษิณเสด็จไปยังทิศาภาคเบื้องบูรพาทิศ ประทับยืนผินพระพักตร์ทางด้านประจิม พระบรมโพธิสัตว์ทรงทราบว่าสถานที่นี้เป็นอจลสถานที่มั่นคง พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ได้ทรงละเว้น เป็นสถานที่ทำลายกรงคือ กิเลสดังนี้แล้ว จึงทรงจับหญ้าคาเหล่านั้นแล้วปูลาดลง

    พระบรมโพธิสัตว์หันพระปฤษฎางค์ทางลำต้นโพธิ ผินพระพักตร์ทางด้านทิศบูรพา ตั้งพระทัยมั่นคงทรงอธิษฐานความเพียงว่า
    กาม° ตโจ นหารู จ อุฏฺฐิ จ อวสิสฺสตุ
    สพฺพ°ปี หิท° สรีเร ม°สโลหิต° อุปสุสฺสตุ
    จะเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อ และเลือดในร่างกายนี้จงเหือดแห้งไปให้หมดเถิด ตราบใดเรายังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จักไม่ทำบัลลังก์นี้เป็นอันขาด เสด็จประทับนั่งคู้อปราชิตะบังลังก์ ซึ่งแม้สายฟ้าตั้งร้อยครั้งรวมกันฟาดลงมา ก็ไม่อาจทำให้แยกออกได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  13. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ทรงผจญมาร

    ครั้งนั้นเทวบุตรมารดำริว่า พระสิทธัตถะกุมารประสงค์จะล่วงพ้นอำนาจของเรา เราจะไม่ยอมให้เธอพ้นไปได้ จึงไปยังสำนักของพลมารแจ้งความนี้ให้ทราบ ประกาศก้องร้องเรียกประชุมพลมาร แล้วพาพรรคพลมารเหล่านั้นออกไปหมายที่จะทำลายสมาธิบัลลังก์แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า

    ครั้งนั้น พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทรงตั้งพระหฤทัยแน่วแน่ อธิษฐานถึงบารมีธรรมที่ได้ทรงบำเพ็ญมาถึง ๔ อสงไขยแสนกัปป์ครบทั้ง ๓๐ ทัศ คือทานบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ์บารมี ๑๐ ได้บำเพ็ญมหาบริจาคทั้ง ๕ ทรงบำเพ็ญญาตัตถะจริยา โลกัตถะจริยา มาโดยตลอด จนกระทั่งพญามาร และเสนามารพ่ายแพ้กลับไป

    ครั้งนั้น พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทรงดำริถึงอดีตว่า ครั้งหนึ่งงานวัปมงคลแรกนาขวัญของท้าวศากย ผู้พระบิดา เราได้นั่งอยู่ที่โคนร่มไม้หว้าอันเยือกเย็นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ละวิตกวิจารเสียได้ เพราะวิตกวิจารสงบไป จึงมีปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิ จนกระทั่งบรรลุถึงตติยฌาน มีสุข เอกัคตาเป็นอารมณ์อยู่ จนกระทั่งบรรลุถึงจตุถฌาน มีอุเบกขา เอกัคตาเป็นอารมณ์

    เมื่อจิตเป็นสมาธิผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ สามารถระลึกชาติถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ พระองค์ได้ทรงบรรลุวิชชาที่ ๑ ในปฐมยามแห่งราตรีนั้น ทรงกำจัดอวิชชาให้หมดไปด้วยวิชชา ดุจขจัดความมืดด้วยแสงสว่าง

    เมื่อจิตเป็นสมาธิผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ รู้จุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย พระองค์ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติเลว และประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักขุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม วิชชาที่ ๒ นี้ พระองค์ได้ทรงบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรีนั้น

    เมื่อจิตเป็นสมาธิผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ พระองค์ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้เป็นปฏิปทาเพื่อไปสู่ความดับทุกข์ นี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้คือความดับอาสวะ นี้คือข้อปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับอาสวะ

    เมื่อพระองค์ทรงรู้ชัดอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ทรงรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี วิชชาที่ ๓ นี้ พระองค์ได้ทรงบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาได้ถูกกำจัดให้หมดไปด้วยวิชชา ดุจความมืดที่ถูกขจัดไปด้วยแสงสว่างฉะนั้น

    เมื่อพระองค์ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณดังนี้ จึงทรงเปล่งพระอุทานด้วยความเบิกบานพระทัยเป็นปฐมพุทธวัจนะว่า

    อเนดชาติส°สาร° สนฺธาวิสฺส° อนิพฺพิส°
    คหการ° คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุน°ฯ
    คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคห° น กาหสิ
    สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏ° วิสงฺขฺต°
    วิสงฺขารคต° จิตฺต° ตณฺหาน° ขยมชฺฌคาฯ
    เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือนคือ อัตภาพอยู่ เมื่อไม่พบ เราได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สิ้นสงสารนับชาติมิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆเป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้ทำเรือนคือ อัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจักทำเรือนคืออัตภาพของเราไม่ได้อีกต่อไป โครงบ้านทั้งหลายทั้งปวงของท่าน เราทำลายแล้ว ยอดแห่งเรือนคือ อวิชชา เรารื้อแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้ว ประกอบกับเราได้บรรลุอรหัตตผลอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลายแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  14. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เสวยวิมุติสุข

    เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานพระคาถาแล้ว ได้ประทับเสวยวิมุติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราในกุรุเวลาประเทศ ตลอด ๗ วัน ในระหว่างเสวยวิมุติสุขนั้น ทางมนสิการปฏิจสมุปบาทเป็นอนุโลม และปฏิโลมตลอดปฐมฌานแห่งราตรีนั้นดังนี้ว่า

    ปฏิจสมุปบาทอนุโลม

    อวชชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    สงฺขารปจฺฺจยา วิญญาณ° เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    วิญฺฺฺญาณปจฺฺฺจยา นามรูป° เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    นามรูปปจฺจยา สฬายตน° เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    ตณฺหาปจฺฺจยา อุปาทาน° เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    ชาติปจฺจยา ชรามรณ° โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
    เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลย่อมเกิดด้วยอาการอย่างนี้

    ปฏิจสมุปบาทปฏิโลม

    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค คือวิราคะ สังขารจึงดับ
    สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    วิญฺญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    ชาตินิโรธา ชรามรณ° เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกขนกฺขธสฺส นิโรโธ โหติฯ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส จึงดับ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั้นย่อมดับด้วยประการฉะนี้

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา*(อุทานในยามต้น เกิดขึ้นด้วยอำนาจความพิจารณาปัจจยาการ)
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ปชานาติ สเหตธมฺม°ฯ
    เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ

    เมื่อเข้าถึงซึ่งปัจจัยปัจฉิมยามแห่งราตรีนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาปฏิจสมุปบาทเป็นอนุโลมปฏิโลมอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงเปล่งอุทานว่า
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา**(อุทานในยามที่ ๒ เกิดขึ้นด้วยอำนาจความพิจารณาพระนิพพาน(ในสมันตปาสาทิกา))
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ขย ปจฺจยาน° อเวทีติฯ
    เมื่อใดแลธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงมนสิการปฏิจสมุปบาทเป็นอนุโลมปฏิโลมอีกครั้งหนึ่งในปัจฉิมยามแห่งราตรีนั้น แล้วทรงอุทานว่า
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา***(อุทานในยามสุดท้าย เกิดขึ้นด้วยอำนาจความพิจารณามรรค)
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    วิธูปย° ติฏฺฺฐติ มารเสน°
    สุริโยว โอภาสยมนฺตลิกฺขน°ฯ
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมาร และเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำอากาศให้สว่างฉะนั้น

    ครั้นล่วง ๗ วันไปแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้โพธิพฤกษ์ เข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุติสุขตลอด ๗ วัน

    ครั้งนั้น พราหมณ์หุหุกชาติคนหนึ่งได้เข้าไปในพุทธสำนัก ทูลถามว่าท่านพระโคดม บุคคลที่มีชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ และธรรมเหล่าไหนยังบุคคลให้เป็นพราหมณ์ พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า
    โย พฺราหฺมโณ พาหิตปาปธมฺโม
    นีหุ°หุโก นิกฺกาสาโว ยตตฺโต
    เวทนฺคู วูสิตพฺรหฺมจริโย
    ธมฺเมน โส พฺรหฺมวาท° วเทยฺย
    ยสฺสุสฺสทา นตฺถ กุหิญฺจิ โลเกฯ
    พราหมณ์ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่ตะหวาดผู้อื่นว่า หึๆ ไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาด มีตนสำรวมแล้ว ถึงที่สุดแห่งเวทย์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว พราหมณ์นั้นไม่มีกิเลส เครื่องฟูขึ้น ในอารมณ์ไหนๆ ในโลกควรกล่าวถ้อยคำว่าตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม

    ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธ เข้าไปยังต้นไม้มุจลินท ประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุติสุขตลอด ๗ วัน
    [​IMG]
    ครั้งนั้น เมฆใหญ่มิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้น ฝนตกพรำ เจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน ครั้งนั้นมุจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตน ได้แวดวงพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยขนด ๗ รอบ แล้วแผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียรสถิตย์อยู่ ด้วยหวังใจว่าความหนาวความร้อนอย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลาน อย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว อากาศปลอดโปร่งปราศจากฝน มุจลินทนาคราชจึงคลายขนดจากพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า จำแลงรูปของตนเป็นเพศมาณพ ยินประคองอัญชลีถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคทางเบื้องพระพักตร์

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า
    สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต
    อพฺยาปชฺฌ° สุข° โลเก ปาณภูเตสุ สญฺญโม
    สุขา วิราคตา โลเก กามาน° สมติกฺกโม
    อสฺมิมานสฺส โย วินโย เอต° เว ปรม° สุข°ฯ
    ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้สันโดษ มีธรรมปรากฎแล้ว เห็นอยู่ ความไม่พยาบาทคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความปราศจากกำหนัดยินดีคือ ความล่วงกามทั้งหลายเสียได้เป็นสุขในโลก การกำจัดอัสมิมานะเสียได้นั่นแล เป็นสุขอย่างยิ่ง

    ครั้นประทับ ณ ควงไม้มุจลินทล่วง ๗ วันแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จเข้าไปยังต้นไม้ราชายตนะ แล้วประทับนั่งบัลลังก์เดียว เสวยวิมุติสุขตลอด ๗ วัน

    สมัยนั้นพ่อค้าพาณิชย์ ๒ คนชื่อ ตปุสสะ และพัลลิกะ เดินทางไกลจากอุกรชนบท ลุถึงตำบลนั้น ครั้งนั้นเทพยดาผู้เป็นญาติสายโลหิตของพ่อค้าทั้ง ๒ ได้กล่าวคำนี้ขึ้นว่า ท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ตรัสรู้เป็นครั้งแรกประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ ท่านทั้ง ๒ จงไปบูชาพระผู้มีพระภาคนั้นด้วยสัตตุผงสัตตุก้อน การบูชาของท่านทั้ง ๒ นั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน

    ครั้งนั้นพ่อค้าทั้ง ๒ ได้ถือสัตตุผงสัตตุก้อน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายสัตตุผงสัตตุก้อน ครั้งนั้นพ่อค้าตปุสสะ และพัลลิกะได้ทูลคำนี้แต่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๒ นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค และพระธรรมว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๒ ว่าเป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

    นายพาณิชย์ทั้ง ๒ คนนี้ได้เป็นอุบาสกกล่าวอ้างถึงรัตนทั้ง ๒ คือ พุทธรัตน ธรรมรัตน เป็นชุดแรกของโลก

    ครั้นล่วง ๗ วันไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงออกจากสมาธิ เสด็จจากควงไม้ราชายตนะ เข้าไปประทับยังต้นไม้อชปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้น ได้มีพระปริวิตกทางจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
    ธรรมที่เราได้บรรลุนี้ เป็นคุณอันลึก ถึงได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมที่สงบ ประณีต ไม่อยู่ในวิสัยแห่งความสุข ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง ส่วนหมู่สัตว์นี้ได้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัย ฐานะคือ ความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้ เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ อันหมู่สัตว์ผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัย เห็นได้ยาก แม้แต่ฐานะคือ ธรรมอันเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปทิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้นี้ ก็แสนยากที่สัตว์เหล่านั้นจะเห็นได้ ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่น ก็ไม่สามารถจะรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยแก่เราเปล่า จะพึงเป็นความลำบากแก่เราเปล่า

    ทรงเวียนไปเพื่อความมักน้อย ไม่แสดงธรรม

    ครั้งนั้น เมื่อพระองค์ทรงดำริเช่นนี้แล้ว อนัจฉริยคาถาที่ไม่เคยได้สดับในกาลก่อนปรากฎแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า
    กิจฺเฉน อธิคต° หลนฺทานิ ปกาสิตุ°ฯ
    ราคโทสปเรเตหิ นาย° ธมฺโม สุสมฺพุโธฯ
    ปฏิโสตคามี นิปุณ คมฺภีร° ทุทฺทส° อณุ°
    ราครตฺตา น ทกฺขนฺติ ตโมกฺขนฺเธน อาวุฏาฯ
    บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้ถูกราคะ และโทสะครอบงำแล้ว ไม่อาจตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้ว ถูกกองอวิชชาห่อหุ้มแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียดลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่งอันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแส คือพระนิพพาน

    เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ มีพระทัยน้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม

    ท้าวสหัมบดีพรหมทูลอาราธนาให้แสดงธรรม
    [​IMG]
    ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบปริวิตกแห่งจิตของพระผุ้มีพระภาคด้วยใจของตนแล้ว เกิดความปริวิตกว่าชาวเราผู้เจริญ โลกจักฉิบหายหนอ โลกจักวินาศหนอ เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม

    ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมจึงยังกายให้หายไปในพรหมโลก มาปรากฎ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วทูลขึ้นว่า

    พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดจงแสดงธรรม ขอพระสุคตได้โปรดจงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักขุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมีแล้วกราบทูลเป็นประพันธ์คาถาว่า

    เมื่อก่อนธรรมไม่บริสุทธิ์ อันคนมีมลทินทั้งหลายเกิดแล้วได้ปรากฎในมคธชนบท ขอพระองค์ได้โปรดทรงเปิดประตูแห่งอมตธรรมนี้ ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หมดมลทินตรัสรู้แล้วตามลำดับ เปรียบเหมือนบุรุษมีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขา ซึ่งล้วนแล้วด้ายศิลาย่อมเห็นชุมชนได้โดยรอบฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้มีเมธาดี มีพระปัญญาจักษุรอบคอบ ขอพระองค์ผู้ปราศจากความโศกจงเสด็จขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม แล้วทรงพิจารณาชุมชนผู้เกลื่อนกล่นด้วยความโศก ผู้ถูกชาติ และชราครอบงำแล้ว มีอุปมัยฉันนั้นเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ทรงชนะสงครามผู้นำหมู่ หาหนี้มิได้ ขอพระองค์จงทรงอุตสาหะ เที่ยวไปในโลกเถิดขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม เพราะสัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี(คือวินัยมหามรรค ๔/๑๑)

    ทรงพิจารณาสัตว์เหมือนดอกบัว ๔ เหล่า
    [​IMG]
    ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบคำทูลอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม และทรงอาสัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยทิพยจักษุได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือ กิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือ กิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ ได้ง่ายก็มี ที่จะสอนให้รู้ ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี

    อุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกปุณฑริกในกอปุณฑริกที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่าก็จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ บางเหล่าก็ตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว

    พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวกมีธุลีคือ กิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือ กิเลสในจักุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวกก็สอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นแล้วได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า
    อปารุตา เต อมตสฺส ทฺวารา
    เย โสควนฺโต ปมุญฺจนฺตุ สทฺธ°
    วิหึสญฺญี ปคุณ° น ภาสี
    ธมฺม° ปณีต° มนุเชสุ พฺรหฺเม
    (วินัยมหามรรค ๔/๑๑)

    เราเปิดประตูอมตแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูก่อนพรหม เพราะเรามีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรมที่เราคล่องแคล่วประณีตในหมู่มนุษย์


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  15. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เริ่มเสด็จออกแสดงธรรม

    เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงตัดสินพระทัยประกาศสัจจธรรมที่ทรงตรัสรู้แล้ว จึงดำริว่าจักแสดงธรรมแก่ใครก่อน ทรงดำริถึงอุทกดาบสรามบุตร แต่ท่านผู้นี้ได้สิ้นชีพไปเสียก่อนแล้ว จึงทรงดำริต่อไป เห็นว่าภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่พระองค์มาก ทรงทราบว่าปัญจวัคคีย์อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนคร พาราณสี จึงเสด็จออกจากอุรุเวลาประเทศจาริกไปยังพระนครพาราณสี

    ระหว่างที่เสด็จไปตามทางนั้นได้พบกับอุปกาชีวก อุปกาชีวกเห็นพระสิริโฉมอันงามสง่าเช่นนั้น จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “อาวุโส” อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง อาวุโส ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านพอใจในธรรมของใคร
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

    เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหา และทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้วในธรรมทั้งปวง เราละธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ได้หมด พ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา เราตรัสรู้ธรรมอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จะพึงอ้างใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเราก็ไม่มี บุคคลที่เสมอเหมือนกับเราก็ไม่มีในโลก พร้อมทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นศาสดา หาศาสดาอื่นยิ่งกว่าไม่ได้ เราผู้เดียวที่เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้เย็นใจ เพราะดับกิเลสได้แล้ว เราจะไปยังเมืองในแคว้นกาสี เพื่อประกาศธรรมจักรให้เป็นไป เราจะบรรลืออมตเภรีในโลกอันมืด เพื่อให้สัตว์ได้ธรรมจักษุ(วินัยมหามรรค ๔/๑๔)

    อุปกาชีวกถามว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านปฏิญาณว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ผู้ชนะไม่มีที่สุดฉะนั้นหรือ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชนทั้งหลายผู้ถึงธรรมที่สิ้นตัณหา เช่นเรานี้แหละ ชื่อว่าเป็นผุ้ชนะ บาปธรรมทั้งหลายอันเราชนะแล้ว เหตุนี้แหละอุปกะ เราจึงชื่อว่า ผู้ชนะ”

    อุปกาชีวกไม่เชื่อสั่นศีรษะเดินหลีกไป พระผู้มีพระภาคจึงเสด็จดำเนินต่อไปจนกระทั่งถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันในเย็นวันนั้น ครั้งแรกปัญจวัคคีย์ไม่เชื่อว่า พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว เพราะเห็นว่าละการบำเพ็ญทุกกรกิริยา เวียนมาเพื่อเป็นคนมักมาก จะตรัสรู้ได้อย่างไร จึงไม่ยินดีในการต้อนรับเท่าใดนัก แต่ด้วยพระเมตตาที่แผ่ไปยังปัญจวัคคีย์ แล้วตรัสถามว่า “พวกเธอจำได้หรือไม่ว่าถ้อยคำเช่นนี้ เราได้เคยพูดมาในกาลก่อนหรือ”

    ปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า“คำพูดเช่นนี้ไม่เคยได้ฟังเลย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เอง พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จักแสดงธรรม เธอทั้งหลายปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วโดยชอบต้องการ

    เมื่อปัญจวัคคีย์ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่ง พระผู้มีพระภาคจึงเริ่มตรัสพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ว่า

    ปฐมเทศนา ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร

    ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ อย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

    การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เพราะเป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนที่มีกิเลสหนา ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือ กิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง

    การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือ กิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไฉน

    ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑

    ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรุ้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกข์อย่างแท้จริง คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นอย่างแท้จริง คือ ความทะยานอยากนี้ทำให้มีภพอีก เป็นไปกับความกำหนัด ประกอบด้วยอำนาจแห่งความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ กล่าวคือ กามตัณหา ภสตัณหา วิภวตัณหา

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์อย่างแท้จริงคือ ความดับโดยสิ้นกำหนัดโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้น ความสละตัณหานั้น ความปล่อยวางตัณหานั้น ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทางปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์อย่างแท้จริงคือ ทางอันมีองค์ ๘ เป็นเครื่องไปจากข้าศึกคือ กิเลส กล่าวคือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ฯลฯ เป็นต้น

    ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นทุกข์ อริยสัจ

    ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ อริยสัจนี้แล ควรกำหนดรู้-ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ อริยสัจนี้แลเราได้กำหนดรู้แล้ว

    ภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกข์ สมุทัย อริยสัจ

    ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ สมุทัย อริยสัจนี้แล ควรละเสีย-ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์ สมุทัย อริยสัจนี้เราได้ละแล้ว

    ภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ

    ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล ควรทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจนี้เราทำให้แจ้งแล้ว

    ภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

    ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แลควรให้เจริญ ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้เจริญแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  16. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ญาณทัสสนอันมีรอบ ๓ อาการ ๑๒

    ภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ซึ่งมีรอบ ๓ อาการ ๑๒ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์เพียงนั้น

    ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ซึ่งมีรอบ ๓ อาการ ๑๒ หมดจดดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นเราจึงกล้ายืนยันได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์

    อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นตามความเป็นจริงได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่จักกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีต่อไปแล้ว

    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะว่า

    ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺม° สพฺพนฺต° นิโรธธมฺม°
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา

    ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมะเทวดาได้บรรลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้

    เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงภุมมะเทวดา แล้วก็บรรลือเสียงต่อไปเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นจาตุมหาราช แล้วก็บรรลือเสียงต่อไปเทวดาชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานนรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แล้วก็บรรลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้

    ชั่วระยะกาลครู่เดียวเท่านั้น เสียงกระฉ่อนก็ขึ้นไปจนถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้

    ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฎแล้วในโลกร่วมเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ อัญญาโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้นคำว่า “อัญญาโกณฑัญญะ”นี้ จึงได้ชื่อของท่านพระอัญญาโกณฑัญญะด้วยประการฉะนี้

    เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ จนได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ปัญจวัคคีย์ได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค

    อยู่ต่อมา จึงได้ทรงตรัสเทศนาอนัตตลักขณสูตร โปรดปัญจวัคคีย์อีกครั้งหนึ่ง

    อนัตตลักขณสูตร

    พระผู้มีพระภาคทรงตรัสถามปัญจวัคคีย์ว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

    อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายพึงได้ในรูปตามใจหวังว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้จักได้เป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลก็พึงหวังได้ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ว่าจงเป็นอย่างนี้เถิด จงอย่าเป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย"

    พระผู้มีพระภาค(ภ)ทรงตรัสถามปัญจวัคคีย์ว่า“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจักสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง”
    ปัญจวัคคีย์(ป)ทูลว่า “ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า”
    “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า”
    “เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า”
    “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา”
    “ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า”
    “เวทนาเที่ยง หรือไม่เที่ยง... สัญญาเที่ยง หรือไม่เที่ยง... สังขารเที่ยง หรือไม่เที่ยง...วิญญาณเที่ยง หรือไม่เที่ยง...”
    “ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า”
    “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า”
    “เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า”
    “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา”
    “ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า”

    ให้พิจารณาโดยยถาภูติญาณทัสสนะ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต ไกล หรือใกล้ ทั้งหมดเป็นแต่สักว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เธอทั้งหลายพึงเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

    ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกที่ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้รูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์ก็พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  17. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    โปรดยสกุลบุตร

    ครั้นปัจจุบันสมัยแห่งราตรีหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตื่นบรรทมแล้วเสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้ง ทอดพระเนตรเห็นยสกุลเดินมาแต่ไกล จึงเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้

    ขณะนั้นยสกุลบุตรเปล่งอุทานในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ข้ดข้องหนอ

    พระผู้มีพระภาคตรัสกับยสกุลบุตรว่า ยส ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดโดยดี จงนั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ ยสกุลบุตรได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ก็ร่าเริงบรรเทิงใจแล้วถอดรองเท้าทองทิ้งไว้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อยสกุลบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้แสดงอนุบุพพิกถา คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคะกถา โทษของกาม ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงค์ความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปรารถนานิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ยสกุลบุตรดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำเป็นอย่างดีฉะนั้น

    จากนั้นจึงได้โปรดบิดา มารดาของยสกุลบุตร ให้ได้บรรลุธรรม แล้วโปรดยสให้สำเร็จเป็นอรหันต์ โปรดภรรยาเก่าของยสให้ได้ธรรมจักษุ สหายของยสอีก ๕๔ คน ทราบข่าวก็เกิดศรัทธาออกบวช ต่อมาได้บรรลุอรหัตมรรคทั้งหมด สมัยนั้นจึงมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ องค์

    ทรงวางรากฐานการประกาศพระศาสดา

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
    มุตฺตาห° ภิกฺขเว สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา เย จ มานุสา ภิกษุทั้งหลายเราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์

    ตุเมฺหปิ ภิกฺขเว มุตฺตา สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา เย จ มานุสา แม้พวกเธอทั้งหลายก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์

    จรถ ภิกฺขเว จาริก° พหุชนหิตาย พหุชนหิสขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสาน° พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

    มา เอ เกน เทฺว อคมิตฺถ เทเสถ ภิกฺขเว ธมฺม° อาทิกลฺยาณ° มชฺเฌกลฺยาณ° ปริโย สานกลฺยณ° สาตฺถ° สพฺพยญฺชน° เกวลปริปุณฺณ° ปริสุทฺธ° พรฺหมฺจริย° ปกาเสถ สนฺติ สตฺตา อปฺปรชกฺขชาติกา อสฺสวนตา ธมฺมสฺส ปริหายนฺติ ภวิสฺสนฺติ ธมฺมสฺส อญฺญาตาโร พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกัน ๒ องค์จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือ กิเลสในจักษุน้อยมีอยู่ แต่เพราะไม่ได้ฟังธรรม จึงเสื่อม ผุ้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี

    อหมฺปิ ภิกฺขเว เยน อุรุเวลา เสนานิคโม เดนุปสงฺกมิสฺสามิ ธมฺมเทสนาฯ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม
    ระหว่างที่พระองค์ทรงเสด็จจาริกมาสู่ตำบลอุรุเวลา เสนานิคมนั้น สหายภัททวัคคีย์จำนวน ๓๐ คนพร้อมด้วยปชาบดี และหญิงแพศยา ได้พากันมาบำเรอกันอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง เมื่อพวกสหายเหล่านั้นเผลอตัวมัวบำเรอกันอยู่ หญิงแพศยาจึงลักเครื่องประดับหนีไป ภัททวัคคีย์เหล่านั้นจึงช่วยกันตามหาหญิงแพศยานั้น เมื่อไปถึงไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ก็เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่โคนต้นไม้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามว่า พระผู้มีพระภาคเห็นหญิงบ้างไหมเจ้าข้า

    พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า พวกเธอทั้งหลายต้องการหญิงนั้นเพราะอะไร ภัททวัคคีย์จึงกราบทูลให้ทรงทราบว่า หญิงแพศยานั้นได้ลักเครื่องประดับหนีไป

    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า การที่พวกเธอแสวงหาหญิงกับการแสวงหาตนนั้น อย่างไหนเป็นความดีของพวกเธอเล่า

    ภัททวัคคีย์ พวกข้าพระองค์แสวงหาตนนั่นแหละ เป็นความดีของพวกข้าพระองค์พระเจ้าข้า

    พระผู้มีพระภาค ถ้าอย่างนั้นพวกเธอจงนั่งลงเถิด เราจักแสดงธรรม

    พระผู้มีพระภาคจึงแสดงอนุปุพพิกถา และอริยสัจจนภัททวัคคีย์ ๓๐ คน ได้ดวงตาเห็นธรรมขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

    โปรดชฏิล ๓ พี่น้อง

    ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนลุถึงตำบลอุรุเวลาแล้ว ได้เข้าไปยังสำนักของชฏิล ๓ พี่น้องคือ อุรุเวลากัสสป นทีกัสสป คยากัสสป ทรงแสดงปาฏิหาริย์ข่มขี่ทิฏฐิของชฏิลทั้ง ๓ ให้พ่ายแพ้ไป จนชฏิลทั้ง ๓ พร้อมทั้งบริวาร ๑,๐๐๐ เกิดศรัทธา ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระองค์

    ครั้นโปรดชฏิล ๓ พี่น้องแล้ว จึงเสด็จจาริกต่อไปยังตำบลคยาสีสะพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๐๐๐ รูป ล้วนเป็นปุราณชฏิล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  18. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ทรงแสดงอาทิตย์ปริยายสูตร

    ณ สถานที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

    ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าที่ชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่สุข มิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวร้อนเพราะไฟคือ ราคะ เพราะไฟคือ โทสะ เพราะไฟคือ โมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และความตาย ร้อนเพราะความเศร้าโศก เพราะความบ่นเพ้อรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น

    โสตะเป็นของร้อน ฆานะเป็นของร้อน ชิวหาเป็นของร้อน กายเป็นของร้อน มนะเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน

    ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกามทั้งหลาย บ่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่สุข มิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

    เมื่อเบื่อหน่ายย่อมสิ้นกำหนัด เมื่อสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ก็พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมัน

    เสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสาร

    จากนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จจาริกไปตามลำดับ เพื่อเข้าไปสู่พระนครราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๐๐๐ รูป เมื่อเสด็จถึงนครราชคฤห์แล้ว พระองค์ทรงประทับอยู่ใต้ต้นไทรชื่อ สุขประดิษฐ์เจดีย์ในสวนดาลหนุ่ม เขตพระนครราชคฤห์

    พระเจ้าพิมพิสารได้ทราบข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงนครราชคฤห์ แล้วประทับอยู่ใต้ต้นไทรในสุขประดิษฐ์เจดีย์สวนดาลหนุ่ม ด้วยพระกิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าพิมพิสารจึงได้เสด็จเข้าเฝ้าพร้อมทั้งพราหมณ์ คหบดี ชาวมคธ ถึง ๑๒ นหุต(นหุตเป็นมาตราจำนวน ๑ นหุตเท่ากับ ๑๐,๐๐๐) ได้หลั่งไหลไปฟังธรรมในครั้งนั้นด้วย พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุบุพพิกถาพร้อมทั้งอริยสัจจบลง พราหมณ์ คหบดี ชาวมคธ ๑๑ นหุต ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุขได้เกิดดวงตาเห็นธรรม พราหมณ์ คหบดี อีก ๑ นหุต เกิดศรัทธาแสดงตนเป็นอุบาสก

    ความปรารถนา ๔ อย่างของพระเจ้าพิมพิสารสำเร็จ

    พระเจ้าพิมพิสารได้ทูลวาจาต่อพระผู้มีพระภาคว่าครั้งก่อนเมื่อหม่อมฉันยังเป็นราชกุมารได้มีความปรารถนา ๕ อย่าง บัดนี้ความปรารถนา ๕ อย่างนั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว

    ๑) ครั้งก่อนเมื่อหม่อมฉันยังเป็นราชกุมารได้มีความปรารถนาว่า ไฉนหนอชนทั้งหลายพึงอภิเษกเราในราชสมบัติดังนี้ นี้เป็นความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๑ บัดนี้ความปรารถนานั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้วพระพุทธเจ้าข้า

    ๒) ขอพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพึงเสด็จมาสู่แว่นแคว้นของหม่อมฉัน นี้เป็นความความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๒ และบัดนี้ความปรารถนานั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้วพระพุทธเจ้าข้า

    ๓) ขอหม่อมฉันพึงได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นี้เป็นความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๓ บัดนี้ความปรารถนานั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้วพระพุทธเจ้าข้า

    ๔) ขอพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพึงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน นี้เป็นความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๔ และบัดนี้ความปรารถนานั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้วพระพุทธเจ้าข้า

    ๕) ขอหม่อมฉันพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นี้เป็นความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๕ และบัดนี้ความปรารถนานั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้วพระพุทธเจ้าข้า (วินัยมหามรรค ๔/๖๙)

    บัดนี้ ความปรารถนา ๕ อย่างนั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นนรูปดังนี้ หม่อมฉันนี้ขอพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก ผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหารของหม่อมฉันในวันพรุ่งนี้

    พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษฎียภาพ พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนาแห่งแคว้นมคธราชจึงทรงทูลลากลับ

    จากนั้น ก็ได้ทรงโปรดโมคคัลลา สารีบุตร ให้ได้บวชในพระพุทธศาสนา และเป็นอัครสาวก

    ทรงโปรดวัสสการพราหมณ์ และสุนีธพราหมณ์

    ครั้งนั้น วัสสการะ และสุนีธะมหาอำมาตย์แห่งนครรัฐ ได้ถวายภัตตาหารแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยคณะสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงตรัสอนุโมทนาว่า

    ยสฺมิ° ปเทเส กปฺเปติ วาส° ปณฺฑิตชาติโย
    สีลวนฺเตตฺถ โภเชตฺวา สญฺญเต พรฺหมฺจาริโน
    ยา ตตฺถ เทวตา อาสุ ตาส° ทกฺขิณมาทิเสฯ
    ตา ปูชิตา ปูชยนฺติ มานิตา มานยนฺติ น°
    ตโต น° อนุกมฺปนติ มาตา ปุตฺต°ว โอรส°ฯ
    เทวตานุกมฺปิโต โปโส สทา ภทฺฺรานิ ปสฺสติฯ
    บัณฑิตชาติอยู่ในประเทศใด เลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์ในประเทศนั้น และได้อุทิศทักษิราทานแก่เหล่าเทพยดาผู้สถิตย์ในสถานที่นั้น เทพยดาเหล่านั้นอันบัณฑิตชาติบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ อันบัณฑิตชาตินับถือแล้วย่อมนับถือตอบ ซึ่งบัณฑิตชาตินั้น แต่นั้นก็ย่อมอนุเคราะห์บัณฑิตชาตินั้นดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดแต่อุทรฉะนั้น คนที่เทพยดาอนุเคราะห์แล้วย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ

    เมื่อพระองค์ทรงตรัสอนุโทนาแล้ว ทรงเสด็จไปท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วเสด็จข้ามฟากไปยังอีกฝั่งหนึ่งด้วยอำนาจพุทธานุภาพ ทรงทอดพระเนตรเห็นคนทั้งหลายที่จะข้ามฟากต่างก็หาเรือหาแพผูกเข้ากันเพื่อจะข้ามไปยังฝั่งโน้น จึงทรงเปล่งอุทานว่า

    เย ตรนฺติ อณฺณว° สร°
    เสตุ° กดฺวาน วิสชฺฺช ปลฺลลานิ
    กุลฺล° หิ ชโน ปพนฺธติ
    ติณฺณา เมธาวิโน ชนาฯ
    ชนเหล่าใดจะข้ามแม่น้ำอันมีห้วงลึก ชนเหล่านั้นต้องสร้างสะพานแล้วสละสระน้อยเสีย จึงข้ามสถานที่อันลุ่มลึกเต็มไปด้วยน้ำได้ ส่วนคนที่จะข้ามแม่น้ำน้อยนี้ต้องผูกแพจึงข้ามไปได้ ส่วนคนที่มีปัญญาเว้นจากแพเสียก็ข้ามได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  19. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ทรงแสดงอริยสัจ

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ตำบลบ้านโกฏิ ได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรา และพวกเธอต้องเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ ก็อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรา และพวกเธอ ต้องเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ นี้ อันเรา และพวกเธอได้ตรัสรู้แล้ว บัดนี้ไม่มีการเกิดอีกต่อไป แล้วตรัสเป็นคาถาว่า

    จตุนฺน° อริยสจฺจาน° ยถาภูต° อทสฺสนา
    ส°สริต° ทีฆมทฺธาน° ตาสุ ตนสฺวว ชาติสุฯ
    ตานิ เอตานิ ทิฏฺฐานิ ภวเนตฺตี สมูหตา
    อุจฺฉินฺน° มูล° ทุกฺขสฺส นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว(วินัยมหาวรรค ๕/๙๔)ฯ
    เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง จึงต้องท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆตลอดกาลนาน อริยสัจ ๔ เหล่านั้นนั่น เรา และพวกเธอได้เห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิดเรา และพวกเธอได้ถอนขึ้นแล้ว รากเง่าแห่งทุกข์ เรา และพวกเธอได้ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

    ทรงตรัสแก้คำกล่าวหาว่าพระองค์เปฌนอกิริยวาท

    ดูก่อน สีหะ เหตุที่(นิครนถ์นาฏบุตร) กล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่กระทำแสดงธรรมเพื่อการไม่กระทำ และแนะนำสาวกตามแนวทางนั้นดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อน สีหะ เพราะเรากล่าวการไม่กระทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่กระทำสิ่งที่เป็นบาป อกุศลหลายอย่างนี้แล ฉะนั้นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่กระทำแสดงธรรมเพื่อการไม่กระทำ และแนะนำสาวกตามแนวทางนั้น ดังนี้ จึงชื่อว่ากล่าวถูก

    ดูก่อน สีหะ เพราะเรากล่าวการกระทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เรากล่าวการกระทำที่เป็นกุศล หลายอย่าง ดังนี้แล ฉะนั้น เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการทำ แสดงธรรมเพื่อการกระทำ และแนะนำสาวกตามแนวทางนั้นดังนี้ จึงชื่อว่ากล่าวถูก

    ดูก่อน สีหะ เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวขาดสูญแห่งสถานะที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่างนี้แล ฉะนั้น เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวความขาดสูญ แสดงธรรมเพื่อความขาดสูญ แล้วแนะนำสาวกตามแนวทางนั้น ดังนี้ จึงชื่อว่ากล่าวถูก

    ดูก่อน สีหะ เพราะเราเกลียดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่งสถานะที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่างนี้แล ฉะนั้น เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมท่านรังเกียจ แสดงธรรมเพื่อความรังเกียจ และแนะนำสาวกตามแนวทางนั้น ดังนี้ จึงชื่อว่าเขากล่าวถูก

    ดูก่อน สีหะ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัดสถานะที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่างนี้ ดังนี้แล ฉะนั้น ที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างกำจัด แสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวกตามแนวทางนั้น จึงชื่อว่าเขากล่าวถูก

    ดูก่อน สีหะ เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศลคือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญให้หมดไป ธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ควรเผาผลาญเหล่านี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน มิให้มีในภายหลัง มิให้เกิดใหม่ต่อไปอีกเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า เขาเป็นคนช่างเผาผลาญ ดูก่อน สีหะ กรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลที่ควรเผาผลาญ ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้ประหนึ่งเหมือนตาลยอดด้วน มิให้มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดใหม่ต่อไปอีกเป็นธรรมดา ดังนี้แล ฉะนั้น ที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างเผาผลาญ แสดงธรรมเพื่อช่างเผาผลาญ แล้วแนะนำสาวกตามนั้น ดังนี้ ชื่อว่าเขากล่าวถูก

    ดูก่อน สีหะ เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ ถ้าผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดใหม่ต่อไปอีกเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ดูก่อน สีหะ การนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดใหม่ต่อไปอีกเป็นธรรมดา ดังนี้แล ฉะนั้น ที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมไม่ผุดไม่เกิด แสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดไม่เกิด แล้วแนะนำสาวกตามแนวนั้น ชื่อว่าเขากล่าวถูก

    ดูก่อน สีหะ เพราะเราเบาใจ ด้วยธรรมที่ให้เกิดความโล่งใจอย่างสูง และเพื่อความเบาใจ และแนะนำสาวกตามแนวทางนั้น ดังนี้แล ฉะนั้น ที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นผู้เบาใจ แสดงธรรมเพื่อความเบาใจ แล้วแนะนำสาวกไปตามแนวนั้น จึงชื่อว่ากล่าวถูก

    ทรงตรัสแก่พระภัททิยะซึ่งเป็นผู้ไปสู่ป่า สู่โคนต้นไม้ สู่เรือนว่างลำพังผู้เดียวก็ไม่หวาดหวั่น ไม่สะดุ้ง เป็นผู้มีความขวยขวายน้อย ยินดีแต่ปัจจัย ๔ ที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ เปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ พระผู้มีพระภาคทราบดังนี้ จึงทรงตรัสว่า

    ยสฺสนฺตรโต น สนฺติ โกปา(วินัย จุลมรรค ๗/๑๖๓)
    อิติภวาภวตญฺจ วีติวตฺโต
    ต° วิคตภย° สุข° อโสก°
    เทวา นานุภวนฺติ ทสฺสนายฯ
    บุคคลใดไม่มีความโกรธภายในจิต ก้าวล่วงภพน้อยภพใหญ่ มีประการเป็นอันมากเสียได้ ย่อมเป็นผู้ปลอดภัย มีสุข ไม่มีโศก เทวดาทั้งหลายไม่อาจเล็งเห็นวาระจิตของบุคคลนั้น

    ครั้งนั้น พระเทวทัตยินดีในลาภสักการะ และความสรรเสริญ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความวอดวาย แล้วตรัสเป็นคาถาว่า

    ผล° เว กทลิ° หนฺติ ผล° เวฬุ ผล° นฬ°(วินัย จุลมรรค ๗/๑๗๒)
    สกฺกาโร กาปุริสฺ° หนฺติ คพฺโภ อสฺสตริ° ยถาฯ
    ผลกล้วยย่อมฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่ ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ สักการะย่อมฆ่าคนชั่ว เหมือนม้าอัสดรซึ่งเกิดในครรภ์ย่อมฆ่าแม้ม้าอัสดรฉะนั้น

    ต่อมา พระเทวทัตได้ปล่อยช้างนาฬาคีรีเพื่อปลงพระชนม์พระพุทธองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเอาชนะด้วยการแผ่เมตตาจิตไปสู่ช้างนาฬาคีรี เมื่อจิตของช้างนาฬาคีรีได้สัมผัสกับเมตตาจิตที่พระองค์ทรงแผ่ไปก็สิ้นพยศลดงวงลง ยืนตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงยกหัตถ์ขวาลูบกระพองช้างนาฬาคีรีแล้วตรัสสอนว่า

    มากุญฺชร นาคมาสโท(วินัย จุลมรรค ๗/๑๘๙)
    ทุกฺข° หิ กุญฺชร นาคมาสโทฯ
    น หิ นาคหสฺส กุญฺชร
    สุคติ โหติ อิ โต ปร° ยโตฯ
    มา จ มโท มา จ ปมาโท
    น หิ ปมตฺตา สุคติ° วชนฺติ เตฯ
    ตวญฺเญว ตถา กริสฺสสิ
    เยน ตฺว° สุติ คมิสฺสสิฯ
    ดูก่อน กุญชร เจ้าอย่าเข้าไปหาพระพุทธนาค เพราะการเข้าไปหาพระพุทธนาคด้วยวธกะจิตเป็นเหตุแห่งทุกข์ ผู้ฆ่าพระพุทธนาคจากชาตินี้ไปสู่ชาติหน้า ไม่มีสุขคติเลย เจ้าอย่าเมา และอย่าประมาทเพราะคนเหล่านั้นเป็นผู้ประมาทแล้ว จะไปสู่สุขคติไม่ได้ เจ้านี่แหละ จักทำโดยประการที่ไปสู่สุขคติได้

    อยู่ต่อมา พระเทวทัตได้แยกพระสงฆ์หมู่หนึ่งออกไปเป็นพวกของตนทำสังฆเภท พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
    สุกร° สาธนา สาธุ สาธุ ปาเปน ทุกฺกร°(วินัย จุลมรรค ๗/๑๙๕)ฯ
    ปาป° ปาเปน สุกร° ปาปมริเยหิ ทุกฺกร°ฯ
    ความดีคนดีทำง่าย ความดีคนชั่วทำยาก ความชั่วคนชั่วทำง่าย แต่อารยะชนทำความชั่วได้ยาก

    เมื่อพระเทวทัตทำสังฆเภทแล้ว ก็ตั้งตนเป็นศาสดา ประพฤติปฏิบัติตาม เลียนแบบพระผู้มีพระภาคทุกประการ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายเรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่อย่ในป่า ช้างทั้งหลายอาศัยสระนั้นอยู่ และพวกมันก็พากันลงที่สระนั้น เอางวงถอนรากเง่า และรากบัว ล้างให้สะอาดจนไม่มีตม แล้วเคี้ยวกิน เง่าบัว และรากบัวนั้นย่อมบำรุงวรรณะ และกำลังของช้างนั้น ช้างนั้นก็ไม่ถึงซึ่งความตาย หรือความทุกข์ปางตาย เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ส่วนลูกช้างตัวเล็กๆเอางวงถอนรากเง่า และรากบัวแล้วไม่ล้างให้สะอาด เคี้ยวกลืนกินทั้งที่มีตม เง่า และรากบัวนั้นย่อมไม่บำรุงวรรณะ และกำลังของลูกช้างเหล่านี้เลย ทั้งพวกมันย่อมเข้าถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตเลียนแบบเรา จักตายอย่างคนกำพร้าเช่นนั้นเหมือนกัน แล้วตรัสว่า

    มหาวราสฺส มหึ วิกุพฺพโต(วินัย จุลมรรค ๗/๒๐๑)ฯ
    ภิ°ส° ฆสานสฺส นที°สุ ชคฺคโต
    ภิงฺโกว ปงฺก° อภิภกฺขยิตฺวา
    มมานุกุพฺพ° กปโณ มริสฺสติฯ
    เมื่อช้างใหญ่คุมฝูงขุดดินกินเง่าบัวอยู่ในสระใหญ่ ลูกช้างกินเง่าบัวทั้งที่มีตมแล้วตายฉันใด เทวทัตเลียนแบบเราแล้ว ก็จักตายอย่างคนกำพร้าฉันนั้น

    ครั้งนั้นพระสารีบุตร ได้เป็นฑูตนำภิกษุผู้เป็นพวกไม่รู้พระธรรมวินัย หลงใหลในตัวพระเทวทัตกลับคืนมายังสำนักได้ เพื่อมิให้วิบัติจากสัทธรรม พระพุทธองค์จึงตรัสสรรเสริญสารีบุตรว่าควรเป็นฑูต

    ผู้ทำหน้าที่ฑูตจะต้องประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสารรเสริญพระสารีบุตรว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยองค์ ๘ ควรทำหน้าที่ฑูต องค์ ๘ ประการเป็นไฉนคือ
    ๑)สารีบุตร เป็นผู้รับฟัง(วินัย จุลมรรค ๗/๒๐๑)(โสตา)
    ๒)ให้ผู้อื่นฟัง(สาเวตา)
    ๓)กำหนด(อุคฺคาหตา)
    ๔)ทรงจำ(ธาเรตา)
    ๕)เข้าใจความ(วิญญาตา)
    ๖)ให้ผู้อื่นเข้าใจความ(วิญฺญาเปตา)
    ๗)ฉลาดต่อประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์(กุสโส จ สหิตาสหิตสฺส)
    ๘)ไม่ก่อความทะเลาะ(โน จ กลหการโก)

    แล้วตรัสเป็นคาถาว่า

    โย เว พฺยาธติ ปตฺวา ปริส° อุคฺควาทินิ°
    น จ หาเปติ วจน° น จ ฉนทติ สาสน°
    อสนฺทิทฺโธ จ อกฺขาติ ทู เตยฺย° คนตุมรหติฯ
    สเว ตาทิสโก ภิกฺขุ ทู เตยฺย° คนตุมรหติฯ
    ภิกษุใด เข้าไปสู่บริษัทที่พูดคำหยาบก็ไม่สะทกสะท้าน ไม่ยังคำพูดให้เสีย ไม่ปกปิดข่าวสาร พูดจนหมดความสงสัย และเมื่อถูกถามก็ไม่โกรธ ภิกษุผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมควรทำหน้าที่ฑูต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  20. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ทรงตรัสถึงโทษอสัทธรรมที่ครอบงำจิตพระเทวทัต ๓ ประการ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอสัทธรรม ๓ ประการครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรกตั้งอยู่ตลอดกัปป์ เยียวยาไม่ไหว อสัทธรรม ๓ ประการ เป็นไฉนคือ
    ๑)ความปรารถนาลามก
    ๒)ความมีมิตรชั่ว
    ๓)พอบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำก็เลิกเสียในระหว่าง

    แล้วตรัสอีกว่า

    มา ชาตุ โกจิ โลกสฺมิ° ปาปิจฺโฉ อุปปชฺชก(วินัย จุลมรรค ๗/๒๐๓-๒๐๔)
    ตทมินาปิ ชานาถ ปาปิจฺฉาน° ยถา คติฯ
    ปณฺฑิโตติ สมญฺญาโต ภาวิตตฺโตติ สมฺมโต
    ชล° ว ยสสา อฏฺฐา เทวทตฺโตติ เม สุต°ฯ
    โส ปมาท° อนุจิณฺโณ อาสชฺช น° ตถาคต°
    อวีจินิรย° ปตฺโต จตุทฺฺวาร° ภยานก°ฯ
    อทุฏฺฺฐสฺฺส หิ โย ทุพฺฺเภ ปาปกมฺม อกุพฺพโต
    ตเมว ปาป° ผุสติ ทุฏฐจิตต° อนาทร°ฯ
    สมุทฺฺท° วิสกุมฺฺเภน โย มญฺเญยฺย ปทูสิตุ°
    น โส เตน ปทูเสยฺย ภสมา หิ อุทธี มหา
    เอวเมว ตถาคต° โย วาเทนูปหิ°สติ
    สมคต° สนฺตจิตต° วาโท ตมฺหิ น รูหติฯ
    ตาทิส° มิตฺต° กุพฺพุถ ตญฺจ เสเวยฺย ปณฺฑิโต
    ยสฺส มคฺฺคานุโค ภิกฺขุ ขย° ทุกฺขสฺส ปาปุเณฯ
    ใครๆจงอย่าเกิดเป็นคนปรารถนาลามกในโลก ท่านทั้งหลายจงรู้จักเทวทัตนั้นตามเหตุแม้นี้ว่า มีคติเหมือนคติของคนปรารถนาลามก เทวทัตปรากฎว่าเป็นบัณฑิต รู้กันว่าเป็นผู้อบรมตนดีแล้ว เราก็ได้ทราบว่า เทวทัตตั้งอยู่ดุจผู้รุ่งเรืองด้วยยศ แต่เธอสั่งสมความประมาท เบียดเบียนตถาคตนั้น จึงตกนรกอเวจี มีประตูถึง ๔ ประตูอันน่ากลัว ก็ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้ไม่ทำบาปกรรม บาปย่อมถูกต้องเฉพาะผู้นั้น ผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ ผู้ใดตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทรด้วยยาพิษเป็นหม้อๆ ผู้นั้นไม่ควรประทุษร้ายด้วยยาพิษนั้น เพราะมหาสมุทรเป็นสิ่งที่น่ากลัวฉันใด ผู้ใดเบียดเบียนตถาคตผู้เสด็จไปดีแล้ว มีพระทัยสงบ ด้วยกล่าวติเตียน การกล่าวติเตียนในตถาคตนั้น ฟังไม่ขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพึงถึงความสิ้นทุกข์ บัณฑิตพึงกระทำพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เช่นนั้นให้เป็นมิตร แล้วพึงคบหาท่าน

    โทษของผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน

    อาปายิโก เนรยิโก กปฺปฏฺโฐ สงฺฆเภทโก
    วคฺครโต อธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา ปธ°สติฯ
    สงฺฆ° สมคฺค° ภินฺทิตฺวา กปฺป° นิรยมฺหิ ปจฺจติฯ(วินัย จุลมรรค ๗/๒๐๘)
    ภิกษุทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัปป์ ภิกษุผู้ยินดีในการแตกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรมย่อมเสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุทำลายสงฆ์ผุ้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมหมกไหม้ในนรกตลอดกัปป์

    สามัคคีเป็นเหตุแห่งความสุข

    พระพุทธองค์ทรงตรัสต่อไปว่า
    สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห(วินัย จุลมรรค ๗/๒๐๘)
    สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธ°สติฯ
    สงฺฆ° สมคฺค° กดฺวาน กปฺป° สคฺคมฺหิ โมทติฯ
    ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นเหตุแห่งความสุข และสนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นเหตุแห่งความสุข ภิกษุผู้ยินดีในความพร้อมเพรียง ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุสมานสงฆ์ให้ความพร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัปป์

    ภิกษุโจทก์ผู้ใดพึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ

    พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแก่พระอุบาลีว่า ดูก่อน ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทก์ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน แล้วจึงโจทก์คือ
    ๑) เราจักกล่าวโดยการอันควร จักไม่กล่าวโดยการอันไม่ควร
    ๒) จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่จริง
    ๓) จักกล่าวด้วยคำสุภาพ จักไม่กล่าวคำหยาบ
    ๔) จักกล่าวด้วยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำไร้๕) ประโยชน์
    ๕) จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่มุ่งร้ายกล่าว(วินัย จุลมรรค ๗/๓๑๓)

    ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว โจทก์ผู้อื่นย่อมไม่เดือดร้อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...