พระพุทธศาสนา...พระโบราณ...พระในตำนาน...

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย บรรพชนทวา, 12 กันยายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๔๖

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=py2ALYpo0JM&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๔๗

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=GNNA8TGtUk0&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๔๘

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=OgI5UNgRBAs&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2013
  2. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๔๙

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=snL8q7XgbY8&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๕๐

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=LeAkMGa_U4k&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๕๑

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=XiMdRqDACSo&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  3. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๕๒

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=c6pNt-vzNdc&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๕๓

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=CR6imTNREhw&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๕๔

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=wZfgEuhx4sY&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]

    ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตอนที่ ๕๕

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=m-SeQRvB53c&list=PL626A763697061E2E"]?? ??????????????????? ?????? ?? - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  4. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    บุพพกรรมของพระพุทธองค์


    ในพระไตรปิฏก มีพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่งว่า
    "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตัว มีกรรมเป็นตัวให้กำเนิด มีกรรมเป็นตัวเกี่ยวข้อง มีกรรมเป็นที่พึ่ง
    สัตว์ทั้งหลาย ทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม จักได้ผลกรรมนั้นแน่นอน...."
    และว่า
    "ไม่ว่าจะไปอยู่กลางอากาศหรือหนีไปอยู่กลางทะเล จะช่วยให้คุ้มครองให้พ้นจากบาปกรรมได้ไม่มีเลย"
    จากพุทธภาษิตนี้ พระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อรรถกถาพระวินัย ได้นำมาเขียนสรุปไว้ในผลงานของท่านว่า
    "ขึ้นชื่อว่าผลกรรมแล้วไม่มีใครสามารถห้ามได้ นั้นก็หมายความว่า คนเราเมื่อทำอะไรลงไปแล้วไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม ถึงคราวที่ความดีความชั่ว จะให้ผลนั้นย่อม ไม่มีใครห้ามได้ แม้พระพุทธเจ้าของเราเองก็ทรงห้ามไม่ได้"

    ความจริงข้อนี้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๒ (ขุททกนิกาย อปทาน)
    ซึ่งในพระไตร ปิฏกเล่มนี้ มีกล่าวไว้ว่า ...

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงกรรมเก่าที่มาให้ผลแก่พระองค์ กรรมเก่าที่ตรัสเล่านั้นเป็นกรรมเก่าที่ทำไว้ในอดีตชาติ เมื่อครั้งยังเป็นปุถุชน แล้วมาให้ผลในชาติปัจจุบัน ถึงแม้ว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แม้ในชาติสุดท้ายแล้ว ก็ยังไม่พ้นไปจากผลของกรรมเก่านั้นซึ่งนำมาสรุปกล่าวได้ดังนี้

    พระองค์ประทับเหนือพื้นศิลาอันรื่นรมย์ ใกล้สระอโนดาด ตรัสเล่าบุพพกรรมของพระองค์ ดังนี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย....ท่านจงฟังกรรมที่เราได้กระทำไว้แล้ว
    ...........................................................................................................................
    พุทธาปทาน ชื่อว่า "ปุพพกัมมปิโลติกะ" (ท่อนผ้าเก่าแห่งบุพพกรรม)
    เราเห็นภิกษุรูปหนึ่งในป่า จึงถวายผ้าท่อนเก่า ในกาลนั้นเราได้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า
    เป็นครั้งแรก ผลแห่งกรรมอันเนื่องด้วยผ้าท่อนเก่านั้น ได้สำเร็จ แม้ในความเป็นพระพุทธเจ้า
    ...................................................................................................................................
    เราเคยเป็นนายโคบาล ในชาติก่อนๆต้อนแม่โคไปสู่ที่หากิน เห็นแม่โคดื่มน้ำขุ่น**จึงห้ามไว้
    ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้ำ จึงไม่ได้ดื่มตามต้องการ ต้องใช้พระอานนท์ไปตักน้ำ
    พระอานนท์ไม่ตักทูลว่าน้ำขุ่น ต้องตรัสย้ำให้ไปใหม่ พอพระอานนท์ไปตักครั้งที่ ๒ น้ำพลันใสสะอาด
    มหาปรินิพพารสูตร
    **อีกแหล่งข้อมูลหนึ่งกล่าวว่า คนเลี้ยงโค ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคแวะดื่มน้ำข้างทาง เกรงจะชักช้าจึงไล่แม่โคไม่ให้ดื่มน้ำ ด้วยการแกล้งเอาไม้กวนน้ำให้ขุ่น
    http://khunsamatha.fix.gs/index.php?topic=482.0
    .........................................................................................................................................
    เราเคยเป็นนักเลงชื่อ ปุนาลิ ในชาติก่อนๆได้กล่าวใส่ร้ายพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่า สุระภิ ผู้มิได้ประทุษร้าย
    ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราจึงท่องเที่ยวไปในนรกสิ้นกาลนาน เสวยทุกขเวทนาสิ้นพันปีเป็นอันมากด้วยกรรมที่เหลือนั้น
    ในภพสุดท้ายนี้ ก็ถูกใส่ความ
    เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา เป็นนักบวชหญิง ถูกพวกเดียรถีย์ ใช้ให้บอกใครต่อใครว่าจะไปค้างคืน
    กับสมณโคดม แล้วไปค้างเสียที่อื่น รุ่งเช้าทำเป็นเดินมาจากเชตวันวนารามที่ประทับ
    พออีก ๒-๓ วันเดียรถีย์ก็จ้างนักเลงมาฆ่านางตาย ทำให้เห็นเป็นเชิงว่าถูกฆ่าปิดปาก คนก็สงสัยว่าอาจจะเป็นจริง
    แค่พระราชาส่งราชบุรุษสืบดูตามร้านสุรา ก็จับพวกนักเลงได้ และลงโทษผู้ว่าจ้างในที่สุด
    ........................................................................................................................................
    เพราะกล่าวใส่ความพระสาวกของพระสัพพาภิภูพุทธเจ้ามีนามว่า นันทะ
    เราจึงท่องเที่ยวไปในนรกตลอดกาลนานหลายหมื่นปี เมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์ก็ถูกใส่ความมาก
    ด้วยกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมาณวิกา จึงได้ใส่ความเราด้วยความไม่จริงต่อหน้าหมู่ชน นางจิญจมานวิกา
    เป็นนักบวชสตรี ถูกพวกเดียรถีย์ ใช้ให้ทำอุบายว่ามีครรภ์ กับพระพุทธเจ้าโดยเอาไม้ผูกไว้ที่ท้อง
    แกล้งด่าประจานพระพุทธเจ้าในที่ประชุมชน แต่เผอิญไม้ที่ผูกไว้หลุดตกลงมาจึงถูกประชาทัณฑ์
    และถึงแก่ความตายในที่สุด
    ซึ่งในอรรถกถาธรรมบท ใช้คำว่าถูกธรณีสูบตาย ภายหลังที่ถูกประชาชนลงโทษแล้ว
    .........................................................................................................................................
    เราเคยเป็นพราหมณ์ผู้มีความรู้ (ผู้ได้สดับ)มีผู้เคารพสักการะ สอนมนต์แก่มาณพ ๕๐๐
    ได้ใส่ความภิมฤษี ผู้มีอภิญญา ๕ มีฤทธิ์มากผู้มาในที่นั้น โดยกล่าวกับศิษย์ทั้งหลายว่า
    ฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม มาณพทั้งหลายก็พลอยชื่นชมไปกับเราด้วย
    เมื่อไปภิกขาจารในสกุลก็เที่ยวกล่าวแก่มหาชนว่าฤษีผู้นี้เป็นผู้บริโภคกาม
    ด้วยผลแห่งกรรมนั้นภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ทั้งหมดก็พลอยถูกใส่ความไปด้วย
    เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา
    เมื่อมีข่าวว่านางสุนทริกาถูกฆ่าตาย ชาวบ้านเข้าใจว่าภิกษุทั้ง ๕๐๐ มีส่วนในการฆ่าปิดปากนาง
    จึงพากันด่าว่า เมื่อแลเห็นภิกษุ ๕๐๐ เหล่านั้นทั้งหลาย
    เมื่อพระราชาทรงสืบทราบแล้วลงโทษผู้ฆ่าแล้วเรื่องจึงสงบลง
    ....................................................................................................................................
    ในกาลก่อน เราได้เคยฆ่าน้องชายต่างมารดาของพระเทวทัต เพราะเหตุแห่งทรัพย์
    ผลักลงไปในซอกเขา เอาหินทุ่ม
    ด้วยผลแห่งกรรมนั้น พระเทวทัต จึงเอาหินมาทุ่มเรา สะเก็ดหินมาถูกหัวแม่เท้าเราบาดเจ็บ
    ........................................................................................................................................
    ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ในทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเผาสิ่งต่างๆขวางทางไว้ด้วย
    ผลแห่งกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เทวทัตจึงส่งคนมาเพื่อฆ่าเรา
    ....................................................................................................................................
    ในกาลก่อน เราได้เป็นนายควาญช้าง ไสช้างให้ไล่กวดพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เที่ยวไปบิณฑบาต
    ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ช้างนาฬาคีรี ดุร้าย เมามัน จึงวิ่งเข้ามาหาเรา เพื่อทำร้ายในนครอันประเสริฐ
    ซึ่งมีภูเขาเป็นคอก คือนครราชคฤห์ มีภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบ จึงมีนามว่านครที่มีภูเขาล้อมเป็นคอก
    ........................................................................................................................................
    เราได้เคยเป็นพระราชา เป็นหัวหน้าทหารเดินเท้า ได้ฆ่าบุรุษหลายคนด้วยหอก
    ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราได้หมกไหม้อย่างหนักในนรก
    ด้วยผลที่เหลือแห่งกรรมนั้น สะเก็ดแผลที่เท้าของเรา ก็กลับกำเริบ เพราะกรรมยังไม่หมด
    ..........................................................................................................................................
    เราเคยเป็นเด็กชาวประมงในหมู่บ้านชาวประมง เห็นชาวประมงฆ่าปลาก็มีความชื่นชม
    ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราจึงเกิดเจ็บที่ศรีษะ ในขณะที่ พระเจ้าวิฑูฑภะกษัตริย์แห่งแคว้นโกศล
    ยกทัพบุกสังหารฆ่าศากยะราช พระประยูรญาติของพระองค์
    เพราะโกรธที่ถูกดูหมิ่นเอาน้ำนมสดมาล้างเสนียดมลทินที่นั่ง เมื่อคราวตนไปเยี่ยมญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์
    [วิฏฏุภะ(วิฑูฑภะ) คือโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล และนางวาสภขัตติยา(ผู้เป็นบุตรี ซึ่งเกิดจากนางทาสีของมหานาม ศากยะ คณะกษัตริย์ศากยะ เลือกส่งมาถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อคราวทรงขออภิเษกกับนาง)]
    ............................................................................................................................................
    เราได้เคยบริภาษ(ด่าโดยอ้อม) พระสาวกในพระธรรมวินัยของพระผุสสพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๑๗ ในจำนวนพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ที่ปรากฏพระนามในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายบาลี)ว่า
    ท่านจงเคี้ยว จงกินข้าวเหนียวเถิด อย่ากินข้าวสาลีเลย
    ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราเลยต้องบริโภคข้าวเหนียวอยู่ ๓ เดือน ในเมื่อพราหมณ์นิมนต์ไปอยู่เมืองเวรัญชา
    คือพราหมณ์นิมนต์ไปจำพรรษาแล้ว ลืมถวายอาหาร ได้อาศัยพ่อค้าม้าถวายข้าวแดง
    อาจเป็นข้าวเหนียวแดงที่สำหรับให้ม้ากิน
    .................................................................................................................................................
    ในสมัยที่ไม่มีพระพุทธเจ้า เราได้เคยทำร้ายบุตรแห่งนักมวยปล้ำ**
    ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราจึงเจ็บ ปวดที่พระปฤษฏางค์(เจ็บหลัง ปวดหลัง)
    **อีกแหล่งข้อมูลหนึ่งกล่าวว่า พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นคนจัดมวยปล้ำ
    http://khunsamatha.fix.gs/index.php?topic=482.0
    ..........................................................................................................................................
    เราได้เคยเป็นหมอ(แกล้ง)ถ่ายยาบุตรแห่งเศรษฐี(คงเป็นการถ่ายอย่างแรงจนถึงแก่ชีวิต)
    ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราจึงลงโลหิต โรคปักขันทิกะ น่าจะเป็นโรค ริดสีดวงทวาร อย่างรุนแรง
    แม้แต่พระพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น ต้องรับการประชวรด้วยโรคปักขันทิกะ (ถ่ายเป็นโลหิต)
    และเสด็จปรินิพพานด้วยพระโรคนี้
    ***คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา เป็นคัมภีร์ว่าด้วยโรคอันเกี่ยวกับความผิดปกติของน้ำปัสสาวะ 32 ลักษณะ ซึ่งเกี่ยวกับสีที่ผิดปกติ หรือเป็นโลหิต หรือเป็นหนอง หรือเมือก หรือสันฑฆาตแบบต่างๆ หรือเกี่ยวกับความผิดปกติของอัณฑะ หรือในรูองคชาต
    ..............................................................................................................................................
    เราเป็นผู้ชื่อ โชติปาละ ได้เคยกล่าวกับพระสุคต พระนามว่ากัสสปะ(พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๒๖ ในจำนวนพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ที่ปรากฏพระนามในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายบาลี)ว่า การตรัสรู้เป็นของได้โดยยาก
    ท่านจะได้จากควงไม้โพธิ์ที่ไหนกัน
    ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราได้บำเพ็ญทุกกรกิริยา เป็นอันมาก สิ้นเวลา ๖ ปี ต่อจากนั้น จึงได้บรรลุการตรัสรู้
    เรามิได้บรรลุการตรัสรู้ในทางนั้น ได้แสวงหาโดยทางที่ผิด เพราะถูกกรรมเก่าทวงเอา
    ................................................................................................................................................
    "เราสิ้นบุญและบาปแล้ว เว้นแล้วจากความเดือดร้อนทั้งปวงไม่มีโศกไม่มีคับแค้นปราศจากอาสวะจักปรินิพพาน"


    แหล่งข้อมูล:
    http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=26668665df6f1b5e



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  5. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระบันลือสีหนาทเปล่งอาสภิวาจาเมื่อประสูติ

    ๑. ประสูติ เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่นี่ ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า

    ในขณะนั้นท้าวมหาพรหมผู้มีจิตบริสุทธิ์ ๔ พระองค์ก็ถือข่ายทองคำมาถึง ท้าวมหาพรหมเหล่านั้นเอาข่ายทองคำนั้นรับพระโพธิสัตว์วางไว้เบื้องพระพักตร์ของพระมารดาพลางทูลว่า ข้าแต่พระเทวีขอพระองค์ทรงดีพระทัยเถิด พระราชบุตรของพระองค์มีศักดาใหญ่อุบัติขึ้นแล้ว

    สัตว์เหล่าอื่นออกจากท้องมารดาแล้ว เปื้อนด้วยสิ่งปฏิกูลไม่สะอาดคลอดออกมาฉันใด พระโพธิสัตว์หาเป็นเหมือนฉันนั้นไม่ก็พระโพธิสัตว์นั้นเหยียดมือทั้งสองและเท้าทั้งสองยืนอยู่ ดุจพระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ และเหมือนบุรุษลงจากบันได ไม่แปดเปื้อนด้วยของไม่สะอาดใดๆ ซึ่งมีอยู่ในครรภ์ของมารดา เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์โชติช่วงอยู่ประดุจแก้วมณีที่เขาวางไว้บนผ้ากาสิกพัสตร์ฉะนั้น คลอดออกจากครรภ์พระมารดา เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ตาม เพื่อจะสักการะพระโพธิสัตว์และพระมารดาของพระโพธิสัตว์ สายธารน้ำสองสายจึงพลุ่งจากอากาศทำให้ได้รับความสดชื่นในร่างกายของพระโพธิสัตว์ และพระมารดาของพระโพธิสัตว์

    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้รับพระโพธิสัตว์จากหัตถ์ของท้าวมหาพรหมผู้ยืนเอาข่ายทองคำรับอยู่ ด้วยเครื่องลาดทำด้วยหนังเสือดาวอันมีสัมผัสสบาย ซึ่งสมมติกันว่าเป็นมงคล พวกมนุษย์เอาพระยี่ภู่ทำด้วยผ้าทุกูลพัสตร์รับจากหัตถ์ของท้าวมหาราช พอพ้นจากมือของพวกมนุษย์ พระโพธิสัตว์ก็ประทับยืนบนแผ่นดินทอดพระเนตรดูทิศตะวันออก จักรวาลหลายพันได้เป็นลานอันเดียวกัน เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น พากันบูชาด้วยของหอม และดอกไม้เป็นต้น กล่าวกันว่า ข้าแต่มหาบุรุษ คนอื่นผู้จะเสมอเหมือนท่าน ไม่มีในโลกนี้ ในโลกนี้ จักมีผู้ยิ่งกว่ามาแต่ไหน พระโพธิสัตว์มองตรวจไปโดยลำดับตลอดทั้ง ๑๐ ทิศ คือทิศใหญ่ ๔ ทิศ ทิศน้อย ๔ ทิศ เบื้องล่างและเบื้องบน ด้วยประการอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงเห็นใครๆ ผู้แม้นเหมือนกับตน ทรงดำริว่านี้ทิศเหนือ จึงเสด็จโดยย่างพระบาทไป ๗ ก้าว มีท้าวมหาพรหมคอยกั้นเศวตฉัตร ท้าวสุยามะถือพัดวาลวิชนี และเทวดาอื่น ๆ ถือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ที่เหลือเดินตามเสด็จ จากนั้นประทับยืน ณ พระบาทที่ ๗ ทรงบันลือสีหนาทเปล่งอาสภิวาจา

    “อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ”

    แปลว่า เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก ความเกิดของเรานี้ เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ของเราไม่มีอีก



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2013
  6. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ทรงประกาศพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ประทานปฐมเทศนา

    ๒. ตรัสรู้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...

    * ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
    * ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    * ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

    ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ (อริยสัจ ๔) หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่...
    1. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
    2. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
    4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์

    ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป

    พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับพักในสำนักปัญจวัคคีย์ ๑ ราตรี ครั้นวันรุ่งขึ้น เป็นวันปัณณรสี ขึ้น ๑๕ ค่ำ อาสาฬหมาส พระองค์จึงได้ทรงประกาศพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ประทานปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ รูปนั้นว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ อย่าง บรรพชิตไม่ควรนิยมยินดี คือ กามสุขขัลลิกานุโยค ทำตนให้พัวพันด้วยสุขในกาม เป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุตั้งบ้านตั้งเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่ของพระอริยะ คือผู้บริสุทธิ์ไม่เป็นประโยชน์ นี้อย่าง ๑ อัตตกิลมถานุโยค ทำตนให้ลำบาก เป็นทุกข์ ไม่ทำให้เป็นพระอริยะ ไม่เป็นประโยชน์ นี้อย่าง ๑ ทั้งสองอย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรนิยมยินดี มัชฌิมาปฏิปทา เราได้ตรัสรู้แล้ว ทำดวงตา ปรีชาญาณให้สว่างเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ สิ้นตัณหาเครื่องรัดรึง มัชฌิมาปฏิทา นั้น เป็นอย่างไร ? มัชฌิมาปฏิทา นั้น คือ ทางมีองค์ ๘ ทำผู้ดำเนินให้เป็นอริยะนั้นเอง องค์ ๘ นั้นอะไรบ้าง ? องค์ ๘ นั้น คือปัญญาความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑ มัชฌิมาปฏิทานี้แล เราได้ตรัสรู้แล้ว ทำดวงตา ปรีชาฌาณให้สว่าง เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์นี้อย่างหนึ่ง เป็นสัจจะของอริยะบุคคล คือ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความแห้งใจ ความรำพัน ความเจ็บไข้ ความเสียใจ ความคับใจ เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ นี้อย่างหนึ่ง เป็นสัจจะของอริยะบุคคล คือ ตัณหา ความทะยานอยาก ทำให้มีภพมีชาติ สหรคด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ตัณหา อะไรบ้าง ? กามตัณหา คือ ความทยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ ๑ ภวตัณหา คือความทยานอยากในความมีความเป็น ๑ วิภวตัณหา คือ ความทยานอยากในความไม่มีไม่เป็น ๑ ตัณหา ๓ ประการนี้แล เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ นี้อย่างหนึ่ง เป็นสัจจะของอริยะบุคคล คือ ความดับตัณหาทั้ง ๓ นั้นแหละ หมดสิ้น เป็นอเสสวิราค ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน ซึ่งตัณหานั้นแล เป็นความดับทุกข์ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ทางเข้าถึงความดับทุกข์นี้ อย่างหนึ่ง เป็นสัจจะของอริยบุคคล ได้แก่อริยมรรค ทางมีองค์ ๘ นี้แล คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑ เป็นทางถึงความดับทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ข้อนี้ ทุกข์ ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา และเราก็ได้กำหนดรู้แล้ว ข้อนี้ ทุกขสมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิด ควรละเสีย และเราได้ละเสียแล้ว ข้อนี้ ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้งชัด และเราก็ได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว ข้อนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ทางเข้าถึงความดับทุกข์ ควรทำให้เกิด และเราก็ได้ทำให้เกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริง ในอริยสัจจ์ ๔ อันมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว เราก็ยังไม่อาจยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ไม่มีความรู้อันใดเหนือเพียงนั้น เมื่อใด ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริง ในอริยสัจจ์ ๔ เหล่านี้ ของเราหมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราอาจยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ไม่มีความรู้อันใดเหนือ ก็แลปัญญาได้เกิดขึ้นแก่เราชัดว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ความเกิดครั้งนี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ ไม่มีความเกิดอีก"


    แหล่งที่มา:
    http://campus.sanook.com/921748/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2-2555/
    http://pimprapas.blogspot.com/2012/08/8-1.html

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2013
  7. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ๓ เดือนก่อนปรินิพพาน : พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน

    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานแก่พระอานนท์ ผู้เป็นพระอุปัฏฐากและพระภิกษุ คราที่ทรงปรงพระชนมายุสังขารออกเดินทางด้วยพระบาทเปล่า จากปาวาลเจดีย์ไปยังกรุงกุสินาราสถานที่ปรินิพพาน ตลอดพระชนมชีพ พระพุทธเจ้าหาได้ทรงท้อแท้ หรือเหน็ดเหนื่อยต่อการเผยแพร่ธรรมไม่ ยังทรงประกาศพระธรรมอันประเสริฐ ที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองแก่พุทธบริษัท ๔ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

    ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชน และผู้สนใจทั้งหลาย ได้รับรู้ถึงหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ เนื้อหารวบรวมมาจาก เว็บไซด์ dharma-gateway.com และ dhammajak.net และ http://dhamma.vayoclub.com/index.php/topic,444.15.html โดยได้แบ่งเป็นตอนสั้นๆ ๒๔ ตอน ดังนี้ ขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ด้วยครับ

    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๑
    คราเมื่อพระพุทธองค์ทรงปลงพระชนม์มายุสังขาร พระพุทธองค์ เสด็จมาถึงปาวาลเจดีย์ ประทับภายใต้ต้นไม้ซึ่งมีเงาครึ้มต้นหนึ่งทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า

    "อานนท์! เพราะอบรมอิทธิบาทสี่มาอย่างดีแล้วทำจนแจ่มแจ้งแล้วอย่างเรานี้ ถ้าปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ถึงหนึ่งกัปป์ หรือมากกว่านั้นก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้"

    พระโลกานาถตรัสดังนี้ถึงสามครั้ง แต่พระอานนท์ก็คงเฉยมิได้ทูลอะไรเลย ความวิตกกังวลและความเศร้าของท่านมีมากเกินไป จึงปิดบังดวงปัญญาเสียหมดสิ้น ความจงรักภักดีเหลือล้น ที่ท่านมีต่อพระศาสดานั้น บางทีก็ทำให้ท่านลืมเฉลียวใจ ถึงความประสงค์ของผู้ที่ท่านจงรักภักดีนั้น ปล่อยโอกาสทองให้ล่วงไปอย่างน่าเสียดาย

    เมื่อเห็นพระอานนท์เฉยอยู่ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

    "อานนท์ ! เธอไปพักผ่อนเสียบ้างเถิด เธอเหนื่อยมากแล้ว แม้ตถาคตก็จะพักผ่อนเหมือนกัน" พระอานนท์จึงหลีกไปพักผ่อน ณ โคนต้นไม้อีกต้นหนึ่ง

    ณ บัดนั้น พระตถาคตเจ้าทรงรำพึงถึงอดีตกาลนานไกล ซึ่งล่วงมาแล้วถึงสี่สิบห้าปี สมัยเมื่อพระองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ท้อพระทัยในการที่จะประกาศสัจธรรม เพราะเกรงว่าจะทรงเหนื่อยเปล่า แต่อาศัยพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ จึงตกลงพระทัยย่ำธรรมเภรี และครานั้นพระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ว่า ถ้าบริษัททั้งสี่คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ยังไม่เป็นปึกแผ่นมั่นคง ยังไม่สามารถย่ำยีปรูปวาท คือ คำกล่าวจ้วงจาบล่วงเกินจากพาหิรลัทธิที่จะพึงมีต่อพระพุทธธรรมคำสอนของพระองค์ยังไม่แพร่หลายเพียงพอตราบใด พระองค์ก็จะยังไม่นิพพานตราบนั้น

    ก็แลบัดนี้ พระธรรมคำสอนของพระองค์แพร่หลายเพียงพอแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ฉลาดสามารถพอที่จะดำรงพรหมจรรย์ศาสโนวาทของพระองค์แล้ว เป็นการสมควรที่พระองค์จะเข้าสู่มหาปรินิพพาน

    ทรงดำริดังนี้แล้วจึงทรงปลงอายุสังขาร คือตั้งพระทัยแน่วแน่ว่า พระองค์จะปรินิพพานในวันวิสาขะปูรณมี คือ วันเพ็ญเดือนหก

    อันว่าบุคคลผู้มีกำลังกลิ้งศิลามหึมาแท่งทึบจากหน้าผาลงสู่สระ ย่อมก่อความกระเพื่อมสั่นสะเทือนแก่น้ำในสระนั้นฉันใด การปลงพระชนม์มายุสังขารอธิษฐานพระทัยว่า จะปรินิพพานของพระอนาวรณญาณก็ฉันนั้น ก่อความวิปริตแปรปรวนแก่โลกธาตุทั้งสิ้น มหาปฐพีมีอาการสั่นสะเทือนเหมือนหนังสัตว์ที่เขาขึงไว้ แล้วตีด้วยไม้ท่อนใหญ่ก็ปานกัน รุกขสาขาหวั่นไหวไกวแกว่ง ด้วยแรงวายุโบกสะบัดใบอยู่พอสมควร แล้วนิ่งสงบมีอาการประหนึ่งว่า เศร้าโศกสลดในเหตุการณ์ครั้งนี้ เหมือนกุมารีน้อยคร่ำครวญปริเวทนาถึงมารดาผู้จะจากไปจนสลบแน่นิ่ง ณ เบื้องบนท้องฟ้าสีครามกลายเป็นสีแดงเข้มดุจเสื่อลำแพนซึ่งไล้ด้วยเลือดสด ปักษาชาติร้องระงมสนั่นไพรเหมือนจะประกาศว่า พระผู้ทรงมหากรุณากำลังจะจากไปในไม่ช้านี้

    พระอานนท์สังเกตเห็นความวิปริตแปรปรวน ของโลกธาตุดังนี้ จึงเข้าเฝ้าพระจอมมุนี ทูลถามว่า "พระองค์ผู้เจริญ! โลกธาตุวิปริตแปรปรวนผิดปกติไม่เคยมีไม่เคยเป็น ได้เป็นแล้วเพราะเหตุอะไรหนอ?"

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  8. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๒

    พระทศพลเจ้าตรัสว่า "อานนท์เอ๋ย! อย่างนี้แหละ คราใดที่ตถาคต ประสูติ ตรัสรู้ หมุนธรรมจักร ปลงอายุสังขารและนิพพาน ครานั้นย่อมจะมีเหตุการณ์วิปริตอย่างนี้เกิดขึ้น"

    พระอานนท์ทราบว่า บัดนี้พระตถาคตเจ้าปลงพระชนม์มายุสังขารเสียแล้ว ความสะเทือนใจ และความว้าเหว่ประดังขึ้นมาจนอัสสุชลธาราไหลหลั่งสุดห้ามหัก เพราะความรักเหลือประมาณที่ท่านมีในพระเชฏฐภาดา ท่านหมอบลงที่พระบาทมูลแล้วทูลว่า

    "ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ! ขอพระองค์อาศัยความกรุณาในข้าพระองค์และหมู่สัตว์ จงดำรงพระชนม์ชีพต่อไปอีกเถิดอย่าเพิ่งด่วนปรินิพพานเลย" กราบทูลเท่านี้แล้วพระอานนท์ก็ไม่อาจทูลอะไรต่อไปอีก เพราะโศกาอาดูรท่วมท้นหทัย

    "อานนท์เอ๋ย!" พระศาสดาตรัสพร้อมด้วยทอดทัศนาการไปเบื้องพระพักตร์อย่างสุดไกล ลีลาแห่งความเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตรและพระพักตร์

    "เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตถาคตกลับใจ ตถาคตจะต้องปรินิพพานในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะอีกสามเดือนข้างหน้านี้ อานนท์! เราได้แสดงนิมิตโอภาสอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอพอเป็นนัยมาไม่น้อยกว่าสิบหกครั้งแล้วว่า คนอย่างเรานี้มีอิทธิบาทภาวนาที่ได้อบรมมาด้วยดี ถ้าประสงค์จะอยู่ถึงหนึ่งกัปป์ หรือมากกว่านั้นก็พออยู่ได้แต่เธอหาเฉลียวใจไม่ มิได้ทูลเราเลย เราตั้งใจไว้ว่า ในคราวก่อนๆ นั้น ถ้าเธอทูลให้เราอยู่ต่อไป เราจะห้ามเสียสองครั้ง พอเธอทูลครั้งที่สามเราจะรับอาราธนาของเธอ แต่บัดนี้ช้าเสียแล้ว เรามิอาจกลับใจได้อีก" พระศาสดาหยุดอยู่ครู่หนึ่งแล้วตรัสต่อไปว่า

    "อานนท์! เธอยังจำได้ไหม ครั้งหนึ่ง ณ ภูเขาซึ่งมีลักษณะยอดเหมือนนกแร้ง อันมีนามว่า "คิชฌกูฏ" ภายใต้ภูเขานี้มีถ้ำอันขจรนามชื่อ "สุกรขาตา" ที่ถ้ำนี้เอง สาวกผู้เลื่องลือว่าเลิศทางปัญญาของเราคือ สารีบุตร ได้ถอนตัณหานุสัยโดยสิ้นเชิง เพียงเพราะฟังคำที่เราสนทนากับหลานชายของเธอผู้มีนามว่า "ทีฆนะขะ" เพราะไว้เล็บยาว

    เมื่อสารีบุตรมาบวชในสำนักของเราแล้ว ทีฆนะขะปริพาชกเที่ยวตามหาลุงของตน มาพบลุงคือสารีบุตรถวายงานพัดเราอยู่จึงพูดเปรยๆ เป็นเชิงกระทบกระเทียบว่า พระโคดม! ทุกสิ่งทุกอย่างข้าพเจ้าไม่พอใจหมด ซึ่งรวมความว่าเขาไม่พอใจเราด้วย เพราะตถาคตก็รวมอยู่ในคำว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เราได้ตอบเขาไปว่า

    "ถ้าอย่างนั้นเธอก็ควรไม่พอใจความคิดเห็นอันนั้นของเธอเสียด้วย"

    "อานนท์! เราได้แสดงธรรมอื่นอีกเป็นอเนกปริยาย สารีบุตรถวายงานพัดไปฟังไป จนจิตของเธอหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง"

    "อานนท์ เอ๋ย! ณ ภูเขาคิชฌกูฏดังกล่าวนี้ เราเคยพูดกับเธอว่า คนอย่างเรานี้ถ้าจะอยู่ต่อไปอีกหนึ่งกัปป์หรือเกินกว่านั้นก็พอได้ แต่เธอก็หารู้ความหมายแห่งคำที่เราพูดไม่"

    "อานนท์! ต่อมาที่โคตมนิโคธร, ที่เหวสำหรับทิ้งโจร, ที่ถ้ำสัตตบรรณ ใกล้เวภารบรรพต, ที่กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิซึ่งเลื่องลือมาแต่โบราณกาลว่า เป็นที่อยู่อาศัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอันมาก เมื่อท่านเข้าไป ณ ที่นั้นแล้วไม่มีใครเห็นท่านออกมาอีกเลยจึงกล่าวขานกันว่า อิสิคิลิบรรพต, ที่เงื้อมเขาชื่อสัปปิโสณฑิกา ใกล้ป่าสีตวันที่ตโปทาราม, ที่เวฬุวันสวนไผ่อันร่มรื่นของจอมเสนาแห่งแคว้นมคธ, ที่สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์. ที่มัททกุจฉิมิคทายวันทั้งสิบแห่งนี้มีรัฐเขตแขวงราชคฤห์"

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  9. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๓

    "ต่อมาเมื่อเราทิ้งราชคฤห์ไว้เบื้องหลัง แล้วจาริกสู่เวสาลีนคร อันรุ่งเรื่องยิ่ง เราก็ให้นัยแก่เธออีกถึงหกแห่ง คือที่อุเทนเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ โคตมกเจดีย์ พหุปุตตเจดีย์ สารันทเจดีย์ และปาวาลเจดีย์ เป็นแห่งสุดท้ายคือสถานที่ซึ่งเราอยู่ ณ บัดนี้ แต่เธอก็หาเฉลียวใจไม่ ทั้งนี้เป็นความบกพร่องของเธอเอง เธอจะคร่ำครวญเอาอะไรอีก"

    "อานนท์เอ๋ย! บัดนี้สังขารอันเป็นเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้ว เรื่องที่จะดึงกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งนั้นมิใช่วิสัยแห่งตถาคต อานนท์! เรามิได้ปรักปรำเธอ เธอเบาใจเถิด เธอได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว บัดนี้เป็นกาลสมควร ที่ตถาคตจะจากโลกนี้ไป แต่ยังเหลือเวลาอีกสามเดือน บัดนี้สังขารของตถาคตเป็นเสมือนเรือรั่ว คอยแต่เวลาจะจมลงสู่ท้องธารเท่านั้น อานนท์ ! เราเคย บอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า บุคคลย่อมต้องพลัดพราก จากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดาหลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์ ! ชีวิตนี้ มีความพลัดพรากเป็นที่สุด สิ่งทั้งหลายมีความแตกไป ดับไป สลายไปเป็นธรรมดา จะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็น นั้น เป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไป เคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวอยู่ทุกขณะ"

    และแล้วพระจอมศาสดาก็เสด็จไปยังภัณฑุคาม และโภคนคร ตามลำดับ ในระหว่างนั้นทรงให้โอวาทภิกษุทั้งหลายด้วยพระธรรมเทศนาอันเป็นไปเพื่อโลกุตตราริยธรรมกล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุติญาณทรรศนะเป็นต้นว่า

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจ ย่อมอยู่สบาย มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อยปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิคือความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้น เป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบเหมือนเรือนที่มีฝาผนัง มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย มีหลังคาสำหรับป้องกันลม แดดและฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลมแดดและฝน กล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะต่างๆ ให้เบาบางและหมดสิ้นไป เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตราอันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียนก็ปานกัน"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ปัญญาซึ่งมีสมาธิเป็นรากฐานนั้น ย่อมปรากฏดุจไฟดวงใหญ่กำจัดความมืดให้ปลาสนาการ มีแสงสว่างรุ่งเรืองอำไพ ขับฝุ่นละอองคือกิเลสให้ปลิวหาย ปัญญาจึงเป็นประดุจประทีปแห่งดวงใจ"

    "อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติ ที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไป เพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีล สมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกแล้วด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะย่อมพบกับปิติปราโมทอันใหญ่หลวง รู้สึกตนว่าได้พบขุมทรัพย์มหึมา หาอะไรเปรียบมิได้ อิ่มอาบซาบซ่านด้วยธรรม ตนของตนเองนั่นแลเป็นผู้ดู

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  10. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๔

    แลรู้ว่า บัดนี้กิเลสานุสัยต่างๆ ได้สิ้นไปแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว เหมือนบุคคลผู้ตัดแขนขาด ย่อมรู้ด้วยตนเองว่าบัดนี้แขนของตนได้ขาดแล้ว

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปด ประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจ ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลายวิราคะ คือการปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐสุด บรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์แปดนี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปดนี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหาอุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่างๆ สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นของตน ที่จะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้ เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เพียงสักว่าๆ ไม่หลงไหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากความยึดถือต่างๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุฑิฏฐิ คือความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย ด้วยประการฉะนี้ เธอจะเบาสบาย คลายทุกข์ คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบชนิดนี้สามารถหาได้ในตัวเรานี้เอง ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย มนุษย์ได้สรรค์สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตาม แต่ก็ตามไม่เคยทัน การแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจ ให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้น เป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อย เหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็กๆ เพียงตัวเดียว มนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่ง ซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือ ดวงจิต ที่ผ่องแผ้ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรน เรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา และเรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ เมื่อมีเกียรติมากขึ้นภาระที่จะต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้ว ในหมู่ชนที่เพิ่งมองแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตา เขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆ กันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! คนในโลกส่วนใหญ่เต็มไปด้วยความกลับกลอกและหลอกลวงหาความจริงไม่ค่อยได้ แม้แต่ในการนับถือศาสนา ด้วยอาการดังกล่าวนี้ โลกจึงเป็นเสมือนระงมอยู่ด้วยพิษไข้อันเรื้อรังตลอดเวลา ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบายแต่สถานที่เหล่านั้น มักบรรจุเต็มไปด้วยคนซึ่งมีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมาก ภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบอยู่โคนไม้ได้อย่างไร"

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  11. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๕

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้ เป็นเรื่องประเสริฐแท้ การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้น ในที่สุดทุกคนก็รู้เองว่าเหมือนแย่งกันเข้าไปสู่กองไฟ มีแต่ความรุ่มร้อนกระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำ กับคนจนๆ ดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ทำด้วยกะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจย่อมมีความสุขเท่ากัน นี่เป็นข้อยืนยันว่าความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่าแน่นอนทีเดียว คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโตแต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตน มีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อน กระวนกระวาย"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละและวางได้ จึงแย่งลาภแย่งยศกันอยู่เสมอ เหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วย หรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกันทำลายกันจนพินาศไปทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดใจจิตยิ่งนัก ถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลงมีความเห็นอกเห็นใจกัน มีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและชีวิต โลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิด หน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอคือลดความโลภ ความโกรธ และความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุข ความเยือกเย็นขึ้นมาก เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใดความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวอยู่ภายใต้การจองจำของสังคม ซึ่งมีแต่ความหลอกหลอน สับปรับและแปรผัน ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวเป็นทาสของสังคมจนแทบจะกระดิกกระเดี้ยตัวมิได้ จะทำอะไรจะคิดอะไรก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของสังคมไปเสียหมด สังคมจึงกลายเป็นเครื่องจองจำชีวิต ที่มนุษย์ซึ่งสำคัญตัวว่าเจริญแล้วช่วยกันสร้างขึ้น เพื่อผูกมัดตัวเองให้อึดอัดรำคาญ มนุษย์ยิ่งเจริญขึ้นก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจ ดูๆ แล้วความสะดวกสบาย และเสรีภาพของมนุษย์จะสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอดูอย่างเช่น ฝูงวิหคนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกัน แต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่ที่ต้องแบกไว้คือ เรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรติ มันเป็นภาระหนักยิ่งของมนุษยชาติ สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่งคือเรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกิน นักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียว ปลดภาระไปได้อีกมาก แต่การกินอย่างนักพรตกับการกินของผู้บริโภคกาม ก็ดูเหมือนจะบริโภคแตกต่างกันอยู่ ผู้บริโภคกามและยังหนาแน่นอยู่ด้วยโลกีย์วิสัย บริโภคเพื่อยุกามให้กำเริบ จะต้องกินอย่างมีเกียรติ กินให้สมเกียรติ มิใช่กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะ ความจริงร่างกายคนเรามิได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิวร่างกายก็ต้องการอาหารเพียงเพื่อบำบัดความหิวเท่านั้น แต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วง คนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้ แต่จำต้องทำเหมือนโคหรือควาย ซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถ แต่จำใจต้องลากมันไปลากมันไป อนิจจา !"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! การครองเรือนเป็นเรื่องยาก เรือนที่ครองไม่ดี ย่อมก่อทุกข์ให้มากหลาย การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง"



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  12. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๖

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำคือ บุตร ภรรยา และทรัพย์สมบัตินี่แล ตรึงรัดมัดผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ได้ยากคือบุตร ภรรยา และทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะนั้นเป็นเหยื่อของโลก เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ไม่มีรูปใดที่จะรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูปแห่งสตรี"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ยังตัดอาลัยในสตรีไม่ได้ ย่อมจะต้องเวียนเกิด เวียนตายอยู่ร่ำไป แม้สตรีก็เช่นเดียวกัน ถ้ายังตัดอาลัยในบุรุษไม่ได้ย่อมประสบทุกข์บ่อยๆ กิเลสนั้นมีอำนาจควบคุมอยู่โดยทั่ว ไม่เลือกว่าวัยใด และเพศใด"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! มนุษย์ผู้หลงใหลอยู่ในโลกียารมณ์ ผู้เพลินอยู่ในความบันเทิงสุข อันสืบเนื่องมาจากความมึนเมาในทรัพย์สมบัติชาติตระกูล ความหรูหราฟุ่มเฟือย ยศศักดิ์และเกียรติอันจอมปลอมในสังคม ที่อยู่อาศัยอันสวยงาม อาหารและเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ต้องใส่ อำนาจและความทะนงตน ทั้งหมดนี้ทำให้บุคคลมีนัยน์ตาฝ้าฟาง มองไม่เห็นความงามแห่งพระสัทธรรม ความเมาในอำนาจเป็นแรงผลักดันที่มีพลังมากพอให้คนทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้มีอำนาจยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้นพร้อมๆ กันนั้นมันทำให้เขา ลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่แยแสต่อเสียงเรียกร้องของศีลธรรมหรือมโนธรรมใดๆ มันค่อยๆ ระบายจิตใจของเขาให้ดำมืดไปทีละน้อยๆ จนเป็นสีหมึก ไม่อาจมองเห็นอะไรๆ ได้อีกเลย หัวใจที่เร่าร้อนอยู่แล้วของเขา ถูกเร่งเร้าให้เร่าร้อนมากขึ้น ด้วยความทะยานอยากอันไม่มีขอบเขต ไม่ทราบว่าจะไปสิ้นสุดลงที่ตรงไหน วัตถุอันวิจิตรตระการตานั้นช่วยเป็นเชื้อให้ความทะยานอยากโหมแรงกลายเป็นว่ายิ่งมีมากยิ่งอยากใหญ่ แม้จะมีเสียงเตือนและเรียกร้องอยู่ตลอดเวลาว่า ศีลธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนสังคมและคุ้มครองโลก แต่บุคคลผู้รับรู้และพยายามประคับประคองศีลธรรมมีน้อยเกินไป สังคมมนุษย์จึงวุ่นวายและกรอบเกรียมอย่างน่าวิตก"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! กลิ่นดอกไม้กลิ่นจันทน์ไม่สามารถหอมหวลทวนลมได้ แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตบุรุษนั้นแล สามารถจะหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลม คนดีย่อมมีเกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทุกทิศ กลิ่นจันทน์แดง กลิ่นอุบล กลิ่นดอกมะลิ จัดว่าเป็นดอกกลิ่นหอม แต่ยังสู้กลิ่นศีลไม่ได้ กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งมวล ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหวังจะให้เป็นที่รักที่เคารพนับถือ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีแล้ว พึงเป็นผู้ทำตนให้สมบูรณ์ด้วยศีลเถิด"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับเลย ย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว ย่อมรู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏฏ์คือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ ผู้ไม่รู้พระสัทธรรมยังยาวนานกว่านั้น"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! สังสารวัฏฏ์นี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ที่พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อยๆ และการเกิดใดนั้น ตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมา ก็คือความแก่ชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจและความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่ขึ้นมาจากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียนแล้ว จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเมื่อเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่ สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว"


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  13. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๗

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อรากยังมั่นคง แม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้วมันก็สามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นเสียจากดวงจิต ความทุกข์ก็เกิดขึ้นอีกแน่ๆ ภิกษุทั้งหลาย ! น้ำตาของสัตว์ที่ต้องร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถมในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้ กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีเล่า ถ้านำมากองรวมกันไม่ให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้จะไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ที่ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนักทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำบนกองกระดูก นอนอยู่บนกองกระดูก นั่งอยู่บนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งสิ้น สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในกองเพลิงคือทุกข์ เหมือนเต่าอันเขาโยนลงไปแล้วในกองไฟใหญ่ฉะนั้น"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ทางสองสายคือกามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขสายหนึ่ง และอัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย ควรเดินตามทางสายกลาง คือเดินตาม อริยมรรคมีองค์แปด คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเลี้ยงชีพชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติขอบและการทำสมาธิชอบ"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความทุกข์ เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง? ภิกษุทั้งหลาย ! ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจ หรือความโศก ความพิไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคล หรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคล หรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรมิได้ดังใจหมาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุป การยึดมั่นในขันธ์ห้า ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเอง เป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เราตถาคตกล่าวว่า ความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหาคือความทะยานอยาก ดิ้นรนซึ่งมีลักษณ์เป็นสาม คือ ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนา เรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่ เรียกภวตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นแล้ว เรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งความทุกข์ขั้นมูลฐาน ภิกษุทั้งหลาย ! การสลัดทิ้งโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่างๆ ดับตัณหาคลายตัณหาโดยสิ้นเชิง นั่นแลเราเรียกว่านิโรธ คือความดับทุกข์ได้"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ปัญหาที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าของทุกๆ คน คือปัญหา เรื่องทุกข์และความดับทุกข์ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายถูกความทุกข์เสียบทั้งทางกายและทางใจ อุปมาเหมือนผู้ถูกยิงด้วยลูกศรซึ่งกำซาบด้วยยาพิษ แล้วญาติมิตรเห็นเข้าเกิดความกรุณาจึงพยายามช่วยถอนลูกศรนั้น แต่บุรุษผู้โง่เขลาบอก ว่าต้องไปสืบให้ได้เสียก่อนว่าใครเป็นคนยิงและยิงมาจากทิศไหน ลูกศรทำด้วยไม้อะไร แล้วจึงจะค่อยมาถอนลูกศรออก ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษผู้นั้นจะต้องตายเสียก่อนเป็นแน่แท้ ความจริงเมื่อถูกยิงแล้วหน้าที่ของเขาก็คือควรพยายามถอนลูกศรออกเสียทันที ชำระแผลให้สะอาด แล้วใส่ยาและรักษาแผลให้หายสนิท หรืออีกอุปมาหนึ่งเหมือนบุคคลที่ไฟไหม้อยู่บนศีรษะ ควรรีบดับเสียโดยพลันไม่ควรเที่ยววิ่งหาคนผู้เอาไฟมาเผาศีรษะตน ทั้งๆ ที่ไฟลุกไหม้อยู่"

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  14. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๘

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! สังสารวัฏฏ์นี้เต็มไปด้วยเพลิงทุกข์นานาประการโหมให้ร้อนอยู่โดยทั่ว สัตว์ทั้งหลายยังวิ่งอยู่ในกองทุกข์แห่งสังสารวัฏฏ์ ใครเล่าจะเป็นผู้ดับ ถ้าทุกคนไม่ช่วยกันดับทุกข์แห่งตน อุปมาเหมือนบุรุษสตรีผู้รวมกันอยู่ในบริเวณกว้างแห่งหนึ่ง และต่างคนต่างถือดุ้นไฟใหญ่อันไฟลุกโพลงอยู่ทั่วแล้ว ต่างคนต่างก็วิ่งวนกันอยู่ในบริเวณนั้น และร้องกันว่า ร้อน ร้อน ภิกษุทั้งหลาย ! ครานั้นมีบุรุษผู้หนึ่งเป็นผู้ฉลาดร้องบอกให้ทุกๆ คน ทิ้งดุ้นไฟในมือของตนเสีย ผู้ที่ยอมเชื่อทิ้งดุ้นไฟก็ได้ประสบความเย็น ส่วนผู้ไม่เชื่อ ก็ยังคงวิ่งถือดุ้นไฟพร้อมด้วยร้องตะโกนว่า ร้อน ร้อน อยู่นั่นเอง ภิกษุทั้งหลาย ! เราตถาคตได้ทิ้งดุ้นไฟแล้ว และร้องบอกให้เธอทั้งหลายทิ้งเสียด้วย ดุ้นไฟที่กล่าวถึงนี้ คือกิเลสทั้งมวล อัน เป็นสิ่งที่เผาลนสัตว์ให้เร่าร้อนกระวนกระวาย"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะภายในหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อายตนะภายนอกหก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ! เราตถาคตไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใดๆ ที่จะครอบงำรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งสตรี ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่พิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใดๆ ที่สามารถครอบงำรัดตรึงใจของสตรี ได้มากเท่ารูปเสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะแห่งบุรุษ"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! กามคุณนี้เรากล่าวว่าเป็นเหยื่อแห่งมารเป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นกำลังพลแห่งมาร ภิกษุผู้ปรารถนาจะประหารมาร พึงสลัดเหยื่อแห่งมาร ขยี้พวงดอกไม้แห่งมารและทำลายกำลังพลแห่งมารเสีย ภิกษุทั้งหลาย ! เราเคยเยาะเย้ยกามคุณ ณ โพธิมณฑลในวันที่เราตรัสรู้นั้นเองว่า ดูก่อนกาม ! เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดความดำริคำนึงถึงนั้นเอง เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ด้วยประการฉะนี้ กามเอ๋ย ! เจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตนี้เป็นสิ่งที่ดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามได้ยาก ผู้มีปัญญาพึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรน ให้เป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! จิตนี้คอยแต่จะกลิ้งเกลือกลงไปคลุกเคล้ากับกามคุณ เหมือนปลาซึ่งเกิดในน้ำถูกนายพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำแล้ว คอยแต่จะดิ้นรนไปในน้ำอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาพึงพยายามยกจิตขึ้นจากการอาลัยในกามคุณให้ละบ่วงมารเสีย"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจ บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุดและควรแก่การสรรเสริญนั้น คือผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย"

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  15. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๙

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตใจที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมคือ นินทาสรรเสริญนั้น เป็นจิตใจที่ประเสริฐยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใด ฝึกตนให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัสไนย ม้าสินทบ พญาช้าง ตระกูลมหาราชที่ได้รับการฝึกดีแล้ว จัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่บุคคลที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐยิ่งกว่าสัตว์เหล่านั้น"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้อดทนต่อคำกล่าวล่วงเกินของผู้สูงกว่า ก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทนมีเมตตา ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศอยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่าย สามารถปิดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิเป็นต้น ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย ! เมตตากรุณาเป็นพรอันประเสริฐในตัวมนุษย์"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! คฤหัสถ์ผู้ยังบริโภคกามเกียจคร้านหนึ่ง พระราชาทรงประกอบกรณียกิจ โดยมิได้พิจารณาโดยรอบคอบถี่ถ้วนเสียก่อนหนึ่ง บรรพชิตไม่สำรวมหนึ่ง ผู้อ้างตนว่าเป็นบัณฑิตแต่มักโกรธหนึ่ง สี่จำพวกนี้ไม่ดีเลย ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมอันใดที่ทำไปแล้วต้องเดือดร้อนใจภายหลัง ต้องมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา เสวยผลแห่งกรรมนั้น ตถาคตกล่าวว่ากรรมนั้นไม่ดีควรเว้นเสีย"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราอยู่ในวัยหนุ่ม มีเกศายังดำสนิทถูกแวดล้อมด้วยสตรีล้วนแต่สะคราญตา เป็นที่น่าปรารถนาของบุรุษเพศผู้ยังตัดอาลัยในบ่วงกามมิได้ แต่เราเบื่อหน่ายในโลกีย์วิสัย จึง สละสมบัติบรมจักดิ์และนางผู้จำเริญตา ออกแสวงหาโมกขธรรมแต่เดียวดาย เที่ยวไปอย่างไม่มีอาลัย ปลอดโปร่งเหมือนบุคคล ที่เป็นหนี้แล้วพ้นจากหนี้ เคยถูกคุมขังแล้วพ้นจากที่คุมขัง เคยเป็นโรคแล้วหายจากโรค หลังจากท่องเที่ยวอยู่เดียวดายและทำความเพียรอย่างเข้มงวด ไม่มีใครจะทำได้ยิ่งกว่า อยู่เป็นเวลาหกปี เราก็ได้ประสบชัยชนะอย่างใหญ่หลวงในชีวิต ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณสงบเยือกเย็นถึงที่สุด ล่วงพ้นบ่วงแห่งมารทั้งปวงทั้งที่เป็นทิพย์และเป็นของมนุษย์ มารและธิดามารคือนางตัณหา นางราคะ และนางอรดี ได้พยายามยั่วยวนเราด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เราตกอยู่ในอำนาจ แต่เราก็หาสนใจใยดีไม่ ในที่สุด พวกนางก็ถอยหนีไปเอง เราชนะมารอย่างเด็ดขาด จนมีนามก้องโลกว่า "ผู้พิชิตมาร"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน และจบลงด้วยเรื่องเศร้า อนึ่งชีวิตนี้เริ่มต้นและจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรก เราร้องไห้ และเมื่อจะหลับตาลาโลกเราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่น เป็นสัญญลักษณ์ว่าเขาเกิดมาเพื่อ จะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้น ทุกคนแบมือออกเหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยานว่า เขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น เป็นเรื่องทรมานยิ่งและเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพราก ก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง"

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  16. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๑๐

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่ง แห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ยิ่งเป็นพิษแก่จิตใจทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่ง และแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวในมหาสมุทรฉะนั้น"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อย ผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบ ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายน่าหวาดเสียว และว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่า ภายในส่วนลึกแห่งหัวใจ เขาจะว้าเหว่และเงียบเหงาสักปานใด ถ้าทุกคนซึ่งกำลังว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักที่แน่นอนของชีวิต"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้นควรเว้นเสีย เพราะฉะนั้น แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้นย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติภายหลังแล้ว ก็ต้องตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมดาว่าไม้จันทน์ แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายได้สละเพศฆราวาสมาแล้วซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้นคือไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ บุคคลร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน บุคคลพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน บุคคลแสนคนหาคนพูดความจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบว่าจะหาในบุคคลจำนวนเท่าไร จึงจะพบได้หนึ่งคน"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทองหรือของที่บุคคลหวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้งทาส กรรมกร คนใช้และที่อยู่อาศัย สิ่งอื่นๆ ทั้งหมดนี้บุคคลนำไปไม่ได้ ต้องทอดทิ้งไว้หมด แต่สิ่งที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ นั่นแหละที่จะเป็นของเขา เป็นสิ่งที่เขาต้องนำไปเหมือนเงาตามตัว เพราะฉะนั้นผู้ฉลาดพึงสั่งสมกัลยาณกรรม อันจะนำติดตัวไปสู่สัมปรายภพได้ บุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อไฟไหม้บ้านภาชนะเครื่องใช้อันใดที่เจ้าของนำออกไปได้ ของนั้นก็เป็นประโยชน์แก่เจ้าของ ที่นำออกไม่ได้ก็ถูกไฟไหม้วอดวายอยู่ ณ ที่นั้นเองฉันใด คนในโลกนี้ถูกไฟคือความแก่ ความตายไหม้อยู่ก็ฉันนั้น คนผู้ฉลาดย่อมนำของออกด้วยการให้ทาน ของที่บุคคลให้แล้วชื่อว่านำออก ดีแล้ว มีความสุขเป็นผล ส่วนของที่ยังไม่ได้ให้หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่โจรอาจขโมยเสียบ้าง ไฟอาจจะไหม้เสียบ้าง อีกอย่างหนึ่งเมื่อความตายมาถึงเข้า บุคคลย่อมสละทรัพย์สมบัติและแม้สรีระของตนไว้ นำไปไม่ได้เลย ผู้มีปัญญารู้ความจริงข้อนี้แล้ว พึงบริโภคใช้สอย พึงให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นเพื่อได้ให้บริโภคตามสมควรแล้วเป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าสู่ฐานะอันประเสริฐ"



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  17. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๑๑

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา เหมือนชาวนาที่ตระหนี่ไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนา เขาเก็บพันธุ์ข้าวเปลือกไว้จนเน่าและเสีย ไม่สามารถจะปลูกได้อีก ข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้วหนึ่งเมล็ด ย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใด ทานที่บุคคลทำแล้วก็ฉันนั้นย่อมมีผลมากผลไพศาล การรวบรวมทรัพย์ไว้โดยมิได้ใช้สอยให้เป็นประโยชน์ ทรัพย์นั้นจะมีคุณแก่ตนอย่างไร เหมือนผู้มีเครื่องประดับอันวิจิตรตระการตาแต่หาได้ประดับไม่ เครื่องประดับนั้นจะมีประโยชน์อะไร รังแต่จะก่อความหนักใจในการเก็บรักษา"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! นกชื่อมาหะกะ ชอบเที่ยวไปตามซอกเขาและที่ต่างๆ มาจับต้นเลียบที่มีผลสุกแล้วว่า ของกู ของกู ในขณะที่มันร้องอยู่นั่นเอง หมู่นกเหล่าอื่นที่บินมากินผลเลียบตามต้องการแล้วจากไป นกมาหะกะ ก็ยังคงร้องว่า ของกู ของกู อยู่นั่นเอง ข้อนี้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น รวบรวมสะสมทรัพย์ไว้มากมาย แต่ไม่สงเคราะห์ญาติตามที่ควร ทั้งมิได้ใช้สอยเองให้ผาสุข มัวเฝ้ารักษาและภูมิใจว่าของเรามี ของเรามี ดังนี้ เมื่อเขาประพฤติอยู่เช่นนี้ ทรัพย์สมบัติย่อมเสียหายไป ทรุดโทรมไปด้วยเหตุต่างๆ มากหลาย เขาก็คงคร่ำครวญอยู่อย่างเดิมนั่นเอง และต้องเสียใจในของที่เสียไปแล้ว เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดหาทรัพย์ได้แล้วพึงสงเคราะห์คนที่ควรสงเคราะห์มีญาติ เป็นต้น"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ทรัพย์ของคนไม่ดีนั้น ไม่สู้อำนวยประโยชน์แก่ใคร เหมือนสระโบกขรณีอันตั้งอยู่ในที่ไม่มีมนุษย์ แม้จะใสสะอาดจืดสนิทเย็นดี มีท่าลงสะดวกน่ารื่นรมย์ แต่มหาชนก็หาได้ดื่ม อาบหรือใช้สอยตามต้องการไม่ น้ำนั้นมีอยู่อย่างไร้ประโยชน์ ทรัพย์ของคนตระหนี่ก็ฉันนั้น ไม่อำนวยประโยชน์สุขแก่ใครๆ เลย รวมทั้งตัวเขาเองด้วย ส่วนคนดีเมื่อมีทรัพย์แล้วย่อมบำรุงมารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ให้เป็นสุข บำรุงสมณะพราหมณาจารย์ให้เป็นสุข เปรียบเหมือนสระโบกขรณีอันอยู่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีท่าลงเรียบร้อยสะอาดเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ มหาชน ย่อมได้อาศัยนำไปอาบ ดื่ม และใช้สอยตามต้องการ โภคทรัพย์ของคนดี ย่อมเป็นดังนี้ หาอยู่โดยเปล่าประโยชน์ไม่"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! นักกายกรรมผู้มีกำลังมาก คือนักมวยปล้ำ ผู้มีกำลังมหาศาลนั้นก่อนที่จะได้กำลังมา เขาก็ต้องออกกำลังไปก่อน การเสียสละนั้น คือการได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไรย่อมไม่ได้อะไร จงดูเถิด ! มนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคนแต่ต้นไม้นั้นย่อมให้ผลที่ปลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาดูความจริงตามธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งเถิด คือ แม่น้ำสายใดเป็นแม่น้ำตาย ไม่ไหล ไม่ถ่ายเทไปสู่ที่อื่น หยุดนิ่ง ขังอยู่ที่เดียว แม่น้ำสายนั้นย่อมพลันตื้นเขิน และสกปรกเน่าเหม็น เพราะสิ่งสกปรกลงมามิได้ถ่ายเท นอกจากนี้บริเวณที่ใกล้แม่น้ำสายนั้น จะหาพืชพันธุ์ธัญญาหารที่เขียวสดก็หายาก แต่แม่น้ำสายใดไหลเอื่อยลงสู่ทะเลหรือแตกสาขาออกไป ไหลเรื่อยไปไม่รู้จักหมดสิ้น คนทั้งหลายได้อาศัย อาบดื่ม และใช้สอยตามปรารถนา มันจะใสสะอาดอยู่เสมอไม่มีวันเหม็นเน่าหรือสกปรกได้เลย พืชพันธุ์ธัญญาหาร ณ บริเวณใกล้เคียงก็เขียวสดสวยงาม"

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  18. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๑๒

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ตระหนี่เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็กักตุนไว้ไม่ถ่ายเทให้ผู้อื่นบ้าง ก็เหมือนแม่น้ำตายไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใคร ส่วนผู้ไม่ตระหนี่ เป็นเหมือนแม่น้ำที่ไหลเอื่อยอยู่เสมอ กระแสน้ำก็ไม่ขาด ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น สาธุชนได้ทรัพย์แล้วพึงบำเพ็ญตนเสมือนแม่น้ำซึ่งไหลใสสะอาด ไม่พึงเป็นเช่นแม่น้ำตาย"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อายะสัมปทา หรือทาน จะมีผลมากอานิสงส์ไพศาล ถ้าประกอบด้วยองค์หก กล่าวคือ

    1. ก่อนให้ ผู้ให้ก็มีใจก็ผ่องใส ชื่นบาน

    2. เมื่อกำลังให้ จิตใจก็ผ่องใส

    3. เมื่อให้แล้ว ก็มีความยินดี ไม่เสียดาย

    4. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากราคะหรือปฏิบัติเพื่อปราศจากราคะ

    5. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโทสะ

    6. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโมหะ

    ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ประกอบด้วยองค์หกนี้แล เป็นการหายากที่จะกำหนดผลแห่งบุญว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้ อันที่จริงเป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ไม่มีประมาณ เหลือที่จะกำหนด เหมือนน้ำในมหาสมุทรย่อมกำหนดได้โดยยาก ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! คราวหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล ราชาแห่งแคว้นนี้ เข้าไปหาตถาคตและถามว่า บุคคลควรจะให้ทานในที่ใด เราตอบว่า ควรให้ในที่ที่เลื่อมใส คือเลื่อมใสบุคคลใด คณะใดก็ควรให้แก่บุคคลนั้น ในคณะนั้น พระองค์ถามต่อไปว่า ให้ทานในที่ใดจึงจะมีผลมาก เราตถาคตตอบว่า ถ้าต้องการผลมากแล้วละก็ควรจะให้ทานในท่านผู้มีศีล การให้แก่บุคคลผู้ทุศีล หามีผลมากอย่างนั้นไม่ สถานที่ทำบุญเปรียบเหมือนเนื้อนา เจตนาและไทยทานของทายก เปรียบเหมือนเมล็ดพืช ถ้าเนื้อนาดีคือบุคคลผู้รับเป็นคนดีมีศีลธรรมและประกอบด้วยเมล็ดพืช คือเจตนาและไทยทานของทายก บริสุทธิ์ทานนั้นย่อมมีผลมาก การหว่านลงในนาที่เต็มไปด้วยหญ้าแฝก และหญ้าคา ต้นข้าวย่อมขึ้นได้โดยยากฉันใด การทำบุญในคณะบุคคลผู้มีศีลน้อย มีธรรมน้อยก็ฉันนั้น คือย่อมได้บุญน้อย ส่วนการทำบุญในคณะบุคคลซึ่งมีศีลดี มีธรรมงาม ย่อมจะมีผลมากเป็นภาวะอันตรงกันข้ามอยู่ดังนี้ เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผล หยาดน้ำที่ไหลลงทีละหยดยังทำให้แม่น้ำเต็มได้ฉันใดการสั่งสมบุญหรือบาปแม้ทีละน้อยก็ฉันนั้น ผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ ผู้สั่งสมบาปย่อมเพียบแปร้ไปด้วยบาป"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนทั้งหลายมานับถือ มิใช่เพื่ออานิสงส์ลาภสักการะและความสรรเสริญ มิใช่จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้ใครรู้จักว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อสังวระคือความสำรวม เพื่อปหานะคือความละ เพื่อวิราคะคือคลายความกำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะคือความดับทุกข์"

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  19. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๑๓

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบประณีต มิใช่วิสัยแห่งสัตว์ คือคิดเอาไม่ได้ หรือไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จงดูกายอันนี้เถิด ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยวๆ ยานๆ มีอาการทรุดโทรมให้เห็นอย่างเด่นชัดเหมือนเกวียนที่ชำรุดแล้วชำรุดอีก ได้อาศัยแต่ไม้ไผ่มาซ่อมไว้ ผูกกระหน่ำคาบค้ำไว้ จะยืนนานไปได้สักเท่าไร การแตกสลายย่อมจะมาถึงเข้าสักวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมีธรรมเป็นที่เกาะที่พึ่งเถิด อย่าคิดยึดสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย แม้ตถาคตก็เป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จงดูกายอันเปื่อยเน่านี้เถิด มันอาดูรไม่สะอาด มีสิ่งสกปรกไหลเข้าไหลออกอยู่เสมอ ถึงกระนั้นก็ตาม มันยังเป็นที่พอใจปรารถนายิ่งนักของคนผู้ไม่รู้ความจริงข้อนี้ ภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้ไม่นานนักหรอกคงจะนอนทับถมแผ่นดิน ร่างกายนี้เมื่อปราศจากวิญญาณครองแล้วก็ถูกทอดทิ้งเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ค่า อันเขาทิ้งเสียแล้วโดยไม่ใยดี"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อันร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของสกปรก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้า มีช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์เล็กสัตว์น้อยเป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เก็บโรค อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่างๆ เข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอๆ เจ้าของกายจึงต้องชำระล้างขัดถูวันละหลายหลายครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียว หรือสองวันกลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่รังเกียจเป็นของน่าขยะแขยง"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อริยะมรรคประกอบด้วยองค์แปดเป็นทางอันประเสริฐ สามารถทำให้บุคคลเดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุหรือใครๆ ก็ตาม พึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดเคารพหนักแน่นในพระศาสดาและพระธรรม มีความยำเกรงในสงฆ์ มีความเคารพหนักแน่นในสมาธิ มีความเพียรเรื่องเผาบาป เคารพในไตรสิกขาและเคารพในปฏิสันถารการต้อนรับอาคันตุกะ ผู้เช่นนั้นย่อมไม่เสื่อม ดำรงตนอยู่ใกล้พระนิพพาน"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ตราบใดที่พวกเธอยังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม เคารพในสิกขาบทบัญญัติ ยำเกรงภิกษุผู้เป็นสังฆเถระสังฆบิดร ไม่ยอมตนให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งตัณหา พอใจในการอยู่อาศัยเสนาสนะป่า ปรารถนาให้เพื่อนพรหมจารีย์มาสู่สำนักและอยู่เป็นสุข ตราบนั้นพวกเธอจะไม่เสื่อมเลย มีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ตราบใดที่พวกเธอไม่หมกมุ่นกับการงานมากเกินไป ไม่พอใจด้วยการคุยฟุ้งซ่าน ไม่ชอบใจในการนอนมากเกินควร ไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้ปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจแห่งความปรารถนาชั่ว ไม่คบมิตรเลว ไม่หยุดความเพียรพยายามเพื่อบรรลุคุณธรรมขั้นสูงขึ้นไปแล้ว ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว"

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013
  20. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ ๑๔

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! วาจาสุภาษิตย่อมไม่มีประโยชน์แก่ผู้ไม่ทำตาม เหมือนดอกไม้ที่มีสีสวย สัณฐานดีแต่หากลิ่นมิได้ แต่วาจาสุภาษิตจะมีประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ทำตามเหมือนดอกไม้ที่มีสีสวยมีสัณฐานงามและมีกลิ่นหอม ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมที่เรากล่าวดีแล้วนั้น ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์ ไพศาลแก่ผู้ไม่ทำตามโดยเคารพ แต่จะมีผลมาก มีอานิสงส์ไพศาล แก่ผู้ซึ่งกระทำโดยนัยตรงกันข้าม มีการฟังโดยเคารพ เป็นต้น"

    พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า

    "มาเถิดอานนท์ ! เราจักไปกุสินารานครด้วยกัน"

    พระอานนท์รับพุทธบัญชาแล้วประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบพร้อมกัน แล้วเดินจากสถานที่นั้นมุ่งสู่กุสินารานคร ในระหว่างทางทรงเหน็ดเหนื่อยมากจึงแวะเข้าร่มพฤกษ์ใบหนาต้นหนึ่ง รับสั่งให้พระอานนท์ปูผ้าสังฆาฏิทำเป็นสี่ชั้น

    "อานนท์ ! เราเหน็ดเหนื่อยเหลือเกินอาพาธก็มีอาการรุนแรงขึ้น เร็วเข้าเถิดรีบปูลาดสังฆาฏิลง เราจะนอนพักผ่อนและขอให้เธอไปนำน้ำมาดื่มพอแก้กระหาย"

    "พระเจ้าข้า" พระอานนท์ทูล

    "เกวียนเป็นจำนวนมากเพิ่งผ่านพ้นลำน้ำไปสักครู่นี้เอง น้ำยังขุ่นอยู่ไม่สมควรที่พระองค์จะดื่ม ขอพระองค์ไปดื่ม ณ แม่น้ำกกุธานทีเถิด มีน้ำใสจืดสนิทเย็นดี"

    "อย่าเลย อานนท์" พระคถาคต ตรัสเป็นเชิงวิงวอน

    "อย่าคอยจนไปถึงแม่น้ำกกุธานทีเลย เรากระหายเหลือเกิน ร่างกายร้อนคอแห้งผาก เธอจงรีบไปนำน้ำมาเถิด"

    พระอานนท์รับพุทธบัญชาแล้ว ถือบาตรของพระตถาคตเจ้าไป ท่านมีอาการเศร้าซึมและวิตกกังวล เมื่อมาถึงริมแม่น้ำยังมองเห็นน้ำขุ่นอยู่ ท่านมีอาการเหมือนว่าจะเดินกลับ แต่ด้วยความเชื่อและห่วงใยในพระศาสดา จึงเดินลงไปอีก พอท่านทำท่าจะตักน้ำขึ้นมาเท่านั้น น้ำซึ่งมีสีขุ่นขาวเพราะรอยเกวียนและโค ก็ปรากฏเป็นน้ำใสสะอาดเหมือนกระจกเงา ท่านจึงตักน้ำนั้นมา แล้วรีบกลับน้อมบาตรน้ำเข้าไปถวายพระศาสดา พระพุทธองค์ทรงดื่มด้วยความกระหาย พระอานนท์มองดูด้วยความชื่นชมในพุทธบารมีแล้วทูลว่า

    "พระพุทธเจ้าข้า อัศจรรย์จริง ! สิ่งที่ไม่เคยมีไม่เคยปรากฏ ได้มีได้ปรากฏแล้วเป็นเพราะพุทธานุภาพโดยแท้ เป็นบารมีธรรมสั่งสมแท้"

    แล้วท่านก็เล่าเรื่องน้ำที่ขุ่นกลับใสสะอาดโดยฉับพลันให้พระผู้มีพระภาคเจ้าสดับ พระจอมมุนีทรงประทับ สงบนิ่งด้วยอาการแห่งผู้เจนจบและเข้าใจในความเป็นไปทั้งปวง ก่อนหน้านี้เพียงเล็กน้อย เมื่อพระองค์ผ่านมาทางเมืองปาวา ประทับ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทะบุตรแห่งนายช่างทอง นายจุนทะ ทูลอาราธนาพระพุทธองค์รับภัตตาหาร ณ บ้านแห่งตน แล้วจัดแจงขาทนียโภชนียาหารอย่างประณีต รุ่งขึ้นได้เวลาแล้วอาราธนาพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์เพื่อเสวย พระพุทธองค์ทอดทัศนาการเห็นสูกรมัทวะ อาหารชนิดหนึ่งซึ่งย่อยยาก จึงรับสั่งให้ถวายแด่พระองค์แต่เพียงผู้เดียวมิให้ถวายแก่ภิกษุรูปอื่น เมื่อพระองค์เสวยแล้วก็รับสั่งให้ฝังเสีย ดูเถิด ! พระมหากรุณาแห่งพระองค์มีถึงปานนี้ สำหรับพระองค์นั้นมิได้ห่วงใยในชีวิตอีกแล้ว เพราะถึงอย่างไรก็ต้องนิพพานในคืนวันนี้แน่นอน ทรงเป็นห่วงภิกษุสาวกจะลำบากถ้าฉันอาหารที่ย่อยยากชนิดนั้น ประหนึ่งมารดาหรือบิดาผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมในบุตรของตน ทราบว่าอะไรจะทำให้บุตรธิดาลำบาก ย่อมพร้อมที่จะรับความลำบากอันนั้นเสียเอง สูกรมัทวะให้ผลในทันที อาการประชวรของพระองค์ทรุดหนักลงอย่างน่าวิตก มีพระบังคนเป็นโลหิต แต่ถึงกระนั้นก็ยังเสด็จด้วยพระบาทเปล่าจากปาวาสู่กุสินารานครดังกล่าวแล้ว


    หมายเหตุ:-
    พระบังคนเป็นโลหิต คืออาการประชวรถ่ายเป็นเลือด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...