พระพุทธศาสนา...พระโบราณ...พระในตำนาน...

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย บรรพชนทวา, 12 กันยายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    การหลั่งไหลของพระพุทธศาสนาจากอินเดียสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน

    ชมพูทวีป(อินเดีย)หลังพุทธกาล
    ๘ เดือนก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑
    ปฐมสังคายนา โดยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระเจ้าอชาตศัตรูทรงอุปถัมภ์

    พุทธศตวรรษที่ ๑
    สังคายนาครั้งที่ ๒ พระพุทธศาสนาได้แตกออกเป็นสองนิกายใหญ่คือ เถรวาท และมหาสังฆิกะ(ต้นเค้านิกายมหายาน)
    ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒ - พุทธศตวรรษที่ ๓
    พระเจ้าอโศกมหาราชจักรพรรดิผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาททรงสร้างพระเจดียสถาน ๘๔,๐๐๐ แห่งทั่วอินเดีย ทรงส่งคณะธรรมฑูตออกไปประดิษฐานพระศาสนา ๙ สาย

    ต้นพุทธศตวรรษที่ ๓
    เริ่มสร้างถ้ำอชันตา ตั้งแต่พ.ศ. ๓๔๓ มีอายุใช้งานถึงราว ๘๕๐ ปี

    ต้นพุทธศตวรรษที่ ๔
    กำเนิดพระพุทธรูป ในสมัยคันธาระ พระพักตร์ออกไปทางกรีก ต่อมาจึงมีพุทธศิลป์แบบอินเดียแท้ที่เมืองมถุรา

    ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๕ - พุทธศตวรรษที่ ๖
    กำเนิดพระเยซูคริสต์

    ต้นพุทธศตวรรษที่ ๖
    พ.ศ. ๖๒๑ - ๖๔๔ รัชสมัยพระเจ้ากนิษกะ ผู้จารึกพระไตรปิฎกไว้ในแผ่นทองแดง บรรจุลงในสถูปเป็นต้นฉบับหลวง

    พุทธศตวรรษที่ ๗
    กำเนิดพุทธศาสนานิกายมหายาน

    พุทธศตวรรษที่ ๘
    พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๑ ตั้งราชวงศ์คุปตะ พุททธศตวรรษที่ ๘๑๑ ถือเป็นยุคที่อินเดียรุ่งเรืองทางพุทธศิลป์

    ต้นพุทธศตวรรษที่ ๙
    พุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่จีน
    หลวงจีนฟาเหียน เดินทางจากจีนสู่ชมพูทวีป แล้วกลับไปเขียนบันทึกการเดินทางที่เป็นหลักฐานสำคัญในประวัติศาสตร์
    กำเนิดมหาวิทยาลัยพุทธ นาลันทา

    ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๐
    เชื่อว่ามีอาณาจักรทวารวดีในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑๑๖

    ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐
    พวกฮั่นบุกเข้ายึดอินเดียตอนเหนือ ทำลายพุทธวิหาร เทวาลัย และพุทธศิลป์หมดสิ้น

    ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑๑๒
    กำเนิดศาสนาอิสลามขึ้นในดินแดนอาหรับโดยท่านมูฮัมมัด เริ่มศักราชอิสลาม พ.ศ. ๑๑๖๕
    พ.ศ. ๑๑๗๓ พระภิกษุเหี้ยนจัง(พระถังซัมจั๋ง)เดินทางจากจีนมาอินเดีย

    ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒
    ศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มอ่อนแอลงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ ศาสนาพราหมณ์ฮินดูรุ่งเรืองขึ้นมาแทน แต่ก็ถูกกองทัพอิสลามเริ่มเข้ามารุกรานอยู่ถึงราว ๓๐๐ ปี

    พุทธศตวรรษที่ ๑๓
    พ.ศ. ๑๒๔๙ สถาปนาราชวงศ์ปาละ มีความฟื้นฟูศาสนาพุทธในอินเดียได้เพียงบางส่วน และเริ่มเผยแพร่เข้าสู่ทิเบต

    ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓๑๔
    ยุคพุทธศิลป์โจฬะในอินเดียตอนใต้

    ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔
    สถาปนาเมืองพระนครแห่งอาณาจักรขอม พ.ศ. ๑๔๓๒ พ.ศ. ๑๔๔๓

    ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕๑๖
    พ.ศ. ๑๕๘๗ สถาปนาอาณาจักรพุกาม

    กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖๑๗
    ปราสาทนครวัด เริ่มสร้างพ.ศ. ๑๖๕๖

    ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗๑๘
    สถาปนาเมืองพระนครหลวงแห่งอาณาจักรขอม พ.ศ. ๑๗๔๖ ๑๙๗๔
    พ.ศ. ๑๗๔๙ ศาสนาพุทธในอินเดียถึงกาลล่มสลายโดยการบุกรุกทำลายของกองทัพมุสลิม
    ต่อมาในพ.ศ. ๒๐๖๙ ๒๔๐๑ ราชวงศ์โมกุล(อิสลาม) ปกครองอินเดียอยู่ถึง ๓๐๐ ปี
    เริ่มรวบรวมนครรัฐสุโขทัย พ.ศ. ๑๗๘๐



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  2. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    การสืบทอดศาสนา

    ระหว่างห้วงเวลา ๘๐ พรรษา ที่เรียกกันว่าพุทธกาลนั้น มิได้มีเพียงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ธรรมแล้วเผยแผ่ ยังมีผู้นำในสังคมอีกมากมายที่พากันออกแสวงหาสรรพความรู้จนถึงระดับที่เป็นศาสดา ศาสดาเจ้าลัทธิที่มีความเด่นชัดในความนิยม และกลายเป็นศาสนาขึ้นมาอีกผู้หนึ่งคือ มหาวีระ(นิครนถนาฏบุตร) ศาสดาแห่งศาสนาเชน/ไชนะ เป็นอีกศาสนาหนึ่งที่มีความเชื่อในกฎแห่งกรรมคล้ายกับศาสนาพุทธ แต่มีวิถีทางไปสู่ความสุขถาวรในอีกแบบหนึ่ง มหาวีระก็เป็นศาสดาที่มีสาวกอยู่มากมายทั่วไป แต่หลังจากท่านได้สิ้นชีพลงได้เกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทในหมู่สาวกด้วยเรื่องการตีคำสอน

    พระพุทธองค์ทรงมีปรารภในเรื่องนี้ว่า ศาสนาพุทธเองก็ควรมีการสังคายนาเพื่อให้การสืบทอดนั้นมีอยู่ต่อไป ระหว่างนั้นก็มีอัครสาวกผู้หนึ่งคือ พระสารีบุตร ได้แสดงสังคีติสูตรไว้เป็นตัวอย่างด้วย คำปรารภของพระพุทธองค์เรื่องการสังคายนากลายเป็นความจริงในเวลาอีกเพียงไม่นาน

    อายุขัยของเราบัดนี้เล็กน้อยเพียงแค่ในร้อยปี แต่ชั่วเวลาเท่าที่ดำรงชีวีอยู่นั้น เราได้ช่วยให้หมู่ชน ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้มากมาย ทั้งตั้งคบเพลิงธรรมไว้ปลุกคนภายหลังให้เกิดปัญญาที่จะตื่นขึ้นมาตรัสรู้ต่อไป
    (โคตมพุทธว˚ส, ขุ.พุทธ.๓๓/๒๖/๕๔๓)

    ในวันเพ็ญวิสาขปุรณมี(๑ ปีก่อนพุทธศักราช) นั้นเอง หลังจากบำเพ็ญพุทธกิจมานาน ๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา พระองค์เสด็จปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา

    พระพุทธปัจฉิมวาจา...วยธมมา สงขารา อปปมาเทน สมปาเทถ(สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา จงทำกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท)

    ๓ เดือนหลังพุทธปรินิพพาน(๙ เดือนก่อนพุทธศักราช) จึงมีการสังคายนาครั้งที่ ๑ ด้วยเหตุที่จะให้พระธรรมวินัยรุ่งเรืองอยู่สืบไป รวมทั้งเหตุที่ไม่ทันไรก็มีพระสาวกผู้บวชเมื่อแก่รูปหนึ่งนามว่า สุภัททภิกษุ แสดงตนขึ้นมากล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัย
    การสังคายนามีขึ้นในที่ประชุมพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์ที่วิสัชนาพระธรรม(ที่จัดแยกเป็นพระสูตร และพระอภิธรรม) พระเจ้าอชาตศัตรูทางอุปถัมภ์

    การสังคายนาครั้งที่ ๑ หรือที่เรียกว่า การประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้า ใช้เวลาสอบทานอยู่ ๗ เดือน จึงได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์พระไตรปิฏก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนานี้เรียกว่า เถรวาท มีความหมายถึง คำสอนต่างๆที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในทีนี้หมายถึง พระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษามคถ หรือภาษาบาลี นิกายเถรวาทจึงเป็นชื่อของนิกายเก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ

    หลังพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้วได้ ๑ ปี/พรรษา จึงมีการนับพุทธศักราชเป็นปีที่ ๑ พระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปก็เริ่มมีการสืบทอด รุ่งเรือง และถ่ายทอดสู่ดินแดนอื่นๆนับตั้งแต่บัดนั้น


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  3. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พ.ศ. ๑๐๐ พระพุทธศาสนาแตกเป็นสองนิกาย

    ภายใน ๑๐๐ ปีหลังพุทธปรินิพพาน ชมพูทวีปก็รวบรวมแว่นแคว้นต่างๆเข้าด้วยกันมากขึ้น โดยมีแคว้นมคธขึ้นมาครองความเป็นใหญ่ มีความพยายามที่จะสถาปนาเมืองหลวงในท่ามกลางการเปลี่ยนรัชกาลครั้งแล้วครั้งเล่า โดยการทำปิตุฆาต หรือการปลลลงชีพกษัตริย์แล้วขึ้นตั้งราชวงศ์ใหม่

    กระทั่งถึงพ.ศ. ๑๐๐ จึงมาถึงวาระของกษัตริย์ผู้มีนามว่า พระเจ้ากาลาโศก แห่งราชวงศ์สุสุนาคผู้สถาปนาเมืองหลวงของแคว้นมคธขึ้นที่ปาฏลีบุตรอย่างเป็นการถาวร ครั้งนั้นได้เกิดแนวคิดใหม่ๆในหมู่ภิกษุขึ้นมาให้ตีความ โดยเฉพาะในกลุ่มของภิกษุวัชชีบุตร ผู้เสนอในสิ่งที่คล้ายกับจะเป็นเรื่องนอกธรรมวินัย ด้วยเหตุนี้ กลุ่มของพระยศกากัณฑกบุตรจึงได้ชักชวนพระอรหันต์รวม ๗๐๐ รูป ประชุมสังคายนาขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ โดยมีพระเจ้ากาลาโศกทรงอุปถัมภ์ การประชุมทำที่วาลิการาม เมืองวาสาลี พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชนา

    กลุ่มของภิกษุวัชชีบุตรนั้นเองซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรจึงได้ทำการประกาศแยกตัวออกจากนิกายเถรวาทไปเป็นพวกที่เรียกว่า มหาสังฆิกะ มีความหมายถึง พวกสงฆ์หมู่ใหญ่ และทำสังคายนาขึ้นต่างหาก เรียกว่า มหาสังคีติ เป็นอาจริยวาทกลุ่มใหม่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดนิกายขึ้น และเป็นต้นกำเนิดของอาจารยาท/อาจริยวาท ที่ต่อมาเรียกตนเองว่า มหายาน

    ภายในอีก ๑๐๐ ปีต่อมา พ.ศ. ๒๐๐ อาจารยาท/อาจริยวาทก็ได้แตกออกเป็นนิกายย่อยๆอีกถึง ๑๗ นิกาย ครั้งนั้นพระพุทธศาสนานับว่าได้กลายเป็นมีนิกายย่อยทั้งหมด ๑๘ นิกาย เรียกว่า ๑๘ อาจริยวาทบ้าง ๑๘ อาจริยกุลบ้าง ๑๘ นิกายบ้าง(คือเถรวาทดั้งเดิม ๑ กับอาจริยวาทอื่นๆ ๑๗) ภายหลังจึงมีการสรุปหลักใหญ่ว่า ในพระพุทธศาสนาได้แตกออกเป็น ๒ นิกายใหญ่ คือ เถรวาท และมหายาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  4. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธศตวรรษที่ ๓ : ยุครุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

    พุทธศตวรรษที่ ๑ และ๒ เป็นการลงหลักปักฐานพระธรรมคำสอนให้กว้างขวางทั่วไปในดินแดนชมพูทวีป ดำเนินไปท่ามกลางภาวะแวดล้อมหลายประการคือ

    ภาวะของการเปลี่ยนผ่านผู้อุปถัมภ์ ซึ่งได้แก่ กษัตริย์ และราชวงศ์ที่ขึ้นมาเป็นใหญ่ในแคว้นหลักคือ แคว้นมคธ จากราชวงศ์สุสุนาค มาเป็นราชวงศ์นันทะมาสู่ราชวงศ์โมริยะ ตามลำดับ

    ภาวะของการเป็นเส้นขนานกับศาสนาพราหมณ์ฮินดูที่มีวิถีทางแตกต่าง พระพุทธศาสนาที่แตกนิกายออกไป ส่วนหนึ่งก็มีแนวคิดอิงไปทางพราหมณ์ฮินดูอีกด้วย

    ภาวะของดินแดนที่ต้องคอยรับมือกับผู้รุกราน อันได้แก่ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์กรีกแห่งมาซิโดเนีย ในช่วง พ.ศ. ๑๕๖ – พ.ศ. ๑๕๘ ได้ยกทัพผ่านแคว้นโยนก(บากเตรีย) เข้าคันธาระ มาตั้งที่ตักสิลา เตรียมยกเข้าตีมคธของราชวงศ์นันทะ และได้พบกับพระเจ้าจันทรคุปต์(ผู้เป็นต้นราชวงศ์โมริยะในเวลาต่อมา) แต่แล้วเลิกล้มความคิด ยกทัพกลับไป

    ยุครุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาครั้งแรกหลังพุทธปรินิพพาน เกิดขึ้นในช่วงต้นของพุทธศตวรรษที่ ๓ พ.ศ. ๒๑๔ เจ้าชายอโศกซึ่งเป็นอุปราชของพระเจ้าพินทุสาร(ผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าจันทรคุปต์) อยู่ที่กรุงอุชเชนีในแคว้นอวันตีดำเนินการยึดอำนาจ และขึ้นสู่การอภิเษกเป็นกษัตริย์ในอีก ๔ ปีต่อมา แล้วทำการแผ่ขยายอำนาจออกไปจนกว้างใหญ่ไพศาล

    พระเจ้าอโศก กษัตริย์ที่มุ่งหวังแต่การแผ่อำนาจด้วยการรบพุ่ง และฆ่าฟัน เริ่มด้วยการกำจัดพี่น้องจนหมดสิ้นเสี้ยนหนาม เมื่อราชาภิเษกแล้วก็มุ่งหน้าออกตีเอาดินแดนต่างๆ พระหัตถ์เปื้อนโลหิตอยู่ถึง ๘ ปี จนได้สมญาว่ากษัตริย์ผู้เหี้ยมโหด แม้แต่แคว้นใหญ่ และเข้มแข็งอย่างแคว้นกลิงคะ ก็ยังถูกกองทัพของพระองค์เอาชนะได้อย่างเด็ดขาด

    จากชัยชนะที่แคว้นกลิงคะนี้เอง ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมองเห็นอนิจจัง ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นศัตรูกับพระองค์ซึ่งก็คือปุถุชน เห็นเพื่อนมนุษย์ที่ต้องมาบาดเจ็บล้มตายเกลื่อนกลาดอยู่ในสนามรบ ภาพที่เห็นเลือดนองแผ่นดินราวกับแม่น้ำนั้นทำให้พระเจ้าอโศกทรงเศร้าสลดพระราชหฤทัย หลังจากนั้นจึงทรงตั้งปณิธานว่า จะไม่ทำศึกสงครามอีก



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  5. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระเจ้าอโศกทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนาในห้วงเวลานั้น และในปีที่ ๑๐ แห่งรัชกาล พระองค์จึงเริ่มดำเนินตามเส้นทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสร้างอนุสรณ์สถานพร้อมเสาศิลาจารึกไว้ ณ ที่ต่างๆ เป็นการประกาศหลักธรรมสู่ประชาชน ถือได้ว่า กษัตริย์พระองค์นี้เป็นผู้ทำให้การมีชีวิต ตัวตนของพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จดับขันธ์ไปแล้วถึงสองร้อยกว่าปีให้เกิดเป็นรูปธรรม หลักศิลาใหญ่แห่งสำคัญนั้นยังเป็นประจักษ์พยาน ณ สถานที่แสดงปฐมเทศนา ตำบลสารนาถ(อิสิปตนมฤคทายวัน) เป็นเสาสูงมีรูปหัวสิงห์ทั้งสี่ และมีธรรมจักรเทินอยู่บนยอดเสา รูปหัวสิงห์ได้กลายมาเป็นตราแผ่นดินของประเทศอินเดียในปัจจุบันเช่นกัน

    อนุสรณ์สถานแห่งสำคัญที่พระองค์ทรงสร้าง และยังคงเป็นประจักษ์พยานมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็คือ พระมหาสถูปสาญจี บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ที่รัฐมัธยประเทศ

    นอกจากการสร้างอนุสรณ์สถาน พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงสร้างวิหาร หรือวัดวาอารามไปทั่วดินแดนถึงกว่า ๘๔,๐๐๐ แห่ง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาโดยรอบวิหาร หรือวัดก็จะมีสิ่งสาธารณูปโภค เช่น อโรคยาวิหาร(สถานพยาบาล) เพื่ออำนวยความประโยชน์ด้านความเป็นอยู่ของประชาชนอีกมากมาย ด้วยความมีหลักธรรมในการปกครองนี้เองที่ทำให้พระองค์กลายเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์อินเดีย และประวัติศาสตร์โลก ในเวลาต่อมา พระองค์จึงได้รับสมัญญานามว่า พระเจ้าอโศกมหาราช

    ในศิลาจารึกแห่งไพรัต พระเจ้าอโศกมหาราชได้ตรัสปราศรัยกับพระภิกษุสงฆ์ว่า
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายย่อมทราบว่า โยมมีความเคารพ และเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์มากเพียงใด...สิ่งใดก็ตามที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว สิ่งนั้นๆ ทั้งปวงล้วนเป็นสุภาษิต

    นโยบาย"ธรรมวิชัย"ของพระองค์นำมาซึ่งความรุ่งเรืองสูงสุดของพระพุทธศาสนาเป็นเวลาร่วมร้อยปี ในยุคดังกล่าวศาสนาพราหมณ์ ฮินดูถึงกับเงียบงันลงไประยะหนึ่ง และก็ด้วยความรุ่งเรืองนี้เองที่ทำให้เกิดลาภสักการะในหมู่สงฆ์อุดมสมบูรณ์ จึงมีการปลอมบวช เพียงเพื่อความสะดวกสบายที่จะได้รับ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงให้สึกพระนอกศาสนาเหล่านั้นออกไปถึง ๖๐,๐๐๐ รูป และทรงอุปถัมภ์ให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธานทำการสังคายนาครั้งที่ ๓ พร้อมด้วยพระอรหันต์ที่แตกฉานในพระไตรปิฎกรวม ๑,๐๐๐ รูป ณ อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ทำสังคายนาอยู่ ๙ เดือนจึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนั้นได้มีการรวบรวมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นพระไตรปิฎกอย่างสมบูรณ์ทั้ง ๓ หมวดคือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม

    แม้ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชจะให้ความสำคัญกับการทำนุบำรุงศาสนาพุทธ แต่ก็ไม่ได้ทรงต่อต้านศาสนาอื่นเพราะทุกศาสนาต่างก็มีหลักเพื่อยึดมั่นในกรรมดีทั้งสิ้น ดังศิลาจารึก ฉบับที่ ๑๒ มีพระราชดำรัสว่า

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ย่อมทรงยกย่องนับถือศาสนิกชนแห่งลัทธิศาสนาทั้งปวง ทั้งที่เป็นบรรพชิต และคฤหัสถ์ด้วยพระราชทาน และการแสดงความยกย่องนับถืออย่างอื่นๆ แต่พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ไม่ทรงพิจารณาเห็นทาง หรือการบูชาอันใดที่จะเทียบได้กับสิ่งนี้เลยสิ่งนี้คืออะไร? นั้นก็คือการที่จะพึงมีความเจริญงอกงามแห่งสารธรรมในลัทธิศาสนาทั้งปวง ก็ความเจริญแห่งสารธรรมนี้มีอยู่มากมายหลายประการ แต่ส่วนที่เป็นรากฐานแห่งความเจริญงอกงามนั้นได้แก่สิ่งนี้คือ การสำรวมระวังวาจา ระวังอย่างไร? คือไม่พึงมีการยกย่องลัทธิศาสนาของตน และการตำหนิลัทธิศาสนาของผู้อื่น เมื่อไม่มีเหตุอันควร... การสังสรรค์สมาคมกันนั่นและเป็นสิ่งดีงามแท้ จะทำอย่างไร? คือ จะต้องรับฟัง และยินดีรับฟังธรรมของกันและกัน

    จริงดังนั้น พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพทรงมีความปรารถนาว่า เหล่าศาสนิกชนในลัทธิศาสนาทั้งปวง พึงเป็นผู้มีความรอบรู้ และเป็นผู้ยึดมั่นในกรรมดี... จะบังเกิดผลให้มีทั้งความเจริญงอกงามแห่งลัทธิศาสนาของตนๆ และความรุ่งเรืองแห่งธรรม

    หลังการสังคายนาครั้งที่ ๓ จึงมีการจัดส่งพระศาสนฑูตออกไปประกาศพระพุทธศาสนาในต่างแดนถึง ๙ สาย คงจะเป็นครั้งแรกที่ศาสนาพุทธจากชมพูทวีปเริ่มเผยแผ่ออกสู่โลกกว้าง

    สายที่ ๑ พระมัชฌันติกเถระไปยังแคว้นกัสมีระ และคันธาระ(แคว้นแคชเมียร์ และอัฟกานิสถานปัจจุบัน)

    สายที่ ๒ พระมหาเทวเถระไปยังมหิสกมณฑล(แคว้นไมซอร์ปัจจุบัน)

    สายที่ ๓ พระโยนกธรรมรักขิตเถระไปยังวนวาสีประเทศ(เขตบอมเบย์ตอนใต้)

    สายที่ ๔ พระธรรมรักขิตเถระไปยังอปรันตกชนบท(แคว้นชายทะเลด้านเหนือเมืองบอมเบย์ปัจจุบัน)

    สายที่ ๕ พระมหาธรรมรักขิตเถระไปยังมหารัฐชนบท(แคว้นมหารัชตะปัจจุบัน)

    สายที่ ๖ พระมหารักขิตเถระไปยังแค้นโยนก(เปอร์เซียปัจจุบัน)

    สายที่ ๗ พระมัชฌิมเถระไปยังหิมวันตประเทศ(ประเทศเนปาลปัจจุบัน)

    ที่นับว่าสำคัญต่อการมีศาสนาพุทธในประเทศไทยก็คือ ๒ ใน ๙ สาย...
    สายที่ ๘ นั้นมีพระโสณเถระ และพระอุตตรเถระมุ่งมายังสุสรรณภูมิ(ดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ที่กลายมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน)

    และสายที่ ๙ มีพระมหินทเถระ พระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระ พระสัมพลเถระ พระภัทสวลเถระ รวม ๕ รูปเดินทางไปยังตัมพปัณณิทวีป หรือก็คือลังกา หรือศรีลังกาในปัจจุบัน



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  6. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พุทธศาสนาในลังกา

    ศาสนาพุทธมาเติบโตในดินแดนลังกาอย่างกว้างขวางซึ่งส่งผลมายังนครรัฐที่จะกลายเป็นประเทศไทยในอีกราว ๑,๓๐๐ ปีต่อมา โดยมีเส้นทางสู่เมืองทางภาคใต้อย่างนครศรีธรรมราชก่อน

    ณ ลังกาทวีป พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ(ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๖ พ.ศ. ๒๗๖) ทรงทรงสดับธรรมจากพระมหินทเถระที่อนุราธปุระแล้ว ทรงนับถือ และอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง รวมทั้งสร้างมหาวิหารที่ได้เป็นศูนย์กลางใหญ่ของพระพุทธศาสนาเถรวาทสืบมา

    ในปีนั้น มีการสังคายนาครั้งที่ ๔ เพื่อการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป มีพระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูปประชุมกัน พระมหินทเถระเป็นประธาน และเป็นผู้ถาม พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชนา ณ ถูปาราม เมืองอนุราธปุระ โดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงอุปถัมภ์ ใช้เวลา ๑๐ เดือน

    การสังคายนาครั้งนี้ควรเป็นครั้งที่ ๔ ในประวัติศาสตร์ แต่เนื่องจากเป็นกิจกรรมตามข้อปรารภพิเศษโดยทั่วไป จึงไม่นับเข้าในประวัติสังคายนา

    ในช่วงเวลาเดียวกัน พระนางอนุฬา ชายาแห่งพระกนิษฐภาดาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ และสตรีในราชสำนักจำนวนมากปรารภจะอุปสมบท พระมหินทเถระจึงแนะนำพระราชาให้ส่งฑูตไปทูลพระเจ้าอโศก ขออาราธนาพระสังฆมิตตาเถรีมาประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ในลังกาทวีป การเดินทางมาของพระสังฆมิตตาเถรีได้นำกิ่งพระศรีมหาโพธิ์มาปลูกที่อนุราธปุยะด้วย

    ในขณะที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นที่ลังกา แต่ในชมพูทวีปหลังสิ้นราชวงศ์โมริยะในราวพ.ศ. ๒๙๘ พราหมณ์ปุษยมิตรได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์เริ่มราชวงศ์ใหม่ กษัตริย์องค์นี้เป็นผู้ล้มเลิกอิสรภาพทางการนับถือศาสนาของประชาชน โดยมุ่งหมายที่จะรื้อฟื้นศาสนาพราหมณ์ขึ้นมาอีกครั้ง และกำจัดพระพุทธศาสนาด้วยความรุนแรง

    เพียง ๓๐๐ ปีหลังพุทธปรินิพพาน ศาสนาพุทธในอินเดียก็เริ่มคลอนแคลน


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  7. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ถ้ำอชันตา วัดถ้ำในพระพุทธศาสนา

    เมื่อแคว้นมคธไม่ได้ยิ่งใหญ่เหมือนเดิม ไม่ได้สนับสนุนพระพุทธศาสนาอีกต่อไป บรรดาพระภิกษุสงฆ์จำนวนไม่น้อยจึงพากันอพยพจากแคว้นมคธลงไปอยู่ทางใต้ฝั่งตะวันตก บริเวณที่เรียกว่า ที่ราบสูงเดคคาน ในรัฐมหาราษฎร์ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินสลับซับซ้อน

    เหล่าสงฆ์พากันเข้ามาสร้างสถานที่เพื่อการปลีกวิเวก หลบซ่อนอยู่ในซอกภูผาเหล่านี้ คณะสงฆ์นิกายเถรวาทพากันสร้างวัดถ้ำด้วยการสลักหินเข้าไปในหน้าผาเป็นระยะ สร้างแล้วหยุดไป ต่อมาสงฆ์ในนิกายมหายานก็พากันเข้ามาสร้างเพิ่มเติมจนมีมากกว่า ๓๐ ถ้ำ ทั้งใหญ่ และเล็กต่อเนื่องกันไปตามความยาวของเชิงเขารูปพระจันทร์เสี้ยว เรียงหมายเลขจากขวาไปซ้าย

    ถ้ำอชันตากลายเป็นสัญลักษณ์การมีอยู่ที่สำคัญของศาสนาพุทธในอินเดีย เป็นสิ่งที่แสดงว่า ศรัทธาแห่งเนื้อแท้ของศาสนาไม่อาจถูกทำลายลงได้ เป็นการตอบคำถามได้ว่า ถึงแม้ร่วงโรยในที่แห่งหนึ่งแต่ก็สามารถไปรุ่งเรืองยังที่หนึ่งที่ใดได้เสมอ ในขณะนั้น สานุศิษย์ของพระพุทธองค์ผู้ร่วมมือกันสร้างอาณาจักรแห่งวัดถ้ำให้รุ่งเรืองเป็นเวลาต่อเนื่องกันนับพันปี ท่านเหล่านั้นอาจมีญาณทราบได้ว่า ในอนาคตอีกไม่ไกล พระพุทธศาสนาก็จะเกิดรุ่งเรืองขึ้นอีกในดินแดนที่ไกลออกไปกว่านั้นที่อยู่ทางทิศตะวันออกฉียงใต้ของชมพูทวีป



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  8. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    แรกมีพระพุทธรูป

    ถึงแม้จะมีรื่องเล่าถึงตำนานการสร้างรูปเคารพแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระพุทธรูปว่า มีมาตั้งแต่ในช่วงพุทธกาล แต่ที่สุดแล้ว จากหลักฐานที่มีคือ พระพุทธรูปแรกสุดมีขึ้นในยุคคันธาระราว ๕๐๐ ปีหลังพุทธกาลเป็นพระพุทธรูปคล้ายคนจริงที่สลักขึ้นโดยช่างชาวกรีกในอินเดียที่หันมานับถือศาสนาพุทธ มีรูปลักษณ์กลายไปทางฝรั่ง ดวงพระพักตร์กลม พระนาสิกโด่ง บางรูปมีพระมัสสุ(หนวด) พระเกศาเกล้าเป็นเมาลี พระพุทธรูปเหล่านี้ขุดพบได้ทั่วในอินเดียตอนเหนือ และดินแดนทีเป็นอัฟกานิสถานในปัจจุบัน

    ต่อมาไม่นาน จึงเกิดพุทธศิลป์แบบอินเดียแท้ขึ้น มีศูนย์กลางของงานช่างอยู่ที่เมืองมถุรา และเมืองอมราวดี ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของรัฐอันธระในอินเดียใต้ ปกครองโดยราชวงศ์กษัตริย์สาตวาหนะ

    ในพุทธศตวรรษที่ ๗ ๘ มีการสร้างพระสถูปใหญ่ๆ และพระพุทธรูปแบบอินเดียบริสุทธิ์ พระเกศาขมวดเป็นก้นหอย มีลักษณะเหมือนมนุษย์ แต่พระพักตร์ไม่เหมือนเทวรูปกรีกอย่างคันธาระ หลังจากนั้น จึงมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นอย่างแพร่หลาย และมีรูปแบบต่างออกไปตามคตินิยมของแต่ละยุคสมัย

    พุทธศตวรรษที่ ๗ พระพุทธศาสนารุ่งเรืองอีกครั้งโดยกษัตริย์กนิษกะ
    พ.ศ. ๖๒๑ - พ.ศ. ๖๔๔ พระเจ้ากนิษกะได้ครอบครองแคว้นคันธาระลุ่มแม่น้ำสินธุ และลุ่มแม่น้ำคงคาได้ทั้งหมด กษัตริย์พระองค์นี้เดิมนับถือศาสนาอื่น แต่ได้หันมาเลื่อมใสศาสนาพุทธอย่างจริงจัง และเป็นองค์อุปถัมภกศาสนาองค์สำคัญทรงอุปถัมภ์การสังคายนาของคณะสงฆ์นิกายสรวาสติวาท ที่นครชลันทร แคว้นกัศมีร์ โปรดให้จารึกพระไตรปิฎกไว้ในแผ่นทองแดงแล้วบรรจุลงสถูปเป็นต้นฉบับหลวง เผยแผ่ไปทั่วอนุทวีป และไปถึงเมืองจีนผ่านเส้นทางสายไหม นอกจากนี้ยังได้ทรงสร้างพุทธวิหารเอาไว้หลายแห่ง

    ในเวลาต่อมา อนุทวีปอินเดียต้องเผชิญกับการรุกรานของพวกฮั่นที่บุกเข้ามาทำลายบ้านเมือง ก่อนที่ศาสนาฮินดูจะกลืนศาสนาอื่นในอนุทวีปจนหมดสิ้น และก่อนจะพินาศในยุคที่ทัพมุสลิมบุกเข้ามา อินเดียมีศาสนาหลักคือ ศาสนาฮินดู ส่วนศาสนาพุทธได้สูญหายไปแต่กลับไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนอื่นๆอย่างมากมาย



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  9. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    การหลั่งไหลของพระพุทธศาสนาสู่ดินแดนอื่น

    จีนรับพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศราว พ.ศ. ๖๐๘ โดยพระจักรพรรดิมิ่งตี่ แห่งราชวงศ์ฮั่น ทรงส่งคณะฑูต ๑๘ คนมาสืบพระศาสนาที่ประเทศอินเดีย ณ เมืองโขตาน หลังจากนั้น ๒ ปี คณะฑูตกลับไปพร้อมด้วยพระภิกษุ ๒ รูปคือ พระกาศยปะมาตังคะ และพระธรรมรักษะ พร้อมด้วยพระธรรมคัมภีร์จำนวนหนึ่ง พระภิกษุ ๒ รูปนั้นเป็นผู้แปลพระคัมภีร์สู่ภาษาจีน

    เวลาต่อมา พ.ศ. ๙๔๕ หลวงจีนฟาเหียน(Fa-hsien) เดินทางบกจากเมืองจีน ผ่านทางเอเชียกลางมาถึงชมพูทวีป เข้าทางแคว้นคันธารราษฎร์(ประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) หลวงจีนฟาเหียนต้องการจะมาสืบหาคัมภีร์พระไตรปิฎกเพื่อนำเอาไปประเทศจีน เมื่อถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว พักอาศัยศึกษาพระธรรมวินัยอยู่หลายปี รวบรวม และคัดลอกคัมภีร์แล้วก็โดยสารเรือไปอยู่ที่ลังกา ๒ ปี หลังจากนั้นไปแวะที่เกาะชวา แล้วจึงเดินทางกลับประเทศจีน รวมเวลาตั้งแต่ออกจากประเทศจีนจนกลับไปถึงราว ๑๔ ปี ต่อมาหลวงจีนฟาเหียนได้แปลพระคัมภีร์ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน รวมทั้งเขียนบันทึกการเดินทางที่กลายเป็นหลักฐานในประวัติศาสตร์สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ให้ความรู้ในเรื่องสภาพพระพุทธศาสนาในอินเดียยุคที่รุ่งเรือง เช่น วัดวาอาราม ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และศาสนบุคคล ก่อนที่ทุกสิ่งจะค่อยๆหายไปจากอินเดีย

    พ.ศ. ๑๓๔๕ – พ.ศ. ๑๓๙๓ อาณาจักรขอมสมัยเมืองพระนครได้อุบัติขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๒๐ ถือเป็นการเริ่มต้นยุคทองของอาณาจักรขอม เมืองพระนครกลายเป็นแหล่งที่ตั้งของอารยธรรมยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในโลกซึ่งบูรณาการเอาอารยธรรมอินเดียมาสร้างสรรค์ความเจริญได้อย่างยิ่งใหญ่

    มหาปราสาทนครวัด ปราสาทหินใหญ่ที่สุดในโลกสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖ – พ.ศ. ๑๖๙๕) เป็นสัญลักษณ์แห่งลัทธิ เทวราชา (ยกย่องกษัตริย์เสมอดั่งเทพเจ้า) ตามคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ฮินดูที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย

    เมื่อเมืองพระนครสูญสลายไปใน พ.ศ. ๑๗๒๐ จากการรุกรานของกองทัพจามปาซึ่งเป็นรัฐเพื่อนบ้าน เมืองพระนครหลวง(นครธม หรือ Angkor Thom) คือเมืองหลวงแห่งใหม่ที่ถูกตั้งขึ้นทางตอนเหนือของเมืองพระนครเดิมโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ราว พ.ศ. ๑๗๖๓) และมีปราสาทบายนเป็นศูนย์กลางอาณาจักร ปราสาทบายนเป็นพุทธสถานที่สร้างจากการผสานแนวคิดเรื่องเทวราชาเข้ากับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก

    ในระหว่างระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันกับการสถาปนาอาณาจักรขอมก็เกิดอาณาจักรพุกาม ราชธานีแห่งแรกของพม่า และนับเป็นราชธานีที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นศูนย์กลางแห่งความรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนายาวนานกว่า ๒๔๓ ปี(พ.ศ. ๑๕๘๗ – พ.ศ. ๑๘๓๐)

    พระเจ้าอโนรธา หรืออนิรุทธ์ ปฐมกัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม(พ.ศ. ๑๕๘๗ – พ.ศ. ๑๖๒๐) ทรงเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ ทรงขยายดินแดนออกไปทั้งทางเหนือ และใต้ หนึ่งในดินแดนที่มีการยกทัพไปตีคือ อาณาจักรสะเทิมของชาวมอญ และทรงรับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากมอญเข้ามาสู่แผ่นดินพุกาม และสถาปนาให้เป็น
    ศาสนาประจำราชอาณาจักรนับแต่นั้น

    ตลอดช่วงเวลาที่พุกามเป็นราชธานีมีการสร้างเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชามากถึง ๔,๔๔๖ องค์ กระจัดกระจายอยู่บนพื้นที่กว่า ๑๐๐ ตารางกิโลเมตร ดินแดนแห่งนี้จึงได้รับการขนานนามว่า ดินแดนเจดีย์สี่พันองค์ หม่องทินอ่อง นักประวัติศาสตร์ชาวพม่ากล่าวไว้ว่า ศาสนสถานจำนวนมากที่ปรากฎในพุกามนั้นไม่ได้เกณฑ์แรงงานคนมาสร้าง แต่สร้างขึ้นจากศรัทธาอันบริสุทธิ์ที่ผู้คนมีต่อศาสนาพุทธ

    สำหรับดินแดนที่ปัจจุบันคือประเทศไทยนั้น เคยเป็นที่ตั้งบ้านเมือง และรัฐของผู้คนในกลุ่มชาตพันธุ์ต่างๆมาก่อน อาจกล่าวถึงชื่อ ทวารวดี(ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๖) และละโว้(พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๘) ได้อย่างถูกต้อง เพราะมีหลักฐานของการเป็นชุมชนอย่างค่อนข้างแน่นหนา เช่น ศิลาจารึก เหรียญจารึก รัฐโบราณเหล่านี้มีการสร้างสรรค์อารยธรรมภายใน และมีการรับ และแลกเปลี่ยนอารยธรรมจากภายนอก เช่น การรับพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู การติดต่อค้าขายกับพ่อค้าต่างแดน เป็นต้น

    ชื่อทวารวดี เป็นคำสันสกฤต แผลงมาจากคำว่า ทวารกา(Dvarka) อันเป็นนครแห่งพระกฤษณะ วีรกษัตริย์ในคัมภีร์มหาภารตยุทธ มีอ้างอยู่ในบันทึกของภิกษุจีนเหี้ยนจัง(พระถังซัมจั๋ง) ซึ่งเคยเดินทางมายังชมพูทวีปในสมัยหลังจากหลวงจีนฟาเหียน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ในบันทึกเรียกดินแดนนี้ว่า โถโลโปติ เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร(ก่อนเป็นพม่า) และอาณาจักรอิศานปุระ(กัมพูชา)จึงอาจระบุตามยุคสมัยได้ว่า ศาสนาของชาวทวารวดีควรมีผสมกันระหว่างพระพุทธศาสนาในลัทธิเถรวาท ควบคู่ไปกับการนับถือศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดู ทั้งลัมธิไศวนิกาย และลัทธิไวษณพนิกายโดยศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาฮินดูจะแพร่หลายในหมู่ชนชั้นปกครอง ในระยะต่อมา เมื่ออาณาจักรขอมเรืองอำนาจ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมทวารวดีก็ถูกครอบงำโดยขอม

    พระพุทธศาสนาต้องเดินทางผ่านกาลเวลาจากหลังพุทธกาลมาได้ถึง ๑,๗๘๐ ปี จึงเริ่มต้นมีชุมชนของคนไทยขึ้นในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน และเรื่องราวต่อจากนี้ไป คือเองราวของการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงในดินแดนแห่งนี้ อันจะกลายเป็นความรุ่งเรือง และยั่งยืนอย่างที่สุดแห่งหนึ่งในโลก



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  10. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    การประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปในดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี

    กำเนิด และประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกามีความเกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับกำเนิดพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ในที่นี้จะกล่าวถึงการประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปในดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดีโดยย่อเท่านั้น

    ข้อมูลนี้เป็นรายงานวิจัยโดยผู้วิจัย ผู้ช่วยวิจัย ที่ปรึกษาชำนาญการด้านต่างๆทั้งโบราณคดี ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ รวม ๒๖ ท่าน พิมพ์ครั้งแรก เดือน มิถุนายน พศ. ๒๕๕๓ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ถือเป็นข้อมูลที่ได้ผ่านกาลเวลาจากการสำรวจล่าสุดระยะเวลาห่างจากนักสำรวจในยุคแรกๆร่วม ๕๐ ปี

    ความมุ่งหมายของรายงานวิจัย คือมุ่งศึกษาพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปที่เข้ามาประดิษฐานในดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี โดยใช้ศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะภาษา และจารึก การศึกษาวิเคราะห์ตีความ

    ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ดินแดนในประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี พระพุทธศาสนาจากศรีลังกาได้เผยแผ่เข้ามาแล้ว ดังปรากฎหลักฐานประวัติศาสตร์ทั้งที่เป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษร และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐานดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงร่องรอยคติความเชื่อในการสร้างพระพุทธรูปตามอิริยาบถ และคติการบูชารอยพระพุทธบาทจากลังกาทวีปที่ได้แพร่เข้ามายังดินแดนประเทศไทย

    หลักฐานลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับศรีลังกาได้แก่ จารึก ๕ หลัก หลักแรก จารึกถ้ำนารายณ์ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้คนในดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดีมีการติดต่อสัมพันธ์กับศรีลังกา และรู้จักเมืองอนุราธปุระเมืองหลวง และศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของศรีลังกาเป็นอย่างดีเห็นได้จากชื่ออนุราธปุระในจารึกหลักนี้ อาจจะแสดงว่า พระภิกษุสงฆ์ และชาวพุทธเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐทวารวดี และช่วยกันสร้างปูชนียวัตถุทางพระพุทธศาสนา

    จารึกหลักที่ ๒ จารึกเนินสระบัว จังหวัดปราจีนบุรี ข้อความตอนต้นในจารึกเป็นส่วนหนึ่งในเตลกฏาหคาถา หรือคาถากระทะน้ำมันที่แต่งขึ้นมาในลังกาทวีป เป็นประจักษ์ยืนยันว่า ผู้คนในสมัยวัฒนธรรมทวารวดีรู้จักคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่แต่งขึ้นในลังกาทวีปเป็นอย่างดี

    จารึกหลักที่ ๓๕ ได้แก่จารึกบนธรรมจักรศิลา จังหวัดนครปฐม จารึกฐานรองพระธรรมจักร จังหวัดนครปฐม และจารึกซับจำปา ๑ จังหวัดลพบุรี ข้อความในจารึกบางตอนอยูในคัมภีร์สารัตถสมุจจัย และในปฐมสมโพธิกถา คัมภีร์ทั้ง ๒ สัมพันธ์กับลังกาทวีป เป็นร่องรอยสำคัญที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป และพระพุทธศาสนาในดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดีที่มีมายาวนานกว่า ๑,๐๐๐ ปีแล้ว

    หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่น่าจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับศรีลังกาคือ ประติมากรรมเนื่องในพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูปแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ ใบเสมาสลักภาพพิมพาพิลาป ใบเสมาตอนอนิมิสเจดีย์ และชิ้นส่วนประติมากรรมจำหลักลายนูนต่ำรูปหม้อปูรณฆฏะ เป็นต้น ซึ่งโบราณวัตถุดังกล่าวมีลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม และลักษณะทางประติมากรรมที่คล้ายคลึงกับศิลปะแบบอนุราธปุระของศรีลังกามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๙ ๑๖ หรือเรื่องราวที่แสดงภาพเล่าเรื่องบนใบเสมาตอนพิมพพาพิลาปเป็นเรื่องราวที่มีเฉพาะในอรรถกถาที่แต่งขึ้นในลังกาทวีปราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐

    คติการสร้างพระพุทธรูปตามอิริยาบถ พบว่า ในสมัยวัฒนธรรมทวารวดีมีการสร้างพระพุทธไสยาสน์แสดงอิริยาบถประทับไสยาสน์หันพระเศียรไปทางทิศใต้อยู่ในคันธกุฏีซึ่งเป็นจริยาวัตรประจำวันของพระพุทธเจ้าที่บรรยายไว้ในพระกสิสูตรขึ้นเป็นครั้งแรกในดินแดนประเทศไทย คือพระพุทธไสยาสน์ที่เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาเป็นคติเดียวกันกับการสร้างพระพุทธไสยาสน์เพื่อแสดงอิริยาบถในลังกาทวีป ส่วนคติการบูชารอยพระพุทธบาทเป็นคติความเชื่อเรื่องการประทับรอยพระบาทของพระพุทธเจ้ามีเรื่องราวอธิบายไว้ในอรรถกถาของปุณโณวาทสูตร ซึ่งน่าจะรับมาจากลังกาทวีปดังปรากฏหลักฐานคือ รอยพระพุทธบาทคู่ที่โบราณสถานสระมรกต จังหวัดปราจีนบุรี เป็นรอยพระพุทธบาทคู่ที่สลักลึกลงไปบนพื้นศิลาแลงธรรมชาติ มีการประดับลวดลายมงคลในลักษณะเดียวกันกับศิลปะศรีลังกาแบบอนุราธปุระ และศิลปะอินเดียแบบอมราวดี

    งานวิจัยนี้เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากประเทศศรีลังกามายังดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดีกระจ่างชัดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการเคลื่อนไหวของผู้คนในดินแดนสุวรรณภูมิที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ ตลอดจนการเข้ามาของพระพุทธศาสนาจากอินเดีย และศรีลังกา ผู้คนในดินแดนสุวรรณภูมิได้เลือกรับ และปรับเปลี่ยนจนมีเป็นพุทธศาสนามีลักษณะเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น ก่อนที่จะได้รับการปรับเปลี่ยนให้มีรูปแบบเดียวกันตามรัฐชาติที่เริ่มถือกำเนิดขึ้นในราวรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในอันที่จะเข้าใจประวัติศาสตร์ความเป็นมาของผู้คนที่หลากหลาย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆอย่างยั่งยืนต่อไป

    แหล่งที่มา : “บทคัดย่อของรายงานผลการวิจัยเรื่องการประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปในดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  11. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระพุทธศาสนา และศิลปกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาสมัยวัฒนธรรมทวารวดี

    ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันเปิดกว้างต่อการติดต่อ และรับวัฒนธรรมภายนอก มีการติดต่อกับวัฒนธรรมภายนอกทุกสมัย เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของผืนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านตะวันออกเปิดสู่ทะเลจีนใต้ ด้านตะวันตกออกสู่มหาสมุทรอินเดีย จึงอยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างจีน กับอินเดีย รวมทั้งการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปได้เข้ามาประดิษฐานยังดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเข้ามาพร้อมกับการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า

    จากหลักฐานทางโบราณคดี พบว่า ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เมื่อหลายหมื่นปีมาแล้ว และมีพัฒนาการต่อเนื่องมาจนกระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ ๑ เมื่อการติดต่อค้าขายระหว่างจีน และอินเดียแพร่หลายขึ้น ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้มีการติดต่อค้าขายกับผู้คนจากภายนอกต่างวัฒนธรรมมากขึ้น ดังปรากฎในมหากาพย์รามยณะ เอกสารโบราณของอินเดียซึ่งบันทึกเรื่องราวในช่วง ๓๐๐ ปีก่อน ค.ศ. และต่อเติมในปี ค.ศ. ๒๐๐ กล่าวถึงพ่อค้าอินเดียเดินทางเข้ามาค้าขายในสุวรรณทวีปหรือสุวรรณภูมิ ซึ่งน่าจะหมายถึงพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน

    ในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ๘ การติดต่อระหว่างอินเดีย และดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย แต่อารยธรรมอินเดียที่แพร่เข้ามา และก่อให้เกิดผลกับการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริงอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๙ ๑๐ เป็นต้นมา ซึ่งอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ถึงสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุที่พบตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ เช่น โบราณวัตถุประเภทลูกปัดหินคาร์นีเลียนสลักอักษรพราหมี ภาษาสันสกฤต ที่พบจากแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ได้รับการกำหนดอายุตามอักขรวิทยาว่า อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๕ ๑๑ หรือที่แหล่งโบราณคดี ควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมากเช่นกัน นักวิชาการได้สันนิษฐานว่า ที่นี่คงเป็นเมืองท่าสำคัญมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ๘ ลูกปัดแก้ว และหิน ชิ้นส่วนภาชนะแก้วโรมัน และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเปอร์เซียที่อหล่งโบราณคดีทุ่งตึก จังหวัดพังงา สำหรับโบราณวัตถุที่พบ และแสดงถึงการติดต่อกับทางอินเดียอย่างชัดเจนมีอยู่มากเช่น เหรียญอินเดียรูปวัว และเรือ หรือตราประทับสลักจากหิน เป็นต้น ตราประทับบางชิ้นปรากฎอักษรที่กำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ ๑๑ ส่วนทางภาคกลางของประเทศ มีตัวอย่างโบราณวัตถุที่ด้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี เช่น ลูกปัด หรือจี้รูปสัตว์แกะสลักด้วยหิน ตลอดจนภาชนะสำริดที่ใช้ในพิธีกรรม แสดงถึงการติดต่อระหว่างอินเดีย และดินแดนของไทยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ สำคัญที่สุดคือได้นำระบบความเชื่อทั้งศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ ทำให้ดินแดนแถบนี้เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในยุคเริ่มแรกที่รู้จักกันในชื่อทวารวดี

    ผู้คนต่างชาติต่างวัฒนธรรมที่เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมากมาย และหลากหลายไม่เฉพาะชาวอินเดีย หรือวัฒนธรรมอินเดีย เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่ค้นพบต่างก็แสดงให้เห็นว่า ภูมิภาคแห่งนี้มีการติดต่อค้าขายกับผู้คนภูมิภาคต่างๆทั่วโลกทั้งโรมัน เปอร์ซีย อาหรับ และจีน เป็นต้น รวมทั้งลังกาทวีปดังได้พบร่องรอย หรือหลักฐานบางอย่างแสดงให้เห็นว่า ในช่วงสมัยทวารวดี พระพุทธศาสนาจากศรีลังกาได้เข้ามาเผยแผ่ด้วยเช่นกัน

    แหล่งที่มา : ”รายงานผลการวิจัยเรื่องการประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปในดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  12. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    พระพุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิก่อนพระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณฑูตเข้ามาเผยแผ่
    <O:p</O:p
    ข้อมูลเรื่องพระพุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิก่อนพระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณฑูตเข้ามาเผยแผ่อยู่ในหนังสือการฝังรากฐานพระพุทธศาสนาลงที่บ้านคูบัวอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แต่ได้รับการจดสงวนลิขสิทธิ์เอาไว้ คณะทำงานจึงเพียงสรุปความเข้าใจในเบื้องต้น หากท่านผู้สนใจท่านใดมีความสนใจเป็นทุนเดิม การค้นคว้าเอกสารอ้างอิงฉบับนี้เพิ่มเติมในภายหลังน่าจะเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจเรื่องการประดิษฐานพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น...
    <O:p</O:p
    หลังพุทธกาลล่วง ๒๗๐ ปี พระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณฑูต ๒ รูปคือ พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ สมัยนั้นมีเส้นทางเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิอยู่ ๓ เส้นทางคือ
    <O:p</O:p
    · เส้นทางเรือจากอินเดียใต้ มาขึ้นเมืองท่าตะโกลา(ตะกั่วป่า) มาตามเส้นเขตแดนไทยอินเดียภูเขาถนนธงไชย ภูเขาตะนาวศรี<O:p</O:p
    · เข้าทางกาญจนบุรี<O:p</O:p
    · เข้าทางจังหวัดตากปัจจุบัน
    <O:p</O:p
    คุณพร้อมให้ความเห็นว่า ดินแดนสุวรรณภูมิมีหลายศาสนาลัทธิเข้ามาเผยแพร่อยู่ก่อนรวมทั้งพระพุทธศาสนาที่พระอรหันตสาวกเคยเดินทางมาเผยแผ่บ้างแล้ว ประกอบกับมีชาวกลิงคราฐที่อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอาศัยอยู่เมื่อคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชยกทัพตีแคว้นกลิงคราฐ และได้ทรงเปลี่ยนรัฐประศาสโนบายจากการรบมาเป็นการปกครองโดยเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอาศัยหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวสุวรรณภูมิมีความนับถือศาสนาพุทธอยู่ก่อน เพียงแต่ยังไม่มั่นคง มีหลายเชื้อชาติในดินแดนนี้ทั้งที่อพยพมาเพื่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า อารยธรรม วัฒนธรรมถูกถ่ายทอดทางช่องทางนี้ มีการขุดค้นพบสถูปมากมายบริเวณนี้ ทั้งโบราณวัตถุก่อนสมัยทวารวดี แต่ไม่สามารถเทียบกับโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบที่เมืองอู่ทองเก่า สุพรรณบุรี หรือที่นครปฐม เนื่องจากขีดจำกัดของความเจริญทางด้านพระพุทธศาสนาของสุวรรณภูมิ เช่นไม่สามารถแกะสลัก หรือนำสิ่งสำคัญทางพระพุทธศาสนาจากอินเดียมาได้ จึงใช้วัสดุเท่าที่จะหาได้ในสมัยนั้น เช่นดินปั้นรูปสถูปโดยใช้ดินเผาสร้างองค์สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเท่าที่สามารถติดตัวมาในการเดินทางครั้งแรก เพื่อเป็นใบเบิกทางให้พระพุทธศาสนาได้เข้ามาประดิษฐานในกาลต่อมา สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชการสร้างสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นสิ่งสำคัญมาก และโบราณวัตถุอื่น เช่น เสมาธรรมจักร กวางหิน ต้นโพธิ์ สถูปดินเผา
    <O:p</O:p
    แหล่งที่มา : การฝังรากฐานพระพุทธศาสนาลงที่บ้านคูบัวอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตอนที่ ๒ หน้าที่ ๑๓๐



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  13. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    คณะทำงานบรรพชนทวาได้ลงเรื่อง จารึกอโศก หมวดนี้มีความยาวพอสมควร และน่าสนใจมาก เป็นการค้นคว้าของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (..ปยุตโต) ว่าด้วยการศึกษาเรื่องราวของพระพุทธศาสนาผ่านธรรมจักรบนเศียร ๔ สิงห์ และให้บังเอิญไปพบหนังสือเล่มหนึ่งมา พิจารณาแล้วน่าจะทำให้เรื่องราวของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามีความสมบูรณ์ยิ่งๆขึ้น หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า "พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างสัญจิเจดีย์เป็นพุทธบูชา" เป็นสำนวนเก่าบันทึกเรื่องราวครั้งสมัยหลังพุทธกาลเอาไว้ ซึ่งเป็นผลงานการค้นคว้าของไบรอันฮัพตัน ฮอคซ์สัน อายุหนังสือ ๖๑ ปีล่วงมาแล้ว(ณ ปี พ..๒๕๕๕) เดิมเป็นภาษาสันสกฤตอยู่ในห้องสมุดพุทธาราม จังหวัดเนปาล ประเทศอินเดีย ได้ค้นพบเอกสารชุดนี้เมื่อปี พ.. ๑๘๒๐-๑๘๔๓

    สัญจิเจดีย์ และธรรมจักรบนเศียร ๔ สิงห์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร คณะทำงานบรรพชนทวามีความเชื่อมั่นว่า เอกสารชุดนี้หาอ่านได้ยาก ยังไม่มีผู้นำมาเผยแพร่อย่างแน่นอน ลองติดตามครับ..

    ส่วนจารึกอโศกเป็นความเมตตาของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (..ปยุตโต) ที่อนุญาตให้เผยแผ่ได้แบบไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ผู้สนใจก็สามารถขอรับต้นแบบหนังสือได้"ฟรี" ที่วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม ขออนุโมทนากับพระคุณเจ้าด้วยครับ...

    พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างสัญจิเจดีย์เป็นพุทธบูชา
    -คำชี้แจงเรื่องพระเจ้าอโศก
    -พระเจ้าอโศกเมื่อครั้งปฐมวัย
    -ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
    -ทรงบำรุงพระพุทธศาสนา
    -ทรงไต่สวนเรื่องพระเนตรกับเจ้าชายกุณาละ
    -เจ้าชายกุณาละถูกควักพระเนตร
    -ทรงทรมานเจ้าชายวีตโศกราชอนุชา
    -เจ้าชายพระวีตโศกทำปาฏิหาริย์
    -ทิวงคต

    นิเทศ จารึกอโศก(ธรรมจักรบนเศียน ๔ สิงห์)

    อังกฤษรื้ออิฐหินเปิดทางให้ย้อนไปดูอดีตอันตระการของชมพูทวีป

    พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นเมื่อ ๒๖๐๐ ปีมาแล้ว(พ.ศ. ๒๕๕๕+พุทธกิจ ๔๕ พรรษา) ในชมพูทวีป คือดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย รวมทั้งบังคลาเทศ จนถึงปากีสถาน และอัฟกานิสถานในปัจจุบัน แล้วได้รุ่งเรือง และเจริญแพร่หลายออกไปในนานาประเทศทั่วทวีปเอเชีย จนมาบัดนี้ กำลังแพร่ขยายไกลออกไปในซีกโลกตะวันตก

    แต่ในชมพูทวีปเอง เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบมาได้ประมาณ ๑,๗๐๐ ปี ครั้นถึงช่วง พ.ศ.๑๗๔๑-๑๗๕๐(ค.ศ.1198-1207) กองทัพมุสลิมเตอร์กได้บุกเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือ หลังจากทำสงครามชนะมาตามลำดับ ก็ได้รุกรบเข้ามาแถบแคว้นพิหาร และเบงกอล แล้วฆ่าฟันผู้คนที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา สังหารพระภิกษุสงฆ์ เผาวัด ทำลายสถานที่สำคัญ เช่น มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาทุกแห่ง และกวาดขนเอาทรัพย์สินไปหมดสิ้น ทำให้พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากชมพูทวีป โดยถือว่าการเกิดขึ้นของรัฐสุลต่านแห่งเดลีใน พ.ศ. ๑๗๔๙ เป็นจุดกำหนด และเรื่องราวของพระพุทธศาสนา ที่เจริญรุ่งเรืองในอินเดียมา ๑๗ ศตวรรษครึ่ง ก็ถึงกาลอวสานแต่บัดนั้น

    เมื่อเวลาผ่านมา เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็เลือนหายไปจากความทรงจำของขาวชมพูทวีป และซากปูชนียสถานโบราณวัตถุทั้งหลายที่มากมายทั่วทวีป ก็ถูกทับถมจมลงใต้ผืนแผ่นดินหายไปจากสายตาของประชาชน ไม่เหลือร่องรอยจนคนอินเดียไม่รู้จักพระพุทธศาสนา ไม่เคยได้ยินพระนามอโศกธรรมราชา ในขณะที่พระพุทธศาสนานั้นไปรุ่งเรือง และพระนามศรีธรรมาโศกราชเป็นที่เล่าขานสืบกันมาไม่ขาดสายในประเทศที่ห่างไกลจากอินเดียออกไป

    กาลล่วงมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๐(ค.ศ. 1757) อินเดียเริ่มเสียดินแดนตกไปอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ ตั้งแต่แคว้นเบงกอลมาตามลำดับ จนอังกฤษร่วมปกครองประเทศในปี พ.ศ. ๒๓๑๗(ค.ศ. 1774) ในที่สุด อังกฤษก็เนรเทศกษัตริย์โมกุลองค์สุดท้ายไปยังเมืองร่างกุ้ง ล้มราชวงศ์มุข่าลลง แล้วครอบครองอินเดียเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๑(ค.ศ. 1858) กับทั้งต่อมาก็ได้รวมพม่าเข้ามาเป็นแคว้นหนึ่งในประเทศอินเดียของอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๔๒๙(ค.ศ.1886)

    ระยะเวลาเกือบ ๒ ศตวรรษแห่งการปกครองของอังกฤษได้กลายเป็นยุคแห่งการเปิดทางย้อนกลับไปชมอดีตอันรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของชมพูทวีป

    ทั้งนี้ จะด้วยเหตุที่ชนชาวอังกฤษผู้มาปกครองนั้นล้วนเป็นคนมีการศึกษาสูง มีตวามใฝ่รู้ที่ฝังลึกสนิทแน่นมาในภูมิหลังของชาติ หรือด้วยความเป็นนักปกครองผู้ฉลาดที่พึงรู้ทันเท่าเข้าใจถิ่นแดน และประชากรที่ตนไปปกครอง หรือเพราะการที่จะเข้าธำรงรักษาอำนาจความยิ่งใหญ่ไว้ได้จะต้องมีศักดิ์ศรีแห่งการทรงภูมิปัญญาที่เหนือกว่า หรือแม้เพียงเพื่อจะรักษาเกียรติภูมิแห่งปรีชาญาณของความเป็นชนชาติที่มีอารยธรรมสูงใหญ่นำหน้า หรือด้วยเหตุที่จะนำความรู้ประวัติศาสตร์ด้านฐุรพทิศที่เชื่อมตะวันตก-ตะวันออกโยงถึงกันไปเสริมความรู้ประวัติศาสตร์แห่งอารยธรรมตะวันตกของตน และขยายพรมแดนแห่งวิชาประวัติศาสตร์โลก เช่น เรื่องการเดินทัพของอเลกซานเดอร์มหาราชมาทางอาเซียกลางอันให้เกิดอาณาจักรกรีกแห่งโยนก เป็นต้น

    จะด้วยข้อใดในเหตุผลที่กล่าวมา หรือด้วยเหตุผลทั้งหมดนั้น หรือหลายข้อรวมกันก็ตาม ราชการของจักรภพอังกฤษได้สนับสนุน และรับเอางานสำรวจ และขุดค้นทางโบราณคดีอินเดียเป็นกิจการของรัฐ เริ่มแต่วอร์เรน ฮาสติงส์(Warren Hastings) ผู้สำเร็จราชการของอังกฤษ ได้ยอมรับเข้าโอบอุ้มสนับสนุนเอเซียสมาคมแห่งเบงกอล(Asiatic Society of Bengal) ที่ตั้งขึ้นโดยเซอร์ วิลเลียม โจนส์(Sir William Jones) ใน พ.ศ. ๒๓๒๗(ค.ศ.1784) ตลอดจนอุปราชแห่งอินเดียคนแรกคือ ลอร์ดแคนนิ่ง(Lord Canning) ได้ตั้งส่วนราชการโบราณคดีขึ้น(Archaeological Department) ในปี พ.ศ. ๒๔๐๓(ค.ศ. 1860) แล้วงานโบราณคดีในอินเดียก็ได้ผูกพันมั่นสนิทอยู่ในนโยบายของรัฐบาลอังกฤษตลอดมาจวบจนอินเดียได้เอกราชในปี พ.ศ. ๒๔๙๐(ค.ศ. 1947)

    ข้อความที่ปรากฎในวารสารเอเซียสมาคมแห่งเบงกอลปี พ.ศ. ๒๔๐๕ (Journal of the Asiatic Society of Bengal for 1862) ต่อไปนี้ คงบอกถึงความนึกคิดของรัฐบาลอังกฤษได้บ้างอย่างน้อยก็ส่วนหนึ่ง
    ในฐานะเป็นเจ้าอำนาจผู้ปกครองที่มีปรีชาญาณ มันจะไม่เป็นเกียรติเป็นศรีแก่เราแต่อย่างใดเลย ถ้าเรายังปล่อยให้แหล่งงานสืบค้น ดังเช่น ซากนครหลวงเก่าของชาวพุทธในรัฐพิหาร(คงหมายถึงเมืองปาตลีบุตร หรือปัตนะ(Patna) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราช)
    * ถิ่นที่ราบรอบกรุงเดลี อันพรั่งพรึ่บไปด้วยสถานที่ปรักหักพังหนาแน่นยิ่งกว่าแม้แต่แคมปานย่าแห่งกรุงโรม และที่อื่นๆอีกเป็นอันมาก ไม่ได้รับการสำรวจตรวจตราเพิ่มขึ้นให้มากกว่าเท่าที่ได้ทำกันมา

    แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ความสำเร็จที่แท้ของงานสำรวจ และขุดค้นทั้งหมดนั้นเกิดจากฉันทะ และความเพียรพยายามอย่างอุทิศชีวิตจิตใจของบุคคลบางท่านที่มีใจรัก และใฝ่รู้อย่างแท้จริง

    บุคคลที่ควรกล่าวถึงเป็นพิเศษ เริ่มด้วยเจมส์ ปรินเสป(James Prinsep. ค.ศ. 1799-1840) เลขานุการของเอเซียสมาคมแห่งเบงกอล ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่เพียนพยายามอ่านตัวอักษรพราหมี และอักษรขโรษฐี จนอ่านศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชได้สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๓๘๐(พ.ศ. 1837)

    แล้วก็มาถึงบุคคลที่ถือได้ว่าสำคัญที่สุดในการรื้อฟื้นพุทธสถานคือ เซอร์ อเลกซานเดอร์ คันนิงแฮม(Sir Alexander Cunningham) ซึ่งเดิมทีมารับราชการทหารในอินเดีย แต่เมื่อได้พบกับเจมส์ ปรินเสป ก็เกิดความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์อินเดีย และชอบศึกษาโบราณวัตถุทั้งหลาย พอถุงปี พ.ศ. ๒๔๐๔ ขณะเป็นพลตรี รับราชการมาได้ ๒๘ ปี ก็ขอลาออก เพื่ออุทิศชีวิตอุทิศเวลาให้แก่การขุดค้นวัดวาอารามโบราณสถาน

    คันนิงแฮมได้เรียกร้องกระตุ้นเร้าให้รัฐบาลเอาจริงเอาจังในการอนุรักษ์ และค้นคว้าวิจัยเรื่องโบราณวัตถุสถานอย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐาน เป็นเหตุให้รัฐบาลอังกฤาตั้งหน่วยงานสำรวจโบราณสถานคดีอินเดียขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๐๔(ค.ศ. 1861) เรียกว่า Indian Archaeological Survey โดยเป็นการชั่วคราวก่อน มีคันนิงแฮมเป็นผู้อำนวยการ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๓(ค.ศ. 1870) ก็ได้ตั้งขึ้นใหม่เป็น Archaeological Survey ofIndia โดยมีคันนิงแฮมเป็นผู้อำนวยการใหญ่(Direct General) คันนิงแฮมอุทิศตัวทำงานนี้ต่อมาจนอายุ ๗๑ ปี จึงลาเลิกใน พ.ศ. ๒๔๒๘(ค.ศ. 1885)

    คันนิงแฮมได้ทำงานขุดค้นฟื้นฟูที่สำคัญเช่น สารนาถ สาญจี ตักสิลา และพุทธคยา ส่วนรายงานการสำรวจขุดค้นที่ได้ตีพิมพ์ออกมา ก็มีประมวลจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งเป็นชุดแรกด้วย

    ด้วยอาศัยการศึกษาค้นคว้าของชาวอังกฤษที่มีเซอร์ อเลกซานเดอร์ คันนิงแฮม เป็นตัวชูนี้ พุทธปูชนียวัตถุสถาน และพระเกียรติประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราชที่จมซ่อนอยู่ใต้ผืนแผ่นดิน และจางหายไปหมดแล้วจากความทรงจำของชาวอินเดียเอง ก็ได้ปรากฎขึ้นมาให้ชื่นชมบูชากันใหม่


    แหล่งที่มาของข้อมูล: นิเทศ จารึกอโศก ภาค ๑ "จารึกอโศก" (ธรรมจักรบนเศียร ๔ สิงห์) รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย โดยพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  14. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    จารึกอโศกสืบประวัติขานรับกับคัมภีร์พุทธศาสนา

    เคยมีผู้สงสัยว่า มีหลักฐานอะไรที่แสดงว่า ศิลาจารึกนี้พระเจ้าอโศกสร้างไว้ อันนี้เป็นศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช

    เมื่อจะตอบข้อสงสัยนี้ ควรขยายคำตอบให้กว้างออกไปอีก นอกจากหลักฐานว่าเป็นศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกแล้วก็ตอบด้วยว่า แน่ใจได้อย่างไรว่า จารึกของพระเจ้าอโศกนั้นแสดงหลัก และเรื่องราวในพระพุทธศาสนา

    หลักฐานในเรื่องนี้ นอกจากดูในศิลาจารึกเองแล้ว ก็ดูความสอดคล้อง หรือยืนยันกันระหว่างศิลาจารึกกับข้อมูลในเอกสารคือ คัมภีร์พุทธศาสนา และอีกอย่างหนึ่งคือ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เฉพาะอย่างยิ่งความเป็นไปในลังกาทวีป ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวโยง หรืออ้างอิงกันต่อเนื่องมา

    ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกนี้ มีข้อความเขียนไว้สั่งสอนแนะนำ แสดงนโยบายของพระเจ้าอโศกแก่ประชาชน เช่น บอกให้คนที่เป็นเจ้าหน้าที่บ้านเมือง คล้ายๆนายอำเภอ และกำนันอะไรพวกนี้ นำเอาข้อความนั้นๆไปบอกแจ้งชี้แจงอธิบายแก่ประชาชนของตนๆ แสดงว่าพระเจ้าอโศกใช้ศิลาจารึกเป็นเครื่องมือในการสั่งสอนประชาชน และบริหารราชการแผ่นดิน เพราะในสมัยนั้น ไม่ได้ใช้กระดาษอย่างทุกวันนี้ ก็เลยใช้ศิลา ให้เจ้าหน้าที่เขียนจารึกไว้ตามที่ต่างๆเช่น โขดหิน เขา ภูผา แล้วก็ให้มาอ่านไปบอกกัน

    ความริเริ่มนี้น่าจะเป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนสมัยนั้นมีการศึกษา และวัดก็เป็นศูนย์กลางการศึกษาอยู่แล้ว ตำราฝรั่งบางเล่มถึงกับบอกว่า ในอินเดียสมัยพระเจ้าอโศกนี้ ประชาชนรู้หนังสือมากกว่ายุคปัจจุบัน จะจริงหรือไม่ เราไม่เห็น เขาคงประเมินเทียบเคียงตามสภาพ แต่พูดคร่าวๆได้ว่า เรื่องศิลาจารึก และวัดนี้แสดงว่า สมัยนั้นคนมีการศึกษาที่นับว่าดี

    ที่นี้ มีเครื่องหมายอะไรที่แสดงว่า พระเจ้าอโศกเป็นผู้สร้างศิลาจารึกเหล่านี้ไว้ และเรื่องที่จารึกไว้เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา

    ที่จริงการพิสูจน์ว่า ศิลาจารึกนี้เป็นของพระเจ้าอโศกมหาราช คือพระเจ้าอโศกสร้างไว้นั้น เป็นเรื่องของนักประวัติศาสตร์-โบราณคดี ที่เขาได้ศึกษา และวินิจฉัยกันไว้ ถ้าจะให้ตรงเรื่องก็คือ เราควรไปฟังไปอ่านเรื่องที่เขาเขียนชี้แจงรายงานไว้

    อย่างง่ายๆข้อความในจารึกหลายแห่งก็บอกเหตุการณ์ที่ทำให้นักประวัติศาสตร์มั่นใจได้แล้วว่า เป็นพระเจ้าอโศกมหาราชเช่น เรื่องการทำสงครามกับแคว้นกลิงคะที่จริงแค่ข้อนี้ก็พอแล้ว

    นอกจากข้อความแบบนี้แล้ว ศิลาจารึกบางแห่งก็ทำเป็นหลัก หรือเป็นเสาไว้ประกาศเรื่องเฉพาะที่ ระบุชัดลงไปเลยทีเดียว เช่น ตรงที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ก็จารึกบอกว่า ณ สถานที่นี้(คือลุมพินีวัน) พระพุทธศากยมุนีได้ประสูติ เป็นต้น และบนยอดเสาที่มีเครื่องหมายอย่างรูปธรรมจักรก็บอกชัดอยู่ในตัว

    ในคัมภีร์ตั้งแต่อรรถกถาจนถึงพวกพงศาวดารลังกาที่รักษากันมานอกชมพูทวีปเป็นสหัสวรรษ โดยผู้เรียน และผู้รักษาไม่เคยมารู้มาเห็นเรื่องในอินเดีย บอกเหตุการณ์ เรื่องราว ลำดับกษัตริย์ ราชวงศ์ กาลเวลา ยุคสมัย ตรงกับที่ตกลงกันนำมาเขียนในตำราประวัติศาสตร์ที่ใช้เป็นหลักกันอยู่ในปัจจุบัน

    ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกนี้ มีคำขึ้นต้นบอกไว้ชัดทุกครั้งเป็นแบบเลย คือประโยคที่ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปิยทัสสีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ตรัสว่าหรืออะไรทำนองนี้ ข้อความนี้บ่งชัดว่าเป็นคำของพระเจ้าแผ่นดิน แล้วคิดง่ายๆว่า เวลานั้นใครเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็ย่อมเป็นการจารึกคำของราชาองค์นั้น นี่คือแน่ใจว่าเป็นพระเจ้าอโศกมหาราช

    ตรงนี้มีเกร็ดความรู้ที่น่าสังเกตแทรกเข้ามาหน่อยคือ คำที่เรียกพระเจ้าอโศกในจารึกใช้ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปิยทัสสีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพอันนี้แปลจากคำจารึกว่า เทวานัมปิยะ ปิยทัสสี ราชา

    ทีนี้ ในอรรถกถาจนถึงตำนานย่อยๆในลังกา เล่าว่า ตอนที่พระเจ้าอโศกครองชมพูทวีปนั้น ลังกา(เวลานั้นเรียกว่า ตัมพปัณณิทวีป) มีราชาพระนามว่า เทวานัมปิยติสสะ

    พระเจ้าอโศก กับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะนี้ เป็นพระสหายซึ่งไม่เคยพบกัน ไม่เคยเห็นองค์กัน(อทิฏฐสหาย) และพระมหินทเถระ โอรสของพระเจ้าอโศกก็นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในตัมพปัณณิทวีปในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะนี้ ในปีที่ ๑๘ แห่งรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราชนับแต่ราชาภิเษกแล้วคือ พ.ศ. ๒๓๖ (ตำราฝรั่งประมาณว่า 251BC แต่น่าจะเป็น 248 BC)

    พระนามของกษัตริย์ลังกาพระองค์นี้ที่ว่าเทวานัมปิยติสสะทำให้นึกถึงพระนามของพระเจ้าอโศกมหาราชที่เรียกในศิลาจารึกว่า เทวานัมปิยะ ปิยทัสสีแล้วก็คิดไปว่ามีอะไรโยงใยกันในการตั้งพระนามบ้างไหม? (พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะขึ้นครองราชย์ในปีที่ ๑๗ แห่งรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราช แล้วปีต่อมา พระมหินท์ก็นำพระพุทธศาสนาไปยังลังกา)
    [คำว่าเทวานัมปิยะ นี้ตามปกติ ถือเป็นคำหนึ่งในจำพวกคำเรียกแสดงความเคารพนับถือ หรือให้เกียรติ เหมือนที่เรียกพระด้วยคำว่า อายส.มา และ “อายส.มน.โต”]

    ทีนี้ก็มีจุดสำคัญ ที่ศิลาจารึกบอกเหตุการณ์ซึ่งมาบรรจบกับหลักฐานในคัมภีร์ ซึ่งทำให้เห็นว่า องค์เทวานัมปิยะ ปิยทัสสี ราชาหรือ เทวานามปริยะ ปริยทรรศี ราชาในศิลาจารึกนั้นเป็นองค์เดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชในคัมภีร์

    ขอยกข้อความตอนหนึ่งในศิลาจารึกมาให้ดูกัน(คัดมาให้ดูเพียงส่วนหนึ่ง ข้อความเต็ม พึงอ่านในตอนว่าด้วยจารึก)

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้มีพระบรมราชโองการให้ประกาศแก่มหาอำมาตย์ทั้งหลาย ณ พระนครปาตลีบุตร และ ณ นครอื่นๆ ว่า

    สงฆ์(อันข้าฯ)ได้ทำให้สามัคคีเป็นอันเดียวกันแล้ว(ส˚เฆ สมเค กเฏ) บุคคลใดๆจะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ไม่อาจทำลายสงฆ์ได้

    ก็แล หากบุคคลผู้ใด จะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม จักทำสงฆ์ให้แตกกัน บุคคลผู้นั้นจักต้องถูกบังคับให้นุ่งห่มผ้าขาว และไปอยู่ ณ สถานที่อันไม่ใช่วัด

    ฟังแจ้งสาส์นพระบรมราชโองการนี้ให้ทราบทั่วกัน ทั้งในภิกษุสงฆ์ และในภิกษุณีสงฆ์ ด้วยประการฉะนี้

    พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ตรัสไว้ดังนี้ :- ก็ประกาศพระบรมราชโองการเช่นนี้ ท่านทั้งหลายพึงนำไปติดไว้ ณ ทางสัญจรภายในเขตใกล้เคียงของท่านทั้งหลายฉบับหนึ่ง และจงเก็บรักษาประกาศพระบรมราชโองการอันเดียวกันนี้แล ไว้ในเขตใกล้เคียงขงอุบาสกทั้งหลายอีกฉบับหนึ่ง

    ทุกๆวันอุโบสถ บรรดาอุบาสกเหล่านั้น พึงทำตนให้มีความรู้ความเข้าใจแนบแน่นในประกาศพระบรมราชโองการนี้ และทุกๆวันอโบสถ มหาอำมาตย์ทุกๆคนพึงไปร่วมในการรักษาอุโบสถด้วยเป็นประจำ เพื่อจักได้เกิดความคุ้นเคยแนบสนิท และรู้เข้าใจทั่วถึง ซึ่งประกาศพระบรมราชโองการนั้นแล...

    ธรรมโองการนี้ ในจารึกเองก็บอกว่าได้โปรดให้ติดประกาศทั่วไปทุกหนแห่ง แต่เฉพาะที่นักโบราณคดีขุดค้นพบแล้ว ๓ แห่ง มีข้อความยาวสั้นกว่ากันบ้าง แต่ทุกแห่งมีตอนสำคัญ คือย่อหน้าที่ ๒-[สงฆ์(อันข้าฯ)ได้ทำให้สามัคคี ณ สถานที่อันมิใช่วัด]

    ๓ แห่งที่พบจารึกนี้ คือ ที่ สารนาถ โกสัมพี และสาญจี การที่จารึกต่างแห่งบอกเหมือนกันว่า สงฆ์(อันข้าฯ)ได้ทำให้สามัคคีเป็นอันเดียวกันแล้ว แสดงว่าเป็นเหตุการณ์ใหญ่ของส่วนรวมทั่วทั้งแว่นแคว้น ไม่ใช่เรื่องเฉพาะของที่นั้นๆ(สารนาถ วัดระยะทางผ่านโกสัมพีไปถึงสาญจี = ๖๐๐ กม.) และข้อความตอนท้ายๆของจารึกเอง ก็บอกให้มหาอำมาตย์ดำเนินการรักษาสามัคคีนี้ทั่วทุกหนแห่ง

    การทำให้สงฆ์สามัคคี ก็แสดงว่าได้มีการแตกแยก และได้แก้ปัญหาความแตกแยกนั้นเสร็จแล้ว

    นี่ก็คือ การสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่เมืองปาตลีบุตร ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕ ซึ่งคัมภีร์สมันตปาสาทิกาได้เล่าไว้ และบอกด้วยว่า พระที่ก่อปัญหา(ท่านว่าปลอมบวชเข้ามา) ได้ถูกบังคับให้นุ่งผ้าขาว(=ให้สึกออกไป) ดังความตอนหนึ่งในสมันตปาสาทิกานั้น(วินย.อ.๖๐)ว่า

    วันที่ ๗ พระราชา(อโศก) โปรดให้ประชุมภิกษุสงฆ์ที่อโศกราม...ทรงทราบว่า พวกนี้มิใช่ภิกษุ พวกนี้เป็นอัญเดียรถีย์ พระราชทานผ้าขาวแก่บุคคลเหล่านั้น ให้สึกเสีย...ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้ พระศาสนาบริสุทธิ์แล้ว ขอภิกษุสงฆ์จงทำอุโบสถเถิดพระราชทานอารักขาแล้ว เสด็จคืนสู่พระนคร สงฆ์ซึ่งสามัคคีกันแล้วได้กระทำอุโบสถ

    ตามศิลาจารึกแสดงว่า แม้สงฆ์จะสามัคคีกันแล้ว มาตรการที่จะรักษาความสามัคคีนั้นให้หนักแน่นมั่นคง พร้อมทั้งป้องกันปัญหาอันอาจจะมีขึ้นอีก ก็ยังคงกันต่อไป โดยให้มหาอำมาตย์ดูแลรับผิดชอบตามความในจารึกนั้น

    เรื่องราวที่เปิดเผยออกมาด้วยซากพุทธสถานของจริง และจากธรรมลิปิคือ ข้อมูลลายสือธรรมในศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาชที่แหล่งเดิมในชมพูทวีป ซึ่งเพิ่งฟื้นขึ้นพบกันใหม่ มาประสานขานรับกับบันทึก และตำนานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ตั้งแต่พระไตรปิฎก และอรรถกถาลงมา ซึ่งรักษาสืบทอดกันไว้นานนักหนาในประเทศพุทธศาสนาที่ห่างไกลจากชมพูทวีป


    แหล่งที่มาของข้อมูล: นิเทศ จารึกอโศก ภาค ๑ "จารึกอโศก" (ธรรมจักรบนเศียร ๔ สิงห์) รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย โดยพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  15. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    จารึกอโศกแน่ชัดคือเกียรติประวัติแห่งชาติอินเดีย

    ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง คัมภีร์อรรถกถา และฎีกา(อรรถกถาคือ สมันตปาสาทิกา(วินย.อ.๑/๗๐) ฎีกาคือ สารัตถทีปนี(วินย.ฎี.๑/๘๐,๒๓๖))เล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อยังเป็นราชกุมาร ได้รับพระราชบัญชาให้ไปเป็นอุปราชครองแคว้นอวันตี ที่เมืองอุชเชนี ระหว่างทางก่อนถึงอุชเชนี อโศกกุมารได้แวะที่เมืองเวทิส ละ ณ ที่นี้ อโศกกุมารได้พบกับธิดาเศรษฐีนามว่า เวทิสา และได้เธอเป็นคู่ครอง นำไปอยู่ด้วยที่นครอุชเชนี แล้วประสูติโอรสนามว่า เจ้าชายมหินทะ และต่อมาอีก ๒ พรรษา มีราชธิดานามว่า สังฆมิตตา

    เจ้าชายมหินทะ และเจ้าหญิงสังฆมิตตานี้ ต่อมาได้อุปสมบท แล้วพระมหินทเถระพร้อมด้วยคณะภิกษุสงฆ์ได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกาทวีป และพระสังฆมิตตาเถรีก็ได้นำภิกษุณีสงฆ์ไปประดิษฐานในลังกาทวีปนั้นตามต่อมา

    อรรถกถายังเล่าต่อไปอีกด้วยว่า ก่อนที่พระมหินทเถระจะไปลังกาทวีป ท่านได้เดินทางมาเยี่ยมโยมมารดา คือพระเวทิสาเทวีที่เมืองเวทิสนคร และครั้งนั้นพระนางเวทิสาได้สร้างวัดถวายตั้งชื่อว่า เวทิสคีรีมหาวิหาร

    คัมภีร์สารัตถทีปนีบอกด้วยว่า เวทิสนครนั้นอยู่ห่างจากพระนครปาตลีบุตร ๕๐ โยชน์ คือ ๘๐๐ กิโลเมตร

    ครั้นถึงยุคอังกฤษครองอินเดีย ที่พุทธสถานจมดินหมดแล้วนี้ เซอร์ อเลกซานเดอร์ คันนิงแฮม เมื่อได้ขุดฟื้นพระสถูป และวัดวาอาราม ณ สารนาถ สถานที่แสดงปฐมเทศนาในช่วงทศตรรษ 1830s(ราวปี พ.ศ. ๒๓๗๕) แล้ว ก็ได้มาทำงานขุดฟื้นที่เมืองเวทิสนี้ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าเมืองวิทิศ ในช่วงทศวรรษ 1840s (ราวปี พ.ศ. ๒๓๘๕)

    แต่ในสมัยของคันนิงแฮม ชื่อเมืองนี้คนเรียกกันเพี้ยนไปเป็นภิลสะ(Bhilsa) จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๙(ค.ศ. 1956) รัฐบาลอินเดียจึงให้เปลี่ยนชื่อกลับไปเรียกให้ถูกต้องตามเดิมว่าเมืองวิทิศะ(Vidisha)ดังปรากฎในแผนที่ปัจจุบัน

    ณ เมืองวิทิศะนี้ คันนิงแฮมได้พบ และขุดฟื้นมหาสถูปที่มีชื่อเรียกกันในบัดนี้ว่า สาญจีอันมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ทั้งสวยงามใหญ่โตเด่นสง่า และยังอยู่ในสภาพที่นับว่าดี อันสืบกันได้ว่า พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างไว้(บางทีจะเป็นที่วัดซึ่งคัมภีร์บอกว่า พระเวทิสาเทวีได้ทรงสร้าง?) และมีการซ่อมเสริมในยุคต่อๆมา

    มหาสถูปสาญจีนี้ อยู่ห่างจากเมืองปัตนะ(คือปาตลีบุตร) วัดเป็นเส้นตรงตามแผนที่ปัจจุบันได้ ๘๐๐ กิโลเมตร จะโดยบังเอิญหรืออย่างไรก็ตาม ก็เท่ากันตรงพอดีกับที่บอกไว้ในสารัตถทีปนี(ถ้าวัดจากตัวเมืองวิทิศะปัจจุบันถึงปัตนะได้ ๗๗๕ กิโลเมตร)

    ณ พุทธสถานสำคัญหลายแห่ง ได้พบหลักศิลาจารึกที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงประดิษฐานบอกความสำคัญไว้ โดยเฉพาะที่สารนาถ คือป่าอสิปตนมฤคทายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร ใกล้เมืองพาราณสี มีเสาหลักใหญ่ซึ่งแม้จะถูกโค่น หรือล้มลงมาหักเป็นท่อนๆ แต่เห็นได้ชัดถึงความหมายที่ยิ่งใหญ่งามสง่า และศิลปะที่ประณีตบรรจง

    นอกจากคำจารึกบนเสาหินซึ่งบ่งความสอดคล้องกับเรื่องการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ ซึ่งได้แก้ปัญหาความเห็นผิดเพี้ยน และความแตกแยกของสงฆ์ ดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้นนั้นแล้ว หัวสิงห์ทั้ง ๔ เทินธรรมจักรบนยอดเสาศิลาจารึกนั้น ก็มีความหมายสำคัญ และโดดเด่นขึ้นมาเชื่อมโยงประเทศอินเดียปัจจุบันเข้าสู่ประวัติศาสตร์แห่งชมพูทวีปด้วย

    บนยอดเสาศิลาจารึก ณ ที่แสดงปฐมเทศนานี้มีสิงห์ ๔ ตัวหันหัวไป ๔ ทิศ บนเศียรสิงห์เทินวงล้อพระธรรมจักร น่าจะสันนิษฐานได้ว่า สิงห์ทั้ง ๔ เป็นเครื่องหมายของพระราชอำนาจ และพระราชอำนาจนั้นต้องรองรับอยู่ใต้ธรรม และเชิดชูส่งเสริมธรรม

    พร้อมนั้น ๔ สิงห์ซึ่งหันเศียรไป ๔ ทิศ แผดเสียงบรรลือสีหนาทเป็นเครื่องหมายของความเข้มแข็งมั่นคง องอาจในการประกาศสัจจธรรม คือหลักการแห่งความจริงแท้ที่ไม่มีผู้ใดจะคัดค้านต้านโต้ได้(ธมมจกก˚ ปวตติต˚ อปปฏิวตติย˚)

    เมื่ออินเดียได้เอกราชพ้นจากการปกครองของอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐(ค.ศ. 1947) แม้ว่าชนชาวอินเดีย หรือภารตะเวลานั้น แทบจะไม่รู้จักพระพุทธศาสนาแล้ว แต่เพราะตระหนักว่า รัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชที่รุ่งเรืองยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินเดีย ควรจะเป็นสัญญลักษณ์ของชาติ จึงได้ตกลงนำวงล้อพระธรรมจักรมาวางไว้เป็นสัญญลักษณ์ที่ใจกลางของธงชาติอินเดีย และเอาเศียร ๔ สิงห์หันไป ๔ ทิศ มาตั้งเป็นตราแผ่นดินของอินเดีย พร้อมทั้งเขียนคติไว้ใต้เท้าสิงห์เป็นคำสันสฤตว่า สต.ยเมว ชยเต(สัจจะเท่านั้นชนะ,Truth alone triumphs.)

    พระเจ้าอโศกมหาราช และการประกาศพระธรรมจักร จึงกลับฟื้นคืนมา พร้อมกับการคืนชีพของชาติอินเดีย

    พระเจ้าอโศกมหาราช แม้จะวรรคตไป ๒ พันกว่าปีแล้ว ก็ยังสร้างเกียรติยศ และควาภูมิใจให้แก่ชนชาติอินเดียในปัจจุบันเป็นหลักที่อ้างอิงได้เสมอ ดังที่นักวิชาการสมัยใหม่ชาวตะวันตกซึ่งมาศึกษาเรื่องของอินเดียแล้ว นำไปกล่าวขวัญสรรเสริญ อย่าง H.G. Wells ที่เขียนตำราประวัติศาสตร์แสดงความยดย่องนับถือพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นกษัตริย์ที่โดดเด่นพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์โลก(H.G. Wells เขียนไว้ใน The Outline of History (N.Y.:Garden City Books,1949,vol.1 p.404): “Amidst the tens of thousands of names of names of monarchs that crowd the column of history, their majesties and graciousnesses and serenities and royal highnesses and the like, the name of Asoke shines, and shines almost alone, a star. From the Volga to Japan his name is still honoured. China, Tibet, and even India, though it has left his doctrine, preserve the tradition of his greatness. More living men cherish his memory to-day than have ever heard the names of Constantine or Charlemagne.”)

    อเล็กซานเดอร์มหาราชสืบโยงอย่างไรกับอโศกมหาราช

    ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น นอกจากประวัติศาสตร์ในตัวมันเองแล้ว ยังเป็นหลักฐานที่ช่วยในการสืบค้นเรื่องราวส่วนอื่นในประวัติศาสตร์ด้วย

    ตามปกติ ฝรั่งไม่ค่อยไว้ใจตัวเลขบอกกาลเวลาเป็นต้น ของชาวอินเดีย ซึ่งเขาบอกว่ามักเป็นตำนานที่ว่าเอาเอง แต่ศิลาจารึกนี้เป็นหลักฐานบอกกาลเวลาที่แน่ชัด จึงเกื้อกูลยิ่งต่อการกำหนดเวลากาละยุคสมัยในประวัติศาสตร์โลก เชื่อมโยงระหว่างตะวันออก กับตะวันตก ดังที่ในจารึก ฉบับที่ ๑๓ กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์ที่ร่วมสมัยหลายพระองค์ในอาณาจักรทางฝ่ายตะวันตกว่า

    สำหรับพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ชัยชนะที่ทรงถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุด ได้แก่ ธรรมวิชัย (ชัยชนะโดยธรรม) และธรรมวิชัยนั้น พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ทรงกระทำสำเร็จแล้วทั้ง ณ ที่นี้(ในพระราชอาณาเขตของพระองค์เอง) และในดินแดนข้างเคียงทั้งปวง ไกลออกไป ๖๐๐ โยชน์ ในดินแดนอันเป็นที่ประทับแห่งกษัตริย์โยนก(Ionian Greek) พระนามว่าอันติโยคะ(Antiochus) และดินแดนอันต่อจากพระเจ้าอันติโยคะนั้นไป (คือในทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)อันเป็นที่ประทับแห่งกษัตริย์ ๔ พระองค์ พระนามว่า พระเจ้าตุรมายะ(หรือตุลมย-Ptolemy) พระเจ้าอันเตกินะ(Antigonos) พระเจ้ามคะ(Magas) และพระเจ้าอลิกสุนทระ(Alexander) และถัดลงไป(ในทางทิศใต้) ถึง...และในแว่นแคว้นภายในพระราชอำนาจของพระองค์ก็เช่นเดียวกันคือ แว่นแคว้นของชาวโยนก(Ionian หรือ Greeks) และชนชาวกัมโพชะ(Kambojas)

    ทุกหนทุกแห่ง(ประชาชนเหล่านี้)พากันประพฤติปฏิบัติตามคำสอนธรรมของพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพมิได้ไปถึงประชาชนทั้งหลายเมื่อได้ทราบถึงธรรมจักร ธรรมวิธาน และธรรมานุศาสน์ของพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพแล้วก็พากันประพฤติปฏิบัติตามธรรม และจักประพฤติปฏิบัติตามธรรมนั้นต่อไป

    กษัตริย์ ๕ พระองค์ที่ระบุพระนามในจารึกนี้ ซึ่งมีสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าอโศกมหาราช นักประวัติศาสตร์ตะวันตกกำหนดได้แล้วว่าเป็นกษัตริย์กรีก ซึ่งมีอาณาจักรอยู่ริม หรือใกล้ฝั่งด้านตะวันออก ด้านเหนือ และด้านใต้ ของทะลเมคิเตอเรเนียน(ในยุคที่อารยธรรมกรีกยังรุ่งเรือง และแผ่คลุมดินแดนแถบนี้) คือ

    พระเจ้าอันติโยคะ ได้แก่ ราชา Antiochus II Theosแห่งซีเรีย ซึ่งเป็นหลาน(โอรสของโอรส) ของพระเจ้าSeleucus I Nicator

    พระเจ้าตุรมายะ หรือตุลมย ได้แก่ ราชา Ptolemy II Philadephusที่นครอเล็กซานเดรีย แห่งอียิปต์

    พระเจ้าอันเตกินะ ได้แก่ ราชา Antigonus II Gonatasแห่งมาซิโดเนีย(Macedonia, ดินแดนกรีกแถบเหนือ)

    พระเจ้ามคะ ได้แก่ ราชา Magas แห่งไซรีนี(Cyrene, นครกรีกโบราณ อยู่ปลายเหนือสุดแถบตะวันออกของลิเบียในปัจจุบัน)

    พระเจ้าอลิกสุนทระ ได้แก่ ราชา Alexander(ไม่ใช่อเล็กซานเดอร์มหาราช แต่เป็นรุ่นหลานเหลน องค์นี้นักประวัติศาสตร์ไม่แน่ใจว่าจะเป็นอเล็กซานเดอร์แห่ง Epirus หรืออเล็กซานเดอร์แห่ง Corinth)

    ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กรีกเหล่านี้กับพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ยุคสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชในศตวรรษก่อน โดยที่ตัวกษัตริย์กรีกเหล่าน้สืบเชื้อสายเกี่ยวโยงมาจากอเล็กซานเดอร์มหาราช

    โดยเฉพาะ ๒ องค์แรกก็คือนัดดา และโอรสของแม่ทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชที่ตั้งตัวขึ้นเป็นราชาเริ่มวงศ์กษัตริย์ใหม่เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคต และเส้นทางติดต่อสัมพันธ์ก็ดำเนินไปตามเส้นทางเดินทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราช

    เฉพาะอย่างยิ่ง พระเจ้าอโศกมหาราชเองทรงเป็นกษัตริย์แห่งโมริยวงศ์(สันสกฤตเป็นเมารยะ) ต้นวงศ์คือ พระอัยกา ซึ่งมีพระนามว่า พระเจ้าจันทรคุปต์ ก็ได้เผชิญพระพักตร์ และเคยคิดการศึกร่วมกับอเล็กซานเดอร์มหาราช แล้วขึ้นเป็นกษัตริย์ตั้งโมริยวงศ์ในช่วงที่อเล็กซานเดอร์มหาราชยกทัพกลับ และได้ยกทัพไปเผชิญกับพระอัยกาของพระเจ้าอันติโยคะ คือพระเจ้า Seleucus I Nicator ที่ได้ตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคต

    อีกอย่างหนึ่ง พอเริ่มเรื่อง เราก็มาเจอพระเจ้าอโศก และพระพระเจ้าอโศกนี้ก็เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ซึ่งตอนนั้นเมื่อพระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์ก็ พ.ศ. ๒๑๘ แล้ว เราควรจะรู้ด้วยว่า ก่อนมาถึงเวลานั้น พระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร เรื่องราวเป็นมาอย่างไร

    เพื่อลำดับเรื่องราวให้เห็นชัดเจนขึ้น จึงขอย้อนหลังกลับไปเล่าความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่พุทธกาลในสมัยต้นเดิมของโมริยวงศ์ จนมาตั้งโมริยะเป็นวงศ์กษัตริย์ในยุคที่อเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ามา



    แหล่งที่มาของข้อมูล: นิเทศ จารึกอโศก ภาค ๑ "จารึกอโศก" (ธรรมจักรบนเศียร ๔ สิงห์) รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย โดยพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  16. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ดูอินเดีย พุทธกาลถึงอโศก

    พุทธกาล: ๑๖ แคว้น ใหญ่จริง ๕

    ย้อนกลับไปสมัยพุทธกาล ตั้งแต่ก่อนพุทธศักราช คือ ๒๖๐๐ กว่าปีมาแล้ว ตอนนั้นประเทศอินเดีย เรียกว่า ชมพูทวีป

    ชมพูทวีปเป็นดินแดนที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก ในสมัยก่อนพุทธกาลจนถึงพุทธกาลนั้น มีอาณาจักร หรือแว่นแคว้นมากมาย ท่านใช้คำในภาษาบาลีว่า มหาชนบท คือมีทั้งหมด ๑๖ มหาชนบท

    คำว่าชนบทนั้นในภาษาบาลี ไม่ได้หมายความแค่ว่าบ้านนอก แต่คล้ายๆกับคำว่า “country” ก็คือประเทศ แต่ถ้าพูดว่า the country ก็หมายถึงบ้านนอก

    ชนบท ในภาษาบาลีก็คล้ายกัน โดยทั่วไปแปลว่า ถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ คือ แว่นแคว้น หรือประเทศ แต่เมื่อใช้ในความแวดล้อมบางอย่าง ก็เป็นชนบทในความหมายแบบไทย คือ บ้านนอก

    ในสมัยพุทธกาล และก่อนนั้น ถือว่า อินเดีย หรือชมพูทวีปนี้มีแว่นแคว้นใหญ่อยู่ ๑๖ มหาชนบทด้วยกัน ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกว่ามี อังคะ มคธ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ และกัมโพชะ(เช่น อง..ติก.๒๐/๕๑๐)

    แว่นแคว้นเหล่านี้ พูดคร่าวๆว่า เรียงจากตะวันออกไปตะวันตก เริ่มด้วยอังคะ ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนที่ปัจจุบันนี้เป็นบังคลาเทศ หรือต่อจากบังคลาเทศ จะดูให้ง่าย ก็ไล่มาตั้งแต่ตะวันออกของเมืองกัลกัตตา นี่คือแคว้นที่ ๑

    ต่อจากนั้นก็ถึงแคว้นมคธ แล้วต่อไปทางทิศตะวันตกเป็นกาสี ที่มีเมืองหลวงชื่อพาราณสี

    แต่ถ้าขึ้นเหนือจากมคธ ไปข้างบนก็เป็นแคว้นวัชชี แล้วเลยต่อไปถึงมัลละ ที่มีกุสินาราเป็นเมืองหลวง จากนั้นก็เป็นแคว้นโกศล ที่มีเมืองหลวงชื่อว่า สาวัตถี

    นอกจากนั้น เจตี เป็นต้น ก็ว่าเรื่อยไปจนถึงกุรุ ซึ่งอยู่แถวเมืองเดลี ต่อจากนั้นปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี ก็เอาเดลีเป็นจุดกำหนด ออกไปทางเหนือ ทางใต้ และข้างๆจนในที่สุดจึงถึงคันธาระ กัมโพชะ โน่น แถวปากีสถาน จนถึงอัฟกานิสถาน

    เป็นอันว่าไล่คร่าวๆไปตั้งแต่ตะวันออกจนถึงตะวันตกนี้คือ ชมพูทวีป หรืออินเดียในสมัยโบราณ

    เป็นธรรมดา เรื่องของการเมือง ย่อมมีการแข่งขันแย่งชิงอำนาจกัน ประเทศที่มีอำนาจมากกว่าก็บุกรุกทำสงครามขยายดินแดน จนกระทั่งกว่าจะมาถึงยุคพุทธกาล ใน ๑๖ แว่นแคว้นนั้นบางประเทศก็หมดอำนาจไป หรือถูกยุบรวมเข้ากับแคว้นอื่น

    อังคะแถวบังคลาเทศก็เข้าไปอยู่ใต้อำนาจของมคธแล้ว มคธกลายเป็นแคว้นที่ยิ่งใหญ่

    ส่วนกาสีที่มีเมืองหลวงคือพาราณสี ก็ขึ้นอยู่ใต้อำนาจของแคว้นโกศลไปแล้ว

    วัชชีก็เป็นแคว้นสำคัญในสมัยพุทธกาล ยังมีอำนาจมาก

    ต่อไปก็แคว้นวังสะ ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อว่า โกสัมพี อันเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องวาสิฏฐี หรือกามนิต และอีกแคว้นนึ่งคืออวันตี ซึ่งมีอุชเชนีเป็นเมืองหลวง ก็คือถิ่นของกามนิตนั่นแหละ

    เป็นอันว่า เมื่อถึงพุทธกาล ในบรรดา ๑๖ แคว้น ก็เหลือแคว้น หรือรัฐ หรือประเทศที่ยิ่งใหญ่มากแค่ ๕ แคว้นคือ
    ๑) มคธ มีราชคฤห์เป็นเมืองหลวง
    ๒) โกศล มีสาวัตถีเป็นเมืองหลวง
    ๓) วัชชี มีเวสาลีเป็นเมืองหลวง
    ๔) วังสะ มีโกสัมพีเป็นเมืองหลวง
    ๕) อวันตี มีอุชเชนีเป็นเมืองหลวง

    ๒ แคว้นหลังนี้อยู่ไกลออกไปทางตะวันตก โดยเฉพาะแคว้นอวันตีอยู่ไกลมาก วัดจากราชคฤห์ ลัดฟ้าตัดตรงเป็นเส้นไม้บรรทัดถึงเมืองหลวงอุชเชนี ๘๑๕ กิโลเมตร และคงเดินทางยากอยู่ในแถบเทือกเขาวินธยะ จัดเป็นทักขิณาบถ(เรียกอย่างสันสฤตว่า ทักษิณาบถ) คือดินแดนหนใต้เป็นปัจจันตชนบท คือถิ่นห่างไกลปลายแดน เลยไม่มีเรื่องเกี่ยวข้องมาก ไม่ปรากฎว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปที่อุชเชนี

    แต่ถึงจะเป็นแดนห่างไกล ก็เป็นถิ่นของพระมหาสาวกสำคัญองค์หนึ่งคือ พระมหากัจจายนะ ที่ว่ากันว่าเป็นที่มาของพระสังกัจจายน์

    ศิษย์เอกของพระมหากัจจายนะนี้ ก็เป็นมหาสาวกด้วยคือ พระโสณะกุฏิกัณณะ ซึ่งได้เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้าหลังจากบวชได้ ๑ พรรษา และนำคำของพระอุปัชฌาย์มากราบทูลถึงสภาพติดขัดไม่สะดวกเรียบรื่นของปัจจันตชนบท เพื่อขอผ่อนผันพุทธบัญญัติบางข้อ รวมทั้งข้อที่ต้องอุปสมบทด้วยสงฆ์ทสวรรคคือ ๑๐ รูป เป็นเหตุให้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้อุปสมบทในปัจจันตชนบทได้ด้วยสงฆ์ปัญจวรรค(โดยมีพระวินัยธรเป็นที่ครบ ๕)

    ขอแทรกเป็นเกร็ดความรู้ว่า มีพระมหาสาวก ๒ องค์ ชื่อว่า โสณะ เหมือนกัน แต่อยู่ไกลกันสุดแดนตรงข้ามได้แก่ พระโสณะกุฏิกัณณะ แห่งแคว้นอวันตีนี้ อยู่ใกล้สุดด้านซ้ายของแผนที่(ทางตะวันตกฉียงใต้ เลยเมืองโภปาล(Bopal)ไปทางตะวันตก)

    อีกองค์หนึ่งคือ พระโสณะโกฬิวิสะ แห่งเมืองจัมปา ในแคว้นอังคะ สุดด้านขวา(ใกล้กัลกัตตา หรือด้านบังคลาเทศ)

    ในพุทธกาล แคว้นอวันตีมีพระราชปกครอง พระนามว่า จัณฑปัชโชต

    ส่วนแคว้นวังสะ ซึ่งพระเจ้าอุเทนปกครอง ที่จริงก็ไม่ไกลนัก วัดตัดตรงจากราชคฤห์ถึงโกสัมพีแค่ ๔๐๕ กิโลเมตร(โกสัมพี วัดตัดตรงต่อไปยังอุชเชนี ๖๒๐ กิโลเมตร) แต่มีเรื่องราวเกี่ยวกับอำนาจการเมืองไม่มาก จึงตัดไป

    เมื่อจำกัดเข้ามาอีก คือตัดแคว้นอวันตีที่มีเมืองอุชเชนีเป็นเมืองหลวง กับแคว้นวังสะที่มีเมืองโกสัมพีเป็นเมืองหลวงออกเสีย เอาแคว้นใหญ่ที่เด่นจริงๆ ก็เหลือ ๓ แคว้น คือ มคธ โกศล และวัชชี ๓ แคว้นนี้มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามาก อยู่ด้านตะวันออกฉียงเหนือของอินเดีย ติดต่อใกล้เคียงกันทั้งหมด โดยเฉพาะแคว้นมคธ มีชื่ออยู่ยั่งยืนที่สุด ส่วนแคว้นอื่นๆที่ว่าใหญ่อยู่ในสมัยพุทธกาล พอถึงยุคหลังพุทธกาลก็ค่อยๆหมดไป

    สู่ความยิ่งใหญ่หนึ่งเดียว : เหลือมคถ หมดวัชชี

    มีเรื่องน่าสังเกต และน่าสนใจคือ แตว้นที่มีการปกครองต่างแบบกันที่ควรพูดถึงได้แก่ แคว้นมคธ และแคว้นวัชชี

    มคธเป็นแคว้นที่ปกครองแบบราชาธิปไตย อยู่ติดกันกับวัชชีซึ่งปกครองแบบสามัคคีธรรม ฝรั่งเรียกว่า ปกครองแบบ republic หรือสาธารณรัฐ

    ในการปกครองแบบสามัคคีธรรมนั้น ไม่ใช่มีผู้ปกครองเด็ดขาดเพียงผู้เดียว แต่ใช้วิธีที่ว่ามีชนชั้นปกครองจำนวนหนึ่ง ซึ่งมากทีเดียวอาจถึง ๗,๗๐๗ องค์ หมุนกันขึ้นมาปกครอง เวลาจะบริหารราชการแผ่นดินก็ต้องมีการประชุมในสภา ซึ่งมีหอประชุมที่เรียกว่า สัณฐาคาร(บางทีเขียน สันถาคาร)

    ในคัมภีร์ ท่านเรียกราชาที่ร่วมกันปกครองแบบนี้ว่า คณราชเมื่อมีเรื่องราวที่จะต้องตัดสินใจ หรือวินิจฉัยกัน เช่นจะรบ หรือไม่รบกับต่างประเทศ หรือเกิดเรื่องราวสำคัญขึ้น หรือมีราชการอะไรที่สำคัญสำคัญจะต้องตัดสินวินิจฉัย อย่างเช่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน กษัตริย์มัลละซึ่งปกครองแบบนี้ ก็ต้องมาประชุมกันในสัณฐาคารเพื่อพิจารณาว่า จะต้องปฏิบัติอย่างไรในการปลงพระสรีระของพระพุทธเจ้า อย่างนี้เป็นต้น

    แคว้นวัชชีนี้ก็ปกครองแบบสามัคคีธรรม ร่วมกันปกครองซึ่งต้องประชุมกันในสัณฐาคาร พวกกัตริย์วัชชีมีชื่อเรียกว่า ลิจฉวีเป็นพวกที่เข้มแข็งมาก

    ในสมัยพุทธกาลนั้น แคว้นมคธกับแคว้นวัชชีแข่งอำนาจกันมาก แคว้นโกศลก็รบกับแคว้นมคธนิดหน่อย แต่ต่อมา โกศลหายไป วัชชีก็หายไป ต่างก็สูญเสียอำนาจแก่แคว้นมคธ

    ว่าที่จริง ตอนต้นพุทธกาล เมื่อมคธมีพระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าพิมพิสารนั้น เท่าที่ปรากฎ บ้านเมืองดูจะสงบ ทางด้านโกศลก็ตาม ทางด้านวัชชีก็ตาม ไม่พบปัญหา หรือเรื่องราวขัดแย้งกัน(พึงสังเกตว่า พระเจ้าพิมพิสารเป็นโสดาบัน)

    แต่มาถึงปลายพุทธกาล ในสมัยของพระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร มคธมีเรื่องขัดแย้งกันเรื่อย ทั้งกับวัชชี และกับโกศล

    เฉพาะอย่างยิ่งกัลวัชชีนั้น น่าสังเกตว่า ถึงกับมีการสร้างเมืองป้อม หรือเมืองหน้าด่านขึ้นมาเพื่อจะต้าน จะกั้น หรือเพื่อรับมือวัชชีโดยเจาะจงลงไปเลยทีเดียว

    พระเจ้าอชาตศัตรูมีเรื่องหงุดหงิดพระทัยกับกษัตริย์ลิจฉวี และอยากจะห้ำหั่นพวกวัชชีเรื่อยมา นอกจากความขัดแย้งกระทบกระทั่งส่วนพระองค์แล้ว ก็ยังเป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจ และความหวาดกลัว เพราะวัชชีเป็นระบบอำนาจแบบเก่า มีการปกครองแบบเดิม เมื่อมีความเข้มแข็ง ก็จะเป็นภัยคุกคามต่อมคธ

    ได้บอกแล้วว่า เมืองหลวงของมคธในสมัยพุทธกาลมีชื่อว่า ราชคฤห์ นี้คือเมืองหลวงเดิมของแคว้นมคธในสมัยที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่

    พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่เมืองราชคฤห์นั้น พูดอีกสำนวนหนึ่งก็คือ ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่เมืองหลวงของแคว้นมคธ

    เมืองราชคฤห์ หรือเมืองหลวงของมคธนั้น ได้เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเรื่อยมา แม้เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็เป็นสถานที่ที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๑

    ต่อมาเมื่อเมืองหลวงของมคธย้ายไปที่อื่นแล้ว ศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาก็ย้ายไปที่นั้นด้วย สังคายนาครั้งที่ ๑ ทำที่ราชคฤห์ เมืองหลวงเก่า ต่อมาเมื่อถึงสังคายนาครั้งที่ ๓ เมืองหลวงของมคธย้ายไปอยู่ที่เมืองปาตลีบุตรแล้ว สังคายนาครั้งที่ ๓ ก็ทำที่ปาตลีบุตร ซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่นั้น(สังคายนาครั้งที่ ๒ ทำที่เมืองเวสาลี ซึ่งก็เป็นเมืองหลวง หรือเมืองสำคัญของมคธแล้วในเวลานั้น) ขอให้ลองเชื่อมโยงเรื่องราวดู

    ราชคฤห์เป็นเมืองหลวงของมคธในพุทธกาล ตลอดสมัยของพระเจ้าพิมพิสาร ต่อมาพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร คือพระเจ้าอชาตศัตรู ได้ปลงพระชนม์พระราชบิดา แล้วขึ้นครองราชย์ที่เมืองราชคฤห์ จนถึงปลายพุทธกาลจึงมีเรื่องราวของการสร้างเมืองหน้าด่านเพื่อป้องกันวัชชีนี้ขึ้นมา

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพานไม่นาน มีเรื่องบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกดังที่ท่านเล่าไว้ในมหาปรินิพพานสูตร


    แหล่งที่มาของข้อมูล: นิเทศ จารึกอโศก ภาค ๑ "จารึกอโศก" (ธรรมจักรบนเศียร ๔ สิงห์) รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย โดยพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  17. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เรื่องเริ่มที่เมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชกูฏ พระเจ้าอชาตศัตรูส่งวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธไปเฝ้า โดยบอกให้กราบทูลว่า พระองค์จะทรงยกทัพไปปราบกำจัดแคว้นวัชชีให้พินาศย่อยยับ และให้ฟังดูว่า พระพุทธเจ้าจะตรัสว่าอย่างไร อันนี้เป็นข้อปรารภให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักอปริหานิยธรรมหลายหมวด

    ต่อมา พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากเมืองราชคฤห์แห่งมคธ เพื่อไปทรงจำพรรษาในแคว้นสัชชี ได้เสด็จผ่านนาลันทาไปยังหมู่บ้านปาตลิคาม(ปาฏลิคาม ก็เขียน) เพื่อเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาจากที่นั่นไปเข้าสู่เขตแดนของวัชชี

    เมื่อเสด็จถึงปาตลิคาม ก็ทรงได้พบกับสุนีธะ และวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งมคธ ซึ่งมาบัญชาการสร้างเมืองหน้าด่านเพื่อต้านโต้วัชชีดังที่กล่าวข้างต้น

    สุนีธะ และวัสสการได้มาเฝ้า และทูลนิมนต์ไปรับถวายภัตตาหารที่บ้านพักของตน หลังจากเสวยภัตต์ที่นั่นแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปทรงข้ามแม่น้ำคงคาเข้าสู่เขตแดนแคว้นวัชชี และเสด็จต่อไปเพื่อจำพรรษาที่เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี ที่เป็นเมืองหลวงของวัชชี(ตามความในมหาปรินิพพานสูตร จะเห็นเส้นทางเสด็จของพระพุทธเจ้าในปีสุดท้ายที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ลำดับสั้นๆคือ เริ่มที่เมืองราชคฤห์ แล้วเสด็จออกเดินทางแวะที่ราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ที่เมืองนาลันทา(ณ ปาวาทิกัมพวัน) ที่ปาตลิคาม ทรงข้ามแม่น้ำคงคาเข้าเขตวัชชี เสด็จต่อไปแวะที่โกฏิคาม ที่นาทิกคาม(นาติกา ก็ว่า) แล้วเสด็จถึงเมืองเวสาลี แวะที่อัมพปาลีวัน แล้วไปทรงจำพรรษาที่เวฬุคาม ระหว่างพรรษาทรงอาพาธหนัก ทรงดำริว่าไม่ควรจะปรินิพพานโดยยังไม่ได้ลาอุปัฏฐาก และภิกษุสงฆ์ จึงทรงระงับอาพาธไว้(พระสูตรพักเรื่องนี้ไว้ อรรถกถาเล่าแทรกต่อว่า ออกพรรษาแล้ว เสด็จไปเมืองสาวัตถี แล้วไปเมืองราชคฤห์ แล้วข้ามแม่น้ำคงคาเข้าเขตวัชชีที่อุกกเจลา) พระสูตรเล่าต่อว่า เสด็จเข้าเมืองเวสาลี ปลงพระชนมายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์(จาปาล ก็ว่า) แล้วทรงแจ้งแก่ที่ประชุมสงฆ์ที่ป่ามหาวัน เสด็จเข้าไปบิณฑบาตครั้งสุดท้ายในเวสาลี จากนั้น เสด็จไปแวะภัณฑคาม หัตถิคาม อัมพคาม ชัมพุคาม โภคนคร แล้วไปเมืองปาวา เสวยที่บ้านนายจุนทะ แล้วเสด็จสู่เมืองกุสินารา ปรินิพพานที่สาลวโนทยาน)

    ตอนนั้น เมืองหน้าด่านที่กำลังสร้างยังไม่ปรากฎชื่อ รู้กันเพียงว่าเป็นเมืองใหม่ซึ่งสร้างขึ้นที่หมู่บ้านปาตลิคาม มาได้ยินชื่ออีกทีเป็นปาตลีบุตร เมื่อกลายเป็นเมืองใหญ่โตแล้ว เป็นเมืองหลวงใหม่ของมคธในยุคหลังต่อมา รวมทั้งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

    รวมความว่า เวลานั้น พระเจ้าอชาตศัตรูกำลังมีปัญหากับแคว้นวัชชี ต้องการปราบแคว้นวัชชี จึงต้องสร้างความเข้มแข็งด้านชายแดน โดยเฉพาะหมู่บ้านปาตลิคามนั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ อยู่บนฝั่งแม่น้ำคงคาด้านตรงข้ามแคว้นวัชชี เพียงมีแม่น้ำคงคาคั่นอยู่ จึงได้ทรงดำเนินการสร้างให้เป็นเมืองป้อม หรือเมืองหน้าด่าน เพื่อเตรียมทำสงครามกับแคว้นวัชชี นี่คือกำเนิดของเมืองปาตลีบุตร(ปัจจุบันชื่อได้เพี้ยนมาเป็น ปัตนะ)

    ต่อมา วัสสการพราหมณ์ผู้สร้างเมืองหน้าด่านที่ปาตลิคาม ก็ใช้กลอุบายให้พระเจ้าอชาตศัตรูทำทีลงโทษขับไล่ตัวออกไป แล้วก็เข้าไปอยู่กับพวกวัชชี พอได้โอกาสก็เกลี้ยกล่อมยุแหย่ จนกระทั่งกษัตริย์ลิจฉวีที่ปกครองแคว้นวัชชีนั้นแตกสามัคคีกันหมด

    เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพไป พวกเจ้าลิจฉวี กษัตริย์วัชชีไม่พร้อมใจกัน อ่อนแอก้เลยพ่ายแพ้ อาณาจักรวัชชีก็พินาศ และกลายเป็นดินแดนของแคว้นมคธสืบมา นี่เป็นเหตุการณ์หลังพุทธกาลไม่นาน

    ต่อมา หลังพุทธกาลนั้นไปอีกนาน จนกระทั่งสิ้นวงศ์ของพระเจ้าอชาตศัตรูไปอีกระยะหนึ่งแล้ว จึงมีการย้ายเมืองหลวงจากราชคฤห์มาอยู่ที่ปาตลีบุตร ซึ่งตอนนั้นเป็นเวลาที่แคว้นวัชชีได้สิ้นอำนาจไปนานแล้ว และแคว้นมคธที่มีปาตลีบุตรเป็นเมืองหลวงก็เจริญสืบมา จนกระทั่งถึงยุคสมัยของพระเจ้าอโศกแห่งโมริยวงศ์

    สู่ความยิ่งใหญ่หนึ่งเดียว: เหลือมคธ หมดโกศล

    ส่วนโกศลก็เป็นแคว้นยิ่งใหญ่ และดังได้บอกแล้ว ก่อนถึงพุทธกาล กาสีซึ่งมีพาราณสีเป็นเมืองหลวง ได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ปกครองทั้ง ๒ แคว้น เป็นมหาอำนาจ

    พระเจ้าปเสนทิโกศลมีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าพิมพิสาร เพราะทรงเป็นพี่เขย กล่าวคือเจ้าหญิงโกศลเทวีซึ่งเป็นพระกษิษฐาของพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร

    เมื่อองค์ราชาทรงเป็นพระญาติกันแล้ว แคว้นทั้ง ๒ นี้ซึ่งอยู่ในฐานะที่จะแข่งอำนาจกันก็อยู่กันโดยสงบ และมีความใกล้ชิดกันมาก ข้อนี้อาจจะเป็นโยงใยอย่างหนึ่งที่ว่า เมื่อพระเจ้าพิมพิสารมีความสัมพันธ์เลื่อมใสพระพุทธเจ้า ก็ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลมีความเลื่อมใสง่าย เพราะมีความใกล้ชิดสนิทถึงกัน

    เมื่อพระเจ้ามหาโกศล พระราชบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานพระราชธิดาไปอภิเษกสมรสกับพระเจ้าพิมพิสารแล้ว ก็ได้พระราชทานหมู่บ้านในแคว้นกาสีหมู่บ้านหนึ่ง ให้เป็นของขวัญในงานอภิเกสมรสแก่แคว้นมคธของพระเจ้าพิมพิสาร

    ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งเป็นหลานของพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ปลงพระชนม์พระราชบิดาคือพระเจ้าพิมพิสาร พระนางโกศลเทวีซึ่งเป็นพระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร และเป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเสียพระทัยมาก จนเป็นเหตุให้สิ้นพระชนม์ตามไป

    พระเจ้าปเสนทิโกศลกริ้วพระเจ้าอชาตสัตรูเป็นอย่างยิ่ง จึงยึดเอาหมู่บ้านกาสีที่ได้เคยพระราชทานให้เป็นของขวัญนั้นกลับคืนมา โดยทรงถือว่าผู้ฆ่าพ่อไม่มีสิทธิ์ได้ทรัพย์สมบัติของพ่อ แล้วต่อมาก็ทรงทำสงครามกับพระเจ้าอชาตศัตรู ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ

    ครั้งสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศลจับเป็นพระเจ้าอชาตศัตรูได้ แต่ก็ไม่ฆ่าเพราะเห็นเป็นพระนัดดา แต่ให้สละราชสมบัติ และต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลคงจะเห็นพระทัย โปรดให้กลับไปครองราชสมบัติอีก และยังพระราชทานพระราชธิดาให้ไปด้วย มคธ กับโกศลจึงกลับเป็นไมตรีกันอีกจนกระทั่งสิ้นรัชกาล

    ในตอนปลายรัชกาล เจ้าชายวิฑูฑภะ ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ยึดอำนาจพระเจ้าปเสนทิโกศล

    พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงม้าหนีไป โดยตั้งพระทัยจะไปขอกำลังพระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งเป็นพันธมิตรกันแล้ว และก็เป็นหลานด้วยให้มาช่วย ได้ทรงม้าตลอดเวลายาวนาน และรีบร้อน ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก โดยมีผู้ติดตามไปคนเดียว

    พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปไม่ทัน ประตูเมืองปิดเสียก่อน เพราะที่เมืองราชคฤห์นั้น พอค่ำเขาก็ปิดประตุเมือง และไม่ว่าใครทั้งนั้นไม่ยอมให้เข้า จึงต้องประทับค้างแรมอยู่นอกเมือง

    ขณะนั้น ทรงพระชรามากแล้ว ใพระชนมายุถึง ๘๐ พรรษาอีกทั้งอากาศก็หนาวมาก และทรงเหน็ดเหนื่อยมาด้วย เลยเสด็จสวรรคตที่หน้าประตูเมือง พอรุ่งขึ้น ข่าวถึงพระเจ้าอชาตศัตรู ก็เสด็จมาอัญเชิญพระศพไปจัดพิธีถวายพระเพลิง

    ฝ่ายเจ้าชายวิฑูฑภะ เมื่อยึดอำนาจได้แล้ว ด้วยเพลิงแคว้น และผูกอาฆาตไว้ต่อศากยะที่เคยแสดงความรังเกียจเหยียดหยามชาติกำเนิดของตน ต่อมาก็ยกทัพไปล้างเผ่าพันธุ์ศากยะ ครั้นเสร็จการแล้ว ในยามราตรี ระหว่างทางกลับสู่ราชานี ขณะพักทัพบนหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี มีฝนใหญ่กระหน่ำ และน้ำได้ขึ้นมาไหลบ่าอย่างรวดเร็วท่วมกองทัพ พารี้พลกับทั้งพระเจ้าวิฑูฑภะให้ม้วยมรณ์ในกระแสน้ำ และทำให้โกศลรัฐร้างราชาไร้ผู้ปกครอง

    ดังได้เล่าแล้วว่า หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วพระเจ้าอชาตศัตรูได้ยกทัพไปกำจัดแคว้นวัชชีสำเร็จ และอีกด้านหนึ่ง แคว้นโกศลก็ถูกผนวกเข้าไปไว้ใต้อำนาจแคว้นมคธ จึงเป็นอันว่า ทั้งแคว้นวัชชี และแคว้นโกศลก็ได้เข้าไปรวมอยู่ในแคว้นมคธ

    โดยนัยนี้ จึงเหลือแต่มคธ เป็นแคว้นเดียวที่ยิ่งใหญ่ เป็นมหาอำนาจสูงสุด และรุ่งเรืองต่อมา จนในที่สุดได้ตกเป็นของราชวงศ์โมริยะ เมื่อพระเจ้าจันทรคุปต์ พระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราชขึ้นครองมคธนั้น เริ่มราชวงศ์ในปี พ.ศ. ๑๖๘ (นับ และคำนวณอย่างฝรั่งว่า 321 BC/ พ.ศ. ๑๖๓) หลังจากที่อเล็กซานเดอร์มหาราช้เลิกทัพกลับไปจากการที่จะเข้าตีอินเดียในปี 325 BC

    จากนั้น เวลาก็ผ่านมาจนพระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์เป็นราชาแห่งมคธในปี พ.ศ. ๒๑๘

    เรื่องเป็นมาอย่างไร พึงดูกันต่อไป


    แหล่งที่มาของข้อมูล: นิเทศ จารึกอโศก ภาค ๑ "จารึกอโศก" (ธรรมจักรบนเศียร ๔ สิงห์) รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย โดยพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  18. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เรียน ทีมผู้ดูแลเว็ปบอร์ด
    <O:p</O:p
    ความเห็นนี้อยู่ในระหว่างการจัดเตรียมข้อมูล457

    บรรพชนทวา
     
  19. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เรียน ทีมผู้ดูแลเว็ปบอร์ด
    <O:p</O:p
    ความเห็นนี้อยู่ในระหว่างการจัดเตรียมข้อมูล458

    บรรพชนทวา
     
  20. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เรียน ทีมผู้ดูแลเว็ปบอร์ด
    <O:p</O:p
    ความเห็นนี้อยู่ในระหว่างการจัดเตรียมข้อมูล459

    บรรพชนทวา
     

แชร์หน้านี้

Loading...