พยากรณ์กรรม โดยยึดหลักธรรมคำสอนพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'บริการรับดูดวง' ตั้งกระทู้โดย รัตนชาติ, 7 มีนาคม 2011.

  1. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=tRfYbDfwAKk&feature=BFa&list=PL65CCA56B3963AA32&index=15"]‪梵唱大悲咒 มหากรุณาธารณีสูตร ธิเบต‬‏ - YouTube[/ame]
     
  2. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=d8V6kPlVUFs&feature=BFa&list=PL65CCA56B3963AA32&index=16]‪大悲咒(2009版)-天籟梵音‬‏ - YouTube[/ame][BIGVDO][/BIGVDO]
     
  3. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=PmLRoLPRITo&feature=bf_next&list=PLB86D942445FFD31F&index=11]‪Imee Ooi- The Great Compassionate Mantra / 黃慧音- 大悲咒梵音修心版‬‏ - YouTube[/ame][BIGVDO][/BIGVDO]
     
  4. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Lgru09EljAQ&feature=related]‪Dao Cinderella @ 84000 [29/06/10] [1/2]‬‏ - YouTube[/ame][BIGVDO][/BIGVDO]
     
  5. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
  6. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
  7. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
  8. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    เพื่อน ๆ ทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านเกี่ยวกับเรื่องของธรรม การพยากรณ์ ความเชื่อ ความศรัทธา ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ขอให้ใช้ปัญญาในการพิจารณา ทุกสิ่งทุกอย่าง มี2ด้าน ขอให้จิตของเราตั้งมั่นในกุศล อย่าได้ประมาท ให้รู้ทันจิต ทันกิเลส ตัณหา อุปทาน ไม่หลงยึดติด ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วน เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีตัวเรา ของเรา จงใช้ชีวิตการเป็นมนุษย์ ด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ด้วยอารมณ์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อมีสมาธิ เกิดปัญญา จิตที่ละเอียด แยกแยะผิด ชอบ ชั่ว ดี ระงับกิเลส ตัณหา อุปทาน ความยึดมั่น ถือมั่น ตัวเรา ของเรา ได้แล้ว จิตต้องมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สิ่งเหล่านี้ คือหนทาง และวิธีที่จะช่วยให้เราพ้นจากความทุกข์
     
  9. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ตนเป็นที่พึ่งแ่ห่งตน ไม่มีใครช่วยเราให้พ้นทุกข์ได้ มีแต่ตัวเราเท่านั้น จิตของเราเป็นคนสร้างทุกอย่างเอง ไม่ว่าความสุข ความทุกข์ ปัญหาต่าง ๆ โดยที่เรารู้สึกระลึกได้บ้างไม่ได้บ้าง สร้างกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมส่งผล และผลที่ส่งนั้นอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า หรือใช้เวลานานกว่าหรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับกำลังของกรรมที่ส่งผล ขอให้ทุกคนตระหนักถึงคำว่า หิริ โอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป คืออกุศล ไม่ว่าจะด้วยทางกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม หนีอย่างไรก็ไม่พ้น ทุกคนต้องรับผลของกรรมทั้งสิ้น จะหนักเบาต่างกัน อย่างเช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ชาติสุดท้ายที่ท่านตรัสรู้แล้ว เศษกรรมที่ท่านได้เคยสร้างกรรมไว้ ก็ยังต้องส่งผล เพียงแต่บารมีที่ทำได้สร้างกุศลไว้ จึงช่วยให้ท่านได้รับผลกรรมแต่มีเทวดาคอยช่วยเหลือ พวกเราได้ข้อคิดตัวอย่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การสร้างบารมี สร้างกุศลมีส่วนช่วยให้ผลของกรรมนั้นเบาบางลงได้ แต่หนีกรรมไม่ได้ มีแต่ช่วยให้หนักเป็นเบาได้
     
  10. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
  11. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    มนุษย์เราในสมัยนี้ น่ากลัวมากค่ะ จิตใจมีแต่อกุศล ทั้งคำพูด การกระทำ ดูไม่รู้ ฟังไม่รู้ ว่าจริงหรือเท็จ เหมือนการแสดงละคร ตามบทบาท ที่ผู้กำกับคือความคิดจากจิตใต้สำนึกของคนนั้น จะแสดงต่อบุคคลใด ฐานะใด สถานการณ์เช่นไร แม้แต่คนที่อยู่ในสังคมในทางธรรม ก็ใช่ว่าจะเป็นผู้มีศีล มีธรรม มีความจริงใจ ไม่เห็นแก่ตน ทุกสังคมมีแฝงอยู่ทั่วไป พวกมิจฉาทิฏฐิ
     
  12. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    สัญชาติญาณของคนเราส่วนใหญ่ ทุกคนจะเห็นแก่ตัว รักตัวเอง มากที่สุด จะมากหรือน้อย ต่างกัน แต่สิ่งเหล่านี้ ถ้าเรามีความเมตตา ความรัก ความกรุณา ต่อผู้อื่น ให้มาก ๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ให้รักตนเอง เราต้องรักและเมตตาตนเองด้วย ปรารถนาดีต่อตนเอง จัดการกับตนเองด้วยความรัก ความเมตตากับตนเอง แล้วเผื่อแผ่ความเมตตา ความรัก ให้ผู้อื่น
     
  13. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ในเรื่องของการคบบัณฑิต อย่าคบคนพาล ซึ่งอยู่ในมงคลสูตรข้อแรกนั้น ถ้าเราแยกแยะความละเอียดของข้อความนี้ จะทราบถึงว่า ทำไมการคบบัณฑิตเป็นอย่างไร การคบคนพาลเป็นอย่างไร แต่ในสมัยนี้ ค่อนข้างหายาก มีน้อยมาก ๆ มีแต่ฉาบฉวย ดูภายนอกเหมือนเป็นบัณฑิต แต่ภายในนั้น เป็นคนพาล การเลือกคบจึงยากมาก บางคนกว่าจะรู้ก็สายไป บางคนรู้ทันก่อน ก็แยกตัวเองออกมาได้ แต่สำหรับคนที่ไม่สามารถแยกออกมาได้ ก็ต้องอดทนต่อความทุกข์ ปัญหาต่าง ๆ สิ่งร้าย ๆ
     
  14. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    คนเราทุกวันนี้ทำอกุศล สร้างบาปกันทุกวัน บางครั้งก็รู้ บางครั้งก็ไม่รู้ แต่ก็ทำ มีทั้งเจตนา ไม่เจตนา สอนผู้อื่น แต่ตนเองทำไม่ได้ หรือ ไม่ได้เป็นตัวอย่างทีดี ให้ผู้อื่นทำตามได้ บางคนรู้มามาก เที่ยวสอนผู้อื่น แต่ลืมไม่ได้สอนตนเอง ไม่ได้สอนคนในครอบครัว คนใกล้ตัว ให้ทำตามแบบที่ตนรู้มาและสอนผู้อื่น
    เพราะคิดว่าการให้ธรรมแก่ผู้ที่เราไม่รู้จักได้ผลบุญมากกว่า จึงลืมนึกถึงตนเองและคนใกล้ตัว การให้ธรรมนี้เพื่อสอนให้ทุกคน คิด พูด ทำ ในสิ่งที่ดีที่เป็นกุศล งด ละ เลิก ห่างไกล จากอกุศล และคนพาล ซึ่งจะนำพามาซึ่งอกุศล ต่อ ๆ ไปได้
     
  15. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    มีตัวอย่างชีวิตที่มีความสุขมาให้อ่านค่ะ

    ยายครับ ยายยังขาดอะไรในชีวิตครับ
    ยายตอบอย่างภาคภูมิใจ ยังขาดความทุกข์
    ฝากพิจารณาอ่านครับได้สาระอย่<wbr>างมหาศาล


    ชอบประโยคนี้จัง
    พิธีกร : เดินไปวัดลำบาก เหนื่อยไหม
    ยายยิ้ม : เหนื่อยก็พัก แล้วเดินต่อ ทางไปสวรรค์มันรก ทางไปนรกมันเรียบ เห็นพระก็หายเหนื่อย

    [​IMG]
    ยายยิ้ม หญิงร่างเล็ก หลังงุ้ม ใบหน้าเปื้อนรอยยิ้มสมชื่อ
    อาศัยในบ้านไม้ที่เกือบเสร็จท่<wbr>ามกลางป่าเขา
    จ.พิษณุโลก อยู่ลำพังอย่างเดียวดาย ห่างไกลผู้คนและเงียบสงัด

    เมื่อ 20 ปี ก่อน ยายมีบ้านอยู่ที่อำเภอพรหมพิราม พร้อมลูกหลาน
    ตอนนั้นลูกชายคนเล็กตั้<wbr>งใจจะมาบุกเบิกทำมาหากินบริ<wbr>เวณที่อยู่ปัจจุบัน
    แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้ง ความไกล ไข้ป่า และความลำบาก
    ส่งผลให้ลูกชายของยายเลือกที่<wbr>จะไปขับรถแท๊กซี่ใน กทม.

    และไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ และการไม่อยากเป็นภาระลู<wbr>กหลานหรืออื่นๆ
    ยายยิ้มจึงตัดสินครั้งสำคัญ อาศัยอยู่ที่บ้านในป่าผืนนั้น เป็นต้นมา

    ลูกหลานขอร้องให้ยายกลับมาอยู่<wbr>บ้านแต่ยายไม่กลับ
    ลูกหลานจึงได้แต่มาเยี่ยมยายเป็<wbr>นระยะรวมถึงการนำเสื้อผ้าผ้าห่ม
    ข้าวสารอาหารแห้งมาให้ยาย ลูกชายคนที่ยังอยู่<wbr>ในอำเภอพรหมพิรามบอกว่า
    "
    แม่เขาจะบอกว่าไม่ต้องเอามาให้<wbr>มากนะ ในชีวิตเขา แม่เขาไม่เคยอยากได้อะไรเลย
    เคยถามเขาก็บอกว่า เขาพอแล้ว สมัยยังเด็กบ้านเราจนกันมาก
    พ่อก็ตายตอนที่เรายังเล็ก ๆ แต่แม่คนเดียวก็หา
    เลี้ยงลูกได้ มานึกดูแกต้องทำงานหนักมาก แม่ถึงเน้นสอนให้เข้มแข็ง
    หนักเอาเบาสู้ไม่เลือกงาน"
    ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาท่ามกลางขุนเขา ยายไม่มีนาฬิกา
    แต่ทุกเวลาล้วนมีคุณค่า การมีชีวิตอยู่ของยายหมดไปกั<wbr>บการปลูกต้นไม้
    ทำฝายเล็ก ๆ ที่ยายได้อาศัยในยามหน้าแล้<wbr>งและยังเป็นสายธาร
    หล่อเลี้ยงบรรดาสัตว์ และต้นไม้บนผืนแผ่นดินนี้
    และตั้งใจถวายในหลวงและพระราชิ<wbr>นี ยายรักในหลวงและพระราชินีมาก
    กิจวัตรประจำวัน ตื่นแต่เช้า จุดธูปไหว้พระ เก็บมุ้ง กระย่องกระแย่งมาจุดฟืนหุงข้าว
    ตักข้าวสุกแรกเก็บไว้ ตักข้าวกินกับน้ำพริก หรือ ปลาแห้งที่เก็บไว้
    ลงมากวาดลานบ้าน ซักผ้า หาบน้ำที่ลำห้วย ออกไปหาฟืนหาไม้ มาเก็บไว้

    ก่อนจะคดข้าวใส่กล่อง น้ำพริก ใส่ย่าม สวมที่ขาดวิ่น ใช้พร้าแทนไม้เท้าเวลาเดิน
    ข้ามห้วย ข้ามหนอง เข้าไปในป่าลึก ผ่านฝายเล็กๆ หรือคันนาที่ยายทำไว้ 11 ฝาย
    เป็นคันดินที่ยายใช้ "จอบกับใจ" ค่อยๆขุดขึ้นมา กลายเป็นแอ่งน้ำเล็กๆกักเก็บน้ำ
    พอให้สัตว์เล็กได้มาอาศัย ต้นไม้ชุ่ม ชื่น ระหว่างนั้นก็เอาข้าวมาโปรยให้<wbr>สัตว์
    ในแอ่งดินกันทำคันดินนี้เสร็จ ก็เข้าไปลึกเรื่อยๆ ที่ละฝาย ทีละฝาย
    เวลาแต่ละวันผ่านไปเท่าไหร่ไม่<wbr>รู้ เหนื่อยก็พัก แล้วก็เดิน กลับบ้าน
    ชีวิตยาย เป็นไปอย่างเรียบง่าย

    ทุก ๆ วันพระ ยายจะเดินลงมาจากเขา ด้วยระยะทางเกือบ 8 กิโล
    บวกกับวัยชราของยาย จึงทำให้ยายใช้เวลาใน การเดินทางกว่า 3 ชั่วโมง
    แต่ก็ไม่ได้ทำให้ศรั<wbr>ทธาของยายเสื่อมถอยลง ลำพังคนหนุ่มสาว
    จะให้เดินขึ้นลงเขา สัก 7-8 กิโลเมตร ยังเ ล่นเอาเหงื่อตก
    แต่สำหรับยายยิ้มถือเป็นกิจวั<wbr>ตรสม่ำเสมอทุกวันโกน วันพระเพราะไม่ว่าฝนจะตก
    ฟ้าจะร้อง ยายก็ต้องไปถึงวัดไม่เคยขาด

    ระยะทางไกลที่เต็มไปด้วยหล่<wbr>มโคลน ถนนเป็นร่อง ขรุขระ ยายยิ้ม
    จะออกเดินเท้าจากบ้านตั้งแต่เช้<wbr>ามืด เหนื่อยก็พัก ถึงวัดกี่โมงไม่รู้
    รู้แต่เมื่อถึงวัดก็เปลี่ยนชุ<wbr>ดชาว สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ทำความสะอาดวัด
    ทำบุญ เมื่อกลับจากวัด แกก็จะมานับวันหลังจากนั้นไปถึ<wbr>งวันโกนวันพระอีกที
    ก่อนที่เดินกลับบ้านในป่า ยายเลือกใช้ชีวิตเพียงลำพัง
    และใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวอย่<wbr>างมีความสุขอีกครั้ง

    เราขาดในสิ่งที่ยายยิ้มมี นั่นคือ ความพอเพียง ความศรัทธา ความไม่โลภ
    เรามีในสิ่งที่ยายขาด นั่นคือ ความทุกข์

    พิธีกร : ข้าวสารอาหารแห้งเอามาจากไหน
    ยายยิ้ม : ลูกหลานเข้าเอามาให้ เขาเอามาให้ก็ต้องกิน
    เขาจะได้บุญและก็ต้องกินอย่<wbr>างประหยัดๆ ไม่ฟุ่มเฟือย

    พิธีกร : ฝนตกเปียกไหม
    ยายยิ้ม : ก็หลบๆเอา ไม่ลำบาก อย่าคิดว่ามันลำบาก

    พิธีกร : เสื้อผ้า ขาดแล้วยังใส่อยู่
    ยายยิ้ม : ลูกหลานเข้าเอามาให้ ใส่ไว้เขาจะได้บุญ

    พิธีกร : ลูกหลานอยากให้ไปอยู่ด้วยกัน
    ยายยิ้ม : ไม่ใช่ว่าจะไม่พึ่ง แต่ให้หมดค่าก่อนค่อยพึ่ง ป่วยไม่สบายไม่มีแรงค่อยพึ่งเขา

    พิธีกร : ทำฝายไปให้ใคร
    ยายยิ้ม : ให้ในหลวงพระราชินี ท่านเป็นถึงเจ้าแผ่นดินยังทำงาน เราก็ต้องทำให้ท่านบ้าง..
    ส่วนสิ่งที่ทำในหลวงไม่เห็นผี<wbr>สางเทวดาก็เห็น

    พิธีกร : ได้ประโยชน์อะไรจากฝาย
    ยายยิ้ม : ในหลวงบอกมีฝายมีน้ำ มีป่า มีปลาเล็กเป็นอาหารนกอีกทีรวมถึ<wbr>งได้ใช้ยามหน้าแล้ง

    พิธีกร : กลัวล้มไหมเวลาเดินไปไหน
    ยายยิ้ม : กลัวแต่ก็ต้องทำ ทำแล้วมีความสุข

    พิธีกร : เหนื่อยไหมที่ทำมา
    ยายยิ้ม : เหนื่อย แต่ทำแล้วมีความสุข

    พิธีกร : เดินไปวัดลำบาก เหนื่อยไหม
    ยายยิ้ม : เหนื่อยก็พัก แล้วเดินต่อ ทางไปสวรรค์มันรก ทางไปนรกมันเรียบ เห็นพระก็หายเหนื่อย

    พิธีกร : สรุปว่าทุกอย่างอยู่ที่ใจ
    ยายยิ้ม : คนอื่นว่าลำบากแต่ถ้าเราคิดว่<wbr>ามันเป็นสวรรค์มันก็ไม่ลำบาก

    พิธีกร : ยายมาทำบุญทุกวันพระไหม
    ชาวบ้าน : ยายมาประจำแหละ ยายแกชอบทำบุญ ได้เบี้ยเดือน 500 แกยังทำบุญหมดเลย

    พระ (กางมุ้งให้ยายนอนในศาลาวัด) : ไม่บาปหรอกยาย ช่วยๆกัน ดูแลกัน
    ยาย (นั่งยิ้มด้วยความจำนน)
    ยาย เอาเงินที่เก็บๆรวมถึงเงินที่<wbr>ชาวบ้านให้ไว้มาทำบุญ
    ยาย อวยพรให้และภาวนาให้คนที่ทำบุ<wbr>ญด้วย
    พิธีกร : ยายรู้จักเขาเหรอ
    ยายยิ้ม : (ยิ้ม) ไม่รู้จักหรอก เห็นบอกว่าจะบวชก็เลยทำบุญ
    ให้ยายทำบุญนะ (สงสัยคงจะเป็นเงินที่<wbr>ทางรายการให้)
    พิธีกร : ทำเถอะยาย ไม่ว่าอะไรหรอก

    พิธีกร : ยายมีของแค่นี้เหรอ (หยิบกระเป๋าใบเล็กที่บรรจุเสื้<wbr>อผ้า หยูกยาที่จำเป็น บัตรประชาชน)
    ยายยิ้ม : แค่นี้แหละเตรียมไว้ เวลาเจ็บป่วยขึ้นมา เอาไปใบเดียว คนอื่นจะได้ไม่ลำบากหา

    พิธีกร : จะไม่เป็นการแช่งตัวเองหรือ
    ยายยิ้ม : ยิ่งเจ็บ ยิ่งต้องพึ่งตัวเอง ยิ่งต้องเตรียมตัว

    พิธีกร : เวลายายไปตัดไม้ไผ่ ทำฝายไม่เกินกำลังเหรอ เอาแรงมาจากไหน
    ยายยิ้ม : หัวเราะเบาๆแล้วตอบว่า มันเกินกำลังอยู่แล้วล่ะ แต่ต้องมีความพยายามยายบอกวันนี<wbr>้หมดแรง นอนพัก พรุ่งนี้แรงก็มาใหม่

    พิธีกร : ยายยังขาดอะไรอีกในชีวิต
    ยายยิ้ม : ยายยิ้มสมกับชื่อ แล้วตอบอย่างภาคภูมิใจว่า ขาดความทุกข์
     
  16. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    เวลาที่เราพบกับปัญหาในชีวิต ที่ทำให้เรามีความทุกข์เกิดขึ้น เรามักโทษคนอื่น ว่าำพวกเค้าเหล่านั้นเป็นเหตุปัจจัยให้เราเกิดความทุกข์ เพราะการกระทำของเค้าบ้าง คำพูดของเค้าบ้าง เค้าทำให้เราผิดหวัง เสียใจ น้อยใจ ไม่พอใจ
    แต่ถ้าพิจารณาจากคำสอนพระพุทธเจ้า ถึง เหตุ-ผล ของกรรม คือการกระทำแล้วนั้น สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับเรา มาจากเหตุ คือตัวเราสร้างเหตุไว้เอง และเราก็กำลังได้รับผลนั้นอยู่ ไม่ใช่จากคนอื่น เราต้องยอมรับผลนั้น
    ศาสนาพุทธ การเวียนว่ายตายเกิด อดีตกรรม ปัจจุบันกรรม เป็นเหตุ เป็นผล
    เหตุสร้างไว้อย่างไร ผลที่ได้ย่อมได้อย่างนั้น มากน้อย เร็วช้า เนิ่นนาน แค่ไหน สุดแล้วแต่เหตุที่สร้าง หนัก-เบา แค่ไหน ยาวนานหรือไม่ ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ดูที่เจตนาด้วย ว่าในขณะที่สร้างนั้น กาย วาจา ใจ พร้อมกันหรือไม่ เช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล ที่สร้างไว้ วิบากแ่ห่งผลของการสร้างนั้น ก็ติดตามเราไปทุกภพทุกชาติ นำพาให้เราไปเกิดในภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุแห่งวิบากกรรมนั้น ๆ
     
  17. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    การพูดเพื่อเอาชนะ เพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ ว่าเหตุผลของตน หรือสิ่งที่ตนพูดนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด โดยไม่สนใจในคำพูด หรือเหตุผลของผู้อื่น การพูดนั้นก็จะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตามอารมณ์พาไป โดยที่สติปัญญาก็หมดไป เกิดโทสะขึ้น
    คำพูดที่เกิดขึ้น จะทวีคูณเป็นการโต้เถียงกัน โดยที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่ยอมยุติ อกุศลเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว กรรมเกิดขึ้นแล้ว และอาจจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จากจิตที่เป็นอกุศลแล้ว ต่อมาเป็นการพูด เป็นการกระทำ จากน้อยไปมาก สะสมไปเรื่อย ๆ ถ้าเราหยุดที่ต้นเหตุ ก็จะไม่มีการดำเนินต่อ หรือมีปลายเหตุ
    ทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง ไม่มีสิ่งใดแน่นอน วันนี้คำพูดของเรา ที่เราคิดว่ามีเหตุผลถูกต้อง แต่พอผ่านไป เราก็คิดว่าสิ่งที่เราได้พูดไปนั้น ไม่ถูกต้อง ไม่ดีเสียแล้ว เหมือนคำพูดของคน
    ง่าย ๆ ที่ผู้หญิงทุกคนต้องพบเจอเกือบทั้งนั้น วันที่ผู้ชายมารักมาชอบใหม่ ๆ จะพูดว่าเธอดี เธอสวย เธอเข้ากับฉันได้ทุกอย่าง ฉันรักเธอมาก คบกับฉันเถอะ พอวันเวลาผ่านไป คำพูดนั้นก็เปลี่ยนไปเธอไม่ดี เธอไม่สวย เราเข้ากันไม่ได้ ฉันไม่รักเธอแล้ว ฉันพบคนอื่นที่ดี ที่สวย ที่เข้ากันได้ มากกว่าเธอแล้ว
    เป็นต้น
     
  18. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ... กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก...

    เพราะฉะนั้น คำพูดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก จะนำพามาซึ่งสิ่งที่ดี หรือไม่ดี ในชีวิตของเราทุกคน ดูเรื่องตัวอย่างของคุณยายยิ้มที่นำมาลงไว้ก็ได้นะค่ะ
    บางทีคนเราพูดมาก แบบไม่มีสาระ โดยไม่ได้คิดอะไร แต่คนที่ฟัง อาจคิดและมีทั้งชอบไม่ชอบ พอใจไม่พอใจ การที่นิ่ง ๆ สงบ ๆ สวดมนต์ในใจไปเรื่อย ๆ ก็ดีนะค่ะ ช่วยให้ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่พูดมาก มีสติตลอดเวลา กับลมหายใจ กับการสวดมนต์ กับสิ่งที่กระทำอยู่
     
  19. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ผลของการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (รวมไปถึงการทำร้ายสัตว์ด้วยแม้ไม่ถึงตายก็ตาม)
    มี ๙ ประการ คือ

    ๑. พิการ

    ๒. รูปไม่งาม
    ๓. กำลังกายอ่อนแอ
    ๔. กำลังกายเฉื่อยชา
    ๕. เป็นคนขลาด
    ๖. ฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า
    ๗. โรคภัยเบียดเบียน
    ๘. ความพินาศของบริวาร กำลังปัญญาไม่ว่องไว
    ๙. อายุสั้น

    ผลของการขี้ขโมยมี ๖ ประการ คือ


    ๑. ด้อยทรัพย์

    ๒. ยากจน
    ๓. อดอยาก
    ๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา
    ๕. พินาศในการค้า
    ๖. ทรัพย์พินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัยเป็นต้น

    ผลของการแย่งคนรักของชาวบ้าน มี ๑๑ ประการ คือ


    ๑. มีผู้เกลียดชังมาก

    ๒. มีผู้ปองร้ายมาก
    ๓. ขัดสนทรัพย์
    ๔. ยากจนอดอยาก
    ๕. เป็นหญิง (เป็นหญิงที่อับโชค)
    ๖. เป็นกระเทย
    ๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ
    ๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
    ๙. ร่างกายไม่สมประกอบ
    ๑๐. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
    ๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

    ผลของการขี้ปด มี ๘ ประการ คือ


    ๑. พูดไม่ชัด

    ๒. ฟันไม่เป็นระเบียบ
    ๓. ปากเหม็นมาก
    ๔. ไอตัวร้อนจัด
    ๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
    ๖. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้น และปลายปาก
    ๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
    ๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต

    ผลของการชอบพูดซุบซิบนินทา มี ๔ ประการ คือ


    ๑. ตำหนิตนเอง

    ๒. มักจะถูกลือโดยไม่มีความจริง
    ๓. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน
    ๔. แตกมิตรสหาย

    ผลของการพูกเพราะความโกรธ(การด่า) มี ๔ ประการ คือ


    ๑. พินาศในทรัพย์

    ๒. ได้ยินเสียง เกิดไม่พอใจ
    ๓. มีกายและวาจาหยาบ
    ๔. ตายด้วยอาการงงงวย

    ผลของการพูดเพ้อเจ้อ เช่น การล้อเล่น ,พูดจาไม่มีประโยชน์, พูดเล่น ฯลฯ

    มี ๔ ประการ คือ

    ๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล

    ๒. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน
    ๓. ไม่มีอำนาจ
    ๔. จิตไม่เที่ยง คือ วิกลจริต

    ผลของความอยากได้ อยากมีในทรัพย์ของผู้อื่นมี ๔ ประการ คือ


    ๑. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี

    ๒. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ
    ๓. มักได้รับคำติเตียน
    ๔. ขัดสนในลาภสักการะ

    ผลในปวัตติกาลของพยาบาท (ความเพ่งเล็ง จับผิด คิดร้าย

    อยากให้ผู้อื่นเสียหาย เช่น ขอให้ตายไวไวเป็นต้น) มี ๔ ประการ คือ

    ๑. มีรูปทราม

    ๒. มีโรคภัยเบียดเบียน
    ๓. อายุสั้น
    ๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย

    ผลของความเห็นผิด มี ๔ ประการ คือ


    ๑. ห่างไกลรัศมีแห่งพระธรรม

    ๒. มีปัญญาทราม
    ๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร
    ๔. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน

    ผลของเสพสุราเมรัย มี ๖ ประการ คือ


    ๑. ทรัพย์ถูกทำลาย

    ๒. เกิดวิวาทบาดหมาง
    ๓. เป็นบ่อเกิดของโรค
    ๔. เสื่อมเกียรติ
    ๕. หมดยางอาย
    ๖. ปัญญาเสื่อมถอย

    มาที่ส่วนของการทำดีบ้าง

    ทางของการกระทำ คือ บุญกริยาวัตถุ ๑๐ ได้แก่

    ๑. ทานมัย การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้รับ

    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) เป็นที่มาของทรัพย์สมบัติทั้งหลาย

    ๒) เป็นที่ตั้งของโภคทรัพย์ทั้งปวง
    ๓) ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข
    ๔) ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
    ๕) ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีผู้อื่นไว้ได้
    ๖) ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์น่านับถือ
    ๗) ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี
    ๘) ทำให้เข้ากับสังคมอื่นได้คล่องแคล่ว
    ๙) มีบุคลิกองอาจ สง่าผ่าเผย
    ๑๐) ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี
    ๑๑) ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

    ๒. สีลมัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล

    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) ทำให้มีความสุขกาย สุขใจ

    ๒) ทำให้เกิดโภคทรัพย์ได้
    ๓) ทำให้สามารถใช้สอยทรัพย์นั้นได้เต็มอิ่ม โดยไม่หวาดระแวง
    ๔) ทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงทรัพย์คืน
    ๕) ทำให้เกียรติคุณฟุ้งขจรไป ทำให้ผู้อื่นเกิดความเชื่อถือ
    ๖) ทำให้ชีวิตนั้นแกล้วกล้าองอาจท่ามกลางชุมชน
    ๗) ทำให้ไม่เป็นคนหลงลืมสติ
    ๘) ตายแล้วไปเกิดในสุคตภูมิ

    ๓. ภาวนามัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา

    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์

    ๑) มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม

    ๒) มีผิวพรรณผ่องใส
    ๓) มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
    ๔) มีความจำดี และกำลังปัญญาว่องไว
    ๕) เป็นคนใจคอเยือกเย็น
    ๖) เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น
    ๗) มีบุคลิกอันน่าศรัทธา
    ๘) เกิดในตระกูลดี
    ๙) มีบุคลิกสง่างาม
    ๑๐) มีมิตรสหายมาก
    ๑๑) เป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไป
    ๑๒) เป็นที่ชื่นชอบของบัณฑิต
    ๑๓) สมบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔
    ๑๔) ปราศจากอกุศลทั้งปวง
    ๑๕) ปลอดภัยจากศาสตราวุธ
    ๑๖) มีอายุยืน
    ๑๗) ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

    ๔. อปจายนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน ต่อผู้ที่ควรเคารพนบนอบ

    (คุณวุฒิ วัยวุฒิ ชาติวุฒิ)
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) เกิดในตระกูลสูง

    ๒) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
    ๓) มีมิตรสหายดี
    ๔) ได้รับคำชมเชยอยู่เสมอ
    ๕) มีความสมบูรณ์ในทรัพย์
    ๖) ได้พบเห็นแต่สิ่งที่ตนปรารถนา
    ๕. เวยยาวัจจะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการช่วยเหลือกิจการงานที่ชอบ
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑) มีความเป็นอยู่ดี สุขกายสุขใจ
    ๒) มีมิตรสหายมาก
    ๓) มีไหวพริบความจำดี
    ๔) มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง

    ๖. ปัตติทานะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น (การแผ่เมตตา)

    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) ไม่มีความอดอยาก ยากจน

    ๒) ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
    ๓) มีบริวารดี
    ๔) เป็นที่รักของผู้พบเห็น
    ๕) มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
    ๖) มีอายุยืน

    ๗. ปัตตานุโมทนา บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ

    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) มีสุขภาพสมบูรณ์

    ๒) มีฐานะดี
    ๓) มากไปด้วยลาภสักการะ
    ๔) พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ

    ๘. ธัมมสวนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม

    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) เกิดในตระกูลสูง

    ๒) มีสติปัญญาดี
    ๓) มีมิตรสหายดี
    ๔) มีความเชื่อมั่นในตนเอง

    ๙. ธัมมเทสนา บูญที่สำเร็จได้ด้วยการแสดงธรรม

    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) ไม่มีกลิ่นปาก

    ๒) มีฟันขาวเรียบ
    ๓) บุตรบริวารมีความเชื่อฟัง
    ๔) มีบุคลิกสง่างาม
    ๕) มีความจำดี
    ๖) เป็นที่ไว้วางใจแก่ผุ้พบเห็น

    ๑๐.ทิฏฐุชุกรรม บุญที่สำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑) มีปัญญาดี
    ๒) ไม่อดอยาก
    ๓) ไม่ยากจน
    ๔) มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
    ๕) มีบุคลิกสง่างาม
    ๖) พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ
    ๗) มีฐานะความเป็นอยู่ดี
    ๘) มีบริวารมาก
    ๙) มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น

    บุญกริยาวัตถุ ๑๐ เมื่อสงเคราะห์ลงในทาน ศีล ภาวนา ได้ดังนี้คือ


    ทาน ปัตติทานะ ปัตตานุโมทนา สงเคราะห์ใน ทาน

    ศีล อปจายะ เวยยาวัจจะ สงเคราะห์ใน ศีล
    ภาวนา ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา ทิฏฐุชุกรรม สงเคราะห์ใน ภาวนา
     
  20. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    เหตุ-ผล ของวิบากกรรมจากอดีตส่งผลมาที่ปัจจุบัน(100ชาติ)

    ในสมัยพระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์อยู่ มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อ มหากาล เป็นพระโสดาบัน เขามาวัดเชตวันทุกวันพระเพื่อถือศีล ๘ และฟังธรรมเสมอ โดยเขามักค้างคืนที่วัดแล้วกลับบ้านในยามเช้า วันหนี่งเขามาวัดถือศีลฟังธรรมแล้วพักผ่อนที่วัดตามปกติ พอรุ่งเช้าก็ไปล้างหน้าที่สระน้ำหน้าวัด เผอิญมีขโมยลักทรัพย์แล้ววิ่งหนีมา ถูกชาวบ้านไล่ตามมาจึงทิ้งของที่ขโมยไว้วางข้างสระน้ำที่นายมหากาลยืนล้าง หน้าอยู่ ฝ่ายชาวบ้านวิ่งมาถึงสระน้ำเห็นทรัพย์ของตนวางอยู่ข้างสระ และเห็นนายมหากาลอยู่ใกล้ทรัพย์ จึงเข้าใจผิดว่านายมหากาลเป็นขโมย ก็เลยรุมทุบตีจนถึงแก่ชีวิต

    เรื่องนี้ได้รับกล่าวขานกันว่านายมหากาลเป็นคนดี มาถือศีลฟังธรรมทุกวันพระ แล้วทำไมเขาจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นขโมยและถูกทุบตีจนถึงแก่ชีวิต พระภิกษุบางรูปจึงไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสว่า พวกเธออย่าดูกรรมแต่ปัจจุบันเพียงอย่างเดียว ต้องดูกรรมในอดีตด้วยว่าเขาก่อกรรมชั่วอะไรไว้บ้าง


    แล้วพระพุทธองค์ก็ตรัสเล่าบุพกรรมของนายมหากาลว่า ชาติก่อนเขาเคยเกิดเป็นเจ้าพนักงานคุ้มครองคนเดินทาง วันหนึ่งพบสามีภรรยาคู่หนึ่งเดินทางมา เขาเกิดความเสน่หาในภรรยาของคนเดินทาง ได้ออกอุบายอ้างว่าเดินทางในตอนค่ำมีอันตรายมาก จึงชวนสามีภรรยานั้นให้นอนพักค้างคืนที่บ้านของตน และในคืนนั้นเองเขาได้แอบเอาแก้วมณีไปซ่อนไว้ที่เกวียนของคนเดินทาง


    พอรุ่งเช้าเขาก็แกล้งพูดว่าแก้วมณีของเขาหายไป แล้วสั่งให้บริวารค้นหาของจากคนรอบข้าง และอุบายที่เขาวางไว้ก็สำเร็จผล เมื่อบริวารคนสนิทพบแก้วมณีนั้นอยู่ในเกวียนของคนเดินทาง เขาจึงสั่งให้บริวารคุมตัวคนเดินทางไว้แล้วทุบตีจนตาย ที่เขาทำเช่นนี้เพื่อจะได้ครอบครองภรรยาของนักเดินทางที่เขาเกิดเสน่หานั่น เอง


    ผลกรรมนี้ทำให้เจ้าพนักงานคุ้มครองคนเดินทาง (นายมหากาล) ต้องตกนรกเป็นเวลานาน เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นขโมย และถูกทุบตีจนเสียชีวิตเป็นอย่างนี้มาแล้วร้อยชาติ


    คนเราก่อกรรมเพราะกิเลสเป็นตัวผลักดัน จากเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าเกิดความหลงใหลในภรรยาของคนเดินทาง เมื่อเกิดความเสน่หาจึงวางแผนการณ์คิดร้ายเพื่อหวังครอบครองภรรยาเขา จนก่อให้เกิดกรรมออกอุบายใส่ร้ายคนเดินทางแล้วทุบตีจนตาย เมื่อก่อกรรมแล้วก็ต้องรับผลของกรรม ชดใช้กรรมนั้นในภพชาติต่อๆ ไปจนกว่าจะหมดวาระกรรมนั้น ทั้งต้องตกนรกทั้งเกิดใหม่ก็ต้องรับผลกรรมเช่นเดียวกับที่ทำไว้กับคนอื่น


    เรื่องจากพระไตรปิฏก ที่มาธรรมจักร

    มีหลายครั้งที่คนเราไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง เราทำดีแล้วแ่ต่ทำไมชีวิตของเราจึงไม่ได้ดี นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เราทราบว่าทำไม และได้คำตอบจากพระพุทธเจ้า
    ซึ่งสิ่งที่เราได้กระทำไว้ในอดีตชาติ เพียงครั้งเดียว ส่งผลให้เราต้องรับกรรมนั้นยาวนาน ทั้งในนรก และเกิดใหม่เป็นมนุษย์ก็ยังต้องรับกรรมนั้นอยู่อีก เช่นเรื่องนี้ถึงอีก 100 ชาติ
    ทุกคนไม่ควรประมาท ในทุกขณะจิต ที่เราคิด พูด หรือกระทำ เป็นเหตุทั้งกุศลและอกุศลทั้งสิ้น ทำให้เราเวียนว่ายตายเกิดใน 31 ภพภูมิ ไม่สามารถหลุดพ้นจากวัฏฏสงสารไปได้
    แค่ศีล 5 ก็ยัีงรักษาไม่ได้ครบ ยังผิดศีลกันอยู่
    เมื่อผลของกรรมส่งถึงในเวลานั้น ๆ ความทุกข์และปัญหาต่าง ๆ จะเกิดขึ้น เราก็โทษเวรโทษกรรม เราต้องโทษตัวเราเองที่สร้างเวรกรรมนั้นขึ้นมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 สิงหาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...