ถึงเวลาที่สยบข่าวภัยพิบัติ  ทางสายเอก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย คมสันต์usa, 14 ธันวาคม 2012.

  1. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    เมตตัญจ สัพพ โลกัสมิง มานสัมภาวเย อัปริมาณังฯ
    ---พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ-----
    ---ยืนอยู่ เดินไป  นั่งแล้ว นอนแล้วก็ดี   ก็ตั้งสติใว้เพียงนั้น---
      บุคคลที่มีเมตตา  มีศีล--เข้าถึงพร้อมด้วย ทัสสนะ ----
      ย่อมไม่ถึงความนอนเกิดในครรภ์อีก--โดยแท้ทีเดียวแลฯ

     (กรณียเมตตสูตร  ๒๕/๑๐ พระพุทธวจนะ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04700.JPG
      DSC04700.JPG
      ขนาดไฟล์:
      467.4 KB
      เปิดดู:
      35
    • kauai hawaii.jpg
      kauai hawaii.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63 KB
      เปิดดู:
      40
  2. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ถึงแม้นว่าตัวหายมาตายจาก
    จำต้องพรากจากกันในวันนี้
    คงเหลือแต่คุณงามแหละความดี
    ทุกนาทีสะสมใว้ไม่จากลา


    สาธุชนบนกระทู้ดูมากหน้า
    ต่างแสวงหาซึ่งพลังจิตคิดสงสัย
    ต้องฝึกฝนกันมาใช่ง่ายดาย
    หลายชาติใว้บำเพ็ญฌานมีนานมา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ขอโอกาสท่านเจ้าของกระทู้นะคะ
    เนื่องด้วยยังมีท่านสมาชิก ต้องการความกระจ่างเกี่ยวกับบุญกิริยาวัตถุ
    ข้อที่ว่าด้วยทาน
    โดยเฉพาะการถวาย"วัตถุทาน"แด่พระภิกษุสงฆ์
    ...

    ทานสูตร (บางส่วน)

    [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรม
    ทาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่าย
    ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรม
    เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ การอนุเคราะห์ด้วย
    อามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์
    ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต :09:

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2013
  4. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    อรรถกถา (บางส่วน)

    บทว่า ทานํ ได้แก่ สิ่งที่พึงให้. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาพร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่าทาน. บทว่า ทาน นี้ เป็นชื่อของการบริจาคสมบัติ. บทว่า อามิสทานํ ความว่า ปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสทานด้วยสามารถแห่งความเป็นของที่จะต้องให้.

    อธิบายว่า ปัจจัย ๔ เหล่านั้น ท่านเรียกว่าอามิส เพราะเป็นเครื่องจับต้องด้วยกิเลสมีตัณหาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาเป็นเครื่องบริจาคปัจจัย ๔ เหล่านั้น ชื่อว่าอามิสทาน.

    อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ปัญจมวรรค ทานสูตร :09:
     
  5. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    วัตถุทาน
    ทานวัตถุ คือ วัตถุ ที่ควรให้เป็นทานแก่ภิกษุ สามเณร ในพระพุทธศาสนา
    ๑. ภัตตาหาร
    ๒. น้ำรวมทั้งเครื่องดื่ม อันสมควรแก่ สมณบริโภค
    ๓. ผ้า เครื่องนุ่งห่ม
    ๔. ยานพาหนะ สงเคราะห์ปัจจัยค่าโดยสารเขาด้วย คือการถวายค่าพาหนะแก่สมณะ
    ๕. มาลาดอกไม้และเครื่องบูชา ชนิดต่าง ๆ
    ๖. ของหอม หมายถึง ธูป เทียน สำหรับบูชาพระ
    ๗. เครื่องลูบไล้ หมายถึง เครื่องสุขภัณฑ์ สำหรับชำระร่างกายให้สะอาด เช่นสบู่ถูตัว น้ำยาสระผม เป็นต้น
    ๘. เครื่องที่นอนอันสมควรแก่สมณะ
    ๙. ที่อยู่อาศัย มี กุฎี เสนาสนะ และเครื่องสำหรับภาชนะ เช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เป็นต้น
    ๑๐. เครื่องตามประทีป มีเทียนจุดใช้แสง ตะเกียง น้ำมัน ไม้ขีดไฟ ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับให้แสงสว่างทุกชนิด

    ทั้ง ๑๐ ประการนี้ สมควรถวายแก่พระภิกษุ สามเณร สมณะผู้ทรงศีล หรือใช้สำหรับบูชาพระตามสมควร

    ที่มา : http://xchange.teene...showtopic=47789
     
  6. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    (บางส่วน)

    ทายกก่อนแต่จะให้ทานเป็นผู้ดีใจ กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิต
    ให้เลื่อมใส ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ นี้เป็นยัญสมบัติ
    ปฏิคาหกผู้สำรวมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย คือ ท่านผู้
    ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ
    ย่อมเป็นเขตถึงพร้อมแห่งยัญ ทายกต้อนรับปฏิคาหกด้วย
    ตนเอง ถวายทานด้วยมือตนเอง ยัญนั้นย่อมมีผลมากเพราะตน
    (ทายกผู้ให้ทาน) และเพราะผู้อื่น (ปฏิคาหก) ทายกผู้มี
    ปัญญา มีศรัทธา เป็นบัณฑิต มีใจพ้นจากความตระหนี่
    ครั้นบำเพ็ญทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่เป็นสุขไม่มี
    ความเบียดเบียน ฯ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ทานสูตร ที่ ๗ :09:
     
  7. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    การพิจารณาว่าวัตถุทานใดเหมาะแก่สมณเพศ
    เช่น

    ยาน หมายถึง ยานพาหนะ คือ ยานช้าง ยานม้า รถ ฯลฯ
    สำหรับยานของนักบวช ได้แก่ร่ม และ รองเท้าเท่านั้น ยานอื่นๆ ไม่สมควรแก่บรรพชิต

    เครื่องประทีป หมายถึงการให้แสงสว่าง เช่น คบเพลิง ตะเกียง โคมไฟ หลอดไฟฟ้า เป็นต้น

    ของหอมและเครื่องลูบไล้ หมายถึง น้ำอบ น้ำหอม เครื่องประเทืองผิวทั้งหลาย ไม่ควรแก่บรรพชิต

    หลังเวลาเที่ยงวันชื่อว่าเวลาวิกาลไม่ควรถวายอาหารของขบเคี้ยว เว้นแต่น้ำปานะหรือเภสัช
     
  8. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    หากสะดวก ใช้วิธีปวารณาก็ได้ค่ะ โดยกล่าวปวารณาไว้ว่า หากพระคุณเจ้าต้องการใช้เราอย่างไร ให้ท่านเรียกได้ทันที ครูบาอาจารย์ท่านจะพิจารณาเองว่าเราเหมาะสมกับสิ่งไร..

    หรืออาจจะปวารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น การเดินทาง, สุขภาพ, ที่อยู่อาศัย ฯลฯ ก็ได้ค่ะ

    การถวายปัจจัยนั้นมีข้อห้ามในพระวินัย ดังนั้นเราอาจกราบเรียนถามพระท่านได้ค่ะ เช่น...

    "ถ้าพระคุณเจ้าเห็นว่ามีสิ่งใดเหมาะควร แก่สมณะและวัด ขอพระคุณเจ้าเมตตาให้ผมทราบด้วยครับ" แล้วเราค่อยจัดสิ่งของถวายท่าน...โดยไม่ต้องถวายปัจจัยเป็นต้น
     
  9. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    กาลิก เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ
    ๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น
    เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ
    ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่
    ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต
    ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน
    ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕
    ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา
    ได้แก่ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น
    (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)
     
  10. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ภิกขุอปริหานิยธรรม๗ ธรรมที่เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของภิกขุ หมวด๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายยังจักไม่บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04700.JPG
      DSC04700.JPG
      ขนาดไฟล์:
      467.4 KB
      เปิดดู:
      33
  11. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    อานาปานสฺสติ ยสฺส ปริปุณฺณา สุภาวิตา
    อนุปุพฺพปริจีตา ยถา พุทฺเธน เทสิตา
    โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.

    ผู้ใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ สะสมใว้
    โดยลำดับ เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรง
    แสดงใว้ ผู้นั้นย่อมทำโลกให้สว่างไสว ดุจ
    พระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉันนั้น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04720.JPG
      DSC04720.JPG
      ขนาดไฟล์:
      547.5 KB
      เปิดดู:
      34
  12. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    อานาปานสติภาวนา
    [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า.

    ดูกรราหุลอานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

    ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
    ลมอัสสาสะปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็นอันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC06288.JPG
      DSC06288.JPG
      ขนาดไฟล์:
      550.6 KB
      เปิดดู:
      36
    • DSC01369.JPG
      DSC01369.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.1 MB
      เปิดดู:
      37
  13. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    เล่ม 44 หน้า 606 (ปกสีน้ำเงิน)
    บางส่วนของ อรรถกถาปฏิสัลลานสูตร
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย
    อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓


    ความว่า ไม่พึงกล่าวธรรมเพื่อต้องการทรัพย์.
    เพราะผู้แสดงแก่ชนเหล่าอื่น
    ด้วยเหตุแห่งทรัพย์เป็นต้น
    ย่อมชื่อว่านำธรรมไปทำการค้า.
    อย่าเที่ยวเอาธรรมไปทำการค้าอย่างนั้น.

    อีกอย่างหนึ่ง
    บุคคลผู้ทำกรรมมีการสอดแนมเป็นต้น
    เหมือนคนของพระเจ้าโกศล
    ทำการสอดแนม
    เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นต้น
    ดำรงตามกิจมีการสมาทานเพศบรรพชาเป็นต้น
    โดยไม่ให้คนอื่นสงสัย
    ชื่อว่านำธรรมมาทำการค้า.

    ฝ่ายบุคคลใด
    แม้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ในศาสนานี้
    ก็ประพฤติพรหมจรรย์
    เพื่อปรารถนาเทพนิกายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    แม้บุคคลนั้นก็ชื่อว่า นำธรรมมาทำการค้า

    อธิบายว่า ไม่พึงประพฤติ คือ
    ไม่พึงกระทำการค้าด้วยธรรมอย่างนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1 universe.jpg
      1 universe.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.5 KB
      เปิดดู:
      42
    • 58 flower.JPG
      58 flower.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      39
  14. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ลมอัสสาสะปัสสาสะ  จึงมีความสำคัญมาก องค์สัมมาสัมพระพุทธเจ้า
    ท่าน สอนให้มีสัมมาสติ รู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ทุกขณะจิต ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04700.JPG
      DSC04700.JPG
      ขนาดไฟล์:
      467.4 KB
      เปิดดู:
      34
  15. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ข้อความจากเพื่อนธรรม เครดิตโดย DrNatdhnond Sippaphakul

    ความเหมาะสม สมดุลแห่ง "พละ ๕"
    (ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา)

    - ศรัทธา มากเกินไป ขาดปัญญา
    กลายเป็น "คนงมงาย"

    - ปัญญา มากเกินไป ขาดศรัทธา
    กลายเป็น "ทิฏฐิมานะ"

    - สมาธิ มากเกินไป ขาดปัญญา
    กลายเป็น "โมหะ (หลง)"

    - ปัญญา มากเกินไป ขาดสมาธิ
    กลายเป็น "ฟุ้งซ่าน"

    - วิริยะ มากเกินไป ขาดสมาธิ
    กลายเป็น "เหน็ดเหนื่อย"

    - สมาธิ มากเกินไป ขาดวิริยะ
    กลายเป็น "เกียจคร้าน"

    ส่วน "สติ" มีมากเท่าไร ยิ่งดี
    มีแต่คุณ ไม่มีโทษ



    (พระธรรมคำสอน…หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC05587.JPG
      DSC05587.JPG
      ขนาดไฟล์:
      474.5 KB
      เปิดดู:
      33
  16. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    สงกรานต์เวียนมาจบครบอีกรอบ
    ขอน้อมนอบพระธรรมคำสั่งสอน
    แทนน้ำรดสาดกันนั้นเปียกปอน
    พนมกรมอบพระธรรมนำส่องทาง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04700.JPG
      DSC04700.JPG
      ขนาดไฟล์:
      467.4 KB
      เปิดดู:
      29
  17. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    ธรรมเพื่อความหลุดพ้น v/s ธรรมเพื่อแก้ไขภัยพิบัติ

    ขออนุญาตครับ

    คำสอนของครูบาอาจารย์ฝ่ายธรรมยุติ นั้น เป็นคำสอนเพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น

    ไม่อาจนำไปใช้พิจารนา ร่้วมกับ ธรรมเพื่อแก้ไขภัยพิบัติได้
    เพราะธรรมเพื่อแก้ไขภัยพิบัตินั้น เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าหลายๆพระองค์ ได้ทรงสอนเหล่าเทวดาเอาไว้

    และผู้นำในการแก้ไขภัยพิบัตินั้น

    ก็เป็นกลุ่ม ผู้มุ่งสู่พุทธภูมิ
    ก็เป็นกลุ่ม ผู้มีสายใยบารมีผูกพันกัน
    ก็เป็นกลุ่ม ผู้เป็นเทวดาในร่างมนุษย์
    ก็เป็นกลุ่มผู้เป็นพรหม ในร่างมนุษย์

    กลุ่มเราแม้มีเพียงจำนวนน้อย และไม่ได้รับรู้ ทั้งไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวพุทธส่วนใหญ่มากนัก

    แต่เราก็สู้ของเราอย่างไม่ท้อ อย่างไม่ถอย

    ด้วยเราหวังว่า การต่อสู้อย่างยากลำบากของเรา จึงเป็นผลดีต่อมนุษยชาติทั้งมวล

    เราไม่ได้หวังว่า เราจะได้รับการสนับสนุนจากชาวพุทธส่วนใหญ่
    เราเพียงหวังว่า เราสู้ของเราไป และมีผู้มีบุญบารมี มาร่วมสู้กับเราแค่ให้มีกำลังพอที่จะต่อต้านแก้ไขภัยพิบัติเท่านั้น

    เราเพียงหวังว่า แม้ท่านที่ไม่เห็นด้วย แม้ท่านที่บุญบารมีไม่ถึง ที่จะพิจารนารับรู้ได้

    ก็อย่าได้มาต่อต้านขัดขวางเรา ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ

    เพราะธรรมที่อยู่เลย ธรรมเพื่อความหลุดพ้นออกไปนั้น

    ก็คือ ธรรมของ ผู้มุ่งสู่พุทธภูมิ
    ก็คือ ธรรมของ พระโพธิสัตว์
    ก็คือ ธรรมของ พระมหาโพธิสัตว์

    ซึ่งก็มีเพียงแค่ บารมี ๑๐ ทัศ เท่านั้น

    เพราะในชาติใดๆ ที่ ผู้มุ่งสู่พุทธภูมิ หรือ พระโพธิสัตว์ หรือ พระมหาโพธิสัตว์
    ที่ท่านลงมาเกิดในมนุษย์โลก นั้น ท่านอาจจะลงมาเพื่อทำภาระกิจของท่านเพียงอย่างเดียว

    เพราะการสร้างบุญบารมีของท่านนั้นยาวนานยิ่งนัก
    ท่านไม่มีความจำเป็นใดๆที่ต้องแสดงธรรมเพื่อความหลุดพ้น
    เพราะธรรมเหล่านั้น เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์

    เคยรู้เคยเห็น เมื่อผู้มุ่งสู่พุทธภูมิ เข้าไปกราบเรียนถาม ท่านผู้มุ่งสู่พุทธภูมิที่มีบุญบารมีสูงส่ง

    คำตอบที่ได้รับฟังมานั้น ช่างเรียบๆง่ายๆ ยิ่งนัก เพราะท่านตอบให้แค่ว่า


    "ดีแล้ว ขอให้บำเพ็ญบารมีต่อไป อย่าได้ท้อถอย"

    สิ่งที่ขอเตือนให้ท่าน จขกท พิจารนาคือว่า

    คำตอบที่ ท่านผู้มุ่งสู่พุทธภูมิที่มีบุญบารมีสูงส่ง บอกเล่าออกมา
    ผมก็จะนำออกมาบอกเล่าต่อคือว่า


    "ท่านผู้มุ่งสู่พุทธภูมิที่มีบุญบารมีสูงส่งนั้น"

    "ต้องมีฤทธิ์ ถ้าไม่มีฤทธิ์ไม่ใช่"

    และคำเตือนที่คงจะสะเทือนใจท่าน จขกท อยู่บ้างจากผมก็คือว่า

    ขอให้ท่านพิจารนาให้ดีว่า

    "ธรรมเพื่อความหลุดพ้น กับ ธรรมเพื่อการมุ่งสู่พุทธภูมิ ต่างกันอย่างไร"

    หรือท่านคิดจะนำ "ธรรมเพื่อความหลุดพ้น ไปต่อต้านหักล้างกับ ธรรมเพื่อการมุ่งสู่พุทธภูมิ ธรรมเพื่อการเป็นพระพุทธเจ้า" อย่างนั้นหรือ

    ท่านไม่เข้าใจหรือว่า ที่ท่านบอกว่า

    "ถึงเวลาสยบข่าวภัยพิบัติ ทางสายเอก" ของท่านนั้นหมายความว่าอย่างไร

    และถ้าผมจะบอกว่า ที่ท่านว่า
    "ถึงเวลาสยบข่าวภัยพิบัติ"

    แต่พวกเรากลับกำลังบอกเล่าว่า "ถึงเวลาสยบภัยพิบัติ"

    ท่านเข้าใจไหม "ท่านสยบข่าวภัยพิบัติ แต่พวกเรา กำลังเร่งดำเนินการเพื่อ สยบภัยพิบัติ"

    ท่านผู้มุ่งสู่พุทธภูมิที่มีบุญบารมีสูงส่งท่านบอกว่า



    "ภัยพิบัตินั้นไม่ให้เกิด ถ้าอยากเกิดให้ไปเกิดในดินแดนที่ธุระกันดาร ไร้ผู้คนอยู่อาศัยโน่น"

    ขอโมทนาบุญ ขออนุโมทนาบุญ ร่วมกับผู้มีบุญบารมีทุกๆท่าน
    ขอบคุณครับ
    ลุงมหา

     
  18. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ขอบคุณ ท่านมหา๑ ที่เข้ามาถามตอบกระทู้ครับ
    เหตุผลเรื่อง สยบข่าวภัยพิบัตินั้นได้ อธิบายใว้ในหน้าแรกของกระทู้แล้วครับ
    ส่วนคำสอนของครูบาอาจารย์ที่มาโพสต์ลงนั้น จักเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ปฏิบัติ ได้ไม่มากก็น้อย ตามแต่ภูมิธรรมของแต่ละท่านที่เข้ามาอ่านครับ
    โดยทีเราไม่จำกัดว่าข้อธรรมนั้นจะมาจากสายไหนครับ  ข้อธรรมนั้นมีความลง
    ตัวและชัดเจนอยู่แล้วครับ ไม่ได้มีความคิดที่จะนำมาหักล้างไดฯทั้งสิ้นครับ
    ขอบคุณที่เตือน ครับ และเราก็ไม่ได้มีเจตนาที่ต่อต้านและขวางใครครับ
    นอกเสียจากอันไหนที่เข้าใจผิดหรือผิดหลักธรรมเราก็ติเตือนโดยธรรมครับ
    เพื่อที่จะได้ไม่หลงทาง จึงเรียกว่าทางสายเอก   ส่วนเรื่องพุทธภูมินั้น
    และเรื่องฤทธิ์ นั้น เราเองความรู้น้อย ครับ และยังเป็นสิ่งที่ไกลตัวไปครับ
    ถ้าท่านเร่งดำเนินการสยบภัยพิบัติ ก็ขออนุโมทนาครับ และไม่ต้องห่วง
    ว่าคำเตือนนั้นจะสะเทือนใจเราครับ เรายินดีที่น้อมรับคำติเตือนโดยธรรมเสมอครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC06288.JPG
      DSC06288.JPG
      ขนาดไฟล์:
      550.6 KB
      เปิดดู:
      35
  19. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    ลองพิจารนา ข้อเขียนของท่าน ดูเอาเองนะครับ

    ขออนุญาตครับ
    ขอยกข้อความจากทั้งสองท่านลงมาให้ดู


    แต่ก็จริงมีการทำบุญใหญ่ ทำให้ภัยพิบัติเบาบางลง เรายังอึ่งในอานิสงค์ของการสร้างพระพุทธรูปมากขนาดนี้เลยหรือ

    ความรู้ในการสร้างพระพุทธรูปใหญ่ฯและสร้างศาลาวัด
    มากมายนั้น  เป็นการสร้างบุุญกุศลในเขตของ   ทานบารมี
    ซึ่งทำได้ง่าย ได้บุญและอานิสงฆ์ในการสร้างมีเพียงน้อยนิดเท่านััน


    ท่านก็ลองพิจารนาข้อเขียนของท่านข้างบนที่ผมยกมาให้ดูนะครับ

    ขอโมทนาบุญ ขออนุโมทนาบุญ ร่วมกับผู้มีบุญบารมีทุกๆท่าน
    ขอบคุณครับ
    ลุงมหา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2013
  20. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    บุญกุศลนั้นยังไม่มีใครคิดเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาทำการวัดค่าของบุญกุศลได้  แต่บุญกุศลนั้น สำหรับท่านที่ปฏิบัติสามารถที่จะสัมผัสได้ และมองเห็นได้ เมื่อจิตถึง และจะเข้าใจดี ใครจะสร้างพระพุทธรูปเพื่อต้านภัยพิบัตินั้น ก็ย่อมทำได้เต็มที่ เราไม่ได้ไปห้ามและขวาง แต่เรื่องบุญและกุศลที่จะได้รับ
    จากการสร้างนั้นเราก็ยังคงยืนยันเช่นเดิม ส่วนใครจะเห็นต่างนั้นก็ไม่เป็นไร
    เพราะระดับสติปัญญาและภูมิธรรมที่ต่างกัน ย่อมที่จะมองเห็นไม่ตรงกัน
    ครับ 
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC06288.JPG
      DSC06288.JPG
      ขนาดไฟล์:
      550.6 KB
      เปิดดู:
      31
    • DSC06331.JPG
      DSC06331.JPG
      ขนาดไฟล์:
      609.8 KB
      เปิดดู:
      33
    • PICT0542.JPG
      PICT0542.JPG
      ขนาดไฟล์:
      909.6 KB
      เปิดดู:
      36

แชร์หน้านี้

Loading...